Tag : บ้านทรุด

2 ผลลัพธ์
6 วิธีเด็ดไล่ตุ๊กแก ให้รีบเผ่นหนีออกจากบ้าน

6 วิธีเด็ดไล่ตุ๊กแก ให้รีบเผ่นหนีออกจากบ้าน

หลายคนคงขยาดกับเจ้าสัตว์เลื้อยคลานอย่าง “ตุ๊กแก” อยู่ไม่น้อย ทั้งรูปร่าง  ลวดลาย เสียงร้อง และความเหนียวหนึบของมัน ยิ่งทำให้ความน่ากลัวของเจ้าตัวลายเพิ่มมากขึ้น เราจึงมีวิธีเด็ดๆ ในการไล่ตุ๊กแกออกจากบ้านมาฝากกันครับ ไล่ตุ๊กแกด้วย "ยาฉุน" กลิ่นฉุนแรงๆ ถือเป็นสิ่งที่เจ้าตุ๊กแกเกลียดเข้าไส้ ยาฉุน หรือ ยาเส้นที่คนแก่สูบจึงช่วยเราได้ โดยอาจนำไปผสมกับน้ำแล้วนำมาเทหรือฉีดให้ทั่วบริเวณที่ตุ๊กแกอยู่ นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งยาฉุนเป็นก้อนๆ เท่าลูกปิงปอง มัดด้วยหนังยางแล้วนำไปวางบริเวณที่ตุ๊กแกอยู่ครับ "ยี่โถ" ก็ไล่ตุ๊กแกได้ หากมีต้นยี่โถปลูกติดสวน ให้ตัดกิ่งยี่โถแล้วนำมาวางบริเวณที่ตุ๊กแกชอบอยู่ หรือนำใบมาขยำให้กลิ่นออกแล้วนำไปวาง เพียงเท่านี้เจ้าตุ๊กแกตัวลายก็หนีไปไกลแล้วครับ ไล่ตุ๊กแกแบบง่ายแค่ใช้ "ผ้าห่อลูกเหม็น"  ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเหม็น เพราะฉะนั้นเรื่องกลิ่นนี่ถือว่ากำราบเจ้าตุ๊กแกได้แน่นอน เพียงนำผ้ามาห่อลูกเหม็นแล้วเอาไปวางตรงที่ตุ๊กแกชอบอยู่ แค่นี้เจ้าตุ๊กแกก็โบกมือบ๊ายบายลาจากบ้านแล้วล่ะ ปูนแดงผสมยาเส้น แหย่ไล่ตุ๊กแก ผสมปูนแดงเข้ากับยาเส้นแล้วนำมาพันที่ปลายไม้ จากนั้นแหย่ไม้ไปที่ตุ๊กแก ซึ่งตามสัญชาติญาณตุ๊กแกจะงับปลายไม้ทันที พองับแล้วก็จะเมายา บางตัวตกลงมาที่พื้น บางตัวงับติดอยู่กับปลายไม้ แล้วก็รีบนำเอาไปทิ้งได้เลย ไล่ตุ๊กแกด้วยกลิ่นฉุนจากใบน้อยหน่ากับใบสาบเสือ  นำใบน้อยหน่าและใบสาบเสือในจำนวนเท่ากันมาตำให้ละเอียดขนกลิ่นออก แล้วหาผ้าบางๆ มาห่อและนำไปวางที่ตุ๊กแกอยู่ รับรองว่ากลิ่นของมันจะไล่ตุ๊กแกให้วิ่งแจ้นไปไกลเลยล่ะ ใช้เชือกไล่ตุ๊กแก ด้วยการคล้อง   วิธีนี้ต้องลงแรงและอาศัยความกล้ากันสักหน่อยครับ ด้วยการนำเชือกเส้นเล็กๆ มาผูกเงื่อนเป็นบ่วงรูด แล้วนำไปผูกติดกับไม้ยาว คราวนี้ก็นำไปคล้องจับเจ้าตุ๊กแกไปปล่อยกันได้เลย แอบกระซิบนิดหน่อย ว่าอย่าให้เจ้าตุ๊กแกรู้ตัวเชียวนะ ไม่งั้นมันจะหนีเราไปไกล ตามจับกันแทบไม่ทันเลยล่ะ   6 วิธีนี้ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพราะหาอุกปกรณ์ได้ง่าย ไร้สารเคมี จึงทำให้ปลอดภัยทั้งตัวเราและตุ๊กแกครับ แม้ว่าเราจะอยากไล่ตุ๊กแกให้ออกจากบ้านไป ก็ไม่ได้หมายความต้องไปลงมือฆ่าเจ้าตุ๊กแกใช่ไหมล่ะครับ ความรู้อื่นๆ ในการไล่ตุ๊กแก ตุ๊กแกบ้าน บทความที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ไล่จิ้งจกไปให้ไกลบ้าน ง่ายนิดเดียว วิธีไล่หนูบนเพดานบ้าน กำจัดปลวก ด้วยวิธีธรรมชาติ วิธีกำจัดมด ด้วยของใกล้ตัว
ทำอย่างไรเมื่อพื้นที่จอดรถทรุด

ทำอย่างไรเมื่อพื้นที่จอดรถทรุด

เรื่อง : SCG Experience Architect ปัญหากวนใจเจ้าของบ้านอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นประจำคือ การทรุดตัวของพื้นคอนกรีตบริเวณรอบบ้าน โดยหนึ่งในจุดฮอตฮิตที่มักจะเกิดขึ้นเสมอคือบริเวณพื้นที่จอดรถ  อาการเบื้องต้นจะพบว่าบริเวณขอบของพื้นที่เป็นรอยต่อระหว่างที่จอดรถกับตัวบ้านจะมีอาการร้าวทรุดตลอดแนว นอกจากนี้ หากสังเกตว่าพื้นเริ่มแยกและมีระดับที่แตกต่างกัน หรือมีอาการทรุดตัวเป็นแอ่งลงไปตรงกลางผืนที่จอดรถโดยมีรอยร้าวร่วมด้วยนั้น เจ้าของบ้านบางท่านอาจเริ่มกังวลว่าอาการทั้งหลายที่ว่ามานี้จะก่อให้เกิดอันตรายกับบ้านเราหรือไม่ รวมถึงควรแก้ปัญหาอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้ครับ บริเวณที่จอดรถหน้าบ้านทรุดตัว (ขอขอบคุณภาพจาก http://baansanruk.blogspot.com) การทรุดตัวแตกร้าวของพื้นที่จอดรถ (ขอขอบคุณภาพจาก www.ถมที่ดิน.net) การร้าวทรุดของพื้นคอนกรีตบริเวณรอบบ้านนั้นเกิดจากสาเหตุที่โครงสร้างพื้นที่ใช้ในบริเวณดังกล่าวนั้น มักเป็นโครงสร้างพื้นวางบนดิน (Slab on Ground) โดยปราศจากโครงสร้างใต้ดินหรือเสาเข็มรองรับด้านล่าง แตกต่างกับโครงสร้างบ้านที่ถูกออกแบบเป็นโครงสร้างพื้นที่วางบนคาน (Slab on Beam) ซึ่งภายใต้ตัวบ้านนั้นจะมีโครงสร้างเสาเข็มรองรับ โดยเสาเข็มที่มีประสิทธิภาพควรจะมีความยาวลึกถึงชั้นดินแข็ง เพื่อรองรับน้ำหนักของตัวบ้านและป้องกันการทรุดตัวในระยะยาวนั่นเองครับ (ในกรุงเทพและปริมณฑลความยาวเสาเข็มจะอยู่ที่ประมาณ 18-21 เมตร) นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงมักเห็นรอยแยกและการทรุดตัวของพื้นที่เป็นรอยต่อระหว่างที่จอดรถและตัวบ้านเสมอๆ ซึ่งรอยแยกที่ว่านี้ไม่เป็นอันตรายและไม่มีผลทำให้บ้านของเราพังแต่อย่างใดครับ เพียงแต่อาจสร้างความหงุดหงิดใจและทำให้การใช้งานในบริเวณนั้นเป็นไปอย่างยากลำบากสักหน่อย เว้นเสียแต่ว่าหากบ้านของเรามีการต่อเติมหลังคาที่จอดรถบนพื้นดังกล่าว อันนี้ต้องระมัดระวังนิดนึงนะครับ เพราะถ้ามีโครงสร้างหลังคาบางส่วนที่เชื่อมต่อกับตัวบ้านและอีกส่วนวางบนพื้นคอนกรีตกรณีนี้เมื่อพื้นเกิดการทรุดตัวอาจดึงรั้งให้หลังคาที่ยึดติดกับตัวบ้านเกิดการฉีกขาดเสียหายได้  เนื่องจากตั้งอยู่บนโครงสร้างคนละชนิดกันซึ่งมีอัตราการทรุดตัวต่างกัน สำหรับวิธีแก้ปัญหาเรื่องการทรุดตัวและรอยแยกบริเวณพื้นที่จอดรถนั้น เราสามารถดำเนินการได้หลายวิธีครับ กรณีมีรอยแยกรอยร้าวที่เสียหายไม่มาก ไม่ถึงขนาดจะต้องรื้อทุบพื้น  ก็สามารถแก้ไขเฉพาะในส่วนรอยแยกของพื้นเดิมได้ครับ สำหรับรอยร้าวในช่วงรอยต่อระหว่างที่จอดรถกับตัวบ้าน ให้ตัดแยกรอยต่อระหว่างพื้นโครงสร้างที่วางบนคานและพื้นโครงสร้างที่วางบนดิน จากนั้นบริเวณรอยต่อที่ทำการตัดแยกอาจใช้วิธีโรยกรวด