Cpn Business Pland 2022

ถอดรหัส CPN กับตัวเลข “3-2-12-22” ตามแผนธุรกิจภายในปี 2565

ในบรรดาดีเวลลอปเปอร์พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์  ประเภทศูนย์การค้าซึ่งมีจำนวนพื้นที่บริหารมากสุด คงต้องยกให้กับ CPN หรือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ที่ปัจจุบันมีพื้นที่บริหารอยู่กว่า 1.8 ล้านตารางเมตร จากจำนวนพื้นที่ศูนย์การค้าทั้งหมดในปีนี้ ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 20.9 ล้านตารางเมตร 

 

ความเคลื่อนไหวของตลาดศูนย์การค้าในปีนี้ มีจำนวนผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาเติมตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์การค้าของกลุ่ม CPN เอง อย่างโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ (รายละเอียดโครงการ) หรือโครงการของดีเวลลอปเปอร์รายอื่น อย่าง โครงการสามย่านมิตรทาวน์ (รายละเอียดโครงการ) โครงการวิสซ์ดอม 101 (รายละเอียดโครงการ) เป็นต้น ซึ่งประเมินกันว่า เฉพาะปีนี้พื้นที่ศูนย์การค้า จะมีเข้ามาเติมตลาดอีกกว่า 9 ล้านตารางเมตร

 

แม้จะมีคู่แข่งหน้าใหม่หรือหน้าเก่าเข้ามาในตลาด แต่ดูเหมือนว่า CPN ยังคงรักษาความเป็นผู้นำตลาดไว้ได้อย่างเหนียวแน่น แถมยังลงทุนต่อเนื่อง ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจหรือบ้านเมืองจะเป็นเช่นไร  โดยลงทุนทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ  ต่างจังหวัด และออกไปไกลในต่างประเทศ อย่างล่าสุด กับการเปิดตัวศูนย์การค้าเซ็นทรัลไอ-ซิตี้ (Central i-City) โครงการร่วมทุนระหว่าง CPN และไอ-เบอร์ฮาด เจ้าของโครงการ ไอ-ซิตี้ ด้วยงบลงทุนกว่า 8,500 ล้านบาท บนพื้นที่ 28 ไร่ พื้นที่โครงการ 278,000 ตารางเมตร

 

ส่วนภายในประเทศ CPN ได้ประกาศแผนธุรกิจ ภายในปี 2565 เตรียมพัฒนาและเปิดให้บริการ โครงการใหม่ รวมถึงการรีโนเวตโครงการเดิม ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการ ของกลุ่มลูกค้าในปัจจุบัน กับตัวเลขทางธุรกิจ “3-2-12-22” ซึ่งเป็นแผนธุรกิจที่จะดำเนินให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2565

 

Centralplaza Ramintra (2)

 

ถอดรหัสตัวเลข “3-2-12-22” ตามแผนธุรกิจภายในปี 2565

 

“3” = โปรเจ็กต์ใหม่ใน 3  ทำเล 

 

CPN เตรียมยึดหัวหาดเมืองเศรษฐกิจใหม่ 3 แห่ง ได้แก่ จังหวัดอยุธยา  อำเภอศรีราชา และจันทบุรี สร้าง ‘Golden District’ ของจังหวัด ด้วย ‘โครงการมิกซ์ยูสรูปแบบใหม่’ ได้แก่

 

1.โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา’

พัฒนาภายใต้แนวคิด ความเรืองรองแห่งพระนครศรีอยุธยา เมืองอยุธยาถือเป็น strategic location เป็น ‘Hub ของภาคกลางตอนบน’ ครอบคลุมจังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี ประชากรเกือบ 2.5 ล้านคน และยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมสำคัญที่ต่อขยายจากกรุงเทพฯ

 

โครงการประกอบด้วย

ศูนย์การค้า Tourist Attraction โรงแรม ที่พักอาศัย และคอนเวนชั่นฮอลล์

โครงการจะเปิดให้บริการไตรมาสที่ 2 ปี 2564

 

2.โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา’

พัฒนาภายใต้แนวคิด Living Green in Smart City of EEC Center  โครงการที่ซีพีเอ็นลงทุนเสริมแผนภาครัฐในเมืองหลักภาคตะวันออก ผลักดันศรีราชาเป็นเมืองเศรษฐกิจใหม่ที่จะมีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุดใน EEC ซึ่งจะเป็นการลงทุนที่คู่ขนานไปกับภาครัฐ เพื่อเชื่อมโยง กรุงเทพฯ – ชลบุรี – เพิ่มจิ๊กซอว์ ศรีราชา – บรรจบ ระยอง ให้ครบ โดยศรีราชาเป็นเมืองอุตสาหกรรม New S-Curve เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และจะเป็น MICE Hub ของ EEC Center จึงต้องตอบโจทย์ด้วยศูนย์กลางการใช้ชีวิต

 

