Ryl Feature 050523 1200x628

เปิด พฤติกรรมการกิน ของคนไทย สู่คนอ้วนอันดับ 2 ของอาเซียน ​

Categories : Life+Style
Tags : , ,

พฤติกรรมการกิน

ไม่รู้ว่าเป็นเพราะบ้านเรามีร้านบุฟเฟ่ต์สารพัดชนิด หรือจำนวนมากเกินไปหรือเปล่า จึงทำให้คนไทยติดอันดับ 2 ของคนที่มีภาวะโรคอ้วนมากที่สุดในอาเซียน เป็นพลจาก พฤติกรรมการกิน ของคนไทยที่ทำให้ติดอันดับนี้ ข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา บ้านเรามีคนที่เป็นโรคอ้วนมากถึง 26 ล้านคน หรือสัดส่วน 46.2% ของคนไทยทั้งประเทศ

 

ถามว่าเมื่อมีคนเป็นโรคอ้วนแล้วมีปัญหาอะไรตามมา อย่างที่เห็นชัดเจน ก็คือ ภาวะโรคแทรกซ้อน และโรคที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อาทิ ความดัน ไขมัน ความหวาน หัวใจ เป็นต้น ซึ่งก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล และระบบสาธารณสุข ยังไม่นับรวมกับการสูญเสียแรงงานที่จะเข้ามาสู่ระบบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีก ประเมินตัวเลขความสูญเสียทางเศรษฐกิจไทยน่าจะมากกว่า 2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน​1.27% ของ GDP เลยทีเดียว

 

โดยล่าสุด นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ​ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างประชาชนและวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยเรื่อง “What If Marketing การตลาดสามมิติสู่การเปลี่ยนแปลง” เพื่อศึกษาพฤติกรรม ทัศนคติและความเชื่อในการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิต และการบริโภคสินค้าเพื่อความยั่งยืน ในแต่ละกลุ่มช่วงอายุ เพศ สู่การคิดค้นกลยุทธ์การตลาดใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อ “สุขภาพ-ชีวิต-อนาคต ที่ดีกว่า”โดยเจาะสำรวจกลุ่มตัวอย่าง รวมจำนวน 1,130 ตัวอย่าง แบ่งเป็น โดยพบปัญหาพฤติกรรมเชิงลบของคนไทยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพใจ และการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่ง Reviewyuorlivig ได้นำประเด็นการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มาฉายภาพให้เห็นว่า ทำไมคนไทยถึงติดอันดับ 2 ที่มีคนอ้วนมากที่สุดในอาเซียน

Cmmu Better Food

พฤติกรรมการกิน ของคนไทย หลังโควิด-19

โดย พฤติกรรมการกิน ของคนไทยหลังเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้คนไทยน้ำหนักเพิ่ม จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีดังนี้

  • กินน้ำหวานมากขึ้น                       18.7%
  • กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากขึ้น        18.3%
  • กินอาหารกระป๋องมากขึ้น            15.6%
  • กินขนกรุบกรอบมากขึ้น               13.6%
  • กินลไม้ลดลง                                 10.5%
  • กินผักน้อยลง                                 8.3%
  • กินขนมหวานหรือลูกอมมากขึ้น    6.8%

ขณะที่นางสาวจันทร์กานต์ เบ็ญจพร นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า คนไทยมีความต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ยังพบปัญหาด้านราคาที่สูงกว่าปกติ การหาซื้อที่ยาก และอาหารสุขภาพก็ไม่อร่อย สู้อาหารอื่นไม่ได้

 

ส่งผลให้ผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน พบว่า ปัจจุบันคนไทยยังมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพียง 17.09% ของค่าใช้จ่ายการกินอาหารทั้งหมดเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าเทรนด์การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ (Better Food for Better Health) ก็มีอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคต้องการเ​รักษาและคงสุขภาพระยะยาว ต้องการเสริมภาพลักษณ์ และ ต้องป้องกันโรค

Cmmu Better Food (1)

โดยประเภทอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พบว่า 5 อันดับแรกที่พูดถึงมากที่สุด คือ

  1. อาหารออร์แกนิค (Organic)
  2. อาหารโลว์คาร์บ (Low Carb)
  3. อาหารโพรไบโอติกส์-พรีไบโอติกส์ (Prebiotic/Probiotic)
  4. อาหารแพลนต์เบสด์ (Plant-Based) และ
  5. อาหารคีโตวีแกน (Keto Vegan)

ขณะที่คุณลักษณะของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ผลวิจัยพบว่า อาหารที่ปลอดสารพิษและยาฆ่าแมลงมาเป็นอันดับสูงสุด รองลงมาคือ อาหารโซเดียมต่ำ และอาหารไขมันต่ำ

กลยุทธ์ LIFE สร้างชีวิตให้ดีขึ้น

จากปัญหาที่พบจากงานวิจัยดังกล่าว ทางทีมวิจัยจึงได้คิดค้น กลยุทธ์แห่งชีวิตที่จะสร้างชีวิต สังคม และแบรนด์ให้ดีขึ้น เรียกว่า “LIFE” (ไลฟ์) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ใหม่ต่อนักการตลาด ผู้ประกอบการ ตลอดจนเจ้าของธุรกิจกลุ่มอาหาร และสุขภาพ ในการสร้างแรงจูงใจและการสื่อสาร ที่จะทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นในระยะยาวและสร้างโอกาสต่อธุรกิจอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เพียงเน้นการขายของอย่างเดียวดังนี้

Cmmu Better Food (3)

  • L: Less is more – ลดบางอย่างน้อยลงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น แบรนด์สามารถลดส่วนประกอบบางอย่าง เพื่อให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีขึ้น รวมถึงลดการใช้สิ่งที่ไม่จำเป็นบางอย่างในการผลิต เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ในมุมของผู้บริโภคก็ต้องพยายามลดการรับประทานอาหารบางอย่างที่ไม่ดีต่อสุขภาพเช่นกัน
  • I: Image – ภาพลักษณ์แบรนด์เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสร้างความเชื่อต่อผู้บริโภค แบรนด์ควรสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคในแง่การผลิตสินค้าหรือบริการที่มีความใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภคอย่างแท้จริง
    ในขณะเดียวกันผู้บริโภคต้องการใช้สินค้าหรือบริการที่เสริมภาพลักษณ์ตนเองให้ดูดีขึ้นเช่นกัน เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร หรือผลิตภัณฑ์กลุ่มอื่นๆ ที่มีความใส่ใจถึงผลดีต่อโลกอย่างแท้จริง
  • F: Fear – ความกลัวเป็นจุดที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลง ทุกคนย่อมมีความกลัว ฉะนั้นแบรนด์ต้องเล่นกับความกลัว โดยสร้างสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์การแก้ปัญหาความกลัวและสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค สามารถใช้การสื่อสารเน้นย้ำให้เห็นผลเสียชัดเจนได้ หรือสื่อสารด้านคุณประโยชน์ที่จะได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนสินค้าว่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อสินค้าและบริการของเรา
  • E: Experience – การทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสกับประสบการณ์ความเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยแบรนด์สามารถสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าสัมผัสจริงได้ไม่ยาก เช่น การทดลองใช้ หรือทดลองชิม เมื่อผู้บริโภคค่อยๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทีละน้อย ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต และทำให้ผู้บริโภคเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทำได้ไม่ยากและผลลัพธ์ที่ได้ดีต่อตนเองมากกว่าก่อนหน้านี้

Cmmu Better Food (2)

สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องโรคอ้วน ก็คงต้องหันมาปรับ พฤติกรรมการกิน  หันมาดูแลตัวเองกันให้มากขึ้นแล้ว ส่วนใครที่มองเห็นว่า พฤติกรรมการกินของคนไทยที่แย่ลงแบบนี้ แล้วจะสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจ ก็คงต้องรีบผลิตสินค้าและบริการออกมารองรับแล้ว เพื่อให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

6 สูตรลับ ปรับกลยุทธ์ธุรกิจอาหารต้องรอดในยุคโควิด-19 

-4 แอปสั่งอาหาร อิ่มแบบจุกๆ ส่งฟรี มีโปรฯ แถมสิทธิ์คนละครึ่ง

บทความ Life+Style ล่าสุด