Tag : Home

816 ผลลัพธ์
10 บิ๊กอสังหาฯ กวาดยอดขายบ้านและคอนโด ไตรมาส 2 กว่า 51,650 ล้าน

10 บิ๊กอสังหาฯ กวาดยอดขายบ้านและคอนโด ไตรมาส 2 กว่า 51,650 ล้าน

10 บิ๊กอสังหาฯ ยังกวาดยอขายบ้านและคอนโดไตรมาส 2 กว่า 51,650 ล้าน ​ขณะที่ทำรายได้ 6เดือนแรกโต9.78% รายได้รวมQ2โต131% ส่วน6เดือนแรกโกยรายได้กว่า 1.12 แสนล้าน ดูเหมือนว่าแม้บ้านเราจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาต่อเนื่องกว่าหนึ่งปี และได้ส่งผลกระทบกับภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อในวงกว้าง แต่ผลการดำเนินงานของดีเวลลอปเปอร์พัฒนาที่อยู่อาศัย ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนใหญ่ยังคงรักษาสร้างยอดขายและรายได้เอาไว้ได้ แม้ว่าบางบริษัทอาจจะทำผลงานได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ก็ถือว่าภายใต้สถานการณ์ความยากลำบากของการใช้ชีวิตและดำเนินธุรกิจ ผลงานที่ยังรักษาเอาไว้ได้ทำให้มองเห็นว่า ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และบางบริษัททำผลงานได้ดีและโดดเด่นด้วย 10 บิ๊กกวาดยอดขายบ้าน-คอนโดกว่า5หมื่นล้าน สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา หากวัดยอดขายเฉพาะธุรกิจที่อยู่อาศัย ประเภทบ้าน ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม ไม่รวมรายได้อื่น ๆ เช่น รายได้จากค่าบริหาร รายได้ธุรกิจโรงแรม รายได้จากดอกเบี้ย เป็นต้น  จะพบว่า 10 รายใหญ่มียอดขายกลุ่มบ้านและคอนโด รวมกว่า 51,650.15 ล้านบาท เติบโต 3.52% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาย 49,894.74 ล้านบาท   โดยบริษัทที่สร้างยอดขายกลุ่มบ้านและคอนโดมากที่สุด ยังเป็นบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่ทำยอดขายไปว่า 8,465.05 ล้านบาท เติบโต 17.08% จากไตรมาส 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมียอดขาย 7,230.21 ล้านบาท ซึ่งอาจจะเป็นเพราะในช่วงไตรมาสที่ 2 ปีที่แล้ว ได้เริ่มมีมาตรการล็อกดาวน์ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่ ต้องกักตัวอยู่บ้าน และผู้ประกอบการต้องหากลยุทธ์มาเพิ่มยอดขาย   แม้ว่าส่วนผู้ประกอบการใหญ่ยังคงทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น แต่มี 4 บริษัทที่ทำยอดขายลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ทำยอดขายบ้านและคอนโดลดลงมากที่สุดถึง 29.88% รองลงมาเป็นบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ยอดขายกลุ่มบ้านและคอนโดลดลง 25.05% ตามมาด้วย บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ลดลง 14.32% และบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ลดลง 0.1% (รายละเอียดตามตารางประกอบ) ยอดขายบ้าน-คอนโด6เดือนแรกโต9.78% หากดูเฉพาะยอดขายบ้านในช่วง 6 เดือนแรก ยังคงมีทิศทางเป็นบวก สามารถทำยอดขายได้เติบโต 9.78% มีมูลค่ากว่า 102,384.51 ล้านบาท โดยบมจ.เอพีฯ ทำยอดขายได้สูงสุดถึง 16,714.52 ล้านบาท แซงหน้าบมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ที่ทำยอดขายได้ 15,605.25 ล้านบาท   แม้ส่วนใหญ่จะทำยอดขายในช่วง 6 เดือนแรกได้เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่มี 3 บริษัทที่ทำยอดขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ได้แก่ บมจ.เฟรเซอร์สฯ ทำผลประกอบการช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ได้ 9,163.34 ล้านบาท ลดง 17.76% รองลงมาเป็น บมจ.แสนสิริ ที่ยอดขายลดลงไป 15.44% และบมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ที่ยอดขายลดลง 13.72% รายได้รวมQ2โต131%            แต่หากดูผลประกอบการโดยรวมทุกธุรกิจที่ดีเวลลอปเปอร์ดำเนินงานอยู่นั้น จะพบว่าช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา 10 ดีเวลลอปเปอร์สามารถสร้างรายได้รวมทุกธุรกิจได้เติบโตถึง 131.66%  หรือมีมูลค่า 55,876.45 ล้านบาท และสามารถทำกำไรได้ถึง 7,728.40 ล้านบาท เติบโตถึง 524.69 ล้านบาท ซึ่งเป็นเพราะไตรมาส 2 ปีที่แล้ว ธุรกิจอสังหาฯ ได้รับผลกระทบของไวรัสโควิด-19 มากที่สุด เป็นช่วงเวลาที่หลายบริษัทมียอดขายต่ำที่สุดของปี   โดยรายได้รวมของไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีบมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ที่ยังคงทำรายได้รวมสูงที่สุด คือ 9,153.21 ล้านบาท และยังทำกำไรได้สูงสุดเช่นกันด้วยมูลค่า 1,869.52 ล้านบาท แต่พบว่ามี 3 บริษัทที่ทำรายได้รวมลดลง ได้แก่ บมจ.แสนสิริ มีรายได้รวมลดลงมากที่สุดถึง 28.37% ตามมาด้วยบมจ.เฟรเซอร์ส ลดลง 22.12% และบมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ลดลง 12.13% 6เดือนแรกโกยรายได้กว่า 1.12 แสนล้าน แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะเพิ่มระดับความรุนแรงมาตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยศักยภาพและความสามารถในการทำธุรกิจของกลุ่มดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ 10 รายของกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ก็ยังทำให้ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สามารถทำรายได้จากการดำเนินธุรกิจไปถึง 112,218.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7.91% แม้ว่าจะมีหลายบริษัทที่รายได้รวมอาจจะลดลงจากปีที่ผ่านมาบ้าง เพราะธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มที่อยู่อาศัย ได้รับผลกระทบ เช่น ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจออฟฟิศให้เช่า เป็นต้น   โดยพบว่ามี 4 บริษัทที่รายได้รวมลดลง ซึ่งลดลงมากที่สุด คือ บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ที่ลดลง 21.75% ซึ่งส่วนหนึ่งบริษัทมีธุรกิจโรงแรมที่ปีนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก รองลงมาเป็นบมจ.แสนสิริ ที่ลดลงไป 16.25% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามมาด้วยบมจ.เฟรเซอร์สฯ ที่มีรายได้รวมลดลง 16.18% และบมจ.พฤกษา ที่รายได้รวมลดลง 0.82%   แต่ในภาพรวมแล้วทุกบริษัทยังคงรักษาอัตราการทำกำไรไว้ได้ดี ส่วนใหญ่จะมีกำไรเติบโต ยกเว้นบมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ที่ยังคงขาดทุนโดยาดทุนถึง 339.33 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 107.58% และบมจ.พฤกษา แม้ทำกำไรได้แต่อัตรากำไรลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.79%  
อัพเดท ตลาดอสังหาฯ ไทยครึ่งปีแรก  เปิดใหม่ลด18%สต็อกกว่า2.2แสนยูนิต

อัพเดท ตลาดอสังหาฯ ไทยครึ่งปีแรก เปิดใหม่ลด18%สต็อกกว่า2.2แสนยูนิต

ถึงเวลานี้เราได้เดินทางมาเกินครึ่งปี 2564 แล้ว แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่มีทีท่าว่าจะแผ่วลงไปเลย จำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน รวมถึงผู้เสียชีวิตยังคงสูงอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงทำให้หลายธุรกิจยังไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวได้   ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน ผ่านมากว่าครึ่งปีแล้ว ธุรกิจยังคงได้รับผลกระทบไม่ต่างธุรกิจอื่น ๆ การเปิดตัวโครงการใหม่ลดน้อยลงจนแทบจะไม่มีให้เห็น ส่วนใหญ่ยังคงเน้นการระบายสต็อกสินค้าที่มีอยู่ในมือ และขายโครงการเก่าที่เปิดตัวไปก่อนหน้า โปรโมชั่นส่งเสริมการขายยังคงแนวทางหลักที่ดีเวลลอปเปอร์ใช้ เพื่อสร้างยอดขาย ในภาวะที่กำลังซื้อชะลอตัว   โดยบทสรุปของการเปิดตัวในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาเป็นอย่างไรนั้น  ทางบริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) หรือ LPN ได้ทำบทสรุปออกมาให้เห็นถึงภาพรวมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ​ ครึ่งปีแรกเยูนิตปิดใหม่ลดลง 18% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 มีที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งหมด 23,551 ยูนิต ลดลง 18% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นมูลค่า 130,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 จำนวนยูนิตการเปิดตัวลดลง แต่มูลค่าสูงขึ้นเนื่องจากมีการเปิดตัวโครงการ The Forestias  ซึ่งเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูงถึง 45,000 ล้านบาท ของบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในไตรมาสสองของปี 2564  ทำให้มูลค่าการเปิดตัวโครงการอสังหาริมทรัพย์โดยรวมในครึ่งแรกของปี 2564 สูง เมื่อเทียบกับจำนวนยูนิตที่เปิดที่ลดลง   จากยูนิตเปิดตัวทั้งหมด 23,551 ยูนิต เป็นการเปิดตัวโครงการอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) จำนวน 9,235 ยูนิต เพิ่มขึ้น 4% มูลค่า 55,616 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 มีอัตราขายได้เฉลี่ย 29% ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่าน เนื่องจากในปี 2563 มีการประกาศบังคับใช้มาตรการด้านสินเชื่อ Loan to Value:LTV เป็นครั้งแรกจึงเกิดแรงกดดันต่อการตัดสินใจซื้อ บวกกับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถานบันการเงินที่เพิ่มมากขึ้น   ในขณะที่การเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2563 แต่ยังคงมีจำนวนยูนิตและมูลค่าที่มากกว่าอาคารชุด คิดเป็นสัดส่วน 61% ของยูนิตเปิดตัวทั้งหมด โดยมีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยจำนวน 14,316 ยูนิต มูลค่า 74,435 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 หดตัว 28% และ 18% ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แม้การเปิดตัวจะหดตัวลงแต่บ้านพักอาศัยยังมีอัตราขายได้เฉลี่ย 13% ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราขายได้ในปี 2563   โดยโครงการบ้านพักอาศัย ประเภททาวน์เฮ้าส์ เป็นรูปแบบบ้านที่ยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้ต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น คำนึงถึงระยะห่างทางสังคมกันมากขึ้น การมองหาที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้อย่างทาวน์เฮ้าส์จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในช่วงเวลานี้ โดยมีการเปิดตัวโครงการทาวน์เฮ้าส์ใหม่เป็นจำนวน 8,568 ยูนิต มูลค่า 25,267 ล้านบาท หดตัว 35% และ 33% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563  มีอัตราขายได้เฉลี่ย 14%   ประเภทบ้านเดี่ยว มีจำนวนยูนิตเปิดตัวใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 จำนวน 2,984 ยูนิต มูลค่า 33,499 ล้านบาท หดตัว 31% และ 16% ตามลำดับ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีอัตราขายได้เฉลี่ย 11% ซึ่งสูงขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563  เนื่องด้วยเป็นสินค้าที่มีราคาขายค่อนข้างสูง และสถานการณ์เศรษฐกิจอาจไม่ได้มีผลกระทบกับกลุ่มลูกค้าในระดับนี้มากนัก   ประเภทบ้านแฝด เป็นรูปแบบบ้านที่ได้รับความสนใจมากขึ้น มีอัตราขายได้เฉลี่ย 12% ด้วยรูปแบบบ้านที่ถูกพัฒนาให้ใกล้เคียงกับบ้านเดี่ยว บวกกับราคาขายเฉลี่ย 5-8 ล้านบาท จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยในครึ่งปีแรกเปิดตัวใหม่เป็นจำนวน 2,764 ยูนิต มูลค่า 15,669 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% และ 26% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา คอนโดต่ำกว่า 3 ล้านยังครองตลาด จากการศึกษาพบว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 คอนโดในระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท (Affordable Price) มีส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 70% จากยูนิตที่ขายได้ของคอนโดทั้งหมด ซึ่งเป็นระดับราคาที่ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มหันมาเปิด​แบรนด์ใหม่หรือพัฒนาโครงการระดับราคานี้มากขึ้น ขณะที่ตลาดบ้านพักอาศัยอย่างทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝดมีแนวโน้มที่ระดับราคาขายทรงตัว จากสภาวะตลาดและสภาพเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวในปัจจุบัน แต่ระดับราคาของบ้านเดี่ยวมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น จากการพัฒนาโครงการมูลค่าสูงบนพื้นที่โครงการขนาดเล็กหรือขนาดกลาง โดยมีจำนวนยูนิตในโครงการไม่มากนัก ซึ่งกลุ่มลูกค้าระดับราคานี้เป็นผู้อยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจมากนัก   ในขณะที่ทำเลในเขตปริมณฑล รอบกรุงเทพฯ ​ อย่าง ทำเลรังสิต ปทุมธานี และบางนา สมุทรปราการ เป็นทำเลที่ถูกพัฒนาเป็นโครงการบ้านพักอาศัยจำนวนมาก เนื่องจากเป็นทำเลที่สามารถเดินทางได้สะดวกทั้งถนนสายหลัก ทางหลวงพิเศษหรือถนนวงแหวนรอบนอก ทำให้เดินทางเข้า-ออกสู่ใจกลางเมืองหรือศูนย์กลางธุรกิจได้ง่าย แม้กระทั่งการเดินทางไปยังจังหวัดใกล้เคียง พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในทำเล รวมถึงปัจจัยด้านราคาที่ดินที่ยังสามารถพัฒนาโครงการเพื่อทำราคาขายไม่เกิน 5 ล้านบาทได้อยู่ แต่จากเหตุการณ์การระเบิดของโรงงานอุตสาหกรรมย่านกิ่งแก้วในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา อาจทำให้การตัดสินใจเลือกซื้อทำเลที่อยู่อาศัยใกล้กับพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างบางนานั้นยากขึ้น ใช้เวลาระบายสต็อกกว่า 2 ปีจึงจะหมด ผลจากสถานการณ์การเปิดตัวโครงการใหม่ที่หดตัวลง บวกกับอัตราการขายได้เฉลี่ยที่ลดลงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 “ลุมพินี วิสดอม” คาดว่ายูนิตคงค้างในตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 มีแนวโน้มทรงตัวจากสิ้นปี 2563 โดยมีจำนวนทั้งหมดประมาณ 222,000 ยูนิต อาจต้องใช้เวลาในการขายประมาณ 51 เดือนเพื่อระบายยูนิตคงค้างทั้งหมด ซึ่งแบ่งออกเป็นยูนิตคงค้างประเภทคอนโดประมาณ 85,300 ยูนิต หดตัวลงจากสิ้นปีที่ผ่านมาประมาณ 6% จากการชะลอแผนและเลื่อนเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2563   ในขณะที่ยูนิตคงค้างของบ้านพักอาศัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2563 ประมาณ 4% เป็นจำนวนประมาณ 136,700 ยูนิต ผลจากการที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ หันมาเน้นพัฒนาบ้านพักอาศัยมากกว่าคอนโด เพื่อตอบรับกับความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่และมีความเป็นส่วนตัว(Privacy) มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 และแนวโน้มที่ต้องทำงานที่บ้าน(Work from home) มากขึ้น นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทด้านวิจัยและพัฒนาในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) หรือ LPN  เปิดเผยว่า การเปิดตัวโครงการใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ลดลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในไตรมาสสองของปี 2564 ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ เลื่อนแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ ประกอบกับการที่ภาครัฐ ได้เริ่มมีการออกมาตรการที่เข้มงวดเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการประเมินสถานการณ์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ยังคงมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ ในช่วงครึ่งปีหลัง อาทิ มาตรการปิดแคมป์ก่อสร้างในเดือนกรกฏาคม ที่ส่งผลกระทบต่อการก่อสร้าง ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถส่งมอบที่อยู่อาศัยได้ตามแผนที่วางไว้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในเรื่องของราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาเหล็ก ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนทางธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น  นอกเหนือจากความสามารถในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่อาจจะยืดเยื้อจากไตรมาส 3 ไปจนถึงไตรมาส 4   ดังนั้น จำนวนยูนิตคงค้างที่อยู่ในตลาดจึงมีแนวโน้มคงที่ จากอัตราการระบายเฉลี่ยลดลง ผนวกกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งมีอัตราการว่างงานสูงแตะระดับ 2 ล้านกว่าคน ภาระหนี้ครัวเรือนแตะระดับ 90%  ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง แหล่งเงินทุนอย่างสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโดยมีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อ 40-50% ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อกำลังซื้อที่อยู่อาศัยในตลาด และการตัดสินใจเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ด้วย บทสรุปตลาดปี 64 ตลาดหดตัวต่อ สำหรับแนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ถือว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าช่วงครึ่งแรกของปี  เนื่องจากผู้ประกอบการอสังหาฯ มีแผนที่จะเปิดตัวโครงการใหม่  หลังจากที่เลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่หลายโครงการในช่วงครึ่งแรก  และหากรัฐบาลสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการ​ ทยอยเปิดตัวโครงการใหม่ในช่วงปลายไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ทำให้คาดว่าปีนี้ ​จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 52,000-60,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 265,000-300,000 ล้านบาท หรือหดตัวประมาณ 5% ถึงขยายตัว 8% ในปี 2564 เทียบกับปี 2563   แต่ทั้งนี้ ถ้ารัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ภายในปี 2564 นี้ คาดว่าตลาดที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่เปิดตัวใหม่อยู่ที่ประมาณ 45,000-52,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 225,000-265,000 ล้านบาท หรือหดตัว 5% ถึง 20% ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันจากปี 2563   ถ้ารัฐบาลควบคุมการแพร่ระบาดได้ในไตรมาส 3 สามารถเร่งนำเข้าและฉีดวัคซีนได้ตามแผนที่วางไว้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศ  ภาคการส่งออกและภาคการผลิต ยังคงสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐสามารถดำเนินการได้ตามแผน  อัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในอัตราต่ำ อาจทำให้สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยมีโอกาสกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564
บ้าน 24 ล้านหลังยังไม่ทำประกันภัย  ความเสี่ยงที่เป็นโอกาสสำหรับ​ TQM ​

บ้าน 24 ล้านหลังยังไม่ทำประกันภัย ความเสี่ยงที่เป็นโอกาสสำหรับ​ TQM ​

ตลาดบ้านไทย​ 27.2 ล้านหลัง ทำประกันแค่​ 3.2 หลังคา ขณะที่เมกะเทรนด์หลังโควิด คนจะอยู่ในบ้านมากขึ้น TQM เห็นโอกาส บุกตลาดประกันภัยบ้าน ปล่อยประกัน “TQM Home Insurance”​ กว่า 100 รูปแบบ หวังโกยเบี้ย 5 ปี 15,927 ล้านบาท ​ โดยปกติเวลาซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม แล้วเราต้องกู้เงินกับทางธนาคาร สิ่งหนึ่งที่มักจะตามมากับวงเงินสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ คือ ประกันภัยบ้าน ซึ่งมักจะเป็นการประกันอัคคีภัย หรือประกันภัยพิบัติ  (แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ประเภทสินเชื่อและหลักเกณฑ์ของแต่ละธนาคารด้วย) นอกจากนี้ ยังมีประกันชีวิตผู้กู้เพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อด้วย   แต่หลังจากการผ่อนสินเชื่อกับธนาคารหมดแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะละเลยกับการทำประกันภัยให้กับบ้าน หรือแม้แต่คนที่ซื้อบ้านด้วยสด ก็มักจะไม่ได้ทำประกันภัยที่มากกว่าโครงการที่ขายบ้านหรือคอนโดทำให้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสินค้าประเภทประกันภัยสำหรับบ้านมีหลากหลายชนิด หลากหลายประเภท และขอบเขตความคุ้มครองที่มากมาย เช่น การคุ้มครองเฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่งภายในบ้าน คุ้มครองการโจรกรรมทรัพย์สิน เป็นต้น   ตลาดประกันภัยบ้านหรือที่อยู่อาศัย จึงเป็นตลาดใหม่ ที่มีโอกาสทางการตลาดสูง และปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็ยังรู้จักหรือซื้อประกันภัยบ้านกันไม่มากนัก ล่าสุด TQM โบรคเกอร์ประกันภัยไทย ได้ออกประกันภัยบ้านแนวใหม่ “TQM Home Insurance” สำหรับคุ้มครองบ้าน​มากกว่า 100 แผนประกัน โดยมองว่าตลาดมีโอกาสและมีศักยภาพ ในการเข้ามาทำตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับบริษัท ​โดยมี 3 เหตุผลสำคัญ คือ 1.บ้านกว่า 24 ล้านหลังยังไม่มีประกัน ในประเทศไทยมีบ้านทั้งหมด 27.2 ล้านหลังคาเรือน มีเพียงแค่ 3.2 หลังคาเรือนเท่านั้นที่มีประกันบ้าน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 12% เท่านั้น ยังมีบ้านอีกมากที่ยังไม่ได้ทำประกันภัย ซึ่งหากเปรียบเทียบในต่างประเทศ จะพบว่า หลายประเทศให้ความสำคัญและทำประกันภัยบ้านในสัดส่วนที่มากกว่าไทย อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ประกันบ้านสูงถึง​ 80% ส่วนจีน มีสัดส่วนผู้ประกันบ้านสูงถึง 70% 2.ราคาเบี้ยประกันภัยต่ำ คนส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับการประกันภัยรถยนต์หรือประกันชีวิตมากกว่าการประกันบ้าน ทั้ง ๆ ที่บ้าน คือ ทรัพย์สินที่มีขนาดใหญ่และบางคนอาจจะต้องใช้เงินเก็บทั้งชีวิตเพื่อมาซื้อบ้าน 1 หลังหรือคอนโด 1 ห้อง ซึ่งอาจจะซื้อได้เพียงครั้งเดียวด้วยซ้ำ   จากสถิติของสำนักงานเบี้ยอัตราประกันวินาศภัย และกรมขนส่งทางบก พบว่า รถยนต์มีผู้เอาประกันกว่า 55% จำนวนทั้งหมด 11 ล้านกรรมธรรม์ จากจำนวนรถยนต์ทั้งหมด 20 ล้านคัน ส่วนข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และสำนักบริหารการทะเบียน พบว่า มีบ้านมีแค่ 12% ที่ทำประกันภัยบ้าน คิดเป็นจำนวน 3.2 ล้านกรรมธรรม์ จากบ้านทั้งหมด 27 ล้านหลัง ซึ่งหากเปรียบค่าใช้จ่ายต่อสินทรัพย์ระหว่างรถยนต์กับประกันภัยบ้าน บ้านจะมีสัดส่วนที่ถูกกว่า โดยจำนวนเงินประกันต่อรถยนต์หนึ่งคันต่อปี มีสัดส่วนประมาณ 3% แต่เงินประกันบ้านแค่เพียงมีสัดส่วนประมาณ​ 0.2-0.5% ของมูลค่าบ้านเท่านั้น 3.โควิดทำให้ชีวิตต้องอยู่ในบ้าน จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 2 ปี คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่แต่ในบ้าน ซึ่งแนวโน้มในอนาคต พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการที่ต้องอยู่บ้าน สามารถทำงานที่บ้านได้ (Work From Home) หรือเรียนออนไลน์จากที่บ้านได้ จึงทำให้เชื่อว่าวิถีชีวิตหลังวิกฤตโควิด-19 คนก็อาจจะใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากขึ้น กลายเป็นเมกะเทรนด์ใหม่ของโลกอนาคต ซึ่งจะทำให้คนหันมาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเมื่อใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากขึ้น และการประกันภัยบ้านจะเป็นเครื่องมือเข้ามาเสริมสร้างหลักประกันในเรื่องความปลอดภัย รวมถึงอีกหลายเรื่องเมื่อต้องใช้ชีวิตภายในบ้าน ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธาน บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด หรือ TQM เปิดเผยว่า ​ คนไทยส่วนมากยังเข้าใจว่าประกันภัยบ้านคือประกันอัคคีภัย คุ้มครองเฉพาะเรื่องของไฟไหม้ จึงเห็นเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ให้ความสำคัญในการทำประกันมากนัก ซึ่งยังเป็นความเข้าใจที่ไม่ครอบคลุมทั้งหมด จากภาพรวมการมีประกันภัยบ้านของคนไทยทำให้ TQM เห็นถึงโอกาสในการรุกเข้าไปเปิดตลาดโดยใช้กลยุทธ์การออกแบบประกันภัยบ้านแนวใหม่ ผ่านแนวคิด “ประกันบ้าน ที่เป็นมากกว่าประกันอัคคีภัย”​ เจาะกลุ่มคนที่ห่วงบ้านทุกกลุ่มเป้าหมาย   ดร.นภัสนันท์  พรรณนิภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด กล่าวว่า “TQM Home Insurance”​ เป็นประกันภัยบ้านแนวใหม่ที่มีแผนประกันภัยให้ลูกค้าได้เลือกหลากหลาย โดยลูกค้าเลือกได้ว่าต้องการแผนประกันภัยแบบใดเพื่อให้คุ้มครองครอบคลุมความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นต่อบ้านตนเอง โดยมีการนำ Insurtech มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาและสร้าง www.home.tqm.co.th เข้ามาช่วยคำนวณว่าบ้านแต่ละหลังมีความเสี่ยงภัยเรื่องใดบ้าง เพื่อประเมินภัยของพื้นที่บ้านตนเองก่อนตัดสินใจทำประกัน  โดยทาง TQM ตั้งเป้ายอดขายเบี้ยประกันภัยในปีแรก 500 ล้านบาท และภายใน 5 ปี จะสร้างเบี้ยประกันภัยรวมที่ 15,927 ล้านบาท   สำหรับแผนประกันภัยบ้านที่ TQM นำมาขายจะความครอบคลุมมากกว่าประกันอัคคีภัย แต่จะครอบคลุมตั้งแต่เรื่องเล็กที่เราเจอกันบ่อยๆ อย่างเช่น น้ำรั่ว กระจกแตก ต้นไม้ล้มทับ โจรงัดบ้านไปจนถึงภัยใหญ่ ๆ อย่างไฟไหม้ หรือ ผลกระทบจากการระเบิดจากโรงงานย่านกิ่งแก้ว ซึ่งมีความคุ้มครองที่คลอบคลุมกว่าร้อยเรื่องราวของการใช้ชีวิตในบ้าน ถึง 6 หมวดหมู่ ได้แก่ 1.ประกันอัคคีภัยและภัยเพิ่ม เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า (รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า), ภัยระเบิด ภัยจากการเฉี่ยวหรือการชนของยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน และภัยเนื่องจากน้ำ  รวมถึงภัยธรรมชาติ เช่น ภัยจากลมพายุ ภัยจากน้ำท่วม ภัยจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ หรือสึนามิ,ภัยลูกเห็บ   2.โจรกรรม ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ มีร่องรอยงัดแงะ   3.คุ้มครองทรัพย์สินประเภทเงินสด หรือ ประกันภัยเงิน   4.คุ้มครองกระจกแตกจากอุบัติเหตุ   5.ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก   6.คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุภายในที่พักอาศัยของผู้เอาประกันภัย        
5 เหตุผล ต้องเลือกนิติบุคคลมืออาชีพ

