Tag : กฎหมายควบคุมอาคาร

2 ผลลัพธ์
รื้อถอนอาคาร ต้องรู้อะไรบ้าง?

รื้อถอนอาคาร ต้องรู้อะไรบ้าง?

ถ้าใครลองสังเกตอาคารขนาดเล็กอย่างพวก อาคารพาณิชย์ ทาว์นเฮ้าส์ ตามถนนสายต่างๆ ในบ้านเราดูก็จะเห็นว่า หลายอาคารเลยค่ะที่มีสภาพเก่าทรุดโทรม บางอาคารก็ปล่อยทิ้งร้างขาดคนดูแล เมื่อถึงเวลาก็ย่อมต้องทำการรื้อถอนก่อนจะพังลงมา ซึ่งถือว่าอันตรายมากนะคะ เพราะส่วนมากอาคารเหล่านี้จะอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีคนพลุกพล่านอยู่เกือบตลอดเวลา และก็มีไม่น้อยเช่นกันที่เกิดอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิต วันนี้เราจึงนำขั้นตอนการรื้อถอนอาคารที่ถูกต้องมาให้ดูกันทีละขั้นตอนค่ะ  ก่อนอื่นเลยเรามาดูกันค่ะว่า อาคารที่ต้องขออนุญาตก่อนการรื้อถอนนั้นเป็นอย่างไร พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แก้ไขโดย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 22 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดจะรื้อถอนอาคารดังต่อไปนี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ   1.อาคารที่มีส่วนสูงเกินสิบห้าเมตร ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือท่ีสาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคาร   2.อาคารที่อยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าสองเมตร ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า   กรณีอาคารสูงเกิน 15 เมตร หากอยู่ห่างจากอาคารอื่นๆ หรือที่สาธารณะน้อยกว่าระยะความสูงของอาคารจะต้องขออนุญาต แต่ถ้าอยู่ห่างอาคารอื่นๆ เป็นระยะเท่ากับหรือมากกว่าความสูงของอาคารไม่ต้องขออนุญาต   กรณีอาคารทั่วไป หากอยู่ห่างจากอาคารอื่นๆ หรือที่สาธารณะ น้อยกว่า 2 เมตร หากจะทำการรื้อถอนจะต้องขออนุญาต แต่ถ้าอยู่ห่างอาคารอื่นๆ ตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไปก็ไม่ต้องขออนุญาต   ขั้นตอนการขออนุญาตรื้อถอน ก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร 1.ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต ที่สํานักงานเขตพื้นที่หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ของอาคารที่จะทำการรื้อถอน โดยจะต้องมีเอกสาร ดังนี้ - แบบคําขออนุญาตรื้อถอนอาคาร - สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์และผู้มีอํานาจลงชื่อแทน นิติบุคคลที่หน่วยงานซึ่งมีอํานาจรับรองออกให้ไม่เกิน6เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) - สำเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้งความประสงค์ - สําเนา หรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดเท่ากับต้นฉบับจริง - แผนผังบริเวณ แบบแปลนของอาคารที่จะรื้อทุกชั้น - รายการประกอบแบบ (ลอกตามแบบราชการ) รายละเอียดวัสดุที่ใช้สร้างอาคาร, ตามหฏหมายหลักการรื้อถอนไม่เกิน 45 วัน - หนังสือแสดงความยินยอม และรับรองของสถาปนิก, วิศวกรผู้ออกแบบและคํานวณ และสำเนาใบประกอบวิชาชีพของสถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบ (ใช้สำหรับกรณีที่เป็นอาคารควบคุมตามกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพ) - หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผู้ควบคุมงานของสถาปนิกและวิศวกร พร้อมสําเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพฯ กรณีเป็นโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาดสด ภัตตาคาร อาคารชุด หอพัก และอาคารที่เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ ต้องแสดงแบบระบบบําบัดน้ําเสีย และรายการคํานวณระบบ บําบัดน้ําเสีย   2.ชำระค่าธรรมเนียมวันยื่นแจ้ง   3.เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาเอกสารประกอบการขออนุญาต   4.เมื่อจ้าพนักงานท้องถิ่นทำการตวรจสอบเรียบร้อยแล้วก็จะออกใบอนุญาต และแจ้งให้ผู้ขอมารับใบอนุญาตรื้อถอนอาคาร เมื่อได้ใบอนุญาตมาแล้วก็จะต้องมีสิ่งที่ต้องทำก่อนลงมือรื้อถอนค่ะ 1.ติดป้ายหน้าโครงการ แสดงรายละเอียดตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคารกําหนด   2.ต้องมีใบอนุญาตก่อสร้างพร้อมแบบแปลนอยู่ที่สถานที่ก่อสร้าง   3.แจ้งชื่อผู้ควบคุมงาน รวมถึงวันเริ่มต้นจนถึงวันสิ้นสุดการดําเนินการ และหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานกลับไปที่สถานที่ใบอนุญาตอีกครั้ง   ขั้นตอนทุกอย่างทำไปก็เพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่ายค่ะ ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติงานเองหรือประชาชนรอบๆ พื้นที่ ซึ่งหากทำการรื้อถอนโดยไม่ขออนุญาตก็มีโทษปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน และยังมีโทษปรับวันละไม่เกินวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะทำการขออนุญาตอย่างถูกต้อง ดังนั้น ทำตามขั้นตอนให้ถูกต้องเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจตามมาภายหลังค่ะ   Cr.ข้อมูลจาก parliament.go.th bangkok.go.th บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อยากได้เงินมาซ่อมบ้าน ต้องทำอย่างไร  1 ใน ลูกค้าบ้านเอสซีจี ไฮม์กว่าพันครอบครัว กับความประทับใจใน 4 ฟังก์ชั่นตอบโจทย์การอยู่อาศัย หนาวแล้วได้เวลาตรวจเช็คบ้าน 5 จุดสำคัญ
จะก่อสร้างบ้านต้องรู้เรื่องระยะห่างระหว่างอาคารกรณีอยู่ในที่ดินเจ้าของเดียวกัน

จะก่อสร้างบ้านต้องรู้เรื่องระยะห่างระหว่างอาคารกรณีอยู่ในที่ดินเจ้าของเดียวกัน

หลายครอบครัวเมื่อลูกหลานโตพอ หรือมีการแต่งงานสร้างครอบครัวใหม่ บางครั้งก็วางแผนต่อเติม ปรับปรุงบ้าน หรือสร้างบ้านใหม่อีกหลังในที่ดินเดียวกับบ้านหลังเดิม เพื่อที่จะได้อยู่ใกล้ๆ กัน หรือบางท่านมีที่ดินผืนใหญ่ แล้ววางแผนจะสร้างบ้านหลายหลังบนที่ดินผืนนั้น เพื่อให้ลูกหลานอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ แต่ยังไม่ได้แยกกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไป ถ้าท่านกำลังมีแผนเช่นที่ว่าอยู่พอดี หากได้ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายต่อเติม สร้างบ้าน ก็จะทราบว่า กฎหมายควบคุมอาคารมีข้อกำหนดเรื่องการก่อสร้างอาคารในที่ดินเจ้าของเดียวกันไว้  โดยอาคารแต่ละหลังจะต้องมีระยะห่างระหว่างกัน  ดังนั้น ไม่ว่าท่านกำลังจะก่อสร้างบ้านใหม่อีกหลังใกล้กับบ้านหลังเดิม หรือท่านกำลังสร้างบ้านใหม่หลายหลังพร้อมกัน ถ้าบ้านทั้งสองหลังหรือหลายหลังนั้นสร้างอยู่ในที่ดินเจ้าของเดียวกันจะต้องคำนึงถึงระยะห่างระหว่างอาคารด้วย บ้านแต่ละหลังจะต้องมีระยะห่างระหว่างกันไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 48 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ระยะห่างระหว่างบ้านหรืออาคารในที่ดินเจ้าของเดียวกัน จะห่างเท่าใด กฎหมายกำหนดให้พิจารณาจาก 2 เงื่อนไข คือ 1) ความสูงของอาคารทั้งสองหลัง และ 2) ผนังของอาคารทั้งสองหลังด้านที่ใกล้กันนั้นเป็นผนังทึบหรือมีช่องเปิด-ช่องแสง-ระเบียง แยกเป็น 3 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 เมื่อผนังอาคารด้านที่ใกล้กันเป็นผนังที่มีช่องเปิด-ช่องแสงหรือมีระเบียง ทั้งสองหลัง ผนังของอาคารด้านที่มี หน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสงหรือระเบียงของอาคาร ต้องมีระยะห่างจากผนังของอาคารอื่นด้านที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือระเบียงของอาคาร ดังต่อไปนี้ (ก) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ไม่น้อยกว่า 4 เมตร (ข) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 5 เมตร (ค) อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังหรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 6 เมตร กรณีที่ 2 เมื่อผนังอาคารด้านที่ใกล้กัน มีหลังหนึ่งเป็นผนังทึบ และอีกหลังเป็นผนังที่มีช่องเปิด-ช่องแสง หรือมีระเบียง ผนังของอาคารด้านที่เป็นผนังทึบต้องมีระยะห่างจากผนังของอาคารอื่นด้านที่มี หน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือระเบียงของอาคาร ดังต่อไปนี้ (ก) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ไม่น้อยกว่า 2 เมตร (ข) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร (ค) อาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร (ง) อาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร กรณีที่ 3 เมื่อผนังอาคารด้านที่ใกล้กัน เป็นผนังทึบทั้งสองหลัง และทั้งสองหลังมีความสูงเกิน 15 เมตรแต่สูงไม่ถึง 23 เมตร ผนังของอาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ด้านที่เป็นผนังทึบต้องอยู่ห่างจากผนังของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ด้านที่เป็นผนังทึบไม่น้อยกว่า 1 เมตร กรณีที่ 3 นี้ ถ้าเป็นอาคารที่ก่อสร้างอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ระยะห่างจะต้องไม่น้อยกว่า 2 เมตรนะครับ เนื่องจากมีข้อกำหนดเรื่องที่ว่างโดยรอบอาคารที่สูงเกิน 15 เมตรไว้ สำหรับกรณีที่ 2 และกรณีที่ 3 ถ้าหากมีอาคารหลังใดหลังหนึ่งหรือทั้งสองหลังชั้นบนสุดทำเป็นดาดฟ้าขึ้นไปใช้สอยได้ กฎหมายยังได้กำหนดอีกว่า ผนังของดาดฟ้าของอาคารด้านที่อยู่ใกล้กับอาคารอื่นต้องสร้างเป็นผนังทึบสูงจากพื้นดาดฟ้าไม่น้อยกว่า 1.80 เมตรอีกด้วย   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com