รีบจองเลย!! ใครอยากมีบ้าน “โครงการบ้านประชารัฐ” ให้กู้ 100% จองเพียง 1

รีบจองเลย!! ใครอยากมีบ้าน “โครงการบ้านประชารัฐ” ให้กู้ 100% จองเพียง 1,000 บาท ผ่อนเดือนละ 3,000 บาท แถมผู้ซื้อไม่ต้องจ่ายค่าโอนฯ อีกด้วย

โครงการบ้านประชารัฐเป็นการปล่อยกู้ให้ผู้ มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัย ในราคาไม่เกิน 700,000 บาท และไม่เกิน 1,500,000 บาท เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ทั้งผู้ที่มีรายได้ประจำ เช่น ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน ให้สามารถมีที่อยู่อาศัยในราคาที่ไม่เกิน 1,500,000 บาท เป็นของตัวเอง หรือซ่อมแซมและต่อเติมที่อยู่อาศัย ผ่านการปล่อยกู้จากธนาคาร 3 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์

โดยเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐ จะต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน หรือเป็นบ้านหลังแรก ราคาที่อยู่อาศัยรวมที่ดินไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ได้ทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง หรือบ้านที่ปลูกในที่ของตัวเอง โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะบ้านที่รัฐจะสร้างใหม่บนที่ราชพัสดุ สำหรับการกู้เพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมนั้น ผ่อนปรนให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย แต่ให้กู้ไม่เกิน 5 แสนบาท

ทั้งนี้ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ จะแบ่งวงเงินกู้โครงการบ้านประชารัฐเป็นสองส่วน คือ วงเงินกู้ไม่เกิน 7 แสนบาทและวงเงินกู้ระหว่าง 7 แสน – 1.5 ล้านบาท

เงื่อนไข ธนาคารออมสิน 

1.วงเงินกู้ไม่เกิน 7 แสนบาท ใช้อัตราดอกเบี้ย ในปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0% ผ่อน 3,000 บาท/เดือน /ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 2% ผ่อน 3,000 บาท/เดือน /ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5% ผ่อน 4,000 บาท/เดือน และปีที่ 7-30 ดอกเบี้ยลอยตัว (MRR) -1.475% ผ่อน 4,000 บาท/เดือน (ข้อมูลเฉพาะธนาคารออมสิน)

2.วงเงินกู้ระหว่าง 7 แสน – 1.5 ล้านบาท ใช้อัตราดอกเบี้ย ในปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 3% ผ่อน 7,200 บาท/เดือน /ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5% ผ่อน 8,600 บาท/เดือน และปีที่ 7-30 ดอกเบี้ยลอยตัว (MRR) -1.475% ผ่อน 9,100 บาท/เดือน (ข้อมูลเฉพาะธนาคารออมสิน)

เช็ครายละเอียดการขอกู้ กับธนาคารออมสิน ที่นี่ ธนาคารออมสิน

เงื่อนไข ธนาคารอาคารสงเคราะห์

(1) อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษสำหรับกรณีวงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัย ราคาไม่เกิน 7 แสนบาทต่อหน่วย และกรณีวงเงินสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมและ/หรือต่อเติมอาคารวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาทต่อหน่วย คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนี้

ปีที่ 1 = 0.00% ต่อปี

ปีที่ 2 – ปีที่ 3 = 2.00% ต่อปี

ปีที่ 4 – ปีที่ 6 = 5.00% ต่อปี

ปีที่ 7 – ปีที่ 30 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว = MRR-0.75% ต่อปี

(2) อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนสำหรับกรณีวงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัย ราคามากกว่า 7 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนี้

ปีที่ 1 – ปีที่ 3 = 3.00% ต่อปี

ปีที่ 4 – ปีที่ 6 = 5.00% ต่อปี

ปีที่ 7 – ปีที่ 30 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว

– กรณีลูกค้ารายย่อย = MRR-0.75% ต่อปี

– กรณีลูกค้าสวัสดิการ = MRR-1.00% ต่อปี

เช็ครายละเอียดการขอกู้ กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่นี่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ขั้นตอนการสมัครโครงการฯ

1.สมัครโครงการบ้านประชารัฐ ธนาคารที่ร่วมโครงการ เอกสารสมัคร (ข้างล่าง)

2.เข้าเวปไซต์ http://www.google.co.th ค้นหาคำว่า ทรัพย์สินรอการขาย

2.1.ธนาคารออมสิน http://properties.gsb.or.th/properties/index.php

2.2.ธนาคารกรุงไทย www.ktb.co.th/npa

2.3.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ www.ghbhomecenter.com/ghb

3.ค้นหาและจดเลขที่ทรัพย์สินที่สนใจ ในวงเงินที่กำหนด

4.โทรสอบถามธนาคารที่ร่วมโครงการ

เอกสารการใช้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2559 จนกว่าจะสิ้นสุดโครงการ 2ปี(ธนาคารออมสิน)

1.สำเนาบัตรบัตรประชาชน

2.สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัย

3.หนังสือรับรองเงินเดือน (ตัวจริง)

