Anan Aston

อนันดา ขีดเส้น 14 วันพบผู้ว่ากทม.-รฟม.หาทางแก้ปัญหา แอชตัน อโศก หลังศาลปกครองสูงสุด สั่งยกเลิกใบอนุญาตก่อสร้าง​

อนันดา ออกโรงแจงด่วน หลังศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืน ตามคำพิพากศาลปกครองกลาง กรณี แอชตัน อโศก ใช้ที่ดินของรฟม.มาเป็นทางเข้า-ออกโครงการได้ เหตุเป็นที่ดินเวนคืนของรฟม. ให้เอกชนใช้ประโยชน์ไม่ได้ ส่งผลให้ใบอนุญาตก่อสร้างก่อนหน้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย “ชานนท์” ขีดเส้นภายใน 14 วันเข้าพบ ผู้ว่ากทม.-รฟม.จี้ให้รับผิดชอบ หามาตรการเยียวยา ระบุ อนันดา คือ หนึ่งในผู้เสียหาย ร่วมกับลูกบ้าน 580 ครอบครัว

 

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ออก Company Statement (หนังสือชี้แจงของบริษัทฯ) กรณีที่ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษาในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวก (ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องผู้อำนวยการเขตวัฒนา ที่ 1 , ผู้อำนวยการสำนักการโยธา ที่ 2 , ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ 3 , ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ 4 , คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน ที่ 5 (ผู้ถูกฟ้องคดี และบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด “บริษัทฯ” ซึ่งไม่ใช่ผู้ถูกฟ้องคดีโดยตรง แต่ถูกเรียกเข้ามาในฐานะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากผลแห่งคดี ในฐานะผู้ร้องสอด ในคดีหมายเลขดำที่ อส 67/2564 หมายเลขแดงที่ อส.188/2566 โดยศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษา ยืนตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง

“Ananda HEART SALE #โปรใจใจ ให้อยู่เลย” ในงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 37 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โซน CG ชั้น 1 บูธ G33-G44 วันที่ 5 - 8 ต.ค.
“Ananda HEART SALE #โปรใจใจ ให้อยู่เลย” ในงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 37 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โซน CG ชั้น 1 บูธ G33-G44 วันที่ 5 – 8 ต.ค.

นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ขอน้อมรับและเคารพในคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดตามที่ได้วินิจฉัยไว้กรณีที่ศาลปกครองสูงสุด ได้วินิจฉัยไว้ แต่ไม่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นแบบนี้ขึ้น โดยบริษัทได้ออก Company Statement เพื่อขอควาเมเป็นธรรม เนื่องจากบริษัทเป็นภาคเอกชน ทำงานด้วยความสุจริต มีการขออนุญาตหน่วยงานอย่างถูกต้องมาโดยตลอด โดยเห็นว่าศาลปกครอง ถือว่าไม่ใช่ศาลยุติธรรม เป็นศาลระหว่างประชาชนกับรัฐ ถ้ารัฐเอาเปรียบประชาชน สามารถฟ้องได้ กรณีภาครัฐทำบางสิ่งบางอย่างไม่ถูกต้อง

 

“สถานการณ์มาถึงตรงนี้ ภาครัฐจะช่วยหาทางออกซึ่งกันและกันได้อย่างไร ทางออกมันเป็นปัญหากฎหมาย เราก็ไม่ได้ expert ด้านกฎหมาย เราก็เป็นหนึ่งบริษัทที่ทำตามขั้นตอนกฎหมายแล้ว ก็สงสัยเหมือนกันว่าจะมีทางออกอย่างไร หรือจะต้องทุบตึกเลยหรือ หรือมีวิธีใด ถ้าเป็นปัญหากฎหมาย จะมีการออกกฎหมายใหม่ให้รฟม.เอาที่มาทำทางเข้าออกได้หรือไม่ ก็ไม่รู้เหมือนกัน ผมยังเกาหัวเหมือนกัน ยังคิดไม่ออก ขอให้หน่วยงานภาครัฐ หลัก ๆ ทางกทม. รฟม.ต้องหาทางออกช่วยเราและลูกค้าของเรา ต้องด่วนเร็วที่สุด เราอยากไปพบผู้ว่ากทม. ผู้ว่ารฟม. จะช่วยเราหาทางออกร่วมกันอย่างไร เพราะนี่เป็นปัญหาสังคม นี่เป็นความยากลำบากของเรามาก”

 

จากผลแห่งคำพิพากษาที่เกิดขึ้นดังกล่าว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ในความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ต่อเจ้าของร่วมอาคารชุด และบริษัทฯ เพราะหากหน่วยงานราชการผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่เห็นซอบ และอนุมัติแล้วโครงการนี้จะไม่สามารถก่อสร้างได้ตั้งแต่แรก ซึ่งจะไม่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงอย่างที่เป็นอยู่

 

ทั้งนี้ บริษัทฯจะเร่งรีบดำเนินการ ในการเรียกร้องค่าเสียหายกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อเยียวยาความเสียหายแก่เจ้าของร่วมอาคารชุดและบริษัทฯ โดยเร็ว รวมทั้ง บริษัทฯ จะดำเนินการประสานงานคณะกรรมการนิติบุคคลแอชต้น อโศก และท่านเจ้าของร่วมบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด เพื่อขอเข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อทวงถามความรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น ภายใน 14 วัน นับแต่วันนี้

 

บริษัทฯ ใคร่ขอยืนยันว่า การทำโครงการแอชตัน อโศก นั้น ได้มีการตรวจสอบประเด็นทางกฎหมายรวมทั้งข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตต่าง ๆ รวมทั้งสภาพที่ดินของโครงการอย่างรอบคอบรัดกุม อีกทั้งการพิจารณาอนุมัติในการทำโครงการต่าง ๆ ยังได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติ และภายใต้การกำกับ ควบคุมจากหน่วยงานของรัฐไม่ต่ำกว่า 8 หน่วยงาน จึงเป็นที่เห็นประจักษ์และยืนยันได้ว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการไปด้วยความสุจริต และชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้งแล้วทุกประการเท่าที่บริษัทฯ จะทำได้ด้วยความเชื่อถือโดยสุจริตว่าการอนุมัติของหน่วยงานราชการทุกฝ่ายนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว บริษัท ฯ จึงใคร่ขอความเป็นธรรมจากทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ไขป้องกันมิให้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังเช่นคดีนี้ได้เกิดขึ้นอีก และเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐได้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็วด้วย

Anan Business Plan23 1

ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ปรากฎการณ์นี้เป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมนี้ที่ตึกที่พักอาศัยสร้างเสร็จแล้วและมีศาลปกครองมาพิพากษาเช่นนี้ แต่บริษัทฯ ต้องเคารพคำพิพากษา อนันดาฯ หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบนี้ ร่วมกับเจ้าของ 580 ครัวเรือน จำนวน 668 ยูนิต ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว ทุกยูนิตมีหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดหมดแล้ว แบ่งเป็นชาวไทย 438 ยูนิต ต่างชาติ 142 ยูนิต จาก 20 ประเทศ ​โดยโครงการมีมูลค่า 6,481 ล้านบาท ส่งมอบแล้ว 87% หรือคิดเป็นมูลค่า 5,653 ล้านบาท มีมูลค่าคงเหลือ 828 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้บริษัทฯ ถือหุ้น 51% ในบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด ส่วนที่เหลืออีก 49% เป็นกลุ่มมิตซุย ฟูโดซัง จากประเทศญี่ปุ่น ถือหุ้น

เคสนี้เรายืนยันว่าเราทำด้วยความถูกต้องและสุจริต เพราะเราผ่านการขออนุญาตมาจาก 8 หน่วยงาน โดยมี 9 ใบอนุญาต และเรายังขอความเห็นก่อนดำเนินการด้วย อย่างน้อย 7 หน่วยงานในเคสนี้ และผ่าน 5 คณะกรรมการก่อนจะออกมาเป็นใบอนุญาตและใบอ.ช. สิ่งสำคัญ มีโครงการที่คล้ายคลึงกันอีก 13 โครงการ ยังไม่นับรวมโครงการที่ใกล้เคียงอีกเป็นร้อยในการขอเชื่อมทางกับหน่วยงานราชการ และเรายังมีการจ่ายค่าเชื่อมทางเกือบร้อยล้านบาทให้กับรฟม.ไม่ใช่ขอเชื่อมทางฟรี

ขณะที่นายพิสิษฐ เดชไชยยาศักดิ์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กล่าวว่า กรณีศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนคำพิพากษาตามศาลปกครองกลาง มีประเด็นสำคัญมีเพียงประเด็นเดียว คือ ที่ดินของรฟม. มาจากการเวนคืนทำให้ไม่สามารถนำมาให้เอกชนประกอบการได้ และศาลจึงพิจารณาว่าการที่หน่วยงานภาครัฐมาออกใบอนุญาตในการก่อสร้างขัดต่อกฎหมาย ขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่ 33 และฉบับที่ 50 เป็นประเด็นสำคัญ ส่วนประเด็นอื่น ๆ ไม่มีนัยยะต่อความเสียหายครั้งนี้

อนันดา แอชตันmessageimage 1690451202642 อันดา แอชตันmessageimage 1690451216663

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-ศาลปกครอง สั่งรื้อ แอชตัน-อโศก ใน 90 วัน เฉพาะส่วนที่สูงเกินกว่าความกว้างถนน 6.40 เมตร

-ถอดคำแถลงฯ CEO อนันดา กรณี ASHTON Asoke

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด