ต้องรู้อะไรบ้าง ซื้อคอนโดแล้วไม่เสียสิทธิ์

Categories : Life+Style
Tags : , ,

ในการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียม หรืออาคารชุดนั้น มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ ธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย มีคำแนะนำในเรื่องควรรู้

 

 

ปัจจุบันที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับคนกรุงเทพฯ เนื่องจากการตอบรับไลฟ์สไตล์ได้อย่างลงตัว ทำให้เกิดอาคารใหม่ๆ โดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้าจำนวนมากและคอนโดเกิดใหม่เหล่านี้มั้งที่ขายได้หมดแล้ว และขายได้เพียงบางส่วน เข่น ขายได้เพียง 20% และอีก 80% เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกอบการซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจัดเก็บค่าใช้จ่ายที่อาจทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบหากไม่ทราบว่าต้องรู้อะไรบ้างเมื่อตัดสินใจซื้อคอนโด โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่นำมาใช้ในการบริการจัดการภายในอาคาร

 

สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ผู้ซื้อคอนโดจะต้องเตรียมก็คือ เงินกองทุน ซึ่งกฎหมายระบุว่าเงินกองทุนมีไว้เพื่อซ่อมแซมส่วนกลางโดยเฉพาะการบำรุงรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ลิฟต์โดยสาร หรือการทาสีใหม่ทั้งอาคาร เงินกองทุนนี้จะเก็บประมาณ 10 เท่าของค่าส่วนกลาง เช่น หากต้องจ่ายค่าส่วนกลางในอัตรา 50 ต่อ ตรม.ผู้อยู่อาศัยจะต้องจ่ายค่ากองทุน 500 บาทต่อ ตรม. ซึ่งต้องจ่ายนอกเหนือจากราคาห้องที่ซื้อ เช่น ซื้อคอนโดขนาด 40 ตรม. จะต้องจ่ายค่ากองทุนจำนวน 20,000 บาท (40×500) ผู้ซื้อคอนโดจะต้องเตรียมเงินส่วนนี้ไว้ โดยทางผู้ขายจะชี้แจงเรื่องนี้อยู่แล้ว

 

นอกจากนี้แล้ว ยังต้องมีค่าส่วนกลางซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายและค่าบริการต่างๆ ประจำเดือน เช่น เงินเดือนพนักงาน แม่บ้านธุรการ รวมทั้งรายจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาส่วนกลางของอาคาร ปกติแล้วค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมีการเก็บล่วงหน้า 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับนโนบายของแต่ละอาคารสำหรับค่าส่วนกลางนั้นคำนวณจากพื้นที่ห้องแล้วคูณด้วยอัตราค่าจัดเก็บ เช่น พื้นท่ 40 ตร.ม. ค่าส่วนกลางตารางเมตรละ 50 บาท (40x50x12=24,000 บาท)

 

ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการจัดเก็บค่าส่วนกลางที่ผ่านมา ไม่สามารถเก็บจากห้องที่ยังไม่ได้ขายได้ซี่งอาจมีมากถึง 80% ของจำนวนห้องทั้งหมด ซึ่งตามกฎหมายระบุว่า หลังจากที่จดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว ห้องที่ยงขายไม่หมดผู้ประกอบการในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์จะต้องรับผิดชอบค่าส่วนกลาง แต่ส่วนใหญ่มักบ่ายเบี่ยงหรือมีการอนุโลมขอจ่ายเป็นรายเดือนได้ 1 ปี หลังจากนั้นจะต้องจ่ายทั้งหมดเข้าบัญชีของนิติบุคคล หรือให้นิติบุคคลคิดเบี้ยปรับการชำระค่าส่วนกลางล่าช้าส่วนเงินกองทุนนั้นจะจ่ายเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ได้แล้ว ซึ่งปัญหานี้ผู้ซื้อคอนโดส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลทำให้เสียเปรียบและเสียโอกาสที่จะได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารเนื่องจากในช่วงแรกผู้ประกอบการมักใช้บริษัทในเครือทำหน้าที่บริหารทรัพย์สินของอาคาร ดังนั้น ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้เสียสิทธิ์ในการอยู่อาศัยในอาคารชุด

 

ข้อมูลจาก ศุนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

http://www.reic.or.th

บทความ Life+Style ล่าสุด