5 เหตุผล ต้องเลือกนิติบุคคลมืออาชีพ

5 เหตุผล ต้องเลือกนิติบุคคลมืออาชีพ เมื่อเลือก “บริษัทบริหารนิติบุคคล” ของโครงการที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ ทั้งบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมนั้น หลายต่อหลายครั้ง ที่ประชุมลูกบ้านมักเคาะจบด้วยเกณฑ์ราคา เพราะเชื่อว่าบริษัทไหนก็น่าจะเหมือนกัน แต่ความเป็นจริงแล้ว ทักษะ ประสบการณ์ ความชำนาญ และเทคโนโลยีที่แต่ละบริษัทใช้นั้นมีความแตกต่างกัน ส่งผลอย่างยิ่งต่อคุณค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับและมูลค่าเพิ่มของโครงการในอนาคต การเลือกบริษัทบริหารนิติบุคคลที่ดี จึงมีความจำเป็นอย่างมาก   โครงการที่พักอาศัยในระยะยาวจะดีหรือแย่ ขึ้นอยู่กับ บริษัทนิติบุคคล ที่เลือกมาบริหารเป็นอันดับแรก เบื้องหลังที่ดีก็สะท้อนถึงภาพลักษณ์โครงการ การบริหารที่ช่วยเพิ่มมูลค่าของโครงการ การมี service mind เข้าใจความคิด ความต้องการของลูกบ้านทุกประเภท พร้อมยืดหยุ่นได้ตามสภาพการณ์แต่ไม่ขัดต่อข้อบังคับ เสริมด้วยกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ลูกบ้าน และการทำงานอย่างมืออาชีพจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางจิตใจให้กับลูกบ้านอย่างแน่นอน   เรามีคำตอบมาเฉลยกับ 5 เหตุผลสำคัญ ที่ควรใช้ในการคัดเลือกบริษัทบริหารนิติบุคคลมืออาชีพ   5 เหตุผล ต้องเลือกนิติบุคคลมืออาชีพ 1.มั่นใจได้ในความปลอดภัย คำว่า “ความปลอดภัย” ไม่ได้หมายถึงการมี “พนักงานรักษาความปลอดภัย” แต่หมายถึงทุกองค์ประกอบภายในอาคารต้องปลอดภัย บริษัทบริหารงานนิติบุคคลที่เป็นมืออาชีพ จะพัฒนาศักยภาพทีมงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัยอยู่เสมอ ตั้งแต่ทีมรักษาความปลอดภัย ที่จะต้องผ่านการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยมาเป็นอย่างดี ทีมวิศวกรที่ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญเรื่องการดูแลระบบเครือข่ายต่างๆ ของโครงการ อาทิ ระบบน้ำ ระบบไฟ และดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ด้านการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานต่างๆ อาทิ กล้อง CCTV สัญญาณเตือนกรณีเกิดเพลิงไหม้ ให้ครอบคลุมในทุกจุดสำคัญ เพื่อสร้างความมั่นใจและอุ่นใจในการพักอาศัยให้กับลูกบ้านในโครงการ   2.แก้ปัญหาได้ทันท่วงที การบริหารงานนิติบุคคล เป็นงานละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยประสบการณ์ที่หลากหลาย ทั้งทักษะการบริหารจัดการ เช่น โครงการที่เข้าไปบริหารเป็นโครงการที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ดังนั้น ทีมนิติบุคคลต้องมีการกำหนดข้อปฏิบัติเพื่อการอยู่อาศัยร่วมกัน การใช้พื้นที่ส่วนกลางและการดูแลสุขอนามัยของสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม หรือทักษะการแก้ปัญหาในภาวะเร่งด่วน พร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เพราะปัญหาที่จะเกิดขึ้นในโครงการหนึ่งแห่งนั้นมีความแตกต่าง และสามารถมีปัญหาใหม่ๆ ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ เช่น วิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ ที่สร้างความหวั่นวิตกให้กับประชาชนไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มผู้พักอาศัยในโครงการคอนโดมิเนียม เพราะเป็นพื้นที่ปิดและมีผู้พักอาศัยจำนวนมาก มีการใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน ซึ่งอาจจะง่ายต่อการแพร่กระจายของเชื้อ การมีมาตรการรักษาความสะอาดและควบคุมดูแลอย่างเป็นระบบจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อการพักอาศัยในโครงการได้เป็นอย่างดี อาทิ มาตรการด้านการคัดกรองผู้เข้าออกในโครงการ มาตรการด้านการทำความสะอาดเช็ดฆ่าเชื้อบริเวณจุดสัมผัสร่วม เป็นต้น ในทางกลับกันหากโครงการไม่มีการบริหารจัดการอย่างมีระบบจากทีมนิติบุคคลมืออาชีพ ก็อาจทำให้ผู้พักอาศัยเกิดความหวั่นวิตกและขาดความเชื่อมั่นในโครงการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อโครงการได้ในระยะยาว   3.หมดห่วงเรื่องเงินส่วนกลาง ในหนึ่งปี บริษัทบริหารนิติบุคคล ต้องบริหารเงินให้กับลูกบ้านตั้งแต่หลักล้านไปจนถึงหลักสิบล้าน ขึ้นอยู่กับขนาดโครงการ รวมถึงต้องบริหารเงินกองทุนของโครงการอีก 1 ก้อน เงินทั้ง 2 ส่วนนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการหล่อเลี้ยงโครงการที่อยู่อาศัยให้คงอยู่ในสภาพเหมือนเมื่อครั้งก่อสร้างเสร็จใหม่ๆ บริษัทบริหารนิติบุคคลที่เข้ามาดูแลบริหารจัดการ จึงต้องมีความเป็นมืออาชีพ ทำงานอย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังต้องจัดสรรเงินทั้ง 2 ส่วนให้ถูกวัตถุประสงค์ โดยเงินค่าส่วนกลาง จะถูกนำไปบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางและการให้บริการแก่ลูกบ้าน อาทิ ค่าใช้จ่ายด้านบริการรักษาความปลอดภัย, การดูแลความสะอาด, การจัดการสวนส่วนกลาง ขณะที่ เงินกองทุน จะถูกนำมาใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือยามจำเป็นเท่านั้น เช่น ทาสีอาคารประจำปี ซึ่งเงินส่วนนี้เป็นเงินที่ใช้แล้วหมดไป ดังนั้นบริษัทที่เก่งจะต้องสามารถบริหารจัดการเงินกองทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเกิดดอกผลงอกเงย เช่น ในรูปแบบเงินฝากประจำ, การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือการลงทุนในกองทุนที่การันตีผลตอบแทนและการันตีคืนเงินต้น 100% ยิ่งนิติบุคคลสามารถวางแผนการบริหารจัดการค่าส่วนกลางและเงินกองทุนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าใด ก็จะช่วยลดปัญหาการขาดสภาพคล่องในอนาคตได้ดีเท่านั้น   4.สร้างมูลค่าเพิ่มให้โครงการ             การที่นิติบุคคลนำเงินค่าส่วนกลางและเงินกองทุนมาบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการทำให้โครงการอยู่สภาพงดงาม พร้อมใช้งาน และเหมือนใหม่อยู่เสมอนั้น จะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าของโครงการได้ในระยะยาว ทั้งการขายต่อหรือปล่อยเช่า ในทางกลับกันหากบริษัทบริหารนิติบุคคลปล่อยปละละเลย ทำให้โครงการมีสภาพทรุดโทรม ไม่น่าอยู่ กรณีที่ผู้ซื้อต้องการขายต่อหรือปล่อยเช่าในอนาคตก็จะไม่ได้ราคาเมื่อเทียบกับโครงการที่มีบริษัทบริหารนิติบุคคลดูแลอย่างดี เช่น โครงการที่อายุกว่าสิบปีแต่ยังอยู่ในสภาพดี น่าอยู่ไม่ต่างจากวันแรก และมีมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและโอนกรรมสิทธิ์จนถึงปัจจุบัน บริษัทที่รับหน้าที่บริหารจัดการงานนิติบุคคลมีการปรับปรุง ซ่อมแซม และรักษาสภาพแวดล้อมของโครงการอย่างสม่ำเสมอ ทำให้โครงการยังคงความสวยงามและน่าอยู่ เป็นที่ต้องการของทั้งผู้ซื้อ/เช่า เมื่อเทียบกับโครงการในพื้นที่เดียวกัน ลักษณะโครงการเหมือนกัน แต่ขาดการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี   5.สร้างสัมพันธ์อันดีในชุมชน นอกจากการดูแลในส่วนของอาคารและพื้นที่ส่วนกลางแล้ว นิติบุคคลยังต้องคอยดูแลความเป็นอยู่ของลูกบ้านโดยรวมอีกด้วย ในกรณีที่ลูกบ้านมีปัญหาหรือมีความขัดแย้งกัน นิติบุคคลจะทำหน้าเป็นสื่อกลางในการไกล่เกลี่ย หาทางออก ตลอดจนเจรจาเพื่อลดความขัดแย้ง ขณะเดียวกันก็เดินหน้าสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้พักอาศัยในโครงการ เพื่อให้ลูกบ้านได้มีโอกาสพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์อันดีต่อกัน ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ อาทิ กิจกรรมทำบุญใส่บาตร กิจกรรมสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ซึ่งการให้ลูกบ้านได้มีกิจกรรมร่วมกัน ถือเป็นการช่วยลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี รวมถึงกิจกรรมที่ให้ลูกบ้านสามารถส่งต่อสู่ชุมชนภายนอกโครงการ อาทิ การร่วมบริจาคสิ่งของให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดโควิด-19   ด้วยเหตุผลทั้ง 5 ข้อนี้ก็เพียงพอแล้วที่จะตัดสินใจเลือกบริษัทที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารงานนิติบุคคลระดับมืออาชีพ เพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการได้ในอนาคต   ข้อมูลโดย : บริษัท เอ็มดีพีซี จำกัด  MDPC Expertise Meets Excellence   บทความอื่นที่น่าสนใจ 6 ข้อกฎหมายพื้นฐานควรรู้ ถ้าคิดจะซื้อคอนโด  
“ตุนเงินสด-เพิ่มสภาพคล่อง” ทางรอดอสังหาฯ ท่ามกลางโควิด-เศรษฐกิจชะลอตัว

“ตุนเงินสด-เพิ่มสภาพคล่อง” ทางรอดอสังหาฯ ท่ามกลางโควิด-เศรษฐกิจชะลอตัว

เป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปีแล้ว ที่เรายังต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะสิ้นสุดลงเมื่อใด  ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลเฉพาะเรื่องสุขภาพของคนเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงวิถีชีวิต และเชื่อมโยงไปสู่ภาคธุรกิจ  ที่ต้องหยุดชะงัก หลายธุรกิจไม่สามารถไปต่อได้ เพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ภาคอสังหาริมทรัพย์เอง ก็เป็นหนึ่งธุรกิจที่ต้องเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกัน ​   ช่วงที่ผ่านมาบรรดาดีเวลลอปเปอร์จึงพยายามรับมือปัญหาที่เกิดขึ้น  โดยเฉพาะการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย เพื่อเร่งระบายสต็อกในมือ เปลี่ยนจากสินค้าให้กลายเป็นเงินสด เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ ขณะเดียวกันก็ชะลอการเปิดโครงการใหม่ ลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพราะมองว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่พยุงให้บริษัทยังสามารถผ่านพ้นวิกฤตให้ยังไปต่อได้ และวิธีการเหล่านั้นคือ “ทางรอด” ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง เพิ่มสภาพคล่อง รอเศรษฐกิจฟื้น ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตซ้อนวิกฤตทั้งเรื่องของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจหดตัว ภาพรวมตลาดในปีนี้จึงคาดว่าตลาดจะติดลบ 10% ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาที่ติดลบ 35% ซึ่งหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถคลี่คลายได้ภายในปีนี้ ตลาดน่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัวได้ในช่วงปี 2565 เป็นต้นไป   สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มองว่าทางรอดของผู้ประกอบการอสังหาฯ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก คือ การรักษาสภาพคล่อง ด้วยการมีกระแสเงินสดให้เพียงพอ เพื่อให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้ จนเหตุการณ์วิกฤตได้ผ่านพ้นไป เพราะมองว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ทุกวิกฤตจะต้องมีวันที่สิ้นสุดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องรักษาสภาพคล่องไว้ให้ได้ แม้ว่าการดำเนินธุรกิจจะต้องประสบภาวะขาดทุน แต่ต้องมีสภาพคล่อง รวมถึงจะต้องเตรียมความพร้อมรองรับกับการกลับมาของภาวะเศรษฐกิจที่เติบโต “ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ ในยามที่มีวิกฤต คือ การรักษาสภาพคล่อง ธุรกิจอาจจะกู้เยอะได้แต่ต้องมีเงิน สิ่งที่ต้องทำวันนี้ มันต้องยอมรับความจริงที่ว่า ตลาดมันแคบลง ถ้าหากสายป่านเรายาวไม่พอ ต้องสโคปดาวน์ธุรกิจลงมา เพื่อให้ผ่านวิกฤตไปให้ได้ ขาดทุนได้แต่ต้องมีสภาพคล่อง เพราะวิกฤตมีวันจบ แต่เราอยู่ได้จนจบไหม หมายความว่าอยู่ได้จนจบ ไม่ได้หมายความว่ามีกำไร แต่ละคนมีปัจจัยต่างกัน และจะต้องรักษาทีมงานไว้เพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อมในวันเศรษฐกิจฟื้นกลับมา” ​   ส่วนมาตรการภาครัฐในการกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ นั้น  ดร.เกษรา มองว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ เป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามเข้ามาช่วยกระตุ้นตลาด เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีซัพพลายเชนจำนวนมาก มีการจ้างงานมาก และมีการหมุนเวียนของสินค้าจำนวนมาก แต่ไม่มีมาตรการอะไรที่จะเข้ามาช่วยธุรกิจอสังหาฯ แล้วทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้น เพราะกำลังซื้อของคนชะลอตัว เหมือนการใส่โปรโมชั่นไปในสินค้า แต่คนไม่มีกำลังซื้อโปรโมชั่นก็ไม่สามารถช่วยทำให้ขายสินค้าได้  ​ ไม่มีมาตรการอะไรที่จะทำให้เศรฐกิจดี เหมือนซื้อของโปรโมชั่นเพิ่ม แต่ถ้าเขากู้ไม่ได้  ใส่โปรโมชั่นก็ขายไม่ได้ สิ่งที่ช่วยได้ คือ ความมั่นใจผู้บริโภค และการมีงานทำ เพราะถ้าไม่มีงานคนก็ไม่มีความมั่นใจ คนไม่กล้าซื้อ ไม่กล้าเป็นหนี้ระยะยาว นอกจากนี้ ดร.เกษรา ยังมองว่า สิ่งที่ภาครัฐต้องรีบดำเนินการโดยเร็ว คือ การทำให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัย ซึ่งคือเรื่องของวัคซีน เพราะไม่มีอะไรสำคัญกว่าชีวิต ไม่ว่างานนั้นเป็นอะไรก็ตาม การเร่งฉีดวัคซีนเพื่อให้คนได้กลับไปใช้ชีวิตปกติได้โดยเร็ว และการตรวจในเชิงรุก ที่เหลือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้​​มาตรการการคลังเข้ามาช่วย เนื่องจากมาตรการด้านการเงินได้ถูกใช้แล้ว เช่น เรื่องดอกเบี้ย ที่ปัจจุบันถือว่าต่ำมาก โดยมาตรการการคลังจะต้องแบ่งออกเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยเร่งดำเนินการมาตรการในระยะสั้นและกลางก่อน   วิกฤตมันมีวันจบ ช่วงนี้เราต้องอดทนกับมัน และมีกำลังใจต่อสู้ไปกับมัน และตอนนี้หน้าที่ของทุกคน มีหน้าที่ใหญ่ขึ้น ใหญ่กว่าตัวเรา เราต้องคิดว่าเราทำอะไรได้บ้างในจุดที่เรายืน ทำเลย ดีกว่าไปรอให้รัฐเข้ามาช่วย ทุกคนควรช่วยกันแบบนั้น กูเกิ้ล-เฟสบุ๊ค เครื่องมือตลาดออนไลน์ ด้าน นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง VIRTUAL SOLUTION กล่าวว่า ในส่วนของการตลาดออนไลน์ พบว่าในช่วงวิกฤตโควิดระลอกล่าสุด มีการเซิร์จค้นหา บ้าน และ คอนโด ผ่านทางกูเกิลน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด โดยลดลงไปประมาณ 40% ดังนั้นการทำการตลาดในช่วงนี้จึงต้องทำอย่างระมัดระวัง ส่วนตัวมองว่าคงไม่เหมาะกับการตลาดแบบ Mass Communication ที่เน้นการรับรู้ในวงกว้าง แต่น่าจะเป็นการตลาดแบบ Precision Marketing คือ เน้นเจาะไปยังกลุ่มคนที่ยังมีกำลังซื้อ กลุ่มนักลงทุน และกลุ่มคนที่มีความต้องการจะซื้อบ้านและ คอนโด จริง ๆ เท่านั้น   Media Channels ที่สามารถทำ Precision Marketing ได้ดี ก็คงจะหนีไม่พ้น Google และ Facebook ซึ่งทุกๆ แบรนด์ก็ทราบถึงประสิทธิภาพของช่องทางนี้ดี ทำให้ทุกแบรนด์กระโดดเข้ามาแข่งขันกัน ทำให้ค่าโฆษณาถีบตัวสูงขึ้น สวนทางกับดีมานด์ของตลาดซึ่งมีลดลง นอกจากนี้การเดินทางไปดูโครงการอสังหาต่าง ๆ มีความยากลำบาก จากการที่ผู้ซื้อมีความกังวลในเรื่องโควิด-19 ทางเจ้าของโครงการจึงจำเป็นจะต้องทำ Online Platform ให้ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมโครงการได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำบ้าน หรือ คอนโด ในรูปแบบ Virtual หรือการทำระบบ VDO Conference ให้ทีมขาย สามารถคุยกับลูกค้าได้ งานเทรดแฟร์ออนไลน์ กระตุ้นยอดQ4 นายกัมพล นิสิตสุขเจริญ กรรมการบริหาร บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด และผู้ก่อตั้ง VIRTUAL SOLUTION กล่าวว่า  สถานการณ์ปัจจุบันหลายธุรกิจต้องเผชิญกับความยากลำบาก แต่ธุรกิจต้องดำเนินต่อไปให้ได้  ขณะที่อนาคตก็มีความไม่แน่นอนสูง หลายธุรกิจจึงอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก รวมถึงธุรกิจอสังหาฯ ด้วย ซึ่งแนวทางหนึ่งในการทำตลาดของธุรกิจอสังหาฯ คือ การจัดงานแสดงสินค้า  แต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมางานแสดงสินค้าไม่สามารถจัดงานได้ เพราะสถานการณ์โควิด-19 จึงได้จัดงาน “Virtual Property Expo 2021” งานมหกรรมซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งปีบนโลกออนไลน์ในรูปแบบ Virtual Trade Fair เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุดของงานแสดงสินค้า ที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถมาพบปะกันบนออนไลน์มีฟังก์ชั่นเสมือนงานแสดงสินค้าจริง ๆ การทำตลาดของธุรกิจอสังหาฯ จะเห็นเครื่องมือหนึ่ง คือ การจัดงานเทรนด์แฟร์  ถือเป็นเครื่องมือการตลาดที่ทรงพลังมาก เมื่อสองปีที่ผ่านมา มีการจัดงานงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับอสังหาฯ ไปจัดตามศูนย์ประชุม หรือตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ต้องยอมรับว่า เป็นการจัดงานที่สามารถดึงวอลุ่มยอดขายของแบรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างดี เพราะ เป็นการรวมผู้ซื้อสินค้านั้น ๆ จำนวนมาก และมีผู้ขายสินค้านั้น ๆ ทั้งตลาดมานำเสนอ มาเจอกันในงานแสดงสินค้า   สำหรับงานเวอร์ชวลเทรดแฟร์จะเข้ามาแก้ปัญหา และตอบโจทย์อสังหาฯ ในภาวะปัจจุบัน เพราะธุรกิจต้องการกระแสเงินสด เนื่องจากภายในงานสามารถสร้างยอดขายที่มีปริมาณจำนวนมากได้  โดยจะมีการรวรวมกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการที่แท้จริงเข้ามาชมงานไม่ต่ำกว่า 580,000 แสนคน ​​จากทั่วประเทศ ถือเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างกระแสเงินสดเข้ามาสู่บริษัทจากยอดขายในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ซึ่งจะช่วยทำให้ธุรกิจรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ ​นับว่าเป็นการลงทุนทำการตลาดที่คุ้มค่ามาก หากเปรียบเทียบกับการทำตลาดในรูปแบบอื่น งาน “Virtual Property Expo 2021” ได้รวบรวมโครงการอสังหาฯ แบรนด์ชั้นนำทุกแบรนด์มารวมไว้ภายในงานเดียวกัน มีโครงการคุณภาพทั่วประเทศ พร้อมดีลที่ดีที่สุดภายในงานมากกว่า 300 โครงการ  ผู้เข้าชมงานสามารถใช้ระบบ Sale VDO Live Chat พูดคุยซื้อขายแบบเห็นหน้า (Real time) กับโครงการต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจได้อีกด้วย ผ่านทาง www.propertyexpo.net ​ ระหว่างวันที่ 14-17 ตุลาคม 2564 นี้      
อัพเดท ดอกเบี้ย สินเชื่อบ้านแลกเงิน สิงหาคม 2564

อัพเดท ดอกเบี้ย สินเชื่อบ้านแลกเงิน สิงหาคม 2564

อัพเดท ดอกเบี้ย สินเชื่อบ้านแลกเงิน สิงหาคม 2564 สำหรับผู้ที่มีหลักทรัพย์ประเภทบ้าน คอนโด หรืออสังหาฯ หลากหลายประเภท ที่ธนาคารพาณิชย์ให้ใช้เป็นหลักประกันได้ ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0%    การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยาวนานกว่า 1 ปี ได้ส่งผลกระทบทำให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หลายธุรกิจขาดสภาพคล่อง ผู้คนรายได้ลดลง บางคนหนักสุด คือ ถูกออกจากงาน เพราะกิจการไปต่อไม่ไหว เรียกว่าเดือดร้อนกันทั่วหน้า แต่เชื่อว่าในที่สุดแล้วปัญหาทุกอย่างจะคลี่คลายลง เพียงแต่เราอาจจะต้องอดทนรอเวลาให้ทุกอย่างกลับคืนสู่สภาพปกติ   ส่วนสำหรับใครที่ต้องการหาเงินมาเพิ่มสภาพคล่อง ด้วยการนำเอาบ้าน คอนโดมิเนียม หรืออาจจะเป็นอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ เช่น อาคารพาณิชย์ หรือที่ดิน ไปขอกู้เงินกับธนาคาร โดยใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน วันนี้เราเอาอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารมาให้เลือกพิจารณา เพื่อเปรียบเทียบว่าดอกเบี้ยเงินกู้ ประเภท สินเชื่อบ้านแลกเงิน ธนาคารไหนให้เรทได้ดีสุด และคุ้มค่าสุด 1.ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงเทพมีสินเชื่อบัวหลวงพูนผลด้วยการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้กู้ยกเว้นที่ดินและสิทธิการเช่าโดยให้มีระยะเวลาการู้ขั้นต่ำ 3 ปี สูงสุด 10 ปี ผ่อนชำระแบบคงที่ตลอดอายุสัญญา โดยมีการให้กู้ 2 ประเภท ดังนี้ กรณีแสดงวัตถุประสงค์เพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย เพื่อซื้ออุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เพื่อการศึกษา เพื่ออุปโภคบริโภค อัตราดอกเบี้ย = MRR-0.625% = 5.325% กรณีเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว อัตราดอกเบี้ย​ = MRR+0.375% (6.325%)  หมายเหตุ  -อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา -เพื่อใช้จ่ายส่วนตัว กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 10 เท่าของเงินเดือนและไม่เกิน 2 ล้านบาท  -เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ กู้ได้ 80% ของราคาประเมินหลักประกัน -ส่วนลด 0.25% ในปีแรกถ้าทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินและระยะเวลาประกันอย่างน้อย 10 ปีหรือเท่ากับระยะเวลาในสัญญากู้ -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ 17 มิ.ย. 64 เท่ากับ 5.95% ต่อปี -ค่าประเมินราคาหลักประกัน 3,210 บาท  -รายละเอียดเพิ่มเติม www.bangkokgbank.com 2.ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อ Home for cash ที่สามารถนำเงินไปใช้จ่ายได้ตามวัตถุประสงค์ โดยมีประเภทสินเชื่อให้เลือก 2 แบบ ดังนี้ เงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา (Term Loan) แบบระยะเวลาผ่อนน้อยกว่า 2 ปี อัตราดอกเบี้ย = MRR (6.22%) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา = 6.22% แบบระยะเวลาผ่อนตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป อัตราดอกเบี้ย = MRR-0.5% (5.72%) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.72% ประเภทสินเชื่อเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Loan) อัตราดอกเบี้ยต่อปี = MRR+1.0% (7.22%) หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) >ระยะเวลาผ่อนชำระบ้าน น้อยกว่า 2 ปี: คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 7,300 บาท/เดือน >ระยะเวลาผ่อนชำระบ้าน ตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป: คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 7,100 บาท/เดือน -MRR = 6.22% ต่อปี (ณ 1 เม.ย. 2564) -ระยะเวลาให้กู้ 1 ปี ธนาคารจะพิจารณาต่อสัญญาปีต่อปีให้กับลูกค้าที่มีประวัติชำระดี -เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด การพิจารณาสินเชื่ออยู่ภายใต้ดุลยพินิจของธนาคาร -รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อธนาคาร หรือ www.krungthai.com 3.ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี มีสินเชื่อกรุงศรีโฮมฟอร์แคช เปลี่ยนบ้านเป็นเงินก้อน เพื่อใช้จ่ายอเนกประสงค์ โดยกู้ 1 ล้านบาทผ่อนเพียงเดือนละ 6,700 ล้านบาท ผ่อนได้นานสูงสุด 30 ปี มีสินเชื่อให้เลือกดังนี้ ​ ประเภทหลักประกัน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และห้องชุดพักอาศัย สัดส่วนวงเงินกู้สูงสุด 85% ของราคาประเมิน วงเงินกู้ 300,000 บาท แต่ไม่ถึง 500,000 บาท ทางเลือก 1 อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR+2.4% (8.45%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี= 8.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 8.45% ทางเลือก 2 ฟรีค่าจดจำนอง อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR+2.9% (8.95%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 8.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 8.95% วงเงินกู้ 500,000 บาทแต่ไม่ถึง 1 ล้านบาท ทางเลือก 1 อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR+1.4% (7.45%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี= 7.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 7.45% ทางเลือก 2 ฟรีค่าจดจำนอง อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR+1.9% (7.95%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 7.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 7.95% วงเงินกู้ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือก 1 อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR (6.05%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี =6.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 6.05% ทางเลือก 2 ฟรีค่าจดจำนอง อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 =MRR+0.5% (6.55%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี =6.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 6.55% วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือก 1 อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 =MRR-1.75%  (7.8%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี =4.30% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 5.11% ทางเลือก 2 ฟรีค่าจดจำนอง อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR-1.4% (7.45%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 5.3% หมายเหตุ -เฉพาะลูกค้าที่ซื้อ MRTA/MLTA ตามเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น จึงจะสามารถเลือกรับดอกเบี้ยทางเลือกที่ 2 ได้ (มีรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาสอบถามกับทางธนาคาร) -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 300,000 บาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 300,000 บาทแต่ไม่ถึง 500,000 บาท, ฐานวงเงินกู้ 500,000 บาท สำหรับเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 500,000 บาท แต่ไม่ถึง 1 ล้านบาท, ฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปีในกรณีที่ลูกค้าซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ -ตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค.63 อัตราดอกเบี้ย MRR=6.05% -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.-31 ส.ค.64 โดยจดจำนองและเบิกรับเงินกู้ภายในวันที่ 30 ก.ย.64 -รายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามกับทางธนาคาร หรือติดต่อ www.krungsri.com 4.ธนาคารกสิกรไทย สำหรับธนาคารกสิกรไทย มีสินเชื่อบ้านช่วยได้ โดยใช้หลักประกันที่นำมาใช้กู้ได้ ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด อาคารพาณิชย์ ปลอดภาระ ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 30 ปี อายุผู้กู้ไม่เกิน 70 ปี ให้วงเงินสูงสุด 90% ของราคาประเมินหลักประกันตามหลักเกณฑ์ของทางธนาคาร มีรายละเอียดดังนี้ สำหรับผู้มีรายได้ประจำ ใช้หลักประกันเป็นที่อยู่อาศัย อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 7.97% อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา = MRR+2.0% (7.97%) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (20ปี) = 7.97% สำหรับผู้มีรายได้ประจำ ใช้หลักประกันเป็นที่ดินเปล่า อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 8.97% อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา =MRR+3.0% (8.97%) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง  (20ปี) = 8.97% สำหรับเจ้าของกิจการ ใช้หลักประกันเป็นที่อยู่อาศัย อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 7.97% อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา = MRR+2.0% (7.97%) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (20ปี) = 7.97% หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63 -รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อธนาคาร หรือ www.kasikornbank.com 5.ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารเกียรตินาคินมีสินเชื่อบ้านกู้เงินด่วน (KKP Home Quick Cash) ตั้งแต่ 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท สูงสุด 20 ปี ยกเว้นห้องชุดคอนโดสูงสุดไม่เกิน 15 ปี มีรายละเอียดดังนี้ ทางเลือกอัตราดอกเบี้ยคงที่ แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 4.9% ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ย = MLR-1.75% (4.775%) แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 5.1%  ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ย = MLR-1.75% (4.775%) หมายเหตุ  1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอ้าง เช่น  อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการที่ให้บริการและเว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่ 18 ส.ค. 63 เท่ากับ 5.525% ต่อปี 3.เลือกทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ผ่านธนาคาร ทุนประกันภัยเท่ากับวงเงินกู้ โดยมีระยะเวลาเอาประกันภัยขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลาการกู้ไม่ถึง 10 ปีให้ระยะเวลาเอาประกันภัยเท่ากับระยะเวลาการกู้ 4.กรณีรีไฟแนนซ์ไปสถาบันการเงินอื่นก่อนครบ 3 ปีแรก คิด Prepayment Penalty 3% ของเงินต้นคงค้าง 5.กรณีเลือกใช้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแบบฟรีค่าจดจำนอง หากลูกค้า รีไฟแนนซ์หรือชำระปิดบัญชีก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ทุกกรณี ลูกค้าต้องชำระคืนค่าจดจำนองเพื่อที่ธนาคารเคยสำรองจ่ายให้แก่ธนาคาร 6.ค่าประเมินหลักประกันเริ่มต้น 3,210 บาท ค่าอาการแสตมป์ ร้อยละ 0.05 ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท) 7.เบี้ยประกันภัย เป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด โดยผู้กู้สามารถเลือกทำประกันกับบริษัทประกันที่น่าเชื่อถือใดก็ได้  8.รายละเอียดเพิ่มเติมอื่นติดต่อธนาคาร หรือ https://bank.kkpfg.com 6.ธนาคารซีไอเอ็มบี ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยมีสินเชื่ออเนกประสงค์เพื่อให้คนมีโฉนดนำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ขอสินเชื่อกับทางธนาคารได้โดยไม่จำกัดเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยเท่านั้นแต่ยังรวมถึงโกดังสำนักงานอพาร์ตเม้นท์และอื่นๆแต่การสำรวจครั้งนี้นำเฉพาะสินเชื่อที่ใช้ที่อยู่อาศัยมาเป็นหลักทรัพย์คำ้ประกันเท่านั้นได้แก่สินเชื่อประเภทมอร์เกจพาวเวอร์ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ สำหรับผู้มีรายได้ 30,000 บาท แบบที่ 1ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-2.61 (4.74%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.74% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.2% แบบที่ 1 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-2.31 (5.04%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.04% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.27% สำหรับผู้มีรายได้ 50,000 บาท ทางเลือกที่ 1 แบบที่ 1ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-2.91% (4.44%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.44% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.12% แบบที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-2.61% (4.74%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.74% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.20% ทางเลือกที่ 2 แบบที่ 1ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = 4.44% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.44% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.12% แบบที่ 1 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = 4.74% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.74% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.20% สำหรับผู้มีรายได้ 100,000 บาท ทางเลือกที่ 1  แบบที่ 1 ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-3.06% (4.29%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.29% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง =5.08% แบบที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-3.76% (4.59%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.59% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง =5.16% ทางเลือกที่ 2 แบบที่ 1ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = ​4.29% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.29% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.08% แบบที่ 1 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = 4.59%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.59% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.16% ทางเลือกที่ 3  แบบที่ 1ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 =  4.99% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.99% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.21% แบบที่ 1 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = 5.29% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.29% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.33% หมายเหตุ  -MRR = 7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เม.ย. 63 -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 2ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี เท่านั้น  -รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อธนาคาร หรือ www.cimbthai.com 7.ธนาคารทีทีบี ธนาคารทีทีบี มีสินเชื่อบ้านแลกเงิน ดอกเบี้ยพิเศษ 0% นาน 3 เดือน เฉลี่ย 3 ปีแรก 5.15%ต่อปี  สามารถรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านแลกเงินจากสถาบันการเงินอื่นได้ด้วย วงเงินขั้นต่ำ 500,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 10,000,000 บาท และไม่เกิน 90% ของราคาประเมินธนาคาร มีรายละเอียดดังนี้ แบบสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม MRTA ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1อัตราดอกเบี้ย 0% 3 เดือนแรก เดือนหลังจากนั้น 5.55% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.63% = 5.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.15% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.47% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.88% = 5.4% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.4% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.57% ทางเลือกที่ 3 ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1​-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.63% = 5.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.65% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.65% ทางเลือกที่ 4 ปีที่ 1อัตราดอกเบี้ย 0% 3 เดือนแรก เดือนหลังจากนั้น 5.55% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.63% = 5.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.15% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.47% หมายเหตุ -ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย,ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์,สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม MRTA, MRR = 6.28% -รายละเอียดติดต่อธนาคาร หรือ https://www.ttbbank.com 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อเปลี่ยนบ้านเป็นเงิน สินเชื่อบ้านคือเงิน My Home My Cash เปลี่ยนบ้านเป็นเงิน ให้วงเงินสินเชื่อสูงสุด 20 ล้านบาท ผ่อนนาน 30 ปี โดยสามารถนำเอาที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ หรือที่ดินเปล่า ซึ่งไม่รกร้างและอยู่ในชุมชนพักอาศัย มาเป็นหลักประกัน มีรายละเอียดดังนี้ 1.แบบลูกค้าทั่วไป ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 100%/100% ปีที่ 1-3 =  MRR+1.65% (7.645%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 7.645% ดอกเบี้ยแท้จริง =  7.645% 2.แบบลูกค้าทั่วไป ฟรีค่าจดจำนอง ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 100%/100% ปีที่ 1-3 =  MRR+2.65% (8.645%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 8.645% ดอกเบี้ยแท้จริง =  8.645% 3.แบบลูกค้าทั่วไป ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 70%/70% ปีที่ 1-3 =  MRR+2.40% (8.395%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 8.395% ดอกเบี้ยแท้จริง =  8.395% 4.แบบลูกค้าทั่วไป ฟรีค่าจดจำนอง ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 70%/70% ปีที่ 1-3 =  MRR+3.40% (9.395%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 9.395% ดอกเบี้ยแท้จริง =  9.395% 5.แบบลูกค้าทั่วไป ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-3 =  MRR+3.40% (9.395%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 9.395% ดอกเบี้ยแท้จริง =  9.395% หมายเหตุ : 1.อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) เท่ากับ 5.995% ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 2.อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Rate) คำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี 3.อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวมีผลในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 – 30 กันยายน 2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง 4.กรณีใช้อัตราดอกเบี้ย Credit Life -กรณีใช้อัตราดอกเบี้ย Credit Life 70%/70% กำหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 70%ของวงเงินกู้ และระยะเวลาเอาประกัน 70% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา โดยกำหนดให้ระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี (กรณีระยะเวลากู้ตามสัญญาต่ำกว่า 10 ปี กำหนดให้ระยะเวลาเอาประกันเท่ากับระยะเวลากู้ตามสัญญา) และให้ลูกค้า Top up ประกันอัคคีภัยรวมในวงเงินกู้ -กรณีใช้อัตราดอกเบี้ยทำประกัน Credit Life 100%/100% กำหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 100% ของวงเงินกู้และระยะเวลาเอาประกัน 100% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา และให้ลูกค้า Top up ประกันอัคคีภัยรวมในวงเงินกู้ -รับประกันภัยโดย บมจ. เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต หากต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับประกันภัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อศูนย์บริการลูกค้า โทร. 1315 (ทุกวัน เวลา 8.00-20.00 น.) หรือ fwd.co.th ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง -ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่องให้ทำประกันเท่านั้น ทั้งนี้การพิจารณาขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันของบริษัทประกันภัย -รายละเอียดติตต่อธนาคาร หรือ 9.ธนาคารยูโอบี ธนาคารยูโอบี มีสินชื่ออเนกประสงค์ (UOB Cash to Home) แบบวงเงินกู้มีกำหนดระยะเวลา โดยยื่นคำขอสินเชื่อ ตั้งแต่ 1 ก.ค.-30 ก.ย.64 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายใจวันที่ 29 ต.ค.64 มีรายละเอียดสินเชื่อดังนี้ แบบทำประกันชีวิต* ปีที่ 1-2 =  4.99% ปีที่ 3 = MRR-2.36% (4.99%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.99% ดอกเบี้ยแท้จริง** =  5.89% แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 =  5.10% ปีที่ 3 = MRR-2.25% (5.10%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.10% ดอกเบี้ยแท้จริง** =  5.93% หมายเหตุ *อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ผ่านธนาคารยูโอบี -ทุนประกันเต็มวงเงินกู้และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปีหรือ -ทนุ ประกันขั้นต่ำ​ 80% ของวงเงินกู้และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ **อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่ออเนกประสงค์วงเงิน 1 ล้านบาทอายุสัญญา 15 ปีMRR = 7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจะมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้า แต่ละราย ​ -กรณไถ่ถอนจำนองเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น ​​​(Re-finance) ในช่วงระยะเวลา 3 ปีแรก นับจากวันที่กู้จะมีค่าปรับ​ 3% ของยอดเงินต้นคงค้าง​ (เฉพาะวงเงินสินเชื่ออื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยเท่านั้น -การอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร -เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น อัตราดอกเบี้ย​ MRR ปัจจุบันเท่ากับ 7.35% ตอ่ ปี/MOR ปัจจุบันเท่ากับ ​ 6.80% ต่อปี (ตามประกาศธนาคาร​ ณ วันที่ 1 เม.ย. 64) อนึ่งธนาคารสามารถประกาศปรับเปลี่ยนอัตรา​ MRR/MOR ได้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอนุญาตไว้ -อัตราคา​ธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ​ๆ เป็นไปตามประกาศที่ธนาคารจัดทำไว้ และประกาศให้ทราบตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอาจเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยการปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการ หรือเว็บไซต์ของธนาคาร​ -ธนาคารยูโอบีในฐานะนายหน้าค้ำประกันภัย ​(ใบอนุญาตประกันชีวิตเลขที่ ช.00026/2545 และใบอนุญาตประกันวินาศภัย เลขที่ ว.00020/2546) ทำหน้าที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยและเป็นผู้จัดการให้บุคคลทำสัญญา​ประกันชวีติ/ประกันวินาศภัย และอำนวยความสะดวกในการรับชำระเบี้ยประกันเท่านั้น​ รับประกันชีวิต​โดยบริษัท​ พรูเด็นเชียลประกันชีวิต​ (ประเทศไทย) จำกัด​ (มหาชน), รับประกันวินาศภัย โดย บริษัท​ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) ​, บริษัท ​แอกซ่า ประกันภัย จำกัด ​(มหาชน) และบริษัท เอ็มม เอส ไอ จีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้รับผิดชอบตามเงื่อนไข ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่ได้ระบุไว้ในกรม​ธรรม์ประกันภัย -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง -รายละเอียดติตต่อธนาคาร หรือ https://www.uob.co.th 10.ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ หรือ LH Bank มีสินเชื่อบ้านเพิ่มเงิน Happy Home  For Cash ให้สินเชื่อวงเงินกู้สูงสุด 80% ระยะเวลากู้สูงสุดถึง 30 ปี ซึ่งบ้านที่นำมาค้ำประกัน ทั้งบ้านหมดภาระหรือผ่อนอยู่ก็กู้ได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 = MRR-2.75% (4.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.60% ดอกเบี้ยแท้จริง = 5.30% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 = MRR-2.25% (5.10%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.10% ดอกเบี้ยแท้จริง = 5.68% หมายเหตุ -วงเงินกู้อนุมัติสูงสุด 80% ของราคาประเมินหลักประกัน** -วงเงินกู้เริ่มต้น 1.0 ล้านบาท และราคาประเมินหลักประกัน (แนวราบ) ไม่น้อยกว่า 2.0 ล้านบาท หรือ (แนวสูง) ไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านบาท (โครงการจัดสรรทุกโครงการ) -อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขดังกล่าว สำหรับหลักประกันที่ได้รับการจัดสรรทุกโครงการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ยกเว้น ที่ดินว่างเปล่า, อาคารพาณิชย์ -ระยะเวลาการกู้สูงสุด 30 ปี รวมอายุผู้กู้ไม่เกิน 65 ปี(สูงสุด)* -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.35% (ณ วันที่ 14 เม.ย. 63) และใช้การผ่อนชำระค่างวดปกติที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย*** -ลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อต้องมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ พร้อมทั้งสมัคร Retail Internet Banking (RIB) หรือ Mobile Banking หรือ Promptpay กับธนาคารอย่างใดอย่างหนึ่ง -ทราบผลอนุมัติเบื้องต้นภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ธนาคารได้รับใบสมัครสินเชื่อพร้อมเอกสารประกอบครบถ้วน -การพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละรายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่ธนาคารกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์การพิจารณาสินเชื่อ โดยอยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆ เป็นไปตามประกาศธนาคาร โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า -อัตราดอกเบี้ยและโปรโมชั่น(มีวงเงินสินเชื่อจำกัด) สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติและเบิกรับเงินกู้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2564 -รายละเอียดติตต่อธนาคาร หรือ https://www.lhbank.co.th 11.ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินมีสินเชื่อ บ้านแลกเงิน วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาท ผ่อนสูงสุด 25 ปี โดยมีรายเอียดสินเชื่อดังนี้ ประเภททำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1 = MRR-2.0% (4.245%) ปีที่ 2 = MRR-1.5% (4.745%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป = MRR-0.5% (5.745%) ประเภทไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 = MRR-1.5% (4.745%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป = MRR-0.5% (5.745%) หมายเหตุ -MRR = 6.245% ต่อปี ตั้งแต่ 25 พ.ค.63 เป็นต้นไป -อัตราดอกเบี้ยเฉพาะวงเงินกู้ระยะยาว -รายละเอียดติตต่อธนาคาร หรือ https://www.gsb.or.th ที่มา : Reviewyourliving รวบรวม   บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์ สินเชื่อกู้ซื้อบ้านประจำเดือนสิงหาคม 2564 อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือน สิงหาคม 2564            
เปิดอินไซต์ 3 ปัจจัยเลือกซื้อบ้าน ตอบโจทย์วิถีชีวิต New Normal

เปิดอินไซต์ 3 ปัจจัยเลือกซื้อบ้าน ตอบโจทย์วิถีชีวิต New Normal

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากมาย ที่เห็นชัดเจนคือ การดูแลตนเอง ภายใต้มาตรฐานด้านการสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็น การสวมใส่หน้ากากอนามัย  การล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่ การเว้นระยะห่างทางสังคม และการลดไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือแออัด รวมถึง การหันมาทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) มากขึ้น   สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะยังไม่ยุติลง  แต่เชื่อว่าวิถีชีวิตของคนในอนาคตข้างหน้า คงไม่ได้แตกต่างจากปัจจุบันมากนัก เพราะเราต้องปรับตัวเพื่ออยู่กับโควิด-19 ให้ได้  เมื่อวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป เรื่องของการอยู่อาศัยก็ต้องปรับตัวตาม เพื่อรองรับกับวิถีชีวิตปกติใหม่ดังกล่าว ซึ่งบรรดาดีเวลลอปเปอร์ คงต้องหันมาพัฒนาที่อยู่อาศัย ให้ตอบโจทย์กับความต้องการและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงของคนส่วนใหญ่ด้วย   โดยผลวิจัยจาก บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทด้านวิจัยและพัฒนาในเครือบริษัท แอล. พี. เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยโดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1.พื้นที่ใช้สอยและวัสดุ (Function & Material) 2.การออกแบบโดยให้ความสำคัญกับสุขอนามัย (Health) และ 3.เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย (Smart Living Technology) 3 ปัจจัยผู้บริโภคเลือกซื้อบ้านรับวิถี New Normal 1.พื้นที่ใช้สอยและวัสดุในแบบ Multifunctional Space   หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากบ้านเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อการพักผ่อนและทำกิจกรรมส่วนตัว ไปสู่การใช้บ้านเป็นทั้งที่ทำงานและสถานที่พักผ่อนไปพร้อมกัน เมื่อผู้คนต้องทำงานที่บ้านมากขึ้น ทำให้การออกแบบพื้นที่อยู่อาศัย ต้องมีพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่น  สามารถปรับเปลี่ยนการใช้สอยในพื้นที่ได้ในแบบ Multifunctional Space อาทิ การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านด้วยผนังทึบอาจต้องปรับเปลี่ยนเป็นผนังที่สามารถเปิดเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ภายในที่อยู่อาศัย โดยการใช้บานเลื่อนหรือบานเฟี้ยม นอกจากจะมีประโยชน์ในด้านความยืดหยุ่นของพื้นที่ใช้สอยแล้ว ยังทำให้ที่อยู่อาศัยดูโปร่ง และมีการไหลเวียนอากาศที่ดี เพื่อตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคต ในขณะเดียวกันการเลือกใช้วัสดุต่างๆ จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม การระบายอากาศที่ดี มีปริมาณแสงธรรมชาติทเข้ามาภายในพื้นที่ใช้สอยได้อย่างเหมาะสม ​เช่น พื้นที่ครัวโดยเฉพาะครัวไทย ที่ต้องใช้วัสดุที่เช็ดทำความสะอาดได้ง่าย กันน้ำได้ดี และระบายอากาศได้ง่าย หรือพื้นที่อ่านหนังสือ-พื้นที่นั่งเล่นที่ต้องการปริมาณแสงธรรมชาติมากกว่าห้องนอน เป็นต้น 2.การออกแบบโดยให้ความสำคัญกับสุขอนามัย (Health) จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทำให้ประชาชนตระหนักและหันมาดูแลสุขภาพตัวเองกันมากขึ้น การออกแบบที่อยู่อาศัยจำเป็นต้องคำนึงถึงสุขอนามัยที่ดี โดยใช้นวัตกรรมการออกแบบที่ส่งเสริมคุณภาพทางด้านสุขอนามัยภายในที่อยู่อาศัย เช่น ระบบช่วยลดไวรัสและแบคทีเรียภายในอากาศ โดยใช้ประจุบวกและลบ ซึ่งมีประสิทธิภาพการกำจัดได้ถึง 99% ระบบควบคุมการไหลเวียนอากาศภายในบ้าน ที่ช่วยทำให้อากาศถ่ายเทแม้จะปิดประตูหน้าต่างอยู่ก็ตาม รวมถึงนวัตกรรมทางด้านวัสดุที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ เช่น สีทาบ้าน Low VOCs ซึ่งได้รับการรับรองว่ามีการปล่อยสาร VOCs หรือสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระดับต่ำ หรือลามิเนตที่ป้องกันแบคทีเรียและไวรัส เป็นต้น นอกจากนวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในเรื่องสุขอนามัยแล้ว พื้นที่สีเขียวภายในบ้านเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมสุขภาพทางด้านจิตใจให้แก่ผู้อยู่อาศัย ดังนั้นการออกแบบที่อยู่อาศัยจึงควรมีพื้นที่สวนเล็กๆ ภายในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่ปลูกต้นไม้ที่ระเบียงที่สามารถมองเห็นได้จากภายในห้อง 3.เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย (Smart Living Technology) เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย (Smart Living Technology) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ กับการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย เพราะช่วยสร้างความสะดวกสบายและ ความปลอดภัยในการอยู่อาศัย   เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย ได้เข้ามาช่วยในเรื่องของความสะดวกสบาย เช่น การพัฒนา Smart Residence มีการนำเทคโนโลยี Home Automation เชื่อมต่อเข้ากับระบบสั่งการต่าง ๆ ทั้งทางเสียง หรือ  แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในที่พักอาศัย เช่น  การเปิด-ปิดไฟ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อาทิ โทรทัศน์ เครื่องเสียง ปลั๊กไฟ การปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ และ การควบคุมแสงสว่างและอุณหภูมิภายในบ้าน เป็นต้น รวมถึงการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตกับอุปกรณ์สั่งการด้วยเสียง ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่การตรวจสอบสภาพการจราจรก่อนออกจากบ้านได้เพียงแค่การถามอุปกรณ์นั้น   นอกจากนี้ การพัฒนา Smart Residence ต้องคำนึงถึงการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ประหยัดพลังงาน ทำให้การออกแบบที่อยู่อาศัยในรูปแบบของ Smart Residence ต้องนำนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาความร้อนภายในที่อยู่อาศัย เช่น ระบบ Fresh Air Intake ที่จะการถ่ายเทอากาศและระบายความร้อนออกจากตัวบ้านด้วยการนำอากาศใหม่เข้ามาในบ้านผ่านช่องระบายอากาศ และดึงความร้อนจากภายในตัวบ้านขึ้นไปยังช่องใต้หลังคาด้วยระบบระบายอากาศฝ้าเพดาน และระบายออกสู่นอกตัวบ้านผ่านระบบระบายความร้อนในช่องใต้หลังคา นอกจากระบบ Fresh Air Intake แล้ว การใช้วัสดุ เช่น กระจก อิฐก่อผนัง หลังคา หรือฉนวนกันร้อนที่ได้คุณภาพก็ยังช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานภายในบ้านได้อีกด้วย   เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย   ที่เข้ามาช่วยด้านความปลอดภัย อาทิ​​ กล้องวงจรปิด ระบบเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว เซนเซอร์ที่ประตู-หน้าต่าง Digital Door Lock เป็นต้น โดยที่อุปกรณ์ต่างๆจะสามารถควบคุมได้ผ่านแอปพลิเคชั่น หรือ Home Automation ภายในบ้าน และเมื่อเกิดเหตุก็จะส่งสัญญาณเตือนมาที่โทรศัพท์ของผู้ใช้งาน นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการบริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)  กล่าวถึงแนวโน้มการพัฒนาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันว่า หลังการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019   ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ได้มีการพัฒนาการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของประชาชนภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ ซึ่งกลายเป็นวิถีชีวิตในปัจจุบัน (Now Normal) โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย การออกแบบพื้นที่ใช้สอยและวัสดุ (Function & Material) ที่ตอบโจทย์กับการอยู่อาศัยและเป็นมิตรกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม, การออกแบบโดยให้ความสำคัญกับสุขอนามัย (Health) และ การนำนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยโดยใช้เทคโนโลยี Internet of Thinks (IoTs) และอุปกรณ์อัจฉริยะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญเพื่อตอบโจทย์การอยู่อาศัยที่สะดวกสบายและปลอดภัย มากยิ่งขึ้น สินค้า Smart Home มูลค่ากว่า 2,500 ล้าน โดยจากการประเมินของ IDC สถาบันวิจัยด้านการตลาดของสหรัฐฯ ระบุว่า จำนวนอุปกรณ์ Smart Residence ของโลก มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย  31% ต่อปี จากจำนวน 644 ล้านเครื่องในปี 2561 จะเพิ่มเป็น 1,300 ล้านเครื่องในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า เท่าตัวภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี ขณะที่ A.T. Kearney ระบุว่า มูลค่าตลาดของ Smart Residence ทั่วโลกจะอยู่ที่  263,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราวๆ 8.4 ล้านล้านบาทในปี 2568 โดยผลการศึกษายระบุว่า Smart Residence  ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ 2 หมวดหลักๆ คืออุปกรณ์ที่เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต และอุปกรณ์ที่ตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัย   ขณะที่ บริษัท เมสเซ่ แฟรงก์เฟิร์ตนิว เอร่า บิซิเนส มีเดีย จำกัด ศึกษาการเติบโตของตลาด Smart Residence ในประเทศไทยระบุว่า ตลาดผลิตภัณฑ์ Smart Home ของประเทศไทยในปี 2559 มีมูลค่า 645 ล้านบาท และเพิ่มมากกว่าเท่าตัวในปี 2563 โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 2,500 ล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ย 40% ต่อปี โดยแบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ Smart Residence เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ เติบโตสูงสุด 60% และผลิตภัณฑ์ Smart Home เพื่อการรักษาความปลอดภัยจะเติบโตเป็นอันดับสองคือ 45% ต่อปี   จากผลการสำรวจดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยทั่วโลกให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัยเข้ามาใช้ในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยในรูปแบบของบ้านอัจฉริยะหรือ Smart Residence มากขึ้นรวมทั้งพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ที่เริ่มให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้การอยู่อาศัยมีความสะดวกสบายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น  
“เอสซี แอสเสท” ปล่อยแคมเปญ Home is Everything ปูทางสู่เบอร์ 1  ตลาดบ้านเดี่ยว

“เอสซี แอสเสท” ปล่อยแคมเปญ Home is Everything ปูทางสู่เบอร์ 1 ตลาดบ้านเดี่ยว

ในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ผู้บริโภคมีทางเลือกมากมายในการเลือกซื้อหรือใช้บริการจากสินค้าต่าง ๆ การสร้างแบรนด์  จึงมีความสำคัญและจำเป็นอยากมาก  เพราะการสร้างแบรนด์ไม่ได้ทำหน้าที่ แค่ให้ลูกค้าจดจำได้ว่า แบรนด์นี้เป็นใคร นำเสนอสินค้าอะไร และแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร เท่านั้น    แต่การสร้างแบรนด์มีเป้าหมายใหญ่กว่า และมักจะมุ่งไปสู่เป้าหมาย  ทำให้ผู้บริโภคเกิดความรักในแบรนด์  (Brand Love) หรือความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty)  ให้แบรนด์นั้นเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค  และผู้บริโภคนึกถึงแบรนด์นั้นเป็นอันดับแรก หากต้องการเลือกซื้อหรือใช้บริการ และยังบอกต่อแบรนด์นั้นให้กับบุคคลรอบข้างด้วย  รวมถึงหากเกิดภาวะวิกฤตหรือปัญหา ผู้บริโภคพร้อมจะออกมาปกป้องหรือเป็นกระบอกเสียงในการแก้ไขแทนเจ้าของแบรนด์ด้วย​   ดังนั้น การสร้างแบรนด์ จึงถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของนักการตลาด  และเจ้าของสินค้าหรือบริการ ที่ต้องสร้างแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้บริโภคยังระลึกถึง และจดจำแบรนด์ได้อยู่ตลอดเวลา สำคัญไปกว่านั้น นักการตลาดจะต้องสร้างแบรนด์ให้ไปถึงขั้นเกิด Brand Love และ Brand Loyalty ในใจผู้บริโภค เพราะไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อยอดขายสินค้าหรือบริการเท่านั้น แต่ยังจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับสินค้าหรือบริการนั้นได้ด้วย เพราะผู้บริโภคจะเกิดการซื้อซ้ำ หรือไม่ก็บอกต่อความดีงามของแบรนด์กับคนรอบข้างของเขา   ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งพัฒนาสินค้าประเภทที่อยู่อาศัยออกมาขาย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม หรือคอนโดมิเนียม การสร้างแบรนด์ก็นับเป็นเรื่องสำคัญ ไม่น้อยไปกว่าธุรกิจอื่น ๆ และไม่น้อยไปกว่ากลยุทธ์ทางการตลาดอื่น ๆ ด้วย เพราะถือว่าบ้านเป็นสินค้ามีมูลค่าสูง ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่อาจจะเลือกซื้อได้เพียง 1 ครั้งในชีวิตนี้ หรืออย่างมาก 2 ครั้งก็ตาม แต่การทำให้ผู้บริโภครักในแบรนด์ จะทำให้เกิดการ “บอกต่อ” และทำให้แบรนด์นั้นมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ ซึ่งมีพลังในทางการตลาด ไม่แพ้กลยุทธ์อื่นเลย เอสซี ปล่อยแคมเปญ “Home is Everything”   บริษัทพัฒนาอสังหาฯ ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงมุ่งสร้างแบรนด์ของตนเอง ควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้า ให้ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของการแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด-19 ที่ต้องสร้างที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตยุค New Normal แต่ขณะเดียวกันต้องสร้างแบรนด์ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งหนึ่งในผู้ประกอบการที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน ซึ่งสร้างแบรนด์มาอย่างต่อเนื่อง คือ บริษัท เอสซี แอสเซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ล่าสุด ปล่อยแคมเปญใหญ่ประจำปี “Home is Everything”  ออกมาตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดบ้านเดี่ยว โดยมีการจัดทำโฆษณาชุดใหม่ผ่านกลยุทธ์มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง ด้วยการนำเอาเพลง Home เวอร์ชั่นพิเศษจาก บอย โกสิยพงษ์  เพื่อนำความรู้สึกที่ดีจากภายในบ้านส่งมอบกำลังใจให้ทุกคน   นางสาวโฉมชฎา กุลดิลก หัวหน้าสายงานกลยุทธ์แบรนด์องค์กร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด  (มหาชน)  หรือ SC เปิดเผยว่า บริษัทจะจัดทำแคมเปญการตลาด เพื่อสื่อสารแบรนด์ เอสซี แอสเสท และแคมเปญส่งเสริมการขายประจำทุกปี โดยมีการทำวิจัยกลุ่ม (Focus group) เพื่อค้นหาความต้องการของผู้บริโภค และนำมาจัดทำเป็นแคมเปญการตลาด ซึ่งปีนี้ใช้แคมเปญ Home is Everything   ตลอดระยะเวลาที่ เอสซี แอสเสท ทำโฟกัสกรุ๊ป เพื่อค้นหาอินไซด์ความต้องการของกลุ่มลูกค้า ด้วยคำถามที่ว่า ‘บ้านมีความหมายอย่างไรกับคุณ?’ ทุก ๆ การวิจัยก็มักจะพบว่ามีผู้ตอบคำถาม 2-3 คน ที่ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ด้วยคำพูด ว่าบ้านมีความหมายต่อเขาอย่างไร แต่จะตอบว่าบ้านมีความหมายต่อเขาเหมือนกับเนื้อเพลง Home คือ ....ดอกไม้ ประตู แจกัน ดินทราย ต้นไม้ใหญ่ แก้วน้ำ จานชาม บันได โคมไฟที่สวยงาม... คำตอบเหล่านี้ทาง เอสซี แอสเสท ได้รับมาอย่างต่อเนื่องตลอด 7-8  ปีที่ได้ทำวิจัย ซึ่งในมุมของเอสซี แอสเสท มองว่าเพลงนี้มีความหมายและอธิบายความของคำว่า บ้าน ได้เป็นอย่างดีที่สุด ทำให้ที่ผ่านมายังไม่ได้นำเพลงนี้มาใช้ในการเล่าเรื่องราวของบ้านในมุมของแอสซี แอสเสท จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ต้องอยู่กักตัวอยู่ภายในบ้านมากขึ้น และพื้นที่ของบ้านถูกใช้ไปในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมากกว่าแค่การอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์ หรือการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) กลายเป็นว่า ปัจจุบันบ้านคือทุกสิ่งของการใช้ชีวิต จึงเป็นที่มาของแคมเปญ Home is Everything Music marketing ช่วยลูกค้าจดจำแบรนด์ แคมเปญการตลาดที่ผ่านมาของ เอสซี แอสเสท จะมีการนำเอาเพลงมาใช้เป็นส่วนประกอบของแคมเปญเสมอ โดยมีทั้งการทำเพลงใหม่หรือไม่ก็ใช้เพลงที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เพลงมันทำงานกับความรู้สึก การทำแคมเปญเป็นการสร้าง awareness และการเห็น เพลงเมื่อเห็นทำให้เกิดความรู้สึก ในช่วงปี 2562  เอสซี แอสเสท เคยทำแคมเปญ “Homes for All Birds” บ้านสบาย…สบาย สำหรับทุกคน โดยหยิบ 5 บทเพลงฮิตของคนทุกเพศ ทุกวัย คือเพลง คนไม่มีแฟน, ซ่อมได้, เล่าสู่กันฟัง, หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจ และสบาย สบาย  มาบอกเรื่องราวของ บ้านอยู่สบายไร้กังวล (Worry-Free Home) ในแบบฉบับเอสซี แอสเสท  เป็นการนำเอาเพลงมาเล่าเรื่องและขายของแบบตรง ๆ ปรากฏว่าคนชอบ เพราะเพลงเพราะและยังเห็นสินค้าที่ทำให้คนรื่นรมย์ เป็นแคมเปญที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนทำให้กลุ่มลูกค้าสนใจเข้ามาดูโครงการ   นางสาวโฉมชฎา กล่าวอีกว่า หลังจากทำแคมเปญเสร็จก็จะมีการทำวิจัยผลตอบรับเป็นอย่างไร ซึ่งคนดูแคมเปญลักษณะดังกล่าวแล้วเกิดความรู้สึกอยากมาเยี่ยมชมโครงการ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวถูกนำมาต่อยอดและเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ Home is Everything ด้วย เพราะ Music Marketing ช่วยในเรื่องการจดจำได้ดีกว่า และแคมเปญนี้เป็นการทำตลาดกับกลุ่มเป้าหมายแมส ไม่เฉพาะกับกลุ่มเป้าหมายของเอสซี แอสเสทเท่านั้น ทำให้ไม่ได้เน้นให้คนสนใจมาซื้อบ้านเอสซี แอสเสทในขณะนั้น เพราะไม่ได้เอาเรื่องความต้องการซื้อมาเล่า ขณะที่ที่แคมเปญการขายจะมุ่งเน้นวัตถุประสงค์เฉพาะเรื่อง ​ แคมเปญนี้ อยากสร้างความรู้สึกของคน และมีกำลังใจที่เกิดจากบ้านของเขา บ้านคือที่สร้างพลังของเขาอย่างดี โรดแมพ 2 ปี​ เบอร์ 1 ตลาดบ้านเดี่ยว ในภาพใหญ่แล้ว เอสซี แอสเสท มีเป้าหมายการเดินทางไปสู่ความเป็นผู้นำเบอร์ 1 ในตลาดบ้านทุกระดับราคา จากผลงานในปีที่ผ่านมาสามารถรักษาตำแหน่ง Top 3 ไว้ได้ โดยสลับอันดับระหว่างเบอร์​ 2 และเบอร์ 3 แต่หากโฟกัสเฉพาะตลาดบ้านระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป ช่วงไตรมาสแรก เอสซี แอสเซท ประสบความสำเร็จกับส่วนแบ่งการตลาดที่มาเป็นเบอร์ 1 แล้ว โจทย์ใญ่ที่ต้องเดินต่อไป คือ นำพาบ้านในทุกระดับราคาขึ้นเป็นเบอร์ 1 ให้ได้ภายในระยะเวลา 2 ปีนับจากนี้ ตามโจทย์ที่ นายนายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มอบให้กับพนักงานไว้   ในอดีตเอสซี แอสเสท แทบจะไม่มีบ้านระดับราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งตลาดบ้านเดี่ยวหลักจึงอยู่ที่ระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป และทำได้ดีจนเป็นผู้นำตลาด แต่ขณะที่ตลาดมีความต้องการบ้านระดับราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาทมากขึ้น ประกอบกับแนวคิด home for all  ที่เอสซี แอสเสท มีการพัฒนาบ้านขายที่เหมาะกับทุกกลุ่มเป้าหมาย ในระยะหลังเอสซี แอสเสท จึงหันมามุ่งเน้นพัฒนาบ้านระดับราคาขายต่ำกว่า 5 ล้านบาทเพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยภาพจำของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ซึ่งเห็นว่าบ้านเอสซี แอสเสท มีราคาสูง การสร้างการรับรู้ว่ามีบ้านระดับราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท จึงถึงเป็นความท้าทายหนึ่งของเอสซี แอสเสท ในปีนี้ นายณัฏฐกิตติ์ ศิริรัตน์    Head of Marketing เอสซี แอสเซท กล่าวว่า ในช่วง 2 เดือนนี้ เอสซี แอสเสทตั้งเป้ายอดขาย 4,000 ล้านบาท จากแคมเปญนี้ ซึ่งในช่วงที่ขายดีบริษัทจะมียอดขายประมาณไตรมาสละ 4,500-4,600 ล้านบาท  โดยมีโครงการบ้านเดี่ยว 38 โครงการ และทาวน์โฮม 6 โครงการ พร้อมเข้าร่วมแคมเปญในครั้งนี้  ซึ่งยอดขายตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันมียอดขายกว่า 70% ของเป้าหมายยอดขายทั้งปีแล้ว โดยยอดขายเฉพาะช่วงครึ่งปีแรกสามารถสร้างการเติบโตได้ 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   ปัจจุบันเอสซี แอสเสท สามารถเกาะกลุ่มผู้นำตลาดบ้านเดี่ยวทุกระดับราคาติดอันดับ Top3 ซึ่งปี 2563 มีส่วนแบ่งตลาดบ้านเดี่ยวอยู่ในอันดับที่ 3 ขณะที่ช่วงไตรมาสแรกเอสซี แอสเสท สามารถครองตำแหน่งผู้นำตลาดบ้านเดี่ยวระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 แต่หากเป็นตลาดบ้านเดี่ยวในทุกระดับราคาจะมีส่วนแบ่งอยู่ในอันดับ 2-3 แล้วแต่ช่วงเวลา ​ โรดแมพ ภายใน 2 ปีนี้ เอสซี แอสเซท ตั้งเป้าเป็นแบรนด์บ้านเดี่ยวอันดับ 1 โควิด-19 คนต้องการพื้นที่ใหญ่อยู่อาศัย​ สำหรับกลุ่มที่มาซื้อบ้านเอสซี แอสเสท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัวขยาย หรือต้องการใช้ชีวิตเยอะขึ้น คนที่เคยอยู่บ้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ก็ขยับขยาย คนต้องการพื้นที่เยอะขึ้นเราได้คนกลุ่มนี้เยอะ ส่วนคนที่เดิมตั้งใจจะซื้อคอนโดแล้วเปลี่ยนมาซื้อบ้านเลยมีสัดส่วนไม่ถึง 10%   ปัจจัยสำคัญของการเลือกซื้อบ้านในยุคโควิด-19 หากตัดเรื่องของทำเลที่ตั้งออกไป จะพบว่าอันดับ 1 คือ ความต้องการใช้พื้นที่ของบ้านเยอะขึ้น รองลงมาเป็นความต้องการพักอาศัยในสังคมที่ดี เป็นแบรนด์สินค้าที่สามารถดูแลลูกบ้านได้เป็นอย่างดี และยังพบว่า หลังจากเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คนส่วนใหญ่ มีความต้องการใช้พื้นที่เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องการพื้นที่ที่เป็นส่วนตัว และการอาศัยอยู่กับคนในบ้านที่มีความหลากหลาย เพราะทุกคนกลับมาอยู่อาศัยในบ้านมากขึ้น ใช้เวลาร่วมกันนานขึ้น   จากผลการวิจัยพบข้อมูล 4 อย่าง ได้แก่ 1.ความต้องการพื้นที่ธรรมชาติเยอะขึ้น 2.การอยู่อาศัยที่สะดวกสบาย Comfortable living 3.การปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้ตามความต้องการ Flexible space 4.การอยู่อาศัยในบ้านประหยัดพลังงาน Energy saving
อัพเดท ดอกเบี้ยเงินกู้ รีไฟแนนซ์บ้าน เดือนกรกฎาคม 2564

อัพเดท ดอกเบี้ยเงินกู้ รีไฟแนนซ์บ้าน เดือนกรกฎาคม 2564

อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงรุนแรง จำนวนผู้ติดเชื้อมีตัวเลขสูงต่อเนื่อง เพราะการฉีดวัคซีนยังทำได้ไม่ครอบคลุมตามปริมาณที่ควรจะเป็น ในระยะนี้เราจึงร่วมมือกัน “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” กันต่อไป และลดความเสี่ยงที่จะได้รับเชื่อให้มากที่สุด   แน่นอนว่า ผลกระทบของโควิด-19 ทำให้หลายธุรกิจต้องสะดุด บางแห่งก็หยุดไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ซึ่งใครที่ยังพอสู้กันไหวก็ต้องไปต่อ และสำหรับคนที่กำลังคิดว่าจะหาเงินทุนมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือเพิ่มสภาพคล่องธุรกิจ รวมถึงการลดภาระค่าใช้จ่ายจากการผ่อนชำระค่างวดของบ้านหรือที่อยู่อาศัยให้น้อยลง ด้วยการนำเอาบ้านหรือที่อยู่อาศัยของตนเอง มาทำรีไฟแนนซ์ วันนี้เราได้รวบรวมนำเอาอัตราดอกเบี้ยมาให้พิจารณากัน ว่ามีธนาคารไหนให้อัตราดอกเบี้ยเท่าไร เพื่อเป็นตัวเลือกประกอบการพิจารณา หาอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดสำหรับคุณ 1.ธนาคารกรุงเทพ สำหรับการธนาคารกรุงเทพ  มีสินเชื่อบ้านบัวหลวง ที่ให้บริการรีไฟแนนซ์บ้าน  กรณีหลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยทั่วไป เฉพาะวงเงินอนุมัติตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งอัตราดอกเบี้ยไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา โดยมีอัตราดอกเบี้ยให้เลือกด้วยกัน 3 ทางเลือก  ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 กรณีทำประกัน Home 1st Plus ดอกเบี้ย 2.00% กรณีไม่ทำประกัน  อัตราดอกเบี้ย 2.25% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย MRR-3.00 =2.75​% ​ หลังจากนั้น ​MRR-1.50% = 4.25​%​ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.00-3.08% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 3.51-3.56% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 กรณีทำประกัน Home 1st Plus ดอกเบี้ย MRR-3.625% เท่ากับ ​​ % กรณีไม่ทำประกัน ดอกเบี้ย MRR-3.375% =2.375 % ปีที่ 2 ดอกเบี้ย MRR-3.375% = 2.375% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% =4.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.92-3.00% เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 3.47-3.52% ทางเลือกที่ 3 ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1 กรณีทำประกัน Home 1st Plus ดอกเบี้ย MRR-3.125% = 2.625% กรณีไม่ทำประกัน ดอกเบี้ย MRR-2.875% = 2.875% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย MRR-2.875% = 2.875% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% = 4.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.25-3.33% เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 3.67-3.72% หมายเหตุ -วงเงินกู้สูงสุด เท่ากับ 100% ภาระหนี้คงค้าง และไม่เกินอัตราส่วนสินเชื่อสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย -ระยะเวลากู้สูงสุด 30 ปี (เฉพาะพนักงานประจำสูงสุด 35 ปี) รวมอายุผู้กู้สูงสุด 65 ปี -ค่าธรรมเนียม คิดค่าสำรวจและประเมินหลักประกัน 3,210 บาท (ธนาคารจะคืนค่าสำรวจและค่าประเมินหลักประกันหลังจากลูกค้าได้รับอนุมัติและเบิกใช้สินเชื่อแล้ว) -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลาดอายุสัญญาวงเงินกู้ 2 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี -รายละเอียดและเงื่อนไขอื่น โปรดสอบถามจากธนาคาร 2.ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเดือนกรกฎาคม มีการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดือนที่ผ่านมา   ดังนี้ แบบทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.75% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 1.88% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-2.70% =3.52% ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 4.67% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% = 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี  2.60% ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 2.81% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.97% ลดลงจากเดือนก่อนหน้า  4.05% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย  1.00%  ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.7% = 3.52% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.65% = 3.57% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดออกเบี้ย 4.72% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% เท่ากับ 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.7% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 2.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.01%  ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 4.08% ทางเลือกแบบธนาคารออกค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% แบบทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.75% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 1.88% ปีที่​ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.20 = 4.02% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 1.88% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.85% เท่ากับ 5.37% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% เท่ากับ 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.93% ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาที่คิดดอกเบี้ย 3.04% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.09% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย  4.13% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1อัตราดอกเบี้ย 1.00% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.15% = 4.07% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.15% = 4.07% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 5.42% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% เท่ากับ 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.03% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 3.13% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.13% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 4.16%   หมายเหตุ การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ* : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ 1.ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี 2.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ 3.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ **ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน ***อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,500 บาท/เดือน เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด การพิจารณาสินเชื่ออยู่ภายใต้ดุลยพินิจของธนาคาร ยื่นสมัครสินเชื่อ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 MRR = 6.22% ต่อปี (ณ 1 เม.ย. 2564) 3.ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี มีแคมเปญการให้บริการสินเชื่อรีไฟแนนซ์กับลูกค้า คือ  ฟรี! ค่าประเมินหลักทรัพย์ ฟรี! ค่าจดจำนอง ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. – 31 ส.ค. 64 โดยมีรายละเอียด ดังนี้​ สำหรับวงเงินตั้งแต่ 1 -1.5 ล้านบาท ทางเลือก 1 ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.75% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-1.85% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.66% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.90% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-3.15% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.65% ทางเลือกที่ 3* ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.50% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-1.35% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.30% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.78% สำหรับวงเงินตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.75% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-2.15% = 3.9% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.75% = 4.3% หลังจากนั้น MRR-1.75% = 4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.45% ทางเลือก 2 ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.75% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 2.20% ปีที่ 3-5 ดอกเบี้ย MRR-1.75% = 4.3% หลังจากนั้น MRR-1.75% =4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.40% ทางเลือกที่ 3 ปีที่ 1-5  ดอกเบี้ย MRR-2.70% = 3.35% หลังจากนั้น MRR-2.70% = 3.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.35% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.35% ทางเลือกที่ 4* ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.50% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-1.65% = 4.4% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.75% = 4.3% หลังจากนั้น MRR-1.75% = 4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.10% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.57% สำหรับวงเงินกู้อนุมัติ 3 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-5 อัตราดอกเบี้ย 3.50% หลังจากนั้น MRR-1.75%= 4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.50% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.67%   หมายเหตุ *เฉพาะลูกค้าที่ซื้อ MRTA/MLTA ตามเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น จึงจะสามารถเลือกรับดอกเบี้ยทางเลือกฟรีค่าจดจำนองได้โปรดอ้างอิงตาม Product Catalog_ประกัน (สาขากลาง) / Product Catalog_ประกัน(สาขาภูมิภาค) และ ใบข้อเสนอ (QE) ** อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 1.5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 1.5 ล้านบาท และฐานวงเงินกู้ 3 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปี ในกรณีที่ลูกค้าซื้อ MRTA/MLTA หาก ค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -กรณีลูกค้าเลือกรับอัตราดอกเบี้ยทางเลือกที่ 3 (วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1.5 ล้านบาท) หรือทางเลือกที่ 4 (วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป) ฟรีค่าจดจำนองตามเงื่อนไขที่กำหนด -กรณีลูกค้าเลือกรับอัตราดอกเบี้ยทางเลือกที่ 1-2 (วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1.5 ล้านบาท) หรือทางเลือกที่ 1-3(วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป) หรือทางเลือกที่ 5(วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป) รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปีเฉพาะในปีที่ 1 ทั้ง 2 กรณีลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้1) -รายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม สอบถามได้จากธนาคาร​ 4.ธนาคารกสิกรไทย อัตราดอกเบี้ยบ้านของธนาคารกสิกรไทย ในเดือนกรกฎาคมถือว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา  โดยธนาคารกสิกรไทยมีบริการสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ดังนี้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว 3 ปีแรก ลดสูงสุด 1.50% จากอัตราดอกเบี้ยเดิมของลูกค้า* หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50%** หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยลอยตัว 3 ปีแรก ลดสูงสุด 1.50% จากอัตราดอกเบี้ยเดิมของลูกค้า เมื่อคำนวณแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 3.75% ในช่วง 3 ปีแรก *อัตราดอกเบี้ยเดิมของลูกค้า ให้อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยท้ายของสัญญากู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเดิม (ฉบับหลัก) ของลูกค้า ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าได้ปรับลดดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินเดิมมาแล้ว ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยท้ายของบันทึกข้อตกลงแนบท้ายเพิ่มเติมของสัญญากู้เงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (ฉบับหลัก) **หากอัตราท้ายดอกเบี้ยเดิมของลูกค้าต่ำกว่า MRR - 1.50% ให้ได้เท่ากับอัตราท้ายเดิมของลูกค้า แต่ต้องไม่ต่ำกว่า MRR - 2.00% -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม 0.25% ในปีแรก หากทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อบ้านตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด -สำหรับวงเงินกู้เพิ่มจากยอดสินเชื่อบ้านคงค้างของวงเงินสินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ ปรับอัตราดอกเบี้ยเฉพาะวงเงินส่วนเพิ่มขึ้นอีก 0.50% ของอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ ตลอดอายุสัญญากู้ 5.ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารเกียรตินคิน มีแคมเปญ KKP Home Loan Refinance สำหรับลูกค้าบ้านรีไฟแนนซ์ประจำเดือนกรกฎาคม ในอัตราที่ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ ทางเลือก ดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.590% ปีต่อไป MLR-1.75% = 4.775% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.790% ปีต่อไป MLR-1.75% = 4.775% ทางเลือก ดอกเบี้ยแบบลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3  ดอกเบี้ย 2.790% ปีต่อไป MLR-1.75% = 4.775% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3  ดอกเบี้ย 2.990% ปีต่อไป MLR-1.75% หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิง​ เช่น อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา​ (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยจะประกาศไว้​ ณ สถานที่ทำการให้บริการและเว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที 18 สิงหาคม​ 2563 เท่ากับ 6.525% ตอ่ ปี 3.เลือก​ทําประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA)​ ผ่านธนาคาร ทุนประกันภัยเท่ากับวงเงินกู้โดยมรีะยะเวลาเอาประกันภัย ​​0 ปี กรณีที่ระยะเวลาการกู้ไม่ถึง 10 ปีให้ระยะเวลาเอาประกันภัยเท่ากับระยะเวลาการกู้ 4.กรณี Refinance ไปสถาบันการเงินอื่นก่อนครบ​ 3 ปีแรก คิดค่า Prepayment Penalty 3% ของเงินต้นคงค้าง​ 5.กรณีเลือกใช้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแบบฟรีค่าจดจำนอง หากลูกค้า​ Re-Finance หรือชำระปิดบัญชีก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ทุกกรณี ลูกค้าต้องชำระคืนค่าจดจํานองที่ธนาคารเคยสำรองจ่ายให้ แก่ธนาคาร​ 6.ค่าประเมินหลักประกันเริ่มต้น​ 3,210 บาท ค่าอากรแสตมป์ ร้อยละ​ 0.05 ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน​ 10,000 บาท) 7.เบี้ยประกันอัคคภัยเป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด โดยผู้กู้สามารถเลือกทําประกันกับบริษัทประกันภัยที่เชื่อถือ​ (a) อัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุดต่อ หลักประกัน 100% ของราคาประเมิน (b) ระยะเวลากู้สูงสุด​ 30 ปี (อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน  65 ปีสําหรับพนักงานเงินเดือนประจํา และไม่เกิน 70 ปีสําหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) 6.ธนาคารซีไอเอ็มบี ธนาคารซีไอเอ็มบี มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยประเภทสินเชื่อรีไฟแนนซ์ และขอวงเงินเพิ่ม มีอัตราการคิดดอกเบี้ย ดังนี้ สำหรับพนักงานประจำ รายได้ 30,000 บาทขึ้นไป แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  (MRR-3.66%) = 3.69% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย (MRR-2.00%) =5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.69% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.93% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย   (MRR-3.36%) = 3.99% หลังจากนั้น (MRR-2.00%) = 5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.99% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.01% สำหรับพนักงานเงินเดือน 15,000 บาท หรือเจ้าของกิจการรายได้ 30,000 บาท ขึ้นไป ทางเลือก 2 แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-3.36% = 3.99% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-2.00% = 5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.99% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.01% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-3.06% = 4.29% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-2.00% = 5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.29% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.08%   หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR=7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 2563) กรณีไม่ขอวงเงินเพิ่ม สอบถามรายละเอียดกับทางธนาคารโดยตรง 7.ธนาคารทีทีบี ธนาคารทีทีบีมีแคมเปญสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์  ที่ยังคงคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยมีอัตรา ดอกเบี้ยพิเศษ คงที่ 2 ปีแรก 1.89% ต่อปี หรือเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.69% ต่อปี และรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ทางเลือก 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 1.89% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย  (MRR-1.98%)= 4.30% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย (MRR-1.63%)=4.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.69% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.98% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย   (MRR-3.58%) = 2.7% หลังจากนั้น (MRR-1.63%)= 4.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.00% ทางเลือก 3 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.25% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.65% MRR-1.63% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีดอกเบี้ย  3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.10% ทางเลือกที่ 4 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย % (MRR-3.23%)= 3.05% หลังจากนั้น 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา  4.12% สมัครไม่ครบผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.89% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.56% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.44% ทางเลือกที่ 6 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย % (MRR-2.63%) = 3.65% หลังจากนั้น 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.49%   สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน สไมล์ โฮม หรือ สไมล์ โฮม พลัส 2.สมัครใช้บริการ หักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ทีทีบีเพื่อผ่อนช าระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต ทีทีบี (กรณีที่มีบัตรเดบิต ทีทีบีแล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ช่วยคุณประหยัดดอกเบี้ยได้มากขึ้น ผ่อนต่อเดือนน้อยลง และเป็นเจ้าของบ้านได้เร็วขึ้น เมื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับทีทีบี รับข้อเสนอพิเศษ ด้วยอัตราดอกเบี้ยให้เลือก 2 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท  รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ นาน 3 ปี  ฟรี! ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท  ฟรี! ค่าจดทะเบียนจำนอง มูลค่า 1% ของเงินกู้สูงสุด 200,000 บาท  ฟรี! ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรมจำนอง แบบที่ 2 สมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท ฟรี! ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท ฟรี! ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรมจำนอง หมายเหตุ : -อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ย ลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 เมษายน 2564 -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้าน (MRTA) ไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ ทำเพื่อประโยชน์หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นกับผู้กู้ในขณะที่ยังชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของผู้กู้และธนาคาร และไม่มีผลต่อการ พิจารณาสินเชื่อ 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อทั่วไปที่รีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินอื่น โดยเดือนกรกฎาคม ยังคงอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ แบบไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.15% ปีต่อไป MRR-0.72%= 5.275% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.15% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.242% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.90% ปีต่อไป MRR-0.72% = 5.275% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.174%   หมายเหตุ -กรณีใช้ดอกเบี้ย​แบบทําประกัน​ Credit Life 70% กําหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลาเอาประกัน 70% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา โดยกําหนดให้เอาระยะเวลาขั้นต่ำ 10  ปี (กรณีระยะเวลากู้ตามสัญญาต่ำ​10 ปี กําหนดให้ระยะเวลาเอาประกันเท่ากับระยะเวลากู้ตามสัญญา) ​-ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ รับประกันภัยโดย บมจ. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต บริษัทนเครือกลุ่มเอฟดับบลิวดี หากต้องการสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับการประกันภัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์บริการลูกค้า โท​ร. 1315 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น. -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข ​​ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุก​ ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น ​การพิจารณารับประกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันภัย ของบริษัทประกันภัย -อัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารไทยพาณิชย์ เท่ากับ 5.995% ต่อปี ​(ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563) ซึ่งอาจะเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศธนาคาร -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ระบุในตารางเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ​ซึ่งอาจะมีความแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีลูกค้าบอกเลือกประกันชีวิต หรือขอเวนคืนกรมธรรม์ หรือทำประกันไม่ครบกำหนดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ​ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยวงเงินกู้ เป็นอัตราดอกเบี้ยทั่วไป  ตามประกาศธนาคาร ระยะเวลากู้ตามสัญญา วงเงิน ระยเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย คุณสมบัติ เอกสารปรกอบการพิจารณา และการอนุมัติเป็นไปตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด 9.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. มีสินเชื่อบ้านสุขสันต์  เพื่อให้ลูกค้าใช้บริการรีไฟแนนซ์  โดยเป็นอัตราดอกเบี้ยเรทใหม่ สำหรับเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรทดอกเบี้ยที่ลดต่ำลงกว่าเดือนที่ผ่านมา  โดยมีรายละเอียดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ แบบที่ 1 สำหรับกลุ่มลูกค้าสวัสดิการ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 1.99% ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 2.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.16%= 2.99% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 3.125% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.65%=3.5% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย MRR-1.0%= 5.15% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 5.65% แบบที่ 2 สำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.09% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย  MRR-3.06%= 3.09% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าคิดอกเบี้ย 3.115% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-2.55%=3.6% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าคิดอกเบี้ย 3.5% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย MRR-1.0% =5.15%  ลดลงจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 5.65%   หมายเหตุ -นิยามคำว่า “อาคาร” หมายถึง บ้านเดี่ยว บ้านแฝดทาวน์เฮ้าส์ และอาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย ยกเว้นแฟลต และบ้านเช่า ยกเว้น ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ร้อยละ 0.1 ของวงเงินทำนิติกรรม  ยื่นคำขอกู้และอนุมัติตั้งแต่วันที่  1 กรกฎาคม ถึง​30 ธันวาคม 2564 อนุมัติและทำนิติกรรมภายใน​ 31 มกราคม ​2565  (ทั้งนี้ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว) 10.ธนาคารยูโอบี สำหรับธนาคารยูโอบี มีแคมเปญสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ UOB Home Loan - รีไฟแนนซ์ ​(รวมวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์​)  สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่ ​1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายในวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ตามรายละเอียดดังนี้ ทางเลือก 1 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 5.25%  เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.29% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.35%=6.0% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย  3.35% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.50% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 3.29% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.79% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 4.77% ทางเลือกที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 5.40% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 3.49% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.35% = 6.0%เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดอกเบี้ย 3.49% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.60% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 3.49% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.83% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 4.85%   หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ​ (MRTA) ผ่านธนาคารยูโอบี -ทุนประกันเต็มวงเงินกู้และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ ​10 ปีหรือ​ -ทุนประกันขั้นต่ำ ​80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มระยะเวลากู้​ 2.อัตราดอกเบี้ย สำหรับสินเชื่อรีไฟแนนซ์วงเงิน​ 1 ล้านบาทอายุสัญญา​ 15 ปี MRR = 7.35% ต่อปีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้สำหรับโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับทำสัญญากู้ยืม​ของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย​ 3.อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับวงเงินเพิ่มไม่เกิน​ 50% ของวงเงินกู้รวมทั้ง ทั้งนี้ไม่นับรวมวงเงินกู้สินเชื่ออื่นเพื่อชำระค่าเบี้ย​ประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินชื่อ ​ (MRTA) วงเงินกู้รีไฟแนนซ์สูงสุด รวมส่วนกู้เพิ่มต้องไม่เกิน 95% ของราคาประเมิน ขึ้นอยู่กับรายได้ ประเภทของลูกค้า / ประเภทและที่ตั้งของหลักประกัน/ ราคาหลักประกัน / จำนวนสัญญากู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้า วงเงินกู้รีไฟแนนซ์อนุมัติ รวมส่วนกู้เพิ่มต้องไม่เกินวงเงินกู้รีไฟแนนซ์ 4.กรณีกู้โดยไม่รวมวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์และรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อธนาคารโดยตรง 11.ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีแคมเปญสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยต่ำ!! เพียง 0.59% ต่อปี ดังนี้ แบบที่ 1 สำหรับผู้กู้รายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.59% ต่อปี แบบที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-6.76% = 0.59% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.37% = 3.98% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.67% แบบที่ 2 ปีที่ 1 ดอกเบี้ยคงที่ 0.79% หรือ ผ่อนล้านละ 3,5000 บาท ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยคงที่ MRR-3.32% = 4.03% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.74% แบบที่ 3 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย MRR-5.35%=2.00% ปีที่ 3 MRR-3.55%=3.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 4 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10% หรือ ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-3.45% = 3.90% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.64% แบบที่ 5 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-4.75% = 2.60% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.63% แบบที่ 6 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยคงที่ 2.80% หรือ ผ่อนล้านละ 3,500 บาท ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.76% แบบที่ 2 สำหรับผู้มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.79% ต่อปี แบบที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-6.56% = 0.79% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.32% = 4.03% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.74% แบบที่ 2 ปีที่ 1 ดอกเบี้ยคงที่ 0.99% หรือ ผ่อนล้านละ 3,5000 บาท ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยคงที่ MRR-3.27% = 4.08% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.81% แบบที่ 3 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย MRR-5.25%=2.10% ปีที่ 3 MRR-3.45%=3.9% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.64% แบบที่ 4 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.20% หรือ ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-3.35% = 4.00% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.70% แบบที่ 5 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-4.65% = 2.70% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 6 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยคงที่ 2.90% หรือ ผ่อนล้านละ 3,500 บาท ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.82%   ข้อกำหนดและเงื่อนไข 1.สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า Refinance ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.59% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรืออัตราดอกเบี้ย 0.79% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม- 30 กันยายน 2564 2.วงเงินกู้เริ่มต้น 1.0 ล้านบาท และราคาประเมินหลักประกัน (แนวราบ) ไม่น้อยกว่า 2.0 ล้านบาท หรือ (แนวสูง) ไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านบาท (โครงการจัดสรรทุกโครงการ) 3.อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขดังกล่าว สำหรับหลักประกันที่ได้รับการจัดสรรทุกโครงการในเขตกรุงเทพฯ  และปริมณฑล ยกเว้น ที่ดินว่างเปล่า, อาคารพาณิชย์ 4.กรณีลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1% ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ภายใน 5 ปีแรกทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 5.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี 6.ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำล้านละ 3,500 บาท ได้ในแบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้น 7.อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.350% (ณ วันที่ 1 เม.ย. 64) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย 8.อัตราดอกเบี้ย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด   บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด เดือนกรกฎาคม 2564 อัพเดท ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน-คอนโด เดือนมิถุนายน 2564
โควิด-19 ทุบความเชื่อมั่น Q2/64 มีแค่ 46.4  ผู้ประกอบการลุ้น​เปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจ

โควิด-19 ทุบความเชื่อมั่น Q2/64 มีแค่ 46.4 ผู้ประกอบการลุ้น​เปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจ

โควิด-19  ยังสร้างความกังวลใจให้ดีเวลลอปเปอร์  ค่าดัชนีความเชื่อมั่นไตรมาส 2 ปี 2564 มีแค่ 46.4 ยังต่ำกว่าค่า​กลาง และความเชื่อมั่นลดลงต่อเนื่องถึง 9 ไตรมาส ​แนวโน้มอนาคตความเชื่อมั่นยังแผ่ว ปรับขึ้นเล็กน้อย รอลุ้นมาตรการเปิดประเทศ 120 สร้างความเชื่อมั่นกลับคืนมา   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เปิดเผยว่า ​จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ในไตรมาส 2 ปี 2564 ยังต่ำกว่าระดับ 50.0 โดยมีค่าดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 46.4 ซึ่งลดลงต่อเนื่องมา 9 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562  ที่ เริ่มต้นจากการบังคับใช้มาตรการควบคุม LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย และยังเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงปี 2563  ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวทั้งในด้านปริมาณและความต้องการ ​   ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ จนมาถึงไตรมาส 2 ปี 2564  ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวช้ากว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ และมีผลทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน มีความกังวลว่าผลกระทบของสถานการณ์ดังกล่าวจะต่อเนื่องไปในอนาคตด้วย   อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการฯ ตามประเภทบริษัท พบว่า ความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันของผู้ประกอบการกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  หรือ Listed Companies  ประจำไตรมาส 2 ปี 2564 มีค่าดัชนีเท่ากับ 51.1 ซึ่งสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 และสูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีเพียง 49.4 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่ม บริษัทมหาชน มีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจในภาวะปัจจุบัน   ทั้งนี้  เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขาย การลงทุนใหม่ๆ และการเปิดตัวโครงการใหม่หรือเฟสใหม่ โดยเฉพาะที่เป็นโครงการบ้านจัดสรรเพื่อทดแทนหน่วยที่ได้ขายไปและทดแทนโครงการอาคารชุดที่เปิดตัวลดลง   ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่มผู้ประกอบการนอกตลาดหลักทรัพย์ หรือ Non-listed Companies มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 39.3 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ 41.7 และค่าดัชนียังต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้ไม่มีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจในภาวะปัจจุบันในทุก ๆ ปัจจัย (ดูตารางที่ 1 และ แผนภูมิที่ 1)   ความเชื่อมั่นในอนาคตยังแผ่ว สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ในภาพรวมอีก 6 เดือนข้างหน้า   พบว่าโดยภาพรวมค่าดัชนีความเชื่อมั่น เท่ากับ 50.5 ลดลงอย่างชัดเจนจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.8 แม้ว่าค่าดัชนียังสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 แต่มีการลดลงอย่างมากในทุกปัจจัย สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการก็ยังคงมีความเชื่อมั่นต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาฯ ในอีก 6 เดือนข้างหน้าในเชิงบวกเล็กน้อย   อาจเป็นเหตุผลจากการที่รัฐบาลได้ประกาศแผนการเปิดประเทศภายใน 120 วัน หรือประมาณเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งหากสามารถทำได้ตามแผนดังกล่าวก็จะทำให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้ แต่ก็ยังมีความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในปัจจุบัน   เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการฯ ตามประเภทบริษัท พบว่า กลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 55.7 ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 63.6 แม้ว่าก็ยังสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 แต่จะเห็นได้ว่ามีการลดลงอย่างมากในทุกปัจจัย   ขณะที่ผู้ประกอบการฯ กลุ่มบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ มีค่าดัชนีเท่ากับ 42.7 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.5 โดยมีการลดลงอย่างมากในทุกปัจจัย และจะเห็นได้อย่างชัดว่าผู้ประกอบการกลุ่มในกลุ่มนี้ขาดความเชื่อมั่นในธุรกิจในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้าในระดับที่มากกว่าผู้ประกอบการกลุ่มบริษัทมหาชน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเสียเปรียบในด้านเงินลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ หรือ ขยายเฟสใหม่ และความเชื่อมั่นของผู้ซื้อที่มีต่อชื่อเสียงของบริษัทมหาชนซึ่งมีผลต่อโอกาสและการแข่งขันในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (ดูตารางที่ 2 และ แผนภูมิที่ 2)  
แสนสิริ  โชว์ยอดครึ่งปีแรก 17,600 ล้าน  เตรียมเปิดอีก 20 โปรเจ็กต์ใหม่

แสนสิริ โชว์ยอดครึ่งปีแรก 17,600 ล้าน เตรียมเปิดอีก 20 โปรเจ็กต์ใหม่

แสนสิริโชว์ผลงานครึ่งปี 64 กวาดยอดขาย – ยอดโอน เกินเป้า สร้างยอดขายทะลุ 17,600 ล้าน และ ยอดโอน 16,400 ล้าน ครึ่งปีหลังลุยเปิด 20 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 19,400 ล้าน​ รับสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว   นายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จากัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกว่า บริษัทสร้างยอดขายรวมมูลค่า 17,600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 57% จากเป้าหมายยอดขาย 31,000 ล้านบาท  จำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นยอดขายจากโครงการแนวราบ 12,000 ล้านบาท และโครงการคอนโดมิเนียม 5,600 ล้านบาท  ส่วนผลงานในไตรมาสที่ 2 บริษัทมียอดขาย 10,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 32% จากไตรมาสแรกที่มียอดขาย 7,600 ล้านบาท โดยยอดขายในครึ่งปีแรก มาจากการปิดการขายโครงการ 5 โครงการหลัก ​อาทิ โครงการเศรษฐสิริ พัฒนาการ โครงการคณาสิริ ชัยพฤกษ์ – วงแหวน  โครงการ “BuGaan เอ็กซ์คลูซีฟ เรสซิเดนท์" ระดับราคา 35.9 - 80 ล้านบาท ที่ทำยอดขายไปถึง 75% ของมูลค่าโครงการ  โครงการทาวน์โฮมแบรนด์ สิริ เพลส ซีรีย์ใหม่ “Dream Destination” ทั้ง สิริ เพลส บางนา-เทพารักษ์  และสิริ เพลส วงแหวน – ลำลูกกา ที่ทำยอดขายไปแล้วกว่า 80% จากจำนวนยูนิตที่เปิดขายในระยะเวลาเพียง 2 วันพรีเซลล์ และคอนโดแบรนด์ “THE MUVE” (เดอะมูฟ)   ยอดขายของแสนสิริ เป็นผลมาจากการมองตลาดเร็ว และพร้อมปรับตัวรองรับทุกสถานการณ์ ตลอดเวลา  นอกจากนี้  ในครึ่งปีแรก บริษัทยังมียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สร้างเสร็จ และส่งมอบให้กับลูกค้าไปแล้วถึง 16,400 ล้านบาท  คิดเป็นสัดส่วน 53% จากเป้าหมายยอดโอนปีนี้จำนวน 31,000 ล้านบาท โดยเป็นยอดโอนในไตรมาส 2 อยู่ที่ 8,800 ล้านบาท เติบโตขึ้น 14% จากไตรมาสแรกที่มียอดโอน 7,700 ล้านบาท และแบ่งเป็นยอดโอนจากโครงการแนวราบ 55% และคอนโด  45%   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการปิดแคมป์ก่อสร้างในช่วงที่ผ่านมา เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด– 19  แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการโอนและรับรู้รายได้ในไตรมาส 2 ของบริษัท เนื่องจากที่อยู่อาศัยที่ต้องส่งมอบได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งแสนสิริได้เตรียมทำแผน catch up งานก่อสร้างหลังกลับมาเริ่มก่อสร้างได้ไว้เรียบร้อยแล้ว จึงมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าได้ตรงเวลา รวมทั้งยังมีที่อยู่อาศัยพร้อมเข้าอยู่ – พร้อมโอน รองรับความต้องการของลูกค้าได้อีกด้วย   นายอุทัย กล่าวอีกว่า โดยในครึ่งปีหลัง บริษัทยังเตรียมโอนคอนโด  เอดจ์ เซ็นทรัล - พัทยา ในวันที่ 21 – 22 สิงหาคม และ ดีคอนโด ไฮด์อเวย์ – รังสิต ในวันที่ 28 – 29 สิงหาคมนี้ เพื่อรองรับการรับรู้รายได้ในช่วงครึ่งปีหลังอีกด้วย  และบริษัทมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่อีก 20 โครงการ มูลค่ารวม 19,400 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยวและมิกซ์โปรดักส์แบรนด์อณาสิริ 8 โครงการ มูลค่ารวม 7,500 ล้านบาท ทาวน์โฮมแบรนด์สิริเพลสและแบรนด์ใหม่ล่าสุด 5 โครงการ มูลค่ารวม 6,300 ล้านบาท และโครงการคอนโด  7 โครงการ มูลค่ารวม 5,600 ล้านบาท   แสนสิริยังมองแง่บวกถึงทิศทางข้างหน้าที่ต้องปรับตัวให้เร็ว รองรับความต้องการลูกค้าและการกลับมาของตลาด ก่อนการเปิดประเทศและเศรษฐกิจเริ่มฟื้น     ทั้งนี้ แสนสิริยังมองเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี จากยอดขายในตลาดต่างจังหวัดที่เริ่มมียอดขายที่ดีขึ้น รวมถึงยอดโอนในกลุ่มลูกค้าต่างชาติ โดยล่าสุด แสนสิริได้เริ่มรุกตลาดเชียงใหม่ ด้วยการเปิดตัว “1517 NIMMAN” (1517 นิมมาน) Co - Business I Living Space พื้นที่ที่รวมธุรกิจ และการอยู่อาศัยเป็นหนึ่งเดียว ราคาเริ่มต้น 5.9 ล้านบาท บนพื้นที่ขนาด 2 ไร่ จำนวน 23 ยูนิต ขณะที่ตลาดท่องเที่ยวในภูเก็ต  มีทิศทางที่ดี จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน ภายใต้โครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์” ที่ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ทำให้ตลาดเริ่มกลับมาคึกคัก ยังรวมถึงสัญญาณที่ดีในตลาดต่างชาติ จากยอดโอน XT ห้วยขวาง ซึ่งกลุ่มลูกค้าต่างชาติให้ความเชื่อมั่นแสนสิริ และตอบรับโอนไปแล้วกว่า 60%    
ASM  แตกธุรกิจ “Always Clean”  บริการทำความสะอาด-ฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค  

ASM แตกธุรกิจ “Always Clean” บริการทำความสะอาด-ฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค  

ASM ผู้ให้บริการงานรักษาความปลอดภัย ในเครือล็อกซเล่ย์ แตกไลน์ธุรกิจ Always Clean by ASM บริการทำความสะอาดและฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรคครบวงจร รับวิถีชีวิตปกติใหม่ สู้ภัยวิกฤติโควิด-19     นางสาวพัทธ์ธีรา ลภัสเศรษฐศิริ รองกรรมการผู้จัดการกลุ่มงานปฏิบัติการ รักษาความปลอดภัยและบริการ บริษัท รักษาความปลอดภัย เอเอสเอ็ม แมเนจเมนท์ จำกัด หรือ  ASM  เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำความสะอาดและฉีดพ่นน้ำยากำจัดเชื้อโรคจึงเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการร้านค้า และองค์กรต่าง ๆ เริ่มตระหนักถึงการทำความสะอาดและการฉีดพ่นน้ำยากำจัดเชื้อโรคมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่บริษัทฯ จะเดินหน้าสู่ธุรกิจบริการทำความสะอาดครบวงจร ภายใต้ชื่อ ออลเว็ส คลีน บาย เอเอสเอ็ม (Always Clean by ASM) เพื่อตอบโจทย์กับความต้องการในยุคความปกติใหม่ (New Normal) การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังพบผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์กลุ่มก้อนเดิม และคลัสเตอร์ใหม่ในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการร้านค้า และองค์กรต่าง ๆ เริ่มยกระดับมาตรการทำความสะอาดและการฉีดพ่นน้ำยากำจัดเชื้อโรคถี่มากขึ้น หลังพบผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้บริการของ ออลเว็ส คลีน เติบโตสูงขึ้นตามลำดับ โดยบริษัทได้เริ่มให้บริการดังกล่าวมาตั้งแต่ปลายปี 2561 และได้รับการตอบรับที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะช่วงต้นปีจนถึงปัจจุบัน  การให้บริการเติบโตขึ้นกว่า 33% มีลูกค้าจองคิวใช้บริการเฉลี่ย 25 รายต่อวัน แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าประเภทบ้านและคอนโดฯ 80% องค์กรธุรกิจ 10% ร้านค้า ร้านอาหาร 8% และอื่นๆ 2%   สำหรับจุดแข็งของการให้บริการออลเว็ส คลีน คือ มาตรฐานการรับรองด้านความปลอดภัย ที่สร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้กับลูกค้า การเลือกใช้น้ำยากำจัดเชื้อโรคคุณภาพสูง ซึ่งเป็นน้ำยาพิเศษนำเข้าจากต่างประเทศ สามารถกำจัดเชื้อโรคได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น ไวรัสโควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ ไวรัส H1N1 ไวรัสเมอร์ส เชื้อรา เชื้อไมโคแบคทีเรีย เชื้อสปอร์ และไวรัสต่างๆ   นอกจากนี้ พนักงานทุกคนยังผ่านการตรวจคัดกรอง และได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นที่เรียบร้อย โดยจะมีเข็มกลัดติดที่อกเป็นสัญลักษณ์ว่าฉีดวัคซีนครบโดสแล้วเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า ที่สำคัญพนักงานทุกคนผ่านการตรวจประวัติอาชญากรรม ได้รับการฝึกอบรมด้านการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัท โดยบริการหลักของ “ออลเว็ส คลีน บาย เอเอสเอ็ม” ประกอบไปด้วย 1.บริการฉีดพ่นกำจัดเชื้อโรคที่ใช้น้ำยาพิเศษเฉพาะที่นำเข้าจากต่างประเทศ สามารถกำจัดเชื้อโรคได้ทุกชนิด 2.บริการทำความสะอาด Big Cleaning โดยให้บริการทำความสะอาดสำนักงาน อาคาร โรงงาน โกดังเก็บสินค้าฯลฯ 3.บริการทำความสะอาดบ้านรายชั่วโมงในราคาจับต้องได้ 4.บริการทำความสะอาดบ้าน ออฟฟิศ โรงงาน รายเดือน 5.บริการดูดไรฝุ่นที่นอน โซฟา และผ้าม่าน 6.บริการอบโอโซน และ7.บริการล้างแอร์ ปัจจุบันบริษัทฯ ได้จัดโปรโมชั่นลดราคาพิเศษเมื่อใช้บริการทำความสะอาดบ้าน 4 ชั่วโมง และฉีดพ่นกำจัดเชื้อโรค จะได้รับสิทธิสะสมแต้มแลกรับบริการฉีดพ่นกำจัดเชื้อโรคและกำจัดไรฝุ่นฟรีอีกด้วย  
อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด เดือนกรกฎาคม 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด เดือนกรกฎาคม 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน  ดูปฏิทินตอนนี้ ก็เป็นเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งก้าวสู่ครึ่งปีหลังของปี 2564 แล้ว แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น โดยยังไม่สามารถประเมินได้ว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติเมื่อไร แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่ปริมาณยังอาจจะไม่มากเพียงพอจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่   เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองยังไม่กลับมาเป็นปกติ ภาคธุรกิจต่างได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน รวมถึงภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่เกิดภาวการณ์ระบาดในระลอกแรก ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการต่างก็ทำแคมเปญการตลาด และการส่งเสริมการขายเพื่อสร้างยอดขาย ทำให้ช่วงที่ผ่านมาราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวลงลงมาอย่างมาก นับเป็นโอกาสที่ดีในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ที่มีความสามารถในการซื้อ และวางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว   นอกเหนือจากดีเวลลอปเปอร์จะทำแคมเปญการตลาดออกมามากมายแล้ว ด้านสถาบันการเงินเองก็มีแคมเปญ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อดึงฐานลูกค้าให้มาใช้บริการกับสถาบันของตนเองด้วย ลองมาเช็คกันดูว่า ตอนนี้ธนาคารแต่แห่งมีอัตราดอกเบี้ย สำหรับผู้กู้ซื้อบ้านเท่าไรกันบ้าง สำหรับอัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน เดือนกรกฎาคม 2564 ​1.ธนาคารกรุงเทพ สำหรับการธนาคารกรุงเทพ มีสินเชื่อบ้านบัวหลวง ที่ให้บริการลูกค้า 2 กลุ่ม คือ ลูกค้าพนักงานที่มีรายได้ประจำ และลูกค้าทั่วไป (อัตราดอกเบี้ยยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา) อัตราดอกเบี้ยเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ  วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท  (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1   ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% (MRR-1.00%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.50% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 4% (MRR-1.75%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4% (MRR-1.75%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.45%   อัตราดอกเบี้ยเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25%  (MRR-1.50%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.33% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.38% อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% (MRR-1.00%) หลังจากนั้น 5.25% (MRR-0.50%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.72% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.50%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.50%) หลังจากนั้น 5.25% (MRR-0.50%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.70% อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.25%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.41% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.38% -กรณีวงเงิน ตั้งแต่ 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย คงที่ปีแรก 4.75% หลังจากนั้น คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีวงเงินต่ำกว่า ​500,00 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันสิทธิการเช่า ​คิดอัตราดอกเบี้ย​ MRR-0.75% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันที่ดินเปล่าเพื่อการอยู่อาศัย คิดอัตราดอกเบี้ย ​MRR-0.25% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา   หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยนี้สําหรับผู้ที่ยื่นคําขอสินเชื่อพร้อมเอกสารครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 – 30 มิ.ย. 64 โดยผู้กู้ต้องลงนามในสัญญากู้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุมัติสินเชื่อ​และจดทะเบียนจำนองพร้อมเบิกเงินกู้งวดแรกหรือทั้งหมดภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญา -พนักงานที่มีรายได้ประจำ หมายถึง พนักงานที่มีรายได้หลัก หรือ มีความสามารถในการชำระคืนหลัก จากรายได้ประจำ -รูปแบบการชำ​ระแบบคงที่ เลือกผ่อนได้ทุกทางเลือก/รูปแบบการผ่อนชำ​ระแบบขั้นบันได เลือกผ่อนได้เฉพาะทางเลือกที่ 1 -อัตราส่วนวงเงินกู้สูงสุดและมูลค่าหลักประกันให้เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วนั ที่ 21 พ.ค.63 เท่ากับ 5.75% ต่อปี -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ​​ 2.ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อสำหรับบ้านใหม่ แคมเปญ สินเชื่อบ้านกรุงไทย…สุขใจถ้วนหน้า โดยไม่คิดค่า  ธรรมเนียมยื่นกู้  โดยมีการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดังนี้ แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.75%  ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 3.67% (MRR-2.55%) ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 3.77% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.67% (MRR-2.55%) ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 3.77% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72%  (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.70% ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 2.73% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.01% ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 4.02% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.0% ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 3.67% (MRR-2.55%)ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดดอกเบี้ย 3.92% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.67% (MRR-2.55%)ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดดอกเบี้ย 3.92% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.78% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 2.83% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.04% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.05% สินเชื่อสำหรับการกู้ซื้อบ้านที่ธนาคารออกค่าจดจำนองให้** และ ฟรี ค่าธรรมเนียมยื่นกู้ แบบทำประกัน  คิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.75% ปรับเพิ่มจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 4.17% (MRR-2.05%)ปรับลดจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.27% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.17% (MRR-2.05%)ปรับลดจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.27% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.03% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.06% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.12% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.13% แบบไม่ทำประกัน  คิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.0% ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 4.17% (MRR-2.05%) ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.42% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.17% (MRR-2.05%) ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.42% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.11% ปรับลดจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.16% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา = 4.15% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.16%   การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ* : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ 1.ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี 2.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ 3.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ **ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน ***อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,500 บาท/เดือน เงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด การพิจารณาสินเชื่ออยู่ภายใต้ดุลยพินิจของธนาคาร ยื่นสมัครสินเชื่อ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 MRR = 6.22% ต่อปี (ณ 1 เม.ย. 2564) 3.ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี มีสินเชื่อบ้านกรุงศรี เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (บ้านใหม่/บ้านมือสอง) สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยมีแคมเปญฟรี ค่าธรรมเนียมสำรวจ และค่าประเมิน ตั้งแต่ 1 มิ.ย.- 31 ส.ค. 64 สำหรับการกู้ในวงเงิน 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.9% ( MRR-3.15%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.05% (MRR-2.00%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป 4.95% (MRR-1.10%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.97% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.39% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.50% เดือนที่ 7-12 ดอกเบี้ย MRR-1.60% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.7% (MRR-1.35%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 4.95% (MRR-1.10%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.21% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.52% สำหรับการกู้เงินในวงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.55%  (MRR-3.50%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.3%  (MRR-2.75%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 4.7% (MRR-1.35%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.52% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.02% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.25% เดือนที่ 7-12 ดอกเบี้ย 4.1% (MRR-1.95%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.3% (MRR-1.75%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป 4.7%  (MRR-1.35%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.89% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.23%   หมายเหตุ * อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปี ในกรณีที่ลูกค้า ซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสาหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เฉพาะในปีที่ 1 จากอัตราดอกเบี้ยทุกทางเลือก ลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้ 1.ผลิตภัณฑ์ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการได้แก่ MRTA : แผนกรุงศรี เซฟตี้โลน 1 พลัส หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 1 หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 2 / MLTA : กรุงศรี รักบ้าน รักคุณ หรือกรุงศรี รักบ้าน รักคุณ พลัส เท่านั้น 2.กรณีผู้กู้หลักเป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ ประจำ​ต้องซื้อ MRTA/MLTA 100% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 70% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความ คุ้มครองไม่ต่ำกว่า 20 ปี 3.กรณีผู้กู้หลักเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องซื้อ MRTA/MLTA อย่างน้อย 80% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือซื้อย่างน้อย 50% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี 4.กรณีมีผู้กู้ร่วม สามารถซื้อ MRTA/MLTA เฉพาะผู้กู้หลักเพียงคนเดียวได้ หรือหากผู้กู้ร่วมประสงค์ที่จะซื้อ MRTA/MLTA ด้วย ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องมีทุนประกันขั้นต่ำในสัดส่วนที่เท่ากัน ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติตามที่ลูกค้าได้เลือกไว้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทประกันไม่ อนุมัติ MRTA/MLTA หรือในกรณีที่ลูกค้าขอยกเลิก MRTA/MLTA -ตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค. 63 อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.05% ต่อปี -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 64 – 31 ส.ค. 64 โดยจดจำานองและเบิกรับเงินกู้ภายในวันที่ 30 ก.ย. 64 -ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -การพิจารณา อนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด -วงเงินกู้อนุมัติสูงสุดเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด และไม่เกินกว่า วงเงินกู้สูงสุดต่อมูลค่าหลักประกัน (ราคาซื้อขาย) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์เรียกเก็บค่าเบี้ยปรับกรณีปิด ภาระหนี้ก่อนกำหนด (กรณีที่ลูกค้ารีไฟแนนซ์ไปสถาบันการเงินอื่นภายใน 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา) คิดเป็น 3% ของยอดหนี้คงเหลือ 4.ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย มีสินเชื่อกู้ซื้อบ้านสำหรับบ้านใหม่ให้กับลูกค้าทั่วไป โดยพิจารณาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีรายได้ประจำ และกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ ซึ่งเดือนนี้มีอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ระจำ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.9% (MRR-0.07%)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 5.4% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.97% (MRR)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 5.47% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.90% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 5.40% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.94% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 5.44% สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 6.4%(MRR+0.43%) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 5.9% หลังจากนั้น 6.47% (MRR+0.5%) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 5.97% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 6.40% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 5.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 6.44% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 5.94% หมายเหตุ : -อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% (ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63) -อัตราดอกเบี้ยข้างต้นสำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้สินเชื่อบ้านตั้งแต่ 1 ก.ค.  – 30 ก.ย. 64 -สำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภทรวมอาคารพาณิชย์ยกเว้น Refinance และการปล่อยกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า -มีค่าสำรวจและประเมินราคาหลักประกันโดยบริษัท โพรเกรส แอพไพรซัล หรือบริษัทประเมินที่ธนาคารรับรอง คิดขั้นต่ำ 3,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 5.ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารเกียรตินาคิน มีสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (บ้านใหม่ : กรณีซื้อบ้านจากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกําหนด) โดยคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราดเดิมเท่ากับเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ ดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  2.450%-2.750% ปีต่อไป ดอกเบี้ย  4.775% (MLR-1.75%) แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.650%-2.950% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.60%-2.99% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.80%-3.19% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว  โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการให้บริการและ​เว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่​ 18 สิวหาคม 2563 เท่กับ​ 6.525% ต่อปี 3.เลือกทําประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ​(MRTA)ผ่านธนาคาร ทุนประกันภัยเท่ากับวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาเอาประกันภัยขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลาการกู้ไม่ถึง 10 ปี ให้ระยะเวลาเอา​​​​​​ประกันภัยเท่ากับระยะเวลาการกู้ 4.กรณี Refinance ไปสถาบันการเงินอื่นก่อนครบ 3 ปี แรก คิดค่า​ Prepayment Penalty 3% ของเงินต้นคงค้าง 5.​กรณีเลือกใช้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแบบฟรีค่าจดจำนอง ​​หากลูกค้า Re-Finance หรือชําระปิดบัญชีก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ ลูกค้าต้องชำระค่าจดจำนองที่ธนาคาร เคยสำรองจ่ายให้แก่ธนาคาร​ 6.ค่าประเมินหลักประกันเริ่มต้น 3,210 บาท  ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท) 7.เบี้ยประกันอัคคี ​เป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด ​โดยผู้กู้สามารถเลือกทําประกันกับบริษัทที่น่าเชื่อถือใดก็ได้ ​ a.อัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุด ต่อหลักประกัน 100% ของราคาซื้อขายจริง หรือราคาประเมินธนาคาร แล้วแต่ราคาใดต่ำกว่า ยกเว้นธนาคารมีกำหนดเงื่อนไขพิเศษอื่น ๆ สำหรับบางโครงการ อาจจะได้รับอัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุดต่อหลักประกัน​ 100% b.ระยะเวลากู้สูงสุด ​30 ปี (อายุผู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปี สําหรับพนักงานเงินเดือนประจํา และไม่เกิน 70 ปี สําหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) 6.ธนาคารซีไอเอ็มบี ธนาคารซีไอเอ็มบี สินเชื่อบ้าน โฮมโลนฟอร์ยู ให้กับพนักงานประจำ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ และเจ้าของกิจการ  โดยคิดอัตราดอกเบี้ย เท่ากับเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ สำหรับพนักงานประจำ รายได้ 15,000 บาท หรือเจ้าของกิจการรายได้ 30,000 บาท ประเภททำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-3.10%) ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย 5.35% (MRR-2.00%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.25% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.07% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.55% (MRR-2.80%) หลังจากนั้น 5.35% (MRR-2.00%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.15% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR=7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 2563) 7.ธนาคารทีทีบี ธนาคารทีทีบี มีสินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับการซื้อบ้านหรือคอนโดจากโครงการทั่วไป จะได้รับฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ค่าจดทะเบียนจำนอง และค่าประเมินหลักทรัพย์ มีการคิดดอกเบี้ย ในอัตราเดียวกับช่วงเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ทางเลือก 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.05% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.45% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.05% (MRR-2.23%) หลังจากนั้น 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.46% ทางเลือก 3 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.65% MRR-1.63% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีดอกเบี้ย  4.38% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.56% ทางเลือกที่ 4 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 4.4% (MRR-1.88%) หลังจากนั้น 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.40% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา  4.57% สมัครไม่ครบผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 4.90% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.90% ทางเลือกที่ 6 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.8% (MRR-1.48%) หลังจากนั้น 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.87%   หมายเหตุ สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ สไมล์โฮม หรือ สไมล์โฮม พลัส ​ 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีทีบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต ttb (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต ttb แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) กู้ซื้อบ้าน คอนโดใหม่ กับทีทีบี รับข้อเสนอพิเศษ ด้วยอัตราดอกเบี้ย ให้เลือก 2 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท -รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษนาน 3 ปี -ฟรีประกันอัคคีภัยมูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง แบบที่ 2 สมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท​ -ฟรีประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 เม.ย. 64 -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ ทำเพื่อประโยชน์หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นกับผู้กู้ในขณะที่ยังชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของผู้กู้และธนาคาร และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อบ้านสำหรับลูกค้าทั่วไป โดยคิดอัตราดอกเบี้ย เท่ากับช่วงเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ แบบไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.995% ปีต่อไป MRR = 5.995% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.995% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.995% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.950% ปีต่อไป MRR = 5.995% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.950% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.983% หมายเหตุ -กรณีใช้ดอกเบี้ย​แบบทำประกัน​ Credit Life 70% กำหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลาเอาประกัน 70% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา โดยกำหนดให้เอาระยะเวลาขั้นต่ำ 10  ปี (กรณีระยะเวลากู้ตามสัญญาต่ำ​10 ปี กำหนดให้ระยะเวลาเอาประกันเท่ากับระยะเวลากู้ตามสัญญา) ​-ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ รับประกันภัยโดย บมจ. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต บริษัทนเครือกลุ่มเอฟดับบลิวดี หากต้องการสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับการประกันภัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์บริการลูกค้า โท​ร. 1315 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น. -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข ​​ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุก​ ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น ​การพิจารณารับประกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันภัย ของบริษัทประกันภัย -อัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารไทยพาณิชย์ เท่ากับ 5.995% ต่อปี ​(ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563) ซึ่งอาจะเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศธนาคาร -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ระบุในตารางเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ​ซึ่งอาจะมีความแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีลูกค้าบอกเลือกประกันชีวิต หรือขอเวนคืนกรมธรรม์ หรือทำประกันไม่ครบกำหนดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ​ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยวงเงินกู้ เป็นอัตราดอกเบี้ยทั่วไป  ตามประกาศธนาคาร ระยะเวลากู้ตามสัญญา วงเงิน ระยเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย คุณสมบัติ เอกสารปรกอบการพิจารณา และการอนุมัติเป็นไปตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด 9.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์  หรือ ธอส. มีสินเชื่อสำหรับการซื้อบ้านหลากหลายประเภท โดยประเภทสินเชื่อโครงการบ้าน ธอส. เพื่อคุณ ปี 2564 ​มีการคิดอัตราดอกเบี้ย ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา  ดังนี้ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.86% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.86% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.86% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.4% หมายเหตุ ยื่นคำขอกู้และอนุมัติตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 64 – 30 ธ.ค. 64   (ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเติมวงเงินของโครงการแล้ว) อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.15% ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 10.ธนาคารยูโอบี ธนาคารยูโอบี มีสินเชื่อบ้านสำหรับโคงการหมู่บ้านทั่วไป  โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ ทางเลือก 1 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.55% เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดดอกเบี้ย 3.35% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.55% (MRR-3.80%)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.35% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.87% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย  4.79% ทางเลือกที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.75% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.55% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.75% (MRR-3.60%)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.75% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.95% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.87% ทางเลือกที่ 3 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.0% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 2.80% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.95% (MRR-2.40%)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.75% หลังจากนั้น 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.65% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.90% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.80% ทางเลือกที่ 4 ไม่ทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.20% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 5.15% (MRR-2.20%) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.95% ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.85% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.96% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.88% หมายเหตุ -ขอสินเชื่อตั้งแต่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. 64 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายใน 30 ก.ค. 64 -อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาครยูโอบี >ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ >ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ -อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR=7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจะมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีไถ่ถอนจำนองเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น ​(Re-finance) ในช่วงระยะเวลา 3 ปีแรก นับจากวันที่กู้ จะมีค่าปรับ 3% ของยอดเงินต้นคงค้าง (เฉพาะวงเงินสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยเท่านั้น)​ -การอนุมัติสินเชื่อ​เป็นไปตำมหลักเกณฑ์ของธนาคาร​ -เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันเท่ากับ  7.35% ต่อปี ​(ตามประกาศธนาคารณ วันที่ 1 เม.ย. 64) อนึ่ง ธนาคารสามารถประกาศปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย​ MRR ได้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอนุญาตไว้​ -อัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ​เป็นไปตามประกาศที่ธนาคารจัดทำไว้  และประกาศให้ทราบตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารอาจเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยการปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการ หรือเว็บไซต์ของธนาคาร​ -ธนาคารยูโอบีในฐานะนายหน้าประกันภัย ​(ใบอนุญาตประกันชีวิต​เลขที่ ช.00026/2545 และใบอนุญาตประกันวินาสภัย​ เลขที่ ว.00020/2546) ทำหนี่เสนอผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยและเป็นผู้จัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย และอำนวยความสะดวกในการรับชำระเบี้ยประกันเท่านั้น  รับประกันชีวิตโดยบริษัท พรูเด็นเชียลประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), รับประกันวินาศภัยโดย บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ​จะเป็นผู้รับผิดชอบตามเงื่อนไข ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง 11.ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย คือ โฮมโลน โดนใจ สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้น 2.00% โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ย เท่ากับช่วงเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ แบบที่ 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.00% (MRR-5.35%) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.80% (MRR-3.55%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.10% (MRR-2.25% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10%  (ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท 2 ปีแรก) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.20% (MRR-3.15%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 3 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.55% (MRR-4.80%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.63% แบบที่ 4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยคงที่ 2.75% (ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท 3 ปีแรก) ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.76% เงื่อนไข กรณีลูกค้าเลือกทำประกัน MRTA/MLTA ผ่านธนาคาร : 1.กรณีที่ลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ผ่านธนาคาร ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1%  ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือ สูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือ เปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ภายใน 5 ปีแรก ทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 2.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี หมายเหตุ -โครงการจัดสรรในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เท่านั้น* -ราคาซื้อขายของหลักประกันต้องมีราคา (แนวราบ) ไม่น้อยกว่า 2.00 ล้านบาท , (แนวสูง) ไม่น้อยกว่า 2.50 ล้านบาท -ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำ ล้านละ 3,500 บาท  กรณีเลือกอัตราดอกเบี้ยคงที่** -ยกเว้น ค่าประเมินราคาหลักประกัน (โครงการจัดสรรทุกโครงการที่มีราคาซื้อขาย 2 ล้านบาทขึ้นไป)*** -ระยะเวลากู้สูงสุด 40 ปี รวมอายุผู้กู้ไม่เกิน 70 ปี**** -วงเงินกู้เพิ่มสูงสุด 10% จากสัญญาซื้อขาย เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน อัตราดอกเบี้ย 1) ทำประกัน MRTA/MLTA : ปีที่ 1-3 : MRR – 2.75% = 4.60% หรือ 2) ไม่ทำประกัน MRTA/MLTA : ปีที่ 1-3 : MRR – 2.25% = 5.10% , หลังจากนั้นปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR = 7.35% ***** -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.35% (ณ 1 เม.ย. 64) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -การพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละรายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่ธนาคารกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์การพิจารณาสินเชื่อ โดยอยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆเป็นไปตามประกาศธนาคาร โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า -อัตราดอกเบี้ย และโปรโมชั่น (มีวงเงินสินเชื่อจำกัด) สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อ โดยเบิกรับเงินกู้ ตั้งแต่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. 64 12.ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสิน มีสินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนสบาย ปีแรก 0.50% ผ่อนสบาย ล้านละ 4,000 บาทต่อเดือน นาน 1 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ย เท่ากับช่วงเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ กรณีทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.025% (MRR-2.22%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย 5.245% (MRR-1.00%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.850% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.327% กรณีไม่ทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.750% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.275% (MRR-1.970%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.245% (MRR-1.00%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.100% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.424%   เงื่อนไขการใช้อัตราดอกเบี้ยโปรโมชั่น 1.ต้องสมัครบริการ MyMo และผลิตภัณฑ์/บริการอื่นของธนาคารเพิ่มอย่างน้อย 2 ประเภท ได้แก่ บัตรอิเล็กทรอนิกส์/ บัตรเครดิต หรือ สินเชื่อบัตรเงินสด / ชำระสินเชื่อหักผ่านบัญชี / ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ทั้งนี้ หากลูกค้ใช้ผลิตตภัณฑ์/ บริการ ตามที่กหนดอยู่แล้วสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวได้ กรณีไม่มี Smartphone ให้สมัครผลิตภัณฑ์ / บริการอื่นของธนาคารตามที่กำหนดทดแทนได้ 2.กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนครบกำหนด 3 ปี ทุกกรณี คิดค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ธนาคารกระกาศกำหนด เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมบริการประเภทต่าง ๆ (ปัจจุบัน 3% ของยอดเงินต้นคงเหลือ) 3.สินเชื่อเคหะ สามารถเลือกชำระแบบผ่อนต่ำ โดยเงินงวดผ่อนชำระต่อจำนวนเงินกู้สินเชื่อเคหะ 1 ล้านบาท ปีที่ 1 เท่ากับ 4,000 บาท /เดือน ยกเว้น กรณีกู้ปลูก​สร้าง/ต่อเติมซ่อมแซม ไม่สามารถเลือกชำระแบบผ่อนต่ำได้ หมายเหตุ 1.ประกัน หมายถึง ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 2.อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ MRR=6.245% (ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2563) 3.อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี     บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดท ดอกเบี้ยเงินกู้ รีไฟแนนซ์บ้าน เดือนกรกฎาคม 2564 อัพเดท ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน-คอนโด เดือนมิถุนายน 2564
“ออริจิ้น”โชว์พรีเซลครึ่งปีแรก ทำยอดทะลุ 54% ของเป้าทั้งปี 

“ออริจิ้น”โชว์พรีเซลครึ่งปีแรก ทำยอดทะลุ 54% ของเป้าทั้งปี 

“ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้” โชว์ยอดพรีเซลครึ่งปีแรก 15,700 ล้าน ทะลุ 54% ของเป้าหมายทั้งปี ขณะที่ไตรมาส 2 กวาดยอดขายไป 8,000 ล้าน ส่วนไตรมาส 3 เล็งส่ง 5 โครงการใหม่ เจาะหลากเซ็กเมนท์ ดันยอดขายสู่ 29,000 ล้านบาท สร้างสถิติใหม่ All Time High ตามเป้า    นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI   เปิดเผยถึงยอดขายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564  ว่า บริษัทมียอดขายสะสมแล้วกว่า 15,700 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ถึง 37% และคิดเป็นสัดส่วน 54% ของเป้าหมายปีนี้ ที่ตั้งไว้ 29,000 ล้านบาท  โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 2/2564 บริษัทมียอดขายกว่า 8,000 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ราว 22%   สำหรับยอดขายในไตรมาส 2 มูลค่า 8,0000 ล้านบาท ​ แบ่งเป็นยอดขายจากกลุ่มบ้านจัดสรร 25% และกลุ่มคอนโดมิเนียม 75% หากแบ่งตามสถานะโครงการ มี ยอดขายจากโครงการพร้อมอยู่ (Ready to move) สัดส่วน 71% และยอดขายจากกลุ่มโครงการที่เพิ่งเปิดขายหรืออยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง (Ongoing) สัดส่วน​ 29% โดยโครงการที่มีส่วนสำคัญในการสร้างยอดขายใหม่ช่วงไตรมาส 2/2564 คือ โครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (Investment Property) แบรนด์แรกของบริษัทอย่าง แฮมป์ตัน (Hampton) และแบรนด์บ้านจัดสรรมิกซ์โปรดักส์ (Mixed Products) บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮมระดับไฮเอนด์-ลักชัวรีอย่าง แกรนด์ บริทาเนีย (Grand Britania)    ล่าสุด แฮมป์ตัน ศรีราชา โครงการร่วมทุนกับกลุ่มดุสิตธานีสามารถทำยอดขายได้แล้วกว่า 90% ถือเป็นก้าวแรกของความสำเร็จในการเข้าสู่ตลาด Investment Property ขณะเดียวกัน แกรนด์ บริทาเนีย ราชพฤกษ์-พระราม 5 บ้านจัดสรรในฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ที่เพิ่งเปิดขายอย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาส 2/2564 ก็ได้กระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้าอย่างมากเช่นเดียวกัน   นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า  นอกจากยอดขายในฝั่งโครงการเปิดตัวใหม่ เรายังใช้ความเข้าใจใน Insight ของผู้บริโภคมาเป็นแนวทางในการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดแคมเปญ Final War, Final Price เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงคอนโดมิเนียมไฮเอนด์คุณภาพในราคาสุดคุ้ม การงัดกลยุทธ์ Online Marketing  มาประยุกต์สร้างช่องทางขายเชิงรุกใหม่ผ่าน Property Live การจับมือกับ Bitkub เพิ่มช่องทางการซื้อขายให้แก่ผู้บริโภคด้วยคริปโทเคอร์เรนซี   การปรับตัวทั้งหมดถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรายังรักษาการเติบโตของยอดขายได้อย่างยอดเยี่ยม แม้ในช่วงที่ภาคเศรษฐกิจจะได้รับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 สำหรับสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งปีหลัง ยังอยู่ในช่วงต้องจับตาดูสถานการณ์ภาพรวมของประเทศอย่างใกล้ชิด อาทิ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและการเยียวยาภาคส่วนต่างๆ ของภาครัฐ ความเร็วของการกระจายการฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) หากภาครัฐสามารถดำเนินการเรื่องดังกล่าวได้ดี จะช่วยให้เศรษฐกิจภาพรวมและภาคอสังหาริมทรัพย์ได้อานิสงส์ไปด้วย อย่างไรก็ดี ออริจิ้น จะเดินหน้าปรับตัวให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ ควบคู่กับการเดินหน้าเปิดตัวโครงการใหม่ตามแผนงานที่วางไว้ โดยในไตรมาส 3/2564 บริษัทจะเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 5 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 4,580 ล้านบาท ได้แก่ บริทาเนีย ติวานนท์-ราชพฤกษ์ และบริทาเนีย ราชพฤกษ์-นครอินทร์ ต่อยอดความสำเร็จของบ้านจัดสรรฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ โครงการแฮมป์ตัน ระยอง ต่อยอดความสำเร็จตลาด Investment Property รวมถึงแบรนด์ใหม่ “ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์” (Origin Plug & Play) คอนโดมิเนียมเจาะกลุ่มสตาร์ทอัพ ภายใต้ชื่อออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ รามคำแหง ทริปเปิ้ล สเตชั่น และแบรนด์ “บริกซ์ตัน” (Brixton) เจาะกลุ่มความต้องการเฉพาะ (Affordable Niche) อย่างบริกซ์ตัน เพ็ท แอนด์ เพลย์ สุขุมวิท 107 คอนโดมิเนียมเลี้ยงสัตว์ได้โครงการแรกของบริษัท เชื่อมั่นว่าจากความเข้าใจ Insight ของผู้บริโภค และความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว จะส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างสถิติยอดขาย All Time High ได้ตามเป้า    
LGBTQ+ เลือกซื้อที่อยู่อย่างไร ในไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย

LGBTQ+ เลือกซื้อที่อยู่อย่างไร ในไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย

ชาว LGBTQ+ หรือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ปัจจุบันมีบทบาทสำคัญในทุกธุรกิจและสังคม แม้ว่าอาจจะมีบางสังคมหรือประเทศ ยังไม่ได้ให้สิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกับเพศชายและหญิงทั่วไปก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่ากลุ่มคนเหล่านี้ มีส่วนสำคัญต่อการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมในหลายเรื่องด้วยกัน   นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะมีอำนาจในด้านการใช้จ่ายเงินสูง จากการประสบความสำเร็จในสายอาชีพต่าง ๆ มีรายได้สูง แต่ไม่มีภาวะด้านการเลี้ยงดูบุตร และเป็นกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญต่อการใช้จ่าย เพื่อสร้างความสุขให้กับตนเอง ​ ข้อมูลจากรายงาน LGBT GDP, WEALTH & TRAVEL DATA 2018 โดย LGBT Capital คาดการณ์ว่าทั่วโลกมีจำนวนประชากรกลุ่ม LGBTQ+ ประมาณ 6.5% หรือประมาณ 496 ล้านคน อยู่ในแถบเอเชียประมาณ 293 ล้านคน โดยประชากร LGBTQ+ ชาวไทยมีถึง 4.5 ล้านคน ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้มีกำลังซื้อและพฤติกรรมการใช้เงินในระดับดี มีการประมาณส่วนแบ่งความมั่งคั่งในครัวเรือนของผู้บริโภค LGBTQ+ ชาวไทยอยู่ที่ 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ งานวิจัยของเอาท์ นาว คอนซัลติ้ง ร่วมกับ เวิลด์ ทราเวล มาร์เก็ต (WTM) เผยว่าชาว LGBTQ+ ใช้จ่ายไปกับการท่องเที่ยวสูงถึง 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเลยทีเดียว เนื่องจากการที่ชาว LGBTQ+ ส่วนใหญ่มักไม่มีบุตรจึงไม่มีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ จึงเลือกวางแผนชีวิตอย่างเป็นรูปแบบและใช้จ่ายเพื่อซื้อความสุขให้ตัวเองตามไลฟ์สไตล์ที่สนใจมากขึ้นแทน   ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มชาวLGBTQ+ ก็มีบทบาทสำคัญ เพราะมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อใช้ในการพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่กลุ่มคนเหล่านี้ มักจะมีความชื่นชอบและความหลากหลายในการเลือกซื้อของใช้ ซึ่งเป็นไปตามไลฟ์สไตล์ของตนเอง  แต่ที่สำคัญกลุ่มชาว LGBTQ+ มักจะเลือกซื้อที่ดีมีคุณภาพ และตอบโจทย์ความต้องการและไลฟ์สไตล์ของพวกเขาอย่างแท้จริง ซึ่งไม่เว้นการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ​​   ข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study พบว่า ความต้องการของชาว LGBTQ+ ทางด้านตลาดอฯ นั้น ยังสอดคล้องกับผู้บริโภคส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยภายในที่ผู้บริโภคชาวไทยให้ความสำคัญ เมื่อต้องเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การพิจารณาขนาดที่อยู่อาศัยมาก่อนถึง 48% ตามมาด้วยความครบครันของสิ่งอำนวยความสะดวก (44%) และความคุ้มค่าของราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอย (38%) ในขณะที่ปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยนั้น ผู้บริโภคเกินครึ่ง (54%) ให้ความสำคัญเรื่องทำเลที่ตั้งมากที่สุด ตามมาด้วยความสะดวกสบายจากการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ (50%) และความปลอดภัยในโครงการ (45%) 4 อินไซต์ วิธีเลือกที่อยู่อาศัยชาว LGBTQ+ ชาว LGBTQ+ เป็นกลุ่มคนที่เต็มที่ในทุกเรื่องแบบ “Work hard, play harder” ไม่เว้นแม้แต่การเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจว่า คนกลุ่มนี้ชื่นชอบที่จะพักอาศัยในคอนโดเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วไลฟ์สไตล์ของชาว LGBTQ+ มีความหลากหลายมากกว่านั้น แต่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง แถมยังมีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ ลองมาดูกันว่าสไตล์การเลือกที่อยู่อาศัยของชาว LGBTQ+ เป็นอย่างไรบ้าง 1.พื้นที่ใช้สอยคุ้มค่า รองรับชีวิตแบบมัลติไลฟ์สไตล์ ชาว LGBTQ+ มีรูปแบบการใช้ชีวิตที่หลากหลาย จะเห็นได้จากกิจกรรมยามว่างที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการร่วมสังสรรค์/ปาร์ตี้เพื่อเข้าสังคม พักผ่อนภายในบ้านกับงานอดิเรกไม่ว่าจะเป็นสร้างมุมปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว แยกมุมทำงานเป็นสัดส่วน โซนอเนกประสงค์ไว้เล่นเกมหรือทำกิจกรรมสานสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง   นอกจากนี้ ชาว LGBTQ+ ส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่มีบุตร จึงนิยมมีงานอดิเรก เช่น เลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อนแก้เหงา ที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมนอกบ้านจึงจำเป็นไม่แพ้กัน บ้านหรือคอนโดที่มีพื้นที่ใช้สอยเพียงพอรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายเหล่านี้ รวมทั้งการมีพื้นที่ส่วนกลางที่มาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันจึงเป็นตัวแปรลำดับแรก ๆ 2.สุขนิยม สุขภาพดีทั้งกายและใจต้องมา ผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์และรูปร่าง จึงให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพมาเป็นอันดับต้น ๆ โครงการอสังหาฯ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางที่ตอบโจทย์พฤติกรรมเพื่อสุขภาพนี้ จะได้คะแนนจากผู้บริโภคที่อยู่ระหว่างการเลือกหรือตัดสินใจซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย สอดคล้องกับข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ล่าสุด พบว่า สิ่งอำนวยความสะดวกยอดนิยมในคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการบ่อยที่สุดจะเน้นไปที่การออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพมาเป็นอันดับต้น ๆ โดยเกือบครึ่งของผู้บริโภค (47%) เลือกใช้บริการที่ออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพเป็นประจำ ตามมาเกือบ 1 ใน 3 ใช้บริการสระว่ายน้ำ (32%) และห้องโถงอเนกประสงค์ 13% 3.ชอบการท่องโลกออนไลน์ อินเทอร์เน็ตต้องพร้อมใช้ ข้อมูลจากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA พบว่า LGBTQ+ เป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดถึง 11 ชั่วโมง 20 นาทีต่อวัน ถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเพศชายและหญิง เมื่อรวมกับเทรนด์ในปัจจุบันประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมของชาว LGBTQ+ มีการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในหลายมิติมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์คอนเทนต์หลากหลายรูปแบบ ฝึกฝนและเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ หรือใช้เป็นช่องทางในทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโครงการที่มีคุณภาพและเสถียรต้องตอบโจทย์นี้ ไม่ว่าจะอยู่ภายในที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ส่วนกลาง 4.ใส่ใจการออกแบบ สะท้อนตัวตนผู้อยู่ ความพิถีพิถันใส่ใจทุกรายละเอียด เป็นอีกอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชาว LGBTQ+ ซึ่งรวมถึงเรื่องที่อยู่อาศัยที่สะท้อนตัวตนได้เป็นอย่างดีพอ ๆ กับการดูแลรูปลักษณ์ภายนอกหรือเครื่องแต่งกาย ผู้บริโภคจะพิจารณาการออกแบบและตกแต่งที่สะท้อนบุคลิกอย่างมีสไตล์ การออกแบบเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน รวมถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่เข้ากันกับบ้าน "กฎหมาย" อุปสรรคการซื้อบ้าน​ชาว LGBTQ+    แม้สังคมไทยปัจจุบันจะเปิดรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ยังไม่มีการรับรองความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิตอย่างเป็นทางการ จึงส่งผลต่อการทำธุรกรรมของชาว LGBTQ+ เมื่อต้องการซื้ออสังหาฯ จึงเป็นข้อจำกัดสำคัญของคู่รักชาว LGBTQ+ ที่ต้องการใช้สิทธิกู้ร่วมไม่น้อย โดยทั่วไปแล้วการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของชาว LGBTQ+ หากเป็นการกู้เพียงลำพังก็สามารถดำเนินการยื่นขอสินเชื่อได้ทันทีไม่ต่างจากเพศชายและเพศหญิง แต่ไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในฐานะผู้กู้ร่วมได้เฉกเช่นคู่รักทั่วไปได้ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขของธนาคารที่ระบุว่าผู้กู้ร่วมนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกัน เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ร่วมเชื้อสายเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเป็นชายหญิงที่เป็นคู่สมรสกัน ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ ในขณะที่ปัจจุบันกฎหมายไทยยังไม่รองรับการจดทะเบียนสมรสของคู่รัก LGBTQ+ จึงทำให้ความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่มีผลทางนิตินัยไปโดยปริยาย ​   นอกจากนี้ ธนาคารประเมินว่าความเสี่ยงของการกู้ร่วมของกลุ่ม LGBTQ+ สูงกว่าของคู่สมรสชายหญิง และก็สูงกว่าการกู้ร่วมของชายหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส การรับรู้ความเสี่ยงที่สูงกว่านี้เป็นปัจจัยที่ธนาคารอาจพิจารณาให้วงเงินกู้ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการกู้ร่วมของคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส ทำให้ชาว LGBTQ+ อาจไม่ได้รับวงเงินสินเชื่อตามที่ตั้งเป้าไว้ หรือต้องปรับลดสเปกที่อยู่อาศัยที่ต้องการลงมา ซึ่งชาว LGBTQ+ ต่างรอติดตามความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ว่าจะเข้ามาช่วยลดช่องว่างของปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง   แม้ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... จะยังไม่รับรองสถานะของคู่รัก LGBTQ+ ทำธุรกรรมกู้ร่วมตามกฎหมายเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ในเวลานี้ อย่างไรก็ดีเวลานี้มีสถาบันการเงินหลายแห่งที่เปิดโอกาสให้คู่ LGBTQ+ สามารถยื่นเรื่องกู้สินเชื่อร่วมกันได้ภายใต้เงื่อนไขในการพิจารณาของแต่ละสถาบันฯ      
ตลาดที่อยู่อาศัย 4 จังหวัดภาคใต้ อัตราดูดซับต่ำ เหลือขายเฉียด 16,000 ยูนิต

ตลาดที่อยู่อาศัย 4 จังหวัดภาคใต้ อัตราดูดซับต่ำ เหลือขายเฉียด 16,000 ยูนิต

4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ถือเป็นจังหวัดสำคัญอันดับต้น ๆ ต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเป็นจังหวัดที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง จากหลากหลายธุรกิจ ทั้งภาคการท่องเที่ยว การค้า และอสังหาริมทรัพย์ เพราะถือเป็นจังหวัดจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว และพักอาศัยสำคัญของไทยแห่งหนึ่ง แต่การเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนักโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและอสังหาฯ ครึ่งหลัง ปี 63 ที่อยู่อาศัยเหลือขาย 15,952 ยูนิต สำหรับธุรกิจอสังหาฯ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ได้ทำการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขายใน 4 จังหวัดดังกล่าว  โดยเป็นผลสำรวจในช่วงครึ่งหลัง ปี 2563 และเป็นการสำรวจโครงการบ้านจัดสรรและอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ที่มียูนิตเหลือขายไม่ต่ำกว่า  6 ยูนิต โดยในช่วงที่ทำการสำรวจพบว่ามีจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขาย ณ ครึ่งหลัง ปี 2563  พบว่า มีทั้งหมด 339 โครงการ จำนวน 17,765 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 77,296 ล้านบาท จำแนกเป็นโครงการบ้านจัดสรร 257 โครงการ 10,592 ยูนิต มูลค่า 43,780 ล้านบาท และโครงการคอนโด 82 โครงการ 7,173 ยูนิต มูลค่า 33,516 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวมียูนิตเหลือขายของบ้านจัดสรรและคอนโดจำนวน 15,952 ยูนิต มูลค่ายูนิตเหลือขาย 70,632 ล้านบาท และในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่จำนวน 1,813 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 6,664 ล้านบาท   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC เปิดเผยว่าการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคใต้ ในพื้นที่ที่ทำการสำรวจ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขายลดลง -0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (YoY) และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 6 Half ล่าสุด โดยเป็นการลดลงของบ้านจัดสรร -6.6% และ แต่คอนโดเพิ่มขึ้น 9.6% เมื่อพิจารณาจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ มีจำนวนยูนิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 -19.2% และยูนิตขายได้ใหม่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลง -32.8% ส่งผลให้ยูนิตเหลือขายกลับมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น  5.0% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2562   โดยภาพรวมพบว่าที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขาย ณ ครึ่งหลังปี 2563 ของภาคใต้ลดลงเกือบทุกจังหวัด โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการลดลงมากที่สุด -8.8% รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ลดลง -3.8% จังหวัดภูเก็ต ลดลง -2.2% ซึ่งจังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดเดียวที่มีจำนวนที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขายเพิ่มขึ้น 11.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562  โดยจังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่ที่มียูนิตเปิดขายใหม่มากที่สุด รวม 1,260 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 4,017 ล้านบาท รองลงมาคือ จังหวัดภูเก็ต มียูนิตเปิดขายใหม่รวม 423 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 1,836  ล้านบาท ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี  มียูนิตเปิดขายใหม่รวม 324 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 998 ล้านบาท   อย่างไรก็ตามจำนวนยูนิตเหลือขาย และยูนิตขายได้ใหม่ ยังคงเป็นประเด็นที่น่าจับตาโดย ณ ครึ่งหลัง ปี 2563 ในภาคใต้ มีอุปทานเหลือขายจำนวน 15,952 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 70,632 ล้านบาท จำแนกเป็นบ้านจัดสรร 9,798 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 40,753 ล้านบาท และคอนโด 6,154 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 29,879 ล้านบาท เมื่อแยกตามสถานะของการก่อสร้างของยูนิตเหลือขายทั้งหมด พบว่า ส่วนใหญ่  45.5% อยู่ระหว่างการก่อสร้าง รองลงมา  34.4% ยังไม่ก่อสร้าง และที่เหลือ  20.0% ก่อสร้างเสร็จแล้ว หากแยกตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า บ้านจัดสรรส่วนใหญ่ 42.6%  อยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยยังไม่ก่อสร้าง 35.8% และสร้างเสร็จแล้ว 21.6% ส่วนคอนโดส่วนใหญ่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 50.2%  ยังไม่ก่อสร้าง 32.3% และสร้างเสร็จแล้ว 17.5% ตามลำดับ ปี 64 เปิดตัวใหม่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยกว่า 5,000 ยูนิต ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ได้ประมาณการทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ในพื้นที่สำรวจ ปี 2564 โดยคาดว่า ณ ครึ่งแรกปี 2564 จะมีที่อยู่อาศัยรอการขายจำนวน 16,738 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 76,070 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 16,941 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 76,697 ล้านบาท ในครึ่งหลังปี 2564 ในขณะที่อัตราดูดซับต่อเดือนของบ้านจัดสรร คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 1.1% ในครึ่งแรกปี 2564 และอยู่ที่ 1.2% ในครึ่งหลังปี 2564 ส่วนอัตราดูดซับต่อเดือนของคอนโดคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 1.4% ในครึ่งแรกปี 2564 และอยู่ที่ 1.5% ในครึ่งหลังปี 2564   สำหรับการเคลื่อนไหวด้านการเปิดตัวโครงการใหม่ประมาณการว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยคาดว่าจะมีการเปิดโครงการใหม่ประมาณ 2,308 ยูนิต ในครึ่งแรกปี 2564 และเปิดใหม่อีก  2,711 ยูนิต ในครึ่งหลังปี 2564 ในขณะที่จำนวนยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์ ณ ครึ่งแรกปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ  8,663 ยูนิต มูลค่า 22,400 ล้านบาท และยูนิตโอนกรรมสิทธิ์จะเพิ่มขึ้นมาเป็น 9,893 ยูนิต มูลค่า 25,125 ล้านบาท ในครึ่งหลัง ปี 2564  ภูเก็ตครึ่งหลังปี 63 ขายได้ใหม่ลด 72.5% ผลสำรวจจังหวัดภูเก็ต จำนวนที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขาย ณ ครึ่งหลังปี 2563 มีอัตราลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562  -2.2% โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 9,044 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 3,384 ยูนิต หรือ 37.4% เป็นโครงการคอนโด 5,660 ยูนิต หรือ 62.6% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 เพียง 423 ยูนิต มีอัตราลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 -65.0% มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 443 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราลดลงถึง -72.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 8,601 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้น 12.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 3,383 ยูนิต ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 170 ยูนิต   สำหรับยูนิตเหลือขายที่สร้างเสร็จ หรือ Inventory ในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดภูเก็ต มีจำนวนยูนิตทั้งหมด 1,335 ยูนิต เป็นคอนโด 878 ยูนิต คิดเป็น 65.8% ของ Inventory ทั้งหมด และบ้านจัดสรร 457 ยูนิต คิดเป็น 34.2%  ของ Inventory ทั้งหมด ปี 64 คาดที่อยู่เปิดใหม่ภูเก็ต กว่า 3,000 ยูนิต โดยทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูเก็ต ปี 2564 คาดการณ์ว่าในช่วง H1/64 โครงการเปิดขายใหม่ จะสูงกว่า H1/63  6.3% และ H2/64 จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก H2/63   296.7% รวมคาดว่ามียูนิตเปิดใหม่ปี 2564 จำนวน 3,005 ยูนิต มูลค่า 17,045 ล้านบาท ด้านยูนิตขายได้ใหม่ ช่วง H1/64 จะต่ำกว่า H1/63  -19.8% โดย H2/64 จะเพิ่มขึ้น  47.2% จาก H2/63 ยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมี 1,246 ยูนิต มูลค่า 5,402 ล้านบาท ส่วนยูนิตเหลือขาย H1/64 จะเพิ่มจาก H1/63  3.5% ส่วน H2/64 จะลดลง  -1.5% เมื่อเทียบกับ H2/63 สำหรับยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 8,468 ยูนิต มูลค่า 47,775 ล้านบาท   ด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ H1/64 ยูนิตโอนกรรมสิทธิ์จะเพิ่มขึ้นจาก H1/63  19.9% และมูลค่าโอนฯจะเพิ่มขึ้น 20.0% ส่วน H2/64 มีแนวโน้มว่ายูนิตโอนกรรมสิทธิ์จะเพิ่มขึ้นจาก H2/63   19.1% และมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์จะเพิ่มขึ้น  21.8% เมื่อเทียบกับ H2/63 โดย ปี 2564 มียูนิตโอนกรรมสิทธิ์รวมประมาณ 6,374 ยูนิตมูลค่ารวม 21,161 ล้านบาท สงขลาครึ่งปีหลัง 63 เปิดใหม่ 1,260 ยูนิต ผลสำรวจจังหวัดสงขลา จำนวนที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขายมีอัตราเพิ่มขึ้น 11.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 4,250 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 2,951 ยูนิต หรือ 69.4% เป็นโครงการคอนโด 1,299 ยูนิต หรือ 30.6% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 จำนวน 1,260 ยูนิต โดยเพิ่มขึ้น 49.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 สำหรับยูนิตขายได้ใหม่ มีจำนวน 950 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราเพิ่มขึ้น 23.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 3,300 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้น 8.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 1,285 ยูนิต ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดอยู่ในช่วงราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 473 ยูนิต ปี 64 คาดสงขลา ขายที่อยู่ได้แค่ 942 ยูนิต ตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดสงขลา คาดว่าในช่วง H1/64 ยูนิตเปิดใหม่จะสูงกว่า H1/63 19.5% และ H2/64 จะลดลง -54.0% จาก H2/63 โดยยูนิตเปิดใหม่รวมในปี 2564 คาดว่าจะมี 1,124 ยูนิต มูลค่า 3,991 ล้านบาท ยูนิตขายได้ใหม่ H1/64 จะต่ำกว่า H1/63  -8.9% ช่วง H2/64 จะยังคงลดลงต่อเนื่อง -46.3% จาก H2/63 ยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมี 962 ยูนิต มูลค่า 3,043 ล้านบาท สำหรับยูนิตเหลือขาย H1/64 ยูนิตเหลือขายจะเพิ่มจาก H1/63  16.9% และ H2/64 ยูนิตเหลือขายจะยังคงเพิ่มขึ้น  11.8% เมื่อเทียบกับ H2/63 สำหรับยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 3,690 ยูนิต มูลค่า13,183 ล้านบาท ครึ่งหลังปี 63 จ.สุราษฎร์ฯ ที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 324 ยูนิต ผลสำรวจจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวนที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขายมีอัตราลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562  -8.8% โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 2,906 ยูนิต  ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 2,737 ยูนิต หรือ  94.2% เป็นโครงการคอนโด 169 ยูนิต หรือ 5.8% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 จำนวน 324 ยูนิต มีอัตราลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562  -41.7% มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 331 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราเพิ่มขึ้นในอัตรา 39.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 2,575 ยูนิต หรือลดลง -12.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 1,147 ยูนิต ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดอยู่ในช่วงราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 94 ยูนิต ปี 64 จ.สุราษฎร์ฯ คาดโอนที่อยู่อาศัย 9,707 ล้าน สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยูนิตเปิดขายใหม่ H1/64 จะสูงกว่า H1/63   926.5% โดย H2/64 จะเพิ่มขึ้น 12.7% จาก H2/63 ส่วนยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมี 714 ยูนิต มูลค่า 2,445 ล้านบาท โดยยูนิตขายได้ใหม่ H1/64 จะสูงกว่า H1/63  59.8% ส่วน H2/64 จะลดลง -27.8% จาก H2/63 ซึ่งยูนิตขายได้รวมในปี 2564 คาดว่าจะมี 450 ยูนิต มูลค่า 1,270 ล้านบาท โดยคาดว่ายูนิตเหลือขาย H1/64 จะเพิ่มจาก H1/63 4.5%  และ H2/64 ยูนิตเหลือขายจะยังคงเพิ่มขึ้นอีก 16.7% เมื่อเทียบกับ H2/63 สำหรับยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 3,006 ยูนิต มูลค่า 9,507 ล้านบาท   ในส่วนของการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย  H1/64 คาดว่าจำนวนยูนิตโอนฯ จะลดลงจาก H1/63  -7.3% แต่มูลค่าโอนฯ จะเพิ่มสูงขึ้น 20.6 และ H2/64 มีแนวโน้มว่ายูนิตโอนฯ จะเพิ่มจาก H2/63  29.9% และมูลค่าโอนฯ จะเพิ่มขึ้น 41.7%  เมื่อเทียบกับ H2/63 สำหรับยูนิตโอนและมูลค่าการโอนฯ รวมปี 2564 จะมีประมาณ 3,919 ยูนิต มูลค่า 9,707 ล้านบาท นครศรีธรรมราช ครึ่งหลัง 63 เปิดเพิ่ม 97 ยูนิต ผลสำรวจจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่ามีจำนวนที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขาย ณ ครึ่งหลังปี 2563  มีอัตราลดลง -3.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 1,565 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,520 ยูนิต หรือ 97.1% เป็นโครงการคอนโด 45 ยูนิต หรือ 2.9 % และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 จำนวน เพียง 97 ยูนิต ซึ่งทั้งหมดเป็นโครงการบ้านจัดสรร หรือเพิ่มขึ้นในอัตรา  100% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 สำหรับยูนิตขายได้ใหม่ มีจำนวน 89 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราเพิ่มขึ้น 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 1,476 ยูนิต หรือลดลง  -4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,433 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน  97.1% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 816 ยูนิต ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 43 ยูนิต ปี 64 ที่อยู่อาศัยจ.นครศรีธรรมราช เหลือขาย 1.778 ยูนิต สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช ยูนิตเปิดขายใหม่ H1/64 เพิ่มจาก H1/63 มาประมาณ 86 ยูนิต จากที่ H1/63 ไม่มียูนิตเปิดใหม่เลย โดย H2/64 คาดว่าจะลดลง  -9.3% จาก H2/63 ยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมี 174 ยูนิต มูลค่า 773 ล้านบาท ยูนิตขายได้ใหม่ H1/64 จะสูงกว่า H1/63  73.5%  ส่วน H2/64 จะลดลง -23.6% จาก H2/63 และยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมี 127 ยูนิต มูลค่า 441 ล้านบาท สำหรับยูนิตเหลือขาย H1/64 จะเพิ่มจาก H1/63 ประมาณ 13.7%  และ H2/64 ยูนิตเหลือขายจะยังคงเพิ่มขึ้น 20.5% เมื่อเทียบกับ H2/63 ยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 1,778 ยูนิต มูลค่า 6,232 ล้านบาท   ด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ H1/64 ยูนิตโอนกรรมสิทธิ์จะลดลงจาก H1/63  -38.1% และมูลค่าโอนฯ จะลดลง  -21.4% สำหรับ H2/64 มีแนวโน้มว่ายูนิตโอนฯ จะเพิ่มจาก H2/63   8.9% และมูลค่าโอนฯ จะเพิ่มขึ้น   30.4% เมื่อเทียบกับ H2/63 ส่วนยูนิตโอนฯ และมูลค่าการโอนฯ รวมปี 2564 จะมีประมาณ 2,778 ยูนิต มูลค่า 5,640 ล้านบาท    
“เดอะ ฟอเรสเทียส์” ทำผลงานแค่ 3 เดือน  ยอดขายเพิ่มสองเท่าทะลุ 13,000 ล้าน​

“เดอะ ฟอเรสเทียส์” ทำผลงานแค่ 3 เดือน ยอดขายเพิ่มสองเท่าทะลุ 13,000 ล้าน​

"เดอะ ฟอเรสเทียส์" เผยยอดขายดีเกินคาด แค่ 3 เดือน ยอดขายโครงการที่อยู่อาศัยรวม ทะลุ 13,000 ล้าน ​หลังคนเจอผลกระทบโควิด-19  หันมาให้ความสำคัญเรื่องการอยู่อาศัยในเมืองที่ให้สุขภาพที่ดี    นายกิตติพันธุ์ อุยยามะพันธุ์ ผู้อำนวยการโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เปิดเผยว่า โครงการที่พักอาศัยต่าง ๆ ใน เดอะ ฟอเรสเทียส์ สามารถทำขายได้มากกว่า 7,000 ล้านบาท ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ล่า สุดยอดขายโครงการ ทะลุ 13,000 ล้านบาทแล้ว  โดยแบ่งเป็นยอดขาย คอนโดมิเนียมแบรนด์ มัลเบอร์รี โกรฟ และ ที่อยู่อาศัยแบรนด์ มัลเบอร์รี โกรฟ ใน เดอะ ฟอเรสเทียส์ ด้วยมูลค่ามากกว่า 6,300 ล้านบาท ตามมาด้วยคอนโดแบรนด์ วิสซ์ดอม ที่มียอดขายมากกว่า 3,000 ล้านบาท   ในช่วงระยะเวลาสามเดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้ซื้อโครงการที่พักอาศัยใน เดอะ ฟอเรสเทียส์ มีจำนวนมากกว่าผู้ซื้อโครงการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เราประกาศที่จะสร้างโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ ให้เป็นเมืองที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพของผู้อยู่อาศัยเป็นอันดับแรก    นายกิตติพันธุ์ กล่าวอีกว่า  การที่ผู้คนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงการได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันกับครอบครัวมากขึ้น เป็นการตอบโจทย์แนวคิดสำคัญของโครงการ ที่ผสานธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน และการออกแบบที่ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวจากหลากหลายเจเนอเรชั่นได้มาอยู่ด้วยกัน   ล่าสุดได้เปิด ฟอเรสต์ พาวิลเลียน ซึ่งออกแบบโดย Foster+Partners จัดแสดงห้องตัวอย่าง 11 ห้องจาก 3 โครงการที่อยู่อาศัยในเดอะ ฟอเรสเทียส์ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยให้เข้ามาเยี่ยมชมภายในโครงการ และ ช่วยให้ผู้สนใจเห็นภาพแนวคิดสำคัญในการพัฒนาโครงการของเรา รวมทั้งคุณภาพของการออกแบบและรูปแบบของที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ สำหรับโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 398 ไร่ บนพื้นที่ยุทธศาสตร์ EEC บนถนนบางนา-ตราด กม. 7  ประกอบไปด้วยโครงการที่พักอาศัยหลากหลายรูปแบบ พื้นที่สีเขียว และสวนสาธารณะ พื้นที่สำหรับกิจกรรมชุมชน และพื้นที่เชิงธุรกิจสำหรับร้านค้าและสำนักงาน โดย เดอะ ฟอเรสเทียส์ เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่พัฒนาโดยบริษัทเอกชน   เดอะ ฟอเรสเทียส์ ประกอบไปด้วยที่อยู่อาศัยทั้งหมด 7 แบบ ซึ่งได้รับการออกแบบจัดสรรออกมาในหลายระดับราคาที่สอดคล้องสำหรับช่วงวัยต่างๆ และไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายรูปแบบ มุ่งเน้นการได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน พร้อมกับการเลือกใช้วัสดุและการออกแบบด้วยมาตรฐานคุณภาพสูงสุด โดยมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณ 5 ล้านบาท ไปจนถึง 250 ล้านบาท  โดยเดอะ ฟอเรสเทียส์ มีกำหนดสร้างเสร็จสมบูรณ์ทุกโครงการ ต้นปี 2567   ขณะที่อยู่อาศัยแบรนด์ มัลเบอร์รี โกรฟ ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบครอบครัวคนไทย ที่มีหลากหลายเจนเนเรชั่นอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยบ้าน มัลเบอร์รี โกรฟ แต่ละหลังจะมีขนาดที่แตกต่าง เชื่อมถึงกันได้ด้วยทางเดินพิเศษ มุ่งตอบโจทย์ครอบครัวใหญ่ให้สามารถใช้เวลาอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด แต่ยังคงมีความเป็นส่วนตัว และมีพื้นที่ที่แยกออกจากกัน เป็นแนวคิดรูปแบบใหม่ที่มีการออกแบบให้บ้านหลายขนาดเชื่อมต่อถึงกันเป็นคลัสเตอร์โฮม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของครอบครัว ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดย ‘มัลเบอร์รี โกรฟ วิลล่า’ ขายได้แล้วจำนวน 10 หลัง
พร็อพฟิต  เปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ Propfit  ดึง 900 รายสร้างยอดขายอสังหาฯ​ 3,200 ล้าน

พร็อพฟิต เปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ Propfit ดึง 900 รายสร้างยอดขายอสังหาฯ​ 3,200 ล้าน

พร็อพฟิต ลุยธุรกิจอสังหาฯ เปิดแพลตฟอร์มตัวแทนขายอสังหาฯ ออนไลน์ Propfit ชูคอนเซ็ปต์ ดีลครบจบง่ายได้มากกว่า หลังเห็น 2 ว่างโอกาสทางการตลาด ผู้บริโภคคุ้นเคยช้อปปิ้งออนไลน์​ และภาวะเศรษฐกิจผันผวน ดีเวลลอปเปอร์มองหาการทำงานที่ยืดหยุ่น ตั้งเป้าทำยอดขาย 3,200 ล้านบาท   นายฐิติพันธ์ เผ่าทรง ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริหารบริษัท พร็อพฟิต จำกัด (Founder & CEO) เปิดเผยว่า ได้เปิดตัว  Propfit (พร็อพฟิต) แพลตฟอร์มตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใหม่ หรือ Online Agent Platform​ ที่ใช้เทคโนโลยีมาเพิ่มศักยภาพให้กับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ช่วยปิดการขายได้รวดเร็ว และมีรายได้มากขึ้น โดยมีการ​ทำงานร่วมกับบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ซึ่งถือเป็นโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ที่จะมาปฏิวัติวงการตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์จากรูปแบบเดิม   “Propfit” เป็นแพลตฟอร์มตัวแทนขายอสังหาฯ ​ ด้วยรูปแบบการทำงานภายใต้คอนเซ็ปต์ “ดีลครบ จบง่าย  ได้มากกว่า” เป็นศูนย์รวมคอนโดฯ สำหรับนายหน้าอสังหาฯ  ที่สร้างช่องทางการเข้าถึงอสังหาฯ ​ในลักษณะการสร้างเครือข่ายในรูปแบบของ Online Agent Platform ที่มีขนาดใหญ่และมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด สามารถเข้าถึงอสังหาฯ ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยแพลตฟอร์มดิจิทัลทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ระหว่างเครือข่ายของ “ตัวแทนขาย/นายหน้าอสังหาริมทรัพย์” (Property Agent) และ “ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์” (Property Developer) ทั้งรายใหญ่ รายกลาง รายเล็ก ให้สามารถทำงานร่วมกันเพื่อปิดการขายโครงการอสังหาฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Propfit จะช่วยลดต้นทุน จากการนำเสนอวิธีการขายในรูปแบบใหม่ โดยผู้ประกอบการฯ ไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนสำหรับการตั้งทีมขายของตัวเอง ทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในสภาพตลาดที่มีความผันผวน​ ด้วย 3 เครื่องมือสนับสนุนที่ใช้งานง่าย ได้แก่ 1.Stock inventory ช่วยให้สามารถเข้าถึงสต๊อกโครงการต่าง ๆ กว่า 8,000 ยูนิต 2.Proposal module สามารถส่งข้อมูลรายการให้ลูกค้าสะดวกและเรียลไทม์ 3.Sales Pipeline Management ระบบบริหารการขายประสิทธิภาพสูง (Free beta)   โดยเครือข่ายนายหน้าอสังหาฯ ​จะได้รับข้อมูลสนับสนุนจาก Propfit ทั้งด้านการตลาดและบริการด้านการขาย (Marketing & Sale Service ) แพล็ตฟอร์มของ Propfit  ยังมีข้อได้เปรียบสำหรับการทำงาน คือ “Matching Mechanism” หรือระบบที่ Propfit เก็บข้อมูลเป็นรายสัปดาห์ ที่จะช่วยจับคู่ระหว่างยูนิตคอนโดมิเนียมเข้ากับความถนัดเฉพาะตัวของแต่ละตัวแทนขาย/นายหน้าอสังหาฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการที่ตัวแทนขายหรือนายหน้าอสังหาฯ ในแต่ละกลุ่มจะมีความถนัดเฉพาะตัว ทั้งในเรื่องของราคา พื้นที่ รวมถึงฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกกลุ่มนายหน้าให้เหมาะกับโครงการ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะดันให้นายหน้าสามารถปิดการขายได้รวดเร็ว   นอกจากนี้ Propfit ยังมีประสบการณ์ทำการตลาดให้กว่า 90 โครงการในเกือบทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ ผ่านแพล็ตฟอร์มดิจิทัล ที่มีข้อมูลลูกค้าครอบคลุมและอัปเดตอยู่ตลอดเวลา จึงเหมาะกับผู้ประกอบการฯ ที่เปิดโครงการใหม่ ซึ่งยังไม่เคยทำการตลาดจับกลุ่มลูกเป้าหมายในทำเลนั้น ๆ มาก่อน  โดยจะช่วยให้ทำการตลาดขายได้เร็วขึ้นและใช้งบประมาณน้อยลงด้วย นายฐิติพันธ์ กล่าวอีกว่า จากการมองเห็นช่องว่างธุรกิจจาก 2 ประเด็น คือหนึ่ง แม้ปัจจุบันผู้บริโภคจะคุ้นชินกับการซื้อขายออนไลน์เองโดยตรง แต่สินค้าประเภท high-Involvement อย่างอสังหาฯ ​ยังมีความจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องเข้าเยี่ยมชมโครงการเพื่อเปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจซื้อ จึงทำให้ที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญ พนักงานขาย และนายหน้ามีความสำคัญในกระบวนการขาย และการตัดสินใจของผู้บริโภค  ข้อสองคือความผันผวนของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 1-2 ปีนี้ เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำธุรกิจในรูปแบบเดิม โดยเฉพาะองค์กรที่มีความยืดหยุ่นน้อย การบริหารทีมงานแบบเดิม ๆ จะสู้กับคู่แข่งที่ปรับตัวได้เร็วและดีกว่าไม่ได้ จึงนับเป็นข้อได้เปรียบขององค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม   ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัทเปิดตัว Propfit ในระยะเวลาเพียง 18 เดือน พบว่ามีการตอบรับที่เกินความคาดหมาย โดยได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการอสังหาฯ รายใหญ่ อาทิ เอพี, อนันดา, พฤกษา  แสนสิริ  และบริษัทพัฒนาอสังหาฯ รายกลาง อาทิ Asset 5 และ Divine Development รวมทั้งเครือข่ายนายหน้าอสังหาฯ ​ที่สนใจร่วมงานกับบริษัทมากกว่า 900 ราย และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ​ จากโครงสร้างส่วนแบ่งคอมมิชชั่นที่สูงกว่าในระดับปกติ และการสนับสนุนด้านแพล็ตฟอร์มการทำงาน ที่ทำให้ปิดดีลได้ง่ายขึ้น สามารถเข้าถึงรายการอสังหาฯ ในสต๊อกกว่า 8,000 รายการ และรับลูกค้าจากระบบเพื่อเริ่มปิดการขายได้ทันที   โดยล่าสุด Propfit สามารถทำยอดขายคอนโด คิดเป็นมูลค่ารวม 2,000 ล้านบาท  ซึ่งนับเป็นบทพิสูจน์ถึงโมเดลธุรกิจใหม่ ที่มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจได้โดยไม่มีข้อจำกัด ซึ่งบริษัทยังได้วางเป้าหมายทางธุรกิจ ด้วยการเป็นเครือข่ายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย ภายในระยะเวลา 2 ปี  โดยในปี 2564 บริษัทวางเป้าหมายยอดขายไว้ที่ 3,200 ล้านบาท    
แอสเซทไวส์    เพิ่มทางเลือกแลกเงินดิจิทัล  จับมือ​ “Bitkub” ขยายฐานลูกค้า  New Gen  

แอสเซทไวส์   เพิ่มทางเลือกแลกเงินดิจิทัล จับมือ​ “Bitkub” ขยายฐานลูกค้า  New Gen  

แอสเซทไวส์  จับมือ​ “Bitkub” ​เพิ่มทางเลือกในการแลกเงินดิจิทัลเป็นเงินบาท เพื่อซื้อบ้านและคอนโด  หวังขยายฐานลูกค้ากลุ่ม New Gen ครึ่งปีหลัง เตรียมเปิด 4 โครงการใหม่     นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) (ASW)  เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (Bitkub) ในการเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของบ้านและคอนโดมิเนียมทุกโครงการในเครือ ผ่านการแลกสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโทเคอเรนซี่ (Cryptocurrency) เป็นเงินบาท เพื่อใช้ในการซื้อบ้านและคอนโดมิเนียมในเครือแอสเซทไวส์ โดยลูกค้าสามารถแลกเหรียญคริปโทฯ ผ่าน Wallet ของบิทคับซึ่งเตรียมความพร้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้า นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาต่อยอดธุรกิจและปรับตัวสู่นวัตกรรมทางการเงินสมัยใหม่ได้อย่างรวดเร็ว   ความร่วมมือกันในครั้งนี้เกิดจากการเล็งเห็นถึงโอกาสในการขยายฐานลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งปัจจุบัน Bitkub.com เป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดในการแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดกว่า 1,200 ล้านบาท/วัน ซึ่งมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ควบคู่กับ ASW ที่พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตอบรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ และเป็นผู้นำด้านแคมปัสคอนโดภายใต้แบรนด์เคฟ (KAVE) ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มผู้อยู่อาศัยที่เป็นกลุ่มนักศึกษาที่คุ้นเคยกับการใช้สกุลเงินคริปโทฯ ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ ASW ได้จัดตั้ง บริษัท ดิจิโทไนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เพื่อรองรับการศึกษาและลงทุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอล (Digital Asset) และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนไปของเทคโนโลยี โดยมุ่งความสนใจไปที่เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) และพร้อมที่จะแต่งตั้ง บริษัท ฟิวเจอร์คอมแพทเทเร่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาผู้ชำนาญการในการจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล และทั้งหมดนี้ เป็นการตอกย้ำความเป็นผู้พัฒนาอสังหาฯ รุ่นใหม่ในตลาด   ปัจจุบัน ASW มียอดขายรอโอน (Backlog) กว่า 7,500 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 4,700 ล้านบาท ทั้งนี้ ในครึ่งแรกของปี 2564 มีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จคือโครงการ “เคฟ ทาวน์ ชิฟท์” (Kave Town Shift) มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท และในช่วงครึ่งปีหลัง มี 2 โครงการที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้แก่ โครงการ “เคฟ ทียู” (Kave TU) มูลค่าโครงการ 1,800 ล้านบาท และโครงการ “โมดิซ สุขุมวิท 50” (Modiz Sukhumvit 50) มูลค่าโครงการ 2,100 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้จนถึงปี 2565 มั่นใจรายได้ในปี 2564 เติบโต 20% ตามเป้าที่วางไว้   สำหรับโครงการใหม่ของแอสเซทไวส์ในปี 2564 บริษัทฯ มีการเปิดโครงการ “เคฟ ศาลายา” (Kave Salaya) ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และยังเตรียมเปิดโครงการอื่นๆอย่างต่อเนื่อง ทั้งแนวราบและแนวสูง มูลค่าโครงการรวม 9,700 ล้านบาท ในไตรมาส 2/64 บริษัทฯ เตรียมเปิดโครงการใหม่ “แอทโมซ บางนา” (Atmoz Bangna) มูลค่าโครงการ 2,200 ล้านบาท นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯ เตรียมเปิด  4 โครงการใหม่ ได้แก่ 1.โครงการ “เคฟ เอวา” (Kave Ava) มูลค่าโครงการ 2,400 ล้านบาท 2.โครงการ “โมดิซ ไรห์ม คลาวด์” (Modiz Rhyme Cloud) มูลค่าโครงการ 3,700 ล้านบาท  3.โครงการ “โมดิซ ศรีราชา” (Modiz Sriracha) มูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท และ 4.โครงการบ้านภูริปุรี ลาดพร้าว 41 โฮมออฟฟิศ (Baan Puri Puri Ladproa 41 – Home Office) มูลค่าโครงการ 87 ล้านบาท   ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในไตรมาส 1/64 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564) มีรายได้รวม 1,173 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 582 ล้านบาท หรือโตขึ้น 98.5% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนมีรายได้รวม 591 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 250 ล้านบาท หรือ 361.8% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 69 ล้านบาท ขณะที่มีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) อยู่ที่ 48.5 % และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อยู่ที่ 25.7%
แสนสิริ ผนึก XSpring  รุกเปิดตัว 2 ธุรกิจใหม่  ซื้อ NPL-รับฝากขายที่ดิน

แสนสิริ ผนึก XSpring รุกเปิดตัว 2 ธุรกิจใหม่ ซื้อ NPL-รับฝากขายที่ดิน

แสนสินิ ต่อยอดการผนึกธุรกิจ XSpring เข้าลงทุนบริษัทย่อย  “XSpring AMC” สัดส่วน 50% รุกธุรกิจ NPL ประเดิมซื้อกองสินทรัพย์แรก 127 ล้าน ก่อนหน้าลุยต่อ​ธุรกิจ “บริการรับฝากขายที่ดิน” เสริมความแข็งแกร่งธุรกิจอสังหาฯ     นางสาววรางคณา อัครสถาพร ประธานผู้บริหารสายงานการเงิน บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) เปิดเผยว่า หลังจากแสนสิริเดินหน้าการเข้าลงทุนใน บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ XSpring  ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินและหลักทรัพย์ โดยแสนสิริเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง ในสัดส่วน 15% ด้วยเงินลงทุนกว่า  2,000 ล้านบาท   ล่าสุด วันที่ 21 มิถุนายน 2564  บริษัทได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการร่วมทำธุรกิจ กับ บริษัท บริหารสินทรัพย์ เอ็กซ์สปริง เอ เอ็ม ซี จำกัด “XSpring AMC” ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เอ็กซ์สปริงฯ  ในสัดส่วน 50 : 50 เพื่อ “ร่วมลงทุนในกองสินทรัพย์” ที่ประกอบด้วยลูกหนี้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และพักอาศัย และสัญญาหลักประกันซึ่งประกอบไปด้วยที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง อาทิ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (NPL) มูลค่ากองสินทรัพย์แรกประมาณ 127 ล้านบาท จากการชนะการประมูลของ XSpring AMC โดยจะนำมาบริหารสินทรัพย์ต่อ เพื่อต่อยอดธุรกิจ และสร้างรายได้เพิ่มในระยะยาว โดยจะมีส่วนแบ่งกำไรในสัดส่วน 50% ของกำไรจากกองสินทรัพย์ เรากำลังขยายธุรกิจเพื่อการเติบโตที่มากขึ้น สู่ธุรกิจที่มีศักยภาพที่ดีในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ จากธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และมีพันธมิตรในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของเราไปพร้อม ๆ กัน สำหรับการเดินหน้าประมูลซื้อกองสินทรัพย์ NPL ในครั้งนี้ แสนสิริมีความเชื่อมั่นว่า จากความแข็งแกร่งของ XSpring ในฐานะกลุ่มธุรกิจการเงินและหลักทรัพย์ผู้ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่เชื่อมโลกการเงินปัจจุบันกับโลกการเงินดิจิทัลหรือ Digital Financial Service เข้าไว้ด้วยกันรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่มี License ของ XSpring AMC ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ผสานกับความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ของแสนสิริจึงคาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี   นอกจากนี้ แสนสิริ และ XSpring AMC ยังมีแผนเดินหน้าเข้าประมูล กองสินทรัพย์ NPL ล้อตใหม่จากธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติมในเดือนกรกฎาคมอีกด้วย  ขณะเดียวกัน แสนสิริยังสนใจการลงทุนในธุรกิจ “บริการรับฝากขายที่ดิน” ที่จะรับซื้อฝากที่ดินในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงเมืองท่องเที่ยวในจังหวัดใหญ่ อาทิ  เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ พัทยา และหัวหิน เป็นต้น ในวงเงิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งจะดำเนินการโดยพลัส พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ เพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการทำธุรกิจของแสนสิริในระยะยาวอีกด้วย    
แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น  ผนึกกลุ่ม IHG เพิ่มพอร์ตห้องพัก  บริหารโรงแรม-รีสอร์ทอีก 5 แห่ง

แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น ผนึกกลุ่ม IHG เพิ่มพอร์ตห้องพัก บริหารโรงแรม-รีสอร์ทอีก 5 แห่ง

แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น  ผนึกกลุ่ม IHG เดินหน้าบริหารโรงแรมและรีสอร์ทเพิ่มอีก 5 แห่ง รวมกว่า 1,200 ห้องพัก ในกรุงเทพฯ และพัทยา ลุยธุรกิจท่องเที่ยวไทย มั่นใจ​อนาคตยังสดใส พร้อมเสริมพอร์ตห้องพักให้ AWC เพิ่มเป็น 10,136 ห้อง   บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC  ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบครบวงจร ได้ลงนาม กับกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ทเครืออินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ลส์ กรุ๊ป (IHG) จำนวน 5 ฉบับ เพื่อร่วมมือและบริหารโรงแรมและรีสอร์จำนวน 5 แห่ง ในจังหวัดกรุงเทพฯ และเมืองพัทยา รวมห้องพักกว่า 1,200 ห้อง ​   โดยข้อตกลงด้านอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ครอบคลุมโครงการพัฒนาโรงเเรมหรูที่เพิ่งสร้างใหม่แห่งเเรกในเยาวราชอย่าง โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล แบงค็อก ไชน่าทาวน์ (โครงการเวิ้งนครเกษม) และอีก 2 โครงการในเยาวราชและพัทยา ซึ่งมีห้องพักรวม 629 ห้อง รวมถึงยังครอบคลุมอีก 2 โรงแรมภายใต้แบรนด์คิมป์ตัน นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) (AWC) เปิดเผยว่า โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล แบงค็อก ไชน่าทาวน์ (โครงการเวิ้งนครเกษม) มีกำหนดเปิดตัวในปี 2569 ซึ่งเป็นโรงเเรมหรูที่มีห้องพักจำนวน 332 ห้อง ตั้งอยู่ในโครงการมิกซ์ยูส ซึ่งมีอีก 2 โรงเเรมบูทีค และห้องพักระยะยาวแบบมีเซอร์วิส พื้นที่รีเทล รวมถึงร้านค้าปลีก 1 แห่ง  ที่ถือว่าเป็นร้านค้าปลีกใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ  ภายในโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เเบงค็อก ไชน่าทาวน์ จะมีห้องอาหาร 3 แห่ง บาร์ สระว่ายน้ำ ฟิตเนส รวมทั้งพื้นที่จัดการประชุม 8 ห้อง บนพื้นที่รวมกว่า 1,382 ตารางเมตร "ข้อตกลงดังกล่าวยังครอบคลุมโรงเเรมสไตล์บูทีค ซึ่งปรับโฉมพื้นที่จากอาคารพาณิชย์สี่ชั้นแบบดั้งเดิมเป็นโรงแรมขนาด 63 ห้องพัก พร้อมร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ และอีกหนึ่งแห่งเป็นห้องพักระยะยาวแบบมีเซอร์วิสจำนวน 105 ห้อง ภายใต้แบรนด์ อินเตอร์คอนดิเนนตัล เรสซิเดนซ์" นอกจากนี้ การร่วมมือกับกลุ่ม IHG ยังรวมถึงการบริหารและพัฒนาโรงแรมอีกหนึ่งแห่งในเมือง พัทยา ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาและมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2566 ตั้งอยู่ในย่าน Aquatique ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นศูนย์รวมกิจกรรมความบันเทิงและไลฟ์สไตล์อันประกอบด้วยโรงแรม ร้านค้าปลีกและร้านอาหาร และพื้นที่จัดการประชุม ด้วยห้องพักและห้องสวีท 224 ห้อง ห้องอาหาร 4 แห่ง บาร์บนชั้นดาดฟ้า สระว่ายน้ำ สปา และห้องประชุม 6 ห้องบนพื้นที่ใช้สอยกว่า 670 ตารางเมตร   โครงการเหล่านี้จะนำเสนอสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นตลอดจนส่งมอบประสบการณ์เฉพาะสุดพิเศษ ควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าให้กับชุมชน สังคมองค์รวม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย รองรับทั้งนักธุรกิจและนักเดินทางเพื่อการพักผ่อน "การลงนามความร่วมมือครั้งนี้จะส่งผลให้ AWC มีห้องพักเพื่อให้บริการเพิ่มขึ้นถึง 1,109  ห้อง จากเดิม 9,027, ห้องที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 10,136 ห้องพัก" นางวัลลภา กล่าวอีกว่า ​AWC ยังมีความเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย จะมีอนาคตที่สดใสในระยะยาว จึงเดินหน้าวางกลยุทธ์การลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการขยายความร่วมมือกับกลุ่ม IHG ครั้งนี้ที่จะเพิ่มความหลากหลายให้กับพอร์ตโฟลิโอ ส่งมอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจควบคู่กับการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ในวงกว้างมากขึ้น พร้อมช่วยเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวของประเทศไทยในการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มระดับกลางถึงระดับสูงซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตในอนาคตอันใกล้ โดยมีเป้าหมายที่กลุ่มนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับมาตรฐานการบริการระดับสากล   "เราเชื่อมั่นว่าการผสานพลังกับพันธมิตรระดับโลกอย่างกลุ่ม IHG จะทำให้เราเดินหน้าร่วมกันยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มความแข็งแกร่งในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาชื่นชมโครงการคุณภาพของประเทศไทย"   สำหรับ อินเตอร์คอนติเนนตัล แบงค็อก ไชน่าทาวน์ จะเป็นโรงแรมในเครืออินเตอร์คอนติเนนตัลแห่งที่ 3 ของกลุ่ม IHG ในกรุงเทพฯ และเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบสำหรับเวิ้งนครเกษม หนึ่งในย่านเก่าแก่ที่สุดในเมือง ในขณะเดียวกันเรากำลังหารือร่วมกับ AWC เกี่ยวกับโรงแรมอีกสองแห่งในข้อตกลงของเรา ในพื้นที่กรุงเทพฯ และพัทยา   ทั้งนี้ กลุ่ม IHG ​วางแผนเพิ่มพอร์ตโฟลิโอในประเทศไทยเป็น 2 เท่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้า และการลงนามร่วมกันเหล่านี้แสดงถึงทิศทางการเติบโตที่แข็งแกร่งของ IHG ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   เพื่อขยายการให้บริการและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย และทำให้แบรนด์ในเครือ IHG เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย   โดยข้อตกลงในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมืออันยาวนานระหว่าง AWC และ IHG เพื่อบริหารจัดการห้องพักมากกว่า 1,200 ห้องทั่วประเทศไทย รวมถึงโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง 306 ห้องที่จะเปิดให้บริการในปี 2565 ซึ่งส่งเสริมการเป็นพันธมิตรระหว่าง AWC และ IHG ในฐานะแบรนด์ระดับโลกที่ได้รับการยอมรับด้านการจัดการ มาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัย แพลตฟอร์มการจัดจำหน่ายทั่วโลกที่แข็งแกร่งและกว้างขวาง ตลอดจนแคมเปญการขายและทีมงานมืออาชีพที่ดึงดูดใจลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ   ประเทศไทยยังคงเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งสำหรับ IHG โดยมีโรงแรม 32 แห่งจาก 8 แบรนด์ในประเทศและอีก 33 แห่งที่อยู่ระหว่างดำเนินการ การเซ็นสัญญาครั้งใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของบริษัทที่จะขยายพอร์ตโฟลิโอสินค้าลักชัวรีและไลฟ์สไตล์ในประเทศไทยให้เติบโต 50% รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ในทุกแบรนด์ในเครือ ภายในประเทศ    
ส่องตลาที่อยู่อาศัยภาคอีสาน​ 5 จังหวัด  เหลือขายกว่า 4.3 หมื่นล้านบาท บ้านจัดสรรยังน่าห่วง

ส่องตลาที่อยู่อาศัยภาคอีสาน​ 5 จังหวัด เหลือขายกว่า 4.3 หมื่นล้านบาท บ้านจัดสรรยังน่าห่วง

สำรวจตลาดอสังหาฯ 5 จังหวัดภาคอีสาน สต็อกเหลือขายกว่า 43,000 ล้าน ตลาดน่าห่วงเป็นกลุ่มบ้านจัดสรร  ขณะที่ขายได้ใหม่ช่วงปลายปีได้แค่ 3,585 ล้าน   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า จากการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดมหาสารคาม ในช่วงครึ่งหลังปี 2563  พบว่ามีจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขาย ทั้งหมด 297 โครงการ จำนวน 13,500 ยูนิต มูลค่ารวม 47,535 ล้านบาท   โดยจำนวนทั้งหมด แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 250 โครงการ 10,620 ยูนิต มูลค่า 40,361 ล้านบาท และโครงการอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) จำนวน 47 โครงการ  2,880 ยูนิต มูลค่า 7,174 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวมียูนิตเหลือขายจำนวน 12,365 ยูนิต รวมมูลค่ายูนิตเหลือขาย 43,350 ล้านบาท  และในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่จำนวน 1,135 ยูนิต รวมมูลค่า 3,585 ล้านบาท โคราชบ้านเหลือขายปลายปี 63 กว่า 4,000 ยูนิต สำหรับภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยระหว่างการขายในพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา มีอัตราลดลง 10.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 6,161 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 4,480 ยูนิต สัดส่วน 72.7% เป็นโครงการคอนโด​ 1,681 ยูนิต สัดส่วน​ 27.3% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 เพียง 607 ยูนิต มีอัตราลดลง 53.0% จากช่วงเดียวกันของปี 2562  มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 495 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราลดลง 18.6% ​ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน  5,666 ยูนิต หรือลดลง  9.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 2,191 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน  38.7% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา  2.01-3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 234 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 47.3%  สำหรับยูนิตเหลือขายในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 4,069 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 5,666 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน 71.8% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ปี 64 โคราชเปิดขายใหม่กว่า 5,000 ลบ. สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดนครราชสีมาในปี 2564 ภาพรวมตลาดยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2563 ผลจากโควิด-19 ช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ทำให้ตลาดทั้งปี 2564 มีภาวะชะลอตัวเช่นเดียวกับปี 2563 คาดการณ์ว่าช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ จะมียูนิตเปิดใหม่ลดลง 24.7% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ​และ ช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ จะเพิ่มขึ้น 45.6% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   ส่วนยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 1,684 ยูนิต มูลค่า 5,352 ล้านบาท ส่วนยูนิตขายได้ใหม่ในครึ่งปีแรกปีนี้ คาดว่าลดลง  34.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่าน​ และคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น​91.5% เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังปีที่ผ่านมา   ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่ปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 1,793 ยูนิต มูลค่า 5,711 ล้านบาท มียูนิตเหลือขาย ช่วงสิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 6,770 ยูนิต มูลค่า 24,278 ล้านบาท และการโอนกรรมสิทธิ์ ในปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวนยูนิตประมาณ 6,141 ยูนิต ลดลง 26.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 10,627 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 38.4% ขอนแก่นมียูนิตเหลือขายพุ่งกว่า 82% สำหรับจังหวัดขอนแก่น ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยระหว่างการขายมีอัตราลดลง 1.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 3,974 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 3,270 ยูนิต สัดส่วน 82.3% เป็นโครงการคอนโด 704 ยูนิต สัดส่วน​ 17.7% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 เพียง 411 ยูนิต มีอัตราลดลง 45.1% จากช่วงเดียวกันของปี 2562  มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 346 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่ลดลง 20.5% ​เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 3,628 ยูนิต  เพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 1,393 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน  38.4% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 127 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 36.7%   สำหรับยูนิตเหลือขายในครึ่งหลังปี 2563 ในจังหวัดขอนแก่น เป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น  3,003 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 3,628 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน  82.8% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด คาดปี 64 ขอนแก่น เหลือขายกว่า 12,000 ลบ. สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดขอนแก่น ปี 2564 คาดว่าช่วงครึ่งปีแรกนี้ มียูนิตเปิดใหม่ต่ำกว่าครึ่งปีแรกของปี 2563 ในอัตรา​ 21.5% และช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คาดว่ายูนิตเปิดใหม่จะเพิ่มขึ้น 25.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า  ซึ่งยูนิตเปิดใหม่รวมในปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 982 ยูนิต มูลค่า 3,117 ล้านบาท   ส่วนยูนิตขายได้ใหม่ช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ลดลง 39.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ช่วงครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้น 77.5% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปีที่ผ่านมา  โดยยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 1,156 ยูนิต มูลค่า 3,310 ล้านบาท มียูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 3,573 ยูนิต มูลค่า 12,062 ล้านบาท  ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ คาดว่าจะมีจำนวนยูนิตประมาณ 4,997 ยูนิต ลดลง 20% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 7,613 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 34.3% สิ้นปี 63 จ.อุดรฯ มีสินค้าเหลือขาย 1,360 ยูนิต​ ด้านภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยระหว่างการขายจังหวัดอุดรธานี พบว่ามีอัตราลดลง 13.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 1,503 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,379 ยูนิต สัดส่วน 91.7% เป็นโครงการคอนโด 124 ยูนิต สัดส่วน 8.3% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 จำนวน เพียง 69 ยูนิต ซึ่งทั้งหมดเป็นโครงการบ้านจัดสรร และมีจำนวนลดลง 57.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 สำหรับยูนิตขายได้ใหม่ มีจำนวน 143 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราลดลง 19.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 1,360 ยูนิต  ลดลง 12.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 533 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 39.2% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 1.01-1.50 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 70 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 49%   สำหรับยูนิตเหลือขายในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดอุดรธานี เป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 1,242 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 1,360 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน 91.3%  ปี 64 บ้านเหลือขายขยับเพิ่มเป็น 1,735 ยูนิต สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดอุดรธานี ปี 2564 ประมาณการณ์ช่วงครึ่งปีแรก ยูนิตเปิดใหม่จะต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนในอัตรา​ 8.0% และช่วงครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้น​ 87.0% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปีที่ผ่านมา ​ยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 255 ยูนิต มูลค่า 1,504 ล้านบาท ยูนิตขายได้ใหม่ในครึ่งปีแรกขายได้ลดลง 32.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ​ส่วนครึ่งปีหลังคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ​60.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยปีนี้คาดว่ามียูนิตขายได้รวม​ 432 ยูนิต มูลค่า 1,289 ล้านบาท และมียูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 1,753 ยูนิต มูลค่า 6,936 ล้านบาท ด้านการโอนกรรมสิทธิ์ คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 2,855 ยูนิต ลดลง 8.2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 4,726 ล้านบาท ลดลง 10.4%​จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ปลายปี 63 อุบลฯ ขายบ้านใหม่ได้แค่ 57 ยูนิต ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยระหว่างการขายจังหวัดอุบลราชธานี พบว่ามีอัตราลดลง 22.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน​ โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 1,129 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 894 ยูนิต  คิดเป็นสัดส่วน​ 79.2% เป็นโครงการคอนโด​ 235 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน​ 20.8% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 เพียง 168 ยูนิต มีอัตราเพิ่มขึ้น 130.1% จากช่วงเดียวกันของปี 2562  ยูนิตขายได้ใหม่จำนวน 112 ยูนิต ลดลง 44.3% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 1,017 ยูนิต  ลดลง 19.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 432 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 42.5% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 2.01-3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 57 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 50.9%  ขณะที่ยูนิตเหลือขายในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดอุบลราชธานี  เป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 796 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 1,017 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 78.3% ปี 64 คาดจ.อุบลฯ ขายได้แค่ 1,080 ลบ. สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2564  คาดการณ์ว่าช่วงครึ่งปีแรก​ ยูนิตเปิดใหม่จะลดลง 42.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และช่วงครึ่งหลังปีนี้ ​จะลดลง​ 16.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ​ ยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 270 ยูนิต มูลค่า 868 ล้านบาท และในส่วนยูนิตขายได้ใหม่ครึ่งปีแรก​ ขายได้จะต่ำว่าครึ่งปีแรกปีที่แล้วอัตรา​​ 31.5% ส่วนครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้น 77.7% จากช่วงครึ่งหลังปีที่แล้ว ​ ยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 375 ยูนิต มูลค่า 1,080 ล้านบาท มียูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 1,530 ยูนิต มูลค่า 4,295 ล้านบาท ด้านการโอนกรรมสิทธิ์คาดว่าในปี 2564 จะมีจำนวนยูนิตประมาณ 2,448 ยูนิต ลดลง 30.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า​ และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 2,894 ล้านบาท ลดลง 48.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มหาสารคาม สต็อกบ้านเพิ่ม 4% ส่วนภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยระหว่างการขายจังหวัดมหาสารคาม มีอัตราลดลง 2.9% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 733 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 597 ยูนิต สัดส่วน​ 81.4% เป็นโครงการอาคารชุด 136 ยูนิต สัดส่วน 18.6% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 เพียง 51 ยูนิต มีอัตราลดลง 42.7% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ยูนิตขายได้ใหม่จำนวน 39 ยูนิต มีอัตราลดลง 55.7% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 694 ยูนิต เพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 1.01-1.50 ล้านบาท โดยมีจำนวน 161 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน  23.2% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 1.01-1.50 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 19 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน  48.7%   สำหรับยูนิตเหลือขายในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดมหาสารคามเป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 567 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 694 ยูนิต หรือคิดเป็น  81.7% มหาสารคาม ปี 64 ขายบ้านใหม่ได้ 413 ลบ. สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดมหาสารคาม ปี 2564 ประมาณการณ์ช่วงครึ่งปีแรก มียูนิตเปิดใหม่จะต่ำกว่าช่วงครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมาในอัตรา​ 2.8 และครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้น​ 60.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว​ โดยยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 152 ยูนิต มูลค่า 284 ล้านบาท และในส่วนยูนิตขายได้ใหม่ครึ่งปีแรก​ ขายได้จะต่ำว่าช่วงเดียวกันของปี 2563 ในอัตรา​ 35.2%  ส่วนครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้น ​97.4%  ยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 145 ยูนิต มูลค่า 413 ล้านบาท ยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 873 ยูนิต มูลค่า 2,550 ล้านบาท ด้านการโอนกรรมสิทธิ์คาดว่าในปี 2564 จะมีจำนวนยูนิตประมาณ 1,210 ยูนิต เพิ่มขึ้น 2.6%​ จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า  และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 17.9%  
1 ปีโควิด-19 สะเทือนไทย แต่ที่อยู่อาศัยไม่แผ่ว  คนไทยยังอยากมีบ้าน การซื้อ-เช่ายังเติบโต

1 ปีโควิด-19 สะเทือนไทย แต่ที่อยู่อาศัยไม่แผ่ว คนไทยยังอยากมีบ้าน การซื้อ-เช่ายังเติบโต

ครบ 1 ปีหลังเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ที่การเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยหยุดชะงักในช่วงแรกแต่ก็ยังมีแนวโน้มโต สะท้อนจากความต้องการของผู้บริโภคที่แม้จะได้รับผลกระทบทางการเงินจากวิกฤติครั้งนี้ แต่ยังมองหาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ ชี้ยังเป็นโอกาสทองของนักลงทุนและผู้ซื้อที่มีความพร้อม หวังต่อยอดการลงทุนในระยะยาว คาดการแข่งขันในตลาดจะกลับมาคึกคักอีกครั้งเมื่อสถานการณ์คลี่คลายหลังระดมฉีดวัคซีนครอบคลุมทั่วประเทศ   นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยว่า ข้อมูลจาก​ DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด รายงานว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 190 จุด จาก 197 จุด หรือลดลง 4% จากไตรมาสก่อนหน้า ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) โดยมีการปรับตัวลดลงถึง 7% ในรอบปีที่ผ่านมา ในขณะที่ดัชนีอุปทานในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 399 จุด จาก 363 จุด หรือเพิ่มขึ้นถึง 10% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มถึง 19% ในรอบปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ มีการเปิดตัวโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด และผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือเริ่มนำสินค้าออกขาย แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดฯ รอบล่าสุด ทำให้อัตราการดูดซับไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ จำนวนที่อยู่อาศัยในตลาดจึงแปรผันตามสถานการณ์ปัจจุบัน   ตลอดหนึ่งปีของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวจากการชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ความต้องการซื้อและเช่าในตลาดอสังหาฯ ยังมีอยู่ไม่น้อย เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ โดยในปีนี้มีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการระบาดฯ รอบแรกในปีที่แล้ว  ซึ่งตอนนั้นทุกภาคส่วนล้วนไม่มีประสบการณ์ในการรับมือวิกฤติแบบนี้มาก่อน  เทรนด์ที่เห็นได้ชัดคือผู้บริโภคหันมาพิจารณาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก และแถบชานเมืองเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทำเลแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ที่เพิ่งเปิดใช้หรือมีแผนเปิดใช้บริการในอนาคตอันใกล้ ประกอบกับผู้บริโภคต้อง Work From Home ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ต้องกระจุกตัวอยู่ใกล้แหล่งงานย่านใจกลางเมือง   แม้ดัชนีอุปทานในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้นถึง 19% ในรอบปีที่ผ่านมาสวนทางกับอัตราดูดซับที่น้อยลง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับปกติเมื่อพิจารณาตามสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ที่มีความไม่แน่นอนสูง ผู้บริโภคยังมีความกังวลใจในการใช้จ่าย จึงพยายามรักษาเสถียรภาพทางการเงินไว้ นอกจากนี้  จากผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "วัคซีนเข็มแรก ความต้องการถ้วนหน้า" ของสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ถึง 87.9% ต้องการให้คนไทยทุกคนได้รับวัคซีนเข็มแรกก่อน ตามมาด้วยต้องการให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนกระจายวัคซีนครอบคลุมคนที่ต้องการทุกพื้นที่เร่งด่วนที่สุด 86.8% จะเห็นได้ว่าแผนการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมยังคงเป็นเป้าหมายอันดับต้น ๆ ที่คนไทยต้องการ เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย เช่นเดียวกับภาคธุรกิจที่มองว่ากุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตอนนี้ คือแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวได้ คาดการณ์ว่าเมื่อมีการฉีดวัคซีนครอบคลุมทั่วประเทศ  และรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ได้แล้ว ผู้พัฒนาอสังหาฯ ก็พร้อมจะกลับมาเปิดตัวโครงการใหม่เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค และเชื่อว่าตลาดอสังหาฯ จะกลับมาคึกคักอีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายของปี ครบ 1 ปีโควิด ความต้องการอสังหาฯ ยังไม่แผ่ว รายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด  ยังเปิดเผยถึง ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ทั่วไทย หลังต้องเผชิญวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (เปรียบเทียบระหว่างเดือนเมษายน 2563 และเดือนเมษายน 2564) ระบุว่า ความต้องการที่อยู่อาศัยยังเติบโตต่อเนื่อง แม้ผู้บริโภคจะชะลอการใช้จ่ายก็ตาม -เมืองหลวงยังไม่สิ้นมนต์ขลัง ความต้องการซื้อ-เช่าโตกว่าเท่าตัว ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ในรอบ 1 ปีตั้งแต่เกิดการล็อกดาวน์มาจนถึงการแพร่ระบาดฯ ระลอกล่าสุด พบว่า ผู้บริโภคยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ความต้องการเช่าและซื้อเติบโตกว่าเท่าตัว โดย “เขตยานนาวา” เป็นทำเลมาแรงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้รับความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นในรอบปีสูงสุดถึง 215% ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่เป็นทำเลที่อยู่ใจกลางเมือง ครอบคลุมแนวถนนพระราม 3 ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตทั้งจากการที่เป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ และมีโครงการพัฒนาของทั้งภาครัฐและเอกชนอยู่อย่างต่อเนื่อง ผู้ซื้อที่มีความพร้อมสามารถซื้อเก็บไว้ในช่วงนี้เพื่อนำไปทำกำไรในอนาคตเมื่อเข้าสู่สถานการณ์ปกติ ตามมาด้วยเขตธนบุรีเพิ่มขึ้น 137% มีนบุรีเพิ่มขึ้น 132% จอมทองเพิ่มขึ้น 114% และบางแคเพิ่มขึ้น 113% ซึ่งล้วนเป็นทำเลที่ไม่ได้อยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแถบพื้นที่รอบนอกมากขึ้น โดยเลือกพิจารณาความคุ้มค่าของราคากับขนาดที่อยู่อาศัยที่จะได้รับ เนื่องจากยังเป็นทำเลที่สามารถเดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้า และระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ   ส่วนทำเลยอดนิยมของผู้เช่าในรอบปีที่มีการแพร่ระบาดฯ นั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ย่านใจกลางเมืองเป็นหลักและมีอัตราเติบโตไม่แพ้กัน โดย “เขตปทุมวัน” ได้รับความสนใจเช่าเพิ่มขึ้นในรอบปีสูงสุดถึง 193% เนื่องจากผลกระทบของสภาพเศรษฐกิจชะลอตัวและวิกฤติโควิด-19 ที่มีอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานศึกษาอยู่ในย่านดังกล่าวหันมาเช่าที่อยู่อาศัยแทนการตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ที่มีราคาสูง เพราะสถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีความไม่แน่นอน การสำรองเงินสดไว้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ในขณะที่ทำเลอื่น ๆ ที่มีความต้องการเช่าสูงไม่แพ้กัน ได้แก่ เขตบางคอแหลม (+188%) เขตบึงกุ่ม (+185%) จตุจักร (+159%) และเขตบางซื่อ (+150%) -ตลาดเช่าโตต่อเนื่อง ครองใจคนหาบ้านในเขตปริมณฑล ภาพรวมความเคลื่อนไหวของตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดปริมณฑล ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาครในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมานั้น เทรนด์การเช่าที่อยู่อาศัยได้รับความนิยมอย่างสูง โดยบางพื้นที่มีการเติบโตกว่าความสนใจซื้อมากกว่าเท่าตัว อย่างไรก็ดี ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ความสนใจซื้อและเช่าที่อยู่อาศัยในจังหวัดปริมณฑลมีการเติบโตเป็นบวกในรอบปีที่ผ่านมา คือเทรนด์การ Work From Home ที่หลายองค์กรใช้ในช่วงที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดฯ และคาดว่าหลายองค์กรจะยังคง Work From Home ต่อเนื่องแม้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ ส่งผลให้คนทำงานไม่ต้องกังวลเรื่องเวลาในการเดินทางมาทำงานใจกลางเมือง จึงมีการย้ายกลับไปอาศัยที่ภูมิลำเนาเดิมหรือหันไปเลือกซื้อ/เช่าอสังหาฯ ในจังหวัดปริมณฑลที่มีราคาย่อมเยากว่า   ทำเลมาแรงที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพิ่มขึ้นถึง 151% ด้านอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพิ่มขึ้น 168% ส่วนทำเลยอดนิยมของผู้เช่าในจังหวัดสมุทรปราการจะอยู่ในอำเภอเมือง โดยเพิ่มสูงถึง 216% ในขณะที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครถือเป็นทำเลที่น่าจับตามอง เนื่องจากได้รับความสนใจเช่าเพิ่มสูงถึง 650% เติบโตสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ 4 จังหวัดปริมณฑลอื่น ๆ   ทำเลที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา ได้แก่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เพิ่มขึ้นถึง 73% ด้านจังหวัดปทุมธานีนั้นพื้นที่อำเภอคลองหลวงมีผู้สนใจซื้อเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 74% ส่วนอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการมีความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นถึง 74% เช่นกัน และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ยังคงมาแรงครองความนิยมสูงสุด มีความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นถึง 88% -โอกาสทองเลือกเป็นเจ้าของอสังหาฯ หัวเมืองท่องเที่ยว จากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ที่หนักหน่วง ทำให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการปิดประเทศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจท่องเที่ยวที่ขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ แน่นอนว่าตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดท่องเที่ยวต่าง ๆ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน ซ้ำร้ายการเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 ในหลายหัวเมืองท่องเที่ยวส่งผลให้ความสนใจเช่าลดลง แต่ในวิกฤติยังมีโอกาสเมื่อดัชนีราคาอสังหาฯ ที่ปรับตัวลดลงช่วยผลักดันให้ความสนใจซื้อเติบโตสูงขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวใหญ่ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต ระยอง และประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากผู้บริโภคและนักลงทุนมองเห็นโอกาสในการเป็นเจ้าของอสังหาฯ ในทำเลเหล่านี้ซึ่งถือว่ามีศักยภาพที่จะเติบโตได้ในอนาคต มีเพียงพัทยาที่มีทิศทางการเติบโตต่างจากจังหวัดท่องเที่ยวอื่น โดยมีความสนใจเช่าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 106% มากกว่าความสนใจซื้อที่เพิ่มขึ้นเพียง 70%   เมื่อพิจารณาจากความสนใจซื้อที่เพิ่มขึ้นในรอบ 1 ปีที่มีการแพร่ระบาดฯ พบว่า อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นถึง 128% อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพิ่มขึ้น 164% อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นถึง 174% ในขณะที่อำเภอหัวหินยังเป็นทำเลที่ดึงดูดความสนใจซื้อในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้มากที่สุดถึง 96%   ด้านความสนใจเช่าแม้จะเติบโตน้อยกว่าซื้อ แต่ถือว่ายังมีทิศทางเติบโตเป็นบวกทั้งหมด โดยอําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความสนใจเช่าเพิ่มขึ้น 74% อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพิ่มขึ้น 17% อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เพิ่มขึ้น 60% และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพิ่มขึ้น 48%   “จะเห็นได้ว่าจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลกระทบต่อทุกคน ทุกองค์กร ธุรกิจทุกแขนงทั่วประเทศทำให้เกิดภาวะชะงักงันไปตาม ๆ กัน แต่อย่างไรก็ตามมาตรการต่าง ๆ ที่ภาครัฐออกมาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับทุกภาคส่วนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสำคัญที่สุดคือด้านสาธารณสุขก็ส่งผลเชิงจิตวิทยาต่อผู้บริโภคในด้านความมั่นใจ แม้ว่าภาพรวมจะยังไม่มีกลไกใดที่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าอาจมีการสะดุดหรือล้มลุกคลุกคลานในบางจังหวะ แต่ทุกคนยังมีความหวังที่จะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ให้ก้าวต่อไป”      
เอพี ไทยแลนด์  กวาดยอดขายบ้านเดี่ยว 5 เดือน 7,800 ล้าน  พร้อมเปิดแคมเปญ รับเทรนด์ “HOMEBODY”

เอพี ไทยแลนด์ กวาดยอดขายบ้านเดี่ยว 5 เดือน 7,800 ล้าน พร้อมเปิดแคมเปญ รับเทรนด์ “HOMEBODY”

เอพี กวาดยอดขายบ้านเดี่ยว 5 เดือนแรกกว่า 7,800 ล้าน รักษาความเป็นผู้นำตลาด พร้อมจับเทรนด์ใหม่ “HOMEBODY” ผู้คนใช้ชีวิตติดบ้านมากขึ้น เปิดตัว​แคมเปญใหญ่ “HOMEMADE STORY 2 - เทรนด์ติดบ้าน” พร้อมดึง “เสือร้องไห้” สร้างแรงบันดาลใจผ่าน 6 ซีรีย์   นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ทุกคนก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายในบ้านมากขึ้น เพื่อลดปัญหาการการได้รับเชื้อโรค หรือการแพร่ระบาดของเชื้อโรค กิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือการเรียน ต้องอาศัยพื้นที่ภายในบ้านเป็นหลัก ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในกลุ่มบ้านแนวราบที่ผ่านมา มียอดขายเติบโตสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว   หนึ่งในผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่สามารถขายที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ทาวโฮม หรือบ้านแฝดได้ดี มียอดขายเป็นผู้นำตลาดในหลายเซ็กเมนต์  ก็คงต้องเป็นบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ซึ่งสร้างผลงานในปี 2563 ที่ผ่านมาได้ดีกว่าในอดีตที่ผ่าน ๆ มาด้วยซ้ำ เฉพาะปีนี้เอง แม้ว่าจะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเนื่องระลอก 3 แต่ยอดขายของเอพี ก็ไม่ได้แผ่วลงแม้แต่น้อย ยอดขายบ้านเดี่ยว 5 เดือนแรกก็กวาดไปแล้วกว่า 7,800 ล้านบาท มียอดลูกค้าเข้าเยี่ยมชมโครงการต่าง ๆ ของเอพีเฉลี่ยเดือนละกว่า 1,500 ครอบครัว แสดงให้เห็นถึงความต้องการบ้านเดี่ยว ไม่ได้ลดน้อยลงเลย และในมุมกลับกันอาจจะมีความต้องการที่มากขึ้นด้วย เพราะผู้คนจำนวนมากเริ่มคุ้นชินกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบ้านมากขึ้นแล้วด้วย   เทรนด์หนึ่งที่เอพีมองเห็นจากข้อมูลอินไซต์ทางการตลาด พบว่า ผู้คนจำนวนมากเริ่มมีเทรนด์การใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า HOMEBODY หรือ เทรนด์ติดบ้าน  ที่สมาชิกในครอบครัวคุ้นชินกับการทำทุกกิจกรรมในบ้าน ที่ไม่ใช่เพียงการติดตั้งอุปกรณ์  แบ่งโต๊ะทำงาน หรือแบ่งโต๊ะเรียนออนไลน์ที่บ้าน แต่คือการความสำคัญกับการแยกพื้นที่ส่วนตัวและส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน ห้องที่เป็นสัดส่วน หน้าต่างที่เปิดรับแสงธรรมชาติ หรือระเบียงที่เป็นมุมพักผ่อน  ปลูกต้นไม้ เป็นโลกส่วนตัวที่ตอบโจทย์กิจกรรมของสมาชิกในบ้านได้จริง นางพิมพรรณ ปรีชานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริหารแบรนด์และพัฒนาสินค้าบ้านเดี่ยว บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) เปิดเผยว่า เทรนด์ติดบ้านที่เกิดขึ้น​ ส่งผลให้ดีมานด์บ้านเดี่ยวของเอพียังมีอย่างต่อเนื่อง ​สะท้อนจากยอดลูกค้าเยี่ยมชมโครงการและยอดขายบ้านเดี่ยวช่วง 5 เดือนแรกที่ผ่านมา ​   โดยคำตอบแรกที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อ นอกจากความเชื่อมั่นในแบรนด์บ้านเดี่ยวเครือเอพีแล้ว คือ เรื่องการออกแบบฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยของทุกคนในครอบครัว พื้นที่ใช้สอยที่มากกว่าและแพ็กเกจราคาที่คุ้มค่าจับต้องได้จริงเหนือคู่แข่ง   ล่าสุด เอพีได้เปิดตัว​ แบรนด์แคมเปญใหญ่อีกครั้ง “HOMEMADE STORY 2 - เทรนด์ติดบ้าน” เพื่อต่อยอดความสำเร็จและย้ำอัตลักษณ์แบรนด์บ้านเดี่ยวเครือเอพี  โดยนำ 2 กลยุทธ์หลัก ที่เป็นจุดต่างสร้างความสำเร็จของบ้านเดี่ยวเครือเอพี มาใช้เป็นแกนในการสื่อสารผ่านแคมเปญ​ ได้แก่ 1.โมเดลบ้านที่ดีที่สุด การพัฒนาบ้านด้วกยแนวคิดจากอินไซต์จริง เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้อาศัย อาทิ แปลนบ้านหน้ากว้าง ที่สามารถเพิ่มมุม Work from Home หรือ เรียนออนไลน์พร้อมรับแสงธรรมชาติ การออกแบบห้องนอนพร้อมระเบียงที่กว้าง เพิ่มมุมพักผ่อนปลูกต้นไม้ใหญ่ได้จริง หรือพื้นที่สวนข้างบ้านขนาดพอดีสำหรับทำสวน พร้อมบ้านหลังเล็กสำหรับสัตว์เลี้ยงของครอบครัว เป็นต้น 2.นวัตกรรมบ้านที่เข้าใจชีวิต การผสานเทคโนโลยีเข้ากับการออกแบบพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่ส่วนรวมภายในบ้านหนึ่งหลัง ที่มีรายละเอียดการออกแบบที่ตอบโจทย์ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย ตลอดจนฟังก์ชันส่วนกลาง พื้นที่สีเขียวในโครงการ และสังคมที่ดีในภาพใหญ่ของคอมมูนิตี้บ้านเดี่ยวเอพีให้เกิดขึ้นไปในขณะเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ ในเครือบ้านเดี่ยวเอพี ทั้งแบรนด์ CENTRO, THE CITY, THE PALAZZO และ BAAN KLANG KRUNG รวม 40 โครงการทั่วกรุงเทพฯ มูลค่าโครงการรวม 53,760 ล้านบาท ได้พัฒนาภายใต้แนวคิดดังกล่าว   นอกจากนี้  ภายใต้แคมเปญ “Homemade Story 2 - เทรนด์ติดบ้าน” เอพีได้ร่วมงานกับ ยูทูปเบอร์ชื่อดัง “เสือร้องไห้” และ 6 แขกรับเชิญแถวหน้าของวงการที่จะมาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวมิติใหม่ ในวันที่ชีวิตติดบ้านปีที่ 2  พร้อมอัพเดตกิจกรรม ไอเดียล้ำๆ กับการปรับสเปซฟังก์ชันในบ้านเดี่ยวเอพี โดยสามารถรับชมเรื่องราวความสนุกพร้อมแรงบันดาลใจการใช้ชีวิตในสเปซบ้านที่เป็นมากกว่าบ้าน ผ่านซีรีย์ 6 ตอนพิเศษ ผ่านช่องทางหลัก FACEBOOK และ YOUTUBE APThai ประเดิมตอนแรกวันพุธที่ 16 มิถุนายน – 31 สิงหาคมนี้ HOMEBODY หรือ เทรนด์ติดบ้าน  เป็นความท้าทายและโอกาสใหม่ของแบรนด์ ในการทำการบ้านให้ลึกมากยิ่งขึ้น เพื่อเจาะเข้าไปในกลุ่มลูกค้าใหม่ของบ้านเดี่ยวเอพี ทั้งกลุ่มลูกค้าคอนโด หรือคนรุ่นใหม่ที่อาศัยในทาวน์โฮมหรือบ้านหลังเดิมของครอบครัว และต้องการขยับขยายเป็นเจ้าของบ้านของตัวเอง