Tag : ปลูกบ้าน

2 ผลลัพธ์
ปลูกบ้านแล้วขาย..ต้องเสียภาษีอย่างไร?

ปลูกบ้านแล้วขาย..ต้องเสียภาษีอย่างไร?

สำหรับผู้ที่ปลูกสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยบนที่ดินของตัวเองที่มีอยู่ แล้วต่อมาได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น รู้หรือไม่ว่าจะมีภาษีและค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ทำให้ต้องสำรองเงินไว้สักก้อนหนึ่งด้วย ซึ่งการคำนวณภาษีและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร เรามีข้อมูลมาฝากครับ ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่า เมื่อขายบ้านหรืออสังหาฯ ได้ จะมีภาษีและค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง 1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  คำนวณจากราคาประเมินของกรมที่ดิน หักด้วยค่าใช้จ่าย ซึ่งขึ้นอยู่กับการได้มาของอสังหาฯ นั้น กรณีที่อสังหาฯ ได้มาโดยมรดก สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% กรณีที่อสังหาฯ ได้มาโดยการซื้อขาย สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่ถือครอง โดยนับตามปี พ.ศ. 2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ จะคิดที่ 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมิน โดยดูว่าราคาไหนสูงกว่าก็ใช้ราคานั้นในการคำนวณ แต่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในกรณีดังนี้ (1) ถือครองอสังหาฯ เกิน 5 ปี (2) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี (3) ขายอสังหาฯ ที่ได้รับมาโดยมรดก (4) ถูกเวนคืนบ้านหรือที่ดิน 3. ค่าอากรแสตมป์ ถ้าไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะเสียค่าอากรแสตมป์ในอัตรา 0.5% ของราคาขายหรือราคาประเมิน โดยใช้ราคาที่สูงกว่า 4. ค่าโอน อยู่ที่ 2% ของราคาประเมิน ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับการตกลงของผู้ซื้อและผู้ขายว่าใครจะเป็นคนจ่าย หรือจ่ายคนละครึ่งครับ ทั้งนี้ กรณีขายบ้านที่ปลูกสร้างบนที่ดินที่มีอยู่ก่อนแล้ว เรียกว่า ได้บ้านและที่ดินมาไม่พร้อมกันนั้น ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะแยกคิดระหว่างที่ดินและบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างครับ ขอยกตัวอย่างประกอบการคำนวณดังนี้ สมมติได้รับมรดกที่ดินเมื่อ 20 ตุลาคม 2554 สร้างบ้านบนที่ดินเสร็จเมื่อ 15 มกราคม 2556 ต่อมาได้ขายบ้านพร้อมที่ดินเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2559 หากราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 6,000,000 บาท ราคาประเมินบ้านอยู่ที่ 2,000,000 บาท และราคาขายบ้านพร้อมที่ดินอยู่ที่ 10,000,000 บาท   รวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายบ้านและที่ดิน เท่ากับ 210,000 + 29,000 = 239,000 บาท ทั้งนี้ การขายอสังหาฯ ที่เป็นมรดก หรือได้มาโดยไม่ได้มุ่งค้าหรือหากำไร สามารถเลือกได้ว่าไม่ต้องนำเงินได้มารวมคำนวณภาษีประจำปี นอกจากนี้ การขายอสังหาฯ ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือค่าอากรแสตมป์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาไม่พร้อมกัน จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรืออากรแสตมป์นั้น ให้พิจารณาจากอสังหาฯ ที่ได้มาภายหลัง โดยหากถือครองไม่เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมิน โดยดูว่าราคาไหนสูงกว่าก็ใช้ราคานั้นในการคำนวณ จากตัวอย่างข้างต้น ถือครองบ้านไม่ถึง 5 ปีเต็ม และไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน จะต้องนำบ้านและที่ดินรวมกันเพื่อคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ ดังนั้น ราคาขายบ้านและที่ดินอยู่ที่ 10,000,000 บาท จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% x 10,000,000 บาท = 330,000 บาทครับ แต่หากมีการถือครองอสังหาฯ ที่ได้มาภายหลังครบ 5 ปีเต็ม หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี จะเสียค่าอากรแสตมป์ในอัตรา 0.5% ของราคาขายหรือราคาประเมิน โดยใช้ราคาที่สูงกว่าในการคำนวณ นั่นคือ จะเสียค่าอากรแสตมป์ 0.5% x 10,000,000 บาท = 50,000 บาทครับ เห็นได้ว่า หากขายอสังหาฯ ที่เข้าเงื่อนไขเสียค่าอากรแสตมป์จะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะครับ สำหรับค่าโอนที่ต้องจ่ายให้กับกรมที่ดินขึ้นอยู่กับการตกลงของผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งอยู่ที่ 2% ของราคาประเมิน จากตัวอย่างจะมีค่าโอนเกิดขึ้น 2% x 8,000,000 บาท = 160,000 บาทครับ ก่อนขายอสังหาฯ อย่าลืมพิจารณาภาษีและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เพื่อวางแผนลดค่าใช้จ่ายลง เช่น ถือครองอสังหาฯ ให้ครบ 5 ปี หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอย่างน้อย 1 ปี จะช่วยให้เสียค่าอากรแสตมป์เพียง 0.5% ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะถึง 3.3% ดังนั้น หากศึกษาข้อมูลการขายอสังหาฯ ให้ดี ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียวครับ   ขอขอบคุณข้อมูลมาก k-expert.askkbank.com
10 ลำดับขั้นตอนการก่อสร้างบ้าน

10 ลำดับขั้นตอนการก่อสร้างบ้าน

การปลูกบ้าน หรือสร้างบ้านใหม่ จะเริ่มสร้างจากล่างขึ้นบน กล่าวคือต้องเริ่มจากโครงสร้างเสาเข็ม ฐานราก จากนั้นจะเริ่มงานโครงสร้างจากชั้นหนึ่ง และชั้นสองตามลำดับ แล้วจึงติดตั้งหลังคา ก่อผนัง เตรียมงานระบบ จนเมื่องานโครงสร้างเรียบร้อยก็จะตกแต่งงานสถาปัตย์ เก็บรายละเอียดงาน ทำความสะอาดจนพร้อมส่งมอบบ้านให้แก่เจ้าของบ้าน ทั้งนี้ แต่ละขั้นตอนต้องวางแผนการดำเนินงานเป็นอย่างดี เพราะมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย และสำหรับตัวเจ้าของบ้านเองควรเข้าใจลำดับขั้นตอนเพื่อสามารถตรวจและควบคุมงานในเบื้องต้น รวมถึงจดบันทึกตำแหน่งหรือข้อมูลทั้งงานระบบท่อไฟฟ้า-ประปา ตำแหน่งระบบสุขาภิบาล เผื่อการบำรุงซ่อมแซมในอนาคต 10 ลำดับขั้นตอนการก่อสร้างบ้าน ที่เจ้าของบ้านทุกคนควรทราบ มีดังนี้ 1.