Tag : Product

16 ผลลัพธ์
4 วิธีกำจัดสิ่งสกปรกในเครื่องซักผ้า

4 วิธีกำจัดสิ่งสกปรกในเครื่องซักผ้า

รู้หรือไม่? ว่าผลลัพธ์ของการได้ผ้าขาวสะอาดไม่ได้ขึ้นอยู่กับผงซักฟอกและวิธีการซักเท่านั้น เพราะยังมีเรื่อง “ความสะอาดของเครื่องซักผ้า” ที่ช่วยป้องกันสิ่งตกค้างไม่ให้ปะปนขณะซักผ้าอีกด้วย รู้กันแบบนี้แล้วต้องมาดูกับ 4 วิธีนี้กันเลย   1. ทำความสะอาดเครื่องซักผ้าด้วย “เบคกิ้งโซดา” วิธีทำความสะอาด เติมน้ำให้เต็มเครื่องซักผ้า เทเบคกิ้งโซดา 1 ถ้วย เปิดเครื่องซักผ้าให้เบคกิ้งโซดาละลายน้ำ ปิดเครื่องซักผ้าปล่อยแช่ทิ้งไว้ 5-10 ชั่วโมงจึงถ่ายน้ำออก เปลี่ยนน้ำสะอาดใหม่อีกครั้งเพื่อช่วยชะล้างคราบสกปรกที่ตกค้างให้หลุดออกไป 2. ทำความสะอาดเครื่องซักผ้าด้วย “น้ำส้มสายชู” วิธีทำความสะอาด เทน้ำส้มสายชู 1-2 ถ้วย เปิดเครื่องซักผ้าให้น้ำส้มสายชูช่วยชะล้างคราบสกปรกที่ตกค้างให้หลุดออกไป ปิดเครื่องซักผ้าล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยเป็นอันเสร็จสิ้น 3. ทำความสะอาดเครื่องซักผ้าด้วย “แอมโมเนีย” วิธีทำความสะอาด เทแอมโมเนีย 1-2 ถ้วย เปิดเครื่องซักผ้าให้แอมโมเนียช่วยชะล้างคราบสกปรกที่อุดตันให้หลุดออกไป ปิดเครื่องซักผ้าล้างทำความสะอาดอีกครั้งแค่นี้ก็เรียบร้อยแล้ว 4. ทำความสะอาดเครื่องซักผ้าด้วย “ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค” วิธีทำความสะอาด: เติมน้ำครึ่งหนึ่งของเครื่องซักผ้า เทผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค 1 ถ้วย เปิดเครื่องซักผ้าให้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคช่วยฆ่าเชื้อโรคและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ให้หลุดออกไป ปิดเครื่องซักผ้าปล่อยแช่ทิ้งไว้ 5 ชั่วโมงจึงถ่ายน้ำออก เปลี่ยนน้ำสะอาดใหม่อีกครั้งก็เหมือนได้เครื่องซักผ้าใหม่เลยทีเดียว แม้การทำความสะอาดเครื่องซักผ้าถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับใครหลาย ๆ คน แต่เชื่อเถอะค่ะ ว่าคุณจะมั่นใจกับความสะอาดมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน ขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.omothailand.com/tips/share_tip/4-วิธีกำจัดสิ่งสกปรกในเครื่องซักผ้า/48
ลดความร้อนที่ผนังก่ออิฐฉาบปูนได้อย่างไรบ้าง

ลดความร้อนที่ผนังก่ออิฐฉาบปูนได้อย่างไรบ้าง

การลดความร้อนที่ผนังบ้าน นับเป็นอีกหนึ่งในองค์ประกอบของการทำบ้านเย็น และบ้านประหยัดพลังงาน สำหรับเมืองร้อน  โดยหลักแล้วการทำให้ผนังบ้านร้อนน้อยลงมีอยู่ 2 วิธี  วิธีแรกเป็นการ “ปกป้องผนังจากแสงแดด” กับอีกวิธีคือ “ทำให้ผนังกันความร้อนได้มากขึ้น” การปกป้องผนังจากแสงแดดทำได้โดยสร้างร่มเงาเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ ติดตั้งหลังคากันสาด   แผงบังแดด  ระแนงกันแดด เป็นต้น ภาพ: แผงบังแดดตามทิศต่างๆ ของบ้าน ส่วนการทำให้ผนังกันความร้อนได้มากขึ้นนั้น โดยทางทฤษฎีก็คือ การเพิ่ม “ค่ากันความร้อน” ให้กับผนัง  ซึ่งจะทำให้ความร้อนผ่านผนังเข้ามาในบ้านได้น้อยลง ค่ากันความร้อนของวัสดุจะวัดเป็นตัวเลขได้ในรูปของ  ค่า R (มีหน่วยเป็น m2K/W) โดยค่า R ยิ่งสูงยิ่งกันความร้อนได้มาก ปกติแล้วผนังก่ออิฐมอญฉาบปูน 2 ด้าน หนา 10 ซม. จะมีค่า R = 0.3 m2K/W  ทั้งนี้การนำวัสดุอื่นๆ ที่ช่วยกันความร้อนได้มาติดตั้งกับผนังก่ออิฐฉาบปูน ไม่ว่าจะเป็น แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้ฝา ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว ก็จะทำให้ค่า R ของผนังเพิ่มขึ้น ภาพ: ค่า R ของระบบผนังต่างๆ วิธีที่แนะนำทั่วไปในการเพิ่มค่ากันความร้อนให้กับผนังบ้านที่เป็นก่ออิฐฉาบปูน คือ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้ว ไว้ที่ผนัง โดยมีขั้นตอนคือ ให้ตีโครงคร่าวเหล็กกล่องบนผนัง แล้วนำฉนวนกันความร้อนใยแก้วติดตั้งระหว่างช่องโครงคร่าว จากนั้นปิดทับด้วยไม้ฝา ไม้เทียม หรือวัสดุแผ่นอย่างแผ่นยิปซั่ม (เฉพาะกรณีติดตั้งฝั่งภายในบ้าน) แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ แผ่นไม้อัดซีเมนต์ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ผนังนั้น จะติดตั้งไว้ฝั่งภายนอกบ้านหรือภายในบ้านก็ได้  หากเลือกติดตั้งฝั่งภายในบ้าน ความหนาของฉนวนและวัสดุปิดทับจะทำให้พื้นที่ในบ้านลดลง แต่ก็มีข้อดีคือ สามารถเลือกใช้วัสดุปิดทับได้หลากหลายและมีลูกเล่นเยอะกว่าการติดตั้งฉนวนไว้ภายนอกซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องวัสดุปิดทับที่ต้องทนแดดทนฝน และยังต้องป้องกันไม่ให้น้ำรั่วไหลเข้าไปในผนังได้ ภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ผนังด้านนอก และปิดทับด้วยไม้ฝาแนวนอน ภาพ: กรณีเป็นผนังด้านใน จะสามารถติดตั้งไม้ฝาในแนวตั้งได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำรั่วเข้าในผนัง บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
หน้าต่างวงกบและบานกรอบไม้ไม่เก็บเสียง แก้ไขอย่างไร?

หน้าต่างวงกบและบานกรอบไม้ไม่เก็บเสียง แก้ไขอย่างไร?

สำหรับบ้านเก่าที่ใช้ประตูหน้าต่างไม้ไม่ว่าจะเป็นบานเปิด บานติดตาย หรือบานเกล็ดนั้น ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเสียงเล็ดลอด สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะประตูหน้าต่างไม้รุ่นเก่ามักไม่มีขอบยางกันเสียงที่ช่วยให้ปิดได้มิดชิด (ต่างกับประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม ไวนีล และหน้าต่างไม้บานติดตายแบบใหม่ที่มีการใช้ซิลิโคนยิงวงกบไม้เข้ากับกระจก)  วิธีที่ช่วยลดเสียงรบกวนได้คือการทำให้รอยต่อมิดชิดมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเสริมเส้นยางตลอดแนววงกบ  หรือติดตั้งไม้ชิ้นบังช่องรอยต่อหน้าต่าง ภาพ: การทำรอยต่อบริเวณหน้าต่างให้มิดชิดเพื่อป้องกันเสียง อีกปัจจัยที่ทำให้เสียงรบกวนลอดเข้ามาในบ้านคือ “สภาพของหน้าต่าง” เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่ยืดหดและผุพังได้ง่ายจากสภาวะอากาศ ทั้งแดด ฝน ความชื้น และยังเป็นอาหารของปลวกอีกด้วย เมื่อใช้งานไปนานจึงมักเกิดรอยผุหรือรอยแยกเป็นช่องทางให้เสียงจากภายนอก ลอดเข้ามารบกวน และยังทำให้อากาศในบ้านรั่วไหลออกได้จนทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น สำหรับวิธีแก้ไข   กรณีเกิดรอยรั่วตามรอยต่อระหว่างวงกบไม้กับผนังให้อุดด้วยวัสดุยาแนว เช่น โพลียูริเทน อะคริลิก เป็นต้น หากเป็นรอยผุหรือรอยรั่วเพียงเล็กน้อยตามชิ้นวงกบหรือบานกรอบไม้ สามารถซ่อมแซมโดยใช้กระดาษทรายหรือแปรงขัดบริเวณรอยผุพังให้เรียบ แล้วอุดด้วยวัสดุโป๊วก่อนจะแต่งผิวและทาสีทับให้ดูเรียบเนียนไปกับเนื้อไม้ (หากวัสดุอุดโป๊วผสมสีมาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทาสี) หรือจะใช้อีกวิธีคือตัดชิ้นไม้มาเปลี่ยนแทนส่วนที่ผุพังตามความเหมาะสม   ในขณะเดียวกัน หากวงกบหรือบานกรอบไม้อยู่ในสภาพไม่เหมาะจะซ่อม  เช่น  ผุพังมาก เป็นเชื้อรา หรือกรณีหน้าต่างเดิมเป็นบานเกล็ดซึ่งเสียงลอดเข้าตามรอยต่อกระจกได้ง่าย  อาจลองพิจารณาเปลี่ยนหน้าต่างใหม่โดยเลือกติดตั้งหน้าต่างกันเสียง  อย่างหน้าต่างไวนีลที่มีระบบ Multiple Lock พร้อมยางกันเสียงซีลรอบบาน เป็นต้น   ภาพ: หน้าต่างไวนีล ที่มีลักษณะช่วยกันเสียงรบกวนจากภายนอก   สำหรับบ้านก่ออิฐฉาบปูน การเปลี่ยนบานหน้าต่างพร้อมบานกรอบไม้อาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ถ้าต้องเปลี่ยนวงกบ ด้วยจะยุ่งยากและใช้เวลามากกว่า เพราะโดยธรรมชาติของวัสดุปูนจะยึดกับวงกบไม้อย่างแน่นหนา จึงรื้อถอนได้ยากและมักทำให้ผนังเสียหายจนต้องซ่อมแซม โดยต้องรอให้ปูนแห้งอีกอย่างน้อย 1 วัน ก่อนจะติดตั้งวงกบตามด้วยบานหน้าต่างใหม่ได้ ดังนั้นในการเปลี่ยนวงกบไม้สำหรับบ้านก่ออิฐฉาบปูน เจ้าของบ้านควรให้ความสำคัญในการเลือกทีมช่างที่มีความชำนาญและประณีตมาเป็นผู้ดำเนินงานรื้อถอนและติดตั้ง   บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​                   
ผนัง Precast สามารถเจาะเพิ่มช่องประตูหรือหน้าต่างได้หรือไม่

ผนัง Precast สามารถเจาะเพิ่มช่องประตูหรือหน้าต่างได้หรือไม่

“Precast Concrete” ระบบผนังคอนกรีตสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในวงการก่อสร้างปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงการหมู่บ้านและคอนโดมิเนียมต่างๆ ด้วยความที่ช่วยประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนในการก่อสร้างได้พอสมควร แต่สำหรับผู้อยู่อาศัยที่เมื่อใช้ชีวิตอยู่ในบ้านไปสักระยะหนึ่งแล้ว หากต้องการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยบางส่วนที่ส่งผลให้ต้องเจาะผนังเพิ่มเพื่อขยายขนาดช่องเปิดหรือเพิ่มช่องประตูหน้าต่างใหม่ด้วยแล้ว อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ภาพ:  กระบวนการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ มีความถูกต้องแม่นยำทั้งเรื่องตำแหน่งและขนาดช่องเปิดจากโรงงาน พร้อมบริการขนส่งไปยังไซต์งานบ้านลูกค้า ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า Precast เป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จที่ขึ้นรูปมาจากโรงงานพร้อมติดตั้งที่หน้างานจริง ทำหน้าที่เป็นผนังรับน้ำหนักโดยไม่ต้องมีโครงสร้างเสาคานมารองรับ มีช่องประตูหน้าต่างที่เจาะสำเร็จมาจากโรงงาน ส่วนที่ไม่ได้เจาะช่องเปิดนั้นจะมีเสาเหล็กเดินอยู่ภายในตามจำนวนและขนาดที่วิศวกรได้คำนวณไว้เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักบ้านทั้งหลังได้อย่างแข็งแรง การเจาะผนังบางส่วนออกจึงอาจจะเจอเหล็กเส้นที่เดินอยู่ภายในผนังนั้นๆ และการจะตัดเหล็กบางส่วนออกก็จะมีผลกระทบกับโครงสร้างโดยรวมทั้งหลังได้ จึงไม่แนะนำให้เจาะช่องเปิดเพิ่มเพื่อทำประตูหน้าต่าง แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องทำจริงๆ ก็ควรปรึกษาวิศวกรโครงการเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ ภาพ:  ผนังสำเร็จรูป Precast เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบ้าน ภาพซ้าย: ผนัง Precast ซึ่งทำหน้าที่เป็นผนังรับน้ำหนัก  ภาพขวา: ผนังก่ออิฐฉาบปูน ดังนั้นเมื่อเราตัดสินใจจะซื้อบ้านสักหลัง นอกจากรูปแบบที่ใช่ สไตล์ที่ชอบ ฟังก์ชันใช้สอยภายในบ้านตอบโจทย์เราได้ดีแล้ว ยังควรศึกษาเพิ่มเติมว่าบ้านที่เราจะซื้อเป็นระบบใด เพราะหากโครงการบ้านจัดสรรก่อสร้างด้วยระบบ Precast การจะเปลี่ยนจะปรับหรือจะเจาะช่องเปิดเพิ่มคงไม่ง่ายนัก และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องคำนึงคือบ้านต้องมีการก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน แข็งแรงทนทาน ให้เราสามารถอาศัยอยู่ได้อย่างสบายใจตราบนานเท่านาน บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
ฟ้าใสหลังฤดูฝนผ่านไป ก็ได้เวลารีโนเวทบ้าน

ฟ้าใสหลังฤดูฝนผ่านไป ก็ได้เวลารีโนเวทบ้าน

บ้านของเรามักเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นสภาพที่ดูทรุดโทรมลง ส่วนประกอบต่างๆ เสื่อมชำรุดต้องซ่อมแซม อยากเปลี่ยนบรรยากาศหรือปรับพื้นที่เพื่อรองรับการใช้สอยซึ่งต่างไปจากเดิม การรีโนเวทบ้านจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ทั้งนี้ หลังฤดูฝนนับเป็นอีกช่วงเวลาที่เหมาะกับการรีโนเวทบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมบ้าน ปรับปรุงบ้านและอาจรวมถึงการต่อเติมบ้าน ด้วยดินฟ้าอากาศที่เป็นใจ เอื้ออำนวยต่อทั้งการทำงาน การขนส่ง และการจัดเก็บวัสดุ รีโนเวทตรวจซ่อมบ้านหลังหน้าฝน คงมีเจ้าของบ้านจำนวนไม่น้อยที่อยากจะจัดการปัญหารั่วซึม ซึ่งก่อกวนใจตลอดช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา โดยเฉพาะปัญหาหลังคาบ้านรั่ว หากเป็นหลังคาดาดฟ้าคอนกรีตมักหาจุดรั่วซึมได้ง่าย ถ้าเป็นรอยรั่วซึมขนาดเล็กก็สามารถสกัดและอุดซ่อมด้วยปูน Non-Shrink Grout ได้ แต่หากรอยแตกร้าวมีขนาดใหญ่เสียหายมากจนเหล็กเสริมเป็นสนิมขุม ควรปรึกษาวิศวกรเพื่อหาทางแก้ไขที่ปลอดภัย สำหรับหลังคารูปทรงต่างๆ ที่ไม่ใช่หลังคาดาดฟ้าคอนกรีตนั้น ให้ลองหาจุดรั่วซึมเบื้องต้นโดยเปิดฝ้าเพดานแล้วมองหาจุดที่แสงลอดเข้ามาได้ หากไม่พบให้ลองสังเกตคราบน้ำตามโครงสร้างเพื่อย้อนไปหาตำแหน่งรั่วซึมที่แท้จริง (บางครั้งอาจมาจากหลังคาทาวน์โฮมเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน) ปัญหาหลังคาบ้านรั่วลักษณะนี้ มักต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบหาวิธีแก้ไข ซ่อมแซม หรือปรับปรุงที่เหมาะสม ภาพ: ปัญหาหลังคาบ้านรั่ว อาจเกิดจากกระเบื้องหลังคาแตกร้าว หลุดเผยอ หรือรั่วซึมตามรอยต่อต่างๆ ของหลังคาดังภาพ รอยร้าวตามผนังก็เป็นอีกช่องทางให้น้ำรั่วซึมเข้าบ้านได้ ส่วนใหญ่มักพบบริเวณประตูหน้าต่าง หากเป็นรอยร้าวผนังรอบวงกบ สามารถซ่อมด้วยวัสดุอุดยาแนวหรือใช้ปูนซีเมนต์สำหรับงานซ่อม ส่วนรอยร้าวผุเล็กน้อยที่เนื้อวงกบไม้ก็ใช้วัสดุยาแนวอุดซ่อมได้ด้วย แต่หากวงกบไม้ผุพังมากให้ลองพิจารณาเปลี่ยนประตูหน้าต่างใหม่ โดยเจ้าของบ้านอาจเลือกวัสดุที่คงทนมากขึ้น หรือใช้ประตูหน้าต่างที่ขายพร้อมบริการเปลี่ยนติดตั้งแบบครบวงจรได้เพื่อเน้นคุณภาพและความสะดวก ผนังร้าวรั่วซึมอีกกรณีที่พบได้ก็คือ ตามรอยต่อของผนังส่วนต่อเติมซึ่งถูกก่อฉาบเชื่อมรอยต่อติดกับตัวบ้าน เมื่อส่วนต่อเติมทรุดตัว จะเกิดการฉีกขาดเป็นรอยร้าวทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามาได้ วิธีแก้ไขเบื้องต้นคือให้ยาแนวรอยต่อด้วยวัสดุที่ยืดหยุ่น อย่าง PU หรือซิลิโคน ภาพ: การแก้ไขปัญหาผนังร้าวรั่วซึมบริเวณรอยต่อของส่วนต่อเติมกับตัวบ้าน รีโนเวทปรับปรุงบ้านหลังหน้าฝน หลังหน้าฝนเป็นโอกาสอันดีที่จะปรับปรุงบ้านในส่วนกลางแจ้ง อย่างการปรับปรุงหลังคา  ปรับปรุงพื้นบริเวณรอบบ้าน และปรับปรุงผนังภายนอกบ้าน จุดประสงค์อาจมิใช่แค่เพื่อเปลี่ยนรูปลักษณ์บรรยากาศเท่านั้น แต่เป็นการปรับปรุงเพื่อแก้ปัญหาที่ต่อเนื่องมาจากหน้าฝนด้วย อย่างกรณีหลังคารั่วหลายจุดหรือโครงหลังคามีปัญหา ก็อาจปรับปรุงโดยรื้อมุงกระเบื้องใหม่หรือวางโครงหลังคาใหม่ เป็นต้น ปัญหาดินรอบบ้านทรุด จนเห็นโพรงใต้บ้านก็เป็นอีกเรื่องที่เหมาะจะปรับปรุงแก้ไขหลังหน้าฝน หากพื้นดินยังมีแนวโน้มจะทรุดตัวต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว ก็อาจปิดโพรงแบบชั่วคราวไปก่อน เช่น นำกระถางต้นไม้ทรงสี่เหลี่ยมมาวางปิดไว้ ใช้ขอบคันหินปิด หรือจะก่ออิฐบนพื้นคอนกรีตเดิมเพื่อปิดโพรงโดยใช้แผ่นโฟมคั่นระหว่างก้อนอิฐกับตัวบ้าน เป็นต้น แต่สำหรับกรณีที่พื้นทรุดไปมากแล้วและมีแนวโน้มว่าจะทรุดช้าลงมาก ให้ทำการแก้ไขแบบถาวร โดยทุบรื้อเอาหญ้าหรือวัสดุเดิมบนหน้าดินออก แล้วถมดินปิดโพรงในระดับที่เหมาะสมก่อนจะติดตั้งวัสดุปูพื้น ทั้งนี้อาจถือโอกาสเลือกวัสดุปูพื้นแบบใหม่เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศก็ได้ ภาพ: ดินรอบบ้านทรุดจนเห็นโพรงใต้บ้านเล็กน้อย ภาพ: การใช้ขอบคันหินวางปิดโพรงใต้บ้าน พร้อมปลูกต้นไม้ประดับเล็กน้อย อีกปัญหาที่พบบ่อยในหน้าฝน ซึ่งแม้จะไม่ได้มีผลกระทบต่อการใช้งานนัก แต่ก็ทำลายความสวยงามอย่างมากนั่นคือปัญหาผนังชื้น สีโป่งพองลอกล่อนโป่งพอง หรือมีเชื้อราตะไคร่ เจ้าของบ้านสามารถปรับปรุงผนังใหม่หลังหน้าฝนโดยใช้หลักการคือ ทำให้ผนังระบายความชื้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สีที่มีคุณสมบัติระบายความชื้น ทำผนังปูนแบบต่างๆ เช่น ผนังปูนเปลือยฉาบขัดมัน ผนังกรวดล้างทรายล้าง เป็นต้น ไปจนถึงการใช้ไม้เทียมตกแต่งทับผนังเดิม รีโนเวทและต่อเติมบ้านหลังหน้าฝน บางครั้งการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยอาจไม่จบเพียงแค่ในบ้าน แต่มีการขยับขยายต่อเติมออกนอกตัวบ้านด้วย ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมห้องนอน ต่อเติมห้องครัว ต่อเติมห้องนั่งเล่น ฯลฯ เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยส่วนนั้นให้กว้างขวางขึ้น การต่อเติมขยายพื้นที่ลักษณะนี้มักทุบผนังเพื่อเชื่อมพื้นที่ส่วนต่อเติมเชื่อมเข้ากับพื้นที่บ้านเดิม ดังนั้นโครงสร้างที่รองรับพื้นควรลงเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็งเช่นเดียวกับโครงสร้างบ้านเดิม เพื่อลดปัญหาการทรุดตัวของพื้นที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ กระบวนการต่อเติมบ้านจะเป็นการทำงานกลางแจ้งเสียส่วนใหญ่ ดังนั้น ช่วงปลายปีหลังฤดูฝนจึงนับเป็นเวลาที่สะดวกต่อการดำเนินงาน รวมทั้งการขนส่งและจัดกองเก็บวัสดุ ภาพ: การลงเสาเข็มส่วนต่อเติมให้ลึกถึงชั้นดินแข็ง การรีโนเวทบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมบ้าน ปรับปรุงบ้านหรือต่อเติมบ้าน ควรอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายควบคุมอาคาร และควรยื่นขออนุญาต อย่างถูกต้อง (หากเข้าข่ายต้องขออนุญาต) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีปรับปรุงต่อเติมบ้าน มักมีกฎหมายควบคุมหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การปรับปรุงหรือต่อเติมนั้นไม่ควรขัดขวางทางหนีไฟ  มีขนาดที่ว่าง ภายในขอบเขตที่ดินและระยะร่นต่างๆ ที่เพียงพอ การกำหนดตำแหน่งของช่องเปิด ซึ่งสัมพันธ์กับแนวเขตที่ดิน เป็นต้น และทางที่ดีควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการรีโนเวท โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่การซ่อมแซม ปรับปรุง หรือต่อเติมบ้านนั้นมีผลกระทบต่อโครงสร้างบ้าน ควรอยู่ภายใต้ความดูแลวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยและลดปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อการอยู่อาศัยในระยะยาว บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​  img class="alignnone size-full wp-image-61869" src="https://www.reviewyourliving.com/wp-content/uploads/2017/05/5-1-2-รีโนเวทบ้าน-headline.png" alt="" width="1446" height="800" />
เปลี่ยนหน้าต่างบานเกล็ด เป็นหน้าต่างวินด์เซอร์..ทำได้หรือไม่?

เปลี่ยนหน้าต่างบานเกล็ด เป็นหน้าต่างวินด์เซอร์..ทำได้หรือไม่?

เมื่อเราอาศัยอยู่ในบ้านไปสักระยะหนึ่ง อาจต้องการปรับเปลี่ยนบางส่วนเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนให้ดูใหม่ขึ้น หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่หรือฟังก์ชันใหม่ หน้าต่างเองก็เป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่มีหลายรูปแบบ ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า หากของเดิมเป็นหน้าต่างบานเกล็ด แต่ต้องการเปลี่ยนเป็นหน้าต่างวินด์เซอร์สามารถทำได้หรือไม่ ก่อนอื่นจะต้องให้ทีมช่างของวินด์เซอร์เข้าไปสำรวจหน้างานจริงว่าสภาพหน้าต่างบานเกล็ดเดิมเป็นอย่างไร วัดขนาด ระยะ และรายละเอียดต่างๆ เพื่อเสนอแนะแนวทางให้เจ้าของบ้านเลือก รวมทั้งให้คำปรึกษาถึงความเป็นไปได้ของหน้าต่างใหม่ที่เราจะเลือก โดยหน้าต่างของวินด์เซอร์เองจะสามารถสั่งตัดได้ตามขนาดที่พอดีกับหน้างาน ภาพ: หน้าต่างบานเกล็ดขนาดใหญ่หรือทรงผอมสูง ขอขอบคุณสถานที่: AREE HOUSE (Floating House) ภาพ: บ้านที่ใช้หน้าต่างบานเกล็ด ขอขอบคุณสถานที่: บ้านคุณสุทธิพันธ์ และ คุณวราภรณ์ จาริยะวัฒน์ แนวทางการเปลี่ยนมาใช้หน้าต่างวินเซอร์ การเปลี่ยนเป็นหน้าต่างวินเซอร์สามารถทำได้ 2 แนวทาง คือ การรื้อหน้าต่างเดิมออกทั้งหมดแล้วติดตั้งหน้าต่างวินด์เซอร์ใหม่เข้าไป กับ การถอดบานหน้าต่างเดิมออกแต่เก็บวงกบเดิมไว้ แล้วจึงติดตั้งหน้าต่างใหม่ทับวงกบหน้าต่างเดิมได้เลย (Fast Renew) ซึ่งใช้เวลาในการทำงานน้อยกว่าแนวทางแรก หากวงกบหน้าต่างเดิมอยู่ในสภาพดีจะสามารถเลือกเปลี่ยนได้ทั้งสองแนวทาง แต่ถ้าสภาพเดิมอาจผุพังหรือสภาพไม่ค่อยจะดีนัก จะแนะนำให้เลือกเป็นแนวทางแรกคือการรื้อหน้าต่างเดิมออกทั้งหมดแล้วจึงเปลี่ยนใหม่ทั้งชุดจะดีที่สุด ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งหน้าต่างวินด์เซอร์บานใหม่แบบ Fast Renew โดยถอดบานหน้าต่างเดิมออกแต่เก็บวงกบเดิมไว้ แล้วจึงติดตั้งหน้าต่างใหม่ทับวงกบหน้าต่างเดิมได้เลย ขอขอบคุณ: www.youtube.com/watch?v=x3Q8HkHbneY เปลี่ยนหน้าต่างบานเกล็ดเป็นหน้าต่างรูปแบบไหนดี รูปแบบของหน้าต่างวินเซอร์จะไม่แตกต่างจากหน้าต่างทั่วไปในท้องตลาดเท่าไรนัก เช่น หน้าต่างบานเปิด บานเลื่อน บานกระทุ้ง และบานเกล็ด เป็นต้น หากต้องการเปลี่ยนจากหน้าต่างบานเกล็ดเดิมเป็นหน้าต่างบานเกล็ดวินเซอร์ก็สามารถทำได้ เพราะมีฟังก์ชันใช้สอยไม่ต่างจากเดิมมากนัก แต่หากต้องการเปลี่ยนเป็นบานเปิดจะมีข้อควรคำนึงคือจะกินพื้นที่บริเวณที่บานหน้าต่างเปิดออกไป (ซึ่งอาจจะกีดขวางทางเดินได้) แต่มีข้อดีคือสามารถเปิดรับลมได้อย่างเต็มที่ ส่วนกรณีต้องการเปลี่ยนเป็นบานเลื่อน ต้องดูก่อนว่าขนาดหน้าต่างบานเกล็ดเดิมเป็นอย่างไร ใหญ่พอที่จะเปลี่ยนเป็นบานเลื่อนหรือไม่ หากเปลี่ยนได้ก็มีเรื่องที่ควรคำนึงคือ ขณะเปิดเลื่อนเข้าหากันจะได้ช่องลมลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง แต่มีข้อดีคือไม่กินพื้นที่เพราะเป็นการเลื่อนเปิดในแนวขนานราบไปกับผนัง จึงสามารถใช้ในบริเวณที่คนเดินผ่านไปมาได้ ส่วนการเปลี่ยนมาใช้บานกระทุ้ง หน้าต่างลักษณะนี้จะเปิดแบบดันจากด้านล่างของบานออกไป ซึ่งจะกินพื้นที่ขณะเปิด หากบริเวณที่จะติดตั้งห่างจากทางสัญจรก็สามารถเลือกใช้งานแทนหน้าต่างบานเกล็ดเดิมได้ ภาพ:หน้าต่างบานเปิด ภาพ:หน้าต่างบานเลื่อน ภาพ:หน้าต่างบานกระทุ้ง ดังนั้น การเปลี่ยนจากหน้าต่างบานเกล็ดเดิมเป็นหน้าต่างใหม่จากวินด์เซอร์ สามารถทำได้ แต่ต้องพิจารณาจากหลายๆ อย่างประกอบกัน ทั้งพื้นที่หน้างาน สภาพและขนาดของหน้าต่างเดิม เพื่อหาแนวทางและรูปแบบหน้าต่างที่เหมาะสมและตอบโจทย์ที่สุด บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
ใช้ปูนอุดรอยรั่วกระเบื้องหลังคาแตกร้าว ป้องกันน้ำรั่วซึมเข้าบ้านได้จริงหรือ

ใช้ปูนอุดรอยรั่วกระเบื้องหลังคาแตกร้าว ป้องกันน้ำรั่วซึมเข้าบ้านได้จริงหรือ

รอยแตกร้าวบนแผ่นกระเบื้องหลังคาที่มักนำปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้ามาในบ้าน ซึ่งเจ้าของบ้านหลายท่านอาจเลือกวิธีแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าโดยการอุดซ่อมรอยร้าวด้วยปูนทราย กาวซีเมนต์ (ปูนกาว) หรือแม้แต่ปูนเกราต์ประเภทต่างๆ แต่วิธีนี้อาจช่วยแก้ปัญหาได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เพราะปูนจะมีคุณสมบัติเรื่องการหดตัวจากแสงแดด อุณหภูมิ และความชื้นที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งส่งผลให้เกิดการแตกร้าว และสุดท้ายน้ำฝนก็สามารถซึมผ่านเข้ามาได้อีก ภาพ: กระเบื้องหลังคาแตกร้าว นำมาซึ่งปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้ามาในบ้าน ดังนั้น เมื่อกระเบื้องหลังคาแตกร้าว ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระเบื้องหรือครอบหลังคาส่วนต่างๆ วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาหรือครอบแผ่นใหม่ โดยเลือกใช้กระเบื้องรุ่นเดิมเท่านั้น ทั้งนี้ ถึงแม้เลือกกระเบื้องหลังคาเฉดสีเดิม แต่ด้วยล็อตผลิตและอายุการใช้งานที่ต่างกัน จึงอาจทำให้เฉดสีของกระเบื้องหลังคาแผ่นใหม่ต่างจากเดิม ซึ่งสามารถทาสีสำหรับกระเบื้องหลังคาทั้งผืนเพื่อความสวยงามได้ ภาพ: การเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาแผ่นใหม่เป็นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด การเปลี่ยนครอบหลังคาใหม่ทั้งที่สันหลังคาและตะเข้สัน ต้องพิจารณาว่าเป็นระบบครอบหลังคาแบบเปียกหรือระบบครอบหลังคาแบบแห้งด้วย เนื่องจากมีวิธีแก้ไขที่ต่างกัน ภาพ: กระเบื้องครอบแตก สำหรับระบบครอบหลังคาแบบเปียก – หลังจากรื้อครอบหลังคาเดิมรวมถึงเนื้อปูนปั้นบริเวณครอบหลังคาที่แตกร้าวออกแล้ว ควรทำความสะอาดพื้นผิวครอบหลังคาให้เรียบร้อย จากนั้นจึงปั้นปูนทรายซ่อมแซมใหม่ในสัดส่วนตามมาตรฐาน และมีปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ล้นหรือน้อยจนเกินไป แล้วจึงติดตั้งครอบหลังคา และปาดตัดแต่งเนื้อปูนทรายให้เรียบร้อย เซาะร่องบังคับรอยร้าว เจาะรูระบายน้ำ และทาสีเพื่อความกลมกลืนกับผืนกระเบื้อง (การติดตั้งครอบระบบเปียกต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญพอสมควรเพื่อให้ได้ผลงานออกมาถูกต้องตามมาตรฐาน) แต่หากครอบหลังคาแตกร้าวหลายแผ่น อาจพิจารณารื้อครอบหลังคาออกทั้งแถว และเปลี่ยนเป็นระบบครอบหลังคาแบบแห้งแทน เนื่องจากทำงานง่าย ไม่สกปรก ลดความเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าระบบครอบหลังคาแบบเปียก ภาพ: ระบบครอบหลังคาแบบเปียก ภาพ: ขั้นตอนการซ่อมแซมระบบครอบหลังคาแบบเปียก ส่วนระบบครอบหลังคาแบบแห้ง – หากรื้อกระเบื้องที่แตกร้าวออกมาแล้ว ควรตรวจสอบสภาพแผ่นรองใต้ครอบว่าเสียหายหรือเสื่อมสภาพด้วยหรือไม่ ถ้ายังอยู่ในสภาพดีก็สามารถเปลี่ยนเฉพาะครอบหลังคาได้ แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่าแผ่นรองใต้ครอบเกิดความเสียหาย เช่น กาวหลุด แผ่นลอกล่อน หรือติดตั้งผิดวิธี ฯลฯ ควรรื้อครอบหลังคาเดิมออกทั้งแถวแล้วเปลี่ยนใช้แผ่นรองใต้ครอบชุดใหม่ก่อนติดตั้งครอบหลังคาชุดเดิมและครอบหลังคาชิ้นใหม่ทดแทนชิ้นที่แตกร้าว ภาพ: ระบบครอบหลังคาแบบแห้ง อย่างไรก็ตาม หากยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแผ่นกระเบื้องทดแทน ในเบื้องต้นอาจแก้ปัญหาด้วยการใช้แผ่นปิดรอยต่อหลังคาปิดรอยร้าวบนแผ่นกระเบื้องหลังคา หรือครอบหลังคา โดยทาสีทับให้ดูกลมกลืนไปกับผืนหลังคาก็ได้เช่นกัน ภาพ: การใช้แผ่นปิดรอยต่อปิดบนแผ่นกระเบื้องระหว่างรอยต่อโครงสร้างป้องกันน้ำรั่วซึม ทั้งนี้ หากพบปัญหาเกี่ยวกับหลังคาบ่อยครั้ง โดยเฉพาะปัญหาโครงหลังคาเสียหายจนผืนหลังคาเกิดการบิด แอ่น การติดตั้งกระเบื้องหลังคาไม่ได้มาตรฐาน ไปจนถึงปัญหารั่วซึมในหลายจุดเพราะบ้านมีอายุการใช้งานเกิน 15-30 ปี อาจพิจารณารื้อหลังคาทั้งระบบ และติดตั้งใหม่ทั้งหมดเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว ภาพ: การเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ สถานที่ บ้านคุณหมอกังวาล วิเชียรสินธุ์ บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
3 ตัวการหลักที่ทำให้ส้วมตันหรือกดชักโครกไม่ลง พร้อมวิธีแก้ไขแบบตรงจุด

3 ตัวการหลักที่ทำให้ส้วมตันหรือกดชักโครกไม่ลง พร้อมวิธีแก้ไขแบบตรงจุด

บางครั้งแม้ว่าจะติดตั้งสุขภัณฑ์อย่างถูกวิธี แต่ยังคงมีปัญหาที่พบกันบ่อยๆ ว่าเมื่อกดชักโครกสุขภัณฑ์แล้วไม่มีแรงดูดชำระล้าง ซึ่งทำให้กดชักโครกไม่ลง ไม่สามารถชำระล้างได้อย่างสะอาดหมดจด หรือรู้สึกว่าส้วมตัน สาเหตุสำคัญของปัญหานี้มาจากหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็น ส่วนของท่อระบายอากาศ การระบายน้ำออกจากถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึม และปัญหาสิ่งอุดตันในท่อน้ำทิ้ง กดชักโครกไม่ลง เพราะติดตั้งท่อระบายอากาศ แต่ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดการอุดตัน ปกติแล้วจะต้องมีการติดตั้งท่อระบายอากาศลักษณะตัวที (T) ต่อจากท่อน้ำทิ้งสุขภัณฑ์และถังบำบัดน้ำเสีย เพื่อป้องกันปัญหาอากาศไหลย้อนเวลากดชักโครกและยังช่วยให้สามารถกดชำระล้างสุขภัณฑ์ได้ดีอีกด้วย แต่หากระดับความสูงของปลายท่ออากาศอยู่ต่ำกว่าระดับที่น้ำท่วมถึง หรือการอุดตันบริเวณปลายปากท่อ จะทำให้ท่ออากาศไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ กรณีที่ระดับความสูงปลายท่ออากาศอยู่ต่ำเกินไปหรืออยู่ต่ำกว่าระดับที่น้ำสามารถท่วมถึง ควรเดินท่อใหม่ให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม หรือติดตั้งเลยหลังคาขึ้นไปเพื่อป้องกันกลิ่นรบกวน ส่วนกรณีการอุดตันบริเวณปลายปากท่อ สามารถแก้ไขได้โดยเอาสิ่งอุดตันนั้นออก กรณีสิ่งอุดตันเข้าไปอยู่ภายในไม่สามารถเอาออกมาได้ง่ายๆ สามารถแก้ไขได้โดยการใช้งูเหล็กทะลวง หรือฉีดน้ำแรงๆ เข้าไป เพื่อล้างทำความสะอาดให้สิ่งสกปรกไหลกลับเข้าสู่ระบบระบายน้ำทิ้งต่อไป หลังจากนั้น ควรป้องกันโดยการติดตั้งตาข่ายกันสิ่งสกปรก แมลง และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กไม่ให้เข้าไปอยู่อาศัยที่อาจเป็นสาเหตุให้ท่ออากาศอุดตัน ภาพ: ตำแหน่งการติดตั้งท่ออากาศ แนะนำให้ติดตั้งท่ออากาศจากถังบำบัดน้ำเสีย (1) และในบริเวณที่ใกล้กับโถสุขภัณฑ์ (2) โดยติดตั้งให้ปลายท่ออยู่สูงกว่าระดับที่น้ำจะสามารถท่วมถึง การระบายน้ำออกจากถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมติดขัด ทำให้กดชักโครกไม่ลง ไม่ว่าบ้านที่เลือกติดตั้งเป็นถังบำบัดสำเร็จรูป หรือใช้ระบบดั้งเดิมที่เป็นแบบบ่อเกรอะ-บ่อซึม น้ำจากการชำระล้างสุขภัณฑ์จะสามารถระบายออกไปได้ด้วยแรงดูดปกติ แต่อาจมีบางครั้งที่น้ำไม่สามารถระบายได้ทัน ไม่ว่ากรณีเป็นบ้านมีระดับท่อระบายน้ำจากถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมที่ต่ำกว่าระดับท่อระบายน้ำสาธารณะ เมื่อระดับน้ำในท่อสาธารณะสูงขึ้นก็จะทำให้การระบายน้ำของบ้านเราเป็นไปได้ช้าลง นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ฝนตกหนักมากๆ จนน้ำเกิดท่วมขังที่เป็นสาเหตุทำให้มีน้ำค้างในท่อระบายของถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมที่ต้องรอการระบายออกไป รวมถึงอาจมีแรงดันน้ำต้านกลับ (Back Pressure) ที่ส่งผลให้น้ำไหลย้อนเข้าสู่ถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้แรงดูดชักโครกลดต่ำลงจนทำให้การชำระล้างในโถสุขภัณฑ์ได้ไม่ดีเหมือนเดิม กรณีนี้เมื่อน้ำลดระดับที่ท่วมขังลงก็จะสามารถใช้งานสุขภัณฑ์ได้ตามปกติ ภาพ: แสดงการระบายน้ำออกจากถังบำบัดสำเร็จรูปไปยังท่อระบายน้ำสาธารณะ ภาพ: แสดงการระบายน้ำออกจากบ่อเกรอะ-บ่อซึม ปัญหาสิ่งอุดตันในท่อน้ำทิ้ง ท่อน้ำทิ้งจะรับน้ำจากโถสุขภัณฑ์โดยตรงแล้วส่งต่อไปยังถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมที่จะระบายสู่พื้นดินหรือแหล่งน้ำสาธารณะต่อไป แต่หากมีสิ่งอุดตัน โดยเฉพาะเศษขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติหรือย่อยสลายได้ยาก เช่น เศษกระดาษทิชชู่ ผ้าอนามัย หรือเศษขยะชิ้นใหญ่ติดค้างในท่อ ซึ่งจะทำให้เกิดการอุดตันในท่อและส่งผลให้น้ำจากสุขภัณฑ์ไม่สามารถระบายออกไปได้ และอาจเกิดการไหลย้อนกลับ จนชักโครกเกิดอาการกดแล้วไม่มีแรงดูดชำระล้างนั่นเอง ปัญหาสิ่งอุดตันค้างในท่อน้ำทิ้งสุขภัณฑ์สามารถแก้ไขได้โดยการใช้ไม้ยางปั๊ม กดให้เกิดแรงดันเพื่อดันน้ำและสิ่งอุดตันให้เคลื่อนผ่านลงไป ทั้งนี้ การทิ้งเศษขยะที่ย่อยสลายยากลงไปบ่อยๆ จะทำให้ถังบำบัดสำเร็จรูปหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมเต็ม ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาที่ยุ่งยากต่อการแก้ไขในอนาคต จึงควรระมัดระวังการทิ้งเศษขยะลงไป นอกจากนี้ การเลือกสุขภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานก็เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้การใช้งานเป็นไปได้อย่างราบรื่น รวมถึงการเลือกปริมาณน้ำที่จะกดชำระให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละครั้ง เพื่อให้สามารถใช้งานสุขภัณฑ์ได้อย่างดีและใช้น้ำเท่าที่จำเป็นอีกด้วย บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
อยากจะกั้นห้องคอนโดเพิ่มเติมทำได้หรือไม่ ทำอย่างไร

อยากจะกั้นห้องคอนโดเพิ่มเติมทำได้หรือไม่ ทำอย่างไร

คอนโดมิเนียมเป็นรูปแบบการอยู่อาศัยในเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ผู้ที่ซื้อห้องคอนโด หรือห้องชุด แต่ละคนย่อมต้องมีความต้องการที่จะจัดตกแต่งห้องคอนโดที่แตกต่างกัน รวมถึงการกั้นห้องคอนโด ไม่ว่าจะเป็นการกั้นห้องนอน หรือกั้นห้องครัวเพิ่มเติมเพื่อความเป็นสัดส่วนของพื้นที่ใช้สอย  การปรับปรุงตกแต่งจะทำได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับกฎข้อบังคับ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุและวิธีการที่เหมาะสม   ก่อนกั้นห้องคอนโด ต้องขออนุญาตนิติก่อน ก่อนการปรับปรุงตกแต่งห้องคอนโด ไม่ว่าจะเป็นการรื้อถอนผนังเดิม หรือกั้นผนังใหม่ ควรศึกษากฎระเบียบต่างๆ ของคอนโดที่เราอยู่อย่างรอบคอบ โดยสามารถสอบถามกับทางนิติบุคคลอาคารชุดโดยตรงว่าสิ่งใดสามารถทำได้ และทำไม่ได้ โดยอาจต้องเสนอแบบของห้องที่ต้องการจะปรับปรุง และได้รับใบอนุญาตจากเจ้าของโครงการ หรือนิติบุคคลอาคารชุดก่อนเริ่มลงมือก่อสร้าง ไม่ควรทำอะไรโดยพลการ เพราะอาจผิดพลาด และสร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเราเองและเพื่อนบ้านได้ นอกจากจะแจ้งนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว เราควรแจ้งเรื่องเป็นลายลักษณ์อักษรต่อเพื่อนบ้าน ทั้งห้องที่อยู่ติดกัน ห้องที่อยู่สูงกว่า และห้องที่อยู่ต่ำกว่า โดยมีรายละเอียดระยะเวลาในการดำเนินการ และขอบเขตความรับผิดชอบในกรณีเกิดความเสียหาย ภาพ: กำหนดระยะผนังกั้นห้องระหว่างห้องนั่งเล่นและห้องทานอาหาร ภาพ: กำหนดระยะผนังกั้นห้องระหว่างห้องครัวและพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ วัสดุกั้นห้องคอนโด รูปแบบผนังที่ใช้กั้นห้องสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ผนังก่อ และผนังเบา ซึ่งเป็นการแบ่งตามวัสดุ วิธีการก่อสร้าง และน้ำหนัก โดยรูปแบบผนังที่เหมาะในการกั้นห้องคอนโดนั้นคือ ผนังเบา ซึ่งจัดเป็นผนังแบบกึ่งถาวรที่มีโครงสร้างภายในเป็นโครงคร่าวทำจากไม้ หรือโลหะ (โครงกัลวาไนซ์ / เหล็กรูปพรรณ)  ปิดทับภายนอกด้วยวัสดุแผ่น เช่น แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์  แผ่นไม้อัดซีเมนต์ แผ่นยิปซั่ม แผ่นไม้อัด และแผ่นไม้จริง เป็นต้น ภาพ: วัสดุโครงคร่าวและแผ่นผนัง กั้นห้องคอนโดด้วยผนังเบา สาเหตุที่ผนังกั้นห้องคอนโดควรใช้ ผนังเบา นั้น มีสองสาเหตุหลัก คือ เรื่องของน้ำหนัก และขั้นตอนในการก่อสร้าง ในเรื่องของน้ำหนักผนังเบา จะมีน้ำหนักที่เบากว่าผนังก่อมาก โดยน้ำหนักผนังเบาจะอยู่ที่ประมาณ 20 – 40 กก./ตร.ม. ในขณะที่ผนังก่ออิฐบล็อกรวมฉาบหนา 10 ซม. จะมีน้ำหนักที่ประมาณ 120 – 150 กก./ตร.ม. ผนังก่ออิฐมอญรวมฉาบหนา 10 ซม. จะมีน้ำหนักที่ประมาณ 180 – 200 กก./ตร.ม. และผนังอิฐมวลเบารวมฉาบหนา 10 ซม. จะมีน้ำหนักที่ประมาณ 90 – 100 กก./ตร.ม. ซึ่งน้ำหนักที่มากของผนังก่อทุกประเภทนี้ ต้องมีโครงสร้างพื้นที่แข็งแรงมากกว่าปกติ หรือต้องเสริมคานตามแนวผนังเพื่อรับน้ำหนัก ซึ่งการเพิ่มคานที่พื้นเพื่อรองรับผนังก่อในคอนโดนั้นไม่สามารถทำได้ ส่วนการทำผนังก่อวางบนพื้นโดยไม่มีโครงสร้างคานรองรับก็มีความเสี่ยงที่พื้นจะแอ่น เนื่องจากเราไม่ทราบว่าพื้นที่วิศวกรออกแบบสามารถรับน้ำหนักได้เท่าใด ภาพ: โครงกัลวาไนซ์ก่อนติดตั้งแผ่นผนังเบาเพื่อกั้นห้อง ในส่วนของขั้นตอนการก่อสร้าง ผนังเบา เป็นผนังที่ติดตั้งได้ง่าย เรียกว่าเป็นการก่อสร้างระบบแห้ง คือเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ตัดขนาดชิ้นส่วนต่างๆ ให้เรียบร้อย เมื่อติดตั้งก็ใช้เวลาไม่นาน และสถานที่ก่อสร้างก็ไม่สกปรกมากนัก ต่างจาก ผนังก่อ ซึ่งเป็นการก่อสร้างระบบเปียก คือต้องมีการผสมปูนก่อ มีการพรมน้ำ ฉาบปูน ซึ่งใช้เวลานาน และสถานที่ก่อสร้างสกปรกมากกว่า นอกจากนี้หากต้องการรื้อถอนผนังเบาในอนาคต ก็สามารถทำได้ไม่ยากและไม่เกิดความเสียหายแก่พื้นที่มากนัก ข้อคำนึงในการติดตั้งผนังเบา คือ ควรรื้อวัสดุปูพื้นออกก่อน แล้วยึดโครงคร่าวผนังเบาบนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยตรง เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงมากที่สุด หากวางผนังเบาบนวัสดุปูพื้น เช่น พื้นไม้ลามิเนต หรือพื้นกระเบื้อง ก็อาจสร้างความเสียหายให้แก่พื้นได้ เช่น กระเบื้องแตกร้าวจากน้ำหนักกดทับ หรือไม้ลามิเนตยุบตัว ส่วนโครงคร่าวผนังด้านบนหากติดตั้งฝ้าเพดานไปแล้ว ควรยึดโครงคร่าวผนังเข้ากับแนวโครงคร่าวฝ้าเพดาน หรือตัดเจาะฝ้าเพดานและโครงคร่าวออกตามแนวผนัง เพื่อยึดโครงคร่าวผนังกับท้องพื้นหรือท้องคาน ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแรงและช่วยกั้นเสียงได้ดีกว่า ภาพ: การตัดเจาะฝ้าเพดานเพื่อยึดโครงคร่าวผนังกับท้องคานหรือท้องพื้น นอกจากนี้ การเจาะรูบนแผ่นผนังเพื่อแขวนสิ่งของต่างๆ ต้องใช้พุกผีเสื้อเท่านั้น โดยเลือกใช้พุกที่มีขนาดเหมาะสมต่อน้ำหนักสิ่งของที่แขวน หรือหากต้องการแขวนสิ่งของที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก เช่น โทรทัศน์ ชั้นวางหนังสือ ฯลฯ อาจเสริมโครงคร่าวตามแนวที่ต้องการยึดแขวน และยึดตะปูเกลียวกับพุกผีเสื้อเข้ากับโครงคร่าวโดยตรงเพื่อความแข็งแรงมากขึ้น  ทั้งนี้ หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการกันความร้อน และเสียง สามารถทำได้โดยการติดตั้งฉนวนใยแก้วในช่องว่างระหว่างโครงคร่าว แล้วปิดทับด้วยวัสดุแผ่นตามปกติ ภาพ: การยึดแขวนของและการรับน้ำหนักด้วยตะปู และพุกผีเสื้อกับตะปูเกลียว กั้นห้องคอนโดด้วยกระจก ผ้าม่าน สำหรับผู้ที่ต้องการกั้นห้อง แต่ต้องการให้ห้องไม่ดูอึดอัดจนเกินไป ผนังกระจก หรือชุดประตูบานเลื่อนกระจก ก็เป็นอีกทางเลือกที่สามารถทำได้ ซึ่งกระจกหนา 12 มม. จะมีน้ำหนักประมาณ 30 กก./ตร.ม. นอกจากนี้ ผนังม่าน หรือผ้าม่าน ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ในการกั้นห้องได้ ทั้งชั่วคราว และถาวร เจ้าของห้องสามารถติดตั้งเองได้และอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตจากนิติบุคคลอาคารชุด ภาพ: ผนังม่านเป็นอีกหนึ่งวิธีกั้นห้องที่สวยแบบเรียบง่าย และช่วยประหยัดงบประมาณ บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​  สารพัดเรื่องของคอนโด เคล็ดลับเลือกคอนโดติดรถไฟฟ้า บ้านกับรถ ซื้ออะไรก่อนดี ? ทางเลือกซื้อคอนโด สำหรับคนงบน้อย
ท่อน้ำทิ้งซิงค์ล้างจานอุดตัน ปัญหาแบบนี้แก้ไขอย่างไรดี

ท่อน้ำทิ้งซิงค์ล้างจานอุดตัน ปัญหาแบบนี้แก้ไขอย่างไรดี

อ่างล้างจาน (ซิ้งค์ล้างจาน) เป็นส่วนประกอบสำคัญในครัว ที่ช่วยให้เราสามารถล้างอาหาร ล้างผัก และอุปกรณ์ครัวต่างๆ ให้สะอาดพร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมถึงหลังรับประทานอาหารเสร็จยังเป็นที่ล้างจานชามและอุปกรณ์ใช้แล้วที่เปรอะเปื้อนอีกด้วย ซึ่งปกติแล้ว จำเป็นต้องติดตั้งถังดักไขมันต่อจากท่อน้ำทิ้งอ่างล้างจาน แล้วจึงปล่อยไปยังบ่อพักหรือท่อสาธารณะ แต่เมื่อมีคราบไขมัน เศษอาหาร และสิ่งสกปรกต่างๆ ตกค้างสะสมนานๆ เข้า ก็จะก่อตัวเป็นคราบแข็งอุดตัน ทำให้น้ำไม่สามารถระบายไปได้ ไหลผ่านไม่สะดวก หรือบางครั้งน้ำยังเอ่อไหลย้อนขึ้นมาอีกด้วย จนถึงกับไม่สามารถใช้งานอ่างล้างจานได้ หากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องแก้ไขปัญหา ซึ่งมี 3 ส่วนด้วยกันคือ ตะแกรงดักเศษอาหาร กระปุกท่อน้ำทิ้งใต้อ่างล้างจาน และส่วนของบ่อดักไขมัน ส่วนของตะแกรงหรือตะกร้าดักเศษอาหาร ตัวกรองเศษอาหารขั้นแรก ที่ควรสังเกตดูว่ามีเศษอาหารเต็มตะแกรงดักเศษอาหารหรือไม่ หากมีต้องเอาออกมาทิ้งให้หมด ทำความสะอาดในส่วนนี้ให้เรียบร้อย ในส่วนนี้ต้องระวังอย่าทิ้งเศษอาหารลงไป เพราะแม้ว่าจะมีตะแกรงกรองเศษอาหารอยู่แล้ว แต่อาหารขนาดเล็กยังคงสามารถตกหล่นลงไปในท่อน้ำทิ้งได้อยู่ดี ดังนั้นหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ ควรเขี่ยเศษอาหารออกจากจานและเช็ดซับคราบมันให้ออกได้มากที่สุดก่อนการล้างจาน เพื่อไม่ให้คราบฝังติดแน่นที่ทำให้ล้างออกยาก และคราบจะติดเป็นก้อนแข็งที่เมื่อล้างออกแล้วจะส่งผลให้ไปอุดตันในช่องท่อได้ ภาพ: สะดือซิงค์ล้างจานแบบที่มีตะกร้ากรองเศษอาหารและยางกรองเศษอาหาร ภาพ: ตะแกรง (ตะกร้า) ดักเศษอาหาร ที่ควรเคาะเศษอาหารทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เศษอาหารเกิดการบูดเน่า อันอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค สำหรับกระปุกท่อน้ำทิ้ง ที่มีหน้าที่ขังน้ำเพื่อช่วยป้องกันกลิ่นไหลย้อนขึ้นมา (มีให้เลือกทั้งแบบ Bottle Trap และ P-Trap) แต่หากมีการสะสมของตะกอนต่างๆ มากเข้า ก็จะทำให้ส่วนนี้เกิดการอุดตันได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยหมุนเกลียวถอดออกมาเคาะเอาเศษสิ่งสกปรก เศษอาหาร และขจัดคราบไขมันที่ฝังแน่นอยู่ออก แล้วจึงฉีดน้ำล้างทำความสะอาดคราบที่หลงเหลืออยู่ออกให้หมด หากยังอุดตันอยู่ ให้ใช้น้ำยาขจัดท่อห้องครัวอุดตันสูตรธรรมชาติที่ไม่กัดกร่อนท่อ ทั้งนี้ หากวิธีดังกล่าวยังไม่ได้ผล แนะนำให้ทะลวงท่อที่ติดอยู่กับผนังโดยใช้ “งูเหล็ก” ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถโค้งงอไปตามรูปทรงของท่อได้ เพื่อกระทุ้งให้สิ่งอุดตันหลุดออก * การใช้งูเหล็กต้องมีความระมัดระวัง และอาศัยความชำนาญ จึงควรเรียกช่างให้เข้ามาทำการแก้ไขตรงส่วนนี้ให้จะดีที่สุด ภาพ: ลักษณะการขังน้ำและการระบายน้ำของกระปุกท่อน้ำทิ้งแบบ Bottle Trap ภาพ: ลักษณะการขังน้ำและการระบายน้ำของท่อน้ำทิ้งแบบ P-Trap สุดท้ายคือส่วนของบ่อดักไขมัน (Grease Trap) ซึ่งมีหน้าที่ดักและแยกชั้นไขมันออกจากน้ำเสียจากซิงค์ครัว ไม่ให้ไหลลงไปอุดตันในท่อระบายน้ำ ซึ่งมี 2 ประเภทคือบ่อดักไขมันชนิดตั้งพื้น และบ่อดักไขมันชนิดฝังดิน ซึ่งควรเลือกประเภทและขนาดให้เหมาะกับปริมาณการใช้งานและความเหมาะสมของพื้นที่ การดูแลรักษาบ่อดักไขมันนี้จะต้องตักเศษไขมันออกเป็นประจำเพื่อให้น้ำระบายได้คล่องและไม่มีกลิ่นรบกวน หากส่วนนี้มีการสะสมของไขมันที่จับตัวกันเป็นก้อนซึ่งทำให้เกิดการอุดตันแล้ว จะต้องเปิดฝาถังออกเพื่อตักไขมันใส่ถุงขยะอย่างมิดชิด มัดอย่างแน่นหนา และนำไปทิ้งให้ถูกที่ โดยมีการแยกขยะอย่างเหมาะสม ภาพ: บ่อดักไขมัน ที่ทำหน้าที่ดักและแยกชั้นไขมันออกจากน้ำเสียจากซิงค์ครัว ภาพ: บ่อดักไขมันชนิดตั้งพื้น เหมาะสำหรับที่พักอาศัยที่มีพื้นที่จำกัด เช่น ทาวน์โฮม คอนโดมิเนียม ภาพ: บ่อดักไขมันชนิดฝังดิน เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่รอบบ้านเพียงพอสำหรับการฝังดิน เช่น บ้านเดี่ยว * ควรตักไขมันออกอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง (พิจารณาจากปริมาณไขมันของแต่ละบ้าน) โดยตักไขมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำออก ** ไม่แนะนำให้ตักไขมันแล้วทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะโดยตรง เพราะจะทำให้น้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นและนำไปสู่การสะสมของเชื้อโรคจนอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ *** การแยกขยะเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งจากที่บ้านเองและจากแหล่งสาธารณะ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน รวมถึงการนำขยะแต่ละประเภทไปกำจัดอย่างเหมาะสม ซึ่งผู้มีหน้าที่ดูแลตรงส่วนนี้จะนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง  หลังจากทำการแก้ไขแต่ละส่วนและประกอบอุปกรณ์กลับเข้าที่เหมือนเดิมแล้ว ให้ทดลองใช้งานอ่างล้างจานดูว่าสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ หากยังใช้งานได้ไม่ดีหรือติดขัดอยู่ แนะนำให้เรียกช่างที่มีความชำนาญเข้ามาซ่อมแซมแก้ไข สิ่งสำคัญของห้องครัว คือการติดตั้งอุปกรณ์แต่ละส่วนอย่างถูกวิธีมีมาตรฐาน มีการเดินระบบท่อที่ดี มีองศาความลาดเอียงที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำสามารถระบายได้ดีด้วยเช่นกัน และที่ขาดไม่ได้เลยคือการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอทั้งสามส่วน ซึ่งทำได้บ่อยครั้งตามปริมาณการใช้งานของแต่ละบ้าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างดี ลดปัญหาการอุดตัน บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
ต่อเติมครัวไทย แบบโปร่งหรือแบบทึบดี?

ต่อเติมครัวไทย แบบโปร่งหรือแบบทึบดี?

ครอบครัวที่ชอบทำอาหารแบบไทยๆ คงไม่พ้นการประกอบอาหารที่ต้องผัด ทอด ก่อให้เกิด เสียง กลิ่น ควัน แผ่ฟุ้งกระจาย เมนูเหล่านี้อาจไม่เหมาะกับพื้นที่ปรุงอาหารในบ้านที่มีขนาดเล็กและระบายอากาศได้น้อย เจ้าของบ้านจึงมักเริ่มคิดต่อเติมครัว แยกออกมาจากตัวบ้าน ตามด้วยคำถามต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ  “จะต่อเติมครัวไทยแบบทึบหรือแบบโปร่งดี ?” ต่อเติมครัวไทย “แบบทึบ” กับ “แบบโปร่ง” ก่อนอื่นขอเล่าถึงการต่อเติมครัว 2 แบบนี้ว่าต่างกันอย่างไร การต่อเติมครัวแบบทึบโดยทั่วไปจะต่อเติมขึ้นมาเป็นห้อง มีผนังเต็มล้อมรอบโดยเจาะช่องเปิดตามความเหมาะสม พร้อมหลังคาครอบมิดชิด ส่วนครัวแบบโปร่งจะมีจุดเด่นตรงความโปร่งโล่ง จึงมักทำแผงระแนงไม้/ไม้เทียมแทนผนัง บางทีอาจเลือกทำผนังทึบเฉพาะช่วงล่าง ส่วนด้านบนปล่อยโล่งหรือทำเป็นแผงระแนง เพื่อความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว ในส่วนของหลังคา อาจทำติดลอยไว้กับผนังบ้านเดิม เลือกซื้อกันสาดสำเร็จรูปมาติด หรือจะใช้โครงสร้างเสาส่วนต่อเติมรับหลังคาเช่นเดียวกับครัวแบบทึบ  ทั้งนี้ครัวแบบโปร่งสำหรับบางบ้านอาจทำง่ายๆ เพียงแค่ติดหลังคากันสาดและก่อเคาน์เตอร์ครัว หรือถ้าจะให้ง่ายกว่านั้นคือซื้อชุดครัวสำเร็จรูปมาติดตั้งเลยก็ได้ ตัวอย่างการต่อเติมครัวแบบโปร่ง ต่อเติมครัวไทยแบบโปร่ง เน้นความโล่ง จะเห็นได้ว่าครัวแบบโปร่งเป็นรูปแบบที่เน้นความโปร่งโล่ง กลิ่นควันและความอับชื้นต่างๆ จึงระบายออกไปได้ง่าย สามารถฉีดน้ำล้างทำความสะอาดได้ (โดยต้องมีทางระบายน้ำรองรับ) วัสดุที่ใช้มักมีน้ำหนักเบา ทั้งยังสร้างได้รวดเร็วง่ายดายกว่าเมื่อเทียบกับครัวแบบทึบ แต่ในขณะเดียวกัน ความโปร่งโล่งของครัวแบบโปร่งอาจทำให้ต้องผจญกับ น้ำฝน ฝุ่นและสิ่งปรกต่างๆ ที่สาดซัดเล็ดรอดเข้ามาได้ง่าย ทั้งยังต้องระวังป้องกันไม่ให้สัตว์เล็กสัตว์น้อย อย่างแมลง นก หนู และอาจรวมถึงแมวหรือสุนัขตัวเล็กๆ เข้ามาก่อกวนภายในห้องครัวด้วย (ในส่วนนี้อาจใช้ ตะแกรง มุ้งลวด ช่วยป้องกันได้บ้าง)   จะเห็นว่าการทำครัวแบบโปร่งจะต้องควบคุมเรื่องความสะอาดและป้องกันสิ่งปนเปื้อนจากภายนอกให้ดี  ซึ่งสำคัญมากเพราะเป็นพื้นที่ประกอบอาหาร  อุปกรณ์ต่างๆ จึงควรมีที่เก็บมิดชิด หรือเจ้าของบ้านอาจจะเลือกใช้ครัวแบบโปร่งเฉพาะตอนประกอบอาหารและล้างภาชนะเท่านั้น ส่วนอุปกรณ์ทั้งหมดนำไปเก็บไว้ในบ้านแทนก็ย่อมได้เช่นกัน นอกจากนี้ ครัวแบบโปร่งซึ่งระบายอากาศได้สะดวกย่อมหมายความว่า กลิ่น ควัน รวมถึงไอน้ำมันจากการทำอาหารจะกระจายไปถึงเพื่อนบ้านได้ง่าย นับเป็นอีกเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน ครัวต่อเติมนอกบ้านแบบโปร่ง ขอบคุณภาพ : topicstock.pantip.com ต่อเติมครัวไทยแบบทึบ เน้นมิดชิด สำหรับห้องครัวแบบทึบซึ่งมีผนังมิดชิดจะมีข้อดีข้อเสียเป็นคู่ตรงข้ามกับห้องครัวแบบโปร่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักมากกว่าจึงมีโอกาสทรุดตัวเร็วกว่า (เมื่อเทียบกับโครงสร้างรองรับแบบเดียวกัน) ส่วนเรื่องของระบบระบายอากาศ อาจต้องพึ่งอุปกรณ์ช่วยอย่างเครื่องดูดควันหรือพัดลมระบายอากาศ นอกจากนี้การสร้างห้องครัวแบบทึบจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าห้องครัวแบบโปร่ง ด้วยปริมาณวัสดุ โครงสร้าง และการเตรียมงานระบบที่มากกว่า   สำหรับข้อดีของครัวแบบโปร่งที่มีผนังมิดชิดก็คือ สามารถป้องกันสิ่งสกปรกและสิ่งไม่พึงประสงค์จากภายนอกได้ดี   รวมถึงการใช้เครื่องดูดควันพร้อมปล่องระบายอากาศ ยังช่วยป้องกันกลิ่นควันจากการประกอบอาหารไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้านได้ง่ายด้วย นอกจากนี้ผนังที่มิดชิดของครัวแบบทึบยังให้ความรู้สึกปลอดภัยและเป็นส่วนตัว รวมถึงมีพื้นที่ติดตั้งชั้นเก็บของได้มาก ในเรื่องการทำความสะอาด ครัวแบบทึบควรใช้วิธีเช็ดถูเอาสิ่งสกปรกออก ไม่ควรใช้วิธีฉีดน้ำล้างอย่างครัวแบบโปร่ง และควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ การติดพัดลมดูดอากาศด้านข้างห้องครัวส่วนต่อเติม เพื่อช่วยระบายกลิ่น/ควัน ตู้ลอยติดผนังเหนือเคาน์เตอร์สำหรับเก็บของในห้องครัวแบบทึบ ขอบคุณภาพ : www.banidea.com อย่างไรก็ตามเมื่อเจ้าของบ้านตัดสินใจเลือกต่อเติมครัวตามแบบที่ตนเองต้องการแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบโปร่งหรือแบบทึบ มีเรื่องสำคัญที่ห้ามละเลยคือ โครงสร้างที่ถ่ายน้ำหนักลงพื้นของครัวส่วนต่อเติม จะต้องแยกจากกันกับโครงสร้างบ้านเดิม เพราะส่วนต่อเติมซึ่งมักลงเสาเข็ม สั้นนั้นโดยปกติจะทรุดตัวเร็วกว่าตัวบ้านเดิม จึงควรให้การทรุดตัวเป็นอิสระจากกัน  ไม่ดึงรั้งกันจนกลายเป็นปัญหาบ้านทรุดแบบเอียงและเกิดการฉีกขาดของโครงสร้าง ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไขได้ยากมาก ขอขอบคุณข้อมูลจาก SCG เกี่ยวกับการต่อเติมบ้านส่วนต่างๆ บ้านชั้นเดียวต่อเติมเป็นบ้านสองชั้นได้หรือไม่ 4 ปัญหาคาใจต่อเติมครัวแล้วทรุด พื้นที่บันได ทำอะไรเพิ่มเติมได้
ต่อรั้วบ้านเดิมเพิ่มความส่วนตัว

ต่อรั้วบ้านเดิมเพิ่มความส่วนตัว

เรื่อง :  อิษฎา แก้วประเสริฐ             SCG Experience Architect "เมื่อพื้นที่รอบบ้านมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นถนนสาธารณะ หรือตึกข้างเคียงที่สูงขึ้น รั้วบ้านเดิมจึงไม่สามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวได้เท่าที่ควร การปรับปรุงรั้วบ้านให้สูงขึ้นพร้อมหาวิธีตกแต่งให้สวยงาม นับเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเจ้าของบ้านซึ่งประสบปัญหาดังกล่าว" “รั้วบ้าน” เป็นปราการที่กั้นระหว่างตัวบ้านกับเพื่อนบ้านหรือพื้นที่สาธารณะภายนอก แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมทุกวันนี้  สิ่งไม่พึงประสงค์ต่างๆ ทั้ง เสียง มลพิษ และภัยจากผู้คุกคาม อาจเข้ามาถึงตัวบ้านได้ง่ายขึ้น รั้วบ้านเดิมที่สร้างไว้เริ่มสูงไม่พอ เมื่อเทียบกับระดับถนน พื้นดินแวดล้อม และความสูงของอาคารสร้างใหม่ใกล้เคียง ทั้งหมดนี้นำมาซึ่งความกังวลใจจนเจ้าของบ้านจนต้องเริ่มนึกถึง “การปรับปรุงรั้วบ้านให้สูงขึ้น” ซึ่งมีเรื่องต่างๆ ต้องพิจารณา ได้แก่ ความสูง ความโปร่ง ความสวยงาม รวมถึงปัจจัยสำคัญคือ สภาพรั้วบ้านเดิม น้ำหนักวัสดุ และการติดตั้ง รั้วบ้านที่ทำการต่อเติมด้วยระแนงไม้เทียม รั้วบ้านที่เตี้ยเกินไปจนบุคคลภายนอกมองเข้ามาได้ ทำให้รู้สึกไม่เป็นส่วนตัว ต่อเติมรั้วบ้านสูงเท่าไหร่ดี ความสูงของรั้วบ้านจะต้องไม่ขัดกับกฎหมาย โดยจะสูงจากระดับถนนหรือทางเท้าได้ไม่เกิน 3.00 เมตร และควรคำนึงถึงความระดับความสูงของอาคารข้างเคียงรวมถึงช่องเปิดด้วย  ทั้งนี้ระดับรั้วบ้านยิ่งสูงจะยิ่งมีพื้นที่ปะทะแรงลมมากขึ้นจึงควรคำนึงเรื่องจุดยึดที่มั่นคงแข็งแรงเพียงพอ รั้วบ้านโปร่ง รั้วบ้านทึบ เจ้าของบ้านหลายคนอยากให้รั้วบ้านโปร่ง สามารถมองทะลุและระบายอากาศได้  เพื่อลดความอึดอัด โดยเฉพาะบ้านที่มีระยะร่นอาคารน้อย ระยะห่างระหว่างตัวบ้านกับรั้วค่อนข้างกระชั้น หรือกรณีที่มีความสูงของบ้านมากๆ หากทำรั้วบ้านทึบตันจะยิ่งอึดอัด ทั้งนี้การทำรั้วบ้านโปร่งอาจออกแบบเป็นจังหวะโปร่ง-ทึบ สลับกันไป ตามตำแหน่งระยะและมุมมองที่เหมาะสมในเรื่องความเป็นส่วนตัว อย่างไรก็ตาม การต่อเติมรั้วบ้านให้สูงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องความเป็นส่วนตัวด้านสายตาเท่านั้น ส่วนเรื่องการป้องกันเสียงรบกวนยังช่วยได้ไม่มาก ภาพเปรียบเทียบรั้วบ้านทึบ (ซ้าย) กับรั้วบ้านโปร่ง (ขวา) ซึ่งลมสามารถลอดผ่านซี่รั้วเข้ามาได้ ออกแบบส่วนต่อเติมรั้วบ้านให้สวยงาม รั้วบ้านเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลกับรูปลักษณ์ของบ้าน  การปรับปรุงรั้วบ้านควรเลือกใช้วัสดุ สีสัน และรูปแบบที่ไม่ขัดแย้งกับบ้าน โดยอาจลดทอนความแข็งกระด้างของวัสดุรั้วบ้านทรงสี่เหลี่ยมทื่อๆ ได้ด้วย พืชพรรณต้นไม้ สวนแขวน หรือสวนแนวตั้ง ซึ่งนอกจากจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อความสุขสบายตาแล้ว ยังช่วยลดแสงสะท้อนสำหรับรั้วบ้านสีอ่อน และลดทอนเสียงรวมถึงมลพิษจากภายนอกได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างการตกแต่งรั้วบ้านด้วยวัสดุเบาต่างๆ สภาพรั้วบ้านเดิม นับเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่เจ้าของบ้านควรพิจารณา เนื่องจากโครงสร้างของรั้วบ้านทั่วไปมักจะรับน้ำหนักด้วยเสาเข็มแบบสั้น หากเป็นไปได้ควรนำแบบรั้วบ้านมาขอรับคำปรึกษาจากวิศวกรโครงสร้างจะดีที่สุด เพื่อช่วยประเมินว่าโครงสร้างรั้วบ้านยังอยู่ในสภาพดีหรือไม่ โดยรั้วบ้านจะที่ต่อเติมไม่ควรเกิดการทรุดตัวมาก คานทับหลังไม่แอ่นตกท้องช้าง ไม่มีการปริแตกของเสารั้วบ้าน วัสดุผนังที่ก่อไว้ไม่แตกทะลุหรือมีรอยแยกใหญ่ผิดปกติ รั้วบ้านที่มีลักษณะดังกล่าวนี้หากฝืนต่อเติมไปอาจยิ่งก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น น้ำหนักของวัสดุที่ใช้ต่อเติมรั้วบ้าน หลีกเลี่ยงวัสดุประเภทผนังก่อ เพราะการต่อเติมจะสร้างน้ำหนักให้กับโครงสร้างรั้วบ้านเดิมเพิ่มขึ้น ควรเลือกใช้วัสดุเบา ยกตัวอย่างเช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งมีทั้งแบบแผ่นบอร์ด และแผ่นยาวที่ออกแบบหน้ากว้างมาสำหรับทำรั้วบ้านโดยเฉพาะ บางรุ่นมีสีและพื้นผิวเลียนแบบไม้ให้เลือกใช้ด้วย โดยติดตั้งกับโครงสร้างเบา เช่น โครงเหล็ก โครงไม้ ฯลฯ ตามระยะโครงคร่าวที่ผู้ผลิตกำหนด (ส่วนใหญ่มักมีระยะประมาณ 30-60 ซม.ขึ้นอยู่กับขนาดและความหนาของวัสดุ) โครงเหล็กสำหรับรั้วส่วนต่อเติม วิธีการติดตั้งเข้ากับรั้วบ้านเดิม รั้วบ้านส่วนต่อเติมควรติดตั้งโดยยึดเข้ากับโครงสร้างรั้วบ้านเดิมที่เป็นส่วนของคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ได้แก่ คานคอดิน เสารั้วบ้าน หรือคานทับหลังรั้วบ้าน เพราะเป็นจุดที่เจาะยึด หรือฝังเหล็กเสียบเหล็กได้ดี โดยถ่ายน้ำหนักสู่ระบบฐานรากหรือโครงสร้างใต้ดินโดยตรง ส่วนวิธีการยึดนั้น จะยึดโครงรั้วบ้านใหม่เข้ากับด้านบนของคานทับหลังรั้วบ้านเดิม (ภาพซ้าย) หรือเลือกยึดด้านข้างโดยใช้สกรูยึดเพลทเหล็กเข้ากับโครงสร้าง แล้วเชื่อมโครงสร้างรั้วบ้านใหม่เข้ากับเพลทเหล็ก (ภาพขวา) อีกวิธีหนึ่งคือฝังเหล็กหนวดกุ้งเข้ากับเนื้อคอนกรีตด้วยกาวซีเมนต์หรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้เสียบเหล็ก จากนั้นนำมาเชื่อมกับโครงสร้างรั้วบ้านต่อเติม วิธีหลังนี้ต้องอาศัยความแม่นยำในการต่อเชื่อมสูง จึงมักไม่เป็นที่นิยมนัก การติดตั้งรั้วส่วนต่อเติมด้วยโครงเหล็กและไม้เทียม จะเห็นได้ว่าการต่อเติมรั้วบ้านให้สูงขึ้นนั้น นอกจากความสวยงาม ความโปร่ง และความเป็นส่วนตัวแล้ว ยังมีเรื่องของความแข็งแรงซึ่งเป็นข้อสำคัญที่ควรคำนึง ทั้งสภาพโครงสร้าง การยึดติดตั้ง รวมถึงแรงลมปะทะที่เพิ่มขึ้น ทางที่ดีควรให้วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญช่วยพิจารณา โดยเฉพาะการประเมินสภาพโครงสร้างรั้วบ้านเดิม ขนาดเหล็ก ระยะยึดทาบของโครงสร้าง เพื่อให้การปรับปรุงต่อเติมรั้วบ้านมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านได้อย่างแท้จริง หรือหากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาสถาปนิกจาก SCG ได้ก่อนการแก้ไขปรับปรุงดังกล่าว ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com
ติดฉนวนใยแก้วกันความร้อนแล้วทำไมบ้านยังร้อน ?

ติดฉนวนใยแก้วกันความร้อนแล้วทำไมบ้านยังร้อน ?

สำหรับเจ้าของบ้านที่ซื้อฉนวนใยแก้วกันความร้อนมาติดตั้งบริเวณหลังคาหรือฝ้าเพดาน แล้วพบว่าบ้านไม่ได้เย็นขึ้นอย่างที่คิด ให้ลองหันมาดูปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความร้อนในบ้าน รวมถึงช่องทางระบายความร้อนออกไปนอกบ้าน ทั้งนี้ อาจลองพิจารณาวิธีอื่นๆ ที่ช่วยลดความร้อนในบ้านด้วยนะครับ ปัญหาบ้านร้อน นับเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ที่อาศัยเขตเส้นศูนย์สูตรอย่างประเทศไทย วิธีแก้ปัญหาที่มักนึกถึงกันคือ การติดตั้ง “ฉนวนใยแก้วกันความร้อน” และเนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นภายในบ้าน ประมาณ 70 % มักมาจากทางหลังคาบ้าน  เจ้าของบ้านจึงมักได้รับคำแนะนำให้ติดฉนวนกันความร้อนที่หลังคาหรือฝ้าเพดานชั้นบนสุด  แต่ทั้งนี้อาจมีบางกรณีที่ซื้อฉนวนมาติดตั้งตามคำแนะนำแล้ว แต่ความร้อนในบ้านก็ไม่ได้ลดลง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ก่อนอื่น เจ้าของบ้านควรทำความเข้าใจถึงแหล่งกำเนิดของความร้อนภายในบ้านว่ามาจากส่วนใดได้บ้าง ความร้อนในบ้านมาจากไหน โดยทั่วไป ความร้อนภายในบ้านส่วนใหญ่มักมาจากแสงแดดที่ส่งผ่านความร้อนเข้ามาในบ้าน ผ่านทางหลังคาและ ฝ้าเพดานชั้นบน อีกทางที่เข้ามาได้ง่ายคือ ผนังกระจกและประตูหน้าต่างกระจก ทั้งนี้ แสงแดดยังส่งผ่านความร้อนบางส่วนผ่านผนังทึบได้ด้วย โดยจะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับค่ากันความร้อน หรือที่เรียกว่า “ค่า R” ของระบบผนังซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของวัสดุและการติดตั้ง   นอกจากนี้ การทำกิจกรรมประจำวันภายในบ้านก็ทำให้เกิดความร้อนได้  เช่น ความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ความร้อนจากร่างกายคน เป็นต้น แหล่งที่มาของความร้อนภายในบ้าน ตัวอย่าง ค่า R ของระบบผนังต่างๆ ตัวอย่าง ค่า R ของระบบหลังคาและฝ้าเพดาน ทำความรู้จักฉนวนใยแก้วกันความร้อน ฉนวนใยแก้วกันความร้อน ผลิตจากซิลิกาซึ่งเป็นวัตถุดิบจากแก้ว นำไปหลอมละลายแล้วปั่นเป็นเส้นใย มีคุณสมบัติทนและกันความร้อนได้ดีมาก สามารถติดไฟได้แต่ไม่ลามไฟ (ตรงข้ามกับวัสดุกันความร้อนหลายชนิดที่ลามไฟได้รวดเร็ว) วัสดุเส้นใยแก้วเมื่อแตกตัวจะมีอนุภาคใหญ่เกินกว่าจะเข้าสู่ทางเดินหายในของมนุษย์ได้ จึงไม่นับเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งตรงกันข้ามกับใยหิน ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วกันความร้อนที่ขายในท้องตลาด อาจมีลักษณะเป็นแผ่น หรือเป็นม้วน โดยจะมีทั้งรุ่นที่ผลิตมาสำหรับติดตั้งบนแปหลังคา ติดตั้งบนฝ้าเพดาน และติดตั้งที่ผนัง การใช้งานฉนวนใยแก้ว มีข้อควรระวังคือ ตัวฉนวนใยแก้วอาจทำให้ผิวหนังมีอาการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการแพ้วัสดุชนิดนี้ ดังนั้น ในการติดตั้งจึงควรสวมถุงมือและเสื้อผ้ามิดชิด เพื่อเลี่ยงการสัมผัสฉนวนใยแก้วโดยตรง การติดตั้งฉนวนใยแก้วกันความร้อนบนหลังคาและฝ้าเพดาน หน้าที่ของฉนวนกันความร้อนใยแก้วคือ ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้ผ่านเข้ามาในบ้าน โดยคุณสมบัติของตัวฉนวนจะมีค่ากันความร้อนหรือ “ค่า R” สูง (ค่า R จะมากขึ้นตามความหนาฉนวนด้วย) การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะเป็นการเพิ่มค่า R ให้กับบริเวณที่ติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็น ผืนหลังคา ฝ้าเพดาน หรือผนัง การติดตั้งฉนวนใยแก้วกันความร้อนเพื่อเพิ่มค่า R ให้ระบบผนัง ทำให้สามารถป้องกันความร้อนได้มากขึ้น ติดฉนวนแล้วทำไมยังร้อน ? การที่บ้านจะร้อนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สำหรับบ้านที่ติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่หลังคาหรือฝ้าเพดานก็จะช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดที่สองหลังคาไม่ให้เข้ามาในบ้านได้ แต่อย่าลืมว่า ความร้อนที่เกิดขึ้นในบ้านอาจมาจากส่วนอื่นได้ด้วย อย่างความร้อนจากแสงแดดที่ส่งผ่าน ผนัง ประตูหน้าต่าง หรือความร้อนจากการทำกิจกรรมในบ้าน ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทั้งนี้ ฉนวนกันความร้อนที่ติดตั้งนั้น นอกจากจะป้องกันไม่ให้ความร้อนจากนอกบ้านเข้าสู่ภายในบ้านแล้ว ความร้อนที่อยู่ภายในบ้านก็จะถูกฉนวนป้องกันไม่ให้ออกนอกบ้านด้วยเช่นกัน หรือพูดได้อีกอย่างว่า “ความร้อนไม่ได้ถูกระบายออกจากตัวบ้าน” จึงทำให้บ้านร้อนแทนที่จะเย็นนั่นเอง ติดฉนวนอย่างไรให้บ้านเย็น ? แม้การติดฉนวนกันความร้อนที่หลังคาจะช่วยป้องกันความร้อนจากบริเวณหลังคาได้ แต่ในขณะเดียวกัน ความร้อนจากส่วนอื่นๆ ก็ควรป้องกันด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากผนัง  โดยเฉพาะด้านที่โดนแดดแรงควรทำเป็นผนังทึบด้วยวัสดุที่มีค่า R สูง ไม่อมความร้อน และอาจติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมด้วย สำหรับผนังส่วนที่จำเป็นต้องใช้กระจกใส อาจลดความร้อนโดยติดตั้งแผงบังแดดเพิ่ม ติดฟิล์มช่วยกันความร้อนบนกระจก นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ช่วยลดความร้อนได้ อย่างการปลูกต้นไม้ให้ร่มเงาบังแดด การเลือกใช้วัสดุที่มีค่า R สูง และไม่อมความร้อน เป็นต้น อีกเรื่องสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ การจะทำบ้านในเมืองร้อนให้เย็นได้นั้น “ควรมีการระบายอากาศที่ดี” เพื่อให้ความร้อนภายในบ้านสามารถระบายออกไปนอกบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นประตูหน้าต่างที่เพียงพอในตำแหน่งเหมาะสม การทำช่องทางระบายอากาศบริเวณหลังคา (ติดตั้งฝ้าชายคาแบบมีรูระบายอากาศหรือทำเป็นระแนงเพื่อระบายอากาศ) เป็นต้น  ทั้งนี้ หากบ้านติดตั้งอยู่ในบริเวณที่มีมลภาวะมาก อาจใช้อีกทางเลือกซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย คือ การปิดบ้านให้มิดชิด โดยติดตั้งอุปกรณ์ที่ดึงเอาอากาศจากภายนอกมาใช้ในบ้านผ่านระบบกรอง จากนั้น อากาศที่ใช้แล้วพร้อมความร้อนจะถูกปล่อยทิ้งออกไปนอกบ้าน ฉนวนทำหน้าที่ป้องกันความร้อนจากภายนอกไม่ให้เข้ามาในบ้าน ขณะเดียวกัน ความร้อนภายในบ้านก็ไม่สามารถออกไปได้ด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่า การแก้ปัญหาบ้านร้อนอาจไม่ใช่แค่การติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีส่วนในการป้องกันความร้อนในบ้านให้ครอบคลุม รวมถึงระบบระบายอากาศที่ดีเพื่อให้ความร้อนระบายออกไปจากบ้านได้ ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้อุณหภูมิในบ้านลดลง ทำให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสบายมากขึ้น รวมถึงช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศได้ด้วย ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com
วิธีลดความร้อนที่เข้ามาทางผนัง เพื่อบ้านเย็นอยู่สบาย

วิธีลดความร้อนที่เข้ามาทางผนัง เพื่อบ้านเย็นอยู่สบาย

เรื่อง: SCG Experience ความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้ามาภายในบ้าน นอกจากจะผ่านเข้ามาทางหลังคาแล้ว ‘ผนัง’ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ควรป้องกันเช่นกัน โดยเฉพาะผนังห้องที่อยู่ทางทิศตะวันตก และทิศใต้ซึ่งต้องโดนแดดตลอดช่วงบ่าย จึงมีการสะสมความร้อนจนทำให้อุณหภูมิสูงกว่าส่วนอื่นๆ โดยถึงแม้จะเป็นช่วงกลางคืน ก็ยังรู้สึกร้อนเนื่องจากผนังคายความร้อนที่สะสมในระหว่างวันออกมา ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักมากขึ้นกว่าอุณหภูมิจะลดลงตามที่ต้องการ และทำให้ต้องจ่ายค่าไฟมากกว่าที่ควร จึงขอแนะนำวิธีต่างๆ ที่สามารถช่วยป้องกันความร้อนที่เข้ามาทางผนังบ้านได้ ทั้งการลดความร้อนที่ผนังและช่องเปิด รวมถึงการสร้างร่มเงาให้แก่บ้าน ลดการความร้อนที่ผนัง สำหรับบ้านสร้างใหม่ควรเลือกใช้วัสดุก่อผนังที่มีค่าการสะสมความร้อนต่ำอย่างอิฐมวลเบา โดยที่ผนังภายนอกบ้านควรทาสีโทนอ่อนหรือโทนสว่าง เช่น สีขาว สีครีม สีพาสเทล หรือเลือกใช้สีสะท้อนความร้อน แต่หากเป็นบ้านเก่าสามารถแก้ไขได้โดยการทำผนัง 2 ชั้น (ระบบผนังโครงเบา) เพื่อเพิ่มช่องว่างอากาศในผนังซึ่งจะช่วยลดความร้อนเข้าสู่ภายในห้องได้ดีขึ้น หรือติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมที่ผนังด้านที่โดนแดดจัด เพื่อการป้องกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภาพ: การทาสีผนังบ้านภายนอกด้วยสีโทนอ่อนช่วยลดการอมความร้อนได้ดีกว่าสีโทนเข้ม สถานที่: บ้านคุณวิสันต์ กรัณฑรัตน ลดความร้อนที่กระจก กระจกที่ช่องเปิดต่างๆ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ความร้อนจากแสงแดดผ่านเข้ามาได้ง่าย ทั้งทางหน้าต่าง ประตู หรือบ้านที่ออกแบบสไตล์โมเดิร์นซึ่งมักใช้กระจกแทนผนัง การเลือกใช้กระจกสองชั้น กระจกลามิเนต กระจก Low-E  หรือติดฟิล์มกันรังสี UV เพิ่มเติมบนกระจกเดิม จะช่วยลดความร้อนที่ผ่านเข้ามาได้มากพอสมควร รวมถึงการใช้ม่านกัน/กรองแสงยังช่วยป้องกันความร้อนได้อีกชั้นหนึ่ง ภาพ: ติดม่านกรองแสง สถานที่: บ้านสวนมุก หัวหิน สร้างร่มเงาให้ผนัง การติดตั้งระแนงหรือกันสาดรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมตามทิศทางแสงแดดในแต่ละด้านเพื่อช่วยกรองแสงแดดที่ส่องกระทบผนังและช่องเปิดจะช่วยลดความร้อนที่สะสมในผนังได้ โดยสำหรับบ้านที่ยังไม่ได้สร้าง ควรออกแบบให้มีชายคายื่นออกมา 1.5 – 2 เมตร จะช่วยกันแดดได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้หากมีพื้นที่โดยรอบบ้านพอสมควร ควรปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงา  โดยหากเป็นต้นไม้ใหญ่ควรปลูกให้ห่างจากตัวบ้านอย่างน้อย 2-3 เมตร เพื่อป้องกันต้นไม้บังทิศทางลม ภาพ: ติดตั้งระแนงกันสาดตามแนวทางเดินรอบบ้านเพื่อกันแดดและฝน สถานที่: บ้านคุณเกด-เจษฎ์สุภา พิพัฒนสุภรณ์ และคุณจี๊ป-ปริญญา ณรงค์ธนรัฐ  ภาพ: การติดตั้งระแนงกันแดด สถานที่: Muay House, บ้านคุณอิษฎา แก้วประเสริฐ, AREE HOUSE ภาพ: ลักษณะชายคาที่ยื่นออกมาเพื่อการป้องกันแสงแดดได้ดียิ่งขึ้น สถานที่: Coffee Hill Resort นอกจากนี้ การออกแบบทิศทางช่องเปิด และลักษณะการวางตัวบ้านหรืออาคารก็ส่งผลต่ออุณหภูมิภายในบ้านเช่นกัน โดยการออกแบบที่ดีควรหลีกเลี่ยงการทำประตู หน้าต่าง หรือช่องเปิดต่างๆ ในทิศตะวันตก โดยควรทำเป็นผนังทึบหรือจัดพื้นที่เป็นห้องเก็บของ/ห้องน้ำ เพื่อป้องกันแดดส่องเข้าบ้านโดยตรง และควรมีช่องเปิดที่ผนังทิศเหนือและทิศใต้เพื่อรับกับทิศทางลมตลอดปี ส่งผลให้บ้านหรืออาคารหลังนั้นมีการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม รวมถึงในทิศตะวันออก อาจมีระแนง หรือม่านเพื่อช่วยกรองแสงในช่วงสาย นอกจากนี้พื้นรอบบ้านยังสามารถช่วยลดอุณหภูมิลงได้โดยการปูหญ้า หรือบล็อกปูพื้น เอสซีจี รุ่น Cool Plus แทนการเทพื้นคอนกรีตที่มีค่าการอมความร้อนสูง โดยสามารถสอบถามสถาปนิกจาก SCG ได้ก่อนการตัดสินใจ ภาพ: (บน) ทำผนังทึบในทิศตะวันตกเพื่อป้องกันแสงแดด, (ล่าง) ออกแบบหลังคาเพื่อป้องกันแดดร่วมไปกับการติดม่าน และการปลูกต้นไม้ สถานที่: บ้านสวนมุก หัวหิน ขอขอบคุณภาพประกอบและข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com
เลาะกระเบื้องที่แตกร้าวออกอย่างไร ไม่ให้กระเบื้องแผ่นอื่นรอบๆ ที่ติดกันแตกไปด้วย?

เลาะกระเบื้องที่แตกร้าวออกอย่างไร ไม่ให้กระเบื้องแผ่นอื่นรอบๆ ที่ติดกันแตกไปด้วย?

การเลาะกระเบื้องแผ่นที่แตกร้าวเพื่อเปลี่ยนใหม่โดยไม่ให้แผ่นรอบๆ เกิดการแตกร้าวเสียหายต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยใช้หลักการเพิ่มพื้นที่ว่าง โดยการสกัดยาแนวรอบแผ่นกระเบื้องที่แตกออกเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ สกัดแผ่นกระเบื้องที่เกิดการชำรุดออกโดยการทุบ หรือใช้อุปกรณ์ “ลูกหมู” ค่อยๆ กรีดหรือตัดกระเบื้องแผ่นที่แตกร้าวออก ซึ่งทำให้กระเบื้องแผ่นรอบๆ มีความเสี่ยงต่อการแตกหักน้อยกว่า จากนั้นจึงติดตั้งกระเบื้องแผ่นใหม่ลงไป ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com
ทำอย่างไรเมื่อพื้นที่จอดรถทรุด

ทำอย่างไรเมื่อพื้นที่จอดรถทรุด

เรื่อง : SCG Experience Architect ปัญหากวนใจเจ้าของบ้านอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นประจำคือ การทรุดตัวของพื้นคอนกรีตบริเวณรอบบ้าน โดยหนึ่งในจุดฮอตฮิตที่มักจะเกิดขึ้นเสมอคือบริเวณพื้นที่จอดรถ  อาการเบื้องต้นจะพบว่าบริเวณขอบของพื้นที่เป็นรอยต่อระหว่างที่จอดรถกับตัวบ้านจะมีอาการร้าวทรุดตลอดแนว นอกจากนี้ หากสังเกตว่าพื้นเริ่มแยกและมีระดับที่แตกต่างกัน หรือมีอาการทรุดตัวเป็นแอ่งลงไปตรงกลางผืนที่จอดรถโดยมีรอยร้าวร่วมด้วยนั้น เจ้าของบ้านบางท่านอาจเริ่มกังวลว่าอาการทั้งหลายที่ว่ามานี้จะก่อให้เกิดอันตรายกับบ้านเราหรือไม่ รวมถึงควรแก้ปัญหาอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้ครับ บริเวณที่จอดรถหน้าบ้านทรุดตัว (ขอขอบคุณภาพจาก http://baansanruk.blogspot.com) การทรุดตัวแตกร้าวของพื้นที่จอดรถ (ขอขอบคุณภาพจาก www.ถมที่ดิน.net) การร้าวทรุดของพื้นคอนกรีตบริเวณรอบบ้านนั้นเกิดจากสาเหตุที่โครงสร้างพื้นที่ใช้ในบริเวณดังกล่าวนั้น มักเป็นโครงสร้างพื้นวางบนดิน (Slab on Ground) โดยปราศจากโครงสร้างใต้ดินหรือเสาเข็มรองรับด้านล่าง แตกต่างกับโครงสร้างบ้านที่ถูกออกแบบเป็นโครงสร้างพื้นที่วางบนคาน (Slab on Beam) ซึ่งภายใต้ตัวบ้านนั้นจะมีโครงสร้างเสาเข็มรองรับ โดยเสาเข็มที่มีประสิทธิภาพควรจะมีความยาวลึกถึงชั้นดินแข็ง เพื่อรองรับน้ำหนักของตัวบ้านและป้องกันการทรุดตัวในระยะยาวนั่นเองครับ (ในกรุงเทพและปริมณฑลความยาวเสาเข็มจะอยู่ที่ประมาณ 18-21 เมตร) นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงมักเห็นรอยแยกและการทรุดตัวของพื้นที่เป็นรอยต่อระหว่างที่จอดรถและตัวบ้านเสมอๆ ซึ่งรอยแยกที่ว่านี้ไม่เป็นอันตรายและไม่มีผลทำให้บ้านของเราพังแต่อย่างใดครับ เพียงแต่อาจสร้างความหงุดหงิดใจและทำให้การใช้งานในบริเวณนั้นเป็นไปอย่างยากลำบากสักหน่อย เว้นเสียแต่ว่าหากบ้านของเรามีการต่อเติมหลังคาที่จอดรถบนพื้นดังกล่าว อันนี้ต้องระมัดระวังนิดนึงนะครับ เพราะถ้ามีโครงสร้างหลังคาบางส่วนที่เชื่อมต่อกับตัวบ้านและอีกส่วนวางบนพื้นคอนกรีตกรณีนี้เมื่อพื้นเกิดการทรุดตัวอาจดึงรั้งให้หลังคาที่ยึดติดกับตัวบ้านเกิดการฉีกขาดเสียหายได้  เนื่องจากตั้งอยู่บนโครงสร้างคนละชนิดกันซึ่งมีอัตราการทรุดตัวต่างกัน สำหรับวิธีแก้ปัญหาเรื่องการทรุดตัวและรอยแยกบริเวณพื้นที่จอดรถนั้น เราสามารถดำเนินการได้หลายวิธีครับ กรณีมีรอยแยกรอยร้าวที่เสียหายไม่มาก ไม่ถึงขนาดจะต้องรื้อทุบพื้น  ก็สามารถแก้ไขเฉพาะในส่วนรอยแยกของพื้นเดิมได้ครับ สำหรับรอยร้าวในช่วงรอยต่อระหว่างที่จอดรถกับตัวบ้าน ให้ตัดแยกรอยต่อระหว่างพื้นโครงสร้างที่วางบนคานและพื้นโครงสร้างที่วางบนดิน จากนั้นบริเวณรอยต่อที่ทำการตัดแยกอาจใช้วิธีโรยกรวด หรือกรณีที่รอยร้าวมีไม่มากนักอาจใช้วิธีอุดรอยต่อด้วยโฟมเส้นและยาแนวด้านบนด้วยวัสดุอุดรอยต่อ อาทิ PU หรือ ซิลิโคน โฟมเส้นที่ใช้ในการอุดรอยต่อ (ขอขอบคุณภาพจาก www.demandproducts.com และ www.cpipkg.com) ภาพตัดแสดงการใช้โฟมเส้นอุดรอยต่อ ใช้กรวดโรยเพื่อความสวยงามปกปิดช่องว่างระหว่างรอยต่อของพื้น ขอขอบคุณภาพจาก www.bloggang.com) ส่วนกรณีรอยร้าวเกิดขึ้นบริเวณกลางผืนที่จอดรถโดยมีรอยแยกบริเวณขอบรอยต่อร่วมด้วยนั้น การตัดแยกโครงสร้างอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ควรทำการสกัดพื้นที่จอดรถเดิมที่มีปัญหาและทำการเทพื้นบริเวณใหม่ ซึ่งวิธีการเทพื้นใหม่นั้นควรแยกรอยต่อระหว่างโครงสร้างบ้านและพื้นที่จอดรถเช่นกัน การลงเข็มสั้นแบบปูพรมบริเวณที่จอดรถหน้าบ้าน (ขอขอบคุณภาพจาก www.thaider.com) นอกจากการเทคอนกรีตแล้ว  เจ้าของบ้านอาจเลือกใช้บล็อคปูถนนเพื่อทดแทนพื้นคอนกรีตบริเวณที่จอดรถได้ครับ วิธีนี้ทำได้สะดวกและไม่เป็นการเพิ่มภาระให้โครงสร้าง หากเกิดการทรุดตัวในอนาคตสามารถดำเนินการซ่อมแซมได้ โดยรื้อทุบพื้นคอนกรีตเดิมออก แล้วดำเนินการปรับพื้นที่ให้ได้ระดับความสูงที่ต้องการ บดอัดดินให้แน่น จากนั้นจึงลงทรายแล้วดำเนินการบดอัดให้แน่นเช่นกัน แล้วจึงติดตั้งบล็อคปูถนนตามมาตรฐานผู้ผลิต ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายสีสันทีเดียวครับ การทรุดตัวของพื้นที่วางบนดินนั้น สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติครับ เนื่องมาจากสภาพดินที่มีอัตราการทรุดตัวอยู่ในทุกๆ ปี รวมถึงระยะเวลาในการถมดินก่อนสร้างบ้านก็มีผลทำให้พื้นทรุดตัวเร็วหรือช้าได้เช่นกัน หากเราทิ้งระยะเวลาการถมเพื่อปรับระดับดินก่อนการก่อสร้างเป็นระยะเวลานานๆ ก็จะทำให้อัตราการทรุดตัวต่ำลง  แต่สิ่งสำคัญที่เจ้าของบ้านพึงระวังคือ การเชื่อมต่อกันระหว่างพื้นและโครงสร้างหลังคาเข้ากับอาคารที่มีโครงสร้างต่างชนิดกันนั้น ควรทำการแยกโครงสร้างออกจากกัน โดยสิ้นเชิง ซึ่งเมื่อเกิดการทรุดตัวก็จะเป็นการทรุดแต่เพียงในแนวระนาบเท่านั้น จะไม่มีส่วนใดที่ไปดึงรั้งให้โครงสร้างบ้านเดิมเสียหาย อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้หลังคาที่เชื่อมโครงสร้างติดกับตัวบ้านจริงๆ แนะนำให้ใช้ข้อต่อชนิดที่แกว่งตัวได้เพื่อให้โครงสร้างมีระยะในการเคลื่อนไหวโดยอิสระครับ  หากเจ้าของบ้านมีข้อสงสัยสามารถปรึกษาสถาปนิก SCG ได้ก่อนการแก้ไขปัญหา การแยกโครงสร้างหลังคาออกจากตัวอาคารเพื่อป้องกันการดึงรั้งของโครงสร้าง หากต้องการทำโครงสร้างแบบเบาโดยให้ยึดติดกับอาคารเดิม ควรทำจุดยึดปลายจันทัน (ทั้งด้านติดอาคารและบนปลายเสาด้านนอก) ให้เป็นแบบแกว่งตัวได้ ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.scgbuildingmaterials.com