Infographic Land Subsidence 2

ที่ดินทรุด ปัญหาที่เช็กและแก้ได้

Categories : Infographic
Tags : ,

เมื่อวันเวลาผ่านไปหลายบ้านมักจะต้องเจอกับปัญหาที่ดินทรุด ก่อให้เกิดปัญหาตามมากมาย เสียทั้งเวลา เสียทั้งเงินฉะนั้นเราจึงควรตรวจสอบดินทรุดด้วยวิธีต่างๆ พร้อมศึกษาวิธีแก้ปัญหา ตรวจสอบดินทรุดอย่างเข้าใจ ก่อนความยุ่งยากทั้งหลายจะตามมา

Infographic Land Subsidence 3

ย้อนอดีตที่ดินของตนเอง

ก่อนจะควักเงินก้อนโตซื้อที่ดินสักผืน ควรตรวจสอบย้อนประวัติกลับไปดูให้ดีว่า ที่ดินนั้นเคยเป็นแอ่ง บ่อน้ำ หรืออยู่ใกล้กับแม่น้ำหรือไม่ เพราะสาเหตุเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่จะก่อให้เกิดน้ำกัดเซาะอยู่ตลอดจนที่ดินทรุดในอนาคต กระทบถึงโครงสร้างบ้านได้ แต่หากเป็นที่ดินมรดกก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันปัญหา

 

เช็คโซนของบ้านเรา

กรุงเทพฯ มีลักษณะเป็นที่ลุ่มต่ำ ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จึงทำให้บางที่ดินเกิดเป็นแอ่ง  มีอัตราการทรุดตัวลงทุกปีประมาณ 1 เซนติเมตร  และยังมีระดับน้ำทะเลหนุนปีละปริมาณ 4 มิลลิเมตร เหล่านี้เกิดจากสิ่งก่อสร้างถูกก่อสร้างบนดินลักษณะอ่อนนุ่มนั่นเองนั่นเอง และถ้าดูผลการสำรวจจากกรมทรัพยากรธรณี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และกรมแผนที่ทหารเมื่อช่วงปี 2551 จะพบว่าแต่ละโซนของกรุงเทพฯ มีที่ดินทรุดตัวมากน้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้พื้นที่ทรุดมากที่สุดคือเขตบางกะปิ โดยมีการทรุดตัวสะสมประมาณ 1.20 เมตรเศษ ส่วนที่น้อยสุดคือฝั่งนนทบุรี

 

พิจารณาที่ดินทรุดช่วงหน้าฝน

ฤดูฝนเป็นช่วงเวลาที่ดีในการเช็คว่าที่ดินมีการทรุดตัวหรือไม่ โดยสามารถดูได้จากปริมาณดินอันไหลไปกับน้ำฝน ในขณะเดียวกันหากเพิ่งถมใหม่ๆ จะทำให้ที่ดินมีความแน่นขึ้น ทั้งนี้การถมที่ให้แน่นมีด้วยกัน 2 วิธีคือ ถมแบบอัด เพิ่มปริมาณความหนาทีละชั้นหน้าดิน เมื่อฝนตกถูกชะล้างออกไป วิธีนี้สามารถป้องกันดินทรุดได้ดี ส่วนวิธีที่ 2 เป็นการถมแบบไม่อัด คือให้เต็มพื้นที่ทีเดียว แน่นอนว่าข้อดีคือได้ความเร็ว แต่ข้อเสียสังเกตได้เลยฝนตกแบบนี้ ดินทรุดแน่นอน

 

แก้ไขรับมือปัญหาที่ดินทรุด

 

ถมที่ดินใหม่ให้แน่น

การถมที่ดินในหน้าฝนจะทำให้ดินแน่น แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของการถมด้วย ซึ่งแน่นอนว่าการถมแบบบีบอัด ย่อมป้องกันปัญหาที่ดินทรุดได้อย่างดี แต่ถ้าต้องการความแน่น เพื่อความชัวร์ว่าสร้างบ้านหรืออาคารไปแล้วไม่ทรุด ต้องเพิ่มปริมาณดินทีละชั้นประมาณ 20-50 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะดินด้วย ประกอบกับระหว่างการถมต้องอัดให้แน่นทีละชั้น แล้วค่อยถมต่อ อันเป็นกระบวนการของการบีบอัดหน้าดิน ซึ่งต้องทำเช่นนี้จนกว่าจะได้ระดับดินจนเต็มพื้นที่ ทั้งนี้เมื่อถมเสร็จ สังเกตว่าปริมาณดินไม่เกิดการยุบตัวลง จึงค่อยลงมือสร้างบ้านหรืออาคารนั้นได้

 

สร้างกำแพงดิน

กรณีดินเกิดการทรุดตัวลงแล้วให้ใช้วิธีสร้างกำแพงดิน ซึ่งอาจเกิดจากขั้นตอนการถมดินโดยไม่ได้ใช้วิธีบีบอัด ทำให้ดินไหลไปกับกระแสน้ำ ดังนั้นวิธีแก้ไขเฉพาะหน้าคือต้องสร้างกำแพงดินนั่นเอง

 

ปูหญ้าแฝก

เรียกว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาดินทรุด ที่ประหยัดสุดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีปลูกหญ้าแฝกในแนวสโลบ เพื่อป้องกันดินสไลด์ในช่วงหน้าฝนหรือฤดูน้ำหลาก ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมปลูกขวางแนวลาดชัน ทั้งนี้เป็นการป้องกันน้ำกัดเซาะ นิยมกับพื้นที่ริมแม่น้ำ

 

ทั้งวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้อาจจะต้องใช้เวลากันระยะหนึ่งเลยครับ แต่ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องบ้านของเราให้ ไร้ปัญหาที่ดินทรุด เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลในอนาคต

 

 

 

บทความ Infographic ล่าสุด