Tag : Infographic

288 ผลลัพธ์
คอนโดฯสร้างไม่เสร็จ ควรทำอย่างไร

คอนโดฯสร้างไม่เสร็จ ควรทำอย่างไร

ขณะนี้โครงการคอนโดฯ ในหลายพื้นที่เริ่มเกิดปัญหาให้ได้พบเห็นกัน ทั้งโครงการหยุดสร้าง โครงการโดนเทคโอเวอร์ หรือแม้กระทั่งโครงการกำลังจะโดนยึดจากธนาคารก็มี แล้วผู้ซื้อคอนโดนอย่างเราๆจะต้องประสบกับความยุ่งยากที่จะตามมาอย่างแน่นอน ควรจะต้องทำอย่างไร ขั้นแรกที่สุดคือเริ่มสังเกตวี่แววคอนโดฯของเราก่อน ว่าสร้างช้าผิดปกติหรือไม่ หากเป็นคอนโดฯโลว์ไรส์ 8 ชั้น จะใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 1.5 ปี แต่ถ้าเป็นคอนโดฯไฮไรส์ 20 ชั้นขึ้นไป จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2.5 ปี ถ้าเกินกว่านี้อาจประเมินได้ว่าน่าจะมีปัญหาอะไรสักอย่าง ถึงส่งผลให้การก่อสร้างช้ากว่าปกติหากเป็นเช่นนั้น ทางโครงการดำเนินการก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด ผู้ซื้อสามารถยกเลิกสัญญาขอคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยได้ แต่หากยอมรับกับความล่าช้าที่เกิดขึ้นได้ และยังต้องการรับโอน ทางโครงการจะเสียค่าปรับจากกรณีก่อสร้างล่าช้าให้ด้วย แต่ถ้าร้ายแรงถึงขั้นถูกธนาคารฟ้องร้อง หากบังคับคดีจนถึงขั้นยึดทรัพย์แล้ว ผู้ซื้อสามารถฟ้องเพื่อให้เจ้าของโครงการคืนเงินที่จ่ายไปได้ แต่สิทธิในฐานะเจ้าหนี้จะไม่เท่ากับเจ้าหนี้ธนาคารที่มีการจดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ ผู้ซื้อจึงได้ชำระหนี้ภายหลังจากเจ้าของโครงการชำระหนี้แก่ธนาคารแล้วเท่านั้น ในอีกกรณีหนึ่งคือโครงการถูกเทคโอเวอร์ เปลี่ยนมือเจ้าของกิจการไป เจ้าของโครงการจะต้องโอนสิทธิตามกฎหมาย ถ้าเรายินยอม ผู้ซื้อก็จะเป็นคู่สัญญาใหม่กับเจ้าของรายใหม่ มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมกับเจ้าของโครงการใหม่จึงมีสิทธิในห้องชุดที่ซื้อ แต่หากเจ้าของโครงการขายโครงการให้กับบุคคลภายนอกไปเฉยๆ ระหว่างผู้ซื้อกับเจ้าของโครงการถือว่าเจ้าของโครงการผิดสัญญา ต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  home.co.th
7 วิธีเลือกคอนโดให้อยู่แล้วปลอดภัย

7 วิธีเลือกคอนโดให้อยู่แล้วปลอดภัย

คอนโดก็เปรียบเสมือนบ้านอีกหลังนึงของเรา นั่นก็หมายความว่า การจะซื้อคอนโดเพื่ออยู่อาศัย นอกจากจะเลือกจากทำเล ฟังก์ชั่น ส่วนกลาง และราคาแล้ว การดูเรื่องความปลอดภัยของคอนโดก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากอีกเช่นกัน เราจึงรวบรวมสิ่งที่ต้องดูให้ดีว่าคอนโดที่ปลอดภัยต้องมีอะไรบ้าง ดังนี้ 1. กล้องวงจรปิดถือว่าเป็นสิ้งที่ป้องกันภัยได้ในระดับหนี่ง เพราะหากเกิดภัยขึ้นมาก็สามารถติดตามตัวได้ 2. ระบบคีย์การ์ดเข้าออกโครงการในส่วนนี้ถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้พักอาศัยได้ในระดับนึง เพราะคนที่จะเข้าออกโครงการได้จะต้องเป็นผู้ที่พักอาศัยภายในคอนโดนั้นเพราะจะมีคีย์การ์ดเป็นของตัวเอง แต่ถ้าเป็นคนภายนอกต้องมีการแลกบัตร ซึ่งเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ก็สามารถติดตามได้จากบัตรที่แลกไว้ 3. ระบบคีย์การ์ดเข้าออกอาคารหรือล็อบบี้ถ้าโครงการไหนที่มีคีย์การ์ดบริเวณเข้าออกอาคารหรือล็อบบี้ด้วยนั้นถือว่าเป็นข้อดี เพราะจะช่วยให้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น และช่วยคัดคนนอกที่จะเข้ามาภายในด้วย 4. ระบบคีย์การ์ดเข้าโถงลิฟต์สำหรับโครงการไหนที่มีการสแกนคีย์การ์ดเข้าออกมาถึงบริเวณโถงลิฟต์ด้วย ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้นไปอีกด้วย 5. ลิฟต์ล็อคชั้นคอนโดที่มีการล็อคชั้นของลิฟต์ นั้นถือเป็นข้อดีในการเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัย และยังป้องกันการมั่วของคนพักอาศัยได้อีกด้วย 6. Digital Door Lock หรือ ประตูล็อคอัตโนมัติระบบนี้ถือว่ามีข้อดีเพราะเพียงแค่ปิดประตูห้อง ก็สามารถล็อคห้องได้โดยอัตโนมัติแล้ว โดยไม่ต้องห่วงว่าจะมีใครมางัดแงะประตูห้องได้ 7.ระเบียงห้องต้องไม่ติดกันการเลือกโครงการที่ระเบียงห้องไม่ติดกัน ก็ถือว่าช่วยในเรื่องความปลอดภัยได้อีกเหมือนกัน เพราะบางทีภัยอันตรายอาจจะมาจากห้องข้างๆก็เป็นได้   ที่มา นิตยสาร The Condominium เดือนพฤศจิกายน 2558
6 เคล็ดลับเลือกทำเลคอนโดติดรถไฟฟ้า

6 เคล็ดลับเลือกทำเลคอนโดติดรถไฟฟ้า

การลงทุนคอนโดที่ได้รับความสนใจ ส่วนใหญ่มักเป็นคอนโดใจกลางเมืองตามแนวรถไฟฟ้า เพราะได้ผลตอบแทนค่าเช่าสูง แต่ว่าการเลือกลงทุนคอนโดใจกลางเมืองตามแนวรถไฟฟ้านั้น ก็ต้องเลือกให้ถูกที่ถูกทำเลด้วย 1.ต้องอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าไม่เกิน 400 เมตรจากทางขึ้นลงสถานี เพราะถือว่าเป็นระยะที่สะดวกในการเดินไปใช้บริการ อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่น่าสนใจและได้รับอานิสงส์จากผังเมืองใหม่ ที่มักได้รับการพัฒนาก่อนบริเวณอื่น 2.เน้นเลือกสถานีรถไฟฟ้าที่คนนิยมใช้บริการกันโดยดูจากสถานีรถไฟฟ้าที่คนใช้บริการสูงสุด เพราะจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าทำเลนั้นมีความต้องการคอนโดสูง 3.พิจารณาราคาขายและค่าเช่าคอนโดโดยดูจากราคาขายต่อตารางเมตร และค่าเช่าที่ได้รับต่อตารางเมตร ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ก่อนจะเลือกซื้อคอนโดควรลงพื้นที่สำรวจให้ดีก่อน 4.เน้นเลือกสถานีที่มีที่จอดรถสาธารณะอยู่ใกล้ๆไม่ว่าจะเป็นที่จอดรถของรถไฟฟ้าหรือที่จอดรถของห้าง รวมไปถึงสถานศึกษาหรือสถานที่ราชการ เพราะถ้าเกิดที่จอดรถในคอนโดไม่พอ ก็อาจจะไปจอดรถในสถานที่เหล่านี้ได้ 5.เน้นเลือกสถานีที่เป็นจุดเชื่อมต่อ เพราะจะเป็นจุดที่มีคนเข้ามาใช้บริการมากกว่าสถานีอื่น ซึ่งจุดเชื่อมต่อที่สำคัญๆ ได้แก่ หมอชิต อโศก ศาลาแดง และสยาม 6.อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมทางเลือกได้แก่ ใกล้ทางขึ้นทางด่วน ท่ารถ ท่าเรือ หรือที่จอดรถแท๊กซี่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัยในคอนโดได้เป็นอย่างดี   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  นิตยสาร The Condominium เดือนมิถุนายน 2559
ข้อดีของการซื้อคอนโด ซื้อบ้าน หลุดดาวน์

ข้อดีของการซื้อคอนโด ซื้อบ้าน หลุดดาวน์

เศรษฐกิจไม่ดีเป็นปัญหาใหญ่ทำให้ผู้ที่กำลังผ่อนดาวน์บ้านหรือคอนโด เริ่มไมไหวกับภาระ ทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายและการผ่อนที่อยู่อาศัย และอาจรวมถึงคนที่ได้ยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารแต่กู้ไม่ผ่าน จนเป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ “บ้าน คอนโด หลุดดาวน์” ที่เริ่มมีให้เห็นทั้งในรายงานยอดขายของบางบริษัทที่จู่ๆ ยอดขายก็ลดฮวบไปดื้อๆ สอดคล้องกับแคมเปญการตลาดที่เริ่มเห็นโปรฯ แรงๆ ของสินค้าหลุดดาวน์มากขึ้น แต่ในวิกฤติของคนกลุ่มหนึ่งก็เป็นโอกาสของคนอีกกลุ่มที่จะได้ซื้อของถูกชนิดไม่ทันตั้งตัว กู้ไม่ผ่านคือปัญหาและสาเหตุ ช่วง 1-2 ปีมานี้คนดาวน์บ้าน ดาวน์คอนโด มีปัญหากู้ไม่ผ่านกันมาก ตัวเลขจากบางโครงการพบว่าสัดส่วนลูกค้าที่กู้ไม่ผ่านสูงถึง 20-30% โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านและคอนโดระดับราคาปานกลางถึงล่างเปอร์เซ็นต์จะยิ่งมาก และเมื่อเทียบระหว่างโครงการบ้านและโครงการคอนโด ก็จะพบว่าลูกค้าที่กู้ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นคอนโดมากกว่าบ้าน สาเหตุส่วนหนึ่งเกี่ยวเนื่องจากระยะเวลาในการผ่อนดาวน์ เพราะโครงการคอนโด จะมีระยะผ่อนดาวน์นานกว่าบ้าน ซึ่งทั่วไปถ้าเป็นคอนโด โลว์ไรส์ก็ต้องผ่อนอย่างน้อย 15-20 เดือน ในขณะที่ถ้าเป็นไฮไรส์อย่างตํ่าก็ต้อง 2 ปี ในระหว่างที่กำลังผ่อนดาวน์อาจเกิดปัญหาด้านการเงินทำให้ต้องตัดสินใจทิ้งดาวน์ หรือบางครั้งอาจเป็นการกระทำที่ไม่ตั้งใจหรือพลาด เช่น ไปสร้างหนี้เพิ่ม จนทำให้มีปัญหาในเวลาที่ต้องยื่นกู้ทั้งๆ ที่ตอนจองซื้อไม่มีปัญหาการ Pre-approved เรื่องนี้สำคัญ เพราะธนาคารเองก็เตือนอยู่เสมอว่าในระหว่างผ่อนดาวน์กรุณาอย่าไปสร้างหนี้เพิ่ม หรือไปทำอะไรที่มีผลเสียต่อเครดิต และเฉพาะอย่างยิ่งตอนใกล้ยื่นกู้ยิ่งต้องระวังให้มาก เพราะการกระทำหลายๆ อย่างสามารถตีความได้ว่าเรากำลังมีปัญหาทางการเงินได้ ส่วนกรณีการผ่อนบ้านไม่ค่อยเป็นปัญหา เพราะส่วนใหญ่เดี่ยวนี้เป็นบ้านที่สร้างเกือบเสร็จเกือบทั้งหมด ระยะผ่อนดาวน์มีน้อย วิธีนี้บังคับให้คนซื้อต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี โดยหลายๆ โครงการถึงขนาดจองปุ๊บให้เตรียมเรื่องยื่นกู้ได้เลย ถ้าเตรียมตัวมาดีก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่พร้อมก็จบเหมือนกัน บ้านหลุดดาวน์ “ส้มหล่น” คนซื้อมือรอง แต่ละบริษัทมีวิธีการจัดการกับปัญหาลูกค้ากู้ไม่ผ่าน หรือสินค้าหลุดดาวน์แตกต่างกันไป ทางเลือกของคนซื้อจึงไม่เท่ากัน บางบริษัทมีโครงการอยู่ในมือหลายโครงการ หลายทำเล อาจมีทางเลือกให้กับลูกค้าได้มากกว่า เช่น เปลี่ยนแปลงที่ดิน เปลี่ยนทำเล เพื่อไปเอาหลังที่ถูกกว่า เพื่อจะได้มีโอกาสในการกู้ผ่านมากกว่า แต่ถ้ามีอยู่โครงการเดียวจะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ นอกจากนี้เงื่อนไขของสัญญาของผู้ประกอบการก็แตกต่างกัน เช่น บางบริษัทยอมคืนเงินดาวน์โดยไม่มีเงื่อนไข แต่บางบริษัทถ้ากู้ไม่ผ่านก็หมายถึงคนซื้อสูญเงินดาวน์ทั้งหมด เรื่องนี้ก็สำคัญที่คนซื้อจะต้องศึกษาให้ดีก่อนซื้อหรือทำสัญญา อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะโดยวิธีใด เมื่อมีบ้านหลุดดาวน์ยังไงเจ้าของโครงการก็ต้องนำบ้านหลังนั้นออกมาขายใหม่ ซึ่งจะขายโดยกลยุทธ์การตลาดแบบไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่แล้วมักนำมาขาย “ลดราคา” เพื่อจะได้จบโครงการไวๆ ซึ่งหากเป็นโครงการที่ยึดเงินดาวน์มาจากคนซื้อมือแรกบริษัทก็จะมีช่องทางทำการตลาดได้มาก เพราะมีเงินดาวน์ที่ได้มาฟรีๆ ตุนไว้แล้ว 5-10% ของราคาบ้าน ซึ่งนี่ก็เป็นโอกาสที่เกิดขึ้นกับคนซื้อมือถัดไป ฉะนั้นในวิฤกติของคนบางกลุ่มยอมเป็นโอกาสของคนอีกกลุ่ม โดยเฉพาะกับคนที่มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  นิตยสาร Home Buyer's Guide เดือนมิถุนายน 2559
วิธีไล่หนูบนเพดาน กำจัดโดยไม่ต้องฆ่าให้เปลืองแรง

วิธีไล่หนูบนเพดาน กำจัดโดยไม่ต้องฆ่าให้เปลืองแรง

วิธีไล่หนูบนเพดาน วิธีกำจัดหนูบนฝ้าโดยไม่ต้องลงมือฆ่า เพื่อให้หมดปัญหาเรื่องเสียงหนูวิ่งบนเพดาน หนูแทะฝ้า และสารพัดปัญหาที่เกิดจากสัตว์ตัวเล็ก ๆ ชนิดนี้  ศัตรูของบ้านอีกตัวที่คอยสร้างความรำคาญให้กับเรา คงจะหนีไม่พ้นเจ้าสัตว์ฟันแทะอย่าง หนู ทั้งยังสร้างความเสียหาย กัดสายไฟและของในบ้าน ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ เจ้าหนูพวกนี้อาจจะนำโรคร้ายมาสู่คนในบ้านได้ พื้นที่อื่นของบ้านยังพอหาทางกำจัดได้ แต่บนเพดานและใต้หลังคาที่เจ้าหนูพวกนี้ชอบใช้กบดานมักจะกำจัดยากกว่าที่อื่น ๆ เนื่องจากเป็นพื้นที่ปิดและแคบ และวันนี้เราก็มีวิธีไล่หนูบนเพดานโดยไม่ต้องฆ่ามาบอกต่อครับ 1.ใช้กับดักหนู วิธีกำจัดหนูแบบนี้นั้นง่ายมาก ก็แค่นำกับดักหนูไปวางใต้เพดาน โดยวางในตำแหน่งที่ไม่ไกลจากแผ่นฝ้าที่แกะออก แล้วหมั่นตรวจดูกับดักทุกวัน ถ้ามีหนูติดให้รีบเอาออกและนำไปกำจัดทันที เพราะหากบังเอิญหนูตายในคากับดัก ก็จะส่งกลิ่นเหม็นเน่าไปทั่วบ้านนานหลายวัน 2.ใช้น้ำมันหอมระเหยสะระแหน่   ถึงแม้กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยสะระแหน่จะเป็นที่ชื่นชอบของคน แต่เป็นกลิ่นที่หนูไม่อยากเข้าใกล้มากที่สุด เพราะกลิ่นของน้ำมันชนิดนี้ฉุนสุด ๆ สำหรับหนู วิธีใช้ก็คือนำสำลีก้อนชุบน้ำมันหอมระเหย จากนั้นนำแกะแผ่นฝ้าบนเพดานออก แล้วโยนก้อนสำลีเข้าไปให้ทั่วใต้เพดาน 3.ใช้กรงดัก ใช้กล้วยน้ำหว้าเป็นเหยื่อล่อ ตัดหัวตัดท้ายให้กลิ่นโชย หรือจะใช้หัวปลาทูทอดหรือปลาหมึกแห้งเสียบไว้ล่อหนูก็ได้ จากนั้นก็นำกรงดักมาตั้งบนเพดาน ผูกเชือกที่กรงเอาไว้ด้วย เวลาหนูติดกรงหนูจะดิ้นและพากรงไปไกลเกินกว่าจะเอื้อมถึง เมื่อมีหนูมาติดกรงให้นำไปปล่อยทิ้งในป่าไกลบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาอีก แล้วกรงให้ล้างให้สะอาด กำจัดกลิ่นของหนูตัวเก่าออกให้หมด เพราะหนูตัวอื่นจะไม่เข้าใกล้ หากยังมีกลิ่นหนูตัวเก่าติดอยู่ 4.ใช้แผ่นปิดเชิงชายกระเบื้อง ชายคาบ้านเป็นอีกทางที่หนูใช้ไต่เข้ามาใต้หลังคา ฉะนั้นยิ่งปิดช่องทางที่นำมาสู้หลังคาไว้ใช้หมดยิ่งดี โดยเฉพาะหลังคาแบบลอน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้หนูเข้ามาอาศัยและสร้างความรำคาญ ก็ควรติดแผ่นปิดเชิงชายกระเบื้องหรือแผ่นดักนกตามชายคาให้หมด 5.ใช้ทรายแมว กลิ่นของฉี่แมวอันลือเลื่อง ไม่ใช่แค่กับคนเท่านั้นที่ทนไม่ไหวกับกลิ่นฉี่แมว แม้แต่สัตว์ที่รักสกปรกอย่างหนูเองก็ไม่ชอบเช่นกัน วิธีใช้คือนำทรายแมวที่ใช้แล้วใส่ถุงผ้าแล้วโยนเข้าไปใต้เพดาน ให้เปิดช่องระบายอากาศไว้ด้วย แล้วหนูก็จะไม่เข้ามาใกล้เพดานอีกเลย   ทั้งนี้การกำจัดหนูให้สิ้นซาก ไม่ใช่ว่าจะได้ผลโดยการใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือการทำเพียงแค่ครั้งเดียว ต้องอาศัยทั้งการไล่ กำจัด การป้องกัน รวมถึงวิธีการทำความสะอาดเพดานอย่างสม่ำเสมอควบคู่กันไปด้วยนะครับ ความรู้เกี่ยวกับหนู หนู  วิธีไล่หนูและสัตว์กวนใจอื่นๆ เพื่อความน่าอยู่ของบ้านเรา วิธีกำจัดมด ด้วยของใกล้ตัว กำจัดปลวก ด้วยวิธีธรรมชาติ วิธีเด็ดไล่ตุ๊กแก ให้รีบเผ่นหนีออกจากบ้าน
6 วิธีแก้เมื่อกู้ไม่ผ่าน (แต่ใกล้เวลาโอน)

6 วิธีแก้เมื่อกู้ไม่ผ่าน (แต่ใกล้เวลาโอน)

สำหรับคนที่กู้ซื้อบ้านหรือกู้ซื้อคอนโด เมื่อยื่นกู้ไปแล้วกลับพบปัญหาว่ากู้ไม่ผ่าน มิหนำซ้ำทางโครงการยังเร่งให้โอนอีกด้วย ปัญหาการกู้ไม่ผ่านเหล่านี้มีทางออกครับ มาดูกันว่า 6 วิธีแก้ปัญหาเมื่อกู้ไม่ผ่าน ในเวลาที่โครงการเร่งโอนมีอะไรบ้าง 1. กู้ธนาคารอื่น ถ้าผู้กู้ไปยื่นกู้แล้วผ่านแต่ได้ไม่เต็มวงเงิน การแก้ปัญหาด้วยวิธีไปยื่นกู้กับธนาคารอื่นแทน เป็นทางแก้ที่ดี แต่ถ้าติดแบล็คลิสต์ไปธนาคารไหนก็ได้คำตอบเหมือนกัน คือกู้ไม่ผ่าน 2. เลื่อนเวลารับโอน เพราะถ้า Defect เยอะๆหน่อยก็สามารถยื้อเวลาได้ เต็มที่ก็ราวๆ 3 เดือน 3. บอกความจริง ให้ไปพูดคุยกับทางโครงการโดยตรงว่าขอเวลาสักหน่อย เช่น กำลังพ้นช่วงทดลองงาน จะได้เงินก้อน อย่างน้อยก็พอมีโอกาสรอด 4. ขายดาวน์ ถ้ารู้ตัวแล้วว่ายังไงก็ไม่ไหว ให้ประกาศขายดาวน์ทันที อาจจะต้องยอมขายถูกหน่อยหรือลดราคา เพื่อสามารถขายได้เร็วขึ้น 5. หาคนร่วมกู้ ถ้ากู้คนเดียวไม่ไหว รายได้ไม่ถึง ต้องหาคนมากู้ร่วม แต่ต้องเช็คเครดิตเหมือนผู้กู้หลัก 6. ลดงบในการซื้อ ถ้าราคาที่ซื้อสูงเกินไป ยังไงก็กู้ไม่ผ่าน อาจจะลดงบลงหน่อย เลือกห้องเล็กลง ก็จะทำให้กู้ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย ขอขอบคุณข้อมูลจาก  home.co.th
การเลือกซื้อที่ดิน การซื้อบ้านใหม่ให้ไกลจากน้ำ(ท่วม)ควรดูอะไรบ้าง?

การเลือกซื้อที่ดิน การซื้อบ้านใหม่ให้ไกลจากน้ำ(ท่วม)ควรดูอะไรบ้าง?

ตั้งแต่ช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เวลาจะซื้อบ้านต้องไตร่ตรองและคิดให้รอบคอบมากขึ้นและอาจจะมีคําถามหลายๆประการตามมาว่า ควรจะซื้อบ้านหรือปลูกบ้านตรงไหน ที่ไหน แถวไหน ย่านไหน ควรต้องดูเรื่องอะไรบ้าง ถึงจะปลอดภัยจากน้ำท่วมจริงๆ เผื่อว่าเราอาจจะต้องเจอกับมวลน้ำแบบนี้อีกครั้งหรือหลายครั้งในอนาคต คำตอบง่ายๆ ในเมื่อเราเป็นห่วงว่า “น้ำ” จะท่วมบ้านเราอีกไหม เราก็ต้องพิจารณาปัจจัยและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับ “น้ำ” เป็นหลัก บางคนอาจถามต่อไปว่า แล้วเราจะดู “น้ำ” กันอย่างไร จะไปดูตามท่อระบายน้ำ ตามคู คลองหรือแม่น้ำต่างๆ จะพอไหม จะรู้ไหมว่าน้ำท่วมหรือไม่อย่างไร หรือควรหาข้อมูลอะไร ที่ไหนประกอบหรือไม่อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ คนไทยเราคงจะมีความรู้เพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ “น้ำ” ที่สื่อมวลชน นักวิชาการและรัฐบาลนําเสนอผ่านสื่อออกมาทุกวัน ในอดีตเวลาที่เราจะเลือกซื้อหาบ้านจัดสรร หรือเลือกซื้อที่ดินปลูกบ้านใหม่คงเลือกจากการที่มีเอกสารจัดสรร และโฉนดที่ดินว่ามีหรือไม่ ด้านทําเลที่ตั้งใกล้กับแหล่งอำนวยความสะดวกมากน้อยแค่ไหน ไปจนถึงจากรูปแบบบ้าน ราคา และชื่อเสียงของบริษัท เป็นต้น แต่หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้แล้ว “ผู้ซื้อ” หรือ “ผู้บริโภค” ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ “น้ำ”เพิ่มเติมก่อนที่จะตัดสินใจเลือกแหล่งที่อยู่อาศัย ข้อควรพิจารณามีดังนี้ 1. โซนผังเมือง : โซนสีต่างๆ ที่ปรากฎในผังเมืองเป็นตัวบ่งชี้ว่า เมืองนั้นๆ กําหนดแนวทางการใช้พื้นที่ดินแต่ละเขตเป็นอย่างไร มีการใช้งานในลักษณะใดบ้าง เช่น พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย หรือพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น จากกรณีน้ำท่วมครั้งนี้ เราจึงเห็นได้ว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เช่น เขตหนองจอก มีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กําหนดเป็นโซนสีเขียวและเขียวทแยง ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม และพื้นที่ชนบทอนุรักษ์และเกษตรกรรม จึงได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นจํานวนมากเนื่องจากอยู่ในเส้นทางการระบายน้ำและรัฐมิได้กําหนดให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย 2. แนวคันกั้นน้ำ : ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีการวางตําแหน่งคันกั้นน้ำ เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวพระราชดําริไว้ ตั้งแต่เหนือจรดใต้และครอบคลุมทั้งสองฝั่งตะวันออกและตะวันตก โดยแนวคันกั้นน้ำจะมีความสูงต่ำแตกต่างกันและมีลักษณะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ที่สัมพันธ์กับตําแหน่งคู คลองธรรมชาติ เพื่อป้องกันน้ำจากทางตอนเหนือเข้าท่วมบริเวณพื้นที่กรุงเทพชั้นกลางและชั้นใน ดังนั้นการเลือกซื้อบ้านหรือที่ดินที่อยู่ภายในแนวคันกั้นน้ำก็จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วมได้ระดับหนึ่ง 3. ตําแหน่งคู คลอง แหล่งน้ำธรรมชาติ : จากประสบการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ เราคงเห็นได้ชัดเจนว่า เส้นทางการเคลื่อนที่หลักๆ ของน้ำจะเอ่อล้นมาจากเส้นทางน้ำธรรมชาติคือ คู คลองต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วเมืองและจากท่อระบายน้ำต่างๆตามถนนหนทางหน้าบ้านของเรา และการมาของน้ำทั้งสองทางนี้จะป้องกันได้ยากที่สุด ดังนั้นบ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำคู คลองที่มีทัศนียภาพสวยงามก็จะมีความเสี่ยงจากน้ำมากเช่นกัน 4. ความสูงต่ำของที่ดิน/ที่ตั้ง (Topography) : ถ้าใครเคยเห็นแผนที่ในการวิเคราะห์ระดับน้ำท่วมกรุงเทพฯคราวนี้ จะพบว่าแต่ละพื้นที่จะมีการคาดการณ์ระดับน้ำท่วมที่สูงต่ำต่างกัน นั่นเป็นเพราะแต่ละพื้นที่มีระดับความสูงของแผ่นดินที่ต่างกันทําให้ระดับน้ำมีความลึกต่างกัน ถ้าเปรียบเทียบให้ง่ายขึ้นก็เหมือนกับสระว่ายน้ำเมื่อมองที่ผิวน้ำจะพบว่า มีผิวน้ำมีความเรียบเสมอกันแต่ก้นบ่อของสระว่ายน้ำมีระดับที่ไม่เท่ากันทําให้สระว่ายน้ำมีทั้งส่วนลึกและส่วนตื้น ดังนั้น หากเลือกที่ดินสําหรับปลูกบ้าน ในพื้นที่ที่มีระดับสูงกว่าจะมีความเสี่ยงจาก น้ำน้อยกว่า สําหรับข้อมูลส่วนนี้สามารถแสดงให้เข้าใจง่ายด้วยภาพตัดขวางแสดงระดับถนนภายนอกโครงการเข้าสู่ถนนซอยภายในจนถึงระดับความสูงของที่ดินแต่ละแปลง และระดับพื้นชั้นล่างของบ้านแต่ละหลัง 5. เส้นทางน้ำไหล : เมื่อฝนตกลงบนผิวดิน น้ำส่วนหนึ่งจะซึมลงไปในดินและอีกส่วนหนึ่งจะเป็นอยู่บนผิวดิน ส่วนที่เป็นน้ำบนผิวดินจะไหลลงสู่ที่ต่ำและไหลลงไปสู่แม่น้ำลําคลอง ฉะนั้นการเลือกตําแหน่งในการปลูกสร้างบ้านเรือนต้องไม่ขวางทางที่น้ำไหลผ่าน เพราะแรงของน้ำนั้นมหาศาลมากขนาดทําให้ถนนขาดได้ และไม่ว่าจะปลูกบ้านด้วยโครงสร้างแบบใด หากปลูกอยู่บนเส้นทางที่น้ำไหลผ่านก็คงยากที่จะทานแรงมหาศาลของมวลน้ำไหว ดังนั้น ก่อนจะสร้างบ้านหรือซื้อที่ดินต้องลองสังเกตว่าเมื่อฝนตกลงมาแล้ว เส้นทางการไหลของน้ำฝนได้ผ่านแนวที่ดินของเราหรือไม่ หากน้ำไหลผ่านให้ควรหลีกเลี่ยง 6. มาตรการป้องกันน้ำท่วม : ข้อมูลนี้เป็นประเด็นสําคัญที่ลูกค้าควรสอบถาม เพื่อความมั่นใจในยุคหลังน้ำท่วมครั้งนี้ว่า แต่ละโครงการได้มีการเตรียมการหรือมีแผนรองรับเหตุน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ในเรื่องของตัวบ้านและตัวโครงการไว้อย่างไรบ้าง อาทิ การจัดเตรียมพื้นที่หน่วงน้ำ การจัดทําเขื่อนหรือคันกั้นน้ำในโครงการ รูปแบบการระบายน้ำในโครงการไปจนถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อการอพยพหนีน้ำ ในกรณีวิกฤต ซึ่งแนวทางเหล่านี้จะมีระดับมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงกับระดับน้ำท่วมว่ามากเพียงใด จากประเด็นพิจารณาเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของเราในฐานะผู้ซื้อบ้านหรือที่ดินใหม่ในอนาคต ควรศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ เพราะประเด็นเหล่านี้จะบอกถึงความเสี่ยงในเรื่องของน้ำที่อาจจะต้องพบเจอในปีต่อๆ ไปได้ว่า บ้านเรือนของเรามีโอกาสน้ำท่วมหรือไม่ท่วม หรือท่วมมากแค่ไหน เพื่อรับมือได้อย่างถูกต้องรวมทั้งยังเป็นหน้าที่ของบริษัทบ้านจัดสรรและเจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่จะต้องนําเสนอข้อมูลเหล่านี้ต่อลูกค้าเป็น ”A Must Information” ด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายในลักษณะ Infographic ที่เราคุ้นๆ กันในช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา เพื่อแสดงความจริงใจต่อลูกค้าและอาจใช้เป็นแรงจูงใจทางการตลาด ได้อีกทางหนึ่งด้วย   ที่มา รัชด ชมภูนิช คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรฯ /ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) home.co.th
เทคนิคแก้ไขปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้าน

เทคนิคแก้ไขปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้าน

เข้าสู่ช่วงหน้าฝนทีไร ก็มักมีปัญหามากวนใจคือ ปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้าน เราจะมาแนะนำวิธีสังเกตและแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมเข้าบ้านในแต่ละจุดกันครับ ใต้หลังคาสังเกตจากคราบน้ำบนฝ้า หรือลองขึ้นไปดูใต้หลังคาเพื่อตรวจดูว่าฝ้ามีคราบน้ำหรือเปล่า ซึ่งถ้าพบว่าน้ำรั่วใต้หลัง จะมีสาเหตุหลักๆ ดังนี้ 1.1 กระเบื้องใต้หลังคาชำรุด หรือแตก ทำให้มีน้ำรั่วซึมมาตามรอยแยก แก้ไขโดยการเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ 1.2 ติดตั้งหลังคาไม่เหมาะสม เช่น ระยะซ้อนทับหลังคาน้อย แก้ไขโดยการติดตั้งหลังคาใหม่ ให้มีระยะซ้อนทับตามกำหนดของแต่ละยี่ห้อ 1.2 หลังคาลาดเอียงน้อยเกินไป ทำให้ฝนไหลย้อนเข้าใต้หลังคา แก้ไขโดยการติดตั้งหลังคาใหม่ ให้มีระยะซ้อนทับตามกำหนดของแต่ละยี่ห้อ พื้นหลังคาคอนกรีตแตกร้าวเช่น พื้นดาดฟ้าแตกร้าว พื้นเป็นแอ่ง น้ำขัง ทำให้เกิดน้ำรั่ว แก้ไขโดยการปรับความลาดเอียงของพื้นให้น้ำไหลออกได้สะดวก และซ่อมรอยร้าว ทำกันซึมพื้นให้เรียบร้อย ผนังบ้านมีรอยร้าวเวลาฝนตกจะเห็นคราบตามรอยผนัง ถ้าเมื่อไรที่ผนังบ้านร้าวก็จะมีน้ำซึมเข้ามา ดังนั้นควรตรวจรอยร้าวของบ้าน ถ้าพบให้เรียกช่างมาซ่อมแซมรอยร้าวทันที ขอบวงกบประตู-หน้าต่างรอยร้าวนี้มักพบเพราะเกิดจากการยืดขยายตัวของอุณหภูมิ ทำให้เกิดรอยร้าวที่มุม และทำให้น้ำฝนรั่วซึมเข้ามา แก้ไขโดยการตรวจสอบว่ามีเสาเอ็น ทับหลัง เหล็กกรงไก่หรือไม่ ถ้าหากมีครบให้เรียกช่างมาซ่อมรอยร้าวทันที ปัญหาทั้งหมดนี้เป็นเพียงปัญหาเบื้องต้น ซึ่งเราสามารถตรวจสอบและแก้ไขเองได้ แต่ถ้าพบว่าปัญหาใหญ่เกินแก้ไขเองให้เรียกช่างมาซ่อมทันที   ขอขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร Home Buyers' Guide เดือนมิถุนายน 2559
เปรียบเทียบ “ราคาบ้าน” ยังไงดี

เปรียบเทียบ “ราคาบ้าน” ยังไงดี

เป็นธรรมดาของคนซื้อบ้านที่ต้องมีการเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจ เนื่องจากบ้านเป็นสินค้าราคาแพง ฉะนั้นเมื่อตัดสินใจเลือกทำเลที่ต้องการได้แล้ว ส่วนใหญ่ต้องหาลิสต์โครงการที่สนใจอย่างน้อย 3-5 โครงการ สิ่งที่เปรียบเทียบก็มีหลายอย่าง แต่หนึ่งในนั้นน่าจะดูว่าโครงการไหนถูก โครงการไหนแพงกว่ากัน ถ้าจะเทียบราคาบ้านจัดสรรมีสิ่งที่ควรพิจารณาอยู่ 2-3 ข้อดังนี้ 1. ราคาที่ดิน จริงๆ แล้วถ้าที่ดินอยู่ติดกันหรืออยู่ในทำเลเดียวกันราคาบ้านจะไม่ต่างกันมาก แต่ทั้งนี้ก็มีความเป็นไปได้หลายกรณีที่ทำให้ทำเลเดียวกันแต่ราคาบ้านต่างกัน เช่น ระยะเวลาในการซื้อขาย เทคนิคการต่อรองของผู้ซื้อ ความพึงพอใจของผู้ขาย ข้อกำหนดในการใช้ประโยชน์ เช่น แปลงหนึ่งติดถนนใหญ่แต่อีกแปลงที่ติดกันมีทางเข้าอยู่ในซอย เป็นต้น แต่โดยหลักการแล้วที่ดินทำเลเดียวกันไม่ควรมีราคาต่างกันมาก 2. ราคาค่าก่อสร้าง หากจะเปรียบเทียบค่าก่อสร้างน่าจะต้องดู 2 ส่วนหลักคือ “พื้นที่ก่อสร้าง”กับ “พื้นที่ใช้สอย” หากต้องการเปรียบเทียบขนาดพื้นที่ก่อสร้างทำได้ไม่ยาก เพราะส่วนใหญ่มักบอกขนาดพื้นที่ใช้สอยของบ้านแต่ละหลังอยู่แล้ว (หน่วยเป็นตารางเมตร) แต่ที่ต้องดูลึกลงไปก็คือประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่ก่อสร้างนั้นๆ เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างแต่ละส่วนมีต้นทุนไม่เท่ากัน เช่น โรงจอดรถจะถูกกว่าระเบียง ระเบียงถูกกว่าห้องโถงทั่วไป ห้องโถงทั่วไปถูกกว่าห้องนอน ห้องนอนก็จะถูกกว่าห้องน้ำ เป็นต้น ถ้าพื้นที่เท่ากันและมีราคาพอๆ กัน แล้ว หลังหนึ่งมีระเบียงกว้างแต่ห้องน้ำเล็กนิดเดียว หลังที่สองมีระเบียงเล็กแต่ห้องน้ำกว้างมาก อนุมานได้ว่าหลังแรกต้นทุนก่อสร้างน่าจะต่ำกว่า ถ้าขายเท่ากันแสดงกว่าหลังแรกแพงกว่า นอกจากนี้ยังสามารถดูได้จากเกรดวัสดุที่ใช้ ส่วนใหญ่มักดูจากวัสดุปูพื้น ยี่ห้อสุขภัณฑ์หรืออุปกรณ์ในห้องน้ำ ผนัง/วัสดุก่อผนัง รวมถึงพื้นบันได เป็นต้น 3. สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก สองปัจจัยที่ว่าอาจไม่พอสำหรับการประเมินความถูกแพง ก็ต้องดูว่าสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกของโครงการไหนพร้อมกว่าและมีมากกว่ากัน เช่น สวนสาธารณะ ต้นไม้ทางเข้า ถนนภายในโครงการ ยามรักษาความปลอดภัย ฯลฯ มากไปกว่านั้นอาจมีเรื่องของแบรนด์เข้ามาเกี่ยวด้วย เช่น ถ้าโครงการแบรนด์ดังๆ ราคาย่อมสูงกว่าโครงการที่ไม่มีชื่อเสียง ซึ่งคงต้องยอมรับ แต่เรื่องนี้ถ้าจะเปรียบเทียบเป็นตัวเลขหรือเม็ดเงินคงจะยาก เพราะน่าจะเกี่ยวกับคุณค่าทางจิตใจเสียมากกว่า   ขอขอบคุณข้อมูลจาก home.co.th
บ้านชั้นเดียวต่อเติมเป็นบ้านสองชั้นได้หรือไม่

บ้านชั้นเดียวต่อเติมเป็นบ้านสองชั้นได้หรือไม่

เรื่อง:  นิยดา หวังวิวัฒน์ศิลป์ SCG Architect Writer "บ้านชั้นเดียวเมื่ออยู่อาศัยไปสักพัก หากรู้สึกว่าพื้นที่ใช้สอยไม่พอ และคิดจะต่อเติมบ้านให้กลายเป็นบ้าน 2 ชั้น จะทำได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสภาพโครงสร้างบ้านของเดิมว่าจะสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะต้องให้วิศวกรช่วยคำนวณ และควรคำนึงถึงความคุ้มค่าก่อนจะตัดสินใจลงมือต่อเติม" สำหรับครอบครัวขนาดเล็กเมื่อเริ่มคิดปลูกบ้าน บางครั้งอาจเลือกสร้างบ้านชั้นเดียวเพราะเห็นว่าควบคุมงบประมาณและเวลาได้ง่าย ประหยัดโครงสร้างวัสดุ ง่ายต่อการดูแลรักษาและทำความสะอาด ทั้งยังเหมาะกับผู้สูงอายุซึ่งไม่สะดวกขึ้นลงบันได แต่เมื่ออาศัยไปสักระยะหนึ่งอาจมีปัจจัยบางอย่างเปลี่ยนแปลงทำให้ต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น โดยปกติเรามักเลือกต่อเติมเพิ่มออกมาจากตัวบ้าน แต่ถ้าที่พื้นที่รอบบ้านไม่พอจะมีวิธีอย่างไร จะต่อเติมบ้านชั้นเดียวให้กลายเป็น 2 ชั้นได้หรือไม่ ? ตัวอย่างบ้านชั้นเดียว (ภาพบน) ที่ต่อเติมเป็นบ้าน 2 ชั้น (ภาพล่าง) (ขอขอบคุณภาพจาก www.banandresort.com) ต่อเติมบ้านชั้นเดียวเป็นบ้าน 2 ชั้นได้จริงหรือ ? ในจุดนี้จะต้องพิจารณาหลายปัจจัยประกอบกัน โดยเรื่องสำคัญที่สุด คือ “สภาพของโครงสร้างบ้านเดิม” ทั้งเสาเข็มฐานราก  เสา คาน ว่าสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมชั้น 2 ได้หรือไม่และอย่างไรจึงจะไม่ถล่มพังลงมา ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งวิศวกรโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์คำนวณเพื่อความปลอดภัย เมื่อเจ้าของบ้านทราบถึงความเป็นไปได้และพิจารณาความคุ้มค่าในการต่อเติม ก็อาจลองมองทางเลือกอื่นประกอบด้วย เช่น กรณีเป็นบ้านที่อยู่อาศัยมานานจนทรุดโทรมมากอยู่แล้ว ถ้าทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่หรือหาซื้อบ้านใหม่ไปเลยจะคุ้มกับระยะเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่าหรือไม่ เป็นต้น บ้านชั้นเดียวมักถูกออกแบบโครงสร้างมาเพื่อรับน้ำหนักบ้านเพียง 1 ชั้นเท่านั้น หากต้องการต่อเติมเป็น 2 ชั้น ต้องให้วิศวกรตรวจสอบว่า โครงสร้างจะรับน้ำหนักที่เพิ่มไหวหรือไม่ ต่อเติมบ้านชั้นเดียวเป็นบ้าน 2 ชั้นได้อย่างไร ? หากวิศวกรคำนวณแล้วพบว่าโครงสร้างบ้านเดิมสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมชั้น 2 ได้แล้ว  ยังมีปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวทางการต่อเติม นั่นคือจะต่อเติมได้เต็มทั้งชั้นหรือได้เพียงส่วนเดียวเฉพาะแค่บางช่วงเสา รวมถึงน้ำหนักต่อตารางเมตรของส่วนต่อเติมซึ่งมีผลต่อการเลือกใช้วัสดุ ตั้งแต่ส่วนโครงสร้าง เช่น เสาที่จะต้องต่อให้สูงขึ้นไปเพื่อรับหลังคาชั้น 2 นั้น จะใช้วิธีสกัดหัวเสาคอนกรีตเดิมแล้วหล่อเสาต่อได้เลย หรือจะต้องใช้เสาเหล็กซึ่งน้ำหนักเบากว่าแทน เป็นต้น  ในส่วนของพื้นผนังกรณีที่โครงสร้างเดิมรับน้ำหนักเพิ่มได้พอสมควรอาจใช้ผนังก่ออิฐฉาบปูน  พื้นหล่อคอนกรีต แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป แต่ถ้ารับน้ำหนักเพิ่มได้ไม่มากอาจต้องใช้วัสดุที่เบาขึ้น เช่น ผนังอิฐมวลเบา ระบบพื้น Metal Deck  ระบบพื้นและผนังเบาไฟเบอร์ซีเมนต์  ระบบผนังและฝ้าเพดานยิปซั่ม เป็นต้น ซึ่งจะต้องให้วิศวกรโครงสร้างเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่เหมาะสม พื้นเบาจากโครงเหล็ก ปูด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์และวัสดุทับหน้า ผนังเบาจากวัสดุแผ่นปิดทับโครงคร่าว ระบบพื้น Metal Deck (ขอขอบคุณภาพจาก constructthai.com) กรณีโครงสร้างบ้านเดิมรับน้ำหนักได้ไม่มาก ส่วนหลังคาซึ่งจะต้องรื้อออกและประกอบใหม่อยู่แล้วอาจเป็นอีกจุดที่สามารถปรับให้มีน้ำหนักเบาขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นโครงหลังคาหรือวัสดุมุง (การเปลี่ยนวัสดุมุงอาจส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้วย เช่น ระยะแป เป็นต้น) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากวิศวกรโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญด้วยเช่นกัน โครงหลังคาสำเร็จรูป ผลิตจากเหล็กเคลือบป้องกันสนิม ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าเหล็กรูปพรรณ จะเห็นได้ว่าการต่อเติมบ้านชั้นเดียวให้กลายเป็นบ้าน 2 ชั้นนั้น  ต้องพิจารณาเรื่องความสามารถในการรับน้ำหนักของโครงสร้างเดิมเป็นหลัก (สำหรับใครที่จะสร้างบ้านชั้นเดียวอาจเลือกทำโครงสร้างรองรับการต่อเติมในอนาคตไว้ก็ได้)  นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความคุ้มค่า โดยเฉพาะกรณีต่อเติมได้ไม่เต็มชั้นซึ่งต้องไม่ลืมว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของทั้ง 1 ชั้น 2 จะต้องถูกใช้เป็นบันไดด้วย ดังนั้นพื้นที่ที่ได้เพิ่มมาจะคุ้มค่าหรือไม่ต้องลองคิดคำนวณให้ดี ทั้งนี้หากเลือกที่จะต่อเติมแล้วก็ควรให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายเพื่อความถูกต้องและปลอดภัย  ไม่ว่าจะเป็นการยื่นขออนุญาตดัดแปลงบ้าน การคำนึงเรื่องที่ว่างและระยะร่นตามกฎหมายซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่งช่องเปิดและขนาดพื้นที่ใช้สอยของบ้าน เป็นต้น นับเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาให้ดีก่อนลงมือต่อเติม ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com
12 ข้อควรรู้ หากเกิดไฟไหม้คอนโดฯ

12 ข้อควรรู้ หากเกิดไฟไหม้คอนโดฯ

เคยไหม อยู่ในคอนโด ดีๆ อยู่ๆ ก็ได้ยินเสียงสัญญานไฟไหม้ดังขึ้น แต่ไม่รู้ว่าจะยังไงต่อไปหลังจากได้ยินเสียงนี้ บางครั้งแค่ชะโงกหน้าออกมาหน้าห้องดูว่าเกิดอะไรขึ้น แต่เมื่อสัญญานเงียบลง ต่างคนก็ต่างไปใช้ชีวิตตามปกติในห้องใครห้องมันเหมือนเดิม แต่หารู้ไม่ถ้าได้ยินเสียงสัญญาณเตือนให้คิดว่าเป็นเหตุเพลิงไหม้จริงไว้ก่อนเสมอ ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่จริง อาจจะเกิดเหตุผิดพลาดในสัญญาณเตือน แต่ควรป้องกันไม่ประมาทดีที่สุด หากเกิดไฟไหม้ในคอนโด ผู้อยู่อาศัยควรมีความรู้เรื่องนี้ไว้บ้างดังนี้ ในกรณีไฟไหม้คอนโด 1.ต้องดับเพลิงในอาคารสูงด้วยอุปกรณ์ดับเพลิงอาคารของตนเองให้ได้ภายในระยะเพลิง เริ่มใหม้ใน 2 นาทีแรกอย่ามัวแต่รอความช่วยเหลือจากพนักงานดับเพลิง 2.ดึงหรือกดสถานีแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่กล่องแดงที่ติดไว้ข้างผนังทางเดินทันทีที่พบเหตุเพลิงไหม้แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม 3.แต่ละชั้นต้องทำแผนผังแสดงเส้นทางหนีไฟจากห้องพักไปสู่บันไดหนีไฟ อย่างน้อย 2 เส้นทาง 4.ตรวจสอบเส้นทางหนีไฟไว้ล่วงหน้า ว่าจะไม่มีสิ่งกีดขวางตลอดทางวิ่ง 5.ร่วมฝึกซ้อมหนีไฟเพื่อเป็นการตรวจสอบด้วยตนเองถึงความพร้อมของเจ้าหน้าที่อาคาร และอุปกรณ์ป้องกันและดับเพลิงของอาคารว่ายังมีประสิทธิภาพใช้การได้ดีอยู่เสมอ 6.อย่าใช้ลิฟต์หนีไฟ ให้หนีลงมาโดยเร็วโดยบันไดหนีไฟทันทีที่ได้ยินสัญญาณกระดิ่งแจ้งเหตุไฟไหม้ภายในอาคาร 7.หากติดอยู่ในกลุ่มควันไฟ ให้ก้มตัวให้ต่ำหรือหมอบคลานเพื่อหาทางออก ควันไฟทำให้คนส่วนใหญ่เสียชีวิตมากกว่าจากเปลวไฟถึง 3 เท่าตัว 8.ก่อนเปิดประตูให้แตะหรือคลำลูกบิด หากร้อนจัดแสดงว่ามีเปลวเพลิงอยู่ด้านนอกอย่าเปิดทันทีจะถูกเปลวไฟพุ่งเข้าตัวได้ 9.เมื่อหนีออกจากห้องพักหรือหนีผ่านประตูใดๆ ให้ปิดประตูนั้นให้สนิท 10.กรณีหนีไฟไม่ได้ให้อยู่ภายในห้องพักและปิดประตู ใช้ผ้าชุบน้ำอุดบริเวณขอบบานประตู และให้ขอความช่วยเหลือที่หน้าต่างหรือระเบียง 11.แนะนำทุกคนในครอบครัวให้ทราบถึงกฎความปลอดภัยและวิธีปฏิบัติตัวกรณีเกิดเพลิงไหม้ 12.ไฟไหม้ในอาคารสูงเกิดขึ้นเป็นประจำและเกิดขึ้นบ่อย แต่ที่ไม่เป็นข่าวเพราะผู้อาศัยและเจ้าหน้าที่อาคารช่วยกันดับได้ก่อนลุกลาม ทุกคนที่อาศัยในอาคารสูงทุกอาคารจึงต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลาแล้วจะมีความปลอดภัยได้แน่นอน   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  home.co.th
ต่อรั้วบ้านเดิมเพิ่มความส่วนตัว

ต่อรั้วบ้านเดิมเพิ่มความส่วนตัว

เรื่อง :  อิษฎา แก้วประเสริฐ             SCG Experience Architect "เมื่อพื้นที่รอบบ้านมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นถนนสาธารณะ หรือตึกข้างเคียงที่สูงขึ้น รั้วบ้านเดิมจึงไม่สามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวได้เท่าที่ควร การปรับปรุงรั้วบ้านให้สูงขึ้นพร้อมหาวิธีตกแต่งให้สวยงาม นับเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเจ้าของบ้านซึ่งประสบปัญหาดังกล่าว" “รั้วบ้าน” เป็นปราการที่กั้นระหว่างตัวบ้านกับเพื่อนบ้านหรือพื้นที่สาธารณะภายนอก แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมทุกวันนี้  สิ่งไม่พึงประสงค์ต่างๆ ทั้ง เสียง มลพิษ และภัยจากผู้คุกคาม อาจเข้ามาถึงตัวบ้านได้ง่ายขึ้น รั้วบ้านเดิมที่สร้างไว้เริ่มสูงไม่พอ เมื่อเทียบกับระดับถนน พื้นดินแวดล้อม และความสูงของอาคารสร้างใหม่ใกล้เคียง ทั้งหมดนี้นำมาซึ่งความกังวลใจจนเจ้าของบ้านจนต้องเริ่มนึกถึง “การปรับปรุงรั้วบ้านให้สูงขึ้น” ซึ่งมีเรื่องต่างๆ ต้องพิจารณา ได้แก่ ความสูง ความโปร่ง ความสวยงาม รวมถึงปัจจัยสำคัญคือ สภาพรั้วบ้านเดิม น้ำหนักวัสดุ และการติดตั้ง รั้วบ้านที่ทำการต่อเติมด้วยระแนงไม้เทียม รั้วบ้านที่เตี้ยเกินไปจนบุคคลภายนอกมองเข้ามาได้ ทำให้รู้สึกไม่เป็นส่วนตัว ต่อเติมรั้วบ้านสูงเท่าไหร่ดี ความสูงของรั้วบ้านจะต้องไม่ขัดกับกฎหมาย โดยจะสูงจากระดับถนนหรือทางเท้าได้ไม่เกิน 3.00 เมตร และควรคำนึงถึงความระดับความสูงของอาคารข้างเคียงรวมถึงช่องเปิดด้วย  ทั้งนี้ระดับรั้วบ้านยิ่งสูงจะยิ่งมีพื้นที่ปะทะแรงลมมากขึ้นจึงควรคำนึงเรื่องจุดยึดที่มั่นคงแข็งแรงเพียงพอ รั้วบ้านโปร่ง รั้วบ้านทึบ เจ้าของบ้านหลายคนอยากให้รั้วบ้านโปร่ง สามารถมองทะลุและระบายอากาศได้  เพื่อลดความอึดอัด โดยเฉพาะบ้านที่มีระยะร่นอาคารน้อย ระยะห่างระหว่างตัวบ้านกับรั้วค่อนข้างกระชั้น หรือกรณีที่มีความสูงของบ้านมากๆ หากทำรั้วบ้านทึบตันจะยิ่งอึดอัด ทั้งนี้การทำรั้วบ้านโปร่งอาจออกแบบเป็นจังหวะโปร่ง-ทึบ สลับกันไป ตามตำแหน่งระยะและมุมมองที่เหมาะสมในเรื่องความเป็นส่วนตัว อย่างไรก็ตาม การต่อเติมรั้วบ้านให้สูงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องความเป็นส่วนตัวด้านสายตาเท่านั้น ส่วนเรื่องการป้องกันเสียงรบกวนยังช่วยได้ไม่มาก ภาพเปรียบเทียบรั้วบ้านทึบ (ซ้าย) กับรั้วบ้านโปร่ง (ขวา) ซึ่งลมสามารถลอดผ่านซี่รั้วเข้ามาได้ ออกแบบส่วนต่อเติมรั้วบ้านให้สวยงาม รั้วบ้านเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลกับรูปลักษณ์ของบ้าน  การปรับปรุงรั้วบ้านควรเลือกใช้วัสดุ สีสัน และรูปแบบที่ไม่ขัดแย้งกับบ้าน โดยอาจลดทอนความแข็งกระด้างของวัสดุรั้วบ้านทรงสี่เหลี่ยมทื่อๆ ได้ด้วย พืชพรรณต้นไม้ สวนแขวน หรือสวนแนวตั้ง ซึ่งนอกจากจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อความสุขสบายตาแล้ว ยังช่วยลดแสงสะท้อนสำหรับรั้วบ้านสีอ่อน และลดทอนเสียงรวมถึงมลพิษจากภายนอกได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างการตกแต่งรั้วบ้านด้วยวัสดุเบาต่างๆ สภาพรั้วบ้านเดิม นับเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่เจ้าของบ้านควรพิจารณา เนื่องจากโครงสร้างของรั้วบ้านทั่วไปมักจะรับน้ำหนักด้วยเสาเข็มแบบสั้น หากเป็นไปได้ควรนำแบบรั้วบ้านมาขอรับคำปรึกษาจากวิศวกรโครงสร้างจะดีที่สุด เพื่อช่วยประเมินว่าโครงสร้างรั้วบ้านยังอยู่ในสภาพดีหรือไม่ โดยรั้วบ้านจะที่ต่อเติมไม่ควรเกิดการทรุดตัวมาก คานทับหลังไม่แอ่นตกท้องช้าง ไม่มีการปริแตกของเสารั้วบ้าน วัสดุผนังที่ก่อไว้ไม่แตกทะลุหรือมีรอยแยกใหญ่ผิดปกติ รั้วบ้านที่มีลักษณะดังกล่าวนี้หากฝืนต่อเติมไปอาจยิ่งก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น น้ำหนักของวัสดุที่ใช้ต่อเติมรั้วบ้าน หลีกเลี่ยงวัสดุประเภทผนังก่อ เพราะการต่อเติมจะสร้างน้ำหนักให้กับโครงสร้างรั้วบ้านเดิมเพิ่มขึ้น ควรเลือกใช้วัสดุเบา ยกตัวอย่างเช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งมีทั้งแบบแผ่นบอร์ด และแผ่นยาวที่ออกแบบหน้ากว้างมาสำหรับทำรั้วบ้านโดยเฉพาะ บางรุ่นมีสีและพื้นผิวเลียนแบบไม้ให้เลือกใช้ด้วย โดยติดตั้งกับโครงสร้างเบา เช่น โครงเหล็ก โครงไม้ ฯลฯ ตามระยะโครงคร่าวที่ผู้ผลิตกำหนด (ส่วนใหญ่มักมีระยะประมาณ 30-60 ซม.ขึ้นอยู่กับขนาดและความหนาของวัสดุ) โครงเหล็กสำหรับรั้วส่วนต่อเติม วิธีการติดตั้งเข้ากับรั้วบ้านเดิม รั้วบ้านส่วนต่อเติมควรติดตั้งโดยยึดเข้ากับโครงสร้างรั้วบ้านเดิมที่เป็นส่วนของคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ได้แก่ คานคอดิน เสารั้วบ้าน หรือคานทับหลังรั้วบ้าน เพราะเป็นจุดที่เจาะยึด หรือฝังเหล็กเสียบเหล็กได้ดี โดยถ่ายน้ำหนักสู่ระบบฐานรากหรือโครงสร้างใต้ดินโดยตรง ส่วนวิธีการยึดนั้น จะยึดโครงรั้วบ้านใหม่เข้ากับด้านบนของคานทับหลังรั้วบ้านเดิม (ภาพซ้าย) หรือเลือกยึดด้านข้างโดยใช้สกรูยึดเพลทเหล็กเข้ากับโครงสร้าง แล้วเชื่อมโครงสร้างรั้วบ้านใหม่เข้ากับเพลทเหล็ก (ภาพขวา) อีกวิธีหนึ่งคือฝังเหล็กหนวดกุ้งเข้ากับเนื้อคอนกรีตด้วยกาวซีเมนต์หรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้เสียบเหล็ก จากนั้นนำมาเชื่อมกับโครงสร้างรั้วบ้านต่อเติม วิธีหลังนี้ต้องอาศัยความแม่นยำในการต่อเชื่อมสูง จึงมักไม่เป็นที่นิยมนัก การติดตั้งรั้วส่วนต่อเติมด้วยโครงเหล็กและไม้เทียม จะเห็นได้ว่าการต่อเติมรั้วบ้านให้สูงขึ้นนั้น นอกจากความสวยงาม ความโปร่ง และความเป็นส่วนตัวแล้ว ยังมีเรื่องของความแข็งแรงซึ่งเป็นข้อสำคัญที่ควรคำนึง ทั้งสภาพโครงสร้าง การยึดติดตั้ง รวมถึงแรงลมปะทะที่เพิ่มขึ้น ทางที่ดีควรให้วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญช่วยพิจารณา โดยเฉพาะการประเมินสภาพโครงสร้างรั้วบ้านเดิม ขนาดเหล็ก ระยะยึดทาบของโครงสร้าง เพื่อให้การปรับปรุงต่อเติมรั้วบ้านมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านได้อย่างแท้จริง หรือหากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาสถาปนิกจาก SCG ได้ก่อนการแก้ไขปรับปรุงดังกล่าว ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com
อยากกู้ปลูกบ้านในฝันบนที่ดินเปล่า ต้องทำอย่างไร

อยากกู้ปลูกบ้านในฝันบนที่ดินเปล่า ต้องทำอย่างไร

หลายคนมีที่ดินเปล่าเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้มาจากการรับมรดกหรือซื้อที่ดินเอาไว้ก่อน และเมื่ออยากปลูกสร้างบ้านบนที่ดินผืนนั้น ด้วยการกู้เงินกับธนาคาร อาจเกิดข้อสงสัยไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร หรือไม่แน่ใจว่าสามารถขอกู้กับธนาคารได้หรือไม่ ต้องบอกว่าการกู้เงินเพื่อนำไปปลูกสร้างบ้านบนที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเองสามารถทำได้ครับ แต่จะมีความแตกต่างกับการกู้ซื้อบ้านแบบปกติบางเรื่อง จะมีอะไรบ้างนั้นเรามีคำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนปลูกสร้างบ้านมาฝากครับ เอกสารการปลูกสร้างบ้านที่ต้องใช้ สำหรับการยื่นกู้ปลูกสร้างบ้านกับธนาคาร นอกจากจะต้องเตรียมเอกสารแสดงตนและเอกสารทางการเงินแล้ว เรายังต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกสร้างอีกด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็น แบบแปลนบ้าน สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง และใบอนุญาตก่อสร้าง ซึ่งแน่นอนครับว่า ก่อนที่จะลงมือปลูกสร้างบ้านได้นั้น เราต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน เช่น หากบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ก็สามารถยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างได้ที่ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตในพื้นที่บ้านของเรา หรือหากบ้านอยู่ในเขตภูมิภาค สามารถยื่นขอได้ที่กองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบล โดยการขอใบอนุญาตก่อสร้างจะต้องมีแบบแปลนบ้านให้ตรวจสอบ ซึ่งแบบแปลนเราสามารถใช้แบบมาตรฐานของหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่มีอยู่ หรือหากใครมีแบบบ้านในใจก็สามารถจ้างสถาปนิกเขียนแบบแปลนให้ ทั้งนี้สถาปนิกหรือบริษัทรับสร้างบ้านมักจะอำนวยความสะดวกในเรื่องการขอใบอนุญาตก่อสร้างให้เราด้วยครับ ส่วนการก่อสร้างบ้านเมื่อเราติดต่อกับผู้รับเหมาได้แล้ว สิ่งสำคัญคือต้องทำสัญญารับเหมาก่อสร้างที่ระบุเงื่อนไขการเบิกเงินของผู้รับเหมาตามความคืบหน้าของการก่อสร้างด้วยครับ วงเงินกู้ที่ธนาคารจะอนุมัติ หลายคนอาจสงสัยว่า ธนาคารจะอนุมัติวงเงินกู้ให้ได้เท่าไร ในเมื่อบ้านยังสร้างไม่เสร็จ ธนาคารรู้มูลค่าบ้านได้อย่างไร ต้องบอกว่า การให้วงเงินกู้สำหรับปลูกสร้างบ้าน ธนาคารจะประเมินมูลค่าบ้านจากแบบแปลนบ้าน หรือที่เรียกว่าแบบพิมพ์เขียว ซึ่งในแบบแปลนบ้านนอกจากจะระบุรูปแบบบ้านแล้ว ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านอีกด้วย นอกจากนี้ธนาคารต้องทำการประเมินมูลค่าที่ดินไปพร้อมๆ กัน ซึ่งปกติแล้วธนาคารมักให้วงเงินกู้ปลูกสร้างบ้านไม่เกิน 100% ของค่าปลูกสร้าง โดยวงเงินต้องไม่เกิน 80% ของราคาประเมินที่ดินพร้อมบ้านครับ และเมื่อเราได้รับอนุมัติวงเงินกู้ปลูกสร้างบ้านแล้วต้องไม่ลืมว่า หลักประกันที่จำนองกับธนาคารไม่ใช่แค่ตัวบ้านเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการจำนองที่ดินพร้อมบ้านที่เรากำลังจะก่อสร้างนั่นเองครับ วิธีรับเงินกู้ปลูกสร้างบ้าน หลังจากที่เราได้รับอนุมัติวงเงินกู้ปลูกสร้างบ้านแล้ว การรับเงินจะไม่ได้เป็นก้อนทีเดียวเหมือนกับการกู้ซื้อบ้านครับ แต่ธนาคารจะทยอยให้ตามสัญญาเงินกู้ ซึ่งรับเป็นงวดๆ ตามความคืบหน้าของการปลูกสร้างที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ เช่น งวดที่ 1 เบิก 500,000 บาท เมื่อวางผังและปรับพื้นตอกเสาเข็มเรียบร้อย จากนั้นสามารถเบิกงวดที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท เมื่อตั้งเสาและเทพื้น เสร็จเรียบร้อย โดยในการเบิกเงินแต่ละงวด ธนาคารจะทำการประเมินความคืบหน้าของการก่อสร้างจริงว่า เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้หรือไม่ครับ นอกจากเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกสร้างบ้านที่ต้องเตรียมยื่นกู้กับธนาคารแล้ว อย่าลืมคำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ของเราด้วยนะครับ หากเลือกแบบบ้านที่มีค่าใช้จ่ายการก่อสร้างสูงเกินความสามารถในการชำระหนี้อาจทำให้กู้ไม่ผ่านได้ครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก K-Expert
ติดฉนวนใยแก้วกันความร้อนแล้วทำไมบ้านยังร้อน ?

ติดฉนวนใยแก้วกันความร้อนแล้วทำไมบ้านยังร้อน ?

สำหรับเจ้าของบ้านที่ซื้อฉนวนใยแก้วกันความร้อนมาติดตั้งบริเวณหลังคาหรือฝ้าเพดาน แล้วพบว่าบ้านไม่ได้เย็นขึ้นอย่างที่คิด ให้ลองหันมาดูปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความร้อนในบ้าน รวมถึงช่องทางระบายความร้อนออกไปนอกบ้าน ทั้งนี้ อาจลองพิจารณาวิธีอื่นๆ ที่ช่วยลดความร้อนในบ้านด้วยนะครับ ปัญหาบ้านร้อน นับเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ที่อาศัยเขตเส้นศูนย์สูตรอย่างประเทศไทย วิธีแก้ปัญหาที่มักนึกถึงกันคือ การติดตั้ง “ฉนวนใยแก้วกันความร้อน” และเนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นภายในบ้าน ประมาณ 70 % มักมาจากทางหลังคาบ้าน  เจ้าของบ้านจึงมักได้รับคำแนะนำให้ติดฉนวนกันความร้อนที่หลังคาหรือฝ้าเพดานชั้นบนสุด  แต่ทั้งนี้อาจมีบางกรณีที่ซื้อฉนวนมาติดตั้งตามคำแนะนำแล้ว แต่ความร้อนในบ้านก็ไม่ได้ลดลง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ก่อนอื่น เจ้าของบ้านควรทำความเข้าใจถึงแหล่งกำเนิดของความร้อนภายในบ้านว่ามาจากส่วนใดได้บ้าง ความร้อนในบ้านมาจากไหน โดยทั่วไป ความร้อนภายในบ้านส่วนใหญ่มักมาจากแสงแดดที่ส่งผ่านความร้อนเข้ามาในบ้าน ผ่านทางหลังคาและ ฝ้าเพดานชั้นบน อีกทางที่เข้ามาได้ง่ายคือ ผนังกระจกและประตูหน้าต่างกระจก ทั้งนี้ แสงแดดยังส่งผ่านความร้อนบางส่วนผ่านผนังทึบได้ด้วย โดยจะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับค่ากันความร้อน หรือที่เรียกว่า “ค่า R” ของระบบผนังซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของวัสดุและการติดตั้ง   นอกจากนี้ การทำกิจกรรมประจำวันภายในบ้านก็ทำให้เกิดความร้อนได้  เช่น ความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ความร้อนจากร่างกายคน เป็นต้น แหล่งที่มาของความร้อนภายในบ้าน ตัวอย่าง ค่า R ของระบบผนังต่างๆ ตัวอย่าง ค่า R ของระบบหลังคาและฝ้าเพดาน ทำความรู้จักฉนวนใยแก้วกันความร้อน ฉนวนใยแก้วกันความร้อน ผลิตจากซิลิกาซึ่งเป็นวัตถุดิบจากแก้ว นำไปหลอมละลายแล้วปั่นเป็นเส้นใย มีคุณสมบัติทนและกันความร้อนได้ดีมาก สามารถติดไฟได้แต่ไม่ลามไฟ (ตรงข้ามกับวัสดุกันความร้อนหลายชนิดที่ลามไฟได้รวดเร็ว) วัสดุเส้นใยแก้วเมื่อแตกตัวจะมีอนุภาคใหญ่เกินกว่าจะเข้าสู่ทางเดินหายในของมนุษย์ได้ จึงไม่นับเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งตรงกันข้ามกับใยหิน ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วกันความร้อนที่ขายในท้องตลาด อาจมีลักษณะเป็นแผ่น หรือเป็นม้วน โดยจะมีทั้งรุ่นที่ผลิตมาสำหรับติดตั้งบนแปหลังคา ติดตั้งบนฝ้าเพดาน และติดตั้งที่ผนัง การใช้งานฉนวนใยแก้ว มีข้อควรระวังคือ ตัวฉนวนใยแก้วอาจทำให้ผิวหนังมีอาการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการแพ้วัสดุชนิดนี้ ดังนั้น ในการติดตั้งจึงควรสวมถุงมือและเสื้อผ้ามิดชิด เพื่อเลี่ยงการสัมผัสฉนวนใยแก้วโดยตรง การติดตั้งฉนวนใยแก้วกันความร้อนบนหลังคาและฝ้าเพดาน หน้าที่ของฉนวนกันความร้อนใยแก้วคือ ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้ผ่านเข้ามาในบ้าน โดยคุณสมบัติของตัวฉนวนจะมีค่ากันความร้อนหรือ “ค่า R” สูง (ค่า R จะมากขึ้นตามความหนาฉนวนด้วย) การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะเป็นการเพิ่มค่า R ให้กับบริเวณที่ติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็น ผืนหลังคา ฝ้าเพดาน หรือผนัง การติดตั้งฉนวนใยแก้วกันความร้อนเพื่อเพิ่มค่า R ให้ระบบผนัง ทำให้สามารถป้องกันความร้อนได้มากขึ้น ติดฉนวนแล้วทำไมยังร้อน ? การที่บ้านจะร้อนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สำหรับบ้านที่ติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่หลังคาหรือฝ้าเพดานก็จะช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดที่สองหลังคาไม่ให้เข้ามาในบ้านได้ แต่อย่าลืมว่า ความร้อนที่เกิดขึ้นในบ้านอาจมาจากส่วนอื่นได้ด้วย อย่างความร้อนจากแสงแดดที่ส่งผ่าน ผนัง ประตูหน้าต่าง หรือความร้อนจากการทำกิจกรรมในบ้าน ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทั้งนี้ ฉนวนกันความร้อนที่ติดตั้งนั้น นอกจากจะป้องกันไม่ให้ความร้อนจากนอกบ้านเข้าสู่ภายในบ้านแล้ว ความร้อนที่อยู่ภายในบ้านก็จะถูกฉนวนป้องกันไม่ให้ออกนอกบ้านด้วยเช่นกัน หรือพูดได้อีกอย่างว่า “ความร้อนไม่ได้ถูกระบายออกจากตัวบ้าน” จึงทำให้บ้านร้อนแทนที่จะเย็นนั่นเอง ติดฉนวนอย่างไรให้บ้านเย็น ? แม้การติดฉนวนกันความร้อนที่หลังคาจะช่วยป้องกันความร้อนจากบริเวณหลังคาได้ แต่ในขณะเดียวกัน ความร้อนจากส่วนอื่นๆ ก็ควรป้องกันด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากผนัง  โดยเฉพาะด้านที่โดนแดดแรงควรทำเป็นผนังทึบด้วยวัสดุที่มีค่า R สูง ไม่อมความร้อน และอาจติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมด้วย สำหรับผนังส่วนที่จำเป็นต้องใช้กระจกใส อาจลดความร้อนโดยติดตั้งแผงบังแดดเพิ่ม ติดฟิล์มช่วยกันความร้อนบนกระจก นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ช่วยลดความร้อนได้ อย่างการปลูกต้นไม้ให้ร่มเงาบังแดด การเลือกใช้วัสดุที่มีค่า R สูง และไม่อมความร้อน เป็นต้น อีกเรื่องสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ การจะทำบ้านในเมืองร้อนให้เย็นได้นั้น “ควรมีการระบายอากาศที่ดี” เพื่อให้ความร้อนภายในบ้านสามารถระบายออกไปนอกบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นประตูหน้าต่างที่เพียงพอในตำแหน่งเหมาะสม การทำช่องทางระบายอากาศบริเวณหลังคา (ติดตั้งฝ้าชายคาแบบมีรูระบายอากาศหรือทำเป็นระแนงเพื่อระบายอากาศ) เป็นต้น  ทั้งนี้ หากบ้านติดตั้งอยู่ในบริเวณที่มีมลภาวะมาก อาจใช้อีกทางเลือกซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย คือ การปิดบ้านให้มิดชิด โดยติดตั้งอุปกรณ์ที่ดึงเอาอากาศจากภายนอกมาใช้ในบ้านผ่านระบบกรอง จากนั้น อากาศที่ใช้แล้วพร้อมความร้อนจะถูกปล่อยทิ้งออกไปนอกบ้าน ฉนวนทำหน้าที่ป้องกันความร้อนจากภายนอกไม่ให้เข้ามาในบ้าน ขณะเดียวกัน ความร้อนภายในบ้านก็ไม่สามารถออกไปได้ด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่า การแก้ปัญหาบ้านร้อนอาจไม่ใช่แค่การติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีส่วนในการป้องกันความร้อนในบ้านให้ครอบคลุม รวมถึงระบบระบายอากาศที่ดีเพื่อให้ความร้อนระบายออกไปจากบ้านได้ ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้อุณหภูมิในบ้านลดลง ทำให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสบายมากขึ้น รวมถึงช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศได้ด้วย ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com
12 เคล็ดลับดูแลสวนในบ้านให้สวยชุ่มชื่นอยู่เสมอ

12 เคล็ดลับดูแลสวนในบ้านให้สวยชุ่มชื่นอยู่เสมอ

คนที่มีพื้นที่ในบ้านเพียงพอที่จะทำสวนสวย ๆ ไว้ชื่นชม อาจจะเป็นที่น่าอิจฉาของบ้านที่มีพื้นที่น้อย แต่การดูแลสวนให้สวยและสะอาดตาก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะมีปัจจัยแวดล้อมอย่างสภาพอากาศ สัตว์ รวมทั้งเหล่าวัชพืชมาคอยป่วนสวนอยู่ตลอด ทำให้หลายคนเริ่มเหนื่อยและท้อกับการดูแลสวนไม่น้อย จนคิดอยากจะจ้างบริษัทรับดูแลสวนให้รู้แล้วรู้รอดกันไป แต่อย่าเพิ่งใจร้อนขนาดนั้นเลยครับ เพราะจริง ๆ แล้วเราก็สามารถดูแลสวนด้วยตัวเองได้ ตามเคล็ดลับดูแลสวนเหล่านี้ รับรองว่าไม่ยากเกินความสามารถด้วยนะครับ 1. เตรียมพร้อมอุปกรณ์ทำสวน อุปกรณ์ทำสวนมีหลายชนิด ซึ่งแบ่งหน้าที่ตามการใช้งาน ฉะนั้นสำหรับคนมีสวนอยู่ในบ้าน ก็ควรต้องเตรียมอุปกรณ์ทำสวนอย่าง คราด พลั่ว หัวฉีดน้ำสำหรับรดน้ำต้นไม้ ฝักบัว และกรรไกรตัดกิ่งไว้ให้พร้อม หากต้องการจะทำสวนขึ้นมาวันใด จะได้เลือกใช้อุปกรณ์ได้ถูกหลักการใช้งาน 2. รดน้ำต้นไม้ให้ถูกเวลา เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการรดน้ำต้นไม้ควรจะเป็นช่วงเช้าตรู่ เนื่องจากในตอนกลางวันแสงแดดจะค่อนข้างแรง และอาจจะทำให้ต้นไม้คายน้ำมากขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงต้องรดน้ำป้องกันต้นไม้ขาดน้ำไว้ก่อน ต้นไม้จะได้มีน้ำเพียงพอสำหรับกระบวนการเจริญเติบโต 3. ใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตร ก่อนจะเลือกต้นไม้มาปลูกในสวน เราควรต้องศึกษาข้อมูลของต้นไม้แต่ละชนิดก่อนว่า ต้องการน้ำ แสงแดด หรือปุ๋ยในปริมาณเท่าไร เพื่อให้เราดูแลเขาให้เติบโตมาอย่างสมบูรณ์ที่สุด โดยเฉพาะกับเรื่องปุ๋ย ที่น่าจะต้องรู้สูตรปุ๋ยที่เหมาะสมกับต้นไม้แต่ละชนิดให้ดี จะได้ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นไม้ได้ถูกต้อง 4. คลุมหน้าดิน การคลุมหน้าดินสามารถป้องกันได้ทั้งวัชพืช ลดการกัดเซาะของหน้าดิน รวมทั้งช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้ดินได้อีกด้วย ข้อดีเป็นขบวนแบบนี้ เราก็คงต้องหาพืชมาคลุมหน้าดินบริเวณโคนต้นไม้กันแล้วล่ะเนอะ 5. ปลูกพืชล้มลุก พืชล้มลุกมีระยะเวลาการเจริญเติบโตเป็นของตัวเอง ซึ่งแต่ละชนิดก็จะแตกต่างเวลากันไป แต่ความแตกต่างตรงนี้ล่ะที่เป็นประโยชน์ดี ๆ กับสวนของเรา เพราะหากเราปลูกพืชล้มลุกถูกเวลา สวนก็จะดูเขียวชอุ่ม ชุ่มชื่นอยู่ตลอด แถมพอพืชล้มลุกหมดอายุแล้วจริง ๆ ซากพืชเหล่านี้ยังสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยได้ด้วยนะ 6. ปราบวัชพืช อย่างที่รู้กันดีว่า ศัตรูตัวฉกาจของสวนและสนามหญ้าก็คือวัชพืชตัวดีนั่นเอง และหากว่าในสวนของคุณมีวัชพืชอยู่ล่ะก็ ต้องรีบจัดการโดยด่วนเลยนะจ๊ะ จะถางออก หรือทำลายด้วยสูตรธรรมชาติก็ได้ ขอแค่ไม่ต้องให้วัชพืชมาอยู่กวนใจต้นไม้ต้นโปรดก็พอ 7. ปลูกไม้พุ่ม ไม้พุ่มมีส่วนช่วยให้สวนดูเขียวชอุ่มมีชีวิตชีวาไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นหากคุณต้องการให้มีบรรยากาศของความสดชื่นจากธรรมชาติ ก็ควรปลูกไม้พุ่มไว้รอบ ๆ สวน แบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหน สวนของคุณก็จะดูสวยงามอยู่เสมอเลยจ้า 8. เริ่มปลูกพืชต้นใหม่ หลังจากที่ไม้ล้มลุกหมดอายุและล้มลงไปแล้ว ให้เริ่มลงต้นไม้ชนิดใหม่ได้เลย เพราะช่วงเวลานั้นคือโอกาสที่วัชพืชจะเจริญเติบโต ดังนั้นเราก็ควรชิงปลูกไม้ล้มลุกชนิดใหม่ลงไปก่อน จะได้เป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืชมาป่วนสวนเราได้ครับ 9. อย่ารดน้ำเกินขนาด ต้นไม้ต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโต แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากต้นไม้ได้รับน้ำเกินขนาดก็มีสิทธิ์รากเน่า ใบเหลือง เสียสุขภาพได้เช่นกันจ้า 10. หมั่นเติมปุ๋ยคอก ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ และซากพืช ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นของจากธรรมชาติทั้งสิ้น และด้วยเหตุนี้จึงสามารถช่วยบำรุงแร่ธาตุในดินได้ แถมยังคอยเติมสารอาหารที่ดินขาดไปได้ด้วย ฉะนั้นเราก็ควรหมั่นใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน และต้นพืชเสมออย่าให้ขาด 11. ตัดเล็มต้นไม้เท่าที่จำเป็น ต้นไม้บางชนิด เช่น ไม้พุ่ม ไม่จำเป็นต้องตัดเล็มบ่อยนักก็ได้ เพราะจะได้รักษาน้ำให้ต้นไม้ได้เยอะ ๆ แต่หากต้นไม้เสียรูปทรง ก็ทำแค่เพียงตัดแต่งกิ่งเท่าที่จำเป็นก็พอ เพราะการเล็มต้นไม้บ่อยเกินไป ก็อาจจะทำให้เสียเวลาและเปลืองแรงโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังเป็นการทำลายต้นไม้ทางอ้อมด้วย 12. วิเคราะห์สภาพดิน เพราะดินเป็นพื้นฐานสำคัญในการปลูกต้นไม้ ดังนั้นเราก็ควรรู้จักสภาพดินในสวนของเราให้ได้ดีที่สุด เพราะหากดินมีปัญหา หรือขาดแคลนสารอาหารตัวไหน เราจะได้แก้ปัญหาดินได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าคุณจะมีทักษะในการปลูกต้นไม้หรือทำสวนหรือเปล่าก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ขอแค่เพียงมีใจรักในการปลูกต้นไม้ และมีความต้องการอยากให้บ้านมีสวนสวย ๆ ก็แค่พกเคล็ดลับดูแลสวนเหล่านี้เอาไว้ แล้วนำไปใช้ดูแลสวนของเราก็พอนะครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก home.kapook.com  
ไม่อยากโสดตลอดชีวิต เช็กฮวงจุ้ยสักนิดก่อนจัดบ้าน!

