Tag : SpecialScoop

144 ผลลัพธ์
10 ปี AP Thailand – Mitsubishi Estate ผ่าแนวคิด Inclusive Living การออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อทุกคน

10 ปี AP Thailand – Mitsubishi Estate ผ่าแนวคิด Inclusive Living การออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อทุกคน

10 ปี AP Thailand - Mitsubishi Estate ผ่าแนวคิด Inclusive Living การออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อทุกคน 10 ปี AP Thailand - Mitsubishi Estate นับว่าเป็นการร่วมมือกันทางธุรกิจที่ยาวนานและแข็งแกร่งที่สุดเท่าที่เคยมีมาในวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยเลยก็ว่าได้ ด้วยผลงานร่วมทุน ร่วมพัฒนาคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้า 24 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 116,300 ล้านบาท เพื่อตอบโจทย์ที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุดของคนเมือง พร้อมประกาศเดินหน้าความร่วมมือภายใต้โรดแมป “From Strength to Strength”     ที่ผ่านมาเราคงเคยได้ยินการออกแบบเพื่อมวลชน หรือ Universal Design (UD) มาบ้าง ซึ่งแนวคิดการออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเจาะจงไปที่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสที่มีข้อจำกัดในการใช้เท่านั้น แต่ปัจจุบัน Universal Design (UD) ก็เริ่มมีบทบาทและถูกนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ล่าสุด เราได้รู้จักกับคำว่า “Inclusive Living” (การออกแบบพื้นที่เพื่อทุกคน) จาก AP Thailand ยิ่งประกอบกับการได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นในวาระฉลองครบรอบ 10 ปี แห่งการร่วมมือกันทางธุรกิจระหว่าง AP Thailand – Mitsubishi Estate จึงทำให้เข้าในแนวคิดของคำว่า Inclusive Living มากยิ่งขึ้นไปอีก     หนึ่งในความท้าทายของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ผ่านมาในช่วงหลายปีนี้ คือการออกแบบและพัฒนา “พื้นที่ที่เข้าถึงความต้องการของทุกคน” โดยเฉพาะการออกแบบคอนโดมิเนียมสำหรับคนเมืองที่ต้องการที่อยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์อย่างรอบด้าน ทั้งการเดินทางที่สะดวก ติดแนวรถไฟฟ้า มีพื้นที่ส่วนกลาง และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมการไลฟ์สไตล์ ไปจนถึงสเปซของคนแต่ละช่วงวัย รวมถึงการปรับเปลี่ยนสเปซเพื่อการอาศัยอยู่ร่วมกันของผู้คนได้อย่างสะดวกสบาย ดังนั้นแนวคิด “การออกแบบพื้นที่เพื่อทุกคน” หรือ Inclusive Living ในคอนโดมิเนียมแต่ละโครงการ จึงมีความซับซ้อนในการออกแบบมากกว่าการพัฒนาโครงการทั่วๆ ไป เนื่องจาก “ทุกคนล้วนมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน” ทั้งช่วงวัย ไลฟ์สไตล์ ความพิเศษทางกายภาพ หรือแม้แต่วัฒนธรรมที่หลากหลาย จึงเป็นโจทย์ที่สำคัญในการออกแบบเพื่อทุกคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันได้รับความสะดวกสบายครบครันมากที่สุด   และเมื่อการร่วมมือกันพัฒนาที่อยู่อาศัยของ AP Thailand กับ Mitsubishi Estate จากประเทศญี่ปุ่นไม่ได้จำกัดอยู่แค่การร่วมทุน แต่หมายรวมไปถึงการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี นวัตกรรมร่วมกันชนิดที่มีทีมงานจากญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมานั่งทำงานประจำร่วมกับ AP ที่สำนักงานใหญ่ เราจึงมีโอกาสได้เห็นการออกแบบพื้นที่ในโครงการต่างๆ ที่ JV (Joint Venture) ร่วมกันต่างไปอย่างมีนัยสำคัญ   แล้ว Inclusive Living ต่างกับ Universal Design อย่างไร? ต้องยอมรับว่าญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการใส่ใจในรายละเอียดมากๆ ยิ่งในเรื่องการออกแบบที่อยู่อาศัยด้วยแล้ว ยิ่งมีรายละเอียดที่เกินความคาดหมายไปมาก เราได้เห็นการออกแบบด้วยแนวคิด Inclusive Living ผ่านโครงการ The Parkhouse Nishi Shinjuku Tower 60 คอนโดมิเนียมพร้อมเข้าอยู่ใจกลางโตเกียว ภายใต้การพัฒนาโดย Mitsubishi Estate ตัวโครงการโดดเด่นด้วยการออกแบบพื้นที่ส่วนกลาง (Facilities) เพื่อให้ทุกคนได้มีสภาพแวดล้อม การใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้โดยไม่เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิต ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใด หรือมาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันก็ตาม   เริ่มตั้งแต่การเลือกวัสดุปูพื้นชนิดพิเศษซึ่งกันลื่นได้อย่างดีแม้กรณีพื้นเปียก, ทางเดินแบบไร้สเตปตั้งแต่บริเวณ Drop Off พร้อมติดตั้ง Braille Block ตลอดทาง, ราวจับแบบ 2 ระดับ เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งเด็กและคนชรา พร้อมอักษรเบรลล์บริเวณมือจับเพื่อการสื่อสารให้ผู้พิการทางสายตาทราบได้ว่าเดินอยู่ในตำแหน่งไหนและกำลังนำทางไปสู่ที่ใด ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ คุณอาจจะคุ้นชินหรือเคยเห็นมาบ้างแล้วในแนวคิด Universal Design ในขณะที่แนวคิดแบบ Inclusive Living มีรายละเอียดที่ลงลึกมากไปอีก อย่างเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะถูกมองข้ามหรือคิดไม่ถึง เช่น ระดับความสูงของปุ่มกดลิฟต์, ความหน่วงของการเปิดปิดประตูลิฟต์ สำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดในการใช้งานแบบปกติ, การติดตั้งกระจกด้านในลิฟต์เพิ่ม เพื่อให้ผู้ที่ใช้รถเข็นมองเห็นพื้นที่ด้านหลังก่อนออกจากลิฟต์, รูปแบบของสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เป็นสากล สามารถเข้าใจได้ง่ายแม้จะต่างชาติ ต่างภาษากัน รวมถึงตำแหน่งการติดตั้งสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อให้เห็นได้ชัดเจน     และรายละเอียดที่เหนือกว่าของแนวคิด Inclusive Living คือ การคิดออกแบบไปถึง “Bio Living” การคำนึงการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ภายในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นพืชในสวน ความหลากหลายของพันธุ์พืชเพื่อเกื้อกูลกันในระบบนิเวศน์ รวมไปถึงการคิดคำนึงถึงคนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่รอบๆ โครงการที่จะได้รับประโยชน์จากการอาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชนไปพร้อมๆ กันอีกด้วย     อีกหนึ่งในฟังก์ชันที่น่าสนใจภายในโครงการคือ การนำแนวคิด ENGAWA – Multi Generation Facility มาออกแบบพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อมุ่งเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันของลูกบ้านที่อาศัยอยู่ภายในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้พื้นที่ส่วนนี้ในการทำกิจกรรมร่วมกัน สามารถรองรับได้ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงคุณพ่อคุณแม่ และคนสูงวัย ได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้อย่างราบรื่น AP Thailand ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ ตลอดระยะเวลา 10 ปีแห่งความร่วมมือทางธุรกิจในการพัฒนาคอนโดมิเนียมในประเทศไทย ผ่าน 24 โครงการที่ได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม ด้วยการนำหลากหลายแนวคิดจากพันธมิตรอย่าง Mitsubishi Estate มาพัฒนาโดยมุ่งเน้นถึง “การออกแบบโดยคำนึงถึงการใช้งานของคนทุกกลุ่ม” โดยเฉพาะการดีไซน์พื้นที่สาธารณะ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงได้ง่ายอย่างเข้มข้นและจริงจัง เพื่อตอบโจทย์คุณภาพชีวิตในทุกมิติของการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง     ซึ่งเร็วๆ นี้ AP Thailand – Mitsubishi Estate พร้อมส่ง 2 โครงการ Masterpiece ร่วมทุนที่เป็นความภาคภูมิใจแห่งปี บนที่ดินแลนด์มาร์คสำคัญของกรุงเทพฯ โดยมีไฮไลต์แรก “THE ADDRESS สยาม-ราชเทวี” โครงการระดับเพรสทีจ-ลักซ์ บนทำเลใจกลางมหานคร จาก BTS ราชเทวี เพียง 150 เมตร พร้อมเผยโฉมห้องชุด  1 ห้องนอน 35 ตารางเมตร PANORAMIC CITY VIEW ราคาเริ่มต้น 8.29 ล้านบาท และเตรียมเปิดโอนในวันที่ 26 - 27 สิงหาคมนี้   และอีกหนึ่งไฮไลต์คือ การเปิดแฟล็กชิปโครงการร่วมทุนใหม่ล่าสุด “RHYTHM เจริญนคร” บนที่ดินขนาด 4 ไร่ ตรงข้ามไอคอนสยาม เพียง 100 เมตรจากรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีเจริญนคร ตอบโจทย์ลูกค้าไฮเอนด์ และเป็นต้นแบบ Super Condominium ที่รวมความเป็นที่สุดไว้ในหนึ่งเดียว โดยมีแผนเตรียมเปิดขายในเดือนพฤศจิกายนนี้   #APxMEC10YearOfPartnership #APFromStrengthToStrength #APThai #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #RHYTHMCharoennakhonIconic #TheAddressSiamRatchathewi #APThaiUpdate2023 บทความที่เกี่ยวข้อง เอพี ไทยแลนด์ เปิดตัว “THE ADDRESS สยาม-ราชเทวี”  
เทียบฟอร์มบิ๊กอสังหาฯ ใครจ่ายปันผล ปี 65 ให้ผู้ถือหุ้นสูงสุด

เทียบฟอร์มบิ๊กอสังหาฯ ใครจ่ายปันผล ปี 65 ให้ผู้ถือหุ้นสูงสุด

พลัส พร็อพเพอร์ตี้  เปิดผลการดำเนินงาน​บิ๊กอสังหาฯ ใครจ่ายปันผล ปี 65 ให้ผู้ถือหุ้นสูงสุด  พร้อมประเมินตลาดปีกระต่าย เศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่   นายอนุกูล  รัฐพิทักษ์สันติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมตอบโจทย์ทุกบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ปี 2565 นับได้ว่าเป็นปีแรกที่เริ่มเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจน ภายหลังจากที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจัยสำคัญมาจากการได้รับวัคซีน รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้อย่างเต็มที่   ขณะที่ปี 2566 คาดการณ์ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเต็มที่ ทำให้มีทั้งโอกาสทางธุรกิจ อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าติดตามและเตรียมรับมือในอีกหลายประเด็น ทั้งทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อประเทศไทย แนวโน้มราคาพลังงานและราคาโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น กดดันให้ต้นทุนและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย   อย่างไรก็ดี แม้ปีที่ผ่านมาจะเป็นปีที่มีความท้าทายของการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน แต่ภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯในปีที่ผ่านมา Top 5 อสังหาฯที่ทำกำไรได้สูงสุด ก็สามารถทำกำไรรวมได้เกือบ  30,000 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้าถึง 28.3%   โดยบริษัทที่คว้าแชมป์กำไรสูงสุดคือ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ บริษัทที่มีการเติบโตของกำไรสูงสุดคือแสนสิริ บริษัทที่คว้าแชมป์รายได้สูงสุดและการเติบโตของรายได้สูงสุด คือ เอพี ไทยเลนด์ และบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราสูงสุดคือ แสนสิริ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ รวบรวมผลประกอบการปี 2565 ของยักษ์บริษัทอสังหาฯ  เปรียบเทียบให้เห็นว่า แต่ละบริษัท มีตัวเลขกำไร รายได้ และอัตราการเติบโตมากน้อยแค่ไหน และสิ่งนี้ส่งสัญญาณอะไรต่อตลาดอสังหาฯ ในปี 2566 ที่ยังต้องติดตาม แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กำไรสุทธิ 8,313 ล้านบาท รายได้รวม 36,732 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 6.2%   แสนด์ แอนด์ เอ้าส์ (LH) กลับมาครองแชมป์เป็นบริษัทที่ทำกำไรสูงสุดอีกครั้ง โดยโชว์ผลงานกำไรสุทธิ 8,313 ล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 19.8% โดยมีรายได้ 36,732 ล้านบาท ซึ่งถือว่าอยู่ในอันดับสองของอุตสาหกรรม และเติบโตจากปีที่ผ่านมา 9.6% โดยประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 17 โครงการ มูลค่า 35,000 ล้านบาท แสนสิริ กำไรสุทธิ 4,280 ล้านบาท รายได้รวม 34,983 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 7.9%   แสนสิริ (SIRI) ตอกย้ำความแข็งแกร่งในธุรกิจอสังหาฯ โชว์ผลงานปี 65 กำไรสุทธิ 4,280 ล้านบาท โตก้าวกระโดด 112% ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบ 38 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 12.2% ของรายได้รวม โตขึ้นจากปีก่อนที่มีอัตรากำไรสุทธิ 6.8% โดยไฮไลท์กำไรในไตรมาส 4/65 ไตรมาสเดียวทะลัก 1,791 ล้านบาท โตถึง 422% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน (Dividend yield) 8% สูงสุดในกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ขณะนี้ ขณะที่ยอดขายปี 65 ทะลุ 50,000 ล้านบาท โตจากปีก่อนเกือบ 50% กวาดรายได้รวม 34,983 ล้านบาท โตขึ้น 18% ผลงานรายได้จากการขายโครงการโดดเด่นทุกกลุ่มที่อยู่อาศัย ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 52 โครงการ มูลค่า 75,000 ล้านบาท เอพี ไทยแลนด์ กำไรสุทธิ 5,877 ล้านบาท รายได้รวม 38,706 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 5.2%   ปีที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้สูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรม โดยรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม และธุรกิจอื่นๆ ได้ 38,706 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 21% หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวมเท่ากับ 31,981 ล้านบาท ด้านกำไรสุทธิ 5,877 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 4,543 ล้านบาท เท่ากับ 29.4% นอกจากนั้นที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 66 มีมติอนุมัติจ่ายปันผลจากกำไรสะสม เป็นเงินสดในอัตรา 0.65 บาท/หุ้น ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 58 โครงการ มูลค่า 77,000 ล้านบาท ศุภาลัย กำไรสุทธิ 8,173 ล้านบาท รายได้รวม 35,501 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 6.3%   ศุภาลัย (SPALI) กวาดรายได้รวมเติบโตแบบก้าวกระโดดสูงถึง 35,501 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปี 2564 เกินเป้าหมายที่วางไว้ 29,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ 34,221 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% จากปี 2564 แบ่งเป็นรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์โครงการแนวราบ 54% และคอนโดมิเนียม 46%  และสร้างผลกำไรสุทธิ 8,173 ล้านบาท มากเป็นอันดับสองในอุตสาหกรรมและโตกว่า 16% ส่งผลให้อัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ระดับเพียง 49% จากการเติบโตของยอดรายได้และกำไรดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการงวดปี 2565 ให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 1.45 บาท จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท คงเหลือจ่ายเงินปันผลสำหรับงวด 6 เดือนหลังของปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.75 บาท ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 37 โครงการ มูลค่า 41,000 ล้านบาท พฤกษา กำไรสุทธิ 2,772 ล้านบาท รายได้รวม 28,640 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 7.0%   ปี 2565 พฤกษา โฮลดิ้ง (PSH) ทำกำไรสุทธิ 2,772 ล้านบาท เติบโต 18% มีรายได้ 28,640 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปี 2564 รายได้จากวิมุตเติบโตอย่างก้าวกระโดดเพิ่มขึ้น 4.7 เท่า จากปี 2564 โดยปีนี้วางแผนเพิ่มการลงทุนเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ วางแผนเพิ่มสัดส่วนโครงการในกลุ่มเซ็กเมนต์ระดับกลางไปสูง จับกลุ่มลูกค้าพรีเมียมมากขึ้น พร้อมวางแผนเปิดศูนย์สุขภาพแห่งใหม่ มอบบริการครอบคลุมทุกมุมเมือง ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 23 โครงการ มูลค่า 23,500 ล้านบาท   ทั้งนี้ ตัวเลขของอสังหาฯ รายใหญ่ ทั้งหมดนี้จะเป็นสัญญาณของการพลิกฟื้นตัวที่รวดเร็วของอสังหาฯ ไทย ในปีนี้หรือไม่จึงเป็นสิ่งที่น่าติดตาม ขณะที่ทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย ในปี 2566 REIC คาดการณ์ว่า อุปทานจะมีสภาวะทรงตัวถึงชะลอเล็กน้อย เนื่องจากได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 2564 ตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้เชื่อว่า ยังคงทรงตัวและเป็นช่วงเวลาของการฟื้นตัวให้แข็งแรง เพื่อที่จะขยายตัวได้ดีในปี 2567 *ข้อมูลที่พลัสฯ รวบรวมนำเสนอยังไม่รวมข้อมูลบริษัทที่ยังไม่ได้แจ้งผลประกอบการ ณ สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] พฤกษา โฮลดิ้งโชว์ปี 65 กำไรโต 18% เตรียมผุดศูนย์สุขภาพ -เอพี ไทยแลนด์ เผยผลงานปี 65 ทำรายได้ 49,388 ล้าน พร้อมกวาดกำไรเติบโตกว่า 23%  
อัปเดต ค่ารถไฟฟ้า และการเปิดให้บริการเส้นทางใช้ใหม่ ในปี 2566

อัปเดต ค่ารถไฟฟ้า และการเปิดให้บริการเส้นทางใช้ใหม่ ในปี 2566

อัปเดต ค่ารถไฟฟ้า และการเปิดให้บริการเส้นทางใช้ใหม่ ในปี 2566 คนกรุงเตรียมเฮ เปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสีเหลือง แต่เส้นทางรถไฟฟ้าเดิมปรับราคาขึ้นสูงสุดถึง 3 บาท   นับตั้งแต่เมืองไทยเรามีรถไฟฟ้าสายแรก คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว ให้คนไทยได้นั่งโดยสารกันในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ตอนนี้ก็เป็นระยะเวลา 23  ปีแล้ว ซึ่งตามแผนการพัฒนารถไฟฟ้าของเมืองไทย จะมีรถไฟฟ้ามากถึง 13 สี ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะทางกว่า 553.41 กิโลเมตร จำนวน 365 สถานี ซึ่งหากการพัฒนาเป็นไปตามแผนในปี  2572 เมืองไทยจะมีรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการครบทั้ง 13 สี​ ​แต่แผนกับการปฏิบัติจริงอาจจะไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ระหว่างทางอาจจะมีการปรับเปลี่ยนหรือติดปัญหาอะไรก็เป็นไปได้ คงต้องติดตามข่าวสารกันต่อไป   แต่สำหรับปี 2566 คนไทยจะมีโอกาสได้นั่งรถไฟฟ้าสีใหม่ที่เปิดบริการอีก 2 สี 2 เส้นทางแล้ว หลังรอคอยมาเป็นเวลานานพอสมควร กับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร รถไฟฟ้าสายสีชมพูเปิดส.ค.66 รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี อัปเดตเดือนพฤศจิกายน 2565 ตอนนี้มีความคืบหน้าด้านงานโยธา 93.85% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 94.12% ความก้าวหน้าโดยรวม 94.00% เบื้องต้นมีแผนจะเปิดทดลองให้บริการ สำหรับเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการที่ขอเข้ารับการทดลอง (Control Group Public Trial Run) ตั้งแต่สถานีมีนบุรี-สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 ระยะเวลา 1 เดือนและเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในเดือนสิงหาคม 2566  ส่วนค่าโดยสารเบื้องต้นคาดว่าจะจัดเก็บ  15-45* บาท โดยจะมีการคำนวณอีกครั้งจากค่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคม 2566   รถไฟฟ้าสีชมพู เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) ที่เป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง รวมระยะทางให้บริการ 34.5 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 30 แห่ง โครงสร้างสถานีเป็นลักษณะโครงสร้างยกระดับเหนือพื้นผิวถนน ชานชาลาของสถานีจะอยู่ในรูปแบบของชานชาลาด้านข้างหรืออยู่ตรงกลางขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของใน แต่ละสถานี   นอกจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะมีเส้นทางแคราย-มีนบุรีแล้ว ยังมีสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี (โครงการส่วนต่อขยายฯ) ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย ​​โดยจะเป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟรางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง มีจุด​​เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพูสายหลัก ที่สถานีเมืองทองธานี (PK10) เข้าสู่ ซอยแจ้งวัฒนะ - ปากเกร็ด 39 ไปสิ้นสุดที่บริเวณทะเลสาบในเมืองทองธานี ระยะทางโดยประมาณ 3 กิโลเมตร​ประกอบด้วย 2 สถานี สถานีที่ 1 สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01) และสถานีที่ 2 สถานีทะเลสาบ เมืองทองธานี (MT02) รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดมิ.ย.66 รถไฟฟ้าอีกหนึ่งสีที่คนไทยจะได้นั่งกัน คือ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่วางแผนกันไว้ว่าจะเปิดให้บริการสำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการที่ขอเข้ารับการทดลอง (Control Group Public Trial Run) ตลอดทั้งสาย ภายในเดือนพฤษภาคม 2566 ระยะเวลา 1 เดือน และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในเดือนมิถุนายน 2566  โดยอัตราค่าโดยสารจะอยู่ประมาณ 15-45** ซึ่งจะมีการคำรวนจากค่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมีนาคม 2566 อีกครั้ง   ส่วนอัปเดตงานก่อสร้างล่าสุด เดือนพฤศจิกายน 2565 ดำเนินงานไปได้แล้วถึง​ 97.73% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 97.72% ความก้าวหน้าโดยรวม 97.73% โดยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตรรวม 23 สถานี แบ่งโครงการออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว–พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ–สำโรง ซึ่งใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Monorail ตลอดเส้นทาง อัปเดตค่ารถไฟฟ้าปี 66 ปรับขึ้นเท่าไร? นอกจากปีหน้าเราจะได้นั่งรถไฟฟ้าสีใหม่ เส้นทางใหม่อีก 2 สี 2 เส้นทางแล้ว รถไฟฟ้าสายเดิมที่วิ่งให้บริการอยู่ ก็จะพาเหรดกันปรับขึ้นราคาขึ้น กันหลายสายเลยทีเดียว โดยมีการคิดค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 1-3 บาท   สำหรับอัปเดตค่ารถไฟฟ้าปี 2566 ที่ปรับขึ้นมีดังนี้ 1.BTS สายสีเขียว ปรับขึ้นสูงสุด 3 บาทต่อเที่ยว สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส มีการปรับค่าโดยสารเริ่มต้นสถานีแรก 17 บาท จากก่อนหน้าเริ่มต้น 16 บาท และสูงสุดต่อเที่ยวเดินทาง คือ 47 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาท จากก่อนหน้าที่คิด ​44​ บาท มีกำหนดเริ่มคิดค่าโดยสารใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมนี้   โดยอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นของรถไฟฟ้าบีทีเอส ครั้งแรกกำหนดราคา 10-40 บาท หลังจากนั้นได้มีการปรับราคาใหม่ ซึ่งตลอดระยะเวลา 23 ปีของการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้น มีการปรับค่าโดยสารมาแล้ว 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ธันวาคม 2549 ปรับราคาเป็น 15-40 บาท ครั้งที่ 2 วันที่ 1 มิถุนายน 2556 ปรับราคาเป็น 15-42 บาท ครั้งที่ 3 วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ปรับราคาเป็น 16-44 บาท ตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน ทางบีทีเอสสามารถปรับขึ้นได้ทุก ๆ 18 เดือน ​แต่การปรับขึ้นทางบีทีเอสจะพิจารณาจากหลายปัจจัย เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้โดยสารมากนัก ​โดยค่าโดยสารที่ปรับขึ้นในวันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นนั้น จะเป็น​บัตรโดยสารเที่ยวเดียว (Single Journey Card) บัตรแรบบิทบุคคลทั่วไป (Adult) บัตรแรบบิทนักเรียน นักศึกษา (Student)   ส่วนบัตรแรบบิทสำหรับผู้สูงอายุ (Senior) จะยังคงได้รับส่วนลด 50% ของอัตราค่าโดยสารปกติ สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางแบบไม่จำกัดเที่ยว และระยะทางต่อวัน สามารถซื้อบัตรโดยสารประเภทหนึ่งวัน (One-Day Pass) ในราคา 150 บาท 2.MRT สีน้ำเงิน ปรับขึ้นสูงสุด 1 บาทต่อเที่ยว ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน ก็ปรับค่าโดยสารขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เช่นกัน โดยปรับขึ้น 1 บาท เริ่มต้นจาก 17-42 บาท เป็น 17- 43 บาท  โดยเป็นการปรับค่าโดยสารสำหรับการเดินทางสถานที่ 6, 9, 11 และ 12  การปรับค่าโดยสารเป็นการคิดตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่กำหนดในสัญญาสัมปทาน   ความจริงค่าโดยสารดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค.2565 ที่ผ่านมาแล้ว แต่เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ​กระทรวงคมนาคม และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในฐานะผู้รับสัมปทาน ได้หารือร่วมกันเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะค่าครองชีพสูง จึงยังคงอัตราค่าโดยเดิมไว้ก่อนจนถึง​วันที่ 31 ธันวาคม 2565 3.สีทองปรับขึ้น 1 บาทต่อเที่ยว สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากรถไฟฟ้าบีทีเอส เส้นทางกรุงธนบุรี-คลองสาน ก็มีแผนปรับค่าโดยสารขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เช่นกัน โดยจะปรับขึ้น 1 บาท จากราคา 15 บาท เป็น 16 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารโครงการของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้บริหารจัดการรถฟ้าสายสีทองระยะที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน ​แต่ก็ยังคงมีค่าลดหย่อนให้กับผู้โดยสารต่าง ๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ในอัตราค่าโดยสาร 8 บาทตลอดสายเช่นเดิม ​   ส่วนรถไฟฟ้าเส้นทางอื่น หรือสีอื่น ไม่ว่าจะเป็นสีม่วง สีแดง หรือแอร์พอร์ต เรียลลิงค์ ยังไม่มีความเคลื่อนไหวในด้านราคาว่าจะมีการปรับขึ้นหรือไม่อย่างไร ยังไงหากมีความคืบหน้าจะนำมาอัปเดตและแจ้งข่าวให้ทราบอีกครั้ง       หมายเหตุ *อัตราค่าโดยสารพื้นฐานอ้างอิง ตามเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนของ (RFP) อัตราโดยสาร จะคำนวณใหม่อีกครั้ง อ้างอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2566 **อัตราค่าโดยสารเบื้องต้นอ้างอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภค​เดือนมีนาคม 2565 คำนวณใหม่อีกครั้ง ​-สายสีชมพูช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ยังไม่ได้กำหนดอัตราค่าโดยสาร ที่มา : Reviewyourliving รวมรวม, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชลแห่งประเทศไทย, ก.คมนาคม  
ใครท็อปฟอร์มสุด ในธุรกิจ ร้านวัสดุ-เฟอร์นิเจอร์ Q3/65

ใครท็อปฟอร์มสุด ในธุรกิจ ร้านวัสดุ-เฟอร์นิเจอร์ Q3/65

หลังสถานการณ์โควิด-19 ปรับตัวดีขึ้น คนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนกันหลายเข็ม วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ก็เลยกลับเข้าสู่โหมดปกติ คนออกมาทำมาหากิน ไปทำงานที่ออฟฟิศกันแทบจะเหมือนก่อนหน้าเกิดโควิดระบาดแล้ว ทุกอย่างจึงเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น รวมถึงผลการดำเนินงานของหลาย ๆ ธุรกิจที่เคยได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ประเทศไปก่อนหน้านี้ อย่างธุรกิจจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ของใช้และของแต่งบ้าน หรือร้านวัสดุ   สิ่งที่สะท้อนการฟื้นตัวดังกล่าวได้ดี  คงเห็นได้จากรายงานล่าสุด ของกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ของใช้และของแต่งบ้าน หรือร้านวัสดุ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดเอ็ม เอ ไอ (mai) ที่มีผู้เล่นหลัก ๆ คือ โฮมโปร โกลบอลเฮ้าส์ ดูโฮม อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ และชิค รีพับบลิค ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้และกำไรเติบโตต่อเนื่อง โฮมโปรครองเบอร์ 1 รายได้-กำไร โฮมโปร ถือว่าเป็นผู้นำตลาดร้านวัสดุ เฟอร์นิเจอร์ ของใช้และของแต่งบ้าน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ 92 สาขา (รวมโฮมโปรเอส) รวมถึงยังมีรายได้จากธุรกิจในเครือ อย่างเมกาโฮม ที่มีอยู่ 16 สาขา และโฮมโปรในต่างประเทศอีก 7 สาขาด้วย ทำให้ช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมาสามารถทำรายได้ รวม 1,6941.50 ล้านบาท เติบโต 22.97% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 13,776.84 ล้านบาท   ส่วนรายได้รวมช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีกว่า 50,921.57 ล้านบาท เติบโต 9.36% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมามีรายได้รวม 46,563.69 ล้านบาท และสามารถทำกำไรได้มากถึง 4,564.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.52% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำกำไร 3,665.47 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 3 มีกำไร 1,533.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 76.16% จากไตรมาส 3 ปีที่ผ่านมามีกำไร 870.41 ล้านบาท   กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้โฮมโปร ประสบความสำเร็จด้านรายได้และกำไร นอกจากมีสาขาจำนวนมากแล้ว ยังเป็นเพราะการจัดกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง อาทิ Homepro Super Expo, Homepro Electric Expo 2022 และการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ยังมียอดขายต่อเนื่อง ถือเป็นผู้นำตลาดในกลุ่มธุรกิจดังกล่าว ดูโฮมรายได้โต-แต่กำไรลด หากมามองเฉพาะผลประกอบการในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา จะพบว่า แม้โฮมโปร จะมีรายได้และกำไรมากที่สุด แต่คู่แข่งทางธุรกิจอย่าง ดูโฮม ก็เป็นผู้ประกอบการร้านวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ของใช้และของแต่งบ้าน ที่ถือว่าสามารถทำผลการดำเนินงานได้ดี แม้ว่าจะมีรายได้รวมในไตรมาสเพียง 7,518.76 ล้านบาท ยังห่างจากโฮมโปรอยู่มาก แต่อัตราการเติบโตด้านรายได้ ถือว่าทำได้ดีกว่า โดยมีอัตราการเติบโตถึง 24.0% เป็นการเติบโตสูงที่สุดในกลุ่มธุรกิจ จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ทำรายได้รวม 6,062.78 ล้านบาท   แม้ว่าดูโฮม จะสามารถสร้างรายได้เติบโต แต่อัตราทำกำไรกลับลดลง โดยกำไรในไตรมาส 3 ทำได้ 50.31 ล้านบาท ลดลง 85.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 340.39 ล้านบาท รวมถึงกำไรในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ที่มี 825.22 ล้านบาท ลดลง 44.4% จากช่วง 9 เดือนของปีที่ผ่านมามีกำไร 1,484.86 ล้านบาท แม้ว่าช่วง 9เดือนแรกของปีนี้มีรายได้รวม 23,473.04 ล้านบาท เติบโต 27.8% จากช่วง 9 เดือนของปี 2564 ที่ทำได้ 18,362.01 ล้านบาทก็ตาม   ปัจจัยสำคัญที่กระทบต่ออัตราทำกำไรของดูโฮม คือ ต้นทุนสินค้า ค่าขนส่งที่เพิ่มสูง และต้นทุนการบริหารจัดการที่เพิ่มสูงขึ้น จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูง และผลกระทบจากภาวะฝนตก น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ โกลบอลเฮ้าส์-อินเด็กซ์ ยังโตต่อ โกลบอลเฮ้าส์ หรือบริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ถือได้ว่าเป็นผู้เล่นในตลาด ร้านวัสดุ ที่มีสาขาค่อนข้างเยอะ ถึงสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีสาขารวม 77 แห่ง ซึ่งสามารถทำรายได้ช่วงไตรมาส 3 มากถึง 8,347.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.69% มีกำไร 778.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.41% ช่วง 9 เดือนมีรายได้ 27,571.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.7% และมีกำไร 2,973.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.97% ถึงแม้โกลบอลเฮ้าส์ จะมีรายได้และกำไรเป็นรองโฮมโปร แต่ต้องยอมรับว่าก็มีผลประกอบการที่เติบโตดีไม่น้อยหน้าเลย   ส่วน อินเด็กซ์ หรือ บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้เล่นรายสำคัญของตลาดร้านจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ และของแต่งบ้าน ที่สามารถสร้างรายได้รวมช่วงไตรมาส 3 ได้ 2,219.84 ล้านบาท เติบโต 20.02% มีกำไร 152.59 ล้านบาท เติบโต 173.21% ถือว่าเติบโตสูงสุดในกลุ่มธุรกิจ และมีรายได้รวมช่วง 9 เดือน 6,538.81 ล้านบาท เติบโต 8.17% มีกำไร 475.54 ล้านบาท เติบโต 57.34% ถือว่ามีอัตราการเติบโตสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของกลุ่มธุรกิจ ชิค รีพับบลิค เข้าตลาดก็ขาดทุน สำหรับน้องใหม่ที่เข้ามาจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ อย่างบริษัท ชิค รีพับบลิค จำกัด (มหาชน) ซึ่งเริ่มทำการซื้อขายหุ้นในตลาดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะสามารถนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาด เอ็ม เอ ไอ ได้ แต่ผลการดำเนินงานดูเหมือนจะยังไม่โดดเด่นเท่ากับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ แถมยังขาดทุนจากการดำเนินงานอีกด้วย   โดยกำไรในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาขาดทุน 110,000 บาท แต่ขาดทุนน้อยลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขาดทุน 2.97 ล้านบาท  ส่วนผลประกอบการช่วง 9 เดือนแรก ยังคงมีกำไรรวม 14.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 72.34% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีกำไร 8.64 ล้านบาท ขณะที่มีรายได้รวมช่วง 9 เดือน 601.14 ล้านบาท เพิ่มขั้น 29.16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวม 465.41 ล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บริษัทขาดทุน มีสาเหตุหลักสำคัญ 3 เรื่องได้แก่ การลดลงของรายได้จากงานโครงการ เนื่องจากพื้นที่หน้างานไม่พร้อมให้เข้าติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ โครงการจึงเลื่อนการส่งมอบพื้นที่ ทำให้บริษัทไม่สามารถเข้าติดตั้งงานได้ตามแผน การแก้ไขสัญญาเช่า – สาขาอุดรธานี โดยมีการปรับลดพื้นที่เช่าลงทำให้มูลค่าสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่าลดลง ทำให้เกิดผลต่างจากการแก้ไขสัญญาเช่าจำนวน 4.20 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่จ่ายไปในไตรมาส 3  เนื่องจากบริษัทมีการใช้สื่อทางการตลาดในการทำประชาสัมพันธ์เพื่อรองรับการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นอกเหนือจากการซื้อสื่อทางการตลาดมากขึ้นและการจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายทั้งหน้าร้านและออนไลน์ ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลการดำเนินงานในรอบไตรมาส 3 และช่วง 9 เดือนแรกของปี ที่จะเห็นว่าโฮมโปรยังคงเป็นผู้นำตลาด และท็อปฟอร์มสุด เพราะต้องยอมรับว่าอยู่ในตลาดมานาน  มีสาขาเยอะ และทำการตลาดต่อเนื่อง ส่วนผู้เล่นอื่น ๆ ก็พยายามเร่งสปีดการทำธุรกิจ ขยายสาขา ปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ ซึ่งคงทำให้ยังคงรักษาการเติบโตในแบบของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง   หมายเหตุ : ข้อมูลเฉพาะ 5 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -3 เหตุผล ชิค รีพับบลิค ระดมทุนในตลาด เอ็ม เอ ไอ ขาย 360 ล้านหุ้น -อินเด็กซ์ฯ ปรับตัวสู้โควิด ลุยออนไลน์ สร้างยอดโต 150% เดินหน้าปรับโฉมสาขาจับลูกค้าไฮเอนด์
Q2/65 ชาติไหนโอนคอนโดเยอะสุด

Q2/65 ชาติไหนโอนคอนโดเยอะสุด

โอนคอนโด  เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบใน​ ร่างกฎกระทรวง เกี่ยวกับการให้ต่างชาติ ซื้อที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ ซึ่งมีเงื่อนไขคร่าว ๆ  คือ ต้องลงทุนในไทยมูลค่าไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งก็ทำให้ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียง และมีการ​มองว่าเรื่องนี้เป็นช่องทางให้ต่างชาติเข้ามาฮุบที่ดินของไทย มองเป็นประเด็นเรื่องการขายชาติ   ถ้าจะพูดกันตามความจริงแล้ว ปัจจุบันต่างชาติก็มีการซื้อที่ดิน หรือบ้านแนวราบได้กันอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้เป็นการซื้อในนามบุคคลทั่วไป เป็นการซื้อในนามนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นมา หรือหลายกรณีก็มีการใช้นอมินีที่เป็นคนไทยเข้ามาซื้อ รวมถึงปัจจุบันต่างชาติก็ซื้อที่อยู่อาศัยในบ้านเราได้อย่างถูกกฎหมาย ถือครองได้ตลอดไป แต่ต้องซื้อประเภทห้องชุดของคอนโดมิเนียม  ตามสัดส่วนไม่เกิน 49% ของจำนวนทั้งหมดในโครงการนั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วต่างชาติก็ซื้อกันไม่เต็มโควตา ยกเว้นบางโครงการที่มีการลงทุนโดยต่างชาติร่วมกับคนไทย หรือเป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อจับกลุ่มเป้าหมายต่างชาติเป็นหลักเท่านั้น   นอกจากนี้ ในช่วงเวลาเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีไวรัสโควิด-19 ระบาด การเดินทางเข้ามาซื้อคอนโดในบ้านเราของต่างชาติเรียกได้ว่าเป็นศูนย์เลยทีเดียว ส่วนต่างชาติที่ซื้อคอนโดไว้ก่อนหน้า และถึงกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ หลายคนก็กังวลใจว่าลูกค้าต่างชาติเหล่านั้น จะทิ้งคอนโดที่ซื้อไว้หรือไม่ เพราะเดินทางเข้ามาโอนไม่ได้ แต่เอาเข้าจริงสุดท้ายก็สามารถโอนกันได้ จากการมอบอำนาจและให้ตัวแทนเข้ามาทำนิติกรรมแทน ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์  ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ REIC ได้รายงานสถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติ ทั่วประเทศ ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 ​ว่า มีการเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนยูนิต มูลค่า และพื้นที่ ถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ​และสูงกว่าค่าเฉลี่ยรายไตรมาสในช่วง 2 ปี ที่เกิดโควิด-19 ด้วย   โดยจำนวนยูนิตการโอนคอนโดให้คนต่างชาติทั่วประเทศมีจำนวน 2,326 ยูนิต เพิ่มขึ้น 15.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเป็นจำนวนยูนิตที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยรายไตรมาสในช่วงที่เกิดโควิด-19  ในปี 2563 – 2564 ที่มีจำนวน 2,092 ยูนิตต่อไตรมาส  ขณะที่มูลค่าการโอนคอนโดให้คนต่างชาติทั่วประเทศมีจำนวน 12,114 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) มูลค่าการโอนในไตรมาสนี้ สูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 ปี ในช่วงโควิด -19 ที่มีมูลค่า 9,980 ล้านบาทต่อไตรมาส   ส่วนพื้นที่โอนคอนโดให้คนต่างชาติทั่วประเทศมีจำนวน 109,486 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 27.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) พื้นที่คอนโดที่โอนในไตรมาสนี้ สูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 ปี ในช่วงโควิด-19 ที่มีพื้นที่ 90,325 ตารางเมตรต่อไตรมาส ดร.วิชัย กล่าวอีกว่า การโอนคอนโดให้คนต่างชาติที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งจำนวนยูนิต มูลค่า และพื้นที่ และเป็นการเพิ่มขึ้นในเชิงจำนวนยูนิตสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาสที่ผ่านมา และจำนวนมูลค่าและพื้นที่สูงสุดในรอบ 6 ไตรมาส เช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่า การซื้อคอนโดของคนต่างชาติในช่วงก่อนหน้าได้มีการรับโอนอย่างต่อเนื่อง และยังมีแรงซื้อใหม่จากชาวต่างชาติที่ไม่ใช่ผู้ซื้อชาวจีนเข้ามาทดแทนแรงซื้อคอนโดของชาวจีนที่หายไปจากข้อจำกัดการเดินทางออกนอกประเทศด้วยเช่นกัน   สัดส่วนการโอนคอนโดให้คนต่างชาติปัจจุบันไม่เกิน 10% และเป็นคอนโดมือสองกว่า 30% สัดส่วนยูนิต​โอนคอนโด​ให้คนต่างชาติในไตรมาส 2 ปี 2565 เป็น 9.3% ของการโอนทั้งหมดเ  ซึ่งเพิ่มสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน (9.2%) เพียงเล็กน้อย ส่วนมูลค่าโอนคอนโดให้คนต่างชาติ มีสัดส่วน 18.7% และ พื้นที่คอนโดที่มีการโอนให้คนต่างชาติ มีสัดส่วน  12.7% เพิ่มขึ้นจาก 15.1% และ 11.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ  ซึ่งสะท้อนว่า ผู้ซื้อคอนโดที่เป็นชาวต่างชาติมีการซื้อคอนโดที่มีระดับราคาเฉลี่ยต่อหน่วยที่สูงขึ้นกว่าช่วงปีก่อนหน้า   REIC ยังพบอีกว่า การโอนคอนโดให้คนต่างชาติเป็นคอนโดมือสองในไตรมาส 2 ปี 2565 ด้านจำนวนยูนิตเป็นสัดส่วน 37.1% โดยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 6 ไตรมาสแล้ว และเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในรอบ 18 ไตรมาส ขณะที่ด้านมูลค่า คอนโดมือสองมีสัดส่วน 27.2% และในด้านพื้นที่ คอนโดมือสองมีสัดส่วน 43.3% และเป็นสัดส่วนพื้นที่คอนโดมือสอง โดยเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน 7 ไตรมาส และยังเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในรอบ 18 ไตรมาส “การที่สัดส่วนการโอนคอนโดให้คนต่างชาติที่เป็นมือสองเพิ่มมากขึ้นทั้งจำนวนยูนิต​ มูลค่า และพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง มีข้อสังเกตได้ว่า คนต่างชาติในระยะหลังอาจมีความต้องการคอนโดมือสองมักอยู่ในทำเลพื้นที่ชั้นใน หรือ พื้นที่ใกล้ศูนย์กลางธุรกิจของเมือง ซึ่งในปัจจุบันมีอุปทานให้เลือกน้อยลง ประกอบกับราคาคอนโดมือสองในทำเลเหล่านี้มีราคาที่ต่ำกว่าโครงการเปิดใหม่  จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อจาก ยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย และอินเดีย” จีนครองแชมป์โอนคอนโดเยอะสุด แม้ว่าชาวจีนจะเดินทางมาประเทศไทยในช่วงโควิด-19 ไม่ได้ แต่ยังพบว่า ชาวจีน ยังคงเป็นชาวต่างชาติที่โอนคอนโดเยอะสุดในไตรมาส 2 ปี 2565 ที่ผ่านมา ด้วยจำนวน  2,072 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 25.3% 5 ชาวต่างชาติโอนคอนโดเยอะสุด 1.จีน จำนวน 2,072 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 25.3% 2.รัสเซีย จำนวน 263 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 3.2% 3.สหรัฐอเมริกา จำนวน 228 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 2.8% 4.สหราชอาณาจักร จำนวน 167 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 2.0% 5.เยอรมัน จำนวน 160 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 2.0 % 5 ลำดับต่างชาติโอนคอนโดมูลค่ามากสุด 1.จีน จำนวน 10,493 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 26.4% 2.สหรัฐอเมริกา จำนวน 976 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.5% 3.ฝรั่งเศส จำนวน 933 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.3% 4.รัสเซีย จำนวน 850 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.1% 5.กัมพูชา จำนวน 783 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.0% ต่างชาติซื้อคอนโดไม่เกิน 5 ล้าน สำหรับราคาของคอนโดที่ต่างชาติรับโอนในไตรมาส 2 ปี 2565 มากที่สุดจะมีราคาเฉลี่ยยูนิตละ 5.0 ล้านบาท 5 อันดับราคาคอนโดที่ต่างชาติ ด้านจำนวนโอนมากสุด 1.ราคาไม่เกิน 3.00 ล้านบาท มีสัดส่วน 46.4% 2.ราคา 3.01 - 5.00 ล้านบาท มีสัดส่วน 25.5% 3.ราคา 5.01 - 7.50 ล้านบาท มีสัดส่วน 12.9% 4.ราคามากกว่า 10.00 ล้านบาทขึ้นไป มีสัดส่วน 8.7% 5.ราคา 7.51 - 10.00 ล้านบาท มีสัดส่วน 6.5% 5 อันดับราคาคอนโดที่ต่างชาติ ด้านมูลค่าโอนมากสุด 1.ราคามากกว่า 10.00 ล้านบาท มีสัดส่วน 38.9% 2.ราคา 3.01 - 5.00 ล้านบาท มีสัดส่วน 19.3% 3.ราคาไม่เกิน 3.00 ล้านบาท มีสัดส่วน 15.7% 4.ราคา 5.01 - 7.50 ล้านบาท มีสัดส่วน 15.1% 5.ราคา 7.51 - 10.00 ล้านบาท มีสัดส่วน 11.0% 3 อันดับต่างชาติ ที่มีการโอนคอนโดราคาเฉลี่ยต่อยูนิตสูงสุด 1.ชาวไต้หวัน มีมูลค่าเฉลี่ยต่อยูนิต​ 7.1 ล้านบาท​ 2.ชาวรัสเซีย มีมูลค่าเฉลี่ยต่อยูนิต 3.2 ล้านบาท 3.ชาวเยอรมัน มีมูลค่าเฉลี่ยต่อยูนิต 3.2 ล้านบาท 5 อันดับ ขนาดพื้นที่เฉลี่ยคอนโด ที่ชาวต่างชาติจำนวนโอนมากสุด   1.ขนาดพื้นที่ 46.6 ตร.ม.ต่อยูนิต 2.ขนาดพื้นที่ 31 - 60 ตารางเมตร มีสัดส่วน 51.0% 3.ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 30 ตารางเมตร มีสัดส่วน 32.5% 4.ขนาดพื้นที่ 61-100 ตารางเมตร มีสัดส่วน 10.1% 5.ขนาดพื้นที่มากกว่า 100 ตารางเมตร มีสัดส่วน 6.5% ย้อนหลังไปถึงปี 2561 พบว่า ขนาดไม่เกิน 30 ตารางเมตร และขนาด 31 - 60 ตารางเมตร ก็เป็นประเภทห้องที่คนต่างชาตินิยมมากที่สุด โดยมีสัดส่วนจำนวนยูนิตที่โอนรวมกันสูงกว่า 80% ในแต่ละไตรมาส​ 5 อันดับ ขนาดพื้นที่เฉลี่ยคอนโด ที่ชาวต่างชาติมีมูลค่าโอนมากสุด   1.พื้นที่ 31 - 60 ตารางเมตร มีสัดส่วน 42.3% 2.พื้นที่มากกว่า 100 ตารางเมตร มีสัดส่วน 28.7% 3.พื้นที่ไม่เกิน 30 ตารางเมตร มีสัดส่วน 14.5% 4.พื้นที่ 61-100 ตารางเมตร มีสัดส่วน 14.5%   ย้อนหลังไปถึงปี 2561 พบว่า คอนโดขนาด 31 - 60 ตารางเมตร และขนาดมากกว่า 100 ตารางเมตร เป็นประเภทคอนโดที่ทำให้เกิดมูลค่าการซื้อของคนต่างชาติมากที่สุด มีสัดส่วน 71.0% ในแต่ละไตรมาส   ทั้งนี้ ยังพบว่า สัญชาติที่มีขนาดพื้นที่เฉลี่ยต่อยูนิตในการโอน สูงสุด ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 คือ ชาวอินเดีย ที่มีขนาดพื้นที่เฉลี่ยต่อยูนิต 73.2 ตารางเมตรต่อยูนิตและ ชาวรัสเซีย เป็นกลุ่มที่มีขนาดพื้นที่เฉลี่ยต่อยูนิต 37.0 ตารางเมตรต่อยูนิต ขณะที่​ราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่เป็น 108,133 บาทต่อตารางเมตร  สัญชาติที่มีการซื้อห้องชุดในราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่สูงสุด คือ ชาวไต้หวัน มีราคาเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 155,085 บาทต่อตารางเมตร และรองลงมาเป็นชาวจีน มีราคาเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 129,353 บาทต่อตารางเมตร ต่างชาติยังปักหลักอยู่กทม.มากสุด REIC  ยังพบว่า จังหวัดที่มีจำนวนยูนิต​โอนคอนโดให้คนต่างชาติสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพฯ ชลบุรี สมุทรปราการ ภูเก็ต และเชียงใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ใน 2 จังหวัดแรก คือ กรุงเทพฯ มีสัดส่วน 43.8% และชลบุรี มีสัดส่วน 31.0%  โดยทั้ง 2 จังหวัดมีสัดส่วนจำนวนหน่วยรวมกันสูงถึง 80.7% ของทั่วประเทศ เมื่อพิจารณาย้อนหลังไปถึงปี 2561 พบว่า กรุงเทพฯ และชลบุรี ยังคงเป็นจังหวัดที่มีจำนวนยูนิตโอนคอนโดให้คนต่างชาติในสัดส่วนที่มากที่สุดเช่นเดียวกัน ส่วนอันดับรองลงมาเป็นจังหวัดที่อยู่ในปริมณฑลบางจังหวัดและจังหวัดที่เป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ สมุทรปราการ และภูเก็ต เป็นต้น  ซึ่ง 5 จังหวัดข้างต้นเป็นจังหวัดที่มีมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้คนต่างชาติสะสมสูงสุดด้วยเช่นกัน โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วน 64.4% และชลบุรี มีสัดส่วน 16.0% โดยทั้ง 2 จังหวัดมีสัดส่วนมูลค่ารวมกันสูงถึง 80.4% ของทั่วประเทศ ส่วนอันดับรองลงมาคือ สมุทรปราการ และภูเก็ต   ดร.วิชัย กล่าวว่า จากการประมวลภาพของการโอนคอนโดให้คนต่างชาติทั้งหมด ทำให้เราเห็นได้ว่า ปริมาณทั้งในมิติของจำนวนยูนิต มูลค่า และพื้นที่ เริ่มฟื้นตัวกลับมาแล้ว แต่ยังคงต่ำกว่าช่วงที่ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่มีข้อสังเกตต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า ตัวเลขการโอนเหล่านี้เป็นสิ่งสะท้อนการซื้อขายที่ผ่านมาในช่วง 1- 2 ปีที่ผ่านมา และเห็นว่าการซื้อขายคอนโดที่ผ่านมาสามารถโอน​ได้อย่างต่อเนื่อง และยังพบว่าห้องชุดที่มีการโอนให้คนต่างชาติมีมากกว่า 30% เป็นห้องชุดมือสอง ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การเปิดประเทศและเริ่มดำเนินกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ระหว่างประเทศทั่วโลก เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยเริ่มฟื้นตัว  ซึ่งเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่อาจจะช่วยทำให้จำนวนยูนิต มูลค่า และพื้นที่ในการซื้อและการโอนคอนโดให้คนต่างชาติ ที่อาจมีแนวโน้มที่ทรงตัวจากปัจจุบันหรืออาจเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่ประเทศจีนยังใช้นโยบาย Zero-Covid  ที่ยังคงสร้างข้อจำกัดให้ชาวจีนที่ต้องการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย แม้ว่าพบว่ามีกลุ่มคนต่างชาติอื่นเข้ามาซื้อคอนโดในประเทศไทยมากขึ้นในระยะหลัง แต่คงจะสามารถเข้ามาทดแทนผู้ซื้อชาวจีนบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากผู้ที่จะซื้อชาติอื่นยังมียังคงมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับชาวจีน     บทความที่เกี่ยวข้อง -เปิด 10 อันดับต่างชาติโอนคอนโด Q2/65 จีนยังครองเบอร์ 1 ทั้งปริมาณและมูลค่า ​ -เปิดอินไซต์ตลาดอสังหาฯ ไทย ไตรมาส 2 กับ 7 ปัจจัยเสี่ยงยังกระทบธุรกิจปี 2565
แกะกล่อง แบรนด์ใหม่ บุกตลาดบ้านหรู 20 ล้าน+

แกะกล่อง แบรนด์ใหม่ บุกตลาดบ้านหรู 20 ล้าน+

บ้านหรู 20 ล้าน เป็นที่รู้ ๆ กันอยู่ว่า นับตั้งแต่มีไวรัสโควิด-19 ระบาด คนส่วนใหญ่ก็ใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้น แต่การพักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม ซึ่งเป็นห้องที่มีพื้นที่จำกัด ก็ไม่สามารถตอบโจทย์ในหลาย ๆ เรื่องได้ โดยเฉพาะหากเป็นการอยู่อาศัยด้วยกันหลายคน ที่แต่ละคนต่างก็มีกิจกรรมที่ต้องทำเมื่ออยู่บ้าน ส่งผลให้ความต้องการของคนยุคโควิด-19 เปลี่ยนแปลงไป หันมาต้องการอยู่บ้านที่มีพื้นที่มากขึ้น  ซึ่งคนที่กำลังวางแผนการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ หันมาเลือกซื้อโครงการบ้านจัดสรรกันมากขึ้น แทนการซื้อคอนโด   ขณะเดียวกัน ดีเวลลอปเปอร์เองก็มองเห็นว่า คนส่วนใหญ่มีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป การอยู่อาศัยในคอนโดยุคปัจจุบันไม่ตอบโจทย์กับความต้องการเหล่านั้น จึงได้ลดการพัฒนาโครงการคอนโดลง หรือหยุดการพัฒนาไว้ชั่วคราว และหันมาพัฒนาโครงการบ้านแนวราบแทน   มีประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาโครงการบ้านแนวราบ คือ ผู้ประกอบการหลายราย เลือกที่จะพัฒนาบ้านราคาแพงออกมาทำตลาดเพิ่มมากขึ้น  โดยเป็นกลุ่มบ้านระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเป็นเพราะราคาที่ดินขยับแพงขึ้น ทำให้การพัฒนาบ้านตลาดระดับกลางลงล่าง อาจจะไม่สามารถคุ้มค่าในด้านการลงทุนได้   แต่เหตุผลสำคัญที่สนับสนุนให้ดีเวลลอปเปอร์ ลงทุนพัฒนาโครงการบ้านแพงเหล่านั้น คงเป็นเพราะตลาดมีความต้องการ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีกำลังซื้อสูง และมีศักยภาพสามารถรองรับกับราคาบ้านเหล่านั้นได้  ที่สำคัญกลุ่มลูกค้าเหล่านี้มีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อจากธนาคารต่ำ เมื่อเทียบกับกลุ่มลูกค้าตลาดบ้านราคา 3-5 ล้านบาท แถมลูกค้าบางรายสามารถวางเงินดาวน์ได้สูง หรือไม่ก็ซื้อด้วยเงินสดก็มีให้เห็น บ้านหรู 20 ล้านอัพ เปิดตัวเยอะสุด โดยข้อมูล จากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ REIC ได้รายงานตัวเลขการเปิดตัวบ้านและคอนโดใหม่ ในจังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑล​ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา พบว่า มีการเปิดตัวจำนวน 23.766 ยูนิต แบ่งเป็นบ้านแนวราบจำนวน 8,834 ยูนิต และคอนโดอีก 14,932 ยูนิต โดยจำนวนบ้านและคอนโดทั้งหมดที่เปิดตัวในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 143,399 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านแนวราบมูลค่า 81,158 ล้านบาท และคอนโดมูลค่า 62,241 ล้านบาท   กลุ่มระดับราคาบ้านและคอนโดที่มีจำนวนเปิดตัวใหม่มากที่สุดในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา คือ ​กลุ่มบ้านระดับราคา 2-3 ล้านบาท มีจำนวน 7,217 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 30.4% ของจำนวนรวมทั้งหมด ซึ่งกลุ่มบ้านและคอนโดในระดับราคานี้  ถือเป็นตลาดหลักสำคัญ เพราะคนส่วนใหญ่ของประเทศมีความต้องการสูง และมีความสามารถในการกู้เงินกับธนาคารได้ ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่ เน้นพัฒนาบ้านและคอนโดในกลุ่มนี้ออกมาทำตลาด   ส่วนระดับราคาของกลุ่มบ้านแนวราบ ที่มีจำนวนเปิดตัวเยอะสุดในไตรมาส 2 จะ​เป็นกลุ่มระดับราคา 2-5 ล้านบาท  โดยมีจำนวนถึง 5,089 ยูนิต  คิดเป็นสัดส่วนรวม 57.6% ของจำนวนบ้านแนวราบทั้งหมดที่เปิดตัว ขณะที่กลุ่มคอนโดที่เปิดตัวมากในช่วงไตรมาส 2  คือ คอนโดระดับราคา 1-3 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวน 11,282 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 75.6% ของจำนวนโครงการคอนโดที่เปิดตัวทั้งหมด   แม้ว่าตลาดหลักของบ้านและคอนโด จะเป็นกลุ่มระดับราคา 2-3 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนเยอะสุด แต่มีเทรนด์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงปีนี้ คือ การเปิดตัวโครงการบ้านหรูระดับราคาตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป ออกมาทำตลาดจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแค่จำนวนที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังได้รับกระแสตอบรับจากกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างดีด้วย และด้วยราคาบ้านที่มีราคาสูงตั้งแต่ 20 ล้านบาทไปจนถึงระดับหลักร้อยล้านบาท ส่งผลให้ตลาดบ้านหรูกลุ่มนี้มีมูลค่าการเปิดตัวสูงสุด ด้วยมูลค่า 40,660 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 50.1% รองลงมาเป็นกลุ่มบ้านระดับราคา 10-15 ล้านบาท ด้วยมูลค่า 11,934 ล้านบาท สัดส่วน 14.7% 5 ทำเลเปิดตัวบ้านหรู 20 ล้านเยอะสุด สำหรับทำเลการเปิดตัวโครงการใหม่ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา จะพบว่า เขตธนบุรี มีจำนวนการเปิดตัวโครงการใหม่มากที่สุด จำนวน 3,098 ยูนิต ทั้งหมดเป็นคอนโด ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของเส้นทางรถไฟฟ้าออกไปสู่ชานเมือง การเจริญเติบโตของเมืองที่ขยายออกไป เพราะที่ดินรองรับการพัฒนาในเขตเมืองมีจำกัด และมีราคาสูงจนดีเวลลอปเปอร์ไม่สามารถซื้อมาพัฒนาโครงการขายในราคาที่เหมาะสมได้   ส่วนพื้นที่เปิดตัวโครงการมากที่สุดรองลงมาอีก 4 อันดับ ได้แก่ เขตปากเกร็ด จำนวน 2,739 ยูนิต มีทั้งบ้านแนวราบจำนวน 359 ยูนิต และคอนโด 2,380 ยูนิต เขตบางพลี เป็นโครงการบ้านแนวราบทั้งหมด จำนวน 1,763 ยูนิต เขตลาดพร้าว เป็นคอนโดทั้งหมด จำนวน 1,250 ยูนิต และเขตจตุจักร จำนวน 1,209 ยูนิต แบ่งเป็นบ้านจัดสรร 10 ยูนิตและคอนโด 1,199 ยูนิต   หากพิจารณาจากระดับราคาของที่อยู่อาศัย ที่เปิดตัวในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา จะพบว่าแต่ละพื้นที่มีการเปิดโครงการใหม่ออกขายแตกต่างกันไป ตามดีมานด์และความต้องการของกลุ่มลูกค้าในแต่ลโซน ซึ่งปัจจัยหลักมาจากราคาที่ดินในโซนนั้น ๆ เหมาะสมจะพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาเท่าไรออกมาทำตลาด ซึ่งหากพิจารณาจากกลุ่มราคา จะพบว่าแต่ละกลุ่มราคามีการเปิดตัวในทำเลต่าง ๆ ดังนี้ 5 ทำเล บ้านและคอนโด ราคา 2-3 ล้านบาท ที่มีจำนวนเปิดตัวมากสุด ได้แก่ 1.ลาดพร้าว 2.บางกอกน้อย 3.จตุจักร 4.ปากเกร็ด 5.บางพลี 5 ทำเล บ้านแนวราบ ราคา 2-3 ล้านบาท ที่มีจำนวนเปิดตัวมากสุด ได้แก่ 1.บางพลี 2.พระสมุทรเจดีย์ 3.ธัญบุรี 4.สามพราน 5.กระทุ่มแบน 5 ทำเลบ้านแนวราบ ราคา 3-5 ล้านบาท ที่จำนวนเปิดตัวมากสุด ได้แก่ 1.บางใหญ่ 2.บางบัวทอง 3.ทุ่งครุ 4.บางพลี 5.เมืองสมุทรปราการ 5 ทำเลคอนโด ราคา 1-1.5 ล้านบาท ที่มีจำนวนเปิดตัวมากสุด ได้แก่ 1.ธนบุรี 2.ปากเกร็ด 3.จตุจักร 4.บางเสาธง 5.มีนบุรี 5 ทำเล คอนโด 2-3 ล้านบาท ที่มีจำนวนเปิดตัวมากสุด ได้แก่ 1.ลาดพร้าว 2.บางกอกน้อย 3.จตุจักร 4.ปากเกร็ด 5.มีนบุรี   ส่วนที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าโครงการเปิดตัวมากที่สุดในช่วงไตรมาส 2 นั้น จะเป็นกลุ่มระดับราคา 10-15 ล้านบาท  ด้วยมูลค่า 42,480 ล้านบาท สัดส่วน 29.6% ทำเลที่เปิดตัวมากที่สุด คือ เขตสาทร รองลงมาคือ เขตคลองสาน เขตบางพลี เขตสายไหม และเขตบางกรวย ส่วนที่อยู่อาศัยระดับราคา 20 ล้านบาทขึ้นไปที่มีมูลค่าการเปิดตัวมากสุด ใน 5 ทำเล คือ เขตบางพลี เขตสะพานสูง เขตปากเกร็ด เขตทวีวัฒนา และเขตยานนาวา   สำหรับคอนโดกลุ่มราคาที่มีมูลค่าเปิดตัวมากที่สุด คือ ระดับราคา 10-15 ล้านบาท ​โดยมี​มูลค่าการเปิดตัวถึง​ 30,546 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 49.1% มีการเปิดตัวมากสุดใน 2 ทำเลเท่านั้น คือ เขตสาทร และเขตคลองสาน ขณะที่คอนโดระดับราคา 3-5 ล้านบาท เปิดตัวด้วยมูลค่ามากที่สุดรองลงมา กับมูลค่าการเปิดตัว 13,728 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 22.1%   ส่วนบ้านแนวราบที่มีมูลค่าการเปิดตัวมากที่สุด เป็นกลุ่มราคามากกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยมูลค่า 40,660 ล้านบาท ที่ครองสัดส่วน 50.1% ซึ่งมี 5 ทำเลหลักเปิดตัวมากที่สุด คือ  1.บางพลี 2.สะพานสูง 3.ปากเกร็ด 4.ทวีวัฒนา และ 5.ยานนาวา 7 แบรนด์ใหม่ลุยตลาดบ้าน 20 ล้าน จากเทรนด์การเปิดตัวบ้านแนวราบจำนวนมากในปีนี้ ซึ่งมีดีเวลลอปเปอร์จำนวนหนึ่ง เน้นการเปิดตัวบ้านหรูระดับราคา 20 ล้านบาทขึ้นไปมากขึ้น ทำให้บ้านกลุ่มนี้มีมูลค่าสูงกว่าบ้านในกลุ่มราคาอื่น ๆ ซึ่งหลายโครงการได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าระดับบน มีบางโครงการสามารถปิดการขายได้ในระยะเวลาเพียงเดือนเดียวเท่านั้น   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC แสดงความเห็นว่า การเปิดตัวโครงการใหม่ ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โครงการคอนโดจะเปิดตัวสัดส่วน 60% บ้านแนวราบสัดส่วน 40% แต่ช่วงเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สัดส่วนการเปิดตัวโครงการบ้านแนวราบจะมากกว่าคอนโด   อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทำให้ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาการเปิดตัวโครงการคอนโดกลับมามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนมีสัดส่วนมากกว่าบ้านแนวราบ แต่หากพิจารณาในด้านมูลค่า กลับพบว่าบ้านแนวราบมีสัดส่วนที่มากกว่าโครงการคอนโด ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลฯ เป็นเพราะดีเวลลอปเปอร์หันมาเปิดตัวโครงการบ้านหรูระดับราคาตั้งแต่ 10-15 ล้านบาท และระดับราคามากกว่า 20 ล้านบาทเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ​ ตลาดบ้านเดี่ยว 20 ล้านบาทขึ้นไป เมื่อก่อนมีซัพพลายไม่มาก เพราะผู้ซื้อซึ่งเป็นกลุ่มคนมีรายได้สูง มักจะซื้อคอนโดหรู อาศัยอยู่ใจกลางเมืองเป็นหลัก หรือเป็นกลุ่มที่ซื้อคอนโดเพื่อลงทุน แต่ตอนนี้ความต้องการเปลี่ยน ต้องการมีพื้นที่การอยู่อาศัยมากขึ้น จึงหันมาอยู่บ้านแนวราบ หรือกลุ่มครอบครัวขยาย ทำให้ดีเวลลอปเปอร์พัฒนาโครงการพวกนี้ออกมามากขึ้น และขายดีจนแทบไม่มีซัพพลายเหลือในตลาด จากการสำรวจของ Reviewyourliving ยังพบว่า ปัจจุบันมีกว่า 10 ดีเวลลอปเปอร์ ที่พัฒนาโครงการบ้านหรู 20 ล้านบาทขึ้นไปออกมาทำตลาด ภายใต้แบรนด์บ้านกว่า 29 แบรนด์ เฉพาะในปีนี้มีการพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวภายใต้แบรนด์ใหม่ออกมาถึง 7 แบรนด์​ และมีดีเวลลอปเปอร์รายเดิม นำแบรนด์บ้านหรูที่หยุดทำตลาดไป กลับมาทำตลาดใหม่อีกครั้งด้วย   สำหรับแบรนด์ใหม่ที่เข้ามาทำตลาดในปีนี้ ได้แก่ แบรนด์ศิรนินทร์ ของบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) แบรนด์บ้านเดี่ยวระดับราคาตั้งแต่ 65-180 ล้านบาท แบรนด์แซงค์ รอยัล ของบริษัท แอสเซท ไฟว์ จำกัด แบรนด์บ้านเดี่ยวระดับราคา ​50-100 ล้านบาท ขณะที่บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) ในปีนี้ได้พัฒนาแบรนด์บ้านเดี่ยวหรูออกมาทำตลาดถึง 5 แบรนด์ ดังนี้ ​ 1.แบรนด์วัน เกต ราคา 93-135 ล้านบาท 2.แบรนด์ทู เอกมัย  ราคาเริ่มต้น 85 ล้านบาทขึ้นไป ​3.แบรนด์พาร์ค เฮอริเทจ ราคา 49-85 ล้านบาท​ 4.แบรนด์บาร์นยาร์ด เขาใหญ่ ราคาเริ่ม 15.9 ล้านบาท และ​​ 5.แบรนด์โพรวิเดนซ์ เลน ราคาเริ่ม 39 ล้านบาท ส่วนดีเวลลอปเปอร์ที่เคยมีแบรนด์บ้านหรู และหยุดทำตลาดไป ซึ่งในปีนี้ได้นำแบรนด์ดังกล่าวกลับมาทำตลาดใหม่อีกครั้ง ได้แก่ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ที่นำแบรนด์บ้านกลางเมือง คลาสเซ่ ที่เคยทำตลาดเมื่อ 7 ปีก่อน นำกลับ​มาทำตลาดใหม่อีกครั้ง เป็นกลุ่มบ้านทาวน์โฮม ในระดับราคา 10-20 ล้านบาท และบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ที่นำแบรนด์บ้านนาราสิริ ที่ได้หยุดพัฒนาไปหลายปี นำกลับมาทำตลาดใหม่อีกครั้ง กับบ้านเดี่ยวหรูราคา 50-100 ล้านบาท   ทั้งหมดนี้ ก็เป็นข้อมูลตลาดบ้านหรู 20 ล้านบาทขึ้นไปในปีนี้ ที่ถือว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจและมีศักยภาพสูง สำหรับดีเวลลอปเปอร์ในการสร้างการเติบโต ทั้งด้านรายได้และกำไร เพราะฐานลูกค้าสามารถให้การตอบรับกับสินค้าเหล่านี้ได้ แม้ว่าจะเป็นฐานลูกค้านิชมาร์เก็ต ที่มีจำนวนจำกัดก็ตาม ซึ่งเชื่อว่าจะมีดีเวลลอปเปอร์อีกหลายรายที่สนใจและจะเข้ามาพัฒนาโครงการในระดับราคานี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดที่มีศักยภาพนี้ จากที่ผ่านมาก็มีดีเวลลอปเปอร์หลายราย ทำตลาดอยู่ก่อนหน้าแล้ว ส่วนใครจะได้ส่วนแบ่งไปมากที่สุดคงต้องติดตามกันต่อไป   บทความที่เกี่ยวข้อง -สัมมากร ลุยตลาดลักชัวรี่ขายบ้าน 30 ล้าน สู้โควิด-19 เดินหน้าปั๊มยอดขายทั้งปีโต 20%
ส่อง ตลาดที่อยู่อาศัยปี 66  การเติบโตท่ามกลางปัจจัยเสี่ยง ดอกเบี้ย-ต้นทุนพุ่ง

ส่อง ตลาดที่อยู่อาศัยปี 66 การเติบโตท่ามกลางปัจจัยเสี่ยง ดอกเบี้ย-ต้นทุนพุ่ง

ตลาดที่อยู่อาศัยปี 66 แม้ว่าตอนนี้ จะยังไม่สิ้นสุดปี 2565 แต่ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเวลาที่เหลือสำหรับปีนี้ คงไม่ได้มีอะไรหวือหวา หรือแตกต่างไปกว่าช่วงระยะเวลาเกือบ 9 เดือนที่ผ่านมา  ซึ่งทางศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย หรือ กรุงไทยคอมพาส (KrungthaiCOMPASS) ประเมินว่า ในปี 2565 มูลค่าตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีมูลค่า 604,000 ล้านบาท ฟื้นตัวจากปีก่อนหน้า 3.3%​ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากหลายปัจจัย แต่ขณะเดียวกันก็มีหลายปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตต่อเนื่องไปถึงตลาดอสังหาฯ ในปีหน้าด้วย โดยเฉพาะเรื่องของราคาวัสดุก่อสร้างและต้นทุนดอกเบี้ยขาขึ้น   สำหรับทิศทางในปี 2566 ตลาดบ้านและคอนโดจะเป็นอย่างไรนั้น กรุงไทยคอมพาส ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ “ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565-2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวท่ามกลางความเสี่ยงจากดอกเบี้ยขาขึ้น และต้นทุนพัฒนาโครงการยืนสูง” โดยนายคณิศ อ่ำสกุล นักวิเคราะห์ ซึ่งจะทำให้พอเห็นภาพและประเมินสถานการณ์ของตลาดที่อยู่อาศัยในปีหน้าได้ว่าจะเติบโตต่อเนื่อง หรือชะลอตัวลง ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ ตลาดที่อยู่อาศัยปี 66 โต 4.2% กรุงไทยคอมพาส ประเมินว่า ในปี 2566 ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะเติบโต 4.2%  จากปี 2565 ที่มีมูลค่า 604,000 ล้านบาท  ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจาก 3 เรื่องดังนี้​ 1.การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ในปีนี้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมองว่าการฟื้นตัวจะยังคงมีอย่างต่อเนื่องไปถึงปีหน้าด้วย   จากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ทั้งการผ่อนปรน LTV และการลดค่าธรรมเนียมโอน-จำนอง ทำให้ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2565 มีการฟื้นตัวในอัตรา 3.3%​ จากปีก่อนหน้า และคาดว่าจะมีมูลค่า 604,000 ล้านบาท   โดยที่อยู่อาศัยประเภทบ้านจัดสรร อาทิ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮ้าส์ ที่สามารถตอบโจทย์การทำงานจากที่บ้าน (WFH) ได้ดีกว่าคอนโดมิเนียมยังคงได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคสะท้อนจากยอดโอนกรรมสิทธิ์ในครึ่งแรกของปี 2565 ที่ขยายตัว สูงถึง 7.2%   ทั้งนี้ สำหรับมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ทั้งการผ่อนปรน LTV ให้ ผู้กู้ทุกสัญญาสามารถกู้ได้เต็ม 100% และการลดค่าธรรมเนียมโอน-จำนองให้ เหลือรายการละ 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยไม่เกิน 3 ล้านบาท กระทรวงการคลัง และธปท. กำลังหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะต่ออายุทั้ง 2 มาตรการต่อไปอีก 1 ปี จากที่จะสิ้นสุดลงปลายเดือนธันวาคม 2565 เป็นปลายปี 2566 แทน1 2.การกลับมาของกําลังซื้อต่างชาติ กรุงไทยคอมพาส ยังประเมินว่า ในปี 2566 กําลังซื้อต่างชาติจะกลับมา หลังจากสถานการณ์การเดินทางระหว่างประเทศที่เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติมากขึ้น จะส่งผลให้มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ 4.2% เมื่อเทียบกับปี 2565 คิดเป็นมูลค่า 630,000 ล้านบาท  โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยว 21.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่คาดว่าจะมีจำนวน 8.9 ล้านคน จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญต่อตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2566 เพราะทำให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในไทย ของชาวต่างชาติเติบโตตาม โดยเฉพาะจากชาวจีนซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของกาลังซื้อต่างชาติทั้งหมด   ข้อมูล Juwai.com เว็บไซต์ซื้อขายยอสังหาฯ ในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของจีน แสดงให้เห็นว่าชาวจีนยังคงให้ความสนใจในภาคอสังหาฯ ไทย  เพราะอสังหาฯ ไทยยังได้รับการค้นหาและมีคำสั่งซื้ออยู่ใน 3-4 อันดับแรกอย่างต่อเนื่อง ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ กลุ่มที่อยู่อาศัยที่จะได้ประโยชน์จากการกลับมาของกำลังซื้อต่างชาติมากที่สุดได้แก่ คอนโด ขนาด 40-50 ตร.ม. ราคา 4-5 ล้านบาทต่อยูนิต  ในทำเลยอดฮติ ของต่างชาติ อย่าง สุขุมวิท สาทร อโศก พระราม 9 และรัชดา เป็นต้น 3.การต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ในปี 2566 มีการคาดการณ์กันว่ารัฐบาลจะมีการต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่ใช้ในปีนี้ออกไปอีก 1 ปี เพื่อกระตุ้นภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศให้ฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งในส่วนของมาตรการผ่อนปรน LTV และ มาตรการลดค่าธรรมเนียมโอน-จำนอง จากที่กำหนดสิ้นสุดในปลายเดือนธันวาคม 2565 โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังกำลังอยู่ใน ระหว่างการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งหากมีการต่ออายุมาตรการดังกล่าวไปอีก 1 ปี จะส่งผลต่อ การเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2566 ปี 66 อสังหาฯ เปิดใหม่ 1 แสนยูนิต ด้านจำนวนการเปิดตัวใหม่ของตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2565-2566 กรุงไทยคอมพาส ประเมินว่า มีแนวโน้มการเปิดตัวสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะอยู่ในระดับ 90,000-100,000 ยูนิต ซึ่งสูงกว่าปี 2564 ที่เปิดใหม่ประมาณ 56,800 ยูนิต   ที่อยู่อาศัยที่เปิดใหม่ แบ่งเป็น บ้านจัดสรร 40,000-45,000 ยูนิต และคอนโด 50,000-55,000 ยูนิต เนื่องจากผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยต้องเร่งตุน Backlog ให้กับตนเอง โดยหลังจากช่วงการระบาดของโควิด-19 ในปี 2563-2564 ผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยส่วน ใหญ่ตัดสินใจที่จะรักษาสภาพคล่องด้วยวิธีการเน้นขายสต็อกเก่าที่สร้างเสร็จแล้ว และเลื่อนการเปิดโครงการใหม่ออกไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ส่งผลให้หน่วยเปิดใหม่ในช่วงเวลาดังกล่าวจึงอยู่ในระดับต่ำเพียงปีละ 65,000 ยูนิต เท่านั้น   แนวโน้มจำนวนยูนิตเปิดใหม่ที่จะปรับตัวสูงขึ้นในปี 2565-2566 สอดคล้องแผนงานของดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ (Top Developers) ที่เกือบทั้งหมดมีแผนจะเปิดโครงการใหม่ในปี 2565 ในระดับที่สูงขึ้นจากปี 2564 เช่น  เอพี​ ในปีนี้มีแผนจะเปิดโครงการใหม่ 60 โครงการ มูลค่า 75,000 ล้านบาท สูงขึ้นจากปี 2564 ที่มีโครงการเปิดใหม่จำนวน 19 โครงการ มูลค่า 22,540 ล้านบาท และ แสนสิริ ที่ตั้งเป้าเปิดโครงการใหม่ในปีนี้ จำนวน 46 โครงการ มูลค่า 50,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปี 2465 ที่เปิดโครงการใหม่จำนวน 15 โครงการ มูลค่าเกือบ 8,100 ล้านบาท (รูปที่ 2)   ทั้งนี้  จำนวนเปิดใหม่ที่สูงขึ้นในกลุ่มบ้านจัดสร รซึ่งโดยทั่วไปมักใช้ระยะเวลาก่อสร้างค่อนข้างเร็วที่ 6-12 เดือน ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนให้มูลค่าตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2566 มีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่เร่งขึ้นจากปีนี้เช่นกัน   ส่วนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ​ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวนยูนิตเปิดใหม่ราว 51,500 ยูนิต สูงขึ้นกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับทั้งปีที่ผ่านมา แบ่งเป็น บ้านจัดสรร 21,500 ยูนิต และคอนโด 30,500 ยูนิต โดยกลุ่มที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท ที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภค ซึ่งสะท้อนจากการมียอดขาย (Pre-sale) อยู่ในระดับสูง เป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยดังนี้ บ้านเดี่ยว ราคามากกว่า 20 ล้านบาท มียอดขาย 18.9% บ้านแฝด ราคา 5-10 ล้านบาท มียอดขาย 23.4% ทาวน์เฮ้าส์ ราคา 5-10 ล้านบาท มียอดขาย 57.8% คอนโด กลุ่มที่ได้รับความนิยมสุดคือ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท หรือ กลุ่มที่เน้นการมอบความคุ้มค่าให้ผู้บริโภค โดยมียอด มียอดขาย 37.4% สำหรับกลุ่มผู้นำตลาดอสังหาฯ 10 อันดับแรก (Top 10 Developers) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย3 ยังคงมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวมในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้มูลค่า 105,617 ล้านบาท ขยายตัว 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า  ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่มีมูลค่า 103,128 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 อยู่ในอัตรา 2.4%   โดยรายได้ที่สูงขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก ที่อยู่อาศัยในกลุ่มบ้านจัดสรร อาทิ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮ้าส์ ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค เนื่องจากเป็นประเภทของที่อยู่อาศัยที่มีขนาดและพื้นที่ที่ตอบโจทย์การ WFH ​มากกว่าคอนโด  เห็นได้จากจากรายได้ในกลุ่มบ้านจัดสรรของผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้  ​อาทิ เอพี ขยายตัวถึง 21.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เอสซีแอสเสท ขยายตัว 11.7% ศุภาลัย ขยายตัว 22.1%​ แม้ว่าดีเวลลอปเปอร์หลายรายจะมีรายได้เติบโต แต่ก็มีผู้ประกอบการบางรายที่รายได้ลดลงเช่นกัน (รูปที่ 3)   ส่วนด้านการทำกำไร พบว่า ดีเวลลอปเปอร์ผู้นำตลาด 10 อันดับแรก มีอัตรากําไรสุทธิเฉลี่ยที่สูงขึ้นจาก 12.5% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 มาอยู่ที่ 12.9% ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ เป็นผลจากการลดความรุนแรงในการแข่งขันทำโปรโมชั่นทางการตลาดลง แต่ความสามารถในการกำไรโดยเฉลี่ยยังต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด-19 อยู่พอสมควร ซึ่งช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 มีกำไรสุทธิเฉลี่ยในที่ 15.5% 2 ปัจจัยกระทบตลาดที่อยู่อาศัยปี 2566 แม้ว่าแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในปีหน้าจะฟื้นตัวดีขึ้นจากช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จาก 3 ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีปัจจัยลบที่อาจจะกระทบตต่อธุรกิจอสังหาฯ ได้เช่นกัน คือ 1. เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น และ 2.ต้นทุนการพัฒนาโครงการที่ยังสูง  ซึ่งเป็นปัจจัยลบสำคัญต่อต้นทุนการดำเนินงานของผู้พัฒนาที่อยู่อาศัย  ถือเป็น 2 สิ่งที่ควรจับตามองในปี 2566 1.อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น กรุงไทยคอมพาส คาดว่าอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี 2565 จนถึงปี 2566 จะอยู่ในทิศทางปรับตัวสูงขึ้นโดยมีแรงผลักดัน หลักจาก -คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 2 ครั้งจากปัจจุบันที่ 0.75% เป็น 1.25% ในปี 2565 ก่อนปรับขึ้นอีก 3 ครั้งเป็น 2% ใน ปี 2566   -การปรับขึ้นค่าธรรมเนียมนําส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ FIDF ที่ใน 1 มกราคม 2566 จะกลับมาจ่ายในอัตราเดิมที่ 0.46% จากอัตราปัจจุบันที่ 0.23%4 ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยทั้งฝั่งผู้บริโภคและผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยจะได้รับ ผลกระทบผ่านต้นทุนการกู้ยืมที่ทั้ง Minimum Retail Rate (MRR) และ MinimumLoanRate(MLR)ที่มีแนวโน้มปรบัตัวสูงขึ้นตาม   สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบกับ 2 เรื่องหลัก ๆ ดังนี้ 1.กระทบต่อผู้บริโภค โดยจะมี 2 กลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ​ -กลุ่มที่กําลังผ่อนชําระที่อยู่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีค่างวดที่ต้องชาระต่อเดือนไม่เปลี่ยนไป แต่ค่างวดดังกล่าวจะถูกนำไปชำระดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น และเหลือส่วนต่างที่จะนำไปตัดเงินต้นได้ลดลง หมายความว่า ผลกระทบของผู้บริโภคในกลุ่มนี้จะอยู่ในรูปแบบของระยะเวลาในการผ่อนชำระที่มีโอกาสนานขึ้นหากอัตราดอกเบี้ยยังคงเป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง   -ผู้ที่มีความสนใจจะขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในช่วง 1-2 ปีนี้ การลดลงของมูลค่าที่อยู่อาศัยสูงสุดที่สามารถซื้อได้ โดยเราคาดว่าทุก ๆ การขึ้นดอกเบี้ย 1% มีแนวโน้มจะทำให้มูลค่าที่อยู่อาศัยสูงสุดที่ผู้บริโภคสามารถซื้อได้ลดลงไปราว 10%6 ยกตัวอย่างเช่น ที่อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5% ผู้บริโภคที่มีกำลังผ่อน 6,000 บาท/เดือน จะสามารถกู้ซื้อที่อยู่อาศัยได้ในราคาสูงสุด ราว 1 ล้านบาท แต่หากอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยขึ้นเป็น 6% ผู้บริโภคจะต้องมี กำลังผ่อน 6,700 บาท/เดือน ถึงจะสามารถกู้ซื้อที่อยู่อาศัยในราคาเดิมได้ ดังนั้นหากผู้บริโภคมีกำลังผ่อนเท่าเดิมที่ 6,000 บาท/เดือน ก็จำเป็นต้องซื้อที่อยู่อาศัยในราคาที่ถูกลงมาที่ 900,000บาทเป็นการทดแทน   2.ผลต่อผู้พัฒนาที่อยู่อาศัย การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ผู้พัฒนาที่อยู่อาศัย มีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น โดยเมื่อกําหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ Krungthai COMPASS คาดว่าทุก ๆ การขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1% จะส่งผลให้ผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยมี Net Profit Margin ลดลงโดยเฉลี่ยที่ -0.56% เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น​ใน 1-2 ปีนี้จึงเป็นปัจจัยกดดันต่อการทำกําไรของผู้พัฒนําที่อยู่อําศัย (รูปที่ 6)   อย่างไรก็ดี ผลกระทบของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ Net Profit Margin ของผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยแต่ละรายยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ สัดส่วนการพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากสินเชื่อ (Loan) และหุ้นกู้ (Bond) ต่อ ส่วนของเจ้าของ สัดส่วนของสินเชื่อและหุ้นกู้ที่กำหนดให้จ่ายดอกเบี้ยใน อัตราผันแปร (Float Rate) รวมถึงการครบกำหนดชำระของหุ้นกู้  โดยหากผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยรายใดมีการใช้แหล่งเงินทุนจาก Loan และ Bond ในรูปแบบ Float Rate ที่มาก หรือมีความจำเป็นที่จะต้อง Rollover หุ้นกู้ เพื่อนำมาชำระหุ้นกู้เดิมก็มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยรายอื่น ๆ 2.ต้นทุนพัฒนายังสูงต่อเนื่อง ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ราคาวัสดุก่อสร้างหลายรายการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก จากปัจจัยในเรื่องของราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น  โดยเฉพาะเหล็กและปูนซีเมนต์ เช่นเดียวกับราคาที่ดินซึ่งยังเติบโตต่อเนื่องแม้จะอยู่ในภาวะการแพร่ระบาด ของโควิด-19 หรือ แม้ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ได้เติบโตเร็วนักก็ตาม   ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ​ราคาวัสดุก่อสร้างโดยรวม ปรับตัวสูงขึ้นไปแล้ว 5.8% จากปี 2564 เพิ่มขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังที่เพิ่มขึ้นปีละ 1.9% อย่างเห็นได้ชัด โดยราคาเหล็ก ปรับเพิ่มขึ้นมากสุดที่ 10.3% รองลงมาได้แก่ ปูนซีเมนต์ 5.3% ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 4.2%กระเบื้อง 4% และอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา7 3.8%   สำหรับวัสดุก่อสร้างหลักอย่าง ราคาเหล็ก คาดว่าจะปรับตัวลดลงแรงในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้  แม้สถานการณ์ภาคอสังหาฯ ของจีน จะทำให้ความต้องการใช้เหล็กลดลดก็ตาม ​ แต่ราคาเหล็กโดยเฉลี่ยในปี 2565-66 คาดว่า จะยังยืนอยู่ในระดับสูงที่ 23,500-24,000 บาท/ตัน เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยใน 5 ปีที่ผ่านมาซึ่งมีราคา​ 20,800 บาท/ตัน เช่นเดียวกับราคาวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปีนี้  จากต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบที่ยังอยู่ใน ระดับสูงกว่าในอดีต   ส่วนด้านราคาที่ดินยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง  จากดัชนีราคาที่ดินในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงครึ่งปีแรกที่ยังสูงขึ้น 2.6% จากค่าเฉลี่ยปี 2564 ส่งผลต่อการพัฒนาโครงการใหม่จะมีต้นทุนที่สูงขึ้นด้วย (รูปที่ 7)  ขณะที่การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ คาดว่าจะกระทบภาคอสังหาฯ บ้าง แต่มีแนวโน้มที่จะไม่มากนัก เนื่องจากค่าจ้างแรงงานในธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย โดยสวนใหญ่จะสูงเกินค่าแรงขั้นต่ำอยู่ก่อนแล้ว และในปัจจุบันยังมีการใช้เทคโนโลยีก่อสร้างบ้านด้วยระบบ Precast มากขึ้น ซึ่งช่วยลดการใช้จำนวนแรงงานได้ในระดับหนึ่ง   อย่างไรก็ดี ยังคงต้องจับตาปัจจัยด้านดอกเบี้ยขาขึ้น และต้นทุน การพัฒนาโครงการที่อยู่ในระดับสูงอย่างใกล้ชิด เนื่องจากทั้ง 2 ปัจจัยจะส่งผล โดยตรงต่อการซื้อ ของผู้บริโภคและความสามารถในการทำกำไรของผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยในระยะ 1-2 ปีนี้ 3 บทสรุปตลาดที่อยู่อาศัยปี 66 กรุงไทยคอมพาส มองตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงปี 2565-66 ดังนี้ 1.ตลาดที่อยู่อาศัยจะอยู่ในทิศทางขยายตัวทั้งในฝั่งของความต้องการซื้อจากการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจและการ กลับมาของกำลังซื้อต่างชาติ เช่นเดียวกับการเปิดโครงการใหม่ๆ ของผู้พัฒนาที่ อยู่อาศัยที่จะกลับมาอยู่ในระดับปีละ 90,000-100,000 ยูนิต อีกครั้งเพื่อชดเชย การเปิดโครงการใหม่ในระดับต่ำเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา   2.ตลาดที่อยู่อาศัยยัง มี Upside จากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐทั้งมาตรการผ่อนปรน LTV และ มาตรการลดค่าธรรมเนียมโอน-จำนองที่มีโอกาสจะต่ออายุอีก 1 ปี จากเดิมที่กำลัง จะหมดอายุลงในปลายปี 2565 นี้ โดยในปัจจุบัน กระทรวงการคลังกำลังอยู่ใน ระหว่างการหารือกับ ธปท.   3.อย่างไรก็ดี ยังต้องจับตา Downside ของตลาดที่อยู่ อาศัย ทั้ง 1.ปัจจัยดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งประเมินว่าทุก ๆ การขึ้นดอกเบี้ย 1% จะทำให้มูลค่า ที่อยู่อาศัยสูงสุดที่ผู้บริโภคสามารถซื้อได้ลดลงไปราว 10% และทำให้ผู้พัฒนาที่อยู่ อาศัยมีกำไรสุทธิลดลง -0.56% ผ่านต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น  และ 2.ต้นทุน พัฒนาโครงการที่ยังอยู่ในระดับสูงจากราคาวัสดุก่อสร้างที่ยังยืนสูง และราคาที่ดิน ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง  
อัปเดตตลาดคอนโด ครึ่งปีแรก 65 พื้นที่ชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า กับ 9 ประเด็นสำคัญ

อัปเดตตลาดคอนโด ครึ่งปีแรก 65 พื้นที่ชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า กับ 9 ประเด็นสำคัญ

  อัปเดตตลาดคอนโด พื้นที่ชะอำ หัวหิน และเขาเต่า ในช่วงครึ่งปีแรก พบเปิดตัวใหม่ 1 โครงการ พื้นที่ใกล้ถนนหัวนาทับใต้  ซัพพลายสะสม  28,307 ยูนิต  ขณะที่ครึ่งปีแรกมียูนิตขายได้ทั้งสิ้น 1,773 ยูนิต  บทสรุปปี 65 ตลาดมีแนวโน้ฟื้นตัวดีขึ้น กำลังซื้อกลับมา   นายณัฎฐา คหาปนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด  เปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดคอนโดมิเนียมในพื้นที่ชะอำ หัวหิน และเขาเต่า ในช่วงครึ่งปีแรก 2565 ที่ผ่านมา พบว่า เริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า เนื่องจากซัพพลายคอนโดในตลาดที่มีเหลือน้อย ขณะที่ดีเวลลอปเปอร์ได้มีการจัดรายการส่งเสริมการขายอยู่ตลอด เพื่อลดจำนวนยูนิตเหลือขายลง ทำให้ภาพรวมในปีนี้ ตลาดน่าจะฟื้นตัวดีขึ้น   โดยจากการสำรวจตลาดของไนท์แฟรงค์ พบว่ามี 9 ปรากฏกาณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับตลาดคอนโด พื้นที่ชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า ช่วงครึ่งปีแรก 2565 ดังนี้ อัปเดตตลาดคอนโด ครึ่งปีแรก 2565 1.เฮย์หัวหิน โปรเจ็กต์เปิดตัวใหม่​ 1 โครงการ โครงการเปิดตัวใหม่ในช่วงครึ่งปีแรกมีจำนวน 1 โครงการ คือ เฮย์หัวหิน มีจำนวน  252 ยูนิต ราคาขายเริ่มต้นประมาณ 1.39 ล้านบาท เป็นโครงการฝั่งไม่ติดทะเล  ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ ถนนเพชรเกษม ใกล้ถนนหัวนาทับใต้   จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลของไนท์แฟรงค์ พบว่า มีการเปิดตัวโครงการตึกสูงใหม่ ในไตรมาสที่ 3 ของ 2565 ซึ่งน่าจะเพิ่มภาวะการแข่งขันและความหลากหลายของตลาดคอนโดในบริเวณหัวหิน  2.ซัพพลายสะสม 28,307 ยูนิต ซัพพลายสะสมของคอนโดบริเวณชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า ก่อนปี 2551 ถึงครึ่งปีแรก 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 28,307 ยูนิต 3.ชะอำ คอนโดเยอะสุด สัดส่วน 57%  ทำเลที่ตั้งของคอนโดโดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ พื้นที่ชะอำ ด้วยสัดส่วนถึง  57%  ส่วนพื้นที่อื่น ๆ มีสัดส่วนของจำนวนคอนโด ดังนี้ พื้นที่เขาตะเกียบ สัดส่วน 13% พื้นที่ฝั่งไม่ติดทะเล สัดส่วน 12% หัวหิน ​สัดส่วน 10% เขาเต่า  สัดส่วน 8% โดยคอนโด ส่วนใหญ่เป็นคอนโด ที่ไม่เห็นวิวทะเล คิดเป็นสัดส่วน​ 55% และคอนโด ที่เห็นวิวทะเลคิดเป็นสัดส่วน​ 45% ของจำนวนทั้งหมด 4.คอนโดขายได้แล้ว 22,344 ยูนิต ในครึ่งปีแรก 2565  อัปเดตตลาดคอนโด บริเวณชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า จะพบว่า มียูนิตขายได้แล้วทั้งสิ้น 22,344 ยูนิต จากซัพพลายทั้งหมด 28,307 ยูนิต คิดเป็นอัตราการขายที่ 79%   ทั้งนี้ในครึ่งปีแรกของ 2565 มียูนิตขายได้ทั้งสิ้น 1,773 ยูนิต จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลพบว่า ภาพรวมจำนวนยูนิตเหลือขาย ณ ครึ่งปีแรกของ 2565  มีจำนวนประมาณ 5,963 ยูนิต 5.คนกรุงเทพฯ ซื้อคอนโดหัวหิน-ชะอำกว่า 90% โดยกลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ยังคงเป็นผู้ซื้อหลักในปัจจุบันกว่า   90%  ที่เหลือจะเป็นคนไทยในจังหวัดอื่นๆ อีก   5% และต่างชาติอีก 5%   โดยผู้ซื้อค่อนข้างตอบรับได้ดีกับราคาขายเฉลี่ยที่ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อตารางเมตรลงมา ซึ่งมีอัตราการขายที่ค่อนข้างดีและเป็นโครงการที่ไม่เห็นทะเลเป็นส่วนมาก 6.พื้นที่เขาตะเกียบคอนโดขายดีสุด คอนโดบริเวณเขาตะเกียบมีอัตราการขายสูงสุด ในอัตรา 96% รองลงมาได้แก่ คอนโดบริเวณฝั่งไม่ติดทะเล มีอัตราการขายที่ 93% บริเวณเขาเต่ามีอัตราการขาย 91% บริเวณหัวหินมีอัตราการขาย 88% บริเวณชะอำมีอัตราการขาย​ 69% 7.ชะอำคอนโดเหลือขายมากสุดถึง 5,078 ยูนิต สำหรับพื้นที่มีคอนโดเหลือขายมากที่สุด จะเป็นบริเวณชะอำ มีจำนวนยูนิตเหลือขายสูงสุดคือ 5,078 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 85% ของซัพพลายเหลือขายทั้งหมด   ปัจจุบันที่ดินติดทะเลบริเวณหัวหินที่จะพัฒนาโครงการแทบไม่มีเหลือแล้ว ในส่วนของที่ดินที่ยังมีเหลือสำหรับการพัฒนาโครงการจะอยู่บริเวณชะอำ แต่พื้นที่ในบริเวณโซนชะอำยังเป็นที่นิยมน้อยกว่าหัวหิน เนื่องจากอยู่ค่อนข้างไกลจากสิ่งอำนวยความสะดวกหากเทียบกับคอนโดในหัวหิน   ส่วนพื้นที่บริเวณเขาตะเกียบ พบว่ายังพอมีที่ดินติดทะเลเหลือให้พัฒนาได้บ้าง ​โดยเมื่อเทียบกับโครงการติดทะเล ล่าสุดจะพบว่าห้องมีราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรที่ประมาณ 150,000 บาท ในส่วนพื้นที่บริเวณฝั่งภูเขาที่ไม่ติดทะเลยังมีพื้นที่เหลือให้พัฒนาโครงการอีกมาก และน่าจะเป็นที่สนใจของนักลงทุนเนื่องจากอยู่โซนเขตตัวเมืองหัวหินและเป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติ และยังสามารถทำราคาเฉลี่ยต่อตารางเมตรได้ต่ำกว่า 100,000 บาท 8.คอนโดใหม่เห็นวิวทะเล ราคาพุ่ง 250,000 บ./ตร.ม. อัปเดตตลาดคอนโด ในส่วนของราคาขายเฉลี่ย สำหรับคอนโดที่เห็นวิวทะเลในบริเวณนี้มีระดับราคาเสนอขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 143,000 บาทต่อตารางเมตร ราคาขายปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตรา 1% จากปี 2564 โดยโครงการใหม่ที่เห็นวิวทะเลมีระดับราคาขายต่อห้องเฉลี่ยสูงถึง 250,000 บาทต่อตารางเมตร   ส่วนราคาขายเฉลี่ยของคอนโดที่ไม่เห็นวิวทะเลในบริเวณนี้มีระดับราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 69,800 บาทต่อตารางเมตร ราคาขายค่อนข้างทรงตัวและลดลงมาเล็กในอัตรา 1.3% จากปี 2564 เนื่องจากโครงการที่ยังมีห้องว่างเหลือขายเกิน 50% ซึ่งอยู่บริเวณโซนชะอำ ผู้ประกอบการยังคงจัดโปรโมชั้นและส่วนลดอย่างต่อเนื่องเพื่อปิดการขายโครงการ และโครงการใหม่ที่ขึ้นฝั่งไม่ติดทะเลมีการทำราคาขายที่ประมาณ 52,000 บาทต่อตารางเมตร ทำให้ราคาเฉลี่ยโซนไม่เห็นทะเลนั้นปรับตัวลดลงเล็กน้อย 9.ตลาดคอนโดปี 65 ฟื้นตัวดีขึ้น ยูนิตเหลือขายน้อย ทิศทางตลาดคอนโดหัวหินในปี 2565 มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นและเริ่มมีกำลังซื้อมากขึ้นทำให้ยูนิตเหลือขายในตลาดลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโครงการติดทะเลที่มียูนิตเหลือขายไม่มาก และที่ดินในการพัฒนาโครงการติดทะเลในบริเวณตัวเมืองหัวหินหรือเขาตะเกียบก็เหลือน้อยและยากที่จะพัฒนาได้   ทั้งนี้ หากมีการพัฒนาโครงการที่ติดทะเล ราคาขายจะมีทิศทางในการปรับตัวที่สูงขึ้น อาจจะมีราคาเฉลี่ยต่อตารางเมตรสูงกว่า 150,000 บาท สืบเนื่องมาจากที่ดินที่เหลือน้อย และราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ   ในขณะที่โครงการบริเวณโซนชะอำ อาจจะต้องใช้เวลาในการระบายยูนิตเหลือขาย ซึ่งจะเห็นบางโครงการมีการปรับลดราคาลง เนื่องจากอายุของคอนโด ในขณะที่โครงการที่สร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่ในหัวหิน ช่วงต้นปี 2565 ยังคงมีการจัดรายการส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องเพื่อปิดโครงการ สะท้อนให้เห็นว่าโครงการคอนโดบริเวณชะอำ-หัวหิน-เขาตะเกียบอยู่ในภาวะที่สมดุลทั้งในแง่ดีมานด์และซัพพลาย​   โดยจากการสำรวจ อัปเดตตลาดคอนโด ช่วงที่ผ่านมา ยังพบว่า มีโครงการแนวสูงเปิดตัวใหม่ บริเวณสวนน้ำวานานาวา ซึ่งมีจุดเด่นคือเห็นวิวทะเลจากห้องพักอาศัย  เป็นซัพพลายใหม่ของตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง ของปี 2565  ซึ่งทำให้เกิดสีสันในตลาดคอนโดหัวหินพอสมควร จากการเปิดตัวของโครงการดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการการเพิ่มขึ้นของคอนโด กำลังขยายตัวไปยังบริเวณฝั่งที่ไม่ติดทะเลมากขึ้น เนื่องจากยังคงมีที่ดินเหลือให้พัฒนาอีกค่อนข้างมาก และหากสามารถทำราคาขาย รวมถึงการมีจุดเด่นของโครงการที่น่าสนใจอาจจะทำให้ผู้ซื้อให้การตอบรับที่ดีแก่โครงการมากขึ้น   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -พราว เรียลเอสเตท ปั้นโปรเจ็กต์ “เวหา” 2,290 ล้าน ชู 6 ไฮไลท์คอนโดลักชัวรี่สูงสุดในหัวหิน -ส่องตลาดคอนโด ชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า 5 เดือนแรกปี 63 ในภาวะโควิด-19
เปิด 10 อันดับต่างชาติโอนคอนโด Q2/65  จีนยังครองเบอร์ 1 ทั้งปริมาณและมูลค่า ​

เปิด 10 อันดับต่างชาติโอนคอนโด Q2/65 จีนยังครองเบอร์ 1 ทั้งปริมาณและมูลค่า ​

ต่างชาติโอนคอนโด จีนยังครองเบอร์ 1 ทั้งปริมาณและมูลค่า ​ต่างชาติโอนคอนโดมากที่สุดในช่วงไตรมาส 2 ขณะที่ชาวอินเดีย มาแรงติดอันดับ Top 5 ซื้อจำนวนมากที่สุด   ตลาดอสังหาริมทรัพย์เมืองไทย นอกจากลูกค้าหลักจะเป็นคนไทยในประเทศ ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแล้ว ยังมีกลุ่มลูกค้าต่างชาติเป็นหนึ่งฐานลูกค้าสำคัญ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม ซึ่งสามารถซื้อและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ในสัดส่วน 49% ของจำนวนยูนิตในโครงการ แต่หากเป็นการซื้อผ่านการจัดตั้งนิติบุคคล ก็สามารถขยายขอบเขตไปได้ถึงบ้านแนวราบ และยังไม่นับรวมกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ ที่เข้ามาร่วมทุนพัฒนาโครงการต่าง ๆ จึงถือว่ากลุ่มชาวต่างชาติเป็นหนึ่งฐานลูกค้าสำคัญของตลาดอสังหาฯ ไทย   แต่จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดลูกค้าต่างชาติ หายออกไปจากตลาดจนเกือบจะเป็นศูนย์ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชาวจีนที่เป็นฐานลูกค้าหลักของตลาดคอนโด เพราะครองสัดส่วนการซื้อประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนชาวต่างชาติทั้งหมด   แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยไม่ได้ ทำให้ยอดการซื้อคอนโดใหม่ แทบจะไม่เกิดขึ้น แต่ในด้านการโอนกรรมสิทธิ์ จากการซื้อคอนโดไว้ก่อนหน้า ก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่อยู่อาศัยของไทย ไม่ว่าจะมีสถานการณ์อะไรเกิดขึ้น เพราะต้องยอมรับอสังหาฯ ไทย มีศักยภาพทางด้านการตลาด มีราคาต่ำกว่าเมื่อเทียบกับหลายประเทศในเอเชีย ที่สำคัญ ประเทศไทยมีศักยภาพและความน่าสนใจหลายด้าน เหมาะแก่การท่องเที่ยหรือพักผ่อนระยะยาว   โดยข้อมูลล่าสุดของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ REIC ได้รายงานตัวเลขข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565   ยังพบว่า  มีจำนวน 4,433 ยูนิต เพิ่มขึ้น 1.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวน  4,370 ยูนิตมีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดคนต่างชาติ จำนวน  22,331 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  9.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 20,472 ล้านบาท จีนเบอร์ 1 โอนคอนโด แม้ว่าที่ผ่านมาชาวจีนไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย แต่การโอนคอนโดก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งชาวจีนถือเป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่โอนคอนโดมากที่สุด โดยในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ทำให้ชาวจีนยังคงยังครองแชมป์ เป็นผู้นำกลุ่มต่างชาติโอนคอนโด เหมือนช่วงที่ผ่านมา ทั้งในด้านจำนวนและมูลค่า ขณะที่ชาวต่างชาติสัญชาติอื่น ๆ ก็มีการโอนคอนโดที่ซื้อไว้ก่อนหน้าด้วยเช่นกัน ดังนี้ ​ ต่างชาติโอนคอนโด จำนวนมากที่สุด โดยในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาต่างชาติที่โอนคอนโดมากสุด 5 อันดับแรก  ได้แก่ จีน จำนวน 1,124 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 48% มีราคาเฉลี่ย 5.3 ล้านบาทต่อยูนิต รัสเซีย จำนวน 129 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 6% มีราคาเฉลี่ย 3.2 ล้านบาทต่อยูนิต สหรัฐอเมริกา จำนวน 116 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 5% มีราคาเฉลี่ย 5.5 ล้านบาทต่อยูนิต เยอรมัน  จำนวน 80 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 3% มีราคาเฉลี่ย 3.3 ล้านบาทต่อยูนิต อินเดีย จำนวน 79 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 3% มีราคาเฉลี่ย 4.5 ล้านบาทต่อยูนิต ต่างชาติโอนคอนโด มูลค่ามากที่สุด ส่วนต่างชาติที่มีมูลค่าการโอนคอนโดมากที่สุด ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน มูลค่า 5,931 ล้านบาท สัดส่วน 49% สหรัฐอเมริกา มูลค่า 643 ล้านบาท สัดส่วน 5% ฝรั่งเศส มูลค่า 571 ล้านบาท สัดส่วน 5% รัสเซีย มูลค่า 415 ล้านบาท สัดส่วน 3% กัมพูชา มูลค่า 382 ล้านบาท สัดส่วน 3% อินเดีย มาแรงขึ้นติด Top 5 สำหรับข้อมูลล่าสุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา พบว่า มีกลุ่มชาวอินเดีย ที่ถือว่าเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ ไทย อย่างโดดเด่น สามารถขึ้นมาติดอันดับ 5 ด้านจำนวน และอันดับ 7 ในด้านมูลค่า ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้กลุ่มชาวอินเดียเข้ามาซื้ออสังหาฯ ของไทย เป็นเพราะนโยบายการส่งเสริมการลงทุนกลุ่มชาวต่างชาติของไทย และชาวอินเดียเป็นหนึ่งในกลุ่มชาวต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศ ในธุรกิจต่าง ๆ อาทิ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจบริการ รวมถึงชาวอินเดียก็เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย ที่ภาครัฐเข้าไปส่งเสริมและดึงดูดให้เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยด้วย   เมื่อชาวอินเดียเข้ามาลงทุนในประเทศไทย จึงทำให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัย เป็นความต้องการที่ขยายตัวมาจากการเข้ามาลงทุน รวมถึงประเทศอินเดียมีจำนวนประชากรมหาศาล และมีฐานคนรวยอยู่จำนวนมาก ที่มีกำลังซื้อและมีความต้องการซื้ออสังหาฯ ของไทย แม้ว่าจำนวนอาจจะยังไม่มากหากเทียบกับชาวจีน แต่ถือว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่มีอนาคตและสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ต่างชาติยึดหัวเมืองหลักซื้อคอนโด สำหรับจังหวัดหลักที่ต่างชาตินิยมซื้อคอนโด และมีการโอนคอนโดมากที่สุด ยังคงเป็นจังหวัดหัวเมืองหลักของไทย โดยกรุงเทพฯ เป็นจังหวัดหลักที่ต่างชาติส่วนใหญ่ให้ความสนใจมากที่สุด โดยเฉพาะชาวจีน เพราะมีระบบสาธารณูปโภคที่สามารถตอบสนองความต้องการของชาวจีนได้ครบถ้วน   โดยข้อมูลของทาง REIC ยังเปิดเผยรายละเอียดของชาวต่างชาติที่โอนคอนโด ใน 5 อันดับแรก ว่าได้ซื้อคอนโดในจังหวัดใดบ้าง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 11 จังหวัดที่ชาวจีนโอนคอนโด 5 จังหวัดที่ชาวรัสเซีย โอนคอนโด 8 จังหวัดทีชาวสหรัฐอเมริกา โอนคอนโด 11 จังหวัดที่ชาวเยอรมัน โอนคอนโด 5 จังหวัดที่ชาวอินเดีย โอนคอนโด อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -REIC เผย ยอดโอนคอนโดต่างชาติ Q1/65 ลดทั้งจำนวน-มูลค่า เหตุลูกค้าจีนยังปิดประเทศ   -พิษโควิด-19 ทุบยอดโอนคอนโดต่างชาติลด “จีน” ยังครองเบอร์1 มูลค่า 17,800 ล้าน
เปิดอินไซต์ตลาดอสังหาฯ ไทย ไตรมาส 2  กับ 7 ปัจจัยเสี่ยงยังกระทบธุรกิจปี 2565

เปิดอินไซต์ตลาดอสังหาฯ ไทย ไตรมาส 2 กับ 7 ปัจจัยเสี่ยงยังกระทบธุรกิจปี 2565

ตลาดอสังหาฯ ดูเหมือนว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผ่านช่วงเวลาครึ่งปีแรกในปี 2565 ไปได้ด้วยดี หากดูจากผลการดำเนินงานของหลายบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ต่างก็มีรายได้และกำไรเติบโตตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ แสดงให้เห็นว่าตลาดอสังหาฯ ไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบมากเท่ากับช่วงปีที่ผ่านมา   โดยล่าสุด ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ REIC ได้จัดทำดัชนีรวมตลาดหลักทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย) พร้อมกับรายงานสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ ช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา รวมถึงวิเคราะห์ตลาดกับแนวโน้มในช่วงเวลาที่เหลือของครึ่งปีหลัง ว่าทิศทางธุรกิจอสังหาฯ ไทยในปีนี้ จะเติบโตดีขึ้น หรือแย่ลงกว่าช่วงที่ผ่านมา เพราะยังมีปัจจัยอีกสารพัดเข้ามากระทบกับธุรกิจ ภาวะตลาดอสังหาฯ ไตรมาส 2 ช่วงไตรมาส 2 ของปี 2565 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.5% จากการแถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ถือว่าปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสแรก ที่มีการขยายตัว​ 2.3% ส่งผลให้ภาพรวมช่วงครึ่งแรกของปี 2565 เศรษฐกิจไทย ขยายตัว  2.4%   ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความเห็นในทิศทางที่สอดคล้องกันคือ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เศรษฐกิจไทยปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นจากหมวดบริการเป็นสำคัญ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด​​-19 และมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ส่งผลให้ภาคการค้าและภาคบริการฟื้นตัว และการลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สอดคล้องกับการประเมินภาพรวมด้านการลงทุนในภาคพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย   ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ประเมินว่ากลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2564 ทำให้เกิดกำลังซื้อใหม่ ๆ ผู้ประกอบการยังคงมีการออกโปรโมชั่น การลดราคาขาย การให้ของแถมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน แต่ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลัง สภาวะการจ้างงานและการมีรายได้ของประชาชนในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการยังคงอยู่ในภาวะการฟื้นตัวช้า ภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับที่สูงถึงประมาณ 90% ของ GDP ทำให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางในกลุ่มอาชีพอิสระจะเข้าถึงสินเชื่อได้ยากเช่นเดียวกับช่วงปีที่ผ่านมา ภาวะการเพิ่มขึ้นของ NPL ของสถาบันการเงิน อาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อต่อไป ต้นทุนค่าก่อสร้างสูงขึ้น ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยโครงการใหม่อาจจะมีการปรับราคาขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง   ดัชนีรวมฯ ไตรมาส 2 ลดลง 0.92% สำหรับดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย) ในไตรมาส 2 ปี 2565 มีค่าดัชนีเท่ากับ 86.0 ปรับตัวลดลง 0.92% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งมีค่าดัชนี 86.8 แต่เพิ่มขึ้น 13.3%  เมื่อเที่ยบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีค่าดัชนี 75.9   โดย REIC คาดว่าปี 2565 จะมีดัชนีรวมฯ จะอยู่ที่ 81.2 จุด เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ผ่านมา 9.1% ในกรณีปรับตัวย่อลงเป็น Worst Case จะอยู่ที่  77.0 จุด ขยายตัว 3.4% หรือ อาจปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดไว้เป็นกรณี Best Case จะอยู่ที่ 85.4 จุด ขยายตัว 14.7% การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินลดลง ดร. วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า เมื่อเข้าสู่ไตรมาส 2 ปี 2565 ภาคธุรกิจอสังหาฯ ยังคงต้องเผชิญกับทั้งปัจจัยลบซึ่งเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาพรวมทั้งประเทศมีการขออนุญาตจัดสรรลดลง   โดย REIC พบการเปลี่ยนแปลงในส่วนของการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ ณ ไตรมาส 2/2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 156 โครงการ รวม 15,999 ยูนิต จำนวนโครงการลดลง​ 1.3% และจำนวนยูนิตลดลง 5.5%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ในจำนวนดังกล่าวประกอบด้วย บ้านเดียว 7,162 ยูนิต ทาวน์เฮ้าส์ 5,358 ยูนิต บ้านแฝด 3,054 ยูนิต ที่ดินจัดสรร 240 ยูนิต อาคารพาณิชย์ 158 ยูนิต หากพิจารณารายพื้นที่พบว่า พื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง 3 พื้นที่นี้มีจำนวนการออกใบอนุญาตจัดสรรเพิ่มขึ้น สำหรับแนวโน้มการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศในปีนี้ คาดว่าจะมีประมาณ 72,497 ยูนิต โดยเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 5.8% ซึ่งมีจำนวน 68,540 ยูนิต ซึ่งเป็นปีที่มีการอออกใบอนุญาตจัดสรรต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา แต่ก็ยังสูงกว่าปี 2549 ที่เกิดรัฐประหาร ซึ่งในปีนั้นมีการออกใบอนุญาตจำนวน 50,109 ยูนิต อย่างไรก็ตาม การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศในปีนี้ อาจจะปรับขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา หรือน้อยกว่าปีที่ผ่านมาก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยบวกและปัจจัยลบต่า ๆ ที่จะมากระทบ แต่แนวโน้มความเป็นไปได้ การออกใบอนุญาตจะอยู่ในกรอบ -4.8%-16.4% โอนที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 9.0%  ด้านสถานการณ์ซัพพลายที่อยู่อาศัย จากข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยไตรมาส 2 ปี 2565 พบว่า มีจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ  95,316 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564  9.0% ซึ่งมีจำนวน  87,485 ยูนิต ประกอบด้วย  โอนกรรมสิทธิ์โครงการแนวราบ 70,426 ยูนิต โครงการอาคารชุด หรือคอนโดมิเนียมจำนวน 24,890 ยูนิต  มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 257,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งมีมูลค่า 240,048 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวเป็นมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์โครงการแนวราบ 192,392 ล้านบาท และโครงการคอนโด 64,617 ล้านบาท ทั้งนี้ ยูนิตและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยของทุกภาคเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น   สำหรับปี 2565 คาดว่าสถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์จะทรงตัว แต่ดีขึ้นกว่าปี 2564 เล็กน้อย เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ประกอบกับมีบ้านที่ทยอยสร้างเสร็จเข้ามาสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าปี 2565 จะมียูนิตโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 349,253 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากปี 2564   1.6% หรืออยู่ในช่วง  -9.9% ถึง 10.5% แนวราบจะเพิ่มขึ้น 1.8% หรืออยู่ในช่วง -8.4% ถึง 12.0% คอนโดจะเพิ่มขึ้น 1.1% หรืออยู่ในช่วง  -14.1% ถึง 6.1% ด้านมูลค่าคาดว่าปี 2565 จะมีมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 948,471 ล้านบาท จะเพิ่มขึ้นจากปี 2564 0.4% หรืออยู่ในช่ว -10.4% ถึง 9.9% แนวราบจะเพิ่มขึ้น 0.4% หรืออยู่ในช่วง  -9.7% ถึง 10.4% คอนโดจะเพิ่มขึ้น  0.6% หรืออยู่ในช่วง  -12.5% ถึง 8.6% ปัจจัยบวก-ลบ และสิ่งที่ต้องระวัง จากการประเมินสถานการณ์โดยภาพรวม โดยคาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2564 บ้านแนวราบน่าจะได้รับการตอบรับจากผู้ซื้อมากกว่า ในขณะที่คอนโดจะค่อยๆ ฟื้นตัว เนื่องจากสต๊อกที่ลดลง และราคาที่ดินที่แพงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องสร้างคอนโดเพื่อให้สอดคล้องกำลังซื้อ ผู้ประกอบการฯ บ้านใหม่จะยังคงมีโปรโมชั่นส่วนลดและของแถมเพื่อจูงใจให้เกิดการจัดสินใจซื้อ แต่ไม่ลดราคามากเท่ากับปี 2564 เนื่องจากมีต้นทุนของการก่อสร้างที่สูงขึ้น ตลาดยังเป็นของผู้ซื้อ โดยสรุปในปีนี้ยังถือว่ามีปัจจัยบวก ที่ส่งผลดีต่อภาพรวมของตลาดอสังหาฯ ดังนี้ 3 ปัจจัยบวกในปี 2565 แม้ว่าในปีนี้จะมีปัจจัยลบมากมาย แต่ในมุมของปัจจัยบวก ที่จะเข้ามาส่งเสริมตลาดและช่วยกระตุ้นธุรกิจก็ยังมีให้เห็น ซึ่งทาง REIC มองว่า มี 3 ปัจจัยหลักดังนี้ 1.ขยายเวลามาตรการอสังหาฯ มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ (ลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองเหลือ รวมถึง การขยายไปสู่บ้านมือสองด้วย) ยังคงมีผลถึงสิ้นปี 2565 2.มาตรการผ่อนปรน LTV มาตรการผ่อนปรน LTV ของ ธปท. จะช่วยให้มีการซื้อบ้านสัญญาที่ 2 และ 3 เพื่อการอยู่อาศัยและเพื่อการลงทุนมีโอกาสขยายตัวมากขึ้น 3.สภาพคล่องของแบงก์ยังสูง สภาพคล่องของธนาคารมีมากพอสำหรับสินเชื่อปล่อยใหม่ และเริ่มมีการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น 4.การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศที่ค่อยๆ ฟื้นตัวจากมาตรการต่างๆ ของรัฐ และการเปิดประเทศ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว 5.กลุ่มผู้ซื้อใหม่จากภาคอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2564 ทำให้เกิดกำลังซื้อใหม่ๆ 6.ดีเวลลอปเปอร์อัดโปรโมชั่นต่อเนื่อง ผู้ประกอบการยังคงมีการออกโปรโมชั่น การลดราคาขาย การให้ของแถมต่างๆ ต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน 7 ปัจจัยเสี่ยงในปี 2565 ขณะเดียวกันปัจจัยเสี่ยงในเป็นเสมือนเหรียญอีกด้านของปัจจัยเสี่ยง ที่มักจะมาคู่กันเสมอ โดยในปีนี้ยังคงมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ เพราะสามารถเข้ามามีผลกระทบกับตลาดอสังหาฯ และธุรกิจในภาพรวมได้เช่นกัน ดังนี้ 1.ดอกเบี้ยขาขึ้น อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 2.โควิดยังระบาดต่อเนื่อง การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด - 19 ยังคงมีผลในการฉุดรั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ แม้ว่าความรุนแรงจะลดลง 3.การขาดแคลนแรงงาน อาจจะส่งผลให้การก่อสร้างล่าช้า และอาจทำให้แผนการส่งมอบล่าช้า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการระบาย backlog ของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ การมีรายได้ของประชาชนในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการยังคงอยู่ในภาวะการฟื้นตัวช้า ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 4.การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่ำ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น และส่งผลต่อความต้องการซื้ออสังหาฯ ได้ ภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับที่สูงถึงประมาณ 90% ของ GDP ทำให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางในกลุ่มอาชีพอิสระจะเข้าถึงสินเชื่อได้ยากเช่นเดียวช่วงปีที่ผ่านมา 5.การ Refinance เพิ่มขึ้น ภาวะการเพิ่มขึ้นของ NPL ของสถาบันการเงิน อาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อต่อไป และหากมีการเกิด NPL เพิ่มขึ้น สถาบันการเงินอาจจะมีนโยบายสินเชื่อที่เข้มงวดต่อในปี 2565 จะส่งผลต่อกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่มีความไม่แข็งแรงในสถานะการเงิน แต่อาจจะมีการขยายตัวของการ Refinance เพิ่มขึ้น 6.บ้านมือสองแย่งตลาดบ้านใหม่ ต้นทุนค่าก่อสร้างแพงขึ้น ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยโครงการใหม่อาจจะมีการปรับราคาขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง  ซึ่งอาจจะทำให้บ้านมือสอง อาจจะเป็นสินค้าทดแทนบ้านใหม่ ผู้ประกอบการบ้านใหม่ ต้องให้ความสนใจศึกษาตลาดก่อนการพัฒนา 7.สงครามยังไม่สงบ กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เป็นกำลังซื้อคอนโดยังคงเข้ามาในประเทศน้อยจากผลกระทบของโควิด-19 และสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียทำให้ความต้องการซื้อคอนโดในภาพรวมฟื้นช้า 3 ปรากฎการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2565 1.การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในกรอบ 0.25-0.5 บาท ซึ่งจะทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยในดภาพรวมมีการปรับตัวลงเล็กน้อยในไตรมาส 3 และค่อยปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 (ในไตรมาส 1 และไตรมาส 2 มีการขยายของตลาดที่สูงกว่าระดับคาดการณ์ปกติ -ซึ่งเป็นกรณี Best Case) ซึ่งจะมีผลให้ไตรมาส 3 ปรับตัวย่อลง 2.คอนโดเปิดเพิ่มมากขึ้น ที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ประเภทคอนโดกลับมามีสัดส่วนของจำนวนยูนิตเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (ประมาณ​40%) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท สัดส่วนเกือบ 80% แต่มีข้อสังเกตว่า คอนโด 10 ล้านบาทขึ้นไปมีสัดส่วนของมูลค่าประมาณเกือบ 50% 3.บ้านแพงครองตลาดส่วนใหญ่ จำนวนที่อยู่อาศัยประเภทบ้านจัดสรรมีสัดส่วนประมาณ 40% แต่มีสัดส่วนมูลค่าในตลาดถึง 60% แต่มีข้อสังเกตว่ามีการพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาแพงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยบ้าน 10 ล้านบาทขึ้นไปมีสัดส่วนวของมูลค่าประมาณเกือบ 70%   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -เปิด ยอดขายบ้าน-คอนโด เจ้าไหนทำได้เยอะสุด ใน 6 เดือนแรกปี 65 -ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แนะตลาดบ้าน-คอนโด ต้องต้องเฝ้าระวัง  5 เรื่องนี้
สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ  จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19  ตอนที่ 3

สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19  ตอนที่ 3

มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ หลังจากประเทศได้ผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจ และพิษการเมืองต่าง ๆ ก็เข้าสู่การฟื้นฟูประเทศ การกระตุ้นเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ เพื่อการแข่งขันกับต่างชาติ รวมถึงการพยายามดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ด้วยหลากหลายวิธีการ หนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญ ที่มักจะถูกใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็คงเป็นอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เพราะมีขนาดใหญ่และสามารถดึงเม็ดเงินได้จำนวนมหาศาล   ทศวรรษที่ 3 ของมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ​ กับเริ่มต้นปี 2561 ดูเหมือนตลาดกำลังไปได้สวย ตลาดอสังหาฯ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมเติบโตดีมาก ต่างชาติสำคัญอย่างจีน เข้ามาซื้อ และบางส่วนก็เข้ามาลงทุนพัฒนาร่วมกับคนไทย ความร้อนแรงของตลาดคอนโด จึงทำให้หน่วยงานภาครัฐเป็นห่วงว่าจะเกิดฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาฯ  จากการมีกลุ่มลูกค้าเก็งกำไร หลังจากนั้นในช่วงปี 2562 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงต้องออกใช้มาตรการ LTV เบรกไม่ให้ธุรกิจอสังหาฯ ร้อนแรงเกินไป   ทศวรรษนี้ ตลาดอสังหาฯ ยังต้องเผชิญกับภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการอยู่อาศัยสำหรับคนยุคปัจจุบัน รวมถึงแนวทางการพัฒนาอสังหาฯ ของผู้ประกอบการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ   ในบทความนี้ ก็จะมาสู่ตอนที่ 3 วิฤกตโควิด สู่ชีวิต New Normal ของ​ สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19 ที่แม้ว่าจะผ่านมาแค่ครึ่งทศวรรษ แต่ธุรกิจอสังหาฯ ก็ต้องได้รับการกระตุ้น และพยุงให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปด้วยมาตารการและเครื่องมือต่าง ๆ โดยมีมาตรการสำคัญตามไทม์ไลน์ที่ได้สรุปมาให้แล้ว ปี 2561 รัฐบาลมีนโยบายต้องการให้ประชาชนได้มีบ้านเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย คนวัยทำงาน คนที่เริ่มต้นสร้างครอบครัว รวมถึงผู้สูงอายุ  ที่ประชุมครม. จึงได้มีมติให้ ​ ธอส. จัดทำ "โครงการบ้านล้านหลัง" ภายใต้วงเงิน รวม 60,000 ล้านบาท  ซึ่งระยะแรก ธอส.เตรียมวงเงินสินเชื่อไว้ 50,000 ล้านบาท มีเงื่อนไขกำหนดราคาที่อยู่อาศัยไม่เกินยูนิตละ 1 ล้านบาท ให้เวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 40 ปี โดยคิดดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ แบ่งเป็น ​ 2 กรณี   -หากมีรายได้ไม่เกินเดือนละ 25,000 บาท จะคิดดอกเบี้ยคงที่ 5 ปี ในอัตรา 3% จากนั้นจะคิดดอกเบี้ยถ้าเป็นรายย่อยคือ MRR- 0.75% หากเป็นสินเชื่อสวัสดิการคิด MRR-1% และถ้าเป็นสินเชื่อเพื่อซื้ออุปกรณ์จะคิดดอกเบี้ยอัตราเท่ากับ MRR -หากผู้มีรายได้น้อยมีรายได้เกินเดือนละ 25,000 บาท จะคิดดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี ในอัตรา 3% จากนั้นรายย่อยคิด MRR-0.5% หากเป็นสินเชื่อสวัสดิการคิดดอกเบี้ย MRR-1% หากเป็นสินเชื่อเพื่อซื้ออุปกรณ์ คิดดอกเบี้ย MRR   ธอส. เริ่มโครงการภายในเดือนธันวาคม 2561 โดยจะเปิดให้ประชาชนจองสิทธิ์สินเชื่อหรือ จองสิทธิ์สินเชื่อเพื่อเลือกซื้อทรัพย์ที่พร้อมเข้าอยู่อาศัยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 จำนวนกว่า 30,000 ยูนิต ปี 2562 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม​ 2562 ครม. ได้เห็นชอบมาตรการด้านอสังหาฯ โดยออกมาตรการลดค่าธรรมเนียม จดทะเบียนการโอน จากเดิม 2% และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ จาก 1% เหลือ 0.01% สำหรับซื้อที่อยู่อาศัยราคา​ไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งต้องมีการจดทะเบียนการโอน การจดจำนองในคราวเดียวกัน เริ่มตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563   ด้านกระทรวงการคลังยังมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ​ด้วยการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินที่ซื้อที่อยู่อาศัยในราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท สามารถนำเงินที่ซื้อจริงมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 200,000 บาท โดยจะต้องโอนที่อยู่ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 เมษายน-31 ธันวาคม 2562  บ้านที่ซื้อต้องไม่เคยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านมาก่อนหรือเป็นบ้านหลังแรก และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี   นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังมีโครงการบ้านในฝัน รับปีใหม่ ​ซึ่งเป็นโครงการสำหรับประชาชนที่สนใจซื้อที่อยู่อาศัยในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ภายใต้แคมเปญ ซื้อปุ๊บ โอนปั๊บ รับทันที 3 สิทธิพิเศษ โดยสิทธิที่ 1 กู้ ธอส. ดอกเบี้ยคงที่ 2.5% นาน 3 ปี วงเงิน 50,000 ล้านบาท  สิทธิที่ 2 ฟรีค่าโอนและค่าจดจำนอง และสิทธิที่ 3 รับโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม พร้อมส่วนลดสุดพิเศษจากโครงการที่เข้าร่วม   ส่วนวันที่ 26 พฤศจิกายน​ 2562  ครม. ยังมีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเป็นของขวัญให้กับประชาชนในช่วงปลายปี กับโครงการบ้านดีมีดาวน์ ด้วยการช่วยค่าผ่อนดาวน์ให้กับผู้ซื้อบ้าน จำนวน 50,000 บาทต่อราย จำนวน 100,000 รายที่เข้าร่วมโครงการ ปี 2563 ในปี 2563 ธปท.  ได้มีการปรับใช้มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ​อัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน ​(LTV : Loan to Value: LTV)  ใหม่อีก​ครั้ง​ ด้วยการให้ผู้กู้ซื้อบ้านหลังแรกที่มีราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งกู้ได้ 100% อยู่แล้ว สามารถกู้เพิ่มได้อีก 10% ของมูลค่าบ้าน เพื่อใช้ในการตกแต่ง ซ่อมแซม หรือต่อเติม เพราะที่ผ่านมามีการกู้ยืมสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยแพงมาใช้ในส่วนนี้ ทำให้คาดว่าค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยจะปรับลดลงประมาณ 2,000 บาทต่อเดือน สำหรับการกู้บ้านหลังแรกที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป กำหนดให้วางดาวน์น้อยลงจาก 20% เป็น 10% ของราคาบ้านด้วย ซึ่งการปรับมาตรการ LTV ใหม่ครั้งนี้ มีผลทันทีตั้งแต่ 20 มกราคม 2563   หลังจากก่อนหน้านี้ ธปท. ได้ออกประกาศใช้มาตรการ LTV ​หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็น “การกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำ” ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา เพื่อลดความร้อนแรงของตลาดที่อยู่อาศัยมีทั้งในเรื่องเงินทอน และเก็งกำไร เสี่ยงเกิดผลกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจไทย ได้ส่งผลให้กลุ่มนักเก็งกำไร หรือกลุ่มผู้ลงทุนบางส่วนหายออกไปจากตลาด เพราะธปท. กังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกับระบบเศรษฐกิจได้ หรือเกิดปัญหาฟองสบู่แตก   โด่ย​ ธปท.ได้ติดตามผล การรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการที่ออกไปมีความเหมาะสมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ คือ ช่วยดูแลการเก็งกำไร ขณะเดียวกันก็ไม่ส่งผลกระทบต่อภาคประชาชนที่มีความต้องการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยจริงโดยเฉพาะบ้านหลังแรก และพร้อมปรับมาตรการหากพบว่าไม่เป็นตามวัตถุประสงค์ หรือส่งผลข้างเคียงที่มากเกินควร ซึ่ง ธปท. ได้มีการผ่อนเกณฑ์การกู้ร่วมไปแล้วครั้งหนึ่งในเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบของผู้กู้ร่วมที่ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ให้ได้รับสินเชื่อตามความเหมาะสม   ด้านธอส. ได้จัดทำ “โครงการบ้าน ธอส. เราไม่ทิ้งกัน” อัตราดอกเบี้ย 1.99% ต่อปี คงที่นานถึง 2 ปีแรก ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ต่อปี ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย MRR-2% ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส.เท่ากับ 6.150% ต่อปี) หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้มีบ้าน โดยเตรียมวงเงินไว้ 20,000 ล้านบาท   โดยจะให้กู้สำหรับบุคคลในครอบครัวของประชาชน ที่ได้รับสิทธิตามโครงการเราไม่ทิ้งกันของรัฐบาล (มาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท) หรือบุคคลในครอบครัวของลูกค้า ธอส.ที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการบรรเทาผลกระทบจากปัญหาโควิด-19 ทั้ง 10 มาตรการ วงเงินให้กู้ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหลักประกัน เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย ซ่อมแซม และซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย  ผู้กู้ยังได้รับสิทธิพิเศษ ​ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ และคิดค่าประเมินราคาหลักประกันอัตราพิเศษ ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 40 ปี โดยยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563   คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีมติให้การส่งเสริม “กิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย” โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์เฉพาะการยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสร้างที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพดี โดยมีหลักเกณฑ์ อาทิ ​ กรณีอาคารชุดต้องมีพื้นที่ใช้สอยต่อหน่วยไม่น้อยกว่า 24 ตารางเมตร กรณีบ้านแถวหรือบ้านเดี่ยว ต้องมีพื้นที่ใช้สอยต่อหน่วยไม่น้อยกว่า 70 ตารางเมตร โดยมีราคาขายต่อหน่วย ไม่เกิน 1.2 ล้านบาท (รวมค่าที่ดิน) กรณีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ ​นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร และไม่เกิน 1 ล้านบาท (รวมค่าที่ดิน) ในกรณีตั้งในจังหวัดอื่นๆ เป็นต้น โดย​โครงการต้องได้รับความเห็นชอบจากธอส.ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริมซึ่งกำหนดให้ยื่นคำขอภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ปี 2564 ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังมีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รัฐบาลได้มีการขยายระยะเวลามาตรการลดค่าโอน ค่าจดจำนอง ต่อเนื่องไปสิ้นสุด ธันวาคม 2564   หลังกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 รวม 2 ฉบับ กำหนดให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอน และจดทะเบียนจำนองเหลือ 0.01% สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาฯ ​ที่ดินพร้อมอาคารที่อยู่อาศัยประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ จากผู้จัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล ราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท  และกรณีการโอนและการจำนองห้องชุดในอาคารชุด จากผู้ประกอบการที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด ราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564   ธปท.ได้ผ่อนคลายเกณฑ์มาตรการ  LTV เป็นการชั่วคราว โดยขยายเพดานขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ถึง 100% กู้เงินได้เต็มมูลค่าหลักประกัน ไม่ต้องมีเงินดาวน์ ครอบคลุมทุกกลุ่มทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง รีไฟแนนซ์ และสินเชื่อเพิ่มเติมด้วย ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม​ 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565   มาตรการ LTV ของเดิม หากเป็นบ้านหลังแรกมีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท จะปล่อยสินเชื่อ 100% แต่เกิน 10 ล้านบาท ปล่อยไม่เกิน 90% ส่วนบ้านหลังที่ 2 ปล่อยสินเชื่อ 80-90% ขณะที่บ้านหลังที่ 3 ขึ้นไปจะปล่อยสินเชื่อ 70% ของมูลค่าหลักประกัน ทำให้ในส่วนที่เหลือจะต้องมีเงินดาวน์ ปี 2565 ครม.ได้มีการขยายระยะเวลามาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมจาก 2% เหลือ 0.01% ค่าจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.01%  ออกไปอีก 1 ปี  โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ครอบคลุมที่อยู่อาศัยประเภทบ้านมือสอง/ปรับปรุงโครงสร้างหนี้นอกจากบ้านใหม่เพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ ให้เติบโตได้ต่อไป   เมื่อปี 2563  ธปท. ได้มีการปรับปรุงมาตรการ LTV ที่ให้ซื้อบ้านหลังแรก ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท สามารถกู้เพิ่มได้อีก 10% ของมูลค่าบ้านสำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการเข้าอยู่อาศัย เช่น การซื้อเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน  และกรณีซื้อบ้านหลังที่ 2  ให้วางดาวน์ขั้นต่ำที่ 10% หากผ่อนหลังแรกมาแล้ว 2 ปีขึ้นไป จากเดิมต้องผ่อนหลังแรกมาแล้ว 3 ปี   นอกจากนี้ กรณีของการกู้ร่วม หากผู้กู้ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย จะยังไม่นับสัญญานั้นว่าเป็นสัญญาของผู้กู้ร่วม ซึ่งธปท. เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงมีการผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564  ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565   โดยผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราว ด้วยการกำหนดให้ LTV เป็น 100%  หรือสามารถกู้ได้ 100% นั่นเอง ทั้งในส่วนของบ้านราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป และบ้านราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป   อย่างไรก็ตาม ในส่วนของมาตรการ LTV มีข้อเรียกร้องจากภาคเอกชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้ขยายระยะเวลาของมาตรการออกไปจนถึงสิ้นปี 2566 แต่เรื่องดังกล่าวยังต้องรอนำเสนอมเข้าสู่ครม.ให้อนุมัติเห็นชอบในหลักการอีกครั้ง   ด้านกรมธนารักษ์ได้เลื่อนการประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ออกไปอีก 1 ปี  โดยจะประกาศราคาใหม่วันที่ 1 มกราคม 2566 ทำให้ราคาประเมินที่ใช้ในปี 2565 ยังเป็นราคาประเมินในรอบปี 2559 – 2562 อยู่ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และธุรกิจ จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และผลกระทบจากไวรัสโควิด-19   นอกจากนี้ ยังมีมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ในกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ ด้วยกการให้ต่างชาติสามารถซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 1 ไร่ได้ หากเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วยมูลค่าการลงทุนตั้งแต่ 40 ล้านบาท ซึ่งในแนวทางนี้ยังอยู่ระหว่างการนำเสนอเข้าครม.เพื่อพิจารณาเห็นชอบในหลักการเช่นกัน   ทั้งหมดนี้ ก็คือมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 25 ปี โดยเชื่อว่า ในปีต่อ ๆ ไป รัฐบาลยังคงต้องหาแนวทางและมาตรการอีกหลายอย่าง ออกมาเพื่อทำให้ตลาดอสังหาฯ ยังคงเติบโตต่อไปได้ เพราะอุตสาหกรรมอสังหาฯ เป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี ส่วนในอนาคตจะมีมาตรการอะไรออกมาบ้าง เราจะมาอัปเดตให้อย่างต่อเนื่อง   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19 ตอนที่ 1 -สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19 (ตอนที่ 2)
เปิด ยอดขายบ้าน-คอนโด เจ้าไหนทำได้เยอะสุด ใน 6 เดือนแรกปี 65

เปิด ยอดขายบ้าน-คอนโด เจ้าไหนทำได้เยอะสุด ใน 6 เดือนแรกปี 65

ยอดขายบ้าน แม้ว่าตอนนี้ จะยังมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อยู่ แต่ละวันก็ยังมีผู้ติดเชื้ออยู่ต่อเนื่อง แต่ในภาพรวมแล้วก็ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ การแพร่ระบาดไม่ได้รุนแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันมีทิศทางที่ดีขึ้นด้วย จนตอนนี้​ทางศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ​ศบค.เตรียมผ่อนคลายมาตรการกักตัวลดลงเหลือแค่ 10 วัน และมาตรการผ่อนคลายอื่น ๆ ที่จะตามมาอีก   โดยต้องยอมรับว่าปี 2565 ทิศทางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้หลายธุรกิจก็เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ปีนี้ก็เห็นภาพบวกจากช่วงปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจน  ซึ่งจะเห็นว่าในปัจจุบัน หลายบริษัทก็สามารถทำยอดขายบ้านและคอนโดมิเนียม ได้เพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   จากการรายงานผลประกอบการของธุรกิจอสังหาฯ ของกลุ่มดีเวลลอปเปอร์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์  โดยภาพรวมส่วนใหญ่จะมีทิศทางที่ดี มีผลประกอบการเป็นบวก ไม่ว่าจะเป็นในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2565 และช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ส่วนบริษัทไหนที่ยังเป็นเจ้าตลาด สามารถครองแชมป์ยอดขายบ้าน และคอนโดได้มากสุด บทความนี้ได้รวบรวมจัดอันดับมาให้แล้ว กับ 10 บริษัทอสังหาฯ ที่มียอดขายบ้าน และคอนโดมากสุด ทั้งไตรมาส 2 และช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งบทความนี้จะนำเอาเฉพาะรายได้ในส่วนของยอดขายอสังหาฯ (บ้านและคอนโด) เท่านั้น ไม่รวมรายได้อื่น หรือธุรกิจอื่นมารวมด้วย เอพี เบอร์ 1 ยอดขายบ้าน-คอนโดเยอะสุดใน Q2 สำหรับยอดขายบ้าน และคอนโดในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทที่ทำยอดขายได้มากที่สุด ก็คือ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ AP โดยมีรายได้เฉพาะในส่วนของการขายบ้าน และคอนโด จำนวน 9,260.33 ล้านบาท เติบโตขึ้น 18.18% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีจำนวน 7,835.62 ล้านบาท ขึ้นแท่นอันดับ 1 บริษัทอสังหาฯ ที่มีรายได้มากที่สุดในส่วนของการขายบ้านและคอนโด   ส่วนบริษัทอื่น ๆ ที่มีรายได้จากการขายบ้านและคอนโด รองลงมา อีก 9 อันดับ ได้แก่ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH มีรายได้จำนวน 8,360.01 ล้านบาท ลดลง 1.24% บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)หรือ SPALI มีรายได้จำนวน 8,135.66 ล้านบาท เติบโต 14.99% บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)หรือ SIRI มีรายได้จำนวน 6,595.52 ล้านบาท ลดลง 9.02% บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSH มีรายได้จำนวน 5,101.44 ล้านบาท ลดลง 19.47% บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)หรือ SC มีรายได้จำนวน 4,975.11 ล้านบาท เติบโต 9.44% บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ FPT มีรายได้จำนวน 3,155.22 ล้านบาท เติบโต 7.08% บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)หรือ ORI มีรายได้จำนวน ล้านบาท 2,914.14% ลดลง 5.55% บริษัท คิวเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ QH มีรายได้จำนวน 1,970.04 ล้านบาท เติบโต 0.35% บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF มีรายได้จำนวน 1,956.90% ล้านบาท ลดลง 8.99% ครึ่งปีแรก เอพี ทำรายได้ทะลุ 20,000 ล้าน นอกจาก เอพี จะสามารถขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมาแล้ว ในภาพรวมเอพี สามารถทำผลงานได้ดีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว มาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เอพี มียอดขายบ้าน และคอนโด มากที่สุด ด้วยรายได้กว่า 20,241.05 ล้านบาท เติบโต 21.10% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งทำได้ 16,714.52 ล้านบาท และเป็นบริษัทเดียวที่มีรายได้จากการขายบ้าน และคอนโด ที่ทะลุ 20,000 ล้านบาท   ส่วนอีก 9 บริษัทที่ติดอันดับ Top 10 มียอดขายบ้าน และคอนโด มากสุดในช่วง 6 เดือนแรกปี 2565 มีดังนี้ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้จำนวน 15,325.68 ล้านบาท ลดลง 1.79% บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) มีรายได้จำนวน 13,507.89  ล้านบาท เติบโต 26.51% บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มีรายได้จำนวน 10,883.16 ล้านบาท ลดลง 18.13% บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีรายได้จำนวน 10,780.34 ล้านบาท ลดลง 18.47% บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีรายได้จำนวน 8,584.09 ล้านบาท เติบโต 3.61% บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) มีรายได้จำนวน 5,955.61 ล้านบาท ลดลง 8.82% บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีรายได้จำนวน 5,713.83 ล้านบาท ลดลง 6.47% บริษัท คิวเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้จำนวน 3,884.74 ล้านบาท เติบโต 1.40% บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) มีรายได้จำนวน 3,496.77 ล้านบาท ลดลง 15.02% แลนด์แอนด์เฮ้าส์ กำไรเบอร์ 1 มาดูในส่วนของการทำกำไร ว่าบริษัทไหนมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนมีกำไรเติบโตกันบ้าง เพราะบางครั้งยอดขายหรือรายได้ที่เติบโตหรือเพิ่มมากขึ้น อาจจะไม่ได้สะท้อนในเรื่องของกำไรก็เป็นไปได้ ลองมาดูกันว่า 10 บริษัทอสังหาฯ ไหน มีกำไรจากการดำเนินธุรกิจมากที่สุด ซึ่งกำไรทั้งหมดที่รายงานออกมานั้น ไม่ได้เป็นผลจากการดำเนินธุรกิจการขายบ้าน และคอนโดอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นกำไรที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจในภาพรวมของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งหลายบริษัทมีธุรกิจอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น ธุรกิจบริการ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจให้เช่าพื้นที่สำนักงาน เป็นต้น   โดยในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทที่ทำกำไรได้สูงสุดในกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาฯ คือ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ด้วยจำนวน 2,137.23 ล้านบาท เติบโต 14.68% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรจำนวน 1,863.57 ล้านบาท   ส่วนอีก 9 บริษัทที่อยู่ใน Top 10 กลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ที่ทำกำไรมากที่สุดในช่วงไตรมาส 2 มีดังนี้ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 1,573.09 ล้านบาท เติบโต 41.10% บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 1,367.27 ล้านบาท ลดลง 26.19% บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 1,266.58 ล้านบาท เติบโต 39.31% บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 890.01 ล้านบาท เติบโต 38.55% บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 680.22 ล้านบาท เติบโต 48.05% บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 578.14 ล้านบาท เติบโต 11.77% บริษัท คิวเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 515.22 ล้านบาท เติบโต 6.96% บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 439.21ล้านบาท เติบโต 0.16% บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) หรือ BRI มีกำไรจำนวน 376.37 ล้านบาท เติบโต 139.68% แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ทำกำไรทะลุ 4,000 ล้าน สำหรับช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทที่ถือว่ามีความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำกำไรมากที่สุด ยังคงเป็น แลนด์แอนด์เฮ้าส์ กับจำนวนกำไรมากที่สุดถึง 4,069.30 ล้านบาท เติบโต 12.85% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำกำไรได้ 3,605.98 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทเดียวที่มีกำไรระดับ 4,000 ล้านบาท   ส่วนบริษัทที่ติดอันดับ Top 10 มีกำไรมากที่สุดในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ อีก 9 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 3,303.66 ล้านบาท เติบโต 12.85% บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 3,298.39 ล้านบาท เติบโต 32.09% บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 2,109.08 ล้านบาท เติบโต 18.67% บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 1,163.88 ล้านบาท เติบโต 16.26% บริษัท คิวเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 1,100.03 ล้านบาท เติบโต 20.51% บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 1,002.21 ล้านบาท ลดลง 5.00% บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 991.16 ล้านบาท เติบโต 2.21% บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 962.64 ล้านบาท เติบโต 3.37% บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) มีกำไรจำนวน 728.86 ล้านบาท เติบโต 153.34% อย่างไรก็ตาม บางบริษัทในกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ยังผลการดำเนินงานในธุรกิจอื่น ที่ยังเติบโตดีกว่าธุรกิจขายบ้านและคอนโด ซึ่งบทความนี้ไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปตรวจสอบได้จากรายงานผลการดำเนินงานของแต่ละบริษัท ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ www.set.or.th   หมายเหตุ -บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผลการดำเนินงานรอบเดือนเมษายน-มิถุนายน 2565 จะเป็นไตรมาส 3 ปี 2565 ตามรอบบัญชีบริษัท -บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) เดิมเป็นหนึ่งในธุรกิจของบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) แต่ภาพหลังได้เข้าจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงแยกผลการดำเนินงานออกเป็น 2 บริษัท​ -ผลการดำเนินงานบางบริษัท ไม่รวมรายได้จากการร่วมทุนทางธุรกิจ ที่มา งบการเงินรวมของแต่ละบริษัท, SET   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ​โชว์กำไร 6 เดือน เฉียดพันล้าน หลังใช้ธุรกิจเชิงรุก -ผลดีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ -เอพี ไทยแลนด์ โชว์ครึ่งปีแรกกวาดรายได้ 25,276 ล้าน พร้อมผลงานทำกำไรโต 31% -ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ทุกผลงาน Q2/65 ทำ New High เล็งจ่ายปันผลระหว่างกาล หุ้นละ 0.15 บาท
สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ  จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19 (ตอนที่ 2)

สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19 (ตอนที่ 2)

มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ในตอนที่ 1 เราได้เห็นจุดเริ่มต้นของมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจปี ​ 2540 หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง ที่เกิดฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาฯ มีบ้านและคอนโดมิเนียม เหลือเป็นซัพพลายในตลาดจำนวนมาก เพราะผู้ประกอบการได้รับผลกระทบภาวะเศรษฐกิจ และค่าเงินบาทถูกปรับลดลง รวมถึงสถาบันการเงินหลายแห่งที่ปิดตัวลง รัฐบาลจึงต้องออกมาตรการมาพยุงเศรษฐกิจ และกระตุ้นตลาดให้มีอัตราการเติบโต เพราะธุรกิจอสังหาฯ มีบทบาทสำคัญและมีความเกี่ยวโยงกับหลายธุรกิจ มาสู่ทศวรรษที่ 2 ของ มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ในช่วงปี 2550-2559 เป็นช่วงเวลา 10 ปีที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ทั้งผลกระทบจากวิฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือวิฤตสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2551 และเหตุการณ์สำคัญในประเทศอย่าง ความไม่มั่นคงทางด้าน​การเมือง  อาทิ เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่แยกราชประสงค์  และเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ส่งผลต่อธุรกิจอสังหาฯ อย่างมาก และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการพัฒนาหลายอย่างด้วยกัน  โดยตลอดระยะเวลา 10 ปี รัฐบาลได้มีมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ออกมาเป็นระยะ ๆ  ซึ่งมีไทม์ไลน์ดังนี้ ตอนที่ 2 วิกฤตการเมืองไทย สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ปี 2550 มีการขยายผลของมาตรการ ด้านค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ประกาศใช้ในปี 2543 ด้วยการปรับเพิ่มวงเงินค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท กรณีดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย ปี 2551 รัฐบาลได้นำเอาออกมาตรการลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ จาก 2% เหลือ 0.01% และค่าจดทะเบียนการจำนอง อสังหาฯ จาก 1% เหลือ 0.01% เพื่อใช้เป็น มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ อีกครั้ง โดยไปสิ้นสุดวันที่ 28 มีนาคม 2552  หลังจากนั้นก็ได้ขยายระยะเวลามาตรการดังกล่าว ไปสิ้นสุดวันที่ 28 มีนาคม​ 2553 ปี 2552 มีการนำเอามาตรการด้านการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาใช้อีกครั้ง  ซึ่งครั้งนี้ได้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้แก่ผู้ที่จ่ายเงินค่าซื้ออสังหาฯ ที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน โดยกรณีโอนกรรมสิทธิ์อสังหาฯ ดังกล่าวภายในปี 2552 ให้ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ พึงประเมิน เป็นจำนวนเท่ากับมูลค่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งมาตรการตามเสนอ เป็นมาตรการเพิ่มเติมจากที่ให้หักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้านเป็นจำนวนไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ไปก่อนหน้านี้แล้ว ปี 2553 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ครม. ได้เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อขยายเวลามาตรการลดการจัดเกิดบค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจดนำนองเหลือ 0.01% จากเดิมตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2552 ถึงวันที่ 28 มีนาคม 2553 ไปเป็นสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 และยังได้ให้กรมที่ดินเปิดให้บริการในวันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม และวันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2553 ด้วย   ต่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2553 ครม.ยังได้มีมติเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลาของมาตรการดังกล่าวไปสุ้นิสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553 โดยให้กรมที่ดิน ออกกฎหมายเพื่อให้มีผลบังคับต่อไป ซึ่งเป็นผลกระทบจาก เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองบริเวณแยกราชประสงค์ ของแนวทางร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 เป็นต้นมา ซึ่งได้ทวีความรุนแรงส่งผลให้ต้องมีการประกาศวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ ระหว่างวันที่ 17-21 มีนาคม 2553 ทำให้การดำเนินธุรกรรม การปล่อยสินเชื่อและการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาฯ ​ตามมาตรการต้องหยุดชะงักลง  ส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการทั่วไป กระทรวงการคลังจึงเห็นควร ขยายระยะเวลามาตรการดังกล่าวออกไป​ ปี 2554 เป็นปีที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเกิดปัญหาน้ำท่วมใหม่ในหลายพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชน และธุรกิจจำนวนมาก และยังส่งผลต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย ที่หันมาให้ความสำคัญกับปัญหาน้ำท่วม และการพัฒนาโครงการคอนโดเพิ่มมากขึ้นด้วย   ส่วนวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ครม.เห็นชอบโครงการบ้านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก หรือโครงการบ้นานหลังแรก ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดวงเงินปล่อยกู้ของโครงการ จำนวน 25,000 ล้านบาท โดยโครงการบ้านหลังแรก เป็นโครงการของรัฐบาล ที่มุ่งช่วยเหลือประชาชน ที่ไม่เคยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองให้สามารถซื้อบ้านหลังแรกเป็นของตนเองได้อย่างทั่วถึง ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และในจังหวัดภูมิภาคทั่วประเทศ   โดยโครงการดังกล่าว มีเงื่อนไข พิเศษที่มอบให้แก่ผู้กู้หลายประการ เช่น ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 0% 2 ปีแรก นอกจากนี้ รัฐบาลช่วยแบ่งเบาภาระค่าธรรมเนียมการโอนครึ่งหนึ่ง จากค่าโอนปกติ 2% ของราคาประเมิน​ และไม่ต้องเสียค่าจดจำนอง 1% โดยธอส.ได้เริ่มเปิดให้ประชาชนยื่นกู้ได้ตั้งแต่ วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป ซึ่งโครงการสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2555 ปี 2555 หลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงปี 2554 ที่ผ่านมา รัฐบาลจึงมีมาตรการออกมากระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ หลังจากได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม นอกจากการออกโครงการบ้านหลังแรกแล้ว ยังมีมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยนำเงินมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 500,000 บาท ​ ปี 2558 เนื่องจากภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยซึ่งส่งผลให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัย ลดลง ประกอบกับตลาดอสังหาฯ ​ของประเทศในภาพรวมมีสต็อกคงค้างในตลาดจำนวนมาก ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งเมืองสำคัญในภูมิภาค เช่น พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ อุดรธานี และขอนแก่น เป็นต้น วันที่ 13 ตุลาคม 2558 ครม.จึงได้มีมติเห็นชอบมาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาฯ รวม 2 มาตรการ ดังนี้ 1.มาตรการการเงิน ให้ธอส. ปล่อยกู้กับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยวงเงินให้สินเชื่อเบื้องต้นรวม 10,000 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาขอกู้ภายใน 1 ปี  นับตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558 แต่ให้ ธอส. สามารถขยายระยะเวลาได้ตามความเหมาะสม  โดยกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะได้รับสินเชื่อครั้งนี้ เป็นผู้ที่มีรายได้สุทธิต่อเดือนไม่เกิน 30,000 บาท โดยเกณฑ์หลักประกันเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของ ธอส.  มีระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 30 ปี 2.มาตรการการคลัง -การลดค่าธรรมเนียมการโอน จาก​เดิม  2%  และค่าจดจำนอง อสังหาฯ ของราคาประเมินทุนทรัพย์ 1%  ของ มูลค่าที่จำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ในกรณีการจำนองฯ เหลือ 0.01%  เป็นเวลา 6 เดือน -การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาฯ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ของตนเองเป็นจำนวน 20%  ของมูลค่าอสังหาฯ ​โดยผู้ได้รับสิทธิจะต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ  มาก่อน และมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี   สรุป​คือ ต้องเป็นการซื้อครั้งแรกและเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยจริง โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อเนื่องกัน 5 ปีภาษี นับแต่ ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนการโอน​ โดยให้แบ่งใช้สิทธิเป็น จำนวนเท่าๆ กันในแต่ละปีภาษี ทั้งนี้ ต้องจ่ายค่าซื้ออสังหาฯ และจดทะเบียนโอน​ ตั้งแต่วันที่ครม.​มีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ​ ติดตามตอนที่ 3   วิฤกตโควิด สู่ชีวิต New Normal   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19 ตอนที่ 1
สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ  จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19 (ตอนที่ 1)

สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19 (ตอนที่ 1)

มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงยังเกี่ยวข้องกับหลายธุรกิจ มีคนจำนวนมากในอุตสาหกรรมนี้ คาดว่ามีการจ้างงานรวมกว่า 2.8 ล้านคน ​ซึ่งธุรกิจอสังหาฯ มีหลากหลายประเภทมาก อาทิ ธุรกิจโรงแรม สำนักงานให้เช่า นิคมอุตสาหกรรม ที่พักอาศัย เฟอร์นิเจอร์และวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น ด้วยความที่ธุรกิจอสังหาฯ มีมูลค่าตลาดสูง และเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ทำให้ทุกรัฐบาลต่างก็ให้ความสำคัญ พยายามส่งเสริม และกระตุ้นให้ธุรกิจนี้มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวหรือเกิดภาวะวิกฤต​ รัฐบาลมักจะมีมาตรการออกมาช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ธุรกิจอสังหาฯ มีการเติบโตต่อเนื่อง   โดยตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศ อย่างวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง  จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รัฐบาลได้ออกมาตรการทางด้านภาษี และด้านการเงิน มาช่วยพยุงเศรษฐกิจ รวมถึงธุรกิจอสังหาฯ ที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยรัฐบาลคาดหวังว่าจะช่วยพยุงไม่ให้ธุรกิจต้องชะลอตัวลงมาก และต้องการให้ภาพรวมเศรษฐกิจมีอัตราการเติบ หรืออย่างน้อยไม่ทรุดตัวลงหนัก   นับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง จนถึงปัจจุบัน  มีระยะเวลายาวนานถึง 25 ปีแล้ว ซึ่งตลอดระยะเวลาทั้งหมด  ธุรกิจอสังหาฯ ต้องเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่ทำให้ธุรกิจต้องได้รับการช่วยเหลือ เพื่อให้ยังเดินหน้า หรือไม่ชะลอตัวลง โดยส่วนใหญ่เมื่อเกิดปัญหาที่มากระทบกับธุรกิจ ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการมาช่วยเหลือเสมอ   ส่วนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีมาตรการอะไรบ้าง ที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพยุงเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาฯ  มาดูไทม์ไลน์ตลอดระยะเวลา 25 ปี กับบทสรุปไทม์ไลน์ มาตรการกระตุ้นอสังหา จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19 โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1  จากต้มยำกุ้งถึง การตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ต้องยอมรับว่าธุรกิจอสังหาฯ บูมสุด ๆ โดยเฉพาะในช่วงปี 2537-2538 เรียกได้ว่าเป็นยุคทองคำของตลาดอสังหาฯ แต่ก็เกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาฯ ช่วงปี 2539 พอถึงปี 2540 ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ซึ่งส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย และในช่วงปีนั้นรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ประกาศลดค่าเงินบาท​ ​ทำให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะสถาบันการเงิน และธุรกิจอสังหาฯ  ​   โดยวิกฤตต้มยำกุ้งได้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายปี  ทำให้รัฐบาลต้องมีมาตรการออกมากระตุ้น และพยายามสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจของไทย ส่วนธุรกิจอสังหาฯ ซึ่งมีซัพพลายเหลือจำนวนมาก รัฐบาลก็มีมาตรการสำคัญ ๆ ออกมาหลายช่วงปีด้วยกัน รวมถึงการศึกษาและจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ขึ้นมาเพื่อเป็นหน่วยงานสำคัญในการจัดเก็บและบริหารข้อมูลในธุรกิจอสังหาฯ  ส่วนมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ ในแต่ละปีมีดังนี้ ​ ปี 2540 มีการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยต่ำ อัตรา 9% ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน ปี 2541 ได้มีการเพิ่มสัดส่วนการถือครองอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ของคนต่างชาติจากเดิมที่ให้สัดส่วน 40% ของพื้นที่ทั้งหมด ของโครงการ  เป็นสัดส่วน 49% เนื่องจากต้องการกำลังซื้อจากชาวต่างชาติเข้ามาช่วยกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ ให้เติบโตมากขึ้น โดยสัดส่วนดังกล่าวใช้มาจนถึงปัจจุบัน   นอกจากนี้ ยังมีการใช้มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจากอัตรา 2% ลดลงเหลือ 0.01% และลดค่าจดทะเบียนการจดจำนองจากอัตรา 1%  เหลือ 0.01% ซึ่งมีระยะเวลาการบังคับใช้สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ปี 2542 รัฐบาลได้ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ออกพันธบัตรวงเงิน  46,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธอส. โดยแบ่งเป็นวงเงิน จำนวน 21,000 ล้านบาท  ธอส. ปล่อยให้กับประชาชนเข้ามากู้ ซึ่งสามารถผ่อนชําระได้นานถึง 30 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ทุก 3 หรือ 5 ปี ส่วนวงเงินที่เหลืออีก 25,000 ล้านบาท ให้ ธอส. ปล่อยกู้แก่สถาบันการเงินอื่นเพื่อนําไปปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย   นอกจากนี้  บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ยังได้ออกพันธบัตรวงเงิน 4,000 ล้านบาท เพื่อนํามาซื้อ สินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น ๆ ไปบริหารต่อด้วย และให้การเคหะแห่งชาติ (กคช.) รับซื้อโครงการที่อยู่อาศัยที่ก่อสร้างเกินกว่า 50% แต่ยังพัฒนาไม่เสร็จมาดำเนินการต่อจนแล้วเสร็จ ภายในวงเงินลงทุนไม่เกิน 15,000 ล้านบาท  พร้อมกับขยายระยะเวลามาตรการลดหย่อนค่าจดทะเบียนโอนอสังหาฯ จาก 2% เหลือ 0.01% ของราคาประเมิน ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2543 ปี 2543 จากสภาพเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งภาพรวมยังไม่เติบโตเป็นปกติ รัฐบาลจึงได้ขยายระยะเวลามาตรการ การลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาฯ จาก 2% เหลือ 0.01% ไปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม​ 2544 และขยายขอบข่ายการลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้รวมถึงการโอนที่ดินเปล่า ที่ได้รับอนุญาตจัดสรร และการโอนอาคาร หรือที่ดินโดย กคช. หรือหน่วยงานราชการที่มี อำนาจทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายอีกด้วย   นอกจากนี้ ยังมีมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย เพิ่มเติมจากเดิมที่ยกเว้นภาษีฯ ให้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท เป็นไม่เกิน 50,000 บาท และขยายสิทธิประโยชน์ข้างต้นให้ครอบคลุมถึงการซื้อ หรือเช่าซื้ออาคาร ที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 หลัง รวมถึงดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมใหม่เพื่อชดใช้เงินกู้ยืมเดิม (Refinance) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543   รวมถึงยังมีการใช้มาตรการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการขายอสังหาฯ ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร ทุกประเภท จาก 3.3%  เหลือ 0.11%  ของรายรับก่อนหักรายจ่าย โดยให้มีผลบังคับใช้ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544  และการขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาฯ ของสถาบันการเงินที่ได้รับโอนมาก่อนวันที่ 1มกราคม​ 2540 ออกไปอีก 5 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดต้องจำหน่าย หรือวันที่ครบกำหนดผ่อนผัน และในปีนี้เองรัฐบาลได้ประกาศให้มีการเริ่มดำเนินการโครงการศึกษาเพื่อจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติขึ้น ปี 2544 รัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านธุรกิจอสังหาฯ ต่อเนื่อง โดยได้มีการอนุมัติให้ธอส.ปล่อยสินเชื่อ100% สำหรับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงยัง​ปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยให้กับข้าราชการสมาชิกกบข. และยังได้​ขยายระยะเวลามาตรการ การลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาฯ จาก 2% เหลือ 0.01%  และค่าจดทะเบียน การจำนองอสังหาฯ จาก 1%  เหลือ 0.01% โดยไปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2545 ปี 2545 มีการขยายเวลาการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะที่เรียกเก็บจากการขายอสังหาฯ ในอัตรา  3.3%  ลงเหลือ​ 0.11%  จากเดิมที่สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2546 และขยายเวลาการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมตามประมวลกฎหมาย ที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ในอัตรา  0.01%  จากเดิมที่สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2545 ออกไปอีก 1 ปี และ   นอกจากนี้ ยังมีการออกมาตรการ​ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เรียกเก็บจากเงินได้จากการขายอสังหาฯ เพื่อนำรายได้ไป ซื้ออสังหาฯ ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าอสังหาฯ ที่ซื้อใหม่ โดยผู้ขายต้องใช้อสังหาฯ ที่ขายเป็นที่อยู่อาศัย ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ได้ขายอสังหาฯ นั้น และผู้ขายต้องซื้ออสังหาฯ ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยใหม่ก่อนหรือ หลังการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ปี 2547 หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 24540 ซึ่งธุรกิจอสังหาฯ มีบ้านและคอนโดเหลือค้างอยู่ในตลาดจำนวนมาก และเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดวิกฤตขึ้น ทำให้รัฐบาลมองเห็นความสำคัญของระบบข้อมูล ที่ควรจะมีเพื่อเป็นเครื่องเตือนผู้ประกอบการ จึงควรจะมีการจัดตั้ง ”ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์” ขึ้นในประเทศไทย เพื่อเป็นหน่วยงานกลางให้ทำหน้าที่หลักในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล​ ที่กระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ มาประมวลผลเป็นข้อมูลภาพรวมของประเทศ และนำมาเผยแพร่​ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดวิกฤตในอนาคต   ในวันที่ 17 สิงหาคม 2547  ครม.จึงมีมติ ภายใต้การนำเสนอของกระทรวงการคลัง​ จัดตั้ง”ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์” ขึ้น โดยเป็นหน่วยงานอิสระระดับสายงานภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารอาคารสงเคราะห์ การดำเนินงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขึ้น​  โดยได้เริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547 ปี 2548 มีการออกมาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมตลาดบ้านมือสอง การลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาฯ จาก​ 2% เหลือ 0.01% และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ จาก 1%  เหลือ 0.01% โดยมีระยะเวลาสิ้นสุดในวันที่ 31ธันวาคม​ 2550   นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง  เพื่อขึ้นบัญชีรายชื่อบริษัทตัวแทนและนายหน้า ไว้ที่ศูนย์ข้อมูลนายหน้าอสังหาริมทรัพย์  และให้มีการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์   ติดตามต่อตอนที่ 2  วิกฤตการเมืองไทย สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ที่มา - ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธอส. อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แนะตลาดบ้าน-คอนโด ต้องต้องเฝ้าระวัง  5 เรื่องนี้
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิด 5 ทำเลที่อยู่อาศัย คนสนใจซื้อ-เช่า มากสุด รอบครึ่งปีแรก 65

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิด 5 ทำเลที่อยู่อาศัย คนสนใจซื้อ-เช่า มากสุด รอบครึ่งปีแรก 65

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เผยผลสำรวจครึ่งปีแรก พบผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่ พร้อมเปลี่ยนเป็นการเช่าแทน มีแค่ 16% พร้อมซื้ออสังหาฯ ภายใน 1 ปี ขณะที่ผลสำรวจกรุงเทพฯ ยังเป็นจังหวัดถูกค้นหาอสังหาฯ มากสุด ส่วนทำเลฮอต ยังเป็นแนวรถไฟฟ้า MRT พระราม 9 และสวนหลวง  คนกรุงเลือกซื้อ ส่วนเขตบางนา ตลาดเช่ามาแรง   แม้ว่าปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว และมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมถึงกำลังซื้อในภาพรวม แต่ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยก็ยังคงมีอยู่ แม้ว่าจะลดลงจากช่วงก่อนหน้า เพราะผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ และได้เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบเช่าอาศัยอยู่แทน   โดยข้อมูลจาก ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ รายงานว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 มีผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซตของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เพื่อดูประกาศขายอสังหาฯ ลดลง 14% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 6 เดือนก่อนหน้า เพราะผลกระทบจากปัจจัยลบต่าง ๆ ดังกล่าว ขณะที่ความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยมีเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากในบางทำเลมีความต้องการเช่าที่เติบโตอย่างน่าสนใจ   นอกจากนี้  จากการสำควรความเห็นของผู้บริโภคต่อตลาดที่อยู่อาศัย (DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study)  ล่าสุด ยังพบว่า มีผู้บริโภคเพียง 16% เท่านั้น ที่พร้อมจะซื้อบ้านภายใน 1 ปีข้างหน้า  โดยพฤติกรรมการค้นหาที่อยู่อาศัยผ่านช่องทางออนไลน์ของคนหาบ้านยุคปัจจุบัน สัดส่วน 50% จะพิมพ์คำค้นหาตามสิ่งที่ตัวเองต้องการหรือสนใจ (Free Text) ขณะที่อีกกลุ่มจะใช้คำค้นหา (Keyword) เกี่ยวกับทำเลที่ตั้งของอสังหาฯ แบบเฉพาะเจาะจง เช่น ค้นหาด้วยจังหวัด, เขต/อำเภอ, แขวง/ตำบล คิดเป็นสัดส่วน 40% ของการค้นหาทั้งหมด   โดยพบว่า  “สถานีรถไฟฟ้า” ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มคำค้นหายอดนิยมและมาแรงในยุคนี้ ซึ่งมีสัดส่วน 10% ของการค้นหาทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าทำเลแนวรถไฟฟ้ายังเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการค้นหาที่อยู่อาศัยของคนหาบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหารถติด จึงเลือกทำเลที่อยู่อาศัยที่สะดวกในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าแทน กรุงเทพฯ ยืนหนึ่งถูกค้นหาอสังหาฯ มากสุด  กรุงเทพมหานคร ยังคงได้รับความนิยมสูงสุด ในการค้นหาอสังหาฯ มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ส่วนอันดับ 2-10 มีดังนี้ ​  2.เชียงใหม่ 3.นนทบุรี 4.ชลบุรี 5.สมุทรปราการ 6.ปทุมธานี 7.ภูเก็ต 8.ประจวบคีรีขันธ์  9.เมืองพัทยา และ 10.นครราชสีมา   โดยจะเห็นได้ว่า การค้นหาที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดปริมณฑล ที่ได้รับอานิสงส์ความเจริญจากเมืองหลวง รวมทั้งหัวเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งเป็นผลจากเทรนด์ Workcation ได้รับความนิยมในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ รูปแบบการทำงานที่ได้ท่องเที่ยวและพักผ่อนในเวลาเดียวกัน กลายเป็นอีกปัจจัยที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคมองหาบ้านพักตากอากาศในหัวเมืองท่องเที่ยวมากขึ้น MRT พระราม 9  ทำเลยอดนิยมอันดับ 1 แนวรถไฟฟ้า ทำเลแนวรถไฟฟ้าเป็นอีกตัวเลือกที่ได้รับความนิยมเมื่อค้นหาที่อยู่อาศัย โดยจากผลสำรวจของดีดี พร็อพเพอร์ตี้  ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (51%) มองว่าโครงการที่อยู่อาศัยที่เดินทางสะดวก ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เป็นปัจจัยภายนอกที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ โดยทำเลแนวรถไฟฟ้าที่มีการค้นหามากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก 2565 ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลที่เป็นแหล่งงาน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตวิถีคนเมือง   โดย 10 สถานีรถไฟฟ้าที่เป็นทำเลยอดนิยมในกลุ่มคนค้นหาอสังหาฯ ช่วงครึ่งปีแรก 2565 อันดับ 1 ได้แก่ MRT พระราม 9 อีกหนึ่งทำเลศักยภาพของกรุงเทพฯ ตามมาด้วยอันดับ 2 BTS อ่อนนุช อันดับ 3 BTS อารีย์ อันดับ 4 BTS อโศก อันดับ 5 BTS พร้อมพงษ์ อันดับ 6 BTS เอกมัย อันดับ 7 MRT ห้วยขวาง​ อันดับ 8 BTS อุดมสุข  อันดับ 9 BTS ทองหล่อ และอันดับ 10 BTS สะพานควาย “สวนหลวง” ครองใจคนซื้อชาวกรุง “บางนา” มาแรงในตลาดเช่า ด้านตลาดอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ มีความเคลื่อนไหวน่าจับตามองและมีโครงการใหม่เปิดตัวอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เห็นได้ชัดจากจำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ สำหรับขายบนเว็บไซต์ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ พบว่า  “สวนหลวง” กลายเป็นทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงระดับบนที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง   ขณะที่จำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ ให้เช่าบนเว็บไซต์ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ​ พบว่า “บางนา” เป็นทำเลที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ด้วยปัจจัยบวกที่สนับสนุนการเติบโตจากโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อเมืองระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ ใกล้แหล่งงาน ประกอบกับการพัฒนาโครงการเมกะโปรเจค (Mega Project) และโครงการที่อยู่อาศัยอีกหลายโครงการ 5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่  อันดับ 1 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง อันดับ 2 แขวงบางจาก เขตพระโขนง อันดับ 3 แขวงบางนา เขตบางนา อันดับ 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว อันดับ 5 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา 5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่  อันดับ 1 แขวงบางนา เขตบางนา อันดับ 2 แขวงบางจาก เขตพระโขนง อันดับ 3 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา อันดับ 4 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง อันดับ 5 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย ราคาขาย-เช่าอสังหาฯ เมืองกรุงยังไม่ฟื้น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาราคาขายที่อยู่อาศัยโดยรวมทุกประเภทอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกนี้ยังไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีราคากลางเฉลี่ยอยู่ที่ 106,000 บาท/ตารางเมตร ลดลง 5% จากปีก่อนหน้า และลดลงถึง 18% เมื่อเทียบกับช่วงที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดฯ (ไตรมาส 4 ปี 2562) ช่วงเวลานี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีและเหมาะสมสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยและมีความพร้อมทางการเงิน ก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาขายอสังหาฯ และดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลังนี้   ขณะที่อัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัยโดยรวมทุกประเภทอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ มีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 485 บาท/ตารางเมตร/เดือน ลดลง 3% จากปีก่อนหน้า และลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดฯ อย่างไรก็ดี แม้คอนโดมิเนียมจะเป็นอสังหาฯ ประเภทเดียวที่ค่าเช่าลดลง 3% จากปีก่อนหน้า แต่ก็ยังมีความต้องการเช่าอยู่ไม่น้อยและมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนอย่างคนวัยทำงานและนักศึกษา ทำให้มีอัตราค่าเช่าคอนโดฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 500 บาท/ตารางเมตร/เดือน ขณะที่โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบยังได้รับความนิยมต่อเนื่องในตลาดเช่าและมีทิศทางเติบโต บ้านเดี่ยวมีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 320 บาท/ตารางเมตร/เดือน โตถึง 28% จากปีก่อนหน้า ส่วนทาวน์เฮ้าส์มีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 210 บาท/ตารางเมตร/เดือน โต 7% จากปีก่อนหน้า “สมุทรปราการ” คว้าอันดับ 1 ตลาดซื้อ-เช่าอสังหาฯ ปริมณฑล เทรนด์ Work from Home ในช่วงการแพร่ระบาดฯ ส่งผลให้ผู้บริโภคมองหาที่อยู่อาศัยในทำเลรอบนอกของกรุงเทพฯ มากขึ้น ทำให้ที่อยู่อาศัยย่านชานเมืองและปริมณฑลกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในด้านราคาที่ย่อมเยากว่า จากจำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ สำหรับขายในเขตปริมณฑลบนเว็บไซต์ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ​ พบว่า สมุทรปราการเป็นจังหวัดปริมณฑลที่ได้รับความสนใจซื้อและเช่าอสังหาฯ มากที่สุดในครึ่งแรกของปี 2565 โดยได้รับปัจจัยบวกมาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่ช่วยให้การเดินทางมาทำงานหรือเรียนในย่านใจกลางเมืองสะดวกสบายมากขึ้น 5 ทำเลในเขตปริมณฑลที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่  อันดับ 1 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อันดับ 2 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี อันดับ 3 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ อันดับ 4 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อันดับ 5 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 5 ทำเลในเขตปริมณฑล ที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่  อันดับ 1 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ อันดับ 2 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี อันดับ 3 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อันดับ 4 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อันดับ 5 ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อ่ายบทความที่เกี่ยวข้อง -ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ คาดตลาดอสังหาฯ ปี 65 มีแววฟื้น ลุ้นมาตรการรัฐ-การคุมโควิดหนุน  
ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แนะตลาดบ้าน-คอนโด ต้องต้องเฝ้าระวัง  5 เรื่องนี้

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แนะตลาดบ้าน-คอนโด ต้องต้องเฝ้าระวัง  5 เรื่องนี้

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ วิเคราะห์ตลาด 65 มีทั้งปัจจัยบวก-ปัจจัยลบ แนะ 5 เรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง เหตุธุรกิจยังต้องเผชิญผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อค่าครองชีพ  เงินเฟ้อพุ่ง ส่งผลความสามารถในการซื้อ การลงทุนในอสังหาฯ ​   แม้ว่าตอนนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะมีทิศทางที่ดีขึ้น จนจะมีการนำร่องให้ประชาชนใน 31 จังหวัด ไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ในสถานที่โล่งแจ้ง ยกเว้นบุคคลใน 3 กลุ่มที่จะยังต้องสวมหน้ากากอนามัย คือ กลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่อยู่ในสถานที่ปิดอากาศไม่ถ่ายเท และเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมคนจำนวนมาก   แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในภาพรวม โดยเฉพาะด้านภาวะเศรษฐกิจ ก็ยังไม่ได้กลับมาฟื้นตัวเป็นปกติ เหมือนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาด ปัจจุบันกำลังซื้อของคนส่วนใหญ่ยังคงชะลอตัว  ทำให้หลายธุรกิจจะต้องทำการตลาด ด้วยแคมเปญการส่งเสริมการขาย และโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นยอดขายให้กลับ​มามากขึ้น   ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  ก็ไม่ต่างจากหลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ แต่ปี 2565 นี้มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น เห็นได้จากความมั่นใจของผู้ประกอบการ ที่ประกาศแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโครงการคอนโดมิเนียม ที่เคยหยุดหรือชะลอแผนการเปิดตัวไว้ ก็กลับมาเปิดตัวกันมากขึ้นกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา   การเติบโตของธุรกิจอสังหาฯ ในปีนี้ คงมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างความสำเร็จให้กกับผู้ประกอบการ ​ซึ่งมีอะไรบ้างนั้น ล่าสุด ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ ​REIC ได้ทำรายงาน  ดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย) ที่ใช้ข้อมูลในด้านอุปสงค์และอุปทานในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล เพื่อประเมินความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ พร้อมกับฉายภาพ สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ​ - ปริมณฑล ในไตรมาส 1/2565 และแนวโน้มของภาพรวมตลาดอสังหาฯ ในช่วงปี 2565 นี้ ว่าจะเป็นไปในทิศทางใดบ้าง ดร.วัยชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ​เปิดเผยว่า เมื่อเข้าสู่ไตรมาส 1 ปี 2565 ภาคธุรกิจอสังหาฯ ยังต้องเผชิญกับปัจจัยลบที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อค่าครองชีพ และเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการซื้อหรือลงทุนในอสังหาฯ  ขณะเดียวกัน ยังพบความเคลื่อนไหวของภาวะตลาด ทั้งด้านซัพพลายและดีมานด์ ที่น่าสนใจในหลายประเด็น โดยสรุปได้ดังนี้ สรุปภาพรวมสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย กรุงเทพฯและปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2565 ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนย่อตัว 27.1% จำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน ระหว่าง ม.ค. - มี.ค. 2565 แต่ละเดือนยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาพรวมไตรมาส 1/2565 ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนมีการย่อตัวลง 27.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) มียูนิตสร้างเสร็จจดทะเบียน ลดลง 33.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งอาจจะภาพสะท้อนถึงจำนวนยูนิตที่เปิดใหม่น้อยลงอย่างมากในปีที่ผ่านมา   คาดการณ์ว่า จำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน จะทยอยเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2-4 ซึ่งจะมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และภาพรวมทั้งปี 2565 จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน จะขยายตัวประมาณ 22.1 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า   จากตัวเลขจำนวนยูนิตที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรร และที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน ที่ลดลงในไตรมาส 1/2565 แต่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในไตรมาส 2- 4 สะท้อนให้เห็นว่า การเกิดขึ้นของซัพพลายใหม่จะเกิดขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของกำลังซื้อที่จะฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง และรองรับความต้องการโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงปลายปีนี้​ เพื่อได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ และค่าจดจำนอง ซึ่งจะหมดเวลาในปลายปี 2565 นี้ Q1/65 เปิดตัวใหม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนโควิด-19 -ระหว่างเดือน ม.ค.- มี.ค. 2565 ในแต่ละเดือนมีการเปิดตัวใหม่ ประมาณ 9,000 - 12,500 ยูนิตต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ซึ่งมีการเปิดตัวเฉลี่ย 8,300 ยูนิต​ต่อเดือน   -ภาพรวมในไตรมาส 1/2565 มีการเปิดตัวใหม่ 31,477 ยูนิต มูลค่า 117,384 ล้านบาท​ มีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 227.5% และ 161.7% ตามลำดับ   -จำนวนยูนิตที่เปิดตัวใหม่ในไตรมาส 12565 ส่วนมากเป็นอาคารชุดถึง 20,536 ยูนิต ขยายตัว 421.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน   -คาดว่ายูนิตเปิดตัวใหม่จะย่อตัวลงในไตรมาส 2/2565 อย่างชัดเจน เนื่องจากมีการเปิดตัวมากในไตรมาส ​1/2565 แต่จะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในไตรมาสที่ 3 และ 4 เพื่อรองรับการฟื้นตัวของกำลังซื้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในครึ่งปีหลัง   -คาดว่าภาพรวมทั้งปี 2565 จะมีการขยายตัวของยูนิตเปิดตัวใหม่เป็น 79,501 ยูนิต เพิ่มขึ้น 54.3% และมีมูลค่า 413.022 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 88.6% โดยคอนโดจำนวนขยายตัวเพิ่มขึ้น 96.8% มากกว่าบ้านแนวราบที่เพิ่มขึ้น 51.0%   -ที่อยู่อาศัยที่เปิดตัวใหม่ แบ่งเป็น คอนโด​ 65.2% ทาวเฮ้าส์ ​19.7%  บ้านเดี่ยว ​ 8.8% บ้านแฝด  5.4% และ อาคารพาณิชย์ ​0.8%   -ทำเลของยูนิตบ้านแนวราบที่เปิดตัวใหม่มาก 5 พื้นที่ ตามลำดับ คือ บางพลี คลองหลวง บางบัวทอง บางบ่อ และบางเสาธง   -ทำเลของยูนิตคอนโดที่เปิดตัวใหม่มาก 5 พื้นที่ ตามลำดับ คือ บางนา ห้วยขวาง บางซื่อ จตุจักร และ เมืองปทุมธานี   -โดยภาพรวมที่อยู่อาศัย สัดส่วนการเปิดตัวตามระดับราคา มีดังนี้  ระดับราคา 3 - 5 ล้านบาท สัดส่วน 26.0%, 2 - 3 ล้านบาท สัดส่วน 22.4% ระดับราคา 1 - 1.5 ล้านบาท สัดส่วน19.6% -บ้านแนวราบ มีการเปิดตัวตามระดับราคา ดังนี้ ระดับราคา 3 - 5 ล้านบาท สัดส่วน 36.0% ระดับราคา 2 - 3 ล้านบาท สัดส่วน 20.9% ระดับราคา​ 5 -7.5 ล้านบาท สัดส่วน 15.7%   -คอนโด มีการเปิดตัวตามระดับราคา ดังนี้ ระดับราคา 1 - 1.5 ล้านบาท สัดส่วน 29.5% ระดับราคา 2 - 3 ล้านบาท สัดส่วน 23.2% ระดับราคา 3 - 5 ล้านบาท สัดส่วน 20.6% โอนกรรมสิทธิ์ไตรมาสแรก ลดลง 4.8% -จำนวนยูนิตโอนกรรมสิทธิ์ ระหว่าง ม.ค. - มี.ค. 2565 แต่ละเดือนต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยภาพรวมไตรมาส 1/2565 มีจำนวนยูนิตโอนกรรมสิทธิ์ 31,477 ยูนิต ลดลง​ 4.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการระบาดของไวรัส และสงครามรัสเซียและยูเครน ซึ่งทำให้เกิดภาวะน้ำมันแพงขึ้นและค่าครองชีพสูงขึ้น ส่วนมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ ระหว่าง ม.ค. - มี.ค. 2565 มีลักษณะเช่นเดียวกับยูนิตโอนกรรมสิทธิ์   -แต่คาดภาพรวมทั้งปีจะมีการขยายตัวของยูนิตโอนกรรมสิทธิ์ 2.0% โดยยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์จะมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 2 - 4 โดยเฉพาะไตรมาส 4 จะมีการเร่งตัวของการโอนกรรมสิทธิ์เนื่องจากจะสิ้นสุดมาตการกระตุ้นฯ   -จำนวนยูนิตที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากที่สุด สัดส่วน 23.4% คือ คอนโดในระดับราคา 2 - 3 ล้านบาท รองลงมาคือ ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท สัดส่วน 19.4% และราคา 3 - 5 ล้านบาท สัดส่วน 18.1%   -แต่ในภาพรวมแล้ว ที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มีการโอนกรรมสิทธิ์มากสุดถึง 66.7% ซึ่งเป็นระดับราคาที่สอดคล้องกับกำลังซื้อส่วนใหญ่ และเป็นระดับราคาที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ   -ขณะที่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์กระจุกตัวอยู่ที่บ้านระดับราคา เกินกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ถึง 68.7% ซึ่งพบว่า ระดับราคา มากกว่า 10 ล้านบาท มีสัดส่วนมากที่สุดถึง 27.0%  รองลงมา คือ 3- 5 ล้านบาท สัดส่วน 20.7% และราคา 2 - 3 ล้านบาท สัดส่วน​ 17.3%   -สัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ของที่อยู่อาศัยมือสองมีการเพิ่มขึ้นเป็น 49.5% จาก 39.2% ในไตรมาส 4/2564 และมีสัดส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นเป็น 33.4% จาก 27.3% โดยเพิ่มขึ้นในทุกระดับราคา แต่มีสัดส่วนที่สูงกว่า 50%ในระดับราคาไม่เกิน 2.0 ล้านบาท ขณะที่ที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท มีสัดส่วนมากกว่า 80% ภาพของตลาดเช่นนี้สะท้อนว่า ตลาดที่อยู่อาศัยมือสอง เป็นตลาดที่มีการขยายตัวจากผลของมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ เช่นกัน ปรากฏการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2565 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตลาดอสังหาฯ จะกลับมาคึกคัก จากการเปิดตัวใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการหันมาทำการตลาด และการส่งเสริมการขายกันมากขึ้น สร้างบรรยากาศการซื้อขายอสังหาฯ ให้กลับมามีสภาพใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิดแพร่ระบาด แต่ ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ มองว่ายังคงต้องมีหลายเรื่องที่เราจะต้องเฝ้าระวัง จับตามอง รวมถึง ต้องมาดูสภาพความเป็นจริงกันว่า จะมีปัจจัยบวก ปัจจัยลบอะไรบ้าง ที่จะมาส่งผลต่อตลาดอสังหาฯ ในปีนี้   สำหรับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2565 ศูนย์ข้อมูลฯ มองว่ามี 5 เรื่องสำคัญ ดังนี้ 1.การเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ ทั้งบ้านแนวราบและคอนโด​จะเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2564 โดยคอนโดมีสัดส่วนที่สูง เนื่องจากมี Stock ที่ลดลง และราคาที่ดินแพงขึ้น   2.บ้านแนวราบยังคงได้รับการตอบรับจากผู้ซื้อบ้านมาก แต่ประเภททาวเฮ้าส์จะยังคงมีซัพพลายคงเหลือในตลาดมาก   3.คอนโดเริ่มฟื้นตัว จากผู้ที่ต้องการซื้อเพื่อการอยู่อาศัยและการซื้อเพื่อการลงทุนมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการลงทุนใน 2 กลุ่มเป็นหลัก คือ กลุ่มไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และ กลุ่มลักชัวรี่   4.โครงการที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นใหม่อาจปรับลดโปรโมชั่นส่วนลดและของแถมลงบ้างเพื่อรักษาราคาประกาศขายให้อยู่ใกล้เคียงกับโครงการในปัจจุบัน   5.บ้านมือสองที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากค่าธรรมเนียม และมีราคาและทำเลที่สอดคล้องกับความสามารถของกลุ่มผู้ซื้อกลุ่มรายได้น้อย/ปานกลาง คาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์บ้านมือสองจะมีการขยายตัวต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะบ้านราคาต่ำ ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจบ้านมือสอง 6 ปัจจัยบวกในปี 2565 สำหรับปัจจัยบวกที่จะเข้ามาหนุนให้ตลาดอสังหาฯ เติบโต หรือฟื้นตัวมาจากช่วงก่อนหน้านั้น ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ มองว่ามี 6 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้ 1.มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ (ลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองเหลือประเภทละ 0.01 % รวมถึง ขยายไปสู่บ้านมือสองด้วย) ยังคงมีผลถึงสิ้นปี 2565   2.มาตรการผ่อนปรน LTV ของ ธปท. จะช่วยให้มีการซื้อบ้านสัญญาที่ 2 และ 3 เพื่อการอยู่อาศัยและเพื่อการลงทุนมีโอกาสขยายตัวมากขึ้น   3.สภาพคล่องของธนาคารมีมากพอสำหรับสินเชื่อปล่อยใหม่ และเริ่มมีการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น   4.ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศที่ค่อย ๆ พื้นตัวจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐ และการเปิดประเทศ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว   5.กลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก ฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2564 ทำให้ เกิดกำลังซื้อใหม่ๆ   6.ผู้ประกอบการยังคงมีการออกโปรโมชั่น การลดราคาขาย การให้ของแถมต่าง ๆ ต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน 7 ปัจจัยเสี่ยงฉุดตลาดอสังหาฯ ปี 65 ถึงแม้ว่าปีนี้จะมีหลายปัจจัยบวก  แต่ด้านปัจจัยลบก็ยังคงมีอยู่เช่นกัน โดย ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ มองว่าจะมี 7 ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังในการทำธุรกิจอสังหาฯ ปีนี้ คือ   1.อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง   2.การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงมีผลในการฉุดรั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ แม้ว่าความรุนแรงจะลดลง   3.สภาวะการจ้างงาน และการมีรายได้ของประชาชน ในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการ ยังคงอยู่ในภาวะการฟื้นตัวช้า   4.ภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับที่สูงถึงประมาณ 90% ของ GDP ทำให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางในกลุ่มอาชีพอิสระ จะเข้าถึงสินเชื่อได้ยากเช่นเดียวช่วงปีที่ผ่านมา   5.ภาวะการเพิ่มขึ้นของ NPL ของสถาบันการเงิน อาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อต่อไป   6.ต้นทุนค่าก่อสร้างแพงขึ้น ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยโครงการใหม่ อาจมีการปรับราคาขึ้นช่วงครึ่งปีหลัง   7.กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เป็นกำลังซื้ออาคารชุด ยังคงเข้ามาในประเทศน้อย จากผลกระทบของโควิด-19 และสงครามยูเครนและรัสเซีย ทำให้ความต้องการซื้ออาคารชุดภาพรวมฟื้นตัวช้า 5 สิ่งที่ต้องระมัดระวังในปี 65 นอกจากปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องนำมาใช้เป็นปัจจัยพิจารณาในการทำธุรกิจแล้ว ยังมีเรื่องสำคัญที่ต้องเฝ้าระมัดระวังอีก 5 เรื่องด้วย ที่ ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แนะนำไว้มีดังนี้ 1.ภาวะสงครามรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และภาวะค่าครองชีพของประชาชน   2.การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น และส่งผลต่อความต้องการซื้ออสังหาฯ ได้   3.บ้านมือสองอาจจะเป็นสินค้าทดแทนบ้านใหม่ ผู้ประกอบการบ้านใหม่ต้องให้ความสนใจศึกษาก่อนการพัฒนา   4.ราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น การขาดแคลนแรงงาน อาจส่งผลให้การก่อสร้างล่าช้า และอาจทำให้แผนการส่งมอบล่าช้า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อปริมาณการโอนกรรมสิทธิ์ และการระบาย backlog ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์   5.จากภาวะค่าคองชีพที่สูงขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวรายได้ช้า หากมีการเกิด NPL เพิ่มขึ้น สถาบันการเงินอาจจะมีนโยบายสินเชื่อที่เข้มงวดต่ออีกในปี 2565 จะส่งผลต่อกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่มีความไม่แข็งแรงไม่สามารถขอสินเชื่อได้ แต่สถาบันการเงินอาจจะขยายสินเชื่อ Refinance เพิ่มขึ้นแทน​   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ตลาดอสังหาฯ 6 เดือนแรกยังชะลอตัว โค้งท้าย 64 ยังลดต่อรออีก 4 ปีฟื้นตัวปกติ​ -REIC คาดตลาดอสังหาฯ ปี 64 แย่สุดทั่วประเทศติดลบ 20%
เปิดวิชั่น  “พีระพงศ์ จรูญเอก”  นายก สมาคมอาคารชุดไทย​ คนใหม่

เปิดวิชั่น “พีระพงศ์ จรูญเอก” นายก สมาคมอาคารชุดไทย​ คนใหม่

นายกสมาคมอาคารชุด สมาคมอาคารชุดไทย ถือเป็นหนึ่งสมาคมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่ถือว่ามีบทบาทและส่วนสำคัญ ในการเป็นเสียงสะท้อนความต้องการของผู้ประกอบการ และผู้บริโภคส่วนใหญ่ของคนที่ต้องการซื้ออสังหาฯ ประเภทคอนโดมิเนียม ที่ผ่านก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน และส่งเสริมการเติบโตให้กับตลาดคอนโดในหลายด้านด้วยกัน    ล่าสุด ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565 ที่โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ ซึ่งหนึ่งในวาระสำคัญครั้งนี้ คือ การเลือกนายกสามาคมคนใหม่ เพื่อสานงานต่อจากนายกสมาคมคนเดิม คือ ดร.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ซึ่งจากมติที่ประชุมได้คัดเลือกให้ นายพีระพงศ์​ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ​ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอาคารชุดไทย  วาระประจำปี 2565-2566 ในการประชุมใหญ่ ปี 65 คอนโดกำลังฟื้นตัว นายกสมาคมอาคารชุดไทยคนใหม่ ได้ฉายภาพทิศทางของธุรกิจคอนโดภายหลังจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า ปัจจุบันตลาดคอนโดได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดในช่วงที่ผ่านมาแล้ว และกำลังจะเข้าสู่การฟื้นตัว แม้ว่าที่ผ่านมาความต้องการของคนส่วนใหญ่คือ การอยู่อาศัยในบ้านแนวราบมากขึ้น เพราะต้องการพื้นที่ใช้สอย แต่จากปัจจุบันราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางของคนส่วนใหญ่ ก็จะทำให้เกิดความต้องการในตลาดคอนโดกลับคืนมาด้วย 9 เดือนต่อจากนี้ตลาดคอนโดจะทยอยฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ  ในทุกไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาสแรก ภาพรวมอสังหาฯ เริ่มปรับตัวดีถึงแม้จะเจอโควิดสายพันธุ์โอไมครอน เห็นได้จากยอดขายไตรมาสแรกเพิ่มมากขึ้น ที่ผ่านมาคอนโดไม่ได้เปิดโครงการใหม่ และยังระบายสต็อกกันไปจำนวนมาก​ โดยตลาดคอนโดคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2566 ถ้าเทียบปีฐานคือ 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  แต่ช่วงต้นปีนี้ที่เกิดความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย ส่งผลให้ราคาพลังงาน ค่าขนส่ง และเหล็กปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเป็นต้นทุนซึ่งจะแปรผันตามราคาน้ำมัน  และทำให้ภาพรวมของค่าก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10%   อย่างไรก็ตาม ต้นทุนค่าก่อสร้างมีสัดส่วน 1ใน 3 ของราคาขาย ซึ่งส่งผลกระทบกับอัตรากำไรขั้นต้นมากกว่า ที่จะปรับราคาเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการอาจจะต้องยอมรับกับมาร์จิ้นที่ลดลงบ้าง และควรปรับราคาเมื่อมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ เนื่องจากปัจจุบันความต้องการยังถือว่าเปราะบาง ซึ่งแนวโน้มราคาน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในปีหน้าในอัตรา 3-4% หรืออาจจะถึง 5% จากภาวะปกติที่มีการปรับราคาขึ้นในอัตราเฉลี่ย 7-8%   นายพีระพงศ์ เชื่อว่า ปีนี้ราคาคอนโดยังเหมือนเดิม  เพราะเราปรับตัวด้วยการไปลดการออกแบบที่ฟุ่มเฟือย อย่างเช่น การลดพื้นที่ส่วนการลง เช่น สระว่ายน้ำเหลือ 10-20 เมตร จากเมื่อก่อนทำขนาด 50 เมตร ต้องยอมรับมาร์จิ้นลดลง เช่นเคยได้มาร์จิ้น 30% เอาแค่ 28% ก็พอ หรือเคยได้ 35% เอาแค่ 33% ก็พอ เพราะยังมี​สต็อกเหลืออยู่ ​ และหลังจากที่กำลังออกจากโควิด-19 ก็มาเจอรัสเซีย ยูเครน  แล้วยังเจอต้นทุนค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทั้งอาหาร น้ำมัน​ ทำให้อารมณ์ในการซื้อน้อยลง กระทบดีมานด์  เพราะปัจจัยเสี่ยงที่สุดของคอนโดในปี 2565 คือ เรื่องของกำลังซื้อ ​ คอนโดคิดใหม่ ทำห้องใหญ่ขึ้น​ การพัฒนาคอนโดหลังจากนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณา คือ วิธีการออกแบบคอนโดให้ตรงกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของกลุ่มลูกค้า ที่อาจจะต้องทำห้องให้ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับกับความต้องการใช้พื้นที่เพื่อทำกิจกรรมของผู้อยู่อาศัยมากขึ้น เหมือนการใช้ชีวิตในบ้าน ทั้งใช้ในการทำงาน การเรียน และขายของออนไลน์ เพราะปัจจุบันหลายบริษัทให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ ​ถือเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดหลังจากโควิด-19   นายกสมาคมอาคารชุด กล่าวอีกว่า จากความต้องการของกลุ่มลูกค้าดังกล่าว ส่งผลให้ผู้พัฒนาโครงการคอนโดต้องมีขนาดห้อง 50 ตร.ม. จากปกติพัฒนาขนาดไม่เกิน 30 ตร.ม. และต้องขยายไปยังทำเลที่เป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้า ทั้งในสายปัจจุบันและสายที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ในทำเลที่สามารถเดินมาขึ้นรถไฟฟ้าได้ประมาณ 100 เมตร  เพื่อชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากกลุ่มบ้านแนวราบ ที่เป็นกลุ่มทาวน์เฮ้าส์ราคา 3 ล้านบาท แต่อยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า 2-3 กิโลเมตร ส่วนคอนโดขนาดเล็กหรือคอนโดจิ๋วยังมีดีมานด์อยู่ แต่กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนโสด หรือมีแฟนอยู่กันแค่ 2 คน   ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ทำคอนโดต้องปรับตัว จับเทรนด์ให้ได้ว่า หลังโควิดลูกค้าต้องการอะไร เพราะหลายคนกลับไปอยู่ทาวน์เฮ้าส์แถววงแหวนรอบนอก ไม่อยู่ซิตี้คอนโดอีกต่อไป การทำคอนโด 2 ห้องนอน ราคา 3 ล้านแต่อยู่ติดสถานี จะเป็นตัวเลือกแข่งกับตลาดทาวน์เฮ้าส์ได้ จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง ผู้ประกอบการต้องพยายาททำให้ราคาถูกที่สุดเท่าที่จะทำได้  โดยระดับราคา 70,000-80,000 บาทต่อตร.ม. ยังเป็นราคาที่ผู้บริโภคยังพอรับได้ในเวลานี้ สำหรับพื้นที่คอนโดห้องขนาดเล็ก อาจต้องทำพื้นที่เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าใช้ประชุมออนไลน์ได้ โดยเสียงไม่ตีกัน จากเดิมเคยทำโคเวิร์คกิ้งสเปซแบบโล่ง ๆ เปลี่ยนเป็นไพเวทสเปซมากขึ้น  ส่วนห้องที่ใช้ชีวิตประจำวัน จะทำเพดานสูงเพื่อทำให้นั่งได้นานขึ้น เพราะความอึดอัดแปรผันกับความสูงของเพดาน ดังนั้น​ ยิ่งทำเพดานยิ่งสูงจะทำให้มีความรู้สึกเหมือนการอยู่บ้าน เช่น เดิมเพดานสูง 2.50 เมตร ปรับเพิ่มเป็น 4 เมตรขึ้นไป เป็นต้น ส่วนระดับราคาที่ลูกค้าสามารเข้าถึงได้ง่ายไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อยูนิต ทั้งนี้เพราะกำลังซื้อคนลดลง การพัฒนาคอนโดต่อจากนี้ จะแตกต่างไปจากเดิม จากนิวนอร์มอลมาเป็นเน็กซ์นอลมอล เช่น มีที่ล้างมือก่อนเข้าคอนโด มีน้ำยาฉีดฆ่าเชื้อในส่วนกลาง ลิฟท์  มีระบบกรองอากาศที่ดี ซึ่งต้องออกแบบมาเป็นโปรดักส์ ​ราคาน้ำมันดันราคาที่ดินพุ่ง50% จากปัจจัยราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งส่งผลดีต่อตลาดเช่าคอนโดในเมืองปรับตัวดีขึ้น  เพราะเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการเดินทางจะเท่ากับค่าเช่าคอนโด ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้คอนโดกลับมาได้  ขณะที่บ้านจัดสรรมีราคาสูง จากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาที่ดินปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 50%  ด้วย ส่งผลให้ราคาบ้านช่วงโควิดสูงขึ้นประมาณปีละ 5-10%   สมมติเคยซื้อที่ดิน 1 ไร่ ราคา 6 ล้านบาท กลับไปซื้ออีกครั้งราคาจะขยับไปไร่ละ 9 ล้านบาท จนกลายเป็นเรื่องปกติ สมมติถ้าปีที่แล้วราคาบ้านจาก 6.5 ล้านบาท ถ้าไม่ซื้อปีที่แล้ว กลับไปซื้อปีนี้ ราคาบ้านจะกลายเป็น 7.2 ล้าน   ทั้งหมดก็เป็นมุมมองของนายกสมาคมอาคารชุดคนใหม่ ที่จะเข้ามาเป็นกระบอกเสียง ในการสื่อสารกับหน่วยงานภาครัฐ หากต้องการได้รับการส่งเสริมสนับสนุน รวมถึงการทำงานร่วมกับหน่วยงาน สมาคม และองค์กรต่าง ๆ เพื่อช่วยผลักดัน และพัฒนาตลาดคอนโดให้เติบโต และยังมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศต่อไปด้วย คงต้องดูกันต่อไปว่า บทบาทนายกสมาคมคนใหม่จะมีอะไรออกมาให้เห็นได้บ้าง เพราะต้องยอมรับฝีมือของ "พีระพงศ์​ จรูญเอก" ที่มีความสามารถในด้านการบริหารงาน สามารถนำพาออริจิ้น และบริษัทในเครือเติบโตอย่างมากมายมาแล้ว     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -อสังหาฯ ปีหน้ายังเหนื่อย เพราะ LTV มาผิดเวลา?  
บ้านและคอนโดราคาไม่เกิน 3 ล้าน มีโครงการเปิดใหม่ที่ไหนบ้าง?

บ้านและคอนโดราคาไม่เกิน 3 ล้าน มีโครงการเปิดใหม่ที่ไหนบ้าง?

บ้านและคอนโดราคาไม่เกิน 3 ล้าน  ปัจจัยส่งผลดีต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 ที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด คงเป็นการขยายระยะเวลาของมาตรการลดค่าจดทะเบียนการโอน และค่าจดทะเบียนจำนอง สำหรับผู้ซื้อบ้านและคอนโดมิเนียมราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 นี้ ตามที่ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปก่อนหน้านี้แล้ว ​ สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจำนอง บ้านและคอนโดไม่เกิน 3 ล้านบาท มีรายละเอียดและเงื่อนไขของอัตราที่ปรับลดดังนี้ -ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ จากอัตราปกติ 2.00% ลดเหลือ 0.01% -ค่าธรรมเนียมการจำนอง จากอัตราปกติ 1.00 % ลดเหลือ 0.01% -มาตรการสำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝดและบ้านแถว อาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคาร และห้องชุด ที่จดทะเบียนอาคารชุด(คอนโด) ตามกฎหมาย -ราคาซื้อขาย และราคาประเมินกรมที่ดิน และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต้องมีการโอนซื้อขายและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียม ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน และจำนองอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัย หรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารที่อยู่อาศัย หรืออาคารพาณิชย์ หรือห้องชุด ทั้งมือหนึ่งและมือสอง -ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย   สำหรับโครงการที่เข้าเกณฑ์  ก็คงเป็นโครงการสร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่ ที่ได้เปิดตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โครงการที่เปิดตัวใหม่ในปีนี้ หากก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถส่งมอบลูกค้าได้ทัน ก็จะได้รับอานิสงค์ของมาตรการนี้ไปด้วย โดยเฉพาะบ้านแนวราบที่ก่อสร้างได้เร็ว และคอนโดที่เป็นโลว์ไรซ์   แล้วโครงการที่เปิดตัวใหม่ในปีนี้ มีโครงการไหนบ้างที่เข้าหลักเกณฑ์ คือ เป็นโครงการระดับไม่เกิน 3 ล้านบาท ที่จะเข้ามาเป็นตัวเลือกใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าได้บ้าง วันนี้ Reviewyourliving ได้สำรวจรวบรวมมาไว้เป็นตัวอย่าง ให้ผู้ที่อยากซื้อบ้านและคอนโดราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ได้เลือกหาและจับจอง   แต่แม้ว่าจะซื้อหรือโอนบ้านและคอนโดราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทไม่ทันภายในปีนี้  ตลาดบ้านและคอนโดกลุ่มนี้ ก็นับว่าเป็นตลาดสำคัญที่มีดีมานด์สูง เพราะฐานรายได้ของคนไทยส่วนใหญ่ มีกำลังซื้อบ้านและคอนโดในระดับราคาเท่านี้เป็นหลัก  ซึ่งนับวันดีเวลลอปเปอร์ก็พัฒนาบ้านและคอนโดราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ออกมาได้น้อยลง ทั้ง ๆ พราะต้องยอมรับว่าราคาที่ดินพุ่งสูงมากขึ้น ไม่นับรวมกับต้นทุนอื่น ๆ ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย  แม้จะมีความต้องการสูงในตลาดบ้านและคอนโดในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทก็ตาม รวม บ้านและคอนโดราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เสนา ส่ง 3 แบรนด์ต่ำ 3 ล้าน ในบรรดาดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ในตลาดอสังหาฯ  บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญของตลาดบ้านและคอนโดราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท เพราะมีการพัฒนาโครงการในกลุ่มสินค้าดังกล่าวออกมาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะบ้านและคอนโด ระดับราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท ถือว่าเป็นเจ้าตลาดเลยก็ว่าได้   สำหรับปี 2565 บริษัทมีแผนขยายธุรกิจที่อยู่อาศัยด้วยการเปิดตัวโครงการใหม่รวม 49 โครงการ 27,480 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดมิเนียม  21 โครงการและแนวราบ 28 โครงการ ในจำนวน 49 โครงการ เป็นโครงการภายใต้​การควบรวมกิจการบริษัท เจ.เอส.พี พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ JSP จำนวน 25 โครงการ มูลค่า 8,980 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้ “เสนา” วางเป้าหมายยอดขายไว้​​ 13,979 ล้านบาท และ​เป้าหมายยอดโอน 12,186 ล้านบาท   ส่วนใครที่ต้องการซื้อบ้านและคอนโด ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ในปีนี้ “เสนา” ก็เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ ที่มีบ้านระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ออกมารองรับความต้องการถึง 17 โครงการ นอกจากนี้ ยังมีโครงการภายใต้การพัฒนาของแบรนด์ เจ.เอส.พี. อีกถึง 20 โครงการด้วย   โครงการของ “เสนา” ที่มีบ้านระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ในปีนี้มี 3 แบรนด์หลัก​ ได้แก่ 1.แบรนด์ Flexi เป็นคอนโด ระดับราคา 1.39 - 2 ล้านบาทต้น ๆ ซึ่งเปิด 7 โครงการ ใน 7 ทำเลสำคัญ ได้แก่ รัตนาธิเบศร์ สาทร เตาปูน สุขสวัสดิ์ 13 บางนา เจริญนคร 70 และสาทร-กัลปพฤกษ์  2.แบรนด์เสนาคิทท์ (SENA Kith) คอนโดระดับราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีแผนเปิดใหม่จำนวน 9 โครงการ ในทำเลต่าง ๆ ดังนี้ เวสต์เกต รังสิต คลอง 4 บางกระดี รัจนาธิเบศร์ บางนา 29 เทพารักษ์ 2 นวนคร และอ้อมน้อย และ 3.แบรนด์เสนา วีว่า (SENA Viva) กับโครงการเสนาวีว่า เทพารักษ์ บางบ่อ ราคาเริ่มต้น 2.29 ล้านบาท ขณะที่โครงการในส่วนของ เจ.เอส.พี. ภายใต้แบรนด์ซีรี่ส์ เจ เช่น เจ บิซ (J Biz) เจ ซิตี้ (J City) เจ คอนโด (J Condo) เป็นต้น​ มีจำนวน 16 โครงการ ซึ่งมีระดับราคาเริ่มต้น 1.89-4.29 ล้านบาท  และโครงการภายใต้แบรนด์ไมอามี่ อีก 4 โครงการ ในทำเลบางปู มีระดับราคาเริ่มต้นเพียง 899,000-1.4 ล้านบาท ​ พฤกษา ประเดิม 4 โปรเจ็กต์ สำหรับบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) มีแผนการเปิดโครงการใหม่ ที่เน้นตลาดแนวราบ โดยรุกกลุ่มเรียลดีมานด์เซ็กเม้นต์รายได้ระดับกลางถึงสูงมากขึ้น วางแผนเปิดโครงการใหม่ 31 โครงการ มูลค่า 16,300 ล้านบาท แบ่งเป็น ทาวน์เฮาส์ 22 โครงการ บ้านเดี่ยว 6 โครงการ และคอนโด 3 โครงการ ตั้งเป้ายอดขายปี 2565 อยู่ที่ 31,000 ล้านบาท และยอดโอน 33,000  ล้านบาท   ส่วนโครงการระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท  มี 4 โครงการ มาแนะนำ ดังนี้ 1.โครงการพฤกษาวิลล์ พหลโยธิน-คลองหลวง (2)   มูลค่า 873 ล้านบาท จำนวน 372 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.95 ล้านบาท พรีเซลล์วันที่ 28-29 พฤษภาคม ทำเลที่ตั้งติดถนนคลองหลวง-พหลโยธิน ใกล้รถไฟฟ้าสายสีแดง   2.โครงการบ้านพฤกษา บางนา-ศรีวารี  มูลค่าโครงการ 1,013 ล้านบาท จำนวน 443 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.73 ล้านบาท พรีเซลล์วันที่ 28-29 พฤษภาคม ทำเล 3.โครงการบ้านพฤกษา รังสิต-คลองสี่ (2)  มูลค่าโครงการ 544 ล้านบาท จำนวน 393 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.25 ล้านบาท พรีเซลล์วันที่ 21-22 พฤษภาคม 4.โครงการบ้านพฤกษา บางนา-ศรีนครินทร์  มูลค่าโครงการ 1,198 ล้านบาท จำนวน 496 ยูนิต ทาวน์เฮ้าส์เริ่มต้น 1.99 ล้านบาท บ้านแฝดราคาเริ่มต้น 3.7 ล้านบาท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เปิด 1 โปรเจ็กต์ สำหรับบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)  มีแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ปีนี้ จำนวน 12 โครงการ รวมจำนวน  1,670 ยูนิต มูลค่าโครงการ 14,775 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยว ซึ่งมีราคาสูง แต่ก็มีโครงการที่จับตลาดระดับกลางลงล่างด้วยเช่นกัน  ซึ่งโครงการสำหรับผู้ที่มีงบไม่เกิน 3 ล้านบาท สามารถเลือกซื้อได้นั้น มีโครงการเดียวเท่านั้น คือ โครงการ โมดิ วิลล่า บางใหญ่ (2) ทาวน์เฮ้าส์ มูลค่าโครงการ 880 ล้านบาท จำนวน 331 ยูนิต ซึ่งจะเปิดตัวในช่วงไตรมาส 4 เอสซี แอสเสท ส่ง V compound  ลุยตลาด​ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปีนี้วางแผน​เปิดโครงการใหม่สูงสุดเป็นสถิติใหม่ ด้วยจำนวน 27 โครงการ รวมมูลค่า  40,000 ล้านบาท  เป็นโครงการแนวราบ 25 โครงการ มูลค่า 33,500 ล้านบาท ซึ่งมากกว่า 70% เป็นบ้านเดี่ยวราคามากกว่า 10 ล้านบาท  และเปิดคอนโด​ 2 โครงการ​ มูลค่า 6,500 ล้านบาท บนทำเล รถไฟฟ้า BTS 2 สถานี คือ วงเวียนใหญ่ และ  ทองหล่อ เพื่อสร้างรายได้ ตามเป้าหมาย 22,000 ล้านบาท  และยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายมูลค่า  22,000  ล้านบาท   ส่วนโครงการของเอสซี สำหรับคนที่มีงบไม่เกิน 3 ล้านบาท ซื้อบ้านและคอนโด โครงการไหนได้บ้างนั้น มี 2  โครงการมาแนะนำ ดังนี้ คือ  1.โครงการ  V compound บางนา-ศรีนครินทร์ โครงการบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮม จำนวน 95 ยูนิต ราคาเริ่ม 3 ล้านบาท  และ 2.โครงการ V compound รังสิต ซึ่งเตรียมเปิดตัวในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ​ เฟรเซอร์ ส่ง โกลเด้นทาวน์จับตลาดต่ำ 3 ล้าน สำหรับ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด   มีแผนเปิดโครงการใหม่ 25 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 29,500 ล้านบาท  ตั้งเป้ารายได้ 13,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13%  โดยแบรนด์โกลเด้นทาวน์ เป็นโครงการระดับราคา 2-5 ล้านบาท ถือเป็นระดับราคาต่ำสุดของเฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ โฮม ส่วนที่เหลือจะเป็นบ้านระดับราคาตั้งแต่ 6 ล้านบาทขึ้นไปจนถึง 120 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้บริษัทมุ่งเน้นไปจับตลาดระดับบน กลุ่มบ้านแพงมากขึ้น เพราะมองว่า เป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยที่สุด และยังเป็นมีกำลังซื้อสูง ส่วนแผนเปิดโครงการโกลเด้นทาวน์ในปีนี้วางไว้ทั้งหมด 10 โครงการ (ม.ค. - ธ.ค. 2565) โดยเปิดไปแล้ว 1โครงการเป็นแบบ VIP คือ โกลเด้น  ทาวน์  ฟิวเจอร์ - รังสิต  มูลค่าโครงการ 736 ล้านบาท จำนวน 269 ยูนิต ส่วนโครงการอื่น ๆ ยังไม่ได้ประกาศออกมาว่าจะเปิดในทำเลใดบ้าง ออริจิ้นเปิด 9 โปรเจ็กต์รับตลาดต่ำ 3 ล้าน สำหรับบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) วางแผนเปิดตัวโครงการใหม่จำนวน  31 โครงการ  มูลค่า 42,000 ล้านบาท เพื่อสร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหมายปีนี้​ 35,000 ล้านบาท และเป้าหมายรายได้ (โอนกรรมสิทธิ์ ) มูลค่า 17,500 ล้านบาท   ส่วนผู้ที่มีงบไม่เกิน 3 ล้านบาท สามารถซื้อบ้านและคอนโด ของออริจิ้น ในโครงการใหม่ที่เปิดตัวในปีนี้ มีที่ไหนบ้าง จากจำนวน 31 โครงการ  โดยจากการสำรวจพบว่ามีจำนวนทั้งหมด 9 โครงการ ดังนี้ 1.โครงการโซ ออริจิ้น พหล 69 สเตชั่น (So Origin Phahol 69 Station) ราคาเริ่มต้น 2.79 ลบ. 2.โครงการออริจิ้น เพลส บางนา (Origin Place Bangna) ราคาเริ่มต้น อยู่เอง 2.19 ลบ. // IP 2.99 ลบ. 3.โครงการออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ สิรินธร สเตชั่น (Origin Plug & Play Sirindhorn Station) ราคาเริ่มต้น 1.89 ลบ. 4.โครงการออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ ศรีนครินทร์ (Origin Plug & Play Srinakarin) (ยังทำราคาไม่เสร็จ) 5.โครงการออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ นนทบุรี สเตชั่น (Origin Plug & Play Nonthaburi Station) ราคาเริ่มต้น 1.69 ลบ. 6.โครงการออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ อี22 สเตชั่น (Origin Plug & Play E22 Station) ราคาเริ่มต้น 1.59 ลบ. 7.โครงการบริกซ์ตัน เพ็ท แอนด์ เพลย์ พหลโยธิน 50 สเตชั่น (Brixton Pet & Play Phahol 50 Station) ราคาเริ่มต้น 1.99 ลบ. 8.โครงการบริกซ์ตัน ระยอง (Brixton Rayong) ราคาเริ่มต้น 1.39 ลบ. 9.โครงการบริกซ์ตัน แคมปัส บางแสน (Brixton Campus Bangsaen) ราคาเริ่มต้น 1.69 ลบ. เอพี เปิดพลีโน่ ทาวน์-แอสปาย สำหรับบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ​มีแผนพัฒนาโครงการใหม่ รวมจำนวน 65 โครงการ มูลค่าประมาณ 78,000 ล้านบาท แบ่งเป็นทาวน์โฮม 29 โครงการ มูลค่า 25,200 ล้านบาท บ้านเดี่ยว 26 โครงการ มูลค่า 35,600 ล้านบาท คอนโด 5 โครงการ มูลค่าประมาณ 13,000 ล้านบาท และโครงการในต่างจังหวัด 5 โครงการ มูลค่า 4,200 ล้านบาท ส่วนโครงการบ้านและคอนโด หากมีงบประมาณไม่เกิน 3 ล้านบาท สามารถเลือกซื้อได้ในแบรด์พลีโน่ ทวน์ ซึ่งเบื้องต้นเปิดตัว โครงการพลีโน่ ทาวน์ บางนา ทาวน์โฮม 2 ชั้นและบ้านแฝด จำนวน 351 ยูนิต ราคา 1.99-4.99 ล้านบาท  แบรนด์คอนโด แอสปาย ซึ่งเปิดตัวแล้ว​ 1 โครงการ คือ ASPIRE ปิ่นเกล้า–อรุณอมรินทร์ จำนวน 395 ยูนิต เริ่ม 2.89 ล้านบาท (เริ่ม 94,000 บาท/ตร.ม.) โนเบิล ส่งแบรนด์ นิว รับกำลังซื้อต่ำกว่า 3 ล้าน สำหรับบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ปีนี้  จำนวน 18 โครงการ มูลค่า​ 47,700 ล้านบาท เพื่อสร้างเป้าหมายยอดรายได้ 29,000 ล้านบาท และมีเป้าหมายยอดขาย  28,000  ล้านบาท ซึ่งแผนปีนี้ได้เพิ่มสัดส่วนของการพัฒนาโครงการแนวราบ โครงการคอนโดแบบ Low Rise ในพอร์ตให้มากขึ้น เพื่อขยายพอร์ตให้มีสินค้ากระจายและรองรับกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย ซึ่งมีโครงการประเภทแนวราบ และคอนโดแบบ Low Rise จำนวน 12 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 18,800 ล้านบาท  โครงการประเภทแนวสูงจำนวน 6 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 28,900 ล้านบาท   โดยลูกค้าที่มีงบไม่เกิน 3 ล้านบาท สามารถเลือกซื้อโครงการคอนโด ภายใต้แบรนด์นิว (Nue) ของโนเบิลได้ ซึ่งได้เปิดตัวแล้ว 5 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 15,000 ล้านบาท แต่โครงการที่อยู่ภายใต้งบประมาณไม่เกิน 3 ล้านบาท มี 4 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการ นิว โนเบิล ดิสทริค อาร์ 9 (Nue Noble District R9) มูลค่าโครงการประมาณ 6,200 ล้านบาท   ราคาเริ่มต้นเพียง 2.9 ล้านบาท 2.โครงการ นิว โนเบิล เมกา พลัส บางนา (Nue Noble Mega Plus Bangna) มูลค่าโครงการประมาณ 3,000 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นเพียง 1.89 ล้านบาท 3.โครงการ นิว โนเบิล ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น (Nue Noble Z-Square Suan Luang Station) มูลค่าโครงการประมาณ 700 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นเพียง 1.79 ล้านบาท 4.โครงการ นิว โนเบิล คอนเน็กซ์ คอนโด ดอนเมือง (Nue Noble Connex Condo Donmueang) มูลค่าโครงการประมาณ 2,200 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นเพียง 1.09 ล้านบาท ศุภาลัย เปิด 9 โปรเจ็กต์ ส่วนบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ปีนี้วางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 34 โครงการ แบ่งเป็น โครงการแนวราบ 31 โครงการ และโครงการคอนโดมิเนียม 3 โครงการ ​มูลค่า  40,000 ล้านบาท เพื่อสร้างรายได้ตามเป้าหมาย  29,000 ล้านบาท และยอดขายตามเป้าหมาย​ 28,000  ล้านบาท   โครงการเปิดใหม่ปี 2565 สำหรับรองรับผู้ที่มีงบไม่เกิน 3 ล้านบาท รวม 9 โครงการ มูลค่า 7,200 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ จำนวน 2 โครงการ มูลค่า 4,200 ล้านบาท ​โครงการแนวราบในกรุงเหพฯ จำนวน 3 โครงการ มูลค่า 1,000 ล้านบาท และ โครงการแนวราบในต่างจังหวัด จำนวน 4 โครงการ มูลค่า 2,000 ล้านบาท   ทั้งหมดก็เป็นตัวอย่างบ้านและคอนโด ในระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ที่สามารถเลือกซื้อเลือกจับจองได้ ตามความต้องการ มีหลากหลายทำเล รูปแบบบ้าน และหลายแบรนด์ ใครชอบโครงการของใคร ก็ไปเลือกดูกันตามต้องการ ที่สำคัญมากกว่าราคา คือ คุณภาพ เลือกให้ดี อย่าเลือกเพราะราคาและโปรโมชั่นเท่านั้น เพราะบ้านอยู่กับเราไปอีก 20-30 ปี หรือตลอดอายุเรา ถ้าไม่อยากมีปัญหาตามมาปวดหัวภายหลัง   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เสนา ดีเวลลอปเมนท์  กับ 3 กลยุทธ์สู่เป้ารายได้กว่า 12,000 ล้าน ก้าวต่อไป เปิด 2 แบรด์ใหม่ จับตลาดต่ำล้าน เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม ปรับแผนธุรกิจปี 65 เพิ่มพอร์ต บ้านหรู ปูทางโตอย่างยั่งยืน เล็งรายได้คอนโด 20% พฤกษา เตรียมงบลงทุน 10,000 ล้านปี 65 พร้อมขยายธุรกิจ “พร็อพเทค-เฮลท์เทค” ​ เอพี ไทยแลนด์ เดินแผนพัฒนาสูงสุดในตลาด ประเดิม Q1 เปิดแนวราบ 11 โครงการ มูลค่า 9,590 ล้าน
ส่อง ตลาดคอนโด ปี 65 กับปัจจัยน่ากังวล หลัง Q4/64 ยอดขายใหม่ทำได้แค่ 25%

ส่อง ตลาดคอนโด ปี 65 กับปัจจัยน่ากังวล หลัง Q4/64 ยอดขายใหม่ทำได้แค่ 25%

ตลาดคอนโด ไตรมาส 4 ปี 64 ดีเวลลอปเปอร์แห่เปิดใหม่กว่า 11,252 ยูนิต แต่อัตราขายได้ยังต่ำแค่ 25.2% แถมราคาขายยังลด เหตุผู้ประกอบการเร่งระบายสต็อก ลดราคา อัดโปรโมชั่น ส่วนแนวโน้มตลาดคอนโด ปี 65 เริ่มสัญญาณการฟื้นตัว แต่ยังมีปัจจัยกังวล ทั้งเงินเฟ้อ ราคาสินค้าพุ่ง การระบาดของโควิด-19   ตลาดคอนโดมิเนียมในช่วง 2 ที่ผ่านมา ถือว่าได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีการประเมินว่าภาพรวมปี 2564 ตลาดคอนโตติดลบไปถึง 30% ทั้งในส่วนของการเปิดตัวโครงการใหม่ และการขาย   ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายต่างก็มองว่า ที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาต่ำสุดของตลาดคอนโดแล้ว ในปี 2565 น่าจะเป็นการฟื้นตัวของตลาดคอนโด ให้กลับมาเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปอีกครั้ง โดยอยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่กลับมารุนแรงจะควบคุมไม่อยู่อีกครั้ง   อย่างไรก็ตาม คงจะไม่มีใครสามารถฟันธงลงไปได้ว่า ตลาดคอนโดในปี 65 จะมีภาพที่ชัดเจนออกมาอย่างไร ซึ่งทุกอย่างล้วนแต่อยู่ภายใต้การประเมินจากปัจจัยและสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วคงต้องติดตามสถานการณ์กันต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่เพื่อให้มองเห็นภาพในอนาคต คงต้องย้อนกลับไปดูสถิติและสถานการณ์ของตลาดคอนโด ที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่ามา ว่าบนสรุปเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้ประเมินทิศทางต่อไปของตลาดคอนโดในปี 65 ได้ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น​ ตลาดคอนโด Q 4/64 ได้ปัจจัยบวกหนุนให้เปิดเพิ่ม นายณัฎฐา คหาปนะ รองกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าสำนักงานไนท์แฟรงค์ ภูเก็ต บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดคอนโดไตรมาส 4 ปี 2564 พบว่ามีการเคลื่อนไหวในด้านจำนวนมากขึ้น จากเดิมที่มีการชะลอตัวการเปิดโครงการใหม่ตลอดทั้งปี โดยผู้ประกอบการเริ่มกลับมาเปิดขายโครงการมากขึ้นในไตรมาสนี้ เนื่องจากรัฐบาลผ่อนปรนและยกเลิกมาตราการการล็อคดาวน์และเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะมาตราการลดระยะเวลาการกักตัวในรูปแบบ Test & Go   นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีมาตราการผ่อนปรน LTV เป็นการชั่วคราวจนถึงสิ้นปี 2565 ซึ่งส่งผลบวกต่อกลุ่มนักลงทุนและผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในการขอสินเชื่อกับธนาคาร โดยผู้ประกอบการมองว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปิดขายโครงการใหม่ แม้ว่าภาพรวมตลาดคอนโดในไตรมาส 4 นี้ จะมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” ทำให้ผู้ประกอบการต้องวางแผนกลยุทธ์ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อจับกลุ่มเรียลดีมานด์ซึ่งเป็นกำลังซื้อหลักในเวลานี้เท่านั้น ตลาดคอนโด Q4/64 เปิดกว่า 1.1 หมื่นยูนิต ตลาดคอนโดในกรุงเทพฯ ช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 11,252 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 56% ของจำนวนทั้งปี 2564 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 20,015 ยูนิต   โดยในไตรมาส 4 ปี 2564  มีจำนวนคอนโดขายใหม่เพิ่มขึ้น​ 62.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น​ 79.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยจำนวนคอนโดที่เปิดตัวใหม่ ตั้งอยู่ในเขตต่าง ๆ ดังนี้ -บริเวณชานเมือง 7,117 ยูนิต สัดส่วน​ 76% หรือ -บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ (City Fringe) สัดส่วน 13% -บริเวณศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) สัดส่วน 11% ตามลำดับ โดยจำนวนที่เปิดขายใหม่ยังเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่สูงถึง 70% จากจำนวนที่เปิดขายทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นโครงการของผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย  ซึ่งคอนโดที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสนี้อยู่ในระดับราคา 0.9 – 3.5 ล้านบาท หากแยกตามเกรดจะพบว่ามีสัดส่วน ดังนี้ -คอนโด เกรดซี สัดส่วน 63% -คอนโด เกรดบี สัดส่วน ​37% แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการเลือกที่จะเปิดขายคอนโดมิเนียมในระดับราคาเฉลี่ยที่ประมาณ 80,000-100,000 บาท/ตร.ม. เพราะเป็นสินค้าที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มที่เป็นกำลังซื้อหลักในช่วงนี้ ตลาดคอนโด ขายได้ใหม่ยังต่ำแค่ 25.2% ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 เป็นช่วงที่ประเทศไทยผ่านพ้นสถานการณ์การแพร่ระบาดหนักของโควิค-19 เนื่องจากการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้รัฐบาลสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยหนักให้ต่ำกว่าจุดวิกฤตได้  ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงตลาดคอนโดเริ่มกลับมามีการเคลื่อนไหว จากการที่ผู้ประกอบการได้กลับมาทยอยเปิดขายโครงการใหม่มากขึ้น   จำนวนยูนิตขายได้ใหม่ในไตรมาส 4 ปี 2564 มีคอนโดขายได้ใหม่อยู่ที่ 2,835 ยูนิต  คิดเป็นอัตราการขายได้ 25.2% จากจำนวนที่เปิดขายใหม่ทั้งสิ้น 11,252 ยูนิต   การขายลดลงในอัตรา 8.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า และลดลง​12.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา สาเหตุมาจาก  จำนวนยูนิตเปิดขายใหม่มีค่อนข้างมาก  ในขณะที่ยูนิตขายได้กลับมีน้อยเพราะเป็นโครงการที่ขายเพียงใบจองเท่านั้น แม้ว่าจะมียูนิตขายที่น้อยแต่ก็มั่นใจได้ว่าห้องที่ถูกขายไปนั้นจะไม่ได้รับการยกเลิก เนื่องจากโครงการมีการประเมินศักยภาพลูกค้ามากขึ้นเพื่อให้สามารถปิดการขายได้จริง ส่งผลให้ในอนาคตยอดปฏิเสธสินเชื่ออาจจะลดลง   โดยกลุ่มผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นกลุ่มกำลังซื้อระดับกลางที่ยังมีรายได้แน่นอนและมีมากกว่ากลุ่มนักลงทุน เนื่องจากโครงการที่เปิดขายจะอยู่ในโซนชานเมืองซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ทำให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัย (Real Demand) ที่มีความพร้อมในการซื้อค่อนข้างให้ความสนใจโครงการ โดยเฉพาะห้องที่มีระดับราคาไม่เกิน 3 ล้าน ราคาขายคอนโดปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ ราคาเสนอขายคอนโดในกรุงเทพฯ ​ณ ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ปรับตัวลดลงในทุกพื้นที่ จากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 -ราคาเสนอขายคอนโดบริเวณศูนย์กลางธุรกิจอยู่ที่ 239,689 บาท ต่อ ตารางเมตร ลดลง 4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า และลดลง​ 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า -ราคาเสนอขายคอนโดบริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ (City Fringe) อยู่ที่ 115,659 บาท ต่อ ตารางเมตร ลดลง 6.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า และลดลง​ 1.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ​ -ราคาเสนอขายของคอนโดบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ ​อยู่ที่ 63,258 บาท ต่อ ตารางเมตร ลดลง 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า และลดลง​ 2.1% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า   สาเหตุสำคัญที่ราคาคอนโด​ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ปรับตัวลดลง -การลดราคาขาย พร้อมจัดโปรโมชั่น​ สำหรับโครงการที่เปิดการขายมานานและยังไม่สามารถปิดการขายได้ -การลดราคา เพื่อให้สอดคล้อ งกับมาตราการลดค่าโอน – จำนอง ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท -การระบายสต็อกของบางโครงการ ​ ตลาดคอนโดกรุงเทพฯ ปี 65 ส่งสัญญาณฟื้น ตลาดคอนโด ตลอดทั้งปี 2564 นับเป็นปีที่ค่อนข้างหนักสำหรับผู้ประกอบการพัฒนาคอนโด เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ผ่านมา จากการแพร่ระบาดของโควิค-19 ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลต้องประกาศล็อคดาวน์ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทุกภาคส่วน   สำหรับปี 2565 นี้ เชื่อว่าตลาดคอนโดมีแนวโน้ม ทยอยกลับมาฟื้นตัวและมีความคึกคักมากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่มีแผนเปิดตัวโครงการมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีโครงการเปิดใหม่อยู่เฉลี่ยประมาณ 10,000 ยูนิต ในไตรมาสแรกของปี 2565 อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวล 1.การระบาดของโควิค-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” หากมีการแพร่ระบาดที่รุนแรง ส่งผลให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยหนักมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ อาจส่งผลให้รัฐบาลต้องออกคำสั่งให้กลับเข้าสู่การล็อคดาวน์อีกครั้ง 2. ภาวะเงินเฟ้อที่จะส่งผลต่อราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมถึงราคาวัสดุก่อสร้างให้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจยังชะลอตัว   ทั้งนี้ในส่วนของตลาดอสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลได้มีมาตราการช่วยเหลือและกระตุ้นกำลังซื้อ อาทิ การลดค่าโอน-จำนองที่ยืดระยะเวลาออกไปเป็นมาตราการที่กระตุ้นกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงซึ่งคนกลุ่มนี้ยังเป็นกำลังซื้อหลักในช่วงเวลานี้   เมื่อพิจารณาถึงภาพรวมของราคาขายคอนโด มีแนวโน้มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากต้นทุนในการพัฒนาของผู้ประกอบการเริ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคาที่ดินรวมถึงราคาวัสดุก่อสร้าง อาจจะเริ่มเห็นหลายโครงการเปิดขายโครงการในราคาต่อราคาเมตรที่สูงขึ้นในปีนี้ และหากโครงการอยู่ในทำเลที่ดี โอกาสในการต่อราคาของผู้ซื้อจะทำได้ยากขึ้น   อย่างไรก็ตาม แม้โครงการจะมีราคาขายที่สูงขึ้น  แต่หากการพัฒนารูปแบบโครงการ และอยู่ในทำเลที่เหมาะสม ก็จะเป็นตัวกำหนดให้ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อได้เช่นกัน โดยแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยในปี 2565 คาดว่าจะมีการออกแบบเพื่อรองรับความเป็นส่วนตัวและให้ความสำคัญในด้านสุขภาพ รวมถึงการมีเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตให้ง่ายขึ้น คอนโดระดับราคาตั้งแต่ 0.9 - 3 ล้านบาท เป็นราคาที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มเรียลดีมานด์ซึ่งเป็นกำลังซื้อหลักในช่วงเวลานี้ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการที่จะเร่งระบายสต็อกออกไป โดยการทำโปรโมชั่นราคาเพื่อให้สอดรับกับมาตราการลดค่าโอน-จำนองของรัฐบาล เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ซื้อกลุ่มนี้ ทั้งเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น   ระดับราคาคอนโดที่กลุ่มเรียลดีมานด์ให้ความสนใจ อยู่ในช่วงราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการที่จะทำโปรโมชั่นราคา เพื่อให้สอดรับกับมาตราการลดค่าโอน-จำนองของรัฐบาล และเป็นการระบายสต็อกที่ยังคงเหลืออยู่ออกไป   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 10 บิ๊กอสังหาฯ กวาดยอดขายบ้านและคอนโด ไตรมาส 2 กว่า 51,650 ล้าน
อสังหาฯ ลุยต่อ “ดิจิทัลแอสเซท” ปี 65  ขน NFT- คริปโทฯ เจาะไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

อสังหาฯ ลุยต่อ “ดิจิทัลแอสเซท” ปี 65 ขน NFT- คริปโทฯ เจาะไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

คริปโทเคอร์เรนซี ปี 2565 ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น และกลายเป็นกระแสที่มีการพูดถึงกันอย่างมาก ตั้งแต่ต้นปีเลยทีเดียว ไม่เฉพาะกับคนที่เทรดเหรียญดิจิทัล หรืออยู่ในแวดวงการเงินดิจิทัลเท่านั้น แต่เป็นประเด็นที่แทบทุกธุรกิจต่างพูดถึงกัน เพราะมีทั้งกระแสข่าวว่ากรมสรรพากรที่จะออกมาจัดเก็บภาษี ข่าวการออกมาเบรก ไม่ให้มีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment)   จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลัง จึงทำให้หลายธุรกิจกังวลใจ และมีการชะลอการนำเอาคริปโทเคอร์เรนซีมาใช้ธุรกิจของตนเอง ต้องรอความชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อน   แต่อย่างไรก็ตาม โลกของดิจิทัล สินทรัพย์ดิจิทัล และการเงินดิจิทัล เป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะเรื่องดังกล่าวกำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์เอง แม้ว่าจะเป็นสินค้ามีมูลค่าสูง ที่ผู้บริโภคหนึ่งคนอาจจะซื้อมาครอบครองได้เพียง 1 ครั้งในชีวิต แต่ธุรกิจอสังหาฯ โดยเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยไม่ได้มีแค่เรื่องการซื้อขายบ้านหรือคอนโดมิเนียมเท่านั้น ในกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของธุรกิจอสังหาฯ ยังมีอีกมากมาย นับตั้งแต่กระบวนการก่อนซื้อไปจนถึงการบริการหลังการขาย ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ต้องก้าวเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล สินทรัพย์ดิจิทัล และวงการคริปโทเคอร์เรนซี ในรูปแบบต่าง     ๆ   ปัจจุบันมีบริษัทอสังหาฯ มากกว่า 20 บริษัทที่ก้าวเข้ามาสู่วงการ และการเงินดิจิทัล ซึ่งมีแผนธุรกิจและแผนงานแตกต่างกันไป แต่ล้วนมุ่งสู่การนำเอามาช่วยสร้างการเติบโต และตอบโจทย์ทางการตลาด โดยเฉพาะการตอบโจทย์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป คริปโท ฯ ในแวดวงอสังหาฯ ปี 65 บูทิค เปิดขาย NFT 99 แบบภายใน 24 ชั่วโมง บริษัท บีสโปค ไลฟ์ ไซเอนซ์ จำกัด (“บีสโปค”) ภายใต้บริษัท บูทิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจด้านโรงแรมและศูนย์การค้า ได้เดินหน้าเข้าสู่วงการ Non-Fungible Token (NFTs) เป็นครั้งแรก ด้วยการเปิดตัว NFT ชุดแรกของ CannaThai420 ที่มีจำนวนจำกัดบนบล็อกเชน Ethereum โดย NFT ชุด Seed Plant ทั้ง 99 แบบที่ไม่ซ้ำกันเลยนั้น ทำยอดขายกว่า 22 Ethereum ภายในระยะเวลาเพียง 24 ชั่วโมง นับเป็นการประสบความสำเร็จก้าวแรกของโครงการ CannaThai420 ที่เพิ่งริเริ่มขึ้นได้เพียง 2 เดือนเท่านั้น โดย NFT ชุดแรกของ CannaThai420 หรือ Seed Plant NFTs วางจำหน่ายบนเว็บไซต์ http://www.CannaThai420.com เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 เวลา 13.00 น. ที่ผ่านมา ทางบูทิคได้ปล่อยขาย NFT ครั้งแรกรวม 99 แบบ จากทั้งหมด 120 แบบที่ผลิตในชุด Seed Plant ครั้งนี้ โดยส่วนที่เหลืออีก 21 แบบนั้น จะถูกเก็บไว้ในคลังของ CannaThai420 เนื่องจากวงจรการปลูกต้นกัญชาแม่พันธุ์ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการเพาะเมล็ดพันธุ์ซ้ำแล้ว ดังนั้น Seed Plant NFT ที่สร้างขึ้นจึงจะยังคงเป็นสิ่งที่หายากและเป็นที่ต้องการภายในระบบนิเวศของ CannaThai420 ตัวอย่างเช่น Seed Plant NFT จะเป็นบันไดขั้นแรกในการค้นหาแม่พันธุ์กัญชาที่แข็งแรงและมีค่าที่สุด ซึ่งเรียกว่า Royal Alpha Family ซึ่งประกอบด้วย 1 อัลฟ่าควีน (Alpha Queen) และ 9 อัลฟ่าปริ๊นเซส (Alpha Princesses) ซึ่งหมายความว่า ผู้ถือ Seed Plant NFT มีโอกาสที่จะเป็นผู้ถือครองพืชกัญชาที่ทรงคุณค่าและทรงพลังที่สุดในประเทศไทย ในรูปแบบของสะสมดิจิตอล NFT อีกด้วย ASW ใช้ Popcoin เจาะไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ขณะที่นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW เปิดเผยว่า บริษัทได้ให้ความสำคัญกับ Digital Transformation โดยสิ่งหนึ่งที่สนใจก็คือ “ดิจิทัลแอสเซท” ที่กำลังเป็นเทรนด์และมีบทบาทสำคัญกับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของแอสเซทไวส์ ที่ผ่านมาจึงได้ตั้งบริษัทในเครือ บริษัท ดิจิโทไนซ์ จำกัด ด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง บริษัท ฟิวเจอร์คอมเพเทเร่ จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนเหรียญ Popcoin เพื่อรองรับการศึกษาและลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) รวมถึงแสวงหาโอกาสในการใช้เทคโนโลยี และแพลตฟอร์มที่ทันสมัย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจให้รับกับเทรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับแอสเซทไวส์ มองว่าเหรียญ Popcoin ซึ่งถือเป็น Utility Token ที่จะเป็นตัวกลางในการใช้งานต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม มีระบบที่น่าเชื่อถือ เป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการเติมเต็มความต้องการ สร้างโอกาสทางการตลาดให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดใน Popcoin Ecosystem ทั้งแบรนด์ ผู้สร้างคอนเทนต์ และโดยเฉพาะผู้บริโภค ดังนั้น Popcoin จึงไม่ใช่แค่เหรียญคริปโทเคอร์เรนซีเท่านั้น แต่เป็นคอมมูนิตี้ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงคนแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแพลตฟอร์มที่มีพลังที่จะช่วยให้แอสเซทไวส์ใกล้ชิดกับลูกบ้าน และคนรุ่นใหม่ได้มากกว่าที่เคย พร้อมเข้าถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดและวัดผลได้จริง   โดยเหรียญ Popcoin เป็นสมาร์ทมาร์เก็ตติ้งแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมิร์ช ที่เกิดจากความร่วมมือของบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS Group, บริษัท โฟร์ท แอปเปิ้ล จํากัด, บริษัท ฟิวเจอร์คอมเพเทเร่ จำกัด และบริษัทพันธมิตรชั้นนำแนวหน้าของไทย  ซึ่ง Popcoin จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญ ที่พลิกโฉมการทำกลยุทธ์ทางการตลาดของแอสเซทไวส์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกิจกรรม และสร้างสิทธิประโยชน์รูปแบบใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้า Kave Condo ซึ่งเป็นนักศึกษา คนรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจและคุ้นเคยกับการใช้สกุลเงินคริปโทฯ อีกทั้งยังสามารถนำเหรียญ Popcoin มาต่อยอดในกิจกรรมต่าง ๆ  ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของลูกบ้าน ซึ่งอนาคตอันใกล้ จะได้เห็นการมีส่วนร่วมดี ๆ  บนแพลตฟอร์ม Popcoin เพื่อเปิดประสบการณ์การใช้ชีวิตให้กับลูกบ้านในทุกมิติ อนันดาฯ ขน15 โครงการแจก KUB COIN  ด้านบริษัท อนันดา ดีเวล ลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) จับกระแส “Digital Asset” มาอย่างต่อเนื่องล่าสุดได้ส่ง 2 แคมเปญ “อนันดา ครบ คุ้ม KUB” และ “Fabulous Offer” ได้นำโครงการคอนโดเข้าร่วมแคมเปญ 15 โครงการ สำหรับรับฟรี KUB COIN เมื่อซื้อคอนโดทุกยูนิต   โดยอนันดาฯ มองว่ากลุ่ม GEN C เป็นกลุ่มผู้บริโภคในยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารเป็นหลัก ชอบความสะดวกสบาย สนใจสิ่งที่มีสไตล์เฉพาะตัว เป็นกลุ่ม Cash Smart หรือ กลุ่มคนที่ฉลาดในการบริหารเงิน นิยมให้เงินทำงาน รู้จักวางแผนการใช้เงินเพื่ออนาคต รวมไปถึงมีการลงทุนในมุมต่างๆ เช่น ลงทุนในหุ้น และกองทุน ซึ่งในยุคปัจจุบันเริ่มให้ความสนใจในเรื่องคริปโทเคอเรนซี่  หรือ NFT ที่กำลังมาแรง คนเหล่านี้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของอนันดา  ที่มีความสนใจในด้านดังกล่าว สำหรับแคมเปญ “อนันดา ครบ คุ้ม KUB”  มีโครงการคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่กว่า 11 โครงการ ภายใต้แบรนด์  ไอดีโอ โมบิ, ไอดีโอ,  เอลลิโอ และ ยูนิโอ เริ่ม 1.59 – 14.9 ล้านบาท* ส่วนแคมเปญ “Fabulous Offer” กับห้องแต่งครบ พร้อมเข้าอยู่ มีแบรนด์ แอชตัน และ ไอดีโอ คิว โดยมีโครงการเข้าร่วมแคมเปญ 4 โครงการ ซึ่งแคมเปญมีระยะเวลาตั้งแต่วันนี้ – 15 กุมภาพันธ์นี้ ริชชี่-เอสซี เตรียมก้าวสู่โลกคริปโทฯ หลายบริษัทอาจจะมีการเดินหน้าการเข้าสู่โลกคริปโทฯ อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว แต่ก็มีบางบริษัทที่อยู่ระหว่างการศึกษา และบางบริษัทก็เริ่มนำร่องการนำเอาคริปโทฯ เข้ามาใช้บ้างแล้ว แม้จะไม่เต็มรูปแบบ เพราะต้องรอความชัดเจนในหลายเรื่อง รวมถึงความพร้อมต่าง ๆ ด้วย สำหรับเอสซี แอสเสท หรือบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  เริ่มศึกษาและเตรียมความพร้อมก้าวสู่โลกคริปโทฯ รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลนรูปแบบต่างๆ ล่าสุด  ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) Creative Economy Agency (Public Organization) หรือ CEA จัดเสวนา NFT 101 presented by SC Asset เปิดชั้นเรียนกับเซียน NFT แบ่งปันความรู้ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงเคล็ดลับสำคัญในการเป็นผู้เล่นของตลาด ซึ่งงานดังกล่าว​ส่วนหนึ่งของงาน Bangkok Design Week 2022 โดยจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16.00 – 18.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ FB Live :Bangkok Design Week หรือที่ FB Page : SC Asset   นอกจากนี้ เอสซี แอสเสท ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเกี่ยวกับทำระดมทุนด้วยวิธี ICO เนื่องจากมีสินทรัพย์ ประเภทอาคารที่สร้างรายได้ประจำมูลค่ารวมกว่า 6,000 ล้านบาท  และวางแผนการออก SC Morning Coin ซึ่งเป็นเหรียญดิจิทัล ใช้ในแพลตฟอร์ม สำหรับพนักงานลูกค้า คู่ค้าและนักลงทุน ต่อยอดจาก SC token ที่ปัจจุบันใช้กันภายในองค์กรอยู่แล้วด้วย   ขณะที่บริษัท ริชี่เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ RICHY  ได้เริ่มนำร่องเปิดรับการซื้อขายอสังหาฯ ของบริษัทบ้างแล้ว แม้ว่าช่วงแรกจะขายได้เพียง 1 ยูนิต แต่ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะบริษัทยังไม่ได้เริ่มทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์อย่างจริงจัง   ดร.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดช่องทางการรับชำระเงินค่าสินค้าด้วยสกุลเงินดิจิตัล   เพื่อนำมาต่อยอดจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลกำลังได้รับความนิยม และเป็นที่ยอมรับของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทฯอยู่แล้ว   ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่ได้เข้ามาสู่วงการคริปโทฯ และสินทรัพย์ดิจิทัล ยังมีผู้ประกอบการอีกหลายรายที่กำลังวางแผน และเตรียมความพร้อม รวมถึงความชัดเจนในการก้าวเข้ามาสู่วงการนี้ ซึ่งคงมีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่องให้เราได้ติดตามกัน   บทความที่เกี่ยวข้อง แอสเซทไวส์   เพิ่มทางเลือกแลกเงินดิจิทัล จับมือ​ “Bitkub” ขยายฐานลูกค้า  New Gen ซื้อบ้าน-คอนโด ด้วย Cryptocurrency
4 สูตร (ไม่) ลับ “Be-Think-Do-Say” สร้างแบรนด์ “อสังหาฯ” ให้เป็นผู้นำธุรกิจ

4 สูตร (ไม่) ลับ “Be-Think-Do-Say” สร้างแบรนด์ “อสังหาฯ” ให้เป็นผู้นำธุรกิจ

ต้องยอมรับว่าจากการเข้ามาของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้โลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วไป รวมถึงการดำเนินธุรกิจของธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องปรับเปลี่ยนตามให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย และไม่เพียงแต่การดำเนินธุรกิจที่จะต้องตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้เท่านั้น   แต่การดำเนินธุรกิจต้องสามารถก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ผู้นำตลาด หรือ LEADERSHIP BRAND เพื่อครองใจตลาดและผู้บริโภคให้ได้ เพราะยุคปัจจุบันผู้บริโภคจงรักภักดีต่อแบรนด์ลดน้อยลง และไม่ได้รักหรือชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว ผู้บริโภคพร้อมจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองได้ตลอดเวลาด้วย   สำหรับการสร้างแบรนด์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  แม้ว่าคนส่วนใหญ่เลือกซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม จากทำเลที่ตั้ง วัสดุก่อสร้าง ราคาหรือโปรโมชั่น แต่เรื่องของแบรนด์ก็ถือว่ามีความสำคัญ เพราะจะสะท้อนกลับมาถึงสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นว่า เป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี ราคายุติธรรม การสร้างแบรนด์อสังหาฯ ในยุคปัจจุบันจึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กับธุรกิจอื่น ๆ โดยสูตรลับการสร้างแบรนด์ที่สำคัญ ประกอบด้วย “Be-Think-Do-Say” ที่ถือว่าเป็นหัวใจที่จะทำให้แบรนด์เป็นที่ยอมรับและเข้าไปนั่งในใจของลูกค้า ซึ่ง “ดลชัย บุณยะรัตเวช ประธานและประธานบริหารฝ่ายกลยุทธ์ บริษัท อินสปิริตี้ พาร์ทเนอร์ชิพ จำกัด ​ ได้มาถ่ายทอดเคล็ดลับดังกล่าว ในหัวข้อ “Brand Leadership & Brand Portfolio Management” ภายในงาน TerraHint Brand Series 2021 – Develop the leadership brand in a game changing way พลิกเกม เปลี่ยนแบรนด์สู่ผู้นำ   Consumer Paradox ผู้บริโภคหลายใจในยุคโควิด ปัจจุบันการก้าวสู่แบรนด์ผู้นำ หรือ LEADERSHIP BRAND อาจจะไม่ใช่เรื่องยาก เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง สังคมและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้การสร้างแบรนด์ได้รับปัจจัยสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   สำหรับคำว่า LEADERSHIP BRAND มีความหมายว่า เป็นแบรนด์ที่มีอำนาจในการสื่อสาร IDENTITY หรืออัตลักษณ์ของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และสามารถแสดงความโดดเด่น หรือพิเศษอย่างมั่นคง และที่สำคัญจะต้องสื่อสารในสิ่งที่ ตัวเองเชื่อ และสัญญากับสังคมได้ สามารถจะส่งมอบคุณค่าของแบรนด์ได้ตลอดเวลา แต่สิ่งสำคัญเราจะสร้างแบรนด์ เพื่อครองใจตลาดและผู้บริโภค ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายใต้ยุค New Normal โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป   โดยปัจจุบัน พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal มีการเปลี่ยนแปลงใน 4 มุมด้วยกัน ดังนี้ 1.Changing the Channel ช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่เปลี่ยนแปลง  มีความเป็นดิจิตอลมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันการติดต่อแบบ Physical ก็ยังจำเป็น เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม สองโลกต้องไปด้วยกัน 2.Shift  to Value การใช้จ่ายที่คิดแล้วคิดอีก เพราะเงินหายาก กว่าจะซื้ออะไรได้จะคิดมากขึ้น 3.Healthy, safety and Local คนให้คนสำคัญกับเรื่องของสุขภาพ การนอนหลับที่ดี การมีสมาธิ และความปลอดภัย การใช้จ่ายภายในประเทศ 4.Shock to Loyalty รอยัลตี้ของแบรนด์น้อยลง  ผู้บริโภคยุคปัจจุบัน พร้อมจะเปลี่ยนไปซื้อสินค้าแบรนด์อื่นได้ง่ายขึ้น เพราะเน้นในเรื่องของความสะดวสบาย อะไรที่ใกล้ตัวและสะดวกก็จะเลือกซื้อแบรนด์นั้น จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากขึ้น คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ถือว่าเป็น​เทรนด์ใหม่ คือ Consumer paradox ซึ่งหมายถึง ผู้บริโภคมีความต้องการ 2 อย่างในตัวเอง ไม่ได้มีความต้องการด้านเดียว มักจะมี 2 มุมเสมอ และบางครั้งก็ขัดแย้งกันเอง ซึ่งแบรน์จะต้องตอบสนองเขาให้ได้ เป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคยุคปัจจุบันมีความหลายใจ บางครั้ง อยากได้ Digital world แล้วก็อยากได้ Physical world ด้วย บางครั้งก็อยากได้ Social time และก็อยากได้เวลาของตัวเองด้วย ดังนั้น แบรนด์จะต้องมีความเข้าใจผู้บริโภคตลอดเวลา ผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทั้ง Demographic จิตวิทยา  ค่านิยม  แบรนด์จึงอยู่เฉยไม่ได้ ต้องจับให้ได้และต้องเข้าใจ  เพราะแบรนด์คือการสร้างความสัมพันธ์ (Brand is a relationship) ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค ถ้าความสัมพันธ์ไม่แข็งแรงแบรนด์ก็ไปต่อไม่ได้ เพราะฉะนั้น Brand ต้องเป็น Paradox หมายถึงการมี 2 มิติ มีเพียงมิติเดียวไม่ได้ เพื่อตอบสนองความต้องการ 2 มิติของผู้บริโภค เหมือนหยิน-หยาง มีจุดแข็งและจุดอ่อนนุ่ม ทุกอย่างต้องมี 2 มิติเสมอ  เป็นเทรนด์ใหม่ของการสร้างแบรนด์ 4 สูตรสร้างแบรนด์ “Be-Think-Do-Say”​ ส่วนองค์ประกอบหลักในการสร้างแบรนด์ มีด้วยกัน 3 มุม ที่จะต้องรู้ ประกอบด้วย 1.BRADD PURPOSE เป้าหมายของแบรนด์เราต้องรู้ว่า คุณค่าและกลยุทธ์องค์กร เป็นอย่างไร และต้องมีความชัดเจน 2.CONSUMER NEEDS ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต 3.WORLD NEEDS เป็นอย่างไร หลังจากสังคมเกิดโรคระบาดขึ้น แบรนด์สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ได้อย่างไร การสร้างแบรนด์จะต้องนำเอาองค์ประกอบทั้ง 3 มาพิจารณา และสามารถปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งวิธีการทำงานในสร้างแบรนด์ที่ถูกต้อง  จะต้องเริ่มต้นด้วย 1.DEFINE ว่าบริบทเป็นอย่างไร ความท้าทายเป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างไร 2.ALIGN การนำเอาทุกอย่างมาปรับให้เข้ากัน ทั้งองค์กร สิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมาย 3.PROJECT เมื่อนำทุกอย่างมาจัดการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หรือ ALIGN เข้าด้วยกันแล้ว จึงทำเป็นแบรนด์ให้เป็นแฟลตฟอร์มออกไป เมื่อทุกอย่างนิ่งแล้วทำเป็น PROJECT โดยเฉพาะแบรนด์อสังหาริมทรัพย์​ ถ้าเรามีกลยุทธ์แบรนด์ที่นิ่ง ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมดแล้ว สามารถทำโปรเจ็กต์ที่ถูกต้อง   สำหรับวิธีการสร้างแบรนด์ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำ จะต้องประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ “Be-Think-Do-Say” 1.Be : Brand essence, Brand purpose, Brand positioning การสร้างแบรนด์ต้องเริ่มต้นด้วยกความเข้าใจ Being ตัวเองก่อน คำว่า Being ไม่ใช่แค่บุคลิกภาพ แต่รวมถึง Spirit  จิตวิญญาณของแบรนด์ว่าเป็นอย่างไร 2.Think: Brand idea, Brand portfolio/architecture, Brand identity เมื่อรู้จักตัวเองแล้วจะรู้วิธีคิด ว่าอสังหาฯ ​จะต้องมีไอเดียอย่างไร มีคอนเซ็ปต์อย่างไร 3.Do: Brand culture, Brand expression , Brand behavior เมื่อได้ไอเดียและคอนเซ็ปต์แล้ว แต่อย่างสื่อสารการตลาด แต่ต้องทำให้เห็นก่อน Doing จึงหมายถึง คุณจะต้องสร้างวัฒนธรรมแบรนด์ให้ชัดเจน พนักงานทุกคนต้องเข้าใจ การแสดงออกจะเป็นอย่างไร ต้องวางแผนให้ดี Portfolio จะเป็นอย่างไร สินค้าจะมีอะไรบ้าง 4.Say : Brand communication, Brand narrative, Identity expression หลังจากทำกระบวนการในขั้นตอน Do แล้วค่อยสื่อสารการตลาด หรือ Saying ออกไป ซึ่งถือเป็นอันดับสุดท้ายของการสร้างแบรนด์ ค้นหาตัวตนของแบรนด์ ในการสร้างแบรนด์สู่การเป็นผู้นำ จุดเริ่มต้นต้องค้นหาตัวตนที่แท้จริง หรือ Be authentic ของแบรนด์ให้ได้  ต้องเข้าใจตัวตนของแบรนด์อสังหาฯ​ ที่แท้จริงของคุณว่าเป็นอย่างไร คำว่า​ authentic ซึ่งหมายถึง ตัวจริง ของแท้ คุณจะต้องหาจิตวิญญาณที่แท้จริงของตัวเองให้ชัดเจน ซึ่งวิธีการหาจะใช้การเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม We are….. Why we are…..    เป็นคำถามที่ต้องถามตัวเอง เราเป็นใครกันแน่? โดยมีเคล็ดลับในการหาคำตอบให้กับตนเอง ด้วยการตั้งคำถาม Who are you เพราะการที่คุณเป็นอะไร มันจะสะท้อนสิ่งที่คุณทำ คุณครีเอท และมาจากคนที่รู้จักคุณ​ เป็น 3 มุม ที่บ่งบอกว่าตัวคุณเป็นใคร  ผู้บริโภคคุณเป็นใคร สิ่งที่คุณอยากครีเอทคืออะไร สิ่งที่จะอยากทำคืออะไร  อันนี้เป็นตัวบ่งบอกว่าคุณ คือ ใคร   นอกจากนี้ ยังจะต้องสร้างภาพแบรนด์ให้มีความเป็นมนุษย์ให้ได้ เพื่อสร้างบุคลิกของแบรนด์ หรือวัฒนธรรมของตนเองให้ตลอดรอดฝั่ง เพราะยุคนี้  UNIQUE SELLING POINT ไม่มีแล้ว  ทุกอย่างมันเหมือนกันหมด เทคโนโลยีมันตามกันทัน เราจะทำอย่างไร ที่จะสร้างบ้านให้แตกต่าง สิ่งที่อยากแนะนำให้แบรนด์อสังหาฯ ทำคือ SPIRITUAL IDENTITY อัตลักษณ์ทางจิตวิญญาณ เป็นเทรนด์ใหม่ล่าสุด ถ้าทุกแบรนด์เข้าใจ จะไปต่อได้ง่ายและโดดเด่น แสดงความเป็น LEADSHIP ได้ง่าย ค้นหาตัวตนจากบทบาทที่แสดง อีกวิธีในการค้นหาตัวตนของแบรนด์ ด้วยการค้นหาบทบาทที่แบรนด์กำลังแสดง หรือ BRAND ARCHETYPES บทบาทของแบรนด์ ถ้าสมมุตว่าแบรนด์กำลังเล่นละครอยู่ คุณกำลังแสดง​บทบาทไหนอยู่ เป็นตัวละครแบบไหน ในโลกนี้มีจะมี 12 บทพื้นฐานที่คนแสดงออกมา แต่การทำงานจริงอาจจะมีมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับบริบทที่จะเกิดขึ้น เช่น ถ้าเป็นบท Creator ​ก็เป็นคนมีความคิด ถ้าเป็น Explorer  คุณก็เป็นคนที่ชอบค้นพบอะไรใหม่ ๆ Outlaw ชอบแหกกฎ Jester เป็นคนสนุกสนาน Lover  คนโรแมนติกสวยงาม Caregiver  มอบความรักความเอาใจใส่ให้กับคน Everyman คนง่าย ๆ สบาย ๆ ติดดิน Innocent เป็นคนไม่มีพิษไม่มีภัย Ruler ผู้นำ  Sage นักปราชญ  Magicianคนชอบเสกอะไรใหม่  Hero คามเป็นผู้นำ   นอกจากนี้ ในการสร้างแบรนด์สิ่งสำคัญที่นักสร้างแบรนด์ต้องทำ คือ การเล่นกับสมองผู้บริโภค ทั้ง 2 ด้าน คือ ​ แบรดน์ที่ดีจะต้องเล่นกับสมองซีกขวา อารมณ์ ความรู้สึก จิตนาการ  ส่วนโปรดักส์และฟังก์ชั่น ต้องเล่นกับสมองซีกซ้าย หมายถึงว่า  ถ้าแบรนด์อสังหาฯ สร้างแบรนด์ให้โดนใจ โดนความรู้สึก  ทุกอย่างต้องไปด้วยกันทั้งสมองซีกซ้ายและขวา หรือ ต้องมี Head กับ Heart คือ มีทั้งลอจิกส์และความรู้สึก (หัวใจ) คน   แบรนด์แอปเปิ้ล Think different เขาเล่นสองบทบาท คือ บท Creator และ Rebel นักขบถ สตีฟ จอบส์ เขาเป็นนักสร้างสรรค์และนักขบถด้วย แบรนด์อิเกีย เป็นแบรนด์ Regular guy  คือ เป็นแบรนด์ง่าย ๆ ติดดิน แต่มุมที่สอง มีความเป็น Creator   ค้นหา Big idea สร้างตัวตน เมื่อเข้าใจตัวตนของแบรนด์แล้วว่าเป็นใคร สิ่งที่ต้องทำต่อมา คือ กระบวนการ Think ด้วย การหา Big idea  ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ไปทำอะไรต่อไป การหา Big idea สามารถหาได้ 2 มุม คือ มุมที่เด่น Differentiated Value และ มุมที่คุณมี โดน Relevance Value โดย Big idea จะเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างทั้ง 2 เรื่องดังกล่าว ​ Big idea ที่ดี จะต้องมี 2 ด้านดังกล่าว ซึ่งอาจะเปรียบเทียบได้ว่าจะต้องมีทั้ง Head และ Heart คือ หัวใจและสมอง ซึ่งหัวใจต้องมีความชัดเจน ตรงโดดเด่นไม่เหมือนคนอื่น ต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย   สำหรับ Big idea มีประโยชน์ในการใช้งานทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร ประโยชน์ของ Big idea ที่ใช้ภายในองค์กร คือ 1.Team attitude คือการสร้างทีมของคุณ ให้มีทัศนคติเดียวกัน 2.Product innovation and design สามารถสร้างสินค้า ดีไซน์สินค้า และกลยุทธ์สินค้าภายใน 3.Internal communication สื่อสารภายในองค์กรให้ทุกคนเข้าใจว่าแบรนด์เป็นอย่างไร 4.Organiztion Identity อัตลักษณ์ขององค์กร ต้องแสดงกายภาพ แบบไหน การแสดงออกอย่างไร ว่าเป็นคนในองค์กรนี้   ประโยชน์ของ Big idea ที่ใช้ภายนอกองค์กร  คือ 1.Brand representative behavior อย่างเซล หรือแอมบาสเดอร์ ที่จะออกไปพบสังคม จะต้องทำตัวอย่างไร​ 2.Products delivery การส่งมอบสินค้าจะเป็นอย่างไร 3.External narrative การสร้างเรื่องราวภายนอกจะเป็นอย่างไร การโฆษณาประชาสัมพันธ์​ 4.Expression identity (Look and feel) การแสดงออก รูป รส กลิ่นเสียง จะเป็นอย่างไร ทำก่อน "พูด" ให้แบรนด์มีพลัง​ เมื่อเรามีไอเดียแล้ว ต้องรู้วิธีการทำงาน อย่าเพิ่งสื่อสารออกไป ต้องทำให้เห็นจริงก่อน หรือ Do provide value อย่ารีบพูด "Actions speak louder than words" อย่ารีบสร้างสโลแกน ทำให้เห็นก่อน สมัยนี้แนวทางการสร้างแบรนด์ไม่ใช่ Story telling แต่เป็น Story doing ทำแบรนด์ให้จับต้องได้ แล้วจะชนะเกมทุกอย่างในยุคนี้ Show…don’t tell ทำทุกอย่างให้เห็น ด้วยกลยุทธ์ของการบริหารแบรนด์ หรือ  Brand Portfolio Strategy   การบริหารแบรนด์อย่างไรให้เป็นผู้นำ  จะต้องบริหารแบรนด์ให้มีพลัง ด้วยใช้กลยุทธ์  Brand Portfolio Strategy เริ่มต้นจากการตั้งคำถามมีแบรนด์ไปเพื่อใคร ทำแบรนด์ไปทำไม มีสินค้าเพื่อใคร จะต้องมีแบรนด์ลูกด้วยหรือไม่ ต้องจัดพอร์ตสินค้าให้มีความชัดเจน ผู้บริโภคจะได้เข้าใจและสามารถเข้าถึงแบรนด์ได้ ซึ่งโดยปกติบนโลกนี้โครงสร้างของแบรนด์ หรือ Brand Architectures จะมีแบบมาตรฐานด้วยกัน 3 รูปแบบ 1.Masterbrand หมายถึง ทุกแบรนด์ในองค์กรใช้ชื่อแบรนด์แม่มาช่วยในการดำเนินธุรกิจ เช่น กลุ่ม HYATT 2.Endossed หมายถึง แบรนด์แม่สร้างแบรนด์ลูก แล้วแบรนด์แม่มาช่วยสนับสนุนในการสร้างแบรนด์ เช่น กลุ่ม MARRIOTT 3.Individual หรือ House of brand หมายถึง บริษัทพัฒนาแบรนด์ออกมา โดยมีชื่อไม่เหมือนกัน ไม่ได้ใช้ชื่อเชื่อมโยงกัน แต่ออกมาจากบริษัทแม่เดียวกัน เช่น กลุ่ม STARWOOD ได้เวลาส่งเสียง สร้างแบรนด์ให้ดัง หลังจากได้ทำกระบวนการ Be-Think-Do แล้ว ก็มาถึงกระบวนการสุดท้าย คือ Say ที่หมายถึงการสื่อสารการตลาด ให้ผู้บริโภคและคนภายนอกได้รู้จักแบรนด์ ซึ่งการสื่อสารในทุก ๆ สื่อ จะต้องสื่อสารเรื่องหลักเรื่องเดียวกัน นอกจากใจความสำคัญแล้ว ลีลา บุคลิกลักษณะของการสื่อสาร ต้องออกมาเหมือนกันด้วย โดยจะต้องสื่อสารออกมาในลักษณะ เป็นการสื่อสารออกมาจากคน ๆ เดียวกัน ในทุกสื่อทุกช่องทาง​   แนวทางการสื่อสารสำหรับแบรนด์ผู้นำ จะต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ -What I VALUE the most แสดงให้ลูกค้าเห็นว่าแบรนด์ให้คุณค่ากับอะไร เป้าหมายคืออะไร สิ่งที่แบรนด์เห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญคืออะไร -What I want to be KNOWN for แบรนด์อยากให้ลูกค้าทุกคน เห็นว่าแบรนด์เป็นอย่างไร แบรนด์จะโดดเด่นตรงไหน -How I will LEAD แบรนด์จะตัวอย่างที่ดีให้กับสังคมอย่างไร ต้องทำให้เห็น ​ -What I expect FROM YOU แบรนด์ต้องการให้ผู้บริโภคคิดอย่างไร ทำอย่างไรต่อไปกับชีวิตของตนเอง เช่น เป็นตัวของตัวเองที่สุด แสดงความรักต่อความครอบครัวมากที่สุด ไม่ใช่แค่ขายของ   ในการเล่าเรื่องของแบรนด์จะต้องทำให้เห็น ให้ผู้บริโภคจินตนาการเห็นกายภาพที่ชัดเจน ว่าแบรนด์มีลักษณะอย่างไร เห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็นแบรนด์ของเรา แบรนด์จึงต้องมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน และนำเอาไปใช้ในทุก ๆ สื่อ นอกจากนี้ ต้องทำให้คนในองค์กรทุกแผนก รวมถึงสินค้า การตลาด ต้องสื่อสารออกมาให้มีความสอดคล้องกันทั้งหมด เหมือนออกมาจากบุคคลคนเดียวกัน   Say คือ การสร้าง communication และการแสดงออก  เมื่อได้กระบวนการทั้งหมด ผู้บริโภคจะรู้สึกเข้าใจ Brand โดยอัตโนมัติ เพราะแบรนด์นามธรรม เป็นการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก และความรับรู้ที่ผู้บริโภครู้สึกได้ทางอารมณ์ ส่วนสินค้า คือ เหตุผล ดังนั้น เมื่อทำกระบวนการ Be-Think-Do-Say ผู้บริโภคจะรับรู้และรู้สึกได้เอง   การทำธุรกิจต้องมี Business strategy แต่ก่อนทำ Marketing strategy ต้องลงทุนทำ Brand strategy ซึ่ง strategy จะเป็นตัวเชื่อมระหว่าง Business strategy กับ Marketing strategy เพื่อไม่ให้หลงทาง ซึ่ง Brand strategy จะช่วยกำหนดตัวตน จุดยืน เป็นเข็มทิศให้กับ การตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด Brand strategy เป็นตัวกลางในการเชื่อม Business กับ strategy เพราะ Marketing is what you do branding is what you are คุณต้องรู้ตัวว่าคุณเป็นใครก่อน ที่คุณจะทำอะไร ทั้งหมดนี้ คือ กระบวนการสร้างแบรนด์ ที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย แต่สิ่งสำคัญกว่าการขึ้นเป็นผู้นำ คือ การรักษาความเป็นผู้นำ และการครองใจผู้บริโภค สามารถตอบสนองความต้องการให้เขาได้อย่างตรงจุด และอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการ ที่แบรนด์นำเสนอให้กับลูกค้าด้วย  
Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto [VDO]

Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto [VDO]

Blockchain คืออะไร? ช่วงนี้หลายคนคงได้ยินคำศัพท์ใหม่ ๆ ในวงการเทคโนโลยี  หรือการเงินดิจิทัล อย่างคำว่า Blockchain, Bitcoin หรือ Crypto ซึ่งบางคนก็เข้าใจว่าคำศัพท์แต่ละคำนั้นมีความหมายอย่างไร เกี่ยวกับเรื่องอะไร แต่หลายคนก็ยังคงสับสน และไม่เข้าใจกับคำศัพท์ต่าง ๆ เหล่านั้น ที่ถูกพูดถึงกันมากมายขณะนี้  ว่าคือเรื่องอะไรกันแน่ และมีความเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกันอย่างไรบ้าง วันนี้จึงจะมาอธิบายและทำความเข้าใจกับคำศัพท์ที่คุ้นหู้เหล่านั้นกัน โดยเรื่องแรกเป็นเรื่อง Blockchain   Bitcoin ไม่ใช่ Blockchain Bitcoin คือ Digital Asset Blockchain เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin เริ่มต้นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Bitcoin ไม่ใช่ Blockchain เพราะ Bitcoin คือ Digital Asset หรือสินทรัพย์ดิจิทัล คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับคำว่า Bitcoin มากกว่า Blockchain   สำหรับ Blockchain คือ เทคโนโลยี ที่ทำให้ Digital Asset หรือ Bitcoin สามารถโอนจากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งได้ ซึ่ง Bitcoin คือ อินโนเวชั่นที่เกิดจากเทคโนโลยีของ Blockchain Blockchain เข้ามาแก้ปัญหาอะไร ที่ชัดเจน คือ เรื่องของการโอนเงิน (​Money Transfer) ที่ขจัดตัวกลางออกจากระบบ ช่วยลดระยะเวลาการโอนเงิน และลดค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการโอน ตัวอย่างเช่น การโอนเงินไปยังต่างประเทศ ระหว่างบุคคล ที่หากจากนายเอ ไปยัง นายบี ที่อยู่อีกประเทศหนึ่งนั้น จะต้องมีตัวกลางเป็นผู้ดำเนินการ ในกรณีนี้ ตัวกลางคือ ธนาคาร การโอนเงินจะต้องเสียค่าธรรมเนียม และต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3 วัน แต่หากนำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ จะสามารถโอนเงินจากนาย เอ ไปยังนายบี ได้ทันที โดยไม่ต้องมีตัวกลาง และทำให้ค่าธรรมเนียมถูกลงกว่าผ่านตัวกลางด้วย   เทคโนโลยี Blockchain จึงเข้ามาแก้ไขใน 3 เรื่องด้านการเงิน คือ 1. ตัดตัวกลางออกจากระบบ 2. ลดค่าธรรมเนียม  3. ลดระยะเวลาให้น้อยลง ​   หลักการทำงานของ Blockchain  การทำงานของเทคโนโลยี Blockchain จะต้องประกอบด้วย การทำงานของ 3 เรื่อง คือ   1. Open ledger Open ledger คือ การบันทึกข้อมูลใน Block ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลในลักษณะ chain ต่อเนื่องกัน โดยใน Block จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลก่อนหน้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดทุกคนในระบบจะเห็นและตรวจสอบได้   ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ​เช่น ในระบบมีคน 4 คน คือ A, B, C, D ซึ่ง A มีเงินในระบบ 100 เหรียญ แล้วโอนเงินให้​ B 50 เหรียญ ระบบจะบันทึกไว้ใน ledger ถ้า B โอนให้ D 30 เหรียญ จะมีการบันทึกข้อมูลนี้ใน ledger และเชื่อมโยงข้อมูลให้รู้ Transaction ก่อนหน้าว่า A โอนเงินให้ B 50 เหรียญด้วย  ถ้า D โอนให้ C 10 เหรียญ ก็จะบันทึกการโอน และเชื่อมโยงข้อมูลก่อนหน้าเช่นกัน  ข้อมูลทุกอย่างจะถูกบันทึกใน ledger และเชื่อมโยงข้อมูลก่อนหน้าอย่างต่อเนื่อง ลักษณะการเชื่อมโยงข้อมูลจะมีลักษณะเป็น chain ต่อเนื่องกัน จึงเป็นที่มาของคำว่า chain ใน  Blockchain   สิ่งสำคัญของ Open ledger คือ ทุกคน​ในระบบ จะรู้ว่าเงินอยู่ที่ใครบ้างและแต่ละคนมีเงินอยู่เท่าไร ทำให้สามารถตรวจสอบ ​ได้ว่า Transaction ที่เกิดขึ้นมีความสมเหตุสมผลหรือไม่  จากกรณีตัวอย่างดังกล่าว หาก A ต้องการโอนเงิน 80 เหรียญให้ C ทุกคนในระบบจะรู้ทันทีว่า A  มีเงินไม่มากพอ ที่จะโอนได้ เพราะตอนแรก A มีเงิน 100 เหรียญ และโอนให้ B ไปแล้ว 50 เหรียญ ปัจจุบันเอเหลือเงินแค่ 50 เหรียญเท่านั้น Transaction นี้จึงไม่เกิดขึ้นและไม่มีการบันทึกลงใน ledger   2. Decentralized หรือ การกระจายการจัดเก็บข้อมูล จากการที่ระบบ Blockchain ช่วยตัดตัวกลางออกไป ทำให้ไม่มีใครในระบบครอบครอง ledger เพียงคนเดียว แต่ทุกคนในระบบจะครอบครอง ledger ของระบบไว้ เป็นการตัดตัวกลางออกจากระบบ เรียกว่า Decentralized  แต่วิธีการนี้จะมั่นใจได้อย่างไรว่า ledger ของแต่ละคนถูกต้อง มีการเชื่อมโยงข้อมูลกัน หรือ Synchronize กัน ​อย่างถูกต้อง ต้องมาสู่หลักการทำงานข้อที่ 3   3. Miners หรือการตรวจสอบข้อมูล กรณีตัวอย่าง  A โอนเงินให้ B  100 เหรียญ B โอนให้ D 50 เหรียญ แล้วเกิด B ต้องการสร้าง Transaction ใหม่ ด้วยการโอนเงินไปให้ C 20 เหรียญ B ต้อง broadcast  หรือประกาศให้ทุกคนในระบบทราบว่า B ต้องการเงินโอนเงินให้ C 20 เหรียญ ซึ่งเบื้องต้นข้อมูล Transaction จะยังไม่ถูกบันทึกลงใน ledger ในระบบ เพราะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อน ซึ่งในระบบจะใช้หลักการ miners เข้ามาทำการตรวจสอบความถูกต้อง   โดย miners ที่จะเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องของ Transaction นั้น จะเป็น special node (เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ) ที่มีการลงทุนในกำลังการประมวลผล เพราะจะต้องแข่งขันกับ node อื่น ๆ ในระบบ โดยทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ   1. การตรวจสอบ (Validate) transection กรณีตัวอย่าง เป็นการตรวจสอบว่า B มีเงินเพียงพอหรือไม่   2. การหา special key หรือ hash code (hash รหัสของข้อมูลประจำแต่ละ block ที่ไม่ซ้ำกับ block อื่น) ที่ทำให้ miners สามารถเชื่อมโยง Transaction ใหม่เข้ากับ Transaction ก่อนหน้าได้ ​การที่ miners จะหาตัว  special key ได้ จะต้องมีการลงทุนในกำลังการประมวลผล อย่างพวกเครื่อง ASIC (Application-specific integrated circuit) หรือการ์ดจอต่าง ๆ และต้องใช้เวลาด้วย เนื่องจากการค้นหา Key เป็นการเดาสุ่มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอ Key ที่ถูกต้อง โดย miners ที่คนแรกหาเจอ  ก็จะได้​รางวัลไป เช่น ได้รับ Bitcoin เป็นรางวัล​กรณีตัวอย่างดังกล่าวสมมุติ D เป็นคนแรกที่หา key ได้ D จะบันทึก Transaction ใหม่เข้าไปใน ledger  ของ D เอง หลังจากนั้นก็จะทำการประกาศตัว key ที่ได้มา ไปยัง node อื่น ๆ ในเน็ตเวิร์ค เพื่อที่ node อื่น ๆ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาหา key อีกต่อไป โดยสามารถนำ key ที่ได้นี้ไปตรวจสอบและบันทึก Transaction ไปยัง ledger ของแต่ละ node  ได้เลย และแต่ละ node  ก็จะมาหา Transaction ต่อไป เป็นการแข่งกันหา key  เพื่อได้รางวัลหรือ Bitcoin  ในครั้งต่อ ๆ ไป   บทสรุปความเข้าใจของ Blockchain 1. Blockchain ไม่ใช่ Bitcoin หรือ Cyrpto แต่ Blockchain  คือ เทคโนโลยี ส่วน Bitcoin  คือ อินโนเวชั่นที่เกิดจากเทคโนโลยีของ Blockchain   2. สิ่งที่ Blockchain พยายามแก้ไขปัญหา คือ การไม่ต้องพึ่งพิงตัวกลาง ทำให้ประหยัดเวลาและค่าธรรมเนียม   3. หลักการทำงานของ Blockchain - Open ledger  ใครๆ ก็สามารถตรวจสอบ Transaction ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน - Decentralized การไม่มีใครเป็นศูนย์กลางของระบบ ทำให้ขจัดการพึ่งพิงตัวกลางออกไป - Miners ในระบบ Blockchain จะมีหน้าที่แข่งกันกันตรวจสอบความถูกต้องของ Transaction ที่เกิดขึ้นระบบ miners จะได้รับรางวัล เช่น Bitcoin เป็นค่าตอบแทนในการนำกำลังเข้ามาช่วยตรวจสอบความถูกต้อง   บทความที่เกี่ยวข้อง ซื้อบ้าน-คอนโด ด้วย Cryptocurrency  
เปิด 4 ความต้องการของ “ลูกบ้าน” ในยุคโควิด-19 ที่ดีเวลลอปเปอร์ต้องไม่มองข้าม

เปิด 4 ความต้องการของ “ลูกบ้าน” ในยุคโควิด-19 ที่ดีเวลลอปเปอร์ต้องไม่มองข้าม

ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 วิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน ก็ไม่เหมือนเดิม ต้องปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้อยู่ได้และอยู่อย่างปลอดภัย ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด โดยเฉพาะเรื่องของความสะอาดและสุขอนามัย ที่คือหัวใจหลักสำคัญในการป้องกันการได้รับเชื้อโรค ไม่เพียงเท่านั้น เทคโนโลยีและดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ ได้ถูกนำมาพัฒนา เพื่อสร้างวิถีชีวิตใหม่ (New normal) ให้สะดวกและปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น จึงมีคำพูดว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งทำให้การใช้ดิจิทัลเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งหลาย จากการที่วิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน มี “โควิด-19” มาเป็นตัวแปร ทำให้การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเรียนรู้ และปรับตัวตาม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปด้วย ไม่เช่นนั้นธุรกิจหรือบริการนั้นก็คงไปไม่รอด   ล่าสุด บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom หรือ LWS)  บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) ได้นำเสนอผลงานวิจัยของทีมวิจัยงานบริการ (Service Development Centre: SDC) เกี่ยวกับการพัฒนางานบริการ ว่าผู้บริโภคมีความต้องการอย่างไรในด้านงานบริการ หลังจาก​เกิดการแพร่ระบาดของโควิด​-19    โดยเป็นการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างของผู้พักอาศัยในชุมชนภายใต้การบริหารของ บริษัท แอล พี พี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) บริษัทในเครือของ LPN  และพบว่า พฤติกรรมของผู้พักอาศัยในชุมชนให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์ในการติดต่อสื่อสาร/รับข่าวสาร และพบพฤติกรรมการใช้ช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ในการทำกิจกรรมซื้อ-ขายสินค้า เช่น สั่งซื้อสินค้าออนไลน์กว่า 90% ใช้บริการสั่งซื้ออาหารกว่า 80% ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และ We Are Social ร่วมกับ Hootsuite ที่ระบุว่า ในยุค 5.0 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้งาน Internet ในปี 2564 มากกว่า 46 ล้านคน (เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจากปี 2562  ของประชากรทั้งประเทศที่ 66 ล้านคน 4 ความต้องการด้านการบริการของผู้บริโภคยุคโควิด-19 จากผลสำรวจดังกล่าว ทำให้ผู้ให้บริการต้องปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า (Data Analytic) เพื่อนำมาพัฒนางานบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันและอนาคต   นอกจากนี้ จากผลการสำรวจของลูกบ้านดังกล่าว แสดงให้เห็นถึง พฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลง โดยด้านความต้องการในการได้รับการบริการ ที่ดีเวลลอปเปอร์จำเป็นต้องรู้ เพื่อตอบสนองและนำเสนอบริการได้ตรงความต้องการ  ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน  4 เรื่อง  ดังนี้ 1.ต้องได้รับการบริการที่รวดเร็ว ความรวดเร็วในการเข้าถึงผู้บริโภค  :  การที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตทำให้การเข้าถึงข้อมูลของสินค้าและบริการเป็นไปอย่างรวดเร็ว และการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการสามารถทำได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ทำให้ผู้ขายสินค้าและบริการจำเป็นต้องมีความรวดเร็วในการเข้าถึงผู้บริโภค ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าและบริการ รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารให้เข้ามามีส่วนช่วยให้สามารถส่งต่อข้อมูลของผู้ประกอบการไปสู่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เป็นปัจจัยเร่งในการตัดสินใจให้กับลูกค้า   รวมถึงการพัฒนางานบริการให้มีความสะดวกรวดเร็ว เข้าถึงง่าย ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการในหลายธุรกิจได้มีการพัฒนาช่องทางการสื่อสารและงานบริการผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อลดการสัมผัสโดยตรง และมีอัตราเร่งในการเข้าถึงผู้ต้องการใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว เช่น บริการด้านสาธารณสุขผ่านระบบ Telehealth  ซึ่งให้บริการปรึกษาด้านสุขภาพโดยแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ การให้บริการเบิก ถอน โอน เงิน ชำระราคาสินค้าและบริการผ่าน application ต่าง ๆ ของสถาบันการเงิน การรับชำระค่าบริการส่วนกลางของอาคารชุดพักอาศัย  ผ่าน application หรือ QR Code การใช้เทคโนโลยี Beacon ส่งสัญญาณบลูทูธไปยังสมาร์ตโฟนของผู้ใช้บริการที่อยู่ในรัศมีที่สัญญาณส่งถึง หากสมาร์ตโฟนเปิดช่องรับสัญญาณบลูทูธเอาไว้ก็จะมีการแจ้งเตือนทางสมาร์ตโฟน และทำการรับข้อมูล (Information) ที่มีประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการได้ทันที   อาทิเช่น การส่งคูปองส่วนลด โปรโมชั่นบริการที่ลูกค้ากำลังสนใจโดยที่ลูกค้ายังไม่ได้ร้องขอ การแจ้งเตือนข้อมูลให้ผู้ใช้ได้ทันที ทำให้ผู้ใช้ได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น  การใช้ในระบบบัตรคิว ในการจัดลำดับการให้บริการงานต้อนรับที่ต้องบริการลูกค้าจำนวนมาก เช่นการเข้าคิวส่ง-รับพัสดุ การใช้ในการเข้ารหัสหรือปลดล็อกรหัสการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ตัวปลดล็อกจักรยานด้วยแอปพลิเคชัน เมื่อเจ้าของเดินเข้าไปใกล้ในระยะที่อุปกรณ์ตรวจจับได้ก็สามารถใช้มือถือสั่งปลดล็อกได้ หรือแม้กระทั่งการใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับการติดตามดูแลเด็กเล็กได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งใช้ส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังผู้ปกครองเมื่อเด็ก ๆ ออกห่างหรืออยู่นอกสายตา 2.ต้องได้รับบริการที่มีความคุ้มค่า สร้างความคุ้มค่าในงานบริการ : การพัฒนางานบริการที่ให้ความคุ้มค่าในการใช้งานสำหรับผู้บริโภค โดยการออกแบบงานบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการด้วยระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ลดการรอคอยในการรับบริการด้วยการออกแบบให้มีระบบการจองคิวเพื่อเข้าใช้บริการ เลือกแพ็คเกจการใช้บริการได้ตามความต้องการ สะดวกและถูกรวมไว้ ณ ที่เดียว ง่ายต่อการสั่งสินค้า และที่สำคัญประหยัดค่าขนส่ง การปรับขนาดสินค้าให้เหมาะกับการขนส่ง กระจายจุดเข้าถึงสินค้า อย่างธุรกิจ คลาวด์คิดเช่น งานบริการบริหารจัดการเพื่อการอยู่อาศัย ยังนำเทคโนโลยีมาช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของเจ้าของห้องชุด   เช่น Smart Lighting Control  ระบบควบคุมการทำงานของไฟฟ้าส่วนกลาง  ช่วยประหยัดไฟฟ้า บันทึก   ข้อมูลการเปิด-ปิดไฟ เครื่องปรับอากาศได้  บริการเหล่านี้จะถูกเลือกเป็นอันดับต้นๆ ระบบฐานข้อมูลทั้งการจัดการและการประมวลผลข้อมูล จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญที่ผู้ให้บริการไม่อาจมองข้ามได้ ที่จะสามารถเสนอสิทธิพิเศษต่าง ๆ ได้ง่ายและตรงใจผู้ใช้บริการ การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI (Artificial Intelligence) และเทคโนโลยีเชื่อมต่ออุปกรณ์อัตโนมัติ IOT (Internet of Thing) มาใช้ในหลายประเภทงานบริการ  บริการขนส่ง บริการจองคิว บริการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ สินค้าประเภทอาหารพร้อมรับประทานล้วนใช้เทคโนโลยี เนื่องจากเวลายังคงเป็นสิ่งที่มีค่า และเทคโนโลยีช่วยให้เราใช้มันได้อย่างคุ้มค่า และเข้าถึงสิ่งที่เราต้องการได้เร็วขึ้น 3.ต้องการได้รับบริการทุกที่ทุกวันทุกเวลา  ทุกที่ ทุกเวลา (24hr. x 7days) : การเข้าถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้การตอบสนองต่อผู้ใช้บริการที่รวดเร็ว รวมไปถึงระบบของงานบริการที่มีประสิทธิภาพ ในแบบ Real Time เป็นสิ่งสำคัญ พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันไม่ชอบการรอคอย จึงทำให้การตอบกลับที่รวดเร็วในแบบ Real Time เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของงานบริการในปัจจุบันที่ผ่านหน้าจอสัมผัส การนำ ระบบ AI : Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่าง ๆ เช่น วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาได้ ส่งผลให้เกิดความรวดเร็วในการให้บริการ อย่างเช่น การติดต่อมายัง Call Center ของผู้ใช้บริการ จะมีระบบ AI คอยให้บริการเบื้องต้น หากเกินขอบเขตในสิ่งที่ทำได้จะถูกโอนไปยังพนักงานโดยตรง แน่นอนว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ต้องการที่จะติดต่อกับพนักงานโดยตรง แต่ดีกว่าได้รับการปฏิเสธให้ติดต่อใหม่อีกครั้ง   ดังนั้น จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่ผู้ประกอบการ จะนำมาพัฒนาและปรับใช้กับธุรกิจการให้บริการ  นอกจากนั้นยังมีการใช้หุ่นยนต์ทำความสะอาดสระว่ายน้ำ เก็บใบไม้และเศษผงบริเวณก้นสระได้ สามารถขจัดสิ่งสกปรก  ตะไคร่ และแบคทีเรียด้วยชุดกรองแบบ  มีตัวแปลงไฟฟ้าจากไฟปกติเป็นแบบโวลต์ต่ำ ทำให้สามารถทำความสะอาดขณะมีการใช้สระว่ายน้ำได้  จากตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า สามารถให้บริการได้ 24 ชม. อีกทั้งลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบธุรกิจงานบริการ อย่างอัตรากำลังของพนักงานได้ในขณะที่ยังคงประสิทธิภาพงานบริการที่ลูกค้าได้รับ 4.ต้องการได้รับความสะดวกสบาย พัฒนางานบริการเพื่อสร้างลูกค้าในอนาคต : การพัฒนางานบริการนอกจากพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในปัจจุบันแล้ว ด้วยประสิทธิภาพของเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้บริโภค (Data Analytic) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะนำไปพัฒนางานบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคตได้ เช่น การใช้เทคโนโลยี VR : Virtual Reality เป็นการจำลองสถานที่ขึ้นมาเป็นโลกเสมือนจริงโดยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการมองเห็น โดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่จำลองขึ้นมาได้ผ่านอุปกรณ์  เป็นการสร้างประสบการณ์ที่สนุกมากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการ  ในวงการอสังหาริมทรัพย์มีการนำมาใช้ สำหรับลูกค้าชมโครงการบ้าน และคอนโดโครงการใหม่ ซึ่งให้ความสมจริงได้มากกว่าการดู แบบโมเดลจำลองอีกทั้งไม่ต้องไปยังสถานที่จริงอีกด้วย บางครั้งลูกค้าไม่ทราบความต้องการของตัวเอง  การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้าโดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมของลูกค้า เป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการ และเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคต นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอมฯ กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ว่า ได้เพิ่มอัตราเร่งในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะพัฒนางานบริการที่ตอบโจทย์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นผ่านเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล นำมาวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างงานบริการที่สามารถตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย รวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน และมีความเฉพาะตัว (Unique) สร้างความรู้สึกพิเศษ (Exclusive) ให้กับผู้รับบริการแบบเฉพาะตัว (Privacy) ในแบบที่เรียกว่า Smart Service พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี การเข้าถึงข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าและบริการ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจบริการต้องมีการปรับตัว พัฒนางานบริการให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค  
ซื้อบ้าน-คอนโด ด้วย Cryptocurrency

ซื้อบ้าน-คอนโด ด้วย Cryptocurrency

นับตั้งแต่เทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ได้ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมากมาย  สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ การได้รับความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการติดต่อสื่อสาร  หรือจับจ่ายใช้สอย การทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งทุกอย่างสามารถจัดการได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต โลกของการเงินปัจจุบัน กำลังพัฒนาไปสู่โลกการเงินดิจิทัล หรือ Fintech (Financial Technology) เพิ่มมากขึ้น   เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลไม่เพียงแค่เข้ามาเพิ่มความสะดวกสบาย  ในการเป็นช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินของคนทั่วไปเท่านั้น แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัล ได้เข้ามาพัฒนาตลาดการเงินและการลงทุน จากการลงทุนด้วยรูปแบบของเงินสกุลต่าง ๆ ที่สามารถจับต้องได้ มาสู่การลงทุนในรูปแบบของเงินดิจิทัล ที่ไม่ได้มีตัวเงินจับต้องได้จริง ๆ หรือที่รู้จักกันในรูปแบบของสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ทำความรู้จัก “สินทรัพย์ดิจิทัล​” ตอนนี้กระแสการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล กำลังได้รับความสนใจทั้งจากนักลงทุน หรือประชาชนทั่วไป เพราะซื้อขายง่ายแถมมีความเชื่อว่าให้ผลตอบแทนดี ส่วนฝั่งผู้ประกอบการที่จะก้าวมาเป็นผู้ให้บริการ มองเห็นโอกาสทางการตลาด เพราะว่าสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบัน ที่คุ้นเคยและมีความเข้าใจในเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล จึงทำให้การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้แต่เด็กนักเรียนมัธยมปลายบางคน ยังเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล   แม้ว่าการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล กำลังเป็นกระแสและได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังขาดความรู้และความเข้าใจที่แท้จริง ประกอบกับผู้ให้บริการที่ถูกต้องและได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ อย่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ยังมีอยู่จำนวนไม่กี่รายเท่านั้น ​ สินทรัพย์ดิจิทัล  ประกอบด้วย 1.คริปโทเคอร์เรนซี    คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ตามความหมายที่ ก.ล.ต. ได้ให้ไว้  คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ สินทรัพย์ดิจิทัลอื่น หรือสิทธิอื่นใด โดยสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้หากผู้ใช้ยอมรับ ปัจจุบันคริปโทเคอร์เรนซียังไม่ใช่เงินที่ธนาคารกลางใดในโลกรับรองว่าสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (legal tender) ซึ่งคริปโทเคอร์เรนซีที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น Bitcoin, Ethereum เป็นต้น 2.โทเคนดิจิทัล นอกจากนี้  สินทรัพย์ดิจิทัล ยังประกอบไปด้วย​ ​โทเคนดิจิทัล (Digital Token) ที่หมายถึง  หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการร่วมลงทุน (investment token) หรือสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าและบริการ หรือสิทธิอื่น ๆ (utility token) ตามที่ได้ตกลงกับผู้ออกโทเคน ซึ่งอาจเสนอขายโทเคนผ่านกระบวนการ Initial Coin Offering (ICO) ซึ่งเป็นการระดมทุนรูปแบบหนึ่งที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วย โดยบริษัทจะเสนอและกำหนดขายโทเคนที่กำหนดสิทธิหรือผลประโยชน์ต่าง ๆ ของผู้ลงทุน เช่น ส่วนแบ่งกำไรจากโครงการ หรือสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือ บริการที่เฉพาะเจาะจงและกำหนดให้ผู้ลงทุนที่ต้องการจะร่วมลงทุนสามารถเข้าร่วมได้โดยการนำคริปโทฯ หรือเงิน มาแลกโทเคนที่บริษัทออก โดยมีการกำหนดและบังคับสิทธิที่จะได้รับด้วย smart contract บนเทคโนโลยีบล็อกเชน   ปัจจุบันก.ล.ต. ปรับปรุงรายชื่อคริปโทฯ ที่สามารถใช้ลงทุนใน ICO ได้ หรือที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถใช้ในการเทียบราคาสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้ โดยปัจจุบันมี 4 ตัว ได้แก่ Bitcoin (BTC) Ethereum (ETH) Ripple (XRP) และ Stellar (XLM) พร้อมย้ำการประกาศรายชื่อคริปโทฯ  ดังกล่าวไม่ใช่การรับรองสถานะให้เป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายแต่อย่างใด   รายชื่อคริปโทฯ ที่ ก.ล.ต. ประกาศนั้นมีเพื่อวัตถุประสงค์ในการอนุญาตให้เป็นคริปโทฯ ​ที่ใช้ลงทุนในโทเคนดิจิทัลที่ผ่านกระบวนการทำไอซีโอได้  ตลอดจนเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถใช้ในการเปรียบเทียบมูลค่ากับสินทรัพย์ดิจิทัลตัวอื่น ๆ ที่จดทะเบียนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (base trading pair) ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดยหลักในการคัดเลือกคริปโทฯ ในรายชื่อจะพิจารณาจากพัฒนาการ ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยสำคัญอื่นเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีต่าง ๆ โดยรายชื่อที่ประกาศนั้น อาจได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ๆ คริปโทฯ อีกช่องทางเพิ่มยอดขายอสังหา ในช่วงเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เริ่มหันมาให้ความสนใจในการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล เข้ามาประยุกต์ใช้กับธุรกิจมากขึ้น เพราะช่วงที่ผ่านมาธุรกิจอสังหาฯ ต่างเผชิญกับความยากลำบากในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะตั้งแต่มีการออกมาตรการ LTV ของธปท. เพื่อลดระดับความร้อนแรงในตลาดอสังหาฯ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม จากกลุ่มผู้ซื้อนักลงทุน กลุ่มนักเก็งกำไร และกลุ่มทุนต่างชาติ จนปีที่ผ่านมามีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดอสังหาฯ ได้รับผลกระทบอย่างมากมาย ​   หนึ่งในหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจอสังหาฯ ภายใต้สถานการณ์ที่แวดล้อมไปด้วยปัจจัยลบ คือ การบริหารกระแสเงินสด และรักษาสภาพคล่องทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้น โจทย์ของดีเวลลอปเปอร์จึงต้องพยายามเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน การสร้างยอดขายเพิ่ม และบริหารสต็อกสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ช่วงที่ผ่านมาเราจึงเห็นการทำตลาดกันอย่างหนัก ด้วยแคมเปญลดแลกแจกแถม เพื่อให้ได้ยอดขายและกระแสเงินสดกลับเข้ามาสู่บริษัท และการลดการเปิดตัวโครงการใหม่ โดยเฉพาะโครงการคอนโด   นอกจากนี้ การใช้เครื่องมือทางการเงิน ก็เป็นอีกหนึ่งทางรอดในยามวิกฤตของธุรกิจอสังหาฯ เห็นได้จากการออกหุ้นกู้ เพื่อระดมทุนให้บริษัทมีงบประมาณในการขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปได้ ในภาวะที่สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงประชนชนผู้บริโภคทั่วไป และแน่นอนการก้าวไปสู่ตลาดการเงินดิจิทัล ด้วยการเพิ่มช่องทางการซื้อขายด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเพิ่มยอดขาย และสร้างรายได้ เป็นการปรับตัวรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ และพฤติกรรมผู้บริโภค   ปัจจุบันจึงได้เห็นดีเวลลอปเปอร์หลายราย  จับมือกับผู้พันธมิตรผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อซื้อขายบ้าน และคอนโด รวมถึงการชำระค่าส่วนกลางหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาฯ หรือบริการต่าง ๆ ของดีเวลลอปเปอร์ด้วย ส่วนตอนนี้มีใครได้เข้ามาในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลบ้างแล้ว ไปดูกัน ORI จับมือบิทคับซื้อขายผ่านคริปโต​ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ได้ร่วมมือกับบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ บิทคับ (Bitkub) ให้ลูกค้าสามารถซื้อบ้านและคอนโดของกลุ่มออริจิ้นได้ทุกโครงการ ด้วยคริปโทเคอร์เรนซี ผ่าน Wallet จากบัญชี Bitkub​ ซึ่งจะทำให้ออริจิ้นสามารถขยายฐานลูกค้าออกไปได้กว้างมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาวต่างชาติในต่างประเทศ จะได้รับความสะดวกในการซื้อขายคอนโด มากกว่าการใช้สกุลเงินปกติ ​   โดยสกุลเงินดิจิทัลที่สามารถนำมาซื้อขายบ้านและคอนโดของออริจิ้นได้นั้น มีด้วยกัน 3 สกุลเงิน ได้แก่ ได้แก่ อีเธอเรียม (Ethereum-ETH) เทเทอร์ (Tether USD-USDT) และบิทคอยน์ (BitcoinBTC) ซึ่งโครงการของกลุ่มออริจิ้นที่สามารถใช้สกุลเงินดิจิทัลได้ ประกอบด้วย  บ้านเดี่ยวแบรนด์ ไบรตัน (Brighton) บริทาเนีย (Britania) แกรนด์ บริทาเนีย (Grand Britania) และบ้านเดี่ยวระดับลักซ์ชัวรี่เบลกราเวีย (Belgravia) รวมถึงโครงการคอนโด ครอบคลุมทุกเซ็กเมนต์ อาทิ สมาร์ทคอนโดสำหรับคน Gen Z แบรนด์ดิ ออริจิ้น (The Origin), ออริจิ้นปลั๊ก แอนด์ เพลย์ (Origin Plug&Play) และบริกซ์ตัน (Brixton) คอนโดระดับไฮเอนด์แบรนด์ไนท์บริดจ์ (KnightsBridge) และ โซโห แบงค็อก (SOHO Bangkok) ไปจนถึงแบรนด์คอนโดระดับ ลักซ์ชัวรี่อย่าง พาร์ค ออริจิ้น (PARK ORIGIN) และอสังหาฯ เพื่อการลงทุนอย่างแบรนด์แฮมป์ตัน (Hampton) ชาญอิสสระ ผนึก BITKUB   บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ CI ได้ร่วมมือกับบิทคับ ในการขยายฐานลูกค้าผู้ที่ต้องการซื้ออสังหาฯ ในกลุ่มชาญอิสสระ ด้วยสกุลเงินดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นคอนโด​ บ้านเดี่ยว บ้านพักตากอากาศ รวมถึงจองที่พักโรงแรมในเครือ  13 โครงการ ผ่านเหรียญ 4 สกุลเงินที่ได้รับความนิยมและมีโอกาสเติบโตในอนาคต ได้แก่ Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH),  USDC และ USDT โดยผู้ซื้อสามารถดำเนินการผ่าน Wallet จากบัญชี BITKUB   โดยชาญอิสสระได้นำทุกโครงการของบริษัทและบริษัทในเครือมาเปิดรับสกุลเงินดิจิทัล ใช้คริปโทเคอร์เรนซี เป็นเจ้าของอสังหาฯ พร้อมวางเงินจอง  เงินดาวน์ เงินโอนได้ 100% ของราคาบ้านหรือห้องชุดใช้แลกเปลี่ยนเป็นค่าที่พัก เมื่อใช้บริการโรงแรม รวมทั้งค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หรือ Sinking Fund CMC จับมือ Zipmex บริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ CMC  ได้จับมือกับบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของเอเชีย ทั้งในประเทศไทย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย เพื่อใช้แพลตฟอร์มของซิปเม็กซ์ ในการซื้อขายคอนโด และบ้านของ CMC ด้วยคริปโทเคอร์เรนซี เป็นช่องทางการชำระเงินใหม่ ที่จะทำให้ลูกค้าทั้งไทยและต่างประเทศ ได้รับความสะดวกสบายและมีช่องทางการชำระเงินที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับโทเคนดิจิทัลทุกชนิด อาทิ​​ BTC, ETH, ZMT, USDT, USDC, LTC, BCH, GOLD, LINK, OMG, SXP, ENJ, YFI, SAND,  XLM และ SIX เป็นต้น  สามารถนำมาซื้อบ้านและคอนโดของกลุ่ม CMC ได้ทุกโครงการ และยังนำเอาโทเคนดิจิทัลมาจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อาทิ จ่ายเป็นค่าจอง ค่าทำสัญญาซื้อขาย ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ค่าส่วนกลาง ASW ลุยสกุลเงินดิจิทัล บริษัท​ แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน​) หรือ ASW ​ได้ร่วมมือกับ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์  เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าแลกสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโทฯ  เป็นเงินบาท เพื่อใช้ในการซื้อบ้านและคอนโดของบริษัท ผ่าน Wallet ของบิทคับ ​​พร้อมกับการ​จัดตั้ง บริษัท ดิจิโทไนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เพื่อรองรับการศึกษาและลงทุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนไปของเทคโนโลยี โดยให้ความสนใจไปที่เทคโนโลยีบล็อกเชน และพร้อมตั้ง บริษัท ฟิวเจอร์คอมแพทเทเร่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาผู้ชำนาญการในการจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย ALL เล็งใช้ DOGE ซื้อบ้าน-คอนโด​ ด้านบริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ALL ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำสกุลเงินดิจิทัล DOGE Coin มาใช้ซื้อขายบ้านและคอนโดในโครงการของออลอินสไปร์ เพราะมองว่าเหรียญดังกล่าว เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่กำลังได้รับความนิยม โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพราะมีสภาพคล่องสูง และราคาอยู่ในระดับที่ดี จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำเอาสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าวมาใช้ซื้อขายบ้านและคอนโด​ ANAN ซื้อขายบ้าน-คอนโดผ่านคริปโทฯ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN  ได้ร่วมมือกับ Bitkub  พัฒนาช่องทางการชำระเงิน โดยเป็นการนำสินทรัพย์ดิจิทัล (Cryptocurrency) มาใช้ชำระเงินสำหรับการซื้อขายบ้านและคอนโด ของอนันดาฯ  ลูกค้าสามารถใช้เหรียญคริปโทฯ ชำระแทนเงินสดกับทุกโครงการของอนันดาฯ ผ่าน Wallet ของบิทคับ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในการจ่ายเงิน โดยทุกโครงการบ้านและคอนโดของอนันดา ภายใต้แบรนด์ แอชตัน, ไอดีโอ คิว, ไอดีโอ โมบิ, ไอดีโอ, เอลลิโอ, ยูนิโอ, อาร์เทล, แอริ, เอโทล, ยูนิโอทาวน์ และเออร์บานิโอ แสนสิริ จับมือ XSpring บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI ได้จับมือ XSpring  เปิดรับสกุลเงินดิจิทัล ใช้คริปโทฯ ซื้อที่อยู่อาศัยของแสนสิริได้ทุกโครงการ พร้อมยังใช้จ่ายค่าส่วนกลางโครงการได้ ซึ่งเป็นการรองรับตลาดคริปโทฯ ที่เติบโตก้าวกระโดด พุ่งกว่า 1.16 ล้านบัญชี ณ วันที่  31 พฤษภาคม 2564 และเป็นการเจาะกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสนใจในตลาดคริปโทฯ นอกจากการใช้คริปโทฯ ซื้อบ้าน – คอนโดของแสนสิริได้ทุกโครงการแล้ว ยังใช้จ่ายค่าส่วนกลางได้ตลอดทุกปี สำหรับโครงการที่บริหารโดยพลัส พร็อพเพอร์ตี้  ซึ่งเปิดรับทุก Wallet ไม่จำกัดคริปโทฯ ​4 สกุลเงินดิจิทัล ได้แก่ Bitcoin, ETH , USDC และ USDT ผ่านทาง Bitazza (บิทาซซ่า) โบรกเกอร์-ดีลเลอร์ที่มีเครือข่ายทั้งในไทยและทั่วโลก ในฐานะพาร์ทเนอร์ที่ช่วยเปิด Wallet​ แฟรคชั่น จับมือ 3 ดีเวลลอปเปอร์ บริษัท แฟรคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือ Fraction Group ผู้ดำเนินธุรกิจ Fintech ของฮ่องกง ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ให้เป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal License) โดยจะเริ่มประกอบกิจการเมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต ซึ่ง Fraction ได้พัฒนา Platform เพื่อให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลครบวงจร ให้บริการครอบคลุม บริการแปลงสินทรัพย์ให้อยู่ในรูปของสินทรัพย์ดิจิทัล (NFT and Asset Digitization) และการแบ่งซอยสินทรัพย์ออกเป็นส่วนย่อย ๆ (Ownership Fractionalization) อย่างครบวงจร ​ การเสนอขายโทเคนดิจิทัลครั้งแรกให้กับนักลงทุน (“Initial Fraction Offering” หรือ “IFO”)  บริการตลาดที่สองเพื่อรองรับการซื้อขายโทเคนดิจิทัลระหว่างผู้ลงทุน และ​ การทำหน้าที่ตัวกลางสำหรับบริการอื่น ๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าและนักลงทุนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ   โดยบริษัทมี​ Platform สำเร็จรูปที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนและพร้อมใช้งานได้ทันที ทำให้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล สามารถลงทุน, เสนอขาย, และบริหารการถือครองสินทรัพย์ทุกประเภท ไม่ว่าส่วนของความเป็นเจ้าของจะเล็กน้อยแค่ไหน โดยสินทรัพย์นั้นอาจจะอยู่ในรูปของ คอนโดในเมือง, รีสอร์ทริมทะเล, งานศิลปะ  ซึ่งรวมถึงการบริหารกองทุนส่วนบุคคล สินทรัพย์ และ ผู้ลงทุนด้วย   ล่าสุด บริษัทได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC,​ บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ CI และบริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) หรือ NVD เพื่อหาแนวทางนำโครงการอสังหาฯ  ของทั้ง 3 บริษัทมาระดมทุนจากการเสนอขายโทเคนดิจิทัลครั้งแรก (IFO) มูลค่ารวม 15,000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ให้เริ่มดำเนินการได้แล้ว Fraction จะทำงานร่วมกับ MQDC, ชาญอิสสระ และ เนอวานา ไดอิ เพื่อสรุปโครงสร้างการเสนอขาย และจัดทำเอกสารการเสนอขาย IFO เพื่อยื่นขออนุมัติจาก ก.ล.ต. ต่อไป โดย Fraction คาดว่าจะเริ่มเปิดจอง IFO ได้ในไตรมาสแรกของปี 2565   ถือได้ว่าการพัฒนาการของโลกการเงินดิจิทัล กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทต่อวงการอสังหาฯ ซึ่งอาจจะเข้ามาช่วยทำให้ตลาดอสังหาฯ ที่ชะลอตัวลงไป กลับมาเติบโตและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แต่เรื่องนี้ก็ยังถือเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับวงการอสังหาฯ ของไทย ไม่ว่าจะเป็นฝั่งผู้ประกอบการ หรือฝั่งผู้บริโภค ที่คงต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคริปโทฯ ให้มากขึ้นกว่านี้ เพราะเหรียญไม่ได้มีด้านเดียว การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเอง ก็ยังมีหลายปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมีความเสี่ยงจากการลงทุนไม่ต่างจากการลงทุนชนิดอื่น   ก.ล.ต.เคยระบุว่า การลงทุนในคริปโทฯ มีความเสี่ยงมากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ไม่มีการรับประกันความสำเร็จหรือผลตอบแทน อาจไม่มีสภาพคล่องเปลี่ยนมือยาก ผู้ประกอบการธุรกิจอาจไม่มีใบอนุญาต และราคามีความผันผวน อย่างที่เกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา ดีเวลลอปเปอร์ได้รับเหรียญจาการแลกเปลี่ยนอสังหาฯ มาแล้ว ราคาเกิดตกลง ก็เสี่ยงขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้น นักลงทุนหรือผู้บริโภคที่จะเข้าไปสู่การตลาดคริปโทฯ คงต้องศึกษาและพิจารณาอย่างละเอียดรอบครอบ เพื่อไม่ให้มาเสียใจได้ในภายหลัง และหวังว่าผู้ซื้อจะได้บ้านหรือคอนโดตามที่ต้องการ ส่วนผู้ประกอบการก็ขอให้ขายดีมีกำไรกันทุกราย