Fd Post 261021

Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล [VDO]

Categories : Life+Style
Tags : , , ,

Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล

คราวที่แล้ว เราได้ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ Blockchain คืออะไร?  เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto ซึ่งเชื่อว่าน่าจะทำให้หลายคน มองเห็นภาพการทำงานของ Blockchain ว่ามีหลักการอย่างไรกันบ้าง และ​จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของคนยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาในโลกการเงินดิจิทัลได้อย่างไร ​ส่วนใครยังไม่ได้อ่านหรือยังไม่เข้าใจหลักการทำงานเบื้องต้นของ​ Blockchain แนะนำลองทำความเข้าใจพื้นฐานกันก่อน กับบทความ Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto

 

ส่วนในครั้งนี้ เราจะมาลงลึกกันไปอีกถึงประเภทของ Blockchain ว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะก้าวเข้าไปในโลกของการเงินดิจิทัลรูปแบบต่าง ๆ

ปัจจุบัน Blockchain
ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.Public Blockchain
2.Private Blockchain

Public Blockchain ระบบที่เปิดกว้าง​

อธิบายง่าย ๆ คือ ระบบ Blockchain ที่เปิดรับให้ผู้ที่ต้องการเข้ามาเป็น node ใหม่ในระบบ ได้โดยไม่ต้องของอนุญาตหรือการอนุมัติจากระบบ และสามารถดูข้อมูลก่อนหน้าและอัพเดทข้อมูลปัจจุบันได้ทันที ​

เพื่อทำความเข้าใจหลักการทำงานของ Public Blockchain ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ดังนี้ ถ้าในระบบมีบุคคลอยู่ 4 คน ได้แก่ A, B, C และ D ซึ่งเป็น node ในระบบที่คอยconfirm หรือทำการ verify transaction ในระบบ Blockchain แล้วแต่ละ node ก็จะมีตัว ledger เป็นของตัวเองแยกออกมา

 

กรณีที่มี E และ F ต้องการเข้ามาในระบบ Blockchain นี้ E และ F ก็สามารถซิงค์เข้ากับตัวระบบของ Blockchain ได้เลย สามารถ update ตัว ledger และเข้ามา verify transaction ได้เหมือน A, B, C และ D ทันที โดยที่ E และ F ไม่ต้องรอการอนุมัติหรือ verify transaction จากใคร หรือรอการอนุมัติจากระบบ สามารถเข้าเป็น node ในระบบได้ทันที ซึ่งตัวอย่างการใช้งานจริง คือ Bitcoin, Ethereum หรือ zcoin  ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้ามาเป็น node ในระบบได้

 

Private Blockchain ระบบที่ต้องได้การอนุมัติก่อน

         สำหรับ Blockchain ประเภทที่ 2 เป็นประเภทที่ไม่ได้เปิดกว้างหรือให้ทุกคนเข้ามาในระบบ Blockchain ได้ทันที จำเป็นต้องมีการอนุมัติ หรือมีการจำกัดจำนวนผู้ที่จะเข้ามาเป็น node ในระบบก่อน และเมื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบแล้ว ข้อมูลย้อนหลังก็อาจจะไม่สามารถดูได้ หรือดูได้บางส่วนเท่านั้น

 

เพื่อความเข้าใจและเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ขอยกตัวอย่างในลักษณะเดียวกันกับ Public Blockchain ที่ในระบบมี 4 node คือ A, B, C และ D ซึ่งแต่ละ node มี ledger เป็นของตัวเอง โดยลักษณะนี้ก็เหมือน Public Blockchain แต่สิ่งที่แตกต่างไปก็คือ ถ้า E หรือ F ต้องการเข้ามาเป็น node ในระบบ Blockchain นี้ E และ F ไม่สามารถเข้ามาได้ทันที ต้องได้รับการอนุมัติก่อน ถึงจะเข้ามาเป็น node ในระบบนี้ได้ ตัวอย่างที่ใช้ระบบ Private Blockchain ได้แก่ Ripple

 

5 ความแตกต่างของ Private Blockchain & Public Blockchain

1.node membership

ถ้าเป็น Public Blockchain ใคร ๆ ก็เข้ามาเป็น node ในระบบได้ แต่ขณะที่ระบบ Private Blockchain จะมีจำนวนบางส่วนที่ถูกเลือกเข้ามาเป็น nodeในระบบได้เท่านั้น

 

2.Decenterize

จะเห็นว่า Public Blockchain เปิดให้ใคร ๆ ก็เข้ามาเป็น node เพื่อทำการ verify transaction ในระบบได้ ทำให้ปัญหาการพึ่งพิงตัวกลาง จะไม่มีในระบบ Blockchain แตกต่างจาก Private Blockchain ผู้ที่จะเข้ามาเป็น node ในระบบจะมีการจำกัดจำนวน ทำให้ยังประสบปัญหาการพึ่งพิงตัวกลางที่มีความน่าเชื่อถือใน Private Blockchain

 

3.Scalability

หรือก็คือ ความสามารถในการรองรับปริมาณ transaction เนื่องจากระบบ Public Blockchain เป็นระบบที่ไม่ได้ไว้ใจให้ใครคนใดคนหนึ่งมาเป็นตัวกลาง แต่ใช้วิธีการให้แต่ละ node แข่งขันกันตรวจสอบความถูกต้อง transaction ทำให้มีการนำกำลังการประมวลผลจำนวนมากมาใช้การประมวลผล ซึ่งแตกต่างจาก Private Blockchain ซึ่งเป็นการการมอบความไว้วางใจให้ node จำนวนหนึ่งทำการตรวจสอบความถูกต้องของ transaction ทำให้ Public Blockchain มีความสามารถในการรองรับปริมาณ transaction น้อยกว่า Private Blockchain

 

4.ค่าธรรมเนียม

เนื่องจาก Public Blockchain มีความสามารถในการรองรับปริมาณ transaction น้อยกว่า Private Blockchain ทำให้ค่าธรรมเนียมสำหรับ transaction ที่เกิดขึ้น โดยปกติสำหรับ Public Blockchain สูงกว่า Private Blockchain

 

5.Privacy

หรือความเป็นส่วนตัว เนื่องจากโดยปกติแล้ว ข้อมูล transaction ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของPublic Blockchain ก็เปิดเผยให้ใครก็ได้เข้ามาตรวจสอบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต่างจาก Private Blockchain ที่จะมีการเปิดเผยข้อมูล transaction ในอดีตเพียงบางส่วน หรืออาจจะไม่เปิดเผยเลยก็ได้

 

อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนต่าง ๆ ของ Public Blockchain ก็มีกลุ่ม developer พยายามแก้ไขปัญหานี้อยู่ เช่น ปัญหา scalability และค่าธรรมเนียมที่สูง ก็มีความพยายามนำเทคโนโลยีมาใช้เช่น Lightning network ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการรองรับ transaction เพิ่มขึ้น และค่าธรรมเนียมถูกลง

 

สำหรับประเด็น Privacy ปัจจุบันมี Cryptocurrency บางชนิด ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีบางตัวมาปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น zcash และ zcoin ที่พัฒนาเป็น zcash protocol และ  zcoin protocol ที่มาใช้ปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน

ทั้งหมดเป็นความแตกต่างเบื้องต้นของ Private Blockchain และ Public Blockchain

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

บทความ Life+Style ล่าสุด