Covid19 Small Developer

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ชี้พิษโควิด-19 ทุบอสังหาฯ รายเล็ก เสี่ยงปิดตัว-ถูกเทคโอเวอร์

ดีดี พร็อพเพอร์ตี้ ประเมินตลาดอสังหาฯ  โดนผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทุบราคาดิ่ง  ดีเวลลอปเปอร์เร่งระบายสต็อกของเก่า ลดเปิดโปรเจ็กต์ใหม่ ราย เล็ก น่าห่วงอาจปิดตัวหรือโดนเทคโอเวอร์ ชี้หลังผ่านพ้นวิกฤต บ้าน-คอนโดฯ ต้องปรับรูปแบบสอดคล้องกับ New Normal ผู้บริโภค

 

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2563 จะเป็นปีของการระบายสินค้าคงค้าง ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากจะส่งผลให้ราคาและจำนวนของอสังหาฯ ลดลงแล้ว ยังจะสร้างจุดเปลี่ยนของทั้งพฤติกรรมการขายของผู้ประกอบการ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค รวมไปถึงความต้องการที่อยู่อาศัยและสินค้าของตลาดอสังหาฯ ด้วย​

Ddpropperty

เนื่องจากผลกระทบทั้งโควิด-19 ผนวกกับสภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ผู้บริโภคหันไปมองตัวเลือกที่ตรงกับความต้องการ  และความเป็นจริงมากที่สุด โดยเมื่อประเมินสถานการณ์อสังหาฯ หากวิกฤติโควิด-19 ยังดำเนินต่อไป จะเป็นงานหนักสำหรับดีเวลลอปเปอร์ โดยเฉพาะรายเล็ก และเมื่อภาคธุรกิจขาดสภาพคล่อง จะเริ่มเห็นแนวโน้มการปิดตัวลงของ ดีเวลลอปเปอร์รายเล็ก รวมถึงการเทคโอเวอร์จากดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ด้วย

ในส่วนของผู้บริโภค  จากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้เม็ดเงินในกระเป๋าของผู้บริโภคลดลง ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชะลอการตัดสินใจซื้ออสังหาฯ  และจะกระทบต่อตลาด อสังหาฯ มากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม หากสามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อได้ และจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงจนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ประเมินว่าจะเห็นแนวโน้มที่แต่ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นตั้งแต่ในไตรมาส 2 เป็นต้นไป แม้ว่าสภาพตลาดโดยรวมจะไม่สดใสมากนัก   เนื่องจากผู้บริโภคปรับตัวให้รับกับสถานการณ์ แต่จะเห็นว่าทุกอย่างจะกลับมาดีขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาส 3 โดยผู้ประกอบการหลายรายจะดำเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อกระตุ้นตลาดและธุรกิจ และคาดว่าจะดีที่สุดในไตรมาส 4 เพราะภาครัฐน่าจะหันกลับมาพิจารณาให้ความสำคัญกับภาคอสังหาฯ โดยมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมและผ่อนปรนต่าง ๆ ออกมาเพื่อสนับสนุนให้อสังหาฯ ยังคงเดินต่อไปได้

โควิด-19 ต้นเหตุซัพพลายใหม่-ราคาลด

Home Real Estateจากการระบายสต๊อกคงค้างที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 ช็อคทำให้ซัพพลายใหม่ที่จะออกสู่ตลาดลดลงจากเฉลี่ยปีละกว่า 50,000 ยูนิต เหลือเพียงไม่เกิน 30,000 ยูนิต ส่งผลให้ยอดสะสมของคอนโดมิเนียมลดลง ถือเป็นการปรับฐานใหม่อีกครั้งสำหรับอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังทำให้ราคาอสังหาฯ ปรับตัวลดลงอย่างมากด้วย

 

สอดคล้องกับรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด ที่พบว่า ในไตรมาสแรกของปี 2563 ตลาดอสังหาฯ ของไทยชะลอตัวลงทั้งด้านราคาและปริมาณ โดยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลง 9% ในขณะที่ดัชนีปริมาณลดลง 3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

 

คาดว่าในไตรมาส 2 ผู้ประกอบการอสังหาฯ จะยังคงชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ โดยเฉพาะรายกลางและรายเล็ก เพื่อเร่งระบายสินค้าที่มีอยู่ในตลาดก่อน โดยเฉพาะสินค้าระดับราคา 3 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งมีอยู่ในตลาดถึง 75% ของปริมาณสินค้าทั้งหมด

สินค้าใหม่เน้นความเป็นส่วนตัวและตอบโจทย์ WFH

นอกจากจำนวนซัพพลายที่ลดลงแล้ว ยังจะทำให้เกิด New Normal หรือสภาวะปกติรูปแบบใหม่ ในภาคอสังหาฯ ด้วย คือการใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น มีการทำงานที่บ้านหรือ Work From Home ทำให้เห็นโอกาสในการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้งานของที่อยู่อาศัย ไปจนถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ใหม่ไปด้วย

 

ภาพที่จะเห็นในอนาคตคือ การพัฒนาและปรับเปลี่ยนเรื่องฟังก์ชันภายในที่พักอาศัย เช่น ให้ความสำคัญกับห้องทำงานมากพอกับห้องนอน หรือพื้นที่ส่วนกลางของคอนโดฯ ที่ก่อนหน้านี้ให้ความสำคัญกับ Co-working space หรือ Co-kitchen แต่โควิด-19 ทำให้ผู้บริโภครักษาระยะห่างมากขึ้นและใส่ใจเรื่องความสะอาดมากกว่าเดิม

 

สินค้าใหม่ของดีเวลลอปเปอร์ที่จะผลิตออกมา จะชูจุดขายเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว เช่น ห้องครัว หรือห้องทำงาน แบบรองรับคนเพียงคนเดียว จะเป็นรูปแบบที่ถูกได้รับความสำคัญมากอย่างยิ่ง รวมถึงการให้น้ำหนักไปกับ Living Room หรือห้องทำงานมากกว่าห้องนอน เพราะเมื่อคนทำงานอยู่ที่บ้าน มักใช้เวลาในห้องเหล่านี้มากกว่าห้องนอน

 

 

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด