Tag : Money

360 ผลลัพธ์
ครม. ลดภาษี  90% ช่วยเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดนพิษโควิด-19

ครม. ลดภาษี 90% ช่วยเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดนพิษโควิด-19

ครม. เคาะมาตรการช่วย เจ้าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง  ลดการจัดเก็บภาษีลง 90% หลังได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 รัฐยอมหั่นรายได้กว่า 3.5 หมื่นล้าน   นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  ซึ่งส่งผลกระทบแก่ประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจทั่วประเทศ ซึ่งปีนี้เป็นอีกหนึ่งปีที่จะได้เริ่มการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ) ได้มีการประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2562 เป็นต้นมา   โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้ดำเนินการจัดเก็บภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ แล้ว โดยได้ทำการสำรวจ จัดทำบัญชีและประเมินภาษีตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ อปท. มีเวลาดำเนินการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทย (มท.) จึงได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 ขยายระยะเวลาดำเนินการของ อปท. เป็นการทั่วไปเป็นระยะเวลา 4 เดือนสำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี  2563 จากเดิมที่ต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายนเป็นเดือนสิงหาคม แต่เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ระบาดอย่างรุนแรงขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทำให้ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกและของประเทศไทยหดตัวลงอย่างรุนแรง และรวดเร็วกระทบต่อประชาชนทุกสาขาอาชีพในวงกว้าง จึงสมควรลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จะจัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม   ทางกระทรวงการคลัง (กค.) และ มท. จึงได้มีการประชุมหารือและเห็นควรกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบ โดยการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และในการประชุมที่นายวิษณุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรี  จัดให้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ได้มีมติเห็นควรเสนอลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตรา 90% เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ ที่กำหนดให้ลดภาษีสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภทเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม เหตุการณ์ กิจการ หรือสภาพแห่งท้องที่ ครม.มีมติ ลดภาษีที่ดิน 90% ล่าสุด เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงได้มีมติเห็นชอบตามที่ กค. เสนอดังนี้ 1.เห็นชอบการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตรา 90% ให้แก่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากประกอบเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย และที่ทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ สำหรับปีภาษี พ.ศ. 2563 2.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ) ที่กำหนดให้ลดภาษีในอัตรา 90% สำหรับปีภาษี พ.ศ. 2563 หลักการลดภาษีและประเภทที่ดิน ลดภาษี 90% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 42 หรือมาตรา 95 แล้วแต่กรณี หรือสำหรับการจัดเก็บภาษี พ.ศ. 2563สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างดังต่อไปนี้   1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม 2.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย 3.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก ข้อ 1 และ 2 4.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ   สำหรับกการลดภาษีข้างต้นไม่กระทบสิทธิในการบรรเทาภาระภาษีตามมาตรา 96 และมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ ตัวอย่างการคำนวณการลดภาษีในอัตรา 90% 1.กรณีที่ดินประกอบการเกษตร ถ้าเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา บทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ ได้กำหนดให้ 3 ปีแรก (ปี 2563 – 2565) จะได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีแต่ถ้าเจ้าของเป็นนิติบุคคล สำหรับที่ดินมีมูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 10 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตราการใช้ประโยชน์ประกอบเกษตรกรรม 0.01% คิดเป็นภาษี 1,000 บาท แต่เมื่อลดภาษีตาม พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ ที่เสนอแล้ว จะชำระภาษีเพียง 100 บาท 2.กรณีที่อยู่อาศัย สำหรับบ้านหลังหลักที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท และ 10 ล้านบาท กรณีเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน สำหรับบ้านหลังอื่น หากมูลค่าประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย 0.02% คิดเป็นค่าภาษี 1,000 บาท แต่เมื่อลดภาษีตาม พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ ที่เสนอแล้ว จะชำระภาษีเพียง 100 บาท 3.กรณีที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ประกอบการพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม มูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 4 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตรารกร้างว่างเปล่า/อัตราการใช้ประโยชน์อื่น 0.3% คิดเป็นค่าภาษี 12,000 บาท แต่เมื่อลดภาษีตาม พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ ที่เสนอแล้ว จะชำระภาษีเพียง 1,200 บาท เป็นต้น รัฐยอมหั่นรายได้กว่า 3.5 หมื่นล้าน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ประมาณการรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับปี 2563 จำนวน 39,420 ล้านบาท และในการเสนอลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตรา 90% ตามร่าง พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ 2 กรณี จะสูญเสียรายได้ ดังนี้ กรณีที่ 1 กำหนดลดภาษีเฉพาะในปีภาษี พ.ศ. 2563 จะทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี พ.ศ. 2563 ลดลงประมาณ 35,450 ล้านบาท   กรณีที่ 2 ไม่กำหนดระยะเวลาในการลดภาษี จะทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลดลงปีละประมาณ 35,450 ล้านบาท จนกว่าจะมีการออกกฎหมายยกเลิกร่าง พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ   ทั้งนี้ การลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามร่าง พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ จะช่วยบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจที่ขาดรายได้ เนื่องจากไม่สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย   นอกจากนี้ กค. พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่ประชาชน และผู้ประกอบการทั่วประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา กค. ได้มีมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น มาตรการเลื่อนเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ นำส่ง และชำระภาษี มาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โครงการสินเชื่อเพื่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและมีรายได้ดังเช่นปกติ ทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีความสามารถในการชำระภาษีในปีถัดไป ตลอดจนไม่เป็นการส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของ อปท. ในระยะยาวจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว    
ชาวจีน ฝ่าโควิด-19 โอนกรรมสิทธิ์อสังหาฯ ไตรมาสแรกกว่า 5,000 ล้าน

ชาวจีน ฝ่าโควิด-19 โอนกรรมสิทธิ์อสังหาฯ ไตรมาสแรกกว่า 5,000 ล้าน

ในแต่ละปี ประเทศไทยมีชาวจีนเป็น ชาติที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว เพราะแต่ละปีมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยกว่า 10 ล้านคน สร้างรายได้คิดเป็นมูลค่ากว่า 4-5 แสน ล้านบาทเลยทีเดียว   ส่วนในปีนี้ ตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนคงจะลดจำนวนลงอย่างมาก เพราะปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แต่ก็เชื่อว่าประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญ ที่นักท่องเที่ยวจีนต้องการจะมาเยือน และหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สิ้นสุดลง ชาวจีนคงแห่มาเที่ยวเมืองไทยกันแน่นขนัดเหมือนเดิมแน่นอน   ชาวจีน ไม่ได้หอบเงินเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจเฉพาะด้านการท่องเที่ยวของไทยเท่านั้น แต่ในกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ชาวจีนก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องยอมรับว่าเป็นลูกค้าหลักในกลุ่มของลูกค้าชาวต่างชาติเลยทีเดียว เรียกได้ว่า พี่จีนเราซื้ออสังหาฯ ไทย กินตลาดมากกว่าครึ่ง ของกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ เมืองไทย ส่องไตรมาสแรก จีนโอนคอนโดฯ กว่า 5,000 ล้าน ในไตรมาสแรกของปีนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่สามารถเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ รวมถึงชาวจีนเองด้วย ซึ่งกระทบทั้งภาคการท่องเที่ยว และตลาดอสังหาฯ เพราะชาวจีนซึ่งเป็นลูกค้าหลักของตลาดอสังหาฯ ไม่สามารถเดินทางเข้ามาซื้อหรือโอนกรรมสิทธิ์ได้   แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะเกิดความยากลำบากในการเดินทาง แต่กลุ่มลูกค้าชาวจีนซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการที่อยู่อาศัยในเมืองไทยอย่างแท้จริงกลุ่มหนึ่ง ก็หาวิธีในการโอนกรรมสิทธิ์ จากการซื้อคอนโดมิเนียมไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) รายงานว่า ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา กลุ่มลูกค้าชาวจีนได้โอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ เป็นจำนวน 1,446 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 54.6% จำนวนโอนกรรมสิทธิ์ของกลุ่มลูกค้าต่างชาติทั้งหมด 2,647 ยูนิต ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 10,549 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าการโอนการมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ของกลุ่มลูกค้าชาวจีนในไตรมาสแรก จึงมีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท ชาวจีนเบอร์ 1 ซื้ออสังหาฯ ไทย หากดูตัวเลขย้อนหลังไปในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า กลุ่มลูกค้าชาวจีนยังคงเป็นอันดับ 1 ในการซื้ออสังหาฯ ของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 กลุ่มลูกค้าต่างชาติ มีการโอนกรรมสิทธิ์มากถึง 12,609 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 49,728 ล้านบาท ชาวจีนยังมาเป็นอันดับ 1 ด้วยจำนวนการโอนที่อยู่อาศัย 7,506 หน่วย มูลค่า 28,860 ล้านบาท รองลงมาชาวรัสเซีย โอนกรรมสิทธิ์จำนวน 794 ยูนิต มูลค่า 2,373 ล้านบาท และอันดับ 3 เป็นชาวสหราชอาณาจักร โอนจำนวน 404 ยูนิต มูลค่า 1,627 ล้านบาท   ส่วนในปี 2561 กลุ่มชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ ไทย เป็นจำนวน 13,033 หน่วย มูลค่ารวม 54,659 ล้านบาท โดยชาวจีนยังซื้อมากที่สุดด้วยจำนวน 7,551 ยูนิต มูลค่า 29,446 ล้านบาท รองลงมาเป็นชาวรัสเซีย จำนวน 815 ยูนิต มูลค่า 2,276 ล้านบาท และอันดับ 3 เป็นชาวสหราชอาณาจักร 499 ยูนิต 2,184 ล้านบาท สำหรับภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติในไตรมาสที่ผ่านมา ถือว่ามีการขยายตัวดที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีจำนวนสัญชาติของชาวต่างชาติเพิ่มเข้ามามากขึ้นด้วย โดยมีจำนวนสัญชาติของชาวต่างชาติ 76 สัญชาติ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาทั้งปี มีชาวต่างชาติ 74 สัญชาติที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ ของไทย ซึ่งชาวต่างชาติที่เพิ่งเริ่มเข้ามาซื้ออสังหาฯ ไทย ได้แก่ ชาวเซอร์เบีย ซื้อจำนวน 4 ยูนิต และชาวเอสโทเนีย ซื้ออสังหาฯ 1 ยูนิต   อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาฯ ในไตรมาส 2 เชื่อว่าจะลดต่ำลงต่อเนื่อง เพราะชาวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาในไทยได้อย่างปกติ ซึ่งต้องทำให้มีการเลื่อนการโอนกรรมสิทธิ์ออกไปอีกสักระยะ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ภาพรวมในปีนี้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ ลดต่ำลงกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอย่างมาก โดยมีปัจจัยสำคัญ คือ สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพราะคงต้องรอให้มีวัคซีนป้องกันโรค ออกมาใช้อย่างเป็นทางการ และมีการควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างเคร่งครัด จึงจะส่งผลให้การเดินทางระหว่างประเทศกลับมาเป็นปกติ
LPN Wisdom คาดอสังหาฯ ครึ่งปีหลัง 63 ฟื้นตัว แต่เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ลดลงกว่า 50%

LPN Wisdom คาดอสังหาฯ ครึ่งปีหลัง 63 ฟื้นตัว แต่เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ลดลงกว่า 50%

LPN Wisdom ประเมินตลาดอสังหาฯ 63 ติดลบ 15-20% แม้ครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งสัญญาณดีขึ้น คาดทั้ง 29 ดีเวลอปเปอร์ในตลาดหลักทรัพย์ หั่นเปิดโครงการใหม่ลงกว่าครึ่งจากปีที่ผ่านมา เหลือเปิดแค่  50,000-55,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 175,000-190,000 ล้านบาท      นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพีนี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom) บริษัทด้านการวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน)(LPN) เปิดเผยถึง ทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 ว่า มีแนวโน้มทิศทางที่ดี มีแนวโน้มฟื้นตัวภายหลังจากเห็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19) มีแนวโน้มคลี่คลาย บิ๊กอสังหาฯ ยังทำกำไร Q1 กว่า 8,176.88 ล้าน ขณะเดียวกัน ยังพบว่าช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา 29 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังมีความสามารถในการสร้างรายได้รวม 59,207.66 ล้านบาท ถึงแม้ผลการดำเนินงานจะลดลง 30.43% รวมถึงกำไรสุทธิ 8,176.88 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 40.68% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2562 ก็ตาม  แต่เมื่อเทียบความสามารถในการทำกำไร (Net Profit Margin)ของบริษัทอสังหาฯ ดังกล่าว  ยังคงสามารถรักษาระดับความสามารถในการทำกำไรเฉลี่ยอยู่ที่  13.81% ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น   นอกจากนี้  สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ณ สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยเฉลี่ยยังต่ำกว่า 2:1 เท่า ซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทอสังหาฯ  ซึ่งแตกต่างจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ที่สัดส่วนหนี้ต่อทุนของบริษัทอสังหาฯ  ในระบบในขณะนั้น มีสัดส่วนสูงเกินกว่า 2:1 ทำให้มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจเมื่อเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจหดตัว LPN Wisdom ประเมินอสังหาฯ หดตัว  15-20% ขณะเดียวกันทาง  LPN Wisdom ประมาณการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะติดลบประมาณ 5-7%  ซึ่งสอดคล้องกับการประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยจะติดลบที่ 5-6% ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งแม้ว่าผู้ประกอบการจะมีความแข็งแกร่งทางการเงิน แต่การเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจหดตัว  จะส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 มีแนวโน้มติดลบในสัดส่วน 15-20% เมื่อเทียบกับปี 2562   LPN Wisdom มั่นใจว่าโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่งของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อหุ้นยั่งยืนหรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) จะสามารถสร้างรายได้ ยอดขาย และรักษาอัตราการทำกำไร ในห้วงเวลาที่เศรษฐกิจชะลอตัว   ในขณะเดียวกันจากการวิเคราะห์กำลังซื้อในไตรมาสแรกของปี 2563 พบว่า ความต้องการซื้อเพื่อการอยู่อาศัยยังคงมีกำลังซื้ออย่างต่อเนื่องทั้งแนวราบและอาคารชุดเพื่อการอยู่อาศัย รายได้ที่ลดลงของผู้ประกอบการอสังหาฯ โดยเฉลี่ย 30.43% ในไตรมาสแรก เป็นผลมาจากไม่สามารถโอนที่อยู่อาศัยให้กับผู้ซื้อจากต่างประเทศได้ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และบางส่วนเป็นกลุ่มลูกค้าที่ซื้อเพื่อการลงทุนที่ชะลอการลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว LPN Wisdom คาดเปิดโปรเจ็กต์ใหม่ลดกว่า 50-55% อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย  ที่มีแนวโน้มคลี่คลายและคาดว่า  จะสามารถปลดล็อกได้สิ้นไตรมาส 2 ของปี 2563 ทำให้ LPN Wisdom คาดว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะค่อยๆ ฟื้นตัว ในไตรมาส 3 และไตรมาส 4ของปี 2563 โดยคาดว่าผู้ประกอบการจะทยอยเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาส 3 และไตรมาส 4  หลังจากที่ชะลอแผนเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาส 2 ของปี 2563  ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนการเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2563 จะอยู่ที่ 50,000-55,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 175,000-190,000 ล้านบาท  หรือลดลง 50-55% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2562 ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีการระบาดของไวรัส โควิด-19 ระลอกสอง นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า ถึงแม้ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์จะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ก็ตามแต่เนื่องจากจำนวนสินค้าคงเหลือและโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีมูลค่าสูง เฉพาะ 29 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีจำนวนสินค้าคงเหลือและโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 สูงถึง 576,406 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6.74% จาก ณ สิ้นปี 2562  ซึ่งต้องใช้เวลาในการขายไม่น้อยกว่า 36 เดือน ทำให้แนวโน้มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ จะเร่งขายโครงการเดิม แทนการเปิดโครงการใหม่   อย่างไรก็ตาม จะมีบางบริษัทที่ยังคงเปิดโครงการใหม่ในบางทำเลที่มีกำลังซื้อสูง โดยเฉพาะโครงการแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ ที่มีความต้องการสูง ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป  ตามรูปแบบการใช้ชีวิตในวิถีปรกติใหม่ (New Normal) ที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น ตอบโจทย์การทำงานที่บ้าน (Work From Home) ที่กำลังกลายเป็นรูปแบบการทำงานรูปแบบใหม่ หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ LPN Wisdom เชื่อว่า การทำงานที่บ้านจะยังคงอยู่แม้จะไม่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แล้วก็ตาม  
ริชี่ จัดหนักไตรมาส 2 ซื้อบ้านแถมรถเบนซ์ หรืออยู่ฟรี 5 ปี

ริชี่ จัดหนักไตรมาส 2 ซื้อบ้านแถมรถเบนซ์ หรืออยู่ฟรี 5 ปี

ริชี่  จัดหนักอัดโปร Double Choice แรงสุดในรอบ 10 ปี ให้ลูกค้ามี 2 ทางเลือกมากสุดในตลาดอสังหาฯ ซื้อบ้าน-คอนโดฯ ได้รถเบสซ์  หรือไม่ต้องผ่อนนาน 5 ปี ขน 12 โครงการ 12 ทำเลพร้อมอยู่กระตุ้นยอดขายไตรมาส 2 หลังช่วง 3 เดือนแรกของปี กำไรและรายได้ลดตามสภาพตลาด และเจอพิษโควิด-19   ดร.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชี่เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ RICHY เปิดเผยว่า จากสภาวะตลาดอสังหาฯ ที่ปัจจุบันแข่งขันกันสูงมาก  บริษัทมองตอนนี้เป็นโอกาสทองของลูกค้าที่จะเลือกที่อยู่อาศัยดีๆ ในราคาที่จับต้องได้  จึงส่งโปรโมชั่น  “Double Choice” ที่แรงสุด คุ้มสุดในรอบ 10 ปีของบริษัท  และแรงสุดเมื่อเทียบกับทุกเจ้าในตลาดฯ เพื่อช่วยให้ลูกค้ามั่นใจและยังไม่ต้องการแบกภาระในช่วงเวลาแบบนี้ไปอีก 5 ปี โดยให้ทางเลือกลูกค้าดังนี้   ช้อยซ์ที่ 1  ริชี่ให้อยู่ฟรีหรือช่วยผ่อนให้สูงสุด 60 เดือน หรือ 5 ปี เปลี่ยนจากผู้เช่าเป็นเจ้าของได้ทันที ปลอดภาระรายจ่าย หากเป็นลูกค้านักลงทุนเท่ากับจะมีรายได้เพิ่มในการนำไปปล่อยเช่าต่อ ทั้งนี้ขึ้นกับภาระเดิมและอายุของผู้ซื้อประกอบการใช้สิทธิ์ ช้อยซ์ที่ 2 ซื้อคอนโด บ้าน หรือทาวน์โฮม รับฟรีรถยนต์ 1 คัน เหมาะกับลูกค้าที่ต้องการมีทั้งบ้านและรถ แต่ไม่สามารถมีภาระได้พร้อมกัน ริชี่จัดรถยนต์ให้ฟรีๆ ไป 1 คัน อาทิ รถเบนซ์ มินิคูเปอร์ ฮอนด้า ซีวิค ฮอนด้า ซิตี้ และอีกหลายรุ่น ขึ้นกับโครงการที่คุณเลือก   นอกจากนี้ ทุกโครงการลูกค้าจะได้รับผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม WellTech ตามนโยบายของ ริชี่ ที่มุ่งหวังให้ลูกบ้านมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน อาทิ เครื่องฟอกอากาศ PM 2.5 เครื่องกรองน้ำดื่ม เครื่องกรองน้ำอาบช่วยลดคลอรีนเพื่อผิวพรรณที่ดี เป็นต้น โดยส่วนลดและของแถมทั้งหมดของโปรชั่นดังกล่าว มีมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท ซึ่งโปรโมชั่นจะเริ่มตังแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563   ดร.อาภา กล่าวอีกว่า  โครงการที่ร่วมโปรโมชั่น RICHY Double Choice ทั้งหมด 12 โครงการ ทั้งคอนโดมิเนียมแนวสูง แนวราบ และ ทาวน์โฮม อาทิ The Rich เอกมัย, The Rich เพลินจิต-นานา, The Rich สาทร-ตากสิน, Rich Park @เตาปูนอินเตอร์เชนจ์, Rich Point @BTS วุฒากาศ และ The Rich Ville ราชพฤกษ์-รัตนาธิเบศร์ เป็นต้น   สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกที่ผ่านมา  บริษัทมีรายได้รวม 237.93 ล้านบาท ลดลง 210.19 ล้านบาท หรือลดลง 46.90% เมื่อเทียบกับปีก่อนในงวดเดียวกัน  ปัจจัยหลักมาจากการโอนรับรู้รายได้จากอสังหาริมทรัพย์ ลดลง จำนวน 209.94 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็น 47.33%  เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งสภาวการณ์ภายในประเทศ และภายนอกประเทศ ที่เกิดการแพร่กระจายของโรคระบาดไวรัสโควิด-19 จึงส่งผลให้การรับรู้รายได้ลดลง   สำหรับในไตรมาสแรก ปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้จากการขายอาคารชุดจำนวนเงิน 218.10 ล้านบาท ลดลง 199.79 ล้านบาท หรือลดลง  47.81% เนื่องจากยอดโอนกรรมสิทธิ์จากอาคารชุดส่วนใหญ่ รับรู้รายได้น้อยลงกว่า ปี 2562 ซึ่งเป็นรายได้หลักจากการขายอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการขายทาวน์โฮมจำนวนเงิน 15.55 ล้านบาท ลดลง 10.15 ล้านบาท หรือลดลง 39.49%   บริษัทมีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาสแรก ปี 2563 เท่ากับ 21.28 ล้านบาทหรือคิดเป็น​ 8.94%  ของรายได้รวม โดยมีกำไรสุทธิลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนเท่ากับ 50.65 ล้านบาทหรือลดลง  70.42% ปัจจัยหลักมาจากรายได้ จากการโอนกรรมสิทธิ์ที่ลดลง  
ศูนย์ข้อมูลฯ วิเคราะห์ ตลาดอสังหาฯ 2563 โดนพิษโควิด-19 ปรับตัวลดต่ำสุด 15%

ศูนย์ข้อมูลฯ วิเคราะห์ ตลาดอสังหาฯ 2563 โดนพิษโควิด-19 ปรับตัวลดต่ำสุด 15%

ศูนย์ข้อมูลฯ​ เปิดผลสำรวจข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ  ช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดได้รับผลกระทบ ทำตลาดอสังหาฯภาพรวมลดต่ำลงมากสุด 15% แต่หากปรับตัวดีขึ้น น่าจะติดลบระดับ 10% แม้ตลาดแย่แต่ยังไม่เท่ากับวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540     ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 เป็นช่วงเวลาที่สะท้อนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ ไวรัส COVID-19 ต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการซื้อขายที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม โดยภาพรวมชะลอตัวลงทั้งในด้านดีมานด์และซัพพลาย  ซึ่งเป็นการปรับสมดุลของตลาดลดความเสี่ยงปัญหาอุปทานส่วนเกิน โอนกรรมสิทธิ์ปรับตัวลดทั้งจำนวนและมูลค่า สถานการณ์ด้านความต้องการที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 ประเมินจากข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่าภาพรวมทั่วประเทศในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 มีจำนวนยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 89,024 ยูนิต ลดลงจากไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา​ 16.7% แต่เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 จะเพิ่มขึ้น  2.5% โดยมีมูลค่ารวม 210,294 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว  20.6% แต่เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 จะเพิ่มขึ้น 6.4% โดยการโอนกรรมสิทธิ๋ที่อยู่อาศัยประเภทห้องชุดมีสัดส่วนใกล้เคียงกับบ้านเดี่ยว แต่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์บ้านเดี่ยวมีสัดส่วนสูงที่สุด ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 พบว่า มีจำนวนรวม 45,678 ยูนิต ลดลงจากไตรมส 4 ปีที่แล้ว 18.3% และลดลง 4.4% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์มีจำนวน 129,406 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว 24.4% และลดลง 2.7% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ในส่วนของภูมิภาค ไตรมาส 1 ปี 2563 มีจำนวนรวม 43,346 ยูนิต ลดลงจากไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา 14.9% แต่เพิ่มขึ้น 10.9% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์มีจำนวน 80,888 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา 13.5% แต่เพิ่มขึ้น  25.0% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562   โดยศูนย์ข้อมูลฯคาดการว่าในปี 2563 จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศจำนวน 311,719 ยูนิต ลดลง 16.7% จากปี 2562 มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์รวม 746,206 ล้านบาท ลดลง 14.8% จากปี 2562 ในจำนวนดังกล่าวประมาณการเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวน 160,350 ยูนิต มูลค่ารวม 472,401 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมา 19.1% และลดลง 17.4% ตามลำดับ ประมาณการยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์ในภูมิภาครวม 151,369 ยูนิต มูลค่ารวม 273,805 ล้านบาท ลดลงจากปีจากปีที่ผ่านมา 14.0% และลดลง 9.9% ตามลำดับ ด้านภาพรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศ พบว่าในไตรมาส 1 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 138,238 ล้านบาท ลดลง 13.0% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยคาดการว่าปี 2563 จะมีจำนวนสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศรวม 571,196 ล้านบาท ลดลง 10.8% จากปี 2562 ซัพพลายที่อยู่อาศัยลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สำหรับซัพพลายใหม่ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 พบว่ามีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ จำนวน 60,165 ยูนิต ลดลง 17.9% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลง 27.7% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ในจำนวนดังกล่าวเป็นการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จำนวน 20,590 ยูนิต ลดลง 18.6% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลง 36.5% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ส่วนในภูมิภาคพบว่ามีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยจำนวน 39,575 ยูนิต ลดลง 27.8% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลง 30.9% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562   โดยศูนย์ข้อมูลฯ คาดการว่าในปี 2563 จะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 256,601 ยูนิต ลดลง 16.5% เมื่อเทียบจากปี 2562 โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยจำนวน 97,441 ยูนิต ลดลง 20.7% ในส่วนภูมิภาคคาดว่าจะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยจำนวน 154,160 ยูนิต ลดลง 22.7% นอกจากนี้ จากข้อมูลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ของศูนย์ข้อมูลฯ พบว่าในช่วงไตรมาส1ปี 2563 ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีที่อยู่อาศัยทุกประเภทเปิดขายใหม่จำนวนรวม 15,932 ยูนิต ลดลง 49.3% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562  อัตรา 29.6% โดยประมาณการว่า ปี 2563 เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ทุกประเภทรวม 79,408 ยูนิต เป็นโครงการบ้านจัดสรรเปิดตัวใหม่ประมาณ 35,734 ยูนิต และอาคารชุดเปิดขายใหม่ประมาณ 43,674 ยูนิต ลดลง 19. %เมื่อเทียบกับปี 2562 ในขณะที่รายงานที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 ก็ลดลงด้วยเช่นกัน โดยมีจำนวน 21,260 ยูนิต ลดลง 24.7% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลง 12.3% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยคาดการว่าในปี 2563 จะมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนจำนวนประมาณ 80,563 ยูนิต ลดลง 27.8% จากปี 2562 ตลาดที่อยู่อาศัย ปี 2563 ติดลบหนักสุด 15%  อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์ โดยภาพรวมจากสถิติข้อมูลทั้งในด้านดีมานด์และซัพพลาย ศูนย์ข้อมูลฯคาดการว่าในปี 2563 แม้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะชะลอตัว แต่ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยจะไม่เกิดปัญหารุนแรงเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2541 เนื่องจากมีการปรับตัวทั้งในด้านดีมานด์และซัพพลาย  ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค   โดยคาดการว่าในปีนี้ แม้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะชะลอตัว มีตัวเลขจีดีพีติดลบในอัตรา 5.5% แต่ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยจะไม่เกิดปัญหารุนแรง ซึ่งประเมินว่าตลาดที่อยู่อาศัยในภาพรวม จะติดลบมากที่สุด 15% หรือหากปรับตัวดีขึ้นจะติดลบ 10% เพราะว่าความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังมีอยู่ เพียงแต่ผู้บริโภคยังไม่มั่นใจ และกังวลต่อแนวโน้มรายได้และอาชีพของตนเองในอนาคต แต่ยังมีผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่ยังมีรายได้และอาชีพที่มั่นคง ทำให้ผู้ประกอบการหันไปจับตลาดในกลุ่มดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งหากปัญหาทุกอย่างคลี่คลายเชื่อว่ากำลังซื้อจะกลับมาเป็นปกติ แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง
สิงห์ เอสเตท ปิดไตรมาส1 3 กลุ่มธุรกิจดันกำไรโตขึ้น 14%

สิงห์ เอสเตท ปิดไตรมาส1 3 กลุ่มธุรกิจดันกำไรโตขึ้น 14%

ไตรมาสแรก สิงห์ เอสเตท ยังทำรายได้รวม 2,186 ล้าน ฝ่าปัจจัยลบโควิด-19 มีกำไรเพิ่มขึ้น 14% ใน 3 กลุ่มธุรกิจ กลุ่มคอนโดฯ เริ่มหลังทยอยโอนหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ  ธุรกิจสำนักงานให้เช่า มีรายได้เพิ่มจากการซื้อ อาคารเมโทรโพลิส เข้าพอร์ต ส่วนธุรกิจโรงแรมรายได้เติบโตจากการเปิดโรงแรมใหม่เพิ่ม   นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี 2563 ว่า บริษัทมีรายได้รวมจาก 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจที่อยู่อาศัย ธุรกิจสำนักงานให้เช่า และธุรกิจโรงแรม มีรายได้รวม 2,186 ล้านบาท โดยธุรกิจที่พักอาศัยมีรายได้มาจากการโอนคอนโดมิเนียมโครงการ ดิ เอส อโศก (THE ESSE ASOKE) และโครงการ ดิ เอส แอท สิงห์ คอมเพล็กซ์ (THE ESSE at SINGHA COMPLEX) มูลค่า 752 ล้านบาท  คิดเป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ 34% บริษัทยังมีโครงการที่ก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จในปีนี้ และพร้อมที่จะเริ่มโอนในไตรมาส 4 คือโครงการ ดิ เอส สุขุมวิท 36 (THE ESSE SUKHUMVIT 36) ซึ่งร่วมทุนกับ ฮ่องกง แลนด์  ปัจจุบันมียอดขายแล้วกว่า 60% โดยเป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับ super luxury มีมูลค่าโครงการ  6,500 ล้านบาท   นอกจากนี้บริษัทได้มีการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมระดับ Affordable luxury ในทำเลศักยภาพย่านรางน้ำภายใต้ชื่อโครงการ ดิ เอ็กซ์โทร พญาไท-รางน้ำ (THE EXTRO PHAYATHAI – RANGNAM) มีมูลค่าโครงการกว่า 4,100 ล้านบาท ทำให้ภาพรวมธุรกิจที่พักอาศัยสามารถเติบโตได้ในระดับที่บริษัทคาดการณ์ไว้   โดยที่ผ่านมามีมาตรการปิดเมือง (Lock-down)  ซึ่งส่งผลต่อธุรกิจในระดับหนึ่ง อาทิ ลูกค้าชาวต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาตรวจรับมอบอาคารชุดได้ด้วยตนเอง และลูกค้าชาวไทยบางส่วนชะลอการเข้าเยี่ยมชมโครงการ และตรวจรับห้องออกไปจนกว่าสถานการณ์จะคลายตัวลงเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) นอกจากนี้ เพื่อสร้างความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการแพร่เชื่อโควิด-19 บริษัทจึงได้เพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์แบบ Virtual Tour 360 องศา ที่ทำให้ลูกค้าสามารถชมห้องตัวอย่างได้เปรียบเสมือนมาอยู่ในสถานที่จริง ด้านธุรกิจอาคารสำนักงานปัจจุบันมีทั้งสิ้น 4 อาคารได้แก่ อาคารซันทาวเวอร์ส, อาคารสิงห์ คอมเพล็กซ์, เดอะ ไลท์เฮ้าส์ และอาคารเมโทรโพลิส พื้นที่รวม 140,000 ตารางเมตร มีอัตราปล่อยเช่าเฉลี่ยราว 87% โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 บริษัทรับรู้รายได้จำนวน 243 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการเข้าซื้ออาคารเมโทรโพลิส ซึ่งมีพื้นที่ 13,700 ตารางเมตร และมีอัตราปล่อยเช่าสูงถึง 97% มีโอกาสในการเติบโตสูงเพราะตั้งอยู่ในทำเลใกล้รถไฟฟ้าสถานีพร้อมพงษ์ เป็นแหล่งไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่   ขณะที่ธุรกิจโรงแรม จากพอร์ทรวมทั้งหมด 39 แห่ง มีรายได้ 1,144 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 52% โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นมานั้น มาจากการเปิดโครงการ Crossroads และได้ดำเนินการ SAii Lagoon Maldives, Hard Rock Hotel Maldives และ The Marina @ CROSSROADS ตั้งแต่ปลายปีก่อนต่อเนื่องถึงต้นปีนี้   อย่างไรก็ตาม จากการเปิดโครงการ Crossroads  ส่งผลทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น แต่บริษัทยังมีกำไรเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากการรับรู้รายได้จากส่วนอื่น ได้แก่ กำไรจำนวน 423 ล้านบาท จากการขายเงินลงทุนในเกาะ 3 ที่โครงการ Crossroads โดยการขายเงินลงทุน 50% ให้กับ Wai Eco World Developer Pte. Ltd ตามสัญญาร่วมทุนเพื่อพัฒนาและบริหารงาน High-end lifestyle resorts ด้วยราคาซื้อขายหุ้นมูลค่า 16.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และผลจากมาตรฐานการบัญชี TFRS 9 ทำให้บริษัทสามารถรับรู้กำไรจำนวน 115 ล้านบาทจากส่วนต่างของการ Mark to market อนุพันธ์แฝงจากหุ้นกู้แปลงสภาพ ส่งผลให้กำไรสุทธิของงวดอยู่ที่ 335 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากไตรมาสที่ 1 ปี 2562   จากภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บริษัทตระหนักดีว่าต้องเผชิญกับความท้าท้ายครั้งสำคัญ รวมทั้งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ทั้งนี้ บริษัทมั่นใจว่าสามารถรักษาการเติบโตแบบยั่งยืนได้ ด้วยสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง จากอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ 0.86 เท่า ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับ covenant ของบริษัทที่ 2.0 เท่า และเพื่อเป็นการคำนึงถึงผลตอบแทนผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นสำคัญ บริษัทจึงคงการจ่ายปันผลระหว่างกาล จากกำไรสุทธิประจำปี 2562 หุ้นละ 0.045 บาท และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563   สำหรับในไตรมาสต่อไปบริษัทมีการปรับแผนกลยุทธ์เพื่อฟื้นฟูธุรกิจเน้นการดำเนินแผนบริหารจัดการต้นทุนที่เคร่งครัด อาทิ การปรับงบประมาณและควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการตลาด  การบริหารกระแสเงินสด รวมถึงการสร้าง synergy ระหว่างพันธมิตรธุรกิจ ที่สำคัญบริษัทยังมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกกลุ่มตลอดจนสร้างความยืดหยุ่นให้กับองค์กรเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทุกมิติ และเชื่อมั่นว่าบริษัท จะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างแข็งแกร่ง
แสนสิริ เจอพิษโควิด-19 ทำกำไรลดเหลือแค่ 62 ล้าน เร่งสปีดธุรกิจปั้มยอดขาย  

แสนสิริ เจอพิษโควิด-19 ทำกำไรลดเหลือแค่ 62 ล้าน เร่งสปีดธุรกิจปั้มยอดขาย  

แสนสิริ ยังทำรายได้ขายอสังหาฯ  ไตรมาสแรกกว่า 5,393 ล้าน แต่กำไรลดฮวบเหลือแค่ 62 ล้าน จากช่วงเดียวกันของปีก่อนทำได้กว่า 400 ล้าน เหตุขาดทุนในกิจการโรงแรม แถมค่าบริหารธุรกิจพุ่งสูง จากผลกระทบโควิด-19 เดินหน้าเร่งสปีดธุรกิจ หวังโกยยอดขายเพิ่ม หลังตุนยอดได้กว่า 21,000 ล้าน   นายอภิชาติ  จูตระกูล ประธานอำนวยการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทมีรายได้รวม 6,623 ล้านบาท ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแบ่งเป็นรายได้จากการขาย 5,393 ล้านบาท เติบโตขึ้น 10% จากปีก่อน มาจากการโอนโครงการแนวราบและแนวสูงในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ 59 : 41 % อาทิ โครงการบุราสิริ พัฒนาการ โครงการบ้านแสนสิริ พัฒนาการ  ไทเกอร์ เลน รวมถึงโครงการคอนโดมิเนียม ที่ได้รับการตอบรับโอนที่ดีจากลูกค้า อาทิ โครงการ เดอะ โมนูเมนต์ ทองหล่อ โครงการดีคอนโด ริน เชียงใหม่ และ ลา กาซิตา หัวหิน เป็นต้น   นอกจากนี้ บริษัทยังมีกำไรจากการลงทุนจากการเพิ่มมูลค่าของ JustCo ที่แสนสิริเข้าไปลงทุนถือหุ้น โดย Daito Trust บริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจของ Justco และได้เข้าซื้อส่วนลงทุนของ Justco มูลค่ากว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ Valuation ของ Justco เพิ่มมูลค่าอย่างมาก โดยแสนสิริในฐานะผู้ถือหุ้น สามารถรับรู้กำไรจากการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนนี้ได้กว่า 703 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ตามมาตรฐานการบัญชีนั้น กำไรจากการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนนี้จะไม่ปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ แต่จะถูกบันทึกเป็นกำไรสะสมในงบดุลโดยตรง สำหรับ JustCo นับเป็น Coworking space & Serviced Office รูปแบบใหม่ ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึง 150% ในแต่ละปี ปัจจุบันประกอบด้วย 42 จัสท์โค เซ็นเทอร์ ใน 8 เมืองใหญ่ต่างประเทศ โดยในประเทศไทยจัสท์โคเปิดตัว 4 แห่ง   อย่างไรก็ตาม จากผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า แสนสิริมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์กว่า 5,382.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ​ 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ทำได้ 4,892.57 ล้านบาท  แม้ว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น แต่ความสามารถในการทำกำไรกลับลดต่ำลงอย่างมาก โดยในไตรมาสแรกปีนี้ แสนสิริและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 62 ล้านบาท ซึ่งถือว่าลดต่ำลงอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งทำกำไรไปกว่า 404.30 ล้านบาท  สาเหตุหลักมาจากการลดลงของอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายโครงการ รวมถึงการขาดทุนจากธุรกิจการบริหารโรงแรม ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบ กับการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการบริหาร   สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของแสนสิริ เพื่อรองรับความแข็งแกร่งควบคู่ไปกับการสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงิน คือ การสานต่อการสร้างแบรนด์แสนสิริให้แข็งแกร่งมากขึ้น  ปัจจุบันแสนสิริมียอดขายล่วงหน้า (Pre-Sale Backlog) โครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ เป็นมูลค่ารวมเกือบ 46,900 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องใน 1-3 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ แสนสิริยังมีแผนขยายการพัฒนาธุรกิจที่อยู่อาศัยใหม่ๆ เพื่อรองรับทุกความต้องการของลูกค้า สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง เพื่อรองรับการขยายธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีผลกระทบต่อแผนการลงทุนระยะยาว อันจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนและสถาบันการเงินได้เป็นอย่างดี  รวมถึงบริษัทยังมีสภาพคล่องและ Cash flow หรือกระแสเงินสด อีกถึง 10,000 ล้านบาท ที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจและมีความแข็งแกร่งในทุกสภาวการณ์   ทั้งนี้ ความสำเร็จจากการออกหุ้นกู้ระยะยาวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้บริษัทเล็งเห็นศักยภาพในการรักษาการเติบโตได้ จึงมีการพิจารณาแผนความแข็งแกร่งด้านการเงินระยะยาวโดยการเตรียมความพร้อมสำหรับการเติบโตในอนาคต ด้วยการออก Perpetual Bond 2,500 ล้านบาท เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับแสนสิริ   ปัจจุบันแสนสิริมียอดขายล่าสุดอยู่ที่ 21,000 ล้านบาท จากการดำเนินธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์การตลาดที่แข็งแกร่งนำหน้าคู่แข่งในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ยังทำให้แสนสิริต้องเร่งการขายโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ ให้เร็วกว่าแผนเดิม เพื่อแข่งขันกับสภาพตลาด (Speed to Market)   ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 6/2563 ได้มีมติอนุมัติแผนเตรียมความพร้อมรองรับการเติบโต ในอนาคตของบริษัท โดยการขออนุมัติออกหุ้นสามัญรวมจำนวน 4,600​ ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.07 บาท ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 16,224,125,722.40 บาท มาเป็นทุนจดทะเบียนใหม่ที่ 21,146,125,722.40 บาท   โดยการเตรียมความพร้อมในครั้งนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Warrant) ที่ออกให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) จำนวน 2,500 ล้านหุ้น โดยมีราคาใช้สิทธิที่ 1.10 บาทต่อหุ้น ซึ่งจะจัดสรรให้แก่ผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (Perpetual Bond) ที่บริษัทจะออกและเสนอขายโดยมีมูลค่าการเสนอขายรวมไม่เกิน 2,500 ล้านบาท และเพื่อรองรับการใช้สิทธิตามโครงการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท (ESOP#8) ให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท จำนวน 700 ล้านหุ้น โดยมีราคาใช้สิทธิที่ 1.10 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของบริษัท ช่วยเสริมสร้างกำลังใจให้แก่ผู้บริหารและพนักงานในการปฏิบัติงาน อีกทั้งยังเป็นการจูงใจและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถและมีประสิทธิภาพในการทำงานให้อยู่กับบริษัทต่อไปในระยะยาว อันจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต   นอกจากนี้ จะมีการขออนุมัติกรอบการเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) ไว้จำนวน 1,400 ล้านหุ้น โดยจะมีการดำเนินการขออนุมัติมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 นี้ สำหรับหุ้นสามัญที่จะออกเพิ่มให้กับนักลงทุนสถาบัน ในวงจำกัด (private placement) มีกลุ่มทุนที่ให้ความสนใจ ได้แก่ กองทุนที่ฮ่องกง ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งทางด้านการเงินและเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับแสนสิริ
พฤกษา พอใจผลงานไตรมาสแรก  เดินหน้าใช้การตลาดดิจิทัลรับไลฟ์สไตล์ New Normal

