Tag : เครื่องใช้ไฟฟ้า

2 ผลลัพธ์
เทคนิคใช้ไฟฟ้าอย่างไรให้ปลอดภัยในหน้าฝน

เทคนิคใช้ไฟฟ้าอย่างไรให้ปลอดภัยในหน้าฝน

เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากฝนตกฟ้าคะนองจะทำให้การเดินทางไปไหนมาไหนลำบากแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อยากให้ทุกคนคำนึงถึงนั่นคือ การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงหน้าฝน หรือฝนตกหนัก เพราะฤดูฝนแบบนี้มักเกิดเหตุไฟดูด ไฟช็อตได้บ่อยครั้ง มาดูกันว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่ควรระมัดระวัง 1.ระมัดระวังเวลาใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่วางไว้ในที่ชื้น มีเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทมักตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความชื้นเช่นปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า ดังนั้นเวลาใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ควรเพิ่มความระมัดระวัง สวมรองเท้าก่อนเข้าไปสัมผัสหรือใช้งานเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว 2.ไม่ควรใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขณะตัวเปียก เรื่องนี้เรารู้กันอยู่แล้ว แต่บางครั้งอาจหลงลืม หลายๆ คนพอตัวเปียกฝน หรือชื้นๆ มาจากนอกบ้าน พอเข้ามาในบ้านอาจเผลอตัวไปสัมผัสปลั๊กไฟ หรือบางคนชอบใช้ไดรฟ์เป่าผมหลังสระผมใหม่ๆ ซึ่ง ไม่แนะนำให้ทำแบบนั้น เนื่องจากหากเกิดไฟรั่วกระแสไฟจะผ่านร่างกายได้สะดวกขึ้น และเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าช็อตเราควรทำอย่างไร 1.ห้ามเข้าไปช่วยผู้ถูกไฟฟ้าช็อต จนกว่าจะแน่ใจว่าผู้บาดเจ็บไม่ได้สัมผัสกับสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าใดๆ ถ้าจำเป็นต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวนไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่นไม้ หรือผ้ามาเขี่ยสายไฟออกจากผู้บาดเจ็บก่อน 2.ถ้าผิวหนังผู้ที่จะช่วยเปียกชื้น ห้ามเข้าไปช่วยเพราะยิ่งเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าและอาจถูกไฟฟ้าดูดได้ วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์และสายไฟ และควรซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด บริเวณที่วางสายไฟไม่ควรให้สิ่งของที่หนักไปทับ และวางให้พ้นทางเดิน เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ควรเปียกน้ำ ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยที่ไม่มีความรู้ ไม่ควรใช้ไฟฟ้าหลายอย่างกับปลั๊กไฟตัวเดียว ต่อสายดินเพื่อให้ไฟลงดิน และควรติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยและเป็นการป้องกันที่ดี สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง   ขอขอบคุณข้อมูลจาก คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล home.sanook.com
เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดกินไฟแค่ไหน

เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดกินไฟแค่ไหน

เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด กินไฟแค่ไหนมาดูกัน ! เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้งานกันอยู่ในบ้าน แต่ละชนิดก็ใช้พลังงานแตกต่างกันออกไป แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดไหน กินไฟเท่าไหร่กันบ้าง แน่นอนว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า คืออีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต เพราะทุกบ้านก็ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่มากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น พัดลม แอร์ โทรทัศน์ ตู้เย็น หม้อหุงข้าว หรือแม้กระทั่งไฟส่องสว่าง ก็ล้วนแล้วแต่ต้องใช้พลังงานที่ถูกคำนวณออกมาเป็นค่าไฟทั้งสิ้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการใช้ไฟมาฝากกัน แต่ละชนิดใช้ไฟเปลืองแค่ไหน ลองไปดูแล้วเตรียมตัวประหยัดไฟให้ถูกจุดกันจ้า   กิโลวัตต์ คืออะไร การใช้ไฟฟ้าเรามักจะเห็นคิดค่ากำลังไฟกันเป็น กิโลวัตต์ ซึ่งก็คือแรงเทียน หรือกำลังไฟฟ้าที่ใช้งานไปนั่นเอง (1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง = 1,000 วัตต์) หากมีจำนวนวัตต์มากก็จะยิ่งเปลืองไฟมาก ซึ่ง 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง จะเท่ากับ 1 ยูนิตหรือ 1 หน่วย ตามบิลค่าไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น   ในบ้านมีหลอดไฟจำนวน 100 วัตต์ 10 หลอด เท่ากับ 100x10 = 1,000 วัตต์ (1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง) ถ้าเปิดไฟทั้ง 10 ดวง นาน 2 ชั่วโมง เท่ากับ 1,000x2 = 2,000 วัตต์ (2 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง) ดังนั้น 2 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง = 2 ยูนิต หรือ 2 หน่วย ตามบิลค่าไฟฟ้า   เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดใช้ไฟกี่วัตต์ พัดลมตั้งพื้น 45-75 วัตต์ พัดลมเพดาน 70-104 วัตต์ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 500-1,000 วัตต์ เครื่องปิ้งขนมปัง 600-1,000 วัตต์ ไดร์เป่าผม 300-1,300 วัตต์ เตารีดไฟฟ้า 430-1,600 วัตต์ เครื่องทำน้ำอุ่น 900-4,800 วัตต์ เครื่องซักผ้า 250-2,000 วัตต์ ตู้เย็น (2-12 คิว) 53-194 วัตต์ แอร์ 680-3,300 วัตต์ เครื่องดูดฝุ่น 625-1,000 วัตต์ เตาไฟฟ้าแบบเดี่ยว 300-1,500 วัตต์ โทรทัศน์สี 43-95 วัตต์ เครื่องอบผ้า 650-2,500 วัตต์   ได้รู้จักกับข้อมูลการใช้ไฟครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ไปแล้ว ก็อย่าลืมเลือกปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า กันอย่างเหมาะสมด้วยนะคะ จะได้ประหยัดค่าไฟในบ้านให้ลดน้อยลงได้ ชิ้นไหนไม่ได้ใช้งานก็ถอดปลั๊กให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีกระแสไฟปล่อยออกมา หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นไหนกินไฟหนัก ๆ ก็หลีกเลี่ยงไปใช้วิธีอื่นที่ประหยัดกว่าแทน เช่น กวาดบ้านด้วยไม้กวาดแทนเครื่องดูดฝุ่น หรือไม่เปิดเครื่องทำน้ำอุ่นถ้าไม่จำเป็น เป็นต้นจ้า