Tag : โอนบ้าน

2 ผลลัพธ์
Wat Arun

Wat Arun

การรับโอนบ้าน ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญ เพราะถ้าหากไม่ตรวจบ้านให้ดีก่อนรับโอน อาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาไม่จบไม่สิ้น หรือบางรายอาจจะรับโอนมาก่อนทั้งๆที่บ้านยังไม่เรียบร้อยดี ก็ต้องมาวุ่นวายซ่อมแซมแก้ไขปัญหาบ้าน ทั้งๆที่เพิ่งสร้างใหม่หรือเพิ่งเข้าอยู่ได้ไม่นาน ดังนั้น ขั้นตอนการตรวจรับบ้านจึงสำคัญและเป็นสิ่งทีละเลยไม่ได้ มาดูกันครับว่า 4 ขั้นตอนโอนรับบ้านที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง 1. แบบบ้าน,ขนาดที่ดิน,วัสดุอุปกรณ์เป็นการตรวจความถูกต้องตรงกันระหว่างเอกสารหลักฐานและบ้านจริง เพราะมักมีปัญหาเรื่องของแบบบ้านไม่เหมือนในสัญญา หรือขนาดที่ดินไม่เท่ากับในสัญญา สำหรับวัสดุอุปกรณ์นั้นต้องตรงกับเอกสารแนบท้ายด้วย แต่ถ้าได้ยี่ห้อไม่เหมือนกันก็ต้องได้คุณภาพดีกว่าหรือเทียบเท่า 2. ความเรียบร้อยสมบูรณ์เป็นการตรวจความเรียบร้อยของบ้าน ซึ่งก่อนจะโอนรับบ้านควรจะเป็นบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ถ้าบ้านที่ยังไม่เรียบร้อยดีหรือมีการแก้ไข จะเรียกว่า Defect ซึ่งในขั้นตอนนี้โครงการมักจะเร่งให้รับโอนทั้งๆที่ยังแก้ไม่เรียบร้อย ทางที่ดีควรจะให้มีการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยมีการรับโอนบ้าน 3. ระยะเวลาส่งมอบขั้นตอนนี้จะมีเวลากำหนดแน่นอนไว้ในใบสัญญาว่ามีการส่งมอบเมื่อไร แต่ถ้าโครงการส่งมอบล่าช้ากว่าที่กำหนด ทางโครงการต้องเสียค่าปรับให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้า 4. การรับประกันงานก่อสร้างในทางกฏหมายโครงการต้องรับประกันความเสียหายหรือชำรุดบกพร่องของบ้าน โดยโครงสร้างบ้านจะรับประกัน 5 ปี ส่วนอุปกรณ์หรือส่วนควบอื่นๆจะรับประกัน 1 ปี ดังนั้น ถ้ามีการเสียหายก็สามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากโครงการได้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก  นิตยสาร Home Buyers' Guide เดือนสิงหาคม 2559
ไม่อยากรับโอนบ้านที่ชำรุด ต้องทำยังไง?

ไม่อยากรับโอนบ้านที่ชำรุด ต้องทำยังไง?

มีหลายครั้งที่เราพบว่าผู้จะซื้อบ้านไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ตามที่ผู้จะขายนัดไว้ เพราะเหตุผลที่ว่า บ้านหลังนั้นยังสร้างเสร็จไม่เรียบร้อยดี ทั้งๆที่ในหนังสือระบุไว้ว่า “ถ้าไม่ไปพบตามวันเวลาที่นัดตามหนังสือระบุไว้ ให้ถือว่าผู้จะซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาและให้รับเงินที่ผู้จะซื้อได้ชำระไว้แล้วทั้งหมด” ซึ่งในทางกฏหมายจะถือว่าผู้ซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาได้ และยังหมดสิทธิ์เรียกค่าเสียหายใดๆจากผู้ขายอีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากพบว่าบ้านที่เราจะซื้อยังสร้างไม่เสร็จ หรือมีปัญหา แล้วไม่อยากรับโอนบ้านเหล่านี้ ต้องรู้วิธีที่จะเลี่ยงการรับโอนด้วยนะครับ 1. ถ้าพบเห็นความชำรุดบกพร่องของบ้านที่จะซื้อ ให้บันทึกส่วนต่างๆของบ้านที่ยังสร้างไม่เรียบร้อยและถ่ายภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน และให้ผู้จะขายหรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากผู้จะขายได้ลงลายมือไว้ในบันทึกดังกล่าวด้วย 2. ในบันทึกที่จดความชำรุดบกพร่องของบ้านนั้น ให้กำหนดระยะเวลาพอสมควรที่จะแก้ไขความชำรุดแก่ผู้จะขายด้วย 3. เมื่อถึงวันนัดรับโอน ให้ผู้จะซื้อนำบันทึกและภาพถ่ายดังกล่าวไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินที่อยู่ในเขตอำนาจตามวันและเวลาที่นัด เพื่อให้รับทราบเรื่องที่ผู้จะขายยังสร้างบ้านไม่เรียบร้อยดี โดยให้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินในฐานะเจ้าพนักงานของรัฐได้จดบันทึกเรื่องนี้ไว้เป็นหลักฐานว่า ผู้ซื้อได้มาตามวันเวลานัดที่ผู้จะขายนัดแล้ว แต่มีข้อโต้แย้งทำให้ไม่อาจรับจดทะเบียนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านที่ซื้อไว้ได้ เนื่องจากบ้านที่ซื้อขายยังมีความชำรุดเสียหาย และยังไม่ได้รับการแก้ไขจากผู้จะขาย จึงขอให้ผู้จะขายจัดการแก้ไขให้เรียบร้อยภายในเวลาพอสมควร 4. ถ้าหลังจากที่ครบกำหนดเวลาแล้ว ยังพบว่าบ้านยังไม่ได้รับการแก้ไขให้เรียบร้อย ให้ผู้จะซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับผู้จะขายโดยตรง เพราะถือว่าพฤติกรรมของผู้จะขายถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา 5. เมื่อบอกเลิกสัญญาเรียบร้อยแล้ว ให้เรียกร้องขอเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมดคืนจากผู้จะขายพร้อมดอกเบี้ยตามกฏหมาย 6. ถ้าผู้จะขายต่อสู้ว่าไม่ได้ผิดตามสัญญา แนะนำให้ผู้จะซื้อใช้สิทธิในทางศาล ทั้งนี้ต้องฟ้องผู้จะขายให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องต่อศาลภายใน 1 ปี นับตั้งแต่เวลาที่ผู้จะซื้อได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องนั้น (ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 474 บัญญัติว่า “ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้น “ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง”) เมื่อผู้จะซื้อพบเห็นความชำรุดของบ้านให้แจ้งผู้ขาย ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบซ่อมแซม ถ้าถูกปฏิเสธให้นำเรื่องนี้ฟ้อง สคบ. และให้แจ้งวิศวกรวิชาชีพของหน่วยงานรัฐ เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่อยู่ในพื้นที่ของบ้านที่ตั้งอยู่ หรือวิศวกรวิชาชีพจากสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถมภ์ (วสท.) เข้าไปตรวจสอบความชำรุด ถ้าผลการตรวจสอบเกิดการทรุดตัวต่างระดับของฐานราก (เสาเข็ม) และพื้นอาคาร เมื่อตรวจสอบเสร็จและเสนอรายการซ่อมให้ผู้ซื้อทราบ จึงถือได้ว่าผู้จะซื้อพบเห็นความชำรุดบกพร่องนับแต่เวลานั้น ดังนั้น ให้นับอายุความ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อทราบผลการตรวจความชำรุดของบ้านนั้นจากวิศวกรผู้มีวิชาชีพ และรายการการค่าเสียหาย (เทียบค่าพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2544)   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  home.co.th