พฤกษา พอใจผลงานไตรมาสแรก เดินหน้าใช้การตลาดดิจิทัลรับไลฟ์สไตล์ New Normal

พฤกษา เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2563 ดีกว่าที่คาดการณ์ ทำรายได้ 7,143 ล้านบาท ยอดขาย 6,069 ล้านบาท กำไรสุทธิ 922 ล้านบาท เชื่อผู้บริโภคยังมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยต่อเนื่อง เล็งปรับกลยุทธ์ธุรกิจรับ New Normal  ในทุกมิติ ชูช่องทางขายผ่านดิจิทัล อัดโปรโมชั่นชิงส่วนแบ่งตลาด   นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  เผยถึงผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2563 ว่า  แม้บริษัทฯ จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  แต่โดยภาพรวมผลการดำเนินธุรกิจยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากบริษัทฯ สามารถบริหารจัดการความเสี่ยง และปรับตัวรับมือต่อผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้บริษัทฯ มีรายได้ 7,143 ล้านบาท ยอดขาย 6,069 ล้านบาท กำไรสุทธิ 922 ล้านบาท  และมียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) อยู่ 26,810 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ 9,000 ล้านบาท พร้อมยังคงสภาวะทางการเงินที่แข็งแกร่งจากการบริหารสภาพคล่องของกระแสเงินสด (Cash Flow) อย่างมีประสิทธิภาพ   โดยสัดส่วนรายได้ในไตรมาส 1 ราว 66% หรือ 4,699 ล้านบาท มาจากกลุ่มสินค้าทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยว และมีรายได้จากกลุ่มสินค้าคอนโดมิเนียมประมาณ 34% หรือ 2,435 ล้านบาท ด้านสัดส่วนยอดขาย แบ่งเป็นยอดขายมาจาก ทาวน์เฮาส์ 2,808  ล้านบาท  คอนโดมิเนียม 2,081 ล้านบาท และบ้านเดี่ยว 1,180 ล้านบาท ยังคงอัตราการทำกำไรในระดับที่ดี เห็นได้จากอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ที่ 35.9% สูงขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน   ในช่วงไตรมาสแรกบริษัทได้เปิดโครงการใหม่ 5 โครงการ เป็นทาวน์เฮาส์ 3 โครงการ มูลค่า 1,930 ล้านบาท และ คอนโดมิเนียม 2 โครงการ มูลค่า 3,250 ล้านบาท ได้แก่  เดอะทรี วิคทอรี่ โมนูเมนต์ และเดอะ ทรี สุขุมวิท พระรามสี่  มีอัตรายอดขาย (Take Up Rate) ของโครงการเปิดใหม่ที่ 25% สูงกว่าตลาดที่มีอัตรายอดขายอยู่ที่ 16%     สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในช่วงต่อไป จะเน้นการบริหารค่าใช้จ่ายทุกประเภทภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  รักษาสภาพคล่อง เร่งแปรสินค้าสต็อก (Inventory) ให้เป็นรายได้ พร้อมออกแคมเปญส่งเสริมการขายด้วยข้อเสนอพิเศษสุด สำหรับลูกค้าที่จองและโอนกรรมสิทธิ์โครงการต่างๆ ของพฤกษาที่เข้าร่วม จำนวนถึง 167 โครงการ ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2563 พฤกษาผ่อนให้นานสูงสุด 2  ปี พร้อมรับส่วนลดสูงสุดถึง 1 ล้านบาท ฟรีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิ ฟรีค่าใช้จ่ายวันโอน  ฟรีส่วนกลาง 3 ปี ฟรีค่ามิเตอร์น้ำ-ไฟ และเพิ่มเติมสำหรับทาวน์เฮาส์ รับทองคำสูงสุด 1 บาทหรือเลือกรับส่วนลดมูลค่า 25,000 บาท โดยโปรโมชั่นมีเงื่อนไขตามที่แต่ละโครงการกำหนด   นอกจากนี้ หลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ที่จำกัดการออกจากบ้านของผู้บริโภค เป็นตัวเร่งให้สังคมเข้าสู่จุดที่ทุกคนทุกวัยเชื่อมต่อสู่โลกออนไลน์เร็วขึ้นและเพิ่มขึ้น  ผู้ประกอบการทุกรายจึงต้องปรับกลยุทธ์ด้วยการนำเอาสินค้าของตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัลตลอดทุกช่วงของ Customer Journey ให้ได้มากที่สุด     เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้า  พฤกษาจึงเตรียมยกระดับการพัฒนาสินค้า นวัตกรรม และการบริการ แบบบูรณาการในทุกมิติ พร้อมทั้งปรับกลยุทธ์การตลาดและการขาย โดยได้ปรับการขายผ่าน Digital Platform ตั้งแต่ระยะต้น อาทิ Facebook Live พาเยี่ยมชมโครงการ ซื้อสินค้าผ่านทางไลน์แชท (Line Chat) ชมโครงการผ่าน VDO 360 องศา และ VDO Call  การคัดเลือกบ้านยูนิตพิเศษ (Hot Deals)  พร้อมราคาและเงื่อนไขสุดพิเศษ ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี   สำหรับภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งปีหลัง จากแนวโน้มสถานการณ์ผู้ติดเชื้อลดลงในขณะที่คนไทยมีการปรับตัวในการดำเนินชีวิตแบบเว้นระยะห่างทางสังคม  ด้วยแล้ว มองว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น หลังจากความกังวลลดลง คาดว่าลูกค้าที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะกลับมาตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น        
มั่นคงฯ เจอผลกระทบโควิด-19 ไตรมาสแรกรายได้วูบ 18%

มั่นคงฯ เจอผลกระทบโควิด-19 ไตรมาสแรกรายได้วูบ 18%

มั่นคงเคหะการ  โดยพิษไวรัสโควิด-19 รายได้อสังหาฯ ไตรมาสแรกลด 18% แต่ได้อานิสงค์ธุรกิจเช่าและการบริการ หนุนรายได้ ครึ่งปีหลังเตรียมเปิดตัวโครงการแนวราบอีก 2 โครงการ และธุรกิจเวลเนสส์เซ็นเตอร์    นายวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี 2563 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยสามารถทำรายได้รวมจากการขายและบริการได้ 640.92 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายอยู่ที่  496.93  ล้านบาท ส่วนธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการมีรายได้เติบโตขึ้นเป็นจำนวนถึง 143.99 ล้านบาท เติบโตเพิ่ม 23% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา   ทั้งนี้ จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีอัตราชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี 2562 ผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคบางกลุ่ม  ทำให้มีการชะลอการตัดสินใจซื้อ รวมถึงมีความสามารถในการซื้อที่ลดลง ในไตรมาสแรกของปี 2563 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ ลดลงประมาณ 18% เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อไตรมาส ภายหลังมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยเริ่มมีผลบังคับใช้ในปีที่ผ่านมา   อย่างไรก็ตาม แม้จะอยู่ท่ามกลางวิกฤต แต่บริษัทฯ ก็ยังสามารถสร้างรายได้จากธุรกิจเช่าและบริการ (Recurring Income) ถึง 143.99 ล้านบาท เติบโต  23% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา  โดยรายได้หลักมาจากโครงการ บางกอก ฟรีเทรด โซน ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด จำนวน 92.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 29.31 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นถึง 46.12% จากผลการดำเนินงานภาพรวมของ บมจ.มั่นคงเคหะการ จะเห็นได้ว่าธุรกิจให้เช่าและธุรกิจบริการ มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นให้กับกลุ่มบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นไปตามแผน  การปรับโครงสร้างรายได้ของกลุ่มบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ ในระยะยาว โดยสัดส่วนกำไรขั้นต้นของธุรกิจให้เช่าและธุรกิจบริการเมื่อเปรียบเทียบกับกำไรขั้นต้นทั้งหมด ไม่รวมการขายที่ดินเปล่าในไตรมาสนี้ปรับเพิ่มขึ้น 34% จากเดิม 19.5%   นายวรสิทธิ์ กล่าวอีกว่า จะเห็นได้ว่าแผนธุรกิจ 5 ปีของกลุ่มบริษัท ที่มุ่งเน้นสร้างสมดุลรายได้ที่มั่นคง ได้ช่วยลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ได้เป็นอย่างดี  รวมถึงกลุ่มบริษัทยังสามารถควบคุมต้นทุน และค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และยังสามารถดำเนินงานตามแผนธุรกิจที่วางไว้ได้อย่างต่อเนื่อง   สำหรับแผนการดำเนินงานต่อไป โดยมีแผนเปิดตัวโครงการแนวราบอีก 2 โครงการ และธุรกิจโครงการสถานพยาบาล สถานฟื้นฟูและเวชศาสตร์ชะลอวัย (Wellness Center) ที่มีแผนจะเปิดตัวช่วงปลายปี 2563 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีแผนในการจัดตั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งปีหลัง  เพื่อให้เป็นตามแผนโครงสร้างรายได้ 5 ปี ปรับสัดส่วนกำไรของทั้ง 2 ฝั่งอยู่ที่ 50/50 ภายในปี 2564
เอสซีฯ​ รุกตลาดแนวราบ เปิดเดือนเดียว 4 โปรเจ็กต์ มูลค่า 5,000 ล้าน

เอสซีฯ​ รุกตลาดแนวราบ เปิดเดือนเดียว 4 โปรเจ็กต์ มูลค่า 5,000 ล้าน

เอสซีฯ รุกตลาดแนวราบไตรมาส 3 เปิดใหม่เดือนเดียว 4 โปรเจ็กต์  มูลค่ารวม 5,000  ล้าน หลังปรับกลยุทธ์ทำตลาดออนไลน์ได้กระแสตอบรับดี ขณะที่ไตรมาสแรก ยังโชว์ผลงานทำรายได้รวมโต 4% กวาดกำไรกว่า​ 300 ล้าน   นายอรรถพล สฤษฎิพันธาวาทย์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านสนับสนุนองค์กร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เปิดเผยว่า หลังจากบริษัทได้ปรับกลยุทธ์ทางการตลาด ด้วยการทำตลาดออนไลน์ในโครงบ้านแนวราบ ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี  ในไตรมาส 2 นี้ จึงวางแผนเปิดโครงการบ้านเดี่ยวเพิ่มอีก 4 โครงการ มูลค่ารวม 5,000  ล้านบาท เป็นกลุ่มบ้านระดับราคา 5-50 ล้านบาท   โดย 2 โครงการแรกจะเปิด Pre-sale ในวันที่ 16-17 พฤษภาคมนี้ ได้แก่  1. บางกอก บูเลอวาร์ด วิภาวดี บ้านขนาด 2 ชั้น พื้นที่ 10-2-7.5 ไร่ มูลค่าโครงการ 730 ล้านบาท จำนวน  37 ยูนิต ราคา 13.99 - 26 ล้านบาท  ทำเลถนนวิภาวดีรังสิต ใกล้ทางด่วนศรีรัช (งามวงศ์วาน) เพียง 3.7 กม.  และ 2. บางกอก บูเลอวาร์ด พระราม5 บ้านขนาด 2 ชั้น 3 แบบ พื้นที่ 44 ไร่ มูลค่าโครงการ 2,100 ล้านบาท จำนวน 189 ยูนิต ราคา 8.99-15 ล้านบาทในทำเลใกล้ด่วนศรีรัช นอกจากนี้  ในวันที่ 23-24 พฤษภาคม ยังเตรียมเปิดอีก 2 โครงการใหม่ คือ  โครงการเดอะ เจนริ วิภาวดี วิลล่า 3 ชั้น ขนาด 5 ห้องนอน 6 ห้องน้ำ 4 ที่จอดรถ พร้อมสระส่วนตัวและลิฟท์ส่วนตัว มีจำนวนเพียง 10 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 27-50 ล้านบาท  โครงการมีพื้นที่  4-2-19 ไร่ มูลค่าโครงการ 400 ล้านบาท ​และ โครงการ​ เวนิว โฟลว์ แจ้งวัฒนะ บ้านเดี่ยว 2 ชั้น 3 แบบ พื้นที่โครงการ 68-1-59 ไร่ มูลค่าโครงการ 1,710 ล้านบาท  จำนวน 254 ยูนิต ราคาเริ่ม 5-10 ล้านบาท   สำหรับการเปิดตัวโครงการใหม่  บริษัทได้เตรียมแคมเปญโปรโมชั่นผ่อนหนักให้เป็นฟรี “SC Super Free”เมื่อจองโครงการตั้งแต่วันนี้ – 31 พฤษภาคมนี้  และโอนกรรมสิทธิ์ภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ นายอรรถพล กล่าวยังได้กล่าวถึงผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2563 นี้ว่า บริษัทมีรายได้รวม 3,313 ล้านบาท เติบโต 4% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นรายได้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย 3,071 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 93% ของรายได้รวม  ซึ่งแบ่งเป็นรายได้จากโครงการแนวราบ 1,829 ล้านบาท และรายได้จากโครงการคอนโดมิเนียม 1,243 ล้านบาท   ส่วนสัดส่วนอีก 7% เป็นรายได้จากการให้เช่าและบริการ  มีกำไรสุทธิ 301 ล้านบาท โดยมียอดขายรวม 1,982 ล้านบาท  ณ 31มีนาคม 2563 บริษัทและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์และหนี้สินรวม 47,035 ล้านบาท และ 29,142 ล้านบาทตามลำดับ ปัจจุบันมีโครงการที่เปิดขายต่อเนื่อง จำนวน 52 โครงการ มูลค่าคงเหลือเพื่อขายรวมกว่า 41,600 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบ 44 โครงการ และคอนโด 8 โครงการ ทั้งนี้ บริษัทมีกำหนดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ในอัตราหุ้นละ  0.19 บาท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2563 ที่มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล  
DRT โชว์ผลงาน Q1 ยังทำกำไร แม้รายได้ลดลงกว่า 7%

DRT โชว์ผลงาน Q1 ยังทำกำไร แม้รายได้ลดลงกว่า 7%

DRT ใช้กลยุทธ์ Product Mix และบริหารต้นทุนสินค้า ฝ่าวิกฤกต COVID-19 ทำกำไรสุทธิไตรมาสแรกได้กว่า  168.20 ล้านบาท  แม้รายได้จะลดลงกว่า 7%  ขณะที่ไตรมาส 2 ลุ้นรัฐผ่อนคลายล็อกดาวน์ ร้านค้าวัสดุกลับมาเปิดบริการอีกครั้ง     นายสาธิต สุดบรรทัด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน) หรือ DRT  ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตราสินค้า "ตราเพชร" เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี 2563 ที่ผ่านมาว่า บริษัทฯ ทำกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน 168.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.56% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่มีกำไร 165.62 ล้านบาท (ไม่รวมกำไรจากการขายที่ดินที่ไม่ใช้ประโยชน์)   แม้ว่าในปีนี้จะมีปัจจัยลบจาก COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมให้ชะลอตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้รายได้จากการขายสินค้าและบริการในไตรมาสนี้อยู่ที่ 1,233.51 ล้านบาท ลดลง 7.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีรายได้จากการขายและการบริการ 1,329.18 ล้านบาท ทั้งนี้ กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้น มาจากการบริหารต้นทุนการผลิตสินค้าต่อหน่วยอยู่ในระดับต่ำ โดยสามารถรักษาอัตราการเดินเครื่องจักรผลิตสินค้าเฉลี่ยมากกว่า 90% ของกำลังการผลิตรวม และบริหาร Product Mix หรือสัดส่วนการขายสินค้าได้ดี  ช่วยสนับสนุนอัตราการทำกำไรขั้นต้นได้ตามแผนงาน ประกอบกับ DRT มีจุดแข็งด้านช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย โดยร้านค้าตัวแทนจำหน่ายรายย่อยและตลาดส่งออก ที่มีสัดส่วนรวมกัน 70% ของรายได้ทั้งหมด ยังทำยอดขายไตรมาสแรกที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจ แม้ไตรมาสแรกปีนี้มีวิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง แต่เรายังสามารถผลักดันการเติบโตของกำไรสุทธิได้ เนื่องจากจุดแข็งของ DRT ที่มีการผลิตด้วยต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำ การบริหารสัดส่วนการขายสินค้าแต่ละประเภทได้ดีช่วยสนับสนุนการทำกำไรขั้นต้นได้ตามเป้า    ส่วนภาพรวมการดำเนินงานไตรมาส 2  ต้องติดตามสถานการณ์กำลังซื้อ  และบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด หากภาครัฐควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ดี และเริ่มผ่อนคลายการล็อกดาวน์ ธุรกิจบางประเภทเริ่มทยอยกลับมาเปิดดำเนินการได้บางส่วน โดยเฉพาะการเปิดบริการห้างค้าปลีกวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ จะส่งผลดีต่อยอดขายจากช่องทางจำหน่ายดังกล่าวฟื้นตัว ซึ่ง DRT ได้เตรียมสต็อกสินค้าไว้รองรับอย่างเพียงพอ ขณะที่ช่องทางขายผ่านร้านค้าตัวแทนจำหน่ายรายย่อย และตลาดส่งออกในไตรมาสนี้ ยังมีแนวโน้มทำยอดขายอยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อเนื่อง จากความต้องการใช้วัสดุก่อสร้าง เพื่อการปรับปรุงและซ่อมแซ่มบ้าน รวมถึงดีมานด์จากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่เริ่มฟื้นตัว ยกเว้นช่องทางลูกค้าโครงการที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน  
“แอสเสท เวิรด์” โดนพิษโควิด-19 ทุบกำไร-รายได้ไตรมาสแรกลด

“แอสเสท เวิรด์” โดนพิษโควิด-19 ทุบกำไร-รายได้ไตรมาสแรกลด

แอสเสท เวิรด์ เผยผลประกอบการไตรมาสแรก โดนพิษโควิด-19 ทุบรายได้และกำไรลดลง  เหตุนักท่องเที่ยวหาย ปิดโรงแรม-ศูนย์การค้า  มีกำไรลดลง 55.6% เหลือสุทธิ 108.2 ล้านบาท  และมีรายได้รวม 2,512.9 ล้านบาท ลดลง 30.6% จาก 3,623.0 ล้านบาท  พร้อมเดินหน้าธุรกิจต่อเนื่องด้วยมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่าย   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายของทุกภาคส่วน ด้วยผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ที่มีแนวโน้มลดลงกว่า 80% (ข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยงต่างชาติที่มาเยือนประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) และมาตรการเข้มงวดจากทางภาครัฐ ในการปิดสถานประกอบการ ซึ่งรวมถึงโครงการศูนย์การค้า เพื่อป้องกันและลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลให้ AWC ต้องประกาศมาตรการปิดให้บริการโรงแรม และอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้าต่างๆ ชั่วคราว รวมถึงมีมาตรการอื่นๆ เพื่อดูแลช่วยเหลือผู้เช่า ทำให้ AWC มีกำไรในไตรมาสแรกลดลงลดลง 55.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หรือมีกำไรสุทธิ 108.2 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม AWC ยังคงได้รับประโยชน์ จากกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลาย และสมดุลเชิงธุรกิจ (Balanced and Diversified Portfolio) ที่ช่วยกระจายความเสี่ยง ซึ่งเห็นได้ชัดจากธุรกิจอาคารสำนักงาน (Office) ที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนกำไรจากการดำเนินงานของสินทรัพย์ดำเนินงาน (พอร์ททรัพย์สินที่ดำเนินงานและไม่รวม โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง และโรงแรมอิมพีเรียล หัวหิน ที่หยุดดำเนินงานเพื่อปรับปรุงโรงแรม ช่วงกลางปี 2562 รวมถึงรายได้จากค่าบริหาร และดอกเบี้ยรับจากบริษัทกลุ่มทีซีซี)   โดยในไตรมาส 1 ของปี 2563 AWC ยังคงมีกำไรจากการดำเนินงานของสินทรัพย์ดำเนินงาน อยู่ที่ 1,184.9 ล้านบาท ซึ่งแบ่งสัดส่วนเป็นธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) 38.8% ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการประกอบกิจการการค้า (Retail) 21.8% และธุรกิจอาคารสำนักงาน (Office) 39.4%   นอกจากนี้ AWC ได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเคร่งครัด (Cost Efficiency Initiatives) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ทำให้ค่าใช้จ่ายการบริหารส่วนกลางในช่วงไตรมาสแรก เท่ากับ 127.0 ล้านบาท ลดลง 37.1% จาก 202.0 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมเท่ากับ 1,364.0 ล้านบาท ลดลง 22.1% จาก 1,572.1 ล้านบาท ส่งผลให้ AWC มีอัตราส่วนอีบิทดาต่อรายได้ (EBITDA Margin) เท่ากับ 38.8% ลดลงเพียง 0.7% แม้จะมีรายได้ลดลงจากเหตุผลข้างต้น และมีอัตรากำไรสุทธิ 4.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีอัตรากำไรสุทธิ 6.7% สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจต่างๆ กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) มีรายได้จากสินทรัพย์ดำเนินงานอยู่ที่ 1,534.6 ล้านบาท ลดลง 36.2% จาก 2,404.0 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศปรับตัวลดลงตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม รวมทั้งการจัดประชุมสัมมนาและจัดแสดงสินค้าต่างๆ หยุดชะงักตามนโยบายของรัฐบาล   กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail & Commercial) มีรายได้จากสินทรัพย์ดำเนินงาน  อยู่ที่ 1,014.3 ล้านบาท ซึ่งลดลง 10.9% จาก 1,138.5 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากมาตรการลดหรือยกเว้นค่าเช่าชั่วคราว เพื่อช่วยเหลือดูแลผู้เช่าที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการเข้มงวดจากทางภาครัฐในการปิดสถานประกอบการต่างๆ เพื่อป้องกันและลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19   โดย AWC มีนโยบายที่ต้องการให้พันธมิตรผู้เช่าสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในภาวะที่ยากลำบาก และเป็นพันธมิตรต่อเนื่องร่วมกันไปในระยะยาว อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาคารสำนักงานยังคงสร้างกระแสเงินสดที่มั่นคงและต่อเนื่อง และช่วยรักษาระดับรายได้รวมของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์จากกลยุทธ์หลักของ AWC ที่มุ่งเน้นการลงทุนที่หลากหลายและสมดุลเชิงธุรกิจได้เป็นอย่างดี   นอกจากนี้ AWC ได้เข้าซื้อสินทรัพย์กลุ่ม 3 ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 ด้วยมูลค่าลงทุนรวม 25,785.6 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการอสังสหาริมทรัพย์จำนวน 12 โครงการ ตามสัญญาซื้อขายหุ้นสินทรัพย์กลุ่ม 3 ปี 2562 ที่เพิ่มจำนวนห้องพักในโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้วรวม 989 ห้องในทันที และจะเพิ่มห้องพักอีกมากกว่า 2,500 ห้องจากโครงการที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือพัฒนา พร้อมทั้งศักยภาพในการพัฒนาโครงการค้าปลีกในอนาคต ทำให้ AWC มีสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 มูลค่า 124,921.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.4% จาก 109,158.0 ล้านบาท เมื่อเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 “ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่มีความแน่นอน AWC จะยังคงดำเนินมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน และเพิ่มประสิทธิผลให้สอดคล้องไปกับแผนกลยุทธ์หลักทางธุรกิจขององค์กร รวมทั้งการพัฒนากลยุทธ์การตลาดให้ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับบริษัท พนักงาน นักลงทุน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สู่เป้าหมายการเป็นกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ก้าวหน้าและเติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน และผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 นี้ไปด้วยกันได้อย่างดีที่สุด”    
เผยบทวิเคราะห์ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยใหม่ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

เผยบทวิเคราะห์ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยใหม่ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

ปีนี้ต้องยอมรับว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ เหนื่อยสุดเพราะเจอผลกระทบจากปัจจัยลบสารพัด โดยเฉพาะปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และยังมีปัจจัยลบก่อนหน้าที่กระทบต่อตลาดอสังหาฯ อย่างมาก คือ มาตรการ LTV เพราะทำให้กำลังซื้อลดลง กลุ่มนักลงทุนหายออกจากตลาด     ผลกระทบที่มีต่อตลาดอสังหาฯ อย่างมากในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ได้ส่งผลต่อราคาอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวน์เฮ้าส์ หรือคอนโดมิเนียมอย่างไรบ้างนั้น คงต้องอ่านบทวิเคราะห์จากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพราะหากประเมินจากสถานการณ์ปัจจุบัน ดูเหมือนว่าความต้องการที่อยู่อาศัยจะลดน้อยลง และช่วงที่ผ่านมาเห็นการจัดโปรโมชั่น การทำตลาดด้วยกลยุทธ์ลด แลก แจก แถมมากมาย เพื่อกระตุ้นยอดขายต่างๆ บางรายออกมาลดราคาห้องชุดคอนโดฯ​ มากถึง 50% ซึ่งในความเป็นจริงราคาที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ต้องลองอ่านบทวิเคราะห์ของศูนย์ข้อมูลฯ ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC  เปิดเผยว่า  ได้จัดทำรายงานดัชนีราคา ที่อยู่อาศัยใหม่ ที่อยู่ระหว่างการขาย ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 พบว่า ดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีราคาห้องชุดคอนโดมิเนียม ที่อยู่ระหว่างการขาย ไตรมาส 1 ปี 2563 ขยายตัวต่ำสุดนับจากปี 2555 ที่เริ่มจัดทำดัชนีห้องชุดคอนโดฯ บ้านจัดสรรใหม่ราคายังเพิ่มฝ่าปัจจัยลบ สำหรับดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ทั้งบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีค่าดัชนีเท่ากับ 128.4 จุด เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 127.4 จุด เพิ่มขึ้น  2.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ส่วนในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 129.2 จุด เพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)   ราคาที่อยู่อาศัยแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ยังมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น  ถึงแม้ว่าตลาดที่อยู่อาศัย แนวราบจะประสบกับปัจจัยลบรุมเร้ามากกว่าปัจจัยบวก ทั้งทางเศรษฐกิจและโรคระบาดจากไวรัส COVID-19 เนื่องจากต้นทุนในการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบ ทั้งราคาที่ดิน ราคาวัสดุและค่าแรงในการก่อสร้าง  ประกอบกับที่อยู่อาศัยแนวราบ เป็นมีผู้ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงมากกว่าการซื้อเพื่อลงทุน จึงส่งผลให้มีความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทนี้ซึ่งมีอยู่มาก ทาให้ราคายังคงมีการปรับตัวเพิ่ม แต่ในอัตราที่น้อยตามสถานการณ์ ตลาดที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน สำหรับ ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 มีค่าดัชนีเท่ากับ 126.7 จุด เพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อนหน้า (QoQ)  แต่หากพิจารณาแยกพื้นที่ จะพบว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 126.3 จุด เพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ส่วนพื้นที่ปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 126.8 จุด เพิ่มขึ้น 3.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)   ขณะที่ดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์ ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 มีค่าดัชนีเท่ากับ 130.3 จุด เพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น  0.6% เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) โดยเมื่อแบ่งพื้นที่กรุงเทพฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 128.5 จุด เพิ่มขึ้น  2.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)  ส่วนพื้นที่จังหวัดปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 132.2 จุด เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.8%  เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ดัชนีราคาคอนโดฯ ต่ำสุดรอบ 9 ปี ส่วนดัชนีราคาห้องชุดคอนโดฯ ใหม่  ที่อยู่ระหว่างการขาย พบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ 153.4 จุด เพิ่มขึ้นเพียง 2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งเป็นปีที่มีการริเริ่มจัดทำดัชนี แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) พบว่า ดัชนีมีอัตราการขยายตัวที่ลดลงเป็นไตรมาสแรก 0.3%   ทั้งนี้ ตลาดที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดฯ  ได้รับผลกระทบเชิงลบมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ตั้งแต่การประกาศใช้มาตรการ LTV ภาวะสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา และล่าสุดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่มีผลกระทบรุนแรง และฉุดกำลังซื้อห้องชุดคอนโดฯ ให้ลดลงอย่างรวดเร็วในไตรมาสแรกนี้ ทั้งกำลังซื้อคนไทยและคนต่างชาติ  โดยเฉพาะชาวจีนซึ่งเป็นกลุ่มคนต่างชาติ ที่เป็นผู้ซื้อหลักของตลาดคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล งัดโปรโมชั่นระบายสต็อกคอนโดฯ จากราคาคอนโดฯ​ ที่ลดต่ำลงในรอบหลายปี  ทำให้ผู้ประกอบการ อัดโปรโมชั่นพร้อมจัดรายการส่งเสริมการขายห้องชุดคอนโดฯ ที่อยู่ระหว่างการขายในไตรมาสนี้ ส่วนใหญ่เป็นการลดราคาขายให้กับ ลูกค้าเป็นส่วนลดเงินสด ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง  41.8% รองลงมาเป็นกลยุทธ์การเร่งรัดการตัดสินใจของผู้ซื้อด้วยของแถมสัดส่วน 40.9%  เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ และการช่วยผู้ซื้อจ่ายค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ด้วยสัดส่วน 17.3%   สำหรับรายการส่งเสริมการขายโครงการบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่  41.5% จะช่วยผู้ซื้อจ่ายค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ และ/หรือ ฟรีค่าส่วนกลาง รองลงมา  41.2% เสนอของแถม เช่น เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ปั๊มน้า แท้งก์น้า ฯลฯ และ  17.3% จะให้เป็นส่วนลดเงินสด ในขณะที่ไตรมาส 4 ปี 2562 ส่วนใหญ่  41.0% จะช่วยผู้ซื้อจ่ายค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ และ/หรือ ฟรีค่าส่วนกลาง รองลงมา  39.1% เสนอของแถม เช่น เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ปั๊มน้า แท้งก์น้า ฯลฯ และ  19.9%  จะให้เป็นส่วนลดเงินสด    
PF เตรียมรุกการตลาดเต็มรูปแบบ ดีเดย์ 1 พ.ค.นี้ รับสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น

PF เตรียมรุกการตลาดเต็มรูปแบบ ดีเดย์ 1 พ.ค.นี้ รับสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เตรียมแผนรุกทำการตลาดเต็มรูปแบบ เริ่ม 1 พฤษภาคมนี้ หลังสถานการณ์ โควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้น เปิดแนวโน้มผลงานไตรมาสแรกคาดว่ามียอดโอน 2,900 ล้านบาท ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และยังจะมีรายได้ต่อเนื่องเข้ามาในเดือนเมษายน พร้อมเตรียมวงเงินไว้แล้วเพื่อชำระคืนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนมิถุนายนนี้   นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF เปิดเผยว่า แม้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างรุนแรงของไวรัสโคโรนา เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสแรกของปี อย่างไรก็ดี ผลการดำเนินงานของบริษัทไตรมาสแรกของปีนี้  มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีกว่าที่ประมาณการไว้   คาดว่าจะมียอดโอนกรรมสิทธิ์บ้านและคอนโดประมาณ 2,900 ล้านบาท  ลดลงประมาณ 22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมาซึ่งทำได้ 3,733 ล้านบาท   สำหรับภาพรวมในไตรมาสแรกบริษัทมียอดโอนเพิ่มขึ้นทุกเดือน และคาดว่าในเดือนเมษายนยังจะมียอดโอนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เพราะแม้ว่าเดือนเมษายนจะมีมาตรการล็อคดาวน์ แต่บริษัทยังสามารถทำยอดขายได้เป็นที่น่าพอใจ จากการเน้นย้ำในมาตรการป้องกัน  การดูแลลูกค้าให้ปลอดภัยและสะดวกสบายในช่วงที่มีการระบาดของไวรัส อาทิ การเปิดจุดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคราคาพิเศษในสโมสร ดำเนินการโดยออลล์ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการไปจับจ่ายในห้างสรรพสินค้า การมอบประกันโควิด-19 ให้กับลูกค้า การทำความสะอาดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด การตรวจคัดกรองบุคคลเข้าโครงการ เป็นต้น "ภาพรวมโครงการยังได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้า เพราะสินค้าของบริษัทสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม โดยมีเรื่องของทำเลที่ตั้งเป็นจุดแข็ง ทั้งในโซนตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพ รวมทั้งเรื่องของพื้นที่ส่วนกลางที่เป็นจุดขายหลักของบริษัท ซึ่งเรายังเดินหน้าตามแผนงานในการเปิดตัวแบบบ้านใหม่ และจะเพิ่มการพัฒนาสินค้าทั้งโครงการใหม่และในโครงการเดิม ให้รองรับกับพฤติกรรมผู้ซื้อบ้านที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ด้วย”   โดยจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีแนวโน้มคลี่คลาย บริษัทจึงเตรียมเดินหน้าทำการตลาดเต็มรูปแบบอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้ ทั้งโครงการแนวราบและคอนโดมิเนียม แคมเปญที่ออกมาจะเน้นการช่วยผ่อนคลายความกังวลของลูกค้าที่มีความต้องการที่อยู่อาศัย แต่ยังไม่มั่นใจในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเนื่อง จากสถานการณ์โรคระบาด โดยจัดทำแคมเปญ “อยู่ฟรีสูงสุด 30 เดือน” ในกลุ่มโครงการคอนโดมิเนียม ซึ่งบริษัทจะช่วยผ่อนเงินต้นและดอกเบี้ยให้แทนลูกค้าสูงสุด 30 เดือนแรก และมีส่วนลดให้อีกสูงสุด 2 ล้านบาท ส่สนโครงการแนวราบจะมีแคมเปญ “ปลอดดอก ออกต้น” ที่จะช่วยให้ลูกค้าคลายกังวลเรื่องการซื้อบ้าน ด้วยการปลอดดอกเบี้ยนาน 1 ปี  มี Cashback เพื่อใช้สำหรับผ่อนเงินต้นได้อย่างสบายอีก 50,000-500,000 บาท ขึ้นกับระดับราคาบ้าน และผ่อนต่ำสุดเพียงล้านละ 1,000 บาทในปีแรก และล้านละ 2,000 บาทในปีที่ 2  ซึ่งจะช่วยลดภาระการผ่อน ทำให้เกิดความมั่นใจในการซื้อที่อยู่อาศัยในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน นอกจากนี้บริษัทยังตระหนักถึงความทุ่มเทเสียสละของบุคลากรทางการแพทย์ ในการรักษาและควบคุมการระบาดของไวรัสตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา  เพื่อเป็นการขอบคุณจึงได้มีส่วนลดท็อปอัพ เพิ่มเติมจากแคมเปญให้ในทุกยูนิตทุกโครงการอีกด้วย   สำหรับเดือนมิถุนายนนี้ บริษัทยังได้เตรียมความพร้อมในการชำระคืนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน  โดยบริษัทมีหุ้นกู้ที่ต้องชำระคืน มูลค่า 1,450 ล้านบาท ซึ่งได้เตรียมสำรองเงินสดเพื่อรองรับไว้ก่อนหน้าแล้ว  สำหรับไตรมาส 3-4 บริษัทมีหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน 2 ชุด มูลค่ารวม 1,635.1 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีแผนการจัดเตรียมวงเงินไว้รองรับการไถ่ถอนตามกำหนดไว้แล้วเช่นกัน
โกลเด้นแลนด์ กระจายความเสี่ยงธุรกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 กวาดรายได้กว่า 3,500 ล้านบาท

โกลเด้นแลนด์ กระจายความเสี่ยงธุรกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 กวาดรายได้กว่า 3,500 ล้านบาท

โกลเด้นแลนด์ ปิดยอดธุรกิจในช่วง 3 เดือนแรก ยังทำได้ 3,500 ล้านบาท  ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา  จากการปรับกลยุทธ์รับมือสถานการณ์โควิด-19 ทั้งเปลี่ยนรูปแบบการขายไปสู่ออนไลน์ และเพิ่มมาตรการดูแลลูกค้า คู่ค้า พันธมิตร และการกระจายความเสี่ยงธุรกิจ ทั้งพอร์ตที่อยู่อาศัยและรีเทล    นายธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ว่า สามารถทำยอดรับรู้รายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 มีนาคม 2563 เป็นจำนวน 3,500 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19  รวมถึงการกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ   “บริษัทฯ มีการกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ โดยแบ่งรายได้ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ โครงการแนวราบ มีโครงการทาวน์โฮม นีโอโฮม และบ้านเดี่ยว ซึ่งเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนระยะสั้น สร้างรายได้ทันที และโครงการเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีรายได้จากค่าเช่า ได้แก่ อาคารสำนักงาน  และรีเทล เป็นการลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว ส่งผลให้บริษัทฯ มีความยืดหยุ่นของรายได้ ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงกับธุรกิจแทบทุกด้าน"   สำหรับกลยุทธ์การสร้างพอร์ตธุรกิจหลากหลายรูปแบบ การกระจายความเสี่ยงพิสูจน์แล้วว่า ช่วยให้องค์กรผ่านพ้นในทุกวิกฤตได้  ซึ่งในสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน บริษัทฯ ยังได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานในแต่ละด้านเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้ กลยุทธ์ด้านโครงการแนวราบ เนื่องจากความเข้มข้นของสถานการณ์ทำให้ลูกค้าเข้าชมโครงการได้ลำบากมากขึ้น ทางบริษัทฯ จึงได้ปรับรูปแบบการขายไปสู่ออนไลน์มากขึ้นเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น อีกทั้งยังลดขั้นตอนเอกสาร และอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าไม่ต้องเข้ามาที่โครงการ สำหรับการก่อสร้างยังคงดำเนินการต่อ เนื่องจากบริษัทฯ มี Backlog รอโอนที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2562 และนับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่โครงการจะได้ปรับปรุงบ้านของลูกบ้าน และส่วนกลางของโครงการให้มีสภาพที่ดียิ่งขึ้น สิ่งที่น่าสนใจท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ คือ ลูกค้ามีความสนใจโครงการแนวราบมากขึ้น สังเกตจากปริมาณลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาที่โครงการยังมีอย่างต่อเนื่อง และเป็นลูกค้าที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจริง กลยุทธ์ด้านโครงการเชิงพาณิชย์ สำหรับศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ บริษัทฯ มีมาตรการในการช่วยเหลือผู้เช่า โดยการไม่เก็บค่าเช่า และค่าส่วนกลาง 100% สำหรับร้านค้าที่ต้องปิดให้บริการตามคำสั่งภาครัฐ และลดค่าเช่า 50% สำหรับร้านค้าที่ยังเปิดให้บริการ นอกจากนี้ยังช่วยเหลือผู้เช่าส่วนอาคารสำนักงานทั้งอาคารปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ สาทรสแควร์  เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ และมิตรทาวน์ออฟฟิศทาวเวอร์ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นส่วนช่วยให้พันธมิตร ร้านค้า และผู้เช่า ทุกรายสามารถผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน กลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการ การบริหารค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุม และการจัดการกระแสเงินสดอย่างรอบคอบ เป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการในขณะนี้ และทำให้เรามั่นใจว่า บริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้ไปได้ สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การดูแลพนักงานไม่ให้ได้รับผลกระทบทางด้านการเงิน  และดูแลความปลอดภัยของพนักงานเป็นสำคัญ อาทิ การแจกหน้ากากอนามัย และผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ ฯลฯ พร้อมยกระดับระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ด้วยนโยบายการทำงานจากบ้าน (Work from home) โดยทางบริษัทฯ ได้สนับสนุนด้านอุปกรณ์ และเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ และยังกระตุ้นให้พนักงานฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาตัวเองทางออนไลน์อย่างต่อเนื่อง”   “วิกฤติโควิด-19 นี้เราต้องมีสติในการรับมือกับปัญหา ในทุกวิกฤตมีโอกาสเสมอ เป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้ วิกฤตครั้งนี้ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าจะจบลงเมื่อไร เราต้องดูแลพนักงาน และพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ธุรกิจของเราผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ อย่าปล่อยให้วิกฤตผ่านไปโดยไร้ค่า เรียนรู้ จดจำ และทุกคนต้องเชื่อมั่น และร่วมมือกันปรับตัวให้ทัน โกลเด้นแลนด์ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายผ่านพ้นวิกฤติได้ในที่สุด”
มั่นคง เดินแผนธุรกิจ 5 ปี รักษาธุรกิจให้โตในภาวะผลกระทบ  Covid-19

มั่นคง เดินแผนธุรกิจ 5 ปี รักษาธุรกิจให้โตในภาวะผลกระทบ Covid-19

มั่นคงเคหะการ เดินหน้าตามแผนธุรกิจ 5 ปี เน้นปรับตัวและรูปแบบการดำเนินงาน รับมือผลกระทบ ไวรัสโควิด-19  ดึงเทคโนโลยีออนไลน์ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคปัจจุบัน   แจงไตรมาสแรกของปี 2563 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย สามารถทำยอดขายได้กว่า 500 ล้านบาท ในขณะที่ยอดจอง Pre-Approve และ Backlog เพิ่มขึ้นถึง 80% ด้านธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการ ยังคงมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง  สิ้นปี 2562  รายได้เพิ่มขึ้น 30% เตรียมขายทรัพย์สินกว่า 2,000 ล้านบาท เข้ากองทรัสต์ เพื่อการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงิน นายวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มั่นคงเคหะการจำกัด (มหาชน)  หรือ MK  เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของทุกภาคธุรกิจ ในส่วนของบริษัทได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มากนัก  เนื่องจากได้เตรียมพร้อมรับมือ และปรับเปลี่ยนแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การปรับการทำงานของทีมงาน​ การปรับการขายที่ดึงเอาเทคโนโลยี  Virtual Tour 360 องศา มาใช้  ให้ลูกค้าชมบ้านเสมือนจริงแม้ไม่ได้เดินทางมาที่โครงการ  และยังสามารถเลือกเป็นเจ้าของผ่านช่องทาง Line ได้อีกด้วย   นอกจากนี้ กลุ่มลูกค้าของบริษัท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และกว่า 70% เป็นลูกค้าไม่ติดภาระสัญญากู้เงินที่อยู่อาศัย ประกอบกับสินค้าของบริษัทอยู่ในระดับราคา 3-5 ล้านบาท จึงทำให้ได้รับผลกระทบ   ไม่มากหนัก ยิ่งไปกว่านั้นยังออกโปรโมชั่นต่างๆ ที่ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น ทำให้บริษัทฯ ยังสามารถ   ทำยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง   "ในไตรมาสแรกของปีนี้บริษัทสามารถสร้างยอดขายได้กว่า 500 ล้านบาท ซึ่งหากนับรวมยอดจอง Pre-Approve และ Backlog แล้ว สามารถทำยอดขายคิดเป็น 35% ของเป้าตลอดทั้งปี 2563 และช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา บริษัทมียอดจอง Pre-Approve และ Backlog  ประมาณ  90 ล้านบาทต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 80%" ส่วนภาพรวมธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการในปี 2562 มีรายได้รวม 530 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากปี 2561 เป็นผลจากความแข็งแกร่งของแผนธุรกิจ 5 ปี  ที่มุ่งสร้างสมดุลรายได้เพื่อความมั่นคง  นับว่าเป็นแผนการดำเนินงานของบริษัทซึ่งดำเนินมาถูกทางแล้ว  แม้ในภาพรวมของการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย  จะชะลอตัวไปบ้างด้วยปัจจัยต่างๆ แต่ด้วยแผนธุรกิจของบริษัท ทำให้เรามีรายได้จากธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการ หรือธุรกิจรายได้ประจำเข้ามาเสริมและช่วยรักษาสมดุล   สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าให้เช่า โครงการบางกอกฟรีเทรดโซน ที่บริหารงานโดย บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด  ยังคงทำผลงานได้ดี ในปี 2562 ที่ผ่านมามีผู้เช่าแล้วกว่า 90% ของพื้นที่เช่า, ธุรกิจโครงการ พาร์ค คอร์ท (Park Court) สุขุมวิท 77 คอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์ระดับลักซ์ชัวรี่ไฮเอนด์ให้เช่า ยังสามารถรักษาอัตราเช่าให้อยู่ที่ 80% ของจำนวนห้องเช่าทั้งหมด, ธุรกิจสนามกอล์ฟ ฟลอร่า วิลล์ กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ, ธุรกิจบริการด้านดูแลจัดการบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดย บริษัท ยัวร์ส พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด รวมไปถึงธุรกิจโครงการสถานพยาบาล สถานฟื้นฟู และเวชศาสตร์ชะลอวัย (Wellness Center) ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโต และมีแผนจะเปิดตัวช่วงปลายปี 2563   ในส่วนของหุ้นกู้และตั๋วแลกเงินที่จะครบกำหนดในช่วงปีนี้ บริษัทได้มีการเตรียมแผนการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยในช่วงปลายปีที่ผ่านมาบริษัทได้ระดมออกหุ้นกู้ 3 ปี 11 เดือน เป็นจำนวนเงิน 1,565 ล้านบาท  อีกทั้งได้มีการขายทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในแผนพัฒนาในอนาคตอันใกล้เป็นจำนวนเงินกว่า 2,600 ล้านบาทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากนี้ยังมีทรัพย์สินที่ไม่มีภาระผูกพันอีกมากกว่า 2,500 ล้านบาท ทำให้บริษัทฯ มีความยืดหยุ่นเพื่อใช้เป็นช่องทางในการเสริมสภาพคล่อง สำหรับปีนี้ได้เตรียมที่จะขายทรัพย์สินในส่วนของโรงงานและคลังสินค้าให้เช่ากว่า 130,000 ตารางเมตร มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท เข้ากองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์  โดยทาง กลต.ได้อนุมัติให้จัดตั้งบริษัทจัดการกองทรัสต์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และคาดว่ากองทรัสต์จะเสนอขายต่อประชาชนได้ในไตรมาส 3 นี้  ทั้งนี้เมื่อปีที่ผ่านมาบริษัทสามารถรักษาอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน (Interest bearing debt ratio) ให้ยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดย ณ สิ้นปี มีสัดส่วนเท่ากับ 1.3 เท่า ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม   ในปีนี้ถือว่าเป็นปีที่ท้าทายด้วยปัจจัยหลายๆ ด้าน ทั้งปัจจัยจากไวรัสโควิด-19 และสภาวะเศษฐกิจทั้งหลาย แต่บริษัทยังคงเดินหน้าสานต่อนโยบายสร้างความสมดุลของรายได้  ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายและธุรกิจที่สร้างรายได้  อย่างสม่ำเสมอทั้งเช่าและการบริการ และมุ่งมองหาโอกาสในการพัฒนาโครงการที่มีศักยภาพ เพื่อขยายในส่วนของธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ ตามแผนการดำเนินธุรกิจ 5 ปี พร้อมขยับสัดส่วนกำไรของทั้ง 2 ฝั่งให้อยู่ที่  50:50 ภายใน ปี 2564 เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นคงให้บริษัทฯ ตามแผนที่วางไว้
แสนสิริ ทำยอดขายไตรมาสแรก 11,000 ล้าน เดินหน้าบุกทำตลาดออนไลน์ต่อ

แสนสิริ ทำยอดขายไตรมาสแรก 11,000 ล้าน เดินหน้าบุกทำตลาดออนไลน์ต่อ

แสนสิริโชว์ยอดขายไตรมาสแรก ทำยอดพุ่ง 11,000 ล้าน  คิดเป็น 40%  ของเป้ารวมทั้งปี 63   ประกาศลุยต่อไตรมาส 2 ขนอสังหาฯ พร้อมอยู่ทำตลาด และขายผ่านทุกช่องทาง     นายอุทัย  อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า บริษัทสามารถสร้างยอดขายไตรมาสแรกของปี 2563 ได้สูงถึง 11,000 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นยอดขายที่สูงที่สุดในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ และคิดเป็นการสร้างยอดขายได้ถึง 40% จากเป้าหมายยอดขายทั้งปีที่วางไว้ 29,000 ล้านบาท เป็นการสร้างยอดขายที่ประสบความสำเร็จและรวดเร็วได้ภายในไตรมาสแรกของปีนี้  รวมทั้งยังเติบโตขึ้นเกือบ 70% จากช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ความสำเร็จของยอดขายดังกล่าว เป็นผลมาจากแสนสิริเป็น “แบรนด์อันดับหนึ่งของคนอยากมีบ้าน” ที่ได้รับรางวัลผู้นำแบรนด์อสังหาฯ ทรงพลังที่สุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จากผลการวิจัยเชิงลึกของ Terra BKK นอกจากนี้ ยังรวมถึงการบริการ ทั้งในส่วนของ Sansiri Service ที่ให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย  LIV-24  การบริการที่ดูแลความปลอดภัยส่งตรงจากศูนย์ควบคุมแบบเรียลไทม์ 24 ชั่วโมง มาตรฐานแสนสิริ พร้อมเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลทุกจุดในโครงการ  การให้สิทธิพิเศษจากแสนสิริ แฟมิลี่  รวมถึงภาพรวมดีมานต์ที่อยู่อาศัยที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง   ขณะเดียวกัน บริษัทยังประสบความสำเร็จ จากการนำเสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 4,000 ล้านบาทในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มีสภาพคล่องที่สูงจากการนำเงินทุนที่ได้มาพัฒนาโครงการใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและขยายการลงทุนได้อย่างเต็มที่  รวมถึงบริษัทยังมี Presale Backlog ที่พร้อมเป็นยอดขายที่สำคัญให้กับแสนสิริในปีนี้และรองรับการเติบโตระยะยาวใน 4 ปี อีกถึง 49,100 ล้านบาท   สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในช่วงไตรมาส 2 บริษัทยังมีโครงการที่อยู่อาศัยพร้อมเข้าอยู่ในทุกรูปแบบ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม มิกซ์โปรดักส์ และคอนโดมิเนียม ที่ครอบคลุมในทุกระดับราคา เริ่มตั้นตั้งแต่ 990,000 บาท ขณะเดียวกันยังได้เตรียมพร้อม และมีมาตรการป้องกัน เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าในการเข้ามาใน Sale Gallery ของแสนสิริ   ส่วนในไตรมาสที่ 2 บริษัทได้เตรียมเปิดตัวแคมเปญใหม่  ที่จะช่วยกระตุ้นตลาดและตอบรับกลุ่มลูกค้าได้ดีเช่นเดียวกับไตรมาสแรก รวมถึงการรุกการขายในทุกช่องทาง โดยได้เตรียมต่อยอด “24 Hrs. Pre-Sale Online Booking” พรีเซลแบบออนไลน์เรียลไทม์ 100%  ครั้งแรกในไทย ที่ประสบความสำเร็จจากการนำร่องเปิดขายที่โครงการ เดอะ ไลน์ พหลโยธิน พาร์ค ในสัปดาห์ที่ผ่านมา   โดยลูกค้าสามารถเลือกซื้อโครงการคุณภาพพร้อมอยู่ด้วยตนเอง ผ่านช่องทางออนไลน์แบบเรียลไทม์ 24 ชั่วโมง สะดวก ง่าย ปลอดภัย และคุ้มค่า ด้วยระบบติดต่อและรับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาการขาย Online Agent ผ่าน Live Chat หรือ VDO Call รวมถึงเจ้าหน้าที่คอยดูแลและให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการ ระบบธุรกรรมการเงิน ที่สามารถชำระเงินจองผ่านบัตรเครดิตที่มีความปลอดภัยสูง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม   แสนสิริ ยังขนทัพโครงการพร้อมอยู่อีก 10 โครงการ ใน 10 สุดยอดทำเล ให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อและชมโครงการได้ทาง Sansiri 24 Online Booking พร้อมโปรโมชั่นพิเศษลุ้นรับส่วนลดสูงสุดถึง 1 ล้านบาท โดยแสนสิริ ได้เริ่มนำเอาเทคโนโลยีออนไลน์  เข้ามาทำการตลาดเพื่ออำนวยความสะดวก และตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้า ในปี 2552  ซึ่งเริ่มนำ Digital Sales Kit มาใช้  รวมถึงพัฒนา Home Service Application ขึ้น และยังขยายฐานการตลาดเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ สู่แพลตฟอร์มอื่น โดยร่วมกับลาซาด้าเปิด “แสนสิริ ออฟฟิเชียล สโตร์ บน LazMall” ที่ปัจจุบันสร้างยอดขายแล้วกว่า 100 ล้านบาท   ก่อนหน้านี้ แสนสิริ ได้เปิดบริการ Online Booking สำหรับลูกค้าที่สนใจจองโครงการเป็นรอบพิเศษที่ทำควบคู่กับกลยุทธ์การตลาดโปรโมชั่นและราคาที่ดึงดูดเปิดการขายผ่านช่องทางออนไลน์มาแล้วหลายโครงการ อาทิ kawa HAUS, oka HAUS, EDGE Central Pattaya และ THE BASE Phetkasem โดยทุกโครงการมียอดจองมากกว่า 90% ของจำนวนที่เปิดจอง   สำหรับแนวทางการเตรียมความพร้อมรับมือ Covid-19 บริษัทโดยได้ผนึก พลัส พร็อพเพอร์ตี้  วางมาตรการเน้นย้ำความปลอดภัยและสุขอนามัยของลูกบ้าน ลูกค้า พนักงานและพันธมิตร ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญ โดยชูแนวทาง “Sansiri Care เพราะเราห่วงใย” เตรียมความพร้อมในการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยยกระดับ 3 มาตรการแบบเต็มขั้น ได้แก่   -มาตรการการป้องกัน การดูแล และการรับมือ ครอบคลุมทั้งในด้านความสะอาด -การอำนวยความสะดวกและเตรียมพร้อมรับมือ -การจัดตั้งทีมงานศึกษาและติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด  
เมื่อ Work From Home อาจไม่เวิร์คกับบางคน :  วิเคราะห์ผลกระทบจากการเว้นระยะห่างทางสังคม

เมื่อ Work From Home อาจไม่เวิร์คกับบางคน :  วิเคราะห์ผลกระทบจากการเว้นระยะห่างทางสังคม

  ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพยายามใช้มาตรการหลายๆ อย่างในการระงับ การแพร่ระบาดของผู้ติดเชื้อ กลยุทธ์หลักอย่างหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ คือ การเว้น ระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)   (เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2020 ทาง WHO ได้แนะนำให้ใช้คำว่า Physical Distancing แทนคำว่า Social Distancing เพราะมีคามหมายตรงตัวมากกว่า แต่เนื่องจากเราอาจคุ้นเคยกับคำว่า Social Distancing ในช่ววงที่ผ่านมามากกว่า ในบทคามนี้จึงขอใช้คำว่า Social Distancing  และการเว้นระยะห่างทางสังคมก่อน) สถานบริการ สถานศึกษาหลายๆ แห่ง ปิดตัวชั่วคราว เอกชนหลายแห่งก็เริ่มให้มีการทำงานที่บ้าน (Work From Home)   การลดการพบปะและทำงานที่บ้าน ดูจะไม่ได้เป็นเรื่องแย่สำหรับใครหลาย คน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนและธุรกิจจำนวนมาก ที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ ในบทความนี้เราได้ทำการวิเคราะห์ว่า ผู้ได้รับผลกระทบเป็นใครบ้าง โดยในส่วน แรกของบทความจะอธิบายเกี่ยวกับการเว้นระยะห่างทางสังคมโดยสังเขป และแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยใช้เหตุการณ์ SARS ที่ฮ่องกงและ 9/11 ที่สหรัฐฯ เป็นกรณีศึกษา Social Distancing คืออะไร และทำไมถึงจำเป็นในเวลานี้? Social Distancing หรือ การเว้นระยะห่างทางสังคม คือ มาตรการสาธารณสุข เพื่อยับยั้งการแพร่โรคระบาดไปยังผู้คนจำนวนมาก เช่น การปิดโรงเรียน ยกเลิก กิจกรรมการรวมตัว ยกเลิกขนส่งสาธารณะ หรือการให้ทำงานที่บ้าน เป็นต้น และถือว่าเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่หลายๆประเทศนำมาใช้ในการยับยั้งการแพร่ระบาด ของโควิด-19 ในปัจจุบัน   บทความจาก Washington Post (จากบทความ Why outbreaks like coronavirus spread exponentially, and how to “flatten the curve”) ได้แสดงให้เห็นว่า หากทุกคนมีการเว้น ระยะห่างทางสังคม ลดการพบปะกัน ก็จะทำให้การแพร่ระบาดช้าลง จนอยู่ในระดับที่ ทรัพยากรทางการแพทย์สามารถรักษาผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ได้ทันการ (Curve สีฟ้าในรูปที่ 1) ในขณะที่หากไม่มีการเว้นระยะห่างทางสังคม ผู้ติดเชื้อจะเพิ่มเร็วจนทรัพยากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ (Curve สีแดงในรูปที่ 1) ซึ่งเป็นวิกฤติที่ กำลังเกิดขึ้นในอิตาลีขณะนี้ บทเรียนจาก SARS และ 9/11 : เมื่อคนกลัว และเว้นระยะห่างทางสังคม จะมีผลกระทบอย่างไรต่อเศรษฐกิจ? แม้ว่าการเว้นระยะห่างทางสังคมมีความสำคัญมากในขณะนี้ แต่ก็มีต้นทุนทาง เศรษฐกิจที่สูงเช่นกัน ซึ่งเราเคยเห็นผลกระทบดังกล่าวจากเหตุการณ์ SARS และ 9/11 มาแล้ว   ในกรณีของ SARS ในฮ่องกงเมื่อปี 2003 อาจไม่แปลกใจนักที่ธุรกิจสายการ บิน และการท่องเที่ยว ซึ่งพึ่งพิงกำลังซื้อจากต่างชาติเป็นหลักจะได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ดี เราพบว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรองลงมา คือ ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจ ค้าปลีก ซึ่งนอกจากจะได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงแล้ว ยังได้รับ ผลกระทบจากการการจับจ่ายใช้สอยของคนในพื้นที่ที่ลดลงอีกด้วย   ในเรื่องนี้ มีงานวิจัย (งานวิจัยเรื่อง Economic Impact of SARS : The Case of Homg Kong)  ชี้ว่าการระบาดของ SARS ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความ กลัวที่จะติดโรค จนคนส่วนใหญ่เลือกที่จะหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน ส่งผลต่อเนื่องให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง และความกลัวดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจได้มากกว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการระบาดของ SARS เสียอีก   Olga Jonas นักวิชาการอาวุโสจาก Harvard Global Health Institute ได้ กล่าวว่า “80% ของผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ SARS มีสาเหตุ มาจากความกลัวที่ส่งผลให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่พยายามป้องกันไม่ให้ตนเองติดโรค เช่น การพยายามอยู่แต่ในบ้าน จนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลง” (กล่าวในรายการ The Indicator From Planet Money ตอน Economic Fear Factor)   อีกหนึ่งตัวอย่างที่ดี เมื่อคนมีความกลัวจนไม่อยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ คือเหตุการณ์ 9/11 ที่สหรัฐฯ ซึ่งการโจมตีตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ใน มหานครนิวยอร์ก ไม่เพียงส่งผลต่อธุรกิจที่ตั้งอยู่บริเวณดังกล่าว แต่ยังส่งผลกระทบ ทางจิตใจต่อผู้บริโภคให้เกิดความกลัวจนไม่กล้าที่จะออกไปจับจ่ายใช้สอยนอกบ้าน สะท้อนได้จาก Consumer Confidence Index ของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่ปรับตัว ลงอย่างเห็นได้ชัดในเวลานั้น   ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่หดตัว นำไปสู่การบริโภคที่ลดลง ทำให้หลายๆ ธุรกิจ ประสบปัญหา มีงานวิจัย (เรื่อง 9/11 and the New York City economy : A borough-by-borough analysis) ระบุว่า ธุรกิจในนิวยอร์กมีการเลิกจ้างกว่า 430,000 ตำแหน่ง หลังเกิดเหตุการณ์ 9/11 ทั้งนี้ หากไม่นับธุรกิจสายการบินที่ได้รับผล โดยตรงจากเหตุก่อการร้าย กลุ่มอาชีพที่ถูกเลิกจ้างมากที่สุด คือ บริกร พนักงานททำความสะอาด พนักงานขายตามร้านค้าปลีก พนักงานจัดเตรียมอาหาร และแคชเชียร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นกลุ่มคนมีรายได้น้อย และเกี่ยวพันโดยตรงกับธุรกิจโรงแรมและ ร้านอาหาร และธุรกิจค้าส่งค้าปลีก ที่ได้รับผลกระทบจากความกลัวที่จะออกมาทำ กิจกรรมนอกบ้านของผู้บริโภค เหตุการณ์ SARS และ 9/11 ที่ยกตัวอย่างขึ้นมาต่างแสดงว่าเมื่อผู้บริโภคเกิด ความ “กลัว” จนไม่อยากออกจากบ้าน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมไม่น้อย ในกรุงเทพฯ เมื่อการเว้นระยะห่างทางสังคมเข้มข้นขึ้น ใครจะได้รับผลกระทบมากที่สุด? ในขณะนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ เราคาดว่า หากการระบาดเข้าสู่ระยะที่ 3 กรุงเทพฯ จะเป็นพื้นที่แรกๆ ที่การเว้นระยะห่างทาง สังคมจะถูกใช้อย่างเข้มข้นขึ้น ซึ่งในส่วนนี้เราจะวิเคราะห์ว่าใครจะได้รับผลกระทบจาก เรื่องนี้บ้าง Work From Home กระทบรายได้ของลูกจ้างหรือไม่? กลุ่มลูกจ้างในระบบ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน หรือลูกจ้างรายวัน ซึ่งมี ประมาณ 3.3 ล้านคน จากแรงงานกว่า 5.3 ล้านคนในกรุงเทพฯ  ดูจะเป็น กลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เนื่องจาก ตามกฎหมาย นายจ้างยังต้องจ่ายค่าจ้าง ให้อยู่ อย่างไรก็ดี ลูกจ้างก็มีโอกาสถูกขอให้ลดค่าแรงชั่วคราวบ้าง หรือลูกจ้างบาง กลุ่มที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อาจ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการถูกเลิกจ้าง หากสถานประกอบการหยุดดำเนินกิจการ แล้วคนกลุ่มใดจะได้รับผลกระทบโดยตรง? เราคาดว่าจะมีกลุ่มคนทำงานกว่า 2 ล้านคนที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากการ เว้นระยะห่างทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกจ้างนอกระบบ กว่า 3 แสนคน ซึ่งมักไม่มี การทำสัญญาจ้างที่แน่ชัด และเสี่ยงต่อการถูกพักงานแบบไม่ได้ค่าจ้างในช่วงนี้ ยกตัวอย่างเช่น กรรมกรก่อสร้าง พนักงานเสิร์ฟ คนโบกรถ สาวเชียร์เบียร์ เป็นต้น นอกจากกลุ่มแรงงานนอกระบบแล้ว คนกลุ่มใหญ่ที่จะได้รับผลกระทบ คือ ผู้ประกอบ ธุรกิจแบบไม่มีลูกจ้างและฟรีแลนซ์ ผู้ประกอบธุรกิจที่มีลูกจ้าง และผู้ช่วยธุรกิจ ครอบครัวแบบไม่ได้ค่าจ้าง ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 1.7 ล้าน คิดเป็น 29% ของคนท างาน ทั้งหมดในกรุงเทพฯ   เหตุที่ผู้ประกอบธุรกิจมีโอกาสสูงที่จะได้รับผลกระทบ เพราะลักษณะของ การทำธุรกิจต้องมีการพบปะในการให้บริการ เช่น ขายสินค้า ขายอาหาร รับจ้างขับรถ เสริมสวย ฯลฯ ซึ่งเมื่อผู้คนไม่ค่อยได้ออกจากบ้าน ไม่ว่าจะมาจากการทำงานที่บ้าน หรือไม่กล้าออกจากบ้านก็ตาม ย่อมกระทบต่อรายได้ของคนกลุ่มนี้ ซึ่งเราเห็นได้จาก การที่ธุรกิจค้าปลีกจำนวนมากในฮ่องกงประสบปัญหาในช่วง SARS และในนิวยอร์ก ประสบปัญหาในช่วง 9/11 เมื่อประชากรเลือกที่จะไม่ออกจากบ้าน เป็นต้น   สำหรับกลุ่มนายจ้าง ที่มีกว่า 2 แสนคน ถือว่าเป็นกลุ่มที่อาจประสบปัญหาหนี้สิน ที่สูงขึ้นมากในระยะนี้ เนื่องจากมีรายได้ที่ลดลง แต่ยังคงมีค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าเช่า สถานที่ เงินเดือนลูกจ้าง เป็นต้น อย่างไรก็ดี ยังถือว่าเป็นกลุ่มที่สามารถเข้าถึง บริการทางการเงิน และความช่วยเหลือจากภาครัฐได้อยู่บ้าง   ในขณะที่ ผู้ประกอบธุรกิจแบบไม่มีลูกจ้าง และฟรีแลนซ์ คือกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดที่มี โอกาสได้รับผลกระทบ โดยคนกลุ่มนี้มีจำนวนกว่า 1 ล้านคน โดยส่วนใหญ่ ประมาณ 76% ท าอาชีพขายสินค้า ขายอาหาร ขับรถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ตลอดจน ประกอบอาชีพช่างทำผม ช่างเสริมสวย ผู้ประกอบการธุรกิจแบบไม่มีลูกจ้างและฟรีแลน์ ยังเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่สูง โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อครัวเรือนที่ 9,500 บาท ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มลูกจ้างประจำซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อครัวเรือนที่ 12,500 บาท นอกจากนี้ ยังเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางทางการเงินสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยมีค่าใช้จ่ายในการจ่ายหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio : DSR) ที่ระดับ 33% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่มีระดับเพียง 26%   โดยเราพบว่าผู้ประกอบการธุรกิจแบบไม่มีลูกจ้างกว่า 60% มีหนี้สินเพื่อการบริโภค และมีปริมาณ 40% ที่มีหนี้สินที่กู้มาเพื่อการประกอบธุรกิจ และหากการที่คนกลุ่มนี้ เสียรายได้จากการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มข้นขึ้น ก็ยิ่งจะทำให้มีปัญหาด้านการเงินและหนี้สินมากยิ่งขึ้น มาตรการอะไร ที่พอจะช่วยให้เราผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้? ในขณะนี้รัฐบาลหลายๆ ประเทศรวมถึงไทย พยายามใช้มาตรการต่างๆ ในการพยุงเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น การลดดอกเบี้ยของเฟด (Fed) หรือความพยายาม ของทรัมป์ในการให้สภาคองเกรสอนุมัติเงินให้เปล่าแก่ครัวเรือน และให้เงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำแก่ธุรกิจ เป็นต้น   ในการสัมภาษณ์ผ่าน NationalPublicRatio (NPR) นักเศรษฐศาสตร์ ช์ั้นนำหลายท่าน (กล่าวในรายการ The Indicator From Planet Money ตอน Medicine For The Economy) มีความเห็นต่อแนวทางของทรัมป์ ว่าการแจกเช็คให้แก่ครัวเรือนใน เวลานี้ อาจไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากหากคนยังกังวลต่อการติดเชื้ออยู่ ก็จะไม่ออกไปทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ดี สิ่งที่สำคัญในช่วงนี้ดูจะเป็น มาตรการที่ช่วยประคองให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถอยู่รอดในวิกฤตินี้ไปได้ อย่างเช่น การอัดฉีดเงินกู้ ดอกเบี้ยต่าให้ธุรกิจขนาดเล็ก เป็นต้น   Pierre Gourinchas  (กล่าวในรายการ The Indicator From Planet Money ตอน The Sudden Stop) นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย UC Berkeley กล่าวว่า หากเราต้องการให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ผู้เล่นต่างๆ ใน ระบบจะต้องถูกพยุงให้อยู่รอดได้เพราะหากผู้เล่นสำคัญในระบบตายไปเสียแล้วอาจไม่ เร็วนักที่จะสร้างขึ้นใหม่ และแม้เมื่อการแพร่ระบาดของไวรัสผ่านไปแล้ว เศรษฐกิจก็ อาจกลับมาฟื้น ตัวได้ไม่เร็วนัก   สำหรับในกรณีของประเทศไทย แม้ว่าในขณะนี้ทั้งภาครัฐ  และเอกชนต่างๆ จะมี มาตรการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กกันบ้างแล้ว แต่สิ่งที่ท้าทายพิ่มเติม คือ การ ช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการแบบไม่มีลูกจ้าง ตลอดจนฟรีแลนซ์ซึ่งมีจำนวนมาก  มักอยู่นอกระบบและมีความหลากหลายทางอาชีพสูง การใช้มาตรการแบบ One-Size- Fit-All อาจจะไม่ได้ผลมากนัก การช่วยเหลือที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มอาชีพ จึงมีความจำเป็นมากขึ้น เพื่อให้คนกลุ่มนี้สามารถผ่านพ้น และเป็นกาลังในการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจเมื่อการระบาดของโรคผ่านพ้นไปแล้วได้   CR : Thaipublica , KrungthaiCOMPASS  
เปิดข้อมูลโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ ปี 2562  จีนยังครองแชมป์เบอร์ 1

เปิดข้อมูลโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ ปี 2562 จีนยังครองแชมป์เบอร์ 1

คนต่างด้าวโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ปี 2562 มูลค่ารวมกว่า 16% ของตลาดรวม  ชาวจีน เป็นสัญชาติที่มีสัดส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุด 55.4%    ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยช่วงที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า นอกจากกลุ่มลูกค้าคนไทยซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักแล้ว ชาวต่างชาติก็เป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญ  ที่ได้เข้ามามีส่วนทำให้ตลาดอสังหาฯ เมืองไทยเจริญเติบโต โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม เพราะกฎหมายไทยสามารถให้ลูกค้าชาวต่างชาติ  ถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้มากถึง 49% แต่ช่วงปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าตลาดลูกค้าชาวต่างชาติ  เริ่มชะลอตัวลงจากมาตรการ LTV  ส่งผลให้ยอดขายใหม่ในตลาดกลุ่มลูกค้าต่างชาติต่อตลาดคอนโดฯ ลงลงตามไปด้วย   ส่วนการซื้อคอนโดฯ ไปก่อนหน้านี้ ปีที่ผ่านมาก็ถึงเวลาที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์  เพราะโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมเข้าอยู่ ซึ่งปีที่ผ่านมากลุ่มลูกค้าต่างชาติ  มีการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ มากน้อยแค่ไหนนั้น  ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้จัดทำรายงานมานำเสนอ เพื่อให้เห็นว่ามาตรการที่ออกมา ได้ส่งผลต่อตลาดอสังหาฯ มากน้อยแค่ไหน และบรรดาลูกค้าต่างชาติมีความเชื่อมั่นอย่างไรบ้าง   สำหรับภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของลูกค้าต่างชาติในปี 2562 พบว่า ตลอดปีที่ผ่านมามีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างด้าวทั่วประเทศ จำนวน 13,232 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 10.5% เมื่อเทียบกับจำนวนห้องชุดที่โอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์  52,070 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน​ 16.4%  และมีจำนวนพื้นที่ห้องชุด 521,725 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 12.0%   หากเปรียบเทียบกับปี 2561 พบว่า ปี 2562 ต่างชาติมีจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดลดลง 9.9%  มูลค่าลดลง 12.0%  พื้นที่ห้องชุดลดลง 13.4% โดยห้องชุดที่ชาวต่างชาติโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2562 มีมูลค่าเฉลี่ยต่อยูนิต 3.94 ล้านบาท และพื้นที่เฉลี่ยต่อยูนิต 39.4 ตารางเมตร     กรุงเทพฯ เมืองที่ชาวจีนซื้อคอนโดฯ มากสุด จังหวัดที่คนต่างชาติซื้อห้องชุดมากที่สุด จะอยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในจังหวัดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งชาวจีน เป็นสัญชาติที่มีสัดส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั่วประเทศมากที่สุดในปี 2562 โดยมีสัดส่วนถึง 55.4% ของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติทั้งหมดทั่วประเทศ มีมูลค่า 52,070 ล้านบาท รองลงมาเป็นรัสเซีย มีสัดส่วน  4.6% สหราชอาณาจักร มีสัดส่วน  3.1% ญี่ปุ่นมีสัดส่วน 3.0%  และฝรั่งเศส มีสัดส่วน 2%   ในปี 2562 จังหวัดที่มีจำนวนยูนิตที่ชาวต่างชาติโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ จำนวน 5,481 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 41.4% ของยูนิตทั้งหมด 2.ชลบุรี จำนวน 4,740 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 35.8% 3.สมุทรปราการ จำนวน 1,104 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 8.3% 4.เชียงใหม่ จำนวน 729 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 5.5% 5.ภูเก็ต จำนวน 519 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 3.9%   เมื่อเทียบกับปี 2561 จังหวัดที่มีจำนวนยูนิตที่คนต่างชาติโอนกรรมสิทธิ์ลดลง ได้แก่ กรุงเทพฯ โดยลดลง 22.6%  ชลบุรี ลดลง 2.1% และเชียงใหม่ ลดลง 37.3% ตามลำดับ ส่วนในจังหวัดสมุทรปราการและภูเก็ต มีจำนวนยูนิตเพิ่มขึ้น 83.4% และ 7.5% ตามลำดับ   จังหวัดที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1.กรุงเทพฯ  มีมูลค่า 31,628 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 60.7% ของจำนวนมูลค่าทั้งหมด 2.ชลบุรี มีมูลค่า 12,202 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.4% 3.ภูเก็ต มีมูลค่า 2,596 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.0% 4.สมุทรปราการ มีมูลค่า 2,489 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.8% 5.เชียงใหม่ มีมูลค่า 1,683 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.2%   เมื่อเทียบกับปี 2561 จังหวัดที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ลดลง ได้แก่ กรุงเทพฯ ลดลง 19.4% ชลบุรี ลดลง 0.9% และเชียงใหม่ ลดลง 43.9% ตามลำดับ ส่วนในจังหวัดภูเก็ตและสมุทรปราการ มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้น 8.2% และ 113.5% ตามลำดับ   จังหวัดที่มีพื้นที่การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1.กรุงเทพฯ มีพื้นที่  224,280 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 43.0% ของจำนวนพื้นที่ทั้งหมด 2.ชลบุรี มีพื้นที่ 178,515 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 34.2% 3.เชียงใหม่ มีพื้นที่ 33,117 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 6.3% 4.สมุทรปราการ มีพื้นที่ 32,900 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 6.3% 5.ภูเก็ต มีพื้นที่ 27,287 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 5.2% เมื่อเทียบกับปี 2561 จังหวัดที่มีพื้นที่การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติลดลง ได้แก่ กรุงเทพฯ ลดลง 25.6% ชลบุรี ลดลง 3.5% และเชียงใหม่ ลดลง 35.5% ตามลำดับ ส่วนในจังหวัดสมุทรปราการ และภูเก็ต มีจำนวนพื้นที่เพิ่มขึ้น 78.0% และ 7.4% ตามลำดับ   เมื่อพิจารณาจังหวัดที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้คนต่างชาติสูงสุดในปี 2562 จะพบว่า -กรุงเทพฯ มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในเขตห้วยขวาง วัฒนา คลองเตย พระโขนง และคลองสาน ตามลำดับ -ชลบุรี มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในอำเภอบางละมุง สัตหีบ และศรีราชา ตามลำดับ โดยกว่า 88.5% จะอยู่ในอำเภอบางละมุง -ภูเก็ต มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในอำเภอถลาง กะทู้ และเมืองภูเก็ต ตามลำดับ -สมุทรปราการ มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในอำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นส่วนใหญ่ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 96.6% -เชียงใหม่ มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นส่วนใหญ่ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 92.0% รองลงมาคือ แม่ริม สัดส่วน 5.0% จีนครองแชมป์โอนคอนโดฯ มากสุด ในปี 2562 จีน เป็นสัญชาติที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดมากที่สุด ทั้งจำนวนยูนิต มูลค่า และพื้นที่ห้องชุด โดยมีการโอนมากถึง 7,506 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 56.7% ของห้องชุดที่มีการโอนกรรมสิทธิ์โดยชาวต่างชาติทั้งหมด มีมูลค่า 28,860 ล้านบาท  คิดเป็นสัดส่วน 55.4% ของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์โดยชาวต่างชาติทั้งหมด  และพื้นที่ห้องชุด 254,546 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน  48.8% ของพื้นที่การโอนห้องชุดโดยชาวต่างชาติทั้งหมด   ชาวต่างชาติที่มีการรับโอนกรรมสิทธิ์มากที่สุดรองลงมา ได้แก่ สัญชาติรัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ตามลำดับ  พื้นที่เฉลี่ยต่อหน่วย ในกลุ่มสัญชาติที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด  ซึ่งมีพื้นที่เฉลี่ยต่อยูนิตมากที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2562 ได้แก่ จีน รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น  โดยเฉพาะชาวสหราชอาณาจักร มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดขนาดพื้นที่เฉลี่ยต่อยูนิตใหญ่ที่สุด 51.1 ตารางเมตร ส่วนจีนมีขนาดพื้นที่เฉลี่ยต่อยูนิตต่ำสุดคือ 33.9 ตารางเมตร แสดงให้เห็นว่าแม้ชาวจีนจะซื้อห้องชุดมากที่สุด แต่เป็นการซื้อห้องขนาดเล็ก มูลค่าเฉลี่ยต่อหน่วย ญี่ปุ่นมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดในราคาเฉลี่ยต่อยูนิตสูงสุดคือ 4.2 ล้านบาท ในขณะที่รัสเซียมีราคาเฉลี่ยต่อยูนิตต่ำสุดคือ 3.0 ล้านบาท  ซึ่งการที่ชาวญี่ปุ่นซื้อห้องชุดในราคาเฉลี่ยต่อยูนิตแพงที่สุด มีความเป็นไปได้ว่าเป็นเพราะ ชาวญี่ปุ่นมักจะเลือกพักอาศัยอยู่ในทำเลสุขุมวิทตอนต้น เช่น นานา ซึ่งเป็นย่านใจกลางธุรกิจซึ่งราคาคอนโดฯ จะแพงกว่าในทำเลอื่นๆ มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแยกรายจังหวัด เมื่อพิจารณาสัญชาติที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสูงสุด แยกตามจังหวัด ในปี 2562 พบว่า กรุงเทพฯ ชาวจีนเป็นสัญชาติที่โอนกรรมสิทธิ์มากที่สุด จำนวน 19,784 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 62.6% ของมูลค่าการโอนในจังหวัด แต่มูลค่าลดลงจากปี 2561  5.0%  รองลงมาเป็น มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และไต้หวันซึ่ง 4 สัญชาตินี้มีสัดส่วนการโอนรวมกันเพียง 11.6% และมีเพียงมาเลเซียที่มีมูลค่าการโอนเพิ่มขึ้นจากปี 2561 แต่อีก 3 สัญชาติมีมูลค่าการโอนลดลง ชลบุรี   ชาวจีน ยังเป็นสัญชาติที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดมากที่สุดถึง 5,255 ล้านบาท  สัดส่วน  43.1% เพิ่มขึ้นจากปี 2561  5.0%  รองลงมาคือ รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น โดย 4 สัญชาตินี้มีสัดส่วนรวมกัน 25.2% และรัสเซียเป็นสัญชาติเดียวที่มีมูลค่าการโอนลดลงจากปี 2561 ภูเก็ต  รัสเซียเป็นสัญชาติที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดมากที่สุด 831 ล้านบาท (สัดส่วน 32.0%) เพิ่มขึ้นจากปี 2561 27.7% รองลงมาคือ จีน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ซึ่ง 4 สัญชาตินี้มีสัดส่วนรวมกัน 30.3% โดยสหรัฐอเมริกาเป็นสัญชาติเดียวที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพิ่มขึ้นจากปี 2561 สมุทรปราการ ชาวจีนมากที่สุด จำนวน 1,980 ล้านบาท (สัดส่วน 79.6%) เพิ่มขึ้นจากปี 2561 130.4% รองลงมาเป็น ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหราชอาณาจักร ซึ่งทั้ง 4 สัญชาติ มีสัดส่วนรวมกันเพียง 14.0%  โดยทั้ง 4 สัญชาติมีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพิ่มขึ้นจากปี 2561 เชียงใหม่ ชาวจีน เป็นสัญชาติที่มีมูลค่าการโอนมากที่สุด 1,111 ล้านบาท (สัดส่วน 66.0%) ลดลงจากปี 2561  46.4% รองลงมาเป็น เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้ง 4 สัญชาติ มีสัดส่วนรวมกัน 17.9% โดยฝรั่งเศส เป็นสัญชาติเดียวที่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ต่างชาติโอนคอนโดฯ ราคา 2.01-3 ล้านเยอะสุด  ในปี 2562 จำนวนยูนิตห้องชุดที่โอนกรรมสิทธิ์ให้คนต่างด้าวมากที่สุด จะอยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท มีจำนวน 3,657 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 27.6% ของจำนวนยูนิตที่โอนทั้งหมด 13,232 ยูนิต โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2561  20.8% ซึ่งเป็นระดับราคาเดียวที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนในระดับราคาอื่น ๆ มีการปรับตัวลดลงทั้งหมด ระดับราคาที่มีจำนวนยูนิตโอนรองลงมาคือ 3.01 – 5.00 ล้านบาท มีจำนวน 3,162 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน​ 23.9% ส่วนระดับราคาที่มีจำนวนหน่วยน้อยที่สุดคือ 7.51 – 10.00 ล้านบาท มีจำนวน 499 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 3.8%   มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้คนต่างด้าว ในปี 2562 มีสัดส่วนสูงสุดอยู่ในระดับราคา มากกว่า 10 ล้านบาท โดยมีมูลค่า 13,424 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 25.8% ของมูลค่าที่โอนทั้งหมด 52,070 ล้านบาท รองลงมาคือระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท มีมูลค่า 12,128 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 23.3% ส่วนระดับราคาที่มีสัดส่วนมูลค่าน้อยที่สุดคือไม่เกิน1 ล้านบาท มีมูลค่า 701 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.3% ทั้งนี้ ในทุกระดับราคามีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2561 ยกเว้นระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.2%    
ORI กวาดยอดขายกว่า 4,500 ล. พร้อมออก 3 มาตรการรับมือโควิด-19

