Tag : Money

360 ผลลัพธ์
อรสิรินโฮลดิ้ง เตรียมขาย IPO 406.5 ล้านหุ้นใน SET หลังก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง

อรสิรินโฮลดิ้ง เตรียมขาย IPO 406.5 ล้านหุ้นใน SET หลังก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง

ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง อรสิริน โฮลดิ้ง ดีเวลลอปเปอร์จากเชียงใหม่ เตรียมขายไอพีโอ 406.5 ล้านหุ้น เข้า SET ผนึก APM ที่ปรึกษาการเงิน เดินสายโรดโชว์นำเสนอข้อมูลแก่กองทุน นักลงทุนสถาบันต่างประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง พร้อมพบนักลงทุนรายย่อย 15 จังหวัดทั่วประเทศ มั่นใจพื้นฐานแกร่ง นักลงทุนตอบรับดี   ดร.สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน บริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ ORN เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือ ไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) ของ ORN ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว   โดยบริษัทจะเดินหน้านำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) ให้กับกองทุน นักลงทุนสถาบัน ต่างประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ในวันที่ 23-25 สิงหาคม 2566 สำหรับการนำเสนอข้อมูลในครั้งนี้คาดว่าจะได้รับความสนใจจากกองทุนต่างประเทศเป็นอย่างดี  เนื่องจาก ORN เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แนวราบและแนวสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มายาวนานกว่า 17 ปี และมีศักยภาพในการเติบโตอย่างมั่นคง ด้านนายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร APM กล่าวว่า ปัจจุบัน อรสิริน  หรือ ORN มีทุนจดทะเบียน 1,500 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 1,500 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาทและมีทุนที่เรียกชำระแล้ว 1,093.50 ล้านบาท โดยจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 406.50 ล้านหุ้น หรือ 27.10% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)   โดยหลังจากนี้ เตรียมเดินหน้านำเสนอข้อมูลธุรกิจของบริษัท พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนกลุ่มต่างๆ และผู้ที่สนใจ โดยจะทำการโรดโชว์ในประเทศทั้งหมด 15 จังหวัดในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2566  รวมถึงนำเสนอข้อมูลรายละเอียดหลักทรัพย์ แก่เจ้าหน้าที่นักวิเคราะห์ เจ้าหน้าที่การตลาด ณ ห้องค้าบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ และคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายในปีนี้   ขณะที่นายปรีดิกร บูรณุปกรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) หรือ ORN กล่าวว่า การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจของบริษัทให้มีความแข็งแกร่ง เสริมสร้างศักยภาพทางการเงิน เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการใหม่ในอนาคต   ปัจจุบัน ORN ประกอบธุรกิจการลงทุนถือหุ้นบริษัทอื่น (Holding Company) มีกลุ่มธุรกิจหลักคือ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการแนวราบ แนวสูง ประเภทที่อยู่อาศัยเพื่อขาย บนทำเลคุณภาพจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายและการพัฒนา ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566 จำนวนรวม 18 โครงการ ภายใต้แบรนด์สินค้า ได้แก่ THE ESCAPE , HABITAT , BELIVE , ORNSIRIN , ORNSIRIN VILLE , URBAN MYX , THE ASTRA , ARISE และ THE NEXT มูลค่าขายโครงการรวมประมาณ 15,533 ล้านบาท มีมูลค่าคงเหลือขายรวมประมาณ 2,329 ล้านบาท เป็นที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จแล้วหรือที่อยู่ระหว่างก่อสร้างที่เปิดขายแล้ว แบ่งเป็นมูลค่าคงเหลือขายโครงการแนวราบประมาณ 712 ล้านบาท และโครงการแนวสูงประมาณ 1,617 ล้านบาท รวมถึงมีที่ดินรอการพัฒนาหรืออยู่ระหว่างก่อสร้างที่ยังไม่เปิดขายรวมประมาณ 3,850 ล้านบาท บริษัทยังคงมุ่งเน้นเดินหน้าสร้างการเติบโตต่อเนื่อง เตรียมแผนขยายโครงการบนทำเลคุณภาพ ชูกลยุทธ์พัฒนาที่อยู่อาศัย ด้วยการออกแบบฟังก์ชันและนวัตกรรมการอยู่อาศัยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ลูกบ้านทุกโครงการ ตอบโจทย์ความต้องการกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-บน พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำ ผู้พัฒนาอสังหาฯภูมิภาคอย่างแข็งแกร่ง   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -อรสิริน ดีเวลลอปเปอร์รายแรกของภาคเหนือ เตรียม IPO ใน SET  ปี 66
เพอร์เฟค สรุปผลงานครึ่งปีแรกปรับตัวดีทุกพอร์ต ลุยเปิด 9 โครงการใหม่ ดันรายปีกลุ่มบริษัท​ 13,000 ล้าน​   

เพอร์เฟค สรุปผลงานครึ่งปีแรกปรับตัวดีทุกพอร์ต ลุยเปิด 9 โครงการใหม่ ดันรายปีกลุ่มบริษัท​ 13,000 ล้าน​  

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค สรุปผลงานครึ่งปีแรก ปรับตัวดีขึ้นทุกพอร์ต รายได้เติบโต 17.2% กำไรขั้นต้นปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 35.7% ครึ่งปีหลังแนวโน้มเติบโตกว่าครึ่งปีแรก ลุยเปิด 9 โครงการใหม่ มูลค่า 13,250 ล้านบาท หนุนรายได้รวมทั้งปีให้อยู่ที่ 13,000 ล้านบาท ด้านธุรกิจโรงแรมยอดจองคึกคักจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะโรงแรมในกรุงเทพ ช่วง 6 เดือนแรกมีอัตราเข้าพักสูง 70%   นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทในครึ่งปี 2566 ปรับตัวดีขึ้น มีการฟื้นตัวในทุกหมวดธุรกิจ ส่งผลให้ครึ่งปีแรกบริษัทมีรายได้จากการดำเนินงาน 4,958 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดยเป็นผลจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เติบโต 0.3% ธุรกิจโรงแรมซึ่งเติบโต 125.2%  จากธุรกิจให้เช่าและบริการอีก 56.0% ในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้น ปรับตัวแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 35.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 25.5% โดยครึ่งปีแรกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีกำไรขั้นต้น 33.3% เทียบกับปีก่อนที่ 29.4%  ธุรกิจโรงแรมฟื้นตัวอย่างชัดเจนที่ระดับ 48.2% เทียบกับครึ่งปีแรกของปีก่อนที่ 6.3% และธุรกิจให้เช่าและบริการ ทำได้ 9.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ติดลบ 1.1% อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งกำไรจากโครงการร่วมทุนเข้ามาอย่างมีนัยยะ เป็นจำนวน 116 ล้านบาท เป็นบวกเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2565 ที่มีผลขาดทุนที่ 42 ล้านบาท   สำหรับรายได้จากการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 13,000 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 9,600 ล้านบาท ธุรกิจโรงแรม 2,850 ล้านบาท และธุรกิจเช่าและบริการ 550 ล้านบาท นอกจากนี้ยังจะมีรายได้จากโครงการร่วมทุนอีก 5,000 ล้านบาท ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทยังมีความพร้อมในการเปิดโครงการใหม่ได้อย่างเต็มที่ โดยจะเดินหน้าเปิด 9 โครงการ มูลค่ารวม 13,250 ล้านบาท ซึ่งยังคงเน้นตลาดแนวราบและกระจายในทุกเซกเม้นต์ ขณะเดียวกัน ยังเน้นทำการตลาดสินค้ากลุ่มลักซ์ชัวรี่ที่อยู่ใกล้โรงเรียนนานาชาติชั้นนำ ซึ่งบริษัทมีโครงการบ้านหรู 6 โครงการในแบรนด์ “เพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ” และ “เลค เลเจนด์” ที่สามารถรองรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการที่อยู่อาศัยในทำเลใกล้โรงเรียนนานาชาติ ซึ่งมีดีมานด์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน  พร้อมกันนี้ยังมีการพัฒนาแบบบ้านรุ่นใหม่ในโครงการเดิม รวมทั้งมีแผนการตลาดและส่งเสริมการขายอย่างเข้มข้น   สำหรับธุรกิจโรงแรมของกลุ่มบริษัทมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรงแรมในกรุงเทพ ซึ่งมีอัตราเข้าพักเพิ่มสูงขึ้น โดย 6 เดือนแรกของปีนี้อัตราเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 70% เทียบกับปีก่อนที่อยู่ในระดับ 35% ขณะที่โรงแรมในต่างจังหวัดยังคงได้รับความนิยมจากคนไทยที่ท่องเที่ยวในประเทศ โดยอัตราเข้าพักเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 50% อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่ารายได้จากธุรกิจโรงแรมทั้งปีนี้ จะมากกว่าปีก่อนถึง 57% โดยเป็นผลพวงมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในครึ่งปีหลังซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว ส่วนหนึ่งของโครงการใหม่ ที่กำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในครึ่งปีหลัง     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เพอร์เฟคลุยพัฒนา 6 โครงการบ้านหรู จับตลาดใกล้โรงเรียนนานาชาติ
บริทาเนีย ใช้กลยุทธ์การร่วมทุนพันธมิตร ปั้นโปรเจ็กต์ 5 จังหวัด กว่า 8,700 ล้าน

บริทาเนีย ใช้กลยุทธ์การร่วมทุนพันธมิตร ปั้นโปรเจ็กต์ 5 จังหวัด กว่า 8,700 ล้าน

บริทาเนีย เสริมแกร่งธุรกิจเดินหน้ากลยุทธ์ร่วมทุนพันธมิตร ทั้งด้านการเงินและเจ้าของที่ดิน  พัฒนาบ้านจัดสรร 10 โครงการ กระจายตัวใน 5 จังหวัด มูลค่ากว่า 8,700 ล้าน ในไตรมาส 2 ทำรายได้ 1,554 ล้าน พร้อมกำไรสุทธิ 348 ล้าน ขณะที่บอร์ดเคาะจ่ายปันผลระหว่างกาลหุ้นละ 0.115 บาท  ส่วนครึ่งปีหลังโหมเปิด 16 โครงการใหม่ รวม 17,500 ล้าน  ช่วยหนุนยอดขาย-ยอดโอนกรรมสิทธิ์ต่อเนื่อง   นายสุรินทร์ สหชาติโภคานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) หรือ BRI ผู้พัฒนาบ้านจัดสรรภายใต้แนวคิด “CRAFT a life you love” ดีที่สุดคือใช้ชีวิตในแบบที่รัก เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 2/2566 ที่ผ่านมาบริษัทได้เดินหน้าร่วมทุน (Joint Venture หรือ JV) กับพันธมิตรด้านการเงินการลงทุน (Financial Partner) และพันธมิตรเจ้าของที่ดิน (Landlord) เพื่อพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม จำนวน 10 โครงการ กระจายตัวใน 5 จังหวัด อาทิ นนทบุรี นครปฐม ชลบุรี นครราชสีมา และอุบลราชธานี คิดเป็นมูลค่าโครงการรวมกว่า 8,700 ล้านบาท ครึ่งปีแรกของปี 2566 เป็นช่วงเวลาที่เราให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานเพื่อการเติบโตสู่อนาคต การจับมือกับเหล่าพันธมิตรหลากหลายกลุ่มพัฒนาโครงการ จะเป็นบันไดก้าวสำคัญให้เรามีที่ดินแปลงศักยภาพเข้ามาอยู่ในพอร์ตฟอลิโออย่างรวดเร็ว พร้อมที่จะเปิดตัวโครงการใหม่อย่างก้าวกระโดดในช่วงหลังจากนี้ สำหรับช่วงไตรมาส 2/2566 บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 1,554 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 348 ล้านบาท มีอัตรากำไรสุทธิ​ (Net Profit Margin หรือ NPM) อยู่ที่ราว 22% โดยโครงการสำคัญที่มีส่วนหนุนยอดโอนกรรมสิทธิ์ รายได้ และกำไรสุทธิในไตรมาสดังกล่าว ได้แก่ แกรนด์บริทาเนีย ราชพฤกษ์-พระราม 5 (Grand Britania Ratchaphruek-Rama 5) เบลกราเวีย เอ็กซ์คลูซีฟ พูลวิลล่า บางนา-พระราม 9 (Belgravia Exclusive Pool Villa Bangna-Rama 9) แกรนด์บริทาเนีย วงแหวน-รามอินทรา (Grand Britania Wongwaen Ramintra) แกรนด์บริทาเนีย พระราม 9-กรุงเทพกรีฑา (Grand Britania Rama 9-Krungthep Kreetha) และบริทาเนีย บางนา-สุวรรณภูมิ (Britania Bangna-Suvarnabhumi) ขณะเดียวกัน สามารถปิดการขาย (Sold Out) โครงการบริทาเนีย คูคต สเตชั่น (Britania Khukhot Station) ได้ ซึ่งถือเป็นอีกเครื่องตอกย้ำการได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง จนสามารถปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว   นายสุรินทร์ กล่าวอีกว่า จากผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติเห็นชอบให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญจ่ายปันผลสำหรับกำไรสะสมและผลการดำเนินงานของบริษัทงวด 1 ม.ค.-30 มิ.ย.66 ในอัตรา 0.115 บาทต่อหุ้น คิดเป็นเงินปันผลจ่ายเป็นเงินสดทั้งสิ้นไม่เกิน 98.1 ล้านบาท โดยขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 24 สิงหาคม 2566 กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่  25 สิงหาคม 2566 และกำหนดจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 11 กันยายน 2566   สำหรับแผนการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566 บริษัทมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 16 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 17,500 ล้านบาท กระจายตัวอยู่ใน 5 จังหวัด ทั้งกรุงเทพฯ ปริมณฑล และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ครอบคลุมทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม 4 แบรนด์ แบ่งเป็น เบลกราเวีย (Belgravia) 2 โครงการ แกรนด์ บริทาเนีย (Grand Britania) 4 โครงการบริทาเนีย (Britania) 8 โครงการ และไบรตัน (Brighton) 2 โครงการ โดยถือเป็นการเปิดโครงการเพิ่มอย่างก้าวกระโดดในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกที่เปิดตัวเพียง 4 โครงการ   นอกจากนี้ เป็นเพราะช่วงครึ่งปีหลังถือเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และปัจจัยภายนอกด้านการเมืองและเศรษฐกิจน่าจะมีความชัดเจนขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งผลผลักดันทั้งยอดขาย ยอดโอนกรรมสิทธิ์ และรายได้รวมของบริษัทให้สูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยจะนำร่องเปิดตัวในช่วงไตรมาส 3/2566 ก่อนจำนวน 3 โครงการ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 5,900 ล้านบาท ได้แก่ แกรนด์บริทาเนีย วงแหวน – ประชาอุทิศ (Grand Britania Wongwaen-Parchauthit) แกรนด์บริทาเนีย ทวีวัฒนา (Grand Britania Thawi Watthana) บริทาเนีย บางนา-เทพารักษ์ (Britania Bangna Thepharak)   ทั้งนี้ บริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ (แบ็คล็อก) ณ สิ้นไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 2,260 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะทยอยรับรู้รายได้ภายในปี 2566 นี้ เมื่อประกอบกับการเปิดโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง และแผนการตลาด การจัดแคมเปญเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพิ่มเติม เชื่อว่าจะช่วยสร้างยอดขายและยอดโอนกรรมสิทธิ์ใหม่ และรักษาระดับการเติบโตของบริษัทอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนได้ สำหรับ BRI เป็นผู้พัฒนาบ้านจัดสรรภายใต้คอนเซปต์ CRAFT a life you love ดีที่สุดคือใช้ชีวิตในแบบที่รัก พัฒนาทั้งบ้านเดี่ยว บ้านซีรีส์ใหม่ ทาวน์โฮม ครอบคลุมผู้บริโภคทุกเซ็กเมนท์ ภายใต้ 4 แบรนด์หลัก ได้แก่ 1.เบลกราเวีย (Belgravia) บ้านเดี่ยวลักชัวรี ระดับราคา 20-50 ล้านบาท 2.แกรนด์ บริทาเนีย (Grand Britania) บ้านเดี่ยวและบ้านแฝดระดับ High-End ราคา 8-20 ล้านบาท 3.บริทาเนีย (Britania) บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ระดับ Mid-end ราคา 4-8 ล้านบาท และ 4.ไบรตัน (Brighton) บ้านแฝด และทาวน์โฮม ระดับเริ่มต้น (Entry) ราคา 2.5-4 ล้านบาท โดย ณ สิ้นไตรมาส 2/2566 พัฒนาโครงการมาแล้วทั้งสิ้น 34 โครงการ คิดเป็นมูลค่าโครงการสะสม 41,456 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -บริทาเนีย ผนึกเจ้าของ ม.เกษมบัณฑิต ปั้นโปรเจ็กต์ 34 ไร่ บนถนนร่มเกล้า -บริทาเนีย วางเป้า 3 ปี ติดTop 5 ตลาดบ้าน พร้อมลุยต่างจังหวัดจับคนระดับท็อป
เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ประกาศรายได้การให้บริการ-โรงแรมโตรับท่องเที่ยวฟื้นตัว ชูดิจิทัล-กลยุทธ์บริหาร RevPar สู่เป้ากว่า 10,000 ล้าน

เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ประกาศรายได้การให้บริการ-โรงแรมโตรับท่องเที่ยวฟื้นตัว ชูดิจิทัล-กลยุทธ์บริหาร RevPar สู่เป้ากว่า 10,000 ล้าน

เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ประกาศผลประกอบการครึ่งปีแรกปี 2566 รายได้จากการให้บริการโต 28%  ที่ 4,821 ล้าน ขณะที่ธุรกิจโรงแรมฟื้นตัว รับทั่วโลกเปิดประเทศ เฉพาะตลาดไทยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่ม 76% ส่วน ADR เพิ่มขึ้นถึง 72% เฉลี่ยอยู่ที่ 8,431 บาท พร้อมเดินหน้าใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรองรับพฤติกรรมลูกค้า ดันเป้าหมาย 10,000 ล้าน   นายเดิร์ก อังเดร ลีน่า เดอ คุยเปอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ SHR  บริษัทในเครือสิงห์ เอสเตท เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 บริษัทมีรายงานรายได้จากการให้บริการที่ 4,821 ล้านบาท เติบโตขึ้น 28% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมรายงานกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำจากการดำเนินงานปกติ (Adjusted EBITDA) ที่ 1,112 ล้านบาทพุ่งขึ้น 74% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน   ผลประกอบการที่เติบโตขึ้น เกิดจากอัตราการเข้าพักเฉลี่ย (Occupancy Rate) ของทั้งพอร์ตโฟลิโอ ที่สูงขึ้นจาก 54% ในครึ่งปีแรกของปี 2565 เป็น 69% ในครึ่งปีแรกของปีนี้ และอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยรายวัน (Average Daily Rate: ADR) ที่ปรับตัวขึ้นถึง 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน ธุรกิจรร.ฟื้นตัว รับทั่วโลกเปิดประเทศ ส่วนผลประกอบการของกลุ่มโรงแรมในประเทศไทย ฟื้นตัวเข้าใกล้สภาวะปกติของการท่องเที่ยว ภายหลังทั่วโลกเปิดประเทศเต็มรูปแบบได้อย่างชัดเจน สะท้อนจากอัตราการเข้าพักเฉลี่ย ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนที่ระดับ 76% ซึ่งสูงกว่าของปี 2565 ที่ 48% จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เลือกจุดหมายปลายทางเป็นชายหาดในประเทศไทย ขณะที่ในครึ่งปีแรกของปี 2566 ADR เฉลี่ยอยู่ที่ 8,431 บาท เพิ่มขึ้นถึง 72% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน การทำการตลาดที่มุ่งเป้าเจาะจงในแต่ละพื้นที่ ประกอบกับช่องทางการขายที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้โรงแรมของ SHR เป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้น ๆ ของนักเดินทางหลายคน นับเป็นปัจจัยที่หนุนขีดความสามารถในการผลักดัน ADR ให้เติบโตได้อีกด้วย ปัจจัยท้าทายทางเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปในปัจจุบัน ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเห็นได้จากการที่ชาวยุโรป เลือกที่จะท่องเที่ยวภายในประเทศหรือภูมิภาคมากขึ้น ปัจจัยดังกล่าว ทำให้โรงแรมของ SHR ในสหราชอาณาจักร ยังรักษาโมเมนตัมเชิงบวกไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากฐานลูกค้าหลักประมาณ 90% เป็นนักท่องเที่ยวจากในประเทศ ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มสูงถึง 70% ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปี 2566 เมื่อเทียบกับ 54% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อุปสงค์ของโรงแรมในสหราชอาณาจักรยังเป็นที่น่าพอใจ   ทั้งนี้ เกิดจากการปรับตัวให้สอดรับกับความต้องการในตลาด และการปรับปรุงห้องพักอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น ADR เฉลี่ยในครึ่งปีแรกของปี 2566 ปรับตัวสูงขึ้น 10% โดยอยู่ที่ 83 ปอนด์ท่ามกลางความระมัดระวังในการใช้จ่ายสำหรับสินค้าฟุ่มเพือยของลูกค้าที่เป็นผลมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นพอร์ตโฟลิโอของสหราชอาณาจักรยังมีอัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA margin) ทั้งในไตรมาส 2 และรอบครึ่งปีแรกของปีนี้เติบโตขึ้นจากงวดเดียวกันในปีก่อนจากการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพขึ้น   อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าทั้งอัตราการเข้าพักเฉลี่ยและ ADR จะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส 3 สอดคล้องกับปริมาณการจองล่วงหน้าในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว สะท้อนความเชื่อมั่นในการเดินทางทั้งในและต่างประเทศของภาคธุรกิจและภาคการท่องเที่ยว ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องมายังผลประกอบการของโรงแรมในโครงการครอสโร้ดส์ มัลดีฟส์ (CROSSROADS Maldives) ซึ่งมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย ในไตรมาส 1 ปีนี้ ที่ไต่ระดับสูงถึงกว่า 87% สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอ่อนตัวลงในไตรมาส 2 ของปีนี้เมื่อเข้าสู่ช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวซึ่งเป็นผลมาจากนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่เดินทางระหว่างภูมิภาคน้อยลง ผนวกกับการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนที่ช้ากว่าคาด ส่งผลให้ภาพรวมของอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในครึ่งปีแรกไม่แตกต่างจากช่วงเดียวกันในปีก่อนมากนัก ทั้งนี้ SHR มองภาพครึ่งปีหลังของมัลดีฟส์ว่าจะค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2565 และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยยังมีความอ่อนไหวจากการเปิดประเทศในหลายพื้นที่ทั่วโลกซึ่งกระตุ้นการกระจายตัวไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ของนักท่องเที่ยว   โรงแรมในมอริเชียสได้ปิดตัวชั่วคราวเพื่อปรับปรุงระบบบริหารน้ำอย่างเต็มรูปแบบและจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในไตรมาส 4 ปีนี้ ทั้งนี้จะส่งผลกระทบอย่างจำกัดต่อผลการดำเนินงานโดยรวมของ SHR ในปีนี้เนื่องจากรายได้จากการให้บริการของโรงแรมในมอริเชียสคิดเป็นเพียง 3% ของรายได้ทั้งหมด ผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขทางสถิติที่โดดเด่นของกลุ่มโรงแรมในประเทศไทยและสหราชอาณาจักร แสดงถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โรงแรมในภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งในมัลดีฟส์และฟิจิก็มีแนวโน้มสดใส โดยฐานลูกค้าในฟิจินอกเหนือจากกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์แล้ว เราเห็นตลาดใหม่ที่เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวจากทวีปอเมริกาเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแคนาดา ทำให้มั่นใจได้ว่าภาคการท่องเที่ยวจะแข็งแกร่งได้ต่อเนื่องโดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ โรงแรม แคสอะเวย์ ไอส์แลนด์ที่ฟิจิมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเกินกว่า 93% ในไตรมาส 2   ในขณะที่โรงแรมในโครงการครอสโร้ดส์ มัลดีฟส์ มีผลการดำเนินงานที่มั่นคงอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว แนวโน้มผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลังส่งสัญญาณบวกในเกือบทุกพื้นที่ที่โรงแรมของบริษัทฯ ตั้งอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจการบินฟื้นตัวได้ดีด้วยการประกาศเพิ่มเที่ยวบินพร้อมการเปิดเส้นทางบินใหม่ในครึ่งปีหลัง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารได้มากยิ่งขึ้นหนุนการเติบโตของภาคการให้บริการเพิ่มอีกทางหนึ่ง SHR ใช้ดิจิทัลดันเป้า 10,000 ล้าน​​ SHR เดินหน้าพัฒนาและนำเทคโนโลยีดิจิทัลบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ มาใช้เพื่อให้สอดรับกับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าในตลาด สิ่งเหล่านี้ประกอบกับความมุ่งมั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพอร์ตโฟลิโอโดยใช้กลยุทธ์บริหาร RevPar ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการปรับปรุงห้องพักในหลายโรงแรมทั้งในประเทศไทย ฟิจิ และสหราชอาณาจักร โดยพร้อมเปิดให้บริการห้องพักรูปแบบใหม่ในปลายปี 2566 ผนวกกับมาตราการคุมค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการบรรลุเป้าหมายรายได้ที่เกินกว่า 10,000 ล้านบาทให้ได้สำเร็จ เราจะพยายามให้ถึงที่สุดเพื่อผลักดันผลการดำเนินงานให้ถึงเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนของบริษัทฯ ในปี 2566 นี้   SHR มีความพร้อมในการเผชิญต่อความท้าทายต่าง ๆ โดยมีสถานะทางการเงินอันแข็งแกร่งด้วยการรักษาระดับหนี้สินให้ต่ำอยู่เสมอและการจัดการด้านเงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ บริษัท ทริสเรทติ้งได้ประเมินระดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของ SHR ที่ระดับ BBB+ ระดับความน่าเชื่อถือนี้จะเพิ่มขีดความสามารถของ SHR ในการลดต้นทุนทางการเงินโดยรวม ในปัจจุบันการออกหุ้นกู้กำลังดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ และ SHR พร้อมขับเคลื่อนสู่การเติบโตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น   ท้ายที่สุด SHR มุ่งเน้นที่การเติบโตแบบยั่งยืนเป็นหัวใจหลักในการดำเนินงาน โดยโรงแรม 5 แห่ง และ เดอะ มารีน่า แอท ครอสโร้ดส์ ได้รับมาตรฐาน Green Globe สะท้อนถึงการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน และแขกที่มาพักว่า การดำเนินงานในโรงแรมของ SHR ได้มาตรฐานตามหลักสากลและสามารถตอบรับต่อความคาดหวังของผู้ที่มาเข้าพักได้ โดยในปี 2566 SHR ได้เริ่มวางแผนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutral company) ภายในปี 2573  เพิ่มกิจกรรมต่างๆที่ให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน พร้อมอนุรักษ์ธรรมชาติอันสวยงามส่งต่อให้กับนักท่องเที่ยวรุ่นต่อไป กิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง SHR และชุมชน แต่ยังเป็นการสร้างสถานะที่แตกต่างโดยเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -สิงห์ เอสเตท รุกตลาดบ้าน Ultra Luxury ปักหมุด SMYTH’S Ramintra เริ่ม 120 ล้าน -เอสโฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กางแผนธุรกิจปี 66 ชู 3 กลยุทธ์สู่รายได้หมื่นล้าน
แอสเสท เวิรด์ คอร์ป ทำผลงาน Q2/66 รายได้-กำไรโตก้าวกระโดด​ ครึ่งปีหลังเดินหน้า​เพิ่มห้องพักและกระแสเงินสด

แอสเสท เวิรด์ คอร์ป ทำผลงาน Q2/66 รายได้-กำไรโตก้าวกระโดด​ ครึ่งปีหลังเดินหน้า​เพิ่มห้องพักและกระแสเงินสด

แอสเสท เวิรด์ คอร์ป ประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2566 รายได้รวม 4,518 ล้านบาท เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด กำไรสุทธิ 1,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 32% ทำรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก 3,356 บาท สูงขึ้น 82.1% เดินหน้าเพิ่มโครงการ เพิ่มจำนวนห้องพัก เพิ่มกระแสเงินสดพร้อมเติบโตก้าวกระโดด   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยถึงผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2566 ตามงบการเงินรวมมูลค่ายุติธรรมว่า มีรายได้รวมกว่า 4,518 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเติบโตแบบก้าวกระโดดมากกว่าปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย   ทั้งนี้ AWC ยังคงมุ่งพัฒนาโครงการในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ เปลี่ยนทรัพย์สินกำลังพัฒนา (Developing Asset) เป็นทรัพย์สินดำเนินงาน (Operating Asset) ควบคู่การยกระดับโครงการในพอร์ตโฟลิโอ (Assets Enhancement) ของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail & Commercial) สอดคล้องกลยุทธ์ GROWTH-LED เพื่อสร้างการเติบโตของกระแสเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไตรมาส 2 นี้ บริษัทมีมูลค่าทรัพย์สินดำเนินงานรวม 120,307 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้น 36,996 ล้านบาท คิดเป็น 44.4% เทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2562 ผลประกอบการไตรมาสที่ 2/2566 ของ AWC มีการเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดากลุ่มธุรกิจ) อยู่ที่ 2,472 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการกลับมาของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ และภาพรวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น   รวมถึงเทศกาลสงกรานต์ในช่วงเดือนเมษายนที่มีการกลับมาจัดอย่างยิ่งใหญ่เป็นปีแรกหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยเฉพาะโรงแรมในกรุงเทพฯ และโรงแรมกลุ่มประชุมสัมมนา (MICE) ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าพักโรงแรมในเครือ AWC เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่งผลให้อัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพักในภาพรวม (RevPAR) สูงถึง 3,356 บาท เพิ่มขึ้น  82.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 อยู่ที่ประมาณ 10% รวมถึงมีอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อวัน (Average Daily Rate: ADR) เท่ากับ 5,367 บาทต่อคืน เติบโต 25.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังสูงกว่าปี 2562 ด้วยเช่นกัน   สำหรับกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail & Commercial) AWC ยังคงมุ่งเพิ่มศักยภาพในการสร้างการเติบโตของกระแสเงินสดในระยะยาว โดยบริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ด้านไลฟ์สไตล์ ตอบรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าและนักท่องเที่ยวในยุคปัจจุบัน ธุรกิจโรงแรม AWC ทำกำไรเพิ่ม 200% ผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการมีกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดา) อยู่ที่ 660 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 200.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะโรงแรมในกลุ่มประชุมสัมมนา และกลุ่มโรงแรมในกรุงเทพฯ ซึ่งมีค่า Revenue Generation Index (RGI) ในภาพรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับโรงแรมในกลุ่มเดียวกันที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง อาทิ โรงแรมแบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ มีค่า RGI เท่ากับ 218 เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งพัฒนาทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นทรัพย์สินดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดากลุ่มธุรกิจ) อย่างต่อเนื่อง พร้อมเสริมความแข็งแกร่งพอร์ตโฟลิโอของกลุ่มโรงแรมที่ตั้งอยู่ในทําเลยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ การเปิดตัวโรงแรม 'INNSiDE by Meliá Bangkok Sukhumvit' แห่งแรกในประเทศไทยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อมอบประสบการณ์โมเดิร์นไลฟ์สไตล์ให้กับกลุ่มนักเดินทางรุ่นใหม่ และเป็นโรงแรมที่ได้มีการออกแบบและก่อสร้างตามกรอบการรับรองของมาตรฐานอาคาร Excellence in Design for Greater Efficiency (EDGE)   รวมถึงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟกับ Nobu Hospitality ร่วมสร้างโรงแรมระดับอัลตร้า ลักชูรี่ 2 แห่งภายใต้แบรนด์ Plaza Athenee ได้แก่ โรงแรม พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา นิวยอร์ก (Plaza Athenee Nobu Hotel and Spa New York) และโรงแรม เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก (The Plaza Athenee Nobu Hotel and Spa Bangkok) เชื่อม 2 มหานคร นิวยอร์กและกรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด River Journey Project พร้อมเชื่อมต่อหลากหลายโครงการริมแม่น้ำเจ้าพระยาของ AWC สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวทางสายน้ำให้แก่นักเดินทาง   ปัจจุบัน AWC มีจำนวนโรงแรมที่เปิดดำเนินการทั้งสิ้นจำนวน 22 โรงแรม รวมจำนวนห้องพักรวม 5,794 ห้อง และจะเพิ่มขึ้นเป็น 23 โรงแรม ภายในสิ้นปี 2566 รวม 6,034 ห้อง คิดเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่จำนวน 3,432 ห้อง ประกอบกับอัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) ที่สูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าปีก่อนและก่อนสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้มีรายได้ 2,287 ล้านบาท เติบโตขึ้น 76.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ บริษัทมุ่งเพิ่มศักยภาพในการสร้างกระแสเงินสดที่แข็งแกร่งให้กับบริษัท พร้อมตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวคุณภาพและจำนวนกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย High-to-Luxury ที่เพิ่มมากขึ้น เอเชียทีค ผู้ใช้บริการเพิ่ม 47% กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงานยังคงสร้างกระแสเงินสดให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราค่าเช่าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการยกระดับอาคารให้เป็นไลฟ์สไตล์สเปซแห่งใหม่ที่ตอบโจทย์การทำงานและไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ อาทิ การเปิดตัว “Co-Living Collective: Empower Future” ของอาคารเอ็มไพร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยคอนเซ็ปต์ที่ผสานรูปแบบการใช้ชีวิตในบ้านมาเชื่อมต่อกับการทำงานอย่างลงตัว สร้างความแตกต่างจากอาคารสำนักงานรูปแบบเดิม ซึ่งช่วยรักษาฐานผู้เช่าเก่า พร้อมดึงดูดผู้เช่าใหม่ที่มองหาอาคารสำนักงานคุณภาพ ที่มีพื้นที่ตอบรับเทรนด์การทำงานในรูปแบบไฮบริดที่เพิ่มสูงขึ้น AWC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลก เพื่อสร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็มที่อาคารเอ็มไพร์ให้เป็นคอมมูนิตี้ดิจิทัลรูปแบบใหม่ เชื่อมต่อผู้เช่าในอุตสาหกรรมดิจิทัลเข้าด้วยกันอีกด้วย ในขณะที่กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการค้า (Retail and Wholesale) สามารถเติบโตได้ดี ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวเติบโตของดัชนียอดขายของร้านค้า และบริษัทได้พัฒนาพื้นที่เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยวและกลุ่มลูกค้าอยู่เสมอ โดยโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เดสติเนชั่น มีจำนวนผู้มาใช้บริการเพิ่มสูงขึ้นถึง 47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากกิจกรรม Disney100 Village at Asiatique พร้อมเสริมความแข็งแกร่งในการเป็นจุดหมายปลายด้านการท่องเที่ยวและด้านอาหารเครื่องดื่มระดับโลกที่ช่วยดึงดูดจำนวนผู้เช่าและจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ   รวมถึงการเปิดตัวโครงการ THE PANTIP LIFESTYLE HUB ที่เชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด “EVERY HAPPINESS FOR EVERYONE” มุ่งสร้างแลนด์มาร์คไลฟ์สไตล์สำหรับครอบครัวใจกลางเมืองเชียงใหม่ และโครงการ THE PANTIP AT NGAMWONGWAN โฉมใหม่ภายใต้แนวคิด “TREASURE HUNT” สู่การเป็นศูนย์พระเครื่อง และศูนย์รวมอาหารและไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุด สำหรับธุรกิจค้าส่ง AWC ได้ร่วมรวมพลังผู้นำธุรกิจอาหารทั้งภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อนประเทศไทยเป็น “ศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค” ที่ AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM ตอบโจทย์การค้าส่งอาหารครบวงจร พร้อมเชื่อมผู้ค้าส่งอาหารทั่วโลกกับผู้ซื้อในเขตเศรษฐกิจอาเซียน   AWC มุ่งมั่นสร้างการเติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน โดยบริษัทได้ลงนามสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) รวมถึงสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท กับ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เพื่อรองรับแผนการพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์เสริมความแข็งแกร่งของพอร์ตโฟลิโอที่มุ่งเน้นการลดการใช้ทรัพยากร และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ ร่วมสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวยั่งยืน โดย AWC ตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนวงเงินสินเชื่อระยะยาวซึ่งเป็นสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนและสินเชื่อสีเขียวเป็น 100% เพื่อมุ่งสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับสังคมองค์รวม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน   AWC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแผนกลยุทธ์เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยล่าสุดบริษัทได้รับรางวัลที่สะท้อนถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานสากลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในปีนี้ AWC ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประเมินองค์กรด้านความยั่งยืน ในกลุ่มดัชนี Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) พร้อมได้รับคัดเลือกเป็น “Top 1% S&P Global ESG Score 2022” รวมถึงยังคงรักษาการประเมินจาก MSCI ESG Rating ในระดับ "AA" เป็นต้น สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และสร้างมิติใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยั่งยืนของไทยตามพันธกิจ “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” (Building a Better Future)   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] AWC จับมือกับ Ant Group ร่วมสร้างความแข็งแกร่งเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม
เอพี ไทยแลนด์ ประกาศรายได้ครึ่งปีแรก 23,856 ล้าน เตรียมเปิดตัว 40 โครงการใหม่ทั่วไทย

เอพี ไทยแลนด์ ประกาศรายได้ครึ่งปีแรก 23,856 ล้าน เตรียมเปิดตัว 40 โครงการใหม่ทั่วไทย

เอพี ไทยแลนด์ เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 66 เติบโตอย่างแข็งแกร่งด้วยแรงส่งจากสินค้าทุกเซกเมนต์ในเครือ ดันครึ่งปีแรกรายได้รวมมากถึง 23,856 ล้าน กำไรสุทธิ 3,023 ล้าน ผลจากสินค้าแนวราบที่ยังคงรักษาสถานะการเติบโตได้อย่างคงที่ ประกอบกับรายได้จากสินค้ากลุ่มคอนโดที่ปรับตัวกลับคืน ครึ่งปีหลังเตรียมเปิดตัว 40 โครงการใหม่ มูลค่ารวมประมาณ 55,940 ล้าน  ​   นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตเป็นที่น่าพอใจ โดยมีรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100% JV) และธุรกิจอื่นๆ ได้สูงถึง 23,856 ล้านบาท กำไรสุทธิเท่ากับ 3,023 ล้านบาท   ทั้งนี้ ณ ไตรมาส 2 ที่ผ่านมาบริษัทฯ สามารถสร้างรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100% JV) และธุรกิจอื่นๆ ได้สูงถึง 12,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีรายได้รวมเท่ากับ 11,805 ล้านบาท ด้านกำไรสุทธิ 1,544 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 1,478 ล้านบาท เท่ากับ 4.5% โดยในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา สินค้ากลุ่มแนวราบอย่างทาวน์โฮมและบ้านเดี่ยวยังถือเป็นคีย์ไดรฟ์สำคัญในการเติบโตทางรายได้และกำไรอย่างแข็งแกร่ง โดยรายได้ที่เกิดขึ้นมาจากสินค้าแนวราบคิดเป็นมูลค่า 17,358 ล้านบาท หรือคิดเป็น 73% ของสัดส่วนรายได้รวมทั้งหมด ซึ่งมีบ้านเดี่ยวแบรนด์ THE CITY, CENTRO และบ้านกลางเมือง เป็นกำลังหลักหนุนสร้างรายได้รวมในกลุ่มแนวราบ   สำหรับสินค้ากลุ่มคอนโดมิเนียม ภาพรวมธุรกิจเริ่มมีแนวโน้มเป็นบวก ประกอบกับสัญญาณการโอนกรรมสิทธิ์เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ รับรู้รายได้จาก ASPIRE รัตนาธิเบศร์ เวสต์ตัน, ASPIRE เอราวัณ ไพร์ม และคอนโดมิเนียมร่วมทุนอย่าง RHYTHM เจริญกรุง พาวิลเลี่ยน ที่ทยอยรับรู้รายได้ต่อเนื่องในไตรมาสที่ผ่านมา ณ 31 กรกฎาคม บริษัทฯ มียอดขายรวมกว่า 46,819 ล้านบาท และในครึ่งปีหลังบริษัทฯ เตรียมเปิดตัว 40 โครงการใหม่ มูลค่ารวมประมาณ 55,940 ล้านบาท โดยเป็นทาวน์โฮม 19 โครงการ มูลค่า 19,550 ล้านบาท บ้านเดี่ยว 14 โครงการ มูลค่า 24,750 ล้านบาท คอนโดมิเนียม 3 โครงการ มูลค่า 8,300 ล้านบาท และต่างจังหวัด 4 โครงการ มูลค่า 3,340 ล้านบาท ส่งผลให้ตลอดครึ่งปีหลังเอพีจะมีโครงการพร้อมขายทั้ง กทม. และต่างจังหวัดมากกว่า 179 โครงการ มูลค่ากว่า 143,367 ล้านบาท   ทั้งนี้ ในกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทฯ ยังคงดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ DIVE DEEPER IN PROPERTY BUSINESS ด้วยการทำงานแบบเจาะลึก เข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อครองความเป็นผู้นำในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย ผ่าน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจพัฒนาคอนโดมิเนียม กลุ่มธุรกิจพัฒนาบ้านเดี่ยว และกลุ่มธุรกิจพัฒนาทาวน์โฮม   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เอพี ไทยแลนด์ จบครึ่งปีแรกทำยอดกว่า 39,500 ล้าน เดินหน้าเปิดโปรเจ็กต์ครึ่งหลังอีก 40 โครงการ -เอพี ไทยแลนด์ 4 เดือนแรก ตุนยอดกว่า 14,264 ล้าน เปิด 16 โปรเจ็กต์ใหม่ Q2
ศุภาลัย โชว์ครึ่งปีแรกกวาดรายได้ 14,346 ล้าน  ลุยเปิดใหม่ครึ่งปีหลัง 27 โครงการ

ศุภาลัย โชว์ครึ่งปีแรกกวาดรายได้ 14,346 ล้าน ลุยเปิดใหม่ครึ่งปีหลัง 27 โครงการ

ศุภาลัย เผยผลประกอบการครึ่งปีแรก ​สถานะทางการเงินแข็งแกร่ง โกยรายได้รวม 14,346 ล้าน​ กำไรสุทธิ 2,781 ล้าน​ เดินหน้าลุยตลาดอสังหาฯ เต็มกำลัง ครึ่งปีหลังเปิดโครงการใหม่อีก 27 โครงการ มูลค่ารวม 28,610 ล้าน ขยายโปรดักส์ใหม่ทุกเซกเมนต์ มุ่งสู่เป้าหมายรายได้ 36,000 ล้าน   นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า ผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรก 2566 บริษัทฯ ยังคงรักษาการเติบโตที่มั่นคงต่อเนื่องและอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยสามารถสร้างรายได้รวม 14,346 ล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาค โดยแบ่งเป็นรายได้กลุ่มสินค้าแนวราบ 65% ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับบริษัทฯ และรายได้กลุ่มคอนโดมิเนียม 35% โดยตลาดคอนโดเริ่มกลับมามีส่วนแบ่งในตลาดมากขึ้น และลูกค้าให้ความสนใจซื้ออย่างต่อเนื่อง โดยครึ่งปีแรกมีโครงการศุภาลัย ลอฟท์ สาทร - ราชพฤกษ์ มูลค่า 1,465  ล้านบาท ซึ่งเป็นคอนโดที่สร้างเสร็จส่งมอบโครงการให้ลูกค้าไปเรียบร้อยแล้ว ขณะที่บริษัทฯ สามารถทำยอดขายรวม 6 เดือน อยู่ที่ 17,285 ล้านบาท มาจากการตอบรับที่ดีของลูกค้าในทุกทำเลโครงการที่มีสินค้าสร้างเสร็จพร้อมอยู่ รวมถึงเปิดตัวโครงการใหม่แล้ว 10 โครงการ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาค   สำหรับด้านกำไรสุทธิเท่ากับ 2,781 ล้านบาท และอัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ระดับ 50% ส่วนต้นทุนการเงินที่อัตราเฉลี่ย 2.30% ต่อปี ณ วันที่ 30 มิ.ย. 66 โดยมียอดขายที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) ประมาณ 19,804 ล้านบาท  ณ วันที่ 30 มิ.ย. 66 โดยคาดว่าจะสามารถทยอยโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกค้าและรับรู้เป็นรายได้ในปี 2566 อีกจำนวน 11,606  ล้านบาท พร้อมกันนี้บริษัทฯ ยังเดินหน้าสรรหาที่ดินในทุกทำเล สำหรับรองรับการพัฒนาโครงการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และยังเตรียมส่งมอบคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าสามารถทำผลงานถึงเป้ายอดขายและรายได้ที่ตั้งไว้เช่นเดิม   ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลประกอบการงวดครึ่งปีแรกให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท โดยกำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิเงินปันผล (XD) 22 ส.ค. 66 และจ่ายเงินปันผล วันที่  6 ก.ย. 66   อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มั่นใจครึ่งปีหลัง 2566 ภาพรวมตลาดอสังหาฯ มีแนวโน้มเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยบวกโดยเฉพาะการเติบโตของสภาพเศรษฐกิจและการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้บริษัทฯ เตรียมเดินหน้าพัฒนาโครงการใหม่ รวม 27 โครงการ มูลค่ารวม 28,610 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้า พร้อมนำเสนอสินค้าสร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่ทั้งโครงการแนวราบและคอนโดมิเนียมในทุกทำเล ด้วยการบริหารจัดการอย่างครบวงจร เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ทำเลที่ดีที่สุด ในราคาที่เหมาะสม และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากที่สุด สามารถดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืนในระยะยาว เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส ปรับธุรกิจและเตรียมพร้อมรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลง   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ศุภาลัย กวาดยอดขายครึ่งปี 17,285 ล้าน ลุยเปิด 27 โครงการใหม่
PROUD  โชว์งบครึ่งปีแรก โต 984%  กวาดยอดขาย 1,192 ล้าน

PROUD โชว์งบครึ่งปีแรก โต 984% กวาดยอดขาย 1,192 ล้าน

PROUD โชว์ผลประกอบการครึ่งปีแรก 2566 รายได้ 1,192 ล้าน โต 984% กำไรสุทธิ 147 ล้าน  แนวโน้มธุรกิจครึ่งปีหลัง เร่งโอนกรรมสิทธิ์ เตรียมปิดโครงการอินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน อัดโปรฯ กระตุ้นยอดขายโครงการคอนโดมิเนียมเวหา หัวหิน โครงการรมย์คอนแวนต์ คาดยอดขายทั้งปีตามเป้าหมาย 1,705 ล้าน เล็งขยายธุรกิจต่อ เตรียมลงทุนที่ดินเพิ่ม   นายภูมิพัฒน์ สินาเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PROUD เปิดเผยว่า ผลประกอบการครึ่งปีแรก 2566 รายได้รวม 1,192 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,082 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 110  ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 984% และมีกำไรสุทธิ 147 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุนสุทธิ 58 ล้านบาท ขณะที่ ผลประกอบการไตรมาส 2/66 มีรายได้รวม 288 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 178 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 110  ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 162% และมีกำไรสุทธิ 9 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุนสุทธิ 20  ล้านบาท   ทั้งนี้ ผลประกอบการในส่วนของรายได้และกำไรปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการขายและทยอยส่งมอบโครงการอินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน อีกทั้ง บริษัทฯ เร่งโอนกรรมสิทธิ์เตรียมปิด (Sold Out) โครงการอินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน มูลค่า 3.84 พันล้านบาท จำนวน 238 ยูนิต ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 92% หรือมูลค่ารวม 3,515 ล้านบาท มียอดขายรอโอน (Backlog) 229 ล้านบาท  คาดการโอนเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 3/2566   อีกทั้ง บริษัทเดินหน้าจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย โครงการคอนโดมิเนียม ‘เวหา หัวหิน’(VEHHA)  คอนโดมิเนียมลักชัวรี่ที่สูงที่สุดบนทำเลศักยภาพในหัวหิน มูลค่าโครงการ 2,290 พันล้านบาท จำนวน 364 ยูนิต ปัจจุบัน มียอดขาย (Pre-Sale) แล้ว 33% โครงการ ‘รมย์ คอนแวนต์’ (ROMM Convent) คอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี ใจกลางเมือง บนทำเลศักยภาพที่หาได้ยากที่สุดแห่งหนึ่งบนถนนคอนแวนต์ -สาทร มูลค่าโครงการรวม 4,150 ล้านบาท  ปัจจุบัน มียอดขาย (Pre-Sale) แล้ว 32%  ภาพรวมยอดขายของบริษัทฯ ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากการเดินหน้าขยายธุรกิจตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้ คาดยอดขายทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมาย 1,705 ล้านบาท สำหรับ ทิศทางธุรกิจในช่วงครึ่งหลังปี 2566 มีทิศทางที่ดี บริษัทฯ มองหาโอกาสในการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายฐานการสร้างรายได้ให้กว้างขึ้น วางแผนซื้อที่ดินแปลงใหม่เพิ่ม รวมถึง มุ่งเน้นการพัฒนาโครงการตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าให้ครอบคลุม   ทั้งนี้ การเข้าซื้อ 2 โครงการจาก บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จํากัด (มหาชน) หรือ NOBLE และ บริษัท ทีเอ็นแอล อัลไลแอนซ์ จำกัด ได้แก่ นิว ดิสทริค อาร์ 9 (NUE District R9 ) มูลค่าโครงการ 6,519 ล้านบาท และ "นิว ครอส คูคต สเตชัน (NUE Cross Khu Khot)" มูลค่าโครงการ 2,104 ล้านบาท ซึ่งมียอดขายแล้ว 100% คาดว่าเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้ในต้นปี 2567 เป็นต้นไป ปัจจุบันบริษัทฯ มียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) 9,800 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ตอนนี้จนถึงปี 2569   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -VI ARI บ้านเดี่ยวระดับ Ultra Luxury เริ่ม 82 ล้าน หนึ่งเดียวในย่านอารีย์      -บอร์ด โนเบิล ขาย 2 เงินลงทุนใน 2 โครงการ 867.57 ล้าน ให้ พราว เรียล เอสเตท  
อนันดา ขีดเส้น 14 วันพบผู้ว่ากทม.-รฟม.หาทางแก้ปัญหา แอชตัน อโศก หลังศาลปกครองสูงสุด สั่งยกเลิกใบอนุญาตก่อสร้าง​

อนันดา ขีดเส้น 14 วันพบผู้ว่ากทม.-รฟม.หาทางแก้ปัญหา แอชตัน อโศก หลังศาลปกครองสูงสุด สั่งยกเลิกใบอนุญาตก่อสร้าง​

อนันดา ออกโรงแจงด่วน หลังศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืน ตามคำพิพากศาลปกครองกลาง กรณี แอชตัน อโศก ใช้ที่ดินของรฟม.มาเป็นทางเข้า-ออกโครงการได้ เหตุเป็นที่ดินเวนคืนของรฟม. ให้เอกชนใช้ประโยชน์ไม่ได้ ส่งผลให้ใบอนุญาตก่อสร้างก่อนหน้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย “ชานนท์” ขีดเส้นภายใน 14 วันเข้าพบ ผู้ว่ากทม.-รฟม.จี้ให้รับผิดชอบ หามาตรการเยียวยา ระบุ อนันดา คือ หนึ่งในผู้เสียหาย ร่วมกับลูกบ้าน 580 ครอบครัว   เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ออก Company Statement (หนังสือชี้แจงของบริษัทฯ) กรณีที่ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษาในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวก (ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องผู้อำนวยการเขตวัฒนา ที่ 1 , ผู้อำนวยการสำนักการโยธา ที่ 2 , ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ 3 , ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ 4 , คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน ที่ 5 (ผู้ถูกฟ้องคดี และบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด "บริษัทฯ" ซึ่งไม่ใช่ผู้ถูกฟ้องคดีโดยตรง แต่ถูกเรียกเข้ามาในฐานะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากผลแห่งคดี ในฐานะผู้ร้องสอด ในคดีหมายเลขดำที่ อส 67/2564 หมายเลขแดงที่ อส.188/2566 โดยศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษา ยืนตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ขอน้อมรับและเคารพในคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดตามที่ได้วินิจฉัยไว้กรณีที่ศาลปกครองสูงสุด ได้วินิจฉัยไว้ แต่ไม่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นแบบนี้ขึ้น โดยบริษัทได้ออก Company Statement เพื่อขอควาเมเป็นธรรม เนื่องจากบริษัทเป็นภาคเอกชน ทำงานด้วยความสุจริต มีการขออนุญาตหน่วยงานอย่างถูกต้องมาโดยตลอด โดยเห็นว่าศาลปกครอง ถือว่าไม่ใช่ศาลยุติธรรม เป็นศาลระหว่างประชาชนกับรัฐ ถ้ารัฐเอาเปรียบประชาชน สามารถฟ้องได้ กรณีภาครัฐทำบางสิ่งบางอย่างไม่ถูกต้อง   "สถานการณ์มาถึงตรงนี้ ภาครัฐจะช่วยหาทางออกซึ่งกันและกันได้อย่างไร ทางออกมันเป็นปัญหากฎหมาย เราก็ไม่ได้ expert ด้านกฎหมาย เราก็เป็นหนึ่งบริษัทที่ทำตามขั้นตอนกฎหมายแล้ว ก็สงสัยเหมือนกันว่าจะมีทางออกอย่างไร หรือจะต้องทุบตึกเลยหรือ หรือมีวิธีใด ถ้าเป็นปัญหากฎหมาย จะมีการออกกฎหมายใหม่ให้รฟม.เอาที่มาทำทางเข้าออกได้หรือไม่ ก็ไม่รู้เหมือนกัน ผมยังเกาหัวเหมือนกัน ยังคิดไม่ออก ขอให้หน่วยงานภาครัฐ หลัก ๆ ทางกทม. รฟม.ต้องหาทางออกช่วยเราและลูกค้าของเรา ต้องด่วนเร็วที่สุด เราอยากไปพบผู้ว่ากทม. ผู้ว่ารฟม. จะช่วยเราหาทางออกร่วมกันอย่างไร เพราะนี่เป็นปัญหาสังคม นี่เป็นความยากลำบากของเรามาก"   จากผลแห่งคำพิพากษาที่เกิดขึ้นดังกล่าว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ในความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ต่อเจ้าของร่วมอาคารชุด และบริษัทฯ เพราะหากหน่วยงานราชการผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่เห็นซอบ และอนุมัติแล้วโครงการนี้จะไม่สามารถก่อสร้างได้ตั้งแต่แรก ซึ่งจะไม่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงอย่างที่เป็นอยู่   ทั้งนี้ บริษัทฯจะเร่งรีบดำเนินการ ในการเรียกร้องค่าเสียหายกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อเยียวยาความเสียหายแก่เจ้าของร่วมอาคารชุดและบริษัทฯ โดยเร็ว รวมทั้ง บริษัทฯ จะดำเนินการประสานงานคณะกรรมการนิติบุคคลแอชต้น อโศก และท่านเจ้าของร่วมบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด เพื่อขอเข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อทวงถามความรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น ภายใน 14 วัน นับแต่วันนี้   บริษัทฯ ใคร่ขอยืนยันว่า การทำโครงการแอชตัน อโศก นั้น ได้มีการตรวจสอบประเด็นทางกฎหมายรวมทั้งข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตต่าง ๆ รวมทั้งสภาพที่ดินของโครงการอย่างรอบคอบรัดกุม อีกทั้งการพิจารณาอนุมัติในการทำโครงการต่าง ๆ ยังได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติ และภายใต้การกำกับ ควบคุมจากหน่วยงานของรัฐไม่ต่ำกว่า 8 หน่วยงาน จึงเป็นที่เห็นประจักษ์และยืนยันได้ว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการไปด้วยความสุจริต และชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้งแล้วทุกประการเท่าที่บริษัทฯ จะทำได้ด้วยความเชื่อถือโดยสุจริตว่าการอนุมัติของหน่วยงานราชการทุกฝ่ายนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว บริษัท ฯ จึงใคร่ขอความเป็นธรรมจากทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ไขป้องกันมิให้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังเช่นคดีนี้ได้เกิดขึ้นอีก และเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐได้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็วด้วย ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ปรากฎการณ์นี้เป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมนี้ที่ตึกที่พักอาศัยสร้างเสร็จแล้วและมีศาลปกครองมาพิพากษาเช่นนี้ แต่บริษัทฯ ต้องเคารพคำพิพากษา อนันดาฯ หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบนี้ ร่วมกับเจ้าของ 580 ครัวเรือน จำนวน 668 ยูนิต ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว ทุกยูนิตมีหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดหมดแล้ว แบ่งเป็นชาวไทย 438 ยูนิต ต่างชาติ 142 ยูนิต จาก 20 ประเทศ ​โดยโครงการมีมูลค่า 6,481 ล้านบาท ส่งมอบแล้ว 87% หรือคิดเป็นมูลค่า 5,653 ล้านบาท มีมูลค่าคงเหลือ 828 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้บริษัทฯ ถือหุ้น 51% ในบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด ส่วนที่เหลืออีก 49% เป็นกลุ่มมิตซุย ฟูโดซัง จากประเทศญี่ปุ่น ถือหุ้น เคสนี้เรายืนยันว่าเราทำด้วยความถูกต้องและสุจริต เพราะเราผ่านการขออนุญาตมาจาก 8 หน่วยงาน โดยมี 9 ใบอนุญาต และเรายังขอความเห็นก่อนดำเนินการด้วย อย่างน้อย 7 หน่วยงานในเคสนี้ และผ่าน 5 คณะกรรมการก่อนจะออกมาเป็นใบอนุญาตและใบอ.ช. สิ่งสำคัญ มีโครงการที่คล้ายคลึงกันอีก 13 โครงการ ยังไม่นับรวมโครงการที่ใกล้เคียงอีกเป็นร้อยในการขอเชื่อมทางกับหน่วยงานราชการ และเรายังมีการจ่ายค่าเชื่อมทางเกือบร้อยล้านบาทให้กับรฟม.ไม่ใช่ขอเชื่อมทางฟรี ขณะที่นายพิสิษฐ เดชไชยยาศักดิ์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กล่าวว่า กรณีศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนคำพิพากษาตามศาลปกครองกลาง มีประเด็นสำคัญมีเพียงประเด็นเดียว คือ ที่ดินของรฟม. มาจากการเวนคืนทำให้ไม่สามารถนำมาให้เอกชนประกอบการได้ และศาลจึงพิจารณาว่าการที่หน่วยงานภาครัฐมาออกใบอนุญาตในการก่อสร้างขัดต่อกฎหมาย ขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่ 33 และฉบับที่ 50 เป็นประเด็นสำคัญ ส่วนประเด็นอื่น ๆ ไม่มีนัยยะต่อความเสียหายครั้งนี้   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ศาลปกครอง สั่งรื้อ แอชตัน-อโศก ใน 90 วัน เฉพาะส่วนที่สูงเกินกว่าความกว้างถนน 6.40 เมตร -ถอดคำแถลงฯ CEO อนันดา กรณี ASHTON Asoke
ศุภาลัย กวาดยอดขายครึ่งปี 17,285 ล้าน ลุยเปิด 27 โครงการใหม่

ศุภาลัย กวาดยอดขายครึ่งปี 17,285 ล้าน ลุยเปิด 27 โครงการใหม่

ศุภาลัย โชว์ผลงานครึ่งปีแรกกวาด ยอดขาย รวม 17,285 ล้านบาท พร้อมเปิดแผนรุกตลาดอสังหาฯ ครึ่งปีหลัง ทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม รวม 27 โครงการ ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาค ขับเคลื่อนสู่เป้าหมายยอดขาย 36,000 ล้านบาท   นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีแรก 2566 บริษัทยังคงรักษาการเติบโตที่มั่นคงอย่างต่อเนื่อง ดีมานด์ตอบรับดีทั้งสินค้าแนวราบและคอนโดมิเนียม สามารถสร้าง ยอดขาย รวม 17,285 ล้านบาท คิดเป็น 48% จากเป้าหมายยอดขาย 36,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนยอดขายโครงการแนวราบ 11,304 ล้านบาท และโครงการคอนโดที่เปิดใหม่และสร้างเสร็จพร้อมอยู่ 5,981 ล้านบาท โดยมาจากการตอบรับที่ดีของลูกค้าในทุกทำเลโครงการที่มีสินค้าสร้างเสร็จพร้อมอยู่ รวมถึงโครงการที่เปิดตัวใหม่ ทั้งนี้ ยอดขาย ที่เพิ่มขึ้นมาจากโครงการภูมิภาคของบริษัท ยังคงได้รับความสนใจและเติบโตโดดเด่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งยอดขายคอนโด 570 ล้านบาท เติบโต 72% โครงการแนวราบ 7,214 ล้านบาท เติบโต 6% เมื่อเทียบกับยอดขายครึ่งปี 2565 สำหรับโครงการใหม่ที่สามารถสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ ศุภาลัยปาร์ค เอกมัย - พัฒนาการ , ศุภาลัยบลูเวล หัวหิน , ศุภาลัยเอเลแกนซ์ พหลโยธิน 50 และ ศุภาลัย เลค วิลล์ ภูเก็ต   นอกจากนี้ บริษัทยังมีสินค้าสร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่ในมือ ทั้งโครงการแนวราบและคอนโด มูลค่ามากกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเข้ามารองรับการเติบโตของยอดขายในครึ่งปีหลัง โดยล่าสุด ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โครงการศุภาลัยลอฟท์ สาทร - ราชพฤกษ์” ได้เปิดให้ลูกค้าเข้าตรวจรับห้องชุดและได้รับการตอบรับจากลูกค้าทยอยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดไปแล้ว ประมาณ 75%   สำหรับครึ่งปีหลัง 2566 บริษัทเดินเครื่องพัฒนาโครงการใหม่รวม 27 โครงการ มูลค่ารวม 28,610 ล้านบาท เปิดตัวโครงการแนวราบ 26 โครงการ และคอนโด 1 โครงการ โดยมีการออกแบบผลิตภัณฑ์และเปิดตัวแบรนด์ใหม่ การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมลุยเปิดตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดใหม่ ๆ ในทำเลศักยภาพ โดยโครงการแนวราบวางแผนเปิดเพิ่ม 4 จังหวัดใหม่ คือ นครปฐม ลำปาง ราชบุรี และจันทบุรี และคอนโดแบรนด์ใหม่อีกด้วย เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะช่วยหนุนยอดขายให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย อีกทั้งไตรมาส 3 ยังเตรียมพร้อมโอนฯ ห้องชุดให้ลูกค้ากับโครงการศุภาลัยพรีเมียร์ สี่พระยา-สามย่าน ทำให้บริษัทฯ มั่นใจว่าจะได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากการโอนฯ ของลูกค้าเช่นกัน และคาดว่าจะทยอยโอนกรรมสิทธิ์ได้ครบภายในปี 2566 ช่วยผลักดันรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้   ด้วยความมั่นใจในกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทสามารถสร้างยอดขายรวมได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 36,000 ล้านบาท ด้วยการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแล้วครอบคลุม 28 จังหวัด และมีสินค้าพร้อมอยู่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ความพร้อมทางต้นทุนทางการเงิน สร้างสรรค์สินค้าและนวัตกรรมต่างๆ การตลาดและการขาย การบริการอย่างครบวงจร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ศุภาลัย เปิดแผนขายบ้าน-คอนโดปี 66 ลุยขยายต่างจังหวัดเพิ่ม 5 แห่ง ​​20 โครงการ -ศุภาลัย บุกตลาดต่างจังหวัดแห่งที่ 23 ปั้นคอนโด “ศุภาลัย บลูเวล หัวหิน”
REIC เปิด ค่าก่อสร้างบ้าน Q2/66 เพิ่ม 2.1% กระเบื้อง-ค่าแรง  ขึ้นราคา ​หวั่นกระทบต้นทุนก่อสร้างสูงขึ้น

REIC เปิด ค่าก่อสร้างบ้าน Q2/66 เพิ่ม 2.1% กระเบื้อง-ค่าแรง  ขึ้นราคา ​หวั่นกระทบต้นทุนก่อสร้างสูงขึ้น

ศูนย์ข้อมูลอสังฯ รายงานดัชนีราคา ค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน Q2 ปรับตัวขึ้นจากปีก่อน 2.1% แต่ลดลง 0.3% จากไตรมาสก่อนหน้า  งานออกแบบและระบบ พบการปรับเพิ่มขึ้นเฉพาะในงานสถาปัตยกรรม 5.4% แต่งานอื่นมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่กระเบื้องปรับขึ้นราคาถึง 12.5%  ส่วนค่าแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 5.8% หวั่นกระทบค่าก่อสร้างบ้านของประชาชน และต้นทุนการพัฒนาโครงการ    ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 2 ปี 2566 มีค่าดัชนีเท่ากับ 134.0  จุด ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 2.1% แต่เป็นการเพิ่มที่มีทิศทางการชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน 0.3% ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานในไตรมาส 2 ปี 2566 แสดงให้เห็นว่าในหมวดงานออกแบบและงานระบบ มีค่าดำเนินการในงานสถาปัตยกรรมมีการเพิ่มขึ้นสูงที่สุด 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่เป็นการเพิ่มแบบชะลอตัวลง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) ซึ่งงานสถาปัตยกรรมมีสัดส่วน 65.8% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบ สำหรับงานอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ งานวิศวกรรมโครงสร้าง มีอัตราค่าตอบแทนลดลง 4.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 27.9% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบ งานระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร อัตราค่าตอบแทนลดลง 0.01% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 3.6% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบ งานระบบสุขาภิบาล มีอัตราค่าตอบแทนลดลง 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 2.7% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบ สำหรับหมวดราคาวัสดุก่อสร้าง พบว่า วัสดุก่อสร้างที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนใน 2 ประเภท ได้แก่ วัสดุประเภทกระเบื้อง และ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 12.5% และ 4.6% แต่วัสดุประเภทเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ผลิตภัณฑ์คอนกรีต และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ มีการปรับตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงมากที่สุดถึงประมาณ 17.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี (YoY) โดยเป็นผลมาจากปริมาณอุปทานเหล็กในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับราคาวัตถุดิบมีการปรับลดตามราคาพลังงาน รวมถึงอาจชะลอเกิดจากการซื้อและความต้องการลงทุนของเอกชนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ดัชนีราคาลดลง แต่หมวดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาดที่มีการเพิ่มของค่าแรงขั้นต่ำ และการขาดแคลนช่างฝีมือแรงงานคุณภาพ สำหรับราคาหมวดวัสดุก่อสร้าง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 60.4% ของค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ราคาเพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 27.5% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ราคาลดลง 17.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง 2.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 9.3% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ราคาลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 7.1% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ราคาลดลง 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 6.1% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง กระเบื้อง ราคาเพิ่มขึ้น 12.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่ลดลง 1.4% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 5.6% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง สุขภัณฑ์ ราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และ เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 3.3% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง วัสดุก่อสร้างอื่นๆ ราคาลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 41.2% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง สำหรับภาพรวมการเปลี่ยนแปลงตามดัชนีราคา ค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานในไตรมาส 2 ปี 2566 ที่ ได้สะท้อนต้นทุนการสร้างที่อยู่อาศัย เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปีก่อนเล็กน้อยและแนวโน้มการทรงตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ยังมีตัวแปรสำคัญที่ต้องคำนึงถึงทั้งในปัจจุบันและอนาคต คือ ค่าจ้างแรงงาน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 39.6% ของ ค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ในไตรมาส 2 ปี 2566 ค่าแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้สูงกว่าปัจจุบันมาก ก็จะกระทบค่าก่อสร้างบ้านของประชาชน และยังอาจส่งผลไปถึงต้นทุนการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ด้วย   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ประเมินที่อยู่อาศัยปี 66 เจอ 3 ปัจจัยลบกดดันติดลบทุกด้าน​ -REIC เผย ยอดโอนคอนโดต่างชาติ Q1/65 ลดทั้งจำนวน-มูลค่า เหตุลูกค้าจีนยังปิดประเทศ  
How to วางแผนการเงิน อย่างไร ให้กู้ซื้อบ้านหลังแรก ได้ตามความต้องการ​

How to วางแผนการเงิน อย่างไร ให้กู้ซื้อบ้านหลังแรก ได้ตามความต้องการ​

วางแผนการเงิน การวางแผนการเงิน เพื่อซื้อบ้านสักหลัง หรือคอนโดมิเนียมสักห้อง สำคัญพอ ๆ กับการหาข้อมูลบ้านและตัดสินใจว่าจะซื้อที่ไหน เพราะการจะได้ที่อยู่อาศัยตามที่เราต้องการ เราก็ต้องมีกำลังทรัพย์เพียงพอด้วย ซึ่งหากเราไม่ได้มีเงินก้อนสะสมที่เตรียมไว้ซื้อบ้านด้วยเงินสด เราคงต้องกู้เงินจากธนาคารและผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ไป แต่การจะกู้เงินได้เราคงต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารด้วย   วันนี้ Reviewyourliving มีเคล็ดลับ การวางแผนการเงิน สำหรับคนที่กำลังตั้งเป้าหมายว่าต้องการจะซื้อบ้านสักหลัง เพื่อใช้อยู่กับครอบครัวหรือคนที่เรารัก ลองมาดูกันว่า วิธีการเตรียมความพร้อมด้านการเงินมีเรื่องอะไรบ้าง 5 วิธี วางแผนการเงิน กู้ซื้อบ้าน 1.เช็คเครดิตบูโร เริ่มต้นเราคงต้องมาตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเองก่อน โดยการเช็คเครดิตบูโร เพื่อดูว่าเรามีหนี้อยู่เท่าไร การผ่อนชำระที่ผ่านมาเป็นอย่างไร จ่ายตรงหรือจ่ายล่าช้าหรือไม่ เพราะพฤติกรรมการชำระหนี้ในอดีต จะเป็นตัวชี้วัดว่าเรามีคุณสมบัติเป็นลูกหนี้ที่ดีแค่ไหน ซึ่งบางทีเราก็อาจจะจำไม่ได้ว่าเรามีพฤติกรรมการจ่ายหนี้เป็นอย่างไร การเช็คเครดิตบูโร จึงควรทำก่อนเพื่อประเมินคุณสมบัติตัวเอง หรือบางคนอาจจะเคยติดเครดิตบูโรมาก่อน ก็จะได้รู้ว่าปัจจุบันเราหลุดจากการติดแบล็คลิสต์แล้วหรือยัง จะได้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ก่อนจะไปกู้ซื้อบ้าน ส่วนสถานที่เช็คเครดิตบูโร เราทำบทความเอาไว้ให้แล้ว ลองตามไปอ่านดูกันได้ กับ รวมแหล่งตรวจเครดิตบูโร เช็คความพร้อมก่อนสร้างหนี้ ​ 2.ประเมินความสามารถในการผ่อน-กู้ หากเราเป็นลูกหนี้ชั้นดี ไม่ได้ติดแบล็คลิสต์ ขั้นตอนต่อมาคงต้องประเมินความสามารถของตัวเอง ว่าปัจจุบันรายได้ที่มีอยู่ เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งหนี้สินและค่าใช้จ่ายประจำเดือนไปแล้ว เราเหลือเงินมากน้อยแค่ไหน จะสามารถกู้เงินได้เป็นจำนวนเท่าไร ซึ่งสูตรในการคิดคร่าว ๆ ก็มีประมาณนี้ คือ   เงินผ่อนต่อเดือน คิดจาก รายได้ หักค่าใช้จ่าย หัก 40% ของรายได้ต่อเดือนรวม เช่น มีรายได้ 20,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 5,000 บาท จะสามารถผ่อนได้ = (20,000-5,000)-40%= 9,000 บาท ส่วนวงเงินกู้ที่คาดว่าจะกู้ได้สูงสุด จะเอาเงินผ่อนต่อเดือน คูณ 150 เช่น 9,000 x 150 = 1.35 ล้านบาท  จะเป็นวงเงินที่ธนาคารน่าจะปล่อยให้กับเราในการกู้ซื้อบ้าน หรือคอนโดได้ 3.เคลียร์หนี้ถ้ามีหนี้อยู่ กรณีที่คำนวณคร่าว ๆ แล้ว วงเงินกู้ที่ได้ ยังไม่เพียงพอต่อราคาบ้านหรือคอนโด ที่เราจะซื้อ สิ่งที่ต้องทำ ก็คือ การลดหนี้ที่มีอยู่ หรือทำได้ต้องเครียหนี้ให้เหลือน้อยที่สุด บัตรเครดิตไหนปิดบัญชีได้ต้องปิดบัญชี หรือมีหนี้สินที่เป็นชื่อของเราในระบบการเงินไว้ ต้องปิดบัญชีให้หมดเท่าที่จะทำได้ 4.สร้างเครดิตการเงิน​ด้วย เช่น สเตทเมนท์ธนาคาร, จ่ายหนี้ตรงเวลา ถ้าเรายังไม่สามารถปิดหนี้ที่มีอยู่ตามข้อ 3 ได้ เราจำเป็นต้องสร้างเครดิตของตัวเองไปสักระยะหนึ่ง เพื่อให้ธนาคารเห็นวินัยทางการเงินของเราว่าเราจ่ายหนี้ตรงเวลา ซึ่งความจริงแล้วการสร้างเครดิตทางการเงินนี้ ควรจะทำเป็นนิสัยตั้งแต่ก่อนหน้ามาแล้ว หรือหากใครที่ทำอาชีพอิสระ หรือเป็นพ่อค้าแม่ค้า สิ่งที่ต้องทำเพื่อสร้างเครดิตทางการเงิน คือ การเดินบัญชีธนาคารอย่างสม่ำเสมอ ทำสเตทเมนท์ธนาคารให้ดูมีเครดิต ว่าเรามีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นสภาพคล่อง รายได้ และความสามารถในการบริหารเงินของเรา ควรมีสเตทเมนท์ธนาคารไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ยิ่งนานยิ่งสร้างเครดิตได้ดี 5.วางแผนเก็บเงินออม​ ​ นอกจากสร้างเครดิตต่าง ๆ ทางด้านการเงินไปแล้ว การวางแผนเก็บออมก็จะทำให้ฝันของคนมีบ้านเป็นจริงมากขึ้น เพราะการซื้อบ้านไม่ใช่แค่เงินดาวน์บ้านก้อนแรกเท่านั้น ยังมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย เราได้ทำบทความ ....​สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้   ดังนั้น หากคิดจะซื้อบ้านหรือคอนโด จึงต้องเริ่มต้นเก็บเงินออมสักก่อนหนึ่งไว้ อย่างน้อยที่สุด คือ ไม่ต่ำกว่า 20% ของราคาบ้านที่จะซื้อ ส่วนวิธีการเก็บเงินออม แล้วแต่เทคนิคและวิธีการของแต่ละคนที่สะดวก แต่หัวใจสำคัญของการออม คือ เมื่อมีรายได้ให้แบ่งเงินออมออกมาก่อนเป็นก้อนแรก ไม่ใช่รอให้เงินเหลือก่อนค่อยออมเงิน​   ทั้งหมด ก็เป็นแนวทางการวางแผนการเงิน กู้ซื้อบ้านหลังแรก สำหรับคนที่มีความฝันว่าอยากมีบ้านสักหลัง หรือคอนโดสักห้อง เชื่อว่าหากทำตามแนวทางนี้ ไม่นานความฝันที่ต้องการเป็นจริงแน่นอน   ที่มา-ธอส.,ดีดีพร็อพเพอร์ตี้, moneybuffalo   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -3 วิธีซื้อคอนโด หลังแรก และ เทคนิคเก็บเงิน สำหรับเด็กจบใหม่ -7 ปัจจัยเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ของคนยุคดิจิทัล
วัน ออริจิ้น เตรียมขายหุ้น IPO ระดมทุนกว่า 702 ล้านหุ้น ลุยธุรกิจโรงแรม-บริการ

วัน ออริจิ้น เตรียมขายหุ้น IPO ระดมทุนกว่า 702 ล้านหุ้น ลุยธุรกิจโรงแรม-บริการ

วัน ออริจิ้น หรือ ONEO ยื่นไฟลิ่ง ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เตรียมเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 702,800,000 หุ้น ชูโมเดลธุรกิจสร้างรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง และกระจายตัวจาก 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ธุรกิจโรงแรมและบริการ​ ธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกและอาคารสำนักงาน กลุ่มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง    นายปิติ จารุกำจร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด (มหาชน) (“ONEO”) เปิดเผยว่า ONEO บริษัทในกลุ่มบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร โดย ONEO มีธุรกิจครอบคลุม 4 กลุ่มหลัก ซึ่ง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ได้แก่ กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ซึ่งรวมถึงโรงแรม และเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ (Serviced Apartment) ซึ่งได้เปิดดำเนินการแล้ว 7 โครงการ มีห้องพักรวมจำนวน 1,579 ห้อง และอยู่ระหว่างการพัฒนารอเปิดดำเนินการ 12 โครงการ มีห้องพักรวมประมาณ 4,343 ห้อง กลุ่มธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกและอาคารสำนักงาน (Retail and Office Building) หรือกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ มีพื้นที่ค้าปลีก (Community Mall) เปิดดำเนินการแล้ว 1 โครงการ พื้นที่เช่าสุทธิรวม 2,053 ตารางเมตร และอยู่ระหว่างการพัฒนารอเปิดดำเนินการ 4 โครงการ พื้นที่เช่าสุทธิรวมประมาณ 16,720 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังมีอาคารสำนักงานรอเปิดดำเนินการ 2 แห่ง พื้นที่เช่าสุทธิรวมประมาณ 59,869 ตารางเมตร กลุ่มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม 5 ร้าน อยู่ระหว่างรอเปิดดำเนินการอีก 4 ร้าน และ ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการให้บริการด้านการบริหารโครงการในกลุ่มธุรกิจของ ONEO จำนวน 12 บริษัท และการบริหารจัดการโปรแกรมการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (Investment Property) หรือโปรแกรมแฮมป์ตัน จำนวน 7 โครงการ โดยในส่วนของโปรแกรมแฮมป์ตันอยู่ระหว่างรอดำเนินการอีก 6 โครงการ ทั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตของผู้บริโภคแบบครบวงจร ทำให้ ONEO มีรายได้กระจายตัวจาก 4 กลุ่มธุรกิจหลักดังกล่าว และมีฐานลูกค้าที่หลากหลายพื้นที่ทั้งแหล่งท่องเที่ยวหลักในประเทศไทย อาทิ กรุงเทพฯ ภูเก็ต กระบี่ หัวหิน และในพื้นที่ใกล้นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (“EEC”) ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร กล่าวอีกว่า บริษัทมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นผู้นำกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการบริการ ด้วยความมุ่งมั่นและสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า ตลอดจนการสร้างผลตอบแทนที่เติบโตอย่างยั่งยืน ต่อผู้ลงทุน ควบคู่กับการดูแลพนักงาน พันธมิตร และรับผิดชอบต่อสังคม ล่าสุด ONEO ได้แต่งตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และได้ยื่นแบบคำขออนุญาตออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) จำนวน 702,800,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 26.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ ONEO   ภายหลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ แบ่งเป็น หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 675,668,000 หุ้น หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายแก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของ ORI และบริษัทย่อยของ ORI จำนวนไม่เกิน 22,701,000 หุ้น รวมทั้งหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 4,431,000 หุ้น ที่เสนอขายแก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือ พนักงานของ ONEO และบริษัทย่อยของ ONEO ตามโครงการ ESOP (Employee Stock Option Program) ที่ราคาเดียวกับการเสนอขายประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ ONEO มีการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 4,600,000 หุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (ESOP Warrant) ที่ออกและเสนอขายให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือ พนักงานของ ONEO และบริษัทย่อยของ ONEO ตามโครงการ ESOP Warrant ทั้งนี้ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ และการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน ภายใต้สมมติฐานว่ามีการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนและการใช้ตามใบสำคัญแสดงสิทธิทั้งจำนวน จะส่งผลให้ ONEO มีทุนชำระแล้วเพิ่มเป็น 1,353,700,000 บาท คิดเป็นจำนวน 2,707,400,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท จากทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 1,000,000,000 บาท   โดยวัตถุประสงค์ของการเสนอขายหุ้น IPO ครั้งนี้เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนสำหรับการพัฒนาโครงการ และ/หรือการขยายธุรกิจ  และเพื่อชำระเงินกู้ยืม รวมทั้งใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินงานของ ONEO   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง  
บอร์ด โนเบิล  ขาย 2 เงินลงทุนใน 2 โครงการ 867.57 ล้าน ให้ พราว เรียล เอสเตท

บอร์ด โนเบิล ขาย 2 เงินลงทุนใน 2 โครงการ 867.57 ล้าน ให้ พราว เรียล เอสเตท

โนเบิล บอร์ด โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ ไฟเขียวขายเงินลงทุนใน 2 โครงการร่วมทุน ได้แก่ โครงการ นิว ดิสทริค อาร์ 9 และโครงการนิว ครอส คูคต สเตชัน ให้ พราว เรียว เอสเตท  คิดเป็นมูลค่า 867.57 ล้าน  ตามสัดส่วนที่โนเบิลถือหุ้น 50%    นายธงชัย บุศราพันธ์ รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOBLE ​ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ จำหน่ายหุ้นสามัญทั้งหมดที่บริษัทฯ ถืออยู่ในบริษัทร่วมทุน 2 แห่ง ได้แก่  บริษัท พระราม 9 อัลไลแอนซ์ จำกัด (“PA9”) เป็นผู้พัฒนาโครงการนิว ดิสทริค อาร์ 9 (Nue District R9) บริษัท คูคต สเตชัน อัลไลแอนซ์ จำกัด (“KK”) เป็นผู้พัฒนาโครงการนิว ครอส คูคต สเตชัน (Nue Cross Khu Khot Station ) พร้อมโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทฯ ในหนี้เงินกู้ยืมบางส่วนที่บริษัทร่วมทุนมีอยู่ต่อบริษัทฯ ให้แก่บริษัท พราว เรียล เอสเตล จำกัด (มหาชน) (“PROUD”) โดยคิดเป็นมูลค่า 867.57 ล้านบาทตามสัดส่วนที่ NOBLE ถือหุ้น 50% สาเหตุที่บริษัทฯ ทำรายการขายในโครงการดังกล่าว เป็นไปตามกลยุทธ์ในการดำเนินการ ที่มีความต้องการสร้างอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงที่สุด จากการลดระยะเวลาการถือครองและรับรู้กำไรที่สมเหตุสมผล โครงการร่วมทุนทั้ง 2 โครงการเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จในการขายอย่างสูง โดยโครงการนิว ครอส คูคต สเตชัน ซึ่งปัจจุบันได้ sold out ไปที่เรียบร้อย ส่วนโครงการนิว ดิสทริค อาร์ 9 ปัจจุบันมียอดขายแล้วกว่า 83% อีกทั้งมูลค่าการขายของทั้ง 2 โครงการยังถือเป็นการขายในมูลค่าที่สร้างผลตอบแทนที่ดีทั้งในแง่ของกำไรที่รับรู้ได้และกระแสเงินสดที่ได้กลับมา   รวมถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จะได้รับในฐานะเป็นผู้บริหารโครงการร่วมทุน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมองว่าการขายทั้ง 2 โครงการในช่วงจังหวะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม และสามารถนำเงินสดมาหมุนเวียนเพื่อนำไปลงทุนในโครงการใหม่ ๆ ที่ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น รวมถึงยังเป็นการปรับปรุงโครงสร้างเงินทุนของบริษัทฯ อีกด้วย นอกจากนี้ การขายโครงการดังกล่าวยังเป็นการปรับ Portfolio ของโครงการร่วมทุนเพื่อที่จะเพิ่มโครงการร่วมทุนใหม่ ๆในอนาคต ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีโครงการร่วมทุนกับบริษัท ทีเอ็นแอล อัลไลแอนซ์ จำกัด (“TNLA”)  ที่เปิดโครงการทั้งหมดแล้ว 9 โครงการ มูลค่ารวม 28,400 ล้านบาท   บริษัทฯ ยังทำหน้าที่เป็นผู้บริหารโครงการในบทบาทเดิม ซึ่งโครงการจะถูกบริหารภายใต้ บริษัทฯ เช่นเดิมทุกประการ รวมถึงชื่อโครงการ การก่อสร้างตามข้อผูกพันเดิมกับลูกค้าตามรายละเอียดที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายรวมไปถึงการบริหารโครงการหลังการขายและการรับประกันผลงานการก่อสร้าง เพื่อให้ไม่มีผลกระทบใดๆ กับลูกค้า   สำหรับกระบวนการขายเงินลงทุนและโอนหุ้นใน PA9 และ KK รวมถึงเงินกู้ยืมผู้ถือหุ้นบางส่วนจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อนที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วนแล้ว ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2566  ส่งผลให้บริษัทฯ จะสามารถบันทึกกำไรพิเศษในไตรมาส 3 ปี 2566   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ โชว์รายได้-กำไรไตรมาสแรกโต รับเศรษฐกิจ-ยอดต่างชาติฟื้น  -[PR News]โนเบิลเปิดตัว Noble Curate “ตัวคุณกำหนดทุกสิ่ง” ร่วมกับ 6 ไอคอนสถาปนิกไทย -เปิดเหตุผล พราว เรียลเอสเตท บุกตลาดกทม. กับวิธีทางสร้างรายได้ 15,000 ล้าน -พราว เรียลเอสเตท ปั้นโปรเจ็กต์ “เวหา” 2,290 ล้าน ชู 6 ไฮไลท์คอนโดลักชัวรี่สูงสุดในหัวหิน
เสนาดีเวลลอปเม้นท์ เปิด 7 โปรเจ็กต์ใหม่ Q2 หนุนเป้ายอดขายกว่า 1.8 หมื่นล.

เสนาดีเวลลอปเม้นท์ เปิด 7 โปรเจ็กต์ใหม่ Q2 หนุนเป้ายอดขายกว่า 1.8 หมื่นล.

เสนาดีเวลลอปเม้นท์ โชว์ผลงาน Q 1/2566 โกยรายได้รวม 1,959 ล้าน รับทิศทางตลาดอสังหาฯ ฟื้นตัว พร้อมเดินหน้าเปิดใหม่ 7 โครงการใหม่ในไตรมาส 2  รวมมูลค่า 6,400 ล้าน  มั่นใจผลงานตลดทั้งปีทำตามเป้าทั้งยอดขายและรายได้ หลังแบ็คล็อกหนุนรายได้อีกกว่า  7,356 ล้าน   นางสาวอธิกา บุญรอดชู  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดสรรเงินทุนและการลงทุน บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำทั้งแนวราบและแนวสูงและในฐานะดีเวลลอปเปอร์รายแรกพัฒนาหมู่บ้านโซลาร์เต็มรูปแบบ เปิดเผยว่า หลังจากทิศทางอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มฟื้นตัว ตามทิศทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตจากภาคการท่องเที่ยว และการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานไตรมาส 1/2566 ของแต่ละดีเวลลอปเปอร์เริ่มสดใสขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป   โดยไตรมาสแรกที่ผ่านมา ทางเสนาสามารถสร้างรายได้รวมจากธุรกิจอสังหาฯ อยู่ที่ 1,959 ล้านบาท มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 90.87 ล้านบาท และมียอดขายรวมอยู่ที่ 2,694 ล้านบาท ส่วนธุรกิจเช่าบริการมีรายได้ 289.88  ล้านบาท และธุรกิจโซลาร์มีรายได้ ​118.23 ล้านบาท สำหรับธุรกิจอสังหาฯ มีการรับรู้รายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์โครงการต่าง ๆ  ประกอบด้วย โครงการคอนโดมิเนียม เสนาคิทท์ บางแค เอ็มอาร์ที เฟส2 โครงการเฟล็กซี่ รัตนาธิเบศร์ ,เสนาคิทท์ เอ็มอาร์ที บางแค เฟส 1 ,เดอะคิทท์ ลำลูกกา คลองสอง  ,นิชโมโน สุขุมวิท-ปู่เจ้า ,เสนาคิทท์ เพชรเกษม-พุทธมณฑลสาย 7 ,นิช ไพร์ด เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ,นิช โมโน สุขุมวิทแบริ่ง  ,นิชโมโน รามคำแหง  ,เสนาคิทท์ เวสเกตต์ บางบัวทอง และโครงการเฟล็กซี่ สาทร – เจริญนคร รวมถึงยังรับรู้รายได้ จากการโอนกรรมสิทธิ์ โครงการกลุ่ม SENAJ  ประกอบด้วยโครงการ เจคอนโด  สาทร- กัลพฤกษ์  และโครงการไมอามี่ บางปู   ส่วนโครงการแนวราบ รับรู้รายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์จากโครงการหลักประกอบด้วย เสนา อเวนิว 1 และ 2 รังสิตคลอง 1 , เสนาวิลเลจ ติวานนท์ – บางกระดี , เสนา เวล่า  รังสิต คลอง 1 ,  เสนา วิลเลจ วงแหวน- บางบัวทอง และเสนา วิลเลจ  สุขุมวิท -แพรกษา เสนา เวล่า เทพารักษ์ บางบ่อ 2 และโครงการเสนา วีว่า ลาดกระบัง  เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังมียอดขายรอรับรู้รายได้ (แบ็คล็อก) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 คิดคิดเป็นมูลค่า 7,356 ล้านบาท   สำหรับช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดตัวโครงการใหม่  3 โครงการ  รวมมูลค่า 2,041 ล้านบาท ประกอบด้วย  1. เสนา วิลล์ รามอินทรา เฟส 3 มูลค่า 59 ล้านบาท 2.เสนาคิทท์ รัตนาธิเบศร์ – บางบัวทอง มูลค่า 1,021 ล้านบาท และ 3. เสนาวิลล์ วงแหวน -บางบัวทอง มูลค่า 961 ล้านบาท  ซึ่งมั่นใจว่าจะส่งผลให้การดำเนินงานในปี 2566 เป็นไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้  โดยมียอดขาย 18,243 ล้านบาท และยอดโอนรวมมูลค่า 16,539 ล้านบาท ส่วนแผนงานในช่วงไตรมาส 2/2566 บริษัทวางแผนเปิดโครงการใหม่เพิ่มทั้งหมด 7 โครงการ รวมมูลค่า 6,477 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการ เฟล็กซี่ สาทร - เจริญนคร เฟส 2 โครงการ เสนาคิทท์ สาทร-กัลปพฤกษ์ เฟส1 โครงการ เสนา เวล่า สุขุมวิท - บางปู  โครงการ เสนาพาร์ค วิลล์ รามอินทรา วงแหวน เฟส 2 โครงการ เสนา วีว่า เทพารักษ์ – บางบ่อโครงการ เฟล็กซี่ บางนา 2  และโครงการ เสนา เวล่า รัตนาธิเบศร์ – บางบัวทอง   อย่างไรก็ตาม เสนายังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการและบริหารธุรกิจเพื่อต่อยอดให้เกิดความหลากหลาย สร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลัก พร้อมการพัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าและการบริการ สานต่อจุดยืนขององค์กรที่เป็นมากกว่าคนพัฒนาอสังหาฯ ด้วยการเป็น “THE ESSENTIAL LIFELONG TRUSTED PARTNER” เพื่อสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกช่วงชีวิต เพื่อธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ไม่ขายบ้าน-คอนโดอย่างเดียวแล้ว เปิด 10 ธุรกิจใหม่ 3กลุ่ม โฮลดิ้ง
ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้  ร่วมพันธมิตรออก โทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ ลงทุนแค่ 182 บาท

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ร่วมพันธมิตรออก โทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ ลงทุนแค่ 182 บาท

ออริจิ้น  ผนึกพันธมิตร ด้านการเงิน-ดิจิทัล ร่วมสร้าง โทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ ให้คนรุ่นใหม่ลงทุนอสังหาฯ ปล่อยเช่า ใน 3 โปรเจ็กต์คอนโดใจกลางเมือง เริ่มต้นแค่ 182 บาทต่อโทเคน รับผลตอบแทนสูงสุด 5%   การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันมีด้วยกันหลากหลายวิธี อย่างพื้นฐานเลยก็ซื้อมาแล้วรอเวลาให้ราคาปรับสูงขึ้น จึงขายออกไปทำกำไร หรือการปล่อยเช่า เพื่อให้ได้ค่าเช่ากลับมา ซึ่งรูปแบบและวิธีการ ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไรมากนัก เพียงแต่ต้องบริหารจัดการ อสังหาฯ ที่มีอยู่และหาผู้มาเช่า อาจจะหาเองหรือให้เอเยนซี่ช่วยก็ได้เช่นกัน   ตลาดสังหาฯ จึงมีฐานลูกค้าทั้งที่เป็นผู้อยู่อาศัยเอง และผู้ที่ซื้อมาเพื่อทำธุรกิจ ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ต้องทำตลาด และหาลูกเล่นออกมาจับกลุ่มเป้าหมายทั้งสองไว้ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม จะมีกลุ่มลูกค้านักลงทุนและเก็งกำไรชัดเจน หลัง ๆ เราจึงเห็นดีเวลลอปเปอร์ที่พัฒนาโครงการออกมา มีการีนตีผลตอบแทนเป็นรายปี 4-5% บางรายก็ทำทั้งโครงการ บางรายก็แบ่งสัดส่วนของห้องออกมาจำนวนหนึ่ง แต่ปัจจุบันซึ่งเป็นโลกยุคดิจิทัล ที่ตลาดทางการเงิน ไม่ได้มีเฉพาะตัวเงินที่พิมพ์ออกมาใช้เพียงอย่างเดียว แต่มีการใช้เงินดิจิทัลมาเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน หรือซื้อสินค้าด้วย ทำให้เงินดิจิทัลได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อหลายธุรกิจ รวมถึงธุรกิจอสังหาฯ เพราะสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ ที่เป็นฐานลูกค้าสำคัญต่อไปในอนาคตของตลาดอสังหาฯ 182 บาทก็ลงทุนได้ ล่าสุด บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด (Token X) บริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX Group) ในฐานะผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลในประเทศไทย (ICO Portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ร่วมกับบริษัท เรียล เอสเตท เอกซ์โพเนนเชียล จำกัด ในฐานะ ผู้ออกโทเคนดิจิทัล ​พัฒนาโทเคนดิจิทัลที่มีคอนโดเป็นสินทรัพย์อ้างอิง (Condo-Backed Token) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่นักลงทุน คนรุ่นใหม่ ใช้เป็นสื่อกลางในการลงทุนคอนโด ภายใต้ชื่อ “เรียลเอ็กซ์” (RealX Investment Token)   โดยนักลงทุนจะต้องทำการซื้อเหรียญ เรียลเอ็กซ์ ตามความต้องการ ที่มีการเสนอขายที่ราคา 182 บาทต่อโทเคน ซึ่งเงินดังกล่าวจะถูกนำไปลงทุนในสัญญา RSTA (Revenue Sale and Transfer Agreement)  ของบริษัท เรียล เอสเตท อินทิเกรชั่น จำกัด ในฐานะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คอนโดฯ 3 แห่งของ​บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI จำนวน  3 โครงการ ได้แก่ โครงการพาร์ค ออริจิ้น พร้อมพงษ์    โครงการพาร์ค ออริจิ้น พญาไท  และโครงการพาร์ค ออริจิ้น ทองหล่อ ขณะที่ ออริจิ้น จะมีบริษัทในเครือ คือ บริษัท แฮมตัน โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ แมเนจเม้นท์ จำกัด บริหารคอนโดทั้ง 3 แห่งดังกล่าว ทั้งด้านการจัดหาผู้เช่า โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่อาศัยระยะยาว การบริหารด้านบริการต่าง ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลทุนดังกล่าว ซึ่งผู้ถือโทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ จะได้รับผลตอบแทนการลงทุน 2 ส่วน ได้แก่ 1.ผลตอบแทนจากค่าเช่า นักลงทุนจะได้ผลตอบแทนจากค่าเช่า เป็นรายไตรมาสจากค่าเช่าสุทธิของคอนโด ทั้ง 3 โครงการที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิง เป็นระยะเวลา 10 ปีนับจากเริ่มต้นโครงการ โดยในปีที่ 1-5 บริษัท พาร์ค ลักชัวรี่ จำกัด ในเครือ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI จะรับประกันรายรับสุทธิของโครงการที่ 4% 4.25% 4.50% 4.75% และ 5% ต่อปีของมูลค่าเสนอขายโทเคนดิจิทัลฯ ตามลำดับ 2.ผลตอบแทนจากการขายคอนโด นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็นรายไตรมาสจากการทยอยจำหน่ายคอนโด ทั้ง 3 โครงการในปีที่ 6-10 (รวมกรณีขยายอายุโครงการ) รวมกับผลตอบแทนรายไตรมาสจากค่าเช่าสุทธิ โดยคอนโดทั้ง 3 โครงการ ได้รับการพิจารณาแล้วว่าเป็นโครงการระดับลักชัวรีที่น่าเชื่อถือ ตั้งอยู่ในทำเลศักยภาพ และมีความเหมาะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว เปิดขาย 19 ล้านโทเคน สำหรับโทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ หลังจากได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขอเสนอขายโทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (ICO) ปัจจุบันได้รับการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว   ล่าสุด อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเสนอขายโทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ จำนวนไม่เกิน 19,230,769 โทเคน ที่ราคา 182 บาทต่อโทเคน รวมมูลค่าทั้งสิ้นไม่เกิน 3,500 ล้านบาท โดยมีอายุโครงการ 10 ปี  ซึ่งนักลงทุนสามารถซื้อได้ตั้งแต่ 1 เหรียญขึ้นไป ในราคาเหรียญละ 182 บาท ต่อตารางนิ้ว สำหรับ​คอนโด 3 โครงการของออริจิ้น นั้น แต่ละโครงการจะมีจำนวนที่ขายเพื่อการลงทุนเพียงบางส่วน คือ ​​ โครงการพาร์ค ออริจิ้น พร้อมพงษ์  จำนวนไม่เกิน 138 ยูนิต​  ตัวโครงารตั้งอยู่บนเนื้อที่ 12 ไร่ ระหว่างซอยสุขุมวิท 22-24 มีพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ จึงมีดีมานด์จากผู้เช่าที่เป็นคนทำงานในย่าน CBD และชาวต่างชาติที่เข้ามาพักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย โครงการพาร์ค ออริจิ้น พญาไท  จำนวนไม่เกิน 123 ยูนิต​ ตัวโครงการตั้งอยู่บนเนื้อที่ 2 ไร่ติดถนนพญาไทขาเข้า มีจุดเด่นด้านทำเลที่อยู่ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอสและแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โรงพยาบาลและสถาบันการศึกษา โครงการพาร์ค ออริจิ้น ทองหล่อ จำนวนไม่เกิน 100 ยูนิต ตั้งบนเนื้อที่ 5 ไร่ในซอยทองหล่อ 10 ซึ่งไม่เหลือที่ดินแปลงใหญ่อีกแล้ว และเป็นแหล่งรวมไลฟ์สไตล์รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ โรงเรียนนานาชาติ โรงพยาบาล ฯลฯ จึงเป็นนิยมจากผู้เช่าโดยเฉพาะชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่อาศัยระยะยาว นายพีระพงษ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้นฯ เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดอสังหาฯ ไทยมีปัญหาคนไทยมีจำนวนที่ลดน้อยลง ทำให้ดีมานด์มีจำกัด การพัฒนาโครงการคอนโดในใจกลางเมืองก็จำกัด แต่ขณะเดียวกันจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้น คาดว่าอีก 10 ปีข้างหน้า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเข้ามาเมืองไทย มีจำนวนมากเท่ากับจำนวนประชากรของไทยทั้งประเทศ ระดับ 60 ล้านคน ทำให้ตลาดอสังหาฯ มีโอกาสในการรองรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ที่จะเข้ามาเป็นผู้เช่าสำคัญ คอนโดในพื้นที่ใจกลางเมือง มีกลุ่มผู้ซื้อสัดส่วนเพียง 10% ของประชากร หากการออกเหรียญโทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ สำเร็จ คนไทยทั้งประเทศสามารถลงทุนได้หมด ต่อไปอสังหาฯ ไม่จำเป็นต้องมีเงินเยอะ ก็ซื้อได้ คนต่างชาติก็ซื้อได้ด้วย เป็นการสร้างอนาคตให้กับธุรกิจอสังหาฯ ไทย อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ วาง 3 แผนงานสร้างการโตไม่สิ้นสุด จับเมกะเทรนด์ลุยธุรกิจทั่วไทย -อสังหาฯ ลุยต่อ “ดิจิทัลแอสเซท” ปี 65 ขน NFT- คริปโทฯ เจาะไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่  
อีสเทอร์น สตาร์  เดินหน้าเปิด 4 โครงการใหม่  วางเป้ายอดขาย  3,100 ล้าน

อีสเทอร์น สตาร์ เดินหน้าเปิด 4 โครงการใหม่ วางเป้ายอดขาย 3,100 ล้าน

อีสเทอร์น สตาร์ อีสเทอร์น สตาร์ เปิดคอนโดใหม่ 3 โปรเจ็กต์ พร้อมบ้านเดี่ยวในพื้นที่อีอีซี รองรับความต้องการผู้ซื้ออยู่อาศัยจริง หลังเห็นสัญญาณการฟื้นตัว​ตั้งแต่ต้นปี 2566 คาดทำยอดขายรวมปีนี้แตะ 3,100 ล้านบาท ทำรายได้ 1,700 ล้าน   ดร.ต่อศักดิ์ เลิศศรีสกุลรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มีแผนพัฒนาโครงการในรูปแบบ บ้านเดี่ยว บนทำเล EEC พื้นที่ภาคตะวันออก และโครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่กรุงเทพฯ  ภายใต้แบรนด์ควินทารา (Quintara) 3 ทำเล ซึ่งเป็นโครงการซีรีส์ใหม่ "มาย" (MHy) ในทำเลใจกลางกรุงเทพฯ ประกอบด้วย 1.Quintara MHy’DEN โพธิ์นิมิตร 2.Quintara MHy’GEN รัชดา-ห้วยขวาง และ 3.Quintara MHy’ZEN พร้อมพงษ์  โดยกลุ่มเป้าหมายของโครงการ เป็นตลาดระดับ mid-high ซึ่งเป็นคน Gen Y มีไลฟ์สไตล์หลากหลาย ชอบความเป็นส่วนตัว และต้องการใช้พื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า การดีไซน์ฟังก์ชันใช้สอยภายใน ยูนิตทุกขนาดต้องสะท้อนตัวตน ของผู้อยู่อาศัยได้ชัดเจนแบบคนยุคใหม่ ทันสมัยและเชื่อมต่อโลกภายนอก ด้วยเทคโนโลยี นอกจากนี้ รูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ ที่อยู่อาศัยจึงต้องเป็นพื้นที่ รองรับกิจกรรมไลฟ์สไตล์ได้ทุกรูปแบบ เป็นได้ทั้งบ้าน ที่ทำงานและที่พักผ่อน การออกกำลังกายได้ ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบได้ ทำเลยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการตัดสินใจซื้อ จุดนี้ถือเป็นความได้เปรียบของเราที่มีแลนด์แบงค์ในทำเลติดและใกล้รถไฟฟ้า ส่วนที่อยู่อาศัยแนวราบประเภทบ้านเดี่ยว ซึ่งบริษัทยังคงยึดหัวหาดทำเลพื้นที่ภาคตะวันออก จ.ระยอง โดยพัฒนาโครงการใหม่คือ โครงการบรีซ ชาเลต์ (Breeze Chalet) บ้านเดี่ยวสไตล์อังกฤษในทำเลบูรพาพัฒน์-สุขุมวิท โดยการเปิดตัวโครงการทั้งหมดในปีนี้ คาดว่าจะทำยอดขายได้รวม 3,100 ล้านบาท และทำรายได้ 1,700 ล้าน   สำหรับ โครงการ Quintara MHy’DEN โพธิ์นิมิตร คอนโดไฮไรส์ 40 ชั้น 628 ยูนิต เป็นอาคารสูงตัวแรกของทางแบรนด์ควินทารา ที่ดีไซน์ให้มีความหลากหลายของขนาดยูนิต ฟังก์ชันใช้สอยครบตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์คน Gen Y เปิดราคาเริ่มที่ 2.69 ล้านบาท โครงกร Quintara MHy’GEN รัชดา-ห้วยขวาง คอนโดโลวไรส์ 2 อาคาร 383 ยูนิต ตอบโจทย์คน Gen Y ที่ชอบสไตล์มินิมอล - น้อยแต่มาก ดีไซน์ยูนิตทุกขนาดพื้นที่จัดเต็มฟังก์ชันใช้สอยทั้งการอยู่อาศัย การทำงานจากที่บ้านและการพักผ่อน ราคาเริ่ม 2.09 ล้านบาท ส่วนโครงการ Quintara MHy’ZEN พร้อมพงษ์ คอนโดโลวไรส์ 2 อาคาร  276 ยูนิต ย่านพร้อมพงษ์ การเดินทางสะดวกสามารถไปทองหล่อ อโศก ได้อย่างง่ายดาย ครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในบรรยากาศงานดีไซน์โครงการและพื้นที่ยูนิตซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะการชงชาและการจัดสวนแบบญี่ปุ่น สะท้อนความงาม เรียบหรู สงบและเต็มอิ่มอยู่ภายใน ราคาเริ่ม 2.29 ล้านบาท รวมมูลค่าทั้งสามโครงการ 4,150 ล้านบาท    ดร.ต่อศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า คาดการณ์กำลังซื้อ กลุ่มที่ต้องการที่อยู่อาศัยจริงกำลังฟื้นตัว ผู้ซื้อเริ่มมีความมั่นใจ ในสภาพเศรษฐกิจมากขึ้น จะเห็นได้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในทุกภาคส่วนกำลังกลับมาขับเคลื่อนได้เต็มรูปแบบ ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2566 มีทิศทางบวกเมื่อผนวกกับมาตรการรัฐ ที่สนับสนุนกำลังซื้อภาคอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งมีส่วนกระตุ้นให้ภาคธุรกิจมีความคึกคัก ทั้งนี้ สภาพการแข่งขันในธุรกิจอสังหาฯ จะแข่งขันในอัตราเร่ง ที่อยู่อาศัยที่ยังเป็นซัพพลายเดิม จะถูกเร่งขายเร่งโอน ขณะที่ซัพพลายใหม่ เริ่มมีเข้าสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง ตลาดใหญ่ยังคงเป็นตลาดระดับกลาง ที่มีกำลังซื้อและมีความต้องการที่อยู่อาศัยจริง โดยในปีที่ผ่านมาพบว่าตลาดที่อยู่อาศัย ที่ได้รับความนิยมคือ อาคารชุดที่ระดับราคา 3-5 ล้านบาท และบ้านเดี่ยวระดับราคา 5-10 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -อีสเทอร์น สตาร์เปิด 4 โครงการ 3,000 ล้าน ลุยตลาดอสังหาฯ ท่ามกลางปัจจัยลบ -ESTAR เปิด 5 โครงการ 6,000 ล้าน ชู “ควินทารา” เรือธงปั๊มรายได้
สิงห์ เอสเตท  เปิด 5 โครงการที่อยู่อาศัยหมื่นล้าน  ขายบ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ หลังละ 550 ล้าน

สิงห์ เอสเตท เปิด 5 โครงการที่อยู่อาศัยหมื่นล้าน ขายบ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ หลังละ 550 ล้าน

สิงห์ เอสเตท เดินหน้าลุยตลาดบ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ เปิดราคาขายตั้งแต่ 20 ล้านถึงกว่า 550 ล้านบาท หลังจัดทัพธุรกิจใหม่  มั่นใจธุรกิจที่อยู่อาศัยโต 70% ทำรายได้กว่า 4,000-5,000 ล้าน   หลังจาก "สิงห์ เอสเตท" บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มเบียร์สิงห์ มีการปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจตั้งแต่ปี  2564 ด้วยการขายเงินลงทุนสัดส่วน 51% ในบริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) ในปี 2565 ก็เริ่มพัฒนาโครงการบ้านแนวราบโครงการแรก คือ โครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส ในช่วงปลายปี ส่วนปีนี้ ก็เริ่มหันกลับมาบุกตลาดอสังหาฯ แนวราบเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง โดยแผนการเปิดตัวโครงการในปี 2566 ยังคงพัฒนาบ้านในกลุ่มลักชัวรี่เหมือนเช่นเคย ซึ่งมี 4 กลุ่มหลัก คือ บ้านลักชัวรี่ ระดับราคา 20 ล้านบาทขี้นไป บ้านพรีเมียม ลักชัวรี่ ระดับราคา 30-50 ล้านบาท บ้านซุปเปอร์ ลักชัวรี่ บ้านระดับราคา 50-100 ล้านบาท บ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ ระดับราคา 250 ล้านบาทขึ้นไป ตามแผนธุรกิจปี 2566 เตรียมเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ 5 โครงการ รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นโครงการภายใต้แบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ ขณะเดียวกันจะมีโครงการที่เป็น ​Flgship Cluster Home Project ที่ขายบ้านระดับอัลตร้า ลักชัวรี่ ราคาเริ่มต้นหลังละ 550 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ   นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S  เปิดเผยว่า กลุ่มธุรกิจอสังริมทรัพย์ในปีนี้ ตั้งเป้าหมายเติบโต 70% หรือมีรายได้ 4,000-5,000 ล้านบาท โดยหลังจากที่ปิดโครงการสันติบุรีแล้ว ในปีนี้จะเป็นโครงการในคอนเซ็ปต์เดียวกันอีก  2 โครงการ ในรูปแบบ ​​Flgship Cluster Home Project สำหรับโครงการรูปแบบ Flgship Cluster Home Project มีข้อดี คือ สามารถพัฒนาได้บนที่ดินขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไร่ มีจำนน 8-9 ยูนิต ในย่านใจกลลางธุรกิจ ซึ่งจะขายที่ดินก่อนการก่อสร้างบ้าน ทำให้สามารถปิดการขายได้เร็ว แลรับรู้รายได้ได้เร็ว โดยโครงการรูปแบบ ​Flgship Cluster Home Project โครงการแรกจะพัฒนาบริเวณซอยสุขุมวิท49 บนเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่จำนวน 2 ยูนิต เตรียมเปิดตัวช่วงกลางปีนี้ ส่วนโครงการที่เหลือจะเปิดตัวช่วงปลายปี   นางฐิติมา กล่าวอีกว่า  ในปี 2566 เป็นปีที่สำคัญมากของสิงห์ เอสเตท ในการสร้างการเติบโต ด้วยการใช้กลยุทธ์ “S EXCELS” คือการสร้างความเป็นเลิศในทุกมิติ ประกอบด้วย   มิติแรก คือ ผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ดันเป้ากำไรสู่ All-time High ในทุกพอร์ตธุรกิจ โดยปีนี้จะสามารถสร้างรายได้รวมของบริษัทให้เติบโตขึ้นสูงถึง 34% หรือมีมูลค่าแตะ 16,700 ล้านบาท   มิติที่สองคือ การเพิ่มแต้มต่อธุรกิจ เสริมแกร่งศักยภาพในการแข่งขัน เน้นการสร้าง Synergy ที่เกื้อหนุนกันระหว่าง 4 ธุรกิจ และความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำ เพื่อสร้างการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ตลอด 3 ปี   มิติที่สามคือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทฯ ตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2573 และกำหนดแผนอนุรักษ์ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณธุรกิจตั้งอยู่ ทั้งนี้ ปี 2565 ที่ผ่านมาบริษัทฯ สร้างรายได้ 1 2,500 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นจากปีก่อนประมาณ 62% โดยมีปัจจัยหลายประการที่ช่วยเกื้อหนุนการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นยอดจองและยอดโอนกรรมสิทธิ์  ของโครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส ซึ่งสูงถึง 77% และ 30% ตามลำดับ นับเป็นความสำเร็จอย่างงดงามที่เกิดขึ้นเพียง 1 ปี หลังปรับโครงสร้างธุรกิจและรุกเข้าสู่การพัฒนาบ้านแนวราบอย่างเต็มตัว   ธุรกิจโรงแรมภายใต้การบริหารงานของ SHR สามารถทำรายได้ทะลุเป้าหมายอยู่ที่ 8,700 ล้านบาท ขึ้นแท่นผู้ประกอบการโรงแรมในไทยที่มีรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ด้วยความแข็งแกร่งของกลยุทธ์ผนวกกับแรงหนุนจากการเปิดประเทศ ส่งผลให้อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยรายวัน (Average Daily Rate: ADR) ปรับเพิ่มขึ้นได้กว่า28% จากปีก่อนหน้า   กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงานมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ มีอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy) ที่ไต่ระดับสูงขึ้นขณะที่ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมีรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในปีก่อนได้กว่า 77 ไร่
เอสโฮเทล แอนด์ รีสอร์ท  กางแผนธุรกิจปี 66  ชู 3 กลยุทธ์สู่รายได้หมื่นล้าน

เอสโฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กางแผนธุรกิจปี 66 ชู 3 กลยุทธ์สู่รายได้หมื่นล้าน

เอสโฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กางแผนธุรกิจ ชู 3 กลยุทธ์ สร้างรายได้กว่า 10,000 ล้าน โต 20% หลังรายได้ปี 2565 ทะลุเป้าที่ 8,700 ล้านบาท ด้วยกลยุทธ์สร้างความหลากหลายที่สมดุลเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน และมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งผนวกกับแรงหนุนจากการเปิดประเทศฟื้นการท่องเที่ยว     นายเดิร์ก เดอ คุยเปอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ว่า หลังจากเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจด้านการท่องเที่ยว และแนวทางการดำเนินธุรกิจในปีนี้ ทำให้บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ มากกว่า 10,000 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีที่ผ่านมาทำรายได้ 8,700 ล้านบาท และจะทำกำไรอย่างต่อเนื่อง จากปีท่ผ่านมามีกำไร 14 ล้านบาท และเป้าหมายอัตราเข้าพักเฉลี่ย 75% จากปีที่ผ่านมามีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 60%   การกลับมาของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก หลังการยกเลิกข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง  ผนวกกับกลยุทธ์ผลักดันธุรกิจ และเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งของบริษัท ทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่หลากหลายมากขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งเป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของ SHR เติบโตได้เต็มอัตรา และมีผลการดำเนินงานที่ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของโรงแรมในหลายประเทศ   โดย SHR สามารถปรับค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืน หรือ ADR ในระดับที่สูงขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 และเป็นระดับที่สูงที่สุดมาตั้งแต่เปิดให้บริการมาอีกด้วย เสริมทัพด้วยการฟื้นตัวของโรงแรมในประเทศไทยที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565  ส่งผลให้ SHR กวาดรายได้เกินกว่าเป้าหมายที่วางเอาไว้ สู่ 8,700 ล้านบาท ก้าวขึ้นแท่นผู้ประกอบธุรกิจบริหารจัดการโรงแรมของไทยที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ในปีที่ผ่านมา   นอกจากนั้นแล้ว บริษัทได้รับการยกย่องให้บรรจุอยู่ใน “รายชื่อหุ้นยั่งยืน” ประจำปี 2565 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) พร้อมคะแนนจากการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับ “ดีเลิศ” (5 ดาว) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนพร้อมรักษาความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสังคมที่มีคุณภาพ 3 กลยุทธ์สร้างรายได้กว่า 10,000 ล้าน ปี 2566 เป็นปีแห่งการผลักดันผลประกอบการให้เติบโตโดนเด่น พร้อมใช้กลยุทธ์เสริมจุดแข็งธุรกิจ และการขยายช่องทางการขายเพื่อดึงดูดลูกค้าที่หลากหลายจากทุกมุมโลก  ซึ่งทิศทางการขับเคลื่อนธุรกิจของ SHR ในปี 2566 จะรองรับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าครองตำแหน่งผู้ประกอบธุรกิจบริหารจัดการโรงแรมรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของไทยอย่างต่อเนื่อง   โดยแผนการดำเนินงานที่จะผลักดันให้รายได้บริษัทฯ สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายนั้น มาจากจุดแข็งของ SHR ในด้านความหลากหลายของพอร์ตโฟลิโอ (diversified portfolio) สามารถดึงดูดลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มจากทั่วโลก โดยหลังการเปิดประเทศอย่างสมบูรณ์ คาดว่า โรงแรมเครือที่ประเทศไทยทั้ง 4 แห่งจะเป็นฟันเฟืองหลักในการผลักดันการเติบโตของปี 2566 นี้ ซึ่งตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ประมาณ 60% จากปีก่อนหน้า (YoY) คิดเป็นอัตราส่วน 16% ของรายได้รวมของบริษัทฯ ในขณะที่รายได้จากโรงแรมในมัลดีฟส์และสหราชอาณาจักรจะเติบโตขึ้น 30% และ 10% จากปีก่อน (YoY) คิดเป็นอัตราส่วน 31% และ 36% ตามลำดับ สำหรับแนวทางการสร้างการเติบโตดังกล่าว บริษัทวาง 3 กลยุทธ์ที่สำคัญ คือ 1.Asset Rotation & Enhancement การหมุนเวียนและต่อยอดการลงทุนสินทรัพย์ (Asset Rotation & Enhancement) โดย SHR จะทำการขายสินทรัพย์ที่มีการเติบโตจนเต็มมูลค่าแล้วเพื่อนำรายได้จากการขายผนวกกับการลงทุนเพิ่มเติมอีกราว 16 ล้านปอนด์ ไปพัฒนาสินทรัพย์ศักยภาพสูงที่สามารถสร้างการเติบโตต่อไปได้ในอนาคต โดยกลุ่มโรงแรมที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือธุรกิจในสหราชอาณาจักร ซึ่งจะทำให้สามารถปรับขึ้นอัตรา ADR ได้  โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 90 ปอนด์ หรือเพิ่มขึ้นราว 10% เมื่อเทียบกับปี 2565 สำหรับสินทรัพย์อื่นๆ ที่อยู่ในแผนการปรับปรุงและพัฒนาของบริษัทฯ นั้น ยังรวมถึงโครงการครอสโรดส์ มัลดีฟส์ ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงห้องพัก (Product Enhancement) ในเฟสแรกเสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนธันวาคมปี 2565 และในปีนี้ได้มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น แกลลอรี่ท้องถิ่น คาเฟ่พร้อมเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Virtual Reality Café) หรือท่าจอดเรือ super yacht ขนาดใหญ่ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายและน่าประทับใจ (Memorable Experience)   นอกจากนี้ ยังเตรียมเดินหน้าพัฒนาโครงการต่อ ณ ทราย รีสอร์ทสองแห่งในไทย  ได้แก่ ทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ (SAii Phi Phi Island Village) และ ทราย ลากูน่า ภูเก็ต (SAii Laguna Phuket) มีแผนที่จะปรับปรุงตั้งแต่ปี 2566 ไปจนถึงปี 2567 ขณะที่ โรงแรม เอาท์ริกเกอร์ ฟิจิ บีช รีสอร์ท (Outrigger Fiji Beach Resort) เริ่มแผนการปรับปรุงแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 นี้ เพื่อรองรับเทศกาลแห่งการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ด้วยแผนทั้งหมดภายใต้งบลงทุนประมาณ 1,000-1,500 ล้านบาท เราคาดว่าจะช่วยให้เราสามารถบรรลุแผนในการปรับอัตราค่าห้องพักสำหรับห้องที่ทำการปรับปรุงขึ้นได้อีกราว 15-40% 2,Merger and Acquisition SHR ยังมีการวางงบลงทุนเพื่อซื้อและควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition) ตลอดระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า อยู่ที่ประมาณ 7,500 ล้านบาท โดยยังคงพุ่งเป้าไปที่จุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว (Leisure Destination) เพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่พอร์ต SHR ที่มีศักยภาพและสร้างความเติบโตที่ยั่งยืนในด้านรายได้และยังสามารถลดความผันผวนทางฤดูกาล (Seasonal Effect) ของโรงแรมในเครือได้อีกด้วย โดยเบื้องต้นยังคงทำการศึกษาสินทรัพย์ในแถบชายฝั่งทะเลเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมหาสมุทรอินเดีย 3.Asset Light ขณะเดียวกัน SHR ยังมีแผนที่จะขยายกิจการด้วยโมเดลธุรกิจแบบ Asset Light ซึ่งจะเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอีกทางหนึ่ง โดยได้มีการพัฒนาร่วมทุนกับพันธมิตร อาทิเช่น SO/ Maldives ไลฟ์สไตล์สุดทันสมัยในโครงการแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ที่พร้อมจะเปิดตัวโครงการราวไตรมาส 4 ปีนี้ ลุยดิจิทัลเพิ่มอัตราเข้าพัก นอกจากนี้ SHR ยังเล็งเห็นความสำคัญของการนำดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามาใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการกำหนดราคาห้องพักของโรงแรมในเครือให้เหมาะสมตามฤดูกาลและตอบสนองความต้องการแบบเรียลไทม์ สามารถบริหารจัดการรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการทำกิจกรรมทางการตลาดออนไลน์เจาะกลุ่มตลาดที่หลากหลายเพื่อเพิ่มอัตราการจองห้องพักโดยตรง (Direct booking) และสามารถผลักดันค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืน (ADR) ในระดับที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง   โดยปีนี้เราคาดว่าอัตราการเข้าพัก (Occupancy Rate) ของโรงแรมในเครือทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 75% เมื่อเทียบกับผลประกอบการในปี 2565 ซึ่ง SHR สามารถรายงานผลกำไรที่พลิกกลับมาเป็นบวกได้สำเร็จ จากอัตราการเข้าพักที่ระดับเพียง 60% ดังนั้น เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ณ ระดับการเข้าพักเป้าหมายที่ระดับ 75% นี้ จะเป็นตัวขับเคลื่อนผลกำไรของ SHR ในปี 2566 ให้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อสร้างฐานกำไรใหม่ให้กับ SHR สำหรับรองรับการขยายการเติบโตในอนาคต เดินหน้าสร้างคุณค่า-ความยั่งยืน SHR ได้รับนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากสิงห์ เอสเตท ด้วยวิสัยทัศน์ sustainable diversity สร้างความหลากหลายที่สมดุล เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ (supply chain) ในทุกมิติ โดยเฉพาะตั้งเป้าลดคาร์บอน (Decarbonization) และทดแทนการใช้พลังงานฟอสซิลด้วยพลังงานสะอาดในปีนี้ เราได้ดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์ เซลล์ บนหลังคาของโรงแรมในเครือของ SHR ในประเทศไทยและมัลดีฟส์ รวมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตร ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ราว 2.8 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ทำให้เราสามารถบริหารต้นทุนทางพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย” นายเดิร์ก กล่าว   ที่ผ่านมา SHR เป็นที่ยอมรับในฐานะผู้ประกอบการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้รับการรับรองจากประกาศนียบัตร Green Globe ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสูงสุดระดับโลกสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวและการบริการที่ยั่งยืน โดยบริษัทฯ ให้ความสำคัญในการผสมผสานการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกับประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น กิจกรรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ที่ศูนย์การเรียนรู้ทางทะเล เช่น โครงการเพาะพันธุ์ปะการัง โครงการอนุรักษ์ฉลามกบ เป็นต้น และในปี 2566 นี้จะพัฒนาโครงการ   อนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากร่วมกับ IUCN ที่โครงการครอสโรดส์ มัลดีฟส์ และร่วมกับมูลนิธิโลกสีเขียวที่โครงการอนุรักษ์ป่าโกงกางในบริเวณอุทยานแห่งชาติของหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี นอกจากนี้ยังสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านซึ่งจะนำมาประยุกต์ร่วมกับการบริการของโรงแรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -สิงห์ เอสเตท จับมือ ฮาร์ด ร็อค ผุดธีม โฮเทล ในโปรเจกต์ยักษ์ที่มัลดีฟส์
เอสซี แอสเสท เปิดแผนรายได้รวม 150,000 ล้าน การเติบโตด้วย 2 ENGINE ใน 5 ปี

เอสซี แอสเสท เปิดแผนรายได้รวม 150,000 ล้าน การเติบโตด้วย 2 ENGINE ใน 5 ปี

เอสซี แอสเสท มั่นใจโตเหนือชั้น เปิดแผนโรดแมป SC Thriving Beyond ตั้งเป้ารายได้ 5 ปี รวมมูลค่า 150,000 ลบ. ปี 2566 รุกเปิด 25 โครงการ รวมมูลค่า 40,000 ลบ. มุ่งสร้างคุณค่าสู่คนและโลก เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน   บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC ผู้นำการเป็น Living Solutions Provider คุณภาพสูง โดยนายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดวิสัยทัศน์การพัฒนาธุรกิจและองค์กร ปี 2566 - 2570 ตั้งเป้ารายได้ 5 ปี ทะยานสู่รายได้ 150,000 ล้านบาท ขับเคลื่อนบนยุทธศาสตร์ SC Thriving Beyond เติบโต อย่างมีคุณภาพ แบบเหนือชั้น และยั่งยืน  มุ่งสร้างคุณค่า สู่คนและโลก ดำเนินธุรกิจภายใต้ 4 แกนหลัก คือ ลูกค้า พนักงาน สิ่งแวดล้อม และองค์กร  ลูกค้า SC มุ่งมั่นส่งมอบสินค้าและบริการคุณภาพสูง พัฒนาสินค้าทั้งบ้านและคอนโด สรรหาและคิดค้นนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยหลากหลายราคา รูปแบบการใช้ชีวิต และเจเนอเรชั่น เพื่อลูกค้ามีคุณภาพชีวิตที่ดี ไร้ความกังวลในการใช้ชีวิต   ปี 2566 มีแผนการเปิดโครงการใหม่รวม 25 โครงการ มูลค่ารวม 40,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น โครงการแนวราบ: เปิดใหม่ 22 โครงการ รวมมูลค่า 30,000 ล้านบาท รักษาสถานะผู้นำในตลาดบ้านเดี่ยวคุณภาพสูง ด้วยไฮไลท์โปรดักส์ คือ #No1LuxuryHome ปีนี้ SC พร้อมเผยโฉม “95E1” (ไนน์-ตี้-ไฟว์-อีสต์-วัน) แบรนด์บ้านใหม่ในเซกเมนต์ Ultimate Luxury ราคาเริ่มต้นสูงสุดที่เคยเปิดขายมา ด้วยราคาเริ่มต้น 100 ล้านบาท จำนวนจำกัดเพียง 10 ยูนิต มูลค่าโครงการ 970 ล้านบาท #OneSizeDoesNotFitAll ด้วยการตอบรับอย่างดีมากของ “บ้านคนโสด” ปีนี้ SC ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดเรื่องการพัฒนาบ้านที่ออกแบบเพื่อไลฟ์สไตล์ที่มีความเฉพาะบุคคลด้วยการเปิดตัว #บ้านเกมเมอร์ (Gamer’s Home) บ้านที่ร่วมออกแบบโดยเกมเมอร์ชื่อดัง Willcomeback และ MNJ TV เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านในสายอาชีพยุคใหม่มาแรง อย่าง Streamer หรือ Content Creator ทั้งหลาย พร้อมเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 ณ โครงการ Venue ID มอเตอร์เวย์-พระราม 9 ราคาเริ่มต้น 14.29 ล้านบาท และมีโครงการพัฒนาบ้านที่ออกแบบเฉพาะสำหรับคนที่มีไลฟ์สไตล์ Introvert และ Extrovert ในอนาคต  #SCHomesForAll สร้างบ้านตอบโจทย์ลูกค้าครอบคลุมทุกกลุ่มราคา ในปีนี้ SC จะมีสินค้าบ้านเปิดขายในราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 2.5 ล้านบาท ไปจนถึงมากกว่า 150 ล้านบาท ด้วยการเปิดตัวบ้านซีรีส์ใหม่ของแต่ละ Sub-brand เพื่อลงแข่งขันครองความเป็นผู้นำบ้านเดี่ยว  โครงการแนวสูง: เปิดใหม่ 3 โครงการ รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท  ปีนี้ SC พร้อมลุยตลาดแนวสูง ส่ง 3 โครงการไฮไลท์ของปีลงแข่งขัน คือ เปิดตัวแบรนด์ใหม่ เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เน้นพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางที่เป็นส่วนหนึ่งของ Living Solutions เพื่อประสบการณ์การพักอาศัยที่ดีขึ้น ในสังคมที่เน้นความยั่งยืน บน 2 ทำเลศักยภาพ ได้แก่ ย่านรัชดา-พระราม 9 ใกล้ MRT ศูนย์วัฒนธรรม มูลค่าโครงการ 5,500 ล้านบาท ราคาเริ่ม 2 ล้านต้น ซึ่งเป็น Segment ใหม่ของ SC ทำเลแห่งที่สองคือ เกษตร-ศรีปทุม ตรงข้ามมหาวิทยาลัยศรีปทุม ติดรถไฟฟ้า 0 เมตร มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท เน้นงานดีไซน์และการออกแบบพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อคนเมือง รุ่นใหม่ คอนโด SCOPE ประสานมิตร เจาะกลุ่มลูกค้า International Premium ที่ให้ความสำคัญกับทั้งคุณภาพและดีไซน์  ในระดับ World-class  ใช้ชีวิตในแบบ "Live the Finest Life" หรือชีวิตที่สุขสบายและสวยงามพร้อมไปด้วยบริการระดับ Premium ราคาเริ่มต้น 35 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 2,600 ล้านบาท นอกจากการมุ่งพัฒนาสินค้าบ้านและคอนโดมิเนียมคุณภาพสูงที่มีฟังก์ชั่นตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยแล้ว ตลอดหลายปีที่ผ่านมา SC ยังคงสานต่อการสรรหาและคิดค้นนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการส่งมอบ Living Solutions แก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน เพื่อลูกค้าจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยแผนในปี 2566 คือ ติดตั้งชุดเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัยในบ้านและคอนโด ทั้งหมด 24 รายการ  ให้กับลูกค้า SC Asset ตามเป้าหมายคือไม่ต่ำกว่า 5,000 ครัวเรือนในปี 2566  เปิดตัว Morning Coin เชื่อมต่อลูกค้ากับโลกแห่งสิทธิพิเศษแบบเหนือชั้น ด้วยนวัตกรรม Blockchain โดยมีเป้าหมายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น และมีความมั่นใจปลอดภัยในคอมมูนิตี้ที่ดีของ “รู้ใจคลับ” พร้อมใช้งานกลางปี 2566 นี้ พนักงาน พนักงาน SC เจริญก้าวหน้า ได้ทำงานที่สร้างคุณค่า ปลดปล่อยศักยภาพได้อย่างเต็มที่ SC ให้ความสำคัญกับการลงทุนในทรัพยากรบุคคลเสมอมา เพราะบุคลากรในองค์กร คือ หัวใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน  โดย SC ลงทุนใน Infrastructure ต่าง ๆ เชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ทำให้ลดเวลาในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รองรับการเติบโตของธุรกิจ สร้างประสบการณ์ให้พนักงานมากกว่าแค่การทำงานรูปแบบเดิม ๆ มีการใช้ Morning Coin และระบบการสะสม NFTs ด้วยเทคโนโลยี Blockchain เพื่อคนทำงานได้พัฒนาตนเอง ปลดปล่อยศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ทำงานอย่างมีคุณค่า มีความภาคภูมิใจพร้อมเติบโตไปกับองค์กร พร้อมใช้งานมีนาคมนี้  เปิดตัว “Inside SC” บอกเล่าเรื่องราวในองค์กรเพื่อการสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพมาร่วมงานกับ SC อย่างยั่งยืน คว้ารางวัลอันดับที่ 17 จาก 50 องค์กรที่ทำงานในฝัน โดยเป็นอันดับหนึ่ง ในบริษัทอสังหาฯ จัดโดย WorkVenture  สิ่งแวดล้อม SC ประกาศพันธกิจ #SCeroMission ดำเนินธุรกิจเพื่อดูแลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ก๊าซเรือนกระจกลดลง ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ คิดค้นนวัตกรรม และการจับมือร่วมกับคู่ค้าชั้นนำ ที่มีแนวคิดในการมุ่งลดก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการ ออกแบบ สร้าง ใช้ ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ ภายใต้ 8 ภารกิจย่อย  SC ตั้งเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25% ภายในปี 2573   ตั้งแต่ปลายปี 2565 ได้มีการตั้งทีมพัฒนาการออกแบบ SC #บ้านLowCarbon ด้วยการทำการวิจัยจำลองการใช้พลังงานของบ้านพักอาศัย ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งมอบสินค้าที่อยู่อาศัยที่ลดการทำร้ายโลก ลดปริมาณการใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่าย เพื่อสุขภาพกายใจที่ดีขึ้นของลูกค้าในอนาคต องค์กร องค์กรเติบโต จากหลากหลายเครื่องยนต์ธุรกิจ ทั้งบนธุรกิจหลัก Engine1 และธุรกิจ Engine2 ที่สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง (Recurring Income) พร้อมตั้งเป้าเพิ่มการลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี  สำหรับแผนธุรกิจในปี 2566 SC มีการตั้งเป้าหมายตัวเลขสำคัญต่างๆดังนี้ โตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 30,000 ล้านบาท เติบโต 23% โดยแบ่งเป็น โครงการเพื่อขายแนวราบ 65% และโครงการเพื่อขายแนวสูง 35% สร้างรายได้รวม 25,000 ล้านบาท เติบโต 16% ทั้งจาก โครงการเพื่อขาย และธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income) ในสัดส่วน 95 : 5 ตามลำดับ มูลค่าการลงทุนทั้งหมด 25,000 ล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุน 80% โครงการเพื่อขายแนวราบ แนวสูง และ 20% ในธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ และเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืน SC วางแผนเพิ่มการลงทุน และเริ่มดำเนินธุรกิจที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง (Recurring Income) เปิดตัวโรงแรม YANH ราชวัตร รับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกภายใต้คอนเซ็ปต์ “Workcation Hotel” รองรับวิถี Remote Working ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศไทยหลัง โควิด-19 พร้อมเปิดให้เข้าพักแล้วในเดือนมีนาคม 2566  พัฒนาแบรนด์โรงแรมใหม่ บนถนนสุขุมวิท 29 มูลค่าการลงทุน 2,500 ล้านบาท และยังมีแผนในการขยายธุรกิจโรงแรมในทำเลพัทยา เพื่อไปให้ถึงเป้ารวมจำนวน 1,000 keys ปัจจุบัน SC บริหารพื้นที่อาคารสำนักงานให้เช่า มีพื้นที่รวมกันถึง 120,000 ตร.ม.   หลังจากการประกาศความร่วมมือกับบริษัท Flash Express ไปเมื่อปี 2565 SC วางแผนขยายธุรกิจคลังสินค้าโดยตั้งเป้าหมายพัฒนาพื้นที่ Warehouse ให้ได้ 1,000,000 ตร.ม. ภายในปี 2573  SC Thriving Beyond คือเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืนใน 5 ปีนี้ของ SC โดยหัวใจสำคัญ คือการสร้างคุณค่า เพื่อเติบโต “ร่วมกัน” ไปกับสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจของ SC คุณค่าจะกลับมาสร้างกำไรให้องค์กร และกำไรจะกลับไปสร้างคุณค่าให้ผู้คนรอบข้าง ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เอสซี แอสเสท ตุนยอดขาย 6 เดือนกว่า 11,500 ล้าน เตรียมเปิด 15 โปรเจ็กต์ใหม่ดันเป้ารายได้
เสนา ดีเวลลอปเม้นท์  ไม่ขายบ้าน-คอนโดอย่างเดียวแล้ว  เปิด 10 ธุรกิจใหม่ 3กลุ่ม โฮลดิ้ง

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ไม่ขายบ้าน-คอนโดอย่างเดียวแล้ว เปิด 10 ธุรกิจใหม่ 3กลุ่ม โฮลดิ้ง

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ประกาศมูฟเม้นต์ ปี 2023 ชูจุดยืนธุรกิจองค์กรภายใต้วิชั่นของการเป็น Sustainable Business ผ่านคีย์เวิร์ด “SENA Multiplied” เบิกทางลงทุนพัฒนาโครงการและขยายโอกาสทางธุรกิจใหม่ ด้วยมูลค่า 55,000 กว่าล้านบาท ปูทางสร้างรากฐานตามแบบ “Lifelong Trusted Partner” เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงอายุ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของโลก แจงแผนเปิด 26 โครงการ 24,000 ล้าน​ ตั้งเป้ายอดขาย 18,000 กว่าล้าน และยอดโอนรวม 16,500 ล้าน   ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจและสิ่งที่คนทั่วโลกต้องเผชิญมีทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession) เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าแพงแต่รายได้เท่าเดิม และอัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอไม่ต่างไปจากปีที่ผ่านมา ประกอบกับสถานการณ์โลกที่แปรปรวน และปัญหาสิ่งแวดล้อม (Climate Change) ถือเป็นความท้าทายหรือ Social Challenge ของภาคธุรกิจ ทั้งการบริหารสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย ด้านสาธารณสุข รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ทำให้ทุกภาคธุรกิจให้ความสำคัญและผลักดันเป็นยุทธศาสตร์หลักเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบนแนวคิดสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้กับสังคม   ด้วย Core Business SENA พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยเพื่อขาย ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ทาวน์โฮมและอาคารชุด ธุรกิจเช่า ได้แก่ อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า ธุรกิจอาคารสำนักงาน ธุรกิจสนามกอล์ฟ ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจบริหารงานนิติบุคคล ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่พักอาศัย เป็นต้น วันนี้ SENA เรายกระดับ (ENHANCED) การพัฒนาโครงการบ้านติดโซลาร์สู่การพัฒนาบ้านพลังงานเป็นศูนย์ “ZERO ENERGY HOUSING” (ZEH)” ลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 20 % ในบ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียมของ SENA พร้อมขยายธุรกิจใหม่ (New Business) ที่หลากหลายและครอบคลุมตาม Mega Trend และ Social Challenge ผ่านแกนวิชั่นโครงสร้างองค์กรที่เป็นมากกว่า Property Developer สู่ “The Essential Lifelong Trusted Partner” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี บนแกน “SENA Multiplied” อย่างไรก็ตาม ทาง SENA วางงบเพื่อการลงทุนในการพัฒนาสินค้าและขยายโอกาสสู่ธุรกิจใหม่ 9,084 ล้านบาท โดยประกอบด้วย New Business to Strengthen Core Business SENA มุ่งมั่นในการต่อยอดพัฒนาอสังหาฯ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตลูกบ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ประกอบด้วย   1.จับมือบริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ NEC Thailand ที่ปรึกษาเทคโนโลยีด้านไอที บริษัทชั้นนำระดับโลก พัฒนาแพลตฟอร์ม “SMARTIFY” Smart Living Community เพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและลูกบ้าน   2.ธุรกิจบริการทางการเงิน “เงินสดใจดี” เพื่อเพิ่มความสามารถในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้า พร้อมให้คำปรึกษาและให้ความรู้ทางด้านการเงิน   3. ธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อบริการขายและให้เช่าอสังหาริมทรัพย์   4.ธุรกิจบริหารนิติบุคคลโครงการที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินแบบครบวงจร (Property Management)   5.ธุรกิจบ้านมือสอง “SENA SURE” โดยร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM และบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM คัดเลือกทรัพย์และนำมาปรับปรุงให้มีคุณภาพ ทางเลือกหนึ่งให้คนที่ต้องการที่อยู่อาศัย New Business New Foundation ขณะเดียว SENA การขยายธุรกิจใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สะดวกสบาย (Convenience) ให้กับทุกคน และเน้นธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ใหม่ให้กับการใช้ชีวิตเพื่อช่วยกันลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization Lifestyle) รวมถึงการนำเทคโนโลยีด้านบริการเข้าปรับใช้เพิ่มความสะดวกสบายให้กับทุกคนและในทุกช่วงชีวิต พุ่งเป้าหมายธุรกิจเมกะเทรนด์ (Mega Trends) ของโลก สร้างสังคมที่ยั่งยืน ทั้งด้านบริการครอบคลุมครบ ขณะเดียวกัน มองว่าเทรนด์การลงทุนในธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราพุ่งเป้าไปธุรกิจที่ตอบรับเมกะเทรนด์ (Mega Trend) ทั้งความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อโลก สังคม สุขภาพ​ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ประกอบด้วย   1. เตรียมขยายพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ใหม่ Premium Segment   2. การบริหารจัดการด้าน Hospitality เต็มรูปแบบ “Hotel & Service Apartment Management” ผ่านการจัดการด้วยมืออาชีพเฉพาะด้าน   3. ธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะฟื้นตัว (Nursing Home) “SJ HEALTHCARE” เพื่อรองรับการเติบโตของสังคมสูงอายุพัฒนา MEDICAL WELLNESS CENTER และ PRIMARY CARE สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการและความกังวลด้านดูแลสุขภาพโดยเฉพาะ   4.ธุรกิจ WAREHOUSE ให้เช่าแบบครบวงจร “METROBOX” ซึ่งเป็นอาคารคลังสินค้ามาตรฐานสากลเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เตรียมเปิด 2 ทำเล 1.บางนา บางพลี สมุทรปราการ และ 2.พหลโยธิน วังน้อย อยุธยา   5.จับมือบริษัท ชิเซ็น อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Shizen เพื่อลงทุนและศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ในการขยายตลาดด้านพลังงานหมุนเวียนร่วมกันในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมองหาพันธมิตรในการติดตั้ง “โซลาร์แนวตั้ง” สำหรับอาคารสูงในประเทศไทยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้มากที่สุด   6.เดินหน้าขยายพื้นที่ให้บริการชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV CHARGING STATION ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ เพื่อให้สอดคล้องไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (SMARTCITY) ปัจจุบันติดตั้งในหมู่บ้านของ SENA ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งสถานีชาร์ตรถไฟฟ้า (EV Charging Station) เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับลูกบ้านในโครงการและลูกค้าทั่วไปในอนาคต   7.บริษัท SENA REFORESTATION ปลูกป่ารักษาโลก ตามเป้าเจตนารมณ์ 100,000 ไร่ New Project Launch ปี 2023 เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 26 โครงการ รวมมูลค่า 24,024 กว่าล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 9 โครงการ 7,471 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม 17 โครงการ 16,553 ล้านบาท (ซึ่งใน 26 โครงการ แบ่งเป็นโครงการร่วมทุนกับ ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป 22 โครงการ 21,210 ล้านบาท) ตอกย้ำพันธมิตรธุรกิจที่แข็งแกร่ง 8 ปี ร่วมกันพัฒนาโครงการรวม 45 โครงการ มูลค่า 69,554 ล้านบาท ทั้งนี้ วางเป้าหมายสร้างนิวเรคคอร์ดครั้งใหม่ของบริษัท ด้วยเป้ายอดขาย 18,242 ล้านบาท และเป้าโอนรวม 16,539 ล้านบาท โดยมีสินค้าที่เหลือขาย คิดเป็นมูลค่า 22,294 ล้านบาท เพื่อรอรับรู้รายได้ในอนาคต   แต่อย่างไรก็ตาม เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ยังมองถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก แผนเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ และธุรกิจใหม่ รองรับ Mega Trend ที่พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าและการบริการ สานต่อจุดยืนขององค์กรที่เป็นมากกว่าคนพัฒนาอสังหาฯ ด้วยการเป็น “THE ESSENTIAL LIFELONG TRUSTED PARTNER” เพื่อสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกช่วงชีวิต   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เสนาฯ เปิดโมเดล​ บ้านพลังงานเป็นศูนย์ เดินหน้าสู่บริษัท ด้านความยั่งยืน -[PR News] เสนาเจ จับมือ NEC พลิกโฉม “Smart Living Community”
เทียบฟอร์มบิ๊กอสังหาฯ ใครจ่ายปันผล ปี 65 ให้ผู้ถือหุ้นสูงสุด

เทียบฟอร์มบิ๊กอสังหาฯ ใครจ่ายปันผล ปี 65 ให้ผู้ถือหุ้นสูงสุด

พลัส พร็อพเพอร์ตี้  เปิดผลการดำเนินงาน​บิ๊กอสังหาฯ ใครจ่ายปันผล ปี 65 ให้ผู้ถือหุ้นสูงสุด  พร้อมประเมินตลาดปีกระต่าย เศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่   นายอนุกูล  รัฐพิทักษ์สันติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมตอบโจทย์ทุกบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ปี 2565 นับได้ว่าเป็นปีแรกที่เริ่มเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจน ภายหลังจากที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจัยสำคัญมาจากการได้รับวัคซีน รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้อย่างเต็มที่   ขณะที่ปี 2566 คาดการณ์ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเต็มที่ ทำให้มีทั้งโอกาสทางธุรกิจ อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าติดตามและเตรียมรับมือในอีกหลายประเด็น ทั้งทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อประเทศไทย แนวโน้มราคาพลังงานและราคาโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น กดดันให้ต้นทุนและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย   อย่างไรก็ดี แม้ปีที่ผ่านมาจะเป็นปีที่มีความท้าทายของการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน แต่ภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯในปีที่ผ่านมา Top 5 อสังหาฯที่ทำกำไรได้สูงสุด ก็สามารถทำกำไรรวมได้เกือบ  30,000 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้าถึง 28.3%   โดยบริษัทที่คว้าแชมป์กำไรสูงสุดคือ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ บริษัทที่มีการเติบโตของกำไรสูงสุดคือแสนสิริ บริษัทที่คว้าแชมป์รายได้สูงสุดและการเติบโตของรายได้สูงสุด คือ เอพี ไทยเลนด์ และบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราสูงสุดคือ แสนสิริ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ รวบรวมผลประกอบการปี 2565 ของยักษ์บริษัทอสังหาฯ  เปรียบเทียบให้เห็นว่า แต่ละบริษัท มีตัวเลขกำไร รายได้ และอัตราการเติบโตมากน้อยแค่ไหน และสิ่งนี้ส่งสัญญาณอะไรต่อตลาดอสังหาฯ ในปี 2566 ที่ยังต้องติดตาม แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กำไรสุทธิ 8,313 ล้านบาท รายได้รวม 36,732 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 6.2%   แสนด์ แอนด์ เอ้าส์ (LH) กลับมาครองแชมป์เป็นบริษัทที่ทำกำไรสูงสุดอีกครั้ง โดยโชว์ผลงานกำไรสุทธิ 8,313 ล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 19.8% โดยมีรายได้ 36,732 ล้านบาท ซึ่งถือว่าอยู่ในอันดับสองของอุตสาหกรรม และเติบโตจากปีที่ผ่านมา 9.6% โดยประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 17 โครงการ มูลค่า 35,000 ล้านบาท แสนสิริ กำไรสุทธิ 4,280 ล้านบาท รายได้รวม 34,983 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 7.9%   แสนสิริ (SIRI) ตอกย้ำความแข็งแกร่งในธุรกิจอสังหาฯ โชว์ผลงานปี 65 กำไรสุทธิ 4,280 ล้านบาท โตก้าวกระโดด 112% ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบ 38 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 12.2% ของรายได้รวม โตขึ้นจากปีก่อนที่มีอัตรากำไรสุทธิ 6.8% โดยไฮไลท์กำไรในไตรมาส 4/65 ไตรมาสเดียวทะลัก 1,791 ล้านบาท โตถึง 422% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน (Dividend yield) 8% สูงสุดในกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ขณะนี้ ขณะที่ยอดขายปี 65 ทะลุ 50,000 ล้านบาท โตจากปีก่อนเกือบ 50% กวาดรายได้รวม 34,983 ล้านบาท โตขึ้น 18% ผลงานรายได้จากการขายโครงการโดดเด่นทุกกลุ่มที่อยู่อาศัย ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 52 โครงการ มูลค่า 75,000 ล้านบาท เอพี ไทยแลนด์ กำไรสุทธิ 5,877 ล้านบาท รายได้รวม 38,706 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 5.2%   ปีที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้สูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรม โดยรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม และธุรกิจอื่นๆ ได้ 38,706 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 21% หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวมเท่ากับ 31,981 ล้านบาท ด้านกำไรสุทธิ 5,877 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 4,543 ล้านบาท เท่ากับ 29.4% นอกจากนั้นที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 66 มีมติอนุมัติจ่ายปันผลจากกำไรสะสม เป็นเงินสดในอัตรา 0.65 บาท/หุ้น ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 58 โครงการ มูลค่า 77,000 ล้านบาท ศุภาลัย กำไรสุทธิ 8,173 ล้านบาท รายได้รวม 35,501 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 6.3%   ศุภาลัย (SPALI) กวาดรายได้รวมเติบโตแบบก้าวกระโดดสูงถึง 35,501 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปี 2564 เกินเป้าหมายที่วางไว้ 29,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ 34,221 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% จากปี 2564 แบ่งเป็นรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์โครงการแนวราบ 54% และคอนโดมิเนียม 46%  และสร้างผลกำไรสุทธิ 8,173 ล้านบาท มากเป็นอันดับสองในอุตสาหกรรมและโตกว่า 16% ส่งผลให้อัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ระดับเพียง 49% จากการเติบโตของยอดรายได้และกำไรดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการงวดปี 2565 ให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 1.45 บาท จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท คงเหลือจ่ายเงินปันผลสำหรับงวด 6 เดือนหลังของปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.75 บาท ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 37 โครงการ มูลค่า 41,000 ล้านบาท พฤกษา กำไรสุทธิ 2,772 ล้านบาท รายได้รวม 28,640 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 7.0%   ปี 2565 พฤกษา โฮลดิ้ง (PSH) ทำกำไรสุทธิ 2,772 ล้านบาท เติบโต 18% มีรายได้ 28,640 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปี 2564 รายได้จากวิมุตเติบโตอย่างก้าวกระโดดเพิ่มขึ้น 4.7 เท่า จากปี 2564 โดยปีนี้วางแผนเพิ่มการลงทุนเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ วางแผนเพิ่มสัดส่วนโครงการในกลุ่มเซ็กเมนต์ระดับกลางไปสูง จับกลุ่มลูกค้าพรีเมียมมากขึ้น พร้อมวางแผนเปิดศูนย์สุขภาพแห่งใหม่ มอบบริการครอบคลุมทุกมุมเมือง ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 23 โครงการ มูลค่า 23,500 ล้านบาท   ทั้งนี้ ตัวเลขของอสังหาฯ รายใหญ่ ทั้งหมดนี้จะเป็นสัญญาณของการพลิกฟื้นตัวที่รวดเร็วของอสังหาฯ ไทย ในปีนี้หรือไม่จึงเป็นสิ่งที่น่าติดตาม ขณะที่ทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย ในปี 2566 REIC คาดการณ์ว่า อุปทานจะมีสภาวะทรงตัวถึงชะลอเล็กน้อย เนื่องจากได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 2564 ตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้เชื่อว่า ยังคงทรงตัวและเป็นช่วงเวลาของการฟื้นตัวให้แข็งแรง เพื่อที่จะขยายตัวได้ดีในปี 2567 *ข้อมูลที่พลัสฯ รวบรวมนำเสนอยังไม่รวมข้อมูลบริษัทที่ยังไม่ได้แจ้งผลประกอบการ ณ สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] พฤกษา โฮลดิ้งโชว์ปี 65 กำไรโต 18% เตรียมผุดศูนย์สุขภาพ -เอพี ไทยแลนด์ เผยผลงานปี 65 ทำรายได้ 49,388 ล้าน พร้อมกวาดกำไรเติบโตกว่า 23%  
เอพี ไทยแลนด์  เผยผลงานปี 65 ทำรายได้ 49,388 ล้าน  พร้อมกวาดกำไรเติบโตกว่า 23%  

เอพี ไทยแลนด์ เผยผลงานปี 65 ทำรายได้ 49,388 ล้าน พร้อมกวาดกำไรเติบโตกว่า 23%  

เอพี ไทยแลนด์ เผยรายได้รวม 49,388 ล้าน เติบโตกว่า 23% ทำกำไรสุทธิกว่า 5,870 ล้าน เติบโตสูงกว่า 29% ย้ำเดินตามแผนเปิดตัวดุดันสุดในอุตสาหกรรม มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน NET D/E ต่ำสุดเพียง 0.58 เท่า พร้อมเดินหน้าตามแผน 2023 AP INCLUSIVE GROWTH เปิดตัว 58 โครงการใหม่  ดุดันสุดในอุตสาหกรรม มูลค่ากว่า 77,000 ล้านบาท พร้อมส่งไฮไลต์ประจำไตรมาส 1 กับ THE CITY บ้านโมเดลใหม่ 100 ตารางวา เดินตามเกมชิงแชร์ตลาดบ้านหรู 20 - 50 ล้านบาท นายวิทการ จันทวิมล  รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง​ผลการดำเนินงานประจำปี 2565 ว่า บริษัทสามารถสร้างรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100% JV) และธุรกิจอื่นๆ ได้สูงถึง 49,388 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีรายได้รวมเท่ากับ 40,015  ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ     5,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.4% จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 4,543 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนต่ำเพียง 0.58 เท่า   ทั้งนี้ ในไตรมาส 4 ปี 2565 บริษัทสามารถสร้างรายได้รวมจำนวน 11,822 ล้านบาท เติบโต 22% และกำไรสุทธิ 1,154 ล้านบาท เติบโต 16.1% หากเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า   สำหรับคีย์แฟกเตอร์ที่ส่งผลให้ปีที่ผ่านมา บริษัท มีการเติบโตดังกล่าว เป็นเพราะ​ 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ โครงการแนวราบพิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่แข็งแกร่ง และยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างรายได้ที่มากถึง 35,605 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 21.8% ธุรกิจคอนโดมิเนียม เริ่มกลับมาสดใสอีกครั้ง โดยปีที่ผ่านมาบริษัทฯ รับรู้รายได้เพิ่มจาก 3 คอนโดมิเนียมใหม่ที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ ได้แก่ LIFE สาทร เซียร์ร่า, RHYTHM เอกมัย เอสเตท และ ASPIRE เอราวัณ ไพร์ม ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมาธุรกิจคอนโดมิเนียมสามารถขับเคลื่อนรายได้รวม (100% JV) ได้มากถึง 12,767 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.5% ส่วนแผนธุรกิจปี 2566 บริษัทพร้อมเดิมหน้าตามแผน AP INCLUSIVE GROWTH ที่สุดของปีกับการเติบโตร่วมกัน โดยใช้ความชำนาญที่มีมาสร้างโอกาส และข้อได้เปรียบให้เกิดขึ้นในหลากหลายมิติ ภายใต้ปรัชญาที่ต้องการส่งมอบชีวิตดี ๆ ที่ทุกคนเลือกเองได้ ผ่านการเปิดตัวโครงการใหม่จำนวน 58 โครงการ มูลค่าประมาณ 77,000 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นบ้านเดี่ยว 22 โครงการ มูลค่า 34,800 ล้านบาท ทาวน์โฮม 27 โครงการ มูลค่า 26,400 ล้านบาท คอนโด 4 โครงการ มูลค่า 11,800 ล้านบาท และโครงการในต่างจังหวัด 5 โครงการ มูลค่า 4,000 ล้านบาท และตั้งเป้ายอดขาย 58,000 ล้านบาท เป้ารายได้รวม 100% JV ที่ 57,500 ล้านบาท   โดยไฮไลต์ไตรมาสแรกคือ กลุ่มธุรกิจบ้านเดี่ยวกับการรุกเข้ากินแชร์ตลาดบ้านหรู ด้วยการเปิดตัว THE CITY บ้านเดี่ยวโมเดลใหม่ ขนาดพื้นที่ 100 - 127 ตารางวา พื้นที่ใช้สอยประมาณ 386 - 560 ตารางเมตร ใน 3 โครงการใหม่ ได้แก่ THE CITY จรัญฯ-ปิ่นเกล้า จำนวน 58 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,350 ล้านบาท THE CITY ปิ่นเกล้า-บรมฯ 3 จำนวน 68 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,420 ล้านบาท และ THE CITY สุขุมวิท-อ่อนนุช 2 จำนวน 64 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,380 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เอพี ไทยแลนด์ ขนบ้าน-คอนโด ขายกว่า 1.65 แสนล้าน ลุยตลาดด้วยแผน INCLUSIVE GROWTH          
9 คำถามบ่อย ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ใช้ลดหย่อนภาษียังไง​?

9 คำถามบ่อย ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ใช้ลดหย่อนภาษียังไง​?

ลดหย่อนภาษี ตอนนี้ก็ถึงฤดูกาลเสียภาษีประจำปี 2565 กันแล้ว ซึ่งกรมสรรพากรให้ทุกคนที่มีรายได้ สามารถนำเอาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งมีหลายประเภทด้วยกัน หนึ่งในนั้น คือ ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน แต่หลายคนก็มักจะมีคำถามที่สงสัยว่าจะเอามาคิดค่าลดหย่อนได้ยังไง และเท่าไรกันบ้าง วันนี้ Reviewyourliving รวบรวมคำถามและคำตอบมาให้แล้ว กับ ​9 คำถามบ่อย ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ใช้ลดหย่อนภาษียังไง​? 1.กู้ซื้อบ้านแบบไหน ลดหย่อนภาษี ได้บ้าง? การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงิน หรือกู้เพื่อปลูกสร้างบ้าน เพื่ออยู่อาศัยทุกประเภท นำดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้มาใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษี ได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท การกู้เงินเพื่อปลูกสร้างบ้านเอง บนที่ดินของตนเอง หรือที่ดินของคนอื่น เช่น ของบิดา หรือมารดา ที่มีการให้ความยินยอมในการปลูกสร้าง  นำเอาดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด 2.กู้ซื้อบ้านลดหย่อนได้เท่าไร? ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน สามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ตลอดปี 2565  แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท 3.ต้องกู้เงินกับแบงก์ ถึงจะลดหย่อนได้ใช่ไหม? ไม่ใช่ เพราะความจริงแล้ว การกู้เงินซื้อที่อยู่อาศัย ไม่จำเป็นต้องกู้กับธนาคารเท่านั้น สามารถกู้กับหน่วยงานหรือผู้ประกอบการอื่น ๆ ที่อยู่ในประเทศไทย และตามที่กรมสรรพากรรับรอง มีดังนี้ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ นายจ้างที่จะมีกองทุนจัดสรรไว้สำหรับลูกจ้าง บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 4.กู้ซื้อบ้านมากกว่า 1 หลัง ลดหย่อนได้เท่าไร​ ถ้ากู้ซื้อบ้านมากกว่า 1 หลัง ให้เอาดอกเบี้ยที่จ่ายไปจริงในทุกหลังมาคิดรวมกัน โดยลดหย่อนตามเกณฑ์ คือ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมแล้วไม่เกิน 100,000 บาท 5.กู้ร่วมหลายคน​ ลดหย่อนได้เท่าไร? ตามที่จ่ายตามจริง โดยหารตามจำนวนผู้กู้ร่วม แต่รวมกันทุกคนได้ไม่เกิน 100,000 บาท  เช่น กู้ร่วมกับพี่น้อง รวมทั้งหมด 4 คน ในปีนี้เสียดอกเบี้ย 120,000 บาท ซึ่งตามหลักการแล้วลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้น ต้องเอาดอกเบี้ยมาคิดแค่ 100,000 บาท แล้วหาร 4 คน ทำให้แต่ละคนมีสัดส่วนค่าลดหย่อนคนละ 25,000 บาทเท่านั้น ​ 6.สามีหรือภรรยา คิดค่าลดหย่อนยังไง? กรณีที่จดทะเบียนสมรส ไม่ว่าจะจดมาก่อนหน้าที่จะซื้อ หรือระหว่างปีภาษี มีหลักเกณฑ์ในการคิดค่าลดหย่อนภาษี ดังนี้ กู้ร่วมกัน ยื่นภาษีคนเดียว จ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท กู้ร่วมกัน ยื่นภาษีสองคน จ่ายตาม​จริงคนละครึ่ง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท 7.จ่ายดอกเบี้ยไม่ครบ 1 ปี ลดหย่อนได้เท่าไร เริ่มตั้งแต่วันที่จ่ายจนถึงสิ้นปี ตามที่จ่ายจริง ​สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท  เช่น เริ่มกู้ซื้อบ้าน และเริ่มผ่อนชำระเดือนสิงหาคม ก็จะนำเอาดอกเบี้ยที่จ่ายไปตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงธันวาคม มาใช้เป็นส่วนลดหย่อน 8.บ้านที่รีไฟแนนซ์ ลดหย่อนได้ไหม? สามารถนำดอกเบี้ยมาใช้เป็นค่าลดหย่อนปกติ แต่ต้องวงเงินหนี้เท่าเดิม ไม่มีการกู้เงินเพิ่ม มีหลักคิดเช่นเดียวกันการกู้เงินซื้อที่อยู่อาศัยทั่วไป คือ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท 9.ใช้เอกสารอะไรบ้าง? เอกสารที่ต้องเตรียมมี 2 อย่าง คือ สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน และหนังสือรับรองหลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่กู้ ​   ทั้งหมดนี้ คือ ข้อสงสัย และข้อข้องใจของใครหลายคน เกี่ยวกับการนำเอาดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน มาใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีประจำปี หวังว่าการทุกท่านจะสามารถยื่นภาษีเงินได้ประจำปี 2565 ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และทันกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ ที่สำคัญสามารถยื่นได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ใครจะยื่นไปได้เลยที่นี่ https://www.rd.go.th/272.html   ที่มา : กรมสรรพากร, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารทีทีบี, REIC   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -อัปเดตดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้านและคอนโด เดือนมกราคม 2566 -อัปเดตดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด เดือนมกราคม 2566 แบงก์ไหนให้ดอกต่ำสุด