Fd Post 181021 2

Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto [VDO]

Categories : Life+Style
Tags : , ,

Blockchain คืออะไร?

ช่วงนี้หลายคนคงได้ยินคำศัพท์ใหม่ ๆ ในวงการเทคโนโลยี  หรือการเงินดิจิทัล อย่างคำว่า Blockchain, Bitcoin หรือ Crypto ซึ่งบางคนก็เข้าใจว่าคำศัพท์แต่ละคำนั้นมีความหมายอย่างไร เกี่ยวกับเรื่องอะไร แต่หลายคนก็ยังคงสับสน และไม่เข้าใจกับคำศัพท์ต่าง ๆ เหล่านั้น ที่ถูกพูดถึงกันมากมายขณะนี้  ว่าคือเรื่องอะไรกันแน่ และมีความเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกันอย่างไรบ้าง วันนี้จึงจะมาอธิบายและทำความเข้าใจกับคำศัพท์ที่คุ้นหู้เหล่านั้นกัน โดยเรื่องแรกเป็นเรื่อง Blockchain

 

Bitcoin ไม่ใช่ Blockchain

Bitcoin คือ Digital Asset

Blockchain เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin

เริ่มต้นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Bitcoin ไม่ใช่ Blockchain เพราะ Bitcoin คือ Digital Asset หรือสินทรัพย์ดิจิทัล คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับคำว่า Bitcoin มากกว่า Blockchain

 

สำหรับ Blockchain คือ เทคโนโลยี ที่ทำให้ Digital Asset หรือ Bitcoin
สามารถโอนจากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งได้
ซึ่ง Bitcoin คือ อินโนเวชั่นที่เกิดจากเทคโนโลยีของ Blockchain

Blockchain เข้ามาแก้ปัญหาอะไร

ที่ชัดเจน คือ เรื่องของการโอนเงิน (​Money Transfer) ที่ขจัดตัวกลางออกจากระบบ ช่วยลดระยะเวลาการโอนเงิน และลดค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการโอน ตัวอย่างเช่น การโอนเงินไปยังต่างประเทศ ระหว่างบุคคล ที่หากจากนายเอ ไปยัง นายบี ที่อยู่อีกประเทศหนึ่งนั้น จะต้องมีตัวกลางเป็นผู้ดำเนินการ ในกรณีนี้ ตัวกลางคือ ธนาคาร การโอนเงินจะต้องเสียค่าธรรมเนียม และต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3 วัน แต่หากนำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ จะสามารถโอนเงินจากนาย เอ ไปยังนายบี ได้ทันที โดยไม่ต้องมีตัวกลาง และทำให้ค่าธรรมเนียมถูกลงกว่าผ่านตัวกลางด้วย

 

เทคโนโลยี Blockchain จึงเข้ามาแก้ไขใน 3 เรื่องด้านการเงิน คือ

1. ตัดตัวกลางออกจากระบบ

2. ลดค่าธรรมเนียม 

3. ลดระยะเวลาให้น้อยลง ​

 

หลักการทำงานของ Blockchain 

การทำงานของเทคโนโลยี Blockchain จะต้องประกอบด้วย การทำงานของ 3 เรื่อง คือ

 

1. Open ledger

Open ledger คือ การบันทึกข้อมูลใน Block ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลในลักษณะ chain ต่อเนื่องกัน โดยใน Block จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลก่อนหน้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดทุกคนในระบบจะเห็นและตรวจสอบได้

 

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ​เช่น ในระบบมีคน 4 คน คือ A, B, C, D ซึ่ง A มีเงินในระบบ 100 เหรียญ แล้วโอนเงินให้​ B 50 เหรียญ ระบบจะบันทึกไว้ใน ledger ถ้า B โอนให้ D 30 เหรียญ จะมีการบันทึกข้อมูลนี้ใน ledger และเชื่อมโยงข้อมูลให้รู้ Transaction ก่อนหน้าว่า A โอนเงินให้ B 50 เหรียญด้วย  ถ้า D โอนให้ C 10 เหรียญ ก็จะบันทึกการโอน และเชื่อมโยงข้อมูลก่อนหน้าเช่นกัน  ข้อมูลทุกอย่างจะถูกบันทึกใน ledger และเชื่อมโยงข้อมูลก่อนหน้าอย่างต่อเนื่อง ลักษณะการเชื่อมโยงข้อมูลจะมีลักษณะเป็น chain ต่อเนื่องกัน จึงเป็นที่มาของคำว่า chain ใน  Blockchain

 

สิ่งสำคัญของ Open ledger คือ ทุกคน​ในระบบ จะรู้ว่าเงินอยู่ที่ใครบ้างและแต่ละคนมีเงินอยู่เท่าไร ทำให้สามารถตรวจสอบ ​ได้ว่า Transaction ที่เกิดขึ้นมีความสมเหตุสมผลหรือไม่  จากกรณีตัวอย่างดังกล่าว หาก A ต้องการโอนเงิน 80 เหรียญให้ C ทุกคนในระบบจะรู้ทันทีว่า A  มีเงินไม่มากพอ ที่จะโอนได้ เพราะตอนแรก A มีเงิน 100 เหรียญ และโอนให้ B ไปแล้ว 50 เหรียญ ปัจจุบันเอเหลือเงินแค่ 50 เหรียญเท่านั้น Transaction นี้จึงไม่เกิดขึ้นและไม่มีการบันทึกลงใน ledger

 

2. Decentralized หรือ การกระจายการจัดเก็บข้อมูล

จากการที่ระบบ Blockchain ช่วยตัดตัวกลางออกไป ทำให้ไม่มีใครในระบบครอบครอง ledger เพียงคนเดียว แต่ทุกคนในระบบจะครอบครอง ledger ของระบบไว้ เป็นการตัดตัวกลางออกจากระบบ เรียกว่า Decentralized  แต่วิธีการนี้จะมั่นใจได้อย่างไรว่า ledger ของแต่ละคนถูกต้อง มีการเชื่อมโยงข้อมูลกัน หรือ Synchronize กัน ​อย่างถูกต้อง ต้องมาสู่หลักการทำงานข้อที่ 3

 

3. Miners หรือการตรวจสอบข้อมูล

กรณีตัวอย่าง  A โอนเงินให้ B  100 เหรียญ B โอนให้ D 50 เหรียญ แล้วเกิด B ต้องการสร้าง Transaction ใหม่ ด้วยการโอนเงินไปให้ C 20 เหรียญ B ต้อง broadcast  หรือประกาศให้ทุกคนในระบบทราบว่า B ต้องการเงินโอนเงินให้ C 20 เหรียญ ซึ่งเบื้องต้นข้อมูล Transaction จะยังไม่ถูกบันทึกลงใน ledger ในระบบ เพราะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อน ซึ่งในระบบจะใช้หลักการ miners เข้ามาทำการตรวจสอบความถูกต้อง

 

โดย miners ที่จะเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องของ Transaction นั้น จะเป็น special node (เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ) ที่มีการลงทุนในกำลังการประมวลผล เพราะจะต้องแข่งขันกับ node อื่น ๆ ในระบบ โดยทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ

 

1. การตรวจสอบ (Validate) transection

กรณีตัวอย่าง เป็นการตรวจสอบว่า B มีเงินเพียงพอหรือไม่

 

2. การหา special key หรือ hash code (hash รหัสของข้อมูลประจำแต่ละ block ที่ไม่ซ้ำกับ block อื่น)

ที่ทำให้ miners สามารถเชื่อมโยง Transaction ใหม่เข้ากับ Transaction ก่อนหน้าได้ ​การที่ miners จะหาตัว  special key ได้ จะต้องมีการลงทุนในกำลังการประมวลผล อย่างพวกเครื่อง ASIC (Application-specific integrated circuit) หรือการ์ดจอต่าง ๆ และต้องใช้เวลาด้วย เนื่องจากการค้นหา Key เป็นการเดาสุ่มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอ Key ที่ถูกต้อง โดย miners ที่คนแรกหาเจอ  ก็จะได้​รางวัลไป เช่น ได้รับ Bitcoin เป็นรางวัล​กรณีตัวอย่างดังกล่าวสมมุติ D เป็นคนแรกที่หา key ได้ D จะบันทึก Transaction ใหม่เข้าไปใน ledger  ของ D เอง หลังจากนั้นก็จะทำการประกาศตัว key ที่ได้มา ไปยัง node อื่น ๆ ในเน็ตเวิร์ค เพื่อที่ node อื่น ๆ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาหา key อีกต่อไป โดยสามารถนำ key ที่ได้นี้ไปตรวจสอบและบันทึก Transaction ไปยัง ledger ของแต่ละ node  ได้เลย และแต่ละ node  ก็จะมาหา Transaction ต่อไป เป็นการแข่งกันหา key  เพื่อได้รางวัลหรือ Bitcoin  ในครั้งต่อ ๆ ไป

 

ทสรุปความเข้าใจของ Blockchain

1. Blockchain ไม่ใช่ Bitcoin หรือ Cyrpto แต่ Blockchain  คือ เทคโนโลยี ส่วน Bitcoin  คือ อินโนเวชั่นที่เกิดจากเทคโนโลยีของ Blockchain

 

2. สิ่งที่ Blockchain พยายามแก้ไขปัญหา คือ การไม่ต้องพึ่งพิงตัวกลาง ทำให้ประหยัดเวลาและค่าธรรมเนียม

 

3. หลักการทำงานของ Blockchain

– Open ledger  ใครๆ ก็สามารถตรวจสอบ Transaction ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

– Decentralized การไม่มีใครเป็นศูนย์กลางของระบบ ทำให้ขจัดการพึ่งพิงตัวกลางออกไป

– Miners ในระบบ Blockchain จะมีหน้าที่แข่งกันกันตรวจสอบความถูกต้องของ Transaction ที่เกิดขึ้นระบบ miners จะได้รับรางวัล เช่น Bitcoin เป็นค่าตอบแทนในการนำกำลังเข้ามาช่วยตรวจสอบความถูกต้อง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

บทความ Life+Style ล่าสุด