Ryl Feature 030821

ถอดคำแถลงฯ CEO อนันดา กรณี ASHTON Asoke

ถอดคำแถลงฯ CEO อนันดา กรณี ASHTON Asoke

ข่าวที่ร้อนแรงที่สุดในวงการอสังหาริมทรัพย์ตอนนี้  ไม่มีอะไรสู้กับข่าว โครงการแอชตัน อโศก ของบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด  บริษัทในเครือของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่ถูกศาลปกครองกลาง พิพากษา สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา เนื่องจากที่ดินตั้งโครงการไม่มีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตรยาวต่อเนื่องกันโดยตลอด จนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่น ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ตามข้อกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 2 วรรคสอง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพราะโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ขนาดความสูงถึง 50 ชั้น

 

แม้ว่า ปัจจุบันทางเข้าออกโครงการ จะมีถนนขนาดกว้างถึง 13 เมตร แต่ที่ดินซึ่งนำมาใช้เป็นทางเข้าออกโครงการนั้น เป็นที่ดินของรฟม. ซึ่งเวนคืนมาเพื่อใช้สำหรับกิจการของรถไฟฟ้าใต้ดิน ไม่สามารถนำมาให้ในวัตถุประสงค์อื่น ในกรณีจึงไม่สามารถนำเอาที่ดินมาให้เอกชนใช้ร่วม เพื่อเป็นทางออกโครงการได้ แม้ว่าอนันดาจะมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ให้กับรฟม. ด้วยการก่อสร้างอาคารจอดรถให้ก็ตาม โครงการดังกล่าวจึงตกอยู่ในสถานะการก่อสร้างที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายควบคุมอาคารดังกล่าว ศาลปกครองจึงพิพากษา ให้สั่งเพิกถอนใบอนุญาตการก่อสร้างทุกฉบับ ตามคำร้องของสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 16 คน  ซึ่งได้ยื่นฟ้องผู้อำนวยการเขตวัฒนา กับพวกรวม 5 คน ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ซึ่งมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่งดังกล่าว ทำให้ใบอนุญาตก่อสร้างไม่มีผลในทางกฎหมาย

 

หลังจากมีคำพิพากษาออกมา บริษัท อนันดาฯ  ได้ออกหนังสือถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะข่าวการคำพิพากษาถูกกระจายข่าวออกไปจำนวนมาก กลายเป็นประเด็นร้อนแรงในโลกออนไลน์  หลังจากนั้น นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดาฯ  ชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับลูกบ้านของโครงการ แอชตันอโศก ที่ปัจจุบันโครงการนี้มีลูกบ้านอยู่ 578 ครอบครัว จากจำนวนยูนิตที่ขายได้ทั้งหมด 661 ยูนิต ในจำนวนลูกบ้านทั้งหมด มีต่างชาติอยู่ 140 ครอบครัว จาก 20 ประเทศ มากที่สุดคือ ชาวจีน 62 ครอบครัว ญี่ปุ่น 28 ครอบครัว และไต้หวัน 22 ครอบครัว ที่เหลือเป็นชาวสิงค์โปร์ แคนนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และมาเลเซีย

 

Ashtonasoke Gal2

 

ในช่วงเช้าของวันที่ 2 สิงหาคม 2564 นายชานนท์ พร้อมทีมผู้บริหาร และทนายความของบริษัท ได้จัดแถลงข่าวผ่านระบบซูม เพื่อชี้แจงถึงข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางการของบริษัทที่จะดำเนินการภายหลังนับจากนี้ ว่าจะหาข้อยุติและบทสรุปข้อพิพาทดังกล่าวได้อย่างไร

8 หน่วยงานอนุมัติให้ “แอชตัน” ผ่านฉลุย

นายชานนท์​ กล่าวย้ำว่า โครงการดำเนินงานมาอย่างถูกต้องและขออนุญาตหน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งได้รับอนุมัติจาก 8 หน่วยงานภาครัฐ ได้รับใบอนุญาตถึง 9 ฉบับ มีการขอความเห็นก่อนการดำเนินการจาก 7 หน่วยงาน และผ่านคณะกรรมการมาถึง 5 คณะกรรมการ

 

“เราได้รับอนุมัติจาก 8 หน่วยงานภาครัฐ มีการกรองว่า ทุกอย่างเมคชัวร์หมด ทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายหมด สิ่งแวดล้อม (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-สผ.) มาตรวจ ก็ผ่าน มีปรับโน้นปรับนี้ก็ปรับ เพื่อให้ถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์ที่ดีที่สุดในสังคม สำนักงานเขตวัฒนา สำนักงานเขตพระโขนง จราจร กทม. กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมที่ดิน สำนักงานทุกสำนักตรวจเอกสารหมด ​ ใบอนุญาต 9 ฉบับ ใบอนุญาตขอทางของรฟม. ​การเชื่อมทางสาธารณะ ใบรับแจ้งการก่อสร้างตามมาตรา 39 ทวิ ใบรับรองการเปิดใช้อาคาร หนังสือรับรองการจดทะเบียนอาคารชุด หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด หนังสือเห็นชอบรายงาน​ EIA เราทำงานกับญี่ปุ่น เข้มเรื่องพวกนี้มาตลาด เราโดนตรวจมาตลอด ทั้งภายนอกภายใน ความเห็นก่อนดำเนินการ 7 หน่วยงาน รฟม. เขตวัฒนา สำนักการจราจร มีความเห็นมาหมด ผ่านคณะกรรมการทุกหน่วยงาน ทุกขั้นตอน ผ่านคณะกรรมการไม่ใช่เจ้าหน้าที่ท่านเดียว ผ่านมาหมด”

 

“ตั้งแต่ต้น โครงการใหญ่ขนาดนี้ เป็นเรือธงของอนันดาเลยนะ ที่แปลงนี้แพงมากเลยนะ มีโครงการอื่นทำไหม เราก็สืบ และกว่า 6 โครงการที่ขอรฟม. ทำตามคอนเซ็ปต์ ทีโอดี ที่ดินที่ได้จากการเวน คือ เอาไปทำทางด่วน  รถไฟฟ้าบนดิน ใต้ดิน การที่เราทำเลียบทางด่วน เชื่อมต่อโน้นนี่ มีกฎระเบียบชัดเจน  เราก็เห็นคนอื่นเขาทำมา และทำทุกอย่างก็ครบถ้วน  ถ้าหลักในคำพิพากษา จะบอกหลักการพิพากษา ที่ดินที่ได้จากการเวนคืนไม่สามารถใช้ขยายถนน คุณเอามาเวนคืนทำรถไฟฟ้าอย่างเดียว ไม่ให้คนอื่นใช้ร่วม กับคนอื่นได้ รฟม.บอกว่าต้องการอาคารจอดรถก็แลกกัน ก็เมคเซ้นท์   เดี๋ยวเราจะมี 300 สถานี แล้วอย่างนี้เราจะมีรถไฟฟ้าไปทำไม ที่ดินตาบอดไม่ให้เขาทำเลยหรอ เรียกว่า เบสิกปริ้นซิเปิ้ล ที่เมคเซ้นท์ สุจริตทำงานมาโดยตลอด ขั้นตอนครบถ้วน ในออฟฟิศ ฝั่งมิตซุย (บริษัท มิตซุย ฟูโตซัง จำกัด พันธมิตรญี่ปุ่นที่ร่วมทุนกับอนันดา) ก็ตรวจเต็มที่”

 

“โครงการนี้ เป็นโครงการเรือธงของอนันดา เหมือนเราโดนเสียบหัวใจ อยากให้เราตายเลยหรอ นักลงทุนเอย ลูกค้าเอย เราจะ response อย่างไร ผมเองก็นอน ไม่หลับ ผมไม่ชอบกลางคืนเลย เพราะผมนอนไม่หลับ ผมต้องนั่งสมาธิ”

เตรียมยื่นอุทธรณ์ใน 30 วัน

“เรามีเวลาน้อยมาก ภายใน 30 วัน หลังจากแถลงข่าวกลับมาคุยกับทีมกฎหมาย​จะต้องยื่นอุทธรณ์เร็วสุด และต้องยื่นอย่างละเอียด ผมชวนเขา (ลูกบ้าน) มาอุธรณ์ แต่ไม่ได้เป็นผู้ร้องสอดตั้งแต่แรก พยายามคิดอยู่ว่า จะทำอย่างไร เพราะมันบียอนด์กฎระเบียบธรรมดา ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

 

เป็นสปิริตของกฎหมายหลักๆ คือ ทางเข้าออก แปลงแม่ลูกเชื่อม  ที่ดินแปลงลูก 6 เมตร และทีโอดี ขยายได้ 6 เมตร เพิ่มอีก 7 เมตร แลกกับขอทางเข้าออก ซึ่งทีโอดีมีคอนเซ็ปต์ทำได้เลย แต่แลกการสร้างตึก แล้วแชร์ทางเข้าออก แต่โอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้  เพราะรฟม.เป็นรัฐวิสาหกิจให้ภาระจำยอมไม่ได้ แต่เทียบเท่าถนนสาธารณะ นิยามกฎระเบียบ ออกมาประมาณนั้น  คำพิพากษาหลักๆ สปิริต ชวนมาทำรถไฟฟ้า อยู่ ๆ ให้ทำตึกได้ไง หลักๆ แค่นี้ มาเป็นอาคารจอดรถ

 

การให้ทางเข้าออก ไม่ใช่ธุรกิจมาทำรถไฟฟ้า แต่รฟม.ไม่ได้ให้ฟรีนะที่ดิน ให้ประโยชน์ 100 ล้าน ที่จอดรถ แล้วคนมาใช้รถไฟฟ้า มันก็เมคเซส แค่นิดเดียว

ยกเคสวิลด์ฟาร์ม ออกม.44 ปลดล็อก

ผมไม่ใช่นักกฎหมาย ผมเป็นบุคคลคนหนึ่ง เป็นประชาชนคนหนึ่ง ผู้บริหารคนหนึ่ง ที่มีความตั้งใจพัฒนาประเทศจริง ๆ เรื่องอย่างนี้ไม่ควรให้เกิดขึ้นจริง ๆ ในระบบจัดการบ้านเมืองเรา  ผมพยายมคิดนอกกรอบ (think out the box) ​ทำไมเราไม่สามารถที่จะคุยกันให้รู้เรื่องในประเทศเราได้  ระบบจัดการพังขนาดนี้แล้วเหรอ ไปถึงปัญหาหลายอย่าง ระบบจัดการมันโอเวอร์แลบ เป็นข้าราชการก็เหนื่อย ถ้าเคสนี้ ก็อาจโดนฟ้องอีก ผมก็ไม่รู้กฎหมายแพ่ง อาญา เขาจะมีสปิริตทำงานเพื่อประเทศต่อหรือเปล่าแต่ละคน เราก็เห็นใจเขา เราก็อยากจะคุยกับเค้า แต่ฝั่งทนายก็คุยระบบศาลเท่านั้น เหรอ ผมขอเอาใจมนุษย์ซึ่งกันและกัน เรียกเผ่าพันธุ์ประเทศไทย มิตซุยยังสนับสนุนเราต่อ แต่คงต้องเสนอโตเกียว และบอกว่ามันมีแบบนี้อีกแล้วหรอ เมืองไทย เชื่อว่าข่าวก็ไปถึงบ้านอื่น ๆ อีกมหาศาล เราก็รู้ว่าวิกฤตโควิด อสังหาฯ เหนื่อยอยู่แล้ว เจอแบบนี้ มันยิ่งอยากให้เราตายเร็วๆ ใช่ไหม

 

เราจะคิดล้ำ คอนเวนชั่นนอล ที่ลิมิตตัวเอง ในการจัดการบ้านตัวเราเองแบบนี้  กระแสคนรุ่นใหม่จะ หนีประเทศ ทุกคนคิดได้ เราจะเลือกคิดพัฒนาประเทศต่อไหม เรื่องนี้มันต้องพัฒนาประเทศกันต่อ มันไม่ใช่เรื่องต้องฟ้องร้องกัน แต่เจตนาของทีโอดี ของรฟม. เห็นอยู่แล้ว รัฐสร้างรถไฟฟ้าบนดินใต้ดิน เพราะรถมันติด แต่ กฎระเบียบเราตามไม่ทัน หรือซับซ้อน การตีความ กฤษฎีกาตีความอย่างหนึ่ง คณะปกครองตีความอย่างหนึ่ง เดี๋ยวคณะสูงสุดตีอย่างหนึ่ง  แล้วอย่างไรกันต่อ มันต้องสตรีมไลน์ ระบบจัดการให้หมดไหม ​

 

คงเห็นหลายเคส ไม่แค่อสังหาฯ อย่างเดียว มันมีเคส วินฟาร์ม ที่ท่านประยุทธ์ (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช ออกม.44  ปลดล๊อกที่ดิน ส.ป.ก. เปิดทางให้กิจการด้านพลังงานเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. ได้ หนึ่งในนั้นคือ บริษัท เทพสถิต วินด์ฟาร์ม จำกัด ที่ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น สั่งให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดชัยภูมิ ที่นำที่ดิน ส.ป.ก. ในพื้นที่ ต.บ้านไร่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ  ไปให้เช่าเพื่อใช้ในกิจการกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องเป็นกิจการผิดต่อวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก. เพราะกิจการกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ใช่กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม) ต้องออกมาตรการ 44 เพราะเคสนั้นก็เป็นศาลปกครองออกมาทำลายทุกอย่าง เห็นว่าระบบจัดการของเรา กฎระเบียบของเราต้องมีเหตุถการณ์ แบบม. 44 เพื่อจะ getting done หรอ เรียก the route of the hard of Thailand เศรษฐกิจ กระทบสถาบันการเงิน ​เป็นอุกกาบาต ที่จะครีเอทสึนามิ​ สึนามิที่กระทบเศรษฐกิจมหาศาล ทำลายความมั่นใจทุกอย่าง

 

