Tag : ราคาประเมินที่ดิน

2 ผลลัพธ์
วิธีตรวจสอบที่ดิน และหาราคาประเมิน แบบง่ายๆ แค่คลิ๊กเดียว

วิธีตรวจสอบที่ดิน และหาราคาประเมิน แบบง่ายๆ แค่คลิ๊กเดียว

ยุคนี้จะทำอะไรก็ง่ายแค่คลิ๊กเดียว วิธีตรวจสอบที่ดิน และการหาราคาประเมินก็เช่นเดียวกันค่ะ แค่เปิดเว็บไซต์ค้นหาที่ดินที่เราสนใจจะซื้อ หรือจะเป็นที่ดินของเราอยู่แล้วมาตรวจสอบดูว่าที่ดินตรงนั้นมีขนาดเท่าไร เป็นที่ดินประเภทไหนสามารถนำไปพัฒนาในรูปแบบไหนได้บ้างตามกฎหมายกำหนด และสามารถดูราคาประเมินที่ดินได้ด้วย ที่สำคัญคือสามารถดูได้ทั่วประเทศค่ะ ซึ่งตรงนี้มีประโยชน์มากสำหรับก่อนจะตัดสินใจซื้อที่ดิน หรือจะทำอะไรกับที่ดินก็ตามแต่ ที่สำคัญไม่ต้องเดินทางไปถึงกรมที่ดินเสียเวลาไปเป็นวันแบบสมัยก่อนค่ะ วิธีเช็คที่ดินก็ง่ายมาก ลองทำตามดูทีละข้อนะคะ ขั้นตอนการตรวจสอบที่ดิน 1.เปิดเว็บไซต์กรมที่ดินก็ตรวจสอบที่ดินได้ทันที เลือกจังหวัด อำเภอ ด้านบน หากเรามีฉโนดในมืออยู่แล้วก็ระบุเลขโฉนดลงไปแล้วกดค้นหาได้เลยค่ะ แต่ถ้าในกรณีที่เราสนใจที่ดินผืนไหน หรือแม้กระทั่งคอนโดฯ โครงการไหนก็ลองซูมแผนที่ ไล่หาที่ดินแล้วคลิ๊กตรงที่ดินได้เลยค่ะ จะมีข้อมูลขึ้นมาให้ตามภาพเลย    หาราคาประเมินที่ดินจากกรมธนารักษ์ ในกรณีที่บางที่ดินคลิ๊กขึ้นมาแล้วไม่ได้ระบุราคาประเมินก็ต้องเปิด เว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ เราสามารถหาราคาประเมินที่ดินได้จากทั้งเลขที่โฉนด หรือเลขที่ดินก็ได้ค่ะ โดยเอาเลขที่เราได้จากเว็บไซต์กรมที่ดินในข้อที่ 1 มาระบุก็จะได้ราคาประเมินมาค่ะ ซึ่งราคาประเมินที่ได้เป็นเพียงราคาเบื้องต้นเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคาที่ดิน รวมถึงราคาตัวบ้านและคอนโดตามไปด้วยค่ะ    ตรวจสอบที่ดิน สีผังเมือง ที่ดินแต่ละแปลงย่อมมีข้อกำหนดเอาไว้ค่ะ ว่าสามารถใช้ประโยชน์แบบไหนได้บ้างตามผังเมือง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนนั่นเอง 2.