ไม่อยากโสดตลอดชีวิต เช็กฮวงจุ้ยสักนิดก่อนจัดบ้าน!

คนโสดที่กำลังห่อเหี่ยวเดียวดายเพราะไร้คู่ อย่าเพิ่งท้อใจไปว่าจะต้องอยู่คนเดียวไปตลอดชีวิต เพราะอาจมีคนดี ๆ เดินเข้ามาหากลองจัดบ้านใหม่ตามฮวงจุ้ย ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้  จะทนเหงาหงอยมองเห็นใครเขามีคู่อยู่ทำไม ใช่ว่าคนโสดคนสุดท้ายของโลกใบนี้จะเป็นเราซะเมื่อไร เพราะวันนี้คนโสดจะไม่ต้องทนเหงาอีกต่อไป ถ้าได้ลองจัดบ้านตามหลักฮวงจุ้ยเรียกความรักที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ ความรักดี ๆ ก็จะร้องเรียกหาคุณเอง งานนี้ขอบอกเลยว่าต่อให้คุณจะโสดเหงาเศร้าใจมานานนับแรมปี แต่ฮวงจุ้ยดี ๆ เหล่านี้จะทำให้คุณต้องเตรียมผ้าไว้ซับหัวกระไดบ้านทุกวี่ทุกวันแน่นอนครับ 1. เก็บความทรงจำเก่า ๆ เข้ากรุไปซะ แม้เรื่องราวและความทรงจำเก่า ๆ จะยังคงตราตรึงใจคุณมากแค่ไหน ถ้าหากอยากมีรักใหม่ก็จำเป็นที่จะต้องเก็บมันไว้ก่อน บรรดารูปภาพความทรงจำจากคนรักเก่า จดหมายรัก หรือของขวัญที่ยังอยู่เป็นหนามแทงใจคุณอยู่ควรเก็บลงกล่องให้หมด 2. จัดห้องนอนให้เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยเป็นคู่ สาวโสดอย่างเราก็ควรจะจัดห้องนอนให้เหมือนกับคนมีแฟนได้นะ เพราะหากว่ากันตามหลักฮวงจุ้ยที่ดีแล้ว สาวโสดควรจัดห้องนอนให้มีมุมโรแมนติกอย่างโซนนั่งเล่นที่ตกแต่งด้วยเทียนไขคู่ สร้างบรรยากาศโรแมนติกเพื่อรักษาพลังชี่ (Chi) ทางด้านความรักให้ไหลเวียนอยู่สม่ำเสมอ 3. ตั้งเตียงให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ว่าจะจัดห้องนอนตามหลักฮวงจุ้ยเพื่อดึงดูดความรักหรือจะจัดเพื่อรับโชคลาภก็ตาม อย่างไรเสียเตียงนอนก็ไม่ควรตั้งให้ตรงกับประตูห้องเพราะองศานี้เปรียบเสมือนทิศแห่งความตาย ที่สำคัญไม่ควรใช้กระจกบานใหญ่แต่งห้องนอนเพราะจะสะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องและทำให้สาว ๆ หมดความมั่นใจในตัวเอง 4. เปิดรับพลังแห่งรักให้ถูกทิศ ห้องนอนนั้นมีมุมพลังแห่งรักซ่อนตัวอยู่แล้วนั่นก็คือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ควรหาโมบายคริสตัลมาตกแต่งบริเวณนั้นด้วยริบบิ้นสีแดงหรือประดับห้องด้วยดอกโบตั๋นสีแดงที่มีความหมายเป็นสิริมงคลก็ได้ครับ นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีทาสีผนังที่ต้องการด้วยโทนสีชมพูหรือแดงแทนก็ได้ครับ ที่สำคัญอย่าลืมเก็บดอกไม้แห้งและของเก่าดูรกหูรกตาทิ้งไปซะให้หมด 5. ใช้องค์ประกอบของธรรมชาติมาตกแต่ง ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม้ โลหะ และโลกถือว่าเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว ดังนั้นตามหลักฮวงจุ้ยจึงแนะนำให้คนที่อยากมีคู่นั้นตกแต่งบ้านด้วยองค์ประกอบของธรรมชาติ อย่างเช่น เน้นใช้โทนสีขาว-เทา พรมถักจากเส้นใยธรรมชาติ โคมไฟประดับคริสตัล หรือนำรูปปั้นดินมาวาง เพื่อให้รักษาพลังและเติมเต็มความรักให้ห้องนอนของคุณ 6. เปลี่ยนผ้าปูที่นอนให้เป็นผ้าลินิน ฮวงจุ้ยดี ๆ ไม่ได้มีแค่การจัดตำแหน่งให้ถูกทิศเท่านั้น แต่เราต้องเลือกใช้วัสดุและสีสันให้ถูกต้องด้วยเช่นกัน แนะนำสาวโสดทั้งหลายเปลี่ยนผ้าปูที่นอนแบบธรรมดา ๆ มาเป็นผ้าลินินที่มีสีสันสุดโรแมนติกอย่าง แดง ขาว หรือเขียวสว่างกันเถอะครับ แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าไม่ควรใช้ผ้าปูที่นอนผ้าลินินสีแดงบ่อยเกินไป เพราะความร้อนแรงของโทนสีนี้จะค่อย ๆ ลบล้างความโรแมนติกให้จางหายไปนั่นเอง 7. ไม่ควรวางโต๊ะทำงานในห้องนอน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าห้องนอนเป็นห้องที่ต้องการความเงียบสงบและผ่อนคลายเท่านั้น หากมีโต๊ะทำงานตั้งอยู่ในห้องนอนความเครียดจากการงานก็จะดึงพลังลบเข้ามาและทำให้รู้สึกเครียดทั้งตอนหลับและตอนตื่น ซึ่งแบบนี้ก็เท่ากับว่าเป็นการทำลายบรรยากาศโรแมนติกของสาวโสดให้พบรักยากขึ้นไปอีก 8. จัดระเบียบบ้านให้ลงตัว การจัดระเบียบบ้านให้ใช้ชีวิตได้อย่างลงตัวนั้น ถือว่าเป็นการเสริมสร้างเสน่ห์ให้สาวโสดดูฮอตขึ้นมาเลยล่ะ เพียงแค่จัดระเบียบข้าวของเครื่องใช้ ภายในครัว บนโต๊ะทำงาน หรือแม้กระทั่งโรงรถให้หยิบจับถนัดมือ เท่านี้การใช้ชีวิตของเราก็จะง่ายและคล่องตัวขึ้น รับรองเลยว่าใครเห็นก็ต้องหลงรักไปทุกราย 9. จัดห้องน้ำได้ถูกหลัก ความรักก็จะเข้ามาหาเอง สำหรับการจัดห้องน้ำของคนโสดให้ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย แค่ทาสีผนังด้วยสีทาบ้านโทนอบอุ่นเพื่อเสริมสร้างพลังชี่ (Chi) ให้ไหลเวียนอยู่ตลอด ตกแต่งด้วยภาพผลงานศิลปะที่เกี่ยวกับความรัก เปลี่ยนผ้าเช็ดตัวให้มีสีหรือลายเป็นเซตเดียวกัน และที่สำคัญควรหมั่นดูแลห้องน้ำให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอด้วยนะครับ 10. จัดสวนต้อนรับความรักสำหรับบ้านสาวโสด ฮวงจุ้ยไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในบ้านเพียงอย่างเดียวเพราะจริง ๆ แล้วการเลือกต้นไม้มาปลูกในสวนก็สำคัญไม่แพ้กัน แนะนำให้สาวโสดปลูกพืชที่เป็นผลไม้สัก 2-3 ชนิดหรือปลูกไม้ดอกงาม ๆ อย่าง ดอกโบตั๋นแดง เพื่อเปล่งประกายเสน่ห์และความอ่อนโยนในตัวคุณ ถึงฮวงจุ้ยจะเป็นหลักตามความเชื่อ แต่ก็มีจุดประสงค์และเทคนิคที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน หากสาวโสดคนไหนที่ยังคงนั่งเหงาใจอยากมีคู่กับใครเขาบ้าง ก็จงอย่าปล่อยให้เวลาผ่านเลยไป หันมาเอาใจใส่จัดบ้านตามหลักฮวงจุ้ยเรียกความรักที่เรานำมาให้ชมกันในวันนี้ดีกว่าครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : home.kapook.com
“มือใหม่” ซื้อบ้าน มักผิดพลาดในเรื่องใด

“มือใหม่” ซื้อบ้าน มักผิดพลาดในเรื่องใด

จะซื้อบ้านทั้งทีก็ต้องดูให้ดี ตัดสินใจให้แน่ เพราะมีหลายต่อหลายครั้งที่เรามักตัดสินใจซื้อบ้านแบบไม่ทันได้คิดให้รอบคอบ วันนี้เราจึงมีข้อผิดพลาดสำหรับมือใหม่ที่จะซื้อบ้านมาฝากไว้เป็นข้อเตือนใจกันครับ 1. ซื้อเกินงบ ส่วนใหญ่จะมองว่าเพิ่มเงินอีกนิดหน่อยก็จะได้หลัง/ห้องชุดที่ต้องการ  แต่ทางที่ถูกคือ มีงบเท่าไหร่ ควรซื้อเท่านั้น 2. ตัดสินใจเร็วไป  เช่น เปลี่ยนที่ทำงานใหม่ก็ตัดสินใจซื้อบ้านใหม่ทันที ทั้งๆที่อาจอยู่ได้ไม่นานก็ต้องย้ายงานอีก หรือบางทีแค่ทำงานไม่ครบปีก็จะซื้อบ้านซื้อคอนโดฯแล้ว ทางที่ดี ถ้าต้องอยู่อาศัยเป็นพักๆ ไม่แน่นอนก็อาจใช้วิธีลองเช่าดูก่อนแล้วค่อยซื้อ  หรือถ้าการงานยังไม่มั่นคง ทำงานเก็บเงินไปก่อนรอให้พร้อมแล้วค่อยซื้อ 3. จ่ายดาวน์น้อยเกินไป หลายคนชอบความสบาย ใช้เงินคนอื่นซื้อ(กู้ธนาคาร)มากกว่าเก็บเงินซื้อเอง จึงมักเลือกที่จะดาวน์น้อยและกู้มากๆ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กู้ไม่ผ่านหรือได้วงเงินกู้น้อยกว่าที่ต้องการ ทางที่ดีควรวางเงินดาวน์สัก 20% ของราคา 4. ไม่ได้สำรองค่าใช้จ่าย ซื้อบ้านไม่ได้จ่ายแค่เงินตามมูลค่าบ้าน แต่จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากมาย เช่น ค่าส่วนกลางล่วงหน้า,ค่าประกัน,ค่าโอน รวมถึงค่าตกแต่ง และของใช้ 5. มองข้ามรายละเอียดในสัญญา บ่อยครั้งที่เกิดปัญหาแล้วถึงค่อยกลับไปดู(อ่าน)สัญญา แต่ถึงตอนนั้นก็สายเกินไปเสียแล้ว  ฉะนั้น ก่อนเซ็นสัญญาทุกครั้งต้องอ่านอย่างละเอียด ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือถูกเอาเปรียบก็ต้องให้แก้ไขหรือเลี่ยงไปซื้อโครงการอื่น 6. ชอบอัพเกรดตัวเองด้วยสิ่งของใหม่ๆ คนจำนวนไม่น้อยนิยมอัพเกรดตัวเองด้วยการซื้อของใหม่ๆ หรือคิดว่าซื้อของใหม่ใช้ของใหม่แล้วชีวิตจะดูดีขึ้น เมื่อซื้อบ้านใหม่แล้ว ก็อยากได้รถคันใหม่ หรือเฟอร์นิเจอร์ใหม่ๆ ซึ่งจริงๆแล้วถ้าของเดิมดีอยู่แล้วก็ไม่จำเป็น เพราะรายได้ไม่มาก ไม่ควรแบกภาระหนี้มากเกินไป   ขอขอบคุณข้อมูลจาก home.co.th
5 จุดเหมาะติดกล้องวงจรปิด ก่อนทิ้งบ้านยาวช่วงวันหยุดยาว

5 จุดเหมาะติดกล้องวงจรปิด ก่อนทิ้งบ้านยาวช่วงวันหยุดยาว

5 จุดสำคัญที่แนะนำให้ติดกล้องวงจรปิด ไว้สอดส่องดูแลบ้านในยามที่ไม่มีคนดูแล โดยเฉพาะวันหยุดยาวในเทศกาลต่าง ๆ จะได้ไปเที่ยวแบบหมดห่วง  เดี๋ยวนี้ขโมยเยอะเสียจนน่ากลัว ทิ้งบ้านแป๊บเดียวเหล่าโจรก็สามารถบุกเอาทรัพย์สินมีค่าของเราไปได้ นับประสาอะไรกับวันหยุดยาวช่วงสงกรานต์ สัปดาห์ที่ทุกคนต่างพาครอบครัวกลับภูมิลำเนาหรือไปเที่ยวต่างจังหวัด หากอยากไปเที่ยวอย่างสบายใจหายห่วง แนะนำให้ติดกล้องวงจรปิดทั้ง 5 จุดนี้เอาไว้เลย เพราะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการงัดแงะมากที่สุด อีกทั้งยังเป็น 5 จุดสำคัญที่เหมาะกับการใช้สอดส่องดูแลบ้านในวันปกติหรือยามวิกาลอีกด้วย 1. ประตูหน้า          ตำแหน่งที่ขโมยใช้เข้ามาในบ้านมากที่สุด การติดกล้องวงจรปิดในตำแหน่งนี้ ให้ติดไว้บนประตูหน้าในตำแหน่งที่เอื้อมไม่ถึง แล้วติดตาข่ายลวดคลุมไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันก้อนหินที่ขโมยอาจขว้างใส่กล้อง 2. หน้าต่างบ้านชั้นแรก  จุดเสี่ยงอันตรายลำดับต่อมา เพราะเป็นจุดที่คนร้ายไม่ต้องปีน อีกทั้งยังง่ายต่อการงัดแงะและทุบ โดยเฉพาะหน้าต่างกระจกใส ส่วนการติดกล้องตำแหน่งนี้ควรหันกล้องมาจากประตูหน้าไปตามแนวหน้าต่างชั้นแรก หรือติดกล้องเพิ่มที่มุมบ้านอีกตัว แล้วหันหน้ากล้องเข้าหาประตูหน้าบ้าน 3. หน้าต่างในมุมอับ หน้าต่างหลังบ้านหรือหน้าต่างที่มีต้นไม้หรือกำแพงบัง ก็เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่ถูกหัวขโมยงัดแงะบ่อย เนื่องจากปลอดจากสายตาคนภายนอก การติดกล้องตำแหน่งนี้ควรติดไว้ตำแหน่งสูงที่สุดในระนาบเดียวกับมุมทแยงของหน้าต่าง 4. ประตูหลังบ้าน ประตูหลังบ้านเป็นจุดที่ปลอดสายตาจากคนภายนอกเช่นกัน อีกทั้งถ้าทำเสียงดังเสียงก็จะเล็ดลอดเข้าไปในบ้านได้น้อยมาก การติดกล้องในตำแหน่งนี้ให้ติดเหมือนกับประตูหน้าบ้าน คือติดให้สูงที่สุด เอื้อมไม่ถึง และติดตาข่ายลวดป้องกันไว้อีกชั้นด้วย 5. สวนหลังบ้าน สวนหลังบ้านเป็นตำแหน่งที่มักจะถูกละเลยเนื่องจากอยู่ด้านในสุด ในขณะที่บ้านบางหลังก็ปล่อยหลังบ้านโล่ง ไม่มีกำแพงล้อมรอบ อีกทั้งมีอุปกรณ์ทำสวนที่สามารถนำมางัดบ้านได้ การติดกล้องตำแหน่งนี้ให้หันกล้องไปยังกำแพงบ้าน หรือติดตั้งในองศาที่เห็นสวนในมุมที่กว้างและไกลที่สุด หากไม่อยากเที่ยวสงกรานต์ไป แล้วต้องรู้สึกพะว้าพะวงกลัวคนมางัดแงะบ้านของเรา ก็ลองหากล้องวงจรปิดดี ๆ สักเครื่องมาติดตั้งตามมุมสำคัญที่บอกไปนี้ เพื่อใช้สอดส่องดูแลบ้านขณะที่คุณไม่อยู่หรือในวันที่ต้องทิ้งบ้านยาว ๆ นะครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก home.co.th
ข้อควรรู้ เมื่ออยากขายดาวน์บ้าน

ข้อควรรู้ เมื่ออยากขายดาวน์บ้าน

การขายดาวน์บ้านหรือคอนโดมักเกิดขึ้นด้วยหลายๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเพราะ ผ่อนดาวน์ต่อไม่ไหว เปลี่ยนใจอยากได้บ้านหลังอื่น หรือยื่นกู้ซื้อบ้านกับธนาคารแล้วกู้ไม่ผ่าน แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม หลายคนที่ตัดสินใจขายดาวน์ก็มักมีข้อสงสัยต่างๆ เกิดขึ้น ซึ่งเราได้ไปหาคำตอบสำหรับข้อสงสัยต่างๆ เหล่านี้มาให้แล้วครับ กู้ไม่ผ่านเงินดาวน์จะได้คืนมาครบไหม ในกรณีที่ผ่อนดาวน์จนครบกำหนด พอทำเรื่องยื่นกู้ซื้อกับธนาคารไปแล้ว ปรากฏว่าผลการยื่นกู้ไม่ผ่าน กรณีนี้เราอาจจะได้เงินดาวน์คืนทั้งหมด หรือโดนหักเงินบางส่วน  ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของโครงการตั้งแต่ตอนแรกๆ ที่ทำสัญญากันครับ และเมื่อกู้ไม่ผ่านแต่อยากจะขายดาวน์ เราอาจจะได้เงินเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ครับ ซึ่งหากโครงการอยู่ในทำเลดี และเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้มีผู้สนใจซื้อเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้นอกจากจะได้เงินดาวน์ครบแล้วเรายังสามารถบวกกำไรเข้าไปกับราคาขายดาวน์ทำให้ได้เงินเพิ่มขึ้นครับ แต่หากโครงการอยู่ในทำเลที่ไม่ดี หรือโครงการไม่เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อก็อาจส่งผลให้เราต้องขายดาวน์ในราคาขาดทุนได้ครับ ทำเรื่องโอนสิทธิ์หรือเปลี่ยนสัญญากันที่ไหน เมื่อมีผู้สนใจต้องการซื้อดาวน์ต่อจากเรา ก็ควรพาผู้ซื้อไปดูสภาพและสถานที่จริงหากผู้ซื้อพึงพอใจและตัดสินใจที่จะซื้อดาวน์ สิ่งที่ผู้ขายต้องดำเนินการก็คือ การทำเรื่องโอนสิทธิหรือเปลี่ยนสัญญาครับ โดยผู้ขายจะต้องนัดผู้ซื้อไปทำเรื่องโอนสิทธิหรือเปลี่ยนสัญญากันที่โครงการ เพื่อให้โครงการรับรู้ และผู้ซื้อเองก็จะได้รับทราบรายละเอียดการผ่อนดาวน์ต่อหรือต้องจ่ายเงินให้กับโครงการและผู้ขายดาวน์เท่าไร โดยโครงการจะออกเอกสารการโอนสิทธิให้กับผู้ซื้อคนใหม่ ที่ระบุรายละเอียดการจ่ายเงินที่ผู้ขายได้จ่ายให้กับโครงการไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น เงินจอง เงินผ่อนดาวน์ และเงินส่วนที่เหลือที่ผู้ซื้อคนใหม่จะต้องจ่ายให้กับโครงการต่อไป นอกจากนี้หากผู้ขายหรือผู้ซื้อเดิมได้มีการทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกับโครงการไว้แล้ว ก็จะต้องส่งมอบให้กับผู้ซื้อคนใหม่ด้วยครับ เพื่อให้ผู้ซื้อคนใหม่ตรวจสอบรายละเอียดการจ่ายเงินของผู้ซื้อเดิม รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้ทำไว้กับโครงการ ซึ่งช่วยเป็นการลดข้อโต้แย้งกันภายหลังจากการโอนสิทธิไปแล้ว ค่าธรรมเนียมโอนสิทธิหรือเปลี่ยนสัญญาต้องเสียหรือไม่ การโอนสิทธิจากผู้ซื้อเดิมเปลี่ยนเป็นผู้ซื้อคนใหม่ ปกติแล้วโครงการจะเก็บค่าธรรมเนียมในกรณีที่ผู้ซื้อยังถือเอกสารเป็นสัญญาจองสิทธิ โดยยังไม่ได้มีการทำสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งในใบจองจะระบุว่าหากผู้ซื้อมีการโอนสิทธิจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต้องบอกว่า แต่ละโครงการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมไม่เท่ากันครับ แต่หากผู้ซื้อเดิมได้มีการทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกับโครงการแล้ว ต่อมาต้องการขายดาวน์ในกรณีนี้ปกติแล้วจะไม่เสียค่าธรรมเนียมในการโอนสิทธิ เนื่องจากในสัญญาจะซื้อจะขายได้มีการระบุไว้ครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก K-Expert
ข้อควรรู้ เมื่อถูกขอให้เป็นผู้กู้ร่วม

ข้อควรรู้ เมื่อถูกขอให้เป็นผู้กู้ร่วม

การกู้ร่วมอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหนึ่งที่มักพบเจอบ่อยๆ ก็คือ รายได้ของผู้กู้หลักเมื่อหักภาระหนี้ผ่อนแล้ว เหลือไม่พอที่จะผ่อนบ้านหลังใหม่ หรือความสามารถในการชำระหนี้ไม่เพียงพอตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร จึงต้องหาคนมากู้ร่วม เพื่อให้มีความสามารถในการชำระหนี้เพิ่มขึ้นนั่นเอง และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม หากเรากำลังถูกขอให้ไปเป็นผู้กู้ร่วม เช่น กู้ร่วมกับพี่ชาย กู้ร่วมกับน้องสาว ก็ควรรู้ว่าการกู้ร่วมจะมีผลกระทบอะไรกับเราบ้าง เราจึงได้รวบรวมข้อควรรู้ ก่อนที่จะตัดสินใจไปกู้ร่วมมาฝากครับ ภาระหนี้ผ่อนในเครดิตบูโรหารเฉลี่ย เมื่อเราตกลงที่จะกู้ร่วมต้องไม่ลืมว่า ภาระหนี้บ้านหลังนี้จะกลายเป็นภาระหนี้ของเราด้วย ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงการกู้ร่วมครั้งนี้ เราจะไม่ได้ไปช่วยผู้กู้หลักผ่อนชำระก็ตาม โดยภาระหนี้จะแสดงในเครดิตบูโรทั้งของผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม ซึ่งการรับภาระผ่อนจะหารเฉลี่ยกับจำนวนผู้กู้ เช่น ผ่อนบ้านเดือนละ 14,000 บาท กู้ร่วม 2 คน เท่ากับว่าผู้กู้แต่ละคนจะรับภาระผ่อนคนละ 7,000 บาท หากในอนาคตผู้กู้ร่วมต้องการขอสินเชื่อครั้งใหม่ เช่น กู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ ภาระผ่อนจากการกู้ร่วม จะถูกนำไปพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ด้วย หรือก็คือทำให้ความสามารถในการผ่อนสินเชื่อครั้งใหม่จะลดลงไป 7,000 บาทนั่นเอง มีประวัติผ่อนชำระเช่นเดียวกับผู้กู้หลัก แน่นอนว่าเมื่อเรากู้ร่วมไปแล้ว ความรับผิดชอบในภาระหนี้จะเหมือนกับผู้กู้หลัก หากผู้กู้หลักสามารถผ่อนชำระหนี้ได้เป็นปกติ หรือมีประวัติผ่อนชำระที่ดี ผู้กู้ร่วมก็จะมีประวัติผ่อนชำระที่ดีไปด้วย แต่ในทางกลับกันหากผู้กู้หลักไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้อย่างปกติ ผ่อนตรงกำหนดบ้าง ไม่ตรงกำหนดบ้าง ประวัติการผ่อนต่างๆ เหล่านี้ก็จะแสดงในเครดิตบูโรของผู้กู้ร่วมด้วย และหากผู้กู้หลักไม่สามารถชำระหนี้ได้เลย จนมีหนี้ค้างชำระ ผู้กู้ร่วมก็จะต้องรับประวัติเสียนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็จะส่งผลต่อการขอสินเชื่อของผู้กู้ร่วม ทำให้ไม่สามารถขอสินเชื่อครั้งใหม่ได้เนื่องจากมียอดหนี้ที่ยังค้างชำระอยู่ กรรมสิทธิ์ในหลักประกันมีสิทธิ์ร่วม ผู้กู้ร่วมบางคนอาจคิดว่าตนเองไม่สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกันได้ ต้องบอกว่า ในการกู้ร่วมเจ้าของกรรมสิทธิ์หลักประกันสามารถมีได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นของผู้กู้หลักคนเดียว หรือจะเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้กู้หลักกับผู้กู้ร่วม อย่างไรก็ตามหากเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมแล้ว ในอนาคตต้องการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ของบ้านที่เป็นหลักประกัน เช่น ขายบ้าน ก็จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ทุกคนเสียก่อน จึงทำให้บางครั้งผู้กู้หลักเลือกที่จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกันเพียงคนเดียวมากกว่าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม ดอกเบี้ยบ้านมีสิทธิใช้ลดหย่อนภาษี ดอกเบี้ยบ้านจากการกู้ร่วมสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ด้วยการหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ร่วม โดยสามารถลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เช่น กู้ร่วม 2 คน ดอกเบี้ยบ้านทั้งปีอยู่ที่ 90,000 บาท จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้คนละ 45,000 บาท แต่หากดอกเบี้ยบ้านจ่ายจริงเกิน 100,000 บาท เช่น ดอกเบี้ยบ้านกู้ร่วมทั้งปีอยู่ที่ 110,000 บาท ดอกเบี้ยบ้านที่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้จะอยู่ที่ 100,000 บาท หากกู้ร่วม 2 คน ก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนดอกเบี้ยบ้านได้คนละ 50,000 บาท   ขอขอบคุณข้อมูลจาก K-Expert
วิธีลดความร้อนที่เข้ามาทางผนัง เพื่อบ้านเย็นอยู่สบาย

วิธีลดความร้อนที่เข้ามาทางผนัง เพื่อบ้านเย็นอยู่สบาย

เรื่อง: SCG Experience ความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้ามาภายในบ้าน นอกจากจะผ่านเข้ามาทางหลังคาแล้ว ‘ผนัง’ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ควรป้องกันเช่นกัน โดยเฉพาะผนังห้องที่อยู่ทางทิศตะวันตก และทิศใต้ซึ่งต้องโดนแดดตลอดช่วงบ่าย จึงมีการสะสมความร้อนจนทำให้อุณหภูมิสูงกว่าส่วนอื่นๆ โดยถึงแม้จะเป็นช่วงกลางคืน ก็ยังรู้สึกร้อนเนื่องจากผนังคายความร้อนที่สะสมในระหว่างวันออกมา ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักมากขึ้นกว่าอุณหภูมิจะลดลงตามที่ต้องการ และทำให้ต้องจ่ายค่าไฟมากกว่าที่ควร จึงขอแนะนำวิธีต่างๆ ที่สามารถช่วยป้องกันความร้อนที่เข้ามาทางผนังบ้านได้ ทั้งการลดความร้อนที่ผนังและช่องเปิด รวมถึงการสร้างร่มเงาให้แก่บ้าน ลดการความร้อนที่ผนัง สำหรับบ้านสร้างใหม่ควรเลือกใช้วัสดุก่อผนังที่มีค่าการสะสมความร้อนต่ำอย่างอิฐมวลเบา โดยที่ผนังภายนอกบ้านควรทาสีโทนอ่อนหรือโทนสว่าง เช่น สีขาว สีครีม สีพาสเทล หรือเลือกใช้สีสะท้อนความร้อน แต่หากเป็นบ้านเก่าสามารถแก้ไขได้โดยการทำผนัง 2 ชั้น (ระบบผนังโครงเบา) เพื่อเพิ่มช่องว่างอากาศในผนังซึ่งจะช่วยลดความร้อนเข้าสู่ภายในห้องได้ดีขึ้น หรือติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมที่ผนังด้านที่โดนแดดจัด เพื่อการป้องกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภาพ: การทาสีผนังบ้านภายนอกด้วยสีโทนอ่อนช่วยลดการอมความร้อนได้ดีกว่าสีโทนเข้ม สถานที่: บ้านคุณวิสันต์ กรัณฑรัตน ลดความร้อนที่กระจก กระจกที่ช่องเปิดต่างๆ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ความร้อนจากแสงแดดผ่านเข้ามาได้ง่าย ทั้งทางหน้าต่าง ประตู หรือบ้านที่ออกแบบสไตล์โมเดิร์นซึ่งมักใช้กระจกแทนผนัง การเลือกใช้กระจกสองชั้น กระจกลามิเนต กระจก Low-E  หรือติดฟิล์มกันรังสี UV เพิ่มเติมบนกระจกเดิม จะช่วยลดความร้อนที่ผ่านเข้ามาได้มากพอสมควร รวมถึงการใช้ม่านกัน/กรองแสงยังช่วยป้องกันความร้อนได้อีกชั้นหนึ่ง ภาพ: ติดม่านกรองแสง สถานที่: บ้านสวนมุก หัวหิน สร้างร่มเงาให้ผนัง การติดตั้งระแนงหรือกันสาดรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมตามทิศทางแสงแดดในแต่ละด้านเพื่อช่วยกรองแสงแดดที่ส่องกระทบผนังและช่องเปิดจะช่วยลดความร้อนที่สะสมในผนังได้ โดยสำหรับบ้านที่ยังไม่ได้สร้าง ควรออกแบบให้มีชายคายื่นออกมา 1.5 – 2 เมตร จะช่วยกันแดดได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้หากมีพื้นที่โดยรอบบ้านพอสมควร ควรปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงา  โดยหากเป็นต้นไม้ใหญ่ควรปลูกให้ห่างจากตัวบ้านอย่างน้อย 2-3 เมตร เพื่อป้องกันต้นไม้บังทิศทางลม ภาพ: ติดตั้งระแนงกันสาดตามแนวทางเดินรอบบ้านเพื่อกันแดดและฝน สถานที่: บ้านคุณเกด-เจษฎ์สุภา พิพัฒนสุภรณ์ และคุณจี๊ป-ปริญญา ณรงค์ธนรัฐ  ภาพ: การติดตั้งระแนงกันแดด สถานที่: Muay House, บ้านคุณอิษฎา แก้วประเสริฐ, AREE HOUSE ภาพ: ลักษณะชายคาที่ยื่นออกมาเพื่อการป้องกันแสงแดดได้ดียิ่งขึ้น สถานที่: Coffee Hill Resort นอกจากนี้ การออกแบบทิศทางช่องเปิด และลักษณะการวางตัวบ้านหรืออาคารก็ส่งผลต่ออุณหภูมิภายในบ้านเช่นกัน โดยการออกแบบที่ดีควรหลีกเลี่ยงการทำประตู หน้าต่าง หรือช่องเปิดต่างๆ ในทิศตะวันตก โดยควรทำเป็นผนังทึบหรือจัดพื้นที่เป็นห้องเก็บของ/ห้องน้ำ เพื่อป้องกันแดดส่องเข้าบ้านโดยตรง และควรมีช่องเปิดที่ผนังทิศเหนือและทิศใต้เพื่อรับกับทิศทางลมตลอดปี ส่งผลให้บ้านหรืออาคารหลังนั้นมีการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม รวมถึงในทิศตะวันออก อาจมีระแนง หรือม่านเพื่อช่วยกรองแสงในช่วงสาย นอกจากนี้พื้นรอบบ้านยังสามารถช่วยลดอุณหภูมิลงได้โดยการปูหญ้า หรือบล็อกปูพื้น เอสซีจี รุ่น Cool Plus แทนการเทพื้นคอนกรีตที่มีค่าการอมความร้อนสูง โดยสามารถสอบถามสถาปนิกจาก SCG ได้ก่อนการตัดสินใจ ภาพ: (บน) ทำผนังทึบในทิศตะวันตกเพื่อป้องกันแสงแดด, (ล่าง) ออกแบบหลังคาเพื่อป้องกันแดดร่วมไปกับการติดม่าน และการปลูกต้นไม้ สถานที่: บ้านสวนมุก หัวหิน ขอขอบคุณภาพประกอบและข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com
ห้องน้ำผู้สูงอายุ

ห้องน้ำผู้สูงอายุ

เรื่อง พีระพงษ์ บุญรังษี SCG Experience Architect “คนส่วนใหญ่มักตัดสินใจสร้างบ้านของตัวเองในช่วงวัยหนุ่มสาวถึงวัยกลางคน ซึ่งร่างกายยังสมบูรณ์แข็งแรง จึงมักมุ่งความสนใจไปกับพื้นที่ใช้สอย ความสวยงามตามสมัยนิยม วัสดุที่คงทนคุ้มค่า จนลืมนึกไปว่าเมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายของผู้อาศัยก็เสื่อมโทรมไปพร้อมกับบ้านด้วย” เมื่อการเคลื่อนไหวทำได้ช้าลง  กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลุกนั่งลำบาก สายตาฝ้าฟาง หูไม่ค่อยได้ยินเสียง และเมื่อได้รับบาดเจ็บจะต้องรักษาตัวพักฟื้นนาน ดังนั้นการใช้งานในบ้านหลังเดิมจึงเริ่มไม่ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนพื้นที่ที่นับว่าค่อนข้างยากลำบากสำหรับผู้สูงอายุ นั่นคือ “ห้องน้ำ” ห้องน้ำตั้งแต่เริ่มแรกสร้างบ้านมักถูกออกแบบให้มีขนาดเล็ก แบ่งพื้นที่ใช้งานส่วนแห้งและส่วนเปียกออกจากกันด้วยพื้นต่างระดับ ประตูเปิดเข้าด้านในทำให้เวลาปิดจะต้องเบี่ยงเบียดตัวไปด้านข้าง มือจับเป็นลูกบิด เวลาเปิดจะต้องบิดหมุนข้อมือ ที่นั่งโถสุขภัณฑ์ตามปกติจะเตี้ยกว่าที่นั่งเก้าอี้เล็กน้อยทำให้เวลาลุกต้องออกแรงดันตัวมาก ฝักบัวแขวนไว้สูงเหมาะกับการยืนอาบ มีดวงโคมส่องสว่างเฉพาะส่วนอาบน้ำกับกระจกอ่างล้างหน้าเท่านั้น  รายละเอียดเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อช่วยให้ผู้กำลังจะสูงวัยที่ยังพอช่วยเหลือตัวเองได้ (คือไม่ถึงขั้นอ่อนแรงล้มหมอนนอนฟูก) สามารถใช้งานห้องน้ำเดิมภายในบ้านได้สะดวกยิ่งขึ้น วิธีการปรับเปลี่ยนง่ายๆ เริ่มจาก การเปลี่ยนมือจับลูกบิดประตูห้องน้ำเป็นแบบคันโยก และติดราวจับช่วยทรงตัวด้านข้าง หรือจะถอดประตูบานเปิดออกแล้วติดตั้งประตูบานเลื่อนแบบรางแขวน ไม่มีรางบนพื้นขวางทางเข้าให้เดินสะดุด ควรเลือกใช้บานประตูที่มีน้ำหนักไม่มาก ไม่ควรติดกลอนล็อกบาน อาจมีการเจาะช่องกระจกสำหรับมองเข้าไปในห้องเผื่อเกิดอุบัติเหตุจะเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงที ในส่วนของพื้น ควรปรับพื้นส่วนแห้งและส่วนเปียกให้มีระดับเดียวกับพื้นภายในบ้าน โดยรื้อกระเบื้องพื้นและโถสุขภัณฑ์เดิมออก สกัดปูนผิวหน้าให้ลดต่ำลง ทาน้ำยาประสานคอนกรีต และเทปูนทรายปรับระดับพื้นห้องน้ำให้ลาดเอียงไปทางท่อระบายน้ำ ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วทำความสะอาดฝุ่นผง จากนั้นทาน้ำยากันซึมเคลือบทับผิวพื้นปูนและที่ขอบล่างของผนัง ก่อนจะปูกระเบื้องพื้นด้วยปูนกาว ทิ้งไว้ให้แห้งสนิทก่อนจะยาแนวร่องรอยต่อ ทั้งนี้ ควรเลือกกระเบื้องปูพื้นที่มีค่าความฝืดผิวกระเบื้องตั้งแต่ R 10 ขึ้นไป เพื่อลดการลื่นล้มเมื่อพื้นเปียกน้ำ นอกจากนี้สีขององค์ประกอบและวัตถุต่างๆ ที่ใช้ในห้องน้ำควรให้ดูแตกต่างกันชัดเจน โดยเฉพาะวัตถุที่อยู่ใกล้กัน เช่น สีของกระเบื้องพื้นและผนังควรให้ดูต่างกัน และตัดกับสีของสุขภัณฑ์อย่างเห็นได้ชัด เป็นต้น นอกจากนี้ ควรติดตั้งราวจับเพื่อช่วยในการพยุงตัวทั้งสองข้างของอ่างล้างหน้าและโถสุขภัณฑ์ โดยสามารถเลือกใช้ราวทรงตัวรูปตัวแอลหรือราวทรงตัวแขนพับแบบสวิง ตามความเหมาะสม และควรมีราวจับที่ผนังนำทางไปจนถึงส่วนอาบน้ำ ติดตั้งสูงจากพื้น 60-75cm ทั้งนี้ สีของราวจับควรดูแตกต่างจากสีของกระเบื้องผนังอย่างชัดเจน สำหรับโถสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำ ควรเปลี่ยนมาเลือกใช้รุ่นที่มีที่นั่งสูงจากพื้น 43-45 cm ซึ่งเป็นระดับที่ผู้สูงอายุลุกนั่งได้อย่างสะดวกเมื่อใช้งานร่วมกับราวทรงตัว (ที่นั่งของโถสุขภัณฑ์ปกติจะสูงจากพื้น 38-40 cm ทำให้ต้องออกแรงมากขณะดันตัวลุกขึ้นยืน) ที่กดชำระน้ำควรเลือกใช้เป็นแบบคันโยก ส่วนสายชำระควรติดตั้งไว้ด้านข้างให้มือเอื้อมหยิบใช้ได้ง่ายโดยไม่ต้องเอี้ยวตัวไปด้านหลัง และควรมีเก้าอี้สำหรับนั่งอาบน้ำ ทั้งนี้ ฝักบัวอาบจ้ำควรยึดกับก้านจับเลื่อนขึ้นลงปรับระดับในการใช้งานได้ ส่วนหัววาล์วเปิดปิดน้ำควรเลือกแบบก้านปัด รวมถึงก็อกน้ำที่อ่างล้างหน้าด้วย เนื่องจากหัววาล์วแบบนี้ใช้งานและดูแลรักษาง่าย อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ ควรเพิ่มแสงสว่างด้วยการติดหลอดไฟให้มากขึ้น โดยแสงที่เหมาะสมควรจะเป็นแสงสีขาว ซึ่งช่วยให้มองเห็นรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ที่จะหยิบจับใช้งานในห้องน้ำ รวมไปถึงข้อความระบุวิธีใช้งานด้านข้างขวดน้ำยาต่างๆ ได้อย่างง่ายดายชัดเจน เพียงเท่านี้ก็จะได้ห้องน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งานของเจ้าของบ้านที่มีอายุเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กับบ้าน ในส่วนนี้นับเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจ เพราะมิใช่แค่ความสะดวกสบายเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องความปลอดภัยและการลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุอีกด้วย   ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.scgbuildingmaterials.com  
อยากเพิ่มกรรมสิทธิ์คู่ชีวิต คิดค่าใช้จ่ายอย่างไร

อยากเพิ่มกรรมสิทธิ์คู่ชีวิต คิดค่าใช้จ่ายอย่างไร

การเพิ่มชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านอาจเกิดขึ้นได้ด้วยหลายๆ เหตุผลครับ แต่เหตุผลที่มักพบบ่อยๆ ก็คือต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรส อาจเป็นเพราะในช่วงที่ซื้อบ้านตอนนั้นยังโสด หรือกู้ซื้อบ้านแบบกู้เดี่ยว เนื่องจากรายได้คนเดียวก็เพียงพอในการกู้ซื้อบ้านแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกู้ร่วมกับคู่สมรสอีก แต่หากภายหลังเปลี่ยนใจอยากจะให้คู่สมรสมีชื่อกรรมสิทธิ์ในบ้านร่วมกัน หรือต้องการเปลี่ยนจากการกู้คนเดียวมาเป็นการกู้ร่วมกับคู่สมรสกับธนาคารเดิมหรือรีไฟแนนซ์ไปธนาคารอื่น จึงทำให้ต้องเพิ่มเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกันอีกหนึ่งคน ซึ่งการเพิ่มชื่อกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไรนั้น เรารวบรวมมาฝากดังนี้ครับ ซื้อบ้านตอนยังโสด หากตอนที่เราซื้อบ้านไม่ว่าจะเป็นการซื้อด้วยเงินสด หรือกู้ซื้อบ้านกับธนาคาร ขณะนั้นยังเป็นโสด ถือว่าบ้านหลังนี้เป็นสินส่วนตัว คือได้ทรัพย์สินมาก่อนที่จะจดทะเบียนสมรสกัน  หากภายหลังได้มีการจดทะเบียนสมรสกันแล้วต้องการเพิ่มชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการให้ 0.5% ของราคาประเมิน ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร เนื่องจากการเพิ่มชื่อถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เปรียบเสมือนเป็นผู้ขาย จึงต้องนำเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะในส่วนที่ให้คู่สมรส เช่น บ้านมูลค่า 4 ล้านบาทแบ่งกันคนละครึ่ง 2 ล้านบาท ก็จะต้องนำ 2 ล้านบาทไปคำนวณภาษี โดยกรมที่ดินจะใช้ราคาประเมินจากกรมธนารักษ์ในการคำนวณมูลค่าหลักทรัพย์ ซึ่งจะนำไปหักค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่ถือครอง หลังจากนั้นหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง แล้วนำไปคำนวณภาษีตามฐานภาษี อากรแสตมป์ 0.5% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า โดยมีการถือครองกรรมสิทธิ์มา 5 ปี หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมา 1 ปีแล้วแต่หากถือครองกรรมสิทธิ์น้อยกว่า 5 ปี และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านน้อยกว่า 1 ปี ก็จะเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าแทนอากรแสตมป์ ซื้อบ้านหลังจดทะเบียนสมรส สำหรับในกรณีที่เป็นการเพิ่มชื่อคู่สมรส โดยมีการจดทะเบียนสมรสกันก่อนที่จะกู้ซื้อบ้านหรือได้ทรัพย์สินนี้มาหลังจดทะเบียนสมรส จะถือว่าเป็นสินสมรสครับ การเพิ่มชื่อคู่สมรสเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านอีกคน จะเสียค่าธรรมเนียมอยู่ที่ประมาณ 75 บาทเท่านั้น การเพิ่มชื่อคู่สมรสที่เกิดขึ้นในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนจากการกู้เดี่ยวมาเป็นการกู้ร่วมนั้น อย่าลืมว่าธนาคารจะต้องนำรายได้และภาระหนี้ของคู่สมรสที่กู้ร่วมมาพิจารณาด้วย หากคู่สมรสมีภาระหนี้สูงเกินไปก็อาจทำให้กู้ร่วมไม่ผ่าน ดังนั้นอาจจำเป็นต้องรอให้ปิดภาระหนี้ลดลงก่อน และไม่ควรก่อหนี้เพิ่มครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  k-expert.askkbank.com
เลาะกระเบื้องที่แตกร้าวออกอย่างไร ไม่ให้กระเบื้องแผ่นอื่นรอบๆ ที่ติดกันแตกไปด้วย?

เลาะกระเบื้องที่แตกร้าวออกอย่างไร ไม่ให้กระเบื้องแผ่นอื่นรอบๆ ที่ติดกันแตกไปด้วย?

การเลาะกระเบื้องแผ่นที่แตกร้าวเพื่อเปลี่ยนใหม่โดยไม่ให้แผ่นรอบๆ เกิดการแตกร้าวเสียหายต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยใช้หลักการเพิ่มพื้นที่ว่าง โดยการสกัดยาแนวรอบแผ่นกระเบื้องที่แตกออกเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ สกัดแผ่นกระเบื้องที่เกิดการชำรุดออกโดยการทุบ หรือใช้อุปกรณ์ “ลูกหมู” ค่อยๆ กรีดหรือตัดกระเบื้องแผ่นที่แตกร้าวออก ซึ่งทำให้กระเบื้องแผ่นรอบๆ มีความเสี่ยงต่อการแตกหักน้อยกว่า จากนั้นจึงติดตั้งกระเบื้องแผ่นใหม่ลงไป ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com