โครงการประกอบด้วย

ศูนย์การค้า คอนเวนชั่นฮอลล์ เซอร์วิส อพาร์ทเมนต์ ออฟฟิศ และโรงแรมในอนาคต โดยเป็นครั้งแรกที่มีศูนย์การค้าแบบ Semi-Outdoor โมเดลเดียวกับเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ นอกพื้นที่กรุงเทพฯ ในคอนเซ็ปต์ ‘Living Green in Smart City of EEC Center’ สร้าง Third Place ให้คนศรีราชาได้มาพักผ่อน

 

โดยที่นี่เป็นศูนย์การค้าฟอร์แมตใหม่แบบ Lifestyle Thematic Mall ที่แบ่งโซนร้านค้าตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ตกแต่งเป็นธีมห้องต่างๆ ให้บรรยากาศเป็นกันเองเหมือนอยู่บ้าน พร้อมมี Outdoor walking street ที่ตกแต่งโดย integrate ธรรมชาติ บนพื้นที่ indoor และ outdoor ไว้ที่นี่ที่เดียว

คาดว่าจะเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 2 ปี 2564

 

Centralplaza Siracha (2)

 

3.โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา จันทบุรี’

 

เป็นการสร้างฟอร์แมทใหม่ ภายใต้แนวคิด The Shining Gem of EEC Plus 2  เป็นการเชื่อมต่อการพัฒนาตั้งแต่จังหวัดชลบุรีมาต่อเนื่องถึงจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจเติบโตสูง เห็นได้จากยอดขายของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในสาขานอกจังหวัดกรุงเทพฯ​ ส่วนรูปแบบโครงการอยู่ระหว่างการออกแบบ

คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565

 

“2” = การปรับโฉมสาขาเดิมให้ทันสมัย

เป็นการปลุกปั้น 2 ทำเลใหม่ -New Urbanised District ของกรุงเทพฯ ได้แก่ พระราม 2 และรามอินทรา

 

1.เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2

ปรับสู่คอนเซ็ปต์ The Largest Regional mall – Gateway of South Bangkok  โดยเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 จะถูกพลิกโฉมยกเครื่องศูนย์ใหม่ทั้งหมด ทั้งด้านดีไซน์ การเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ ปรับปรุงร้านค้าที่มีอยู่เดิม โดยธุรกิจต่างๆ ของกลุ่มเซ็นทรัล อาทิ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล,TOPs, B2S ก็เตรียมปรับโฉมให้สอดคล้องกับศูนย์การค้าด้วย

 

ที่โดดเด่นที่สุดคือ จะมีการ re-create พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ชื่อว่า สวน Central Plearn Park ที่มีขนาดใหญ่ถึง 37 ไร่ ให้เป็นเหมือน The Oasis of South Bangkok ที่จะเป็นพื้นที่สำหรับครอบครัว  ซึ่งประกอบไปด้วย Food Garden &  Fashion Park, Kids Gym, Multi-sport recreation (ลู่วิ่ง, bike lane, ร้านค้าขายสินค้าแนวสปอร์ต) และเป็น Pet Community ที่มีทั้ง โรงพยาบาลสัตว์ Pet playground, Pet pool และ Pet Shop

คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 1 ปี 2565

 

2.เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา

ภายใต้แนวคิด Living Lab of Ramindra กับการพลิกโฉมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 26 ปี เพื่อรองรับกลุ่มประชากรและชุมชนที่ขยายตัวจากโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ เข้าไปพัฒนา รวมถึงการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสี

 

โดยโครงการนี้จะเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ใหม่ ที่เป็นเหมือน Third Place เช่นเดียวกับเซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เคยทำจนประสบความสำเร็จมาแล้ว โดยจะเป็นเดสติเนชั่นทั้งด้านอาหาร กีฬา Co-living Space รองรับทุกความต้องการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ปี 2564

 

Centralplaza Ayuttaya (1)

 

“12” = โปรเจ็กต์เดิมเตรียมรีโนเวตเพื่อความทันสมัย

 

โดยในปี 2563 บริษัทฯ จะทำการปรับปรุงและขยายพื้นที่ศูนย์การค้าอีก 12 สาขาทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา พระราม 9, เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์, เซ็นทรัลพลาซา บางนา, เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ, เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น, เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี, เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ และเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่แอร์พอร์ต, เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช, เซ็นทรัล มารีนา พัทยา, เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย และเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ ภายใต้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท

 

“22” = เม็ดเงินลงทุงตามแผนธุรกิจมูลค่า 22,000 ล้าน

 

ตามแผนธุรกิจดังกล่าว บริษัทได้เตรียมงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 22,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

 

โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา’ มูลค่า 6,200 ล้านบาท

โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา’  มูลค่า 4,200 ล้านบาท

โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา จันทบุรี’  มูลค่า 3,500 ล้านบาท

โครงการเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 มูลค่า 1,500 ล้านบาท

โครงการเซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา  มูลค่า 1.600 ล้านบาท

การปรับปรุงโครงการเดิม 12 แห่ง มูลค่า 5,000 ล้านบาท

 

“ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร เราลงทุนต่อเนื่อง และลงทุนระยะยาวมาตลอด 39 ปี โดยพัฒนาสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ” นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN กล่าว

 

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด