Tag : Co-working Space

48 ผลลัพธ์
“KRONOS SATHORN” สำนักงานอัลตร้าลักซ์ชัวรี สไตล์แมนฮัตตัน  บนทำเลสาทร

“KRONOS SATHORN” สำนักงานอัลตร้าลักซ์ชัวรี สไตล์แมนฮัตตัน บนทำเลสาทร

KRONOS SATHORN เปิดให้ชม โครนอส สาทร (KRONOS SATHORN) โครงการที่คนสาทรผ่านไปผ่านมา นึกว่าเป็นโรงแรมหรู 5 ดาว แต่เป็นอาคารสำนักงานระดับอัลตร้าลักซ์ชัวรีแห่งใหม่ใจกลางสาทร ย่านธุรกิจหลักของกรุงเทพฯ ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 4,000 ล้านบาท ลุกตลาดออฟฟิศบิลดิ้งเกรด A ด้วยคอนเซ็ปต์ “THE MANHATTAN ON SATHORN”   ทำยังไงให้ทำงานอยู่ในโรงแรมหรู 5 ดาว กับ 5 ความพิเศษ ในบนตึกสูง 28 ชั้น  ความต่างของโครงการโครนอส สาทร แตกต่างจากอาคารโดยทั่วไปในประเทศไทย     KRONOS SATHORN มาสเตอร์พีซแห่งใหม่ในไทยและเอเชีย การออกแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงามทันสมัยแนวโมเดิร์นคลาสสิค ซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อนในเมืองไทย โดดเด่นด้วยนาฬิกาสไตล์ Art Deco ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศและใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก สื่อถึงภาพลักษณ์อันงามสง่าและหรูหราเหนือกาลเวลาที่จะคงอยู่ไปสู่คนรุ่นต่อ ๆ ไป     ทำเลซูเปอร์ไพร์ม บนถนนสาทร ย่าน Real CBD ทำเลที่ตั้งในย่านธุรกิจ Real CBD ช่วงถนนสาทรตัดกับถนนพระราม 4 แวดล้อมด้วยธุรกิจและหน่วยงานชั้นนำ บริษัทตัวแทนระดับโลก โรงแรมหรูระดับ 5 ดาว และโครงการมิกซ์ยูสแถวหน้าอีกมากมายที่กำลังจะเกิดขึ้น ตลอดจนการเดินทางเข้าถึงได้ง่ายเชื่อมต่อไปยังโซนต่างๆ ของเมือง ด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวก รวดเร็ว ด้วยรถไฟฟ้า BTS สถานีศาลาแดง และรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสีลม ประมาณ 750เมตร เดินเพียง 10 นาที และอยู่ห่างจากรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีลุมพินีเพียง 600 เมตร เดินเพียง 7 นาที ทางโครงการฯ มีบริการรถรับ-ส่งไปยังรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสีลม และรถไฟฟ้า BTS สถานีศาลาแดง     มอบโซลูชั่น Best-In-Class ที่ตอบโจทย์การทำงานเหนือระดับ บนวิสัยทัศน์การนำเสนอ “อาคารสำนักงานที่ดีที่สุดในตลาดออฟฟิศเกรด A” ด้วยเทคนิคการวางผังแบบไร้เสากลางพื้นที่และมีเพดานสูงมากเป็นพิเศษตั้งแต่ 3-6 เมตร มีระเบียงสวยขนาดใหญ่บนชั้น 27 เพื่อเปิดรับทัศนียภาพเมืองและแม่น้ำเจ้าพระยาอันงดงามอย่างเต็มตา มอบความสะดวกบายด้วยลิฟต์โดยสารมากถึง 8 ตัว จึงไม่เกิดการแออัดแม้ในชั่วโมงการทำงานที่เร่งด่วน รวมถึงพื้นที่จอดรถที่มากพอต่อความต้องการ และบริการสำรองที่จอดรถแบบพิเศษและผู้พิการ   เทคโนโลยีล้ำสมัย มุ่งสู่ “'สมาร์ท บิลดิ้ง'” โครนอสมุ่งมั่นมอบประสบการณ์การใช้งานอาคารในรูปแบบ “อัจฉริยะ” ที่ติดตั้งเทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมทันสมัยมากมาย อาทิ ระบบคัดกรองบุคคลเข้าอาคารด้วยการสแกนใบหน้า คีย์การ์ด และคิวอาร์โค้ด ระบบไร้สัมผัสเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่การควบคุมจุดหมายในการใช้ลิฟต์และระบบจดจำใบหน้าเพื่อการระบุชั้นที่ต้องการไปแบบไร้การสัมผัส ซึ่งระบบไร้สัมผัสนี้ยังครอบคลุมไปถึงนวัตกรรมห้องน้ำไร้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นส่วนประตู ก็อกน้ำ และฟลัชโถสุขภัณฑ์ แท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV กว่า 11 จุด และระบบ Automate Car Parking system กล้องจับภาพทะเบียนรถยนต์ เพื่อเข้าจอดอัตโนมัติ และระบบชำระเงินอัตโนมัติ เป็นต้น   Well-being มอบสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคารระดับสากล ด้วยการติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อสุขอนามัยและสวัสดิภาพความปลอดภัยขั้นสูงด้วยมาตรฐานระดับโลก อาทิ ส่วนระบบปรับอากาศยังติตตั้งฟิลเตอร์กรองฝุ่น PM2.5 และระบบพลาสม่าฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงระบบรังสียูวีเพื่อลดจำนวนเชื้อโควิดที่ผ่านฟิลเตอร์กรองอากาศ จึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในการใช้อาคาร โครนอส     โครนอส ภายใต้แนวคิด ‘The Manhattan on Sathorn’ ผ่านความร่วมมือกับ 3 พันธมิตรชั้นนำ ทั้ง Palmer & Turner, Thai Obayashi และ Project Asia ในการพัฒนาโครงการในปัจจุบัน โครนอสได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพกว่า 50% โดยนำเสนอราคาเช่าเริ่มต้นต่อตารางเมตรที่ 900 บาท ในขณะที่ค่าเช่าออฟฟิศเกรด A ในทำเล CBD เฉลี่ยทั่วไปอยู่ที่ 1,178 บาท     อาคารสำนักงาน 28 ชั้นแห่งนี้ มีพื้นที่รวมกว่า 28,765 ตร.ม. ตอบโจทย์บริษัทที่ต้องการสำนักงานที่กว้างขวางและหรูหราไปจนถึงร้านค้าปลีกที่สะดวกสบาย โดยมีพื้นที่ให้เช่าต่อชั้น 1,150-1,270 ตร.ม. เหมาะกับองค์กรทุกขนาดรวมไปถึงบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการพื้นที่ทั้งชั้นสำหรับการทำงานหลายแผนก พร้อมที่จอดรถมากถึง 321 คัน   Kronos sathorn ตอบโจทย์ สำนักงานเกรด A เพื่อขยายฐานการดำเนินธุรกิจทั้งในเมืองไทยและเอเชีย โดยใช้ทำเลนี้เป็นฮับด้านธุรกิจ รวมถึงบริษัทที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์การเป็นบริษัทระดับนานาชาติ  เป็นอีกหนึ่งอาคารที่จะเป็นแลนด์มาร์คในย่านสาทร   บทความน่าสนใจ ไนท์แฟรงค์ เปิดข้อมูลตลาดออฟฟิศให้เช่า​ Q1/66 ซัพพลายเพิ่ม ดีมานด์เริ่มฟื้นตัว
10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC  ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML

10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML

10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML ที่เบียดอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนซ์ แอท ไอคอนสยามตกไปเป็นที่ 2   ถ้าวัดระดับความสูงของอาคารที่สูงที่สุดในไทยตอนนี้ คงต้องยกให้เป็นอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนซ์ แอท ไอคอนสยาม ของบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อาคารประเภทคอนโดมิเนียม ด้วยความสูงอาคาร 317.95 เมตร   แต่อีกไม่นาน จะมีอาคารแห่งใหม่ที่มาทำลายสถิติของแมกโนเลียส์ฯ และก้าวขึ้นเป็นอาคารสูงที่สุดในประเทศไทยแทน นั่นคื อาคาร OCC  (One City Centre) อาคารสำนักงานเกรดเอระดับลักชัวรี่แห่งใหม่ ในทำเลใจกลางเพลินจิต ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML ร่วมทุนกับ มิตซูบิชิ เอสเตท หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ และมีชื่อเสียงยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น   นายกรณ์ ณรงค์เดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RML เปิดเผยว่า อาคาร OCC เกิดขึ้นจากความมุ่งหวังที่จะสร้างสุดยอดสถาปัตยกรรมแห่งใหม่ขึ้นในกรุงเทพฯ โดยจะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเอเชีย ทั้งในฐานะที่ตั้งขององค์กรธุรกิจชั้นนำทั้งไทยและระดับโลก และยังเป็นจุดหมายปลายทางที่ทั้งคนไทยและนักเดินทางจากทั่วโลกอยากแวะเวียนมาเยือน การพัฒนาโครงการนี้ก้าวข้ามทุกขีดจำกัดแห่งจินตนาการ สู่การสร้างสรรค์โลกใบใหม่ภายใต้แนวคิด REIMAGINE YOUR WORLD โดยเป็นการผสานความร่วมมือกัน ระหว่างบริษัทออกแบบชั้นนำระดับโลกและบริษัทสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของไทย ตั้งแต่การออกแบบสถาปัตยกรรม ตกแต่งภายใน ตลอดจนภูมิทัศน์ เพื่อให้ที่นี่เป็นหนึ่งในอาคารสำนักงานที่เป็นสุดยอดในประเทศไทย ซึ่งผนวกพื้นที่สำนักงานระดับลักชัวรี่และศูนย์กลางไลฟ์สไตล์เหนือระดับเข้าไว้ด้วยกัน   โดยบริเวณด้านหน้าอาคารเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่เปิดให้ทุกคนมาพักผ่อนกับพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ ยาวตลอดด้านหน้าอาคาร รวมทั้งเสพงานศิลป์จากผลงานศิลปะหลายชิ้นของคุณโด่ง-พงษธัช อ่วยกลาง ศิลปินเเถวหน้าของเมืองไทย ที่มีรูปปั้นผลงานชิ้นเอกตั้งเรียงรายอยู่ด้านหน้า และด้านในอาคาร ภายในอาคารออกแบบฟังก์ชั่นเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน โดยมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ล้ำสมัยและครบครัน นอกจากนี้ ยังมีร้านค้าในพื้นที่รีเทล คาเฟ่ บาร์ และร้านอาหารชั้นนำที่   โดยมีที่ปรึกษาในการวางแนวคิดการออกแบบอาคาร คือ สกิดมอร์, โอวิงส์ และเมอร์ริล ไทยแลนด์ (Skidmore, Owings & Merrill (Thailand) หรือ SOM (Thailand) บริษัทดีไซน์ชั้นนำระดับโลก ซึ่งทำงานร่วมกับ ดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล (Design 103 International) บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมชั้นนำของไทยที่มีประวัติยาวนาน และมีผลงานอาคารระดับมาซเตอร์พีซมากมาย และแทนเดม อาร์คิเท็ค (2001) (Tandem Architects) บริษัทสถาปนิกแถวหน้าของไทยที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาคารสูง โดยมี ฉมา (Shma) บริษัทภูมิสถาปัตย์ชั้นนำที่เชี่ยวชาญด้านภูมิทัศน์ ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมเป็นที่ปรึกษาด้านภูมิทัศน์ ดีดับเบิ้ลยูพี (ประเทศไทย) (DWP (Thailand)) บริษัทออกแบบและตกแต่งภายในชั้นนำ  เป็นที่ปรึกษาด้านการตกแต่งภายใน   นอกจากนี้ ยังมีออเรคอน คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) (Aurecon Consulting (Thailand)) ผู้นำด้านบริการงานออกแบบ ให้คำปรึกษาและบริหารงานทางวิศวกร เป็นที่ปรึกษาด้านงานระบบไฟฟ้า และงานระบบเครื่องกล ด้วยจุดมุ่งหมาย ในการสร้างอาคารสำนักงานลักชัวรี่ที่มีดีไซน์สุดล้ำ ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมระดับโลกและศิลปะวัฒนธรรมไทยเข้าด้วยกัน เห็นได้จากแผงแนวเฉียงที่พาดอยู่บนส่วนหน้าของอาคาร (façade) ซึ่งเป็นดีไซน์ที่มีความสอดคล้องลงตัวกับสภาพอากาศเมืองไทย โดยทำหน้าที่ลดความร้อนจากแสงอาทิตย์เข้าสู่อาคาร ด้านนายนพดล ตันพิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล (D103i) บริษัทออกแบบชั้นนำของประเทศไทย กล่าวถึงการต่อยอดแนวคิดการออกแบบ OCC ว่า ได้วางภาพของ OCC ให้เป็นระบบนิเวศแบบสมาร์ทลิฟวิ่ง ที่ผสานเทคโนโลยีอาคารอันล้ำสมัย เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการอาคาร ให้สามารถประหยัดพลังงานได้สูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายในด้านความยั่งยืนด้วย แนวคิด REIMAGINE YOUR WORLD ของ OCC ประกอบด้วย: Reimagined Daily Work Rhythm – พื้นที่สำนักงานที่ OCC ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อหล่อเลี้ยงพลังชีวิตของคนทำงาน สร้างความสุขให้กับช่วงเวลาทำงานโดยมีนวัตกรรมที่ทันสมัย Reimagined Daily Green Intake - ด้วยเป้าหมายที่จะนำต้นไม้และธรรมชาติกลับมาสู่วิถีคนเมืองในกรุงเทพฯ OCC เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตใจกลางเมืองที่เขียวชอุ่มที่สุดในย่านเพลินจิต ด้วยพื้นที่สีเขียวกว่า 5,000 ตร.ม. Reimagined Office Space Possibilities - ด้วยโครงสร้างอาคารที่ไม่มีเสาคั่นกลาง ผู้เช่าจึงสามารถออกแบบ เลย์เอาต์สำนักงานได้อย่างอิสระตามความต้องการ สร้างสรรค์พื้นที่สำนักงานที่ดีที่สุดได้อย่างใจ Reimagined Retail and Food Selection - OCC มาพร้อมกับพื้นที่รีเทล คาเฟ่ บาร์ และร้านอาหารที่คัดสรรมาอย่างมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร รวมถึงบาร์และภัตตาคารหรูบนชั้นดาดฟ้าที่จะกลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์และเป็นหนึ่งในรูฟท็อปเดสทิเนชั่นที่ดีที่สุดในเอเชีย Reimagined Journey In and Out – สุดท้ายนี้ การเดินทางเข้าและออกจากอาคาร OCC ง่ายและสะดวกสบายติดสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเพลินจิต โดยใช้เวลาเดินเพียง 2 นาทีจากบีทีเอส และสามารถเดินเชื่อมต่อเข้าไปในอาคารผ่าน Sky Bridge ได้เลย หรือถ้าขับรถมาก็อยู่ห่างจากทางด่วนเพลินจิต เพียง 200 เมตร 10 เรื่อง OCC ตึกสูงสุดในไทย นอกจากนั้น 10 อินไซต์ต่อไปนี้จะช่วยขยายความแนวคิดของ OCC ให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นในการเปิดมิติใหม่สู่โลกของอาคารออฟฟิศและสุดยอดศูนย์กลางไลฟ์สไตล์แห่งอนาคต 1.แลนด์มาร์คใหม่เหนือเส้นขอบฟ้ากรุงเทพฯ OCC คืออาคารสำนักงานที่สูงที่สุดในไทยในปัจจุบัน ด้วยความสูง 275.76 เมตร และจะกลายเป็นแลนด์มาร์กใหม่อันโดดเด่น รวมทั้งไฮไลต์คือรูฟท็อปเดสทิเนชั่นบนชั้นดาดฟ้า ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดแห่งหนึ่ง พร้อมทัศนียภาพที่สวยเหนือคำบรรยายของกรุงเทพฯ 2.สถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก ตัวอาคารแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักที่มีลักษณะตรงกันข้าม คือส่วนแกนกลางเป็นแท่งทึบรูปทรงที่เพรียวบางหันสู่ทิศตะวันตก และส่วนผนังกระจกใสตลอดความยาวตึกซึ่งเป็นพื้นที่ออฟฟิศหันสู่ทิศตะวันออก รวมทั้งพื้นที่สีเขียวตามจุดต่าง ๆ ทั้งพื้นที่โถงใหญ่กลางอาคาร (Atrium) ระเบียง และสวนหย่อมกระจายอยู่ทั่วอาคาร 3.ความยั่งยืน + สุขภาวะของผู้ใช้อาคาร เริ่มต้นที่จากถนนหน้าอาคาร พื้นที่สีเขียวอันกว้างขวางซึ่งส่งผลให้พื้นที่ส่วนกลางของโครงการมีบรรยากาศที่เย็นสบาย เป็นประโยชน์ทั้งสำหรับผู้ใช้อาคารและตัวเมืองกรุงเทพฯ เมื่อเข้ามาสู่ภายในอาคาร การออกแบบเพดานสูงเปิดรับทั้งแสงธรรมชาติให้ส่องเข้ามาได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งทิวทัศน์กรุงเทพฯ แบบพาโนรามาอันน่าหลงใหล เป็นการลดทั้งการใช้พลังงานและช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สบายและผ่อนคลาย และงานระบบอาคารต่าง ๆ อันล้ำสมัย ทั้งเครื่องกล ไฟฟ้า และประปา (MEP) ช่วยให้อากาศภายในสะอาดบริสุทธิ์ 4.การออกแบบและก่อสร้างที่อาศัยเทคโนโลยีดาต้า การพัฒนาโครงการ OCC มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัยที่สุด เช่น การสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM) โดยใช้ข้อมูลอาคารเพื่อช่วยให้การออกแบบ การก่อสร้าง       และการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลดีต่อโครงการทั้งด้านการประหยัดต้นทุน ความยั่งยืน รวมทั้งก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย 5.โซลูชั่นออฟฟิศสุดเหนือระดับ พื้นที่ทำงานภายใน OCC ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนได้ในอนาคตเพื่อรองรับความต้องการในการทำงานที่แตกต่างกันและเปลี่ยนแปลงไป โดยมีระเบียงบนชั้น 14 และ 61 เป็นพื้นที่พักผ่อนอีกหนึ่งจุด รวมทั้งพบปะสังสรรค์ในโอกาสต่างๆ ระบบกรองอากาศในอาคารใช้แผ่นกรองประสิทธิภาพสูง MERV14 ช่วยให้อากาศภายสะอาดและสดชื่นตลอดเวลา 6.ประสบการณ์อัจฉริยะเพื่อผู้เช่า OCC ติดตั้งเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อสร้างประสบการณ์ที่เหนือระดับแก่ผู้เช่า เช่น แอปพลิเคชั่นมือถือสำหรับผู้เช่าอาคาร ระบบจดจำใบหน้า และระบบจดจำป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ มอบความสะดวกสบายด้วยระบบไร้สัมผัส ตั้งแต่การเข้า-ออกที่จอดรถ ลิฟต์ และอาคารสำนักงาน รวมทั้งการจองใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางและร้านอาหารผ่านโมบายแอป 7.รางวัลและการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ OCC ได้รับรางวัลการพัฒนาอาคารสำนักงานแห่งปี (Office Development of the Year) จากเวที Real Estate Asia Awards 2021 และยังเป็นอาคารสำนักงานแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรอง Fitwel ในระดับ 2 ดาวจาก Center for Active Design (CfAD ) ในหมวด Multi-Tenant Building ในฐานะอาคารที่มีคุณภาพการบริหารจัดการอันโดดเด่นและสร้างสุขภาวะที่ดีเยี่ยมให้กับผู้ใช้อาคาร และอยู่ในระหว่างการยื่นขอการรับรองมาตรฐาน LEED Gold สำหรับการออกแบบ การก่อสร้าง และการดำเนินงานของอาคารที่มีความยั่งยืน 8.สุดยอดรูฟท็อปเดสทิเนชั่นใจกลางกรุง บนชั้น 58 และ 61 ของอาคารคือสเปซแห่งการดื่มด่ำกับมื้ออาหารสุดพิเศษ ด้วยบาร์และภัตตาคารสุดหรู ดีไซน์และตกแต่งทุกรายละเอียดอย่างเหนือระดับพร้อมทิวทัศน์กรุงเทพฯ แบบ            พาโนรามา 360 องศา รวมทั้งภาพโค้งน้ำเจ้าพระยาที่สะกดทุกสายตาอย่างไม่มีอะไรมาขวางกั้น ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับผู้มีไลฟ์สไตล์แห่งการกินดื่มอันละเมียดทุกคน ทั้งชาวไทยและนานาชาติ 9.ผสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน ที่ตั้งโครงการแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สีเขียวที่ประวัติความเป็นมายาวนาน ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ให้คงเดิมมากที่สุด โดยออกแบบด้วยการเพิ่มพื้นที่เปิดโล่งหันหน้าสู่ถนนด้านหน้าได้เต็มที่ และยกพื้นที่กลางแจ้งทั้งหมดนี้ให้เป็นสวนสาธารณะที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ 10.สุดยอดทำเลใจกลางเมือง บนพื้นที่ 6 ไร่ ตรงข้ามศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ใช้เวลาเดินเพียง 2 นาทีจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเพลินจิต และมีทางเชื่อมลอยฟ้าจากอาคารเข้าสู่สถานีโดยตรง รวมทั้งอยู่ห่างจากจุดขึ้น-ลงทางด่วนเพลินจิตเพียง 200 เมตร   ทั้งหมดนี้ คือ 10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML ที่เบียดอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนซ์ แอท ไอคอนสยามตกไปเป็นที่ 2   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ไรมอนแลนด์ ปั้น แบรนด์เด็ดเรสซิเดนซ์ ขายวิลล่าหลังละ 1,000 ล้าน พร้อมสู่ธุรกิจ New Economy สร้างรายได้ประจำ
เสนา ดีเวลลอปเม้นท์  ไม่ขายบ้าน-คอนโดอย่างเดียวแล้ว  เปิด 10 ธุรกิจใหม่ 3กลุ่ม โฮลดิ้ง

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ไม่ขายบ้าน-คอนโดอย่างเดียวแล้ว เปิด 10 ธุรกิจใหม่ 3กลุ่ม โฮลดิ้ง

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ประกาศมูฟเม้นต์ ปี 2023 ชูจุดยืนธุรกิจองค์กรภายใต้วิชั่นของการเป็น Sustainable Business ผ่านคีย์เวิร์ด “SENA Multiplied” เบิกทางลงทุนพัฒนาโครงการและขยายโอกาสทางธุรกิจใหม่ ด้วยมูลค่า 55,000 กว่าล้านบาท ปูทางสร้างรากฐานตามแบบ “Lifelong Trusted Partner” เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงอายุ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของโลก แจงแผนเปิด 26 โครงการ 24,000 ล้าน​ ตั้งเป้ายอดขาย 18,000 กว่าล้าน และยอดโอนรวม 16,500 ล้าน   ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจและสิ่งที่คนทั่วโลกต้องเผชิญมีทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession) เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าแพงแต่รายได้เท่าเดิม และอัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอไม่ต่างไปจากปีที่ผ่านมา ประกอบกับสถานการณ์โลกที่แปรปรวน และปัญหาสิ่งแวดล้อม (Climate Change) ถือเป็นความท้าทายหรือ Social Challenge ของภาคธุรกิจ ทั้งการบริหารสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย ด้านสาธารณสุข รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ทำให้ทุกภาคธุรกิจให้ความสำคัญและผลักดันเป็นยุทธศาสตร์หลักเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบนแนวคิดสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้กับสังคม   ด้วย Core Business SENA พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยเพื่อขาย ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ทาวน์โฮมและอาคารชุด ธุรกิจเช่า ได้แก่ อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า ธุรกิจอาคารสำนักงาน ธุรกิจสนามกอล์ฟ ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจบริหารงานนิติบุคคล ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่พักอาศัย เป็นต้น วันนี้ SENA เรายกระดับ (ENHANCED) การพัฒนาโครงการบ้านติดโซลาร์สู่การพัฒนาบ้านพลังงานเป็นศูนย์ “ZERO ENERGY HOUSING” (ZEH)” ลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 20 % ในบ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียมของ SENA พร้อมขยายธุรกิจใหม่ (New Business) ที่หลากหลายและครอบคลุมตาม Mega Trend และ Social Challenge ผ่านแกนวิชั่นโครงสร้างองค์กรที่เป็นมากกว่า Property Developer สู่ “The Essential Lifelong Trusted Partner” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี บนแกน “SENA Multiplied” อย่างไรก็ตาม ทาง SENA วางงบเพื่อการลงทุนในการพัฒนาสินค้าและขยายโอกาสสู่ธุรกิจใหม่ 9,084 ล้านบาท โดยประกอบด้วย New Business to Strengthen Core Business SENA มุ่งมั่นในการต่อยอดพัฒนาอสังหาฯ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตลูกบ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ประกอบด้วย   1.จับมือบริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ NEC Thailand ที่ปรึกษาเทคโนโลยีด้านไอที บริษัทชั้นนำระดับโลก พัฒนาแพลตฟอร์ม “SMARTIFY” Smart Living Community เพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและลูกบ้าน   2.ธุรกิจบริการทางการเงิน “เงินสดใจดี” เพื่อเพิ่มความสามารถในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้า พร้อมให้คำปรึกษาและให้ความรู้ทางด้านการเงิน   3. ธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อบริการขายและให้เช่าอสังหาริมทรัพย์   4.ธุรกิจบริหารนิติบุคคลโครงการที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินแบบครบวงจร (Property Management)   5.ธุรกิจบ้านมือสอง “SENA SURE” โดยร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM และบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM คัดเลือกทรัพย์และนำมาปรับปรุงให้มีคุณภาพ ทางเลือกหนึ่งให้คนที่ต้องการที่อยู่อาศัย New Business New Foundation ขณะเดียว SENA การขยายธุรกิจใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สะดวกสบาย (Convenience) ให้กับทุกคน และเน้นธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ใหม่ให้กับการใช้ชีวิตเพื่อช่วยกันลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization Lifestyle) รวมถึงการนำเทคโนโลยีด้านบริการเข้าปรับใช้เพิ่มความสะดวกสบายให้กับทุกคนและในทุกช่วงชีวิต พุ่งเป้าหมายธุรกิจเมกะเทรนด์ (Mega Trends) ของโลก สร้างสังคมที่ยั่งยืน ทั้งด้านบริการครอบคลุมครบ ขณะเดียวกัน มองว่าเทรนด์การลงทุนในธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราพุ่งเป้าไปธุรกิจที่ตอบรับเมกะเทรนด์ (Mega Trend) ทั้งความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อโลก สังคม สุขภาพ​ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ประกอบด้วย   1. เตรียมขยายพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ใหม่ Premium Segment   2. การบริหารจัดการด้าน Hospitality เต็มรูปแบบ “Hotel & Service Apartment Management” ผ่านการจัดการด้วยมืออาชีพเฉพาะด้าน   3. ธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะฟื้นตัว (Nursing Home) “SJ HEALTHCARE” เพื่อรองรับการเติบโตของสังคมสูงอายุพัฒนา MEDICAL WELLNESS CENTER และ PRIMARY CARE สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการและความกังวลด้านดูแลสุขภาพโดยเฉพาะ   4.ธุรกิจ WAREHOUSE ให้เช่าแบบครบวงจร “METROBOX” ซึ่งเป็นอาคารคลังสินค้ามาตรฐานสากลเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เตรียมเปิด 2 ทำเล 1.บางนา บางพลี สมุทรปราการ และ 2.พหลโยธิน วังน้อย อยุธยา   5.จับมือบริษัท ชิเซ็น อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Shizen เพื่อลงทุนและศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ในการขยายตลาดด้านพลังงานหมุนเวียนร่วมกันในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมองหาพันธมิตรในการติดตั้ง “โซลาร์แนวตั้ง” สำหรับอาคารสูงในประเทศไทยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้มากที่สุด   6.เดินหน้าขยายพื้นที่ให้บริการชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV CHARGING STATION ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ เพื่อให้สอดคล้องไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (SMARTCITY) ปัจจุบันติดตั้งในหมู่บ้านของ SENA ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งสถานีชาร์ตรถไฟฟ้า (EV Charging Station) เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับลูกบ้านในโครงการและลูกค้าทั่วไปในอนาคต   7.บริษัท SENA REFORESTATION ปลูกป่ารักษาโลก ตามเป้าเจตนารมณ์ 100,000 ไร่ New Project Launch ปี 2023 เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 26 โครงการ รวมมูลค่า 24,024 กว่าล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 9 โครงการ 7,471 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม 17 โครงการ 16,553 ล้านบาท (ซึ่งใน 26 โครงการ แบ่งเป็นโครงการร่วมทุนกับ ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป 22 โครงการ 21,210 ล้านบาท) ตอกย้ำพันธมิตรธุรกิจที่แข็งแกร่ง 8 ปี ร่วมกันพัฒนาโครงการรวม 45 โครงการ มูลค่า 69,554 ล้านบาท ทั้งนี้ วางเป้าหมายสร้างนิวเรคคอร์ดครั้งใหม่ของบริษัท ด้วยเป้ายอดขาย 18,242 ล้านบาท และเป้าโอนรวม 16,539 ล้านบาท โดยมีสินค้าที่เหลือขาย คิดเป็นมูลค่า 22,294 ล้านบาท เพื่อรอรับรู้รายได้ในอนาคต   แต่อย่างไรก็ตาม เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ยังมองถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก แผนเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ และธุรกิจใหม่ รองรับ Mega Trend ที่พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าและการบริการ สานต่อจุดยืนขององค์กรที่เป็นมากกว่าคนพัฒนาอสังหาฯ ด้วยการเป็น “THE ESSENTIAL LIFELONG TRUSTED PARTNER” เพื่อสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกช่วงชีวิต   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เสนาฯ เปิดโมเดล​ บ้านพลังงานเป็นศูนย์ เดินหน้าสู่บริษัท ด้านความยั่งยืน -[PR News] เสนาเจ จับมือ NEC พลิกโฉม “Smart Living Community”
4 โซนไฮไลท์ ใน “เกษรอัมรินทร์”   ชื่อใหม่ของ อัมรินทร์พลาซ่า

4 โซนไฮไลท์ ใน “เกษรอัมรินทร์”  ชื่อใหม่ของ อัมรินทร์พลาซ่า

เกษร พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป ทุ่ม 1,000 ล้าน พลิกโฉม อัมรินทร์พลาซ่า ศูนย์การค้าเก่ากว่า 40 ปี สู่ “เกษรอัมรินทร์” ต่อยอดโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส สร้างความสมบูรณ์แบบให้ย่านราชประสงค์ กับ 4 โซนไฮไลท์ที่พร้อมให้บริการปี 66 นี้   หลังจากเกษร พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป ได้ปรับโฉมศูนย์การค้าเกษรและพื้นที่สำนักงานใหม่ กลายเป็น เกสรวิลเลจ ต่อยอดการเป็นจุดไฮไลท์สำคัญของย่านราชประสงค์แล้ว ตอนนี้ก็เดินหน้าปรับโฉม อัมรินทร์พลาซ่า ศูนย์การค้าเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ย่านราชประสงค์ กับรูปโฉมใหม่ ที่จะมาเติมเต็มให้แยกราชประสงค์แลนด์มาร์คและพื้นที่ใจกลางธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ ให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้   สำหรับเกษรอัมรินทร์ เดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ “อัมรินทร์พลาซ่า” ที่มีตำนานอันยาวนานกว่า 40 ปีของประเทศไทยในย่านราชประสงค์ กำลังเข้าสู่มิติใหม่ของความเป็นศูนย์กลางแห่งไลฟ์สไตล์อินเทรนด์ในแนวคิด Immersive Experience สร้างสีสันและประสบการณ์ใหม่ที่เจิดจรัสบนย่านที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและความงดงามที่สั่งสมจากหลายมิติ ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ การผสมผสานของความล้ำสมัย ในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและระดับโลก 4 โซนไฮไลท์ ใน “เกษรอัมรินทร์” โดยเกษรวิลเลจ ยกระดับจากโครงการมิกซ์ยูสสู่การพัฒนา “Placemaking” อย่างเต็มรูปแบบแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย เริ่มปรับโฉมครั้งใหญ่ของ “เกษรอัมรินทร์”  ให้เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ และพื้นที่ให้กลุ่ม like-minded community พบปะและมีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างลงตัว  ซึ่งเตรียมเปิดบริการอย่างเป็นทางการใน ไตรมาส 4 ปี 2566   โฉมใหม่ของ เกษรอัมรินทร์ จะเป็นการขยายพื้นที่ของแต่ละองค์ประกอบ (Component) พร้อมกับการรังสรรค์พัฒนาควบคู่กับแบรนด์ บริษัทชั้นนำทั้งระดับโลก และชั้นนำของประเทศไทย เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับกลุ่มผู้ใช้บริการและลูกค้า ซึ่งจะมี 4 โซนไฮไลท์ที่สำคัญ  ได้แก่ 1.Fashion Style Component ต่อยอดจาก Designer Lane พื้นที่รวบรวมแบรนด์แฟชั่นระดับโลก เพิ่มเติมแบรนด์แอคทีฟแฟชั่นสปอร์ตเข้ามาในพื้นที่ให้ลูกค้าและดีไซเนอร์ได้มาเจอกั   สำหรับพื้นที่โซน Fashion Style Component ต่อยอดจาก Designer Lane  จะมีแบรนด์แฟชั่นระดับโลก อาทิ Club 21, Comme des Garçons, Diane Von Furstenberg, Boss by Hugo Boss, Boyy, Max Mara และอีกมากมาย ขยายเพิ่มเติมแบรนด์แอคทีฟแฟชั่นสปอร์ตเข้ามาในพื้นที่ พร้อมจัดกิจกรรมให้เป็นพื้นที่ที่ให้เหล่าดีไซเนอร์ชั้นนำของโลกและประเทศไทยได้จัดแสดงผลงาน art & culture แชร์ประสบการณ์ และเรื่องราวของผลงานให้กับลูกค้าที่ชื่นชอบในตัวดีไซเนอร์ 2.Food Style Component ขยายส่วนของ Gaysorn Food Village จากปัจจุบันที่รวบรวมร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ เติมเต็มด้วยร้านอาหารที่เป็น specialty ที่ร่วมรังสรรค์ใหม่กับเชฟ และมิกโซโลจิตส์ระดับรางวัล   พื้นที่ Food Style Component จะมีร้านอาหารชั้นนำ ตั้งแต่ร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ ได้แก่ Ginza Sushi Ichi, Paste ร้านโอมากาเสะ ร้าน One & Only และ First to Thailand (new to market) ได้แก่ Hei Yin, Burger & Lobster, Isola เติมเต็มประสบการณ์ให้ผู้คนได้สังสรรค์ในพื้นที่ Hanging Garden เกษรอัมรินทร์ นำเสนอ Specialty Food & Beverage เช่น ร้าน Izakaya ร้าน Thai Grill และร้านอาหารคอนเซ็ปต์ใหม่ ๆ จากเชฟระดับรางวัล รวมไปถึงพื้นที่บาร์ รังสรรค์โดยมิกโซโลจิสต์ระดับประเทศ ที่จะเป็นศูนย์กลางของแหล่งแฮงเอาท์ที่ใหม่ในย่านราชประสงค์ 3.Life & Wellness style  ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าคนเมือง คำนึงไปถึงการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี การออกกำลังกาย และพัฒนาความสวยความงามของแต่ละบุคคล รวมไปถึงไลฟ์สไตล์แบบลักชัวรี และผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรม outdoor sport   โซน Life & Wellness style Component curate concept Gaysorn Urbanist Retreat ได้ถูกพัฒนาพื้นที่ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าคนเมือง โดยคำนึงถึงการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี การออกกำลังกาย และพัฒนาความสวยความงามของแต่ละบุคคล และผู้ใช้ชีวิตในเมืองให้บาลานซ์ชีวิตในการทำงานและการดูแลตนเอง รวมไปถึงการรวบรวมแบรนด์ไลฟ์สไตล์แบบลักชัวรีจากแบรนด์ระดับโลก อาทิ Steinway & Sons, Bang & Olufsen, Leica, Rimowa ฯลฯ ไปจนถึงผู้ที่ชื่นชอบใช้ชีวิตแบบแอคทีฟ และกิจกรรม outdoor sport ต่าง ๆ เช่น Camping ปีนเขา และเล่นเซิร์ฟ ฯลฯ 4.Workstyle Component ด้วยคำนึงถึงการใช้ชีวิตของคนทำงานในเกษรวิลเลจ และในย่านราชประสงค์ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้อย่างสะดวกสบาย และสนุกไปกับการใช้ชีวิตอย่างลงตัว   โซน Workstyle Component ที่คำนึงถึงการใช้ชีวิตของคนทำงานในเกษรวิลเลจและในย่านราชประสงค์ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มพื้นที่ที่ให้คนกลุ่ม workstyle สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน รวมถึงพันธมิตรในธุรกิจ ได้อย่างสะดวกสบาย และสนุกไปกับการใช้ชีวิตอย่างลงตัว ทุ่ม 1,000 ล้านพลิกโฉม เกษรอัมรินทร์ โฉมใหม่ของ “เกษรอัมรินทร์” ครั้งนี้ มีบริษัท CL3 สถาปนิกชื่อดังที่มาสร้างสรรค์ และออกแบบให้เกษรวิลเลจมีประสบการณ์ต่อเนื่องอย่างไร้รอยต่อ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Old-New Spirit” กับการสืบสานคุณค่าที่มีมาจากในอดีตพร้อมก้าวสู่อนาคตเบื้องหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน   นายชาญ ศรีวิกรม์ ประธานบริหารกลุ่มเกษร พร๊อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป เล่าว่า เส้นทางการพัฒนาเกษรวิลเลจในวันนี้และในอนาคตจะเหนือกว่าการเป็นห้างสรรพสินค้าที่พร้อมให้ทุกคนเข้ามาพบกับประสบการณ์การช้อปปิ้ง หรือเป็นอาคารมิกซ์ยูสที่รวม 3 อาคาร ได้แก่ เกษรทาวเวอร์ เกษรเซ็นเตอร์ และเกษรอัมรินทร์ ที่ไม่เพียงแต่มอบความหลากหลายของการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังจะมีบทบาทใหม่ของการเป็นผู้พัฒนา Placemaking สร้างพื้นที่ที่ทุกคนสามารถดื่มด่ำหรือร่วมสร้างแรงบันดาลใจ และความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างมีเอกลักษณ์ในแบบฉบับของแต่ละบุคคล เกษรวิลเลจจะทำให้ทุกคนได้สัมผัสกับวิถีการใช้ชีวิตที่เพิ่มคุณค่า สร้างความผูกผัน และใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ในเออร์บันวิลเลจที่โดดเด่นและแตกต่าง หลอมรวมกันได้จาก 4 Component ที่เราจัดเตรียมไว้ หนึ่งในความสำเร็จของเกษรวิลเลจกับการเป็นผู้พัฒนา Placemaking ในรูปแบบ “วิลเลจ” คือการสร้างการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อของผู้คนที่เข้ามาใช้บริการในพื้นที่ จากการเริ่มพัฒนาเฟสแรกทางฝั่งเหนือคือ เกษรเซ็นเตอร์ และเกษรทาวเวอร์ ในปี 2560 โดยมี Ratchaprasong Walk (R Walk) ให้เข้าถึงอาคารได้สะดวกสบายหลายจุด โดยรูปลักษณ์ใหม่ของเกษรอัมรินทร์สัมผัสได้จากการดีไซน์มุมมองใหม่ด้านหน้าอาคาร (Façade) เป็นแนวคิดสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “เกษร โคคูน” (Gaysorn Cocoon) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากรังไหม อันเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญเติบโตงอกงามอย่างสวยงาม พร้อมการผสมผสานไปกับเสาโรมัน ที่เป็นสัญลักษณ์ของความรอบรู้ และภูมิปัญญาอย่างยั่งยืน การออกแบบยังได้คำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) โดยจะมีประสบการณ์จากทั้งภายนอกเชื่อมโยงสู่ภายในอาคาร เติมเต็มพื้นที่สีเขียว และสร้างสถานที่ตอบโจทย์ผู้คนให้ได้มาพบปะสังสรรค์ในพื้นที่ Hanging Garden อีกด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่ลานอเนกประสงค์ Piazza ที่กว้างขวางเปิดรับผู้คน สอดประสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่นอกอาคารจรดถนน สร้างสรรค์บรรยากาศอันสดใสเหมาะสำหรับการจัดอีเวนต์ต่าง ๆ ตลอดจนพื้นที่ Forum ด้านใน เป็นพื้นที่อีเวนต์สเปซ เพื่อมอบประสบการณ์แห่งไลฟ์สไตล์ที่เปี่ยมด้วยบรรยากาศอันคึกคัก สนุกสนาน และเพลิดเพลินยิ่งกว่าเดิม   นอกจากนี้ การปรับโฉมอัมรินทร์พลาซ่าสู่การเป็น “เกษรอัมรินทร์” ที่จะเปิดตัวเต็มรูปแบบปลายปี 2566 จะส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างชีวิตชีวาทางธุรกิจให้ย่านราชประสงค์เป็นศูนย์กลางไลฟ์สไตล์ (Bangkok’s Capital of Lifestyle District) ใจกลางเมืองแห่งแรกหนึ่งเดียวของกรุงเทพฯ ย่านราชประสงค์จะครบครันที่สุดด้วยทุกองค์ประกอบ ทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า เอ็นเตอเทนเมนต์ โรงแรม ที่พักอาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ ตลอดจนพื้นที่สีเขียว และสวนสาธารณะที่เชื่อมโยงถึงกันหมดภายในระยะเดินเพียงไม่กี่ก้าว เติมเต็มการใช้ชีวิตในทุกช่วงเวลาของทุกวันให้กับลูกค้า นักท่องเที่ยว ตลอดจนพันธมิตร ผู้เช่า และผู้อยู่อาศัย การก้าวสู่การเป็นผู้พัฒนา Placemaking ของเกษรวิลเลจในครั้งนี้ ใช้งบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท  โดยเกษรวิลเลจพร้อมให้พื้นที่ทั้ง 3 ส่วนเป็นจุดเชื่อมโยงประสบการณ์การใช้ชีวิต การทำงาน และช้อปปิ้งที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เกษร พร็อพเพอร์ตี้ เปิดตัว “GAYSORN VILLAGE – เกษรวิลเลจ -เกษร วิลเลจ เปิดอาณาจักรเกษร ทาวเวอร์ ดันยอดเช่าพื้นที่กว่า 60% โชว์กลยุทธ์ “Workplace Strategy”
[PR News] IWG จับมือ BDO รับเทรนด์การทำงานแบบไฮบริด เช่าพื้นที่ 500 ตร.ม.

[PR News] IWG จับมือ BDO รับเทรนด์การทำงานแบบไฮบริด เช่าพื้นที่ 500 ตร.ม.

ไอดับบลิวจี  (IWG) ผู้ให้บริการพื้นที่ทุกรูปแบบ ตามความต้องการของผู้ใช้  ในแบบเฟล็กซ์และไฮบริด ประกาศความร่วมมือกับ BDO เครือข่ายธุรกิจบัญชีขนาดใหญ่อันดับ 5 ของโลกที่ให้บริการครอบคลุมด้านประกัน ภาษี และที่ปรึกษาทางการเงินแก่ลูกค้าจากทุกมุมโลก   โดย BDO ไว้วางใจเลือกใช้พื้นที่ 500 ตร.ม. ที่ Regus Exchange Tower ใจกลางกรุงเทพฯ เป็นสำนักงานแบบไฮบริดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ พนักงานของบริษัทจะสามารถเข้าถึงเครือข่ายของไอดับบลิวจี ทั่วโลกได้ โดยปัจจุบันมีพื้นที่ให้บริการในจุดสำคัญของประเทศไทยถึง 26 แห่ง ปัจจุบัน BDO ให้บริการลูกค้าบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ และกิจการระหว่างประเทศ  มีเครือข่ายทั่วโลก สำหรับไอดับบลิวจี นั้น มีพื้นที่สำนักงานในเมืองสำคัญทั่วโลกกว่า 120 ประเทศ กว่า 3,500 แห่งทั่วโลก  และมีความร่วมมือกับ BDO แล้วในสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น อิสราเอล และกายอานา จึงได้ขยายความร่วมมือในประเทศไทย ​   นายกาเร็ท เฮเวอร์ ซีอีโอ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ IWG เปิดเผยว่า ปัจจุบันหลาย ๆ บริษัทเปลี่ยนมาเป็นไฮบริดโมเดลมากขึ้น เพราะตอบโจทย์ความต้องการของทีมงานให้มีความยืดหยุ่นและสมดุลในชีวิต ทำงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมเข้าไปมีส่วนร่วมและช่วยสนับสนุนลูกค้าได้เต็มที่ IWG จึงพยายามผลักดันเทรนด์พื้นที่การทำงานแบบไฮบริด ที่เป็นหนึ่งในโซลูชันบริการของเราที่ช่วยตอบโจทย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในรูปแบบใด   ปัจจุบัน IWG มีแบรนด์ในเครือหลากหลาย ได้แก่ Regus, Spaces, No18, Basepoint, Open Office และ Signature โดยในปี 2022  ได้มุ่งสร้างการเติบโตเชิงรุก จึงเตรียมเปิดจุดให้บริการอีก 8 แห่งเร็ว ๆ นี้  ในเขตปริมณฑล เนื่องจากมองเห็นโอกาสและศักยภาพของกรุงเทพฯ ที่จะพัฒนาเป็นการทำงานแบบไฮบริด ซึ่งจะส่งให้เครือข่ายของบริษัทเติบโต ขยายตัว และส่งเสริมการทำงานในพื้นที่ไฮบริด     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -IWG x รัตนากร ขยายสำนักงานให้เช่า วางเป้า 10 ปี 40 แห่งทั่วไทย -IWG จับมือ รัตนากร แอสเซท บริหารออฟฟิศให้เช่า 40 แห่งทั่วไทย
อิเกีย  x STEPS  ออกแบบออฟฟิศสำหรับทุกคน ด้วย 5 เทคนิครองรับความแตกต่าง

อิเกีย x STEPS ออกแบบออฟฟิศสำหรับทุกคน ด้วย 5 เทคนิครองรับความแตกต่าง

อิเกีย อิเกีย  จับมือ STEPS  ออกแบบออฟฟิศสำหรับทุกคน เพราะโลกมีความแตกต่าง ด้วย 5 เทคนิคการออกแบบพื้นที่ และออฟฟิศ ที่สามารถรองรับความแตกต่างของคนได้รูปแบบ   แม้ว่ามนุษย์ทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “คน” แต่ต้องยอมรับว่าแต่ละคนต่างก็มีความแตกต่าง และมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความคิด วิถีชีวิต รสนิยมทางเพศ  แม้กระทั่งรูปร่าง หน้าตา หรือโครงสร้างของร่างกาย ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีความปกติทั่วไป หรืออาจจะมีพิเศษกว่าคนอื่น   แต่สรุปสุดท้ายแล้ว คนทุกคนบนโลกนี้ ล้วนแต่มีความเป็น “มนุษย์” ที่เหมือนกันและเท่าเทียมกัน จึงต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และเสมอภาคไม่ว่าคน ๆ นั้นจะเป็นใคร เกิดมาด้วย รูปลักษณ์ หน้าตา หรือมีความพิเศษแตกต่างจากคนทั่วไปก็ตาม โดยเฉพาะประเทศไทย ที่คนไทยทุกคน อยู่ภายใต้การปกครองที่มีรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ย่อมจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกัน ตามหลักสิทธิมนุษยชน ​ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะพบว่าคนส่วนใหญ่ของสังคม เริ่มตระหนักและให้ความสำคัญ กับความเสมอภาค และความเท่าเทียมกัน เพราะคนส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจ และยอมรับกับความแตกต่าง และความหลากหลายของผู้คนในสังคม ที่แม้จะเป็นคนเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันไปในหลากหลายเรื่อง   ไม่เพียงแต่ผู้คนในสังคมเท่านั้น ที่ตระหนักและให้ความสำคัญกับประเทศความเท่าเทียม และความเสมอภาคกันเท่านั้น หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ก็หันมาให้ความสำคัญ​และตระหนักถึงประเด็นสังคมนี้ด้วย เพราะทุกคน ทุกองค์กร ต่างเชื่อและเคารพในทุกความต่างของคนในสังคม ซึ่งหนึ่งในองค์กรนั้น คือ “อิเกีย” ศูนย์จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ และของแต่งบ้าน สัญชาติสวีเดน   นางสาววรันธร เตชะคุณากร ผู้จัดการแผนก Inspiration & Communication อิเกีย ประเทศไทย  เล่าว่า วิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจของอิเกีย คือ การสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีกว่าให้กับคนทั่วไป รวมถึงการเคารพในทุกความต่าง และต้องการที่จะสร้างโลกใบนี้ให้เป็นบ้านสำหรับทุกคน ให้สามารถใช้ชีวิตที่ดีได้อย่างเท่าเทียมกัน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจ อิเกีย จึงได้ออกแบบสินค้าที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านความสวยงาม ราคา และฟังก์ชั่น เพื่อรองรับการใช้งานของคนที่มีความแตกต่างในสังคม ล่าสุด อิเกีย ได้ร่วมมือกับ STEPS องค์กรที่ให้การฝึกอาชีพและสนับสนุนการจ้างงาน ให้กับบุคคลที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ จัดทำพื้นที่ “Inclusive Office” หรือโมเดลออฟฟิศต้นแบบที่ออกแบบสำหรับทุกคน ด้วยการนำเอาเฟอร์นิเจอร์และของใช้สำนักงาน มาจัดพื้นที่สำนักงานให้พนักงานของ STEPS ได้ทำงานอย่างคล่องตัว และสอดล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล ซึ่งถือเป็น 1 ในกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR ของอิเกียในปีนี้ นางสาววรันธร  เล่าอีกว่า อิเกียรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ เพราะอิเกียตระหนักดีถึงศักยภาพของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ (Neurodivergent people) รวมไปถึงบุคคลที่มีภาวะออทิสซึม ดาวน์ซินโดรม ฯลฯ พวกเขาสามารถทำงานและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับทุกคนได้เป็นอย่างดี เพียงแต่องค์กรจะต้องออกแบบสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความหลากหลาย และแตกต่างของผู้ใช้งาน เรายอมรับในความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ ศาสนา เชื้อชาติ เราไม่มีการแบ่งแยกเรื่องเหล่านี้ และเวลาออกแบบสินค้า จะมองหาสิ่งที่พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของผู้คน สำหรับแนวทางการออกแบบเพื่อที่ออฟฟิศสำหรับทุกคน  อิเกีย จะมุ่งเน้นในเรื่องของฟังก์ชั่นการใช้งาน มากกว่าเรื่องความสวยงาม ซึ่งการออกแบบจะต้องเข้าใจผู้ใช้งาน และรู้ถึงความต้องการของแต่ละบุคคล ว่ามีการใช้งานและกิจกรรมในแต่ละวันอย่างไร เพื่อออกแบบให้เหมาะสม ตั้งแต่เรื่องของโต๊ะและเก้าอี้ทำงาน แสงสว่าง อุปกรณ์กาจัดเก็บ ด้านนางสาวแม็กซ์ ซิมป์สัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง STEPS Community กล่าวว่า องค์กรหรือบริษัทในประเทศไทย ยังมีอัตราการรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางการรับรู้เข้าทำงาน ในหน่วยงานนั้นในอัตราที่ต่ำ ซึ่งตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดสัดส่วนองค์กรที่มีพนักงาน 100 คน จะต้องรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางการรับรู้เข้าทำงาน 1 คน หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องชำระเป็นเงินค่าปรับให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปีแทน  ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่เลือกจะเสียเงินค่าปรับแทน 98% ขององค์กรในประเทศไทย เลือกที่จะเสียค่าปรับแทนการรับคนเหล่านี้เข้าทำงาน โดยการทำงานของ STEPS จะมุ่งเน้นการฝึกสอนทักษะการทำงาน และการช่วยเหลือด้านการทำงาน สร้างกระบวนการทำงานที่กลุ่มคนเหล่านี้เข้าใจ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ๆ ในองค์กรได้ ซึ่งความต้องการของกลุ่มคนเหล่านี้ จะมี 3 เรื่องหลัก คือ รูปแบบการทำงาน ระบบการทำงาน และคนที่จะมาช่วยสอนการทำงาน ขณะเดียวกันองค์กรก็จะต้องมีนโยบาย ในการสนับสนุนการทำงานของคนเหล่านี้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวก มีสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการทำงานของกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย "เรามุ่งมั่นที่จะสร้าง Inclusive Community หรือชุมชนที่ไม่แบ่งแยก จึงเป็นโอกาสดีที่เราได้ร่วมมือกับอิเกีย องค์กรที่มีวิสัยทัศน์ตรงกัน ในการจัดทำโมเดลต้นแบบออฟฟิศสำหรับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความพิการ และบุคคลที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ ซึ่งองค์กรต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้ ออฟฟิศต้นแบบของเรามีพื้นที่ 100 ตร.ม. รองรับคนทำงาน 25 คน โดยอิเกียได้ให้การสนับสนุนด้านเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่ง" 5 เทคนิคจัดออฟฟิศสำหรับทุกความต่าง สำหรับไอเดียในการจัดพื้นที่และออฟฟิศ ที่สามารถรองรับกับการอยู่ร่วมกันของคนที่มีความหลากหลาย และความแตกต่าง ทางอิเกีย มี 5 ไอเดียมาแนะนำ ให้กับองค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจ นำเอาไปปรับใช้ได้ตามขนาดและพื้นที่ของแต่ละแห่ง ดังนี้ 1.จัดแบ่งพื้นที่ตามกิจกรรมหรือประเภทงานที่ทำ เพื่อช่วยให้คนทำงาน/พนักงาน โฟกัสกับงานที่รับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น อาจหาตู้วางของ หรือตู้หนังสือมาช่วยแบ่งโซน 2.เลือกความสว่างและแสงไฟที่เหมาะสมกับแต่ละคน  แสงไฟ หรือความสว่างมีผลต่อการทำงาน ดังนั้นการเลือกใช้ไฟที่สามารถปรับหรือกระจายความสว่าง หรือปรับความสูงได้ ก็จะช่วยให้คนทำงานแต่ละคน สามารถปรับได้ตามความชอบ โดยไม่รบกวนเพื่อนร่วมงานคนอื่น 3.เลือกเก้าอี้ที่เหมาะสมกับแต่ละคน  เก้าอี้เป็นอีกหนึ่งเฟอร์นิเจอร์ที่แต่ละคนมีความถนัดหรือความชอบไม่เหมือนกัน บางคนชอบแบบมีล้อเลื่อน บางคนชอบแบบที่อยู่นิ่ง บางคนชอบแบบมีที่วางแขน รวมถึงความสูงต่ำของพนักพิง ดังนั้นควรเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เลือกเก้าอี้ด้วยตัวเอง แต่สามารถคุมโทนได้โดยการใช้สี หรือวัสดุแบบเดียวกัน 4.เลือกโต๊ะทำงานที่เหมาะสมกับแต่ละคน   ควรเลือกใช้โต๊ะที่สามารถปรับระดับความสูงได้ให้เหมาะกับการใช้งานและสรีระของแต่ละคน นอกจากนี้ พนักงานบางคนชอบที่จะยืนทำงานเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ หรือบางงานจำเป็นจะต้องยืนทำงานเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก 5.จัดพื้นที่ให้เป็นระบบ การวางระบบ/แบบแผน (systematic) ไว้ล่วงหน้าว่าอะไรจะต้องอยู่ตรงไหนเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เพื่อตอบโจทย์ workflow หรือกระบวนการทำงาน จะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   เราได้แต่หวังว่า นับจากนี้ต่อไป จะได้เห็นการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ที่มีความหลากหลายและแตกต่าง ร่วมกันมากขึ้น ไม่เพียงแต่การใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังหมายความรวมถึงการทำงาน การประกอบอาชีพ เพราะเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับศักยภาพเป็นของตนเอง ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป  ซึ่งสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข จุดเริ่มต้นคงต้องเกิดจากความเข้าใจ และยอมรับในความแตกต่างนั้น และหลังจากนั้น ก็จะเป็นการหาแนวทางที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และเคารพสิทธิของความเป็นคนที่ทุกคนมีอย่างเท่าเทียมกัน    อ่านบทความที่น่าสนใจ -อิเกียสุขุมวิท ซิตี้สโตร์แห่งแรกในเซาท์อีสเอเชีย ปักหมุด ดิ เอ็มสเฟียร์ พร้อม เปิดปลายปี 66 -10 ปีอิเกีย กับ 5 กลยุทธ์ สร้างการเติบโตปีละ 5%
พาไปดู โปรเจ็กต์หมื่นล้าน “ไวส์พาร์ค มีนบุรี”  มิกซ์ยูสใหญ่สุดของ แอสเสทไวส์ ในรอบ 10 ปี

พาไปดู โปรเจ็กต์หมื่นล้าน “ไวส์พาร์ค มีนบุรี” มิกซ์ยูสใหญ่สุดของ แอสเสทไวส์ ในรอบ 10 ปี

ไวส์พาร์ค แอสเสทไวส์ ปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส์ หมื่นล้าน ใหญ่สุดรอบ 10 ปี เจาะพื้นที่ มีนบุรี รองรับเส้นทางรถไฟฟ้า 2 สาย “ชมพู-เหลือง” ประเดิม “แอทโมซ โฟลว์ มีนบุรี” มูลค่า​ 1,350 ล้าน พร้อมวางโรดแมปพัฒนาจบใน 6 ปี กับ 4,500 ยูนิตที่พักอาศัย   ถ้าย้อนดูโครงการที่บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) พัฒนามาตลอดระยะเวลา 9 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งธุรกิจในปี 2556 โครงการที่นับมีขนาดใหญ่พื้นที่ใหญ่สุด และมูลค่ามากที่สุด ก็คือ โครงการเคฟทาว์ รังสิต ด้วยมูลค่าโครงการรวม 9,100 ล้านบาท มีจำนวนยูนิตรวม 5,000 ยูนิต บนเนื้อที่ 60 ไร่ จากจำนวนโครงการที่พัฒนามาทั้งสิ้น 44 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 46,700 ล้านบาท   แต่ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 10 ในปี 2565 แอสเซทไวส์ ก็ได้พัฒนาโครงการที่มีมูลค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์การดำเนินธุรกิจ กับ “ไวส์พาร์ค มีนบุรี” (WISEPARK Minburi) โครงการมิกซ์ยูส ขนาดใหญ่บนพื้นที่ 33 ไร่ ย่านมีนบุรี มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท หลังจากได้ซื้อที่ดินมาในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้ นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอสเซทไวส์ เล่าว่า ได้ตัดสินใจซื้อที่ดินแปลงนี้มา ซึ่งมีขนาดใหญ่แต่อยู่ในทำเลที่มีศักยภาพ เพราะอยู่ใกล้สถานนีรถไฟฟ้าสายสีชมพู สถานีตลาดมีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีมีนบุรี  และมองเห็นศักยภาพของที่ดิน ในการพัฒนาโครงการให้เป็นรูปแบบมิกซ์ยูส เพราะมีประสบการณ์การพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวมาแล้ว จากโครงการเคฟทาวน์รังสิต ที่ได้กระแสตอบรับที่ดี ไวส์พาร์ค มีนบุรี โปรเจ็กต์หมื่นล้าน สำหรับโครงการไวส์พาร์ค มีนบุรี จะมีมูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท ประกอบไปด้วยโครงการคอนโดมิเนียม ทั้งรูปแบบโลว์ไรส์ และไฮไลท์ คอมมูนิตี้มอลล์ พื้นที่อาคารสำนักงานให้เช่า และพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ซึ่งในโครงการจะแบ่งการพัฒนาออกเป็นเฟส ใช้ระยะเวลาการพัฒนาและก่อสร้างประมาณ 6 ปี ซึ่งภายในโครงการมีรายละเอียดดังนี้ 1.”มิงเกิ้ล มีนบุรี” คอมมูนิตี้ มอลล์ บริเวณด้านหน้าโครงการฝั่งซ้ายมือเมื่อหันหน้าเข้าโครงการ จะถูกพัฒนาเป็นคอมมูนิตี้มอลล์  “มิงเกิ้ล มีนบุรี”  ขนาดพื้นที่อาคาร 8,857 ตร.ม. มูลค่าโครงการประมาณ 300 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปีหน้า ภายในคอมมูนิตี้มอลล์ จะประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้า และร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ อาทิ สุกี้ตี๋น้อย โลตัส โก เฟรช เป็นต้น   ส่วนบริเวณด้านหน้าฝั่งขวามือ ปัจจุบัน คือ  ไวส์พาร์ค พาวิลเลี่ยน ซึ่งเป็นสำนักงานขายของโครงการ ที่ออกแบบและพัฒนาให้มีพื้นที่สีเขียวบนอาคาร ซึ่งทำให้สามารถใช้เป็นสวนส่วนกลางสำหรับลูกบ้าน หรือคนในชุมชนใกล้เคียงได้ทั้งปัจจุบันและในอนาคตด้วย ขณะที่ทั้งโครงการมีพื้นที่สีเขียวรวมกว่า 12 ไร่ เพื่อให้ลูกบ้านได้ใช้บริการด้วย 2.มิกซ์ยูสคอนโด+ออฟฟิศ ถัดจากคอมมูนิตี้มอลล์เข้ามา แอสเซทไวส์ วางแนวทางการพัฒนาเป็นโครงการขนาดสูง 45 ชั้น 1 อาคาร ที่จะประกอบไปด้วยส่วนพักอาศัยและพื้นที่สำนักงาน  ส่วนที่พักอาศัยเบื้องต้นจะใช้แบรนด์โมดิซ แต่ทั้งนี้อาจจะปรับเปลี่ยนแบรนด์ได้ในอนาคต โดยพิจารณาสภาวะตลาดและผลการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าอีกครั้งหนึ่ง   สำหรับพื้นที่ออฟฟิศได้วางสัดส่วนไว้ประมาณ 10-15% ของอาคาร มีการจัดพื้นที่แยกกับส่วนพักอาศัย ด้วยการมีลิฟต์ส่วนตัว มีการจดทะเบียนเป็นพื้นที่พาณิชย์ ที่ผู้ซื้อสามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ โดยเป็นการขายพื้นที่ไม่ได้เป็นการให้เช่า​ ซึ่งแอสเซสไวส์มองกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือกลุ่ม SME ที่มีพนักงานไม่เกิน 10 คน สามารถทำงานออนไลน์ได้ 3.พื้นที่พักอาศัย 3 โปรเจ็กต์คอนโด ในพื้นที่ด้านหลังโครงการ ถูกจัดวางไว้เป็นพื้นที่ส่วนพักอาศัย ซึ่งจะเป็นโครงการคอนโดโรว์ไรส์  2 โครงการ และไฮไลท์ 1 โครงการ อยู่บริเวณด้านหลังสุด มีขนาดความสูงประมาณ 33 ชั้น คาดว่าจะพัฒนาภายใต้แบรนด์โมดิซ โดยวายแผนเปิดตัวในอนาคตอีกครั้ง   ก่อนถึงคอนโดไฮไลท์ ปัจจุบันพัฒนาเป็นโครงการ “แอทโมซ โฟลว์ มีนบุรี” (Atmoz Flow Minburi)  ซึ่งได้เปิดตัวโครงการไปก่อนหน้านี้แล้ว  โดยโครงการพัฒนาในรูปแบบคอนโดมิเนียมสไตล์รีสอร์ท มูลค่าโครงการ 1,350 ล้านบาท ขนาดพื้นที่ 6-0-13 ไร่ จำนวน 3 อาคาร รวม 739 ยูนิต  ซึ่งเริ่มเปิดจองแล้ว ในราคาเริ่มต้น 1.65 ล้านบาท  และพื้นที่ด้านหน้าโครงการแอทโมซ โฟลว์ ยังวางแผนพัฒนาเป็นโครงการคอนโดโลว์ไรส์อีก 1 โครงการเช่นกัน ภายใรต้แบรนด์โมดิซ โครงการไวส์พาร์ค จะมีส่วนพักอาศัยทั้งหมดของโครงการภายใต้แบรนด์ต่าง ๆ จำนวนรวม 4,500 ยูนิต ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างและพัฒนาประมาณ 6 ปี ระยะเวลาการเปิดตัว และการใช้แบรนด์ที่มาพัฒนา จะมีการพิจารณาจากสภาวะตลาดและการตอบรับของกลุ่มลูกค้าเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา แต่เบื้องต้นโครงการแอทโมช โฟลว์ มีนบุรี คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จได้ในช่วงปลายปีหน้า ซึ่งใกล้เคียงกับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู   สำหรับคอนเซ็ปต์ของ ไวส์พาร์ค มีนบุรี ภายใต้แนวคิด “WISECOLOGY” มีจุดเด่นของการอยู่อาศัยแห่งอนาคต 3 ด้าน ได้แก่ Smart Living, Sustainable Life และ Environment Friendly  ​   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] แอสเซทไวส์ กวาดยอดขาย Q1 กว่า 3,250 ล้าน เดินหน้าไตรมาส 2 เปิดอีก 3 โปรเจ็กต์ใหม่ -แอสเซทไวส์ เปิด 5 กลยุทธ์ความสำเร็จแบรนด์เคฟ แคมปัสคอนโด จับกลุ่มนศ.มหาลัย-นักลงทุน
พร้อมเปิด ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ 12 ก.ยนี้  160 อีเวนต์จ่อคิวเข้าจัดงาน ถึงสิ้นปี 66

พร้อมเปิด ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ 12 ก.ยนี้ 160 อีเวนต์จ่อคิวเข้าจัดงาน ถึงสิ้นปี 66

ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ พร้อมเปิดให้บริการ 12 กันยายน ตามแผน หลังลงทุน 15,000 ล้านปรับโฉมใหม่นาน 3 ปี สร้างพื้นที่ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า ประเดิม 2 งานแรก หลังตุนงานไว้ในมือแล้ว 160 งานพร้อมจัดปี 66   หลังจากศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Queen Sirikit National Convention Center-QSNCC) เริ่มปรับปรุงโฉมใหม่  ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2562 ในวันที่ 12 กันยายน 2565 ก็จะเป็นวันเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในส่วนของพื้นที่การจัดงานประชุม และอีเวนต์แล้ว หลังใช้ระยะเวลานานถึง 3 ปีเต็ม กับเม็ดเงินลงทุนมูลค่า 15,000 ล้านบาท   ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ มาพร้อมกับพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า ​หรือมีพื้นที่รวม 300,000 ตร.ม. รองรับพื้นที่การจัดงานได้มากถึง 78,500 ตร.ม. มีห้องประชุม 50 ห้อง พื้นที่รีเทล 12,000 ตร.ม. และพื้นที่จอดรถ 3,000 คัน นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี.แมนเนจเม้นท์ ​แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า การกลับมาของศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ มีศักยภาพที่จะรองรับการจัดงานในทุกรูปแบบ และผู้ใช้บริการทุกไลฟ์สไตล์ ซึ่งคาดว่ามีผู้เข้าใช้บริการมากกว่า 13 ล้านคนต่อปี เพิ่มจากช่วงก่อนปิดปรับปรุงที่มีผู้เข้าใช้บริการ 6 ล้านคนต่อปี   โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ เป็นมากกว่า “ศูนย์การประชุม”  และรองรับงานมากกว่า “ไมซ์” (MICE) ศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่ จึงถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบพื้นที่ให้มีความยืดหยุ่นรองรับการจัดงานทุกรูปแบบได้พร้อม ๆ กัน และเอื้อต่อการจัดการด้านโลจิสติกส์ และขนย้ายสินค้าจัดแสดงทุกประเภท พร้อมมีอุโมงค์ทางเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRTเข้าสู่พื้นที่จัดงาน ด้านนายสุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ  กล่าวว่า งานแรกของการเปิดให้บริการศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ จะเป็น 2 งานที่จัดพร้อมกัน คือ  ASEAN SUSTAINABILITY AND ENERGY WEEK 2022 ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2565 และงาน T   ISSUE & PAPER BANGKOK 2022   โดยปัจจุบันมีงานอีเวนต์ที่คอนเฟิร์มมาจัดงานจนถึงปี 2566 แล้ว 160 งาน แบ่งเป็นงานเดิมที่เคยจัดที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์มาแล้ว 50% และอีก 50% เป็นงานใหม่ ส่วนภายในปีนี้จะมีงานที่จัดขึ้นประมาณ​ 20% งาน คาดว่าจะทำรายได้ประมาณ​ 400 ล้านบาท ซึ่งราคาการใช้บริการจะปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10-15% ขณะที่หากเปรียบเทียบราคากับศูนย์ประชุมที่อื่นจะสูงกว่าประมาณ​ 20% สำหรับงานอีเวนต์ที่จะจัดขึ้นภายในปี 2565 อาทิ - Asia Pacific Leather Fair หรือ APLF งานแสดงสินค้าเครื่องหนังชั้นนำของโลก ปกติแล้วจะจัดอยู่ที่ประเทศฮ่องกง จะจัดในวันที่ 19 – 21 ตุลาคม 2565 - ASIA FRUIT LOGISTICA งานแสดงสินค้านานาชาติด้านผักและผลไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเคยจัดอยู่ที่ฮ่องกงเช่นกัน จะจัดในวันที่ 2 – 4 พฤศจิกายน 2565 - Jewellery & Gem ASEAN Bangkok (JGAB) งานจัดแสดงสินค้าอัญมณีครั้งยิ่งใหญ่ รวบรวมทั้งการค้าขาย สัมมนา และกิจกรรมเสริมความรู้ด้านอัญมณี เพื่อผู้ซื้อและซัพพลายเออร์จากทั่วโลก เดิมจัดที่ประเทศสิงคโปร์ จะจัดในวันที่ 2 – 5 พฤศจิกายน 2565 -“T-Pop Concert Fest” รวมศิลปินเพลงป๊อปแนวหน้าชั้นนำของไทย เช่น พีพี บิวกิ้น, ศิลปินเกิร์ลกรุ๊ป “4EVE”, โบกี้ ไลอ้อน ในวันที่ 29-30 ตุลาคม 2565 -งานมหกรรมเกมที่ยิ่งใหญ่ทีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “Thailand Game Show” ในวันที่ 21-23 ตุลาคม 2565  -งานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ในวันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2565 นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในการก้าวสู่การเป็น The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All คือ พื้นที่โซนรีเทล ภายใต้คอนเซ็ปต์ “แอคทีฟไลฟ์สไตล์มอลล์” เต็มรูปแบบแห่งแรกของกรุงเทพฯ (BALM - Bangkok Active Lifestyle Mall) บนเนื้อที่กว่า 11,000 ตารางเมตร BALM จะเป็นตัวสร้างสีสันและเติมเต็มให้กับศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ใจกลางกรุงเทพ ที่ดึงดูดทุกกลุ่มไลฟ์สไตล์ทั้งในและต่างประเทศ ช่วยให้ย่านพระราม 4 - รัชดา กลายเป็นอีกหนึ่งที่พบปะสังสรรค์พูดคุยและใช้ชีวิตที่เนืองแน่นไปด้วยร้านค้ารีเทลหลากหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ    ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา ร้านอุปกรณ์กีฬา ร้านขายสินค้าไอที เป็นต้นโดยพื้นที่รีเทลในเบื้องต้นจะเปิดให้บริการประมาณ 50%   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -6 ไฮไลท์ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ ที่พร้อมใช้งาน ก.ย.65 -โฉมใหม่ “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า เปิดแน่!! กันยายน 2565      
[PR News] ไอซีเอส มิกซ์ยูส ไลฟ์สไตล์ ทาวน์ แห่งใหม่ในฟังธน

[PR News] ไอซีเอส มิกซ์ยูส ไลฟ์สไตล์ ทาวน์ แห่งใหม่ในฟังธน

 ไอซีเอส  มิกซ์ยูส โครงการไอซีเอส  มิกซ์ยูส ไลฟสไตล์ ทาวน์ แห่งใหม่ฝั่งธนบุรี  การลงทุนร่วมของกลุ่มธุรกิจรีเทลและอสังหาฯ “สยามพิวรรธน์-แมกโนเลีย-ซีพี” สร้างปรากฎการณ์ครั้งสำคัญของฝั่งธนบุรี ภายใต้แนวคิด  Always A Good Day “ความสุขของทุกวันที่ไอซีเอส” ผนึกพันธมิตรแบรนด์ดัง โลตัส   ชูคอนเซ็ปต์ใหม่ “SMART Premium Supermarket” และ ฮิลตัน การ์เด้น อินน์ โรงแรมชั้นนำที่รองรับนักเดินทางจากธุรกิจ MICE, การท่องเที่ยวและสันทนาการ พร้อม อินโนเวทีฟ เฮลท์ แอนด์ ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ จากโรงพยาบาลชั้นนำ ที่ขยายบริการนอกพื้นที่โรงพยาบาลแห่งแรกในศูนย์การค้า    ไอซีเอส  มิกซ์ยูส รวมถึงพันธมิตรร้านค้าอีกกว่า 200 แบรนด์ มั่นใจศักยภาพทำเลทองอันดับหนึ่งของฝั่งธนบุรี รองรับการขยายตัวของเมือง สะดวกครบทุกโครงข่ายการคมนาคมทั้ง รถยนต์ รถไฟฟ้า และเรือโดยสาร  พร้อมเปิดให้บริการปลายไตรมาส 4 ปี 2565 นี้ เชื่อมั่นหลังไอซีเอส เปิดบริการ ช่วยเติมเต็มไอคอนสยามสู่ความเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายครบทุกเซกเมนต์   นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอซีเอส จำกัด เปิดเผยว่า จากการวาง Market Positioning ให้ ไอซีเอส เป็นมิกซ์ยูส ไลฟ์สไตล์ ทาวน์  ที่ตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการของลูกค้าได้ครบครัน โดยเน้นให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ มีทำเลที่ตั้งเชื่อมเส้นทาง Customer Journey ต่อตรงมาจากไอคอนสยาม โดยมีรถไฟฟ้าสายสีทองสถานีเจริญนครเป็นจุดเชื่อมต่อ  โครงการไอซีเอส มีจุดเด่นสำคัญที่ต้องตอกย้ำ คือทำเลที่ตั้งโครงการมีความพิเศษต่างจากย่านธุรกิจอื่น เพราะเป็นทำเลที่มีระบบการคมนาคมขนส่งสมบูรณ์ครบทั้งรถ ราง เรือ (รถยนต์ รถไฟฟ้า และเรือโดยสาร) โดยด้านหน้าโครงการติดถนนเจริญนคร เดินทางสะดวกได้ทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารสาธารณะ หรือจะเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีเจริญนคร ซึ่งเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนั้น ไอซีเอสยังเชื่อมต่อตรงกับโครงการไอคอนสยามที่ด้านหลังติดโค้งน้ำเจ้าพระยาซึ่งรองรับการหมุนเวียนของทราฟฟิกจากท่าเรือสาธารณะถึง 99 ท่าเรือ     “ทำเลทองที่ตั้งโครงการนี้อยู่บนพื้นที่ที่มีการขยายตัวของโครงการที่พักอาศัยมากที่สุดย่านหนึ่ง โดยภายใน 2-3 ปีจากนี้ คาดว่าจะมีที่พักอาศัยคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 50 โครงการหรือราว 25,000 ยูนิต นอกจากนั้น ยังรายล้อมไปด้วยโรงแรม 5 ดาว อย่าง มิลเลนเนียมฮิลตัน  เพนนินซูลา  โอเรียนเต็ล   แชงกรีลา ซึ่งในอนาคตยังจะมีกลุ่มธุรกิจโรงแรมชั้นนำที่เตรียมขยายบริการมายังทำเลย่านนี้อีก 2-3 โครงการ  รวมถึงมีแผนงานการย้ายศูนย์ราชการขนาดใหญ่มายังย่านคลองสาน แสดงให้เห็นว่าเป็นพื้นที่ธุรกิจที่มีการขยายตัวสูงมาก  จากศักยภาพทำเลดังกล่าวจึงเป็นจุดดึงดูดกลุ่มลูกค้าหลัก พนักงานออฟฟิศ เจ้าของธุรกิจ และประชาชนทั่วไป โดยคาดว่าจะมีการหมุนเวียนของผู้เข้ามาใช้บริการที่ไอซีเอส วันละกว่า 40,000 คน” นายสุพจน์กล่าว   นายสุพจน์ กล่าวต่อไปว่า  ไอซีเอสเป็นอาคารสูง 29 ชั้น บนพื้นที่ 5-1-94 ไร่ ริมถนนเจริญนคร มีพื้นที่บริการรวม 70,000 ตารางเมตร รูปแบบการพัฒนาโครงการเน้นมิกซ์ยูสแนวคิดใหม่ ที่มีทั้งธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจบริการโรงแรม และอาคารสำนักงาน ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการดำเนินธุรกิจทั้งของผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย สำหรับลูกค้าเรามีทั้งสินค้าและบริการที่หลากหลาย เน้นตอบโจทย์ชีวิตประจำวัน และการช้อปปิ้งที่สะดวก ง่าย เร็ว ทำให้สามารถขยายไปยังฐานลูกค้าใหม่ๆ ที่สินค้าและบริการในไอคอนสยามอาจยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการในบางวัน ดังนั้น มั่นใจมากว่า หลังไอซีเอสเปิดให้บริการ จะช่วยเติมเต็มไอคอนสยามสู่ความเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้ครบทุกเซกเมนต์ ไอซีเอส มิกซ์ยูส นางสาวแคโรไลน์ เมอร์ฟีย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการขายและธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยว่า ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งของโครงการไอซีเอส ส่งผลให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกอย่างโลตัส  กลุ่มธุรกิจโรงแรมชั้นนำอย่างฮิลตัน การ์เด้น อินน์ และธุรกิจเฮลท์แคร์ ที่ให้บริการ อินโนเวทีฟ เฮลท์ แอนด์ ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ จากโรงพยาบาลชื่อดังระดับประเทศ มองเห็นโอกาสและตัดสินใจเข้าร่วมสร้างสรรค์โครงการกับไอซีเอส การเปิดให้บริการของพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจจะมีความโดดเด่น และแตกต่างไปจากรูปแบบการให้บริการเดิม เพื่อสร้างความแปลกใหม่ และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้มากขึ้น เรียกได้ว่าเป็น บิสเนสแฟลกชิพที่มีความพิเศษ แตกต่าง ทันสมัย เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้เข้ามาใช้บริการ อีกทั้งยังเป็นการขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ ย่านฝั่งธนฯ ได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ไอซีเอส เป็นศูนย์รวมธุรกิจการค้าและบริการที่สะท้อนไลฟ์สไตล์ ประกอบด้วยธุรกิจ 3 ส่วนหลัก ได้แก่ พื้นที่สำหรับดำเนินธุรกิจค้าปลีก พื้นที่อาคารสำนักงานให้เช่า และธุรกิจบริการโรงแรม     1.ธุรกิจค้าปลีก รูปแบบเป็นอาคารโลว์ไรส์ รวม 8 ชั้น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่รีบเร่ง ไอซีเอส จึงเป็นแบรนด์ที่จะส่งมอบประสบการณ์และความสุขให้แก่ลูกค้าทุกวัน ภายใต้แนวคิด Always A Good Day “ความสุขของทุกวันที่ ICS”  โดยจับมือกับ โลตัส, อินโนเวทีฟ เฮลท์ แอนด์ ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ จากโรงพยาบาลชั้นนำ และพันธมิตรคู่ค้าชั้นนำอีกกว่า 200 แบรนด์  อาทิ สินค้าไลฟ์สไตล์เพื่อบ้านและการอยู่อาศัย สินค้าไอที บริการด้านการเงิน แบรนด์แฟชั่น ธุรกิจบริการด้านความงามและเครื่องสำอางระดับแถวหน้า รวมไปถึงร้านค้าที่ให้บริการด้านต่างๆ ที่รองรับการใช้ชีวิตประจำวัน   และร้านอาหารแบรนด์ดังกว่า 80 แบรนด์ รวมถึงร้านอาหารชั้นนำจากต่างประเทศ ที่เลือกมาเปิดให้บริการที่ไอซีเอสเป็นสาขาแรก 2.ไอซีเอส ออฟฟิศทาวเวอร์ พื้นที่สำนักงานให้เช่า ตั้งอยู่ระหว่างชั้น 6-8  พัฒนาภายใต้แนวคิดที่ต้องการส่งเสริมการทำธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งในกลุ่มที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งกิจการและกลุ่มที่ต้องการขยายกิจการ ซึ่งจะทำให้มีผู้มาใช้บริการระหว่างสัปดาห์เป็นจำนวนมาก 3.โรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ กรุงเทพ ไอซีเอส เจริญนคร ( Hilton Garden Inn Bangkok ICS Charoen Nakhon)  ภายใต้การบริหารงานโดยโรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ เชนโรงแรมชั้นนำชื่อดังจากต่างประเทศ ที่รองรับนักเดินทางทั้งจากธุรกิจ MICE, การท่องเที่ยวและสันทนาการ   นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย หนึ่งในแม่เหล็กสำคัญที่จะมาเติมเต็มความต้องการของนักช้อปย่านฝั่งธนฯ เผยถึงความพิเศษของ โลตัส สาขา ICS ว่า พร้อมเปิดตัวโลตัสคอนเซ็ปต์ใหม่ล่าสุด  “SMART Premium Supermarket” บนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความมุ่งมั่นของโลตัสในการทำให้ลูกค้าของเรา “รู้สึกดีดีทุกวัน ที่โลตัส” ปัจจุบัน โลตัส ถือเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีก New SMART Retail ที่ให้บริการแบบไร้รอยต่อผ่านทั้งสาขาหลากหลายรูปแบบและช่องทางออนไลน์ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกพื้นที่  การร่วมมือกับไอซีเอส เปิด Lotus’s SMART Premium Supermarket ครั้งนี้ จะเป็นการยกระดับการให้บริการนักช้อป พร้อมรองรับ Modern Urban Lifestyle ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ทันสมัยในระดับพรีเมียม ด้วยสินค้าพรีเมียมจากทั้งในไทยและต่างประเทศ สินค้าท้องถิ่นที่เราคัดสรรจากแหล่งที่ดีที่สุด และสินค้านำเข้าในราคาที่เอื้อมถึง   “โลตัส สาขาไอซีเอส ภายใต้คอนเซ็ปต์ Smart Premium Supermarket จะเป็นแหล่งช้อปปิ้งที่ยกระดับความสะดวกสบายให้ลูกค้าสามารถจับจ่ายสินค้าทั้งอาหารสด วัตถุดิบเกรดพรีเมียมที่นำเข้าส่งตรงจากต่างประเทศ สินค้าไทยที่เราคัดสรรมาจากแหล่งที่ดีที่สุด สินค้าอุปโภคบริโภคจากหลายแบรนด์ดังทั้งไทยและต่างประเทศ ที่สำคัญคือ ยังคงมาตรฐานของโลตัส ในด้านสินค้าที่มีคุณภาพสูงในราคาที่คุ้มค่า  ขณะเดียวกัน เรายังพร้อมบริการด้วยแนวคิด SMART Life Solutions โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มความสะดวกสบายสอดรับชีวิตทันสมัย ทำให้การซื้อและชำระเงินง่ายขึ้น ด้วยบริการไร้เงินสด (Cashless) ผ่านวอลเล็ตและแอปพลิเคชั่น รวมไปถึงการชำระสินค้าได้ด้วยตัวเองผ่านตู้คีออสรับชำระสินค้าแบบสมาร์ทอีกด้วย” นายสมพงษ์กล่าวสรุป   อีกความพิเศษของโครงการไอซีเอส คือ การได้พันธมิตรโรงแรมแบรนด์ดังระดับโลกในเครือฮิลตัน เข้ามารองรับความต้องการของนักเดินทาง นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ ที่มีแนวโน้มเดินทางมายังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยนายจิรฐา วรปรางกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอน โฮเทล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เปิดเผยว่า การที่เศรษฐกิจมีสัญญานค่อยๆ ฟื้นตัว การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคัก ทำให้บริการด้านโรงแรมสำหรับกลุ่ม MICE (Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions) มีแนวโน้มขยายตัวอย่างชัดเจน ดังนั้น ห้องพักและบริการจากทางโรงแรมจะเป็นส่วนสำคัญที่มารองรับการขยายตัวของธุรกิจนี้ โดยเห็นได้ชัดเจนจากจำนวนการจองพื้นที่เพื่อจัดอีเว้นท์และการประชุมของ ทรู ไอคอน ฮอลล์ ภายในไอคอนสยาม ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในครึ่งปีหลัง   “แบรนด์โรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ ตัดสินใจเปิดดำเนินการกับไอซีเอส เพราะเห็นศักยภาพของโครงการ มีความมั่นใจในทีมบริหารโครงการ และที่สำคัญคืออยู่ในทำเลทองที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเลือกเปิดให้บริการโรงแรม”   โรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ กรุงเทพ ไอซีเอส เจริญนคร เป็นอาคารสูง 19 ชั้น ให้บริการห้องพัก  241 ห้อง ได้รับแรงบันดาลใจจากการผสมผสานความหลากหลายทางศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนในอดีตย่านฝั่งธนบุรี ทั้งไทย จีน และโปรตุเกส ถ่ายทอดออกมาสู่การออกแบบตกแต่งภายในที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ด้วยการนำงานสถาปัตยกรรม ลวดลายปูนปั้นไทย  งานแกะสลักไม้แบบศิลปะจีน งานกระเบื้องและลวดลายเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมโปรตุเกส มาผสมผสานกันอย่างลงตัว  โรงแรมให้ความสำคัญในการบริการลูกค้าให้ได้รับความสะดวกสบาย มีบริการห้องอาหาร All Day Dining ที่รองรับการจัดงานอีเว้นต์ได้ตลอดวัน รังสรรค์เมนูอร่อยจาก 4 วัฒนธรรมของชุมชนในอดีต ที่สำคัญคือไพรม์โลเคชั่นของตัวโรงแรมที่เป็นอาคารสูงเพียงหลังเดียวในพื้นที่โดยรอบ ทำให้สามารถรับชมวิวของกรุงเทพมหานครได้แบบ 360 องศา ทั้งวิวฝั่งพระนคร และฝั่งธนบุรี   ไอซีเอส มิกซ์ยูส  ปัจจุบัน โครงการ ICS  มีความคืบหน้าการก่อสร้างแล้วร้อยละ 90  และพร้อมเปิดให้บริการปลายไตรมาส 4 ปี 2565 นี้   บทความน่าสนใจ 1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ ทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่ไม่มีคนขับ !! ไป ไอคอนสยาม ไอคอนสยาม’ จัดงาน “แบงค็อก อิลลูมิเนชั่น แอท ไอคอนสยาม อลังการขบวนต้นคริสต์มาสเอกลักษณ์ไทย ตระการตากับฟลอร์แมปปิ้งสุดล้ำ ครั้งแรกในประเทศไทยยิ่งใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
[PR News] GLAND จับมือหัวเว่ย  ร่วมพัฒนา Smart Digital Township & Intelligent Connectivity

[PR News] GLAND จับมือหัวเว่ย ร่วมพัฒนา Smart Digital Township & Intelligent Connectivity

GLAND จับมือหัวเว่ย ยกระดับอสังหาฯไทย ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ ร่วมพัฒนา Smart Digital Township & Intelligent Connectivity ด้วยเทคโนโลยีระดับโลก เดินหน้านโยบายไทยแลนด์ 4.0   นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLAND เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามบันทึกข้อตกลงการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์  กับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัดเพื่อเดินหน้าพัฒนาออฟฟิศอัจฉริยะและดิจิทัลสเปซ ตอกย้ำพื้นที่แห่งการใช้ชีวิตและการทำงานในอนาคต ผสานโลก Physical และ Digital เชื่อมโยง ICT และ IOT สู่วงการอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มรูปแบบ   การได้ร่วมมือกับหัวเว่ยในครั้งนี้ ถือเป็นการช่วยเติมเต็ม และนำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญของหัวเว่ย มาช่วยเพิ่มศักยภาพความแข็งแกร่งและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับมิกซ์ยูสโปรเจ็ค ต่าง ๆ อาทิ อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย และ โรงแรม ในอนาคต ของ GLAND รวมถึงบริษัทในเครือในอนาคต เพื่อสร้างเมืองแห่งการอยู่อาศัยอัจฉริยะ เป็น Smart Digital Township ที่ทันสมัย สร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดให้ธุรกิจ และ ยกระดับวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศไทย กำลังมุ่งสู่การก้าวสู่ยุคสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยประเทศไทยจะกลายเป็น ดิจิทัลฮับที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ของภาครัฐ รวมถึงเป็น ตลาดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในด้านการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ GLAND ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เป็นผู้พัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์ โดยมีสินทรัพย์หลักอยู่ในโครงการ เดอะ แกรนด์ พระราม 9 (The Grand Rama 9) พื้นที่ใจกลางเมืองบนพื้นที่ประมาณ 73 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนพระราม 9 ติดถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นทำเลศักยภาพสูงในย่านธุรกิจแห่งใหม่ (The New CBD) ของกรุงเทพฯ โดยโครงการมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ธุรกิจ ได้แก่ อาคารสำนักงานให้เช่าที่อยู่ภายใต้การบริหาร 3 แห่ง ได้แก่ 1. จี ทาวเวอร์ 2.เดอะไนน์ ทาวเวอร์ และ 3.ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ ด้วยพื้นที่เช่าสุทธิในทุกโครงการรวมกันกว่า 145,000 ตารางเมตร  โครงการคอนโดมิเนียมเพื่อขาย เบ็ล แกรนด์ พระราม 9 ซึ่งได้ทำการขายและโอนเสร็จสิ้นทั้งโครงการแล้ว และพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าสุทธิในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมรวมกันกว่า 20,000 ตารางเมตร   นอกจากนี้ GLAND มีที่ดินที่รอการพัฒนาอยู่อีก 4 แห่ง รวมกันกว่า 190 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่บนทำเลที่ศักยภาพสูงในกรุงเทพฯ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว โดยที่ดินดังกล่าวประกอบด้วย 1.ที่ดินเปล่าในโครงการ เดอะ แกรนด์ พระราม 9 2. ที่ดินบริเวณพหลโยธิน ซึ่งที่ดินทั้งสองแห่งอยู่ระหว่างการสรุปแผนการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส นอกจากนี้ยังมี 3. ที่ดินบริเวณดอนเมือง โดยได้นำที่ดินบางส่วนไปพัฒนาโครงการนิรติ ดอนเมือง ซึ่งเริ่มเปิดขายและโอนในปี 2564 และ 4.ที่ดินบริเวณกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการในอนาคต ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า  หัวเว่ยและทาง GLAND เป็นพันธมิตรที่ทำงานร่วมกันมาอย่างใกล้ชิดและยาวนาน นับตั้งแต่เราเริ่มธุรกิจในไทยอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2542 โดยสำนักงานใหญ่ของหัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย ตั้งอยู่ในอาคารจีทาวเวอร์ แกรนด์ ซึ่งเป็นอาคารในเครือของ GLAND   นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้นำร่องเปิดตัวศูนย์ Huawei Open Lab Bangkok ในปี 2560 ที่อาคารเดียวกัน เพื่อช่วยพัฒนาทักษะดิจิทัลในประเทศไทย สร้างสรรค์นวัตกรรม และรองรับเป้าหมายของประเทศในการขึ้นเป็นศูนย์กลางดิจิทัลระดับอาเซียน เราหวังว่าความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและ GLAND ครั้งนี้  จะช่วยเสริมความอัจฉริยะให้แก่ภาคอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการตอบโจทย์พันธกิจของหัวเว่ยในการเป็นผู้สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมทั้งนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปสู่ทุกคน บ้านทุกหลัง และองค์กรทุกแห่ง เพื่อสร้างประเทศไทยอัจฉริยะที่เชื่อมโยงกันอย่างเต็มรูปแบบ ความร่วมมือระหว่าง  GLAND และ หัวเว่ย ที่จะพัฒนา ecosystem ที่ครบวงจร ผ่านทาง 5 องค์ประกอบสำคัญ ในการสร้าง Smart Digital Township ผ่านอสังหาฯต่างๆ ของ GLAND ได้แก่ 1.Smart Building พัฒนาอาคารอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีระดับโลก ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายด้านการใช้งานต่อผู้ใช้อาคาร และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   2.Smart Asset Management การบริหารจัดการสินทรัพย์ด้วย เทคโนโลยี 5G, เทคโนโลยีแอคเซสพอยท์ Wi-Fi 6 ความเร็วระดับอัลตร้าไฮสปีด, โมดูล IoT และ กล้องตรวจจับอัจฉริยะ   3.Smart Hospitality and Retail เชื่อมโยงระบบ Fiber Backbone สู่การเป็นโรงแรมและศูนย์การค้าอัจฉริยะแห่งโลกอนาคต   4.Smart Campus and Living ระบบอาคารและพื้นที่อยู่อาศัย ที่มุ่งเน้นด้านความปลอดภัย รวมถึงระบบที่จอดรถอัจฉริยะ   5.Intelligent Connectivity การเชื่อมต่ออัจฉริยะด้วยระบบ AI หรือปัญญาประดิษฐ์, VDO & Imaging Technology และ ไฟเบอร์ออพติก รวมถึง พื้นที่เก็บข้อมูลในคลาวด์  
เฟรเซอร์สฯ  ชู 4 กลยุทธ์ลุยธุรกิจรีเทล  เตรียมเปิด “สีลมเอจ” เพิ่มพื้นที่ 24 ชั่วโมง

เฟรเซอร์สฯ ชู 4 กลยุทธ์ลุยธุรกิจรีเทล เตรียมเปิด “สีลมเอจ” เพิ่มพื้นที่ 24 ชั่วโมง

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล ชู 4 กลยุทธ์เอาตัวรอดจากโควิด-19 พร้อมใช้เป็นเครื่องมือลุยต่อปี 65 เดินหน้าเติมพอร์ตธุรกิจรีเทล เตรียมเปิดพื้นที่ 10,000 ตร.ม. “สีลมเอจ” ​จับกลุ่มลูกค้าย่านสีลม-พระราม 4 ให้บริการร้านอาหาร 24 ชั่วโมง   นางสาวธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) หรือ  FPCT เปิดเผย ถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2565 ว่ายังเป็นปีที่ภาพรวมของธุรกิจรีเทล ยังมีความท้าทายเหมือนกับช่วงที่ผ่านมา และยังมีการแข่งขันเช่นเดิม แต่สถานการณ์การแข่งขันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ภายหลังจากที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศได้เป็นปกติ เพราะพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว จะไม่ใช้บริการเฉพาะแต่ศูนย์การค้าในย่านใจกลางเมืองเท่านั้น แต่จะเดินทางไปทุกศูนย์การค้า จึงถือเป็นความท้าทายในการที่ผู้ประกอบการจะทำตลาดและเพิ่มส่วนแบ่งรายได้จากกลุ่มนักท่องเที่ยวดังกล่าว   สำหรับศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ปัจจุบันถือว่ายังไม่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการ ลูกค้าหลักยังเป็นกลุ่มคนไทย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา ผู้ทำทงาน และผู้ที่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง ปัจจุบันมีปริมาณทราฟิคถือว่า 100% จากช่วงก่อนหน้านี้มีผู้เข้าใช้บริการเฉลี่ย 55,000 คน/วัน และยังคงรักษาอัตราผู้เช่าไว้ในระดับสูงที่ 98% โดยหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศคลายล็อคดาวน์ โดยเป็นผลจากการรักษามาตรฐานความปลอดภัยของโครงการ การดำเนินงานเชิงรุก การเน้นการจับกระแสอย่างรวดเร็ว แล้วลงมือสร้างกิจกรรมทางการตลาดผ่านแคมเปญต่าง ๆ 4 กลยุทธ์อยู่รอดและไปต่อในปี 65 สำหรับในรอบปีที่ผ่านมา สามย่านมิตรทาวน์ ต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า แต่ยังคงสามารถทำผลประกอบการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งกลยุทธ์ที่ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และยังจะใช้เป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจต่อในปี 2565 นี้ด้วย คือ 4 กลยุทธ์สำคัญ ดังนี้ 1.Fluid Approach หมายถึง การลื่นไหลไปกับกระแสนิยมแบบ Real Time ซึ่งเป็นรูปแบบการตลาดแบบอิงกับกระแสนิยมของสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นระยะเวลาสั้น ๆ 7 วันถึง 1 เดือน แล้วทำการตลาดสอดคล้องไปกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การทำตลาดตามความนิยมของซีรีย์เกาหลี ไม่ว่าจเป็นเรื่อง  SQUID GAME ,Hometown Cha-Cha-Cha  ถือเป็นการทำตลาดที่ใช้ความเร็ว หรือ Speed Marketing เข้ามาบริหาร 2.Redefine Physical Location เป็นการบริหารพื้นที่ของศูนย์การค้าให้เกิดประโยชน์ โดยไม่กำหนดว่าจะต้องเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อการขาย หรือ Sale Promotion เท่านั้น แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากสถานที่ ด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่เปิดกว้างและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการสร้างพื้นที่ให้เกิดประโยชน์กับชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งรูปแบบกิจกรรมมีหลากหลาย ทั้งที่เป็นของพันธมิตร การจัดโดยสามย่านมิตรทาวน์เอง ซึ่งเป็นรูปแบบ Signature Event ที่ปีนี้จะจัดขึ้นด้วยกันประมาณ 4 งาน รวมถึงการจัดและตกแต่งพื้นที่อุโมงค์เชื่อมมิตร ที่ทำให้กลายเป็นจุดในการดึงดูดคนให้เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์การค้า และเป็นสถานที่สำหรับการมาถ่ายภาพ และเช็คอิน 3.Leverage Digital Technology การนำเอาเทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาช่วยเสริมการบริการ และการบริหารศูนย์การค้า เช่นการ​ใช้เทคโนโลยีในพื้นที่รีเทล (เตรียมรองรับการชำระค่าบริการด้วยเงินดิจิทัล เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ลูกค้า) การใช้แอปพลิเคชัน MitrCare  ซึ่งได้ร่วมมือกับ KBTG เพิ่มฟังก์ชั่นระบบจัดซื้อ หรือ E-Catalogue อำนวยความสะดวกให้กับคู่ค้า ร้านค้าตลอด 24 ชั่วโมง ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้า SME ที่มีกว่า 40 ราย สามารถซื้อสินค้าที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจได้ 4.Hygiene and Safety Practice เป็นการส่งเสริมสุขอนามัยของผู้ใช้บริการและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง  ตามมาตรการ PREVENTIVE ด้วยการความเข้มงวดในการคัดกรองผู้ใช้บริการ ณ จุดตรวจวัดอุณหภูมิ การรักษาระยะห่างอย่างเหมาะสม การบังคับสวมหน้ากาก และการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนด สีลมเอจ เติมพอร์ตรีเทลให้เฟรเซอร์ฯ ปัจจุบันกลุ่มเฟรเซอร์ฯ มีพื้นที่รีเทลในส่วนของศูนย์การค้าแห่งเดียว คือ สามย่านมิตรทาวน์ แต่ในช่วงเดือนกันยายน 2565 นี้ จะมีพื้นที่รีเทลเพิ่มเติมเข้ามาในพอร์ตธุรกิจ คือ โครงการสีลมเอจ (Silom Edge) ซึ่งเป็นโครงการมิ๊กซ์ยูส มีทั้งส่วนพื้นที่สำนักงานและส่วนของศูนย์การค้า โดยมีขนาดพื้นที่รีเทล 10,000 ตารางเมตร จำนวน 7 ชั้น   โดยจะมีโซนรีเทลที่ทำการเปิดตั้งแต่ 11:00 น. ถึงเที่ยงคืน และโซนพิเศษ 2 ชั้นแรก คือ ชั้น B1 และชั้น G ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รองรับลูกค้าที่ต้องการใช้บริการร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา และเครื่องจำหน่ายสินค้าคุณภาพด้วยระบบอัตโนมัติ   สำหรับชั้น 1-4 จะเป็นพื้นที่สำหรับสินค้าแอคเซสซอรี่ จิวเวอรี่ สินค้าเทคโนโลยี ร้านสำหรับการดูแลผิว ธุรกิจเวลเนส  และแพทย์ทางเลือก ส่วนในชั้นที่ 7 จะเป็นส่วนของร้านอาหาร โดยคาดว่าหลังจากเปิดให้บริการแล้วจะมีผู้ใช้บริการวันละ 40,000 คน จากปัจจุบันในย่านสีลมมีผู้ทำงานและเดินทางเข้ามากว่า 700,000 คน และในวันหยุดมีคนเดินทางเข้ามาย่านสีลมกว่า 500,000 คน หัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จในยุคที่ธุรกิจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายและ ความไม่แน่นอน คือการทลายทุกข้อจำกัด และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์อยู่เสมอ   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม -สีลมเอจ x จัสโค ประเดิมรายแรก เช่าพื้นที่  4,400 ตร.ม. ผุดโคเวิร์คกิ้งสเปซ เติมเต็มสังคมแซนด์บ็อกซ์ -จากโรบินสันสีลม สู่ สีลมเอจ มิกซ์ยูส 1,800 ล้านของ เฟรเซอร์สฯ  
IWG x รัตนากร ขยายสำนักงานให้เช่า วางเป้า 10 ปี 40 แห่งทั่วไทย

IWG x รัตนากร ขยายสำนักงานให้เช่า วางเป้า 10 ปี 40 แห่งทั่วไทย

IWG x รัตนากร แอสเซท ลงนามสัญญาแฟรนไชส์ บริหารพื้นที่สำนักงานให้เช่า 40 แห่งทั่วไทย ใน 10 ปี ตอบสนองการทำงานแบบไฮบริด ประเดิมปี 65 เปิด 5 แห่ง ได้แก่ ในเมืองพัทยา ชลบุรี ศรีราชา ระยอง     มาร์ค ดิกสัน ผู้ก่อตั้งธุรกิจและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IWG เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หลายธุรกิจเล็งเห็น และปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบรับความต้องการในการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid working) ซึ่งมีธุรกิจจำนวนมากทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ กำลังนำมาใช้อยู่ เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ได้ ไม่เพียงเท่านั้นการปรับเปลี่ยนมาสู่โมเดลการทำงานในรูปแบบดังกล่าว ยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานได้อีกด้วย บรรดาธุรกิจต่าง ๆ กำลังกำหนดพื้นที่การทำงานใหม่ ให้เข้าไปใกล้ที่พักของบุคลากรมากขึ้น เพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่น เป็นการเปลี่ยนแปลง ที่ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของบุคลากร ปัจจุบันการทำงานแบบยืดหยุ่นที่ไม่ยึดติดกับสถานที่ ได้รับความนิยมมากขึ้นในหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียม (เจเนอเรชั่น วาย) ซึ่งคุ้นชินกับดิจิทัลเทคโนโลยีและชื่นชอบในความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการทำงาน การทำงานแบบไฮบริดพนักงานไม่เพียงแต่ได้ทำงานในสถานที่ที่หลากหลาย ยังใช้เวลาในการเดินทางไปทำงานลดลง สามารถทำงาน ณ สถานที่แห่งไหนก็ได้ สำนักงาน บ้าน หรือ พื้นที่ทำงานในรูปแบบ Flexible Workspace เป็นแนวทางการทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น   ล่าสุด IWG  ได้เซ็นสัญญามอบสิทธิ์หลักในการบริหารแฟรนไชส์ระดับภูมิภาคหรือมาสเตอร์แฟรนไชส์ให้กับ รัตนากร แอสเซท ผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ของไทย เป็นผู้ร่วมพัฒนาและขยายธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงแฟรนไชส์ที่ รัตนากร แอสเซท สามารถพัฒนาพื้นที่สำนักงานให้เช่าแบบยืดหยุ่น (Flexible Workspace) ได้ทุกจังหวัดทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยในปี 2565 รัตนากร แอสเซท ร่วมมือกับ IWG เปิดศูนย์ใหม่ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ในเมืองพัทยา จำนวน 2 แห่ง ในชลบุรี ศรีราชา และระยอง พื้นที่ละ 1 แห่ง ซึ่งการเปิดศูนย์แห่งใหม่นี้เป็นกลยุทธ์การขยายธุรกิจร่วมกันระหว่าง IWG และ รัตนากร แอสเซท โดยตั้งเป้าเปิดศูนย์อย่างน้อย 40 แห่งทั่วไทยภายใน 10 ปี   นายมาร์ค กล่าวว่า ความต้องการ ในการทำงานแบบไฮบริด ของหลายธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ ประกอบกับการคิดทบทวนใหม่ ในกลยุทธ์การดำเนินงานด้านอสังหาริมทรัพย์ จึงเกิดเป็นความร่วมมือทางธุรกิจร่วมกับรัตนากร แอสเซท ที่จะเอื้อประโยชน์ให้เกิดการขยายธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้คนในการทำงานแบบไฮบริดทั่วประเทศไทย และรองรับการขยายตัวของสังคมเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง การกระจายความเจริญจากเมืองหลวงสู่หัวเมืองใหญ่ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในหลากมิติ   ปัจจุบัน IWG ผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานให้เช่าในรูปแบบ Flexible Workspace แถวหน้าระดับโลก เปิดดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 30 ปี  สำหรับในประเทศไทยนั้น IWG เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2542 ปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั้งสิ้น 26 แห่งนับตั้งแต่ต้นปี 2564 IWG มีลูกค้าใหม่ในเครือข่ายทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 2 ล้านราย เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ รับรู้ถึงประโยชน์ของการให้พนักงานเข้าถึงสำนักงานให้เช่าระดับมืออาชีพที่มีอุปกรณ์ครบครันที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบนทำเลไม่ไกลจากที่พักอาศัย   ด้านนายจักรรัตน์ เรืองรัตนากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รัตนากร แอสเซท จำกัด บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี มีมูลค่าสินทรัพย์กว่า 33,000 ล้านบาท ดำเนินงานครอบคลุม ทั้งที่อยู่อาศัย พื้นที่ค้าปลีก โรงงาน และโรงแรม กล่าวว่า บริษัทมีแผนจัดหาพื้นที่สำนักงานให้เช่าในพื้นที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแต่ละภูมิภาค อย่างเชียงใหม่ เชียงราย และภูเก็ต โดยศูนย์เหล่านี้จะอยู่ในโครงการมิกซ์ยูสที่มีอยู่แล้วบางส่วน รวมถึงโรงแรม คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า และพื้นที่ค้าปลีกที่บริษัทบริหารจัดการอยู่ เพื่อให้ลูกค้าได้มีพื้นที่ทำงานที่สะดวกสบายพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยจะช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนให้ใช้ชีวิตอย่างสมดุล ทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว นี่เป็นการตอบโจทย์แนวโน้มการทำงานแบบไฮบริด คนกลุ่มนี้จะแสวงหาสถานที่ใหม่ ๆ ที่ชื่นชอบและเลือกใช้เป็นสถานที่ในการทำงานสำหรับพวกเขา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจท้องถิ่นอีกด้วย การทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานเป็นของตัวเอง หรือทำสัญญาเช่าระยะยาวอีกต่อไป นายจักรรัตน์ กล่าวอีกว่า ​IWG เป็นโคเวิร์กกิ้งสเปซที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยแบรนด์ที่หลากหลาย ดังนั้น รัตนากร แอสเซท จึงร่วมมือกับ IWG เพราะเชื่อมั่นในธุรกิจ flexspace หรือ พื้นที่พร้อมใช้ตามความต้องการ และมองเห็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจนี้ การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างรัตนากร แอสเซท กับ IWG มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้รัตนากร แอสเซท สามารถขยายธุรกิจและเติบโตต่อไปในอนาคต​​
จากโรบินสันสีลม สู่ สีลมเอจ มิกซ์ยูส 1,800 ล้านของ เฟรเซอร์สฯ

จากโรบินสันสีลม สู่ สีลมเอจ มิกซ์ยูส 1,800 ล้านของ เฟรเซอร์สฯ

เฟรเซอร์สฯ ทุ่มงบ 1,800 ล้าน ปรับโฉมอาคารโรบินสันสีลมเก่า สู่โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 50,000 ตารางเมตร “สีลมเอจ” ​กับคอนเซ็ปต์การพัฒนาแนวใหม่  “The new sandbox community in CBD”  เจาะกลุ่ม Gen ใหม่ ธุรกิจ Start-Up และแพลตฟอร์มออนไลน์ เตรียมเปิดกันยายน 65 ​   เชื่อว่าหลายคนยังมีภาพจำอาคารบริเวณหัวมุมถนน ตรงข้ามโรงแรมดุสิตธานี และตรงข้ามโรงพยาบาลจุฬาฯ บริเวณ​สี่แยกของถนนสีลมตัดกับถนนพระราม 4 ว่าคือที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสีลม ที่เปิดให้บริการนานกว่า 24 ปี ก่อนจะปิดสาขาสีลมช่วงเดือนพฤษภาคม 2551 เร็วกว่ากำหนดสัญญาเช่าอาคารถึง 3 ปี   สาเหตุของการปิดกิจการสาขาสีลม ผู้บริหารชี้แจงว่าเป็นเพราะพื้นที่ของอาคารที่ใช้เป็นส่วนห้างสรรพสินค้าโรบินสัน มีขนาดเล็กเกินกว่าจะรีโนเวตให้เป็นห้างสรรพสินค้ารูปโฉมใหม่ ทางบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) จึงยุติการดำเนินงานของสาขาสีลม แต่ในเดือนกันยายน 2565 ที่จะมาถึงประมาณ 1 ปีข้างหน้า อาคารที่เคยเป็นตำนานของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จะถูกจดจำใหม่ กับภาพลักษณ์ของอาคารสำนักงานและรีเทล รูปแบบโครงการมิกซ์ยูส ภายใต้ชื่อ “สีลมเอจ” (Silom Edge) ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 1,800 ล้านบาท ภายใต้การบริหารและพัฒนาโดย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “FPT” หลังจากได้ทำสัญญาเช่าอาคารจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นระยะเวลา 30 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป   นายธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  FPT  เล่าว่า บริษัทได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของที่ตั้งโครงการที่อยู่หัวมุมถนนสีลม ซึ่งเป็นทำเลใจกลาง CBD เชื่อมต่อกับทั้งรถไฟฟ้า BTS และ MRT  และยังเคยเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของกรุงเทพฯ และเป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำหลายแห่งในประเทศไทย ทำให้ถนนสีลมกลายเป็นหนึ่งในถนนเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัจจุบันไม่มีแลนด์แบงก์มากพอเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทได้ตัดสินใจเข้าลงทุนในทรัพย์สินนี้ ​เพื่อพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส สอดคล้องกับกลยุทธ์การสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่องค์กร โดยสีลมเอจ นับเป็นโครงการ Re-development แห่งแรกของ FPT ที่จะมาเสริมความแข็งแกร่งและกระจายความเสี่ยง พร้อมเพิ่มสัดส่วนของรายได้ประจำ (Recurring Income) ให้แก่พอร์ตคอมเมอร์เชียล  ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีพื้นที่อาคารสำนักงานโกลเด้นแลนด์บิวดิ้ง บริเวณซอยมหาดหลวงเล็ก 1 ที่สร้างรายได้ 300 ล้านบาท และกำลังจะหมดสัญญาในเดือนสิงหาคม 2565 โดยบริษัทคาดว่าโครงการสีลมเอจจะเข้ามาทดแทนรายได้ดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการนี้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีหน้า และคาดว่าโครงการนี้จะถึงจุดคุ้มทุนภายในระยะเวลา 9-10 ปี   สำหรับอาคารสีลมเอจเป็นต้นแบบโครงการ Re-development ที่นำอาคารเก่ามาแปลงเป็นมิกซ์ยูสพันธุ์ใหม่  ถูกพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์  “The new sandbox community in CBD”  ด้วยแนวคิด “BE DIFFERENT. BE CONNECTED” ซึ่งมีลักษณะของโครงการ คือ -SPACE & CONTRACT AS A SERVICE พื้นที่สำนักงานให้เช่า มีทั้งแบบที่ยังไม่ตกแต่ง คาดว่าจะกำหนดราคา 750-800 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน และตกแต่งในรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ ทำให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้ไม่จำกัด ตามลักษณะการใช้งานของแต่ละธุรกิจ ขณะเดียวกันมีพื้นที่ส่วนกลางให้ผู้เช่าได้ใช้บริการด้วย -CREATE A SANDBOX PLATFORM TO UNLEASH THE MAXIMUM POTENTIAL สร้างแพลตฟอร์มแซนด์บ็อกซ์ เพื่อให้ธุรกิจของคนรุ่นใหม่สามารถทดลองและพัฒนาธุรกิจได้ ​ -EXTENDED OPERATION HOURS FOR DIGITALIZING LIFE อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เช่าและผู้ใช้บริการในทุกช่วงเวลา ตอบโจทย์การทำงานยุคดิจิทัล ขณะที่พื้นที่รีเทลจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 11.00-24.00 น. -O2O2O READY รองรับทุกการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจได้อย่างคล่องตัว พร้อมสนับสนุนทุกบริษัทให้เติบโตผ่านการผสานธุรกิจจากออนไลน์ไปสู่ออฟไลน์ โดยมีพื้นที่รองรับธุรกิจออนไลน์ที่ต้องการมีหน้าร้าน ซึ่งจะคิดค่าบริการแบบต่อร้าน ไม่คิดค่าบริการต่อพื้นที่ต่อตารางเมตร BE CONNECTED -CONQUER THE WORK-LIFE INTEGRATION เชื่อมรูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยพื้นที่ที่ตอบโจทย์ในทุกมิติตลอดวัน -EXTREMELY CONVENIENT LOCATION โครงการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าทั้ง BTS และ MRT ทำให้การเดินทางสะดวกและรวดเร็ว -OPEN TO CRYPTO & CASHLESS SOCIETY บริษัทวางระบบรองรับกับการชำระเงินด้วยเงินดิจิทัลด้วยคริปโตฯ และหลากหลายสกุลเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และการทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ -REDEFINE ENDLESS BUSINESS OPPORTUNITIES สร้างนิยามใหม่สู่โอกาสทางธุรกิจที่ไม่สิ้นสุด สำหรับข้อมูลโครงการ มีรายละเอียดดังนี้  ชื่อโครงการ:      สีลมเอจ (Silom Edge) เจ้าของที่ดิน:      สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พัฒนาโครงการ: เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย มูลค่าโครงการ:  1,800 ล้านบาท ขนาดที่ดิน:        2 ไร่ 2 งาน 71 ตารางวา พื้นที่โครงการ:   50,000 ตารางเมตร พื้นที่ให้เช่า:       22,000 ตารางเมตร จำนวนชั้น:        24 ชั้น ที่ตั้งโครงการ:    ถนนสีลม-พระราม 4 การเดินทาง:      เข้าออกได้จาก 2 ถนนสำคัญของกรุงเทพ ถนนสีลม และถนนพระราม 4 เชื่อมตรง รถไฟฟ้า 2 สาย BTS ศาลาแดง และ MRT สีลม ทำเลโดยรอบ:    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เชื่อมต่อ สวนลุมพินี-สวนเบญจกิติ เปิดโครงการ:     กันยายน 2565  
IWG จับมือ รัตนากร แอสเซท  บริหารออฟฟิศให้เช่า 40 แห่งทั่วไทย

IWG จับมือ รัตนากร แอสเซท บริหารออฟฟิศให้เช่า 40 แห่งทั่วไทย

IWG จับมือ รัตนากร แอสเซท ลุยตลาดพื้นที่สำนักงานแบบ​ flexspace ระดับโลก รับวิถีชีวิตหลังโควิด-19 เดินหน้าขยายสาขาทั่วไทย 40 แห่งใน 10 ปี  รองรับความต้องการสถานที่ทำงานแบบไฮบริดที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว   นายกาเร็ท เฮเวอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IWG APAC ผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงาน เปิดเผยว่า ได้เซ็นสัญญาแฟรนไชส์กับ รัตนากร แอสเซท เพื่อให้สิทธิ์เป็นผู้บริหารแฟรนไชส์ระดับภูมิภาค(Regional Master Franchise rights) ของพื้นที่สำนักงาน IWG ในแบรนด์ HQ, Regus, Spaces และ Signature ในการขยายพื้นที่สำนักงานในทุกจังหวัดของประเทศไทย นอกพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 40 แห่งทั่วประเทศ​ ภายในระยะเวลา 10 ปี   ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง IWG และรัตนากร แอสเซท  จะร่วมกันพัฒนาและขยายสาขา ครอบคลุมในทุกเมืองสำคัญในทุกภูมิภาคของไทย เพิ่มเติมจากพื้นที่สำนักงานให้เช่าที่ปัจจุบันมีทั้งหมด 30 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต โดย​ รัตนากร แอสเซท เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปีในประเทศไทย ที่ผ่านมา บริษัทได้พัฒนาโครงการมากกว่า 17 แห่งในภาคตะวันออก ซึ่งรวมถึงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเมืองชายทะเลในภาคใต้   เรากำลังปรับขยายธุรกิจให้ครอบคลุมเมืองต่างๆ มากขึ้น ตั้งแต่เมืองที่มีขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็ก และพื้นที่ชานเมือง โดยการร่วมมือกับ รัตนากร แอสเซท จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจต่างๆ ในทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทระดับโลก กลุ่มธุรกิจสตาร์ตอัป คนทำงานฟรีแลนซ์ และผู้ประกอบการ ได้เข้าถึงบริการสำนักงานให้เช่าที่ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ได้มากขึ้น   นายกาเร็ท กล่าวอีกว่า ปัจจุบันความนิยมในพื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่น หรือ flexspace กำลังขยายตัวทั่วโลก และกลายเป็นเทรนด์หลักที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง เช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งธุรกิจนี้กำลังเติบโต หลังจากที่องค์กรขนาดใหญ่เริ่มให้ความสำคัญและเล็งเห็นคุณค่าของพื้นที่สำนักงานที่พร้อมปรับตัวและยืดหยุ่น  ซึ่งการลงนามเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ครั้งนี้ ​เป็นผลมาจากที่ IWG ได้เล็งเห็นถึงความต้องการในการทำงานแบบไฮบริดในตลาดที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยในปีนี้ มีลูกค้าใหม่ของเครือข่ายเพิ่มขึ้นถึง​ 2 ล้านราย ซึ่งรวมถึงการตกลงเช่าพื้นที่ครั้งใหญ่ที่สุดของ Nippon Telegraph and Telephone Corporation (NTT) โดยพนักงานกว่า 300,000 คนของ NTT สามารถใช้พื้นที่สำนักงานของ IWG ได้ทั่วโลก และเมื่อโลกค่อย ๆ ฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ความต้องการพื้นที่สำนักงานคุณภาพสูงที่พร้อมยืดหยุ่นได้ตามความต้องการก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เพราะการทำงานแบบไฮบริดได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่แห่งโลกยุคนิวนอร์มัล กระแสนี้จึงยิ่งทำให้ไอดับบลิวจีได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันมีพาร์ตเนอร์ในระบบแฟรนไชส์แล้วมากกว่า 50 แห่ง ใน 40 กว่าประเทศทั่วโลก   จากสถานการณ์แพร่ระบาดส่งผลให้คนทั่วโลกได้หันมาใช้ชีวิตการทำงานแบบไฮบริดไปพร้อมๆกับการสร้างสมดุลให้กับชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว การขยายธุรกิจของเราไปยังทั่วภาคเหนือของประเทศไทยจะช่วยให้คนทำงานสามารถประหยัดเวลาในการเดินทาง ความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการขยายฐานธุรกิจของเราในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ในอนาคต        
โฉมใหม่ “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า เปิดแน่!! กันยายน 2565

โฉมใหม่ “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า เปิดแน่!! กันยายน 2565

โฉมใหม่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมเปิดให้บริการกันยายนปี 65  ขยายพื้นที่ใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า พร้อมรับผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 100,000 คนต่อวัน  ตอกย้ำการเป็นศูนย์ประชุมใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย  มุ่งเป้าสู่การเป็น The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All   บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ประกาศรุกตลาดธุรกิจไมซ์ (MICE) ประเทศไทยครั้งใหม่หลังความสำเร็จในอดีตตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ของการเปิดให้บริการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมทุ่มงบกว่า 15,000 ล้านบาท เดินหน้าพัฒนาสุดยอดศูนย์ประชุมใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เพิ่มศักยภาพของโครงการด้วยการขยายพื้นที่มากขึ้นถึง 5 เท่า พร้อมเพิ่มพื้นที่รีเทลเพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ โดยรักษาชื่อ “‎ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับในธุรกิจไมซ์ระดับนานาชาติ มั่นใจการพัฒนาปรับปรุงศูนย์ฯ สิริกิติ์ ครั้งนี้ จะสามารถรองรับการจัดงานประชุมหรืออิเวนต์ระดับเวิลด์คลาสได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัด นายปณต สิริวัฒนภักดี กรรมการ บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด   เปิดเผยว่า  ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่บริษัทฯ ยังเล็งเห็นความสำคัญในการเดินหน้าพัฒนาโครงการ “ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” (Queen Sirikit National Convention Center หรือ QSNCC)  ให้เสร็จสมบูรณ์ตามแผนที่วางไว้ สอดคล้องกับแผนการลงทุนระยะยาวของบริษัทฯ ซึ่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการศูนย์ประชุมระดับเวิลด์คลาสแห่งใหม่ของเอเชีย บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพของประเทศไทย ที่มีจุดแข็งหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าของภูมิภาค การมีสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคที่ครบครัน พร้อมด้วยกลุ่มคู่ค้าทางธุรกิจและซัพพลายเออร์ที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังมีศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ และมีการสืบสาน รักษา ต่อยอดให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน บริษัทฯ มั่นใจว่า ศูนย์ฯ สิริกิติ์ จะเป็น The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All ที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้านานาชาติ และจะสามารถดึงดูดเม็ดเงินเข้ามาในประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นได้อย่างแน่นอน นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถือเป็นหัวใจของการเริ่มต้นอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทย โดยตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เป็นสถานที่ที่บันทึกเรื่องราวความทรงจำของงานประชุมและอิเวนต์สำคัญๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติกว่า 20,000 งาน ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ทศวรรษ กอปรกับบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ และมีความเป็นมืออาชีพ เราเชื่อมั่นว่าศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่ จะสามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า และรองรับการจัดงานได้ในทุกรูปแบบได้อย่างแน่นอน ศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่ มีพื้นที่รองรับการจัดการประชุมและนิทรรศการมากถึง 78,500 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยฮอลล์สำหรับการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่ 2 ฮอลล์ พื้นที่รวมมากกว่า 45,000 ตารางเมตร ห้องสำหรับจัดประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ 2 ห้อง พื้นที่ประมาณ 10,000 ตารางเมตร และห้องประชุมย่อยที่สามารถรองรับการประชุมได้กว่า 50 ห้อง   นอกจากนี้ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ยังเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน และมีที่จอดรถภายในอาคารรองรับได้มากกว่า 2,700 คัน อำนวยความสะดวกให้แก่ทั้งผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมงาน  ขณะนี้ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้เริ่มเปิดจองพื้นที่และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้จัดงานเป็นอย่างมาก  เตรียมพบกับศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่ ที่จะมาสร้างความคึกคักและสีสันให้กับวงการไมซ์ กันยายน 2565 นี้
ซีบีอาร์อี แนะใช้ยาแรงฟื้นตลาดบ้าน-คอนโด  ขยายฐานราคา0-15ล.รับมาตรการรัฐ

ซีบีอาร์อี แนะใช้ยาแรงฟื้นตลาดบ้าน-คอนโด ขยายฐานราคา0-15ล.รับมาตรการรัฐ

ซีบีอาร์อี คาดตลาดอสังหาฯ ไทยปี 64 แต่ละธุรกิจฟื้นตัวแตกต่างกัน  จากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น มีความท้าทายจากความผันผวนของโรคโควิด-19  ตลาดโลจิสติกส์ขึ้นแท่นนำ ขณะที่ตลาดอาคารสำนักงานต้องเตรียมรับมือกับซัพพลายใหม่จำนวนมาก ส่วนตลาดโรงแรมและพื้นที่ค้าปลีกจะฟื้นตัวช้าสุด แนะภาครัฐอัดยาแรงในตลาดที่อยู่อาศัย ขยายฐานกลุ่มบ้าน-คอนโด ราคาตั้งแต่ 0-15 ล้านให้ได้รับอานิสงค์ พร้อมปลดล็อกขายลิสโฮลด์ขายบ้าน-ที่ดินได้ถึง 60 ปี ตลาดที่พักอาศัย : ปรับสมดุลราคา ซีบีอาร์อีเชื่อว่าตลาดที่พักอาศัยโดยรวมในกรุงเทพฯ จะยังคงชะลอตัวในปี 2564 และมีความเสี่ยงเนื่องจากโควิด-19 รอบใหม่ ได้ทำให้ผู้ซื้อชาวไทยและชาวต่างชาติใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้น   การเปิดตัวโครงการใหม่จะมีไม่มากนักโดยจะเป็นโครงการในย่านรอบนอกใจกลางเมือง (มิดทาวน์) และชานเมือง เพราะราคาที่ดินยังอยู่ในระดับราคาที่พัฒนาได้และทำให้ราคาขายเริ่มมีความสมเหตุสมผลมากขึ้น   ในปี 2564 ผู้พัฒนาโครงการจะยังให้ความสำคัญกับยูนิตที่แล้วเสร็จแต่ยังเหลือขายที่มีอยู่ในมือ แต่ขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสใหม่ในทำเลใหม่ๆ และให้ความสำคัญกับสภาพคล่องทางการเงินด้วย   ตลาดที่พักอาศัยแนวราบจะเป็นตลาดหลักสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ๆ เนื่องจากผู้พัฒนาโครงการต้องการลดความเสี่ยง   ขณะที่ความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมยังคงมีอยู่แต่มีงบประมาณที่น้อยลง   นอกจากนี้ผู้พัฒนาโครงการจะเปลี่ยนไปพัฒนาโครงการที่มีขนาดเล็กลง เพื่อลดขนาดการลงทุน และทำให้ผ่านเกณฑ์การอนุมัติเงินทุนจากธนาคารได้ง่ายขึ้น   นางสาวอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า  จากธุรกรรมซื้อขายที่ผ่านซีบีอาร์อีในปี 2563 พบว่าตลาดที่พักอาศัยระดับลักซ์ชัวรี่ที่เป็นกลุ่มเฉพาะยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมากจากทั้งลูกค้าที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองและนักลงทุน โดยเฉพาะที่พักอาศัยที่บริหารโดยเครือโรงแรมและบ้านหรู แต่ลูกค้าใช้ระยะเวลาการตัดสินใจนานขึ้น   เป็นที่น่าสังเกตว่ายูนิตขนาดใหญ่ในตลาดระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ซึ่งยอดขายชะลอตัวในอดีตกลับมามียอดขายมากขึ้นในปีที่ผ่านมา  นักลงทุนต่างชาติที่สนใจลงทุนในไทย โดยเฉพาะชาวจีน ยังคงให้ความสนใจตลาดในทุกระดับ แต่ยอดขายจากลูกค้ากลุ่มนี้จะกลับมาก็ต่อเมื่อสามารถเดินทางเข้ามาไทยได้ โปรโมชั่นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพจากรัฐบาลยังคงมีความจำเป็นสำหรับการดึงดูดผู้ซื้อต่างชาติ  ซีบีอาร์อีคาดหวังว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลออกมาอีกโดยควรจะครอบคลุมมากยิ่งขึ้นเพื่อช่วยตลาดในปีนี้   โดยเห็นว่ามาตรการที่จะช่วยกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยได้ดี คือ การขยายฐานระดับราคาที่อยู่อาศัย ให้ครอบคลุมมากขึ้น จากปัจจุบันที่ให้เฉพาะระดับบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท เห็นว่าควรขยายฐานราคาที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 0 บาทไปจนถึง 15 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยแบบสิทธิการเช่า หรือ ลิสโฮลด์นั้นควรขยายระยะเวลาให้เช่านานถึง 60 ปี เพื่อกระตุ้นตลาดในกลุ่มชาวต่างชาติให้เข้ามาซื้ออสังหาฯ​ ไทยเพิ่มมากขึ้น​ สิ่งที่จะช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ได้ คือ นโยบายของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมาตรการยังกระจัดกระจายและยังไม่อิมแพคมากพอ ตลาดอาคารสำนักงาน: ปรับเปลี่ยนอนาคตของสถานที่ทำงาน ซีบีอาร์อีมองเห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังคิดทบทวนเรื่องการออกแบบสถานที่ทำงานและวิธีการใช้พื้นที่ เนื่องจากการให้พนักงานเป็นศูนย์กลางและการทำงานแบบไฮบริดหรือการใช้พื้นที่สำนักงานรูปแบบเดิมควบคู่ไปกับการผสมผสานระหว่างการใช้พื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นกับการทำงานระยะไกลจะเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับหน้าที่และลักษณะเฉพาะของแต่ละบริษัทและแต่ละหน่วยธุรกิจ นางสาวรุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ หัวหน้าแผนกพื้นที่สำนักงาน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า สำหรับอนาคตของตลาดอาคารสำนักงาน ความกังวลที่สำคัญประการหนึ่งของซีบีอาร์อีคือจำนวนซัพพลายใหม่ที่จะเพิ่มเข้าสู่ตลาด  โดยในปี 2564 มีพื้นที่สำนักงานที่คาดว่าจะแล้วเสร็จจำนวน 334,000 ตารางเมตร  ซึ่งจะทำให้พื้นที่สำนักงานทั้งหมดในกรุงเทพฯ ขยับขึ้นไปอยู่ที่ 9.49 ล้านตารางเมตร   ในสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอนเช่นนี้  ซีบีอาร์อีได้เห็นว่าเจ้าของอาคารมีการเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จของอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน  นอกจากนี้ยังคาดว่าค่าเช่าโดยรวมในตลาดจะอยู่ในระดับทรงตัว  และตลาดจะเปลี่ยนไปสู่การเป็นตลาดของผู้เช่าโดยเฉพาะผู้เช่ารายใหญ่ที่ใช้พื้นที่สำนักงานขนาดใหญ่ ตลาดพื้นที่ค้าปลีก: พฤติกรรมเปลี่ยนส่งผลให้ต้องปฏิรูป ธุรกิจค้าปลีกของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และส่งผลให้ในปี 2563 ยอดผู้ใช้บริการลดลงอย่างมากและความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ลดลงเช่นกัน   ซีบีอาร์อีเห็นว่าเจ้าของพื้นที่ค้าปลีกได้มีการทบทวนโครงการที่มีการวางแผนไว้ รวมถึงแผนการลงทุน  ซึ่งจะมีการเสนอสัญญาเช่าที่ยืดหยุ่นมากขึ้นให้กับผู้เช่าและจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ภายในพื้นที่ศูนย์การค้า    ในทางกลับกัน ผู้ค้าปลีกจะลดขนาดและปรับรูปแบบพื้นที่เช่าเพื่อลดค่าใช้จ่ายและทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  ธนาคารต่างกำลังย้ายไปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์และต้องการพื้นที่สาขาน้อยลง   ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะให้ความสำคัญกับบริการส่งอาหารมากขึ้น และร้านขายสินค้าแฟชั่นจะมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายมากขึ้น   นอกจากการเปลี่ยนสถานะการเช่าจากแบบถาวรมาเป็นแบบชั่วคราวแล้ว ผู้เช่าจะพัฒนาให้เป็นร้านค้ารูปแบบที่เล็กลง เช่น ป๊อปอัปสโตร์ เพื่อรักษาผลกำไรในช่วงที่สถานการณ์ไม่แน่นอนเช่นนี้   ตลาดโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์: เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าพักและผู้เช่า ตลาดโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ในกรุงเทพฯ คือหนึ่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยลดลงจาก 40 ล้านคนในปี 2562 ไปเป็นต่ำกว่า 7 ล้านคนในปี 2563 ซีบีอาร์อีคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจะกลับคืนสู่ระดับเดียวกับปี 2562 ได้ในปี 2565 โดยต้องขึ้นอยู่กับความสำเร็จของวัคซีนและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นนักท่องเที่ยวหลักของไทยอย่างจีน รัสเซีย ญี่ปุ่น และอินเดีย   นายรัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย  กล่าวว่า “ในขณะเดียวกัน  เจ้าของโรงแรมและผู้บริหารจัดการโรงแรมถูกบังคับให้มุ่งเน้นไปที่ตลาดท่องเที่ยวในประเทศ โดยอาศัยรายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อให้อยู่รอด   ซีบีอาร์อีเห็นว่าโรงแรมต่างๆ ได้หาหนทางใหม่ๆ ในการดำเนินงานและทำการตลาด ตั้งแต่แพ็กเกจการทำงานจากโรงแรม (Work From Hotel) แพ็กเกจการเข้าพักแบบ Staycation (การพักผ่อนในสถานที่ใกล้ๆ) ไปจนถึงข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าที่ไม่ได้เข้าพัก    โรงแรมบางแห่งอาจเลือกที่จะเปิดให้บริการเป็นบางส่วนหรือเปิดเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม  โดยอาศัยช่วงเวลาที่มีผู้เข้าใช้บริการน้อยเป็นการทดลองเปิดให้บริการ และพยายามให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน้อยที่สุด” ตลาดพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์: ความต้องการสะสมถูกขัดขวางด้วยการห้ามเดินทาง นายอาดัม เบลล์ หัวหน้าแผนกพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดโลจิสติกส์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการแพร่ระบาด เนื่องจากโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคไทยปรับตัวเข้าสู่อี-คอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งผลักดันให้เกิดความต้องการพื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่ (Modern Logistics Property - MLP) ในประเทศไทย   พื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่มากกว่า 400,000 ตร.ม. ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าสู่ตลาดภายในปี 2564 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบสร้างขึ้นตามความต้องการเฉพาะ (Built-to-Suit)   สำหรับด้านซัพพลายเชน  ผู้ผลิตในจีนหลายรายพิจารณาย้ายฐานการผลิตมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า  นักลงทุนเริ่มให้ความสนใจซื้อโรงงานมากกว่าเช่าโรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลสถานที่ได้มากขึ้น  ในขณะที่ผู้พัฒนาโรงงานหลายรายชะลอการสร้างโรงงานสำเร็จรูป (Ready-Built Factory - RBF) แบบสร้างเสร็จก่อนขาย   ตลาดการลงทุน: ทบทวนพอร์ตและกลยุทธ์การลงทุน โควิด-19 ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเป็นตลาดของผู้เช่าและผู้ซื้อมากขึ้น โดยผู้เช่าจะมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นโดยอสังหาริมทรัพย์จะถูกนำออกมาขายมากขึ้น  เนื่องจากเจ้าของพื้นที่และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องการถือเงินสด  ซีบีอาร์อีเชื่อว่าเรื่องนี้อาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์ที่ยอมลดราคา แต่ความคาดหวังที่แตกต่างกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อจะยังคงเป็นปัญหาสำคัญ  ราคาที่ดินจะอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลมากขึ้นเพราะราคาที่ดินโดยรวมในทำเลชั้นนำยังไม่เปลี่ยนแปลง  อย่างไรก็ตาม ราคาที่ดินในย่านรอบนอกใจกลางเมืองและชานเมืองโดยรวมลดลง ยกเว้นบางพื้นที่จะปรับตัวสูงขึ้นตามการขยายเส้นทางระบบขนส่งมวลชนและการขยายถนนในพื้นที่   นางกุลวดี สว่างศรี หัวหน้าแผนกการลงทุนและที่ดิน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวสรุปว่า เจ้าของพื้นที่และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ในเชิงรุกเพื่อรักษารายได้และบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ   การลงทุนแต่ละครั้งจะได้รับการประเมินหลายครั้งเพื่อทำความเข้าใจกับการแทรกแซงจากคู่แข่ง รวมถึงความต้องการของผู้เช่านั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ที่มีอยู่หรือขายออก      
4 กลยุทธ์ทางรอดออฟฟิศบิวดิ้ง  รับมือโควิด-19 ยุค Next Normal

4 กลยุทธ์ทางรอดออฟฟิศบิวดิ้ง รับมือโควิด-19 ยุค Next Normal

สถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยอีกครั้ง ทำเอาหลายคนวิตกกังวล กลัวว่าจะสถานการณ์จะรุนแรงกว่าเดิม เพราะผู้ติดเชื้อได้เดินทางไปในสถานที่ และพบปะผู้คนมากมาย ซึ่งทำให้นับจากนี้ ประชาชนคงต้องระมัดระวังตัวเองมากขึ้น ต้องป้องกันการได้รับเชื้อโควิด-19 ด้วยมาตรการที่เคยปฎิบัติมา ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า และการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ หรือการทำความสะอาดมือทุกครั้งหลังการสัมผัสสิ่งของที่อาจจะเป็นแหล่งที่อยู่ของเชื้อโรค   ในขณะที่อาคารและสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร สำนักงาน หรือแหล่งชุมชน ต่างก็ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการป้องกันการแพร่เชื้อโรคไวรัสโควิด-19 มาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิของผู้เข้ามาใช้บริการ หรือการมีเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่าง ๆ ไว้ให้ทำความสะอาดมือ และการติดตั้งอุปกรณ์การใช้งานของสิ่งต่าง ๆ เพื่อที่จะลดการสัมผัส การกันพื้นที่บางส่วนให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งเป็นมาตรการที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา   แม้ในอนาคตหากมีการนำเอาวัคซีนมาใช้จริงกับมนุษย์ หรือเราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าทุกคนคงจะยังต้องปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสาธารณสุข เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างแน่นอน รวมถึงบรรดาอาคารและสถานที่ต่าง ๆ ก็คงยังต้องมีมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นไปตามวิถีชีวิตปกติใหม่ หรือ New Normal อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   นอกจาก อาคารสำนักงาน หรือ ออฟฟิศ บิลดิ้ง จะต้องปรับตัว กับการอยู่ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แล้ว  สถานการณ์ภาพรวมของตลาดธุรกิจสำนักงานให้เช่า และธุรกิจโรงแรมในปี 2563 ที่ผ่านมา ต่างต้องประสบกับวิกฤตจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดภาวะชะงักงันของภาคธุรกิจโดยรวม และปัจจุบันเกือบทุกบริษัทหันมาใช้การทำงานรูปแบบ Work from home กันมากขึ้น ทำให้อาคารสำนักงานให้เช่าเริ่มเข้าสู่จุดเสี่ยง สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ประกอบการเจ้าของอาคารหลายแห่งเริ่มมองหาตัวช่วยในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับอาคารของตนเพื่อดึงดูดผู้เช่าและผู้ใช้อาคารให้กลับมาเหมือนเดิม รวมไปถึงสร้างความเชื่อมั่นเพื่อเชิญชวนผู้เช่ารายใหม่ ๆ ให้เข้ามามากกว่าเดิมด้วย ขณะที่ทิศทางในอนาคตการจะรับมือกับรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ หรือ Next Normal นั้น SCG Building and Living Care Consulting มีคำแนะนำให้ใช้ 4 กลยุทธ์เพื่อรับมือแบบ Next Normal ของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง หลังยุคโควิด ดังนี้ 1.Intelligent Building ปรับอาคาร และ ฟังก์ชันการใช้งานภายในอาคารให้มีความอัจฉริยะ โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อมัดใจคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็น Gen Me หรือ Millennials ซึ่งมีผลวิจัยว่าคนรุ่นใหม่ 69-78% ให้ความสำคัญกับ workplace มากกว่า benefit บางอย่างที่พวกเขาอาจไม่ได้ใช้ 2.Healthy Building ทำอาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานอาคารมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง และปลอดภัย รวมถึงการออกแบบพื้นที่ทำงานจะต้องก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้ความสะดวกสบาย และสร้างประสิทธิภาพและการเข้าถึงให้แก่ผู้ทำงานทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และรวมถึงผู้ทุพลภาพในด้านต่าง ๆ ด้วย 3.Homey Environment ออกแบบพื้นที่ภายในและนอกอาคารให้รู้สึกสะดวกสบายเหมือนอยู่บ้าน โดยเชื่อมโยงชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน อาจใช้องค์ประกอบที่มีในธรรมชาติ มีพื้นที่ให้ผ่อนคลายจากการทำงาน มีพื้นที่หลากหลายตามแต่ความต้องการของการใช้พื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา และคำนึงถึงระดับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน 4.Building Certification ปรับพัฒนาอาคารตามมาตรฐานอาคารระดับโลก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้อาคาร จากการรับรองโดยสถาบันที่มีชื่อเสียง ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร/อาคารนั้นได้มากขึ้น และยังส่งผลต่อค่าเช่าพื้นที่ที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มได้มากกว่าอาคารทั่วไป   สำหรับ SCG Building and Living Care Consulting ได้ดำเนินธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่การออกแบบ ก่อสร้างอาคาร รวมไปถึงการรับรองอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ด้วยบริการให้คำปรึกษาเพื่อขอรับรองมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานในการรับรองอาคารแบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่  มาตรฐานอาคารเขียว (Green Building Certification) และ มาตรฐานอาคารเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี (Well-Being Building)  
โกลเด้นแลนด์ กระจายความเสี่ยงธุรกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 กวาดรายได้กว่า 3,500 ล้านบาท

โกลเด้นแลนด์ กระจายความเสี่ยงธุรกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 กวาดรายได้กว่า 3,500 ล้านบาท

โกลเด้นแลนด์ ปิดยอดธุรกิจในช่วง 3 เดือนแรก ยังทำได้ 3,500 ล้านบาท  ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา  จากการปรับกลยุทธ์รับมือสถานการณ์โควิด-19 ทั้งเปลี่ยนรูปแบบการขายไปสู่ออนไลน์ และเพิ่มมาตรการดูแลลูกค้า คู่ค้า พันธมิตร และการกระจายความเสี่ยงธุรกิจ ทั้งพอร์ตที่อยู่อาศัยและรีเทล    นายธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ว่า สามารถทำยอดรับรู้รายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 มีนาคม 2563 เป็นจำนวน 3,500 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19  รวมถึงการกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ   “บริษัทฯ มีการกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ โดยแบ่งรายได้ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ โครงการแนวราบ มีโครงการทาวน์โฮม นีโอโฮม และบ้านเดี่ยว ซึ่งเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนระยะสั้น สร้างรายได้ทันที และโครงการเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีรายได้จากค่าเช่า ได้แก่ อาคารสำนักงาน  และรีเทล เป็นการลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว ส่งผลให้บริษัทฯ มีความยืดหยุ่นของรายได้ ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงกับธุรกิจแทบทุกด้าน"   สำหรับกลยุทธ์การสร้างพอร์ตธุรกิจหลากหลายรูปแบบ การกระจายความเสี่ยงพิสูจน์แล้วว่า ช่วยให้องค์กรผ่านพ้นในทุกวิกฤตได้  ซึ่งในสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน บริษัทฯ ยังได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานในแต่ละด้านเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้ กลยุทธ์ด้านโครงการแนวราบ เนื่องจากความเข้มข้นของสถานการณ์ทำให้ลูกค้าเข้าชมโครงการได้ลำบากมากขึ้น ทางบริษัทฯ จึงได้ปรับรูปแบบการขายไปสู่ออนไลน์มากขึ้นเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น อีกทั้งยังลดขั้นตอนเอกสาร และอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าไม่ต้องเข้ามาที่โครงการ สำหรับการก่อสร้างยังคงดำเนินการต่อ เนื่องจากบริษัทฯ มี Backlog รอโอนที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2562 และนับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่โครงการจะได้ปรับปรุงบ้านของลูกบ้าน และส่วนกลางของโครงการให้มีสภาพที่ดียิ่งขึ้น สิ่งที่น่าสนใจท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ คือ ลูกค้ามีความสนใจโครงการแนวราบมากขึ้น สังเกตจากปริมาณลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาที่โครงการยังมีอย่างต่อเนื่อง และเป็นลูกค้าที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจริง กลยุทธ์ด้านโครงการเชิงพาณิชย์ สำหรับศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ บริษัทฯ มีมาตรการในการช่วยเหลือผู้เช่า โดยการไม่เก็บค่าเช่า และค่าส่วนกลาง 100% สำหรับร้านค้าที่ต้องปิดให้บริการตามคำสั่งภาครัฐ และลดค่าเช่า 50% สำหรับร้านค้าที่ยังเปิดให้บริการ นอกจากนี้ยังช่วยเหลือผู้เช่าส่วนอาคารสำนักงานทั้งอาคารปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ สาทรสแควร์  เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ และมิตรทาวน์ออฟฟิศทาวเวอร์ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นส่วนช่วยให้พันธมิตร ร้านค้า และผู้เช่า ทุกรายสามารถผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน กลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการ การบริหารค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุม และการจัดการกระแสเงินสดอย่างรอบคอบ เป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการในขณะนี้ และทำให้เรามั่นใจว่า บริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้ไปได้ สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การดูแลพนักงานไม่ให้ได้รับผลกระทบทางด้านการเงิน  และดูแลความปลอดภัยของพนักงานเป็นสำคัญ อาทิ การแจกหน้ากากอนามัย และผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ ฯลฯ พร้อมยกระดับระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ด้วยนโยบายการทำงานจากบ้าน (Work from home) โดยทางบริษัทฯ ได้สนับสนุนด้านอุปกรณ์ และเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ และยังกระตุ้นให้พนักงานฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาตัวเองทางออนไลน์อย่างต่อเนื่อง”   “วิกฤติโควิด-19 นี้เราต้องมีสติในการรับมือกับปัญหา ในทุกวิกฤตมีโอกาสเสมอ เป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้ วิกฤตครั้งนี้ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าจะจบลงเมื่อไร เราต้องดูแลพนักงาน และพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ธุรกิจของเราผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ อย่าปล่อยให้วิกฤตผ่านไปโดยไร้ค่า เรียนรู้ จดจำ และทุกคนต้องเชื่อมั่น และร่วมมือกันปรับตัวให้ทัน โกลเด้นแลนด์ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายผ่านพ้นวิกฤติได้ในที่สุด”
สิงห์ เอสเตท ควัก 1,725 ล้าน ซื้อเมโทรโพลิส เสริมพอร์ตออฟฟิศให้เช่า

สิงห์ เอสเตท ควัก 1,725 ล้าน ซื้อเมโทรโพลิส เสริมพอร์ตออฟฟิศให้เช่า

สิงห์ เอสเตท มั่นใจธุรกิจอาคารสำนักงานใจกลางเมือง  ควักทุน 1,725 ล้าน ซื้ออาคารเมโทรโพลิส  เสริมแกร่งพอร์ทโฟลิโอพื้นที่สำนักงานให้เช่า จาก “ฟีนิกซ์ เพาเวอร์”   พร้อมต่อยอด นำอาคารเมโทรโพลิสและทรัพย์สินอื่นๆของบริษัท เข้าเพิ่มเติมในกองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอส ไพรม์ โกรท     การเข้าซื้ออาคารเมโทรโพลิส เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การลงทุนที่มุ่งเพิ่มการกระจายธุรกิจไปยัง Recurring Income Business หรือธุรกิจที่สร้างรายได้สม่ำเสมอ เพื่อลดความผันผวนจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ เนื่องจากธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่ามีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ อีกทั้งอาคารเมโทรโพลิสยังตั้งอยู่ในทำเลที่ดีเยี่ยม ย่านพร้อมพงศ์ รวมทั้งมีแนวคิดการออกแบบและตกแต่งที่เรียบหรูลงตัว จึงสามารถเสริมการสร้างผลกำไรของบริษัทให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว     นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่ผ่านมา บริษัทได้เข้าซื้ออาคารเมโทรโพลิสและรับโอนสิทธิการเช่าที่ดินจาก บริษัท ฟีนิกซ์ เพาเวอร์ จำกัด ด้วยเงินลงทุน 1,725 ล้านบาท เนื่องจากมีความมั่นใจธุรกิจอาคารสำนักงานใจกลางเมือง จึงนำเอาทรัพย์ดังกล่าวมาเสริมแกร่งพอร์ทโฟลิโอพื้นที่สำนักงานให้เช่า พร้อมเตรียมแผนที่นำอาคารเมโทรโพลิสและทรัพย์สินอื่นๆของบริษัท เข้าเพิ่มเติมในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอส ไพรม์ โกรท (SPRIME)   “อาคารเมโทรโพลิส จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับพอร์ทโฟลิโอ ธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่าของบริษัท ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่รวมกันถึง 120,000 ตาราเมตร ในทำเลสำคัญทั่วกรุงเทพฯ และมีแผนนำอาคารเมโทรโพลิส และทรัพย์สินอื่นๆ ของบริษัท เข้าเพิ่มเติมในกองทรัสต์ SPRIME ซึ่งมีผลตอบแทนที่สูงถึง 7% ณ ไตรมาส 3 ของปี 2562”     ทั้งนี้ อาคารเมโทรโพลิส เป็นอาคารสำนักงานให้เช่า สูง 21 ชั้น มีอัตราการเช่าเฉลี่ยประมาณ 98% ค่าเช่าตารางเมตรละประมาณ 800 บาทต่อเดือน เปิดดำเนินการเมื่อปลายปี 2558 มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดประมาณ 26,157 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินที่เนื้อที่ 2-0-19 ไร่ ในพื้นที่ธุรกิจใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ริมถนนสุขุมวิท ซึ่งถือเป็นทำเลที่ดีและมีความน่าสนใจ และเดินทางสะดวกโดยตั้งอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีพร้อมพงษ์ ซอยสุขุมวิท 39 รวมทั้งใกล้กับศูนย์การค้าชั้นนำ โรงแรม และสวนสาธารณะสำคัญ  
ชมออฟฟิศใหม่ “เจียไต๋” ก้าวสู่ปีที่ 100  กับแนวคิด  Work – Life Balance

ชมออฟฟิศใหม่ “เจียไต๋” ก้าวสู่ปีที่ 100 กับแนวคิด  Work – Life Balance

คนส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกร หรือสนใจในเรื่องการเกษตร การปลูกต้นไม้ เชื่อว่าจะต้องรู้จักชื่อของ “เจียไต๋” บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการเกษตรครบวงจรของประเทศไทย ในเครือซีพี หรือเจริญโภคภัณฑ์  เป็นอย่างดี ออฟฟิศ เจียไต๋ เพราะธุรกิจมีหลากหลายที่เกี่ยวกับการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายเม็ดพันธ์ หรือสารเคมี และบริการด้านการเกษตร ที่สำคัญเป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาอย่างยาวนาน นับอายุก็จะครบ 100 ปีแล้ว นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาตั้งแต่ปี 2463 ออฟฟิศ เจียไต๋ จุดเริ่มต้นของ “เจียไต๋”  เริ่มต้นขึ้นจากห้องแถวเล็กๆ บนถนนทรงสวัสดิ์ ย่านเยาวราช ก่อนกิจการจะขยายใหญ่ขึ้น จนพื้นที่ของสำนักงานแห่งเก่ามีไม่เพียงพอที่จะรองรับพนักงานที่มีจำนวนมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารมีแนวความคิดในการมองหาสำนักงานแห่งใหม่ที่ใหญ่ขึ้น และรองรับจำนวนพนักงานได้มากขึ้น ที่สำคัญต้องเป็นสถานที่ทำงาน ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจ ปลุกไฟให้กับพนักงาน และเป็นสถานที่ดึงดูดกลุ่มรุ่นใหม่  กลุ่มมิลเลนเนียม ให้อยากเข้ามาทำงาน ตอบสนองความต้องการกลุ่มคนเหล่านั้นได้ "เจียไต๋" ทุ่ม 900 ล้านขึ้นออฟฟิศใหม่ “เจียไต๋” จึงได้ทำการย้ายออฟฟิศแห่ง  ด้วยการลงทุนก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่  มูลค่า 900 ล้านบาท ตั้งอยู่บริเวณริมถนนสุขุมวิท ซอยสุขุมวิท 60 ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีบางจาก เป็นอาคารขนาดความสูง 15 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 18,000 ตารางเมตร  โดยชั้น 1-6 เป็นพื้นที่จอดรถ และชั้น 7-15 เป็นพื้นที่ทำงาน   นายมนัส เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจียไต๋ จำกัด เล่าว่า  “เจียไต๋กำลังจะฉลองครบรอบ 100 ปี จึงตัดสินใจย้ายสำนักงานมาที่ใหม่ เพื่อให้พนักงานทุกคนได้ทำงานอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เน้นการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงาน สำนักงานใหญ่แห่งใหม่นี้จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อม และความแข็งแกร่งของเจียไต๋ในการเดินเข้าสู่ปีที่ 100 อย่างมั่นคง” ดีไซน์ด้วยแนวคิด “เหนือกาลเวลา” สำหรับสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของเจียไต๋ ได้รับการออกแบบและตกแต่งโดย บริษัท สถาปนิก 49 จำกัดและ บริษัท พี ไอ เอ อินทีเรีย จำกัด  ด้วยการดีไซน์ตัวอาคารให้เป็นลักษณะโมเดิร์น ร่วมสมัย และเรียบง่าย สะท้อนความเป็นตัวตนของ “เจียไต๋” ที่อยู่เคียงคู่สังคมไทยมาทุกยุคทุกสมัยเป็นเวลาเกือบ 100 ปี  ตัวอาคารล้อมรอบด้วยพื้นที่สีเขียว บริเวณด้านหน้ามีการปลูกพืชผักและดอกไม้ตามฤดูกาล เพื่อสะท้อนสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งของ “เจียไต๋” กับวิถีการเกษตร และยังเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของพนักงาน “คอนเซ็ปต์การออกแบบอยากได้อาคารเหนือกาลเวลา ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน ยังได้ความสวยงาม และสถาปัตยกรรมที่ดี ต้องตอบโจทย์ผู้ใช้งานด้วย จังออกแบบให้มีเส้นแนวตั้งภายนอกอาคาร ใช้ประโยช์ได้ทั้งการกันแสงแดด และประหยัดพลังงาน” ส่วนบริเวณด้านหน้าอาคาร ได้ถูกออกแบบให้เป็นสวนเกษตร หลากหลายชนิด ภายใต้แนวคิด Urban Green Area ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากพืชได้จริง และยังใช้เป็นแนวรั้ว ที่กั้นแนวเขตฟุตบาทกับพื้นที่สำนักงาน แต่ทำให้รู้สึกถึงความโปร่งสบาย เพราะไม่ได้ถูกกั้นเหมือนรั้วหรือกำแพงทั่วไป “เราพยายามรักษาทั้งเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ให้คนเห็นแปลงผัก ดอกไม้ได้ มองจากริมถนนได้ แต่เข้าไม่ได้ เป็นคอนเซ็ปต์รั้วโล่ง ปีก่อนหน้านี้ก็ได้มีการปลูกข้าวจริงๆ ถึง 2 ครั้ง” ดึงแนวคิด 4ฤดู ออกแบบภายใน ส่วนอาคารภายใน ออกแบบให้สะท้อนค่านิยม One Chia Tai ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวที่ "เจียไต๋" พนักงานทุกคนได้รับการปลูกฝังให้ทำงานร่วมกันเป็นทีมที่เรียกว่า One Chia Tai เพื่อเดินไปสู่จุดหมายหลักเดียวกันขององค์กร นั่นคือการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอย่างยั่งยืนของผู้คนทั่วทั้งภูมิภาค ภายในอาคาร จึงออกแบบด้วยแนวคิด “Growing as One – เติบโตไปด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว”  ผ่านการจัดองค์ประกอบในแนวคิด “สวนหลังบ้าน” ซึ่งใช้เป็นแนวคิดหลักในการออกแบบพื้นที่ของแต่ละหน่วยงาน เช่น สนามเด็กเล่น  สวนเรือนกระจก สวนพฤกษา และบ้านต้นไม้ โดยทุกชั้นภายในอาคารจะมีส่วนที่เป็นสวน หรือการปลูกต้นไม้อยู่ทุกชั้น “คนเราถ้าอยู่ในสวนหรือธรรมชาติ 1 ชั่วโมง จะมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น 20% การออกแบบตกแต่งภายในแต่ละชั้น ยังได้นำเอาแนวคิดของ 4 ฤดูกาล เข้ามาเป็นแนวทางในการออกแบบและตกแต่งภายในด้วย -ชั้น 9 ที่ทำงานของหน่วยธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ซึ่งออกแบบและตกแต่งภายใต้ธีม ฤดูฝน โดยใช้สีเขียวเป็นโทนสีหลัก -ชั้น 11 เป็นที่ทำงานของหน่วยธุรกิจสนับสนุน ออกแบบและตกแต่ง ภายใต้ธีมของฤดูใบไม้เปลี่ยนสี -ชั้น 12 ที่ทำงานของหน่วยธุรกิจปุ๋ย ถูกออกแบบและตกแต่งภายใต้ธีม ฤดูร้อน โดยใช้สีเหลืองเป็นโทนสีหลัก -ชั้น 12A  สถานที่ทำงานของหน่วยธุรกิจอารักขาพืช ออกแบบและตกแต่งภายใต้ธีม ฤดูหนาว ด้วยโทนสีฟ้าเป็นโทนสีหลัก   แม้ว่าจะมีการแบ่งพื้นที่การทำงาน ในแต่ละชั้นแต่ละหน่วยธุรกิจ แต่ทุกมีการสร้างพื้นที่ให้เชื่อมต่อถึงกันได้ เดินขึ้น-ลงระหว่างชั้นได้  โดยชั้น 7 เชื่อมต่อกับชั้น 8 ชั้น 9 เชื่อมต่อกับชั้น 10 ชั้น 11-12A เชื่อมต่อถึงกันได้ และชั้น 14-15  ซึ่งเป็นส่วนสำนักงานซีอีโอและห้องทำงานของซีอีโอ ก็เชื่อมต่อระหว่างกันด้วย เป็นการออกแบบเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน มุ่งสู่การสร้างวัฒนธรรมในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ การทำงานร่วมกันเป็นทีม นอกจากการเชื่อมต่อระหว่างชั้นแล้ว ทุกพื้นที่ในสำนักงานใหม่ยังจัดทำในรูปแบบ Co-Working Space ที่พนักงานจากหลากหลายแผนกสามารถใช้ทำงานร่วมกันได้ด้วย สร้าง Work – Life Balance ดึงคนรุ่นใหม่ การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว Work-Life Balance เป็นสิ่งที่สำคัญต่อความคิดสร้างสรรค์และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ "เจียไต๋" ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นลำดับต้นๆ สำนักงานใหญ่แห่งนี้จึงออกแบบพื้นที่เพื่อส่งเสริมการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้พนักงานได้มีความสุข สนุกกับการทำงานในทุกๆ วัน   โดยมีพื้นที่ให้พนักงานสามารถผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงาน เช่น ฟิตเนส ห้อง Golf Simulator ซึ่งไม่ได้มีเพียงอุปกรณ์ออกกำลังกายอย่างครบถ้วนเท่านั้น แต่ยังมีโค้ชประจำ และมีคลาสออกกำลังกายต่างๆ เช่น คลาสโยคะ หรือเต้นซุมบ้า เพื่อส่งเสริมสุขภาพพนักงานอย่างจริงจัง นอกจากนี้ ยังมีห้องสมุด ห้องอาหาร และยังคิดเผื่อไปถึงครอบครัวของพนักงาน จึงได้สร้างพื้นที่ Kid Room เพื่อรองรับบุตรหลานของพนักงานอีกด้วย   "เจียไต๋" ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน โดยนอกจากอาคารจะใช้วัสดุเช่น กระจก และมีเพดานที่สูงเพื่อเปิดช่องให้แสงธรรมชาติผ่านเข้าได้มากที่สุด เพื่อลดการใช้พลังงานแล้ว ยังมีการติดตั้งระบบเปิด-ปิดไฟฟ้าอัตโนมัติสำหรับควบคุมไฟฟ้าภายในอาคาร ติดตั้งระบบจับความเคลื่อนไหวภายในห้องน้ำที่จะสั่งการเปิด-ปิดไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อมีคนใช้ ทำให้ไม่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้ทั้งวัน และยังติดตั้งมาตรวัดปริมาณน้ำและไฟที่ใช้ในแต่ละชั้นเพื่อนำข้อมูลไปสร้างแนวทางในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม เจียไต๋สนับสนุนให้พนักงานแยกขยะ โดยจัดวางถังขยะแบบแยกประเภทเพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรณรงค์เรื่องการแยกขยะในกลุ่มพนักงานอีกด้วย   “เรามุ่งหวังให้สำนักงานใหญ่แห่งใหม่นี้เป็นที่ทำงานที่ทันสมัย ดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่ๆ เป็นสถานที่ในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน เพื่อให้ทุกคนแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ เจียไต๋จะฉลองครบรอบ 100 ปี ใน 2564 สำนักงานใหญ่แห่งใหม่นี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจของเจียไต๋ ในการก้าวเดินสู่ศตวรรษใหม่อย่างแข็งแกร่งและมั่นคง” ปัจจุบันสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ มีพนักงานเข้าทำงานเพียง 320 คนเท่านั้น จากจำนวนพนักงานทั้งกลุ่มบริษัท 1,300 คน บางส่วนกระจายอยู่ในโรงงานบ้าง สำนักงานสาขาบ้าง และส่วนงานวิจัยในพื้นที่ต่างจังหวัดบ้าง  สำนักงานใหญ่แห่งใหม่จึงยังสามารถรองรับพนักงานได้อีกมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่  ที่ถือเป็นกำลังสำคัญ จะมาสานต่อให้ “เจียไต๋” ก้าวไปเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต   โดยผู้บริหารคาดหวังว่า การออกแบบสำนักงานให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มมิลเลนเนียม จะเป็นตัวช่วยดึงให้พวกเขาเข้ามาเป็นกำลังสำคัญของ “เจียไต๋” ในอนาคต เพราะปัจจุบันยังมีพนักงานกลุ่มนี้ไม่มากนัก อายุเฉลี่ยของพนักงาน “เจียไต๋” จะอยู่ที่ 35 ปี มีอายุงานประมาณ 9 ปีเท่านั้น ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่สัดส่วนถึง 65% เป็นกลุ่มคน Gen Y  
สำรวจตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

สำรวจตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

ดูเหมือนตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภท พื้นที่เชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า หรือพื้นที่ค้าปลีก เป็นอสังหาฯ ที่พอจะสร้างการเติบโตให้กับผู้ประกอบการได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นรายได้ประจำสม่ำเสมอ แม้จะไม่หวือหวาแต่ก็ผันผวนจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค  น้อยกว่าอสังหาฯ ประเภทที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในปีนี้แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยไม่ได้สดใสเอาเสียเลย   หลายปีก่อนหน้าบรรดาดีเวลลอปเปอร์ เริ่มปรับตัวหันมาพัฒนาโครงการประเภทมิกซ์ยูส ที่มีอสังหาฯ หลากหลายประเภทรวมอยู่ในนั้น โดยเฉพาะพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า เพราะเป็นตลาดที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง  หน่วยงานวิจัยหลายแห่งจึงได้ออกบทวิเคราะห์ เพื่อให้เห็นภาพของตลาดออฟฟิศให้เช่า ถึงสภาพตลาดปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ว่าจะเป็นตลาดที่สดใสและน่าสนใจจริงๆ หรือไม่   Q3 พื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่ม 45,000 ตร.ม. กราฟที่ 1 กราฟอุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯ   ล่าสุด  ต่างก็เห็นไปทิศทางเดียวกัน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด ได้จัดทำรายงานภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ที่ผ่านมา ระบุว่า มีพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มขึ้น 49,800 ตารางเมตร  จากพื้นที่รวมทั้งหมด 5,125,617 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 1%  เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และเติบโต 1.6% ปีต่อปี  มีอาคารสำนักงานใหม่หนึ่งอาคารเพิ่มเข้ามาในย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) พื้นที่ 45,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าในย่านศูนย์กลางธุรกิจเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 โดยไม่มีการย้ายออกจากอาคารเก่าในไตรมาสนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีพื้นที่สุทธิเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 24,418 ตารางเมตรต่อไตรมาส   สำหรับโครงการพัฒนาในอนาคตจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 - ปี 2566 ตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ คาดว่าจะเติบโตเป็น 1,171,829 ตารางเมตร หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 275,724 ตารางเมตรต่อปี (ซึ่งคำนวนจากส่วนที่เพิ่มเข้ามาในตลาดเท่านั้น ไม่ได้คำนวนการย้ายออก) หากเปรียบเทียบจากปี 2558 - ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 มีพื้นที่ใหม่เข้าสู่ตลาดอยู่ที่ 139,385 ตารางเมตรต่อปี ในช่วงสิ้นปี 2566 ปริมาณพื้นที่รวมของอาคารสำนักงานคาดว่าจะมีมากถึง 6 ล้านตารางเมตร   นอกจากนี้ การปรับปรุงภาษีอสังหาริมทรัพย์ใหม่ที่เริ่มต้นบังคับใช้ในปี 2563 คาดว่าจะมีย้ายพื้นที่ในอาคารเก่าเป็นจำนวนมาก ส่วนอสังหาฯ เชิงพาณิชย์ ภาษีใหม่นี้จะปรับอัตราภาษีส่วนเพิ่มจาก  0.3%  ไปถึงจุดสูงสุดที่  1.2%  ตามราคาประเมินของรัฐบาล ซึ่งจะแทนที่ภาษีครัวเรือนและภาษีที่ดินในปัจจุบันที่เรียกเก็บที่  12.5%  จากราคาประเมินเช่ารายปี ภาษีใหม่นี้จะกลายเป็นภาระหนักแก่อาคารเกรดไม่สูงนักหรืออาคารที่มีผู้เช่าน้อยในพื้นที่ย่านไพร์ม แต่อาจเป็นแรงจูงใจให้เจ้าของอาคารสำนักงานเหล่านี้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของอาคาร    ตารางที่ 1 อุปทานอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ในอนาคต ตารางที่ 2 อุปทานอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​ในอนาคต รายโครงการ พื้นที่ออฟฟิศถูกเช่าต่ำสุดใน 10 ปี ส่วนความต้องการใช้พื้นที่ออฟฟิศให้เช่านั้น ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ปรับลดลงเล็กน้อย ซึ่งการครอบครองลดลงเหลือเพียง 51,485 ตารางเมตร จากเดิม 68,987 ตารางเมตรในไตรมาสก่อน โดยลดลง 8% ต่อไตรมาส และส่งผลต่อการครอบครองเฉลี่ยลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายไตรมาสใน 10 ปี ซึ่งอยู่ที่ 64,406 ตารางเมตร นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2556 ของการครอบครองในไตรมาสที่ 3 ที่มีพื้นที่ลดลงต่ำกว่า 40,000 ตารางเมตร การครอบครองพื้นที่ใหม่และอาคารสำนักงานตกแต่งใหม่คิดเป็นเพียง 41% ของพื้นที่ทั้งหมดในไตรมาสนี้ ซึ่งลดลง 10% ไตรมาสต่อไตรมาส (Q-o-Q)   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้เช่าเลือกที่จะเช่าอาคารที่มีคุณภาพสูง โดยอาคารสำนักงานใหม่และอาคารสำนักงานที่ตกแต่งใหม่เหล่านี้มักจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมักจะดึงดูดความต้องการได้อย่างดี อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอาจส่งผลให้ผู้เช่าในปัจจุบันและผู้เช่าในอนาคตบางรายรอดูสถานการณ์ในการย้ายสำนักงานหรือแผนการขยายสาขา กราฟที่ 2 การครอบครองอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ รายไตรมาส   การดูดซับสุทธิปรับเพิ่มพื้นที่การครอบครองรวมจำนวน 20,138 ตารางเมตร  ซึ่งรวมทั้งหมดเป็นจำนวน 4,650,635 ตารางเมตร การดูดซับสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 11,990 ตารางเมตร ในไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหากเทียบปีต่อปี เนื่องจากพื้นที่ครอบครองรวมลดลงไป 19,509 ตารางเมตร  ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อย่างไรก็ตามในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พื้นที่ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 80,000 ตารางเมตร ในขณะที่พื้นที่ครอบครองรวมเพิ่มขึ้นเพียง 26,271 ตารางเมตร ความแตกต่างนี้แสดงให้เห็นว่าความต้องการรายปีต่ำกว่าปริมาณพื้นที่มากในปีที่ผ่านมา กราฟที่ 3 ไดนามิกส์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ   พื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มมากกว่าดีมานด์ การเพิ่มขึ้นของปริมาณพื้นที่สูงกว่าการดูดซับสุทธิ ส่งผลให้อัตราการครอบครองพื้นที่ตลาดลดลงไปที่  90.7% จากเดิมอยู่ที่  91.2% ในไตรมาสก่อน แม้ว่าจะลดลงแต่อัตราการครอบครองพื้นที่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยอยู่ที่  89.8% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าตลาดยังคงเสถียรภาพ อัตราการครอบครองพื้นที่ปรับลดลงในทั้งสองอาคารสำนักงานเกรด A และ B โดยลดลงไป  3.0% และ 0.5% จากไตรมาสก่อนตามลำดับ ในขณะที่อัตราการครอบครองอาคารสำนักงานเกรด C ปรับเพิ่มขึ้น 0.4% โดยรวมอยู่ที่ 87.7%   สำหรับในย่านศูนย์กลางธุรกิจ มีอัตราการครอบครองพื้นที่บนถนนวิทยุเพิ่มขึ้นสูงมากที่สุด ซึ่งเพิ่มขึ้น  0.4% ไตรมาสต่อไตรมาส คิดเป็น 0.9% ปีต่อปี โดยรวมอยู่ที่  91.8% ในทางกลับกันอัตราการครอบครองพื้นที่ในเขตสีลม-สาทรลดลงไป 0.5% ไตรมาสต่อไตรมาส และ 1.65% ปีต่อปี โดยรวมอยู่ที่ 92.6% สำหรับเขตนอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ อัตราการครอบครองพื้นที่ในเขตบางนาปรับสูงขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้น  1.2% โดยรวมอยู่ที่ 85.5% กราฟที่ 4 อัตราการครอบครองพื้นที่, อุปสงค์ และอุปทานพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ   ถนนวิทยุพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าราคาพุ่งสูงสุด ตารางที่ 3 อัตราการครอบครองพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​ โดยแบ่งตามเกรด พื้นที่ออฟฟิศให้เช่ามีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.2% อยู่ที่ 789 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน การเพิ่มเข้ามาของพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าใหม่ที่ตั้งราคาอยู่ในระดับเกรด A เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเพิ่มขึ้นของระดับค่าเช่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ราคาค่าเช่าปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยที่ 5.0% ต่อปี โดยในไตรมาสที่ 3 ราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยของอาคารสำนักงานเกรด B มีการปรับเพิ่มขึ้น 0.9% ไตรมาสต่อไตรมาส และ 5.4 ปีต่อปี อยู่ที่ 819 บาท ในขณะเดียวกัน ราคาค่าเช่าของอาคารสำนักงานเกรด A นั้นลดลงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แม้จะมีการเพิ่มขึ้น 8.8% ปีต่อปี แต่ราคาค่าเช่าปรับลดลงเหลือ 1,129 บาท ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง กราฟที่ 5 ราคาเสนอเช่าโดยเฉลี่ยของพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​โดยแบ่งตามเกรด ค่าเช่าของพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าในย่านศูนย์กลางธุรกิจปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมา ยกเว้นเพียงเขตอโศก-พร้อมพงษ์ ส่วนอาคารสำนักงานบนถนนวิทยุที่นอกจากจะมีปริมาณผู้เช่าสูงที่สุดแล้ว ยังมีการปรับราคาค่าเช่าสูงที่สุดอีกด้วย โดยราคาค่าเช่าเพิ่มขึ้น 4.1%   ไตรมาสต่อไตรมาส และ 10.1% ปีต่อปี อยู่ที่ 1,148 บาท สำหรับพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยเขตที่มีค่าเช่าสูงที่สุดอยู่ในเขตพหลโยธิน-วิภาวดี เพิ่มขึ้น 5.1% จากไตรมาสก่อน อยู่ที่ 760 บาท ในทางตรงกันข้าม ค่าเช่าในพื้นที่เขตอโศก-เพชรบุรีกลับลดลงไปร้อยละ 1.6% อยู่ที่ 818 บาท แต่ยังคงเพิ่มขึ้น  4.1% ปีต่อปี   “การเติบโตของราคาค่าเช่ายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เช่าควรปรับกลยุทธ์หรือแผนการเช่าอาคารสำนักงานเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ซึ่งครั้งหนึ่งกรุงเทพฯ เคยเป็นหนึ่งในตลาดอาคารสำนักงานที่มีราคาต่ำที่สุดในโลก แต่ตอนนี้ค่าเช่าของอาคารเกรดเอในกรุงเทพฯ กลับเทียบเท่ากับค่าเช่าสำนักงานในเมืองอย่างมาดริด และชิคาโก”นายมาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวและว่า   ตารางที่ 5 ตัวบ่งชี้ตลาดย่อยของพ้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ บทสรุป พื้นที่ออฟฟิศให้เช่า   สำหรับในไตรมาสที่ 4 การดูดซับสุทธิยังคงมีแนวโน้มเป็นบวก  แม้ว่าจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม และดูเหมือนว่าตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า กำลังขยายจนถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่ก็ยังคงมีโอกาสที่ยังเติบโตได้อยู่ อย่างไรก็ตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยืดไปถึงปี 2563 และอาจส่งผลกระทบต่อแผนการในอนาคตทั้งเจ้าของอาคารสำนักงานรวมถึงผู้เช่า โดยมีความเป็นไปได้ที่นักพัฒนาฯ จะชะลอการส่งมอบโครงการและคาดหวังความต้องการในปีถัดไป ราคาค่าเช่าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่อาจอยู่ในอัตราที่ช้าลงเพราะผู้เช่ามีอำนาจต่อรองมากขึ้นจากตัวเลือกของพื้นที่อาคารสำนักงานในตลาด   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน?
วิเคราะห์ โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง

วิเคราะห์ โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง

รายงานล่าสุด จาก บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ระบุว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มขึ้น 10 ตารางเมตร จากปัจจุบันมีพื้นที่ออฟฟิศในกรุงเทพฯ มีประมาณ 9 ล้านตารางเมตร ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดส่วนใหญ่จะอยู่ในโครงการมิกซ์ยูส ที่มีอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ประกอบด้วย    มิกซ์ยูสหลายโครงการที่จะทยอยออกมาตั้งแต่ปีนี้นั้น  เป็นโครงการขนาดใหญ่มูลค่าระดับแสนล้านบาท  เหตุผลของดีเวลลอปเปอร์ในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส คงเป็นเพราะต้องการใช้ที่ดินให้เกิดมูลค่าสูงสุด  เนื่องจากโครงการถูกพัฒนาบนทำเลใจกลางเมือง  รวมถึงเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่มีความต้องการหลากหลาย นั่นเอง 2 เหตุผลดีเวลลอปเปอร์ปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส รายงานจากนายภัทรพล ยุทธศักดิ์นุกูล นักวิเคราะห์ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  ล่าสุด ได้เห็นไปในทิศทางเดียวกันคือ สาเหตุสำคัญที่ดีเวลลอปเปอร์หันมาพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส เป็นเพราะ ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน และใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากที่ดินที่อยู่ในทำเลที่ดีโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มากนัก อีกทั้งยังมีราคาสูง ดังนั้น  การผสมผสานแต่ละการใช้งานของอสังหาฯ ให้มีความเข้ากันได้ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยอาจมีพื้นที่บางส่วนของโครงการที่การใช้งานหลายส่วนสามารถใช้งานร่วมกันได้   นอกจากนี้ ยังมองว่า โครงการมิกซ์ยูสเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาอสังหาฯ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งและเป็นการเพิ่มความหลากหลายของช่องทางในการสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ (recurring income) เมื่อเกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจหรือธุรกิจจะช่วยบรรเทาผลกระทบไม่ให้รุนแรงมากนัก เนื่องจากมีช่องทางสร้างรายได้อื่น เช่น ในภาวะที่นักท่องเที่ยวชะลอตัวส่งผลให้รายได้จากผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีกและโรงแรมลดลง โครงการมิกซ์ยูสยังคงมีพื้นที่สำนักงานให้เช่าเป็นแหล่งรายได้อื่นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของนักท่องเที่ยวอยู่ ต่างกับโครงการค้าปลีกเพียงอย่างเดียว (single use) ที่อาจได้รับผลกระทบมากกว่า   ถือเป็น 2 เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายหันมาสนใจการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส ในภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและชะลอตัว ซึ่งอาจกดดันให้ความต้องการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้เช่า (commercial real estate) ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สำนักงานให้เช่าและพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า รวมถึงต้นทุนที่ดินที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะที่ดินในพื้นที่ศักยภาพ โครงการมิกซ์ยูสทะลัก เสี่ยง Oversupply อย่างไรก็ตาม EIC มองว่า การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของปริมาณพื้นที่ จากโครงการมิกซ์ยูส ในช่วงปี 2563-2565 อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่กดดันให้การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้นและนำมาสู่ความเสี่ยงปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน (Oversupply) ในธุรกิจอสังหาฯ พาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ โดยจะมีพื้นที่มิกซ์ยูสเปิดดำเนินการเพิ่มขึ้น 900,000 ตารางเมตร หรือ ประมาณ 40% ของจำนวนพื้นที่ของธุรกิจพาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ ราว 2 ล้านตารางเมตรในช่วงปี 2563-2565 (รูปที่ 1)   ขณะที่ EIC คาดว่าความต้องการใหม่ต่อธุรกิจพาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาเดียวกันจะอยู่ที่ราว 1 ล้านตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงจากภาวะพื้นที่มีออกมามากเกินจากการขยายตัวดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโครงการมิกซ์ยูสที่จะเข้าสู่ตลาด ทั้งนี้จากข้อมูล 14 โครงการที่ถูกเลือกเพื่อทำการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ปริมาณพื้นที่ใหม่จากโครงการมิกซ์ยูสส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD: Central Business District) ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นใจกลางย่านธุรกิจในกรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วนราว 64% เช่น สีลม-สาธร สุขุมวิทตอนต้น (ซอย 1-41) เพชรบุรี ส่วนพื้นที่ Non CBD คิดเป็นสัดส่วนราว 36% เช่น พื้นที่บางซื่อ บางนา-ตราด ศรีนครินทร์ แจ้งวัฒนะ   นอกจากนี้ หากพิจารณาตามรูปแบบอสังหาฯ จะพบว่า จากพื้นที่โครงการมิกซ์ยูสทั้งหมด (รูปที่ 2) จะมีพื้นที่ค้าปลีกเป็นสัดส่วนถึง 22% รองลงมาคือ พื้นที่สำนักงานซึ่งเป็นสัดส่วนราว 19% ดังนั้นไม่เพียงผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสเท่านั้นที่ต้องระมัดระวังความเสี่ยงปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน  แต่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ฯ พาณิชย์ให้เช่าที่อยู่รอบข้างโครงการมิกซ์ยูสก็อาจเผชิญกับผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าวด้วยเช่นกัน หากพิจารณาธุรกิจพาณิชย์ให้เช่ายังคงเติบโตต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยการเติบโตของธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ มีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากค่าเช่าที่มีการปรับตัวขึ้น ขณะที่พื้นที่ค้าปลีกเติบโตจากการขยายตัวของพื้นที่ปล่อยเช่าที่เพิ่มขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ CBRE พบว่า ภาพรวมธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ ระหว่างปี 2557-2561 มูลค่าตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่องราว 8% ต่อปีจนในปี 2561 ตลาดมีมูลค่าถึง 80,000 ล้านบาท โดยการเติบโตของมูลค่าตลาดมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากอัตราค่าเช่าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องราว 6% ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นที่สำนักงานที่ถูกเช่าเพิ่ม (new occupied space) ในแต่ละปีสูงกว่าพื้นที่ใหม่ (new supply)   ในส่วนของธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดรวมเติบโต 4% ต่อปี ทำให้ในปี 2561  ตลาดมีมูลค่าถึงราว 90,000 ล้านบาท โดยการเติบโตหลักมาจากการขยายตัวต่อเนื่องของพื้นที่ปล่อยเช่าในอัตรา 4% ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่ราคาค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัว   แม้ว่าธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ ยังคงมีอัตราการปล่อยเช่าและราคาค่าเช่าที่เติบโตได้ดี แต่แนวโน้มการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องในอีก 3-4 ปีข้างหน้าโดยเฉพาะโครงการมิกซ์ยูส อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการพื้นที่สำนักงานให้เช่าต้องเผชิญกับความเสี่ยงของภาวะปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน พื้นที่ใหม่ 3 ปีหน้าเพิ่มอีก 1.3 ล้านตารางเมตร ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวมของตลาด พบว่า มีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 3) โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณพื้นที่ใหม่เข้าสู่ตลาดราว 1.3 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นสัดส่วน 14% ของปริมาณพื้นที่ในปัจจุบัน โดยเป็นพื้นที่จากมิกซ์ยูสถึง 400,000 ตารางเมตร ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่แนวโน้มของปริมาณพื้นที่ใหม่จะเข้าสู่ตลาดมากกว่าความต้องการใหม่ นำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะพื้นที่ส่วนเกิน (oversupply) ในอนาคต   โดย EIC คาดว่าอัตราการปล่อยเช่า (occupancy rate) อาจทยอยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยในปี 2566อัตราการปล่อยเช่ามีโอกาสลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีที่ 86-87% เทียบกับ 93% ในปี 2561 และ 92% ในปี 2562 ขณะที่อัตราการเพิ่มขึ้นของราคาค่าเช่ามีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง โดยในช่วงปี 2563-2566 อัตราค่าเช่าจะขยายตัวเฉลี่ยเพียงปีละ 1% ชะลอตัวลงจาก 4% ในปี 2562 และเฉลี่ยปีละ 6% ในช่วงปี 2557-2561   สำหรับธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ ยังต้องเผชิญกับความต้องการพื้นที่ค้าปลีกที่ชะลอตัวลง ซึ่งมาจากผลกระทบของ 1.การขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทำให้มีโอกาสที่อัตราการปล่อยเช่ามีแนวโน้มลดลง นำไปสู่การแข่งขันที่อาจรุนแรงขึ้น 2.การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ยังส่งผลให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวไทยและนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตในอัตราชะลอลง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของธุรกิจค้าปลีกจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่งผลให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากกลุ่มร้านค้าต่าง ๆ ที่เป็นผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีก ซึ่งมีทางเลือกในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งแพลตฟอร์ม Marketplace (เช่น Lazada Shopee) โซเชียลมีเดีย หรือเว็บไซต์ของผู้ประกอบการเอง ส่งผลให้อุปสงค์ต่อพื้นที่ชะลอตัวลง   อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวโน้มการเติบโตของ O2O (Online to Offline) ที่ช่วยสนับสนุนความต้องการพื้นที่ค้าปลีกอยู่บ้าง เช่น Multi-Brand Store ซึ่งเป็นการที่ร้านค้าออนไลน์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มต่างๆ รวมกลุ่มกันเพื่อเช่าพื้นที่ค้าปลีกและตั้งร้านค้าออฟไลน์ขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าแฟชั่นและสินค้าความงาม ซึ่งจะช่วยลดทอนผลกระทบจากกระแสอีคอมเมิร์ซลงได้บ้าง   โดยทั้งสองปัจจัยข้างต้นส่งผลให้การขยายสาขา/ร้านค้าใหม่ชะลอตัวลง ทำให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าชะลอตัวลง กดดันให้รายได้ค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า[1] ขยายตัวในระดับต่ำจากค่าเช่าแบบคงที่มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ยากจากอัตราการปล่อยเช่าที่ลดลง   ทั้งนี้ EIC คาดว่าในช่วงปี 2562-2566  จะมีพื้นที่ใหม่ของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าอยู่ที่ 170,000 ตารางเมตรต่อปี (ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการมิกซ์ยูสราว 50% ของพื้นที่ใหม่ทั้งหมด) ขณะที่ความต้องการใหม่มีอยู่เพียงปีละ 140,000 ตารางเมตร (ชะลอตัวลงจากช่วงปี 2557-2561 ที่มีความต้องการใหม่อยู่ที่ 260,000 ตารางเมตรต่อปี) จึงส่งผลให้อัตราการปล่อยเช่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลงอยู่ที่เฉลี่ย 94% ในอีก 4 ปีข้างหน้าจาก 97% ในปี 2017 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มจัดเก็บข้อมูลในปี 2549   นอกจากนี้ ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกชะลอตัวลงกดดันให้ค่าเช่าในส่วนของค่าเช่าแบบแบ่งสัดส่วนยอดขายขยายตัวชะลอลง โดยภาพรวมแล้วคาดว่าราคาค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกยังคงมีแนวโน้มทรงตัว/ขยายตัวต่ำต่อไปในอีก 3-4 ปีข้างหน้า มิกซ์ยูสแข่งเดือด อสังหาฯ รอบข้างยังโดนกระทบ ปริมาณพื้นที่มิกซ์ยูสที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต นอกจากจะนำมาสู่การแข่งขันระหว่างกันที่มากขึ้นแล้ว ยังส่งผลกระทบกับโครงการอสังหาฯ ที่อยู่รอบข้างด้วย ซึ่งมีทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ ผลกระทบของโครงการมิกซ์ยูสที่มีต่อพื้นที่โดยรอบนั้นจะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ขนาดของโครงการ พื้นที่รอบข้าง อสังหาฯ ภายในโครงการ และความสำเร็จของโครงการเป็นสำคัญ ผลกระทบด้านบวกต่อตลาดพื้นที่พาณิชย์ให้เช่าโดยรวม โครงการมิกซ์ยูสบางโครงการอาจส่งผลบวกต่อโครงการอื่น ๆ ในพื้นที่รอบข้าง โดยเฉพาะในกรณีที่การใช้งานหลักของโครงการมิกซ์ยูสไม่ตรงกับโครงการอื่น ๆ โดยรอบพื้นที่ และตั้งอยู่ในพื้นที่นอกใจกลางเมืองหรือพื้นที่ Non CBD (ที่มีการแข่งขันอยู่ในระดับต่ำ) มีความเป็นไปได้สูงที่โครงการโดยรอบจะได้รับผลดีจากการเปิดโครงการมิกซ์ยูส   ทั้งนี้ในงานแถลงข่าว The Celebrations of Glory ได้มีการเปิดเผยว่า หลังจากดำเนินโครงการ ICONSIAM มาเป็นระยะเวลา 1 ปี ส่งผลให้ธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างเช่น แหล่งท่องเที่ยว ภัตตาคาร ร้านอาหารรอบข้าง เติบโตกว่า 20% หรือโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ระหว่างปี 2560-2562 ที่ตั้งอยู่ใกล้โครงการมียอดขายเฉลี่ยสูงถึง 95% อีกทั้งยังทำให้อัตราการเข้าพักโรงแรมริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น โดยในกลุ่มโรงแรม 5 ดาวอัตราการเข้าพักเพิ่มสูงขึ้นเป็น 85-90%   โครงการ Bangkok Mall ที่มีขนาดของโครงการกว่า 1.2 ล้านตารางเมตรทำให้โครงการ Bangkok Mall อาจกลายเป็น landmark ใหม่บนพื้นที่ย่านบางนา เนื่องจากในเฟสแรกของโครงการพื้นที่ใช้งานหลักของโครงการเป็นพื้นที่ค้าปลีกและสันทนาการ ซึ่งเหมาะกับการใช้เวลากับครอบครัว จึงอาจมีผลบวกต่อโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่รอบข้าง อย่างเช่น โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ หรือคอนโดมิเนียม ผลกระทบด้านลบต่อตลาดพื้นที่พาณิชย์ให้เช่าที่มาจากการขยายตัวของโครงการมิกซ์ยูสจำนวนมาก 1.ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสอาจต้องเผชิญกับความท้าทายจากระยะเวลาในการคืนทุนที่ยาวนานขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง และความต้องการที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายตัวของพื้นที่โครงการมิกซ์ยูสจำนวนมากทำให้การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ใช้ระยะเวลาในการคืนทุนยาวนานขึ้น   2.ผู้พัฒนาของโครงการ single use เผชิญแรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น กระทบต่อรายได้ในระยะข้างหน้า จากแนวโน้มการเปิดดำเนินการของโครงการมิกซ์ยูสที่มีมากขึ้นในอีก 3-4 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้ผู้พัฒนาของโครงการ single use ในพื้นที่รอบข้างต้องเผชิญการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากในอดีต เช่น -ในพื้นที่พระราม 4 และรอบข้างที่มีโครงการมิกซ์ยูสเตรียมเปิดดำเนินการจำนวนมาก อาทิ One Bangkok, Dusit Central Park จะส่งผลกระทบต่อ 1.อาคารสำนักงานดั้งเดิมบนถนนพระราม 4  สาธร และสีลมที่อัตราการปล่อยเช่าอาจปรับตัวลดลงจากปริมาณพื้นที่ใหม่ที่มีเข้ามาแข่งขันมากขึ้นจากโครงการมิกซ์ยูส 2.อาคารสำนักงานที่อยู่ในพื้นที่เชื่อมต่อ CBD ที่เคยได้อานิสงค์จากพื้นที่ที่มีจำกัดของช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่หลังจากที่หลายโครงการมิกซ์ยูสใน CBD เริ่มเปิดใช้บริการ อานิสงค์ดังกล่าวที่เคยได้รับอาจหมดไป เนื่องจากโครงการมิกซ์ยูสใหม่จะตอบสนองความต้องการในพื้นที่สำนักงานได้มากขึ้น 3.โรงแรมในพื้นที่ถนนวิทยุ สีลมและสาธรต้องแข่งขันมากขึ้น อาจส่งผลต่ออัตราการปล่อยเช่าปรับตัวลดลง 4.คอนโดมิเนียมเกรด luxury ที่เป็นเกรดที่โครงการมิกซ์ยูสในพื้นที่พระราม 4 พัฒนา อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น -ในพื้นที่บางนาที่มีการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสใหม่อย่าง Bangkok Mall ซึ่งเป็นโครงการค้าปลีก ขนาดใหญ่ที่จะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของห้างสรรพสินค้าโดยรอบมากขึ้น อาทิ CentralPlaza Bangna หรือ Seacon Square   แนวทางแก้จุด้อย ทางรอดท่ามกลางสมรภูมิแข่งเดือด ท่ามกลางความท้าทายจากความเสี่ยงหลากหลายประการ โครงการมิกซ์ยูสอาจต้องปรับตัวแก้ไขจุดด้อยต่าง ๆ ของโครงการ รวมถึงการสร้างความแตกต่าง เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ การที่แต่ละโครงการมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ขณะที่บางโครงการยังมีความท้าทายที่ต้องเผชิญ ทำให้ต้องมีการปรับตัวเพื่อลดจุดด้อยของโครงการลง เช่น   โครงการ Samyan Mitrtown เมื่อเดินทางโดยรถไฟฟ้า จำเป็นจะต้องข้ามถนนและเดินเท้าระยะทางจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินราว 300 เมตร โครงการเปลี่ยนจุดด้อยเป็นจุดขายด้วยการสร้างอุโมงค์เชื่อมจากรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าสู่โครงการ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่โครงการ และการสร้างจุดเด่นและ traffic ให้กับโครงการเพื่อดึงดูดผู้เข้าใช้บริการ   นอกจากนี้ โครงการยังเพิ่มจุดขายสำคัญคือการเปิดใช้งาน 24 ชั่วโมง ซึ่งเหมาะกับความต้องการในพื้นที่ เช่น นักศึกษาที่ต้องการพื้นที่ทบทวนบทเรียน ทั้งนี้หากเปรียบเทียบอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่สำนักงานภายในโครงการ Samyan Mitrtown ในเดือนแรกของการเปิดตัวอยู่ที่กว่า 60% นับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอาคารสำนักงานทั่วไปซึ่งอยู่ที่ 50% ณ ไตรมาสแรกที่เปิดโครงการ[2] ส่วนอัตราการให้เช่าพื้นที่ของพื้นที่ค้าปลีกสูงถึง 85% ซึ่งค่อนข้างสูงหากเทียบกับศูนย์การค้าที่เปิดตัวในช่วงใกล้เคียงกันอย่าง The Market Bangkok ที่มีอัตราการปล่อยเช่า ณ วันเปิดตัวโครงการอยู่ที่ 77% เท่านั้น   ขณะที่โครงการมิกซ์ยูสอย่าง ICON free SIAM ที่เปิดตัวโครงการด้วยอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่ค้าปลีกกว่า 91% โดยตัวโครงการอาจไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองนัก แต่อาศัยการสร้างจุดเด่นจากพื้นที่ตั้งริมน้ำ ขนาดและความหลากหลายภายในโครงการ รวมถึงการจัดอีเว้นท์เพื่อการสร้างแรงดึงดูดจนทำให้โครงการ ICONSIAM กลายเป็น landmark ขนาดใหญ่ของพื้นที่ฝั่งธนบุรี   สำหรับโครงการ Emsphere ที่เป็นโครงการภายใต้การบริหารของเดอะมอลล์กรุ๊ป ได้มีการสร้างความโดดเด่นและความแตกต่างให้กับโครงการ โดยได้ร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงและกีฬาระดับโลก อย่าง Anschutz Entertainment Group (AEG) ในการสร้างอารีน่าขนาดใหญ่ EmLive ในโครงการ โดยทั้งโครงการจะเข้ามายกระดับและเติมเต็มพื้นที่ The EmDistrict ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 3 Key Success โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส รูปแบบการพัฒนาอสังหาฯ ที่เป็นโครงการมิกซ์ยูส  ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าโครงการมิกซ์ยูสจะต้องประสบความสำเร็จเสมอไป โดยความสำเร็จของโครงการมิกซ์ยูสขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ รวมด้วย เพื่อก้าวข้ามแรงกดดันจากการแข่งขันในตลาดอสังหาฯ ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสจำเป็นที่จะต้องมี key success สำคัญ คือ 1.ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจอสังหาฯ ประสบการณ์ของผู้พัฒนาโครงการหรือพันธมิตร อาจประเมินได้จากความสอดคล้องของลักษณะของโครงการมิกซ์ยูสที่จะเกิดขึ้นกับผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาและระยะเวลาที่ดำเนินธุรกิจอสังหาฯ ดังนั้นประสบการณ์การดำเนินโครงการอสังหาฯ แต่ละประเภทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้งานของโครงการ 2.พื้นที่ตั้งที่เหมาะสมและสามารถเดินทางเข้าถึงสะดวก โดยการออกแบบโครงการจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความต้องการรอบพื้นที่ เช่น พื้นที่ธุรกิจอาจต้องการพื้นที่ในส่วนของสำนักงาน อย่างเช่น พื้นที่บนถนนพระราม 4 ต่อเนื่องจากถนนสีลมและสาธร สำหรับพื้นที่ชุมชนแถบที่อยู่อาศัยอาจต้องการพื้นที่ค้าปลีกเป็นหลัก เพื่อความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยใกล้บ้าน ตลอดจนการเดินทางเข้าสู่โครงการ เช่น อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้า (ระยะทางไม่เกิน 100 เมตร หรือมีทางเชื่อมเข้าสู่โครงการ) หรือทางด่วน (ระยะทางไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากทางเข้า-ออก) 3.การส่งเสริมกัน (synergy) ของแต่ละส่วนของโครงการ และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การออกแบบโครงการต้องคำนึงถึงการส่งเสริมกันของลักษณะการใช้พื้นที่ในแต่ละส่วนด้วย โดยพิจารณาความเข้ากันได้ของอสังหาฯ หลัก (พื้นที่ที่สร้างรายได้หลักของโครงการ) กับอสังหาฯ รอง (พื้นที่อื่น ๆ ของโครงการ) จากงานวิจัยของ The US Urban Land Institute (รูปที่ 5) ที่ให้คะแนนการสนับสนุนกันระหว่างอสังหาฯ หลักและรองไว้ จะพบว่า โครงการมิกซ์ยูสที่มีอสังหาฯ หลักเป็นพื้นที่ค้าปลีกจะได้ผลบวกจาก synergy ที่ดีกว่า เนื่องจากเป็นประเภทอสังหาฯ ที่ไปได้ดีกับหลายประเภทอสังหาฯ   ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีอสังหาฯ รองเป็นพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ค้าปลีกในโครงการมิกซ์ยูสจะมีลูกค้าจากพนักงานออฟฟิศในโครงการ ขณะที่พื้นที่สำนักงานในโครงการมิกซ์ยูสก็มีความน่าดึงดูดมากกว่าโครงการที่มีเฉพาะพื้นที่สำนักงานเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีความสะดวกสบายจากการตั้งอยู่ติดกับพื้นที่ค้าปลีก   ในส่วนของโครงการมิกซ์ยูสที่มีอสังหาฯ หลักเป็นพื้นที่อยู่อาศัยได้ผลบวกจาก synergy ต่ำกว่าอสังหาฯ หลักประเภทอื่น ๆ เนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยต้องการความเป็นพื้นที่ส่วนตัวสูง โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับอสังหาฯ รองอย่าง โรงแรม/สถานบันเทิงที่มีความวุ่นวายและความเป็นพื้นที่สาธารณะสูง ทำให้อาจต้องเผชิญกับความยากลำบากในการบริหารความเป็นส่วนตัวของพื้นที่อยู่อาศัยกับการบริหารพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะประเด็นความปลอดภัยในการอยู่อาศัยของลูกบ้านในโครงการมิกซ์ยูส   3 ความท้าทายโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส นอกเหนือจากปัจจัยที่ต้องพิจารณาเพื่อความสำเร็จในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสแล้ว ยังมีความท้าทายที่สำคัญที่ผู้พัฒนาโครงการต้องระวัง คือ 1.การบริหารพื้นที่ระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนกลาง อสังหาฯ บางประเภทต้องการสิ่งอำนวย ความสะดวกที่มีความเฉพาะตัว อาทิ การจัดอีเว้นท์ในพื้นที่ค้าปลีกอาจมีข้อจำกัดบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียงหรือระยะเวลาในการจัดงาน เพื่อไม่ให้รบกวนผู้ใช้อื่นในโครงการโดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูงอย่างพื้นที่อยู่อาศัย ดังนั้นผู้พัฒนาโครงการจำเป็นที่จะต้องลดผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างอสังหาฯ แต่ละประเภท เช่น การแยกทางเข้า-ออกโครงการของแต่ละอสังหาฯ ออกจากกัน การจำกัดกิจกรรมที่ใช้เสียงมาก หรือออกแบบให้พื้นที่ในโครงการสามารถเก็บเสียงได้ดี 2.การสร้างแม่เหล็กเพื่อดึงดูดคนเข้ามาในโครงการ โครงการจำเป็นจะต้องมีสิ่งที่เป็นแรงจูงใจเพื่อดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ เช่น โครงการที่มีพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่ อาจสร้างพื้นที่นันทนาการ หรือการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีจำนวนผู้คนเข้าใช้บริการให้มากที่สุด รวมถึงการดึงดูดผู้เช่าหลักที่ขายสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในปัจจุบันโดยเฉพาะร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ต] 3.การบริหารโครงสร้างพื้นฐานภายในโครงการ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ความต้องการรูปแบบการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกของอสังหาฯ แต่ละประเภท อสังหาฯ จะมีความแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้งาน อาทิ การวาง layout ของสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ สำหรับพื้นที่อยู่อาศัยจะต้องมีลิฟท์อยู่ใกล้กับทางเข้าคอนโดมิเนียม ขณะที่โรงแรมต้องการพื้นที่ล็อบบี้มากกว่า ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบ การบริหาร และจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมไม่ให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้พัฒนาโครงการควรคำนึงถึงการออกแบบให้ทรัพยากรภายในโครงการถูกใช้อย่างคุ้มค่าที่สุดด้วย เช่น การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ภายในโครงการ การใช้แสงจากธรรมชาติเพื่อลดการใช้แสงจากหลอดไฟ   ในภาวะการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นจากการเปิดดำเนินการโครงการมิกซ์ยูส ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูส จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ ทั้งนี้สำหรับโครงการสำนักงานให้เช่า อาจต้องพิจารณาปรับลดค่าเช่าของโครงการตัวเองลง เพื่อจูงใจผู้เช่าเข้ามาเช่ามากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตอบสนองมากต่อราคาค่าเช่า (กลุ่มที่อ่อนไหวกับราคาค่าเช่า) หรือการปรับปรุงโครงการเพื่อดึงดูดผู้เช่ารายใหม่   ส่วนโครงการที่เป็นพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า ผู้ประกอบการสามารถหาผู้เช่าหลักที่เป็นแรงดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ หรือการปรับปรุงเพื่อดึงดูดลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (niche group) มี concept เฉพาะ เช่น มุ่งเน้นกลุ่มผู้เช่าหลักเป็นร้านอาหาร หากไม่สามารถแข่งขันด้านความหลากหลายของพื้นที่ค้าปลีกกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ หรือปรับปรุงพื้นที่ในโครงการเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ได้ ในส่วนของโครงการคอนโดมิเนียม อาจจะต้องพิจารณาจำนวนพื้นที่ใหม่ในพื้นที่ที่จะมากขึ้นจากแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในโครงการมิกซ์ยูส โดยอาจจะพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่คนละกลุ่มกับโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ หรือปรับแผนโครงการเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรง   หมายเหตุ [1] รายได้ค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าประกอบด้วย ค่าเช่าแบบคงที่ (fixed rent) และค่าเช่าแบบแบ่งสัดส่วนยอดขาย (percent of tenant sales) [2] จากการศึกษาของ JLL เกี่ยวกับอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่สำนักงานอาคารสำนักงานจำนวน 8 โครงการสำคัญ ได้แก่ AIA Capital Center (2014), AIA Sathorn (2015), Bhiraj Tower @EmQuartier (2015), FYI Center (2016), Gaysorn Tower (2017), Singha Complex (2018) และ T-One Building (2018)   รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม EIC CBRE NEXUS   บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน? พร็อพเพอร์ตี้ กูรู เปิด 7 เทรนด์อสังหาฯ ปี 63 เปิด 5 ไฮไลท์ “MITRTOWN OFFICE TOWER” ออฟฟิศให้เช่า พระราม 4 1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์  
สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 25-30 พฤศจิกายน 2562

สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 25-30 พฤศจิกายน 2562

เข้าสู่เดือนสุดท้ายของปีอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับเดือนธันวาคม ช่วงเวลาที่จะทำผลงานให้ได้ตามที่ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปี ตอนนี้ผู้ประกอบการจึงโหมทำแคมเปญการตลาดออกมากันอย่างหนัก ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ มีแคมเปญออกมามากมายสารพัด ยิ่งที่ผ่านมาภาครัฐออกมาตรการมากระตุ้นด้วย ผู้ประกอบการยิ่งต้องสร้างแรงจูงใจให้มากกว่า   ช่วงเวลานี้ จึงถือเป็นช่วงจังหวะที่ดี สำหรับคนที่ได้วางแผนเอาไว้แล้วว่าจะซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมสักห้อง  แต่ใครยังไม่ได้วางแผนไว้  ได้แต่เล็งหรือคิดเอาไว้บ้าง ต้องลองพิจารณาแคมเปญต่างๆ ดูว่าน่าสนใจแค่ไหน และสำรวจสภาพทางการเงินของตนเองด้วย ว่าพร้อมไหมกับการต้องแบกรับภาระหนี้ ระยะยาว 10-30 ปี  หากได้คำตอบแล้วก็ลุยเลย   ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดอสังหาฯ  จึงถือว่าคักคักพอสมควร ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไรกันบ้าง ไปอัพเดทกัน   บันยันฯ จับมือ ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ฯ ขายโครงการหัวหิน บันยัน ไทยแลนด์ กรุ๊ป ร่วมมือกับ ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท เป็นพันธมิตรทำการตลาดและขายโครงการ “บันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน” วิลล่าระดับไฮเอนด์ ให้ลูกค้าระดับบนที่มองหาบ้านพักตากอากาศหรือที่อยู่อาศัยถาวรสุดเอกซ์คลูซีฟในหัวหิน เมืองท่องเที่ยวที่ยังคงเสน่ห์และศักยภาพการเติบโต โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท จะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบงานขายและทำการตลาดให้กับโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน   นายเชิ๊ท คว้อนท์ ประธานกรรมการบริหาร บันยัน ไทยแลนด์ กรุ๊ป เปิดเผยว่า ความร่วมมือกับริชมอนทส์ คริสตี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท ในการทำการตลาดโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน ในครั้งนี้ จะช่วยทำให้โครงการเป็นที่รู้จักในวงกว้างและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในระดับบนมากยิ่งขึ้น  ซึ่งโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน เป็นโครงการวิลล่าระดับไฮเอนด์ของบันยัน ไทยแลนด์ กรุ๊ป ซึ่งประกอบธุรกิจบันยัน กอล์ฟ คลับ ที่มีชื่อเสียงมากว่า 10 ปี ที่หัวหิน ทั้งโครงการมีที่ดินสำหรับสร้างบ้านได้จำนวน 102 หลัง ราคาตั้งแต่ 15-80 ล้านบาท   โดยผู้ซื้อสามารถที่จะเลือกแบบวิลล่าจากแบบมาตรฐาน 4 แบบ ที่ทางโครงการมีให้ หรือปรับเปลี่ยนในรูปแบบที่ตนเองต้องการเพิ่มเติม เพื่อปลูกสร้างบนที่ดินขนาดที่เลือกเองเริ่มต้นประมาณ 100 ตารางวา ซึ่งความพิเศษของโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน คือ ทำเลที่ตั้ง ที่อยู่ใกล้ตัวเมืองหัวหิน และชายหาดหัวหิน มีความเป็นส่วนตัว และไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยที่เข้าถึงการพักผ่อนพร้อมวิวทะเลในด้านหน้าและภูเขาในด้านหลังที่สวยงาม ผู้ซื้อวิลล่ายังได้รับสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกบันยัน กอล์ฟ คลับ ในราคาพิเศษสุด  ทางโครงการมีบริการ Concierge คอยดูแลลูกบ้านตลอด 24 ชั่วโมง และการบริการแบบโรงแรม เช่น แม่บ้าน คนดูแลสวน คนดูแลทำความสะอาดสระว่ายน้ำ และกำจัดปลวก (อ่านข่าวเพิ่มเติม) พราว จับมือ อินเตอร์คอนฯ ปั้นโปรเจ็กตลักชัวรี่ พราว เรียล เอสเตท  เปิดตัวโครงการ “อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน (InterContinental Residences Hua Hin)” ครั้งแรกของโครงการที่พักอาศัยระดับลักชัวรี่  ภายใต้แบรนด์อินเตอร์คอนติเนนตัลในประเทศไทยบนพื้นที่กว่า 7 ไร่ติดชายหาดผืนสุดท้ายใจกลางเมืองหัวหิน บนถนนเพชรเกษม ช่วงซอยหัวหิน 71 (ตรงข้ามศูนย์การค้า Market Village) ซึ่งถือเป็นสถิติราคาที่ดินสูงสุดของหัวหิน ด้วยราคาที่มากกว่า 150 ล้านบาทต่อไร่ เพื่อมอบประสบการณ์การพักอาศัยที่เหนือระดับพรั่งพร้อมด้วยบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจรแบบโรงแรม ด้วยมาตรฐานระดับโลกในแบบฉบับของอินเตอร์คอนติเนนตัล พร้อมแต่งตั้ง ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับสากล ให้เป็นตัวแทนการขายของโครงการอย่างเป็นทางการ   นางสาวพราวพุธ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร  บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การพัฒนาโครงการ “อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน” เป็นการต่อยอดความร่วมมือกับ อินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเทล กรุ๊ป (ไอเอชจี) และยังเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในการพัฒนาโครงการที่พักอาศัย ระดับลักชัวรี่ ภายใต้  แบรนด์อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส ซึ่งเป็นแบรนด์เอ็กซ์คลูซีฟที่มีเพียงไม่กี่แห่งในมหานครชั้นนำของโลกเท่านั้น เช่น บอสตัน ดูไบ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่อินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ล กรุ๊ป มีต่อพราว เรียล เอสเตท และสถานะของหัวหินในการเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำ  ซึ่งโครงการอินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน ถือว่าเป็นต้นแบบของการพัฒนาโครงการที่เป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย ตามแนวคิด “More than just living”   ทายาทตัน ภาสกรนที เปิดตัว T-ONE อาคารสำนักงานเกรด A   "วริษา ภาสกรนที"  ทายาท "ตัน ภาสกรนที" ได้ฤกษ์เปิดอาคาร T-ONE อาคารสำนักงานและพื้นที่ Co Working Space เกรดเอแห่งเดียวในทำเลทองหล่อ-สุขุมวิท หลังมีผู้เช่าครบ 100% ภายใน 3 เดือน   นางสาววริษา ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีวัน บิวดิ้ง จำกัด บริษัท ทีวัน บิวดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ได้เปิดตัว “อาคาร T-One” อาคารสำนักงานเกรด A ขนาด 43,700 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุน 3,500 ล้านบาทมีความสูง 47 ชั้น แบ่งเป็นส่วนพื้นที่สำนักงาน   Co-working space  ร้านอาหาร ฟิตเนสเซ็นเตอร์ และพื้นที่ส่วนกลาง  ชูจุดเด่นเป็นอาคารสำนักงานสำหรับธุรกิจด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และธุรกิจคลื่นลูกใหม่ทั้งระดับประเทศ และระดับโลก อาทิ Tencent, Joox, WeWork, Wongnai, Sanook, Etigo, Zelingo, Shiseido รวมทั้งสำนักงานใหญ่ของอิชิตัน กรุ๊ป   โดยอาคารดังกล่าวตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริเวณ ทองหล่อ - สุขุมวิท 40 ที่มาพร้อมการคมนาคมสะดวกทุกรูปแบบ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า บีทีเอส สถานีทองหล่อ และเข้าออกได้ทั้งถนนสุขุมวิทและถนนพระราม 4 กับสถาปัตยกรรมแบบทวิสต์ที่สวยงามไม่ซ้ำใครจนชนะรางวัลด้านการออกแบบจาก BCI Top 10 Architects 2017 Thailand และ Asia Pacific Property Award Architecture พรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยในการบริหารจัดการอาคารอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตรงความต้องการของนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์แบบ Work Hard, Play Harder (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   บลูฮิลล์ เปิดตัว "อากาศ วิลล่า เขาใหญ่" บลูฮิลล์ เขาใหญ่ ลุยตลาดนิชพรีเมียมรับปีใหม่ เปิดตัว อากาศ วิลล่า เขาใหญ่ คอนโดมิเนียมกึ่งวิลล่าสไตล์ Thai Modern Loft  มูลค่าโครงการกว่า 380 ล้านบาท  เพียง 23 ยูนิต บนทำเลใกล้กรุงเทพฯ ริมถนนผ่านศึก-กุดคล้า เดินทางสะดวกจากกรุงเทพฯ เพียง 2.30 ชั่วโมง คอนโดฯ ตกแต่งพร้อมอยู่ ขนาดเริ่มต้น 130 ตารางเมตร ในราคาเริ่มต้น 13.2 ล้านบาท  หรือประมาณ 92,000 บาทต่อตารางเมตร   นางสุพิณดา แท่นเพ็ชร์รัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท บลูฮิลล์ เขาใหญ่ จำกัด เปิดเผยว่า หลังประสบความสำเร็จกับการเปิดตัวคอนโดโลว์ไรส์ ภายใต้แบรนด์ “อากาศ เขาใหญ่” บริษัทพร้อมเปิดโครงการใหม่ล่าสุด “อากาศ วิลล่า เขาใหญ่” มูลค่าโครงการกว่า 380 ล้านบาท ชูไฮไลท์ คอนโดมิเนียมสไตล์วิลล่า 1 และ 2 ชั้น 3 อาคาร สุดเอ็กซ์คลูซีฟเพียง 23 ยูนิต ทุกห้องหันหน้ารับวิวทิวเขาสลับซับซ้อนแบบพาโนราม่า บนพื้นที่กว่า 4 ไร่ ตอบโจทย์ชีวิตที่อยากใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น เปิดรับความสดชื่นของธรรมชาติเข้ามาแทนที่ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในชีวิตประจำวัน   โครงการ อากาศ วิลล่า เขาใหญ่ วิลล่าสไตล์ Thai Modern Loft   ตกแต่งพร้อมอยู่จำนวน 23 ยูนิต แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ขนาด  130 - 145 ตารางเมตร จำนวน 12 ยูนิต และ 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ขนาด 145 - 195 ตารางเมตร จำนวน 11 ยูนิต (อ่านข่าวเพิ่มเติม)        
เมืองไทยประกันชีวิตลุยธุรกิจอสังหาฯ ปั้นออฟฟิศเกรด A “66 Tower”

เมืองไทยประกันชีวิตลุยธุรกิจอสังหาฯ ปั้นออฟฟิศเกรด A “66 Tower”

เมืองไทยประกันชีวิต ลุยธุรกิจอสังหาฯ ปั้นออฟฟิศดิ้งเกรด A  “66 Tower” มูลค่า 3,800 ล้าน ย่านสุขุมวิท 66 รับดีมานด์สูง แต่ซัพพลายจำกัด มั่นใจหลังเปิดใช้มีผู้เช่าเต็ม 100% นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL เปิดเผยว่า ได้ขยายธุรกิจมาสู่อสังหาริมทรัพย์  ด้วยการลงทุนพัฒนาโครงการอาคารสำนักงานเกรด A ภายใต้ชื่อ 66 Tower (ซิคตี้ซิกส์ ทาวเวอร์) มูลค่า 3,800 ล้านบาท บนเนื้อที่ 4 ไร่ อยู่บริเวณถนนสุขุมวิท 66 ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อุดมสุข 150 เมตร ปัจจุบันได้ก่อสร้างแล้ว 15% มีกำหนดแล้วเสร็จในไตรมาส 2 ปี 2564   “แม้ว่า MTL จะเป็นหน้าใหม่ในตลาดอสังหาฯ  แต่มีประสบการณ์ จากการเป็นเจ้าของอาคารเมืองไทยภัทรมากว่า 9 ปี ปัจจุบันมีอัตราเช่าพื้นที่ 90%” สำหรับอาคารซิกตี้ซิกส์ ทาวเวอร์ มีขนาดความสูง 28 ชั้น พื้นที่เช่า 30,000 ตารางเมตร แต่ละชั้นมีพื้นที่ประมาณ​1,200 ตารางเมตร สามารถเช่าเริ่มต้นได้ตั้งแต่ 100 ตารางเมตร ในราคาเริ่มต้นตารางเมตละ 850 บาทต่อเดือน ภายในอาคารยังจัดสรรเป็นพื้นที่ค้าปลีก 2 ชั้น ด้านนายนิธิพัฒน์ ทองพันธุ์ กรรมการบริหารและหัวหน้าแผนกพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CBRE กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่สำนักงานในเขตกรุงเทพฯ มีจำนวน 8.9 ล้านตารางเมตร มีอัตราเช่าประมาณ​ 93%  มีอัตราค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ 600-700 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งค่าเช่ามีอัตราการการปรับเพิ่มเฉลี่ย 5% ในระยะ 3 ปี ซึ่งตลาดอาคารสำนักงานถือว่ายังมีความต้องการสูง เนื่องจากปัจจุบันมีพื้นที่จำกัด อย่างไรก็ตาม ในตั้งแต่ช่วงปี 2565-2569 จะมีอาคารสำนักงานก่อสร้างแล้วเสร็จเพิ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่องรวม 2 ล้านตารางเมตร หรือประมาณปีละ 400,000-500,000 ตารางเมตร ทำให้ปริมาณพื้นที่สำนักงานให้เช่ามีมากถึง 10.9 ล้านตารางเมตร ทำให้เกิดการแข่งขันสูงมากขึ้น  โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมือง ซึ่งการพัฒนาอาคารสำนักงาน  จะต้องมุ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้เช่า ที่ปัจจุบันพบว่ามีอัตราการใช้พื้นที่ต่อคนลดลง จากพนักงาน 1 คนใช้พื้นที่ 10 ตารางเมตร ลดลงเหลือ 6-7 ตารางเมตรต่อคน สำหรับเทรนด์ความต้องการพื้นที่สำนักงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกที่เกิดขึ้นมา 4-5 ปีแล้ว และเริ่มเป็นเทรนด์เข้ามาในตลาดเมืองไทยช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา คือ การมุ่งตอบโจทย์หลัก 2 ข้อได้แก่ พื้นที่สำนักงานสามารถรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้ทำงานกับองค์นั้นได้หรือไม่ และสามารถหาพนักงานที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์กรนั้นได้หรือไม่ “องค์ประกอบพื้นที่สำนักงานที่ผู้เช่าต้องการ คือ ที่ตั้งสำนักงาน การออกแบบพื้นที่ได้หลากหลาย การมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำจำนวนมาก มีห้องประชุมส่วนกลางให้ใช้บริการ และมีร้านค้าต่างๆ” โดยพื้นที่สำนักงานเกรด A ในตั้งแต่บีทีเอส สถานีพระโขนง จนถึงบางนา มีเพียงอาคารภิรัชไบเทค ซึ่งมีพื้นที่รวม 32,000 ตารางเมตร มีอัตราเช่า 98% ในราคาเฉลี่ย 800-850 บาท ทำให้ในย่านดังกล่าวถือว่ามีปริมาณพื้นที่ของอาคารสำนักงานเกรด A น้อยกว่าความต้องการ ส่วนใหญ่จะเป็นอาคารสำนักงานเกรด B ที่มีอัตราเช่าเฉลี่ยประมาณ​ 700 บาท ทำให้เชื่อว่าเมื่ออาคารซิกตี้ซิกส์ ทาวเวอร์แล้วเสร็จภายใน 1 ปี จะมีอัตราการเช่าเต็ม 100% และก่อนอาคารก่อสร้างเสร็จน่าจะมีอัตราการจองไม่ต่ำกว่า 30%