Tag : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

2 ผลลัพธ์
เปิดรายงานผลสำรวจตลาดอสังหาฯ ครึ่งหลังปี 2561 เหลือขายกว่า 1.5 แสนยูนิต

เปิดรายงานผลสำรวจตลาดอสังหาฯ ครึ่งหลังปี 2561 เหลือขายกว่า 1.5 แสนยูนิต

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ได้จัดทำรายงานสรุปผลการสำรวจอุปทานและอุปสงค์ของโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขายในช่วงครึ่งหลังปี 2561ในพื้นที่กรุงเทพฯ–ปริมณฑล โดยนับเฉพาะโครงการที่มียูนิตเหลือขายไม่ต่ำกว่า 6ยูนิต   จากการสำรวจพบว่า มีโครงการที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขายจำนวน 1,597 โครงการ มียูนิตในผังโครงการรวมทั้งสิ้น 492,436 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560  7.7% มีมูลค่าโครงการรวม 1,977,836 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย   -โครงการบ้านจัดสรร 1,088โครงการ มียูนิตในผังจำนวน 207,216 ยูนิต จำนวนยูนิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปี2560  2.6% มีมูลค่าโครงการรวม 925,579 ล้านบาท   -โครงการคอนโดมิเนียม 509 โครงการ มียูนิตในผังจำนวน 285,220 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560 16.8% มีมูลค่าโครงการรวม 1,052,257 ล้านบาท   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า จากการสำรวจในช่วงครึ่งหลังปี 2561 มียูนิตเหลือขายจำนวน 154,765 ยูนิต หรือ 31.4% ของยูนิตในผังโครงการทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560 8.5% โดยโครงการบ้านจัดสรรมียูนิตเหลือขายจำนวน 86,113 ยูนิต หรือ 41.6% ของยูนิตในผังโครงการบ้านจัดสรรทั้งหมด  เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.1% ส่วนโครงการคอนโดฯ มียูนิตเหลือขายจำนวน 68,652 ยูนิต หรือ 24.1% ของยูนิตในผังโครงการคอนโดฯ ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 10.3%   ภาพรวมจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ–ปริมณฑล ช่วงครึ่งหลังปี 2561 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ทั้งโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดฯ มีอัตราการดูดซับของที่อยู่อาศัยโดยรวม 4.8% ต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีอัตราดูดซับ 4.6% โดยบ้านจัดสรรมีอัตราดูดซับ3.1% ต่อดือน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีอัตราดูดซับ 3.5% และคอนโดฯมีอัตราดูดซับ 6.5% ต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีอัตราดูดซับ 5.8% โดยมีรายละเอียดดังนี้   -โครงการบ้านจัดสรร ที่อยู่ในระหว่างการขายในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จำนวน 1,088 โครงการ มียูนิตในผังของทุกโครงการรวมกัน 207,216 ยูนิต มียูนิตเหลือขายหรือเป็นอุปทานในตลาด 86,113 ยูนิต คิดเป็นมูลค่ายูนิตเหลือขาย 388,600 ล้านบาท (เทียบกับในช่วงครึ่งหลังปี 2560 มีจำนวน 1,135 โครงการ มียูนิตในผังโครงการ 212,780 ยูนิต และมียูนิตเหลือขาย 80,398 ยูนิต คิดเป็นมูลค่ายูนิตเหลือขาย 339,612 ล้านบาท)   ทั้งนี้  ยูนิตในผังโครงการทั้งหมด 207,216ยูนิต ส่วนใหญ่ 53.5% เป็นทาวน์เฮ้าส์ รองลงมา เป็นบ้านเดี่ยว 30.6% เป็นบ้านแฝด 12.2%  ที่เหลือเป็นอาคารพาณิชย์และที่ดินเปล่า เมื่อแยกตามระดับราคา ยูนิตในผังส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงราคา 3.01– 5.00 ล้านบาท 33.7 % รองลงมา อยู่ในช่วงราคา 2.01– 3.00 ล้านบาท 29.0% อยู่ในช่วงราคาเกินกว่า 5ล้านบาทขึ้นไป  24.2% และราคาไม่เกิน2ล้านบาท 13.2%   แยกตามสถานะของการก่อสร้าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นยูนิตที่ก่อสร้างเสร็จจำนวน 128,224 ยูนิต คิดเป็น 61.9% ของยูนิตในผังทั้งหมด รองลงมาเป็นยูนิตที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างจำนวน 44,522 ยูนิต คิดเป็น 21.5% และยูนิตที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 34,470 ยูนิต คิดเป็น 16.6% โดยยูนิตที่ก่อสร้างเหลือขาย หรือบ้านว่างมีจำนวน 16,388 ยูนิต หรือ 12.8% ของยูนิตที่ก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมด ทำเลบ้านจัดสรรในกรุงเทพฯ ที่ขายดีมากที่สุด5อันดับแรก โดยดูจากสัดส่วนที่ขายได้ต่อยูนิตทั้งหมดในโครงการ ได้แก่ 1.ทำเลสีลม-สาทร-บางรัก 2.ทำเลหลักสี่-ดอนเมือง-สายไหม-บางเขน 3.ทำเลพระโขนง-บางนา-สวนหลวง-ประเวศ 4.ทำเลคลองสามวา-มีนบุรี-หนองจอก-ลาดกระบัง 5.ทำเลลาดพร้าว-วังทองหลาง-บางกะปิ   ทำเลบ้านจัดสรรในเขตปริมณฑลที่ขายดีมากที่สุด5อันดับแรก โดยดูจากสัดส่วนที่ขายได้ต่อยูนิตทั้งหมดในโครงการ ได้แก่ 1.ทำเลเมืองสมุทรสาคร 2.ทำเลบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง 3.ทำเลพุทธมณฑล-นครชัยศรี-สามพราน 4.ทำเลเมืองสมุทรปราการ-พระประแดง-พระสมุทรเจดีย์ 5.ทำเลกระทุ่มแบน-บ้านแพ้ว   โครงการคอนโดฯ ที่อยู่ในระหว่างการขายในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล มีจำนวน 509 โครงการ มียูนิตในผังของทุกโครงการรวมกัน 285,220 ยูนิต มียูนิตห้องชุดเหลือขายหรือเป็นอุปทานในตลาด 68,652 ยูนิต มูลค่ายูนิตเหลือขาย 260,856 ล้านบาท (เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ซึ่งมีโครงการคอนโดฯ 449 โครงการ มียูนิตในผังโครงการ 244,293 ยูนิต มียูนิตเหลือขาย 62,240 ยูนิต คิดเป็นมูลค่ายูนิตเหลือขาย 209,044 ล้านบาท) ทั้งนี้ยูนิตในผังโครงการทั้งหมด 285,220 ยูนิต ส่วนใหญ่ 69.5% เป็นห้องชุดแบบหนึ่งห้องนอน รองลงมา 18.1% เป็นห้องแบบสตูดิโอ และ 11.8% เป็นแบบสองห้องนอน ที่เหลือเป็นแบบสามห้องนอนขึ้นไป   เมื่อแยกตามระดับราคายูนิตในผังโครงการส่วนใหญ่ 33.0% อยู่ในช่วงราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท 28.9% อยู่ในช่วงราคา 2.01–3.00 ล้านบาท 19.6% อยู่ในช่วงราคา 3.01– 5.00 ล้านบาท ที่เหลืออีก 18.5% อยู่ในช่วงราคาเกินกว่า 5ล้านบาท แยกตามสถานะของการก่อสร้าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นยูนิตที่ก่อสร้างเสร็จจำนวน 136,490 ยูนิต คิดเป็น 47.9% ของยูนิตในผังทั้งหมด รองลงมาเป็นยูนิตที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 106,702 ยูนิต คิดเป็น 37.4%และยูนิตที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างจำนวน 42,028 ยูนิต คิดเป็น 14.7%   โดยยูนิตที่ก่อสร้างเหลือขาย หรือบ้านว่างมีจำนวน 18,176 ยูนิต หรือ 13.3% ของยูนิตที่ก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดทำเลคอนโดฯในกรุงเทพฯ ที่ขายดีมากที่สุด 5 อันดับแรก โดยดูจากสัดส่วนที่ขายได้ต่อยูนิตทั้งหมดในโครงการ ได้แก่ 1.ทำเลสีลม-สาทร-บางรัก 2.ทำเลคลองสามวา-มีนบุรี-หนองจอก-ลาดกระบัง 3.ทำเลบางซื่อ-ดุสิต 4.ทำเลบึงกุ่ม-คันนายาว-สะพานสูง 5.ทำเลพระโขนง-บางนา-สวนหลวง-ประเวศ   ทำเลคอนโดฯในเขตปริมณฑลที่ขายดีมากที่สุด 5 อันดับแรก โดยดูจากสัดส่วนที่ขายได้ต่อยูนิตทั้งหมดในโครงการ ได้แก่ 1.ทำเลกระทุ่มแบน-บ้านแพ้ว 2.ทำเลเมืองปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-สามโคก 3.ทำเลเมืองนครปฐม-กำแพงแสน-บางเลน-ดอนตูม 4.ทำเลเมืองสมุทรปราการ-พระประแดง-พระสมุทรเจดีย์ 5.ทำเลเมืองนนทบุรี-ปากเกร็ด    
