Tag : ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย

3 ผลลัพธ์
ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยรายงานแนวโน้มตลาดคอนโดมิเนียมระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์ม ราคาขายเฉลี่ยคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ไพร์มสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยรายงานแนวโน้มตลาดคอนโดมิเนียมระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์ม ราคาขายเฉลี่ยคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ไพร์มสูงสุดเป็นประวัติการณ์

จากรายงานวิจัยของไนท์แฟรงค์ประเทศไทย คาดว่าในปีพ.ศ. 2561 ตลาดคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามปริมาณอุปทานที่เพิ่มขึ้นและความต้องการที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยนักพัฒนาโครงการอสังหาฯยังคงเปิดตัวโครงการใหม่ๆ ตลอดทั้งปีนี้ เนื่องจากอสังหาฯและยูนิตระดับไฮเอนด์ในกรุงเทพฯยังคงดึงดูดความสนใจจากผู้ซื้อทั้งในและนอกประเทศ การพัฒนาในพื้นที่ทำเลทองอย่างบริเวณไพร์มสุขุมวิทและลุมพินีกลางจะยังคงมีอยู่ตลอด สำหรับด้านอุปสงค์ ความต้องการยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากอุปทานระดับไพร์มมีจำนวนจำกัดและส่วนใหญ่มักถูกครอบครองโดยกลุ่มผู้ซื้อชาวไทยที่ร่ำรวย อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเห็นผู้ซื้อชาวต่างประเทศมากขึ้นในตลาดนี้ โดยเฉพาะผู้ซื้อชาวจีน, ฮ่องกง และไต้หวัน สำหรับราคาขายเฉลี่ยคาดการณ์ว่าจะปรับสูงขึ้นตามปัญหาการขาดแคลนของที่ดินในย่านไพร์มและการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดิน ซึ่งทำให้นักพัฒนาโครงการมีทางเลือกน้อย โดยจำเป็นต้องสร้างโครงการราคาสูงเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการลงทุน   ภาพรวมตลาด ตลาดคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯ ณ สิ้นปีพ.ศ. 2560 แสดงอัตราการครอบครองที่ปรับลดลง แต่ยังคงรักษาแนวโน้มการเติบโตของตลาดและการพัฒนาโครงการ โดยในพื้นที่ย่านไพร์มมีโครงการใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งสร้างมาตรฐานการใช้ชีวิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านที่อยู่อาศัยชั้นนำอย่างในบริเวณไพร์มสุขุมวิทและลุมพินีกลางที่มีอุปทานใหม่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันผู้พัฒนาโครงการชั้นนำในตลาดนี้ทำการยกระดับตลาดคอนโดฯ ไพร์มและซูปเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯ โดยร่วมมือกับบริษัทก่อสร้างและสถาปัตยกรรมชั้นนำ เพื่อสร้างโครงการที่เน้นความโดดเด่นและทันสมัย สำหรับด้านอุปสงค์ ตลาดคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯ แสดงอัตราการชะลอตัวลงในบางพื้นที่ ในช่วงปีพ.ศ. 2560 เนื่องจากยังมีอุปทานสะสมอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก แม้อุปสงค์จะแสดงอัตราลดลง แต่ราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรยังคงปรับสูงขึ้นเนื่องจากปัญหาที่ดินพัฒนาที่มีจำกัดบนถนนสายหลักและการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดิน   จากสุขุมวิทถึงลุมพินีกลาง และสาทรถึงริมฝั่งแม่น้ำ อุปทานคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯในปีพ.ศ. 2560 แสดงอัตราการเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 135.8 และ 135.7 จากปีก่อนตามลำดับ โดยมีโครงการใหม่และกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2560 อย่างไรก็ตามการเติบโตของอุปทานแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักพัฒนาโครงการต่อตลาดนี้ จากผลการสำรวจตลาดคอนโดฯ ระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มใน กรุงเทพฯจะเห็นว่ามีการเปิดตัวโครงการประมาณ 7,200  ยูนิตในปีพ.ศ 2560 โดยร้อยละ 34 ตั้งอยู่ในบริเวณสุขุมวิท และบริเวณลุมพินีร้อยละ 24 บริเวณพระราม 4  อยู่ที่ร้อยละ 11 ส่วนที่เหลืออยู่ในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ, สีลม-สาทร, พญาไท และรัชดาภิเษก-พระราม 9 มีโครงการคอนโดฯระดับซูเปอร์ไพร์ม 10 แห่งที่มีจำนวนยูนิตรวมกัน 1,306 ยูนิตเปิดตัวในปีพ.ศ. 2560 โดยแสดงการเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ135.7 จาก 554 ยูนิตในปีก่อนหน้า ในขณะเดียวกันอุปทานใหม่จากโครงการ 15  แห่งที่มียูนิตรวมทั้งสิ้น 5,876 ยูนิตเพิ่มเข้ามาในตลาดคอนโดฯระดับไพร์ม โดยแสดงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 135.8 ปีต่อปี   กราฟที่ 1 และ 2 อุปทานสะสมคอนโดมิเนียมระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์ม                     ซูเปอร์ไพร์ม                                                                            ระดับไพร์ม   ที่มา:  ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย     อุปสงค์ อุปสงค์ในปี พ.ศ. 2560 ตลาดคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลง เนื่องจากมีปริมาณอุปทานสะสมอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลลัพธ์จากปริมาณอุปทานที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลให้อัตราการครอบครองในตลาดซูเปอร์ไพร์มลดลงประมาณร้อยละ 14 ปีต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 67 ในขณะที่ความต้องการยูนิตระดับไพร์มมีอัตราการครอบครองเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 76.5ลดลงไปประมาณร้อยละ 2 ปีต่อปี แม้ว่าอัตราการครอบครองเฉลี่ยจะลดลงเนื่องจากมีปริมาณอุปทานสะสมอยู่ในตลาด แต่ปริมาณความต้องการตามข้อมูลสำรวจพบว่ายูนิตที่ขายออกต่อปีพุ่งสูงขึ้นทั้งในตลาดไพร์มและซูเปอร์ไพร์ม โดยก่อนหน้านี้มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดอยู่ที่ประมาณ  3,370  ยูนิตปีต่อปี โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 80  ยูนิตปีต่อปี นอกจากนี้ความต้องการของโครงการระดับไฮเอนด์ที่มีทำเลและรูปแบบที่ดียังคงเป็นที่น่าสนใจ โดยผู้ซื้อมักซื้อไว้เพื่อการอยู่อาศัยเองหรือเพื่อเก็งกำไรในระยะยาว   กราฟที่ 3 และ 4 อุปทาน อุปสงค์สะสมและอัตราการครอบครองของคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์ม                        ซูเปอร์ไพร์ม                                                                         ระดับไพร์ม ที่มา:  ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย   แนวโน้มด้านราคา ราคาขายเฉลี่ยของคอนโดฯระดับไพร์มและซูเปอร์ไพร์มที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2560 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 302,630 บาท/ตร.ม. และหากดูในแต่ละภาคตลาดย่อย จากผลสำรวจของไนท์แฟรงค์ประเทศไทย พบว่าราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรของคอนโดฯระดับซูเปอร์ไพร์มในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 26 ปีต่อปี โดยมีราคาอยู่ที่  366,745 บาท/ตร.ม. ในขณะที่ราคาขายเฉลี่ยของคอนโดฯระดับไพร์มปรับขึ้นไปที่ 238,515 บาท/ตร.ม. เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 ปีต่อปี ทั้งนี้ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัย 2 ประการ ได้แก่ ราคาที่ดินที่สูงขึ้นในพื้นที่ย่านไพร์ม และความต้องการสะสมจากผู้ซื้อที่ชะลอการซื้อเมื่อปี พ.ศ. 2559   กราฟที่ 5   ราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตร   ที่มา:  ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย   แนวโน้มด้านอุปทาน เมื่อเร็วๆนี้ นักพัฒนาโครงการไม่เพียงแค่ร่วมมือกับบริษัทสถาปัตยกรรมและบริษัทก่อสร้างที่มีชื่อเสียงเท่านั้น แต่ยังร่วมดำเนินงานกับศิลปินระดับประเทศและต่างชาติที่มีชื่อเสียงหลายราย เพื่อรังสรรค์ออกแบบที่พักอาศัยระดับไพร์มและเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในการใช้ชีวิตในเมือง โดยจะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน โครงการใหม่ๆ หลายแห่งออกแบบภายนอกอาคารให้มีความน่าสนใจ สวยงามและโดดเด่น ในขณะที่การออกแบบตกแต่งภายในเน้นความสร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์ เลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพและเฟอร์นิเจอร์ที่ทันสมัย ยกตัวอย่างเช่นการออกแบบของดีไซน์เนอร์ชาวไทยและชาวต่างติที่มีชื่อเสียงบริเวณล็อบบี้หลักและพื้นที่ส่วนกลางของโครงการวิตโตริโอ สุขุมวิท 39 (VITTORIO Sukhumvit 39), เครื่องใช้ในครัวระดับไฮเอนด์ของ Gaggenau ที่ติดตั้งภายในโครงการสินธร ต้นสน (Sindhorn Tonson) และเฟอร์นิเจอร์จาก Ralph Lauren ในโครงการไนน์ตี้เอท ไวร์เลส (98  Wireless) ทั้งหมดนี้ถูกรังสรรค์เพื่อให้เหมาะกับการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้ซื้อเศรษฐี โดยโครงการคอนโดใหม่ๆ บางแห่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องทำเล็บ, สปาและห้องนวด, สระว่ายน้ำสปา, และห้องรับประทานอาหารส่วนตัวที่มีพ่อครัวส่วนตัวจากโรงแรม 5 ดาวพร้อมให้บริการ                            
ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยเผยภาพรวมตลาดคอนโดมิเนียมไตรมาส 1 ปี 2561

ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยเผยภาพรวมตลาดคอนโดมิเนียมไตรมาส 1 ปี 2561

  จากผลวิจัยไนท์แฟรงค์ประเทศไทย เผยว่าภาพรวมตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพยังคงสดใส จากอานิสงค์ของการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าและไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบายยิ่งขึ้นในการใช้ชีวิต โดยในปี 2560 มียูนิตใหม่เข้าสู่ตลาดทั้งหมด 62,751 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 19% ในขณะที่ยอดขายเฉลี่ยรวมทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 76% ขยายตัวจาก 74% ในปี 2559 ทำเลที่ได้รับความนิยมสูงสุดยังคงเป็นแนวรถไฟฟ้าโดยเฉพาะสายสีเขียวอ่อนและสายสีน้ำเงิน สำหรับ CBD สุขุมวิทยังเป็นพื้นที่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีคอนโดมิเนียมใหม่เข้ามาประมาณ 11,000 ยูนิต รองลงมาคือวิทยุ สีลม สาทร 2,300 ยูนิต และพระราม 4 จำนวน 817 ยูนิต ส่วนทำเลนอกเขต CBD ที่ได้รับความสนใจสูงสุดจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้แก่ พระราม 9 – รัชดาภิเษก, พหลโยธิน, ลาดพร้าว, และอ่อนนุช – แบริ่ง โดยมียูนิตใหม่เข้ามาในพื้นที่ข้างต้นประมาณ 19,000 หน่วย   เมื่อสำรวจยอดขายในปี 2560 ของแต่ละทำเลพบว่า CBD และพื้นที่โดยรอบ มียอดขายเฉลี่ย 78% และ 71% ตามลำดับ ในขณะที่โครงการใหม่ย่านชานเมืองสามารถทำยอดขายเฉลี่ยทั้งปีได้ประมาณ 80% สะท้อนความมั่นใจของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดเป็นอย่างดี ส่วนราคาขายต่อตารางเมตรปรับตัวสูงขึ้นในทุกทำเล โดยเฉพาะ CBD ซึ่งมีแปลงที่ดินที่เหมาะสำหรับพัฒนาโครงการใหม่ๆเหลืออยู่จำกัด ส่งผลให้ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้น และสะท้อนออกมาในราคาขาย โดยโครงการใหม่ใจกลางเมืองทำเล CBD มีราคาขายเฉลี่ยต่อ ตร.ม. อยู่ที่ 248,267 บาท รอบเขต CBD เฉลี่ย 131,521 บาทต่อ ตร.ม. และราคาขายเฉลี่ยต่อ ตร.ม. ของโครงการใหม่ย่านชานเมืองอยู่ที่ 79,871 บาท ราคาเพิ่มจากปี 2559 คิดเป็น 8.6%, 1.2% และ 6.5% ตามลำดับ   สำหรับไตรมาส 1 ปี 2561 มีคอนโดมิเนียมใหม่เข้าสู่ตลาดทั้งสิ้น 12,563 หน่วย เฉพาะยูนิตที่เข้ามาใหม่นี้มียอดขายเฉลี่ยประมาณ 55% โดยกว่าครึ่งหนึ่งเปิดตัวในเดือนมีนาคม 2561 ส่วนราคาเสนอขายเฉลี่ยต่อ ตร.ม.ใน CBD และพื้นที่โดยรอบ หดตัวจากไตรมาส 1 ปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากโครงการที่เปิดตัวใหม่ไตรมาสนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่โดดเด่นน้อยกว่าและจัดอยู่ในเกรดต่ำกว่า อย่างไรก็ตามราคาเสนอขายเฉลี่ยของโครงการใหม่ย่านชานเมืองมีอัตราการเติบโตสูงเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 110,353 บาท/ตร.ม. เพิ่มขึ้น 61% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2560 และเพิ่มขึ้น 38% เมื่อเทียบกับปี 2560 ทั้งปี ทั้งนี้เนื่องจากที่ดินในเมืองเหลือน้อยบวกกับราคาที่ดินมีแนวโน้มทะยานขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประกอบการหลายรายจึงหันไปให้ความสนใจทำเลรอบนอกมากขึ้น โดยในไตรมาสนี้มีโครงการระดับบนซึ่งราคาเสนอขายเฉลี่ยต่อ ตร.ม.มากกว่า 110,000 บาทขึ้นไป เปิดตัวในทำเลชานเมืองถึง 6 โครงการ ส่งผลให้ราคาขายเฉลี่ยต่อ ตร.ม. ในพื้นที่นี้สูงขึ้นกว่าทุกๆปีที่ผ่านมา   แนวโน้มตลาดปีนี้คาดว่าย่านชานเมืองและพื้นที่รอบ CBD ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ทั้งในด้านราคาอสังหาฯ และการตอบรับจากผู้บริโภค โดยเฉพาะโครงการทำเลติดแนวรถไฟฟ้า หรืออยู่ห่างรถไฟฟ้าในระยะทางไม่เกิน 1 กิโลเมตรซึ่งยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางในตลาด ทั้งนี้จากการสำรวจของฝ่ายวิจัยไนท์แฟรงค์ประเทศไทย พบว่ายังมีอีกหลายโครงการจากผู้พัฒนาโครงการ ชั้นนำเตรียมทยอยเปิดตัวใน CBD ในไตรมาสที่เหลือของปี 2561 นี้ ซึ่งต้องจับตามองว่าราคาของโครงการใหม่จะทำให้ราคาเสนอขายเฉลี่ย/ตร.ม.ของคอนโดมิเนียมใน CBD กลับมาอยู่ที่จุดใกล้เคียงหรือสูงกว่าปี 2560 หรือไม่   อุปทาน อุปสงค์ และอัตราการขายสะสมของคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2552 – ไตรมาสที่ 1 ปี 2561   ที่มา: ฝ่ายวิจัยไนท์แฟรงค์ประเทศไทย   ราคาเสนอขายเฉลี่ย/ตร.ม.ของคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ แยกตามอุปทานรายปี ตั้งแต่ปี 2552 – ไตรมาสที่ 1 ปี 2561   ที่มา: ฝ่ายวิจัยไนท์แฟรงค์ประเทศไทย    
ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยเผยแนวโน้มตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ ค่าเช่าเฉลี่ยอาคารเกรด A เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นครั้งแรก

ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยเผยแนวโน้มตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ ค่าเช่าเฉลี่ยอาคารเกรด A เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นครั้งแรก

กราฟที่ 1 ค่าเช่าของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ แบ่งตามเกรด ปี 2555 - 2560 ที่มา : ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จากรายงานวิจัยของไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย คาดการณ์ว่าภายในปี 2561 จะมีอุปทานใหม่เพิ่มเข้ามาในตลาดอีกประมาณ 171,000 ตร.ม. ซึ่งทั้งหมดอยู่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ CBD พื้นที่ทำงานร่วม (co-working space) และออฟฟิศสำเร็จรูป (serviced office) เป็นหนึ่งในพื้นที่ทำงานที่เติบโตเร็วที่สุดในกรุงเทพฯ โดยปริมาณของ co-working space จากเดิมมีน้อยกว่า 20 แห่ง ขยายเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 100 แห่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามพื้นที่สำนักงานแบบเดิมยังคงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยการเติบโตของ co-working space จะไม่เป็นอุปสรรคต่อตลาดสำนักงาน อีกทั้งตลาดทั้งสองกลุ่มยังสามารถเติบโตไปพร้อมๆ กันได้ อัตราค่าเช่า ในปี 2560 อัตราค่าเช่าของอาคารสำนักงานเกรด A สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยค่าเช่าโดยเฉลี่ยของอาคารเกรด A สูงถึง 1,000 บาท/ ตร.ม./เดือนเป็นครั้งแรก อัตราค่าเช่าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 727 บาท/ ตร.ม./เดือน แสดงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.56 ปีต่อปี จากที่เคยมีราคาอยู่ที่ 702 บาท/ ตร.ม./เดือน ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2559 ขณะเดียวกันค่าเช่าของอาคารเกรด B อยู่ที่ 726.7 บาท/ ตร.ม./เดือน และอาคารเกรด C อยู่ที่ 454.4 บาท/ ตร.ม./เดือน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และร้อยละ 1.4 ปีต่อปีตามลำดับ ในปี 2560 อาคารสำนักงานบนถนนสุขุมวิท ช่วงระหว่างอโศก-ชิดลมยังคงได้รับความนิยมสูงสุด มีอัตราการครอบครองเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 96.58 นอกจากนี้มีการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าเช่าที่ทำกำไรสูงสุดร้อยละ 7.4 ตลอดทั้งปี   ตารางที่ 1 ค่าเช่าของอาคารสำนักงาน แบ่งตามเกรดและการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วน (%) ที่มา : ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย กราฟที่ 2 ค่าเช่าของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ แบ่งตามถนนสายหลัก, ไตรมาสที่ 3 - ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ที่มา : ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย อุปสงค์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 พื้นที่ที่ถูกครอบครอง มีจำนวนรวมสุทธิอยู่ที่ 4,546,138 ตร.ม. แสดงอัตราการครอบครองโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 91.35 ซึ่งลดลงร้อยละ 1.1 ปีต่อปี แต่กรณีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดทั้งปี อาคารสำนักงานเกรด A มีอัตราการครอบครองอยู่ที่ร้อยละ 94.02 ปรับตัวดีขึ้นตลอดทั้งปี หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 93.51 ในขณะที่อัตราการครอบครองของอาคารเกรด B และเกรด C อยู่ที่ร้อยละ 93.93 และ ร้อยละ 89.07 ตามลำดับ อัตราการครอบครองพื้นที่สุทธิ (หรือปริมาณพื้นที่สำนักงานใหม่ให้เช่า) ในกรุงเทพฯ ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวนรวมอยู่ที่ 55,943 ตร.ม. ในขณะที่มีพื้นที่จำนวน 82,639 ตร.ม.ที่ถูกยกเลิกเช่าหรือเวนคืนให้กับเจ้าของ ซึ่งหมายความว่าตลาดมีอัตราการดูดซับสุทธิลดลงอยู่ที -26,696 ตร.ม. อย่างไรก็ตาม ขณะที่ตลาดโดยรวมมีอัตราการครอบครองพื้นที่ลดลง อาคารเกรด A ในช่วงไตรมาสที่ 4 กลับมีอัตราการดูดซับสุทธิที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 24,000 ตร.ม. แต่ในขณะที่อัตราการดูดซับสุทธิที่ปรับลดลงในบางส่วนของอาคารเกรด C เป็นผลมาจากการปิดปรับปรุงชั่วคราวของอาคาร 2 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการอีกครั้งในปลายปี 2562 จากตารางที่ 3 ในปี 2560 อัตราการดูดซับสุทธิโดยรวมมีอยู่เพียง 6,300 ตร.ม.และมีเพียงอาคารเกรด B เท่านั้นที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนคือ อัตราการครอบครองพื้นที่ของอาคารเกรด B ที่ปรับระดับสูงขึ้น และอาคารเกรด C ที่ปรับระดับลดลง อย่างไรก็ตามแนวโน้มนี้ไม่มีในอาคารเกรด A โดยอัตราการครอบครองของอาคารเกรด A ในปี 2560 มีพื้นที่รวม 88,000 ตร.ม. แต่มีพื้นที่ประมาณ 106,000 ตร.ม. ที่เวนคืนให้เจ้าของ นอกจากนี้ผู้เช่าพยายามที่จะควบคุมค่าใช้จ่ายโดยเลือกที่จะย้ายที่ตั้งสำนักงานไปยังอาคารที่มีค่าเช่าต่ำกว่า หรือปรับปรุงประสิทธิภาพของพื้นที่ทำงาน  กราฟที่ 3           อุปสงค์, อุปทานและอัตราการครอบครองของอาคารสำนักงาน, ปี 2555-2560 ที่มา : ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย หมายเหตุ : ตัวเลขเหล่านี้ไม่นับรวมอาคารที่มีเจ้าของหลายรายและอาคารที่มีพื้นที่น้อยกว่า 5,000 ตร.ม. ตารางที่ 2 อัตราการครอบครอง แบ่งตามเกรด จากไตรมาสที่ 1 ปี 2558 - ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ที่มา : ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย ตารางที่ 3 อัตราการครอบครองสุทธิ, อัตราการใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น และอัตราการใช้พื้นที่ลดลง แบ่งตามเกรด ที่มา : ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย อุปทาน ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 อุปทานทั้งหมดของพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯเติบโตเพิ่มขึ้น 45,121 ตร.ม.โดยจะมีพื้นที่อาคารรวมอยู่ที่ 4,918,131 ตร.ม.หลังจากอาคารใหม่ 5 แห่งเสร็จสมบูรณ์ อาคารเกรด A มีพื้นที่ให้เช่ารวมทั้งหมดอยู่ที่ 1,313,526 ตร.ม.ซึ่งคงที่จากปีก่อน ในขณะเดียวกัน พื้นที่ให้เช่าทั้งหมดของอาคารเกรด B คงอยู่ที่ 2,068,095 ตร.ม. ในขณะที่อาคารเกรด C มีพื้นที่ให้เช่ารวมทั้งหมดประมาณ 1,536,010 ตร.ม. ซึ่งลดลงจากจากปีก่อนที่มีอยู่ 1,614,375 ตร.ม. กราฟที่ 4 อัตราการครอบครองสุทธิ, อัตราการใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น และอัตราการใช้พื้นที่ลดลงรายไตรมาส จากไตรมาสที่ 1 ปี 2557 – ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ที่มา : ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย หมายเหตุ : ตัวเลขเหล่านี้ไม่นับรวมอาคารที่มีเจ้าของหลายรายและอาคารที่มีพื้นที่น้อยกว่า 5,000 ตร.ม. อุปทานในอนาคต ในปี 2561 จะมีโครงการใหม่เพิ่มเข้าสู่ตลาดอีก 5 แห่ง โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 171,110 ตร.ม. นอกเหนือจากโครงการที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างแล้วมีอุปทานใหม่รวม 768,609 ตร.ม.หรือมากกว่าที่จะเข้ามาในตลาดภายในปี 2562-2566 การเพิ่มขึ้นของอุปทานสำนักงานรวมทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 6.0-6.2 ล้านตร.ม.ในปี 2566 กราฟที่ 5 อุปทานและอุปทานใหม่ของสำนักงานในกรุงเทพฯ จากปี 2555-2560 ที่มา : ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย