Tag : บ้านผู้สูงอายุ

2 ผลลัพธ์
“ยิปซัมตราช้าง” แนะเคล็ดลับรีโนเวทบ้านสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุ

“ยิปซัมตราช้าง” แนะเคล็ดลับรีโนเวทบ้านสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุ

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 โดยจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในสัดส่วนสูงถึง 20%  ทำให้สัดส่วนของผู้สูงอายุต่อประชากรวัยทำงานสูงถึง 1 ต่อ 4 คน (ข้อมูลอ้างอิงจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในสังคมที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการอยู่อาศัยและที่อยู่อาศัยที่ต้องสามารถตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุให้มีความเหมาะสม สะดวกสบาย และปลอดภัยมากขึ้น  “ยิปซัมตราช้าง”  ตระหนักถึงความสำคัญนี้ จึงขอนำเสนอเคล็ดลับ “การรีโนเวทบ้านเพื่อผู้สูงอายุ” เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขที่มาพร้อมกับมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สำหรับพื้นที่ใช้งานของผู้สูงอายุที่มีการใช้งานในชีวิตประจำวันบ่อยครั้ง เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ และพื้นที่ใช้สอยส่วนกลาง ควรจัดให้อยู่บริเวณชั้นล่าง เพื่อความสะดวกและปลอดภัยไม่ต้องเดินขึ้นลงบันได เริ่มที่ ห้องนอน ขนาดพื้นที่ห้องนอนควรกว้างขวางพอสำหรับพักผ่อนและทำงานอดิเรก ควรอยู่ใกล้ห้องน้ำหรือมีห้องน้ำในตัว มีหน้าต่างในขนาดและระดับที่เหมาะสมให้มองเห็นทิวทัศน์ด้านนอกชัดเจนและรับแสงธรรมชาติได้ เพิ่มความปลอดภัยด้วยการติดตั้งไฟอัตโนมัติพร้อมเซ็นเซอร์บริเวณเตียงและตามทางเดิน เพื่อช่วยนำทางให้ผู้สูงอายุลุกเดินไปห้องน้ำในเวลากลางคืนได้สะดวกยิ่งขึ้น ห้องน้ำ ไม่ควรมีพื้นต่างระดับ เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุหากเกิดอาการกล้ามเนื้อหรือแขนขาอ่อนแรง พื้นผิวกระเบื้องต้องไม่ลื่นและมีค่าความฝืดที่เหมาะสม ควรติดตั้งราวจับทรงตัวบริเวณที่นั่งอาบน้ำเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัย   นอกจากนี้ควรติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือด้วย หากเกิดการล้มและเหตุฉุกเฉินเพื่อคนในบ้านจะสามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที พื้นที่ทั่วไปภายในบ้าน ควรติดตั้งราวจับทรงตัวไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อช่วยพยุงตัวระหว่างเดิน และลดความเสี่ยงในการหกล้ม   วัสดุปูพื้นควรเลือกใช้ที่พื้นผิวเรียบแต่ไม่ลื่น มีความนุ่มแต่ไม่ยวบจะช่วยลดแรงกระแทกได้ และยังช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถทรงตัวได้ดีขณะเดิน ประตูควรเป็นประตูบานเลื่อนระบบรางแขวนด้านบน เพื่อไม่ให้มีธรณีประตูหรือรางกีดขวางด้านล่าง ช่วยลดโอกาสการสะดุดหกล้มและควรมีความกว้างที่มากพอหากต้องรองรับการใช้งานของรถเข็น มือจับประตูต้องมีขนาดที่เหมาะสม ใช้แรงน้อยในการเปิดปิด ไม่ลื่นมือ และไม่มีเหลี่ยมมุมที่อาจทำให้เกิดอันตรายจากการล้มกระแทกหรือเกี่ยวเสื้อผ้า พื้นที่ภายนอก สามารถจัดสรรพื้นที่ทำสวน เพื่อสร้างความรู้สึกผ่อนคลายและกระตุ้นให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีชีวิตชีวาได้ด้วยการทำกิจกรรมเบาๆ อย่างเช่น รดน้ำต้นไม้ พื้นทางเดินภายนอกควรเป็นพื้นระดับเดียวและมีความเรียบสม่ำเสมอกันทั้งผืน ควรเลือกใช้วัสดุพื้นที่ไม่ลื่นและช่วยลดแรงกระแทก หากเกิดการล้มก็จะช่วยบรรเทาความรุนแรงได้ นอกจากนี้ยังควรติดตั้งราวจับทรงตัวและเตรียมพื้นที่สำหรับนั่งพักด้วย สำหรับการปรับปรุงและขยายห้องกรณีที่ภายในบ้านมีผู้สูงอายุที่ต้องนั่งวีลแชร์ ทำให้ห้องเดิมกลายเป็นห้องที่เล็กเกินไปจะขยับไปทางไหนก็ติดและกลับตัวไม่สะดวก ในกรณีแบบนี้เราสามารถติดตั้งผนังยิปซัมเพื่อช่วยขยายพื้นที่ได้ ด้วยการรื้อผนังเดิมและขยับแนวผนังเพื่อขยายห้อง โดยควรเลือกใช้ผนังยิปซัมที่มีความหนา12มม. เพราะจะสามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี   นอกจากเคล็ดลับด้านบนแล้ว “ยิปซัมตราช้าง” ขอนำเสนอนวัตกรรมระบบปิดผิวผนังอีซี่ฟินิช ตราช้าง (EASYFINISH™ System) “นวัตกรรมเพื่อผิวผนังที่สมบูรณ์แบบ” ช่วยให้ผนังสวยเรียบเนียน ปราศจากรอยร้าว ทำให้ผนังได้ระนาบช่วยให้การติดตั้งเฟอร์นิเจอร์บิ้วอินเรียบเนียนสวยงาม ทำงานได้งานเร็วขึ้น ช่วยลดมลภาวะจากฝุ่นละออง เหมาะสำหรับบ้านที่มีผู้อยู่อาศัยและต้องการรีโนเวทบ้านให้รองรับกับการใช้งานของผู้สูงอายุได้อย่างครบถ้วน   สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนยิปซัมตราช้าง โทร. 02-555-0000 หรือ www.siamgypsum.com หรือ facebook fanpage:@GypsumTraChangTH
ปัจจัยหลักในการออกแบบบ้านชั้นเดียวสำหรับผู้สูงอายุ

ปัจจัยหลักในการออกแบบบ้านชั้นเดียวสำหรับผู้สูงอายุ

ใครที่กำลังมองหาที่ดินมาสร้างบ้านชั้นเดียว หรือ มีที่ดินครอบครองอยู่ในมือ แล้วกำลังคิดจะสร้างบ้านชั้นเดียวที่รองรับได้ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และก็ตัวคุณเองที่อายุมากขึ้นเรื่อยๆ ไปตามกาลเวลาก็ได้เวลาอันสมควรที่จะมาดู 5 ปัจจัยหลักในการออกแบบบ้านชั้นเดียวสำหรับผู้สูงอายุแล้ว ว่าควรจัดฟังก์ชันอะไรยังไงบ้างเพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบาย และสามารถรองรับสังคมผู้สูงอายุได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง 1. บ้านชั้นเดียวกับทางเข้าบ้านที่รองรับวีลแชร์ได้ นอกจากบ้านชั้นเดียว ที่เป็นเสมือนหัวใจหลักในการออกแบบบ้านสำหรับผู้ชราแล้ว หลักในการออกแบบบ้านชั้นเดียวเพื่อให้คนชราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขอันดับต้นๆ ก็คือ ทางเดินเข้าออกตัวบ้าน ส่วนนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทุกแบบบ้านชั้นเดียวจะต้องมี เนื่องจากเป็นตัวนำพาคนชราเข้าออกสู่บ้านชั้นเดียว ซึ่งจะแบ่งสองส่วนด้วยกันคือ ทางลาด กับ บันไดทางเข้าบ้าน โดยทางเดินเข้าบ้านทั้งสองทางนี้จะต้องมีราจับตลอดแนว และมีความกว้างมากกว่า 50 ซม. ขึ้นไป และไม่น้อยกว่า 90 ซม. เพื่อรองรับผู้สูงอายุที่นั่งวิลแชร์ได้ รวมไปถึงทางลาดทางลาดต้องมีความลาดชันไม่เกิน  1:12 ตามกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร สำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราพ.ศ. 2548 กำหนด 2.บ้านชั้นเดียวกับประตูทางเข้าบานใหญ่ เมื่อผู้ชราผ่านด่านทางเดินเข้าบ้านได้แล้ว ก็จะพบกับด่านสอง นั่นก็คือประตูทางเข้าบ้าน แน่นอนว่าขนาดของประตูทางเข้าออกบ้านจะต้องมีขนาดกว้างกว่าวีลแชร์หรือมากกว่า 36 นิ้วขึ้นไป ประตูจะต้องใช้แรงผลักเข้าออกง่ายไม่ฝืดเคือง แต่ก็ต้องไม่เบามากเพราะผู้ชราที่เปิดเข้าออกอาจจะลื่นล้มไปกับประตูที่ที่เปิดออกด้วยความรวดเร็วมากได้ ดังนั้นประตูทางเข้าบ้านส่วนใหญ่ของแบบบ้านชั้นเดียวสำหรับคนชรานั้นจึงมักเลือกใช้บานประตูแบบเลื่อนสองตอนที่สามารถจับเกาะและพยุงตัวได้ รวมไปถึงสามารถเปิดช่องทางการเข้าบ้านได้เป็นระยะกว้าง ต้องออกแบบให้ลางเลื่อนนั้นขนาบไปกับพื้นบ้านทางเข้าออกเพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม โดยสามารถดรอปพื้นลงไปเพื่อวางลางเลื่อนได้ 3.บ้านชั้นเดียวกับวัสดุที่ตอบโจทย์ความปลอดภัยและสุขภาพ เมื่อเข้ามาในตัวบ้าน สิ่งแรกที่ผู้ชราจะต้องสัมผัสเมื่ออยู่ในตัวบ้านชั้นเดียวก็คือพื้นบ้าน วัสดุตรงนี้ถ้าอยากจะเน้นความสวยงามด้วยการใช้กระเบื้องแบบขัดมันรับรองว่าไม่ปลอดภัยสำหรับคนชราแน่นอน ดังนั้นการออกแบบบ้านชั้นเดียวสำหรับในส่วนของพื้นจะต้องเน้นพื้นกระเบื้องผิวด้าน ซึ่งสามารถศึกษาวัสดุปูเพื่อนเบื้องต้นได้จาก วัสดุปูพื้นบ้าน กระเบื้องแบบไหน ควรใช้งานกับส่วนใด รวมไปถึงผนังบ้าน เพดาน ก็ควรมีการเคลือบผิวด้วยไวนีล เพื่อการทำความสะอาดที่ง่ายและไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาเป็นประจำ ส่วนในเรื่องการตกแต่งบ้านชั้นเดียวที่ประกอบไปด้วย เฟอร์นิเจอร์ที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และฝุ่น ตรงนี้ตัดทิ้งไปได้เลย เพื่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็น พรม ผ้าม่าน และเฟอร์นิเจอร์แบบลอยต่างๆ ควรเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ขนาดไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป สามารถใช้งานได้แบบไม่ต้องก้มหรือย่อ และควรออกแบบให้บริเวณรอบบ้านมีต้นไม้ใบหญ้าเยอะๆ เพื่อคอยจับฝุ่นที่จะเข้ามาในตัวบ้าน ไม่เพียงแค่นั้นพื้นที่สีเขียวยังช่วยให้บ้านได้รับความร่มรื่นและอากาศบริสุทธิ์อันเป็นที่ชื่นชอบของคนชราด้วย 4.บ้านชั้นเดียวกับห้องนอนที่รองรับความสะดวก สำหรับการออกแบบบ้านชั้นเดียวให้ตอบโจทย์ผู้สูงอายุมากที่สุดต่อมาก็คือการวางตำแหน่งของห้องนอน ควรอยู่ใกล้กับฟังก์ชันอื่นๆ อาทิ ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร หรือ ห้องที่มีการเดินผ่านไปมาของคนภายในบ้าน เพื่อที่ผู้ชราจะสามารถเชื่อมต่อไปใช้งานห้องต่างๆ ได้อย่างสะดวก อีกทั้งคนในบ้านจะได้สามารถดูแลผู้ชราได้อย่างทั่วถึง แต่ทั้งนี้ก็ต้องออกแบบห้องนอนของผู้ชราให้มีความเป็นส่วนตัวไปในตัวด้วย ส่วนใหญ่ Layout ของห้องนอนคนชราจะอยู่บริเวณมุมบ้าน หรือ มุมที่สามารถรับแสงธรรมชาติได้สองด้าน เพื่อเป็นการเปิดห้องให้โล่ง โปร่ง สบาย และสามารถเปิดบานหน้าต่างออกเพื่อรับลมธรรมชาติได้ โดยบานหน้าต่างต้องออกแบบดีไซน์ให้สูงกว่าเอวหรือที่ความสูงประมาณ 1 ฟุต เพื่อป้องกันการพลัดตกลงมาจากห้องนอน ส่วนเตียงไม่ควรมีขอบมุมที่แหลม และไม่จำเป็นต้องสูงมาก ควรวางเข้ามุมเพื่อป้องกันการกลิ้งตกเตียง และต้องเหลือพื้นที่ปลายเตียงและข้างเตียงไว้สำหรับเดินเข้าออกห้องได้อย่างง่ายดายด้วย ซึ่งถ้าจะให้ดีสามารถติดตั้งราวจับตามจุดสำคัญในห้องได้ถ้าห้องมีขนาดกว้างมาก 5.บ้านชั้นเดียวกับห้องน้ำที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงวัย มาที่ส่วนสำคัญส่วนสุดท้ายอย่างห้องน้ำ และเป็นส่วนที่ต้องระมัดระวังที่สุดเพราะผู้สูงอายุจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งกับโซนนี้ ดังนั้นห้องน้ำที่ดีควรอยู่บนพื้นที่ที่คนในบ้านเป็นหูเป็นตาด้วยกันได้ โดยแบบแปลนบ้านชั้นเดียวส่วนใหญ่จะออกแบบให้ห้องน้ำอยู่ใกล้กับห้องนอนแต่ไม่อยู่ในห้อง เพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุ และสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ง่าย ขอบคุณแหล่งที่มา : http://bit.ly/2tql7mY