ORI กวาดยอดขายกว่า 4,500 ล. พร้อมออก 3 มาตรการรับมือโควิด-19

“ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้”  คาดปิดยอดขายไตรมาสแรกได้มากกว่า 4,500 ล้าน สวนกระแสปัจจัยลบ ไวรัส COVID-19 พร้อมเดินหน้า 3 มาตรการเข้าสู้ มั่นใจทำผลงานทั้งปีได้ตามเป้าหมาย 21,500 ล้าน   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยว่า สถานการณ์ของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทุกกลุ่มในปีนี้ ถือเป็นสถานการณ์แห่งความท้าทาย เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกที่ควบคุมได้ยากอย่าง COVID-19 เข้ามากระทบ อย่างไรก็ดี ยอดขายของบริษัทตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2563 ยังถือว่าเป็นไปได้อย่างยอดเยี่ยมภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว  โดยมียอดขายประมาณ  4,500 ล้านบาท หรือคิดเป็น 21% ของเป้ายอดขายทั้งปี 2563   ทั้งนี้ ยอดขายดังกล่าวแบ่งเป็นยอดขายจากกลุ่มธุรกิจคอนโดมิเนียม ทั้งโครงการที่เพิ่งเปิดขายเมื่อปี 2562 และโครงการสร้างเสร็จพร้อมอยู่ (Ready to move) รวมกว่า 3,000 ล้านบาท และจากกลุ่มธุรกิจบ้านจัดสรร อีกกว่า 1,500 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกระแสตอบรับที่ดีของโครงการเปิดตัวใหม่ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการบริทาเนีย สายไหม และโครงการแกรนด์บริทาเนีย วงแหวน-รามอินทรา “เราได้ทำแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หรือ Business Continuity Plan มาตั้งแต่ต้นปี พยายามทำการบ้านอย่างหนักมากในช่วงก่อนหน้านี้ เพื่อให้ผู้บริโภคยังคงมั่นใจ ไว้ใจ เข้าใจ และสามารถเข้าถึงโครงการของเราได้อย่างปลอดภัย ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผ่านมาตรการการจัดการ COVID-19 อย่างเข้มงวดในบริเวณสำนักงานขาย ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ทำให้เรายังคงได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค”     นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า ปี 2563 ถือเป็นปีแห่งความท้าทาย โดยเฉพาะจากเรื่อง COVID-19 ที่สถานการณ์ยังมีความเปลี่ยนแปลงและมีมาตรการใหม่ๆ จากภาครัฐออกมาอย่างต่อเนื่อง บริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดประชุมผู้บริหารอยู่เป็นประจำ เพื่อให้สามารถออกมาตรการใหม่ๆ ได้อย่างทันท่วงที และในช่วงเวลานี้ บริษัทตระหนักดีว่าทุกภาคส่วนจำเป็นต้องมีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ซึ่งกันและกัน   เพื่อให้ผ่านสถานการณ์อันยากลำบากไปได้ จึงพิจารณามาตรการใหม่ๆ เพื่อคน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.มาตรการเพื่อผู้บริโภค ทั้งเพื่อกลุ่มที่กำลังพิจารณาจะซื้อโครงการของออริจิ้น และกลุ่มที่ปัจจุบันเป็นลูกบ้านออริจิ้นแล้ว 2.มาตรการเพื่อพนักงาน โดยมีมาตรการที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว เช่น การเปิดให้พนักงานบางส่วนที่ไม่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับลูกค้าโดยตรง สามารถ Work From Home ได้ตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา 3.มาตรการเชิงธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจ เดินหน้าจับมือพันธมิตรใหม่ๆ ในรูปแบบ Open Platform เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภค พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงแผนให้ธุรกิจยังคงสามารถขับเคลื่อนไปได้ภายใต้ทุกสถานการณ์ โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นมาตรการใหม่ๆ ในทั้ง 3 ด้านดังกล่าว ออกมาอย่างต่อเนื่องในเดือน เมษายนนี้   สำหรับปี 2563 บริษัทมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 14 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกว่า 20,000 ล้านบาท โดยเปิดตัวไปแล้ว 2 โครงการในช่วงไตรมาส 1 คือ โครงการ บริทาเนีย สายไหม มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท และ โครงการ แกรนด์ บริทาเนีย วงแหวน-รามอินทรา มูลค่าโครงการ 1,900 ล้านบาท   “ตามปกติแล้ว ช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คือช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 เราจึงเชื่อมั่นว่า ด้วยยอดขายที่สามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยมในไตรมาส 1 ประกอบกับยอดขายในไตรมาส 3 และ 4 ซึ่งสถานการณ์น่าจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว เราจะยังสามารถทำยอดขายได้ 21,500 ล้านบาทตามเป้า”    
จะซื้อบ้าน-คอนโด ไหวมั้ย ประเมินยังไงก่อนตัดสินใจยื่นกู้

จะซื้อบ้าน-คอนโด ไหวมั้ย ประเมินยังไงก่อนตัดสินใจยื่นกู้

ในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยสักแห่งไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียมหรือบ้านแนวราบ สิ่งแรกที่หลายคนคำนึงถึงนอกจากเรื่องของทำเลที่ตั้งแล้วคือ “งบประมาณ” เพราะเป็นเงินจำนวนไม่น้อย ทั้งเงินก้อนที่เป็นเงินดาวน์ ค่าใช้จ่ายจุกจิกอย่างอื่น อาทิ ค่าจอง ค่าทำสัญญา ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ฯลฯ แถมยังต้องผ่อนชำระงวดระยะยาวไปอีกหลายปี จึงควรมีการประเมินตัวเอง คิดอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจกู้ซื้อบ้าน-คอนโด เพื่อไม่เกิดเป็นภาระที่เกินกำลังภายหลัง สถานะทางการเงิน และสภาพคล่องเป็นอย่างไรบ้าง ในการขอสินเชื่อทุกประเภท สถาบันทางการเงินจะมีการประเมินรายได้ ภาระหนี้สินที่มีอยู่ รวมถึงวินัยทางการเงินผ่านการเดินบัญชีธนาคารของผู้ยื่นกู้ แต่หลายคนถูกปฏิเสธสินเชื่อ เนื่องจากภาระหนี้สินที่มีอยู่นั้นมากจนเกินไป หรืออาจมีประวัติเคยติดเครดิตบูโร ยกตัวอย่างเช่น ผู้ยื่นกู้มีภาระผ่อนทรัพย์สินอื่นอยู่แล้วประมาณ 30% ของรายได้ต่อเดือน ทางธนาคารก็อาจจะปฏิเสธสินเชื่อ เพราะการผ่อนชำระงวดของสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะต้องไม่เกิน 30–40% ของรายได้ต่อเดือน   เอาแบบเข้าใจง่ายเลยนะครับ ถ้ามีเงินเก็บบ้าง หนี้สินน้อยหรือไม่มีเลยยิ่งดี จะยื่นกู้ได้ง่าย วงเงินมาก-น้อยขึ้นอยู่กับรายได้ แต่ถ้าหนี้สินเยอะก็ผ่านยาก เงินก้อนที่สะสมไว้ นำมาจ่ายได้เท่าไหร่ แม้ว่ามาตรการ LTV (Loan to Value) ล่าสุดจะออกมาให้อนุมัติวงเงินกู้ 100% สำหรับบ้านหลังแรกในราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท พร้อมกับสินเชื่ออเนกประสงค์เพื่อตกแต่งบ้านอีก 10% แต่ในความเป็นจริงธนาคารมักจะปล่อยกู้ประมาณ 80% ส่วนอีก 20% ที่เหลือเราจะต้องวางเงินดาวน์ หรือใช้วิธีการผ่อนดาวน์สำหรับโครงการที่กำลังสร้างอยู่ ฉะนั้นเราจึงต้องมีเงินก้อนที่จะใช้เป็นเงินดาวน์ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาไว้ด้วย เช่น บ้านราคา 1 ล้านบาท ธนาคารให้กู้ 80% อีก 20% ที่เหลือ คิดเป็นเงินประมาณ 200,000 บาท คือเงินก้อนที่เราต้องจ่าย   นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นที่จะตามมาจากการซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงช่วงโอนกรรมสิทธิ์ อาทิ เงินจอง เงินทำสัญญา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในวันโอนกรรมสิทธิ์ ฉะนั้นควรมีเงินก้อนสำรองเอาไว้ด้วยครับ วงเงินกู้ ใช้ประเมินกำลังซื้อได้ ธนาคารมักจะให้กู้ในวงเงินประมาณ 15-30 เท่าของรายได้ แต่สำหรับบางอาชีพ เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานของบริษัทเอกชนที่เงินเดือนสูง ๆ ทางธนาคารอาจพิจารณาให้วงเงินกู้ถึง 25–30 เท่า   หากนำส่วนนี้มาลองคำนวณคร่าว ๆ ดู ก็จะสามารถทราบได้ว่าเรามีงบประมาณที่เท่าไร และเหมาะที่จะซื้อโครงการไหนบ้าง คำนวณเงินผ่อนชำระต่อเดือน จ่ายไหวแค่ไหน โดยทั่วไปธนาคารจะกำหนดงวดผ่อนแต่ละเดือนประมาณ 30% ของรายได้ เช่น เงินเดือน 20,000 จะสามารถผ่อนงวดได้ 5,000-6,000 บาทต่อเดือน ขณะที่เงินเดือน 60,000 บาท จะสามารถผ่อนงวดได้ 18,000-21,600 บาทต่อเดือน นั่นหมายความว่า ถ้ารายได้ยิ่งสูงก็จะสามารถซื้อที่อยู่อาศัยในราคาแพงขึ้นได้ หรือเลือกใช้ระยะเวลาในการผ่อนสั้นลง ในกรณีที่อยู่อาศัยที่จะซื้อมีราคาเท่ากัน อย่าลืม! บวกดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเข้าไปด้วย นอกจากต้องคำนวณเงินผ่อนชำระต่อเดือนแล้ว สิ่งสำคัญคืออย่าลืม! บวกดอกเบี้ยเข้าไปด้วย จะเป็นการช่วยประเมินตัวเองได้ทั้งการผ่อนงวดต่อเดือน และราคาของที่อยู่อาศัย โดยอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.5%-5.0% แล้วแต่สถาบันทางการเงิน และข้อกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ   สิ่งเหล่านี้สามารถนำไปประเมินตัวเองได้ก่อนคร่าว ๆ ว่า เราเหมาะจะกู้ซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบไหน ในราคาประมาณเท่าไร เพื่อให้เจอโครงการที่ใช่ เหมาะสมกับตัวเรา ที่สำคัญคือไม่ให้เกิดเป็นภาระที่เกินกำลังในภายหลัง   หากเราลองประเมินตัวเองทั้งหมดตามนี้ จะทำให้ทราบถึงกำลังซื้อของเราว่าควรจะเลือกโครงการ เลือกบ้าน หรือคอนโดราคาประมาณเท่าไหร่ เมื่อมีภาระต้องบ้าน จะมีกำลังประมาณไหน ที่สำคัญคือ เพื่อให้มีแนวโน้มในการยื่นกู้ผ่านง่ายขึ้น และหากรายได้ที่มียังไม่เพียงพอ ควรจะหารายได้เพิ่ม เพื่อให้ได้วงเงินกู้มากขึ้นอย่างไร ที่จะทำให้เราได้มีโอกาสซื้อบ้านของตัวเองมากขึ้น ความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับการยื่นกู้สินเชื่อบ้าน-คอนโด วิธีเตรียมกู้ซื้อบ้าน สำหรับอาชีพอิสระ ทางเลือกซื้อคอนโด สำหรับคนงบน้อย กู้ไม่ผ่าน เกิดจากอะไร
EIC อัพเดท เศรษฐกิจไทย ภายใต้วิกฤตไวรัสโควิด-19 ติดลบ 0.3%

EIC อัพเดท เศรษฐกิจไทย ภายใต้วิกฤตไวรัสโควิด-19 ติดลบ 0.3%

EIC ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 63 หดตัวที่ -0.3% จากเดิมคาดขยายตัว 1.8% จากผลกระทบของ COVID-19 ที่รุนแรงกว่าที่คิด ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงครึ่ง   ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center หรือ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) รายงานว่า สถานการณ์ COVID-19 มีความรุนแรงและกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกมากกว่าที่เคยคาด การระบาดที่เริ่มต้นในจีนได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของโลกอย่างรวดเร็วนับจากช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา   โดยล่าสุด องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของ COVID-19 อยู่ในระดับ pandemic จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ EIC คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวมากขึ้น ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจประเทศหลักที่ได้รับผลจาก COVID-19 ผ่านมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด ความมั่งคั่งที่ลดลง (wealth effect) สะท้อนจากการลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก และปัญหาด้าน supply chain disruption เศรษฐกิจโลกขยายตัวแค่ 1.8% นอกจากนั้นราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอย่างมากจากทั้งการใช้น้ำมันที่ลดลงและสงครามราคาระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน จะส่งผลกระทบด้านลบค่อนข้างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมัน ขณะที่ผลบวกต่อการใช้จ่ายในประเทศที่นำเข้าน้ำมันจะมีน้อยกว่าปกติจากความกังวลของผู้บริโภคต่อสถานการณ์ COVID-19   ดังนั้น EIC จึงคาดว่าเศรษฐกิจโลกขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 1.8% ในปี 2563 (จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 3%) รวมทั้งจะมีหลายประเทศที่มีโอกาสสูงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงครึ่งแรกของปี เช่น ญี่ปุ่น อิตาลี เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฮ่องกง เป็นต้น   นอกจากนี้ ภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้นจากความผันผวนของตลาดเงินและการปรับลดลงอย่างรุนแรงของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้ EIC มองว่า ธนาคารกลางส่วนใหญ่จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นต่อไป ไม่ว่าจะเป็น Fed ที่น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 75-100 bps มาอยู่ที่กรอบ 0-0.25% ในปีนี้ ECB ที่น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย deposit facility rate ลงอีก 10 bps มาอยู่ที่ -0.6% และ BOJ ที่อาจเพิ่มการเข้าซื้อสินทรัพย์ ETF และปรับให้มีความยืดหยุ่นในการเข้าซื้อมากขึ้น   ท่องเที่ยว-ส่งออก-การใช้จ่าย หดตัวทั่วหน้า สำหรับเศรษฐกิจไทย COVID-19 จะกระทบผ่าน 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ การท่องเที่ยว การส่งออก และการใช้จ่ายในประเทศ โดยระดับของผลกระทบจะขึ้นอยู่กับสมมุติฐานของสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในกรณีต่าง ๆ เป็นสำคัญ   EIC ประเมินสถานการณ์การระบาด COVID-19 ในกรณีฐาน (Base case scenario) โดยมีสมมติฐานว่า 1.สำหรับการระบาดในจีน การเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อมีจุดสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ และจะถูกควบคุมได้ (ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ) ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่สถานการณ์การระบาดนอกประเทศจีน (รวมถึงไทย) จะมีความรุนแรงมากสุดในช่วงต้นไตรมาส 2 และจะถูกควบคุมได้ในช่วงต้นไตรมาส 3 ของปีนี้ โดยที่ในกรณีของไทย มีข้อสมมติฐานเพิ่มเติมว่า ไม่มีการ lockdown ในวงกว้าง ภายใต้กรณีฐานดังกล่าว EIC ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้ การท่องเที่ยวหดตัว EIC คาดนักท่องเที่ยวทั้งปี 2563 จะเหลือเพียง 27.7 ล้านคน (-30.5%YOY) โดยจะมีการหดตัวมากสุดประมาณ -75%YOY ในช่วงเดือนเมษายน และจะปรับดีขึ้นอย่างช้า ๆ หลังจากนั้นจนกลับสู่ระดับเทียบเท่าปี 2562 (0%YOY) ในเดือนตุลาคม นอกจากนี้ ยังคาดว่ารายจ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวก็จะปรับลดลงจากปีก่อนหน้าด้วย ตามราคาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มลดลงตามสถานการณ์ท่องเที่ยวที่ซบเซา การส่งออกหดตัว มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มปรับลดลง 5.8% จากปีก่อนหน้า จากผลกระทบของ COVID-19 ผ่านช่องทางรายได้ของลูกค้าที่ลดลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันที่ลดลงมากซึ่งทำให้ราคาสินค้าส่งออกในหมวดน้ำมันและปิโตรเคมีลดลงตาม และปัญหาด้าน supply chain disruption ที่เกิดจากการหยุดชะงักของการผลิตสินค้าในประเทศที่ได้รับผลกระทบและไทยอยู่ในห่วงโซ่การผลิตด้วย โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกสินค้าไทยใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1.ไทยจะส่งออกสินค้าวัตถุดิบขั้นกลางบางประเภทลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์ไม้ เหล็ก สินค้าเกษตร เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีการหยุดชะงักของการผลิตสินค้า จึงลดการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบขั้นกลางจากไทย 2. ไทยมีอุปสรรคในการผลิตสินค้าส่งออกบางประเภท เช่น รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เนื่องจากต้องพึ่งพาสินค้าวัตถุดิบขั้นกลางจากประเทศเหล่านั้น การใช้จ่ายในประเทศลดลง นอกเหนือจากรายได้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่โน้มลดลงจากผลของ COVID-19 การใช้จ่ายในประเทศจะได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากความกังวลและตื่นกลัวกับสถานการณ์แพร่ระบาด นำไปสู่การลดการเดินทางท่องเที่ยว และการจับจ่ายใช้สอยตามห้างสรรพสินค้าหรือแหล่งชุมชนที่มีคนจำนวนมาก รวมถึงมีการลดหรือเลื่อนกิจกรรมงานสังสรรค์และงานนิทรรศการต่าง ๆ แม้ตัวเลขการใช้จ่ายผ่านช่องทาง online จะโน้มสูงขึ้น แต่ไม่สามารถชดเชยการใช้จ่ายที่ลดลงได้ทั้งหมด เศรษฐกิจไทยไม่โตแถมยังติดลบ 0.3% โดยรวม EIC ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2563 เป็นหดตัวที่ -0.3% ในกรณีฐาน (จากประมาณการเดิมที่ 1.8%) และมีความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจไทยจะเกิด technical recession ในช่วงครึ่งแรกของปี  โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของปี เศรษฐกิจไทยมีโอกาสหดตัวทั้งในแบบ %YOY และ %QOQ sa เนื่องจากมีหลายปัจจัยรุมเร้า ได้แก่ การหดตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวและภาคส่งออกซึ่งจะส่งผลให้รายได้และการจ้างงานของแรงงานในภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมลดต่ำลง ภัยแล้งที่รุนแรงกว่าปกติซึ่งกระทบต่อรายได้ของภาคเกษตร และงบประมาณจากภาครัฐที่มีแนวโน้มเบิกจ่ายได้ต่ำในช่วงไตรมาสแรกจากความล่าช้าของการอนุมัติงบประมาณรายจ่าย   โดยคาดว่าการเร่งเบิกจ่ายของภาครัฐทั้งในส่วนของงบลงทุนและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ จะเริ่มเข้าช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นไป ทั้งนี้ EIC คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ในช่วงปลายไตรมาส 3 ตามสมมติฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะทยอยกลับมาฟื้นตัวในช่วงดังกล่าว ตลอดจนมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น   ด้วยความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มขึ้น ทำให้ EIC มองว่า กนง. อาจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 ครั้ง (25 bps) ในการประชุมวันที่ 25 มีนาคม 2563 นี้ จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจาก COVID-19 โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของไทยในปี 2563 ที่มีแนวโน้มติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี (EIC ประเมินอยู่ที่ -0.2%) จะทำให้ความเสี่ยงของการเข้าสู่ภาวะเงินฝืด (Deflation) ในระยะข้างหน้าสูงขึ้น EIC มองว่า กนง. อาจตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมสอดคล้องกับธนาคารกลางอื่น ๆ ที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปก่อนหน้าเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ รวมทั้งสนับสนุนการฟื้นตัวของอัตราเงินเฟ้อของไทยให้กับสู่กรอบเป้าหมายในระยะปานกลาง โดย EIC มองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้อาจจะมีผลกระตุ้นอุปสงค์ใหม่ได้จำกัดภายใต้ความไม่แน่นอนและความกังวลจาก COVID-19 ในระดับสูง แต่จะมีส่วนช่วยเพิ่มสภาพคล่อง ลดแรงกดดันด้านเงินบาทแข็งค่า ตลอดจนช่วยลดภาระการชำระหนี้และสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่มีปัญหาอีกด้วย   อย่างไรก็ดี จาก policy space ด้านดอกเบี้ยที่มีจำกัด ภาครัฐคงต้องอาศัยความร่วมมือในการใช้มาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น การผ่อนคลายด้านกฎระเบียบ การดูแลค่าเงินบาท หรือกลไกการค้ำประกันความเสี่ยงหรือเพิ่มสภาพคล่องเฉพาะจุด เป็นต้น หากมีความจำเป็นเพื่อเพิ่มระดับความผ่อนคลายของภาวะการเงินในระยะข้างหน้า EIC แนะเตรียมความพร้อมรับมือความไม่แน่นอน ทั้งนี้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและไทยยังมีความไม่แน่นอนสูง ขึ้นอยู่กับความสามารถของประเทศต่าง ๆ ในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 การประคับประคองเศรษฐกิจระยะสั้น และการวางรากฐานสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า หากการแพร่ระบาดทั้งในไทยและต่างประเทศถูกควบคุมได้ภายในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเร็วกว่ากรณีฐาน ก็จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวและมูลค่าการส่งออกของไทยปรับดีขึ้นมากกว่ากรณีฐานได้เช่นกัน   สิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งดำเนินการ คือ การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทั้งในมิติการดูแลสุขภาพของประชาชน  การดูแลแรงงานและภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SME ที่จะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการวางรากฐานสำหรับอนาคต ผ่านการเร่งลงทุนในการเพิ่มทักษะของแรงงานและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวและการสาธารณสุขของไทย ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยหลังการระบาด COVID-19 สิ้นสุดลง    
รวมโปรโมชั่น “บ้าน-คอนโดฯ” สู้ไวรัสโควิด-19

รวมโปรโมชั่น “บ้าน-คอนโดฯ” สู้ไวรัสโควิด-19

ระยะเวลาปี 2563 เดินทางมาเกือบจะหมดไตรมาสแรกของปีกันแล้ว แวดวงอสังหาริมทรัพย์ดูเหมือนจะเงียบเหงา ดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่แทบไม่มีใครเปิดโครงการใหม่ออกขาย ส่วนใหญ่จะกินบุญเก่ากับโครงการเดิมๆ ที่เปิดขายมาก่อนหน้า เพราะสถานการณ์ปีนี้ เต็มไปด้วยปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา  และต้นปีนี้ยังมีปัญหาไวรัสโควิด-19 มาซ้ำเติมให้เจ็บหนักกันไปอีก   สิ่งหนึ่งที่ดีเวลลอปเปอร์ทำกันตอนนี้ คงหนีไม่พ้นการจัดโปรโมชั่น เพื่อเรียกยอดขาย และหาแนวทางในการกระตุ้นยอดขายให้มากขึ้น จากสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยปัจจัยลบ มาดูกันว่าตอนนี้มีโปรโมชั่นจากผู้ประกอบการอะไรออกมากันบ้าง เมเจอร์ จัด LAST CHANCE!! LUCKY NO.9 เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จัดโปร LAST CHANCE!! LUCKY NO.9  ส่งท้ายกับ คอนโดฯ 8 โครงการ ทำเลใจกลางเมือง ใกล้รถไฟฟ้า ราคาพิเศษเริ่ม 2.9 ล้านบาท รับโปรโมชั่นฟรี 9 รายการ พร้อมลุ้นรับ On Top ส่วนลดเพิ่มสูงสุด 200,000 บาท   นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ กรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จจากแคมเปญ “LUCKY NO.9 เฮง 9 ต่อ รับฟรี 9 อย่าง” จึงได้จัดแคมเปญต่อเนื่องโอกาสสุดท้าย สำหรับผู้ที่ต้องการเลือกซื้อคอนโดฯ ใจกลางเมืองใกล้รถไฟฟ้า กับแคมเปญ LAST CHANCE!! LUCKY NO.9  ฟรี! โปรโมชั่นกว่า 9 รายการ ด้วยฟรีค่าโอนฯ, ส่วนกลาง, เงินกองทุน, ประกันและติดตั้งมิเตอร์ไฟ, บัตรกำนัลเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า, ที่พักสุดชิคจาก Centra Maris Resort Jomtien และแก็ตเจต โดนใจ IPhone 11   โดยบริษัทได้คัดสรร 8 โครงการ พร้อมอยู่ มาจัดแคมเปญครั้งนี้  อาทิ  โครงการเอ็ม จตุจักร ใกล้ BTS หมอชิต และ สะพานควาย, MRT จตุจักร และ กำแพงเพชร  โครงการมาเอสโตร19 รัชดา19 – วิภา ทำเลใจกลางรัชดาฯ ใกล้ MRT สถานีรัชดาภิเษก โครงการมาเอสโตร 03 รัชดา – พระราม 9 ใกล้ MRT สถานีพระราม 9, สถานีศูนย์วัฒนธรรม Airport Link สถานีมักกะสัน และใกล้จุดขึ้นลงทางด่วนพิเศษศรีรัช  โครงการมาเอสโตร 14 สยาม – ราชเทวี ทำเลศักยภาพ 'ราชเทวี' ใกล้รถไฟฟ้า BTS ราชเทวี เพียง 300 เมตร สถานีเดียวถึงสยาม นอกจากนี้ยังมีโครงการเมทริส พระราม 9 - รามคำแหง ทำเลติดริม ถ.พระราม 9 และถนนรามคำแหง ใกล้ MRT รามคำแหง 12  โครงารเมทริส พัฒนาการ – เอกมัย ตั้งอยู่บนถนนพัฒนาการ ใกล้ทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ โครงการเอ็ม ทองหล่อ 10 ใกล้ BTS ทองหล่อ และโครงการมาเอสโตร 01 สาทร-เย็นอากาศ ทำเลย่านธุรกิจ ใกล้ BTS ศาลาแดง และ MRT ลุมพินี   ขณะเดียวกันในวันที่ 21-22 มีนาคมนี้ บริษัทได้เพิ่มข้อเสนอสุดพิเศษ ลุ้นรับส่วนลด On Top สูงสุดถึง 200,000 บาท** ในงาน Event ที่ Sales Gallery สำหรับ 6 โครงการ ได้แก่  เอ็ม จตุจักร, มาเอสโตร19 รัชดา19 – วิภา, มาเอสโตร 03 รัชดา – พระราม 9, มาเอสโตร 14  สยาม – ราชเทวี, เมทริส พระราม 9 – รามคำแหง และเมทริส พัฒนาการ – เอกมัย  อีกด้วย   ตลาดอสังหาฯ ปีนี้ยังคงเติบโต แต่ไม่ได้หวือหวามากนัก มั่นใจว่าตลาดยังมีเรียลดีมานด์ มีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง  เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จัด NC EXPO 2020 เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง  เปิดแคมเปญใหญ่ NC EXPO 2020   Hot Price Hot Zone  ผนึก 8 แบงค์ มอบอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ชูมหกรรมบ้าน เอ็น.ซี  9 แบรนด์คุณภาพ รีบจอง ภายใน 31 มีนาคมนี้   นายสมนึก ตันฑเทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง แคมเปญใหญ่ต้นปี 2020  “NC EXPO 2020 Hot Price Hot Zone” นำโครงการบ้าน-คอนโดฯ พร้อมอยู่ 9 โครงการทุกทำเล จัดราคาพิเศษ และได้รับแคมเปญพิเศษ อาทิ G1 GOLD  ซื้อบ้านได้ทอง  สูงสุด 20 บาท  G2 GIFT ซื้อบ้านรับของแถม ครบคุ้ม อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า G3 GIFT VOUCHER ตกแต่งบ้าน มูลค่าสูง ถึง 100,000 บาท G4 GIVE AWAY ซึ่งเป็นการร่วมสมทบเงินมอบส่วนหนึ่ง เพื่อโครงการรักษ์โลก  ทุกยอดโอน 1 ล้านบาท ร่วมบริจาคสนับสนุน ด้านการคัดแยกขยะลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และ G5 GET MORE  รับส่วนลดสูงสุด 2 ล้านบาท  ฟรีทุกค่าใช้จ่ายวันโอนกรรมสิทธ์ ทุกรายการ กรณีโอนเร็ว ภายในเดือนมีนาคม รับ iPhone 11 Pro Max ,IPad gen 7,Apple Wach ,Air Pods ความมั่นใจแคมเปญใหญ่ NC EXPO 2020 Hot Price Hot Zone จะสามารถทำยอดขายกว่า  270 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมกับ 8 สถาบันการเงิน ให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์กู้สูงสุด 110% ธนาคารออมสิน ดอกเบี้ยพิเศษ 2.7% 3 ปี ธนาคารกสิกรไทย รับดอกเบี้ย 3.32%นาน 3 ปี ธนาคารทหารไทย รับดอกเบี้ย 2.89 % 3 ปี ฟรีค่าประกันอัคคีภัย ธนาคารกรุงไทย ดอกเบี้ยพิเศษ 0.99% ปีแรก ธนาคารกรุงศรี รับดอกเบี้ยคงที่ 1% นาน 1 ปี พร้อมฟรี จดจำนอง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กู้ได้วงเงินสูงสุด 110%  และ LH Bank รับดอกเบี้ยเริ่มเต้น 2.9% หรือผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท  (2ปีแรก ) “อัลติจูด” แจกประกันโควิด-19   “อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์” ลุยตลาดแนวราบ เจาะกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่จริง เตรียมแจกประกันภัยโควิด-19 สำหรับผู้เข้าชมโครงการ ตั้งเป้ายอดขาย 2,000 ล้านบาท     นายชยพล หรรรุ่งโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้แบรนด์ "ALTITUDE" เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้แม้จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัว และจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กระทบกับทั้งประเทศไทยและทั่วโลก บริษัทฯ ได้ตระหนักและคำนึงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งในปี 2563 จึงยังเน้นย้ำกลยุทธ์การเติบโตด้วยธุรกิจร่วมทุนและรับจัดการและพัฒนาสินทรัพย์ (Turnkey Asset Development) เป็นการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยโครงการร่วมทุนและร่วมค้า เพื่อเป็นการแก้เกมเศรษฐกิจช่วงขาลง   สำหรับเป้าหมายยอดขายปี 2563 ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 2,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา นับเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากปี 2561 ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินตามกลยุทธ์ธุรกิจ และกลยุทธ์การตลาดที่บริษัท วางไว้ได้อย่างถูกต้อง และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บริษัทได้ตระหนักและให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน จึงได้ซื้อประกันภัยโควิด-19 มอบให้กับพนักงาน และผู้เข้าเยี่ยมชมโครงการของอัลติจูด ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยผู้ต้องการเข้าชมโครงการต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของบริษัท www.altiude.co.th แสนสิริ จัดโปรลื่นปรื้ด แสนสิริ เปิดเกมส์รุกหนักไตรมาสแรกปี 63  ยกทัพโครงการพร้อมอยู่และเปิดขายใน 55 โครงการทั่วประเทศ จัดแคมเปญใหญ่ “โปรลื่นปรื้ด”  ตั้งเป้ากวาดยอดขายแคมเปญ 3,000 ล้านบาท กระตุ้นตลาดอสังหาฯ คึกคัก ดันยอดขายปิดไตรมาสแรก   นายอุทัย  อุทัยแสงสุข  ประธานผู้บริหารสายงานปฎิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้ลุยสร้างยอดขายและกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ตั้งแต่ไตรมาสแรก ด้วยราคาและและข้อเสนอพิเศษแบบไม่เคยมีใครให้มาก่อน กับแคมเปญ “โปรลื่นปรื้ด” ล้มทุกโปร ลื่นทุกข้อเสนอ ยกทัพโครงการพร้อมอยู่และเปิดขายใน 55 โครงการทั่วประเทศ ทั้งบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม และทาวน์โฮม มาจัดราคาพิเศษ พร้อมข้อเสนอพิเศษทางการเงินจาก 3 ธนาคารชั้นนำ ทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน ที่จะร่วมมอบอัตราดอกเบี้ยสุดพิเศษเฉพาะลูกค้าแสนสิริอีกด้วย   ตัวอย่างโครงการที่ร่วมแคมเปญ อาทิ ดีคอนโด แคมปัส กำแพงแสน เริ่มต้นเพียง 890,000 บาท  ดีคอนโด แคมปัส โดม รังสิต เริ่มต้นเพียง 1.69 ล้านบาท ทาวน์โฮมแบรนด์สิริ เพลส ราชพฤกษ์ – 346  ราคาพิเศษเริ่มเพียง 1.89 ล้านบาท มิกซ์โปรดักส์ รวมบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮมไว้ในโครงการเดียว อณาสิริ มะลิวัลย์ ขอนแก่น ราคาพิเศษเริ่มเพียง 2.29 ล้านบาท และคณาสิริ บนหลายทำเล อาทิ บางนา, พระราม 2, ราชพฤกษ์ – 346 ราคาพิเศษเริ่มเพียง 3.99 ล้านบาท สราญสิริ โคราช ราคาพิเศษเริ่ม 4.99 ล้านบาท และบ้านเดี่ยวแบรนด์บุราสิริ ราคาพิเศษเฉพาะในงาน เริ่ม 4.99 บ้านเดี่ยวแบรนด์เศรษฐสิริ ราคาพิเศษเฉพาะในงาน เริ่ม 5.99 ล้านบาท   ไฮไลท์ที่น่าสนใจของแคมเปญ ยังลุ้นเป็นเจ้าของยูนิตราคาสุดพิเศษ ใน 12 คอนโดฯ พร้อมอยู่ อาทิ ลา กาซิต้า หัวหิน ลุ้นรับราคาพิเศษ 1.79 ล้านบาท เดอะ เบส ไฮท์ อุดรธานี ลุ้นรับราคาพิเศษเพียง 1.39 ล้านบาท  เดอะ เบส เพชรเกษม ลุ้นรับราคาพิเศษเพียง 1.79 ล้านบาท และเดอะ เบส สุขุมวิท 50 ลุ้นรับราคาพิเศษ 1.99 ล้านบาท สำหรับโครงการบ้านเดี่ยว และทาวน์โฮม นอกจากพบแปลงสวยราคาพิเศษในทุกโครงการ ทุกทำเลแล้ว ยังมีโปรโมชั่นจัดเต็มส่วนลดสูงสุดกว่า 1 ล้านบาท ให้คุณเป็นเจ้าของบ้านได้ง่ายที่สุด เพราะแสนสิริจ่ายให้ทั้งหมด ทั้งค่าจดจำนอง ค่าโอนกรรมสิทธิ์ และค่าส่วนกลางสูงสุด ถึง 10 ปี   คาดว่าแคมเปญนี้จะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า และสามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 3,000 ล้านบาท และยังจะช่วยผลักดันให้ยอดขายในช่วงไตรมาสแรกเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้  
LPN ปรับกลยุทธ์การขาย รับมือ โควิด-19 ปั้นยอดขาย750 ล้าน

LPN ปรับกลยุทธ์การขาย รับมือ โควิด-19 ปั้นยอดขาย750 ล้าน

LPN ปรับกลยุทธ์การขายโครงการ “ลุมพีนี เพลส เตาปูน อินเตอร์เชนจ์” โปรเจ็กต์แรกที่เปิดขายของปี 63 ใช้ระบบ  Telesales สร้างยอด 750 ล้าน รับมือปัญหา โควิด-19 ระบาด    นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า  จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้บริษัทปรับกลยุทธ์การขายโครงการ  “ลุมพีนี เพลส เตาปูน-อินเตอร์เชนจ์” ระหว่างวันที่ 5-8 มีนาคมที่ผ่านมา ด้วยการติดต่อกับลูกค้าที่เยี่ยมชมโครงการและลงทะเบียนแสดงความสนใจซื้อโครงการก่อนหน้านี้ทางโทรศัพท์ (Telesales) ในระหว่างวันที่ 5-6 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จากการที่ลูกค้าจำนวนมากมาชุมนุมกันที่สำนักงานขายของโครงการในวันเปิดขายจริงวันที่ 7-8 มีนาคม 2563   “การนำระบบการติดต่อกับลูกค้าทางโทรศัพท์มาใช้ในช่วงวันที่ 5-6 มีนาคม ช่วยลดปริมาณของลูกค้าที่เดินทางไปที่สำนักงานขายในวันที่เปิดขายระหว่างวันที่ 7-8 มีนาคมลงไปได้มาก และยังสามารถสร้างยอดขายได้สูงถึง 300 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน  70% ของจำนวนยูนิตที่เปิดขาย สร้างยอดขายขายกว่า 750 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อในตลาดที่ยังคงมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ในทำเลที่ใกล้กับแนวรถไฟฟ้า ในระดับราคาที่เหมาะสม ถึงแม้เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มชะลอตัว”      โครงการลุมพีนี เพลส เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ เป็นโครงการคอนโดมิเนียมโครงการแรกที่ LPN เปิดขายในปี 2563  เพราะมองเห็นศักยภาพของทำเลเตาปูน - บางซื่อ ที่เป็นทำเลที่ยังคงมีความต้องการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจของบริษัทพบว่า ย่านนี้มีบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 12,500 คน รวมทั้งทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับรัฐสภาใหม่ที่มีเจ้าหน้าที่ทำงานอยู่มากกว่า 2,000 คน ประกอบกับทำเลนี้อยู่ติดกับแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงสถานีบางซื่อ-ท่าพระ และการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อที่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในต้นปี 2564 ที่คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการไม่น้อยกว่า 200,000 คนต่อวัน ทำให้บริษัทมั่นใจว่าจะมีลูกค้าให้ความสนใจซื้อที่อยู่อาศัยที่อยู่โดยรอบพื้นที่เตาปูน ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและมีชุมชนโดยรอบเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยที่ระดับราคาไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อยูนิต   เมื่อสถานีกลางบางซื่อเปิดให้บริการในปี 2564 สถานีกลางบางซื่อจะกลายเป็นสถานีศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยจะมีรถไฟฟ้าถึง 4 สายที่เชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อในอนาคต ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน รวมทั้งยังเป็นสถานีต้นทางของรถไฟฟ้าความเร็วสูง 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 670 กิโลเมตร และกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร อีกทั้งยังมีส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 5 สถานี จากสถานีพญาไทเชื่อมต่อไปยังสนามบินดอนเมืองกับสนามบินสุวรรณภูมิ   “เตาปูนเป็นทำเลที่ใกล้กับสถานีกลางบางซื่อ และมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินผ่าน ทำให้เป็นทำเลที่เหมาะทั้งการซื้อเพื่ออยู่อาศัย และเพื่อการลงทุน โดยการซื้อเพื่อการลงทุนให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่  5% ต่อปี โดยมีการปล่อยเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8,000 – 10,000 บาทต่อเดือนสำหรับห้องที่มีพื้นที่ประมาณ 22-28 ตารางเมตร ในแบบสตูดิโอ และ 1 ห้องนอน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทำเลที่เหมาะสำหรับการซื้อเพื่ออยู่อาศัยและการลงทุน”       โครงการลุมพีนี เพลส เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ เป็นคอนโดสูงขนาด 30 ชั้น 1 อาคาร บนพื้นที่โครงการขนาด 3 ไร่ จำนวนห้อง 710 ยูนิต มีห้องพักให้เลือก 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. รูปแบบสตูดิโอ ขนาด 22.50 – 23.00 ตารางเมตร 2.รูปแบบ 1 ห้องนอน ขนาด 28.00 – 34.00 ตารางเมตร 3. รูปแบบ 2 ห้องนอน ขนาด 43.00 ตารางเมตร มูลค่าโครงการรวม 1,780 ล้านบาท  ปัจจุบันโครงการได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากคณะกรรมการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว   โครงการ ลุมพีนี เพลส เตาปูน-อินเตอร์เชนจ์ อยู่บนถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  ใกล้รถไฟฟ้าสถานีเตาปูนเพียง 100 เมตร พร้อมเชื่อมต่อทุกการเดินทางได้อย่างรวดเร็วด้วยทางด่วนศรีรัชฯ ภายในโครงการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน อาทิ โถงพักผ่อน ห้องอเนกประสงค์ ห้องคุณหนู สระว่ายน้ำ ห้องเฮ้าส์เวิร์ก สวนอินฟินิตี้ ฟิตเนสและสวนดาดฟ้า พร้อมที่จอดรถ 278 คัน พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ราคาเริ่มต้น 1.98 ล้านบาท