เริ่มขั้นตอนสร้างบ้าน โดยการเตรียมพื้นที่ เมื่อมีแบบก่อสร้างบ้าน และทำสัญญากับผู้รับเหมาเรียบร้อยแล้ว ทางผู้รับเหมาจะเริ่มเข้าหน้างานเตรียมพื้นที่ กำหนดจุดวางและขนย้ายเครื่องมืออุปกรณ์ อาจมีสถานที่พักสำหรับคนงาน (ในกรณีที่คนงานพักในพื้นที่) หากมีบ้านเดิมจะต้องรื้อถอนออกก่อน หรือหากเป็นที่ดินเปล่าจะมีการขอน้ำและไฟฟ้าชั่วคราวสำหรับใช้งาน สำหรับงานเตรียมพื้นที่ จะครอบคลุมอยู่หลายเรื่อง ตั้งแต่ระดับพื้นบ้านที่ต้องพิจารณา อาจต้องถมที่ดินเพื่อปรับระดับ ให้เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปจะถมให้สูงกว่าระดับถนน 50-80 ซม. และควรสูงกว่าท่อระบายน้ำสาธารณะ ส่วนระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการถมดินอยู่ในช่วงหน้าแล้ง (ช่วงเดือนธันวาคม – พฤษภาคม) เพราะสามารถทำงานได้สะดวก ได้ดินที่แน่นและมีคุณภาพ เพราะหากถมในช่วงหน้าฝนอาจเกิดเหตุการณ์ดินไหลได้ ภาพ: การปรับระดับดินก่อนลงเสาเข็ม 2.งานวางผังอาคาร ขั้นตอนสร้างบ้านที่ต้องวางแผนให้ดี เมื่อเตรียมพื้นที่เรียบร้อย จะเริ่มวางผังแนวอาคารซึ่งเป็นการกำหนดตำแหน่งของเสาเข็มโดยอ้างอิงจากแบบ เพื่อให้ทุกฝ่ายทั้งเจ้าของบ้าน ผู้ออกแบบ วิศวกร บริษัทรับเหมาก่อสร้าง และบริษัทรับเหมางานเสาเข็มมีความเข้าใจที่ตรงกัน ในขั้นตอนนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับระยะต่างๆ ให้เหมาะสมได้เนื่องจากอาจพบอุปสรรคที่หน้างาน เช่น แนวต้นไม้ใหญ่ แนวเสาเข็มโครงสร้างอาคารเดิม หรือตำแหน่งอาคารข้างเคียงที่มีผลต่อพื้นที่ใช้สอยอาคาร เป็นต้น โดยผู้รับเหมาจะนำเสนอแนวทางแก้ไขให้ผู้ออกแบบเซ็นชื่อรับรอง เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป ภาพ: ตรวจแบบก่อสร้างเพื่อเตรียมวางผังอาคาร (กำหนดจุดลงเสาเข็ม) 3.หนึ่งในขั้นตอนสร้างบ้านสำคัญ คือ งานเสาเข็ม สำหรับงานเสาเข็มมักจะจ้างบริษัทรับเหมางานเสาเข็มโดยเฉพาะ ซึ่งทางผู้ออกแบบจะสำรวจหน้างานและกำหนดมาแล้วว่าบ้านแต่ละหลังเหมาะจะใช้เสาเข็มประเภทใด ไม่ว่าจะเป็นเสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะ (อ่านรายละเอียด Material Guide ทรุดไม่ทรุด จุดเริ่มต้นอยู่ที่เสาเข็ม) การตรวจสอบคุณภาพเสาเข็มต้องทดสอบความแข็งแรง (Load Test) สามารถรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐาน ไม่เยื้องศูนย์ แต่หากเกิดความผิดพลาดหรืออุปสรรคในการตอกหรือเจาะเสาเข็ม ผู้ออกแบบอาจต้องแก้ไขแบบเพื่อให้เสาเข็มและฐานรากดังกล่าวสามารถรับน้ำหนักได้ นอกจากนี้สำหรับการตัดหัวเสาเข็มเพื่อเตรียมหล่อฐานราก ผู้รับเหมางานเสาเข็ม และผู้รับเหมาหลักต้องยืนยันระดับฐานรากให้ตรงกันก่อนส่งต่องาน ภาพ: การทำเสาเข็มเจาะ 4.ขั้นตอนสร้างบ้านของงานฐานรากโครงสร้างชั้นล่าง เมื่อตัดหัวเสาเข็มแล้ว ผู้รับเหมาหลักจะเริ่มงานส่วนโครงสร้างฐานรากซึ่งประกอบด้วยฐานรากและเสาตอม่อจากนั้นจึงขึ้นโครงสร้างชั้น 1 ซึ่งประกอบด้วย คานคอดิน เสา คาน และพื้นชั้นล่าง โดยอาจอาจเลือกเป็นพื้นหล่อในที่ (พื้นห้องน้ำ) ร่วมกับพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป หากโครงสร้างต่างๆ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ควรมีขนาดและค่ากำลังอัด ตามที่วิศวกรได้คำนวณไว้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการบ่มคอนกรีต และถอดแบบค้ำยัน ช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ประมาณ 14-28 วัน ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและประเภทปูน) เพื่อให้โครงสร้างมีความแข็งแรง พร้อมรับน้ำหนักโครงสร้างอื่นๆ ต่อไป แต่ในกรณีที่สร้างบ้านโครงสร้างเหล็ก ก็จะเริ่มนำชิ้นส่วนเหล็กในแต่ละส่วนมาเชื่อมกันทั้งในส่วน เสา คาน ตง เป็นต้น ในระหว่างขั้นตอนนี้ จะมีการขุดดินเพื่อวางระบบสุขาภิบาล เช่น บ่อพัก  Manhole ระบบท่อน้ำทิ้ง ท่อประปา เป็นต้น ซึ่งเจ้าของบ้านควรถ่ายรูปและจดบันทึกตำแหน่งและระยะงานระบบเอาไว้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงหากมีการซ่อมแซมในอนาคต ภาพ: งานเตรียมเหล็กเสริมโครงสร้างคานและเสาชั้นล่าง 5. งานโครงสร้างชั้นสอง โครงหลังคา และโครงสร้างงานระบบสุขาภิบาล งานโครงสร้างชั้นสองก็ทำเช่นเดียวกับโครงสร้างชั้นล่าง ทั้งเสา คานอะเส(คานหลังคา) และอาจมีงานหล่อชิ้นส่วนตกแต่ง เช่น บัว กันสาด ขอบปูน ซึ่งโครงสร้างแต่ละส่วนจะต้องใช้ระยะเวลาบ่มคอนกรีตเช่นเดียวกับโครงสร้างชั้นล่าง นอกจากนี้จะเริ่มขึ้นโครงหลังคา ซึ่งมีหลายประเภท เช่น โครงหลังคาเหล็ก หรือโครงหลังคาสำเร็จรูป เป็นต้น ในส่วนของงานระบบประปาและสุขาภิบาลทั้งถังเก็บน้ำใต้ดิน ท่อน้ำทิ้ง และถังบำบัดจะถูกติดตั้งในช่วงนี้โดยสมบูรณ์เพื่อเตรียมการเดินท่อเข้าภายในบ้าน ภาพ: ติดตั้งโครงหลังคาเหล็ก 6.ขั้นตอนสร้างบ้าน งานมุงหลังคา และโครงสร้างบันได เมื่องานโครงสร้างหลักเสร็จเรียบร้อย จะเริ่มติดตั้งวัสดุมุงหลังคาเพื่อให้ภายในบ้านมีร่มเงาและลดอุปสรรคจากลมฟ้าอากาศในการทำงาน ในช่วงนี้จะเริ่มหล่อโครงสร้างบันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือติดตั้งบันไดเหล็กตามที่แบบระบุ นอกจากนี้อาจเก็บงานโครงสร้างในส่วนอื่นๆ ให้พร้อมก่อนเริ่มงานก่อผนังและติดตั้งวัสดุปิดผิว ภาพ: (บน) มุงหลังคากันแดดและฝน  (ล่าง) ติดตั้งบันไดโครงสร้างเหล็ก 7.งานก่อผนัง ติดตั้งวงกบไม้ประตู-หน้าต่าง และงานระบบไฟฟ้า-ประปา เมื่อมุงหลังคาเรียบร้อย จะเข้าสู่ขั้นตอนการก่อผนังและหล่อเสาเอ็น-คานเอ็น ในขั้นตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับบ้านแต่ละหลังว่าเลือกใช้ผนังบ้านแบบใด เช่น ผนังก่ออิฐ หรือผนังเบา ซึ่งในช่วงนี้จะเดินท่องานระบบต่างๆ ที่ฝังในผนังไปด้วย ทั้งระบบไฟฟ้าและประปา รวมถึงติดตั้งวงกบไม้ประตูหน้าต่างตามตำแหน่งที่ระบุตามแบบ ภาพ: การก่อผนัง หล่อเสาเอ็น-คานเอ็น และฝังท่อไฟฟ้า-ประปาในผนัง 8.ขั้นตอนสร้างบ้าน งานฉาบผนัง และงานติดตั้งฝ้าเพดาน  ในงานฉาบผนังก่ออิฐ จะต้องจับปุ่มจับเซี้ยม หรืออาจขึงลวดกรงไก่ เพื่อฉาบผนังให้เรียบสม่ำเสมอ ส่วนผนังเบาจะต้องฉาบเก็บรอยต่อระหว่างแผ่นผนังให้เรียบเนียน เตรียมพร้อมก่อนขั้นตอนการปิดผิว ในขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความชำนาญของช่างเพื่องานที่ละเอียดเรียบร้อย ผนังต้องได้ดิ่ง-ฉากทุกพื้นที่ สำหรับฝ้าเพดานจะมีการกำหนดระดับความสูงตามแบบทั้งภายในและภายนอกบ้าน โดยติดตั้งโครงฝ้าและปิดด้วยวัสดุฝ้าเพดาน เช่น แผ่นยิปซั่ม แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นต้น ในขั้นตอนนี้จะมีการติดตั้งระบบไฟฟ้า โคมไฟ และช่องเซอร์วิสไปพร้อมกัน ภาพ: การฉาบผนัง และติดตั้งฝ้าเพดานทั้งภายนอกและภายใน 9. งานวัสดุตกแต่งพื้นผิว ขั้นตอนสร้างบ้าน ติดตั้งอุปกรณ์ ติดตั้งประตู-หน้าต่าง และงาน Build-In เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความประณีตของช่างอย่างมาก เพราะทำให้บ้านเนี้ยบสวยงาม ซึ่งในขั้นตอนนี้จะประกอบไปด้วย   9.1 วัสดุตกแต่งผนังและพื้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบและความชอบของเจ้าของบ้าน โดยวัสดุพื้นผิวผนัง เช่น ทาสี ฉาบสกิมโค้ท ปูกระเบื้องเซรามิก ติดวอลล์เปเปอร์ ฯลฯ ส่วนวัสดุพื้น เช่น หินขัด กรวดล้าง/ทรายล้าง ปูกระเบื้องเซรามิก ไม้ปาร์เกต์ ไม้ลามิเนต เป็นต้น 9.2 ระบบแสงสว่างและติดตั้งดวงโคมการติดตั้งแสงสว่างและหลอดไฟจะเริ่มในช่วงนี้เพราะติดตั้งฝ้าเพดาน โคมไฟ และเดินงานระบบเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ช่างจะเดินสายไฟเชื่อมกับสวิตช์ไฟ ปลั๊ก และติดตั้งเครื่องปรับอากาศ 9.3 ติดตั้งบานประตู หน้าต่างไม้ ชุดประตู-หน้าต่างไวนิล/อะลูมิเนียม ขั้นตอนนี้จะเป็นการติดตั้งบานประตู บานกระจก หน้าต่างเข้ากับวงกบไม้ที่ติดตั้งเอาไว้ก่อนหน้านี้ รวมถึงติดตั้งชุดประตู-หน้าต่างไวนิลหรืออะลูมิเนียมเข้ากับผนังที่เว้นช่องไว้ ซึ่งขอบผนังโดยรอบต้องเรียบสม่ำเสมอ ได้ระดับดิ่ง-ฉาก เพื่อให้ชุดประตู-หน้าต่างติดตั้งได้พอดี ลดความเสี่ยงการรั่วซึมในอนาคต 9.4 งาน Build-in ด้านงาน Build-in อาจมารวมอยู่ในช่วงนี้ได้ เช่น ตู้เสื้อผ้า ชั้นวางของ เคาน์เตอร์ครัว เป็นต้น 9.5 ติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ สุขภัณฑ์ในห้องน้ำ และอุปกรณ์เครื่องครัว วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อติดตั้งแล้วควรคลุมด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันฝุ่นละออง รอยขีดข่วน และสีที่อาจกระกระเด็นเปรอะเปื้อนในช่วงการเก็บงาน 9.6 สวนและทางเดินรอบบ้านอาจเริ่มทำในช่วงนี้ หรืออาจทำในช่วงที่บ้านสร้างเสร็จแล้วก็ได้ ภาพ: การตกแต่งภายใน ติดตั้งวัสดุปูพื้น-ผนัง ประตูหน้าต่าง (บานเฟี้ยม) และงานBuild-in 10. ทำความสะอาดและตรวจความเรียบร้อยในการเก็บงาน ขั้นตอนสร้างบ้านสุดท้าย ช่างจะเก็บรายละเอียดต่างๆ เช่น งานทาสี ตรวจสอบงานระบบต่างๆ ซึ่งในช่วงนี้เจ้าของบ้านควรเข้ามาตรวจสอบด้วยตัวเอง ซึ่งถ้าเจอข้อผิดพลาด ควรแจ้งให้ช่างแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนจะส่งจะส่งมอบงาน จากนั้นจะเริ่มทำความสะอาด (โดยมากจะจ้างบริษัททำความสะอาดหลังงานก่อสร้างโดยตรง) แล้วเสร็จจนพร้อมส่งมอบงานให้เจ้าของบ้านขนย้ายเฟอร์นิเจอร์เข้าอยู่ ภาพ: บ้านที่อยู่ในช่วงการเก็บงาน การเรียงลำดับขั้นตอนตามที่กล่าวมาอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือซ้อนทับกันได้ในแต่ละงาน อาจมีเพิ่ม หรือแยกย่อยมากกว่า 10 ลำดับได้ขึ้นอยู่กับปลายปัจจัย เช่น วัสดุที่เข้าหน้างาน ความถนัดของช่าง/ผู้รับเหมา ปัจจัยสภาพคล่องทางการเงิน ปัญหาแรงงานช่าง และสภาพลมฟ้าอากาศที่ไม่อำนวย เป็นต้น Tip: เจ้าของบ้านควรตรวจสอบสัญญาการรับประกันผลงานของทั้งผู้รับเหมา และตัวผลิตภัณฑ์สินค้า รวมถึงการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตามที่ระบุในเอกสาร เพื่อรับรองคุณภาพการก่อสร้าง และตัวสินค้าให้ได้ตามมาตรฐาน ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.scgbuildingmaterials.com เกี่ยวกับการสร้างบ้านอื่นๆ ซื้อบ้านจัดสรรกับสร้างบ้านเอง แบบไหนดีกว่ากัน สร้างบ้านใหม่เลือกแบบบ้านชั้นเดียวหรือแบบบ้านสองชั้นดี? จะก่อสร้างบ้านต้องรู้เรื่องระยะห่างระหว่างอาคารกรณีอยู่ในที่ดินเจ้าของเดียวกัน 7 ความผิดพลาดในการสร้างบ้าน ที่ควรใส่ใจ