Krungthaicompass Construction

ตรวจชีพจร ธุรกิจก่อสร้าง และ โอกาสทางธุรกิจใน New Normal

ภาคการก่อสร้างมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ และครัวเรือน​โดยใน ปี 2563 การลงทุนภาคก่อสร้างมีมูลค่า 1.32 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนใน GDP สูงถึง 8.4% การเปลี่ยนแปลงในเซ็กเมนต์ต่าง ๆ ทั้งงานโยธา งานอาคาร และงานเฉพาะด้าน กระทบกับห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ ทั้งธุรกิจเหมืองแร่ งานออกแบบ การจัดหาแรงงาน/การจ้างงาน การผลิต/จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจเฟอรน์นิเจอร์ รวมถึงสถาบันการเงิน เป็นต้น

 

ขณะเดียวกัน ยังเป็นเครื่องมือ สำคัญของภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561-2563) ธุรกิจก่อสร้างมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 2.4% ต่อปี แม้ในปี 2563 ธุรกิจได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของภาคอสังหาริมทรัพย์ และการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ภาพรวมขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ ท่ามกลางภาวะะถดถอยทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการก่อสร้างภาครัฐยังคงเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง แต่ในส่วนของการก่อสร้างภาคเอกชนกลับหดตัวรุนแรงที่สุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแตปี 2558

ภาพรวมธุกิจปี 2563

การลงทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้น 2.2% โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการก่อสร้างภาครัฐที่ยังสามารถเติบโตได้ที่ระดับ 5.7% ขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชน หดตัว 2.2% ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2558 โดยเฉพาะงานก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย (Dwellings) ที่มีสัดส่วน 52% ของมูลค่างานก่อสร้างภาคเอกชน หดตัวมากถึง 6.7% ภาวะซบเซาของภาคอสังหาฯ ส่งผลให้งานก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยภาคเอกชนหดตัว ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

Krungthaicompass Construction 1

ในปี 2564 การลงทุนก่อสร้างมีแนวโน้มขยายตัวประมาณ 4.1% เร่งตัวขึ้นจาก 2.2% ในปี 2563 ตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ โดยเพิ่มขึ้นจากการ ก่อสร้างภาครัฐซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่อเนื่องในพื้นที่ EEC รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมในภูมิภาค และงานก่อสร้าง ภาคเอกชนบางส่วนที่มีแนวโน้มฟื้นตัวเช่นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยแนวราบเนื่องจาก Developer ส่วนใหญ่หันไปพัฒนาบ้านจัดสรรกันมากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคที่มี ข้อจำกัดด้านพื้นที่และราคาที่ดินไม่มากเท่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งโครงการ คอนโดมิเนียมบริเวณแนวสถานีรถไฟฟ้าบางส่วนที่ Developer เลื่อนการก่อสร้าง มาจากปี 2563

 

-งานก่อสร้างภาครัฐยังเป็นเป้าหมายหลักของผู้รับเหมา เนื่องจากยังมีแนวโน้มเติบโตตามการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายลงทุนของงบประมาณประจำปี 2564 ซึ่งคาดว่าจะสนับสนุนให้การลงทุนก่อสร้างภาครัฐเพิ่มขึ้น 4.9% อย่างไร ก็ดี เซ็กเมนต์นี้ อาจจะต้องมองหาล่ทูางเพื่ออกระจายความเสี่ยงในการพึ่งพา งานก่อสร้างภาครัฐเพียงด้านเดียว เพราะงานภาครัฐก็มีความเสี่ยงจากความ ล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนให้กับกระแสเงินสด

 

-งานก่อสร้างภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างเปราะบาง  ประมาณ 3.0%ในปี 2564 แต่ยังมีมูลค่าต่ำเมื่อเทียบกับปี 2561-2562 เพราะธุรกิจที่อยู่อาศัย ภาคเอกชนซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อน (driver) หลักต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัว รวมถึงการ ก่อสร้างในกล่มุธุรกิจโรงแรมใหม่ ๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งจำเป็นต้องรอแรงหนุนจากมาตรการภาครัฐที่จะช่วยฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่หดตัวรุนแรง ต่อเนื่องทุกไตรมาส ทั้งอาคารที่อยู่อาศัย และไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ดังนั้น  เซ็กเมนต์​นี้ อาจต้องใช้ระยะเวลานานกว่า ปี 2565 ที่จะกลับไปอยู่ในระดับที่ ใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤติโควิด-19

Krungthaicompass Construction 2

ผลประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

นอกจากภาวะซบเซาของภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ที่กดดันผลประกอบการ ผู้รบัเหมาก่อสร้างงานอาคารภาคเอกชนแล้วผู้รบัเหมางานก่อสร้างภาครัฐยังได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของการอนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2563-2564 จนมีการเลื่อนประมูลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ รวมถึงปัญหาความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณในการก่อสร้าง ส่งผลต่อการดำเนินงานของผู้รับเหมาก่อสร้าง ทั้งระบบ

 

-หากพิจารณาผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 35 ราย (แบ่งเป็น จดทะเบียนใน SET 26 ราย และ mai 9 ราย) พบว่าในปี 2563 มีรายได้รวม 206,236 ล้านบาท ลดลง 6.6%(YoY) ผู้ประกอบการ 74% ประสบปัญหาใน การดำเนินธุรกิจ สะท้อนจากรายได้ที่ลดง ผลกำไร/อัตรากำไรสุทธิที่ลดลง หรือผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิโดยเฉพาะผู้ประกอบการที่จดทะเบียนใน mai ทุกราย ประสบปัญหาด้านผลการดำเนินงาน โดยรวมแล้ว ผู้ประกอบการ ที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนมีสัดส่วนสูงถึง 37% เพิ่มขึ้นจาก 35% ในปี 2562 และความสามารถในการทำกำไร (วัดจากอัตรากำไรสุทธิ) ส่วนใหญ่แนวโน้มลดลง ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่ผลกระทบของ โควิด-19 เกิดขึ้นในวงกว้าง จึงคาดว่าผลการดำเนินงานของกล่มุผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็กที่ไม่ได้จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็คงประสบปัญหาไม่แตกต่างกัน

 

-แต่สิ่งที่น่ากังวลมากไปกว่าน้ัน คือ ผลการดำเนินงานและความสามารถในการ ทำกำไรของผู้ประกอบการที่ลดลง ได้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ และทาให้คุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในธุรกิจก่อสร้าง ด้อยลงตามไปด้วย

Krungthaicompass Construction 3

ผลประกอบการจำแนกตามขนาดรายได้ เมื่อจำแนกผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามขนาดรายได้ จะพบว่า ในปี 2563 ทุกกลุ่มประสบปัญหาด้านรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มรายได้ < 1,000 ล้านบาท ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด ทั้งด้านรายได้ ความสามารถในการทำกำไร และ ความสามารถในการชำระหนี้ ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่ม > 1,000 ล้านบาท แม้รายได้ ลดลง แต่เนื่องจากส่วนใหญ่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งด้านความชำนาญ ด้านชื่อเสียง และด้านต้นทุน เนื่องจากมีอายุกิจการยาวนานกว่า ทำให้มีความสามารถ ในการทำกำไรสูงกว่าภาพรวม และในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา กลุ่ม 1,000-5,000 ล้านบาท ยังคงมีความโดดเด่นด้านความสามารถในการทำกำไร และความสามารถในการชำระหนี้ อย่างต่อเนื่อง

Krungthaicompass Construction 4 Krungthaicompass Construction 5

สถานการณ์สินเชื่อและคุณภาพหนี้ธุรกิจก่อสร้าง

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คุณภาพสินเชื่อธุรกิจก่อสร้าง​โดยรวมเริ่มด้อยลง โดยเฉพาะ ในกลุ่มงานโยธาซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างภาครัฐ มีสัดส่วน Non-Performing Ratio เร่งตัวขึ้นมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับกลุ่มงานก่อสร้างเฉพาะด้าน ขณะที่คุณภาพสินเชื่อผู้รับเหมางานอาคารทรงตัวอยู่ในระดับสูง และสูงกว่าค่าเฉลี่ย NonPerforming Ratio ของสินเชื่อธุรกิจในระบบธนาคารพาณิชย์

 

คุณภาพสินเชื่อธุรกิจก่อสร้าง: ณ สิ้นไตรมาส 4/2563 ยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อแก่ธุรกิจก่อสร้างในระบบธนาคารพาณิชย์มีมูลค่ารวม 280,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.8% (YoY) โดยเพิ่มขึ้นในกลุ่มงานโยธา (Civil engineering) และกลุ่มงานก่อสร้างเฉพาะด้าน (Specialized construction) ขณะที่กลุ่มงานก่อสร้างงาน อาคาร (Construction of buildings) หดตัวลงตามภาวะซบเซาของธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเมื่อพิจารณาด้านคุณภาพสินเชื่อ พบว่า ธุรกิจก่อร้างมีสัดส่วน Non-Performing Ratio ณ สิ้นไตรมาส 4/2563 อยู่ที่ระดับ 7.7% สูงกว่าค่าเฉลี่ย Non-Performing Ratio ของสินเชื่อธุรกิจโดยรวม (ไม่รวมสินเชื่ออุปโภคบริโภค ส่วนบุคคล & กิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย) ในช่วง 7 ปี (ปี 2557-2563) ที่ระดับ 4.0%

Krungthaicompass Construction 6 Krungthaicompass Construction 7

คุณภาพหนี้สินเชื่อธุรกิจก่อสร้างโดยด้อยกว่าคุณภาพหนี้สินเชื่อธุรกิจโดยรวม และมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยสัดส่วน Non-Performing Ratio เร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 6.9% และ 7.7% ในไตรมาส 4/2562 และ ไตรมาส 4/2563 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เกิดจากสินเชื่อผู้รับเหมางานอาคารและงานเฉพาะด้านที่เร่งตัวขึ้นโดยเฉพาะ กลุ่มผู้รับเหมางานอาคารที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงที่สุดในกลุ่ม จากภาวะตลาดที่หดตัวต่อเนื่องในช่วง 2 ปี ที่ ผ่านมา ขณะเดียวกัน ในปี 2563 NonPerforming Ratio สินเชื่องานโยธาก็เร่งตัวขึ้นสูง (เฉลี่ย 7.1%) ใกล้เคียงงานเฉพาะด้าน เทียบกับช่วงก่อนหน้า (ปี 2557-2561) ที่มีค่าฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำกว่า 2% และต่ำที่สุดในกลุ่มก่อสร้าง

Krungthaicompass Construction 8

New Normal ของธุรกิจก่อสร้าง

ในช่วงก่อนหน้านี้ เราเห็นผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่หลายรายหันไปสร้างโอกาส ในธุรกิจอื่น เช่นเดียวกับผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่อยู่ในธุรกิจพลังงาน ธุรกิจ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจอาหาร อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการเงิน ตัวอย่างของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ได้แก่ บมจ.ช.การช่าง (CK) ลงทุนผ่าน บริษัทลูกในธุรกิจทางด่วนและรถไฟฟ้า ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ธุรกิจผลิต จำหน่ายน้าประปา และบริหารจัดการน้าเสีย บมจ.พรีบิลท์ (PREB) ลุงทุนครบวงจร จากงานรับเหมาก่อสร้างสู่ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ผลิตภัณฑ์สิ่งก่อสร้าง และวัตถุดิบขั้นต้น เป็นต้น จากนี้ไป แรงกดดันจากภาวะซบเซาของภาคอสังหาริมทรัพย์ วิกฤตโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย และแนวโน้มข้อจำกัด/ความล่าช้าด้านงบประมาณภาครัฐ จะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายกลางปรบั ตัวและหันไปหาโอกาสใน ธุรกิจอื่นกันมากขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยง อย่างไรก็ดี ในส่วนของธุรกิจเดิม จะเกิดการเปลี่ยนแปลงจน เกิดโอกาสใหม่ที่เป็น New Normal ของธุรกิจ ก่อสร้าง ใน Segment ที่สามารถตอบสนอง Green Economy, Health/Aging Society และ วิถีWFH

กระแส Green Economy

เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Green Economy เป็นเป้าหมายของทั่วโลกรวมถึง ประเทศไทย ที่บรรจุอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-CircularGreen Economy: BCG) ดังนั้นงานก่อสร้างภาครัฐและเอกชน ที่สามารถ สนับสนุนเศรษฐกิจสีเขียว จะเป็นที่ต้องการในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง ด้านพลังงานที่ไม่ใช้ฟอสซิล เช่น งานออกแบบ/ติดตั้งระบบพลังงานไฟฟ้าจาก แสงอาทิตย์ของภาคครัวเรือน (Solar Rooftop) และงานก่อสร้างภาครัฐที่ เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)/การสนับสนุนให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ งานออกแบบ/ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย/ขยะ และรวมไปถึงการผลิต/ใช้วัสดุก่อสร้างที่ประหยัดพลังงาน หรือเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม

Health/Aging Society

จากข้อมูลของกรมการปกครองพบว่า ณ สิ้นธันวาคม 2563 ประเทศไทยมี สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 18% ของจำนวนประชากร โดยรวม นอกจากนั้น หลายองค์กรประเมินว่าสัดส่วนดังกล่าวจะเกิน 20% ในปี 2564 นี้ ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ขณะเดียวกันสภาพัฒน์ ประเมินว่า สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของไทยในอีก 20 ปี ข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นเป็น 31% นั่นหมายถึงโอกาสทางธุรกิจเพื่อรองรับความต้อง สินค้า/บริการของประชากรกลุ่มนี้ ดังนั้น การก่อสร้างหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ เกี่ยวข้องกับ Health/Aging Society จะเป็นที่สนใจของ Developer และ ครัวเรือนมากขึ้น เช่น การสร้าง/ปรับปรุงอาคารที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ วัสดุ/อุปกรณ์ก่อสร้าง และระบบ Automation ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแล สุขภาพ/การป้องกันเชื้อโรค และรวมไปถึงงานออกแบบ ที่สามารถตอบโจทย์การ เพิ่มขึ้นของคนกลุ่มนี้ เป็นต้น

วิถี WFH

บทเรียนจากวิกฤตโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา องค์กรที่ยังอยู่รอดส่วนใหญ่ พบว่า Work from Home (WFH) นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายสำนักงานได้ระดับหนึ่งแล้ว บางองค์กรยังสามารถเพิ่ม Productivity ได้ด้วย และหลาย หน่วยงานได้ปรับปรุงสถานที่ลดความสำคัญของการทำงานที่ Office ลง ดังนั้น นอกจากงานปรับปรุงอาคารสำนักงานแล้ว งานปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เป็น Home Office เพื่อรองรับวิถี WFM ก็จะตามมามากขึ้น ซึ่งอาจเป็นโอกาสของ ผู้รับเหมารายย่อยที่ค่อนข้างเสียเปรียบในการเข้าไปรับงานในโครงการขนาด ใหญ่ รวมทั้งงานก่อสร้าง/ตกแต่งอาคารประเภท ประเภท Co-Working Space ที่สามารถตอบโจทย์ในยุคปัจจุบัน

 

งานก่อสร้างในภูมิภาค/ต่างประเทศ ที่ผ่านมาการแข่งขันในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่มีความ รุนแรง ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ใช้ความได้เปรียบด้านความชำนาญ ด้านชื่อเสียง และด้านต้นทุน เข้าไปรับงานในภูมิภาค ซึ่งแนวโน้มงานที่อยู่อาศัยใน ต่างจังหวัดโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวราบยังมีโอกาสขยายตัว เนื่องจากยังมี ปัจจัยหนุนด้านราคาที่ดิน และแนวโน้มมการขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) ที่ได้แรงหนุนจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค ตลอดจนการออกไปรับงานในประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศที่ไม่มีประเด็นด้าน การเมือง เนื่องจากผู้รับเหมาของไทยส่วนใหญ่ดำเนินกิจการมาแล้วมากกว่า 10 ปี มีความชำนาญด้านการก่อสร้างเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะงานด้านก่อสร้างระบบ สาธารณูปโภคและด้านพลังงาน

Our View:

ชีพจรของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบทั้งภาวะซบเซาของภาคอสังหาริมทรัพย์วิกฤต โควิด -19 และแนวโน้มข้อจำกัดด้านการคลังแล้ว ผู้รับเหมายังต้องแข่งขัน กันเองเพื่อให้ได้งานขนาดใหญ่ภายในประเทศ ได้ปรากฎผ่านเครื่องตรวจวัดด้าน ผลการดำเนินงาน และคุณภาพหนี้ ทำให้พบว่าการพึ่งพาธุรกิจเพียงด้านเดียว อาจไม่สามารถสร้างผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีประสบการณ์ที่ยาวนาน โดยเฉพาะการพึ่งพาเฉพาะโครงการภาครัฐ หรือ Focus เฉพาะพื้นที่ หรือการรับงาน/ ใช้เทคโนโลยีแบบเดิม ๆ โดยไม่ปรับตัวให้สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหรือ ความต้องการในอนาคต

 

-ด้านการตลาด จากนี้ไปผู้รับเหมาต้องเพิ่มศักยภาพเพื่อไปรับงานต่างพื้นที่ หรือต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงการใช้วัสดุก่อสร้าง ให้สอดรับกับความต้องการใหม่ ๆ ทั้งนี้ งานก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล อาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัว หรือรอมาตรการภาครัฐที่จะช่วยฟื้นฟู ภาค อสังหาริมทรัพย์ แต่จะมีงานใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนอง Green Economy, Health/Aging Society และ Work from Home เพิ่มเข้ามามากขึ้น ซึ่งเป็นความท้าทายของผู้รับเหมาก่อสร้างในยุค New Normal

 

-ในส่วนขององค์กร เนื่องจากธุรกิจก่อสร้างเป็นธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมมาก ทั้งในส่วนของการใช้พลังงาน การปล่อยก๊าซ CO2 ในชั้นบรรยากาศ เสียง ฝุ่น ขยะ/สิ่งของที่เกิดการการก่อสร้าง ดังนั้น เพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้า นอกเหนือจากสามารถส่งมอบงานตรงเวลา ตรงตาม spec และเป็นไปตามระเบียบของทางการแล้ว ยังต้องครอบคลุมไปถึงความรับผิดชอบ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม(Environment) ด้าน สุขภาพ(Health) ความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน (work-site safety) รวมไปถึงบรรษัทภิบาล เพื่อให้องค์กรเป็นที่ยอมรับของสังคม

 

บทความโดย  : นายไตรวุฒิ นพรัตน์ นักวิเคราะห์ KrungthaiCompass

 

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด