Tag : ซื้อบ้าน

14 ผลลัพธ์
คิดซักนิด ก่อนเช่าคอนโด

คิดซักนิด ก่อนเช่าคอนโด

การเช่าห้องพักหรือคอนโด เป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับวัยทำงาน และวัยเรียน ที่ต้องการมีที่พัก ใกล้ที่ทำงานหรือที่เรียน เพราะหากจะซื้อบ้านหรือคอนโดอยู่ถาวรเลยนั้น ก็เป็นเรื่องที่หนักเอาการ การเช่าอยู่ จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่จะช่วยให้ความสะดวกสบายมากขึ้น   ทำเล ทำเล เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการเช่าคอนโดนั้น ต้องช่วยเพิ่มในความสะดวกสบายของการเดินทาง และแหล่งของกินที่จะช่วยในเรื่องของการดำรงชีวิต และอาศัยในแต่ละวัน เพราะถ้ามีสิ่งเหล่านี้ครบ ชีวิตเราก็จสบายขึ้นเยอะเลย และที่สำคัญคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปด้วยนะ   ที่จอดรถ หายากพอสมควรสำหรับหลายๆ ที่โดยเฉพาะคนที่มีรถนั้น ต้องดูที่พักที่มีที่จอดรถ และไม่เปลี่ยวจนเกินไป เพราะนอกจากจะอันตรายต่อทรัพย์สินของท่านแล้ว ยังช่วยให้ง่ายต่อการใช้ชีวิตมากขึ้นอีกด้วย แต่คงไม่มีปัญหาสำหรับหลายๆ คนที่ไม่ได้ใช้รถแต่ใช้การเดินทางโดยรถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นใต้ดินหรือบนฟ้าก็ตาม ซึ่งปัจจุบัน ก็มีหลายคอนโดที่อยู่ติดรถไฟฟ้า และเส้นทางคมนาคมอื่นๆ ด้วย ทำให้ง่ายต่อการเดินทาง    เพื่อนบ้านนิสัยดี สภาพแวดล้อมอีกอย่างที่อาจจะสังเกตุยากหน่อย และควรจะหมั่นสังเกตุ ฉะนั้นหากห้องข้างๆ ดูน่าไว้ใจและมีอุปนิสัยที่ดีก็ถือเป็นความโชคดีสุดๆ ของคุณเลยทีเดียว เพราะจะหมดปัญหากวนใจอย่างการส่งเสียงดังรบกวน หรือความเสี่ยงในชีวิต และทรัพย์สินต่างๆ เผลอๆ อาจจะได้เพื่อนดีๆ ที่พึ่งพาได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย   การบำรุงรักษาห้องพัก ก่อนตัดสินใจเช่าคอนโด แนะนำให้ตรวจสอบร่องรอยความเสียหาย และการบำรุงรักษาห้องพักให้ดี ว่าส่วนไหนในห้องพักมีการชำรุด และยังไม่ได้รับการซ่อมแซมบ้าง หรือจุดที่ซ่อมแซมแล้วใช้งานได้จริง หรือไม่ เพราะเจ้าของห้องที่มีการใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้ จะช่วยยืนยันได้ว่า หากเกิดปัญหาอะไรในห้องพัก คุณจะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ อีกอย่างจะได้ใช้ยืนยันเวลาทำสัญญาเช่าพักและจ่ายค่าประกันห้องด้วย เพื่อเลี่ยงปัญหาโดนหักค่าประกันห้องพักในภายหลังค่ะ   ค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับคอนโด การรู้ประวัติความเป็นมาของคอนโดนั้นๆ ก่อนตัดสินใจเข้าพักก็จำเป็นไม่น้อย ยิ่งเดี๋ยวนี้โลกออนไลน์เป็นแหล่งข่าวที่ดี ก็จะยิ่งทำให้ได้ทราบปัญหาและความเสี่ยงต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่าง ถ้าพื้นที่ไหนเกิดเหตุร้ายบ่อยๆ เช่น ปล้น ชิงทรัพย์หรือฆ่าข่มขืน คุณจะได้ไหวตัวทันว่าพื้นที่นั้นไม่ปลอดภัย เป็นต้น   ชัดเจนเรื่องค่าใช้จ่าย อย่าลังเลที่จะถามถึงบิลค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต หรือค่าโทรศัพท์จากเจ้าของห้อง ว่าได้รับการชำระหมดแล้วหรือไม่ จะได้ไม่เป็นภาระให้คุณต้องมานั่งรับผิดชอบทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นคนก่อ ให้ปวดใจเล่น รวมไปถึงส่วนกลางต่างๆ การให้บริการ   ตรวจสอบกฎระเบียบเรื่องการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง หากคุณมีเพื่อนรักเป็นสัตว์เลี้ยง การหาคอนโดเช่าก็เป็นเรื่องยากขึ้นมาอีกนิดหน่อย เพราะไม่ใช่คอนโดทุกแห่งจะอนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่พักนั้นๆ ไม่มีกฎห้ามในเรื่องสัตว์เลี้ยง แต่หากคุณไม่มีสัตว์เลี้ยงไว้ในครอบครอง ก็เบาใจกับปัญหานี้ไปได้เลย   ค่าเช่าที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าคอนโดแห่งนั้น จะตอบโจทย์ของคุณได้หมดทุกข้อ แต่ถ้าคำนวณแล้วรายรับจะไม่พอรายจ่ายเพราะค่าเช่าคอนโดที่สูงเกินไป ก็เห็นทีว่าจะไม่เวิร์คเช่นกัน ดังนั้นลองมองหาคอนโดที่ราคาเหมาะสมกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และเงินในกระเป๋าของคุณจะดีกว่า   พิจารณาสัญญาเช่าให้ละเอียด ก่อนเซ็นสัญญาเช่า อย่าลืมอ่านรายละเอียดข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาให้ถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการเข้าพัก ราคาค่าเช่า จำนวนเงินค่ามัดจำ กฎระเบียบต่างๆ ของหอพัก รวมไปถึง การดูแลรักษาห้องพักในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นด้วย เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันทั้งผู้เช่า และผู้ให้เช่า จะได้ไม่เกิดปัญหาโลกแตกในภายหลังค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการเช่าพักหรือจะเป็นการพักอาศัยแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความปลอดภัย ดังนั้น   นอกเหนือจาก 9 ข้อด้านบนแล้ว ก็ควรเลือกคอนโดในย่านที่มีคนพลุกพล่าน ไม่เปลี่ยว ไม่อยู่ในซอยลึก เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินไว้ก่อน ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.lalinproperty.com/news/think-before-loan-condo.html        
REFINANCE ที่อยู่อาศัยแล้วชีวิตดี เงินเหลือใช้ จริงหรือไม่?

REFINANCE ที่อยู่อาศัยแล้วชีวิตดี เงินเหลือใช้ จริงหรือไม่?

หลายคนที่กำลัง ‘ผ่อน’ ที่อยู่อาศัยอยู่ คงมีความรู้สึกอยากผ่อนให้หมดไวๆ ใช่ไหมคะ บ้างก็ใช้วิธีการโปะเพิ่มทุกเดือนเพื่อช่วยร่นระยะเวลาในการผ่อน แต่ความจริงแล้วมีอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราประหยัดรายจ่ายในเรื่องของดอกเบี้ย ซึ่งทำให้ผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้นคือ การ “REFINANCE” หรืออธิบายง่ายๆ คือการไปกู้เงินจากธนาคารอื่นที่จ่ายดอกเบี้ยถูกกว่ามาจ่ายคืนธนาคารเดิมที่เคยกู้นั่นเองค่ะ สำหรับข้อดีของการ REFINANCE คือตัวช่วยผ่อนบ้านให้หมดไวขึ้น โดยจ่ายค่างวดเท่าเดิมแต่จ่ายส่วนที่เป็นดอกเบี้ยน้อยลง ก็ทำให้ลดเงินต้นได้มากขึ้น หรือบางคนที่ผ่อนบ้านไปแล้วเกิดปัญหาการเงิน กรณีหมุนไม่ทัน ก็สามารถรีไฟแนนซ์เพื่อขอลดค่างวดที่ต้องจ่ายต่อเดือนลงหรือเป็นการยืดระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้น คนที่สนใจ REFINANCE ต้องเช็คสัญญากู้ก่อนนะคะว่ามีกำหนดระยะเวลาที่สามารถรีไฟแนนซ์ได้เมื่อไหร่ ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ 3 ปี แต่กรณีที่รีไฟแนนซ์ก่อนกำหนดจะเสียค่าปรับประมาณ 0-3% ของวงเงินกู้เดิม (มีระบุไว้ในสัญญากู้) แนะนำว่ารอให้หมดช่วงก่อนดีกว่าค่ะ เพราะถ้าดอกเบี้ยไม่ได้แพงมากจนเกินไป ส่วนใหญ่รีไฟแนนซ์ก่อนกำหนดมักจะไม่คุ้ม และการรีไฟแนนซ์ทุกครั้งจะมีค่าใช้จ่ายแฝงในอยู่ด้วย ไม่ใช่แค่การคำนวณเพื่อปรับลดดอกเบี้ยเท่านั้น ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์มีอะไรบ้าง เรามาดูไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะ... 1. ค่าธรรมเนียมการจำนอง กรณีที่รีไฟแนนซ์ธนาคารใหม่จะคิด 1% ของวงเงินกู้ใหม่ เพื่อจ่ายให้กรมที่ดิน 2. ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน การ REFINANCE ทั่วไปจะอยู่ที่ 0.25-2% ของราคาประเมินจากกรมที่ดิน หรือคิดเป็นจำนวน 1,500 - 10,000 บาท ขึ้นอยู่กับธนาคาร แต่กรณีที่รีไฟแนนซ์ธนาคารเดิมไม่ต้องจ่ายนะคะ ซึ่งจะเรียกว่าการรีเทนชั่น 3. ค่าธรรมเนียมการปล่อยกู้ จะคิดประมาณ 0-3% ของวงเงินกู้ใหม่ (ซึ่งบางธนาคารก็ไม่คิดค่าธรรมเนียมนี้ สอบถามก่อนก็ดีค่ะ) 4. ค่าอากรแสตมป์ สำหรับค่าอาการแสตมป์นั้นจะคิดเท่ากันทุกธนาคาร คือ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ค่ะ 5. ค่าประกันอัคคีภัย ในการ REFINANCE ไม่ว่าจะกู้ธนาคารใหม่หรือธนาคารเดิม จะต้องเสียค่าประกันอัคคีภัยซึ่งแต่ละธนาคารจะมีอัตราค่าประกันต่างกัน เมื่อรู้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ก็นำมาเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารใหม่กับธนาคารเก่า โดยคิดเฉลี่ย 3 ปี เพราะการรีไฟแนนซ์จะกำหนดให้ทำได้หลัง 3 ปี แต่ต้องระวังเวลาเปรียบเทียบดอกเบี้ยที่เป็น MLR MRR ของแต่ละธนาคารไม่เท่ากัน ตัวอย่างเพื่อทำความเข้าใจอย่าละเอียด สมมุติว่ากู้ธนาคารเดิม 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี คือ 4.75% ต่อปี ผ่อนเดือนละ 13,000 บาท ผ่อนไปโปะไปแล้ว 3 ปี มียอดหนี้เหลือ 1,500,000 บาท (เปรียบเทียบดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์มาแล้วทุกธนาคาร) แต่เอาที่ถูกที่สุด คือ ดอกเบี้ยปีแรก 2.5% ปีถัดไป MRR-2% สมมติ MRR ธนาคารที่เราเลือกคือ 7% วิธีคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีธนาคารใหม่ คือ {(2.5% x 1 ปี) + [(7%-2%) x 2 ปี } / 3 ปี = 4.17% ต่อปี ดูแล้วน่าจะถูกกว่า แต่อย่าลืมคิดค่าธรรมเนียมต่างๆ ด้วยนะคะ อาทิ ค่าธรรมเนียมการจำนอง 1% x 1,500,000 บาท = 15,000 บาท ค่าประเมินราคาสินทรัพย์ สมมติธนาคารคิด 3,000 บาท ค่าธรรมเนียมปล่อยกู้ สมมติให้ไม่มี ค่าอากรแสตมป์ 0.05% x 1,500,000 บาท = 750 บาท ส่วนค่าประกันอัคคีภัย เราไม่ได้เอาไปคิดนะคะ เพราะถึงเราไม่รีไฟแนนซ์ก็ต้องจ่ายค่าประกันนี้ทุก 3 ปีอยู่แล้ว ยกเว้นประกันกับธนาคารเดิมไม่ใช่ 3 ปี หรือธนาคารมีค่าบริการอื่นนอกจากนี้ จะเอาค่าใช้จ่ายนั้นมาคิดรวมด้วย พอรวมค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ทั้งหมด จะได้เท่ากับ 18,750 บาท จากนั้นก็ลองไปคำนวณเปรียบเทียบดอกเบี้ย 3 ปีของทั้ง 2 ธนาคารดู ถ้ากู้ต่อธนาคารเดิมอัตราดอกเบี้ย 4.75% เมื่อครบ 3 ปี จะจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมดประมาณ 192,450 บาท ยอดหนี้คงเหลือ คือ 1,224,440 บาท ถ้าเปลี่ยนไปกู้ที่ธนาคารใหม่ อัตราดอกเบี้ย 4.17% เมื่อครบ 3 ปี จะจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมดประมาณ 167,435 บาท เมื่อรวมกับค่าธรรมเนียม 18,750 บาท รวมเป็น 186,185 บาท ยอดหนี้คงเหลือ คือ 1,199,430 บาท                  จากตัวอย่างด้านบนเห็นได้ชัดเลยค่ะว่ากรณีรีไฟแนนซ์ทำให้เราประหยัดดอกเบี้ยได้เยอะกว่า และลดเงินต้นได้เยอะขึ้นด้วย แต่ในการคำนวณเราต้องคำนึงแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตด้วยนะคะ เพราะ MRR หรือ MLR เป็นตัวเลขที่อาจมีการปรับขึ้นลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ถ้าเราคิดว่าในอนาคตอีก 2-3 ปี อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นมากๆ และอัตราดอกเบี้ยที่เรากำลังจ่ายอยู่ขึ้นกับ MRR/MLR การรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนดและเสียค่าปรับ ก็อาจจะคุ้มค่ามากกว่าค่ะ :)  
ข้อคำนึงถึงความปลอดภัยของที่อยู่อาศัย

ข้อคำนึงถึงความปลอดภัยของที่อยู่อาศัย

เมื่อที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ดังนั้นการคิดเลือกซื้อคอนโดมิเนียมหรือบ้านสักหลังก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งเลยใช่ไหมคะ? ครั้นจะเลือกซื้อเพราะถูกใจในทำเล แนวคิดโครงการ ขนาดพื้นที่ใช้สอย หรือชื่อเสียงจากผลงานที่ผ่านมาของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังอย่างเดียวก็คงจะไม่พอ อีกหนึ่งข้อสำคัญที่พวกเราทีมงาน Review Your Living อยากให้คุณผู้อ่านพิจารณาให้ดีในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยนั่นก็คือ ‘ความปลอดภัย’ ทั้งในด้านของชีวิตและทรัพย์สินค่ะ เพราะถ้าลำดับเหตุการณ์จากข่าวโจรกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศจะเห็นได้ว่ามีบ้านในโครงการหรือแม้กระทั่งคอนโดมิเนียมส่วนหนึ่งที่ดูเหมือนปลอดภัยดี แต่ก็ยังไม่วายที่จะโดนยกเค้า! วันนี้เราจึงรวบรวม 3 ข้อมูลโดยเน้นในเรื่องความปลอดภัยของที่อยู่อาศัยมาฝากค่ะ เพื่อให้ทุกคนได้คำนึงและนำไปตรวจสอบก่อนตัดสินใจซื้อพร้อมย้ายเข้าอยู่อย่างสบายใจ บทความโดย Review Your Living 1. ความปลอดภัยในการวางแผนออกแบบโครงการ ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักของการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเลยล่ะค่ะ เพราะการออกแบบถนนและจัดวางตำแหน่งอาคารให้มีความเป็นอยู่ปลอดภัย การจัดแบ่งโซนนิ่งหรือการสัญจรในโครงการ รวมไปจนถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ดี การจัดระบบรักษาความปลอดภัยและระเบียบการบริหารของหมู่บ้าน/คอนโดฯ  ก็ล้วนแต่มีความสำคัญที่จะทำให้ที่อยู่อาศัยสบายและปลอดภัยมากขึ้น 2. ระบบป้องกันภัยของโครงการ เป็นอีกเรื่องที่ถือว่ามีความสำคัญต่อความสุขและความสบายใจของครอบครัวไม่ใช่น้อยจริงๆ ค่ะ สำหรับระบบป้องกันภัยของโครงการ ฉะนั้นการเลือกระบบป้องกันภัยที่เราสามารถตรวจสอบได้หลักๆ เลยก็คือ ความสูงของรั้วโครงการควรสูงเกิน 3 เมตรขึ้นไป ระบบควบคุมการเข้าออกโครงการควรมีพนักงานรักษาความปลอดภัย ควมคุมการเข้าออกยานพาหนะด้วยระบบอิเล็คโทรนิกส์ เซ็นเตอร์ คอนโทรล แทนการติกสติ๊กเกอร์หน้ากระจก มีระบบประตูทางเข้า 2 ชั้น กล้องวงจรปิด CCTV ที่คอยบันทึกเทปตลอด 24 ชั่วโมง การควบคุมด้วยระบบ Key Card ทั้งการเข้าออกและการใช้ลิฟต์ การออกแบบโครงการให้ดูโปร่งโล่ง ง่ายต่อการมองเห็นหรือตรวจสอบลาดตระเวน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจราจร 3. การจัดการและออกกฎระเบียบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูง อย่างที่ทราบกันดีแหละค่ะว่าทุกๆ โครงการบ้านหรือคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่นั้นจะมีนิติบุคคลคอยดูแลทั้งในเรื่องของพื้นที่ส่วนกลางและระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าจะให้มั่นใจก็ควรตรวจสอบถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้รอบคอบกันสักนิดนะคะ อาทิ บุคคลภายนอกที่จะเข้ามาในโครงการนั้นต้องแลกบัตรทุกครั้ง หรือถ้าเป็นคอนโดฯ ก็ควรมีบริเวณพื้นที่ล็อบบี้รองรับไม่ให้เข้าไปสู่ด้านบนได้ทันที การตรวจสอบช่วงเวลาลาดตระเวนของรปภ. ที่ควรมีทุกชั่วโมง และการจัดยามรักษาการณ์ประจำบริเวณแยกแต่ละโซนนอกเหนือจากจุดผ่านเข้าออกโครงการ เป็นต้น ข้อมูลข้างต้นที่เรานำมาฝากนั้นก็เป็นเพียงตัวช่วยหนึ่งในการคำนึงถึงความปลอดภัยของที่อยู่อาศัย แต่ถ้าคุณผู้อ่านกำลังตัดสินใจจะเลือกซื้อบ้านหรือคอนโดฯ พวกเราทีมงาน Review Your Living แนะนำให้ลองศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียของด้านอื่นๆ ด้วยนะคะ จะได้มีที่อยู่อาศัยที่ใช่และตรงใจที่สุดนั่นเอง เป็นยังไงกันบ้างค่ะกับบทความดีๆ ที่เราเอามาฝาก ยังมีบทความน่ารู้อีกมากมายให้ได้ติดตามกันได้ที่นะคะ https://goo.gl/dwpzgr  
บ้านสั่งสร้าง VS บ้านโครงการ อันไหนดีกว่ากัน?

บ้านสั่งสร้าง VS บ้านโครงการ อันไหนดีกว่ากัน?

ความสุขสำหรับใครหลายๆ คนคือการได้เจอและอยู่ในสถานที่ให้ความรู้สึกว่าเป็นที่ของเราใช่ไหมคะ เช่นเดียวกับการเลือกบ้านสักหลังหนึ่งที่ใครต่างให้คำนิยามว่าเป็น ‘พื้นที่ส่วนตัว’ หากคุณผู้อ่านกำลังมีแพลนจะซื้อบ้านใหม่ แต่ยังคงลังเลใจว่าควรซื้อบ้านโครงการที่สร้างไว้แล้วพร้อมเข้าอยู่ หรือบ้านสั่งสร้างโดยมองหาบริษัทออกแบบรับเหมาก่อสร้างดีนะ? วันนี้ทีมงาน Review Your Living เลยได้รวบรวมระหว่างข้อดีกับข้อเสียของบ้านสั่งสร้างและบ้านโครงการมาฝากค่ะ ซึ่งเรียกว่าเป็นตัวช่วยสำคัญ แก่การตัดสินใจเลือกบ้านแสนรักของคุณนั่นเอง เรียบเรียงโดย Review Your Living ข้อดีของบ้านสั่งสร้าง 1. เลือกบริษัทออกแบบบ้านได้ตามต้องการและสามารถควบคุมงบประมาณได้ ข้อนี้ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของบ้านสั่งสร้างเลยล่ะคะ เพราะคุณจะสามารถกำหนดงบประมาณเองได้ โดยเอาแบบแปลนบ้านที่ใช่ให้บริษัทออกแบบรับเหมาก่อสร้างประเมิน ซึ่งถ้าหากผู้รับเหมาตีราคาสูงเกินงบไป ก็สามารถต่อรองหรือปรับเปลี่ยนแก้แบบ หรือเลือกใช้วัสดุในงบประมาณที่พอดีได้ค่ะ 2. เลือกแบบบ้านและปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นการใช้งานได้ตามใจ ขึ้นชื่อว่า ‘บ้าน’ ทุกคนก็คงอยากเลือกทุกสิ่งทุกอย่างเองใช่ไหมคะ? การสั่งสร้างก็เป็นทางเลือกหนึ่งของการเนรมิตทุกสิ่งให้ออกมาอย่างใจ เพราะเราสามารถเลือกแบบบ้านในสไตล์ที่ใช่ ทั้งยังสามารถเลือกวัสดุและสีที่ชอบ รวมไปจนถึงการปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นทุกอย่างในบ้านให้ออกมาตามดั่งความต้องการ 3. มีระยะเวลาผ่อนนาน การสั่งสร้างนั้นมีระยะเวลาผ่อนนานกว่าบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว ซึ่งสามารถผ่อนชำระเป็นงวดๆ ทำให้ทุกคนมีโอกาสเป็นเจ้าของบ้านกันง่ายขึ้น   ข้อเสียของบ้านสั่งสร้าง 1. ไม่สามารถเข้าอยู่ได้ทันที อย่างที่ทราบกันดีว่าบ้านสั่งสร้างต้องใช้เวลาในการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งก็จะดำเนินไปตามขั้นตอนและระยะเวลาในการจ้างที่ตกลงกับผู้รับเหมา ดังนั้นใครที่คิดเลือกบ้านสั่งสร้างก็ต้องใจเย็นๆ นะจ๊ะ 2. ปัญหาการทิ้งงานหรือล่าช้า คงปฏิเสธไม่ได้เลยค่ะว่าปัญหาทิ้งงานหรืองานล่าช้านั้นเกิดขึ้นเยอะมากในวงการสร้างบ้าน ดังนั้นถ้าคุณเลือกบ้านสั่งสร้างก็ควรทำการบ้านหาข้อมูลดีๆ อาทิ ผลงานที่ผ่านมา ชื่อเสียงและการตอบรับจากลูกค้า รายละเอียดสัญญา รวมไปจนถึงข้อตกลงของบริษัทนั้นๆ เป็นต้น 3. สภาพแวดล้อมไม่เหมือนบ้านโครงการ แน่นอนค่ะว่าการสั่งสร้างบ้านนั้น สภาพแวดล้อมก็คงไม่ได้สวยงามและแวดล้อมไปด้วยสาธารณูปโภคเหมือนดั่งบ้านตามโครงการทั่วไป ดังนั้นหากคุณจะกำลังมองหาที่ดินสักแปลงหนึ่งไว้สำหรับปลูกบ้าน ก็ควรเลือกทำเลที่ใช่เพื่อง่ายต่อการเดินทางสักหน่อยแล้วกันค่ะ   ข้อดีบ้านโครงการ 1. เลือกทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง ข้อดีข้อนี้ให้คะแนน 10/10 ไปเลยค่ะ เพราะเนื่องจากทุกวันนี้ไม่ว่าจะจังหวัดไหนรถก็ติดเหลือเกิน การเผื่อเวลาในการเดินทางเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก แต่จะดีแค่ไหนถ้าบ้านเราอยู่ในทำเลที่ง่ายต่อการเดินทางเหมือนดั่งบ้านโครงการทั่วไปที่มักอยู่ใกล้จุดขึ้นลงทางด่วน รวมไปจนถึง BTS,MRT แค่นี้ก็เดินทางสบายแล้วค่ะ 2. ความสะดวกสบายระบบน้ำ/ไฟ รวมถึงสาธารณูปโภคและความปลอดภัย แน่นอนล่ะคะว่าบ้านโครงการส่วนใหญ่จะเดินสายไฟ ต่อท่อน้ำทุกอย่างให้เสร็จสรรพโดยที่คุณไม่ต้องเสียเงินจ้างช่างเฉพาะเพิ่ม ทั้งยังมีพื้นที่ส่วนกลางอย่าง สระว่ายน้ำ สวนสวย ฟิตเนต รองรับลูกบ้านอีกต่างหาก ที่สำคัญคือปลอดภัยไม่ต้องกลัวขโมยค่ะเพราะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง 3. ขอสินเชื่อง่าย บ้านโครงการส่วนใหญ่มักได้รับความร่วมมือและเชื่อถือจากหลายสถาบันการเงิน ดังนั้นการเลือกซื้อบ้านโครงการจึงมีแนวโน้มที่จะยื่นกู้และอนุมัติได้ง่ายค่ะ   ข้อเสียบ้านโครงการ 1. ไม่สามารถควบคุมเรื่องคุณภาพวัสดุ แน่นอนค่ะว่าบ้านโครงการส่วนใหญ่มักดำเนินการสร้างไว้พร้อมอยู่แล้วและรอเพียงการตัดสินใจซื้อของคุณเท่านั้น ดังนั้นคุณภาพของวัสดุจึงต้องเป็นไปตามการเลือกใช้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ซึ่งบางทีอาจไม่ตรงตามความต้องการของคุณ ข้อแนะนำคือศึกษาข้อมูลให้ดีและพิจารณาจากการสำรวจบ้านตัวอย่างที่สร้างเสร็จแล้วค่ะ 2. ไม่สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นการใช้งานได้รวมถึงแบบบ้านมีให้เลือกน้อย เพราะแบบบ้านแต่ละโครงการมักถูกออกแบบและคิดฟังก์ชั่นการใช้งานมาแล้ว การปรับเปลี่ยนจึงเป็นเรื่องยาก ข้อแนะนำก็คือควรเลือกแบบบ้านและขนาดที่ลงตัวที่สุดเพื่อความสุขในทุกๆ วันนะคะ 3. มีข้อจำกัดในเรื่องของการต่อเติม การต่อเติมบ้านโครงการมักมีข้อจำกัดเยอะ เนื่องจากต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่ เพื่อนบ้าน การขนย้ายวัสดุก่อสร้าง ตลอดจนการแก้ปัญหาน้ำรั่วและรอยต่อของอาคาร และการขออนุญาตก่อสร้างด้วย ดังนั้นควรต้องศึกษาข้อมูลให้ดีรวมไปจนถึงขอคำปรึกษาจากวิศวกรก่อนก็จะช่วยทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นค่ะ เป็นยังไงกันบ้างค่ะกับบทความดีๆ ที่เราเอามาฝาก ยังมีบทความน่ารู้อีกมากมายให้ได้ติดตามกันได้ที่นะคะ https://goo.gl/dwpzgr
ข้อควรรู้ก่อนตรวจรับบ้าน ด้วยตัวเอง

ข้อควรรู้ก่อนตรวจรับบ้าน ด้วยตัวเอง

เมื่อตัดสินใจซื้อบ้านสักหลังหนึ่งนอกจากถูกใจในเรื่องทำเลศักยภาพ สภาพแวดล้อม สาธารณูปโภคที่ครบครัน แปลนบ้านหรือคอนเซ็ปต์ต่างๆ ที่ตรงไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยแล้วนั้น อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญก่อนตัดสินใจโอนคือ ‘การตรวจรับ’ เช็คความเรียบร้อยอย่างละเอียดทั้งหมดให้มั่นใจทั้งภายในและภายนอก ตั้งแต่ระบบโครงสร้างไปจนถึงงานสีว่าเป็นไปตามแบบหรือข้อตกลงโครงการนั้นๆ หรือไม่ แต่จะต้องตรวจสอบยังไง ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง สำหรับใครที่กำลังจะซื้อบ้านและไม่อยากเสียเงินจ้างวิศวกรเข้ามาช่วยนั้น ไม่ควรพลาดวิธีตรวจรับบ้านด้วยตัวเองที่ทีมงาน Review Your Living นำมาฝากในวันนี้ค่ะ บทความโดย Review Your Living 1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม สำหรับการตรวจรับบ้านอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก็คือ สมุดจดและปากกาสำหรับจดรายการที่ต้องแก้ไข ไฟฉายเพื่อส่องในจุดที่แสงน้อย กล้องถ่ายรูปบันทึกหลักฐานในจุดที่ต้องแก้ไข ขนมปังเลี้ยงปลาเพื่อทดสอบการกดสุขภัณฑ์ และลูกปิงปองสำหรับเช็คระดับพื้นลาดเอียง 2. เช็คระบบโครงสร้างให้ดี บ้านที่สวยงามและแข็งแรงนั้นต้องมาจากระบบโครงสร้างที่ดี ดังนั้นควรเช็ครอยร้าวบริเวณผนัง พื้น คาน เสา ให้ดี รวมถึงความลาดเอียงของพื้นว่ามีน้ำขังหรือไม่ ซึ่งบ้านที่แข็งแรงต้องไม่มีรอยร้าวหรือโพรง นอกจากนี้ควรตรวจพื้นผิวที่ฉาบแล้วด้วยว่าเรียบเนียนดีไหม มีสีที่ทาหลุดลอกบ้างหรือเปล่า ในส่วนของฝ้าเพดานนั้นสังเกตได้จากความเรียบร้อยในการเข้ามุม และร่องรอยน้ำหยดที่บ่งบอกถึงปัญหารั่วซึม 3. ประตู หน้าต่าง อย่าละเลย! อย่าคิดว่าบ้านที่ตรวจสอบว่าโครงสร้างแข็งแรงแล้วนั้น ระบบช่องเปิดอย่างบานประตู หน้าต่างจะเรียบร้อยเสมอไป ดังนั้นจึงจำเป็นเช็คอย่างรอบคอบนะคะว่าทางโครงการได้ติดตั้งอุปกรณ์อยู่แนวระดับที่ถูกต้อง สามารถเปิด-ปิดสนิทได้ปกติหรือเปล่า ควรทดสอบการใช้งานกลอนทุกตัวว่าใช้งานได้ไหม รวมถึงดูความเรียบร้อยการยาแนวและรอยรั่วบริเวณขอบประตูและหน้าต่างทุกบานด้วยค่ะ   4. วัสดุก็เป็นเรื่องสำคัญ แน่นอนค่ะว่าการใช้วัสดุที่สวยงามก็ช่วยทำให้บ้านสมบูรณ์ขึ้น แต่วัสดุที่ทางโครงการเลือกใช้นั้นไม่ว่าจะคุณภาพสูงแค่ไหนเราก็ควรตรวจสอบให้ดีนะคะ  อย่างพื้นกระเบื้องนั้นต้องเดินแล้วไม่สะดุด พื้นลามิเนตเดินแล้วต้องไม่มีเสียงดัง ส่วนการเช็คว่าช่างปูพื้นได้ระดับหรือไม่ แนะนำให้ใช้ลูกปิงปองวางดู ถ้าไม่กลิ้งก็แสดงว่าได้ระดับค่ะ   5. ห้ามพลาดเรื่องระบบน้ำและไฟฟ้า หากตรวจสอบทุกข้อที่กล่าวมาตามข้างต้นครบแล้วนั้น ห้ามลืมเช็คระบบไฟฟ้านะคะ แนะนำให้ลองเปิดปิดสวิทซ์ไฟหลายๆ ครั้ง รวมถึงนำสายชาร์ตโทรศัพท์ที่พกมาเสียบดูทุกเต้าว่าใช้งานได้ปกติหรือไม่ ส่วนระบบน้ำนั้นควรตรวจเช็คจากการเปิดก๊อกและฝักบัวทุกตัวว่าน้ำไหลดีไหม เช็คระบบน้ำล้นโดยการทดลองขังน้ำไว้ในอ่างล้างหน้า อ่างล้างจานในครัว เพื่อดูว่าช่องน้ำล้นทำงานหรือเปล่า และจึงปล่อยออกเพื่อดูว่าน้ำสามารถไหลได้สะดวก ที่สำคัญอย่าลืมกดชักโครกโดยใช้ขนมปังแทนมูลเพื่อทดสอบว่าสามารถใช้งานได้ดีไม่มีอุดตัน 6. อย่าลืม...ภายนอกตัวบ้าน มาถึงข้อสุดท้ายแล้วค่ะ การตรวจรับบ้านนั้นไม่ใช่แค่เช็คเฉพาะภายในอย่างเดียวนะคะ แต่ภายนอกนั้นเราก็ควรตรวจสอบด้วย เริ่มจากสภาพบริเวณรอบๆ ตรวจระดับแนวดิ่งและฉาก ความลาดเอียงของท่อระบายน้ำ ท่อประปา ท่อน้ำทิ้ง ท่อน้ำดี ว่ามีระยะลาดเอียงอย่างไร สามารถระบายน้ำได้ดีหรือไม่ เป็นต้น เป็นยังไงกันบ้างค่ะกับบทความดีๆ ที่เราเอามาฝาก ยังมีบทความน่ารู้อีกมากมายให้ได้ติดตามกันได้ที่นะคะ https://goo.gl/dwpzgr
จะกู้บ้านทั้งที ต้องทำประกันด้วยหรือ?

จะกู้บ้านทั้งที ต้องทำประกันด้วยหรือ?

เมื่อความฝันในการมีบ้านหลังแรกหรือคอนโดมิเนียมในปัจจุบันนั้นไม่ใช่เรื่องยากอยู่ไกลเกินเอื้อมสักเท่าไหร่  เพราะเพียงแค่คุณวางเงินจองหรือดาวน์ตามสัญญาข้อกำหนดของโครงการที่ถูกใจ จากนั้นก็ดำเนินตามขั้นตอนคือยื่นกู้ธนาคาร รอผลอนุมัติ เพียงเท่านี้ความฝันของคุณก็เป็นจริงขึ้นมาแล้วแล้วค่ะ แต่การทำเรื่องขอเงินกู้เพื่อซื้อบ้านกับธนาคารนั้นส่วนใหญ่มักจะมีเรื่องของข้อเสนอขายกรมธรรม์พ่วงเข้ามาเกี่ยวข้องให้เราทำด้วย เพื่อได้อัตราดอกเบี้ยในการกู้สินเชื่อที่ถูกกว่าการไม่ทำประกัน บางคนอาจจะสงสัยว่าเราต้องทำด้วยไหม? ทำไปแล้วได้อะไร? วันนี้ทีมงาน Review Your Living จึงได้รวบรวมข้อมูลคลายข้อสงสัยมาฝากค่ะ เรียบเรียงโดย Review Your Living   สำหรับประกันสินเชื่อบ้านนั้นมีอยู่ 3 ประเภท คือ   1. ประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ เป็นประกันชีวิตที่คุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้านที่เราได้รับอนุมัติจากธนาคารนั่นเองค่ะ ซึ่งจะมีระยะเวลาคุ้มครองให้คุณเลือกตั้งแต่ 5 – 30 ปี อัตราค่าเบี้ยประกันนั้นก็ขึ้นอยู่กับวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ ส่วนวิธีการชำระค่าดอกเบี้ยก็มักจะรวมอยู่ในวงเงินสินเชื่อแล้วค่ะ สังเกตได้ว่าทุกๆ ธนาคารมักจะใช้อัตราดอกเบี้ยมาเป็นสิ่งจูงใจเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกโปรแกรมสินเชื่อที่มีประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้านด้วย โดยทางเลือกนี้อัตราดอกเบี้ยจะถูกกว่าสินเชื่อธรรมดาประมาณ 0.5% ค่ะ   ทั้งนี้ประโยชน์ของประกันชนิดนี้ก็น่าสนใจไม่ใช่น้อยนะคะ ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่คุณกำลังผ่อนบ้านอยู่กับธนาคารและเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเสียชีวิตหรือทุพลภาพถาวรตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ บริษัทจะเป็นผู้จ่ายเงินกู้ที่เหลืออยู่ทั้งหมดกับธนาคารให้ หากคำนวณแล้วทุนประกันสูงกว่าจำนวนหนี้ที่เหลืออยู่นั้นครอบครัวก็มีสิทธิ์ได้ส่วนต่างคืน รวมถึงไม่ต้องกังวลว่าจะถูกยึดบ้านอีกด้วย และสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้นะคะ   2. ประกันอัคคีภัย เป็นประกันคุ้มครองบ้านระยะเวลาสั้นๆ แต่ต้องทำเป็นประจำทุกปีหรือ 2-3 ปีตามข้อตกลง กรณีที่เกิดอัคคีภัยซึ่งจะคุ้มครองเฉพาะตัวบ้านไม่รวมที่ดินนะคะ  หากเกิดอัคคีภัยขึ้นบ้านที่ไม่มีภาระหนี้ผลประโยชน์ก็จะเป็นของเจ้าของบ้านโดยตรง แต่ถ้าตัวบ้านติดจำนองกับธนาคาร ผู้รับประโยชน์คือธนาคารซึ่งจะหักไปกับหนี้ที่เหลืออยู่ ทำให้เจ้าของบ้านมีหนี้น้อยลงหรือหมดไปแล้วแต่กรณีข้อตกลง โดยประกันชนิดนี้จะคลอบคลุมความเสียหายของบ้านจาหเหตุการณ์อาทิ ไฟไหม้ ฟ้าผ้า แก๊สจากการทำแสงสว่าง แต่ไม่รวมการระเบิดดนื่องจากแผ่นดินไหว เป็นต้น   pinterest 3. ประกันภัยพิบัติ ประกันที่คุ้มครองบ้านจากภัยธรรมชาติต่างๆ อาทิ น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุเข้า เป็นต้น ซึ่งจะมีเงื่อนไขตามข้อกำหนดของแต่ละธนาคารและเสียเบี้ยประกัน 0.5% ของราคาบ้านต่อปี โดยที่รัฐบาลไม่ได้บังคับ จะทำหรือไม่ทำก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณเองค่ะ แต่ประกันชนิดนี้จะไม่คลอบคลุมบ้านในพื้นที่ที่ถูกกำหนดว่าเป็นพื้นที่รองรับน้ำ กักเก็บน้ำ ทางผ่านน้ำนะคะ ดังนั้นถ้าจะซื้อบ้านอยู่ตรงไหนก็ควรศึกษาพื้นที่ให้ดีก่อนแล้วกันนะจ๊ะ     "สรุป" การทำประกันทุกๆ ชนิดที่มาพร้อมกับวงเงินกู้ซื้อบ้านนั้น ส่วนใหญ่ต่างก็มีข้อเสนอที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะ? เพราะฉะนั้นถ้าใครกำลังจะตกลงปลงใจซื้อบ้านและยื่นกู้ธนาคาร ทีมงาน Review Your Living ก็อยากให้คุณศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจ ข้อแนะนำง่ายๆ คือลองปรึกษาเจ้าหน้าที่สินเชื่อขอคำอธิบายเงื่อนไขต่างๆ ให้เข้าใจทุกรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนก่อน เพื่อลดความเสี่ยงและความสบายใจของครอบครัวคุณเอง       ขอขอบคุณภาพจาก www.toonpool.com/cartoons/Fire_7295            
4 เคล็ดลับ ควรเลือกธนาคารยังไงในการกู้ซื้อบ้าน

4 เคล็ดลับ ควรเลือกธนาคารยังไงในการกู้ซื้อบ้าน

เมื่อตัดสินใจที่จะมีบ้านใหม่อาจเป็นเพราะเริ่มมีครอบครัวใหม่ ข้าวใหม่ปลามัน หรือต้องการเปลี่ยนบ้านใหม่ เพราะบ้านเราเล็กไปบ้างเก่าไปบ้างหรือเป็นเพราะย้ายที่อยู่ใหม่ก็ต้องการบ้านใหม่หรือมีบ้านอยู่แล้วต้องการขยายปรับปรุงบ้านใหม่เหล่านี้แน่นอนว่าผู้ซื้อหรือผู้สร้างบ้านย่อมศึกษาทำเล ประเภทบ้าน ราคา สิ่งแวดล้อมที่ต้องการให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ตัวเอง สิ่งที่ต้องเตรียมตัวคือเตรียมเงินได้ออมไว้ส่วนหนึ่งสำหรับเป็นเงินมัดจำ เงินดาวน์ เงินส่วนเพิ่มสำหรับการสร้างบ้านที่ไม่ให้ “บาน” มิฉะนั้นก็ต้อง “บ้า” ไปเลย ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นส่วนใหญ่ก็ต้องไปขอกู้กับสถาบันการเงินต่างๆ   จะกู้ที่ใหนดี สถาบันการเงินที่ให้กู้มีหลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีหลายแห่ง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน นอกจากนั้นยังมีสหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทอสังหาริมทรัพย์ การเคหะแห่งชาติ หรือบริษัทนายจ้างของตนเอง เป็นต้น แต่การที่เลือกสถาบันการเงินที่ให้กู้เพื่อซื้อบ้านก็ควรต้องศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เหมาะกับความต้องการของผู้กู้ แต่ที่ไม่แนะนำก็คือกู้กับอาบังหรือใช้บัตรเครดิตรูดปรี๊ด เพราะดอกเบี้ยก็จะให้ก้นบานเป็นแน่   เงื่อนไขสินเชื่อที่เหมาะกับตัวเอง ในการเลือกสถาบันการเงินสำหรับเงินกู้สินเชื่อบ้านประเด็นที่สำคัญคือสถาบันแห่งนั้นเป็นสถาบันที่ให้กู้เป็นอาชีพหรือไม่ หรือเป็นเพียงเฉพาะกิจ เพราะการกู้ซื้อบ้านต้องใช้เวลาในการผ่อนชำระที่ยาวนาน 25-30 ปี และในการผ่อนชำระนั้นไม่ควรมีการสะดุดใดๆ หรือถูกเรียกคืนเงิน ระหว่างผ่อนชำระสถาบันการเงินที่ให้บริการเป็นอาชีพจะให้เงินกู้ผ่อนชำระคืนระยะยาว   ดอกเบี้ยต่ำดูอย่างไร ถ้าต้องการดอกเบี้ยต่ำและไม่ต้องการให้มีภาระกับการผ่อนมาก ก็ควรจะเลือกอัตราดอกเบี้ยคงที่กับสถาบันที่ให้กู้อัตราดอกเบี้ยคงที่นานๆ เช่น 5 ปี เพราะในระหว่างนั้นจะไม่มีการปรับอัตราผ่อนและหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยที่คิดเป็นเท่าไร ส่วนใหญ่จะอิงกับ MLR ลูกค้ารายย่อยชั้นดี ซึ่งอย่างหลังจะมีอัตราสูงกว่าเล็กน้อย การอิงกับอัตราดังกล่าวจะต้องดูว่าบวกหรือลบเท่าไรจากอัตราอ้างอิง ถ้าคำนวณแล้วสูงกว่าอีกสถาบันหนึ่งก็เป็นข้อพิจารณาเลือกใช้บริการ   กู้ได้มากน้อยดูตรงใหน การคำนวณวงเงินให้กู้ สถาบันการเงินจะมีการประเมินราคาบ้านโดยบริษัทประเมินราคาซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารพาณิชย์จะมีบริษัทในเครือเป็นผู้ประเมิน ซึ่งการประเมินราคาหลักประกันถ้าเป็นโครงการที่ส้รางโดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำจำอิงกับราคาซื้อขายบ้านเป็นหลัก ดังนั้นวงเงินให้กู้ตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ถ้าเป็นบ้านแนวราบคือบ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์สูงสุดไม่เกิน 95% ของราคาประเมิน และเป็นบ้านแนวดิ่งหมายถึงคอนโดฯ สูงสุดไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน ฉะนั้นถ้าผู้กู้มีเงินออมมากหน่อยก็ไม่ต้องกังวลเรื่องวงเงินกู้มากเท่ากับผู้มีเงินออมจำกัดที่จำต้องเลือกสถาบันที่ให้วงเงินกูมากกว่า   ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.home.co.th
เก็บเงินซื้อบ้านทั้งที ต้องเก็บส่วนไหน เก็บอย่างไรบ้าง?

เก็บเงินซื้อบ้านทั้งที ต้องเก็บส่วนไหน เก็บอย่างไรบ้าง?

เชื่อการมีบ้านซักหลังคือความฝันของใครหลาย ๆ คน แม้ว่าการเก็บเงินซื้อบ้านในฝันอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถหากมีความตั้งใจ และหากผู้อ่านก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ฝันอยากจะมีบ้านซักหลัง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นเก็บเงินอย่างไร วันนี้เรามีเทคนิคมาฝากค่ะ สิ่งที่ต้องทำเมื่อคิดจะเก็บเงินซื้อบ้าน 1.ตั้งเป้าหมาย หากคุณตัดสินใจที่จะมีบ้านเป็นของตัวเอง สิ่งแรกที่ควรทำคือ การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น ต้องรู้ว่าตัวเองต้องการจะมีบ้านแบบไหน เป็นบ้านเดี่ยว บ้านสองชั้น ทาวน์เฮ้าส์ ห้องแถว หรือคอนโด ต้องการอาศัยอยู่ในพื้นที่ไหนมีทำเลแบบใด (ชานเมือง หรือ ใจกลางเมือง) รวมถึงราคาที่คุณต้องการด้วย 2.ประมวลความสามารถของตัวเอง การประมวลความสามารถ คือ การประมวลว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่เท่าไหร่ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นตัวบอกได้ดีว่า คุณมีความสามารถมากพอที่จะรับภาระการเก็บเงินดาวน์บ้าน หรือผ่อนชำระค่างวดบ้านหรือไม่ การประมวลรายรับและรายจ่ายของตัวเอง จะทำให้รู้ตัวเองว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้เล็กหรือใหญ่เกินไปนั่นเองค่ะ 3.ลดรายจ่าย การลดรายจ่ายสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่มีวินัยในการออมและใช้เงินอย่างมีสติ ยิ่งมีความฝันว่าอยากจะมีบ้านเป็นของตัวเองแล้วล่ะก็ การลดรายจ่ายจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากเลยทีเดียว เพราะเมื่อรู้ว่าสิ่งไหนสมควรจ่าย สิ่งไหนเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย จะช่วยลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้ และการลดรายจ่ายจะทำให้มีเงินออมเพิ่มมากขึ้น 4.ปลดหนี้ให้หมดก่อนตัดสินใจกู้ซื้อบ้าน เนื่องจากบ้านหนึ่งหลังมีราคาที่ค่อนข้างสูง และเป็นสินค้าที่ใช้ระยะเวลาในการผ่อนชำระนานกว่าสินค้ารูปแบบอื่น ๆ ดังนั้นหากคิดวางแผนจะซื้อบ้าน แนะนำให้เคลียร์หนี้สินที่ค้างอยู่ให้หมดเสียก่อน เพราะหากต้องผ่อนหนี้อื่นไปพร้อม ๆ กับการผ่อนชำระค่างวดบ้าน จะเป็นภาระที่หนักเกินไป เทคนิคการเก็บเงินซื้อบ้าน 1.เก็บเงินเท่า ๆ กันทุกเดือน แม้ว่าในปัจจุบันธนาคารหลายแห่งจะเปิดโอกาสให้สามารถขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านกันได้ง่ายมากขึ้น เพียงแค่มีสลิปเงินเดือน ก็สามารถยื่นเอกสารขอกู้เงินเพื่อซื้อบ้านได้แล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น อยากให้ลองคิดถึงดอกเบี้ยที่จะตามมาให้เยอะ ๆ เพราะการที่ทำเรื่องกู้ซื้อบ้านจากธนาคาร 100% แม้จะทำให้ได้บ้านในฝันสมใจ แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ ภาะระเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนตั้งตัวแทบไม่ทัน จึงเป็นเหตุผลที่แนะนำให้เก็บเงินให้ได้ซักก้อนก่อนจะตัดสินใจดาวน์บ้าน เพราะยิ่งเก็บเงินดาวน์บ้านได้จำนวนมากเท่าไหร่ เงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องผ่อนกับธนาคารก็จะลดน้อยลงด้วย ซึ่งการทำแบบนี้จะส่งผลดีในระยะยาว และหากตั้งเป้าหมายว่าจะซื้อบ้านซักหลัง แนะนำให้เริ่มต้นเก็บเงิน โดยหักจากรายได้ประจำซัก 15-20% และนำเงินจำนวนนี้ฝากบัญชีสำหรับซื้อบ้านไว้ ในจุดนี้จะต้องมีวินัยทางการเงินเป็นอย่างมาก ห้ามเบิกเงินจากบัญชีสำหรับซื้อบ้านออกมาใช้โดยเด็ดขาด ท่องไว้ว่า “เพื่อบ้านในฝัน” 2.หาช่องทางการลงทุน การเก็บเงินใส่บัญชีเงินฝากของธนาคารไว้ แม้จะเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่ก็ได้ผลตอบแทนน้อยเพราะกว่าจะเก็บเงินได้ถึงจำนวนที่ต้องการ ราคาบ้านก็อาจจะสูงขึ้นไปจากเดิม ดังนั้นช่องทางการลงทุนจึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ซึ่งช่องทางการลงทุนที่อยากแนะนำ คือช่องทางการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ให้ผลตอบแทนสูง อย่างการลงทุนในกองทุน LTF/RMF การลงทุนพันธบัตรรัฐบาล ซื้อกองทุนรวม เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าลืมว่า ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุนกับกองทุนอะไร ควรศึกษาข้อมูลการลงทุนต่าง ๆ ให้ดีเสียก่อน เพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ 3.หาอาชีพเสริม หากอยากมีเงินก้อนไปดาวน์บ้านในฝันเร็ว ๆ แต่ไม่อยากเสี่ยงลงทุน การทำงานพิเศษเสริมเพิ่มรายได้ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี  เมื่อคุณมีอาชีพเสริมก็หมายความว่า รายได้ต่อเดือนจะเพิ่มมากขึ้น และความสามารถในการเก็บเงินก็เพิ่มตามไปด้วย นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เมื่อตัดสินใจที่จะซื้อบ้าน นอกจากจะเคลียร์หนี้สินก่อนหน้าให้หมด ระหว่างที่ผ่อนชำระบ้านก็ไม่ควรก่อหนี้เพิ่ม เพราะจะทำให้ภาระในการชำระหนี้มีสูงเกินกว่าที่จะรับผิดชอบไหวนั่นเอง   ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.banidea.com/
5 ความเสี่ยงจากการซื้อบ้านและคอนโด

5 ความเสี่ยงจากการซื้อบ้านและคอนโด

การจะซื้อบ้านหรือคอนโดแต่ละครั้ง เราก็รู้กันดีอยู่แล้วว่าต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อย และก็ใช่ว่าบ้านหรือคอนโดที่เราซื้อมาแล้วนั้นจะได้คุณภาพดีเสมอไป ดังนั้นก่อนจะซื้อบ้านหรือคอนโด เราจึงควรต้องมีการวางแผนให้ดี และเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ให้ดีด้วยครับ 1. สินค้าด้อยคุณภาพ ปัญหานี้ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่เรามักพบเจอกันได้มากที่สุด โดยสาเหตุนั้นมาจากการที่โครงการใช้สินค้าไม่มีคุณภาพหรือใช้วัสดุเกรดต่ำกว่าที่โฆษณาไว้ จึงทำให้เกิดปัญหาบ้านทรุด , กำแพงร้าว , น้ำรั่ว , ท่อตัน ตามมา 2. ส่งมอบล่าช้า ปัญหานี้มักเกิดกับคอนโดเป็นส่วนใหญ่ ด้วยสาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิดการส่งมอบล่าช้า คือ โครงการไม่ผ่านEIA , โครงการยังขายไม่ถึงเป้า ซึ่งปัญหาการส่งมอบล่าช้านั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าโครงการช้าเกินกว่ากำหนดแน่นอน ผู้ซื้อสามารถยกเลิกสัญญาได้ทันที และเรียกเงินคืนทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันกับที่โครงการเรียกเก็บเราเมื่อมีการจ่ายเงินดาวน์ช้า หรือถ้าไม่ยกเลิกสัญญาก็มีสิทธิ์เรียกค่าปรับเป็นรายวันได้ร้อยละ 0.1% ของราคาห้องชุด แต่รวมแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 โดยที่ในความเป็นจริงแล้วเมื่อคอนโดมีการส่งมอบล่าช้ากว่ากำหนด ส่วนใหญ่จะชดเชยเป็นโปรโมชั่นในวันโอนแทน 3. ของจริงไม่เหมือนโฆษณา ปัญหานี้มักพบบ่อย เพราะตอนไปดูบ้านหรือห้องตัวอย่าง มีสวยงามตกแต่งเป็นอย่างดี แต่พอได้ของจริง กลับไม่มีคุณภาพ ปัญหาที่มักพบได้แก่ งานไม่เรียบร้อย ไม่สมราคา และไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้เราจะไม่รับโอนก็ได้ เพราะถือว่าสินค้นผิดจากในสัญญา 4. การบริการแย่ ปัญหานี้มักเกิดจากการบริการหลังการขาย เพราะเมื่อผู้ซื้อจ่ายเงินครบ และมีการโอนรับบ้านหรือห้องเมื่อไร ผู้ซื้อจะหมดความสำคัญทันที เพราะหลังจากมีการโอนรับบ้านหรือห้องแล้ว เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจะตามมาแก้ไข มาเก็บงานก็เป็นได้ยากแล้ว แต่ปัญหานี้เหล่านี้เราสามารถแก้ไขได้โดยการต้องยอมจ้างบริษัทตรวจรับบ้านคอนโดมาตรวจงานให้ละเอียดเรียบร้อยก่อนมีการโอนรับบ้านคอนโด 5. ยื้อเวลา ปัดความรับผิดชอบ ถึงแม้ว่าปัญหานี้จะมีกฏหมายรองรับไว้แล้ว แต่ผู้ซื้อก็มักเสียเปรียบอยู่ดี เพราะเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว การจะเรียกร้องเอาเงินคืน ก็เป็นไปได้ค่อนข้างยากแล้ว ดังนั้นก่อนทำสัญญา ต้องมีการตกลงกันให้ดีก่อน ว่าถ้ากู้ไม่ผ่านยินดีคืนเงินอย่างไร และต้องทำเป็นหนังสือแนบท้ายสัญญาไว้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่เงื่อนไข และวิธีการชำระเงินคืน ทุกปัญหาถือว่ามีความเสี่ยงทั้งนั้น ดังนั้นก่อนจะซื้อบ้านหรือคอนโด เราจึงต้องมีการตรวจสอบให้ดีครับ ขอขอบคุณข้อมูลจาก home.co.th
สถานะการสมรสมีผลต่อการกู้อย่างไร?

สถานะการสมรสมีผลต่อการกู้อย่างไร?

ในการพิจารณาตัวผู้กู้จากการให้ยืมของสถาบันการเงินนั้น สถาบันการเงินจะให้ความสำคัญในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้และความตั้งใจในการชำระหนี้ของตัวผู้กู้มากที่สุด แต่ในที่นี้ เราจะกล่าวถึงสถานภาพการสมรสต่อการกู้ เหตุผลที่สถาบันการเงินต้องทราบสถานภาพการแต่งงานนั้น ก็เพื่อพิจารณาความตั้งใจในการชำระหนี้ เพราะการแต่งงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มั่นใจในตัวผู้กู้ในการปักหลักปักฐานได้ และมีผลต่อความตั้งใจในการชำระหนี้ได้เป็นอย่างดี ผู้กู้จะถูกพิจารณาจากสถานภาพสมรสในแต่ละสถานะแตกต่างกันไป โดยถ้ามีข้อด้อยในจุดใดก็ตาม ให้แสดงข้อเด่นของผู้กู้ที่จะออกมาสร้างความมั่นใจทดแทนกันได้ 1. โสด สถานะนี้แม้จะยังไม่มีภาระด้านครอบครัว และการตัดสินใจยังขาดความระมัดระวัง แต่สามารถแสดงว่ามีหน้าที่การงานและมีอายุการทำงานที่มั่นคง 2. สมรส สถานะนี้จะมีความรับผิดชอบต่อครอบครัวสูง และถ้าหากมีบุตร ก็ยิ่งมีภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน แต่แสดงให้ทราบถึงรายได้ที่ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายของครอบครัว 3. หย่า สถานะนี้จะแสดงถึงความล้มเหลวในการใช้ชีวิตคู่ ซึ่งอาจเกิดจากการขาดความรับผิดชอบ และผู้ที่หย่าแล้วมีบุตรจะมีความรับผิดชอบสูงยิ่งขึ้นอีกด้วย แต่สามารถแสดงปัจจัยความมั่นคงในหน้าที่ของการงานและรายได้ 4. หม้าย สถานะนี้จะแสดงให้เห็นว่ารายได้รวมของครอบครัวลดลง และยิ่งถ้ามีบุตรก็มีความรับผิดชอบสูงขึ้นด้วย  แต่สามารถแสดงรายได้ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของครอบครัวได้     ขอขอบคุณข้อมูลจาก  home.co.th
ข้อดีของการซื้อคอนโด ซื้อบ้าน หลุดดาวน์

ข้อดีของการซื้อคอนโด ซื้อบ้าน หลุดดาวน์

เศรษฐกิจไม่ดีเป็นปัญหาใหญ่ทำให้ผู้ที่กำลังผ่อนดาวน์บ้านหรือคอนโด เริ่มไมไหวกับภาระ ทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายและการผ่อนที่อยู่อาศัย และอาจรวมถึงคนที่ได้ยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารแต่กู้ไม่ผ่าน จนเป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ “บ้าน คอนโด หลุดดาวน์” ที่เริ่มมีให้เห็นทั้งในรายงานยอดขายของบางบริษัทที่จู่ๆ ยอดขายก็ลดฮวบไปดื้อๆ สอดคล้องกับแคมเปญการตลาดที่เริ่มเห็นโปรฯ แรงๆ ของสินค้าหลุดดาวน์มากขึ้น แต่ในวิกฤติของคนกลุ่มหนึ่งก็เป็นโอกาสของคนอีกกลุ่มที่จะได้ซื้อของถูกชนิดไม่ทันตั้งตัว กู้ไม่ผ่านคือปัญหาและสาเหตุ ช่วง 1-2 ปีมานี้คนดาวน์บ้าน ดาวน์คอนโด มีปัญหากู้ไม่ผ่านกันมาก ตัวเลขจากบางโครงการพบว่าสัดส่วนลูกค้าที่กู้ไม่ผ่านสูงถึง 20-30% โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านและคอนโดระดับราคาปานกลางถึงล่างเปอร์เซ็นต์จะยิ่งมาก และเมื่อเทียบระหว่างโครงการบ้านและโครงการคอนโด ก็จะพบว่าลูกค้าที่กู้ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นคอนโดมากกว่าบ้าน สาเหตุส่วนหนึ่งเกี่ยวเนื่องจากระยะเวลาในการผ่อนดาวน์ เพราะโครงการคอนโด จะมีระยะผ่อนดาวน์นานกว่าบ้าน ซึ่งทั่วไปถ้าเป็นคอนโด โลว์ไรส์ก็ต้องผ่อนอย่างน้อย 15-20 เดือน ในขณะที่ถ้าเป็นไฮไรส์อย่างตํ่าก็ต้อง 2 ปี ในระหว่างที่กำลังผ่อนดาวน์อาจเกิดปัญหาด้านการเงินทำให้ต้องตัดสินใจทิ้งดาวน์ หรือบางครั้งอาจเป็นการกระทำที่ไม่ตั้งใจหรือพลาด เช่น ไปสร้างหนี้เพิ่ม จนทำให้มีปัญหาในเวลาที่ต้องยื่นกู้ทั้งๆ ที่ตอนจองซื้อไม่มีปัญหาการ Pre-approved เรื่องนี้สำคัญ เพราะธนาคารเองก็เตือนอยู่เสมอว่าในระหว่างผ่อนดาวน์กรุณาอย่าไปสร้างหนี้เพิ่ม หรือไปทำอะไรที่มีผลเสียต่อเครดิต และเฉพาะอย่างยิ่งตอนใกล้ยื่นกู้ยิ่งต้องระวังให้มาก เพราะการกระทำหลายๆ อย่างสามารถตีความได้ว่าเรากำลังมีปัญหาทางการเงินได้ ส่วนกรณีการผ่อนบ้านไม่ค่อยเป็นปัญหา เพราะส่วนใหญ่เดี่ยวนี้เป็นบ้านที่สร้างเกือบเสร็จเกือบทั้งหมด ระยะผ่อนดาวน์มีน้อย วิธีนี้บังคับให้คนซื้อต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี โดยหลายๆ โครงการถึงขนาดจองปุ๊บให้เตรียมเรื่องยื่นกู้ได้เลย ถ้าเตรียมตัวมาดีก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่พร้อมก็จบเหมือนกัน บ้านหลุดดาวน์ “ส้มหล่น” คนซื้อมือรอง แต่ละบริษัทมีวิธีการจัดการกับปัญหาลูกค้ากู้ไม่ผ่าน หรือสินค้าหลุดดาวน์แตกต่างกันไป ทางเลือกของคนซื้อจึงไม่เท่ากัน บางบริษัทมีโครงการอยู่ในมือหลายโครงการ หลายทำเล อาจมีทางเลือกให้กับลูกค้าได้มากกว่า เช่น เปลี่ยนแปลงที่ดิน เปลี่ยนทำเล เพื่อไปเอาหลังที่ถูกกว่า เพื่อจะได้มีโอกาสในการกู้ผ่านมากกว่า แต่ถ้ามีอยู่โครงการเดียวจะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ นอกจากนี้เงื่อนไขของสัญญาของผู้ประกอบการก็แตกต่างกัน เช่น บางบริษัทยอมคืนเงินดาวน์โดยไม่มีเงื่อนไข แต่บางบริษัทถ้ากู้ไม่ผ่านก็หมายถึงคนซื้อสูญเงินดาวน์ทั้งหมด เรื่องนี้ก็สำคัญที่คนซื้อจะต้องศึกษาให้ดีก่อนซื้อหรือทำสัญญา อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะโดยวิธีใด เมื่อมีบ้านหลุดดาวน์ยังไงเจ้าของโครงการก็ต้องนำบ้านหลังนั้นออกมาขายใหม่ ซึ่งจะขายโดยกลยุทธ์การตลาดแบบไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่แล้วมักนำมาขาย “ลดราคา” เพื่อจะได้จบโครงการไวๆ ซึ่งหากเป็นโครงการที่ยึดเงินดาวน์มาจากคนซื้อมือแรกบริษัทก็จะมีช่องทางทำการตลาดได้มาก เพราะมีเงินดาวน์ที่ได้มาฟรีๆ ตุนไว้แล้ว 5-10% ของราคาบ้าน ซึ่งนี่ก็เป็นโอกาสที่เกิดขึ้นกับคนซื้อมือถัดไป ฉะนั้นในวิฤกติของคนบางกลุ่มยอมเป็นโอกาสของคนอีกกลุ่ม โดยเฉพาะกับคนที่มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  นิตยสาร Home Buyer's Guide เดือนมิถุนายน 2559
6 วิธีแก้เมื่อกู้ไม่ผ่าน (แต่ใกล้เวลาโอน)

6 วิธีแก้เมื่อกู้ไม่ผ่าน (แต่ใกล้เวลาโอน)

สำหรับคนที่กู้ซื้อบ้านหรือกู้ซื้อคอนโด เมื่อยื่นกู้ไปแล้วกลับพบปัญหาว่ากู้ไม่ผ่าน มิหนำซ้ำทางโครงการยังเร่งให้โอนอีกด้วย ปัญหาการกู้ไม่ผ่านเหล่านี้มีทางออกครับ มาดูกันว่า 6 วิธีแก้ปัญหาเมื่อกู้ไม่ผ่าน ในเวลาที่โครงการเร่งโอนมีอะไรบ้าง 1. กู้ธนาคารอื่น ถ้าผู้กู้ไปยื่นกู้แล้วผ่านแต่ได้ไม่เต็มวงเงิน การแก้ปัญหาด้วยวิธีไปยื่นกู้กับธนาคารอื่นแทน เป็นทางแก้ที่ดี แต่ถ้าติดแบล็คลิสต์ไปธนาคารไหนก็ได้คำตอบเหมือนกัน คือกู้ไม่ผ่าน 2. เลื่อนเวลารับโอน เพราะถ้า Defect เยอะๆหน่อยก็สามารถยื้อเวลาได้ เต็มที่ก็ราวๆ 3 เดือน 3. บอกความจริง ให้ไปพูดคุยกับทางโครงการโดยตรงว่าขอเวลาสักหน่อย เช่น กำลังพ้นช่วงทดลองงาน จะได้เงินก้อน อย่างน้อยก็พอมีโอกาสรอด 4. ขายดาวน์ ถ้ารู้ตัวแล้วว่ายังไงก็ไม่ไหว ให้ประกาศขายดาวน์ทันที อาจจะต้องยอมขายถูกหน่อยหรือลดราคา เพื่อสามารถขายได้เร็วขึ้น 5. หาคนร่วมกู้ ถ้ากู้คนเดียวไม่ไหว รายได้ไม่ถึง ต้องหาคนมากู้ร่วม แต่ต้องเช็คเครดิตเหมือนผู้กู้หลัก 6. ลดงบในการซื้อ ถ้าราคาที่ซื้อสูงเกินไป ยังไงก็กู้ไม่ผ่าน อาจจะลดงบลงหน่อย เลือกห้องเล็กลง ก็จะทำให้กู้ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย ขอขอบคุณข้อมูลจาก  home.co.th
การเลือกซื้อที่ดิน การซื้อบ้านใหม่ให้ไกลจากน้ำ(ท่วม)ควรดูอะไรบ้าง?

การเลือกซื้อที่ดิน การซื้อบ้านใหม่ให้ไกลจากน้ำ(ท่วม)ควรดูอะไรบ้าง?

ตั้งแต่ช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เวลาจะซื้อบ้านต้องไตร่ตรองและคิดให้รอบคอบมากขึ้นและอาจจะมีคําถามหลายๆประการตามมาว่า ควรจะซื้อบ้านหรือปลูกบ้านตรงไหน ที่ไหน แถวไหน ย่านไหน ควรต้องดูเรื่องอะไรบ้าง ถึงจะปลอดภัยจากน้ำท่วมจริงๆ เผื่อว่าเราอาจจะต้องเจอกับมวลน้ำแบบนี้อีกครั้งหรือหลายครั้งในอนาคต คำตอบง่ายๆ ในเมื่อเราเป็นห่วงว่า “น้ำ” จะท่วมบ้านเราอีกไหม เราก็ต้องพิจารณาปัจจัยและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับ “น้ำ” เป็นหลัก บางคนอาจถามต่อไปว่า แล้วเราจะดู “น้ำ” กันอย่างไร จะไปดูตามท่อระบายน้ำ ตามคู คลองหรือแม่น้ำต่างๆ จะพอไหม จะรู้ไหมว่าน้ำท่วมหรือไม่อย่างไร หรือควรหาข้อมูลอะไร ที่ไหนประกอบหรือไม่อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ คนไทยเราคงจะมีความรู้เพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ “น้ำ” ที่สื่อมวลชน นักวิชาการและรัฐบาลนําเสนอผ่านสื่อออกมาทุกวัน ในอดีตเวลาที่เราจะเลือกซื้อหาบ้านจัดสรร หรือเลือกซื้อที่ดินปลูกบ้านใหม่คงเลือกจากการที่มีเอกสารจัดสรร และโฉนดที่ดินว่ามีหรือไม่ ด้านทําเลที่ตั้งใกล้กับแหล่งอำนวยความสะดวกมากน้อยแค่ไหน ไปจนถึงจากรูปแบบบ้าน ราคา และชื่อเสียงของบริษัท เป็นต้น แต่หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้แล้ว “ผู้ซื้อ” หรือ “ผู้บริโภค” ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ “น้ำ”เพิ่มเติมก่อนที่จะตัดสินใจเลือกแหล่งที่อยู่อาศัย ข้อควรพิจารณามีดังนี้ 1. โซนผังเมือง : โซนสีต่างๆ ที่ปรากฎในผังเมืองเป็นตัวบ่งชี้ว่า เมืองนั้นๆ กําหนดแนวทางการใช้พื้นที่ดินแต่ละเขตเป็นอย่างไร มีการใช้งานในลักษณะใดบ้าง เช่น พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย หรือพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น จากกรณีน้ำท่วมครั้งนี้ เราจึงเห็นได้ว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เช่น เขตหนองจอก มีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กําหนดเป็นโซนสีเขียวและเขียวทแยง ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม และพื้นที่ชนบทอนุรักษ์และเกษตรกรรม จึงได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นจํานวนมากเนื่องจากอยู่ในเส้นทางการระบายน้ำและรัฐมิได้กําหนดให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย 2. แนวคันกั้นน้ำ : ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีการวางตําแหน่งคันกั้นน้ำ เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวพระราชดําริไว้ ตั้งแต่เหนือจรดใต้และครอบคลุมทั้งสองฝั่งตะวันออกและตะวันตก โดยแนวคันกั้นน้ำจะมีความสูงต่ำแตกต่างกันและมีลักษณะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ที่สัมพันธ์กับตําแหน่งคู คลองธรรมชาติ เพื่อป้องกันน้ำจากทางตอนเหนือเข้าท่วมบริเวณพื้นที่กรุงเทพชั้นกลางและชั้นใน ดังนั้นการเลือกซื้อบ้านหรือที่ดินที่อยู่ภายในแนวคันกั้นน้ำก็จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วมได้ระดับหนึ่ง 3. ตําแหน่งคู คลอง แหล่งน้ำธรรมชาติ : จากประสบการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ เราคงเห็นได้ชัดเจนว่า เส้นทางการเคลื่อนที่หลักๆ ของน้ำจะเอ่อล้นมาจากเส้นทางน้ำธรรมชาติคือ คู คลองต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วเมืองและจากท่อระบายน้ำต่างๆตามถนนหนทางหน้าบ้านของเรา และการมาของน้ำทั้งสองทางนี้จะป้องกันได้ยากที่สุด ดังนั้นบ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำคู คลองที่มีทัศนียภาพสวยงามก็จะมีความเสี่ยงจากน้ำมากเช่นกัน 4. ความสูงต่ำของที่ดิน/ที่ตั้ง (Topography) : ถ้าใครเคยเห็นแผนที่ในการวิเคราะห์ระดับน้ำท่วมกรุงเทพฯคราวนี้ จะพบว่าแต่ละพื้นที่จะมีการคาดการณ์ระดับน้ำท่วมที่สูงต่ำต่างกัน นั่นเป็นเพราะแต่ละพื้นที่มีระดับความสูงของแผ่นดินที่ต่างกันทําให้ระดับน้ำมีความลึกต่างกัน ถ้าเปรียบเทียบให้ง่ายขึ้นก็เหมือนกับสระว่ายน้ำเมื่อมองที่ผิวน้ำจะพบว่า มีผิวน้ำมีความเรียบเสมอกันแต่ก้นบ่อของสระว่ายน้ำมีระดับที่ไม่เท่ากันทําให้สระว่ายน้ำมีทั้งส่วนลึกและส่วนตื้น ดังนั้น หากเลือกที่ดินสําหรับปลูกบ้าน ในพื้นที่ที่มีระดับสูงกว่าจะมีความเสี่ยงจาก น้ำน้อยกว่า สําหรับข้อมูลส่วนนี้สามารถแสดงให้เข้าใจง่ายด้วยภาพตัดขวางแสดงระดับถนนภายนอกโครงการเข้าสู่ถนนซอยภายในจนถึงระดับความสูงของที่ดินแต่ละแปลง และระดับพื้นชั้นล่างของบ้านแต่ละหลัง 5. เส้นทางน้ำไหล : เมื่อฝนตกลงบนผิวดิน น้ำส่วนหนึ่งจะซึมลงไปในดินและอีกส่วนหนึ่งจะเป็นอยู่บนผิวดิน ส่วนที่เป็นน้ำบนผิวดินจะไหลลงสู่ที่ต่ำและไหลลงไปสู่แม่น้ำลําคลอง ฉะนั้นการเลือกตําแหน่งในการปลูกสร้างบ้านเรือนต้องไม่ขวางทางที่น้ำไหลผ่าน เพราะแรงของน้ำนั้นมหาศาลมากขนาดทําให้ถนนขาดได้ และไม่ว่าจะปลูกบ้านด้วยโครงสร้างแบบใด หากปลูกอยู่บนเส้นทางที่น้ำไหลผ่านก็คงยากที่จะทานแรงมหาศาลของมวลน้ำไหว ดังนั้น ก่อนจะสร้างบ้านหรือซื้อที่ดินต้องลองสังเกตว่าเมื่อฝนตกลงมาแล้ว เส้นทางการไหลของน้ำฝนได้ผ่านแนวที่ดินของเราหรือไม่ หากน้ำไหลผ่านให้ควรหลีกเลี่ยง 6. มาตรการป้องกันน้ำท่วม : ข้อมูลนี้เป็นประเด็นสําคัญที่ลูกค้าควรสอบถาม เพื่อความมั่นใจในยุคหลังน้ำท่วมครั้งนี้ว่า แต่ละโครงการได้มีการเตรียมการหรือมีแผนรองรับเหตุน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ในเรื่องของตัวบ้านและตัวโครงการไว้อย่างไรบ้าง อาทิ การจัดเตรียมพื้นที่หน่วงน้ำ การจัดทําเขื่อนหรือคันกั้นน้ำในโครงการ รูปแบบการระบายน้ำในโครงการไปจนถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อการอพยพหนีน้ำ ในกรณีวิกฤต ซึ่งแนวทางเหล่านี้จะมีระดับมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงกับระดับน้ำท่วมว่ามากเพียงใด จากประเด็นพิจารณาเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของเราในฐานะผู้ซื้อบ้านหรือที่ดินใหม่ในอนาคต ควรศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ เพราะประเด็นเหล่านี้จะบอกถึงความเสี่ยงในเรื่องของน้ำที่อาจจะต้องพบเจอในปีต่อๆ ไปได้ว่า บ้านเรือนของเรามีโอกาสน้ำท่วมหรือไม่ท่วม หรือท่วมมากแค่ไหน เพื่อรับมือได้อย่างถูกต้องรวมทั้งยังเป็นหน้าที่ของบริษัทบ้านจัดสรรและเจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่จะต้องนําเสนอข้อมูลเหล่านี้ต่อลูกค้าเป็น ”A Must Information” ด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายในลักษณะ Infographic ที่เราคุ้นๆ กันในช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา เพื่อแสดงความจริงใจต่อลูกค้าและอาจใช้เป็นแรงจูงใจทางการตลาด ได้อีกทางหนึ่งด้วย   ที่มา รัชด ชมภูนิช คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรฯ /ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) home.co.th
เรื่องต้องรู้ก่อนกู้ร่วมซื้อบ้าน

เรื่องต้องรู้ก่อนกู้ร่วมซื้อบ้าน

“กู้ร่วมซื้อบ้าน เป็นทางออกหนึ่งของผู้ที่กู้คนเดียวอาจผ่านยาก หรือต้องการวงเงินกู้บ้านที่สูงขึ้น” “อยากมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังหนึ่ง” เชื่อว่าเป็นความฝันที่ทุกคนมีเหมือนๆ กัน ซึ่งปัจจุบันเราสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องรอเก็บเป็นเงินก้อนใหญ่ก็สามารถกู้เงินซื้อบ้านได้ โดยผู้ที่มีฐานรายได้สูงอาจทำเรื่องกู้บ้านเพียงคนเดียวก็ผ่าน แต่ผู้ที่มีรายได้ไม่สูงนัก หรือมีภาระค่าใช้จ่ายด้านอื่นมากทำให้มีความสามารถในการผ่อนชำระค่าบ้านลดลง หากยังต้องการซื้อบ้าน เพื่อให้สามารถกู้ผ่าน ก็จะต้องหาผู้กู้ร่วม ทั้งนี้ การกู้ร่วมนั้นมีประเด็นสำคัญๆ ที่ควรคำนึงถึง 3 เรื่องด้วยกัน ผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน ... เป็นใครได้บ้าง แม้ว่าการกู้ร่วมจะเป็นทางออกที่ช่วยให้การกู้เงินซื้อบ้านง่ายขึ้น และได้วงเงินกู้เพิ่มขึ้น แต่ใช่ว่าจะเลือกใครมาเป็นผู้กู้ร่วมก็ได้ หรือกู้ร่วมกี่คนก็ได้ เนื่องจากธนาคารจะมีเงื่อนไขของการกู้ร่วมไว้ โดยทั่วไปกำหนดว่าผู้กู้ร่วม ต้องมีสายโลหิตเดียวกัน หรือมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เช่น - ผู้ที่มีนามสกุลเดียวกัน อาจเป็นสามีภรรยา พี่น้อง พ่อ/แม่กับลูก รวมทั้งเป็นญาติกันโดยมีนามสกุลเดียวกัน - พี่น้องท้องเดียวกันแต่คนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมกันได้ เพียงแต่แสดงทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรระบุว่าพ่อแม่เดียวกัน - กรณีสมรสไม่จดทะเบียนก็แสดงหลักฐาน เช่น ภาพถ่ายงานแต่ง การ์ดแต่ง หรือการมีบุตรร่วมกัน แต่กรณีผู้ที่เป็นแฟนกันเฉยๆ โดยทั่วไปมักจะกู้ร่วมไม่ได้ นอกจากนี้ ธนาคารอาจกำหนดจำนวนผู้กู้ร่วมไว้ เช่น กู้ร่วมได้ไม่เกิน 2 คน เป็นต้น สำหรับการอนุมัติสินเชื่อบ้านของการกู้ร่วม จะพิจารณารายได้ของทุกคน หักภาระค่าใช้จ่ายของทุกคนแล้วดูว่ามีความสามารถที่จะผ่อนได้ต่อเดือนเท่าไรแล้วพิจารณาวงเงินสินเชื่อกู้บ้าน กรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ ... เป็นของคนเดียว หรือ หลายคน แน่นอนว่ากรณีของการกู้เดี่ยว เมื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้านหมดแล้ว กรรมสิทธ์ในบ้านหลังนั้นจะเป็นของผู้กู้ สำหรับกรณีของการกู้ร่วมนั้น โดยทั่วไป การกู้ร่วมซื้อบ้านทำได้ 2 แบบ แบบแรกคือ การใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่เวลากู้ยืมใช้หลายคนมากู้ร่วม และแบบที่สอง การกู้ร่วมโดยใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ในทางปฏิบัติ ส่วนใหญ่แล้วผู้กู้จะเลือกแบบที่สอง เพราะผู้กู้ทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหรืออสังหาฯ นั้นร่วมกัน แต่การถือกรรมสิทธิ์ร่วม มีเรื่องที่ต้องคำนึงคือ หากต้องการขายบ้านหรืออสังหาฯ นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยินยอมจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมทุกคน หรือแม้กระทั่ง ต้องการยกกรรมสิทธิ์ในบ้านหรืออสังหาฯ ให้เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่อยู่ในชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมนั้น กรมที่ดินจะถือว่า มีการซื้อขายบ้านหรืออสังหาฯ เกิดขึ้น ทำให้มีค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รวมถึงค่าอากรแสตมป์หรือภาษีธุรกิจเฉพาะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากดอกเบี้ยจ่าย ... ลดหย่อนอย่างไร ดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้บ้านสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปีภาษี ดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้บ้านสามารถดูได้จากหนังสือรับรองดอกเบี้ยจ่ายที่สถาบันการเงินจะส่งมาให้ผู้กู้ตอนต้นปี กรณีของการกู้เดี่ยว การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้านดังกล่าวจะเป็นของผู้กู้เพียงผู้เดียว จ่ายดอกเบี้ยทั้งปีเท่าไร ก็ลดหย่อนได้เท่านั้น แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เช่น ดอกเบี้ยจ่ายทั้งปี 80,000 บาท ก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 80,000 บาท แต่หากดอกเบี้ยจ่ายทั้งปีอยู่ที่ 120,000 บาท ก็ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เพียง 100,000 บาท สำหรับกรณีของการกู้ร่วม ให้หารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ กรณีกู้ร่วมสองคนก็คือหารครึ่งนั่นเอง สมมติจ่ายดอกเบี้ยทั้งปี 80,000 บาท สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละ 40,000 บาท จะแบ่งเองว่าฝ่ายหนึ่งมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ ทั้งนี้ มีข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้สิทธิลดหย่อนดอกเบี้ยสำหรับการกู้ร่วมคือ สมมติว่ากู้ร่วมกันสองคน ปรากฏว่าทั้งปีจ่ายดอกเบี้ยไป 140,000 บาท ไม่ใช่ว่า จะสามารถหารครึ่งแล้วใช้สิทธิลดหย่อนภาษีคนละ 70,000 บาท เนื่องจากสัญญาเงินกู้บ้านนั้นจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เพียง 100,000 บาท นั่นคือ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุดคนละ 50,000 บาท อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้จะสังเกตได้ว่าแต่ละฝ่ายยังใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยไม่เต็มสิทธิ 100,000 บาท ดังนั้น หากมีดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาฯ อื่น เช่น อาจกู้ไว้เองหรือกู้ร่วมกับคนอื่น ก็ยังสามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้เพิ่มเติมสูงสุด 50,000 บาท กรณีที่ต้องการซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัย แต่กู้คนเดียวไม่ผ่านหรือรายได้ไม่พอ การกู้ร่วมเป็นทางออกหนึ่งของปัญหาที่นิยมเลือกใช้ ทั้งนี้ ก่อนจะกู้ซื้อบ้าน ต้องคำนวณความสามารถในการผ่อนชำระ ซึ่งตามเกณฑ์คือยอดผ่อนชำระไม่เกิน 40% ของรายได้ และควรมีเงินก้อนเผื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย เช่น ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ ค่าธรรมเนียมการโอน คิดที่ 2% ของราคาประเมิน (ขึ้นอยู่กับว่าผู้ซื้อ หรือผู้ขายจะเป็นผู้ออก หรือแบ่งครึ่งกัน) รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นค่าส่วนกลางกรณีซื้อบ้านในโครงการหมู่บ้านจัดสรร หรือค่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าตกแต่งบ้านต่างๆ จะต้องวางแผนการเงินให้รอบคอบ เพื่อชีวิตจะได้มีความสุข