ตรวจสอบที่ดิน รายละเอียดการใช้ประโยชน์ ย่อหน้าสุดท้ายของข้อมูลที่ดิน จะระบุเอาไว้ว่าเป็นที่ดินประเภทไหน อย่างในรูปด้านบนนี้เป็นที่ดินประเภท ย.6 ซึ่งที่ดินแต่ละประเภทจะมีข้อกำหนดในการอนุญาตใช้ประโยชน์จากที่ดินได้แตกต่างกัน เช่น ที่ดิน ย.6 อนุญาตให้สร้างที่อยู่อาศัยประเภทอาคารอยู่อาศัยรวม พื้นที่ไม่เกิน 10,000 เมตร ตามเงื่อนไขที่ 3 คือ ตั้งอยู่ริมถนนที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร หรืออยู่ในระยะ 500 เมตร จากสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน, ไม่อนุญาตให้ใช้ที่ดินในเชิงพาณิชยกรรมพื้นที่เกิน 10,000 ตร.ม. เป็นต้น วิธีตรวจสอบที่ดินแบบดูสีผังเมือง ง่ายๆ เลย คือ เมื่อปักแปลงที่ดินที่เราดูไว้แล้วก็แค่คลิ๊กตรงช่อง เปิด/ปิด ผังเมือง ตรงด้านบน แล้วก็จะกลายเป็นสีผังเมืองขึ้นมา สามารถคลิ๊กดูข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ แต่ละสีได้เลย ซึ่งตามภาพตัวอย่างนี้ ที่ดินที่เราดูเอาไว้เป็นสีน้ำตาล เราก็ไปคลิ๊กตารางทางขวามือที่เป็นสีน้ำตาล ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ก็จะมีรายละเอียดทั้งหมดขึ้นให้อ่านแยกกันไปตามสีผังเมือง หรือสามารถเข้าไปรายละเอียดอ่านข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบตารางให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นได้ที่ เว็บไซต์ของสำนักผังเมือง    3.ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายด้านโยธาธิการและผังเมืองเพิ่มเติม  ถ้าอ่านข้อกำหนดจากข้อ 2 แล้วยังไม่เข้าใจ ก็สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องกฏหมายด้านโยธาธิการและผังเมืองได้ที่ เว็บไซต์ของกรมโยธาธิการและผังเมือง สรุปเว็บไซต์ที่สามารถตรวจสอบที่ดิน และราคาประเมิน ได้ฟรี! ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน กรมที่ดิน ค้าหาราคาประเมินจาก กรมธนารักษ์  รายละเอียดข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินจาก สำนักผังเมือง  ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่ทำให้เราสามารถทราบข้อมูลเบื้องต้นของที่ดินแต่ละแปลง และยังสามารถรู้ข้อกำหนดที่สามารถสร้างได้กับที่ดินอย่างคร่าวๆ ด้วยค่ะ  
เปิดราคาที่ดินล่าสุด เริ่มใช้ปี 61′

เปิดราคาที่ดินล่าสุด เริ่มใช้ปี 61′

ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอยู่ตลอด โดยผู้ที่กำหนดราคาที่ดิน คือ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีการประกาศราคาประเมินที่ดินใหม่ โดยเปลี่ยนวิธีการจากเดิมประเมินเป็นรายบล็อก เป็นการประเมินราคารายแปลงทั้งหมด 32 ล้านแปลง ราคาใหม่นี้เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2561 โดยราคาที่ดินสูงสุดเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1.ถ.สีลม เขตบางรัก ตารางวาละ 1,000,000 บาท 2.ถ.เพลินจิต ถ.พระราม1 ถ.ราชดำรอ เขตปทุมวัน ตารางวาละ 900,000 บาท 3.ถ.สาทร เขตสาทร เขตบางรัก ตารางวาละ 750,000 บาท 4.ถ.วิทยุ เขตปทุมวัน ถ.เยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ ตารางวาละ 700,000 บาท 5.ถ.สุขุมวิท เขตวัฒนา คลองเตย ตารางวาละ 650,000 บาท 6.ถ.พัฒนพงษ์ ถ.ธนิยะ ถ.นราธิวาสฯ เขตบางรัก ตารางวาละ 600,000 บาท 7.ถ.สำเพ็ง ถ.ราชวงศ์ ตารางวาละ 550,000 บาท 8.ถ.พญาไท ถ.ศาลาแดง ถ.สุรวงศ์ ถ.เจริญกรุง ถ.คอนแวนต์ เขตบางรัก ถ.พระราม 4 ถ.หลังสวน เขตปทุมวัน ถ.มังกร เขตสัมพันธวงศ์ ตารางวาละ 500,000 บาท 9.ถ.มหาจักร เขตสัมพันธวงศ์ ตารางวาละ 475,000 บาท 10.ถ.พระสุเมรุ เขตพระนคร ตารางวาละ 470,000 บาท   ส่วนที่ดินที่ถูกที่สุดในเขตกรุงเทพมหานคร เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1.เขตบางขุนเทียน บริเวณคลองโล่งชายทะเล ตารางวาละ 500 บาท 2.คลองพิทยาลงกรณ์ คลองโล่ง เขตบางขุนเทียน ตารางวาละ 800 บาท 3.ถ.ร่วมพัฒนา ถ.คู้คลองสิบ ถ.มิตรไมตรี เขตหนองจอก ตารางวาละ 850 บาท 4.ถ.สุวินทวงศ์ ถ.เลียบวารี เขตหนองจอก ถ.ขุมทอง-ลำต้อยติ่ง เขตลาดกระบัง ตารางวาละ 1,000 บาท 5.ถ.คลองเกาะโพธิ์ ถ.บางขุนเทียนเลียบชายทะเล ตารางวาละ 1,200 บาท 6.ถ.ราษฎร์อุทิศ เขตมีนบุรี คลองสามวา ตารางวาละ 1,300 บาท 7.ถ.พระราม 2 คลองสนามชัย และถ.แสมดำ เขตบางขุนเทียน ตารางวาละ 1,500 บาท 8.ถ.เอกชัย ถ.พระราม 2 เขตบางขุนเทียน 2,000 บาท 9.ซ.เทียนทะเล 22 ตารางวาละ 2,400 บาท 10.คลองหนามแดง ถ.เอกชัย ถ.บางบอน 4 เขตบางขุนเทียน ตารางวาละ 2,500 บาท ราคาที่ดินสูงสุดในต่างจังหวัด เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1.อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ตารางวาละ 400,000 บาท 2.อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ตารางวาละ 250,000 บาท 3.ถ.เลียบหาดพัทยา จ.ชลบุรี ตารางวาละ 220,000 บาท 4.ถ.ศรีจันทร์ จ.ขอนแก่น ตารางวาละ 220,000 บาท 5.ถ.เนรมิต จ.นครศรีธรรมราช ถ.ทวีวงศ์ จ.ภูเก็ต ตารางวาละ 200,000 บาท 6.ถ.โพศรี จ.อุดรธานี ตารางวาละ 180,000 บาท 7.ถ.กรุงเทพฯ-นนทบุรี จ.นนทบุรี ถ.สุขยางค์ จ.ยะลา ตารางวาละ 170,000 บาท 8.ถ.สุขุมวิท กรุงเทพ-คลองสำโรง จ.สมุทรปราการ ตารางวาละ 160,000 บาท 9.ถ.ราชดำเนิน จ.ตรัง ถ.หน้าเมือง จ.สุราษฎร์ธานี ตารางวาละ 150,000 บาท 10.ถ.อัษฎางค์ ราชดำเนิน ถ.จอมพล จ.นครราชสีมา ตารางวาละ 130,000 บาท   ส่วนที่ดินที่ถูกที่สุดในต่างจังหวัด ซึ่งทั้งหมดเป็นที่ดินตาบอด เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1.อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี ตารางวาละ 20 บาท 2.อ.กัลยาณิวัฒนา แม่แจ่ม อมก๋อย จ.เชียงใหม่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ตารางวาละ 25 บาท 3.อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ตารางวาละ 30 บาท   การประเมินราคาใหม่นี้ใช้เกณฑ์อ้างอิงหรือเป็นฐานในการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม ใช้ในการเวนคืน และใช้เพื่อเพื่อรองรับกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาในชั้นสภานิติบัญญัติ