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 6 เดือนข้างหน้าต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 6 เดือนข้างหน้าต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 6 เดือนข้างหน้าต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ ผวาปัญหาการเมือง-ศก.ซบ-ขาดแคลนแรงงาน-ต้นทุนวัสดุพุ่ง ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ไตรมาส 3 ปี 2556 มีผู้ประกอบการตอบแบบสอบถาม 166 บริษัท เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 30 บริษัท และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 136 บริษัท ในการคำนวณดัชนีรวมจะให้น้ำหนักบริษัทจดทะเบียนและบริษัทไม่จดทะเบียนเท่ากัน นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในภาวะปัจจุบันมีค่าเท่ากับ 52.5 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 2 ปี 2556 ซึ่งดัชนีมีค่าเท่ากับ 54.7 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดัชนีมีค่าเท่ากับ 51.3 เมื่อแยกประเภทผู้ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันเท่ากับ 57.8 ปรับลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีค่าดัชนี 59.2 ส่วนผู้ประกอบการที่ไม่ใช่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันเท่ากับ 47.3 ปรับลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีค่าดัชนี 50.1 ทั้งนี้ ค่าดัชนีไตรมาส 3 ปี 2556 สูงกว่า 50.0 แสดงว่าผู้ประกอบการยังมีความเห็นว่าภาวะตลาดยังดี แต่ดัชนีปรับลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แสดงว่าผู้ประกอบการไม่มั่นใจมากเท่ากับเมื่อไตรมาสก่อนหน้า โดยไตรมาส 3 ปี 2556 ผู้ประกอบการมีความกังวลใจในด้านผลประกอบการ ยอดขาย การลงทุน การจ้างงาน อีกทั้งต้นทุนการประกอบการเพิ่มขึ้นจากราคาวัสดุ ปัจจัยเศรษฐกิจโดยภาพรวมที่มีสัญญาณชะลอตัว การเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้มีความกังวลต่อปัญหาอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้น อีกทั้งผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจในการซื้อที่อยู่อาศัย สำหรับดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า มีค่าเท่ากับ 60.4 ปรับลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีค่าเท่ากับ 67.4 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 ซึ่งดัชนีมีค่าเท่ากับ 69.6 โดยในส่วนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีค่าดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 64.4 ปรับลดลงจากไตรมาสที่แล้วซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 72.0 ส่วนบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีค่าดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า มีค่าดัชนีเท่ากับ 56.4 ปรับลดลงจากไตรมาสที่แล้วซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 62.7 อย่างไรก็ตาม ดัชนีความคาดหวังใน 6 เดือนข้างหน้า ปรับลดลงจากไตรมาสที่แล้วเช่นกัน และเป็นค่าดัชนีต่ำที่สุดในรอบ 5 ไตรมาส โดยผู้ประกอบการมีความกังวลมากขึ้นต่ออนาคต ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สถานการณ์การเมืองที่ส่อเค้าความยุ่งยาก ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน การขาดแคลนแรงงานและผู้รับเหมา ราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูง