ไอเดียแต่งห้องสไตล์สาวออฟฟิศไอเดียแต่งห้องสไตล์สาวออฟฟิศ

รถไฟฟ้าสายสีส้ม สายแห่งการเชื่อมต่อกรุงเทพฯ

Categories : Life+Style
Tags : ,

ในช่วง 1-2 ปีหลังที่ผ่านมานี้ เราจะได้เห็นการก่อสร้างของรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ เพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าเดิม รวมถึงรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานอยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางมากกว่าการเดินทางแบบอื่น รถไฟฟ้าจึงกลายเป็นความหวังของระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่หลายคนรอคอยให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

 

ในบรรดารถไฟฟ้าทั้งหมด 11 สาย แต่ละสายก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไป ซึ่งมีอยู่สายหนึ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะเป็นสายที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกกับกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน โดยวิ่งผ่านใจกลางเมือง สถานที่สำคัญๆ หลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลศิริราช สนามหลวง ราชเทวี ประตูน้ำ รัชดาภิเษก ฯลฯ และยังเป็นจุด interchange กับรถไฟฟ้าสายสีอื่นๆ ในอนาคตมากมาย นั่นคือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (MRT) เป็นรถไฟฟ้าที่มีทั้งช่วงที่เป็นใต้ดินกับช่วงที่เป็นยกระดับ โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือฝั่งกรุงเทพฯ โซนตะวันตก(บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) กับกรุงเทพฯ โซนตะวันออก(ศูนย์วัฒนธรรมฯ – บางกะปิ – มีนบุรี) โดยใช้จุดกึ่งกลางของสายนี้ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นจุด interchange รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินในปัจจุบัน รวมระยะทาง 35.4 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณปี 2566

 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งกรุงเทพฯ โซนตะวันตก(บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ทั้งหมด 13 สถานี เป็นรถไฟฟ้าใต้ดินทั้งหมด ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงเวนคืนที่ดิน เริ่มจาก

 

1.สถานีตลิ่งชัน interchange กับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน

2.สถานีบางขุนนนท์ บนถนนสุทธาวาสตัดกับถนนจรัญสนิทวงศ์ interchange กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

3.สถานีศิริราช ใต้สะพานอรุณอัมรินทร์ ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช จากนั้นก็จะลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไปอีกฝั่ง

4.สถานีสนามหลวง ใกล้กับโรงละครแห่งชาติ

5.สถานีอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณถนนราชดำเนินกลาง ใกล้กับแยกผ่านฟ้าลีลาศ interchange กับรถไฟฟ้าสายสีม่วงบางใหญ่ – ราษฎร์บูรณะ สถานีผ่านฟ้า

6.สถานีหลานหลวง บริเวณถนนหลานหลวง แยกหลานหลวงตัดกับถนนจักรพรรดิพงษ์

7.สถานียมราช บริเวณถนนหลานหลวง ใกล้โรงพยาบาลมิชชั่น interchange กับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม

8.สถานีราชเทวี  บริเวณถนนเพชรบุรี ใกล้แยกราชเทวี interchange กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีราชเทวี

9.สถานีประตูน้ำ บริเวณถนนเพชรบุรี ใกล้ห้างแพลทินัม

10.สถานีราชปรารภ บริเวณถนนราชปรารภ interchange กับรถไฟฟ้าสายสีแดงแอร์พอร์ตลิงค์ สถานีราชปรารภ

11.สถานีรางน้ำ บริเวณถนนราชปรารภ ปากซอยรางน้ำ

12.สถานีดินแดง บริเวณถนนวิภาวดีขาเข้าตัดกับถนนดินแดง

13.สถานีประชาสงเคราะห์ บริเวณถนนมิตรไมตรี ใกล้กับศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร2 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันออกที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม สายแห่งการเชื่อมต่อกรุงเทพฯ

 

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งกรุงเทพฯ โซนตะวันออก(ศูนย์วัฒนธรรมฯ – บางกะปิ – มีนบุรี) ปัจจุบันเริ่มดำเนินงานก่อสร้างแล้วในช่วงปลายปี 60 ที่ผ่านมา โดยมีการปิดถนนฝั่งละ 1 เลน บริเวณซอยรามคำแหง 162/1 ถึงซอยรามคำแหง 166 ทั้งขาเข้า-ขาออก, ซอยรามคำแหง 76 – 108 (ขาเข้า), ซอยรามคำแหง 127 – 129 (ขาออก) และบริเวณซอยรามคำแหง 151/1 – 159 เริ่มจาก

 

1.สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย บริเวณถนนรัชดาภิเษก ใกล้กับห้างเอสพลานาดรัชดา interchange กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

2.สถานีรฟม. บริเวณถนนวัฒนธรรม ใกล้กับแยกผังเมือง

3.สถานีประดิษฐ์มนูธรรม บริเวณถนนพระราม 9 ใกล้สี่แยกพระราม 9 – ประดิษฐ์มนูธรรม

4.สถานีรามคำแหง 12 บริเวณถนนรามคำแหง หน้าห้างเดอะมอลล์ สาขารามคำแหง

5.สถานีรามคำแหง บริเวณถนนรามคำแหง หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง

6.สถานีราชมังคลา บริเวณถนนรามคำแหง หน้าสนามกีฬาราชมังคลา

7.สถานีหัวหมาก บริเวณถนนรามคำแหง หน้าโรงพยาบาลรามคำแหง

8.สถานีลำสาลี บริเวณถนนรามคำแหง ใกล้แยกลำสาลีตัดกับถนนศรีนครินทร์ interchange กับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

9.สถานีศรีบูรพา บริเวณถนนรามคำแหงตัดกับถนนศรีบูรพา แยกบ้านม้า ใกล้กับบิ๊กซี สุขาภิบาล3

10.สถานีคลองบ้านม้า บริเวณถนนรามคำแหง ระหว่างซอยรามคำแหง 92-94 และมีอาคารจอดแล้วจร 5 ชั้น รองรับการจอดรถได้ประมาณ 1,200 คัน และตั้งแต่สถานีนี้จะค่อยๆ ยกระดับจากใต้ดินมา

11.สถานีสัมมากร บริเวณถนนรามคำแหง หน้าหมู่บ้านสัมมากร

12.สถานีน้อมเกล้า บริเวณถนนรามคำแหง  หน้าหน้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

13.สถานีราษฎร์พัฒนา บริเวณถนนรามคำแหง บริเวณถนนรามคำแหง สามแยกมิสทีน

14.สถานีมีนพัฒนา บริเวณถนนรามคำแหง หน้าทางเข้าวัดบางเพ็ญใต้ ตรงข้ามนิคมอุตสาหกรรมบางชัน

15.สถานีเคหะรามคำแหง บริเวณถนนรามคำแหง  ใกล้เคหะรามคำแหง

16.สถานีมีนบุรี บริเวณถนนรามคำแหง interchange กับรถไฟฟ้าสายสีชมพู

17.สถานีสุวินทวงศ์ บริเวณถนนรามคำแหงตัดกับถนนสุวินทวงศ์ บริเวณแยกสุวินทวงศ์

 

เมื่อรถไฟฟ้ากำลังจะมาถึง ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่พลาดที่จะขยับตาม ผู้ซื้อก็จับจองกันอย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้มนี้ก็มีหลายทำเลที่น่าสนใจไม่น้อย ทั้งซื้อเพื่ออยู่อาศัย และลงทุนในอนาคต ซึ่งเราได้รวบรวมบางโครงการที่เป็นตัวเด็ดๆ ตามสายนี้ เช่น

 

THE LINE ราชเทวี คอนโด High Rise ที่อยู่บนถนนเพชรบุรี ใกล้จุด interchange ระหว่างสายสีเขียวกับสายสีส้ม สถานีราชเทวี ประมาณ 220 เมตร ห่างเพียง 1 สถานีก็สามารถเชื่อมต่อไปยัง Airport Link กับสถานีสยาม

 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม สายแห่งการเชื่อมต่อกรุงเทพฯ

 

Ideo Mobi รางน้ำ คอนโด High Rise อยู่ภายในถนนรางน้ำ ฝั่งใกล้กับถนนราชปรารภ ซึ่งก็ใกล้รถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีรางน้ำ อีกด้วย ตัวนี้เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว ส่วนกลางออกแบบมาได้สวย รวมถึงสระว่ายน้ำส่วนกลางที่ว่ายได้รอบ 360 องศา บนชั้นสูงสุดของคอนโด

 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม สายแห่งการเชื่อมต่อกรุงเทพฯ

 

Metris พระราม 9-รามคำแหง คอนโด High Rise บริเวณสี่แยกรามคำแหงฝั่งขาออก ใกล้กับสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างแห่ง เช่น ฟู้ดแลนด์ เดอะมอลล์รามคำแหงที่กำลังจะทำการรีโนเวทใหม่ เดอะไนท์ รามคำแหงที่กำลังจะทำการรีโนเวทใหม่ ถนนพระราม 9 กล้รถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีรางน้ำ อีกด้วย ใจกลางเมือง สถานที่สำคัญๆ หลายแห่งใกล้ทางด่วน และสามารถออกไปถนนกาญจนาภิเษกไม่ไกล

 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม สายแห่งการเชื่อมต่อกรุงเทพฯ

 

KnightsBridge Collage รามคำแหง คอนโด High Rise สไตล์อังกฤษ ทำออกมาได้หรูหราที่สุดในย่านนี้ ปากซอยรามคำแหง 42 ใกล้กับจุดinterchange ระหว่างสายสีส้มกับสายสีเหลือง บริเวณสี่แยกลำสาลี ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และสถานศึกษาหลายแห่ง

 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม สายแห่งการเชื่อมต่อกรุงเทพฯ

 

สุดท้ายในระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มจากนี้ไปอีก 5 ปี อาจมีการปิดถนนเป็นระยะ โดยเราสามารถติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ผ่านทาง facebook.com/MRTOrangeLineEast

 

 

ภาพจาก : facebook/โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี

 

บทความ Life+Style ล่าสุด