Tag : ที่ดินติดแม่น้ำ

2 ผลลัพธ์
ที่ดินตาบอดไม่มีทางออก โดนที่ดินคนอื่นล้อมอยู่ควรทำอย่างไร

ที่ดินตาบอดไม่มีทางออก โดนที่ดินคนอื่นล้อมอยู่ควรทำอย่างไร

เรามักจะได้ยินคนคุยกันเสมอว่า ที่ดินแปลงโน้นแปลงนี้เป็นที่ดินตาบอดอย่าไปซื้อ เป็นต้น มารู้จักกับที่ดินตาบอดกันค่ะ ที่ดินตาบอดคืออะไร ที่ดินตาบอด คือที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะประโยชน์ เข้าออกที่ดินตัวเองไม่ได้ การจะเข้าออกจากที่ดินตัวเองต้องผ่านที่ดินแปลงอื่นๆ ซึ่งเป็นที่ส่วนบุคคลมีเจ้าของครอบครองอยู่ ทำให้เจ้าของที่ดินไม่สามารถใช้ที่ดินตนเองทำประโยชน์ได้เต็มที่ ซึ่งเรามักพบเสมอว่าที่ดินตาบอดมักจะเกิดจากการแบ่งที่ดินจากแปลงใหญ่ (แปลงแม่ หรือแปลงคง) มาแบ่งย่อยออกมาเป็นแปลงเล็กๆ เพื่อแบ่งระหว่างญาติพี่น้อง หรือลูกหลาน หรือที่ดินตาบอดจากการขอใช้ทางออกของที่ดินของผู้อื่นตั้งแต่สมัยก่อน ซึ่งอาจเป็นพี่น้องกันจึงยอมให้ใช้ทางออกได้ โดยไม่มีเอกสารทางราชการรองรับ พอเจ้าของรุ่นเดิมเสียชีวิตไป เจ้าของใหม่รุ่นถัดไปหรือทายาทไม่ยอมให้ใช้เป็นทางเข้าออกอีกต่อไปจึงมาปิดทางเข้าออกเสีย หรือที่ดินตาบอดไม่มีทางออก เพราะมีทางเข้าออกได้ลำบาก เช่น ติดแม่น้ำ ภูเขา ทะเล ทางชัน เหว เป็นต้น   ที่ดินตาบอดถูกห้อมล้อมจนกลายเป็น สามารถขอทางจำเป็นได้ โดยมีเงื่อนไขคือ 1.ต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมให้เสียหายน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับเจ้าของที่ดินที่ขอทางผ่าน   2.การใช้ประโยชน์ทางจำเป็นต้องจ่ายค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดิน จะกำหนดเป็นรายเดือนหรือรายปีก็ได้แต่หากเกิดกรณีที่เจ้าของไม่อนุญาตให้ออกสามารถร้องขอต่อศาลเพื่อขอเปิดทางจำเป็นและจ่ายค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียงเพื่อใช้ที่ดินของเขาสู่ถนนสาธารณะ ทางที่ดีควรตรวจสอบเช็คให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อด้วยการลงพื้นที่ตรวจสอบที่ดินดูตำแหน่งสภาพแวดล้อมโดยรอบรวมถึงตรวจสอบโฉนดที่ดินว่าเป็น น.ส4 หรือไม่ เพื่อทำประโยชน์ได้เต็มที่ เพราะโฉนดประเภทอื่นๆ สามารถตกทอดแก่ทายาทได้ แต่ไม่สามารถซื้อขายได้   สามารถตรวจสอบโฉนดที่ดินได้จาก 1.สำนักงานที่ดิน เพื่อดูตำแหน่ง ชื่อเจ้าของที่ดิน รูปร่างหน้าตาที่ดิน ตรวจสอบดูว่าโฉนดมีการปลอมแปลงหรือไม่   2.ตรวจสอบจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมป่าไม้หากที่ดินนั้นอยู่ในพื้นที่กรมป่าไม้ หรือหากติดทะเลก็กรมเจ้าท่า รวมถึงทางพิเศษ ว่าที่ดินแปลงนี้ถูกเวนคืนหรือไม่ หากอยู่ใกล้วิทยุสื่อสารการบินก็กรมการบินพาณิชย์ ควรเช็คประวัติผู้ถือครองที่ดินให้ดีๆพิจารณาดินให้ดีๆ พิจารณาดูว่าที่ดินแปลงนี้เคยมีปัญหากับเจ้าของที่ดินเดิมหรือไม่หรือที่ดินข้างเคียงเคยใช้ประโยชน์อะไรก่อนขายเพื่อประกอบการตัดสินใจรวมถึงคมนาคมทางเข้า–ออก สะดวกสบายหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาทีหลัง   บทความเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน วิธีตรวจสอบที่ดิน และหาราคาประเมิน แบบง่ายๆ แค่คลิ๊กเดียว ที่ดินทรุด ปัญหาที่เช็กและแก้ได้ EIC วิเคราะห์ ใครคือผู้ได้รับผลกระทบจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
แน่ใจได้อย่างไร? ที่ดินข้างโครงการไม่มีตึกสูงบัง

แน่ใจได้อย่างไร? ที่ดินข้างโครงการไม่มีตึกสูงบัง

ตำแหน่งห้องในฝันสำหรับการเลือกห้องในคอนโด นอกจากอยู่ในด้านที่ไม่ต้องเจอแดดร้อน ก็มีเรื่องของวิวทิวทัศน์โล่งกว้าง หลายคนจึงพยายามเลือกห้องฝั่งที่ติดกับที่ดินโล่งกว้างหรืออย่างน้อยก็มีเพียงแค่ตึกเตี้ยๆ แต่ไม่มีอะไรแน่นอน วันหนึ่งเราอาจต้องตื่นจากฝัน เมื่อพบว่า ที่ดินข้างๆ ก็ผุดโครงการคอนโดอีกหนึ่งโครงการขึ้นมา กลายเป็นว่าความสุขจากทิวทัศน์สุดลูกหูลูกตาถูกดับฝันลงทันที ก่อนอื่นขออธิบายว่าในอาคารสูง (สูงตั้งแต่ 23 เมตร) หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ (พื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร) กฎหมายกำหนดไว้ว่าอาคารต้องเว้นที่ว่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 6 เมตร เพราะฉะนั้น ในกรณีอาคารสูงคนละโครงการกัน จะมีระยะตึกติดกันมากที่สุด 12 เมตร ระยะนี้เป็นระยะเพื่อให้รถดับเพลิงทำงานได้ แต่ไม่ใช่ระยะที่มาจากการพิจารณาความขวยอายที่ต้องสบตากับเพื่อนบ้านข้างตึก ระยะ 12 เมตรระหว่างสองห้องคอนโดสูง จึงดูใกล้จนแทบจะจีบกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดหวังเช่นนี้ เราสามารถอาศัยความรู้และความเข้าใจในบ้านเมือง + กฎหมายอาคารเล็กน้อย...แล้วที่ดินข้างตึกเราแบบไหน ที่มีแนวโน้มว่าจะไม่กลายเป็นอาคารสูงขึ้นมาในอนาคต   1. ที่ดินติดแม่น้ำ หรือติดถนน อันนี้ฟันธงได้เลยว่าอนาคตยังไงก็เป็นแม่น้ำหรือถนนวันยังค่ำ และการันตีว่าตึกสูงจะต้องอยู่ห่างจากห้องเราไปอีกฟากถนน + 6 เมตร   2. ที่ดินใกล้เคียงที่ไม่น่าจะมีตึกสูงใกล้ๆ  เช่น โรงพยาบาลดังๆ สวนสาธารณะของรัฐ โรงเรียนหรือวัดที่ปักหลักมั่นคง หรือแม้แต่บ้านมหาเศรษฐี ก็รวมอยู่ในข้อนี้ด้วย แม้ในกรณีนี้อาจจะไม่สามารถรับรองได้ 100% แต่ก็พอจะใช้พิจารณาได้   3. ที่ดินที่มีถนนเล็กกว่า 10 เมตรเข้าถึง เนื่องจากกฎหมายอาคารกำหนดให้อาคารสูง ต้องตั้งอยู่บนที่ดินที่มีถนนกว้างเกิน 10 เมตรเข้าถึง ที่ดินที่ติดถนนเล็กกว่า 10 เมตรจึงสร้างอาคารสูงสุดได้ไม่เกิน 23 เมตร (ประมาณ 7 ชั้น) หากคอนโดของท่านอยู่ติดซอยเล็กๆ แล้วที่ดินด้านข้างหรือด้านหลังติดถนนเล็กกว่า 10 เมตรโดยไม่ติดถนนใหญ่อื่นใด ที่ดินนั้นย่อมไม่มีโอกาสเป็นตึกสูงได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากเกิดการรวบที่ดินก้อนนั้นไปติดต่อกับที่ดินอื่นที่ติดถนนกว้างเกิน 10 เมตรได้ ที่ดินนั้นก็จะสามารถสร้างตึกสูงได้เช่นกัน   4. ที่ดินติดตีนสะพาน หรือที่ดินติดทางโค้ง ข้อนี้ก็มาจากข้อกำหนดทางกฎหมายอาคาร เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่าอาคารสูงโดยทั่วไปต้องมีที่จอดรถ และอาคารจอดรถห้ามมีทางเข้าออกติดตีนสะพานที่มี ”ความลาดชัน” ใกล้กว่า 50 เมตร (นับจากกึ่งกลางทางเข้าจนถึงจุดเริ่มต้นทางลาด โดยสะพานที่มีความลาดน้อยกว่า 2 ซม.ต่อระยะ 1 เมตร ไม่นับเป็นสะพานที่ต้องทำตามกฎนี้) หรือใกล้ทางโค้งเกินกว่า 20 เมตร (นับจากกึ่งกลางทางเข้าจนถึงจุดเริ่มต้นโค้ง) ที่ดินที่ติดสะพาน และติดทางโค้งทางแยกในระยะดังกล่าวจึงไม่สามารถสร้างอาคารสูงได้ ยกเว้นแต่จะหาทางเชื่อมที่ดินนั้นกับทางเข้าออกทางอื่นๆ ได้คล้ายๆ ข้อ 3 หรือไม่ก็ต้องมีอาคารจอดรถภายในระยะ 200 ม.ในอีกที่ดินอีกผืน ซึ่งยุ่งยากพอตัว   5. ที่ดินที่ผังเมืองกำหนดไว้ว่าห้ามสร้างอาคารสูง กฎหมายผังเมืองมีข้อกำหนดในแต่ละโซนเรื่องขนาดของตึกที่สร้างได้ หากอาคารคอนโดที่ท่านอยู่อาศัยอยู่บนขอบระหว่างผังเมืองโซนสร้างอาคารสูงได้ กับโซนผังเมืองที่ห้ามสร้างอาคารสูง ที่ดินข้างนั้นก็จะห้ามสร้างอาคารสูงโดยปริยาย แต่ข้ออาจจะเป็นกรณีที่หาได้ยากสักหน่อย เพราะโดยทั่วไปผังเมืองจะเปลี่ยนโซนต่อเมื่ออยู่กันคนละบล็อกถนน มิได้ตัดกันระหว่างที่ดิน อีกทั้งผังเมืองจะมีการพิจารณาใหม่เสมอทุก 5 – 10 ปี จึงมีความไม่แน่นอนสูง   6. ที่ดินที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากกฎหมายกำหนดระยะร่นต่างๆ ของอาคารสูงไว้ เช่นต้องมีที่ว่างให้รถดับเพลิงวิ่งโดยรอบ 6 เมตร ที่ดินที่มีขนาดเล็กมากๆ (เช่นมีหน้าที่ดินกว้างไม่ถึง 20 เมตร) จึงไม่คุ้มค่าที่จะสร้างเป็นอาคารสูง แต่ข้อนี้มีความไม่แน่ไม่นอนมาก เพราะโครงการอาคารที่จะสร้างใหม่ มักกวาดซื้อที่ดินก้อนเล็กๆรวมแปลงเข้าด้วยกันเป็นที่ดินผืนใหญ่เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าที่ดินผืนเล็กๆ นั้นมีขอบเขตอีกทางเป็นถนน แม่น้ำ หรือโครงการที่ไม่น่าจะเปลี่ยนไปเป็นโครงการอื่น ก็ทำให้มั่นใจได้ว่า ที่ดินนั้นจะไม่กลายเป็นตึกสูงได้มากขึ้น   ที่จริงยังมีอีกหลายกรณียิบย่อย แต่อย่างน้อยหลักการพิจารณาที่ดินว่าจะสร้างอาคารสูงได้หรือไม่ทั้ง 6 ข้อข้างต้น จะช่วยให้ท่านๆ มีหลักการสำหรับคาดเดาสภาพแวดล้อมของคอนโดว่าจะมีอาคารสูงสร้างขึ้นข้างๆ ได้หรือไม่ ความรู้และข้อมูล ช่วยให้เรามองอนาคตได้รอบคอบ และกว้างไกลขึ้นอีกขั้นเสมอ ขอบคุณแหล่งที่มา : https://zmyhome.com/content/ที่ดินแบบไหน-ที่จะไม่กลายเป็นตึกสูงในภายหลัง