Tag : ครัวไทย

2 ผลลัพธ์
ต่อเติมครัวไทยหลังบ้าน แบบโปร่งหรือแบบทึบ ดีกว่ากัน?

ต่อเติมครัวไทยหลังบ้าน แบบโปร่งหรือแบบทึบ ดีกว่ากัน?

บทความฉบับนี้ขอเอาใจคนที่มีบ้านใหม่ ทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมโครงการต่างๆ ที่จำนวนห้องและพื้นที่ใช้สอยมักจะไม่เพียงพอต่อความต้องการสักเท่าไหร่ เพราะบ้านจัดสรรส่วนใหญ่นั้นจะออกแบบครัวเป็นแบบเปิดอยู่ติดกับห้องนั่งเล่น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดกลิ่นรบกวนได้ อย่างที่ทราบกันดีแหละค่ะว่าครอบครัวคนไทยมักจะประกอบอาหารจำพวกต้ม, ผัด, แกง, ทอด ที่ก่อให้เกิดทั้งเสียง, กลิ่น, ควัน แผ่ฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งบ้านอยู่เสมอ ซึ่งเมนูเหล่านี้ไม่เหมาะกับพื้นที่ปรุงอาหารในบ้านขนาดเล็กและกลางเนื่องจากมีช่องระบายอากาศได้น้อย นี่จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เจ้าของบ้านหลายๆ หลังต้องต่อเติมครัวไทยแยกออกมาจากตัวบ้านเพื่อประโยชน์ใช้สอยที่มากขึ้น แต่จะทำเป็นครัวแบบไหนดี? ระหว่างครัวแบบโปร่งและครัวแบบทึบ ครัวทั้งสองแบบนั้นมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ที่นี่ค่ะ ครัวไทย แบบโปร่ง เน้นความโล่งสบายๆ การต่อเติมครัวแบบโปร่งในรูปแบบที่เน้นความโปร่งโล่งนั้น มีจุดเด่นอยู่ที่เวลาประกอบอาหารกลิ่นควันและความอับชื้นต่างๆ จะระบายออกง่าย สามารถฉีดน้ำล้างทำความสะอาดครัวได้แต่ต้องมีทางระบายน้ำรองรับนะคะ ซึ่งวัสดุที่ใช้กับครัวแบบนี้จะต้องมีน้ำหนักเบา ส่วนใหญ่มักทำเป็นแผงระแนงไม้, ไม้เทียมแทนผนัง บางทีอาจเลือกทำผนังทึบเฉพาะช่วงล่าง ส่วนด้านบนปล่อยโล่งหรือทำเป็นแผงระแนง เพื่อความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว ในส่วนของหลังคานั้นอาจทำติดลอยไว้กับผนังบ้านเดิมโดยซื้อกันสาดสำเร็จรูปมาติด หรือจะใช้โครงสร้างเสาส่วนต่อเติมรับหลังคาเช่นเดียวกับครัวแบบทึบ ซึ่งครัวแบบโปร่งมีข้อดีข้อเสียดังนี้ค่ะ ข้อดี ก่อสร้างได้ง่ายและรวดเร็วกว่าครัวแบบทึบ การต่อเติมครัวแบบโปร่งเป็นรูปแบบที่เน้นความโปร่งโล่งจะง่ายและรวดเร็วกว่า เพราะแค่ติดหลังคากันสาดและก่อปูนเป็นเคาน์เตอร์ครัวก็เรียบร้อยแล้วค่ะ หรือจะเลือกซื้อชุดครัวสำเร็จรูปมาติดตั้งเลยก็ได้ค่ะ ระบายอากาศได้ดี เหมาะกับครัวไทยที่อาหารบ่อย การต่อเติมครัวแบบโปร่งโล่งนั้นจะทำให้กลิ่นควันเวลาประกอบอาหาร รวมถึงความอับชื้นต่างๆ ภายในครัวจะระบายออกง่าย เนื่องจากไม่มีอะไรปิดกั้นผนังรอบด้าน สามารถทำความสะอาดง่าย เพราะครัวไทยจะเลอะเทอะง่ายกว่า ครัวแบบโปร่งบางบ้านอาจแค่เทปูนคอนกรีตธรรมดาพร้อมมีทางระบายน้ำรองรับ ทำให้สามารถฉีดน้ำหรือทำความสะอาดได้ง่ายกว่าครัวแบบปิดที่ปูพื้นด้วยกระเบื้อง ข้อเสีย สิ่งแปลกปลอมเข้ามาง่าย แน่นอนว่าครัวแบบเปิดส่วนใหญ่จะเป็นผนังเปิดโล่ง อาจทำให้มีน้ำฝน, ฝุ่นและสิ่งปรกต่างๆ สาดเล็ดรอดเข้ามาได้ง่าย อีกทั้งต้องคอยระวังป้องกันไม่ให้สัตว์เล็กสัตว์น้อยอย่างแมลง นก หนู รวมถึงแมวหรือสุนัขตัวเล็กเข้ามาก่อกวนภายในห้องครัว ซึ่งในส่วนนี้เจ้าของบ้านอาจติดตั้งมุ้งลวดเข้ามาช่วยป้องกันได้ค่ะ อาจส่งกลิ่นรบกวนต่อเพื่อนบ้านได้ เพราะครัวไทยกลิ่นฉุนกว่า เมนูอาหารจำพวกต้ม, ผัด, แกง, ทอด ที่มีกลิ่นฉุนและควันรวมถึงไอน้ำมันเวลาประกอบอาหาร อาจจะกระจายไปถึงเพื่อนบ้านได้ ดังนั้นจึงต้องคอยระมัดระวังให้ดีค่ะ ครัวไทย แบบทึบ ปกปิดมิดชิด สำหรับบ้านที่มีพื้นที่ด้านนอกสำหรับใช้สอยไม่มาก ก็สามารถใช้วิธีกั้นพื้นที่บางส่วนภายในตัวบ้านด้วยผนังทึบ และติดตั้งพัดลมดูดอากาศ เพื่อช่วยระบายอากาศดูดกลิ่นและควันออกสู่ภายนอกไม่ให้รบกวนภายในบ้าน ซึ่งการต่อเติมครัวแบบทึบที่มีผนัง 4 ด้านล้อมรอบโดยเจาะช่องเปิดตามความเหมาะสม พร้อมทำหลังคาครอบมิดชิดนั้น..มีข้อดีข้อเสียดังนี้ค่ะ ข้อดี ป้องกันสิ่งสกปรกได้ดี เมื่อเป็นครัวแบบทึบมีผนังปิดล้อม 4 ด้าน ดังนั้นจึงสามารถป้องกันสิ่งสกปรกและสิ่งไม่พึงประสงค์จากภายนอกได้ดีกว่าครัวแบบโปร่งนั่นเองค่ะ ป้องกันกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้าน เพราะความมิดชิดของรูปแบบครัว ทำให้เจ้าของบ้านอาจต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์ช่วยอย่างเครื่องดูดควันพร้อมปล่องระบายอากาศเพิ่ม แต่ก็ยังมีข้อดีช่วยป้องกันกลิ่นควันจากการประกอบอาหารไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้านได้ง่ายด้วย ปลอดภัยกว่า แน่นอนค่ะว่าครัวแบบทึบปกปิดมิดชิดนั้นให้ความรู้สึกปลอดภัยและเป็นส่วนตัวมากกว่าครัวแบบเปิดโล่ง นอกจากนี้บริเวณผนังโดยรอบยังสามารถติดตั้งชั้นเก็บของได้มากขึ้นอีกด้วยค่ะ ข้อเสีย บ้านมีโอกาสทรุดตัว การต่อเติมครัวแบบทึบส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่มีน้ำหนักมากกว่าครัวแบบทึบ จึงทำให้บ้านมีโอกาสทรุดตัวเร็วกว่า เพราะส่วนต่อเติมส่วนใหญ่จะใช้เสาเข็มสั้นซึ่งจะทรุดตัวเร็วกว่าตัวบ้านเดิม ทางที่ดีเจ้าของบ้านควรต่อเติมแบบแยกส่วนกันเพื่อลดปัญหาบ้านทรุด เนื่องจากการดึงรั้งกันและเกิดการฉีกขาดของโครงสร้าง ซึ่งอาจเป็นปัญหาใหญ่ที่อาจตามมาได้ค่ะ ค่าใช้จ่ายมากกว่า ครัวแบบทึบ ปิดมิดชิดนั้นก็ไม่ต่างกับห้องเปล่าหนึ่งห้อง ดังนั้นถ้าจะประกอบอาหารเจ้าของบ้านจึงต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์ช่วยอย่างเครื่องดูดควันหรือพัดลมระบายอากาศเพิ่ม นอกจากนี้การสร้างห้องครัวแบบทึบจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าห้องครัวแบบโปร่ง ด้วยปริมาณวัสดุ โครงสร้าง และการเตรียมงานระบบที่มากกว่านั่นเองค่ะ ปฎิเสธไม่ได้เลยค่ะว่าการต่อเติมครัวนอกบ้านนั้นเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะนอกจากจะสะดวกต่อการประกอบอาหารไม่ว่าจะผัด โขลก สับ แล้วยังสามารถระบายอากาศได้ดีกว่าครัวในบ้าน แต่ไม่ว่าจะเลือกต่อเติมครัวแบบไหน แนะนำให้ลองศึกษาสถาปนิกหรือผู้รับเหมาที่มีความชำนาญเพื่อออกแบบและคำนวณให้ถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ควรศึกษากฎเกณฑ์ของโครงการบ้านจัดสรรนั้นๆ รวมถึงได้รับการยินยอมจากนิติบุคคลก่อนทำการต่อเติมด้วยนะคะ เรื่องราวเกี่ยวกับการต่อเติมบ้าน 4 ปัญหาคาใจต่อเติมครัวแล้วทรุด 10 วิธี เปลี่ยนบ้านจัดสรรให้สวยงาม มีสไตล์ เหมาะสมกับการใช้งาน ต่อรั้วบ้านเดิมเพิ่มความส่วนตัว
ต่อเติมครัวไทย แบบโปร่งหรือแบบทึบดี?

ต่อเติมครัวไทย แบบโปร่งหรือแบบทึบดี?

ครอบครัวที่ชอบทำอาหารแบบไทยๆ คงไม่พ้นการประกอบอาหารที่ต้องผัด ทอด ก่อให้เกิด เสียง กลิ่น ควัน แผ่ฟุ้งกระจาย เมนูเหล่านี้อาจไม่เหมาะกับพื้นที่ปรุงอาหารในบ้านที่มีขนาดเล็กและระบายอากาศได้น้อย เจ้าของบ้านจึงมักเริ่มคิดต่อเติมครัว แยกออกมาจากตัวบ้าน ตามด้วยคำถามต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ  “จะต่อเติมครัวไทยแบบทึบหรือแบบโปร่งดี ?” ต่อเติมครัวไทย “แบบทึบ” กับ “แบบโปร่ง” ก่อนอื่นขอเล่าถึงการต่อเติมครัว 2 แบบนี้ว่าต่างกันอย่างไร การต่อเติมครัวแบบทึบโดยทั่วไปจะต่อเติมขึ้นมาเป็นห้อง มีผนังเต็มล้อมรอบโดยเจาะช่องเปิดตามความเหมาะสม พร้อมหลังคาครอบมิดชิด ส่วนครัวแบบโปร่งจะมีจุดเด่นตรงความโปร่งโล่ง จึงมักทำแผงระแนงไม้/ไม้เทียมแทนผนัง บางทีอาจเลือกทำผนังทึบเฉพาะช่วงล่าง ส่วนด้านบนปล่อยโล่งหรือทำเป็นแผงระแนง เพื่อความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว ในส่วนของหลังคา อาจทำติดลอยไว้กับผนังบ้านเดิม เลือกซื้อกันสาดสำเร็จรูปมาติด หรือจะใช้โครงสร้างเสาส่วนต่อเติมรับหลังคาเช่นเดียวกับครัวแบบทึบ  ทั้งนี้ครัวแบบโปร่งสำหรับบางบ้านอาจทำง่ายๆ เพียงแค่ติดหลังคากันสาดและก่อเคาน์เตอร์ครัว หรือถ้าจะให้ง่ายกว่านั้นคือซื้อชุดครัวสำเร็จรูปมาติดตั้งเลยก็ได้ ตัวอย่างการต่อเติมครัวแบบโปร่ง ต่อเติมครัวไทยแบบโปร่ง เน้นความโล่ง จะเห็นได้ว่าครัวแบบโปร่งเป็นรูปแบบที่เน้นความโปร่งโล่ง กลิ่นควันและความอับชื้นต่างๆ จึงระบายออกไปได้ง่าย สามารถฉีดน้ำล้างทำความสะอาดได้ (โดยต้องมีทางระบายน้ำรองรับ) วัสดุที่ใช้มักมีน้ำหนักเบา ทั้งยังสร้างได้รวดเร็วง่ายดายกว่าเมื่อเทียบกับครัวแบบทึบ แต่ในขณะเดียวกัน ความโปร่งโล่งของครัวแบบโปร่งอาจทำให้ต้องผจญกับ น้ำฝน ฝุ่นและสิ่งปรกต่างๆ ที่สาดซัดเล็ดรอดเข้ามาได้ง่าย ทั้งยังต้องระวังป้องกันไม่ให้สัตว์เล็กสัตว์น้อย อย่างแมลง นก หนู และอาจรวมถึงแมวหรือสุนัขตัวเล็กๆ เข้ามาก่อกวนภายในห้องครัวด้วย (ในส่วนนี้อาจใช้ ตะแกรง มุ้งลวด ช่วยป้องกันได้บ้าง)   จะเห็นว่าการทำครัวแบบโปร่งจะต้องควบคุมเรื่องความสะอาดและป้องกันสิ่งปนเปื้อนจากภายนอกให้ดี  ซึ่งสำคัญมากเพราะเป็นพื้นที่ประกอบอาหาร  อุปกรณ์ต่างๆ จึงควรมีที่เก็บมิดชิด หรือเจ้าของบ้านอาจจะเลือกใช้ครัวแบบโปร่งเฉพาะตอนประกอบอาหารและล้างภาชนะเท่านั้น ส่วนอุปกรณ์ทั้งหมดนำไปเก็บไว้ในบ้านแทนก็ย่อมได้เช่นกัน นอกจากนี้ ครัวแบบโปร่งซึ่งระบายอากาศได้สะดวกย่อมหมายความว่า กลิ่น ควัน รวมถึงไอน้ำมันจากการทำอาหารจะกระจายไปถึงเพื่อนบ้านได้ง่าย นับเป็นอีกเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน ครัวต่อเติมนอกบ้านแบบโปร่ง ขอบคุณภาพ : topicstock.pantip.com ต่อเติมครัวไทยแบบทึบ เน้นมิดชิด สำหรับห้องครัวแบบทึบซึ่งมีผนังมิดชิดจะมีข้อดีข้อเสียเป็นคู่ตรงข้ามกับห้องครัวแบบโปร่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักมากกว่าจึงมีโอกาสทรุดตัวเร็วกว่า (เมื่อเทียบกับโครงสร้างรองรับแบบเดียวกัน) ส่วนเรื่องของระบบระบายอากาศ อาจต้องพึ่งอุปกรณ์ช่วยอย่างเครื่องดูดควันหรือพัดลมระบายอากาศ นอกจากนี้การสร้างห้องครัวแบบทึบจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าห้องครัวแบบโปร่ง ด้วยปริมาณวัสดุ โครงสร้าง และการเตรียมงานระบบที่มากกว่า   สำหรับข้อดีของครัวแบบโปร่งที่มีผนังมิดชิดก็คือ สามารถป้องกันสิ่งสกปรกและสิ่งไม่พึงประสงค์จากภายนอกได้ดี   รวมถึงการใช้เครื่องดูดควันพร้อมปล่องระบายอากาศ ยังช่วยป้องกันกลิ่นควันจากการประกอบอาหารไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้านได้ง่ายด้วย นอกจากนี้ผนังที่มิดชิดของครัวแบบทึบยังให้ความรู้สึกปลอดภัยและเป็นส่วนตัว รวมถึงมีพื้นที่ติดตั้งชั้นเก็บของได้มาก ในเรื่องการทำความสะอาด ครัวแบบทึบควรใช้วิธีเช็ดถูเอาสิ่งสกปรกออก ไม่ควรใช้วิธีฉีดน้ำล้างอย่างครัวแบบโปร่ง และควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ การติดพัดลมดูดอากาศด้านข้างห้องครัวส่วนต่อเติม เพื่อช่วยระบายกลิ่น/ควัน ตู้ลอยติดผนังเหนือเคาน์เตอร์สำหรับเก็บของในห้องครัวแบบทึบ ขอบคุณภาพ : www.banidea.com อย่างไรก็ตามเมื่อเจ้าของบ้านตัดสินใจเลือกต่อเติมครัวตามแบบที่ตนเองต้องการแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบโปร่งหรือแบบทึบ มีเรื่องสำคัญที่ห้ามละเลยคือ โครงสร้างที่ถ่ายน้ำหนักลงพื้นของครัวส่วนต่อเติม จะต้องแยกจากกันกับโครงสร้างบ้านเดิม เพราะส่วนต่อเติมซึ่งมักลงเสาเข็ม สั้นนั้นโดยปกติจะทรุดตัวเร็วกว่าตัวบ้านเดิม จึงควรให้การทรุดตัวเป็นอิสระจากกัน  ไม่ดึงรั้งกันจนกลายเป็นปัญหาบ้านทรุดแบบเอียงและเกิดการฉีกขาดของโครงสร้าง ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไขได้ยากมาก ขอขอบคุณข้อมูลจาก SCG เกี่ยวกับการต่อเติมบ้านส่วนต่างๆ บ้านชั้นเดียวต่อเติมเป็นบ้านสองชั้นได้หรือไม่ 4 ปัญหาคาใจต่อเติมครัวแล้วทรุด พื้นที่บันได ทำอะไรเพิ่มเติมได้