Ashtonasoke Gal1

พร้อมดูแลลูกบ้าน-ผู้มีส่วนร่วม

สำหรับแนวทางการดูแลลูกบ้านทั้งหมด ในระยะสั้นอนันดาพยายามสื่อสารและชี้แจงถึงเหตุการที่เกิดขึ้น  ซึ่งลูกบ้านหลายคนเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพร้อมจะเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดในทางกฎกมายด้วย ซึ่งต้องไปหาแนวทางด้านกฎหมายอีกครั้ง และมีลูกบ้าบางรายต้องการความชัดเจนในการผ่อนชำระค่าบ้านกับสถาบันการเงิน ส่วนแผนในระยะยาว จะดำเนินการตลาดหลักธรรมาภิบาลตามหลักเกณฑ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

 

“ในฐานะซีอีโอ สู้สุดสามารถ ชื่อเสียงองค์กรต้องดูแล​ ในที่สุดเราเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ก็ต้องให้เป็นความธรรมกับทุกฝ่าย หลักเกณฑ์ต้องคิด ทุกคนต้องอยู่บนถูกต้องตลอด ในสปิริตภาครัฐเป็นดูแลบ้านใหญ่ ผมดูแลบ้านเล็ก ขอความเห็นใจบ้านใหญ่ ผู้ที่มีอำนาจในบ้านใหญ่ ต้องช่วยเราแล้ว ระบบศาลจะให้บอกลูกบ้าน 3-5 ปีจะเสร็จเหรอ จะให้นอนไม่หลับ 3 ปี 5 ปี มันนอกความสามารถผมจริง ผมยังตอบลูกบ้านไม่ดี ในใจอยากขอใครช่วย มีวิธีอื่นไหม มีศาลอื่นไหม ผมเองก็ไม่ได้เก่งกฎหมาย  เราไม่มี ม.44 แล้ว ถึงมีต้องใช้ไหม ต้องขนาดนั้นเลยเหรอ เรื่องปกครอง ควรจบแล้วนะ แล้วหาวิธีจบให้เร็วอย่างไรบ้าง ในใจผมอยากให้จบ 2-3 เดือนด้วยซ้ำ​ ช่วยหาวิธีให้ผมหน่อย จะไปขอท่านใด กระบวนการไหน มันเป็นอะไรที่ใหม่สำหรับ​สังคมมาก”

 

“มุมกฎหมายรู้ว่าเดินไงต่อ สปิริตผมตอนนี้ ผมอยากให้บินสูงกว่า แทนจะใช้กระบวนการกฎหมายมาฟ้องร้องกัน มาดูแลเป็นพี่น้องกันไม่ได้หรอ ถ้าเวิร์สเคสจริง ๆ ภาครัฐ ที่เป็นคนดูแลบ้าน ก็ต้องมาดูแลลูกบ้าน  ถ้าไม่ดูแล อนันดาก็ต้องไปหาวิธีที่จะดูแล ตามกฎระเบียบบริษัทมหาชนที่ต้องดูแลลูกบ้านของตนเอง วันนี้ ผมว่าความถูกต้องในใจเรามันคืออะไร หรือเราจะเล่นเกมกันไปเรื่อย ผมอยากเอาความถูกต้อง เอาประโยชน์สูงสุดของสังคมเรา ของไทยแลนด์ เผ่าพันธุ์คนไทย”

 

 

บทสรุปของเรื่องนี้ จะเป็นอย่างไร คงต้องติดตามกันต่อไป เพราะยากที่จะคาดเดา และต้องดูว่าหลังจากที่อนันดาได้ยื่นอุทธรณ์แล้ว ศาลจะมีคำพิพากษาออกมาอย่างไรต่อไป รวมถึงแนวทางการเยียวยา และบริหารจัดการลูกบ้านทั้งหมดว่าจะเป็นอย่างไร ขณะที่โครงการปัจจุบันยังมียูนิตเหลือขายอีกประมาณ 13% คิดเป็นมูลค่าประมาณ​ 842 ล้านบาท จะยังมีลูกค้ารายใหม่เข้ามาซื้ออีกหรือไม่ ท่ามกลางเหตุการณ์ปัจจุบัน และแม้ว่าอนันดาจะมองว่า สัดส่วนของยูนิตเหลือขายคิดเป็นเพียง 2.48% ของมูลค่าสต็อกสินค้าที่อนันดามีอยู่ในปัจจุบันถึง 33,973 ล้านบาท ไม่ได้กระทบต่อฐานะทางการเงินหรือการเติบโตของบริษัทก็ตาม แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลเชิงบวกต่ออนันดาเลย รวมถึงภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ ที่กำลังโดนพิษของโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบันด้วย

 

โครงการ ASHTON Asoke

 

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด