Tag : howto

432 ผลลัพธ์
MetaMask โดนแบนแก้ยังไงดี [VDO]

MetaMask โดนแบนแก้ยังไงดี [VDO]

  หลายบทความที่ผ่านมา เราได้มีการแนะนำวิธีการติดตั้ง และการใช้งาน MataMask ในหลาย ๆ ส่วนกันไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงจะสามารถใช้งานและสร้าง Wallet บน MataMask Wallet กันได้อย่างสะดวก และปลอดภัย จากฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่มีมาให้ เพราะ MataMask Wallet ใช้เทคโนโลยี Blockchain ที่มความปลอดภัยสูงจากการที่เป็นแพลตฟอร์มที่เป็น Decentralized   แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ที่ทำเอานักลงทุนในทรัพย์สินดิจิทัล หรือลงทุนเหรียญต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่สนในวงการคริปโทเคอร์เรนซี่ ต่างก็ตกใจและงงไปตาม ๆ กันเมื่อ MetaMask Wallet โดนแบน ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ จากที่เคยเข้าใจว่า Metamask Wallet เป็นแพลตฟอร์มในรูปแบบ Decentralized นั้น ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าหรือจริง ๆ แล้ว เป็นระบบ Centralized มากกว่า     โดยช่วงที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้คนส่วนใหญ่คิดเช่นนั้น เมื่อชาวเวเนซุเอลาจำนวนมาก ไม่สามารถ​ทำการล็อกอินเข้าไปใช้งาน MetaMask Wallet ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นข่าวใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละคนเชื่อว่า MetaMask Wallet เป็นแพลตฟอร์ม Decentralized หรือใคร ๆ ก็สามารถเข้ามาใช้งานได้ โดยไม่ต้องทำการ KYC  หรือต้องขออนุญาตในการใช้งานก่อนเลย จากเหตุการณ์นี้ก็มีคนบ่นกันมากเลยว่า เหตุการณ์นี้ จริง ๆ แล้ว แพลตฟอร์ม MetaMask มันเป็น Centralized หรือเปล่า มันจึงทำการบล็อกให้คนทั้งประเทศไม่สามารถจะเข้ามาใช้งานได้เลย     MetaMask แจงสาเหตุ Login ไม่ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ชาวเวเนซุเอลา ไม่สามารถล็อกอินเอข้าไปใช้งาน MetaMask Wallet ได้ ทาง MetaMask ก็รีบออกมาชี้แจงถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นดังกล่าว และวิธีการแก้ไขในกรณีนี้กัน หากเราต้องเจอกับเหตุการณ์ในลักษณะนี้   MetaMask มีการชี้แจงว่า วัตถุประสงค์ของ MetaMask Wallet ก็เพื่อต้องการทำให้ ทุกคนสามารถเข้าสู่เทคโนลยี Blockchain ได้ ซึ่งการที่ถูกบล็อกในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากฟังก์ชั่นการใช้งานที่อยู่ใน MetaMask แต่การบล็อกครั้งนี้ เกิดจากความผิดพลาดของแพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า  Infura ซึ่งเป็น Centralized ซึ่งจากข่าวจะเห็นว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เกิดจาก Infura ทำการบล็อกตามคำสั่ง ของรัฐบาลอเมริกา เพียงแต่ว่าตอนใส่คำสั่งบล็อก อาจจะเกิดข้อผิดพลาด จึงทำการบล็อกเกินคำสั่งที่ได้มา คือไม่ได้ตั้งใจบล็อกทั้งประเทศ แต่ไปกดผิดก็เลย บล็อกทั้งประเทศเลย     แต่ที่ส่งผลมาถึงตัว MetaMask ก็เพราะว่า MetaMask Wallet โดยปกติค่า Default API endpoints ทาง MetaMask  จะเลือกใช้ตัว Infura เป็นตัว API endpoints ก็เลยกลายเป็นว่าตัว MetaMask Wallet ที่มีวัตถุประสงค์จะสร้าง Wallet เป็น Decentralized ดันมีฟังก์ชั่นการทำงานที่มี Centralied นั่นก็คือ Infura นั่นเอง   แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทาง MetaMask  บอกว่า ผู้ใช้งานทุกคน สามารถเข้าไปตั้งค่าไม่ใช้งาน Infura ได้ในแต่ละคน ให้ไปใช้งาน API endpoints ตัวอื่น ๆ ได้     โดยมีตัวหนึ่งคือ Pocket network (POKT) ที่ให้บริการ API Pain point แบบ Decentralized จากเว็บไซต์ของ Pocket network จะมีการให้บริการทั้ง Ethereum, Harmony, SOLANA, Binance รวมถึง Blockchain อื่น ๆด้วย ซึ่งจะเห็นว่า Pocket network มีความเป็น Decentralized เพราะว่ามีจำนวน Node อยู่มากกว่า 20,000 Node แสดงให้เห็นถึงความเป็น Decentralized ที่สูงมาก และถ้ามาดูในส่วน Protocol ที่สร้างรายได้ได้สูงสุด (ตามภาพ) จะเห็นว่า Pocket Network เป็นตัวที่สร้างรายได้สูงเป็นอันดับ 2 รองจาก Ethereum แซงหน้าทั้งตัว SOLANA และ Helium แล้ว   วิธีการตั้งค่าการใช้งาน Pocket Network บน MetaMask Wallet ในส่วนนี้ทางเว็บไซต์ Pocket network มีการเขียนอธิบายไว้ พร้อมกับทำคลิปตัวอย่างอธิบาย รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้าไป ใน เข้าไปใน MetaMask Wallet ของเรา ซึ่งวิธีการนั้นก็เหมือนกับการเพิ่มตัว Binance Smart Chain,Polygon,  Avalanche  บน MetaMask Wallet ของเรา     โดยหากเราต้องการเพิ่ม Network อะไร ลงบน MetaMask Wallet ของเรา ให้เอาข้อมูลในส่วนนี้ (....รูป) เข้าไปใน MetaMask Wallet ของเราได้เลย เมื่อเรารู้ข้อมูลดังกล่าวแล้ว ให้เข้าไปใน MetaMask Wallet ของเรา แล้วทำการกดเพิ่ม Network เข้าไป (เมนูคำสั่งอยู่บริเวณขาวมือบน) แล้วเพิ่มข้อมูลในส่วนต่าง ๆ เข้าไป ดังนี้   -Network Name -New PRC URL -Chain ID -Currency Symbol -Block Explorer URL   หากใส่ข้อมูลต่าง ๆ ลงไปแล้ว ปรากฏว่าขึ้นสีแดง ก็ไม่ต้องสนใจให้กด Save ได้เลย ซึ่งเราสามารถเพิ่ม Network ต่าง ๆ ได้ตามปกติ     จากภาพตัวอย่าง จะเห็นว่าปัจจุบันมี Network เพิ่มเข้ามาแล้ว โดยมีทั้งหมด 3 Network ด้วยกัน คือ 1.Ethereum Mainnet ที่ใช้ตัว Infura ซึ่งเป็นค่า Default ของ MetaMask Wallet 2.POKT Network_Avalanche 3.POKT Network_Ethereum ซึ่งตัวนี้เป็น ETH Mainnet เหมือนกับตัวแรก แต่จะต่างกันที่ตัวแรกใช้ Infurส่วนตัวนี้ตัวนี้ใช้ตัว POKT Network   แล้วหลายคนอาจจะสงสัยว่า การเพิ่ม ETH Mainnet ที่ใช้ Pocket network เข้าไป มันเป็น ETH Mainnet เหมือนกันหรือไม่นั้น มีวิธีการตรวจสอบง่าย ๆ ดังนี้ คือ ให้เข้าไปตรวจสอบจำนวนเหรียญที่มีอยู่ใน ETH Mainnet กับ Pocket network จะต้องมีจำนวนเหรียญที่เท่ากัน   โดยทำการกดเปลี่ยนตัว Network ไปเป็น Pocket network หากเป็น ETH Mainnet เหมือนกัน มันจะต้องแสดงข้อมูลจำนวน Token ที่เท่ากัน (จากจำนวน Token ของเราที่มีอยู่ใน MetaMask Wallet) จากกรณีตัวอย่างจะเห็นว่ามีจำนวนเหรียญที่เท่ากันทั้งใน Ethereum Mainnet และ Pocket Network     ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของ MetaMask ซึ่งเป็นหนึ่งแพลตฟอร์มด้านการเงินดิจิทัล ที่มีระบบการทำงานไม่ยุ่งยาก สามารถใช้งานได้ง่าย ๆ แต่บางครั้งอาจจะมีปัญหาทำให้เราต้องมาแก้ไข เพราะบนโลกใบนี้ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ 100% และปัญหาทุกอย่างมีทางออกเสมอ ถ้าไม่อยากพลาดบทความดี ๆ และสาระความรู้ทั้งด้านอสังหาริมทรัพย์ การเงิน และเทคโนโลยี รวมถึงไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ อย่าลืมกดติดตามเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียของ Reviewyourliving หรืออยากให้เราทำคอนเทนต์อะไรก็คอมเมนต์มาได้เสมอ    
ติดตั้ง Binance Smart Chain บน Metamask ได้ง่าย ๆ ไม่กี่คลิ๊ก [VDO]

ติดตั้ง Binance Smart Chain บน Metamask ได้ง่าย ๆ ไม่กี่คลิ๊ก [VDO]

ติดตั้ง Binance Smart Chain บน Metamask ได้ง่าย ๆ ไม่กี่คลิ๊ก​ ก่อนหน้านี้เราได้มีการแนะนำ วิธีการติดตั้งและใช้งาน Metamask การใช้งาน Metamsk Wallet บนโทรศัพท์มือถือกันไปแล้ว ซึ่งการติดตั้งและใช้งานถือว่าทำกันได้ง่าย ๆ ไม่ได้ยุ่งยาก หากใครพลาดบทความก่อนหน้านี้ สามารถไปติตตามอ่านกันได้   ส่วนในบทความนี้ เราจะมาแนะนำวิธีการติดตั้ง Binance Smart Chain บน Metamask ได้ง่าย ๆ บนโทรศัพท์มือถือเช่นกัน ซึ่งไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากอะไร สามาถทำตามเพียงไม่กี่คลิ๊ก​เท่านั้น ไม่เชื่อลองทำตามดูได้เลย     ขั้นตอนการติดตั้ง Binance Smart Chain 1.เข้า App Metamask แล้ว Login เริ่มต้นเข้ามาที่ Application Metamask  จากนั้นทำการ Login เข้าระบบเพื่อใช้งาน ซึ่งอาจจะใช้วิธีใส่รหัส หรือการสแกนนิ้วมือ พอเข้ามาจะเป็นหน้าตาของ Wallet METAMASK     2.เข้าคำสั่ง Setting หลังจากทำการ Login แล้วให้เราเข้ามาตรงแถบเมนูด้านซ้ายมือบน แล้วเข้าคำสั่ง Setting และเลือกเมนู Networks แล้วเราจะเห็น Network ทั้งหมดที่มีการเปิดใช้งานบน Metamask ในตอนนี้     3.เพิ่ม Network จะสังเกตว่าตอนนี้ใน Network ทั้งหมด จะยังไม่มี Binance Smart Chain ติดตั้งอยู่ให้เราทำการเพิ่ม Network เข้ามาก่อนด้วยการกดปุ่ม Add Network บริเวณด้านล่าง     4.กรอกข้อมูลให้ครบ เมื่อเรากดปุ่ม Add Network บริเวณด้านล่างแล้ว​ App จะพาเข้ามาสู่ในส่วนของการกรอกข้อมูลต่าง ๆ  ให้ทำการกรอกข้อมูลต่าง ๆ ที่ Network ต้องการเข้าไป ซึ่งข้อมูลพวกนี้ ปกติแล้วเราสามารถหาได้จาก การค้นหาใน Google ซึ่ง Key word ปกติจะมี 3 คำ ด้วยกันคือ  Metamask  และชื่อ Network ซึ่งกรณีนี้ คือ Binance Smart Chain และ How to add จะเป็นประมาณนี้ สำหรับข้อมูล Binance Smart Chain สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้     หลังจากได้แหล่งข้อมูลที่ทำการก๊อบปี้มาใส่ใน Metamask ได้แล้ว ให้เราทำการก๊อปปี้มาใส่ไว้ใน Metamask กรอกข้อมูลให้ครบ แล้วทำการกดปุ่ม Add ด้านล่าง     เมื่อทำการกดปุ่ม Add เพื่อเพิ่ม Network เรียบร้อยแล้ว  ตัว App จะตัดมาที่หน้า Wallet จะเห็นว่าบริเวณด้านบน จะมีคำว่า Smart Chain แล้ว ซึ่งเหรียญหลักที่มีการทำงาน บน Smart Chain คือ เหรียญ BNB Token   โดยเราสามารถสลับ Network การใช้งานได้ด้วยการ กดปุ่มด้านบน กดเข้ามาก็จะโชว์ตัว Network ทั้งหมด และเราสามารถสลับการทำงานไปมาได้ตลอดเวลา จากกรณีตัวอย่างเราเสามรถเปลี่ยนเป็น Ethereum ได้ด้วยการกด Ethereum Main Network ก็จะเข้าสู่หน้า Wallet ของ Ethereum Main Network หรือจะเปลี่ยนกลับไปเป็น Binance Smart Chain ได้ด้วยการกดปุ่มด้านบนเช่นกัน     ทั้งหมดเป็นการเพิ่ม Metamask Smart Chain บนมือถือ โดยเราสามารถใช้หลักการเดียวกัน เพื่อเพิ่มเข้ามาใน Metamask ได้ เช่น Bitkab Chain ก็สามารถทำการเพิ่มโดยใช้วิธีการเดียวกันได้เลย   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล รู้จักกับ STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย รู้จัก Yield Farming เพื่อการลงทุนคริปโทให้กำไรงอกเงย Liquidity Pool คืออะไร สำคัญแค่ไหนในวงการ Cryptocurrency รู้จักกับ LUKSO เทคโนโลยี Blockchain เพื่อไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล Impermanent Loss คืออะไร เข้าใจเรื่องเสี่ยงขาดทุนในการฟาร์ม Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ ถ้าไม่เข้าใจ ICO อย่าพึ่งลงทุนใน Crypto รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่1) รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่2) คลิปเดียวรู้เรื่อง ติดตั้งและใช้งาน MetaMask กระเป๋าเงิน Cryptocurrency ฟรี โอน METAMASK Wallet บนมือถือ ทำได้ง่ายแค่คลิ๊กเดียว    
โอน METAMASK Wallet บนมือถือ ทำได้ง่ายแค่คลิ๊กเดียว [VDO]

โอน METAMASK Wallet บนมือถือ ทำได้ง่ายแค่คลิ๊กเดียว [VDO]

โอน METAMASK Wallet บนมือถือ ทำได้ง่ายแค่คลิ๊กเดียว บทความก่อนหน้านี้ เราได้พาทุกคนไปรู้จักกับการติดตั้งและใช้งาน METAMASK กระเป๋าเงิน Cryptocurrency แบบฟรี ๆ กันแล้ว ซึ่งครั้งนี้ ก็จะพาทุกคนไปรู้จักวิธีการติดตั้งและการใช้งาน METAMASK ผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ เพราะต้องยอมรับว่าคนส่วนใหญ่ ทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านมือถือกันมากที่สุดแล้ว รวมถึงการจะนำเอากระเป๋าเงิน หรือ METAMASK Wallet ที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์มาไว้บนมือถืออย่างไร ซึ่งต้องบอกไว้เลยว่า การติดตั้งและการใช้งานง่ายมาก ๆ เพียงไม่กี่คลิ๊กเท่านั้น ​   บทความนี้จะพาทุกคนไปทำการติดตั้ง METAMASK Wallet บนโทรศัพท์มือถือและการตั้งค่า เริ่มตั้งแต่การ Import METAMASK Wallet ที่เราใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามายังโทรศัพท์มือถือได้อย่างไร รวมถึงดูว่า METAMASK Wallet บนมือถือสามารถทำงานและใช้งานในฟังก์ชั่นต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง     การติดตั้ง Metamask Wallet บนมือถือ เริ่มต้นให้เราเข้าไปที่ application METAMASK  แล้วกดปุ่ม Get Start แล้ว METAMASK  จะให้เราทำการเลือก ว่าจะ Import  Wallet ที่เรามีอยู่ หรือสร้าง Wallet ใหม่     หากต้องการ Import Wallet ที่มีอยู่แล้ว ให้กดปุ่ม Sync or Import Wallet หากต้องการสร้างใหม่ ให้กดปุ่ม Create Wallet  แต่ในบทความนี้ จะเป็นการโอน ก็จะทำการ Import wallet ที่มีอยู่แล้วเข้ามา   เมื่อเข้ามาแล้วจะพบว่า METAMASK มีวิธีการให้เรา Import Wallet เข้ามาด้วยกัน 2 วิธี คือ 1.การสแกน QR Code ซึ่งวิธีการนี้ จะต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ METAMASK บนเครื่อง PC แล้วทำตาม 4 ขั้นตอนดังนี้ 1.Open the extension 2.Go to Setting > Advanced 3.Click on “Sync with Mobile” 4.Scan the QR Code to start syncing   2.อีกวิธีการหนึ่ง คือ การ Import ด้วยการ Seed Phrase ที่เราได้มาตั้งแต่ขั้นตอนการสร้าง wallet ครั้งแรก โดยกดปุ่ม Import using seed phrase เมื่อกดแล้วจะเข้ามาสู่หน้าที่ให้เราใส่ข้อมูล     -ข้อมูล Seed phrase จำนวน 12 คำ -ใส่ Password และยืนยัน Password สำหรับมือถือที่มีการสแกนลายนิ้วมือ ก็สามารถใช้ฟังก์ชั่นสแกนนิ้วมือได้ ด้วยการเปิดฟังก์ชั่น Sign in with Fingerprint? -กดปุ่ม Import ข้อมูล หลังจากนั้น จะมีการสอบถามข้อมูลว่าสามารถแชร์ข้อมูลของเราบางส่วนได้หรือไม่ ซึ่งจะตอบอย่างไรก็ได้ ไม่ว่าจะ No Thanks หรือ I Agree ก็ได้เพราะไม่มีผลอะไร     เมื่อเรา Log in เข้ามาแล้วก็จะสามารถใช้งาน Wallet ของเราได้ ซึ่งจะมีหน้าตาตามรูป     โดยจะเห็นว่าใน Wallet จะมีอยู่แล้วบางส่วน เพราะเป็นการ Import Wallet ที่ใช้งานอยู่แล้วเข้ามา แต่จะเห็นว่ามีการแสดง Token อันเดียว คือ ETH เราสามารถเพิ่ม Token เข้ามาได้ ด้วยการกดปุ่ม ADD TOKENS แล้วค้นหา Token ที่เราต้องการเพิ่มเข้ามา เช่น กรณีที่ต้องการเพิ่ม Chainlink Token ให้พิมพ์ค้นหาในช่องค้นหา ก็จะสามารถเพิ่ม Token ได้ง่าย ๆ และสามารถเพิ่มได้มากกว่า 1 Token  โดยกรณีตัวอย่างได้เพิ่ม KNC เข้ามาด้วย     โอนเงินได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว ใน Application METAMASK ยังมีเมนูต่าง ๆ สำหรับการใช้งาน โดยเราสามารถกดปุ่ม เมนูบริเวณด้านซ้ายมือบน ก็จะมีเมนูต่าง ๆ ให้ใช้งาน อาทิ ฟังก์ชั่น Send หรือการโอนเงินออก     เป็นฟังก์ชั่นการโอนเงินออกไปให้กับผู้อื่นได้ โดยการกรอกข้อมูล Address ของผู้ที่เราต้องการจะโอนเงินไปให้ในช่อง To เมื่อใส่ข้อมูลเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม Next ด้านล่าง แล้วเลือกจำนวน ที่เราต้องการส่งออก โดยเปลี่ยนแปลงจำนวนเหรียญตามที่เราต้องการ หรือหากต้องการเปลี่ยน Tokenอื่น ๆ  ที่เราต้องการโอนออกได้ ก็สามารถกดปุ่มสีน้ำเงินตรงกลาง ที่เป็นชื่อของ Token เพื่อเลือก Token ที่ต้องการได้ เมื่อตั้งค่าการโอนเหรียญเสร็จเสร็จ ให้เรากดปุ่ม Next   แล้ว METAMASK จะทำการคำนวณ และสรุปให้เราเห็นว่า จะมีการโอนเหรียญอะไร มูลค่าเท่าไร มีค่าธรรมเนียมเท่าไร ถ้าเราตกลงให้กดปุ่ม Send     นอกจากนี้ บริเวณที่หน้าโอนเงินออก หรือ Send จะพบว่าในช่อง To จะพบมีเครื่องหมายสแกน QR Code ซึ่งหมายความว่าเราสามารถสแกน QR Code เพื่อโอนเงินออกได้เช่นกัน ​     วิธีการรับโอนเงิน ด้วยฟังก์ชั่น Receive ถัดมาเรามาดูฟังก์ชั่นการรับเงิน หรือ Receive  ในหน้า Receive จะพบว่า มีวิธีการในการส่ง Address ของเราได้หลายช่องทาง ให้กับผู้ที่จะโอนเหรียญให้เรา ซึ่งเราสามารถแชร์ข้อมูล Addressผ่าน Email หรือการแสดง QR Code ก็ได้เช่นกัน หรือใช้ฟังก์ชั่น Share my Public Address ซึ่งเราสามารถ Share Address ของเราไปได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Line, Email หรือ  Messenger     การเพิ่ม Token ใช้งานเหรียญได้หลากหลาย ต่อมาเป็นฟังก์ชั่น Browser สำหรับการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มต่าง ๆ เข้ามา เมื่อเรากดฟังก์ชั่น Browser ก็จะเห็นว่ามีแพลตฟอร์มต่าง ๆ ปรากฏอยู่ในหน้านี้  ซึ่งตัว METAMASK Wallet ก็สามารถที่จะเข้าไป เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ ซึ่งตรงจุดนี้ ทำให้เราสามารถเข้าไปใช้งานแพลตฟอร์มต่าง ๆ ผ่านทาง METAMASK Wallet ได้       โดยวิธีการเชื่อมโยง ลองกด Application อะไรก็ได้ จากตัวอย่างเป็นการกด Application AXIE Infinity ซึ่งเป็นเกมที่พัฒนาขึ้นมา บนระบบ Blockchain ของ Ethereum ซึ่งจะมีหน้า Connect Request ขึ้นมา ซึ่งถ้าเราต้องการที่เชื่อมโยงเข้ากับ METAMASK Wallet กับเกมนี้ให้กดปุ่ม Connect ด้านล่าง ก็จะทำให้เราสามารถเชื่อมโยงเข้ากับเกมนี้แล้ว     สมมุติแอพพลิเคชั่นที่เราต้องการเชื่อมต่อด้วยไม่มีในนี้  เราก็สามารถทำการค้นหา ด้วยการใส่ชื่อแพลตฟอร์มที่เราต้องการเชื่อมต่อในช่อง Search or Type URL     จากตัวอย่างเป็นการค้นหาแพลตฟอร์ม Kyberswap ซึ่งสามารถค้นหาเจอ ให้ลองกดเข้าไปดูเมื่อเข้าไปใน Kyberswap แล้ว ให้ลองกดเมนูเมนูบาร์ด้านขวามือบน  แล้วลองกด จะมีเมนู Wallet แล้วให้กด Import   เมื่อกด METAMASK แล้วจะพบว่า Kyberswap ทำการเชื่อมต่อกับ METAMASK Wallet ของเราได้ ด้วยการกด Connect ปุ่มด้านล่าง METAMASK Wallet ก็จะทำการเชื่อมต่อ Kyberswap แล้ว     ทั้งหมดก็เป็นวิธีการติดตั้ง METAMASK Wallet บนมือถือ และการใช้งานต่าง ๆ ซึ่งถือว่ามีประโยชน์และสะดวกกับทุกคนมาก   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล รู้จักกับ STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย รู้จัก Yield Farming เพื่อการลงทุนคริปโทให้กำไรงอกเงย Liquidity Pool คืออะไร สำคัญแค่ไหนในวงการ Cryptocurrency รู้จักกับ LUKSO เทคโนโลยี Blockchain เพื่อไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล Impermanent Loss คืออะไร เข้าใจเรื่องเสี่ยงขาดทุนในการฟาร์ม Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ ถ้าไม่เข้าใจ ICO อย่าพึ่งลงทุนใน Crypto รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่1) รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่2) คลิปเดียวรู้เรื่อง ติดตั้งและใช้งาน MetaMask กระเป๋าเงิน Cryptocurrency ฟรี
3 วิธีซื้อคอนโด หลังแรก และ เทคนิคเก็บเงิน สำหรับเด็กจบใหม่

3 วิธีซื้อคอนโด หลังแรก และ เทคนิคเก็บเงิน สำหรับเด็กจบใหม่

วิธีซื้อคอนโด สิ่งหนึ่งที่เป็นความฝันของทุก ๆ คน คือ การมีบ้านหรือคอนโดมิเนียมเป็นของตนเอง แต่การจะซื้อบ้านหรือคอนโดสักห้อง คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการจะเก็บเงิน เพื่อใช้ในการดาวน์และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และคงต้องมีอายุการทำงานมาระยะหนึ่ง เพื่อให้มีคุณสมบัติเพียงพอจะขอกู้เงินกับธนาคารด้วย คุณสมบัติและเงื่อนไขเหล่านี้ อาจจะเป็นปัญหาสำหรับเด็กจบใหม่ กลุ่ม First Jobber หรือคนที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำงานได้ไม่นาน อาจจะขอกู้เงินกับธนาคารไม่ได้ หรืออาจจะกู้ได้แต่ได้รับการอนุมัติวงเงินไม่เพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยที่อยากได้ ​​ซึ่งเรามีเทคนิคในการเลือกซื้อคอนโดหลังแรก สำหรับเด็กใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน เพราะคนรุ่นใหม่นิยมจะเลือกซื้อเป็นบ้านหลังแรก และเป็นที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ รวมถึงกำลังซื้อของคนกลุ่มนี้ 3 วิธีซื้อคอนโด หลังแรก สิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อเลือกซื้อคอนโด ให้ตอบโจทย์และตรงใจกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มคนเพิ่งเริ่มต้นทำงานมากที่สุด มี วิธีซื้อคอนโด ดังนี้ 1.หาตัวเลือกคอนโดที่ใช่ วิธีสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ คือ ทำเล ควรเป็นโครงการที่อยู่ในโซนไม่ไกลจากที่ทำงาน หรือสามารถเดินทางได้สะดวก หากเป็นทำเลที่มีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในอนาคต ก็จะเป็นโครงการที่มีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าที่สูงขึ้นและมีความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้เราสามารถขายต่อหรือปล่อยเช่าในอนาคตได้ง่ายหากมีเหตุจำเป็น   การเปรียบเทียบระหว่างการซื้อคอนโดมือ 1 และมือ 2 ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยข้อดีของคอนโดมือ 1 คือ ความใหม่และทันสมัย รวมไปถึงส่วนกลางต่าง ๆ ของคอนโด ที่ยังไม่ค่อยเสื่อมสภาพ เพราะเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ ๆ นั่นเอง อีกทั้งมีตัวเลือกที่หลากหลายกว่า โดยเฉพาะตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งมีโครงการเปิดใหม่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่กำลังสร้างอยู่และสร้างเสร็จแล้ว แต่ข้อเสีย คือ ราคาขายต่อตารางเมตรที่ค่อนข้างแพงกว่าคอนโดมือ 2 และหากเราเลือกโครงการที่กำลังสร้างอยู่ เราก็จะยังไม่เห็นห้องจริง วิวจริง นอกจากนี้คอนโดมือ 1 ก็อาจจะมีค่าส่วนกลางที่แพงกว่า   ส่วนข้อดีของคอนโดมือ 2 คือ ราคาถูก ประหยัดงบ และอาจได้ของดีอย่างคาดไม่ถึง หากเลือกให้ดี เราอาจได้ทำเลดีๆ พร้อมราคาเบาๆ ก็ได้ จึงเหมาะกับคนที่มีภาระหน้าที่ หรือเงินอาจจะไม่มากมายนัก แต่ข้อเสีย คือ ความเก่า ซึ่งหากตรวจสอบไม่ดี ก็อาจจะมีปัญหาตามมาอีกมากมาย ก็ลองเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียให้ดี 2.วางแผนการเงิน วิธีซื้อคอนโด สิ่งที่ต้องเตรียมตัว เตรียมใจก่อนจะซื้อคอนโดคือการคำนวณ “ความสามารถในการกู้” ของตนเอง ซึ่งเราสามารถคำนวณได้ผ่านโปรแกรมการคำนวณสินเชื่อของธนาคารต่าง  ๆ ตามเว็บไซต์ของธนาคาร ซึ่งมีอยู่หลากหลาย อาทิ  HOME.SCB | ธนาคารไทยพาณิชย์ คำนวณสินเชื่อ จะทำให้เรารู้ว่าวงเงินกู้เท่านี้ ต้องมีรายได้ต่อเดือน และยอดผ่อนชำระต่อเดือนเท่าไหร่ หรือถ้าเรามีเงินเดือนเท่านี้ เราจะได้วงเงินกู้เท่าไหร่ และต้องผ่อนชำระต่อเดือนเท่าไหร่ เช่น หากเรามีเงินเดือน 20,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 30 ปี จากโปรแกรมคำนวณข้างต้น เราจะได้วงเงินกู้อยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านบาท และยอดผ่อนชำระต่อเดือนจะอยู่ 7,000 บาท ก็จะทำให้เราสามารถประเมินความสามารถในการกู้และการผ่อนชำระในเบื้องต้นได้   เงื่อนไขการได้รับสินเชื่ออาจจะแตกต่างไปจากการคำนวณเบื้องต้นได้ ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย ณ ช่วงเวลานั้น รวมไปถึงธนาคารอาจพิจารณาภาระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้กู้ประกอบด้วย เพราะยอดผ่อนต่อเดือนสูงสุดไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ เช่น หากเรามีกู้เงินเพื่อซื้อรถไปก่อนแล้ว เมื่อรวมยอดผ่อนรถและผ่อนคอนโดแล้วหากเกิน 40% ของรายได้ วงเงินในการกู้คอนโดของเราอาจได้ไม่เต็มจำนวน   ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อคอนโด ต้องไม่ลืมพิจารณาฐานะการเงิน และความสามารถในการผ่อนชำระให้รอบคอบก่อน อย่ากู้จนเกินตัว หรือซื้อคอนโดในมูลค่าที่สูงเกินกว่าเราจะผ่อนไหว เพราะในท้ายที่สุด หากเกิดเหตุสะดุดทางการเงินขึ้นมา คอนโดนี้ก็จะกลายเป็นภาระที่หนักอึ้งให้เราก็เป็นได้   หากเป็นคอนโดที่ยังสร้างไม่เสร็จ ต้องมีการเตรียมเงินดาวน์ไว้ด้วย โดยปกติเงินดาวน์จะอยู่ที่ 10% – 30% ของราคาขาย และยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน (ส่วนใหญ่ผู้ซื้อกับโครงการจะแบ่งจ่ายคนละครึ่งหรือ 1%) ค่าอากร จำนวน 0.05% ของวงเงินกู้ รวมไปถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตามระเบียบของกรมที่ดิน และยังมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับโครงการด้วย เช่น เงินกองทุนสำรองส่วนกลาง ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ค่าส่วนกลางรายปี เป็นต้น   นอกจากนี้ยังต้องเตรียมเงินไว้สำหรับตบแต่งห้องและซื้อเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ อีกด้วย ซึ่งจะเห็นว่ากว่าจะเป็นเจ้าของคอนโดสักห้องนึงนั้น ต้องเตรียมการและมีการวางแผนการเงินมาเป็นอย่างดีเลยทีเดียว 3.ซื้อจากผู้ขายที่น่าเชื่อถือ วิธีซื้อคอนโด การศึกษาข้อมูลโครงการก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากซื้อคอนโดมือ 1 เราต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของดีเวลล็อปเปอร์ ความเหมาะสมของราคาและคุณภาพ ความคืบหน้างานก่อสร้าง หรือหากเป็นโครงการที่สร้างเสร็จแล้วก็ต้องดูเรื่องการบริหารโครงการว่ามีสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร มีการจัดการที่ดีหรือไม่ ความเป็นอยู่ในโครงการเป็นอย่างไร หรือขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาอสังหาฯ หรือใช้นายหน้ามืออาชีพที่เชื่อถือได้   หากเป็นการซื้อคอนโดมือ 2 เราต้องเข้าไปดูสภาพห้อง ทำเล เพื่อนบ้าน สภาพแวดล้อมของคอนโด รวมไปถึงการบริหารของนิติบุคคลด้วยตัวเอง อาจใช้บริการผ่านนายหน้ามืออาชีพที่น่าเชื่อถือ จะช่วยลดความเสี่ยงและช่วยให้การซื้อคอนโดดำเนินไปอย่างราบรื่นและสะดวกขึ้น เพราะมีตัวกลางที่คอยให้คำแนะนำและประสานจัดการเรื่องเอกสาร การติดต่อหน่วยงาน ต่างๆ รวมไปถึงการจ่ายเงิน และการดำเนินการในวันโอนให้ด้วย   แม้ First Jobber จะเพิ่งเริ่มทำงานมีเงินเดือน แต่หากมีการวางแผนการการเงินที่ดีและรัดกุม มีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญ และมีการศึกษาหาข้อมูลที่มากพอ ก็จะทำให้การซื้อคอนโดหลังแรกเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น หากได้คอนโดที่ดี สอดคล้องกับสถานะทางการเงินของเรา ย่อมช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ทั้งในแง่การประหยัดเวลาไปทำงาน การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น และไม่เป็นภาระทางการเงินจนมากเกินไป และในท้ายที่สุดการซื้อคอนโดนี้ก็จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะเราสามารถปล่อยเช่า หรือขายต่อได้ในอนาคต 10 ขั้นตอนเก็บเงินซื้อคอนโด นอกจาก 3 วิธีเลือกซื้อคอนโดหลังแรก ที่คนเพิ่งเริ่มต้นทำงานต้องใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาก็คงเป็น การหาเงินมาซื้อคอนโด ซึ่งเรามีเทคนิคการเก็บเงินมาแนะนำ ถ้าหากทำตามทั้ง 10 ขั้นตอนนี้ รับรองว่าจะมีเงินก้อนมาซื้อคอนโดแน่นอน 1.เลือกซื้อคอนโดในราคาที่เหมาะสมกับรายได้ ราคาของคอนโด ที่เลือกซื้อต้องมีความเหมาะสมกับรายได้หรือฐานเงินเดือน เนื่องจากจะส่งผลต่อการตั้งงบในการเก็บเงิน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ตามมา 2.คำนวณเงินก้อนแรกที่ต้องเก็บในการซื้อคอนโด การซื้อคอนโดแบบผ่อนกับธนาคาร​ จะมีค่าใช้จ่ายก้อนแรกที่ต้องเตรียมเป็นเงินสดเอาไว้ก่อน ดังนี้ -ค่าจองยูนิตที่ต้องการ อยู่ที่ประมาณ​ 5,000-50,000 บาท ขึ้นอยู่กับราคาของโครงการคอนโดที่เลือก -ค่าทำสัญญา อยู่ที่ประมาณ 30,000-100,000 บาท ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือโปรโมชั่นตามที่โครงการกำหนด -เงินดาวน์ หรือค่าผ่อนดาวน์ในกรณีที่โครงการอยู่ในระหว่างก่อสร้าง หากคิดรวมกับค่าจอง ค่าทำสัญญา และค่าผ่อนดาวน์ จะต้องไม่น้อยกว่า 10% ของราคาห้อง -ค่าใช้จ่าย ณ วันโอน ได้แก่ ค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2%, ค่ากองทุนส่วนกลาง ประมาณ 500 บาทต่อตารางเมตร, ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้, ค่าจดจำนอง 1% หากวงเงินเกิน 3 ล้านบาท หรือ 0.01% หากวงเงินไม่เกิน 3 ล้าน, ค่าประเมินราคา ขึ้นอยู่กับธนาคาร เป็นต้น ซึ่งบางโครงการคอนโดอาจมีโปรโมชันฟรีทุกค่าใช้จ่าย หรือราคาปรับลดลงตามประกาศโครงการของรัฐบาล 3.ตั้งเป้าหมายและทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้ได้เงินก้อนแรก  ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็น การตั้งเป้าหมายเก็บเงินซื้อคอนโด  โดยการตั้งเป้าหมายของการเก็บเงินซื้อคอนโด จะต้องรู้ก่อนว่าจำนวนเงินที่โดยประมาณที่ต้องเก็บมีจำนวนเท่าไร  เช่น ต้องเก็บเงินก้อนแรก 410,000 บาท โดยมีรายได้เดือนละ 35,000 บาท แบ่งเก็บเดือนละ 40% (ตกเดือนละ 14,000 บาท) จะใช้เวลาประมาณ 30 เดือน จะได้เงินก้อนแรกสำหรับซื้อคอนโด 4.แยกบัญชีใช้จ่ายและบัญชีสำหรับเก็บเงินซื้อคอนโด การเปิดบัญชีใหม่สำหรับเก็บเงินโดยเฉพาะ จะช่วยสร้างวินัยในการใช้เงินได้มากขึ้น และเก็บเอาไว้อย่างปลอดภัยไม่ให้นำออกมาใช้จ่ายอย่างไม่จำเป็น จนทำให้แผนการเก็บเงินซื้อคอนโดต้องเลื่อนระยะเวลาออกไปจากที่ตั้งเป้าไว้  โดยบัญชีที่ใช้เก็บเงินควรเป็นบัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูง จะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มค่าในการฝากเงินได้มากยิ่งขึ้น 5.ปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก ในการเก็บเงินก้อนใหญ่ ให้สังเกตดูว่าในแต่ละเดือน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ดูแล้วไม่มีความจำเป็น หรือเป็นสิ่งที่อาจไม่ต้องจ่ายทุกเดือนก็ได้ ซึ่งหากว่าคุณสามารถปรับเปลี่ยน ปรับลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ออกไปได้ ก็จะช่วยให้การเงินในแต่ละเดือนมีสภาพคล่องที่ดีได้ 6.จัดการหนี้สินเก่าให้ได้มากที่สุด ระหว่างที่เก็บเงินซื้อคอนโด ควรแบ่งเงินส่วนหนึ่งออกไปจัดการหนี้สินเก่าให้หมดด้วย เนื่องจากการมีหนี้สินค้างชำระหรือติดแบล็คลิสต์อยู่ จะส่งผลต่อการขอสินเชื่อเพื่อซื้อคอนโดที่อาจได้รับการอนุมัติวงเงินน้อยลง หรือไม่ผ่านการอนุมัติได้  และนอกจากการจัดการหนี้เดิมแล้ว ก็ต้องพยายามไม่สร้างหนี้ใหม่เพิ่มเติม เพราะอาจต้องนำเงินสดที่ได้มาจ่ายหนี้ไปเรื่อย ๆ จนทำให้การเก็บเงินล่าช้าไปจากที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ 7.สร้างเครดิตทางการเงินให้ดี หากมีบัตรเครดิตแล้วใช้งานในระหว่างที่เก็บเงินซื้อคอนโดอยู่ ให้สร้างวินัยทางการเงินที่ดีด้วยการชำระยอดการใช้งานบัตรเครดิตให้ตรงเวลา หรือเลือกให้ตัดยอดการใช้งานจากบัญชีอัตโนมัติก็ได้  วิธีนี้จะช่วยสร้างเครดิตทางการเงิน ให้คุณมีประวัติการชำระหนี้ดีบนฐานข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ซึ่งมีผลต่อการอนุมัติเชื่อเพื่อซื้อคอนโดในอนาคตด้วย 8.หาวิธีสร้างผลตอบแทนจากการออมเงินให้มากขึ้น เมื่อเก็บเงินไว้ได้ในระยะหนึ่งแล้ว จะทำให้คุณมีเงินก้อนที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างผลตอบแทนได้ ด้วยการนำไป ลงทุนในระยะสั้นแบบ 0-3 ปี ที่สามารถรักษาสภาพคล่องทางเงินและรักษาเงินต้นได้ เช่น กองทุนรวม ตราสารหนี้ เป็นต้น  แต่ในการลงทุนก็ต้องศึกษาเงื่อนไขอย่างละเอียด ดูความเสี่ยงที่รับได้ และผลตอบแทนที่จะได้รับให้ดีก่อน 9.หาวิธีสร้างรายได้จากช่องทางอื่น หากว่าใครต้องการเก็บเงินซื้อคอนโดให้รวดเร็วยิ่งขึ้น การหารายได้เสริมจากช่องทางอื่น ก็อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้การเก็บเงินซื้อคอนโด สามารถลดระยะเวลาไปจากเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้  ด้วยการมองหาช่องทางที่คิดว่ามีโอกาสทำเงิน เช่น รับของมาขาย ทำสินค้าขาย ขายอาหาร เป็นต้น โดยเริ่มจากการลงทุนน้อยๆ ก่อนเพื่อดูความต้องการของตลาด และลู่ทางที่จะทำกำไรได้  หรือใช้ทักษะการทำงานที่มีอยู่เพิ่มรายได้ด้วยการรับงานฟรีแลนซ์ ที่สามารถเลือกทำในวันหยุดหรือในเวลาว่างก็ได้เช่นกัน 10.เลือกสินเชื่อเพื่อซื้อคอนโดที่ตอบโจทย์ เมื่อผ่านขั้นตอนการเก็บเงินซื้อคอนโดมาครบทุกข้อ และสามารถจ่ายเงินก้อนแรกในการซื้อคอนโดได้แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก่อนการเป็นเจ้าของห้องชุด นั่นคือ การขอสินเชื่อกับธนาคาร ที่ตอบโจทย์ทางการเงินของคุณ โดยเลือกดูจาก -วงเงินสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติ -อัตราดอกเบี้ยที่คุ้มค่า -ระยะเวลาในการผ่อนชำระที่เหมาะสม -โครงการสินเชื่อที่ตรงกับคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ หากเลือกได้เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด ก็จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่คล่องตัวมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีเงินเหลือใช้สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากยิ่งขึ้นอีกด้วย   ทั้งหมดนี้ ก็เป็นวิธีซื้อคอนโด และเทคนิคในการเก็บเงิน ซึ่งหากทำตามคำแนะนำทั้งหมดนี้ เชื่อว่าทุกคนจะสามารถซื้อคอนโดได้ตามที่ใจต้องการได้อย่างแน่นอน   CR : นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®, ACC นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร  SCB, ธอส.   บทความน่าสนใจ -6 ข้อกฎหมายพื้นฐานควรรู้ ถ้าคิดจะซื้อคอนโด -ทางเลือกซื้อคอนโด สำหรับคนงบน้อย -ซื้อคอนโด มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
คลิปเดียวรู้เรื่อง ติดตั้งและใช้งาน MetaMask กระเป๋าเงิน Cryptocurrency ฟรี [VDO]

คลิปเดียวรู้เรื่อง ติดตั้งและใช้งาน MetaMask กระเป๋าเงิน Cryptocurrency ฟรี [VDO]

คลิปเดียวรู้เรื่อง ติดตั้งและใช้งาน MetaMask กระเป๋าเงิน Cryptocurrency ฟรี สำหรับคนที่สนใจก้าวเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องมี คือ กระเป๋าเงินดิจิทัล หรือ Crypto Wallet เพราะจำเป็นต้องใช้งาน ไม่ว่าจะโอน รับ จ่าย เงินดิจิทัลสกุลต่าง ๆ  ซึ่งจะต้องมีความรู้และเข้าใจการใช้งาน ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมาย และหลากหลายที่มีระบบรองรับกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งวันนี้ เราจะมาแนะนำ และอธิบายวิธีการใช้งานกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ใช้งานได้แบบฟรี ๆ อย่าง MetaMask ที่ทำงานบนระบบ Blockchain ของ Ethereum (ETH) ​ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งและวิธีการใช้งานไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อน สามารถเรียนรู้ได้เพียงเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น และที่สำคัญใช้งานได้ฟรีอีกด้วย       วิธีการติดตั้ง MetaMask วิธีการติดตั้ง MetaMask เบื้องต้น ซึ่ง MetaMask เป็น  ETH Wallet  ที่ทำงานบน Web ซึ่งมีจุดเด่นหลัก 2 เรื่องคือ 1. การใช้งานฟรี 2. แพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่พัฒนาบน Blockchain ของ ETH จะมีการเชื่อมโยงเข้ากับ MetaMask ได้โดยตรง เช่น Maker หรือ Compound ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการกู้ยืมเงินในระบบ Blockchain ของ ETH ทำให้เราทดลองใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ เหล่านั้นได้โดยง่าย โดยใช้ตัว MetaMask   เริ่มต้นการใช้งาน ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ metamask.io ซึ่งเมื่อเข้ามาแล้วจะพบว่า สามารถใช้ได้กับ web browser ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Chrome Firefox Opera Brave หากเราใช้ web browser ไหนให้เลือกชนิดนั้นได้เลย     เมื่อกดเลือก web browser แล้ว จะเข้ามาสู่หน้า MetaMask ซึ่งบริเวณด้านขวาบนจะมีปุ่ม Add to Brave (ด้านบนขวามือ) ให้กดปุ่มนี้     แล้วจะมีป๊อปอัพ Add MetaMask ขึ้นมา ให้เรากดปุ่ม Add extension แล้ว MetaMask จะทำการแจ้งว่าได้มีการเพิ่ม MetaMask เข้าไปในตัว Web browser Brave เรียบร้อยแล้ว     ถัดมาให้กดปุ่ม Get Start  หลังจากนั้นระบบจะมีข้อความสอบถาม 1.No, I already have a seed phrase หมายถึง จะใช้ตัว seed phrase เพื่อกู้  wallet  ที่เรามีอยู่ก่อนหน้าแล้วหรือไม่ หรือ 2.Yes, Let’s get up! หมายความว่า จะเป็นการสร้าง wallet ใหม่       สำหรับกรณีนี้ เรายังไม่มี wallet ให้กดปุ่มสร้าง wallet ใหม่ เมื่อกดเข้ามาแล้ว จะพบกับหน้า  Help Us Improve MetaMask ซึ่งเป็นการสอบถามข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุงระบบการทำงานของ MetaMask ให้ดีขึ้น ซึ่งไม่ได้มีการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานแต่อย่างใด เราสามารถเลือกได้ตามความสะดวก ว่าจะส่งข้อมูลให้ หรือไม่ส่งข้อมูลให้ก็ได้     สร้าง Password ป้องกันการแฮก หลังจากนั้นจะเข้ามาสู่หน้า Create Password เป็นการสร้างรหัสการใช้งาน เมื่อสร้างรหัสเสร็จเรียบร้อย ระบบจะพาเรามาสู่หน้า Secret Backup Phrase     ให้คลิ๊กปุ่มรูปกุญแจ จะปรากฏตัว Backup Phrase ซึ่งเอาไว้ใช้งานกรณีที่เราทำ Password หายไป ก็จะสามารถกู้คืนตัว wallet ของเรากลับมาได้ ข้อมูลในส่วนนี้ให้เก็บไว้อย่างดี ไม่ให้ผู้อื่นรู้ เพราะหากมีคนได้ข้อมูลส่วนนี้ไป จะสามารถเข้าไปใช้งาน ETH Wallet ของเราได้ สามารถโอนเงินออกจาก Wallet ของเราได้ทั้งหมดเลย สำหรับข้อมูล Backup Phrase สามารถดาวน์โหลดข้อมูลเป็น Text file เก็บไว้ได้ เมื่อดำเนินการเรียบร้อย ให้กดปุ่ม Next   โดยระบบจะนำเราเข้ามาสู่หน้า Confirm your Secret Backup Phrase ซึ่งระบบ MetaMask จะให้เราทำการ Confirm Backup Phrase ที่เราเพิ่งจะจดเก็บไว้ ให้เราเลือกลำดับตัว Backup Phrase หากเราเลือกลำดับได้อย่างถูกต้อง ระบบจะให้เรากดปุ่ม Confirm ด้านล่างได้     เมื่อเรากดปุ่ม Confirm เสร็จแล้ว ระบบ MetaMask จะให้เราใช้สามารถใช้งาน Wallet ได้ ให้คลิ๊กปุ่ม All Done บริเวณด้านล่าง     ระบบจะพาเข้ามาสู่หน้า ETH Wallet  ซึ่งระบบจะเซ็ทชื่อไว้เป็น Account 1 ซึ่งเราสามารถทำการเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อของเราได้ด้วยการคลิ๊กที่ชื่อแล้วเปลี่ยนชื่อที่ต้องการ (กรณีตัวอย่างเปลี่ยนชื่อเป็น Test1) บริเวณด้านล่างของคิวอาร์โค้ด จะเป็น Address สำหรับไว้บอกให้ผู้อื่น เพื่อให้เขาสามารถโอนเงินให้เราได้ (เราสามารถดูรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ใน Wallet ของเราได้ ด้วยการคลิ๊กปุ่ม View on Etherscan ซึ่งระบบจะพาเข้ามาสู่หน้า Etherscan ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ  ทั้ง Address จำนวนเหรียญใน Wallet     ในส่วนหน้า ETH Wallet จะเห็นว่า ใน Wallet เรามีเพียงแค่ ETH อย่างเดียว ไม่มี Token อื่น ซึ่งหากต้องการเพิ่ม Token อื่น ๆ เข้ามาใน Wallet สามารถเพิ่มได้ด้วยการคลิ๊กปุ่ม Add Token     เมื่อคลิ๊กปุ่มเพิ่ม Token แล้วจะเข้ามาสู่หน้า Add Tokens ให้ทำการค้นหา Token ที่ต้องการในช่องค้นหา เพื่อทำการ Add กรณีตัวอย่างนี้ ได้ค้นหา Token Ox (ZRX) เมื่อค้นแล้ว Token จะปรากฏขึ้นมาให้คลิ๊กเลือก Token Ox (ZRX) ก็จะปรากฏ Token Ox (ZRX) ในหน้า ETH Wallet     กรณีที่ Token ซึ่ง Add เข้ามาปรากฏว่า มีปุ่มคำสั่งแค่ Sent  ซึ่งจะต้องมีคำสั่ง Deposit และ Send     เนื่องจาก Token จะต้องทำงานบนระบบ Blockchain ของ ETH ซึ่งจะต้องมี Address เดียวกัน แต่หาก Token ที่ Add เข้ามาไม่มีข้อมูล จะต้องทำการเพิ่ม Token ใหม่ด้วยการกรอกข้อมูลในส่วนของ Custom Token ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมดให้ครอบ สามารถขอได้ที่เจ้าของ Token หรือผู้ที่อก Token นั้น ๆ   วิธีการฝากเงินเข้า Wallet 1.โอนเข้าโดยตรงเข้า Wallet 2.การซื้อตัว ETH ผ่านบัตรเครดิต ด้วยการกดปุ่ม Continue to Wyre 3.ซื้อโดยตรงผ่าน Coninswitch ด้วยการกดปุ่ม Continue to Coinswitch     การทำ Transaction บน Wallet ในการโอน ETH ไปยังผู้อื่น ให้เข้าไปยังหน้า ETH Wallet ให้กดปุ่ม Send ด้านขวามือบน จะเข้ามาสู่หน้า Add Recipient แล้วทำตามขั้นตอน ดังนี้     1.เลือก Address ที่ต้องการจะโอน ETH ให้ 2.ช่อง Asset เพื่อเลือก Token ที่ต้องการจะโอน 3.ช่อง Transaction Fee เป็นการเลือกค่าธรรมเนียมในการโอน ว่าจะเลือกแบบใด เลือกได้แบบถูก คือ Slow หรือแบบแพง คือ Fast 4.Advance Option เป็นการเลือกค่าธรรมเนียมแบบละเดียด เมื่อกดคำสั่ง จะไปสู่หน้า Customize Gas ที่เราสามารถเลือกค่า Gas ได้ว่าจะเลือก Gas Price หรือ Gad Limit หากเลือก Gas สูง ๆ จะทำให้Transaction เร็วขึ้น แต่ก็จะเสียค่าธรรมเนียมแพงขึ้น ​     เมื่อเซ็ทค่าธรรมเนียม และจำนวน ETH เสร็จ ให้กด Next  ทางระบบ MetaMask จะถามเราอีกครั้งเพื่อยืนยันข้อมูลการโอน     ซึ่งในส่วนนี้ยังสามารถแก้ไขข้อมูลได้ ในส่วนของค่าธรรมเนียม (GAS FEE) ด้วยการกด EDIT ซึ่งกลับไปสู่หน้าการแก้ไขค่าธรรมเนียม เมื่อแก้ไขข้อมูลจนเรียบร้อยแล้วให้กดยืนยันข้อมูล ซึ่งเราสามารถตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ของการโอน หรือการรับ ETH ต่าง ๆ ได้ในส่วนของหน้า ETH Wallet ทั้งหมดนี้ ก็เป็นขั้นตอนและวิธีการติดตั้ง MetaMask และการใช้งานระบบ MetaMask ทั้งหมด ซึ่งก็หวังว่าจะช่วยให้คนที่กำลังสนใจ และอยากเรียนรู้การใช้งาน Wallet ของ Cryptocurrency ได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล รู้จักกับ STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย รู้จัก Yield Farming เพื่อการลงทุนคริปโทให้กำไรงอกเงย Liquidity Pool คืออะไร สำคัญแค่ไหนในวงการ Cryptocurrency รู้จักกับ LUKSO เทคโนโลยี Blockchain เพื่อไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล Impermanent Loss คืออะไร เข้าใจเรื่องเสี่ยงขาดทุนในการฟาร์ม Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ ถ้าไม่เข้าใจ ICO อย่าพึ่งลงทุนใน Crypto รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่1) รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่2)  
10 ไอเดีย เปลี่ยนผนังห้องธรรมดาด้วยเทปกาวง่ายๆ ทำได้เอง

10 ไอเดีย เปลี่ยนผนังห้องธรรมดาด้วยเทปกาวง่ายๆ ทำได้เอง

10 ไอเดีย เปลี่ยนผนังห้องธรรมดาด้วยเทปกาวง่ายๆ ทำได้เอง ในช่วงที่ต้องทำงานแบบ work from home นี้ การอยู่ในห้องทั้งวันหลายคนคงจะเกิดอาการเบื่อ อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนบรรยากาศภายในห้อง หรือลองตกแต่งสิ่งรอบๆ ข้างบ้าง เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้กับห้องเดิมที่เราเห็นอยู่ทุกวันจนชินตา ครั้งนี้เรามีไอเดียมานำเสนอ ใช้อุปกรณ์ไม่เยอะ และสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ที่สำคัญใช้งบประมาณไม่มาก ก็สามารถเปลี่ยนบรรยากาศจากห้องเดิมให้เหมือนได้ห้องใหม่กันไปเลย   ครั้งนี้เราเลือกวิธีการอย่างง่าย ที่เชื่อว่าทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง อย่างการทาสีผนัง บางคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นงานที่ยากเพราะไม่เคยทำ แต่จริงๆ แล้วเราสามารถทำได้ด้วยตัวเองเพียงแค่ใช้เทปกาวเป็นตัวช่วยสร้างแพทเทิร์นลวดลายต่างๆ เพื่อเปลี่ยนสีผนังห้อง และปรับบรรยากาศให้ห้องของเราน่าอยู่มากยิ่งขึ้น แล้วจะมีแพทเทิร์นลวดลายอะไรบ้างไปดูพร้อมๆ กันเลยดีกว่า   10 ไอเดีย เปลี่ยนผนังห้องธรรมดาด้วยเทปกาวง่ายๆ ทำได้เอง   1.Color blocking การทาสีบล็อกแบบนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทาผนังโดยใช้เทปกาว เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วผนังจะมีสีเดียวกัน และยังเป็นลายที่มีการใช้เทปกาวก็จำนวนน้อยกว่าเทคนิคอื่นๆ เหมาะสำหรับห้องที่เปิดกว้างและมีพื้นที่ผนังโล่งกว้าง การทาสีบล็อกแบบนี้เป็นวิธีที่ดีอีกรูปแบบนึงในการไม่ทำให้พื่นที่ดูว่างโล่งจนเกินไป     2.Triangle pattern หากว่าคุณกำลังมองหาการออกแบบลวดลายฝาผนังที่เรียบง่าย สบายตา แต่ในขณะเดียวกันก็ยังดูมีดีไซน์เก๋ไม่น่าเบื่อจนเกินไป ลายสามเหลี่ยมนี้ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี ซึ่งแพทเทิร์นนี้อาจจะใช้เวลาทาสีนานมากขึ้นอีกหน่อย เนื่องจากต้องรอให้สีแต่ละส่วนแห้งก่อนจึงจะทาสีในส่วนถัดไปได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็น่าประทับใจไม่น้อยเลยทีเดียว ลองเลือกชุดสีที่ใกล้เคียงกัน หรือเลือกใช้สีที่เป็นคู่ตรงข้ามกันหากคุณต้องการความฉูดฉาดโดดเด่นไม่ซ้ำใคร รับรองว่าจากผนังบานเรียบๆ จะป๊อปขึ้นทันตา     3.Vertical stripes ลายทางแนวตั้งก็เป็นอีกหนึ่งลายที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีความดึงดูดสายตา และสามารถช่วยให้ห้องที่มีเพดานต่ำดูสูงขึ้นได้ ส่วนใหญ่เรามักจะเลือกใช้เทปกาวให้มีขนาดเท่าๆ กัน หรือกะระยะแบ่งความกว้างให้สม่ำเสมอ แต่ถ้าอยากจะลองเปลี่ยนความกว้างของแถบสีแต่ละแถบให้กว้างขึ้น หรือเป็นแพทเทิร์นแบบไม่เท่ากันเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับผนังก็น่าสนใจไม่น้อย แม้กระทั่งการเลือกทาแถบสีไปจนถึงบนเพดานเลยก็สวยไปอีกแบบ     4.Horizontal stripes เทคนิคการทาสีเป็นแถบแนวนอนนั้นเหมือนกับการใช้กระดาษกาวแบ่งแถบสีเส้นแนวตั้งเลย แค่เปลี่ยนจากการใช้เทปกาวแปะขึ้นลงก็สลับเป็นซ้ายขวาแทน ลวดลายแพทเทิร์นแนวนอนนี้เป็นอีกรูปแบบที่ดีในการช่วยให้ห้องแคบรู้สึกกว้างขึ้น นอกจากนี้การใช้ลายทางกว้างเท่ากันก็ช่วยให้ความรู้สึกสว่างและโปร่ง สบายตามากขึ้นด้วย ซึ่งเราอาจจะเพิ่มลูกเล่นของสีเข้าไปโดยใช้เฉดสีต่างๆ ของสีเดียวกันก็จะสร้างเอฟเฟกต์แบบ Ombre หรือการไล่สีให้กับผนังธรรมดาสวยขึ้นได้ โดยให้เริ่มด้วยสีที่เข้มที่สุดอยู่ด้านล่างแล้วค่อยๆ ไล่เฉดสีขึ้นไป และใช้สีที่สว่างที่สุดทาด้านบน     5.Geometric blocks หากคุณเบื่อกับแพทเทิร์นง่ายๆ ลายเดิมๆ แล้ว ลองเลือกใช้รูปแบบของรูปทรงเรขาคณิตมาช่วยให้ผนังดูสดใส และมีลวดลายที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นได้ ทั้งรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆ วางทับซ้อนกัน หรือรูปสามเหลี่ยมที่หลากหลายมาใช้ หรือแม้แต่การนำรูปทรงในแบบต่างๆ มามิกซ์แอนด์แมทช์เข้าด้วยกัน และลองใช้สีโทนตรงข้ามกัน ทั้งโทนร้อนหรือโทนเย็นมาสร้างลูกเล่นเพิ่มเข้าไปให้กับผนังขาวๆ มีรูปแบบที่ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น     6.Paint a trellis วิธีการของลวดลายแบบตาข่ายนี้ เป็นการทาสีให้เป็นช่องบนผนัง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความรู้สึกให้เหมือนกับมีสวนอยู่ในห้อง โดยเราจะใช้เทปกาวสร้างลวดลายตาข่ายเพื่อหลอกตา เพียงแค่กะระยะห่างให้เท่าๆ กัน แล้วเลือกทาสีเฉพาะช่องที่เว้นไว้ จากนั้นเราสามารถลองวาดเถาวัลย์ พวกไม้เลื้อยอย่าง Wisteria หรือแม้แต่เลือกหาไม้ประดับทั้งของไม้จริง และไม้ประดิษฐ์มาประดับเพิ่ม ก็เป็นทางเลือกที่ทำให้ห้องดูร่มรื่มและสบายตาได้อีก     7.Herringbone pattern ลวดลายกางปลานี้คนส่วนใหญ่มักจะนำไปเป็นลายสำหรับปูพื้นห้อง เพราะเป็นลายที่เพิ่มความหรูหรา และเป็นแพทเทิร์นที่สวยงาม เพียงแค่ใช้วัสดุจากไม้เข้ามา ก็ทำให้บรรยากาศของห้องดูคลาสสิค อีกทั้งยังเป็นรูปแบบที่นิยมกันมาอย่างยาวนาน ครั้งนี้เราลองเปลี่ยนจากลวดลายบนพื้นมาเป็นลวดลายกางปลาบนผนังดูบ้าง โดยเราสามารถวาดได้ด้วยตัวเอง เป็นเส้นทะแยงไปมาอย่างเป็นระเบียบ แต่ถ้าอยากได้เส้นของลายกางปลาเท่าๆ กัน ก็แค่ใช้เทปกาวแปะเป็นแนวเฉียงสลับกัน ทั้งนี้อาจจะใช้สีที่คล้ายกับไม้ด้วยก็ได้ หรือลองเลือกเป็นสีโทนอ่อนไม่เข้มจนเกินไป ก็จะเพิ่มความน่าสนใจได้เช่นกัน     8.Diamond pattern ลวดลายเพชรนี้ก็เป็นแพทเทิร์นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถใช้เทปกาวในการสร้างสรรค์งานศิลปะลงบนผนังได้ไม่ยาก และเป็นอีกลายที่คลาสสิค เพียงแค่ใช้เทปกาวแปะเป็นแนวเฉียงสลับซ้ายขวาในแนวทะแยงมุมในมุมที่เท่าๆ กัน แล้วทางสีในช่องที่ต้องการได้เลย แค่นี้ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับห้องที่เปิดโล่งและมีพื้นที่เยอะที่จะทำให้ห้องสดใสขึ้นมาได้ทันที     9.Argyle ลวดลายนี้เป็นการเพิ่มความยากและเลเวลอัพการทาผนังให้ดูมืออาชีพมายิ่งขึ้น เพราะเป็นแพทเทิร์นที่กินเวลากว่ารูปแบบของ Diamond pattern ในขั้นเริ่มต้นอาจจะมีความคล้ายกัน แต่อาจจะใช้เทปกาวเยอะกว่า และมีความซับซ้อนมากกว่าในการเลือกสี และการเลือกเว้นระยะของแถบสีให้มีเส้นเล็กหรือใหญ่เพื่อสร้างลวดลายที่ซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงการเลือกทาสีในเฉดเดียวกันแต่มีความเข้มอ่อนไม่เท่ากันในแต่ละช่อง ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนที่ดี แต่เมื่อเสร็จแล้ว แพทเทิร์นนี้จะช่วยให้ห้องดูโมเดิร์นขึ้นมาได้     10.Gingham ผนังลายตารางถือเป็นแพทเทิร์นยอดฮิตสุดคลาสสิคอีกอันนึงที่น่ารัก สดใส และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมักจะเลือกใช้สีอ่อนไม่ว่าจะเป็นสีโทนร้อนหรือโทนเย็นก็ได้หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกสีพาสเทลมาใช้กับลายตารางก็จะเพิ่มความหวานให้กับห้องได้ เนื่องจากเรามักจะเลือกสีที่มาใช้ตัดกับพื้นสีขาวเดิมของผนัง แค่นี้ก็จะช่วยให้ไม่ดูทึบและหนักเกินไป เราสามารถทาได้ทั้งผนังในบางผนังของห้อง หรือจะทาแค่ครึ่งเดียวของผนังก็น่าสนใจเช่นกัน ซึ่งเป็นอีกแพทเทิร์นยอดนิยมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับในทุกๆ งานศิลปะจริงๆ   เป็นอย่างไรบ้างกับไอเดียการออกแบบเพ้นท์ผนังด้วยเทปกาวที่เรานำมาฝากในครั้งนี้ ใครที่กำลังเบื่อกับสีผนังห้องเรียบๆ แบบเดิม ก็สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับผนังที่มีหรือส่วนอื่นๆ ในบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นห้องนั่งเล่น ห้องโถง ห้องนอน หรือแม้แต่ห้องครัว ไม่ต้องกลัวว่าจะทำเองไม่ได้ ลองเลือกลวดลายง่ายๆ เป็นการเริ่มต้นก่อน เราเชื่อว่าทุกคนสามารถทำตามได้อย่างแน่นอน และจะยิ่งเพิ่มความภาคภูมิใจได้เมื่อเสร็จแล้ว เพราะทุกอย่างเราได้ทำด้วยสองมือของตัวเอง   cr. fromhousetohome   บทความที่น่าสนใจ แต่งห้องนอน 12 ราศี ให้ถูกโฉลก  เฮง ๆ ปัง ๆ กับ  “หมอช้าง” ของแต่งบ้านเสริมฮวงจุ้ย ความรัก หาคู่แท้  
รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่2) [VDO]

รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่2) [VDO]

รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่2) บทความที่แล้ว เราได้อธิบายการทำงานของระบบ Blockchain ว่าจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง และมีความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไร ในส่วนของบทความครั้งนี้ เราจะมาดูกันว่าระบบ Blockchain มีความปลอดภัยแค่ไหน ถ้านำเอามาใช้เป็นเครื่องมือในการโอนเงิน  โดยมีแบบจำลองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการโอนเงิน มาให้เห็นภาพที่ชัดเจน ของการทำงานในระบบ Blockchain ว่าเป็นอย่างไรและมีวิธีการอย่างไรบ้าง   สำหรับการโอนเงินในระบบ Blockchain นั้น ตามแบบจำลองจะมีการใช้ Private Key Public Key และการ Signing ในการควบคุมการโอนเงิน ซึ่งเฉพาะเจ้าของเงินเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์ในการโอนเงินไปหาคนอื่นได้ ไม่ใช่ว่าจะเป็นใครก็ได้ จะมาโอนเงินไปหาคนโน้นคนนี้ได้ ตามใจชอบ ส่วนรูปแบบการทำงานเป็นอย่างไร มีการใช้ Private Key Public Key และการ Signing อย่างไร ไปดูการทำงานจากแบบจำลองกันได้เลย​     เริ่มต้นเข้ามาในเว็บไซ http://anders.com  เมื่อเข้ามาแล้วจะพบหัวข้อ Key Transaction Signatures (เป็นเมนูอยู่บริเวณด้านบนทางขวามือ)     โดยเริ่มต้นจาก Public / Private Key / Pares กันก่อน ซึ่งความแตกต่างระหว่าง Public key และ Private key ก็คือตามชื่อเลยนะครับ Private key เป็นส่วนที่เจ้าของจะต้องเก็บข้อมูลไม่ให้ผู้อื่นทราบ เพราะหากผู้อื่นทราบ ก็จะทำการโอนเงินของเจ้าของไปให้คนอื่นได้ ในขณะที่ตัว Public key จะทำหน้าที่คล้ายกับบัญชีธนาคาร เป็นข้อมูลที่สามารถบอกผู้อื่นได้ เพราะว่าการที่เราจะรับเงินจากผู้อื่นได้ในระบบ Blockchain ได้ เราจะต้องให้ตัว Public key กับคนที่จะโอนเงินมาให้เรา     เราลองเปลี่ยนค่าใน Private key เราสามารถกำหนดเป็นค่าอะไรก็ได้ จะสังเกตว่าทุกครั้งที่ Private key มีการเปลี่ยนแปลง ตัว Public key จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของ Private key ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเราสามารถกดเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการพิมพ์ข้อมูลในช่อง Private key หรือมากดปุ่ม Random ​ก็ได้เช่นเดียวกัน   จากตัวอย่างนี้ จะเห็นว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะ Private key แต่ Public key เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ เนื่องจากระบบ Blockchain ตัว Public key จะถูกสร้างมาจากตัว Private key แต่ตัว Public key ไม่สามารถถูกคำนวณย้อนกลับไปเป็น Private key ได้ ซึ่งมีคนยกตัวอย่างไว้ว่า ตัว Private key ก็เหมือนกับ ตัวหมู แล้ว Public key คือ ลูกชิ้นหมู คือ หมูถูกแปรรูปเป็นลูกชิ้นหมูได้ แต่ลูกชิ้นหมู ไม่สามารถแปรรูปเป็นตัวหมูได้   เข้าใจการทำงานของ Signatures โดยการโอนเงินปกติเราต้องทราบว่า การโอนเงินมาจากเจ้าของเงินจริง ๆ  หรือเปล่า เพราะตัว Private key เป็นข้อมูลความลับที่เก็บไว้ในระบบ Blockchain และตัว Private key ไม่สามารถคิดคำนวณย้อนกลับ ด้วยตัว Public key ก็ทำให้ระบบ Blockchain มีการใช้ฟังก์ชั่นหนึ่งที่เรียกว่า Signatures ที่เข้ามาตรวจสอบการโอนเงิน     พอเข้ามาในส่วน Signatures เราจะเห็นในส่วนการทำงานของ Sign และ Verify โดยตัวอย่างการ Sign ก็เช่น ถ้าผู้ส่งต้องการส่งข้อความในกล่อง Message ให้กับผู้รับ  โดยผู้ส่งเป็นเจ้าของ Private key นี้ ในตัวอย่างนี้ให้ลองกดปุ่ม Sign ระบบ Blockchain จะมีการสร้าง Message Signature ขึ้นมา และตัว Message Signature จะถูกนำไปใช้ในขั้นตอนการ Verify ต่อไป   ขั้นตอนการ Verify ในขั้นตอนการ Verify จะมีการใช้ข้อมูลในการ Verify คือ ตัว Message Public key ของผู้ส่ง Message Signature  ที่เราได้จากการ Sign ไปก่อนหน้า​ ให้เราลองคลิกปุ่ม Verify จะสังเกตเห็นว่า แบล็กกราวด้านหลังเป็นสีเขียว แสดงว่าข้อมูลถูกต้อง  หมายความว่า ตัว Signature มีการ Sign หรือการลงนาม โดยเจ้าของ Private key ที่อยู่เบื้องหลัง Public key ตัวนี้ ซึ่งเป็นการยืนยันว่าตัว Message ตัวนี้ มีการส่งโดยเจ้าของ Private key ที่อยู่เบื้องหลัง Public Key  ตัวนี้จริง ๆ   Transaction ขั้นตอนการโอนเงิน ตัวอย่างการโอนเงินในส่วนของ Transaction ทางผู้ส่งซึ่งเป็นเจ้าของ Public key มีความต้องการจะส่งเงินจำนวน 20 us ผู้เป็นเจ้าของ Public key ตัวนี้ ส่วน Private key คือ ของผู้ส่ง ให้เราทำการกดไซน์ เพื่อให้ระบบ Blockchain สร้างตัว Message Signature ขึ้นมา หลังจากนั้นระบบ Blockchain จะเข้าสู่ขั้นตอนการ Verify เหมือนตัวอย่างแรก   ขั้นตอนการ Verify  ตัวระบบ Blockchain จะทำการตรวจสอบข้อมูล Signature ที่มีการ Sign เป็นการส่งมาจากตัว Private key ที่อยู่เบื้องหลังตัว Public key นี้จริง ๆ หรือเปล่า ให้เราทำการคลิกปุ่ม Verify  เพื่อ Verify จะเห็นว่าแบล็กกราวด์เปลี่ยนเป็นสีเขียว คือ หมายความว่า ระบบ Blockchain ทำการตรวจสอบ Signature นี้ ก็พบว่า Signature  ถูกส่งมาจาก Private key ที่อยู่เบื้องหลังตัว Public key นี้จริง ๆ เป็นตัวอย่างการตรวจสอบความถูกต้องในส่วนของการโอนเงิน   ภาพรวมการโอนเงินในระบบ Blockchain เมื่อเรามาดูข้อมูลในแบบ Blockchain จะเป็นการโอนเงินเข้าหากัน เป็นการบันทึกเฉพาะตัว Public key จาก Public key ไหน ไปสู่ Public key ไหน ไม่มีการบันทึกข้อมูลในส่วน Private key ไว้ในระบบ Blockchain เลย และจากตัวอย่างในแต่ละ Transaction ก็จะมี ตัว Signature ของแต่ละ Transaction ออกมาให้เราเห็นกัน  เราจะทราบแล้วว่า ตัว Signature จะถูกสร้างมาจากตัว Message  หรือตัวการโอนเงินควบคู่ไปกับ Private Key     เดี๋ยวเราจะมาลองเปลี่ยนแปลงข้อมูลการโอนเงิน ว่าหลังจากการทดลองเปลี่ยนแปลงข้อมูลแล้วทำการ Mining เพื่อดูว่าข้อมูลใน Blockchain มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง   จากตัวอย่าง หากลองเปลี่ยนข้อมูลจำนวนเงินที่โอน เป็น 29.9 us ตัว Signature จะเป็นสีแดง ตอนนี้ตัว Signature เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไปแล้ว และตัวข้อมูลใน Block ก็เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพราะแบล็กกราวด์กลายเป็นสีแดง ให้ลองทำการ Mining ดู หลังจากทำการ Mining ดูจะพบว่า ตัวรหัส Hash ขึ้นต้นด้วย 0000 และตัวแบล็กกราวด์ก็เป็นสีเขียว ตัวรหัส Hash มีความถูกต้องแล้ว     อย่างไรก็ตาม ตัว Signature ยังเป็นสีแดง เพราะการ Mining ไม่สามารถเข้ามาแก้ตัว Signature  ได้ เนื่องจากว่าการ Mining ตัว Node ต่าง ๆ ที่ทำการประมวลผลในระบบ Blockchain จะไม่มีข้อมูลในส่วน Private key ข้อมูลในส่วน Private key คนที่ทราบข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นเฉพาะเจ้าของเงินเท่านั้น เพราะตัว Minus ในระบบ Blockchain จะไม่สามารถมาแก้ไขในส่วนตัว Signature ได้  เพราะตัว Minus ในระบบ Blockchain ไม่มีข้อมูลในส่วน Private key ซึ่งถือเป็นระบบรักษาความปลอดภัยในการโอนเงินของระบบ Blockchain ก็จะทำให้เรามั่นใจได้ว่า การโอนเงินจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ในระบบ Blockchain จะเป็นการส่งคำสั่งการโอนเงินโดยเจ้าของเงินจริง ๆ ไม่ใช่ว่าใครก็ได้จะมาเป็นคนสร้าง Transaction ในการโอนเงินจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้มั่วซั่วไปหมด   ทั้งหมดนี้ เป็นแบบจำลองการโอนเงินในระบบ Blockchain ที่เราจะเห็นความสำคัญของ Private key Public key รวมถึงการ Signing ว่าทั้งสามตัวมีฟังก์ชั่นการทำงานอย่างไร และมีความสัมพันธ์อย่างไรกับระบบ Blockchain   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล รู้จักกับ STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย รู้จัก Yield Farming เพื่อการลงทุนคริปโทให้กำไรงอกเงย Liquidity Pool คืออะไร สำคัญแค่ไหนในวงการ Cryptocurrency รู้จักกับ LUKSO เทคโนโลยี Blockchain เพื่อไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล Impermanent Loss คืออะไร เข้าใจเรื่องเสี่ยงขาดทุนในการฟาร์ม Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ ถ้าไม่เข้าใจ ICO อย่าพึ่งลงทุนใน Crypto รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่1)    
รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่1) [VDO]

รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่1) [VDO]

รู้ทุกเรื่องของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลอง (ตอนที่1) ก่อนหน้านี้ เราเคยนำเสนอบทความ Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto ซึ่งเป็นการอธิบายถึงเทคโนโลยีของระบบ Blockchain ว่าได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง และหลักการทำงานของ Blockchain เป็นอย่างไรบ้าง   แต่เพื่อความเข้าใจระบบ Blockchain และเห็นภาพการทำงานที่ชัดเจน ในบทความนี้จึงจะมาอธิบายถึงการทำงานของระบบ Blockchain ด้วยแบบจำลองการทำงานของระบบ Blockchain ผ่านเว็บไซต์ https://andres.com  ซึ่งเราสามารถทดลองเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ได้ เพื่อการเรียนรู้วิธีการทำงานของระบบ Blockchain ได้ง่ายขึ้น โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถทดลองเข้าไปใช้งานได้     เริ่มต้นจากการที่เราได้เข้าไปยังเว็บไซต์ดังกล่าว เมื่อเข้าไปยังเว็บไซต์แล้ว จะเห็นว่ามีการแบ่งตัวอย่างการทำงานของ Blockchain ออกเป็น 6 หัวข้อด้วยกัน (เมนูด้านบนขวามือ จะแสดงหัวข้อต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์)   การ Hash ข้อมูลด้วย SHA256 โดยเราจะมาเริ่มกันที่การ Hash ข้อมูลกันก่อน สำหรับตัวอย่างการ Hash ข้อมูลในเว็บนี้ จะเป็นการใช้อัลกอริทึม SHA256 ในการ Hash ข้อมูลออกมา โดยตัว SHA256 นี้ก็จะเป็นอัลกอริทึมเดียวกันกับตัว Blockchain ของ Bitcoin ใช้ในการ Hash ข้อมูล โดย SHA256 จะถูกใช้ Hash ข้อมูลในส่วน Data ซึ่งผลจะออกมาเป็นรหัส Hash ตามรูปในตัวอย่าง    โดยเราจะมาทำการลองทดสอบคุณสมบัติของ Hash ว่ามีคุณสมบัติอะไรบ้าง เริ่มต้นด้วยการใส่ข้อมูลไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะพบว่า เมื่อเราใส่ข้อมูลไปในส่วนของ Data ไปทุกครั้ง รหัสของ Hash ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกครั้งเช่นกัน ​โดยความยามของรหัส Hash จะยังคงเท่าเดิมเสมอ และข้อมูลที่จะใส่เข้าไปสามารถใส่ได้ไม่จำกัด ใส่ข้อไปมากแค่ไหนก็ได้   ต่อมาจะมาดูคุณสมบัติถัดไปของการ Hash ซึ่งรหัสของ Hash ที่ดูว่าเป็นรหัสมั่ว ๆ ไม่มีความหมายอะไร แต่จริง ๆ แล้วรหัส Hash ไม่ได้มั่ว เพราะหน้าตาของรหัส Hash จะออกมาเหมือนเดิมเสมอ ตาม Data ที่เราใส่เข้าไป ถ้าเราใส่ Data ชุดเดิม รหัสของ Hash ก็จะกลับมาเป็นแบบเดิมเสมอ คุณสมบัติของ Hash อันนึงก็คือ ตัว Hash ไม่สามารถถูกคาดเดาโดย Data ที่ใส่เข้ามาในส่วนของ Data ได้เลย เพราะเมื่อใส่ข้อมูลใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมเพียงเล็กน้อย รหัส Hash ก็จะเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่เหลือเค้าโครงเดิมเลย ซึ่งคุณสมบัตินี้ ก็เป็นหนึ่งในคุณสมบัติของการรักษาความปลอดภัยในระบบ Blockchain   การต่อยอดฟังก์ชั่นการใช้งาน Hash ระบบ Blockchain มีการต่อยอดฟังก์ชั่นการใช้งานของ Hash ในการทำงานของ Block อย่างไรบ้าง ซึ่งในส่วนของ Block เมื่อเราเข้ามาแล้วจะเห็นข้อมูลเพิ่มเติมมาจากการ Hash ดังนี้ อันที่ 1 คือ หมายเลข Block อันที่ 2 คือ ตัวเลข Nonce อันที่ 3 คือ Data ช่องสำหรับใส่ข้อมูล ซึ่งเหมือนเดิม อันที่ 4 คือ ตัวเลข Hash เหมือนเดิม แต่จะสังเกตเห็นว่า ตัวเลข Hash เป็นตัวเลข 0 จำนวน 4 ตัว ซึ่งไม่ใช่ Hash แบบปกติ ซึ่งตัว Hash ที่มี 0000 นำหน้าเช่นนี้ จะมีความหมายว่าข้อมูลใน Block มีการถูกบันทึกลงไปใน Block เรียบร้อยแล้ว หรือก็คือ มีการถูก Sign ลงไปแล้ว   เมื่อลองทดสอบใส่ข้อมูลลงไปในช่อง Data สิ่งแรกที่เกิดขึ้น รหัสของ Hash ที่เคยนำหน้าด้วย 0000 ได้เปลี่ยนไปเป็นแบบอื่นแล้ว และพื้นหลังของ Block ได้เปลี่ยนจากสีเขียวไปเป็นสีแดงแล้ว ซึ่งหมายความว่าตอนนี้ข้อมูล ไม่ได้มีการถูก Sign ลงไปใน Block แล้ว หรือไม่ได้ถูกบันทึกลงไปใน Block เมื่อเป็นแบบนี้ เรามีวิธีอย่างไรในการทำให้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการถูก Sign ลงไปใน Block   สำหรับวิธีการทำ คือ การเปลี่ยนตัวเลขของ Nonce ไปเรื่อย ๆ ด้วยวิธีการสุ่มตัวเลข จนกว่าเราจะได้รหัส Hash ซึ่งเป็น 0000 นำหน้า ข้อมูลใน Block ถึงจะถูก Sign ลงไป ซึ่งถือว่าต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะเจอตัวเลขดังกล่าว ซึ่งในระบบ Blockchain ก็จะใช้หลักการที่เรียกว่า Mining ด้วยการใช้ตัวคอมพิวเตอร์ ในการสุ่มหาตัวเลข โดยตัวอย่างหากกดตรงปุ่ม Mine จะเป็นการ Mining ซึ่งจะทำการ Mining ที่ต้องใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่ง และจะได้ตัวเลข Nonce ออกมาเป็น 85869 แล้วจะได้ตัวเลข Hash ที่มี 0000 นำหน้า และพื้นสกรีนด้านหลังจะเปลี่ยนจากสีแดงมาเป็นสีเขียว หมายความว่าตัวข้อมูลใน Block มีการถูก Sign ลงไปเรียบร้อยแล้ว   กรณีที่เราเปลี่ยนตัวเลขของ Block จะเห็นว่าต้องทำการ Mining ใหม่เช่นกัน เพราะมีทำให้ตัวเลขรหัสของ Hash เปลี่ยนแปลงไป  จะเห็นว่าตัวข้อมูลที่มีผลต่อการ Hash จะมีทั้งหมายเลขของ Block  ตัวเลข Nonce และตัว Data ที่เราใส่เข้าไป   หากสังเกต จะเห็นว่าตัวเลข Nonce จะทำหน้าหน้าที่คล้าย ๆ กับตัวเลขที่เป็นคำตอบของ Block​ นี้ เพื่อที่จะได้ทำให้ ตัวข้อมูลมีการถูกบันทึกลงไปใน Block ได้ ซึ่งในระบบ Blockchain ของ Bitcoin ก็คือ ใครที่สามารถหาตัวเลข Nonce เป็นคนแรก ก็จะได้ตัว Bitcoin เป็น Reward ไป   การเชื่อมโยงข้อมูลของระบบ Blockchain เมื่อเรากดไปที่หัวข้อ Blockchain เพื่อเข้ามาที่หน้า Blockchain จะเห็นข้อมูลในแต่ละ Block ซึ่งเราได้ทำการศึกษารายละเอียดไปก่อนหน้านี้ มีลักษณะการเรียงต่อ ๆ กัน เป็น Blockc1 Block2 Block3 Block4 และ Block5 แล้วจะเห็นว่าข้อมูลของแต่ Block จะมีช่อง Prev ซึ่ง คือข้อมูล Hash ของ Block ก่อนหน้า เนื่องจากว่าระบบ Blockchain จะใช้ตัว Hash ของ Block ก่อนหน้าเป็นค่าตั้งต้นสำหรับ Block ถัดไป   กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน Block สุดท้าย ก็จะต้องทำการ Mining ใหม่เหมือนเดิม แต่จะทำการ Mining เฉพาะ Block5  หากกรณีเปลี่ยนข้อมูล Block3 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของ Block3 Block4 Block5 ซึ่งไม่สามารถบันทึกข้อมูลของ Block3 Block4 Block5 ได้ เพราะตัวเลขนำหน้าของ Hash ทั้ง  3 Block ไม่ใช่เลข 0000 วิธีการแก้ไขเพื่อให้ทั้ง 3 Block สามารถบันทึกข้อมูลได้ คือ ต้องทำการ Mining ใหม่ตั้งแต่ Block3 แล้วทำการ Mining ใน Block4 แม้ว่าไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน Data ก็ตาม และสุดท้ายต้องทำการ Mining ใน Block5 ต่อไป   จะสังเกตเห็นว่า ยิ่งเราไปแก้ไขข้อมูลใน Block ที่อยู่อันดับต้น ๆ มากเท่าไร เรายิ่งต้องทำการ Mining ในแต่ละ Block มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ระบบ Blockchain ใช้ในการป้องกันการแก้ไขข้อมูล   แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ระบบ Blockchain มีการแก้ไขข้อมูล แล้วถูก Remind ใหม่พวกนี้ มีการถูก Remind ข้อมูลในระบบ Blockchain เข้าไปใน Node อื่น ๆ ด้วยหรือไม่ หรือหากเราต้องการอยากทราบว่าข้อมูลระบบ Blockchain ที่เรามีอยู่ มีความถูกต้องหรือไม่ สามารถจะทำการตรวจสอบได้อย่างไร   หลักการทำงาน Distributed Blockchain สำหรับตัวอย่างของ Distributed Blockchain จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 Blockchain คือ Peer A Peer B Peer C โดยเบื้องต้นข้อมูลของทั้ง 3 คนนี้จะมีลักษณะข้อมูลที่เหมือนกัน โดยจะสังเกตุได้ที่ตัว Hash ตัว Block5 จะเป็น 0000 แล้วก็ E4 B9     ในส่วนของ Peer B ก็เช่นกัน Hash ตัวสุดท้ายก็เป็น E4 B9 Peer C ก็เหมือนกันมีข้อมูล Hash เหมือนกันข้อมูลตัวสุดท้ายเป็น E4 B9  ข้อมูล Hash ก่อนหน้านี้ก็เหมือนกันทุกประการ ในแต่ละ Block แล้วกรณีที่ Peer B มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไป เช่น   ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน Block สุดท้าย ถ้าเป็นเช่นนี้ ตัวระบบจะสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่า ข้อมูลของ Blockchain ของ Peer B เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่า ตัว Hash ตัวสุดท้ายไม่ได้ขึ้นต้นด้วย 0000 แต่ถึงแม้ตัว Peer B ทำการ Mining ข้อมูล เพื่อให้มี 0000 ออกมา ก็จะสังเกตเห็นว่าตัว Hash ตัวสุดท้าย ของ Peer A เป็น 0000 แล้วก็ E4 B9 แต่ว่าตัว Hash ตัวสุดท้ายของ Peer B เป็น 28 BC ขณะที่ Peer C ยังเป็นตัวเลขเดิม คือ E4 B9   เมื่อเป็นแบบนี้ ด้วยระบบ Blockchain ก็สามารถตรวจสอบได้ทันทีว่าข้อมูลของ ตัว B ว่ามีความแตกต่างจาก Blockchain ของตัวอื่น เพราะฉะนั้น Blockchain ของตัว B ก็จะถือว่าเป็นข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้อง เพราะมีสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 ของข้อมูลทั้งหมด และในหลักการของ Blockchain ที่จะยึดถือ ข้อมูลของเสียงส่วนมากเป็นหลัก ก็จะทำให้ตัว ข้อมูลของ A และ C เป็นข้อมูลที่มีความถูกต้อง ในขณะที่ B เป็นข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้อง     โดยระบบ Blockchain ของ Bitcoin ในปัจจุบัน ก็จะมีการ กระจายข้อมูลของ Blockchain ไปยังหน่วยต่าง ๆ ทั่วโลก ก็จะทำให้ Node ต่าง ๆทั่วโลกสามารถ ช่วยกันตรวจสอบข้อมูลกันได้ง่ายขึ้น ซึ่งปกติจะมาเช็คที่ Hash ตัวสุดท้ายก่อนเลย ว่ามีข้อมูลของการ Hash ตรงกันหรือเปล่า แล้วถ้าเกิดสมมุติว่ามี Node ไหน ที่มีข้อมูล แตกต่างจาก Node อื่น ๆ ก็จะสามารถตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่แตกต่างกัน เกิดขึ้นที่ Block ไหน ด้วยการตรวจสอบผ่านทางรหัส Hash   ทั้งหมดนี้ ก็เป็นตัวอย่างการทำงานของ Blockchain แต่จากตัวอย่างที่เห็น ในส่วนของ Data จะเป็นเพียงการกรอกข้อมูลมั่ว ๆ ไม่ได้มีความหมายอะไร แต่ตัวอย่างถัดไป เราจะมาดูตัวอย่าง การโอนเงินด้วยระบบ Blockchain ผ่านทางหัวข้อ Tokens ตรงนี้     Tokens แบบจำลองการโอนเงิน ในส่วนหัวข้อ Tokens ตรงนี้ การบันทึกข้อมูลในส่วนของ Data จะเปลี่ยนเป็น Transaction โดยข้อมูลในส่วนของ Transaction ก็จะมีการระบุ ใครโอนเงินให้ใคร เป็นจำนวนเงินเท่าไร แล้วจะเห็นได้ว่า ขนาด Transaction ในแต่ละ Block จะมีขนาดข้อมูลไม่เท่ากัน เนื่องจากว่าขนาดข้อมูลในแต่ละ Block ไม่จำเป็นต้องมีขนาดเท่ากัน  คุณสมบัติแบบ Distributed ก็มีอยู่เช่นเดิม มีการเก็บข้อมูลแบบกระจายกัน แล้วตัว Hash ก็ต้องมีรหัสตัว Hash ที่เหมือนกันด้วย แล้วถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน Block ใดก็ตาม  เราก็ต้องมาทำการ Mining เพื่อหาตัว Hash ใหม่เช่นเดิม   แต่จากตัวอย่างเราจะเห็นแค่การโอนเงินจากใครไปให้ใคร เป็นจำนวนเงินเท่าไร และการเงินเกิดขึ้นใน Block ไหน แต่เราไม่ได้มีการตรวจสอบเลยว่า แล้วคนที่โอนจำนวนเงิน เช่น Dracy โอนเงินให้ Bingley จำนวน 25 เหรียญ Darcy มีจำนวนเงินเพียงพอจริง ๆ หรือเปล่า ที่จะโอนเงินให้ทาง Bingley จำนวน 25 เหรียญ ซึ่งตัวอย่างการตรวจสอบว่าทาง Dracy มีเงินเพียงพอหรือเปล่า เราจะไปดูกันที่ตัวอย่างในหัวข้อ Coinbase (แถบเมนูด้านบนขวามือ)     ที่นี่เรามาดูกันที่ Coinbase Transaction สำหรับ Coinbase ไม่ได้หมายถึงตัวเว็บไซต์ที่ให้ซื้อขายCryptocurrency แต่หมายถึง Transaction แรกที่เกิดขึ้นในระบบ โดยจากตัวอย่าง จะเห็นว่า Transaction แรกที่เกิดขึ้น คือ ระบบมีการสร้างจำนวนเงินขึ้นมา 100 เหรียญ เพื่อโอนให้ทาง Anders แล้วถัดมา Anders ก็มีการโอนจำนวนเงิน ให้กับคนอื่น ๆ ต่อไป โดยจะสังเกตว่า จำนวนเวินที่ Anders จะโอนเงินให้คนอื่นได้ก็ไม่ควรเกิน 100 เหรียญ แล้วจำนวนเงินในระบบก็ไม่ควรที่จะเกิน 100 เหรียญเช่นกัน   โดยจากข้อมูลตรงนี้ ก็จะเห็นว่ามีการโอนเงินไปเรื่อย ๆ แล้วข้อมูลจาก Blockchain เราสามารถที่จะคิดย้อนกลับ โดยเช็คในแต่ละคนได้นะว่าแต่ละคน มีเงินเพียงพอจริง ๆ หรือไม่ ที่จะโอนให้คนอื่นต่อไป อย่างเช่น Jackson โอนเงินให้  Alexander  2 เหรียญ เราก็ต้องมาดูก่อนหน้านี้ว่า Jackson มีการได้รับเงินจากใครมาก่อนด้วยหรือเปล่า เราจะเห็นว่า Jackson ก็เคยได้รับเงินมาจากทาง Emily แล้วทาง Madison แล้วเคยได้รับเงินจาก Sophia ใน Block นี้เช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ข้อมูลการรับโอนเงินในระบบ Blockchain จะทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่า เงินเคยโอนจากใครไปหาใคร แล้วคน ๆ นั้น มีเงินจำนวนเท่านั้นจริง ๆ หรือเปล่า ที่จะสามารถโอนต่อให้คนอื่นได้     สมมุติทาง Anders มีการไปเปลี่ยนข้อมูลใน Blockchain ของตัวเอง ว่าตัวเองได้เงิน จากระบบ 1,000 เหรียญ จะเห็นว่าตัว Hash มีค่าเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะไม่ตรงกับตัว Hash ใน Peer อื่น ๆ ในระบบ Blockchain  ก็จะทำให้ข้อมูล Peer A ถูกตีตกไปด้วยระบบ เพราะว่าระบบจะมองว่าข้อมูลตัวนี้ไม่ถูกต้อง   ทั้งหมดเป็นตัวอย่างการทำงานของระบบ Blockchain ที่เราได้เรียนรู้การ Hash ข้อมูล การบันทึกข้อมูลลงใน Block การเชื่อมโยงข้อมูลเป็น chain รวมถึงการกระจายศูนย์รวมการเก็บข้อมูล หรือที่เรียกว่า Distributed ledger รวมถึงตัวอย่างการโอนเงินผ่านระบบ Blockchain ว่ามีแบบจำลองหน้าตาประมาณไหน แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมดของเว็บไซต์นี้ ในส่วนของเว็บไซต์นี้ยังมีแบบจำลองการทำงาน ในส่วน Private Key แล้วตัว Public Key ซึ่งเป็นตัวฟังก์ชั่นสำคัญในการโอนเงินในระบบ Blockchain ซึ่งสามารถติดตามต่อในบทความต่อไป   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล รู้จักกับ STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย รู้จัก Yield Farming เพื่อการลงทุนคริปโทให้กำไรงอกเงย Liquidity Pool คืออะไร สำคัญแค่ไหนในวงการ Cryptocurrency รู้จักกับ LUKSO เทคโนโลยี Blockchain เพื่อไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล Impermanent Loss คืออะไร เข้าใจเรื่องเสี่ยงขาดทุนในการฟาร์ม Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ ถ้าไม่เข้าใจ ICO อย่าพึ่งลงทุนใน Crypto  
ถ้าไม่เข้าใจ ICO อย่าพึ่งลงทุนใน Crypto [VDO]

ถ้าไม่เข้าใจ ICO อย่าพึ่งลงทุนใน Crypto [VDO]

ถ้าไม่เข้าใจ ICO อย่าพึ่งลงทุนใน Crypto การเริ่มต้นธุรกิจแค่มี “ไอเดีย” ที่ดีอย่างเดียว คงอาจจะไม่เพียงพอ เพราะหนึ่งใน “หัวใจ” สำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ไอเดียดี ๆ เกิดขึ้นจริงได้ คือ เงินทุน ซึ่งการได้มาของเงินทุน ก็มีหลากหลายวิธี สิ่งหนึ่งที่มักถูกใช้ คือ การระดมทุนจากนักลงทุนทั่วไปที่สนใจในธุรกิจหรือไอเดียนั้น ๆ ด้วยการขายหุ้น หรือแม้แต่บริษัทที่ดำเนินธุรกิจมาแล้ว แต่ต้องการขยายธุรกิจให้ใหญ่โตมากขึ้น ก็มักจะระดมทุนด้วยการขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ ที่เรียกว่า IPO ซึ่งเราเคยนำเสนอบทความไว้ก่อนหน้านี้แล้ว   ปัจจุบันโลกการเงินไม่ได้มีแค่เงินรูปแบบกระดาษหรือเงินปกติทั่วไป แต่ยังมีโลกการเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency เข้ามามีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่ หรือต่อยอดจากธุรกิจเดิม ทำให้ “เงินทุน” ที่ต้องการระดมทุน ไม่ได้มาในรูปแบบเงินปกติทั่วไป แต่มาในรูปแบบของเงินดิจิทัลด้วย ซึ่งบทความนี้จะมาอธิบายถึงวิธีการระดมทุนของเงินดิจิทัล หรือที่เรียกว่า ICO ย่อมาจาก​ Initial Coin Offering คือการระดมทุน แบบดิจิทัล ด้วยการเสนอขาย ดิจิทัลโทเคน (Digital Token) ผ่านระบบ Blockchain ต่อประชาชนทั่วไป   ICO วิธีระดมเงินทุนในโลก Cryptocurrency เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนถึงวิธีการระดมทุนด้วยวิธีการ ICO ขอนำเสนอตัวอย่าง ตามรายละเอียดดังนี้ มี Developer ต้องการพัฒนา ICO Project ขึ้นมา ซึ่งมีความพร้อมในการพัฒนา แต่มีปัญหาขาดเงินทุน จึงต้องการระดมทุนมาเพื่อพัฒนา Project โดยวิธีการระดมทุนตามตัวอย่าง เป็นการใช้ Smart Contract ของ ETH ซึ่งวิธีการระดมทุนจะมีขั้นตอน เริ่มจาก Developer จะต้องเขียน Smart Contract ขึ้นมา และมีการกำหนดเป้าหมายเงินทุนที่ต้องการ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง ETH กับ Token เช่น นักลงทุนจ่าย ETH มา 1 ETH ก็อาจจะได้รับ Token จำนวนเท่ากับ 100 Token   โดยจะพบว่า ICO Project ทุก Project ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ คือ Developer(นักพัฒนา), Investor (นักลงทุน) และ User (ผู้ใช้งาน) ซึ่งใช้ Token เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเงินลงทุน ทำงานอยู่บนระบบ Blockchain เวลามีการโอน Token ระหว่างกันของคนทั้ง 3 กลุ่ม จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนเงินที่ระดมทุน ด้วยระบบ Blockchain   ระดมทุนด้วย ICO Project มีวิธีการอย่างไร เมื่อมีนักลงทุนสนใจที่จะลงทุนใน ICO Project นี้ สิ่งที่นักลงทุนต้องทำเป็นสิ่งแรก คือ การโอนตัว ETH มาที่ตัว Smart Contract แล้วตัว Smart Contract จะทำการรวบรวมตัว ETH แล้วคอยตรวจสอบ ETH ที่ได้รับจากนักลงทุนว่าถึงตามเป้าหมายที่ Developer ต้องการแล้วหรือยัง ถ้าตัว Smart Contract มีการสะสมตัว ETH จากนักลงทุนครบตามจำนวนที่Developer กำหนดไว้ ตัว Smart Contract จะทำการส่งตัว ETH ที่ได้รับไปให้ Developer แล้วทำการโอน Token ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ใน Smart Contract ไปยังนักลงทุนแต่ละราย   แต่ถ้ากรณีที่ Smart Contract ไม่สามารถรวบรวมตัว ETH ได้ตามจำนวนที่ Developer กำหนดไว้ ตามกำหนดระยะเวลา เช่น กำหนดระยะเวลาการระดมทุนไว้ 10 วัน ทาง Smart Contract ก็ยังไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากพอ ที่จะสะสมตัว ETH ได้ครบ ทาง Smart Contract ก็จะทำการโอนตัว ETH กลับไปยังนักลงทุนแต่ละคน และทาง Developer ก็จะไม่ได้อะไร เพราะไม่สามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมายที่กำหนด โดยจะเห็นว่าการระดมทุนผ่าน Smart Contract ให้ผลตอบแทนผ่านทาง Token   ตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นหนึ่งในรูปแบบการระดมทุนด้วย Smart Contract ผ่านระบบ Blockchain ของ ETH ปัจจุบันยังมีการระดมทุนด้วย Smart Contract อื่น ๆ หรือตัวเหรียญอื่น ๆ อีกหลายประเภท เปลี่ยน Token เป็นเงินทุนเพื่อพัฒนา Project สมมติกรณีที่ Developer สามารถระดมทุนได้เหรียญมาตามกำหนดและเสร็จสิ้นการตรวจสอบแล้ว ทาง Developer ต้องการนำตัว ETH ไปพัฒนา Project แต่บางทีตัว ETH ก็ไม่สามารถนำไปซื้อสินค้า หรืออุปกรณ์​ หรือว่าจ้างคนมาพัฒนา Project ร่วมกันได้ Developer ก็ต้องการช่องทางในการเปลี่ยนตัว ETH มาเป็น Currency หรือเงินต่าง ๆ อย่างเช่น ดอลล่าร์ หรือเงินบาท เพื่อนำมาใช้พัฒนา Project ได้ ส่วนนักลงทุนก็เช่นกัน เมื่อได้รับ Token มาแล้วก็ต้องการขายตัว Token เพื่อทำกำไร สำหรับ User ก็เช่นกัน ถ้าเกิดตัว Project มีการพัฒนาไปจนเกิดการใช้งานแล้ว ตัว User ก็ต้องการช่องทางไปซื้อตัว Token เพื่อนำ Token มาใช้บริการในตัว ICO Project ที่พัฒนาขึ้นมา ซึ่งตัวที่จะมาแก้ปัญหาเหล่านี้ให้กับ Developer , Investor และ User คือ Crypto Exchange หรือ Web Exchange นั่นเอง อย่างพวก Binance, Bitkub, Satang Pro และ BX   EXPERTY ตัวอย่าง ICO Project สำหรับ EXPERTY คือ ตัวอย่าง ICO Project ที่ได้พัฒนาออกมา และระดมทุนออก Token มาแล้ว ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลอะไรบ้าง และข้อมูลที่นำเสนอให้กับนักลงทุนมีอะไรบ้าง จะมาดูตัวอย่างกัน   กรณีที่ Developer ต้องการระดมทุนด้วยการ ICO Project จะมีการนำเสนอข้อมูลผ่าน White Paper เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับนักลงทุนพิจารณา ซึ่งปกติข้อมูลใน White Paper จะมีข้อมูลต่าง ๆ เช่น ตัว Project พัฒนาขึ้นมาเพื่ออะไร มีการใช้ประโยชน์จาก Smart Contract หรือ Blockchain อย่างไร รวมถึงทิศทางการพัฒนา Project ที่จะมีการไปในทิศทางใด ตามระยะเวลา Time Frame ที่ White Paper เสนอมา รวมถึงการพูดถึงจำนวนเหรียญที่มีการเสนอขายครั้งนี้ รวมถึง Total Supply ทั้งหมด และวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนว่าจะไปใช้อะไรบ้าง รวมถึงข้อมูลทีมพัฒนา และทีมที่ปรึกษา   จาก White Paper ของ EXPERTY พบว่า Project นี้ต้องการเงินทุน 33,000 ETH โดยตัว EXPERTY มีจำนวนเหรียญเท่ากับ 100 ล้านเหรียญ Token และมีการแบ่งสัดส่วนเหรียญ Token ตามนี้ คือ  1 ใน 3 ออกมาขาย ICO ครั้งนี้ ที่เหลือตามรายละเอียดใน White Paper   นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดว่า EXPERTY มีการทำงานบน Blockchain ETH และวิธีการ ICO ครั้งนี้ สามารถซื้อโดยตรงผ่านทาง ETH ได้ หรือซื้อผ่านทาง Bitcoin โดยใช้ตัว ETH Bitcoin หรือ Fiat Currency ต่าง ๆ เช่น ดอลล่าร์ หรือยูโร ก็สามารถซื้อได้เหมือนกัน ส่วนข้อมูลสำคัญอื่น ๆ เช่น มีทีม Developer มีใครบ้าง โรดแมพการพัฒนาจะไปทิศทางไหน   ตัวอย่าง White Paper ดังกล่าว นักลงทุน ICO Project ควรทำการศึกษา White Paper ก่อนว่าจะพัฒนาไปในทิศทางใด มีการสร้างจำนวนเหรียญ Token เท่าไร มีการเสนอขายเป็นจำนวนเหรียญเท่าไรแล้ว แล้วต้องคิดว่าจะมีคนมาใช้ Project นี้มากน้อยเพียงใด   ​ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษารายละเอียดให้รอบครอบ เพื่อใช้การตัดสินใจ และเป็นการลดความเสี่ยงจากการลงทุน เพราะโลกของการลงทุน มีความเสี่ยงอยู่เสมอ   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล รู้จักกับ STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย รู้จัก Yield Farming เพื่อการลงทุนคริปโทให้กำไรงอกเงย Liquidity Pool คืออะไร สำคัญแค่ไหนในวงการ Cryptocurrency รู้จักกับ LUKSO เทคโนโลยี Blockchain เพื่อไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล Impermanent Loss คืออะไร เข้าใจเรื่องเสี่ยงขาดทุนในการฟาร์ม Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ  
Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ [VDO]

Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ [VDO]

Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ หลายคนที่สนใจวงการ Cryptocurrency คงเคยได้ยินการพูดถึง Compound Finance กันมาบ้าง โดยเฉพาะคนที่มีเหรียญดิจิทัลอยู่ในมือ ซึ่งสามารถนำเอาเหรียญไปสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการปล่อยกู้ หรืออยากจะกู้เองก็ได้  ซึ่งบทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ Compound Finance ว่าคืออะไรกันแน่  และจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนที่มี Cryptocurrency แล้วมีความต้องการสร้างรายได้เพิ่มจากการนำมาปล่อยกู้เพื่อได้รับดอกเบี้ย หรือคนที่ต้องการขอกู้ Cryptocurrency จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง   ไขข้อข้องใจ Compound Finance คืออะไร Compound Finance เป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยอำนวยความสะดวก ผู้มี Cryptocurrency แล้วอยากจะเอามาปล่อยกู้เพื่อได้รับดอกเบี้ย รวมถึงผู้ที่จะมาขอกู้ตัว Cryptocurrency ก็สามารถเข้ามาใช้งานผ่านแพลตฟอร์มนี้ได้เช่นกัน และบทความนี้นอกจากจะทำความเข้าใจแพลตฟอร์ม Compound Finance เบื้องต้นแล้ว ยังจะอธิบายถึงฟังก์ชั่นสำคัญของ Compound Finance ว่ามีอย่างไรบ้าง   สำหรับผู้ที่สนใจ รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับวงเงินการปล่อยกู้ มูลค่าเงินที่มีคนปล่อยกู้ และข้ออื่น ๆ  สามารถเข้าไปดูได้ในเว็บบราวเซอร์ compound.finance   เมื่อเข้าไปแล้วจะพบข้อมูลต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าเงินทั้งหมด (Total Supply)  ที่ระบบสามารถจะปล่อยกู้ได้  Total Borrow คือ มูลค่าเงินทั้งหมดที่มีคนกู้ไปในขณะนี้ ​รวมถึงมีการแสดง Cryptocurrency ที่มีการให้กู้ยืมหลาย Cryptocurrency ด้วยกัน  เช่น Ether, USD Coin หรือ DAI และยังมีการแสดงอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้จะได้รับ และดอกเบี้ยที่ผู้กู้จะต้องจ่ายแสดงไว้ด้วย   เข้าใจการกู้ยืมเงินใน Compound Finance หลายคนอาจจะสงสัย Compound Finance มีการทำงานอย่างไร มีการปล่อยกู้แบบ pear to pear หรือเปล่า? ความจริงแล้ว Compound Finance ใช้ระบบ Currency Pool เป็นการเชื่อมโยงระหว่าง Lender (ผู้ให้กู้) กับตัว Borrower หรือตัวผู้กู้ โดยฝั่ง Lender เป็นคน Supply Cryptocurrency เข้ามาใน  Currency Pool ก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยเป็น Supply APR เป็นค่าตอบแทน โดยตัวอัตราดอกเบี้ยที่โค้ดใน Compound Finance จะเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อปี หรือ APR ย่อมาจาก Annual Percentage Rate     สำหรับผู้กู้ จะเป็นผู้มี Demand ในการที่จะมาขอกู้ทาง Currency Pool แล้วทางผู้กู้ก็ต้องชำระเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ หรืออัตรา Borrow APR เข้ามาที่ตัว Currency Pool โดยตัว Compound Finance จะเป็นคนบริหารจัดการตัว Currency Pool ให้สามารถบริหารจัดการไปได้อย่างราบรื่น รวมถึงและบริหารจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ   การกู้เงินใน Compound Finance โดยขั้นตอนการกู้เงินใน อันดับแรกเราต้องมีการ Supply ตัว Cryptocurrency หรือมีการวางหลักประกันเข้ามาในตัว Currency Pool หลังจากได้วางตัวหลักประกันไปแล้ว จะได้รับ borrowing power จะคล้ายกับการไปกู้เงินกับทางธนาคาร ที่เราจะต้องวางสินทรัพย์ค้ำประกันก่อน ที่ดิน หรือบ้าน พอวางสินทรัพย์ ทางธนาคารจะให้วงเงินมา ซึ่งวงเงิน หรือ​ borrowing power หลังจากเรามี borrowing power แล้วเราก็สามารถกู้ยืมเงินจาก Currency Pool   ถ้าเราต้องการไถ่ถอนหลักประกัน เราต้องจ่ายตัวเงินกู้กลับไปพร้อมอัตราดอกเบี้ย เราจะได้ตัวหลักประกันคืนกลับมา ขั้นตอนนี้เหมือนการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน หรือบริษัทลิสซิ่งต่าง ๆ   มูลค่าสินทรัพย์และความเสี่ยงใน Compound Finance การนำสินทรัพย์มาค้ำประกัน แน่นอนว่าจะต้องมีการประเมินมูลค่า และความเสี่ยงของสินทรัพย์นั้น ๆ เพื่อประเมินว่าจะสามารถปล่อยวงเงินออกไปได้เท่าไร โดยปกติวงเงินกู้จะต้องมีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่าสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน เพราะต้องบริหารความเสี่ยงจากการที่ผู้กู้ไม่ชำระหนี้  ซึ่งหลักการนี้ ไม่แตกต่างจากการกู้ยืมเงินกับทางธนาคาร หรือบริษัทลิสซิ่งต่าง ๆ ในแพลตฟอร์ม Compound Finance จึงมีการประเมินมูลค่าของเหรียญที่นำมาปล่อยให้กู้ยืมด้วย   กรณีตัวอย่างในแพลตฟอร์ม Compound Finance จำนวนเงินที่นำมาค้ำประกันมีมูลค่าเท่ากับ 35 us ในขณะที่ยอดเงินกู้มีค่าเท่ากับ 0 และ borrowing power มีมูลค่าเท่ากับ 23.48 us จะเห็นว่า borrowing power มีมูลค่ามากกว่า supply balance ตัววงเงินกู้จะมีมูลค่าน้อยกว่าสินทรัพย์ที่มาค้ำเป็นหลักประกัน จะเหมือนกับการกู้เงินกับทางธนาคาร หรือบริษัทลิสซิ่ง ที่จะมีการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ขึ้นมา แล้วมีการมอบวงเงินให้ต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์ที่มาค้ำประกัน หรือเป็นการบริหารความเสี่ยงของทางธนาคาร     จากภาพตัวอย่าง ทาง Compound Finance ก็มีการจัดระดับชั้นความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันไว้จากตัวอย่าง ตัว BAT (Basic Attention Token) จะมีตัว Collateral Factor 60% ความหมายก็คือ ถ้าเรานำตัว BAT ที่มีมูลค่าเช่น 100 us มาค้ำประกัน เราจะได้รับตัว borrowing power เท่ากับ 60 us กรณี ETH มีตัว Collateral Factor เท่ากับ 75% ซึ่งสูงกว่า BAT ทำให้เวลาเราเอาตัว ETH มาค้ำประกันจะได้รับตัว borrowing power เป็นสัดส่วนที่มากกว่าตัว BAT   Compound Finance ก็มีการยึดทรัพย์  อย่างไรก็ตาม การกู้เงินผ่านตัว Compound Finance  มีขั้นตอนหนึ่งอันหนึ่งที่เราต้องทราบไว้ ซึ่งคือขั้นตอนการ Liquidation ซึ่งคือ การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด  สาเหตุทำให้เกิด Liquidation คือ เมื่อภาระหนี้ หรือ debt ซึ่งประกอบไปด้วยเงินต้นที่เรากู้มาพร้อมภาระดอกเบี้ย  เกิดภาระหนี้สินมีมูลค่ามากกว่าวงเงินของเรา หรือตัว borrowing power ก็จะทำให้ตัวระบบทำการ Liquidation ซึ่งหลังจากเข้าสู่ขั้นตอนการ Liquidation ตัว collertral หรือสินทรัพย์ที่ถูกนำมาค้ำประกัน ก็จะถูกนำไปขาย สิ่งที่ผู้กู้จะได้รับคืน คือ จำนวนเงิน เท่ากับตัวมูลค่าหลักทรัพย์ที่เอาไปขาย หักลบด้วยภาระหนี้สิน และหักลบด้วยส่วนลด ซึ่งส่วนลดนี้เหมือนค่าดำเนินการที่นำตัวสินทรัพย์นี้ไป ขายทอดตลาด   ดอกเบี้ยกู้ยืมใน Compound Finance ปัจจัยที่ทำให้เกิดการกู้ยืมเงิน หัวใจอีกอย่างหนึ่ง คือ อัตราดอกเบี้ย ที่ผู้ให้กู้จะต้องได้รับ จากผู้ขอกู้ ซึ่งในแพลตฟอร์ม Compound Finance มีการคิดอัตตราดอกเบี้ย ​ ตัว Supply APR จะต่ำกว่า Borrow APR หรือคือดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้จะได้รับ จะต่ำกว่าดอกเบี้ยที่ผู้กู้จะต้องจ่าย เพื่อความเข้าใจจะดูจากกรณีตัวอย่างนี้   เริ่มต้นจากผู้ให้กู้ มีจำนวนเหรียญให้กู้ 200 mm(ล้านเหรียญ) ทางฝั่งผู้กู้มีความต้องการกู้อยู่100 mm จะเห็นว่ามีส่วนต่างอยู่ที่ฝั่ง Supply มีมากกว่า Demand แล้วทางฝั่งผู้กู้มีภาระที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยอยู่ 10% เมื่อคำนวณออกมาแล้วจะมีมูลค่าเท่ากับ 10 mm ซึ่งจำนวนเงิน 10 mm จะถูกนำไปจ่ายให้ฝั่งผู้ให้กู้ แต่ว่าโดยปกติ Compound Finance จะมีการหักเงินเก็บสำรองไว้ส่วนหนึ่ง เช่นในจำนวนนี้จะสำรอง (reserve) ไว้ 2 mm โดยหากคำนวณตัวเลขที่จ่ายมาให้ทางฝั่ง Supply ของ Currency Pool จะเหลือ 8 mm แล้วถ้านำจำนวน 8 mm มาคำนวณกับจำนวนเงินให้กู้ได้ทั้งหมด 200 mm ตัว APR ที่ฝั่งผู้ให้กู้จะได้รับจะเท่ากับ 4.0% นี่จึงเป็นที่มาของอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้กับผู้กู้ถึงมีความแตกต่างกัน สาเหตุมาจากความแตกต่างทางฝั่ง Supply กับ Demand กับการหักสำรองของ Compound Finance ไว้เพื่อการบริหารความเสี่ยง   การบริหาร Compound Finance ด้วย cToken นอกจากนี้ ตัว Compound Finance ยังมีการใช้ตัว  cToken  มาช่วยในการบริหารจัดการ จากตัวอย่างจะเห็นว่า มีตัว cBAT  กับ cETH ซึ่งตัว  cToken เกิดจาการที่เราได้นำตัว BAT กับ ETH ไปทำการค้ำประกันไว้กับตัว Compound Finance ด้วย  ซึ่งขั้นตอนการได้มาของ cToken มีดังนี้ ในขั้นตอนที่เรานำสินทรัพย์ไปค้ำประกันไว้กับตัว Currency Pool โดยสิ่งที่เราจะได้นอกจาก borrowing power เราจะได้ตัว cToken ของตัวสินทรัพย์ที่เราเอาไปค้ำประกันไว้ด้วย สมมติถ้าเราเอา ETH ไปค้ำเราก็จะได้ cETH ถ้าเราเอา Dai ไปค้ำ ก็จะได้ cDai ถ้าเราเอา Bat ไปค้ำเราก็จะได้ cBat   คุณสมบัติของ cToken สำหรับ cToken มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.ERC-20 หรือเป็น Token ที่สามารถโอนไปหาคนอื่นได้ เหมือนการโอน Token ของ Blockchain ของ Ethereum 2.represent balance in protocol ตัว cToken เป็นตัวยืนยันว่าเรามีสินทรัพย์อะไรบ้างใน Compound Finance 3. accrue interest over time cToken มีการสะสมมูลค่าอัตราดอกเบี้ยในการปล่อยกู้ทบต้นไปเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่เรามีการปล่อยกู้ไป ใน Compound Finance 4.Useful Collateral การที่เรามี cToken แสดงว่าเรามีสินทรัพยไปค้ำประกันใน Compound Finance ก็ทำให้เราสามารถทำการกู้ยืมเงินออกมาจาก Compound Finance ได้   แล้ว cToken มีการเก็บอัตราดอกเบี้ย ใน Compound Finance อย่างไรบ้างนั้น อธิบายจากกรณีตัวอย่างดังนี้ คือ  User คนหนึ่งนำ Dai จำนวน 1,000 Dai ไปปล่อยกู้ใน Compound Finance โดยตัว exchange rate ระหว่างตัว DAI กับ cDAI เท่ากับ​ 0.020070 USER รายนี้จะได้รับตัว cDAI = 49,825.61 cDAI เป็นผลตอบแทนที่นำตัว DAI เข้ามาในระบบ 1,000 มาปล่อยกู้ใน Compound Finance หลังจากนั้น ทาง USER ก็นำเอาตัว cDAI ที่เขามีทั้งหมด ไปไถ่ถอนตัว DAI กลับคืนมา พอเวลาผ่านไป ซึ่งตัว exchange rate ของตัว DAI กับ cDAI ก็เปลี่ยนแปลงไป โดยตัว cDAI  ก็จะสามารถแลกตัว DAI ได้มากขึ้น จะเพิ่มขึ้นเป็น 0.021591 โดยเมื่อคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน จะทำให้ USER รายนี้ได้รับตัว DAI กลับไปจำนวน 1,075.78 DAI   จะเห็นว่าตัว USER คนนี้ได้รับตัว DAI กลับคืนมา มากกว่าตัว DAI เริ่มต้นที่ใส่เข้าไปในระบบเพื่อปล่อยกู้ ตัวดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้ได้รับไป ซึ่งจำนวน 75.78 ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้ได้รับไป     แล้วการไถ่ถอนจำเป็นจะต้องไถ่ถอนทั้งก้อนหรือไม่ คำตอบไม่จำเป็น ตัวอย่างนี้ ถ้า USER ต้องการไถ่ถอนเท่ากับจำนวนที่ใส่ไป จำนวน 1,000 DAI วิธีการ คือ ต้องใส่จำนวน cDAI คืนเข้าไปในระบบจำนวน 46,351.59 cDAI เมื่อคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน จะทำให้ตัว USER จะได้ตัว DAI กลับคืนมาเท่ากับ 1,000 DAI ส่วนจำนวน 75.78 DAI ที่เหลือยก็จะอยู่ในระบบ แล้วมีการปล่อยกู้ให้ทาง USER ได้รับดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ   (สำหรับข้อมูลของอัตราดอกเบี้ย เราสามารถดูได้ในระบบ Compound Finance)   ประเด็นสุดท้าย Governance  ของ Compound Finance ปัจจุบันระบบ Compound Finance ยังมีการควบคุมแบบ Centralized ตัว Admin เป็นคนดูแลระบบ ถูกคัดเลือกมาจากคนที่พัฒนาตัวนี้อยู่ ยังไม่ได้ถูก กระจายอำนาจ Decentralized ปัจจุบัน โดยตัว Admin มีอำนาจในการเพิ่มตัว cToken หรือปรับตัววิธีการคำนวณตัวอัตราดอกเบี้ยได้ รวมถึงอัพเดทแหล่งข้อมูลของราคาที่จะนำมาใช้คำนวณ มูลค่าของสินทรัพย์แต่ละชนิด ใน Compound Finance  และมีอำนาจในการควบคุมเงินทุนสำรองด้วย   แต่อย่างไรก็ตาม โรดแมปของ Compound Finance มีแผนการเปลี่ยนวิธีการควบคุมจาก Centralized มา Decentralized โดยออก Token ที่มีสิทธิ์การออกเสียงในการเลือก Admin ขึ้นมาบริหารจัดการ Compound Finance โดย Token จะมีลักษณะที่เรียกว่า Decentralized Autonomus Organization หรือ DAO   ทั้งหมดก็เป็นเรื่องรายของแพลตฟอร์ม Compound Finance ซึ่งถือว่ามีความใกล้เคียงกับระบบการกู้ยืมเงินในธนาคาร ที่เราคุ้นเคยกันอย่างดี เพียงแต่แพลตฟอร์ม Compound Finance เป็นการรอบรับการกู้ยืมเงินในโลกการเงินดิจิทัล ที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพราะโลกปัจจุบันเป็นยุคดิจิทัลไปแล้ว   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล รู้จักกับ STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย รู้จัก Yield Farming เพื่อการลงทุนคริปโทให้กำไรงอกเงย Liquidity Pool คืออะไร สำคัญแค่ไหนในวงการ Cryptocurrency รู้จักกับ LUKSO เทคโนโลยี Blockchain เพื่อไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล Impermanent Loss คืออะไร เข้าใจเรื่องเสี่ยงขาดทุนในการฟาร์ม  
Liquidity Pool คืออะไร สำคัญแค่ไหนในวงการ Cryptocurrency [VDO]

Liquidity Pool คืออะไร สำคัญแค่ไหนในวงการ Cryptocurrency [VDO]

Liquidity Pool คืออะไร  Liquidity Pool คืออะไร? ดีอย่างไร? และมีส่วนช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับการเงินดิจิทัลอย่างไร วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับ Liquidity Pool มาอธิบายให้ฟัง เพื่อคลายข้อสงสัยต่าง ๆ   ก่อนที่จะทำความเข้าใจ Liquidity Pool ว่าคืออะไร ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจตัว DEX ก่อน ซึ่ง DEX คือ Decentralized Exchange อย่างพวก Uniswap, Balancer, Curve ซึ่งทั้งหมดเป็นแพลตฟอร์ม ที่ให้คนเข้ามาใช้บริการได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนตัว Cryptocurrency การที่ตัวแพลตฟอร์มเหล่านี้จะมีตัว Cryptocurrency ให้คนมาใช้งานหรือซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ ก็ต้องมีคนที่เอาตัว Cryptocurrency ต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่านี้เข้ามาใช้ใน Pool เช่น ETH, DAI, USDC, Link หรือ Token อะไรก็ตาม ในแพลตฟอร์มนั้น ๆ เพื่อแพลตฟอร์มแต่ละแพลตฟอร์มจะได้มีตัวเหรียญเอามาให้คนซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้  การซื้อขายแลกเปลี่ยน Token จะเกิดขึ้นได้ จะต้องเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยน Token ใน Pool       Liquidity Pool คืออะไร จำเป็นแค่ไหนในการแลกเปลี่ยน หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้อง Pool ด้วย ทำไมไม่ใช้กระดานซื้อขายแลกเปลี่ยน ตั้ง Bid Offer ที่เราทำการซื้อขายและเปลี่ยนตัว Cryptocurrency บน web exchange ต่าง ๆ   ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การซื้อขายแลกเปลี่ยนบนกระดาน exchange ฝั่ง Bid ต้องมีทาง Buyer หรือผู้ซื้อ ทำการ Bid ทำราคาเสนอซื้อเข้ามา ในขณะที่ฝั่งคนขาย ก็ต้องตั้งราคาขาย Offer มา ซึ่งบางกรณี ฝั่ง Bid อาจจะยินดีซื้อแค่ราคา 100 แต่ฝั่งขายยินดีที่จะขายในราคา 120 ก็จะสังเกตเห็นว่าจะมีส่วนต่างของราคาเสนอซื้อกับเสนอขายค่อนข้างห่างกันเกินไป ซึ่งโดยปกติจะมี Market Maker หรือที่เรียกว่า MM เข้ามาช่วยทำให้เกิดสภาพคล่องในการซื้อขาย โดยตัว Market Maker จะเข้ามาตั้งราคาเสนอซื้อกับเสนอขายให้มีส่วนต่างน้อยลง ทาง Market Maker ก็อาจจะตั้ง Bid มาหลาย ๆ ราคา อาจจะตั้ง 105, 109, 109.50 ในขณะที่ฝั่ง Offer จะมี Market Maker ก็จะมีการตั้งราคาขายให้ต่ำลงมา อาจจะมีการตั้งราคา 115, 113, 112   เราจะสังเกตเห็นว่า การซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ไม่ได้ใช้ Pool แต่เป็นการใส่คำสั่ง Bid Offer บนกระดานแลกเปลี่ยน ก็จะมีการใส่คำสั่งตัว Bid Offer จำนวนมหาศาล แล้วก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งจำนวนมาก จะเป็นข้อจำกัดของการซื้อขายแลกเปลี่ยนบน Decentralized Exchange เพราะการส่งคำสั่งบน Decentralized Exchange ในแต่ละครั้ง จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ด้วยทุกคำสั่ง ที่ใส่ไปใน Smart Contract ของตัว Blockchain นี้ จะมีการเก็บค่าธรรมเนียม ถึงแม้ว่าตัวคำสั่งนี้จะไม่เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนก็ตาม พอเป็นแบบนี้ ก็ทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนบนกระดานที่เราคุ้นเคยกัน ก็จะไม่เหมาะสมกับการที่เราจะเอาไปใช้บน Decentralized Exchange เพราะถ้าเป็นแบบนั้น ตัว Market Maker จะเจ๊งกนไปหมด เพราะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจำนวนมหาศาล   หลักการทำงานของ Liquidity Pool จากตัวอย่าง Pool ของ Uniswap มี Pool หนึ่งที่จะเป็นคู่เหรียญของ ETH กับ DAI ในส่วนของ Pool ตัวนี้จะต้องมีคนเอตัว ETH กับ DAI เข้ามาใส่ใน Pool นี้ เพื่อที่จะทำให้ตัว Uniswap ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนตัว ETH กับ DAI ได้ จากตัวอย่าง คือ   นาย A ต้องใส่ตัว ETH กับ DAI ข้ามา แล้วนาย A จะได้รับผลตอบแทนเป็น Liquidity Pool Token ซึ่งตัว Liquidity Pool Token จะคอยสะสมค่าธรรมเนียมที่นาย A ได้รับ ถ้ามีคนซื้อขายตัว ETH กับ DAI บนแพลตฟอร์มของ Uniswap ปัจจุบันตัวแพลตฟอร์มของ Uniswap จะทำการเก็บค่าธรรมเนียม 0.3% เวลามีคนทำการซื้อขาย Token บนแพลตฟอร์มของ Uniswap ตัว Uniswap ก็จะมีระบบ Market Making ของตัวเองที่เป็นระบบแบบ Automatic ที่มีชื่อว่า AMM ที่ย่อมาจาก Automated Market Making ซึ่งระบบ AMM ของ Uniswap ก็จะทำงานด้วยสมการ การคำนวณ ดังนี้               ETHQ x DAIQ = K   จำนวนของ  ETH เมื่อคูณกับจำนวนของ DAI แล้ว ก็จะมีค่าเท่ากับ ค่า K หรือ ค่าคงที่ค่าหนึ่ง ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ตัวราคา Token ที่มีการซื้อขายบนแพลตฟอร์มนี้ จะมีการปรับราคาตาม Demand Supply ที่มีการส่งคำสั่งเข้ามาในระบบ ซึ่งจะทำให้ตัว Uniswap จะมีสภาพคล่องอยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้ตัว Uniswap เป็นตัว Market Maker แบบ Automatic ได้โดยไม่ต้องมีการส่งคำสั่งไปยัง Smart Contract หลาย ๆ รอบ แต่สมการการคำนวณนี้ ก็จะเป็นเฉพาะของ Uniswap   อย่างตัว Balancer Pool ที่สามารถทำการคูณจำนวน Token หลาย ๆ Token เข้าไปใน Pool เดียวกันได้ ก็จะใช้สมการหนึ่ง ตามตัวอย่างนี้              (X x Y x Z)1/3 = K ให้สอดคล้อง Demand Supply ในการปรับราคาและปรับจำนวน Token ใน Pool ให้ตอบสนอง Demand Supply ที่เกิดขึ้น   ถ้านาย A ต้องการถอนตัว ETH DAI ที่ใส่เข้ามาใน Pool วิธีการ คือ นาย A จะต้องทำการโอนตัว Liquidity Pool กลับเข้าไปที่ Pool หลังจากมีคำสั่งส่งกลับไปก็จะถูก Burn ทิ้ง แล้วนาย A จะได้รับตัว ETH กับตัว DAI บวกด้วยค่าธรรมเนียม 0.3% ที่นาย A จะได้รับตามสัดส่วน ที่เขาใส่เข้ามาใน Pool   แต่อย่างไรก็ตาม นาย A อาจจะเกิดผลขาดทุนจาก Permanent Loss หรือผลขาดทุนจาก Impermanent Loss (รายละเอียดจะนำเสนอในบทความต่อไป)   รู้จักความเสี่ยงของ Liquidity Pool ความเสี่ยงของ Liquidity Pool มีด้วยกัน 5 เรื่องดังนี้   1. การเกิด Bug เพราะตัว Liquidity Pool ที่เราเห็นว่ามีหลาย Liquidity Pool ก็เป็นไปได้ว่าจะมี Bug เกิดขึ้น หรือการเขียน code ที่ไม่ถูกต้อง หรือ มีช่วงโหว่ ทำให้ตัว Smart Contract ทำงานผิดพลาด จากที่คิดไว้   2. การโจรกรรมโดย Hacker ตัว Pool ที่มีตัว Cryptocurrency กองอยู่ด้วยกัน ก็จะตกเป็นเป้าหมายของพวก Hacker ในการทำการ Hack เอาตัวเหรียญออกไป   3. Admin Keys ตอนนี้โปรเจ็กต์หลายโปรเจ็กต์ ที่เป็น Smart Contract ฝั่ง Developer ก็จะมีการสร้างตัว Admin keys ไว้ซึ่งตัว Admin keys นี้คนที่เป็นเจ้าของ Admin keys นี้สามารถเข้ามาแก้ไขดัดแปลง ตัว Smart contract ได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ การมีอยู่ของ Admin keys ก็มีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง คือ Developer คนที่เป็นเจ้าของ Admin keys เกิดทำ Keys หลุดไปข้างนอกแล้ว มีพวก Hacker หรือผู้ไม่ประสงค์ดีมาเห็น ก็จะเอาตัว Keys มาแก้ไขตัว Smart contract ได้เหมือนกัน   4. Impermanent Loss คือ การขาดทุน ที่อาจจะเกิดขึ้นกับ Cryptocurrency  ซึ่งมีสาเหตุจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์ดิจิทัลในตลาดโลก   5. Systemic risk เป็นความเสียงที่เกิดจากตัวระบบทำงานผิดพลาดทั้งระบบ   ทั้งหมดนี้ คือ เรื่องราวของ Liquidity Pool ที่นักลงทุนหรือผู้สนใจเกี่ยวกับ Cryptocurrency ควรทำการศึกษาและเข้าใจ เพื่อประโยชน์ในการลงทุน และเป็นการลดความเสี่ยงจากการขาดทุนได้อีกด้วย   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล รู้จักกับ STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย รู้จัก Yield Farming เพื่อการลงทุนคริปโทให้กำไรงอกเงย  
9 ข้อห้ามทำ ขัดโชคลาภวันตรุษจีน

9 ข้อห้ามทำ ขัดโชคลาภวันตรุษจีน

9 ข้อห้ามทำ ขัดโชคลาภวันตรุษจีน  เทศกาลตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่ของจีน เรียกกันว่า “วันลีชุน” ซึ่งหมายถึงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ โดยจะมีธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ แบ่งเป็นวันดังนี้   วันจ่าย  เป็นวันก่อนวันสิ้นปี ที่ผู้คนจะออกมาจับจ่ายซื้ออาหาร ผลไม้ และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ วันไหว้  จะเป็นวันสิ้นปี ในวันนี้จะมีพิธีไหว้เทพเจ้าต่างๆ รวมถึงไหว้บรรพบุรุษ และการรวมญาติพี่น้องเพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน วันเที่ยว  หรือวันตรุษจีน ถือเป็นวันที่เป็นสิริมงคล ในการเริ่มต้นปีใหม่ ดังนั้นในวันนี้จะเป็นวันที่จะต้องออกเดินทางไปไหว้ขอพรผู้ใหญ่ หรือไปท่องเที่ยว   ตามความเชื่อที่ว่า วันตรุษจีน หรือวันชิวอิก  เป็นวันสิริมงคล สำหรับการเริ่มต้นปีใหม่ ดังนั้นชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนจะมีความเชื่อในเรื่องโชคลาง  เราจึงได้ยินข้อห้ามต่างๆ ที่ไม่ควรทำในวันตรุษจีน เพื่อจะได้ไม่เป็นการขัดโชคลาภ ในวันนี้เราควรจะทำแต่เริ่องดีงาม งดทำบาปทั้งปวง ให้สมกับเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่ดี   เราไปดูกันว่า มีเรื่องอะไรบ้างที่เราไม่ควรทำในวันตรุษจีน   9 ข้อห้ามทำ ขัดโชคลาภวันตรุษจีน ห้ามกวาดบ้าน หรือทำความสะอาดบ้าน มีความเชื่อว่าการทำความสะอาดบ้านในวันนี้ จะเป็นการกวาดเอาโชคลาภ เงินทองออกไปจากบ้าน ห้ามสระผม หรือตัดผม เพราะเป็นเหมือนการตัดความมั่นคงออกไป เพราะคำว่าผมในภาษาจีน พ้องเสียงกับคำว่า มั่งคั่ง นั่นเอง ห้ามพูดคำหยาบ และห้ามทะเลาะเบาะแว้ง มีความเชื่อว่า การพูดในสิ่งไม่ดีจะนำความโชคร้ายมาให้ จึงให้พูดแต่คำมงคล และพูดถึงสิ่งดีๆ ไว้ ห้ามร้องไห้ มีความเชื่อว่า หากร้องไห้ในวันตรุษจีน เราจะพบเจอแต่เรื่องไม่ดี และเสียใจไปตลอดทั้งปี ดังนั้น ในวันนี้แม้แต่เด็กๆ จะดื้อและซน ก็มักจะไม่โดนดุให้ร้องไห้ ห้ามทำของแตก หากทำของแตกในวันนี้เชื่อว่าลางร้ายจะมาเยือน อาจจะมีคนในบ้านเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเกิดการแตกแยก ห้ามใช้ของมีคม ไม่ว่าจะเป็นกรรไกร มีด กรรไกรตัดเล็บ หรือของมีคมอื่นๆ เพราะเชื่อว่าจะตัดโชคลาภออกไป ห้ามใส่ชุดขาว-ดำ เพราะชุดสีขาว-ดำ หมายถึงลางร้าย ดังนั้นในวันตรุษจีนจึงนิยมสวมใส่เสื้อผ้าสีแดง หรือสีสันสดใส รวมถึงการสวมชุดใหม่ด้วย ห้ามเข้าห้องนอนคนอื่น มีความเชื่อกันว่า หากเข้าห้องนอนของคนอื่นในวันนี้จะเกิดความโชคร้าย ห้ามยืมเงินคนอื่น ไม่ว่าจะให้ใครยืมเงิน หรือเป็นคนขอยืม รวมถึงห้ามพูดว่าไม่มีเงินในวันนี้ด้วย เพราะเชื่อว่าจะต้องเป็นหนี้ตลอด หรือมีคนมาขอยืมตลอดนั่นเอง   นอกจากข้อห้ามต่างๆ ที่ไม่ควรทำในวันตรุษจีนแล้ว การปฏิบัติแต่สิ่งดีๆ และกระทำเรื่องมงคล ก็เรื่องสิ่งที่นิยมทำกันในวันตรุษจีนด้วย เช่น การงดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์ เพื่อความเป็นสิริมงคล การทำบุญ ไหว้พระขอพร เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่ดี ให้มีแต่โชคดีเข้ามาตลอดทั้งปีด้วย   บทความที่เกี่ยวข้อง เปิดความหมาย 9 ของขวัญวันตรุษจีนมงคล ตรุษจีนนี้ ทำความสะอาดบ้านต้อนรับความเฮง ผลไม้ต้องห้าม ไม่ควรไหว้ตรุษจีน  
รู้จัก Yield Farming เพื่อการลงทุนคริปโทให้กำไรงอกเงย [VDO]

รู้จัก Yield Farming เพื่อการลงทุนคริปโทให้กำไรงอกเงย [VDO]

Yield Farming เพื่อการลงทุนคริปโท เชื่อว่าผู้ที่สนใจในการลงทุนเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency สิ่งหนึ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญ คือ การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนหรือทำกำไรสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ไม่มีใครอยากลงทุนแล้วต้องขาดทุนแน่นอน ซึ่งการลงทุนในเงินดิจิทัลเพื่อให้ได้กำไร สิ่งสำคัญ คือ นักลงทุนคงต้องมีความรู้และความเข้าใจในการลงทุน และเครื่องมือที่จะมาช่วยสร้างผลตอบแทน ซึ่งวันนี้เราจะมานำเสนอ เครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยทำให้นักลงทุน สามารถสร้างผลตอบแทนสูงสุด หรือทำกำไรจากการลงทุนให้เพิ่มมากขึ้นได้ นั่นคือ Yield Farming Yield Farming  คือ ​แพลตฟอร์มการลงทุน ที่จะเข้ามาช่วยนักลงทุนที่มี เงินทุน หรือ Capital ในรูปแบบ Cryptocurrency เช่น ETH, Dai, LINK โดยตัวแพลตฟอร์ม Yield Farming จะเข้ามาช่วยนักลงทุนในการใช้สินทรัพย์ที่เขามีอยู่ คือ Cryptocurrency ในการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงที่สุด โดยตัว Yield Farming จะเอาตัวเงินลงทุนไปลงทุนในแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Compound, Aave, Uniswap, Balancer หรือตัวแพลตฟอร์ม DiFi อื่น ๆ เพื่อแสวงหาผลตอบแทนสูงสุดให้กับเจ้าของเงินลงทุน ส่วนวิธีการลงทุนก็มีไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มนั้น ๆ ว่ามีรูปแบบการลงทุนอะไรบ้าง สำหรับวิธีการลงทุน มีทั้ง Liquidity Mining, Lending, การให้กู้ยืมหรือการให้กู้ รวมถึงการ Staking ตัว Token ที่ได้มาด้วย โดยตอนนี้ก็มีตัว Yield Farming หลายรูปแบบที่ให้เราได้ไปลองลงทุนกันดู ซึ่งผลตอบแทนและความเสี่ยง ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การลงทุนของแต่ละ Liquidity Pool     ใช้ Yield Farming เพื่อลงทุนให้ได้กำไรสูงสุด เพื่อความเข้าใจการลงทุนโดยใช้ Yield Farming จะขอนำเสนอผ่านตัวอย่างรูปแบบการลงทุน ดังนี้ ตัวอย่างแรก เป็นตัวอย่างง่าย ๆ สำหรับการลงทุน คือ สมมติให้มีตัว yDai pool ซึ่งทำหน้าที่ในการนำตัว Dai ที่นาย A ทำการฝากเข้าไว้ในพลูนี้ แล้วตัว Dai ไปปล่อยกู้ในแพลตฟอร์ม ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุด จากตัวอย่าง สมมติ มีแพลตฟอร์ม Compound กับ Aave ตัว Compound มีการให้อัตราดอกเบี้ย สำหรับผู้ที่มาปล่อยกู้ในแฟลตฟอร์มที่ 4% ต่อปี ขณะที่ Aave ให้อัตราดอกเบี้ย 3.5% ตอนแรก Compound จะให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า Aave เพราะฉะนั้น ตัว yDai จะนำตัว Dai มาปล่อยกู้ในแพลตฟอร์ม Compound ก่อน เพราะ ตอนแรก Compound ให้อัตราดอกเบี้ยเยอะกว่า สมมติว่า อัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นในวันที่ 1   ถัดมาวันที่ 2 อัตราดอกเบี้ยใน Compound ลดเหลือแค่ 3.2% ในขณะที่ Aave อัตราดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 5.1% จะเห็นว่าวันที่ 2 นี้ ตัวอัตราดอกเบี้ยบนแพลตฟอร์ม Aave สูงกว่า Compound พอเป็นแบบนี้ ตัว yDai จะทำการโยก Dai ที่ปล่อยกู้ในแพลตฟอร์ม Compound กลับคืนมา แล้วเอาตัว DAI ไปปล่อยกู้ในแพลตฟอร์ม​ Aave จะทำให้วันที่ 2 ตัว DAI จะถูกโยกไปที่ตัว Aave   สมมติวันที่ 3 อัตราดอกเบี้ยบนแพลตฟอร์ม Compound เท่ากับ 4% เท่ากับอัตราดอกเบี้ยบน แพลตฟอร์ม Aave พอเป็นแบบนี้ ตัว yDai จะไม่ทำการเคลื่อนย้ายเงินทุน จะยังคงปล่อยกู้ในแพลตฟอร์ม Aave ต่อไป   กรณีที่นาย A ต้องการถอนตัว Dai พร้อมอัตราดอกบี้ยคืนมา ก็จะสามารถทำได้โดยทันทีเหมือนกัน โดยตัว yDai ก็จะทำการถอนตัว Dai ที่ฝากบนแพลตฟอร์ม Aave คืนมา พร้อมนำตัว DAI และดอกเบี้ยที่ได้รับให้นาย A คืนไป   ตัวอย่างนี้ ถือเป็นตัวอย่างแรกแบบง่าย ๆ ที่ตัว yDai หรือตัวพลูจะคอยตรวจสอบ และเช็คอยู่เสมอว่า แพลตฟอร์มไหนที่มีการให้อัตราดอกเบี้ยสูงที่สุด ก็จะทำการโยกตัวเงินลงทุนไปลงทุนกับแพลตฟอร์มนั้น   Yield Farming อีกทางเลือกของการลงทุนและทำกำไร​ สำหรับตัวอย่างที่ 2 จะแสดงให้เห็นวิธีการลงทุนที่ซับซ้อนขึ้นกว่าตัวอย่างแรก ดังนี้   กรณีที่นาย A แล้วมีตัว yETH Vault ซึ่ง yETH Vault ตัว Yield Farming ที่จะทำการลงทุนตามวิธีการตัวโปรแกรมกำหนดไว้ โดยวิธีการลงทุนของ yETH Vault จะมีการใช้งานตัว แพลตฟอร์ม Maker Dao และตัว yDai Vault   โดยลักษณะการทำงาน จะเริ่มต้นที่นาย A ทำการฝากตัว ETH เข้ามาที่ตัว yETH Vault ตัว yETH Vault ก็จะทำการนำตัว ETH​ ไปค้ำประกันเงินกู้กับแพลตฟอร์ม Maker Dao แล้วทำการกู้ยืม Dai ออกมา โดยตัว yETH Vault จะมีการบริหารความเสี่ยงโดยกำหนดสัดส่วนของ ETH ต่อ Dai เท่ากับ 200% หรือตัวมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน มีอัตราส่วนเป็นสัดส่วน 2 เท่าของตัว DAI ที่กู้ยืมมา   หลังจากตัว yETH Vault ได้ตัว DAI แล้วมา ก็จะเอา Dai ไปทำการ Farm ในแพลตฟอร์ม yDai Vault โดยตัว yDai Vault ก็จะนำตัว yDai ที่ได้รับมาไปทำการเสริมสภาพคล่อง ในแพลตฟอร์ม Curve Finance โดยตัวแพลตฟอร์ม Curve Finance จะมีการตอบแทนคนที่นำตัว DAI  มาเสริมสภาพคล่องให้กับตัวระบบ โดยการตอลแทนในรูปแบบ Trading Free หรือ ค่าธรรมเนียมในการเทรด แล้วถัดมาจะมีการตอบแทนในรูปแบบ Y CRV Token ทำให้ตัว yDai จะได้รับตัว CRV Token ในการทำ Steaking เพื่อทำการ Farm CRV   โดยหลังตัวแพลตฟอร์มนี้ได้ทำการสะสมค่าธรรมเนียมและทำการ Farm CRV Token จะทำการนำตัวค่าธรรมเนียม หรือ CRV Token ไปทำการ Swap หรือ แลกเปลี่ยนเป็น ETH โดยจะขอเรียก ETH ส่วนนี้ว่า ETH return และทำการนำตัว ETH return ที่ได้ ไปใส่ในตัวแพลตฟอร์ม Maker Dao เพื่อเพิ่มมูลค่าในตัว ETH ในการไว้ใช้ค้ำประกัน จะสังเกตเห็นว่า ETH ในตัวแพลตฟอร์ม Maker Dao จะมีการสะสมเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ถ้านาย A ยังไม่ทำการถอนตัวเงินทุนออกมา ตัวแพลตฟอร์มนี้จะทำการกู้ Dai เพิ่มขึ้น บน Process เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จะทำให้ได้ตัว ETH เพิ่มมาขึ้นเรื่อย ๆ ถ้านาย A อยากจะถอนตัว ETH หรือตัวเงินทุนออกมา ก็จะทำได้เช่นกัน   ถ้านาย A อยากจะถอนเงินทุนออก นาย A จะได้รับทั้งตัว ETH ที่ใส่เข้าไปพร้อมตัว ETH Return ที่ได้รับมา ขอเรียกตัว ETH นี้ว่า ETH all ซึ่งตัว ETH all จะถูกโอนออกมาจากตัวแพลตฟอร์ม Maker Dao มาที่  yETH Vault แล้วตัว yETH Vault จะทำการจ่าย ETH all ให้กับ นาย A โดยจะมีการหักค่าธรรมเนียมบางส่วนไว้ เป็นค่าบริการแพลตฟอร์ม   จะเห็นว่าตัว Yield Framing จะมีรูปแบบการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งแบบง่าย ๆ ในตัวอย่างแรก หรือแบบที่ซับซ้อนขึ้นมาในตัวอย่างที่ 2 อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูล และรายละเอียดต่าง ๆ ของการลงทุนทุกรูปแบบให้ดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน และทำให้โอกาสทำกำไรในการลงทุนมีมากขึ้นนั่นเอง   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล รู้จักกับ STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย  
10 พืชโปรตีนสูง ไม่ง้อเนื้อสัตว์

10 พืชโปรตีนสูง ไม่ง้อเนื้อสัตว์

10 พืชโปรตีนสูง ไม่ต้องง้อเนื้อสัตว์ ถ้าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ปรับราคาสูงขึ้น บางทีการหาโปรตีนทางเลือกอื่นๆ เช่น โปรตีนจากพืช และจากผักชนิดต่างๆ ก็ดูจะเป็นทางออกที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะเทรนด์การรับประทาน Plant Base การเป็นรับประทานมังสวิรัติ หรือการรับประทานแบบ Vegan  ก็กำลังได้รับความนิยมไม่น้อยเลย ซึ่งแต่ละรูปแบบการทางอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ ก็มีความเข้มงวดในการเลือกวัตถุดิบที่ต่างกัน แต่ที่แน่ๆ ร่างการคนเราควรได้รับสารอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ซึ่งโปรตีนก็เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการเจริญเติบโตของร่างกาย การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การสร้างและรักษามวลกล้ามเนื้อ การช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดด้วย รวมถึงการผลิตฮอร์โมนและเอมไซม์ชนิดต่างๆ เพื่อให้ระบบร่างกายทำงานได้ปกติ   รู้หรือไม่? ร่างการต้องการโปรตีนปริมาณแค่ไหนในแต่ละวัน โปรตีน เป็นสารอาหารที่จำเป็น แต่รู้หรือไม่ว่าคนส่วนใหญ่มักจะขาดโปรตีน หรือได้รับโปรตีนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน   โดยทั่วไป บุคคลธรรมดา ควรได้รับโปรตีนประมาณ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ลองคำนวณง่ายๆ ก็คือ ถ้าน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ร่างกายเราจะต้องการโปรตีน 50 กรัมต่อวัน   แต่ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการก็จะแตกต่างกันไปในบางบุคคล เช่น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนฟอกไต จะต้องจำกัดโปรตีนในปริมาณ 0.6-0.8 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในขณะที่นักกีฬา หรือผู้ที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ หรือผู้ป่วยบางประเภท เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคตับ ฯลฯ จะมีความต้องการโปรตีน 1.2-2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม     โปรตีนจากพืช มีอะไรบ้าง? ถ้าเรามีเหตุผลที่ไม่สามารถรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ในขณะที่ร่างกายก็ไม่สามารถขาดโปรตีนได้เช่นกัน แล้วโปรตีนทางเลือกจากพืชมีอะไรบ้างที่มี โปรตีนสู๊งสูง   เมล็ดฟักทอง จัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่ดี ที่มีปริมาณโปรตีนสูงสุดๆ ในปริมาณ 100 กรัม มีโปรตีนถึง 30 กรัมกันไปเลย แล้วยังอุดมไปด้วย แมกนีเซียม แมงกานีส เหล็ก สังกะสี และทองแดง ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเรื่องการนอนหลับด้วย   ต้นอ่อนทานตะวัน  ในปริมาณ 100 กรัม ไม่น่าเชื่อว่าจะมีโปรตีนสูงถึง 23 กรัม สูงเทียบกับเนื้อสัตว์ในปริมาณเท่าๆ กันได้เลย ในต้นอ่อนทานตะวันมีแร่ธาตุมากมาย เด่นทั้ง วิตามิน A วิตามิน B1 B6 โอเมก้า 3 6 9 แคลเซียม โฟเลต และอื่นๆ อีกมากมาย   เต้าหู้ เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า ถั่วเหลือง เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี สำหรับผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่เมื่อนำมาแปรรูปเป็นเต้าหู้แล้ว ในเต้าหู้ 100 กรัม มีโปรตีนถึง 17 กรัม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำนมถั่วเหลืองที่ใช้ผลิตด้วย หรือจะเลือกดื่มเป็นน้ำเต้าหู้ก็ดีเช่นกันนะ เพราะเราจะได้ทั้งไขมันดี เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และวิตามิน   ข้าวโอ๊ต เป็นหนึ่งในสุดยอดอาหารไขมันต่ำ และเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่มักจะถูกแนะนำให้รับประทานในช่วงลดน้ำหนัก นอกจากจะให้พลังงานที่สูงแล้ว ข้าวโอ๊ตปริมาณ 100 กรัม ยังมีปริมาณโปรตีนที่สูง 15 กรัม แล้วยังมีใยอาหารที่สูงไม่แพ้กัน รวมถึงกรดอมิโน วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย   ถั่วงอก  ที่หลายคนไม่ชอบ และอาจมองข้าม แต่รู้หรือไม่ว่าถั่วงอก ในปริมาณ 100 กรัม มีโปรตีนมากถึง 13 กรัมเลยทีเดียว แถมยังอุดมไปด้วย แคลเซียม ธาตุเหล็ก และวิตามินต่างๆ   ถั่วแระญี่ปุ่น  หรือ อิดามาเมะ จัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนราคาย่อมเยา ซึ่งในปริมาณ 100 กรัม มีโปรตีนถึง 11 กรัม แล้วยังให้พลังงานและไขมันต่ำ มีวิตามิน A B C K รวมถึงแร่ธาตุอย่าง แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส โฟเลต และเบต้าแคโรทีน ในถั่วแระญี่ปุ่นมีใยอาหารสูงจึงช่วยลดอาการท้องผูกได้อีกด้วย   ถั่วลันเตา ผักยอดนิยมที่มีราคาไม่แพง และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่ดี ที่สำคัญในถั่วลันเตา 100 กรัม จะมีโปรตีน 8.6 กรัม เป็นอีกทางเลือกที่ดีของผู้ที่ไม่ต้องการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์   ผักโขม เป็นผักอีกชนิดที่มีโปรตีนสูง เข้ารอบมาเป็นอันดับต้นๆ ของผักใบเขียว เพราะในปริมาณ 100 กรัม ผักโขมมีโปรตีน 5.2 กรัม รวมถึงสารอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่ดีต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียมื วิตามินA B K   ตำลึง ในปริมาณ 100 กรัม มีโปรตีน 4.1 กรัม ผักพื้นบ้าน ผักริมรั้วที่เราคุ้นเคยกันดี มีวิตามินเอ และสารต้านอนุมูลอิสระสูงปรี๊ด ราคาก็ไม่แพงด้วย   เห็ดนางฟ้า มีสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอยู่มากมาย และเชื่อว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระและต้านทางการเกิดโรคมะเร็งได้ ในเห็ดนางฟ้าปริมาณ 100 กรัม มีโปรตีนสูง 3.4 กรัม ด้วยคุณสมบัติที่ย่อยง่ายกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์จึงเป็นผลดีต่อระบบทางเดินอาหาร และเหมาะกับการรับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนัก   บทความที่น่าสนใจ หมูแพงใช่ไหม?  กินอะไรแทน
รู้จักกับ STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย [VDO]

รู้จักกับ STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย [VDO]

STO อีกวิธีของการระดมเงินทุน ทั้งรวดเร็วและปลอดภัย ในการระดมทุน เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ หรือขยายกิจการ มักจะใช้เครื่องมือทางการเงิน เข้ามาเป็นตัวช่วย ซึ่งมีอยู่มากมายหลายวิธี อย่างเช่น การเพิ่มหุ้นสามัญ หรือการ IPO ในตลาดหลักทรัพย์ ก็เป็นหนึ่งวิธีการและถือเป็นเครื่องมือทางการเงินสำคัญ ที่นักธุรกิจหรือนักลงทุนใช้กัน ก่อนหน้านี้ เราได้เขียนบทความเรื่อง “ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO”​ อธิบายไว้ส่วนหนึ่งแล้ว สามารถอ่านทำความเข้าใจกันได้   แต่สำหรับปัจจุบันในโลกการเงิน โดยเฉพาะโลกการเงินดิจิทัล เครื่องมือทางการเงินได้ถูกพัฒนามากขึ้น ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกสบาย และมีความปลอดภัยสูงมากขึ้น ซึ่งวันนี้จะมาเล่าเรื่องการระดมทุนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า STO ซึ่งคืออะไร แล้วตัว STO มีความแตกต่างอย่างไรกับการระดมทุนด้วยวิธีการที่เราคุ้นเคยกันอย่างเช่น การระดมทุนผ่านหุ้นสามัญ หรือหุ้นกู้ที่เราคุ้นเคยกันอย่างไร หรือมีความแตกต่างจากการระดมทุนผ่านทาง ICO (Initial Coin Offering) ที่มีการระดมทุนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอย่างไรบ้าง     รูปแบบการระดมทุน STO ย่อมาจาก Security Token Offering ซึ่งจะประกอบด้วยตัวเครื่องมือที่ใช้ในการระดมทุน หรือ Instrument ที่มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ 1.ส่วนเครื่องมือที่เป็นหลักทรัพย์  หรือ Security 2.Non-Securites หรือว่า ตัวเครื่องมือที่ไม่ใช่หลักทรัพย์   โดยสิ่งที่จะมาแบ่งได้ว่า ตัว Instrument ใด เป็นหลักทรัพย์ แล้วตัวใดไม่ใช่หลักทรัพย์ โดยปกติแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น กลต. จะใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เข้ามาพิจารณา อย่างเช่น พ.ร.บ.หลักทรัพย์ หรือ Security Act รวมถึง กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย   นอกจากการแบ่งประเภทการระดมทุนด้วย เครื่องมือที่ใช้แล้ว ยังมีการแบ่งรูปแบบการลงทุนด้วยการใช้​เทคโนโลยีที่เราใช้ในการระดมทุนด้วย จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.การลงทุนแบบ Traditional ซึ่งก็คือ แบบที่เราคุ้นเคยกันมาในอดีต 2.การระดมทุนผ่านทางเทคโนโลยี Blockchain   จากหลักเกณฑ์การแบ่งวิธีการระดมทุนด้วยการแบ่งประเภทของ Instrument และประเภทของเทคโนโลยี และจะจัดประเภทได้ว่า การระดมทุนผ่านทางหุ้นสามัญ หุ้นกู้ รวมถึง พวกหน่วยลงทุนในกองทุน เช่น กอง REIT จะถูกจัดประเภทเป็นการระดมทุนด้วยหลักทรัพย์ ด้วยวิธีการแบบ Traditional   STO หรือ Security Token Offering คือ การระดมทุนผ่านหลักทรัพย์ ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ข้อแตกต่างระหว่าง STO กับ ICO สำหรับการระดมทุนด้วยวิธีการ Initial Coin Offering หรือ ICO ที่มีการระดมทุนกันอย่างแพร่หลายใน 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากโดยส่วนใหญ่แล้ว การระดมทุนด้วยด้วยวิธีการ ICO นักลงทุนจะได้ตัว Token ที่มีลักษณะเป็น Utility Token เป็นสิ่งตอบแทน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ตัว Token  ที่ออกมาจะมีลักษณะเป็น Utility จะไม่ได้มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ตามตัวบทกฎหมาย ทำให้การระดมทุนด้วยวิธีการ ICO จะเป็นการระดมทุนด้วยเทคโนโลยี Blockchain ผ่านทางเครื่องมือที่ไม่ใช่หลักทรัพย์   ส่วนการลงทุนด้วยรูปแบบ STO กับ ICO เป็นการระดทุนที่ใช้เทคโนโลยีBlockchain มาใช้ในการระดมทุนเหมือนกัน แต่สิ่งที่ STO แตกต่าง จาก ICO ก็คือ ตัว Token ที่ใช้ในการระดมทุน จะมีลักษณะเป็น Security (หลักทรัพย์) เมื่อตีความตัวบทกฎหมาย จึงเป็นข้อแตกต่างระหว่าง STO กับ ICO   สรุปได้ว่า ตัว Security Token Offering หรือ STO ก็คือ การระดมทุนผ่านหลักทรัพย์ ด้วยเทคโนโลยี Blockchain นั่นเอง และจะสังเกตเห็นว่าตัว STO จะแตกต่างจากการระดมทุนแบบTraditional ตรงการใช้เทคโนโลยี ซึ่งสาเหตุที่คนพยายามนำตัวเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการระดมทุนในส่วนของหลักทรัพย์ด้วยนะครับ เนื่องจากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่มีการระดมทุนด้วยวิธีการ ICO ผ่านทางเทคโนโลยี Blockchain และเริ่มมีการสังเกตเห็นว่า การระดมทุนด้วยเทคโนโลยี Blockchain นอจากจะมีความรวดเร็วแล้ว ก็สามารถระดมทุนได้อย่างหลากหลาย  สามารถช่วยลดต้นทุน ในการระดมทุนให้กับแก่ผู้ที่ต้องการเงินได้อย่างมาก ทำให้ตอนนี้เริ่มมีตัว STO ออกมาให้กับนักลงทุนในบางประเทศแล้ว โดยตัวโปรเจ็กต์ STO ที่ออกมา มีทั้งในรูปแบบที่เหมือนกับหุ้นสามัญ หรือหุ้นกู้ หรือแบบตัวผสมระหว่างหุ้นกับกับหุ้นสามัญ   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล  
Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล [VDO]

Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล [VDO]

Chainlink กับบทบาทและความสำคัญในโลกการเงินดิจิทัล Chainlink คือ Decentralized Oracle Network ซึ่ง Oracle คือ ตัวกลางที่จะส่งผ่านข้อมูลที่ถูกต้องไปยังอีกฝั่งหนึ่ง Chainlink จะทำหน้าที่เป็นตัว Oracle หรือตัวกลาง ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Off-chain จะหมายถึงเหตุการณ์ หรือตัวข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการขึ้นนอกระบบ Blockchain เช่น ผลการแข่งขันฟุตบอล หรือ ตัวอุณหภูมิที่จะมีการเกิดขึ้นอยู่นอกระบบ Blockchain และการบันทึกข้อมูล ส่วนแรก ก็มักจะอยู่นอก Blockchain ในขณะที่อีกด้าน คือ ฝั่ง On-chain ซึ่งก็คือ ตัวระบบ Blockchain รวมถึงฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ บนระบบ Blockchain เช่น ตัว Smart Contract ของ Ethereum ซึ่งตัว Chainlink จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลาง หรือ Oracle ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Off-chain กับ On-chain   OFF-CHAIN หมายถึงเหตุการณ์ หรือตัวข้อมูลต่างๆ ที่มีการขึ้นนอกระบบ Blockchain On-chain คือ ตัวระบบ Blockchain รวมถึงฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ บนระบบ Blockchain  Chainlink ตัวกลางเชื่อมโยงข้อมูล พอมาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัยว่า แล้วการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Off-chain กับ On-chain มันมีความสำคัญอย่างไร ทำไมตัว Chainlink จึงมีความสำคัญขึ้นมาได้ มาดูตัวอย่างนี้กัน   ฝั่ง On-chain เขียน Smart contract ขึ้นมา ซึ่งเป็น Smart contract ที่เอาไว้ทายผลฟุตบอล พรีเมียร์ลีก อังกฤษ หรือ EPL Champion โดย Smart contract จะทำงานโดยมีคน 3 คน คือ A, B และ C ทายผลมาใครจะเป็นแชมป์ พรีเมียร์ลีก โดยแต่ละคนใส่เงินมาเท่า ๆ กัน เข้ามาใน Smart contract นี้ ถ้าใครทายถูกก็จะได้เงินไป แต่ถ้าไม่มีใครทายถูกเลย ตัวเงินจะถูกคืนไปที่ 3 คนเท่า ๆ กัน ตามที่แต่ละคนใส่เงินเข้ามาตอนแรก   โดย A ทาย Liverpool จะได้แชมป์ B ทาย Mancity จะได้แชมป์ C ทาย Chelsea จะได้แชมป์ แล้วตัวกลไกลของ Smart contract จะ Ticker หรือทำงานเมื่อได้ข้อมูลว่า ใครเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกอังกฤษ ถ้าเราสังเกตว่า ข้อมูลนี้จะบอกว่าใครเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกอังกฤษ จะได้ไม่เกิดขึ้นบน Blockchain แต่เกิดขึ้นบนสนาม หรือตารางคะแนน ซึ่งเป็นข้อมูลอยู่นอก Blockchain ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง Liverpool ได้แชมป์ พรีเมียร์ลีกอังกฤษ แต่ตัว Smart contract จะยังไม่สามารถจ่ายเงินให้กับ A ที่ทายว่า Liverpool ได้แชมป์ได้ทันที จะต้องมีการส่งข้อมูลจาก Off-chain เข้าสู่ On-chain ก่อน ตัว Smart contract จึงจะทำงานได้     แล้วมาถึงคำถามที่ว่า แล้วตัว Smart contract จะไปเอาข้อมูลไหนดี ที่มีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ ถ้าตัว Smart contract ได้ข้อมูลผิด ๆ ก็จะทำงานผิดไปจากวัตถุประสงค์เดิม จากข้อมูลที่ Liverpool ได้แชมป์ แต่ถ้ามีคนขี้โกงใส่ข้อมูลมาว่า Chelsea เป็นแชมป์แทนที่เงินจะไปที่ C ซึ่งตรงนี้แหละ ตัว Chainlink จะเข้ามาทำหน้าหน้าที่เป็น Oracle การกรอกข้อมูลที่ถูกต้องไปให้ Smart contract บนระบบ Blockchain ทำงานได้ถูกต้อง   ลักษณะการทำงานของ Chainlink เริ่มต้นจากการดูฝั่ง On-chain ที่มีตัว Smart contract อยู่ด้วยกัน 3 ตัว คือ Oracle contract, Link contract และ User contract โดยตัว User contract เป็น Smart contract ที่เป็นผู้ต้องการใช้งาน Data หรือตัวข้อมูลจาก Off-chain มาทำงาน ขณะที่ตัว Oracle contract เป็นตัว Smart contract ที่มีทางกลุ่มผู้พัฒนาพัฒนาในการเรียกใช้ตัวข้อมูล จาก Off-chain มาใช้งานกับตัว User contract ของตัวเองได้   ในขณะที่ตัว Link contract หรือตัว Contract ของ Chainlink จะเป็นตัว Contract ที่คอยควบคุมการทำงานของตัว Oracle contract กับตัว User contract ให้ทำงานกับตัว Link token ได้   สำหรับฝั่ง Off-chain ก็จะมีตัว Node X คือ คนที่จะไปถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นในระบบ Off-chain มาให้กับทาง Oracle contract และมีตัว Pool data ของข้อมูล     ขั้นตอนการทำงานในภาพรวม 1.เริ่มต้นแรก ตัว User contract โดย User contract จะต้องทำการ Sent Request หรือทำการส่งคำสั่ง ขอข้อมูลกับทาง Oracle contract 2.ตัว Oracle contract รับตัว Request 3.หลังจากตัว Oracle contract ได้ตัว Request แล้ว ก็จะทำการ Sent job คล้าย ๆ กับการส่งใบงานไปยัง Node X หลังจาก Node X ได้รับใบงานแล้ว ก็จะทำการดึงข้อมูลมา 4.Node X จะทำการส่งข้อมูลไปยัง Oracle contract ตามตัว Job ที่ได้รับมา โดยขั้นตอนนี้จะเรียกว่า Full fill request 5.หลังจากตัว Oracle contract ได้ข้อมูลจาก Node X แล้วจะทำการส่งข้อมูลไปยังUser contract โดยขั้นตอนนี้ เรียกว่า Deliver result   Link token บทบาทและความสำคัญในระบบ Chainlink ที่เราได้เห็นไป คือ ขั้นตอนการทำงานในภาพรวม แต่เรายังไม่ได้พูดถึงตัว Link token ว่าตัว Link token เข้ามามีบทบาทอย่างไร ตอนไหน ให้สังเกตตอนที่ Sent request ไปหา Oracle contract ได้ ตัว User contract จะต้องทำการส่งตัว Link token ด้วย เพื่อจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมในการเรียกขอใช้ Data นี้     ขั้นตอนที่ 2 ตัว Oracle contract  จะทำการส่งตัว Link token ไปให้ตัว Node X เพื่อจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมในการดึงข้อมูลของ Node X นอกจากนี้ ตัว Node X จะเป็นบริการข้อมูล มายังตัว Oracle contract ได้ ตัว Node X ต้องทำการฝากตัว Link token ไว้ที่ตัว Oracle contract คล้าย ๆ กับเป็นหลักประกัน  หรือ Collateral เมื่อตัว Node X สามารถทำการส่งตัว Request ได้ หรือทำการส่งตัวข้อมูลได้หรือตัว Node X มีการส่งข้อมูลที่ผิด ๆ มายัง Oracle contract ซึ่ง Oracle contract ก็จะทำการยึดตัว Link token ที่ทาง Node X เอามาฝากไว้เป็นหลักประกัน นี่เป็นกลไกของ Chain Link ที่ป้องกันการที่ Node ซึ่งอยู่บน Off-chain ทำการจะทำการส่งข้อมูลที่ผิด ๆ มาอย่าง Smart contract บน Blockchain   นอกจากนี้ ตัวระบบ Chain Link มีความเป็น Decentralize เนื่องจากตัว User contract ไม่จำเป็นต้องติดต่อมาทาง Oracle contract หรือ Node X เพียง Node เดียว ตัว User contract จะทำการส่ง Request ไปยังหลาย Oracle ได้ นอกจากนี้ ตัว Oracle contract ก็ไม่จำเป็นต้องไปส่ง Job ให้กับทาง Node เพียง Node เดียว ตัว Oracle contract ทำการ Sent Job ไปยังหลาย Node ได้ ซึ่งวิธีการนี้ ก็จะตอบโจทย์การเป็น Decentralize หรือการไม่พึ่งพิงตัวกลางรายใดรายหนึ่ง   โดยวิธีการนี้ จะเป็นการคัดข้อมูลที่ถูกต้องจาก Off-chain มา Smart contract บน Blockchain ได้ แล้วตัว Link token จะมีมูลค่ามากขนาดไหน ก็จะขึ้นอยู่กับการใช้งานจริง และประเภทของการใช้งานจริง มีการเดิมพันความถูกต้องของข้อมูลมากขนาดไหน เช่น พวกการพนัน หรือการประกันภัย แน่นอน ความถูกต้องของข้อมูลจะมีมูลค่าสูงมาก     หมายเหตุ : ประวัติผู้ออก ChainLink -ในปี 2014 บริษัท SmartContract.com ได้ถูกก่อตั้งโดย Sergey Nazarov เป็นบริษัทที่เป็นตัวกลางให้ข้อมูลภายนอกแก่ Blockchain ซึ่งในขณะนั้น Oracle ยังดำเนินการในรูปแบบเครือข่าย Centralized อยู่ ต่อมาในปี 2017 ทางทีมได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นบริษัท Chainlink และพัฒนา Oracle Network ให้เป็น Decentalized โดย Oracle Network เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม Smart Contract เพื่อดึงข้อมูลจากภายนอกมายัง Blockchain และยังอนุญาตให้ทุกคนสามารถดึงข้อมูลเข้ามายัง Blockchain ได้อีกด้วย  นอกจากนั้นได้มีการระดมทุน ICO เป็นจำนวนเงิน 32 ล้านดอลลาร์สำหรับพัฒนาโปรเจคต์ (ที่มา-Zipmex)   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร  
DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร [VDO]

DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร [VDO]

DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร วันนี้เราจะมาพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า DeFi ว่าคืออะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอะไรให้เราได้บ้าง พร้อมกับจะพาไปดูว่าโปรเจ็กต์ DeFi ที่น่าสนใจ มีการพัฒนาขึ้นมาให้เราได้ทดลองใช้งานได้แล้วมีอะไรบ้าง   DeFi ย่อมาจาก Decentralized Finance หมายถึง การใช้บริการทางการเงินในรูปแบบใดก็ตาม ที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางเลย ตัว Finance Products ทั้งหลายที่เรารู้จัก เช่น การกู้ยืม การระดมทุน หรือว่าการลงทุน เราต้องอาศัยตัวหลางทั้งสิ้น ได้แก่ ธนาคาร​ กองทุน หรือบริษัทหลักทรัพย์ โดยแนวคิดการทำธุรกรรมต่าง ๆเหล่านี้ ที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางจึงเกิดขึ้น และเป็นที่มาของเทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract  โดยคุณสมบัติของ Blockchain และ Smart Contract  ได้มีการพัฒนา Finance Product ที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ที่พัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยเทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract  จึงถูกเรียกว่า DeFi นั่นเอง   Traditional Finance  หรือการให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม แตกต่างจาก DeFi คือ การมีตัวกลางนั่นเอง   DeFi กับแก้ปัญหาการเงินแบบเก่า แต่ถ้าเรามาลองคิดดูตัว Financial Product ทั้งหลาย เช่น การให้กู้ยืม การระดมทุนหรือการลงทุน ซึ่งมีมาเป็น 100 ปีแล้ว และที่เราใช้อยู่มันมีปัญหาอะไร  และตัว DeFi จะเข้ามาแก้ปัญหาอะไร ถ้าเราลองพิจารณาถึงประเด็นหลักที่ทำให้ตัว Traditional Finance  หรือการให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม แตกต่างจาก DeFi ก็คือ การมีตัวกลางนั่นเอง การต้องพึ่งพิงตัวกลางก็นำมาซึ่งประเด็นหลายประเด็น ดังนี้ 1.ความเชื่อมมั่นในการทำธุรกรรม (Need Trust) เนื่องจากการทำทุรกรรมต่าง ๆ ทางการเงิน ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่น โดยเราจะต้องเชื่อมั่นว่า การทำธุรกรรมของเราจะต้องไม่โดนโกง มีความถูกต้อง ซึ่งในความเป็นจริงอาจเกิดผิดพลาดขึ้นก็ได้ เช่น เงินฝากในธนาคารที่หายไป จนเกิดเป็นข่าวในช่วงที่ผ่านมา       2.การได้ทำธุรกรรมทางการเงินต้องได้รับอนุญาต (Need permission) การทำทุรกรรมการเงินใดใดก็ตาม จะต้องได้รับอนุญาตก่อน ซึ่งโดยปกติจะต้องมีการขอข้อมูลก่อน เพื่อไปทำการตรวจสอบก่อนที่จะทำการเปิดบัญชีกับทางธนาคารก่อน  ซึ่งตัวกลางมีอำนาจในการยับยั้งไม่ให้เราเปิดบัญชีใช้งานได้เช่นกัน   3.การกระจุกตัวของการบริหารความเสี่ยง (Central risk) จะเห็นว่าในระบบดั้งเดิมการบริหารจัดการความเสี่ยง จะกระจุกตัวอยู่ที่สถาบันการเงินไม่กี่แห่ง ซึ่งในอดีตเรามีความเชื่อว่าสถาบันการเงินเหล่านี้ มีจะมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว แต่จากข้อมูลในอดีตจะเห็นว่า  วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ก็จะลุกลามมาจากสถาบันการเงิน เพราะสถาบันการเงินเหล่านี้ถูกควบคุมโดยมนุษย์  ซึ่งมนุษย์ก็อาจจะก่อความผิดพลาดขึ้นมาได้เช่นกัน   ข้อดีของ DeFi 1.ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง (No middleman) ตัว DeFi ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการควบคุม   2.ไม่ต้องพึ่งพาความเชื่อมั่น (Trustless) จากการที่ DeFi ไม่มีตัวกลาง เพราะฉะนั้นการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เราไม่ต้องฝากชีวิตไว้กับความเชื่อมั่น เพราะการทำธุรกรรมต่าง ๆ จะเป็นไปเงื่อนไขงของระบบ Smart Contract และ Blockchain  ที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรกจะไม่มีใครมาเปลี่ยนแปลงได้   3.ให้อิสระผู้ใช้งาน (Permissionless) ตัว DeFi จะให้​อิสระกับผู้ใช้งานอย่างเต็มที่ ในการเข้ามาเปิดบัญชีใช้งาน และโอนเงินเข้าหรือโอนเงินออกได้อย่างอิสระ และไม่มีใครที่จะสามารถฟรีซเงินเราไม่ให้โอนเงินเข้าหรือโอนเงินออกไปหาใครได้   4.อำนาจการบริหารความเสี่ยงถูกกระจายออกไป (Diversify risk) ถัดมา คือ อำนาจการบริหารความเสี่ยงจะมีการกระจายตัวออกไป ทำให้ความเสี่ยงมีการกระจายตัวออกไป ไม่มีการกระจุกตัวอยู่ที่คนใดคนหนึ่ง   DeFi vs Bitcoin ต่างกันอย่างไร? หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่า Bitcoin ไม่ใช่ DeFi หรืออย่างไร ซึ่งก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า Bitcoin  นำมาซึ่งเทคโนโลยี Blockchain  และเทคโนโลยี Blockchain ก็มาซึ่งการส่งเงินรับเงิน การผลิตเงิน และการเก็บรักษาตัวเงิน แต่สิ่งที่บิทคอยน์ไม่ได้นำมาคือ การกู้ยืมเงิน การฝากเงินแล้วได้ดอกเบี้ย รวมถึงการระดมทุนสิ่งเหล่านี้ Bitcoin ไม่ได้นำมา   นอกจากนี้ หลายคนอาจจะยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ Smart Contract มีที่มาอย่างไร ซึ่งที่มาของ Smart Contract นั้นมาพร้อมกับ Ethereum ซึ่งมีจะเด่น 2 ข้อ   1.Blockchain ของ Ethereum สามารถสร้าง Token หรือ Cryptocurrency อื่น ๆ ขึ้นมาทำงานบน Blockchain ของ Ethereum ได้   2.ฟังชั่น Smart Contract คือ ตัวโปรเจก์เช็คต่าง ๆ พัฒนาขึ้นมาบน Ethereum  สามารถพัฒนา Smart Contract ออกมาในรูปแบบใดก็ได้ รวมถึงรูปแบบฟังก์ชันทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การฝากเงิน จึงเป็นที่มา ว่าทำไมจึงมีโปรเจ็กต์ DeFi  เกิดขึ้นมากมายบน Blockchain บน Ethereum   ทำความรู้จักโปรเจ็ค DeFi ที่น่าสนใจ 1.Dai Dai เป็นตัว Stable coin  ที่มีการกำหนดมูลค่าเท่ากับ 1 USD  ด้วยกลไก Smart Contract ของ Maker Dao ที่นำตัวสินทรัพย์มามาค้ำประกัน โดยสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน จะสามารถทำการตัวสอบได้โดยแพลตฟอร์มของ Maker Dao โดยเราสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ซึ่งแตกต่างจาก ​USD Ether ที่มีการอ้างว่ามีตัว USD ค้ำประกันอยู่ แต่จริง ๆ เราไม่สามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์ เหมือนแพลตฟอร์มตัว Maker Dao  ได้ ว่ามีสินทรัพย์ค้ำประกันอยู่เพียงพอจริง ๆ  ทำให้เห็นว่า Dai มีความเป็น Decentralized ที่ชัดเจน  ในขณะที่​ USD Ether มีลักษณะเป็น Centralized เหมือน Traditional Finance  แบบตั้งเดิมนั่นเอง   2.แพลตฟอร์มการให้กู้ยืม มีตัวที่น่าสนใจ คือ Maker Dao และ Compound  โดย Maker Dao แพลตฟอร์มการให้กู้ โดยสามารถนำสินทรัพย์ที่มีความผันผวนของราคา เช่น Ether  ไปค้ำประกันและขอเงินกู้มาเป็นตัว Dai ซึ่ง Maker จะทำตัวเหมือนธนาคารคนที่ถือของตัว token maker  จะสามารถร่วมกันออกนโยบาย ปรับเพิ่มลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และสามารถกำหนดได้ว่า สินทรัพย์ประเภทใดจะมาค้ำประกันได้ และมีการกำหนดตัวเพดานสินทรัพย์แต่ละประเภทจะสามารถปล่อยกู้ได้มากน้อยแค่ไหนตามมูลค่าสินทรัพย์ประเภทนั้น ในขณะที่ตัว Compound เหมือน Money Market  หรือคล้ายกับตลาดเงินกู้ระยะสั้นที่ จะเข้ามาปล่อยเงินกู้หรือของกู้ตัว Cryptocurrency  ในตลาดนี้ได้   3.DEX หรือ Decentralized Exchange Decentralized Exchange หรือ Dex เป็นโปรเจ็กต์การซื้อขาย Cryptocurrency โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ซึ่งการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มพวกนี้ จะดีกว่าการซื้อขายผ่าน Web Exchange เพราะตัว Web Exchange มีโอกาสที่จะถูก Hack ได้ง่ายกว่า และการซื้อขายผ่านWeb Exchange มักจะต้องการให้เราส่งข้อมูลเพื่อยืนยันตัวตนก่อน ในขณะที่การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์ม DEX  ไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องยืนยันตัวตนและอายุเท่าไหร่ก็ทำการซื้อขายได้ ตัวโปรเจ็กต์ที่น่าสนใจ คือ  Kyber Network  โดย Kyber Network จะมีคำสั่งในการซื้อขาย และการทำธุรกรรมจะเกิดขึ้นบน Blockchain ทั้งหมด   นอกจากนี้ ยังมี DeFi โปรเจ็กต์อีกมากมาย ที่เปิดให้บริการและรวมถึงอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองจะมีโปรเจ็กต์ใดบ้างที่จะมีคนใช้งานกันอย่างแพร่หลายและอนาคต หากมีข้อมูลที่น่าสนใจเราจะนำมาเล่าให้ฟัง   ทุกท่านสามารถติดตามบทความด้านการเงินดิจิทัล และบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้อย่างต่อเนื่องที่ www.reviewyourliving.com หรือผ่านช่องทาง Facebook Fanpage : Review Your Living รู้จริงเรื่องที่อยู่อาศัย   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO Bitcoin กับการฟอกเงินและอาชญากรรม  
ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO [VDO]

ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? – เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO [VDO]

ทำไมต้อง IPO ทำไปเพื่ออะไร? - เข้าใจการระดมทุนใน SET ด้วย IPO IPO คืออะไร? หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้าง โดยเฉพาะคนที่สนใจในด้านการลงทุน หรือด้านการเงิน ซึ่งตามความหมายแล้ว   IPO หรือ Initial Public Offering คือ การที่บริษัทหนึ่งเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้กับนักลงทุนหรือประชาชนโดยทั่วไป โดยเป็นไปตามกระบวนการและหลักเกณฑ์เงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) กำหนดไว้ โดยจะมีผลทำให้บริษัทที่เสนอขายหุ้นนั้นแปลงสภาพจากบริษัทเอกชน (บจ.) ปกติ กลายเป็นบริษัทมหาชน (บมจ.) ซึ่งถือว่า IPO เป็นกระบวนการหนึ่งในการระดมทุนให้กับบริษัท     การระดมทุนด้วยวิธีการ IPO แล้วการระดมทุนด้วยวิธีการ IPO คืออะไร? วันนี้จะขออธิบายด้วยการยกตัวอย่าง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ดังนี้   มี Founder คนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการก่อตั้งบริษัทเพียงคนเดียว โดยถือหุ้น 100% ซึ่งมีรายละเอียดการถือหุ้นดังนี้   Founder กำหนดให้มีจำนวนหุ้นทั้งหมด 1.5 ล้านหุ้น และมีราคาพาร์ (Par value) เท่ากับ 1 บาท ดังนั้น เงินลงทุนทั้งหมดที่ Founder คนนี้นำมาลงทุนในบริษัท จะเท่ากับ 1.5 ล้านบาท   ต่อมา บริษัทดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยดี Founder ก็เห็นโอกาสทางธุรกิจที่กำลังเข้ามา แต่ว่าโอกาสทางธุรกิจต้องการเงินลงทุนเพิ่มเติม แล้วทาง Founder ก็ไม่มีเงินลงทุนเพิ่มเติมเพียงพอ Founder ทาง Founder ก็คิดจะเพิ่มเงินลงทุนด้วยการ IPO   สำหรับการเพิ่มทุนด้วยการ IPO บริษัทจะออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวนหนึ่ง เพื่อมาเสนอขายให้กับ IPO Investors เพราะฉะนั้นแล้ว หลังจากการขายหุ้นเสร็จสิ้น ผู้ถือหุ้นของบริษัท จะประกอบไปด้วยตัว Founder ตัว IPO Investors จะเห็นว่า ตัว Founder ไม่ได้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียวอีกต่อไป   ลองมาดูตัวเลขการเพิ่มทุนครั้งนี้ จากข้อมูล IPO ครั้งนี้จะเห็นว่า จำนวนหุ้นเพิ่มทุนด้วยวิธีการ IPO จะมีจำนวนเท่ากับ 500,000 หุ้น ส่วนราคาพาร์​ เท่ากับ 1 บาท เหมือนเดิม เนื่องจากราคาพาร์ เป็นราคาหุ้นเมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจ ซึ่งแน่นอน IPO Investors เข้ามาลงทุนทีหลัง ก็จะเป็นการไม่เหมาะสม ถ้า IPO Investors ซื้อหุ้นได้ในราคาเท่ากับ Founder คือ ราคาพาร์ในตอนแรก เนื่องจากตัวบริษัทมีการดำเนินธุรกิจ และประสบความสำเร็จทางธุรกิจมาในระดับหนึ่ง ทำให้ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่ำลงกว่าตอนแรกที่ Founderก่อตั้งบริษัทขึ้นมาเพียงคนเดียว   เพราะฉะนั้น โดยปกติเวลา IPO ทาง IPO Investors จะต้องซื้อหุ้นในราคาที่แพงกว่าราคาพาร์ โดยจะมีการประเมินราคาโดย Investment Banker หรือวาณิชธนกิจ เข้ามาประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสม สำหรับการเพิ่มทุนด้วยวิธีการ IPO ซึ่งจากตัวอย่าง ราคา IPO จะอยู่ที่ 20 บาท ต่อหุ้น โดยเมื่อคำนวณออกมาแล้ว จะได้การระดมทุนโดยการ IPO ครั้งนี้ บริษัทจะได้เงินทุนมาทั้งหมด 10 ล้านบาท โดยคำนวณจากจำนวนหุ้นเพิ่มทุนที่ออกมา 500,000 หุ้น คูณกับราคา IPO หุ้นละ 20 บาท และถ้านำตัว IPO Price มาคูณ กับจำนวนหุ้นที่ Founder ถืออยู่จะเห็นว่าตอนนี้ Founder มีมูลค่าหุ้นครอบครองอยู่ 30 ล้านบาท และหลังจาก IPO เสร็จสิ้น Founder ก็จะเป็นเจ้าของอยู่ 75% ในขณะที่ IPO Investors รวมกันแล้ว จะเป็นเจ้าของบริษัทอยู่ 25%   ทำความรู้จักกลไกลตลาดทุนหลัง IPO กลไกลของตลาดทุน หลังจากบริษัท IPO ทาง Founder และ IPO Investors จะสามารถทำการซื้อหุ้นของบริษัทได้อย่างไร รวมถึงการที่ Investors รายใหม่จะเข้ามาถือหุ้นของบริษัทด้วย จากแผนภาพการระดมทุนด้วย IPO ตัวบริษัท จะออกหุ้นเพิ่มทุนอันใหม่นำไปขายต่อให้กับ IPO Investors ส่วน IPO Investors จะทำการชำระหุ้นด้วยการนำเงิน หรือตัว Funding มาใส่ในตัวบริษัท ซึ่งลักษณะการระดมทุนแบบนี้ จะเรียกว่า Primary Market หรือ IPO การที่บริษัทจะทำการ IPO ได้จะต้องมีทางกลต. เข้ามากำกับดูแล หลังการ IPO เสร็จสิ้น ตัวหุ้นทางบริษัท จะถูกนำมา Listed ที่ตลาดหลักทรัพย์ หรือเรียกว่านำมาจดทะเบียนนั่นเอง โดยหุ้นของบริษัทถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หมายความว่า ตอนนี้ Founderหรือ IPO Investors ก็สามารถเทรด นำหุ้นของบริษัทมาขายในตลาดนี้ หรือจะซื้อเพิ่มก็ได้ เช่นเดียวกับ Investors รายใหม่ ก็สามารถเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัท ผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน โดยลักษณะการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะเห็นว่า ตัวบริษัทจะไม่ได้เงินทุนเพิ่มเติม จะเป็นการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้น ระหว่างผู้ซื้อผู้ขายเท่านั้น ซึ่งลักษณะตลาดนี้จะเรียกว่า Secondary Market หรือว่าตลาดรองนั่นเอง   SET.OR.TH แหล่งเช็คข้อมูล IPO ถ้าเราอยากรู้ว่า ตอนนี้มีหุ้นของบริษัทอะไรบ้างที่กำลังจะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เราก็สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ www.set.or.th  จากหน้าเว็บก็จะมีการแบ่งประเภทหุ้นที่กำลังจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้ง SET, Mai, REIT หรือ Infrastructure Fund โดยจากข้อมูลจะมีการบอกอักษรย่อ ชื่อของบริษัท รวมถึงประเภทการทำธุรกิจ บริเวณด้านล่างเว็บไซต์จะมีการพูดถึงราคา IPO มีการระบุราคาพาร์ ไว้ด้วย   ถ้าเราอยากทราบข้อมูลเชิงลึกของบริษัท  เราสามารถเข้าไปดูได้ 2 ที่ ดังนี้ ส่วนที่ 1 ดูจากข้อมูล Filling ซึ่งจะมีแค่ภาษาไทยเท่านั้น ส่วนที่ 2 ดูได้จากเว็บไซต์ของทางบริษัท   ในส่วนของ Filling จะมีข้อมูล Filling Version แรก รวมถึง Filling อัพเดท ล่าสุด โดยที่ข้อมูลที่ระบุใน Filling จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์ในส่วนของธุรกิจ และผลประกอบการของบริษัท โดยสามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ ด้วยการคลิ๊กหัวข้อที่เราต้องการ ซึ่งจะมีรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ   และทั้งหมดนี้ ก็คือ เรื่องราวของ IPO ที่ถือว่าเป็นการระดมทุนให้กับบริษัทได้ช่องทางหนึ่ง ซึ่งหลายบริษัทนิยมใช้ เพราะสามารถนำเงินมาลงทุนขยายธุรกิจ และยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหุ้นของบริษัทได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!!  
Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! [VDO]

Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! [VDO]

Bitcoin Wallet คืออะไร? จะเสี่ยงแค่ไหน? ถ้าคอมพิวเตอร์โดยขโมย!! หลาย ๆ บทความก่อนหน้านี้ เรามีการพูดถึง Bitcoin กันในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น “ทำความรู้จักกับ Bitcoin ETFs” ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจ​ เรื่องของการลงทุนใน Bitcoin หรือแม้แต่เรื่องพื้นฐานการทำงานของ Bitcoin กับ Blockchain  จากบทความ “Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto” ที่ทำให้เราเห็นภาพว่า Bitcoin มีความสัมพันธ์หรือการทำงานร่วมกับ Blockchain อย่างไร และ Blockchain เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องการโอนเงินอย่างไรบ้าง   โดยบทความในวันนี้ ก็จะเป็นการพูดถึงเรื่องพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin อีกหนึ่งเรื่อง คือ Bitcoin Wallet เพราะว่าเป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของการบริหารจัดการ Bitcoin หรือ Cryptocurrency ต่าง ๆ ที่เราได้ซื้อมา เพราะเป็นที่จัดเก็บ Bitcoin ที่เราได้ซื้อมา ซึ่งมี 2 เรื่องสำคัญที่จะอธิบายและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Bitcoin Wallet คือ ลักษณะการทำงานของ Bitcoin Wallet ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Bitcoin Wallet       เข้าใจ Bitcoin Wallet ผ่านการทำงานของ Email เรื่องแรกที่เราที่อยากจะอธิบายก่อน คือ ลักษณะการทำงานของ Bitcoin Wallet ว่ามีลักษณะการทำงานอย่างไร เพื่อที่เราจะได้บริหารจัดการ Bitcoin หรือ Cryptocurrency ต่าง ๆ ที่เราซื้อมาได้อย่างถูกวิธี เพื่อความเข้าใจการทำงานของ Bitcoin Wallet จะขอใช้ตัวอย่างการใช้งานของ Email มาเป็นตัวอธิบายลักษณะการใช้งานของตัว Bitcoin Wallet เพราะ Email เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ตัวคอนเซ็ปต์การใช้งานของ Email ก็คล้ายกับตัว Bitcoin Wallet เลย สำหรับการใช้งานของ Email ที่เราคุ้นเคย จะประกอบไปด้วย   1. การ Login   การใช้งาน Email เราจะต้องเริ่มต้นด้วยการ Login เข้าไปใช้งานตัว Email ของเราเพื่อส่ง Email ออกมา ซึ่งการที่เราจะสามารถส่ง Email ออกจาก Email ของเราได้ ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ - User หรือ Email Address - Password เพื่อ login เข้าไปใช้ Email ส่งจาก Email ของเรา ออกไปหาคนอื่นได้ ซึ่งข้อมูลสำคัญในส่วนนี้ จะมีข้อมูลที่เราทราบเพียงคนเดียว คือ Password   2. การรับส่งข้อมูล ถัดมาเป็นการรับข้อมูลผ่านทาง Email ซึ่งการรับข้อมูลผ่านทาง Email ต้องใช้ Email Address ของเรา เป็นตัวรับข้อมูลจากผู้อื่น ซึ่งตัวข้อมูล Email Address เป็นข้อมูลที่เราสามารถจะบอกผู้อื่นได้ เพื่อให้ผู้อื่นส่งข้อมูลมาที่  Email Address ของเรา   3.การเก็บข้อมูล (Data storage) ถัดมา คือ การเก็บข้อมูล หรือ Data storage โดยปกติข้อมูล Email Address ของเรา ก็จะถูกเก็บไว้ใน Server ของ Email นั้น ๆ เช่น Gmail จะเป็น Server ของ Google หรือ Hotmail จะเป็นของ Microsoft จะเห็นว่าข้อมูลถูกเก็บไว้บน Server ไม่ได้ถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา   4.การเข้าถึง Email    ถัดมาเป็นการเข้าถึงตัว Email ซึ่งการเข้าถึงตัว Email สามารถเข้าถึงได้หลายรูปแบบ อาจจะเข้าถึงตัว Email ผ่านทาง PC ของเราาเอง หรือตัว Laptop หรือสมาร์ทโฟน ก็เข้าถึงตัว Email ของเราได้ทั้งหมด โดยทั้ง 4 องค์ประกอบสำคัญ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีเพื่อการใช้งานของ Email ซึ่งทั้งหมดเป็นคอนเซ็ปต์การใช้งานของ Email โดยทั่ว ๆ ไป ที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ต่อมาเราจะมาดูลักษณะการใช้งานของ Bitcoin Wallet โดยนำมาเปรียบเทียบการใช้งานของ Email ในแต่ละข้อกัน ซึ่งมีลักษณะการใช้งานที่ใกล้เคียงกัน   หลักการทำงานของ Bitcoin Wallet 1.การ Login   การใช้งาน Email จะต้อง Login ด้วย User name และ Password แต่สำหรับ Bitcoin หลักการ Login เข้าไปใช้งาน Bitcoin Wallet หรือการส่งตัว Bitcoin ออกจากตัว Wallet เขาเราได้ ต้องใช้ตัว Private Key ซึ่งรหัส Private Key  มีลักษณะตัวอย่างแบบนี้ 5AKYR2XCALKMSUNFADLS87GYgUQAUYD  ซึ่งของจริงจะยาวกว่าตัวอย่างนี้ พอสมควรเลย โดยความสำคัญของตัว Private ถ้าใครก็ตามรู้ตัว Private key ก็จะใช้เข้าไปใช้ตัว Bitcoin Wallet นั้นได้ ทำให้ตัว Private key เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญ ควรเก็บไว้ให้ดี ไม่ให้ใครทราบข้อมูลในส่วนนี้   2.การรับส่งข้อมูล การรับข้อมูลผ่านทาง Email ต้องใช้ Email Address ของเรา แต่การรับตัว Bitcoin จะมีตัว Public key หรือตัว Address ที่เราจะเอาไว้บอกให้คนอื่นทราบเพื่อที่เขาจะได้โอนตัวBitcoin มาหาเราได้ สำหรับตัวรหัส Public key และ Address จะมีลักษณะเหมือนรหัสของ Private Key แต่สั้นกว่า   3.การเก็บข้อมูล (Data storage) ต่อมาเป็นส่วนของ Data Storage หรือเป็นข้อมูลที่จะบอกว่า แต่ละคนมี Bitcoin อยู่เท่าไร ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะถูกบันทึกบนระบบ Blockchain แต่การจัดเก็บข้อมูล Email Address ของเรา จะถูกเก็บไว้ใน Server ของ Email นั้น ๆ   โดยระบบ Blockchain ของ Bitcoin จะมีการบันทึกบอกให้เรารู้ว่า Private key แต่ละอัน มี Bitcoin ครอบครองอยู่เท่าไรจากข้อมูล การโอนเข้าโอนออกของ Bitcoin ในอดีตของแต่ละ Private key เพราะฉะนั้น ข้อมูลที่มีการบันทึกวาใครครอบครอง Bitcoin อยู่เท่าไร จะถูกบันทึกไว้ในระบบ Blockchain   4.การเข้าถึง Bitcoin Wallet  การเข้าถึงตัว Bitcoin Wallet หรือก็คือ การที่เราจะสามารถโอน Bitcoin ออกจาก Wallet ของเราไปหาคนอื่น เราก็สามารถที่จะเข้าถึงได้ทั้งทาง Software Wallet หรือ Hardware Wallet เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดของตัว Bitcoin มีการบันทึกในระบบ Blockchain ไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์หรือตัว Wallet ของเรา   จากทั้งหมดเราก็สรุปได้ว่า สิ่งที่ Bitcoin Wallet เก็บไว้ก็ถือตัว Private key, Public key หรือตัว Address โดยที่ตัว Private key ที่ Bitcoin Wallet เก็บไว จะเป็นตัวข้อมูลที่เราเอาไว้ใช้เข้าถึงตัว Bitcoin ที่มีการเก็บไว้ในระบบ Blockchain ได้นั่นเอง   Bitcoin จะหายไหม ถ้าคอมพิวเตอร์ถูกขโมย จากลักษณะการทำงานของ Bitcoin Wallet เชื่อว่าน่าจะมองเห็นภาพและเข้าใจการทำงานที่ถูกต้องของ Bitcoin Wallet กันแล้ว แต่ก็มักจะมีคนยังข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับตัว Bitcoin Wallet โดยจะขอยกตัวอย่างดังนี้ เพื่อมาอธิบายและทำความเข้าใจอีกครั้ง   นาย A มี Bitcoin Wallet อยู่ในคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วนาย A มีการซื้อ Bitcoin มา 1 BTC , 0.5 BTC, 0.01 BTC บ้าง เข้ามาเก็บไว้ใน Wallet ที่เซฟไว้ในคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วอยู่มาวันหนึ่ง ตัวคอมพิวเตอร์ก็หายไป ฮาร์ดดิสก์ก็หายไป นาย A ก็เข้าใจว่าตัว Bitcoin ที่ซื้อมาเก็บไว้ใน Wallet อยู่ในฮาร์ดดิสก์มันไม่มีทางที่จะเอากลับมาได้แล้ว เพราะว่าตัว Bitcoin ถูกเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ที่หายไป ซึ่งความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง   แต่จากลักษณะการทำงานของ Bitcoin Wallet ทั้งหมด ทำให้ตอนนี้เรารู้แล้วว่าตัว Bitcoin จริง ๆ ไม่ได้หายไปไหนหรอก มันถูกเก็บไว้ในระบบ Blockchain แต่ตัวที่อาจจะหายไป คือตัว Private key ซึ่งถ้านาย A มีการเก็บตัว Private key ไว้ที่อื่น เช่น เก็บไว้ใน Hardware Wallet สำรอง หรือมีการจดไว้ในกระดาษ เขาก็สามารถเข้าถึงตัว Bitcoin ที่มีการบันทึกอยู่ในระบบ Blockchain ได้ แล้วก็สามารถโอนตัว Bitcoin ส่งต่อให้คนอื่นได้   ทั้งหมดนี้น่าทำให้หลายคนที่กังวลใจ ว่ากลัว Bitcoin ที่ซื้อมา เสียเงินลงทุนไปจำนวนมาก คลายกังวลได้ เพียงแต่ต้องรักษา Private key ไว้ให้ดี และต้องจดจำให้ได้ ไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะหายไป หรือพังลง ตัว Bitcoin ที่เราซื้อไว้ก็ยังอยู่ ส่วนเรื่องราคาเราไม่อาจจะการันตีได้ว่าจะเท่าเดิม หรือเพิ่มมากขึ้นได้ นักลงทุนทั้งหลายต้องไปลุ้นกันเอาเอง   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก  
ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก [VDO]

ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก [VDO]

ETFs แค่เข้าใจ ก็ลงทุน Bitcoin ได้ไม่ยาก เชื่อว่าหลายคนคงมีความสนใจที่จะลงทุนใน Bitcoin และอาจจะรู้จักกับตัว Bitcoin เป็นอย่างดี แต่อาจจะมีเรื่องหนึ่ง คือ Bitcoin ETFs ที่อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร ขณะเดียวกันก็อาจจะมีบางคนเช่นกัน ที่เข้าใจและคุ้นเคยกับ ETFs เป็นอย่างดี และมีความสนใจจะเข้าลงทุนใน Bitcoin     ทำความรู้จักกับ Bitcoin ETFs สำหรับบทความครั้งนี้ จึงจะมาอธิบายกันว่า Bitcoin ETFs คืออะไร  แล้วทำไมจึงมีคำกล่าวที่ว่า หากกลต.ของสหรัฐอเมริกา อนุมัติตัว Bitcoin ETFs แล้ว ราคาของ Bitcoin จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก   เริ่มแรกจะขออธิบาย ETFs ก่อนว่าคืออะไร? ETFs เป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า Exchange Trade Funds หมายถึง กองทุนที่มีผลตอบแทนอ้างอิงกับหลักทรัพย์ ที่กองทุนนั้นเข้าไปลงทุน อย่างเช่น ถ้ากอง ETFs กองหนึ่งเข้าไปลงทุนในหุ้นปตท.และ BTS โดยผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุน จะขึ้นกับราคาหุ้น และการปันผลของหุ้นปตท.และ BTS   โดยปกติแล้ว ETFs จะอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนรายย่อยให้เข้าไปลงทุนในหลักทรัพย์หลาย ๆ ตัวได้ โดยใช้เงินลงทุนที่ต่ำ ในอัตราหลักพันบาทก็สามารถลงทุนได้แล้ว โดยเป็นการลงทุนผ่านตัวหน่วยลงทุนหรือหุ้นของ ETFs ที่มีสภาพคล่องสูง   สำหรับ Bitcoin ETFs ก็เช่นเดียวกัน การลงทุนใน Bitcoin ETFs นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนตามสินทรัพย์ที่กองทุนเข้าไปลงทุน ซึ่งก็คือตัว Bitcoin นั่นเอง   ตัวหุ้นของกอง ETFs มีลักษณะกลไก เหมือนกับการซื้อขายหุ้น โดยทั่วไปที่ส่วนใหญ่คุ้นเคย ลงทุน Bitcoin แบบไม่ต้องรู้เทคโนโลยี หลายคนที่มีความสนใจลงทุน แต่อาจจะไม่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี ไม่รู้เรื่อง Private key, Address รวมถึงการเก็บรักษา Cryptocurrency ก็จะสามารถลงทุนผ่านตัว Bitcoin ETFs ได้ เนื่องจากว่า ตัวหุ้นของกอง ETFs มีลักษณะกลไกลเหมือนกับการซื้อขายหุ้นโดยทั่วไป ที่ส่วนใหญ่คุ้นเคยกัน   โดยกลไกลการทำงานของ Bitcoin ETFs มีลักษณะดังนี้ คือ หากมีบริษัทจัดการกองทุนบริษัทหนึ่ง มีความต้องการตั้งกอง Bitcoin ETFs บริษัทนี้ต้องยื่นขออนุญาตกับทางกลต.ก่อน ซึ่งหลังจากได้รับอนุญาตแล้ว จะดำเนินการจัดตั้งกองทุนและทำการรวบรวมตัว Bitcoin โดยอาจจะซื้อผ่าน Crypto Exchange  แล้วนำตัว Bitcoin ที่ได้มาฝากกับผู้รับฝากหลักทรัพย์ หรือ Custodian Bank หลังจากนั้น ผู้รับฝากหลักทรัพย์ จะออกตัวใบหุ้นของกองทุนนี้ โดยหุ้นนี้จะออกเสนอขายให้กับนักลงทุนได้   สำหรับนักลงทุนที่ซื้อ ETFs ต้องการขายตัวหุ้นเพื่อทำกำไร ในทางทฤษฎี นักลงทุนสามารถนำใบหุ้นมาขายคืนให้กับ Custodian Bank เพื่อจะไถ่ถอนตัว Bitcoin ออกมา แล้วนำไปขายใน Crypto Exchange อีกที แต่ในทางปฏิบัติ ปกตินักลงทุนที่ลงทุนใน ETFs เขาจะนำหุ้นของกองทุนไปขายใน Stock Exchange เลย โดยปกติตัวมูลค่าหุ้นของกอง ETFs จะมีมูลค่าหุ้นเท่ากับตัวมูลค่าหลักทรัพย์ที่กองนี้เข้าไปลงทุนอยู่แล้ว ซึ่งก็คือ Bitcoin   สรุปหลักการทำงานของ Bitcoin ETFs จากที่ได้อธิบายมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ถ้า Bitcoin ETFs สำเร็จขึ้นมา นักลงทุนที่อยากลงทุน Bitcoin แต่ไม่มีความรู้เรื่อง Private key, Address รวมถึงการเก็บรักษา Cryptocurrency ก็จะสามารถลงทุนผ่านตัว Bitcoin ETFs ได้ เนื่องจากว่า ตัวหุ้นของกอง ETFs มีลักษณะกลไกเหมือนกับการซื้อขายหุ้นโดยทั่วไป ที่ส่วนใหญ่คุ้นเคยกัน   จึงมีการคาดการณ์ว่า ถ้าตัว Bitcoin ETFs อนุมัติแล้ว จะมีเม็ดอีกจำนวนมหาศาลเข้าสู่ Cryptocurrency จึงเป็นประเด็นน่าติดตามว่า Bitcoin ETFs จะมีผลต่อตลาด Cryptocurrency อย่างไร เป็นประเด็นที่เราต้องติดตามกันต่อไป   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร?  
Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? [VDO]

Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? [VDO]

Coin VS Token เหมือน หรือ ต่าง อย่างไร? ในวงการเงินดิจิทัล หรือตลาด Cryptocurrency จำเป็นจะต้องมีตัวกลางในการใช้และเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ จึงมีการสร้าง เหรียญ (Coin) หรือ โทเคน (Token) ขึ้นมาใช้ โดยกำหนดมูลค่าและรูปแบบของเหรียญหรือโทเคนแตกต่างกันออกไป ซึ่ง Coin  กับ Token ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจไม่เข้าใจว่าทั้ง 2 ชนิดนี้ เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร   โดยบทความนี้จะมาอธิบาย และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Coin และ Token ว่ามีความเหมือนหรือข้อแตกต่างกันอย่างไร​ ทำไมถึงมีการแบ่งประเภท Cryptocurrency บางชนิดเป็น Coin และบางชนิดเป็น Token   รู้จัก Coin & Token และข้อแตกต่าง Coin ถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีการพัฒนาระบบ Blockchain เป็นของตนเอง  ระบบและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาจะมีเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดของ Coin ตัวอย่าง Coin ได้แก่ Bitcoin, Litecoin, Ethereum หรือ Waves  ทั้ง 4 ตัวนี้จะถูกจัดประเภทเป็น Coin เนื่องจากมีระบบ Blockchain เป็นของตัวเอง  การตรวจสอบความถูกต้องของ Transaction ของการโอน Bitcoin, Litecoin, Ethereum หรือ Waves ก็จะเป็นการคอนเฟิร์มในระบบ Blockchain ของตัวเอง   Token ถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลอีกชนิดหนึ่ง แต่ไม่มีระบบ Blockchain เป็นของตนเองโดยตรง ต้องอาศัยระบบ Blockchain ของเครือข่ายผู้อื่น ตัวอย่างเช่น OMG (OmiseGo) กับBNB (Binance Coin) ทั้ง 2 ตัวเป็น Token ที่ถูกสร้างบนระบบ Blockchain ของ Ethereum เพราะฉะนั้นการตรวจสอบความถูกต้องของ Transaction เวลามีการโอน OMG หรือ BNB จะเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ Transaction บนระบบ Blockchain ของ Ethereum เพราะ Token ไม่มีระบบ Blockchain เป็นของตัวเอง   โดยข้อสังเกตนี้  หากใครเคยลงทุนด้วยวิธีการ ICO โดยใช้ Ethereum จะสังเกตว่าตัว Address ของ Ethereum ในการลงทุน ICO จะเป็น Address เดียวกับตัว BNB กับ OMG หรือก็คือทุก Token ที่มีการสร้างบน Ethereum จะใช้ตัว Wallet เดียวกันกับ Ethereum หรือก็คือ ตัว Wallet ของ Ethereum อันนี้ ถ้าเรามีการสร้างตัว Wallet ของ Ethereum ขึ้นมา Wallet อันนี้สามารถที่จะนำมาใช้กับตัว Token รวมถึงการโอน Token ทุก ๆ ตัวเลย ที่มีการสร้างขึ้นมาบนระบบ Blockchain ของ Ethereum ซึ่งในตัวอย่างนี้ ก็จะเป็น OMG และ BNB   แต่ Ethereum ก็ไม่ใช่ Coin อันเดียวที่เราสามารถจะสร้าง Token ขึ้นมาได้  อย่างเช่นตัว Waves ที่มีฟังก์ชั่นที่เราจะสามารถสร้าง Token ขึ้นมาได้ อย่างเช่น Waves ก็มีตัว WGR กับ TKS ซึ่งเป็น Token ที่ถูกสร้างขึ้นมาบนระบบ Blockchain ของ Waves โดยถ้าสังเกตจากภาพประกอบด้านล่าง จะเห็นว่าขีดเส้นทึบไว้ตรงข้างบน Bitcoin กับ Litecoin เนื่องจากตัว Bitcoin กับ Litecoin ในปัจจุบันนี้ทั้ง 2 ตัว ยังไม่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่จะทำให้ Developer สามารถที่จะสร้าง Token ขึ้นมาบนตัว Bitcoin กับ Litecoin ได้นะครับ   วิธีเช็คที่มาของToken สำหรับการตรวจสอบว่าในปัจจุบันมี Token อะไรบ้างที่ถูกสร้างบน Platform ของ Ethereum หรือ Platform ของ Waves สามารถตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ www.coingecko.com ซึ่งจะสามารถตรวจสอบได้ว่ามีตัว Coin ใดบ้างที่สร้างตัว Token ขึ้นมาได้ ซึ่งปัจจุบันจากข้อมูลบนเว็บไซต์ coingecko จะเห็นพบว่ามี Token ต่าง ๆ มากมาย ที่ถูกสร้างขึ้นบน Platform แต่ละ Platform   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง? เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร?  
เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? [VDO]

เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร? [VDO]

เรื่องต้องรู้ ETH Smart Contract คืออะไร Smart Contract  คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกเขียนขึ้นมาควบคุมการทำงานของระบบ Blockchain บน Platform ต่างๆ เช่น Ethereum เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามโปรแกรมที่เขียนไว้   จากบทความก่อนหน้านี้ คือ​ “Blockchain คืออะไร?  เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto” ได้มีการอธิบายถึงหลักการทำงานของ Blockchain ว่า ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในหลายเรื่อง ซึ่งที่ชัดเจน คือ เรื่องของการโอนเงิน (​Money Transfer) ที่ขจัดตัวกลางออกจากระบบ ช่วยลดระยะเวลาการโอนเงิน และลดค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการโอน   ขณะที่การทำงานของระบบ Blockchain บน Platform ต่าง ๆ เช่น Ethereum จะมีชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ที่ถูกเขียนขึ้นมาควบคุมการทำงาน ของ Blockchain ที่เรียกว่า Smart Contract ซึ่งไม่สามารถจะทำให้แก้ไขข้อมูลคำสั่งดังกล่าวได้ จึงถือว่า Smart Contract มีความปลอดภัยป้องกันการแก้ไขปลอมแปลงภายหลัง ซึ่งเหมาะสมสำหรับการโอนเงิน ที่ต้องการความปลอดภัยสูงเช่นกัน   บทความในครั้งนี้ จึงจะอธิบายถึงหลักการทำงานของ Smart Contract สำหรับ Ethereum ว่ามีคุณสมบัติพื้นฐานอะไรบ้าง พร้อมกับกรณีตัวอย่างการใช้งานของ Smart Contract ของ Ethereum ที่น่าสนใจว่าได้เข้ามาช่วยในเรื่องอะไรได้บ้าง     หลักการทำงานพื้นฐานการโอน เริ่มต้นคงต้องอธิบายและทำความเข้าใจกันก่อนเรื่องแรกก่อน คือ ตัว Account ในระบบ Blockchain ว่ามีหลักการทำงานอย่างไร? ปกติการโอนในระบบ Blockchain หรือ การโอนตัว Bitcoin จะต้องมีการ Login เข้าไปใน Account ของผู้จะทำการโอน     กรณีตัวอย่าง สมมุติ A จะโอน Bitcoin ให้ B เริ่มต้น A จะต้อง Login เข้าไปใน Account ของตัวเอง โดยการใช้ Private Key สำหรับ B ก็เช่นเดียวกัน การที่ B จะโอน Bitcoin ให้ A ได้ B ก็ต้องใช้ Private Key Login เข้าไปใน Account ของตัวเองก่อน การโอนในลักษณะนี้ เป็นการโอนโดย  User หรือ ตัวผู้ใช้งาน   ลักษณะการโอนดังกล่าวนี้ ตัวระบบของ Ethereum ก็จะทำการโอนได้เช่นเดียวกัน แต่ตัวที่ระบบของ Ethereum มีเพิ่มเข้ามาคือ ตัว Smart Contract โดยตัว Smart Contract มีคุณสมบัติเบื้องต้นจะเหมือนตัว Account ปกติ เลย คือ รับโอนตัว ETH ได้  โอนตัว ETH ออกได้ ​รวมถึงสะสมตัว ETH ได้ แต่ไม่ได้มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีตัว ETH อยู่ใน Smart Contract   สิ่งที่ Smart Contract แตกต่างจาก Account ปกติ คือ Smart Contract ไม่ได้ถูกควบคุมโดย User แต่ถูกควบคุมโดยชุดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือตัวคำสั่งคอมพิวเตอร์ ที่ถูกเขียนเข้าไปไว้ใน  Smart Contract โดยตัวคำสั่งคอมพิวเตอร์ที่เขียนไว้ใน Smart Contract จะไม่สามารถแก้ไขได้ ถ้าเรามีการสร้าง Smart Contract  แล้วมีการพิมพ์ตกหล่นไป เราต้องสร้าง Smart Contract อันใหม่ขึ้นมาเลย เนื่องจากเราไม่สามารถไปแก้ไข Smart Contract ที่ถูกสร้างขึ้นมาได้   นอกจากนี้ ​ตัว  Smart Contract ยังสามารถส่งข้อมูลเข้าหากับตัว Smart Contract ตัวอื่น ๆ ในระบบ รวมถึงสามารถนำมาใช้ทำงานร่วมกัน คุณสมบัตินี้ของ Smart Contract ถูกเรียกว่า Decentralized Application  หรือที่เรียกกันว่า DApps นั่นเอง   Smart Contract กับการจัดสรรผลประโยชน์ ตัวอย่างการใช้ Smart Contract ที่น่าสนใจ ตัวอย่างแรก เป็นกรณีการจัดสรร Tip box หรือการจัดสรรปันส่วน ให้กับพนักงานภายในร้าน   โดยสมมุติว่า ทางร้านมีพนักงานอยู่ 5 คน A, B, C, D และ E และทางร้านได้ค่า Tip มาจำนวนเท่ากับ 10 ETH แล้วโดยปกติทางร้านจะให้ Manager เป็นคนรวบรวม Tip ส่วนนี้ แล้วนำมาแจกจ่ายให้กับพนักงานในแต่ละคนเท่า ๆ กัน ซึ่งถ้า Manager จัดการตามปกติ ก็จะต้องแบ่งให้กับพนักงานทั้ง 5 คนเท่า ๆ กัน ซึ่งจะได้คนละ 2 ETH ซึ่งการจ่ายลักษณะนี้จะขึ้นอยู่กับ Manager ดังนั้นแล้วอาจจะเปลี่ยนลักษณะการจ่ายค่า Tip ได้ โดย Manager ถ้าชอบ C มากกว่า D ก็อาจจะให้ C เท่ากับ 3 ETH แล้วลดส่วนที่ D ควรจะได้ เหลือแค่ 1 ETH หากทางร้านหันมาใช้ตัว Smart Contract แทนการให้ Manager มาจัดการจัดสรรปันส่วนค่า Tip นี้ พนักงานทั้ง 5 คนจะได้รับค่า Tip ในส่วนนี้เท่า ๆ กันทุกครั้ง เพราะว่าตัวเงื่อนไขใน Smart Contract ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้   จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ตัว Smart Contract  นอกจากจะอำนวยความสะดวกการจัดสรรปันส่วนแล้ว จะทำให้ทุกคนมั่นใจว่า จะได้รับการจัดสรรปันส่วนค่า Tip ตามกฎที่ตกลงไว้ตอนแรกแน่นอน   Smart Contract กับการระดมทุนของ Startup   อีกกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ เรื่องของการระดมทุน เป็นกรณีที่ Startup จะระดมทุน ผ่าน Crowd Funding  ตัวอย่างนี้กำหนดให้ Startup ต้องการระดมทุนเท่ากับ 30 ETH โดยปกติการระดมทุนผ่าน Crowd Funding ต้องผ่านตัวกลางเข้ามาช่วยระดมทุน โดยเป็นพวก Middleman ซึ่ง Middleman เมื่อเข้ามาช่วยจะต้องมีการขอค่าธรรมเนียม (Fee) ส่วนหนึ่งสำหรับการระดมทุน  ตัวอย่างนี้เท่ากับ 6 ETH นั่นหมายความว่า การระดมทุนครั้งนี้ต้องระดมทุนให้ได้เท่ากับ 36 ETH และถ้าการระดมทุนดำเนินการไปอย่างเรียบร้อย เท่ากับ 36 ETH  Middleman ก็จะเก็บไป 6 ETH และส่งให้ Startup ไป 30 ETH   แต่ถ้าการระดมทุนไม่ได้ตามเป้าหมาย Middleman จะทำการส่งเงินคืนไปที่ A, B, C (ผู้ให้ทุน) โดยปกติการคืนเงินไปให้ A, B, C จะไม่ได้คืนเงินทันที จะต้องใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่ง และบางครั้งก็มีค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในการคืนเงินให้ A, B, C   แต่หากการระดมทุนครั้งนี้ ตัว Startup เปลี่ยนมาใช้ Smart Contract มาใช้ในการระดมทุน ตัว Smart Contract จะไม่คิดค่าธรรมเนียมทั้งการจัดระดมทุน หรือแม้แต่การคืนเงินหากระดมทุนไม่ได้ตามเป้าหมาย เพราะฉะนั้น ตัวเลขของการระดมทุนครั้งนี้จะเท่ากับ 30 ETH     และถ้าการระดมทุนครั้งนี้เป็นไปตามเป้า ทาง Startup จะเท่ากับ 30 ETH แต่ถ้าการระดมทุนครั้งนี้ไม่สำเร็จ หรือไม่ได้ตามเป้า ตัว Smart Contract จะทำการคืนเงินไปให้ที่ A, B, C, D ทันที และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งจากตัวอย่างนี้ ตัว Smart Contract จะช่วยอำนวยความสะดวกในการระดมทุน ทั้งฝั่ง Startup และฝั่งผู้ให้เงินลงทุน คือ A, B, C และนอกจากนี้ยังช่วยลดค่าธรรมเนียม  รวมถึงช่วยเรื่องความเร็วในการระดมทุนและคืนเงิน   จากกรณีตัวอย่างทั้ง 2 เรื่อง จะเห็นว่า Smart Contract ช่วยประโยชน์ได้ในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการทำตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดได้ จึงเกิดความยุติธรรม และความปลอดภัยของระบบ การช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน และช่วยเรื่องความรวดเร็วในขั้นตอนการทำงานด้วย   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล ไขทุกข้อสงสัย การโอน Crypto กับ E-Banking ต่างกันยังไง?  
Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล [VDO]

Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล [VDO]

Blockchain มีกี่ประเภท? เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัล คราวที่แล้ว เราได้ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ Blockchain คืออะไร?  เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto ซึ่งเชื่อว่าน่าจะทำให้หลายคน มองเห็นภาพการทำงานของ Blockchain ว่ามีหลักการอย่างไรกันบ้าง และ​จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของคนยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาในโลกการเงินดิจิทัลได้อย่างไร ​ส่วนใครยังไม่ได้อ่านหรือยังไม่เข้าใจหลักการทำงานเบื้องต้นของ​ Blockchain แนะนำลองทำความเข้าใจพื้นฐานกันก่อน กับบทความ Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto   ส่วนในครั้งนี้ เราจะมาลงลึกกันไปอีกถึงประเภทของ Blockchain ว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะก้าวเข้าไปในโลกของการเงินดิจิทัลรูปแบบต่าง ๆ ปัจจุบัน Blockchain ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.Public Blockchain 2.Private Blockchain Public Blockchain ระบบที่เปิดกว้าง​ อธิบายง่าย ๆ คือ ระบบ Blockchain ที่เปิดรับให้ผู้ที่ต้องการเข้ามาเป็น node ใหม่ในระบบ ได้โดยไม่ต้องของอนุญาตหรือการอนุมัติจากระบบ และสามารถดูข้อมูลก่อนหน้าและอัพเดทข้อมูลปัจจุบันได้ทันที ​ เพื่อทำความเข้าใจหลักการทำงานของ Public Blockchain ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ดังนี้ ถ้าในระบบมีบุคคลอยู่ 4 คน ได้แก่ A, B, C และ D ซึ่งเป็น node ในระบบที่คอยconfirm หรือทำการ verify transaction ในระบบ Blockchain แล้วแต่ละ node ก็จะมีตัว ledger เป็นของตัวเองแยกออกมา   กรณีที่มี E และ F ต้องการเข้ามาในระบบ Blockchain นี้ E และ F ก็สามารถซิงค์เข้ากับตัวระบบของ Blockchain ได้เลย สามารถ update ตัว ledger และเข้ามา verify transaction ได้เหมือน A, B, C และ D ทันที โดยที่ E และ F ไม่ต้องรอการอนุมัติหรือ verify transaction จากใคร หรือรอการอนุมัติจากระบบ สามารถเข้าเป็น node ในระบบได้ทันที ซึ่งตัวอย่างการใช้งานจริง คือ Bitcoin, Ethereum หรือ zcoin  ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้ามาเป็น node ในระบบได้   Private Blockchain ระบบที่ต้องได้การอนุมัติก่อน          สำหรับ Blockchain ประเภทที่ 2 เป็นประเภทที่ไม่ได้เปิดกว้างหรือให้ทุกคนเข้ามาในระบบ Blockchain ได้ทันที จำเป็นต้องมีการอนุมัติ หรือมีการจำกัดจำนวนผู้ที่จะเข้ามาเป็น node ในระบบก่อน และเมื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบแล้ว ข้อมูลย้อนหลังก็อาจจะไม่สามารถดูได้ หรือดูได้บางส่วนเท่านั้น   เพื่อความเข้าใจและเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ขอยกตัวอย่างในลักษณะเดียวกันกับ Public Blockchain ที่ในระบบมี 4 node คือ A, B, C และ D ซึ่งแต่ละ node มี ledger เป็นของตัวเอง โดยลักษณะนี้ก็เหมือน Public Blockchain แต่สิ่งที่แตกต่างไปก็คือ ถ้า E หรือ F ต้องการเข้ามาเป็น node ในระบบ Blockchain นี้ E และ F ไม่สามารถเข้ามาได้ทันที ต้องได้รับการอนุมัติก่อน ถึงจะเข้ามาเป็น node ในระบบนี้ได้ ตัวอย่างที่ใช้ระบบ Private Blockchain ได้แก่ Ripple   5 ความแตกต่างของ Private Blockchain & Public Blockchain 1.node membership ถ้าเป็น Public Blockchain ใคร ๆ ก็เข้ามาเป็น node ในระบบได้ แต่ขณะที่ระบบ Private Blockchain จะมีจำนวนบางส่วนที่ถูกเลือกเข้ามาเป็น nodeในระบบได้เท่านั้น   2.Decenterize จะเห็นว่า Public Blockchain เปิดให้ใคร ๆ ก็เข้ามาเป็น node เพื่อทำการ verify transaction ในระบบได้ ทำให้ปัญหาการพึ่งพิงตัวกลาง จะไม่มีในระบบ Blockchain แตกต่างจาก Private Blockchain ผู้ที่จะเข้ามาเป็น node ในระบบจะมีการจำกัดจำนวน ทำให้ยังประสบปัญหาการพึ่งพิงตัวกลางที่มีความน่าเชื่อถือใน Private Blockchain   3.Scalability หรือก็คือ ความสามารถในการรองรับปริมาณ transaction เนื่องจากระบบ Public Blockchain เป็นระบบที่ไม่ได้ไว้ใจให้ใครคนใดคนหนึ่งมาเป็นตัวกลาง แต่ใช้วิธีการให้แต่ละ node แข่งขันกันตรวจสอบความถูกต้อง transaction ทำให้มีการนำกำลังการประมวลผลจำนวนมากมาใช้การประมวลผล ซึ่งแตกต่างจาก Private Blockchain ซึ่งเป็นการการมอบความไว้วางใจให้ node จำนวนหนึ่งทำการตรวจสอบความถูกต้องของ transaction ทำให้ Public Blockchain มีความสามารถในการรองรับปริมาณ transaction น้อยกว่า Private Blockchain   4.ค่าธรรมเนียม เนื่องจาก Public Blockchain มีความสามารถในการรองรับปริมาณ transaction น้อยกว่า Private Blockchain ทำให้ค่าธรรมเนียมสำหรับ transaction ที่เกิดขึ้น โดยปกติสำหรับ Public Blockchain สูงกว่า Private Blockchain   5.Privacy หรือความเป็นส่วนตัว เนื่องจากโดยปกติแล้ว ข้อมูล transaction ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของPublic Blockchain ก็เปิดเผยให้ใครก็ได้เข้ามาตรวจสอบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต่างจาก Private Blockchain ที่จะมีการเปิดเผยข้อมูล transaction ในอดีตเพียงบางส่วน หรืออาจจะไม่เปิดเผยเลยก็ได้   อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนต่าง ๆ ของ Public Blockchain ก็มีกลุ่ม developer พยายามแก้ไขปัญหานี้อยู่ เช่น ปัญหา scalability และค่าธรรมเนียมที่สูง ก็มีความพยายามนำเทคโนโลยีมาใช้เช่น Lightning network ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการรองรับ transaction เพิ่มขึ้น และค่าธรรมเนียมถูกลง   สำหรับประเด็น Privacy ปัจจุบันมี Cryptocurrency บางชนิด ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีบางตัวมาปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น zcash และ zcoin ที่พัฒนาเป็น zcash protocol และ  zcoin protocol ที่มาใช้ปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ทั้งหมดเป็นความแตกต่างเบื้องต้นของ Private Blockchain และ Public Blockchain   บทความที่เกี่ยวข้อง Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto    
6 สูตรลับ ปรับกลยุทธ์ธุรกิจอาหารต้องรอดในยุคโควิด-19 

6 สูตรลับ ปรับกลยุทธ์ธุรกิจอาหารต้องรอดในยุคโควิด-19 

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ทุกธุรกิจลำบากกันไปหมด ต่อให้เป็นธุรกิจที่เป็นปัจจัย 4 ในการดำเนินชีวิตของคน อย่างธุรกิจอาหาร ก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน เพราะวิถีชีวิตของคนไม่เหมือนเดิม ต้องอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ ใครจะนั่งกินอาหารในร้านก็ทำไม่ได้ เพราะเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดหรือไม่ก็รับเชื้อโรคมา ทำให้ต้องซื้อกลับไปกินได้เฉพาะที่บ้านเท่านั้น หรือไม่ก็ต้องสั่งเดลิเวอรี่ เพราะหลายคนต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน  แถมในบางช่วงร้านอาหารก็ถูกสั่งให้เปิดเปิดเป็นเวลาด้วย เมื่อธุรกิจอาหารต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในยุคโควิด-19 ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวอย่างไร เพื่อยังให้ธุรกิจอยู่รอดและไปต่อได้ คงต้องมีการปรับตัวและมองหาโอกาส รวมถึงการสร้างกลยุทธ์ที่จะเป็นทางรอดให้ได้ในยามวิกฤต  เพราะทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ   ล่าสุด ธนาคารไทยพาณิชย์งานสัมมนา “เปิดสูตรลับ ปรับกลยุทธ์ธุรกิจอาหารต้องรอด” ด้วยการนำเอาผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร 2 ราย ที่สามารถปรับตัวและประสบความสำเร็จ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ได้แก่ เชฟบุญธรรม ภาคโพธิ์ แชมป์เชฟกระทะเหล็ก เจ้าของร้าน Honmono Sushi และนายชลวิทย์ ไตรโลกา เจ้าของร้านกะพง Kapong Delivery  ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ สำหรับ​ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารรายอื่น ๆ ที่จะได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเอง​ ให้ยังดำเนินธุรกิจต่อไปได้   โดยขอสรุปเทคนิคการปรับตัวของเจ้าของธุรกิจทั้ง 2 ราย ที่ถือว่าเป็นสูตร (ไม่) ลับ ในการฝ่าวิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้ ออกมาเป็น 6 สูตรลับ ปรับกลยุทธ์ธุรกิจอาหารต้องรอดในยุคโควิด-19 ได้แก่ 1.กระโดดเข้าสู่ตลาดออนไลน์ทันที ช่องทางหลักที่ทำให้ธุรกิจยังมียอดขายในช่วงโควิด-19 คือ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ถึงแม้ในช่วงแรกผลตอบรับไม่เป็นดั่งที่คาดหวัง แต่เมื่อเรียนรู้และใช้โอกาสนี้ในการพูดคุยกับลูกค้า จึงทำให้มองเห็นจุดแข็งตัวเองชัดเจนยิ่งขึ้น จนสามารถเข้าใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงยังเป็นช่องทางขายสำหรับธุรกิจของเราได้อย่างถาวร 2.สร้างลูกเล่นในการขายด้วยไอเดียใหม่ๆ การกระโดดเข้าสู่ช่องทางขายออนไลน์ทำให้เราพบว่ามีรูปแบบการขายที่น่าสนใจ ทำให้เกิดไอเดียใหม่ๆที่นำมาสร้างลูกเล่นให้การขายของเราสนุกยิ่งขึ้น เช่น การถ่ายทอดสดขายอาหาร เปิดประมูลวัตถุดิบ และสอนวิธีการทำอาหาร ซึ่งได้รับกระแสการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี มีกลุ่มลูกค้าติดตามมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจมียอดขายอย่างต่อเนื่อง 3.ปรับบทบาทหน้าที่พนักงานให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจใหม่ เมื่อโมเดลธุรกิจต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้พนักงานต้องเรียนรู้หน้าที่ใหม่ ซึ่งเราเปิดโอกาสให้พนักงานได้หมุนเวียนทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น ทำหน้าที่ Admin ตอบคำถามลูกค้าทางออนไลน์และทางโทรศัพท์ หน้าที่ในการทำอาหาร หน้าที่ในการจัดส่งอาหารให้กับลูกค้า ในส่วนนี้จะทำให้พนักงานมีการฝึกฝนตนเองให้รู้จักร้านของเรา รู้จักเมนูอาหาร วัตถุดิบ และรู้จักลูกค้าได้เป็นอย่างดี 4.มองหาช่องว่างในตลาดและเติมเต็มด้วยสินค้าของเรา เป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจยึดนำมาปรับใช้และคอยสำรวจตลาดเพื่อคอยตอบสนองความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ เช่น ขายปลากะพงทอดน้ำปลาเหมือนกันแต่มีเพียงเจ้าเดียวที่ขายแบบครึ่งตัว เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าให้สามารถเลือกได้ 2 รสชาติ จาก10 รสชาติในหนึ่งตัว การจัดโปรโมชั่นเป็นเซทอาหารทานแบบครอบครัว นอกจากนี้ช่องทางออนไลน์ของร้านก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร ดังนั้นร้านจึงให้ความสำคัญกับรูปเมนูอาหารและการตั้งชื่อเมนูที่แปลกใหม่ 5.พาตัวเองให้อยู่ใกล้ลูกค้า การส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่สิ่งสำคัญคือการต้องอยู่ใกล้ลูกค้า เพราะมีค่าจัดส่งตามระยะทาง จึงทำให้ธุรกิจเน้นการลงทุนทำแบบ Cloud Kitchen ซึ่งมีต้นทุนน้อย เพื่อทำให้จุดจัดส่งอาหารของร้านมีระยะทางใกล้กับลูกค้ามากขึ้น ส่งผลให้ค่าจัดส่งสินค้ามีราคาถูกซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจสั่งอาหารง่ายขึ้น โดยการมีเดลิเวอรี่เป็นของตัวเองนั้นทำให้ร้านควบคุมการจัดส่งและแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างทันท่วงที หรือเข้าร่วมแพลตฟอร์ม โรบินฮู้ด ฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่ไม่เรียกเก็บค่า GP ก็ช่วยให้ร้านมีรายรับอย่างเป็นธรรม 6.สร้างแบรนด์ให้ดังด้วยพลังคำพูด หรือการบอกปากต่อปาก มีพลังต่อการขายสินค้าอย่างมากเพราะมีความน่าเชื่อถือและเกิดจากประสบการณ์ของลูกค้าตัวจริง ซึ่งพลังปากต่อปากจะเกิดขึ้นได้เมื่อร้านอาหารสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าจนนำไปสู่การแชร์ความรู้สึกดี เราจึงต้องคิดอยู่เสมอว่าจะทำอย่างไรให้อาหารยังดูน่ารับประทานเมื่อถึงมือลูกค้าและกระตุ้นให้ลูกค้าถ่ายภาพลงโซเชียลมีเดียบอกต่อประสบการณ์ที่ดีกับคนรู้จักต่อไป บทเรียนจากเจ้าของธุรกิจตัวจริง นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ถึงแม้ผู้ประกอบการร้านอาหารจะสามารถผ่านบททดสอบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกแรกเมื่อปีก่อนมาได้ แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าการปรับตัวที่ผ่านมานั้นจะเพียงพอที่พาธุรกิจฝ่าโจทย์ที่ท้าทายมากกว่าในปีนี้ไปได้หรือไม่ ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงและขยายวงกว้าง ทำให้มาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดมีความเข้มงวดโดยผันแปรตามความรุนแรงของการแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่ ซึ่งคาดการณ์ได้ยากว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติได้เมื่อใด และส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างมาก ไม่สามารถเดินทางมาที่ร้านได้เหมือนเดิม ต้องสั่งอาหารผ่านทางเดลิเวอรี่ หรือออนไลน์มากยิ่งขึ้น ร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ในตลาดใหม่ที่หลายร้านยังไม่ถนัดหรือมีความรู้เพียงพอในการแข่งขันให้ร้านอาหารอยู่รอด   เชฟบุญธรรม ภาคโพธิ์ แชมป์เชฟกระทะเหล็กและเจ้าของร้าน Honmono Sushi กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 บีบบังคับให้ธุรกิจร้านอาหารแบบดั้งเดิมยิ่งต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้ยังอยู่รอด จึงแนะนำผู้ประกอบการร้านอาหารไม่ควรหยุดพักและตั้งความหวังรอสถานการณ์ดีขึ้นแล้วค่อยกลับมาเปิดร้านปกติ ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ ยากว่าเราต้องอยู่กับภาวะแบบนี้ไปอีกนานเท่าไหร่ Honmono Sushi เองนั้น ในช่วงระลอกแรกของการระบาดเมื่อปี 2563 เราได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วง เพราะธุรกิจมีรายได้จากหน้าร้านเป็นหลักช่องทางเดียว อีกทั้งยังไม่มี เดลิเวอรี่ นับเป็นความท้าทายกับธุรกิจช่วงนั้นมาก ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้ธุรกิจเริ่มเร่งปรับตัวและเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจใหม่ในทันที จึงทำให้เราสามารถรับมือกับการระบาดระลอกต่อ ๆ มาได้อย่างดี ในขณะที่ธุรกิจแบบดั้งเดิมกำลังพยายามเร่งปรับตัวเพื่อหนีตายจากวิกฤตในครั้งนี้ หากยังมีผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากพิษโควิด-19 ที่ยังไม่ยอมแพ้ จนสามารถสร้างธุรกิจอาหารขึ้นมาใหม่ในยุคโควิด-19 ได้อย่างประสบความสำเร็จ อย่างเช่น ร้านกะพง Kapong Delivery   นายชลวิทย์ ไตรโลกา เจ้าของร้านกะพง Kapong Delivery กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยทำธุรกิจหลายอย่างที่ต้องปิดตัวลงเพราะต้านทานผลกระทบจากโควิด-19 เมื่อปี 2563 ไม่ไหว แต่ก็พยายามหาทางรอดทางใหม่ให้ได้ในทันที โดยนำประสบการณ์จากธุรกิจเดิมมาเป็นบทเรียน ทั้งเรื่องการแบกรับค่าใช้จ่ายหน้าร้าน หรือการเสียค่า GP ราคาสูงให้แก่ตัวแทนเดลิเวอรี่ ปรับเป็นโจทย์และแก้เกมส์ด้วยการทำธุรกิจใหม่แบบไม่มีหน้าร้าน มี Cloud Kitchen และมุ่งเน้นส่งเดลิเวอรี่ด้วยตัวเองเป็นหลัก รวมทั้งการสำรวจตลาดที่พบว่า เมนูปลากะพงทอดน้ำปลาเป็นเมนูที่คนนิยมทาน แต่ยังขาดผู้เล่นในตลาดเดลิเวอรี่ จึงทำให้ตัดสินใจเริ่มทำธุรกิจร้านกะพง Kapong Delivery ในช่วงมกราคม 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดมาอย่างต่อเนื่อง แต่ธุรกิจยังคงแข็งแกร่งมียอดขายเข้ามาตลอด