Tag : เตรียมพร้อมก่อนเข้าอยู่

1 ผลลัพธ์
“ที่ดินทรุด” ปัญหาโลกแตกที่เช็กและแก้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

“ที่ดินทรุด” ปัญหาโลกแตกที่เช็กและแก้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

เรียกว่าปัญหาโลกแตกอย่างที่ดินทรุดนั้น เป็นสิ่งที่หลายคนปวดหัวหนักมาก เพราะนอกจากจะต้องเสียเวลาลงแรงและเปลืองเงินแล้ว ยังนำความเสียหายมาให้เมื่อลงมือก่อสร้างบ้านหรืออาคารไปแล้ว ดังนั้นทางที่ดีเพื่อไม่ให้ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว ควรตรวจสอบดินทรุดด้วยวิธีต่างๆ พร้อมศึกษาวิธีแก้ปัญหา อย่างละเอียดถี่ถ้วนเรียนรู้ ตรวจสอบดินทรุดอย่างเข้าใจ 1. ย้อนอดีตที่ดินของตนเอง ในที่นี้หมายถึงการมองย้อนกลับไปว่าก่อนจะเห็นที่ดินว่างเปล่า อันถูกถมจนเรียบเตียนแล้วนั้น บริเวณนี้เป็นอะไรมาก่อน หากเป็นแอ่ง บ่อน้ำ หรืออยู่ใกล้กับแม่น้ำ รับรองว่าต่อให้ถมดินอย่างไรก็ทรุด สืบเนื่องจากดินอมน้ำมาเป็นเวลานาน บวกกับหากตั้งอยู่ใกล้กับคลองหรือแม่น้ำ แน่นอนว่าถูกน้ำกัดเซาะอยู่ตลอด เหตุนี้เองจึงทำให้เป็นปัจจัยหลักของที่ดินทรุดในบริเวณดังกล่าว เพราะฉะนั้นทางที่ดีก่อนซื้อที่ดิน ควรพิจารณาความเป็นมาของที่ผืนนั้นเป็นอันดับแรก แต่ถ้าหากเป็นที่ได้มาจากมรดกตกทอด อาจจะต้องศึกษาวิธีการป้องกันดินทรุดตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะสร้างบ้าน ไม่เช่นนั้นเตรียมเผชิญปัญหาเรื่องโครงสร้างบ้านเป็นอันดับต่อไป 2.ศึกษาที่ดินทรุดของตนเองอยู่โซนไหนของกรุงเทพฯ หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่าที่ดินกรุงเทพฯ และปริมณฑล มักจะทรุดตัวลงทุกปี ปริมาณ 1 เซนติเมตร ทั้งนี้มีระดับน้ำทะเลหนุนปีละปริมาณ 4 มิลลิเมตร อาจเป็นเพราะกรุงเทพฯ มีลักษณะเป็นที่ลุ่มต่ำ ประกอบกับตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จึงทำให้บางที่ดินเกิดเป็นแอ่ง ซึ่งเป็นเช่นนี้มานานแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน รวมทั้งทัศนียภาพบริเวณนั้นด้วย โดยอัตราเฉลี่ยของการทรุดตัวในแต่ละเซนติเมตรนั้น เกิดจากตึกรางบ้านช่องถูกสร้างบนดินลักษณะอ่อนนุ่มนั่นเอง และถ้าดูผลการสำรวจจากกรมทรัพยากรธรณี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และกรมแผนที่ทหารเมื่อช่วงปี 2551 จะพบว่าแต่ละโซนของกรุงเทพฯ มีที่ดินทรุดตัวมากน้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้พื้นที่ทรุดมากที่สุดคือเขตบางกะปิ โดยมีการทรุดตัวสะสมประมาณ 1.20 เมตรเศษ ส่วนที่น้อยสุดคือฝั่งนนทบุรี 3.พิจารณาที่ดินทรุดช่วงหน้าฝน เวลานี้อย่าเพิ่งมองว่าฝนตกจะทำให้ทุกอย่างแย่ไปหมด เพราะสำหรับงานก่อสร้างหรือถมที่นั้นถือว่าเป็นเรื่องดีอย่างมาก และจะใช้เวลานี้ในการเช็กว่าที่ดินทรุดหรือไม่ โดยสามารถดูได้จากปริมาณดินอันไหลไปกับน้ำฝน ในขณะเดียวกันหากเพิ่งถมใหม่ๆ จะทำให้ที่ดินมีความแน่นขึ้น ทั้งนี้การถมที่ให้แน่นมีด้วยกัน 2 วิธีคือ ถมแบบอัด เพิ่มปริมาณความหนาทีละชั้นหน้าดิน เมื่อฝนตกถูกชะล้างออกไป วิธีนี้สามารถป้องกันดินทรุดได้ดี ส่วนวิธีที่ 2 เป็นการถมแบบไม่อัด คือให้เต็มพื้นที่ทีเดียว แน่นอนว่าข้อดีคือได้ความเร็ว แต่ข้อเสียสังเกตได้เลยฝนตกแบบนี้ ดินทรุดแน่นอน แก้ไขรับมือปัญหาที่ดินทรุดแบบกล้วยๆ 1. ถมที่ดินใหม่ให้แน่น อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการถมที่ดินในหน้าฝนจะทำให้ดินแน่น แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของการถมด้วย ซึ่งแน่นอนว่าการถมแบบบีบอัด ย่อมป้องกันปัญหาที่ดินทรุดได้อย่างดี แต่ถ้าต้องการความแน่น เพื่อความชัวร์ว่าสร้างบ้านหรืออาคารไปแล้วไม่ทรุด ต้องเพิ่มปริมาณดินทีละชั้นประมาณ 20-50 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะดินด้วย ประกอบกับระหว่างการถมต้องอัดให้แน่นทีละชั้น แล้วค่อยถมต่อ อันเป็นกระบวนการของการบีบอัดหน้าดิน ซึ่งต้องทำเช่นนี้จนกว่าจะได้ระดับดินจนเต็มพื้นที่ ทั้งนี้เมื่อถมเสร็จ สังเกตว่าปริมาณดินไม่เกิดการยุบตัวลง จึงค่อยลงมือสร้างบ้านหรืออาคารนั้นได้ 2. สร้างกำแพงดิน วิธีการนี้เป็นขั้นตอนแก้ไขปัญหาเมื่อดินทรุดตัวลงแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากขั้นตอนการถมดินโดยไม่ได้ใช้วิธีบีบอัด ทำให้ดินไหลไปกับกระแสน้ำ ดังนั้นวิธีแก้ไขเฉพาะหน้าคือต้องสร้างกำแพงดินนั่นเอง 3. ใช้หลักการพอเพียง ด้วยการปูหญ้าแฝก เรียกว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาดินทรุด ที่ประหยัดสุดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักการพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยวิธีปลูกหญ้าแฝกในแนวสโลบ เพื่อป้องกันดินสไลด์ในช่วงหน้าฝนหรือฤดูน้ำหลาก ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมปลูกขวางแนวลาดชัน ทั้งนี้เป็นการป้องกันน้ำกัดเซาะ นิยมกับพื้นที่ริมแม่น้ำ   ขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.ddproperty.com/ข่าวอสังหาริมทรัพย์-บทความ/2017/6/155072/ที่ดินทรุด-ปัญหาโลกแต