หรือกรณีที่รอยร้าวมีไม่มากนักอาจใช้วิธีอุดรอยต่อด้วยโฟมเส้นและยาแนวด้านบนด้วยวัสดุอุดรอยต่อ อาทิ PU หรือ ซิลิโคน โฟมเส้นที่ใช้ในการอุดรอยต่อ (ขอขอบคุณภาพจาก www.demandproducts.com และ www.cpipkg.com) ภาพตัดแสดงการใช้โฟมเส้นอุดรอยต่อ ใช้กรวดโรยเพื่อความสวยงามปกปิดช่องว่างระหว่างรอยต่อของพื้น ขอขอบคุณภาพจาก www.bloggang.com) ส่วนกรณีรอยร้าวเกิดขึ้นบริเวณกลางผืนที่จอดรถโดยมีรอยแยกบริเวณขอบรอยต่อร่วมด้วยนั้น การตัดแยกโครงสร้างอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ควรทำการสกัดพื้นที่จอดรถเดิมที่มีปัญหาและทำการเทพื้นบริเวณใหม่ ซึ่งวิธีการเทพื้นใหม่นั้นควรแยกรอยต่อระหว่างโครงสร้างบ้านและพื้นที่จอดรถเช่นกัน การลงเข็มสั้นแบบปูพรมบริเวณที่จอดรถหน้าบ้าน (ขอขอบคุณภาพจาก www.thaider.com) นอกจากการเทคอนกรีตแล้ว  เจ้าของบ้านอาจเลือกใช้บล็อคปูถนนเพื่อทดแทนพื้นคอนกรีตบริเวณที่จอดรถได้ครับ วิธีนี้ทำได้สะดวกและไม่เป็นการเพิ่มภาระให้โครงสร้าง หากเกิดการทรุดตัวในอนาคตสามารถดำเนินการซ่อมแซมได้ โดยรื้อทุบพื้นคอนกรีตเดิมออก แล้วดำเนินการปรับพื้นที่ให้ได้ระดับความสูงที่ต้องการ บดอัดดินให้แน่น จากนั้นจึงลงทรายแล้วดำเนินการบดอัดให้แน่นเช่นกัน แล้วจึงติดตั้งบล็อคปูถนนตามมาตรฐานผู้ผลิต ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายสีสันทีเดียวครับ การทรุดตัวของพื้นที่วางบนดินนั้น สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติครับ เนื่องมาจากสภาพดินที่มีอัตราการทรุดตัวอยู่ในทุกๆ ปี รวมถึงระยะเวลาในการถมดินก่อนสร้างบ้านก็มีผลทำให้พื้นทรุดตัวเร็วหรือช้าได้เช่นกัน หากเราทิ้งระยะเวลาการถมเพื่อปรับระดับดินก่อนการก่อสร้างเป็นระยะเวลานานๆ ก็จะทำให้อัตราการทรุดตัวต่ำลง  แต่สิ่งสำคัญที่เจ้าของบ้านพึงระวังคือ การเชื่อมต่อกันระหว่างพื้นและโครงสร้างหลังคาเข้ากับอาคารที่มีโครงสร้างต่างชนิดกันนั้น ควรทำการแยกโครงสร้างออกจากกัน โดยสิ้นเชิง ซึ่งเมื่อเกิดการทรุดตัวก็จะเป็นการทรุดแต่เพียงในแนวระนาบเท่านั้น จะไม่มีส่วนใดที่ไปดึงรั้งให้โครงสร้างบ้านเดิมเสียหาย อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้หลังคาที่เชื่อมโครงสร้างติดกับตัวบ้านจริงๆ แนะนำให้ใช้ข้อต่อชนิดที่แกว่งตัวได้เพื่อให้โครงสร้างมีระยะในการเคลื่อนไหวโดยอิสระครับ  หากเจ้าของบ้านมีข้อสงสัยสามารถปรึกษาสถาปนิก SCG ได้ก่อนการแก้ไขปัญหา การแยกโครงสร้างหลังคาออกจากตัวอาคารเพื่อป้องกันการดึงรั้งของโครงสร้าง หากต้องการทำโครงสร้างแบบเบาโดยให้ยึดติดกับอาคารเดิม ควรทำจุดยึดปลายจันทัน (ทั้งด้านติดอาคารและบนปลายเสาด้านนอก) ให้เป็นแบบแกว่งตัวได้ ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.scgbuildingmaterials.com