Meterial

รู้ทัน! ภัยร้ายใกล้ตัวจากวัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน และเทคนิคเลือกซื้อ

การอยู่อาศัยในปัจจุบัน เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม  และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนยุค 4.0  จนกลายเป็นเทรนด์ที่อยู่อาศัยยุคใหม่ เช่น บ้านเพื่อผู้สูงอายุ บ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัย บ้านนวัตกรรม หรือบ้านอัจฉริยะ เป็นต้น

 

ทุกเทรนด์ล้วนเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งสิ้น แต่รู้หรือไม่ว่า…สิ่งหนึ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษไม่ว่าคุณจะเลือกเทรนด์ที่อยู่อาศัยแบบใดก็ตาม คือ วัสดุก่อสร้างที่ใช้ในการก่อสร้างและตกแต่งบ้านต้องปราศจากสารพิษ หรือสารเคมี เพราะวัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมาพร้อมกับสารพิษร้ายแรง เช่น แร่ใยหิน (Asbestos) ตะกั่ว (Lead) เป็นต้น

 

สารพิษเหล่านี้จะแพร่กระจายอยู่ภายในบ้าน เมื่อสูดดม หรือสัมผัสเป็นเวลานานๆ จะส่งต่อสุขภาพผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดภูมิแพ้ ปวดศรีษะ ไอจาม ไม่สบายโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายเรื้องรังอย่าง มะเร็ง

 

“เอสซีจี” ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุก่อสร้าง จึงอยากให้เจ้าของบ้าน ประชาชนทั่วไป และผู้รับเหมาก่อสร้าง รู้ทันภัยร้ายใกล้ตัว หันมาใส่ใจกับการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง และวัสดุตกแต่งกันมากขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างแท้จริงของสมาชิกทุกคนในบ้าน

 

นายเจือ คุปติทัฬหิ Consult and Design Solution Business Lead  จาก “เอสซีจี” เล่าว่า ในชีวิตประจำวันเราใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำกิจกรรมและพักผ่อนภายในบ้าน จึงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการสัมผัส และสูดดมสารพิษจากวัสดุก่อสร้างภายในบ้าน ดังนั้น เจ้าของบ้าน สมาชิกภายในบ้าน และผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างควรรู้เท่าทันภัยร้ายใกล้ตัวเหล่านี้ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยง และหาแนวทางปกป้องสมาชิกภายในบ้านให้ปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

 

Scg 1

 

ทำความรู้จักกับ 2 สารพิษตัวร้าย ที่มักเจือปนอยู่ในวัสดุก่อสร้าง 

 

1. แร่ใยหิน หรือแอสเบสตอส (Asbestos) เป็นแร่ธรรมชาติมีลักษณะเป็นเส้นใยที่ปนอยู่ในเนื้อหิน ถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุก่อสร้างหลายชนิด เช่น กระเบื้องหลังคา ฝ้าเพดาน ท่อน้ำซีเมนต์ ฉนวนกันความร้อน และแผ่นไม้สังเคราะห์ โดยหากสูดดมเข้าไปบ่อยๆ เป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดโรคร้ายเรื้อรัง อาทิ โรคปอดอักเสบ มะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด รวมถึงยังเป็นอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์อีกด้วย

 

2. ตะกั่ว (Lead) เป็นโลหะหนักที่มีลักษณะอ่อนทำให้หลอมเหลวได้ง่าย และสามารถพิมพ์แบบออกมาเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ดี จึงนิยมนำไปใช้ผลิตก๊อกน้ำ และฝักบัว ซึ่งหากการผลิตไม่ได้มาตรฐานจะทำให้มีสารตะกั่วปนเปื้อนมากับน้ำ เมื่อดื่ม หรือสัมผัส อาจส่งผลให้เกิดอาการตะกั่วเป็นพิษ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน มึนชาอวัยวะแขนขา หรืออาจมีอาการความจำถดถอย ไม่มีสมาธิ หากรุนแรงอาจส่งผลให้ชัก ซึม หมดสติ และเสียชีวิต

 

ทั้งนี้ เอสซีจี ในฐานะองค์กรที่มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งมอบโซลูชั่นที่ครบวงจร มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงขอแนะนำเทคนิคเบื้องต้นในการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างอย่างปลอดภัย คือ เลือกแบรนด์ที่เชื่อถือได้ และต้องมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หรือมาตรฐานรับรองจากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ ขณะเดียวกันผู้ใช้ควรหาข้อมูล หรือตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการผลิต และวัสดุที่ใช้ในการผลิตของแต่ละแบรนด์ด้วย

 

Meterial Scg

 

3 เทคนิคดีๆ ในการเลือกวัสดุก่อสร้าง

 

กระเบื้องหลังคา ฝ้าเพดาน และไม้สังเคราะห์ แนะนำให้เลือกผู้ผลิตที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตโดยไม่มีส่วนผสมของใยหิน ซึ่งจะใช้เส้นใยธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะห์พิเศษ เช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตที่ปลอดภัยทดแทน แร่ใยหิน และใช้กระบวนการผลิตและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้วยวัตถุดิบและกระบวนการผลิตข้างต้นจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติที่ดีกว่าวัสดุที่มีส่วนผสมของใยหิน คือ แข็งแรง ทนทาน ไร้สารพิษ และเนื้อเหนียวมากขึ้น  ทั้งยังทนทานต่อจุลินทรีย์ เชื้อรา แบคทีเรีย และสารเคมี ซึ่งเอสซีจี ถือเป็นผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างรายแรกของไทยที่ใช้นวัตกรรมการผลิตแบบไม่มีใยหิน

 

ฉนวนกันความร้อน เป็นวัสดุที่มักเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นวัสดุอันตรายเช่นเดียวกับใยหิน แต่ความจริงแล้ว ฉนวนใย แก้วจะมีลักษณะโครงสร้างเป็นท่อนทรงกระบอกที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะเข้าปอดได้ สำหรับเทคนิคในการเลือกฉนวนใยแก้วให้สังเกตมาตรฐานรับรองเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ อย่างฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ซึ่งได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ขององค์การอนามัยโลก นอกจากนี้ฉนวนใยแก้วยังมีข้อดีด้านความปลอดภัยอีกเรื่อง คือ เป็นวัสดุที่ไม่ลามไฟจึงมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้อย่างแท้จริง

 

ก๊อกน้ำ และฝักบัว ควรผลิตจากโลหะคุณภาพสูงที่ไม่ทำให้น้ำที่ไหลผ่านปนเปื้อนอนุภาคโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  อาทิ ทองเหลือง ทองแดงเจือ ทองบร๊อนซ์ หรือเหล็กกล้าไร้สนิม และหากมีตะกั่วผสมจะต้องมีส่วนผสมไม่เกินค่ามาตรฐานตามที่ มอก. กำหนดไว้ โดยเมื่อทดสอบกับน้ำจะต้องมีปริมาณตะกั่วไม่เกิน 0.007 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ควรพิจารณาผิวภายนอก โดยเลือกที่ผิวเคลือบสี ไม่บุ๋ม ไม่พอง ไม่เป็นคลื่น ไม่แตก ไม่นูน ไม่ร้าว ไม่มีสิ่งสกปรกที่เป็นตำหนิ หรือรูเข็ม

 

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด