Ryl Info Summer Storm 1200x628

10 วิธีรับมือพายุฤดูร้อน เตรียมความพร้อมก่อนเกิดอันตราย

Categories : Life+Style

พายุฤดูร้อน

สิ่งที่มาพร้อมกับช่วงฤดูร้อน นอกจากความร้อนระอุของอากาศแล้ว ก็คือพายุฤดูร้อน เป็นความแปรปรวนของอากาศ ที่มีทั้งลม ฝน มาครบ ซึ่งระดับความรุนแรงของพายุฤดูร้อน ก็มีมากน้อยกันไป แต่การมาของพายุฤดูร้อนแต่ละครั้ง ก็มักจะทำอันตรายและสร้างความเสียหายให้กับ อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง ผู้คน สัตว์เลี้ยง หรือพืชผลทางการเกษตร ทุกครั้งไป

Ryl Info Summer Storm

ล่าสุด พายุฤดูร้อนได้ทำให้อาคารในสนามบินดอนเมืองพังถล่มลงมา แม้จะไม่มีผู้ได้รบบาดเจ็บ แต่ก็ทำให้หลังคาและกำแพงของอาคารได้รับความเสียหาย  ซึ่งทางสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ตั้งสมมุติฐานเบื้องต้นถึงสาเหตุการเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คือ 1. ความแรงของพายุฤดูร้อนที่มาพร้อมกับฝนฟ้าคะนอง และ 2. น้ำหนักของน้ำฝนที่ตกลงมาและอาจขังอยู่ในบางบริเวณของหลังคา ทำให้เกินกำลังรับน้ำหนักของชิ้นส่วนโครงสร้างได้ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริง ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ส่งวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบหาสาเหตุและขอบเขตของความเสียหายต่อไป

 

นอกจากนี้ ก่อนหน้าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ทางกรมอุตุนิยมวิทยา ก็ได้ออกประกาศเดือนมาก่อนหน้าแล้วเหมือนกัน ว่าจะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยจะมี​ลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักรวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับผลกระทบก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป

 

แต่การป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายและความเสียหาย ย่อมดีกว่าการแก้ไข วันนี้ Reviewyourliving จึงจะมาแนะนำแนวทางการป้องกันอันตรายจากพายุฤดูร้อน  และแนวทางการรับมือกับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

10 วิธีรับมือ พายุฤดูร้อน เตรียมความพร้อมก่อนเกิดอันตราย

1.อาคารสูงควรติดตั้งสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าผ่า

สิ่งหนึ่งที่มักมาพร้อมกับพายุฤดูร้อน คือ ฝนฟ้าคะนอง มีฟ้าแลบฟ้าร้อง ฟ้าฝ่า ดังนั้น อาคารสูงที่อยู่สิ่งที่ควรทำ คือ การติดตั้งสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าฝ่า เพื่อลดอันตรายจากการฟ้าฝ่า

2.ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง

อุปกรณ์ไฟฟ้า มักจะมีโลหะที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนองนอกจากจะเสี่ยงทำให้เกิดอันตราย เสี่ยงต่อฟ้าฝ่าแล้ว ยังอาจจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้านั้น เสียหายได้เหมือนกัน ทางที่ดีจึงควรงดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง

3.ติดตั้งสายดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า

การไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เป็นวิธีป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่าง ๆ จากฝนฟ้าคะนองได้ดีระดับหนึ่ง แต่เพื่อเป็นการป้องกันในภาพรวมทั้งหมด ควรติดตั้งสายดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อลดอันตรายต่าง ๆ ได้แม้จะเป็นในยามปกติด้วย

4.ไม่ติดตั้งเสาอากาศวิทยุ-โทรทัศน์ใกล้สายไฟฟ้า

เดี๋ยวนี้หลายบ้านอาจจะไม่ได้มีการติดตั้งเสาอากาศวิทยุ หรือเสาอากาศโทรทัศน์กันแล้ว แต่ก็อาจจะมีบางพื้นที่ที่จำเป็นต้องติดตั้งเสาอากาศอยู่  การติดตั้งที่ปลอดภัยจะต้องไม่อยู่ในจุดที่ใกล้กับสายไฟฟ้า เพราะมีโอกาสที่จะเกิดอันตรายและเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า ในช่วงฝนฟ้าคะนองได้ด้วย

5.ตรวจสอบความแข็งแรงของบ้าน,โครงสร้าง-ส่วนต่อเติม​

สิ่งที่แต่ละบ้านควรทำก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน คือ การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารบ้านเรือน รวมถึงส่วนที่มีการต่อเติมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงจอดรถ กันสาด หรือแม้แต่โครงสร้างของบ้านในจุดต่าง ๆ หากพบว่ามีส่วนใดชำรุด หรือไม่แข็งแรงเพียงพอ จะต้องรีบดำเนินการ เพราะเมื่อมีพายุฤดูร้อนเข้ามาจะได้ไม่เกิดความเสียหาย หรืออันตราย

6.สำรวจต้นไม้รอบบ้าน-ตัดแต่งกิ่งไม้ให้เรียบร้อย

นอกจากตัวบ้านที่ต้องมีความแข็งแรงแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย คือ ต้นไม้ใหญ่บริเวณรอบบ้าน ที่จะต้องตรวจสอบดูด้วยว่ามีกิ่งแห้ง หรือกิ่งไม้ที่อยู่ใกล้กับตัวบ้าน หรืออาคารหรือไม่ เราต้องตัดแต่งกิ่งไม้เหล่านั้น เพื่อที่จะลดความเสี่ยงจากการหักโคนลงมาทำอันตรายต่อตัวบ้าน หรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร

7.จัดเก็บสิ่งของรอบบ้านที่อาจเสียหาย

สิ่งของที่อยู่รอบบ้าน ที่อาจจะถูกแรงลมพัด หรือเปียกฝนได้ ต้องจัดเก็บหรือทำให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ไม่อย่างนั้นลมฝน หรือพายุฤดูร้อนการจะสร้างความเสียหายต่อสิ่งของต่าง ๆ ได้

8.ติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุวิทยา ก็เป็นวิธีการเตรียมความพร้อมในการรับมือพายุฤดูฝนได้เป็นอย่างดี เพราะบางครั้งอาจจะเกิดเหตุการณ์ขึ้นแบบกะทันหัน รวมถึง เราควรปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

9.จัดเตรียมอุปกรณ์-ของจำเป็นไว้ใช้ยามฉุกเฉิน

บางครั้งเหตุการณ์อาจจะรุนแรง หรือเกิดสถานการณ์ที่เราไม่คาดคิด การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นเอาไว้ในยามฉุกเฉินเพื่อรอการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่จึงเป็นสิ่งจำเป็น อุปกรณ์และของจำเป็นต่าง ๆ ก็เป็นพวกสิ่งของที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต เช่น อาหารแห่ง น้ำดื่ม ยารักษาโรคพื้นฐาน และยาประจำที่ต้องกินสำหรับคนมีโรคประจำตัว ไฟฉาย เครื่องให้ความอบอุ่นของร่างกาย และของจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิต

10.กรณีอยู่กลางแจ้ง เข้าไปในอาคารหรือที่กำบังที่มั่นคงแข็งแรง 

กรณีไม่ได้อยู่ที่บ้าน และต้องอยู่กลางแจ้ง ให้รีบเข้าไปในอาคารหรือที่กำบังที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากลมแรงและฟ้าผ่า ไม่หลบพายุในพื้นที่เสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะบริเวณต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า หรือสิ่งปลูกสร้างไม่มั่นคงแข็งแรง  หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า อยู่ให้ห่างจากวัตถุที่เป็นโลหะหรือสื่อนำไฟฟ้า อาทิ รางรถไฟ เพิงสังกะสี รั้วลวดหนาม ประตูโลหะ งดใช้เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เพราะแบตเตอรี่มีส่วนผสมของโลหะจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า ไม่พกพาหรือสวมใส่เครื่องประดับที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า อาทิ เงิน ทอง นาก ทองแดง และร่มที่มียอดเป็นโลหะ

 

ทั้งหมดก็เป็นแนวทางรับมือและเตรียมการป้องกัน ไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สินจากพายุฤดูร้อน ซึ่งหากใครยังไม่ได้ความพร้อมรับมือ ต้องรีบตรวจดูและทำตามที่เราแนะนำนะ เพราะพายุฤดูร้อนหมดไป เราก็จะเข้าสู่ฤดูฝนต่อซึ่งก็อาจจะมีความเสียจากพายุฝนได้อีกเช่นกัน

 

CR : PEA, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย,กรุงเทพธุรกิจ

 

บทความที่น่าสนใจ

-7 จุดต้องตรวจเช็ค เตรียมบ้านต้อนรับหน้าฝน

 

บทความ Life+Style ล่าสุด