4.สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน

หมายเหตุกรณีกู้เพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซม วงเงินไม่เกิน 5 แสนบาท บ้านต้องไม่ติดกู้และเป็นเจ้าบ้าน

สำหรับพื้นที่การเปิดจองบ้านประชารัฐ เช็คได้ที่นี่ การเคหะแห่งชาติ

ตัวอย่างโครงการที่เปิดจอง

ตัวอย่างโครงการบ้านเอื้ออาทร

เปิดโครงการบ้านประชารัฐ

บ้านประชารัฐคืออะไร

โครงการบ้านประชารัฐ คือ โครงการปล่อยสินเชื่อวงเงิน 70,000 ลบ.ของรัฐบาล เอื้อต่อผู้มีรายได้น้อยให้สามารถซื้อบ้านได้แบบดอกเบื้ยถูกลง แบ่งเป็น

1.สินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอกชนภาคอสังหาริมทรัพย์สร้างที่อยู่อาศัย ในวงเงิน 3 หมื่นลบ. ผ่านธนาคารกรุงไทย ออมสิน และธอส.

2.สินเชื่อให้ประชาชนกู้ซื้อบ้าน ผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ แห่งละ 2 หมื่นลบ. รวม 4 หมื่นลบ.โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี

บ้านประชารัฐจะครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทุกอันต้องมีราคาไม่เกิน 1.5 ลบ. ไม่ว่าจะสร้างบนที่ดินของตนเอง โครงการของเอกชน หรือสร้างบนที่ดินของรัฐ และยังครอบคลุมไปจนถึงที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมทั้ง NPA ของกรมบังคับคดี

 โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ทั้งผู้ที่มีรายได้ประจำ เช่น ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน ให้สามารถมีที่อยู่อาศัยในราคาที่ไม่เกิน 1.5 ลบ. เป็นของตัวเอง หรือซ่อมแซมและต่อเติมที่อยู่อาศัยโดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2559

บ้านประชารัฐ มีที่ไหนบ้าง

ที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการบ้านประชารัฐมีราคาไม่เกิน 1.5 ลบ. ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งสร้างบนที่ดินของตนเอง โครงการของเอกชน หรือโครงการที่สร้างบนที่ดินของรัฐ ซึ่งครอบคลุมที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยโครงการของเอกชนจะประกอบไปด้วยโครงการบ้านของ Developers ชั้นนำ เช่น LPN, พฤกษา, ศุภาลัย ซึ่งบางโครงการจะเข้าร่วมบางส่วน (เฉพาะที่ราคาไม่เกิน 1.5 ลบ.) หรือบางโครงการมีราคาไม่เกินนี้อยู่แล้วก็จะเข้าร่วมทั้งหมด

ใครมีสิทธิ์จองบ้านประชารัฐบ้าง

ผู้ขอสินเชื่อจะต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 65 ปี ส่วนการซื้อบ้าน เช่าซื้อ หรือสร้างใหม่ ราคาหลังละไม่เกิน 1.5 ลบ. และเป็นบ้านหลังแรกเท่านั้น โดยผู้ขอสินเชื่อ ต้องไม่เคยมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านมาก่อน ยกเว้นว่า จะเป็นการซ่อมแซมหรือต่อเติมที่อยู่อาศัยรวมทั้งผู้ขอสินเชื่อ ต้องไม่มีชื่อเป็นหรือเคยเป็น “เจ้าบ้าน” ในทะเบียนบ้านที่นำมาแสดงเป็นหลักฐานการยื่นกู้กับธนาคาร และต้องมีชื่อเป็น “ผู้อยู่อาศัย” ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้น มีชื่อเป็นเจ้าบ้านแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านนั้น

สำหรับคนที่มีบ้านแล้ว สามารถขอสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมและตกแต่งที่อยู่อาศัยได้ ในวงเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท คิดดอกเบี้ยเท่ากับกรณีที่กู้บ้านไม่เกิน 7 แสนบาท ทั้งนี้มูลค่ารวมของที่ดินและที่อยู่อาศัยที่จะขอกู้เพื่อซ่อมแซมหรือต่อเติมต้องไม่เกิน 1.5 ลบ.

เงื่อนไขพิเศษสำหรับผู้จองบ้านประชารัฐ

สิทธิพิเศษเพื่อผู้จองบ้านประชารัฐ คือ ไม่จำกัดรายได้ผู้ขอสินเชื่อ ครอบคลุมทั้งข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ บุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมาก่อน

นอกจากนั้นแล้ว ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัย จะลดราคาบ้านให้อีกอย่างน้อย 2% จากราคาขายสุทธิ ทำให้วงเงินขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านลดลง
 พร้อม ฟรีค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจำนอง
 ฟรีค่าส่วนกลาง 1 ปี
 แถมดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ ระยะเวลาผ่อนสูงสุดถึง 30 ปี
 เท่านั้นยังไม่พอ! ธนาคารยังผ่อนปรนสัดส่วนความสามารถชำระหนี้ต่อรายได้เพิ่มเป็นสูงสุดไม่เกิน 50% ของรายได้สุทธิต่อเดือนกรณีลูกค้ารายย่อย จากเดิม 33% อีกด้วย

อัตราดอกเบี้ยและสินเชื่อบ้านประชารัฐ

ในส่วนของประชาชนนั้น แยกเป็นเงินกู้เพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 700,000 บ. และไม่เกิน 1.5 ลบ. หรือกรณีกู้เพื่อซ่อมแซมวงเงินไม่เกิน 500,000 บ. จะมีรายละเอียด ดังนี้

โครงการบ้านประชารัฐจะแบ่งวงเงินกู้ออกเป็น 2 ส่วนคือ

1. วงเงินกู้ต่ำกว่า 700,000 บ.

ปีที่ 1     ดอกเบี้ย 0%

ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 2%

ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%

ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว

* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี (ปัจจุบัน MRR 6.75%)

* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ย MRR – 1.475% (ปัจจุบัน MRR 7.475%)

เราสามารถเลือกผ่อนได้ถึง 30 ปี หากเราขอสินเชื่อในวงเงิน 300,000 – 700,000 บ. เป็นเวลา 10-30 ปี จะต้องเลือกผ่อนจ่ายอย่างไร ดูได้จากตารางด้านล่างนี้

จากตารางด้านบนจะเห็นว่า ถ้าเราขอสินเชื่อ 700,000 บ.  ปีที่ 1-3 จะผ่อนแค่เดือนละ 3,000 บ. พอปีที่ 4-6 จะผ่อนเดือนละ 4,100 บ. ขณะที่ปีที่ 7 เป็นต้นไป ผ่อนเดือนละ 4,500 บ.

2. วงเงินกู้ 700,001-1,500,000 บ.

ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 3%

ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%

ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว

* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี สำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ MRR–1% ต่อปี  สำหรับลูกค้าสวัสดิการ

* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ย MRR –1.475% สำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ MRR -1.725% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ

และหากเราขอสินเชื่อในวงเงิน  700,000-1,500,000 บ. เป็นเวลา 10-30 ปี จะต้องเลือกผ่อนจ่ายอย่างไร ดูได้จากตารางด้านล่างนี้

และถ้าหากเราขอสินเชื่อ 1.5 ลบ. และขอผ่อนชำระ 30 ปี ปีที่ 1-3 จะผ่อนแค่เดือนละ 7,200 บ. พอปีที่ 4-6 จะผ่อนเดือนละ 8,900 บ. ขณะที่ปีที่ 7 เป็นต้นไป ผ่อนเดือนละ 9,700 บ.

กรณีกู้ซ่อมแซม หรือต่อเติม

วงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บ. เริ่มต้นผ่อนชำระ 2,100 บ./เดือน

เอกสารประกอบการขอสินเชื่อบ้านประชารัฐ

บ้านประชารัฐ ธนาคารออมสิน

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้และคู่สมรส

2. สำเนาใบสำคัญสมรส หรือสำเนาใบแสดงการหย่า หรือสำเนาใบมรณบัตรของผู้สมรส

3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอกู้และคู่สมรส

บ้านประชารัฐ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

1. บัตรประจำประชาชน/ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

3. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่

4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล

5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส

6. ใบรับรองเงินเดือน/หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ

7. สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน

8. สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ) และ 12 เดือน (กรณีอาชีพอิสระ)

9. สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ

10. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้

11. รูปถ่ายกิจการ

12. สำเนาใบประกอบวิชาชีพ

เอกสารหลักประกันเงินกู้

1. สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย/สัญญาวางมัดจำ/สัญญาเช่าซื้อการเคหะ

2. สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน

3. สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3ก./หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดทุกหน้า กรณีซื้อสินทรัพย์มือสองต้องรับรองสำเนาโดยเจ้าพนักงานที่ดิน

โครงการบ้านประชารัฐ กำหนดระยะเวลาดำเนินงานไว้ไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่ วันที่ 22 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป และหากวงเงินเต็มแล้ว ก็ต้องลุ้นดูกันว่า จะมีการขยายวงเงินเพิ่มเติมอีกหรือไม่?

ทั้งนี้ บ้านประชารัฐนี้ คาดว่า จะมีประชาชนได้รับผลประโยชน์ราว 40,000-50,000 รายเลยทีเดียว จึงนับว่าเป็นนโยบายภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ประโยชน์ตกอยู่กับผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานเต็มที่

เผยรายชื่อ บ้านประชารัฐ ผู้ประกอบการตบเท้าเข้าร่วมกว่า 4 หมื่นยูนิต

ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่ามีทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียม 55 โครงการ จำนวนกว่า 1.2 หมื่นยูนิต ที่เข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐจาก 8 บริษัท อสังหาฯ ได้แก่ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท, บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์, บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์, บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, บมจ.ศุภาลัย, บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้, บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ และ บมจ.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รวมถึง “กคช.-การเคหะแห่งชาติ” ที่ขน 2.67 หมื่นยูนิตภายใต้แบรนด์ “โครงการเคหะประชารัฐ” ร่วมแจมด้วย

ประชาชนแห่จองบ้านเคหะประชารัฐ

ที่มา :  http://thaihitz.com/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90/

 

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด