บ้านคอนโดติดผ่อน ก็ขายได้

4 สัญญาณอันตราย เสี่ยงกู้ไม่ผ่าน

Categories : Infographic
Tags : , ,

ใครที่กำลังจะก่อหนี้เพิ่มตอนนี้ต้องคิดให้ดีๆ โดยมี 4 สัญญาณอันตรายซึ่งอาจจะมีผลต่อการขอสินเชื่อหรือทำให้กู้ไม่ผ่านดังนี้

1.ก่อหนี้ได้ไม่เกิน 40% ของรายได้

ปัจจุบันคนไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,405 บาท มีรายจ่ายเฉลี่ย 19,259 บาท หรือมีสัดสวนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ 75.8% มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน 159,492 บาท ขณะที่หนี้สินต่อรายได้มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท ต่อเดือนที่มีอยู่ประมาณ 1.6 ล้านครัวเรือน แต่มีภาระหนี้สินที่ต้องจ่ายถึง 61% (ณ ปี 2556)

ส่วนกลุ่มรายได้ 10,000-30,000 บาทต่อเดือนซึ่งถือเป็นกลุ่มใหญ่สุด 3.7 ล้านครัวเรือน มีภาระหนี้สินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากประมาณ 1 ใน 4 (24% ณ ปี 2552) มาเป็น 1 ใน 3 (34% ณ ปี 2556) ของรายได้

สำหรับเกณฑ์ที่ยอมรับได้คือ 40% หากตัวเลขยังเพิ่มขึ้นโอกาสที่จะขยายสินเชื่อของครัวเรือนก็อาจจะน้อยลงไป

2.เป็นหนี้รถยนต์คนแรก+หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล

ทั้งสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อส่วนบุคคล (กู้เป็นก้อน ผ่อนเป็นงวด) ทางสถาบันการเงินได้ให้ความสำคัญในการติดตามค่อนข้างมาก เนื่องจากสัญญาณการเริ่มผิดนัดชำระหนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก แม้ว่าการค้างจะยังไม่เกิน 90 วัน (ถ้าเกินจะกลายเป็นบัญชีลูกหนี้ที่เป็น NPL)

ตัวเลขหนี้เสียจากสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อส่วนบุคคลเริ่มมีสัญญาณการค้างชำระ 31-90 วันเพิ่มขึ้นถึง 38% โดยตัวเลขบัญชีสินเชื่อที่ยังมีการเคลื่อนไหว ณ ไตรมาสแรกของปี 2557 มีจำนวน 47.4 ล้านบัญชี จากทั้งหมด 71.5 ล้านบัญชี

ดังนั้นคนที่มีหนี้รถยนต์คันแรกกับหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลอยู่แล้ว หากจะขอกู้เพิ่มเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจึงมีโอกาสกู้ไม่ผ่าน เพราะความสามารถในการชำระหนี้ลดลง

3.เคยมีประวัติค้างชำระหนี้

จำนวนสมาชิกของเครดิตบูโรที่เป็นสถาบันการเงินทั้ง 79 รายในปัจจุบัน มีการเรียกดูข้อมูลลูกค้าเก่าเพิ่มขึ้นจาก 6.5 ล้านครั้งต่อปี (ในปี 2555) เพิ่มเป็น 16 ล้านครั้งต่อปีในปี 2556 และข้อมูล 4 เดือนแรกของปีนี้มีการเรียกดูข้อมูลไปแล้วถึง 11 ล้านครั้ง

ซึ่งระบบสถาบันการเงินมีความเข้มงวดมากขึ้นในกระบวนการวิเคราะห์สินเชื่อ โดยบางแห่งได้กำหนดเป็นนโยบายให้ตรวจดูทุกบัญชีและดูทุกเดือนเพื่อประเมินความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด และการเช็คเครดิตบูโรก็เพื่อดูข้อมูลของลูกค้าในด้านสินเชื่อที่มีอยู่กับสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น จำนวนหนี้คงค้าง การชำระหนี้ ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาในอดีต

การที่สถาบันการเงินที่กำลังพิจารณาสินเชื่อได้เห็นพฤติกรรม เห็นการผ่อนชำระหนี้ว่ามีการจ่ายครบ  จ่ายตรง หรือมีการผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ การรู้จักตัวตนของลูกค้าที่มีขอสินเชื่อ ก็จะทำให้การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อมีความแม่นยำมากขึ้น และสุดท้ายคือป้องกันการเกิด NPL ได้

ขณะที่การมีประวัติค้างชำระคือชำระแบบเลี้ยงงวดหรือชำระแบบงวดเว้นงวด  ย่อมส่งผลให้ประวัติของเจ้าของบัญชีนั้นๆ เกิดสิ่งที่เรียกว่า “การมีประวัติการค้างชำระ” ซึ่งจะส่งผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ เนื่องจากสถาบันการเงินอาจไม่แน่ใจ หรืออาจจะรอดูอีกระยะหนึ่ง (เรียกว่าระยะดูใจ) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่เรื่องที่เกิดจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ยื่นกู้ แต่อาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นได้ โดยระยะดูใจนี้จะนานหรือไม่นานก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการเงิน

4.มีบัญชีหนี้เกินกว่า 5 บัญชีขึ้นไป

โดยปกติแล้วแต่ละคนไม่ควรมีบัญชีหนี้สินกิน 5 บัญชี หากเกินกว่านี้อาจมีผลต่อการจะก่อหนี้เพิ่มในอนาคตได้

ทั้งนี้และทั้งนั้นการตรวจสุขภาพทางการเงินของตัวเอง ทั้งในเรื่องของการก่อหนี้และการชำระหนี้ของผู้ที่กำลังวางแผนจะขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เรียกว่าเป็นการรู้จักตัวเองก่อนไปขอกู้ เพราะถึงอย่างไรสถาบันการเงินก็จะตรวจสอบดูประวัติการก่อหนี้และการชำระหนี้ของผู้กู้อยู่แล้ว

ที่สำคัญประวัติการการชำระหนี้ที่ดีนั้นไม่มีขาย ถ้าอยากได้คุณต้องลงมือทำเอง

 

ที่มา : www.home.co.th

บทความ Infographic ล่าสุด