Tag : Money

360 ผลลัพธ์
แอสเซทไวส์    เพิ่มทางเลือกแลกเงินดิจิทัล  จับมือ​ “Bitkub” ขยายฐานลูกค้า  New Gen  

แอสเซทไวส์   เพิ่มทางเลือกแลกเงินดิจิทัล จับมือ​ “Bitkub” ขยายฐานลูกค้า  New Gen  

แอสเซทไวส์  จับมือ​ “Bitkub” ​เพิ่มทางเลือกในการแลกเงินดิจิทัลเป็นเงินบาท เพื่อซื้อบ้านและคอนโด  หวังขยายฐานลูกค้ากลุ่ม New Gen ครึ่งปีหลัง เตรียมเปิด 4 โครงการใหม่     นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) (ASW)  เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (Bitkub) ในการเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของบ้านและคอนโดมิเนียมทุกโครงการในเครือ ผ่านการแลกสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโทเคอเรนซี่ (Cryptocurrency) เป็นเงินบาท เพื่อใช้ในการซื้อบ้านและคอนโดมิเนียมในเครือแอสเซทไวส์ โดยลูกค้าสามารถแลกเหรียญคริปโทฯ ผ่าน Wallet ของบิทคับซึ่งเตรียมความพร้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้า นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาต่อยอดธุรกิจและปรับตัวสู่นวัตกรรมทางการเงินสมัยใหม่ได้อย่างรวดเร็ว   ความร่วมมือกันในครั้งนี้เกิดจากการเล็งเห็นถึงโอกาสในการขยายฐานลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งปัจจุบัน Bitkub.com เป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดในการแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดกว่า 1,200 ล้านบาท/วัน ซึ่งมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ควบคู่กับ ASW ที่พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตอบรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ และเป็นผู้นำด้านแคมปัสคอนโดภายใต้แบรนด์เคฟ (KAVE) ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มผู้อยู่อาศัยที่เป็นกลุ่มนักศึกษาที่คุ้นเคยกับการใช้สกุลเงินคริปโทฯ ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ ASW ได้จัดตั้ง บริษัท ดิจิโทไนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เพื่อรองรับการศึกษาและลงทุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอล (Digital Asset) และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนไปของเทคโนโลยี โดยมุ่งความสนใจไปที่เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) และพร้อมที่จะแต่งตั้ง บริษัท ฟิวเจอร์คอมแพทเทเร่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาผู้ชำนาญการในการจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล และทั้งหมดนี้ เป็นการตอกย้ำความเป็นผู้พัฒนาอสังหาฯ รุ่นใหม่ในตลาด   ปัจจุบัน ASW มียอดขายรอโอน (Backlog) กว่า 7,500 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 4,700 ล้านบาท ทั้งนี้ ในครึ่งแรกของปี 2564 มีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จคือโครงการ “เคฟ ทาวน์ ชิฟท์” (Kave Town Shift) มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท และในช่วงครึ่งปีหลัง มี 2 โครงการที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้แก่ โครงการ “เคฟ ทียู” (Kave TU) มูลค่าโครงการ 1,800 ล้านบาท และโครงการ “โมดิซ สุขุมวิท 50” (Modiz Sukhumvit 50) มูลค่าโครงการ 2,100 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้จนถึงปี 2565 มั่นใจรายได้ในปี 2564 เติบโต 20% ตามเป้าที่วางไว้   สำหรับโครงการใหม่ของแอสเซทไวส์ในปี 2564 บริษัทฯ มีการเปิดโครงการ “เคฟ ศาลายา” (Kave Salaya) ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และยังเตรียมเปิดโครงการอื่นๆอย่างต่อเนื่อง ทั้งแนวราบและแนวสูง มูลค่าโครงการรวม 9,700 ล้านบาท ในไตรมาส 2/64 บริษัทฯ เตรียมเปิดโครงการใหม่ “แอทโมซ บางนา” (Atmoz Bangna) มูลค่าโครงการ 2,200 ล้านบาท นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯ เตรียมเปิด  4 โครงการใหม่ ได้แก่ 1.โครงการ “เคฟ เอวา” (Kave Ava) มูลค่าโครงการ 2,400 ล้านบาท 2.โครงการ “โมดิซ ไรห์ม คลาวด์” (Modiz Rhyme Cloud) มูลค่าโครงการ 3,700 ล้านบาท  3.โครงการ “โมดิซ ศรีราชา” (Modiz Sriracha) มูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท และ 4.โครงการบ้านภูริปุรี ลาดพร้าว 41 โฮมออฟฟิศ (Baan Puri Puri Ladproa 41 – Home Office) มูลค่าโครงการ 87 ล้านบาท   ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในไตรมาส 1/64 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564) มีรายได้รวม 1,173 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 582 ล้านบาท หรือโตขึ้น 98.5% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนมีรายได้รวม 591 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 250 ล้านบาท หรือ 361.8% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 69 ล้านบาท ขณะที่มีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) อยู่ที่ 48.5 % และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อยู่ที่ 25.7%
แสนสิริ ผนึก XSpring  รุกเปิดตัว 2 ธุรกิจใหม่  ซื้อ NPL-รับฝากขายที่ดิน

แสนสิริ ผนึก XSpring รุกเปิดตัว 2 ธุรกิจใหม่ ซื้อ NPL-รับฝากขายที่ดิน

แสนสินิ ต่อยอดการผนึกธุรกิจ XSpring เข้าลงทุนบริษัทย่อย  “XSpring AMC” สัดส่วน 50% รุกธุรกิจ NPL ประเดิมซื้อกองสินทรัพย์แรก 127 ล้าน ก่อนหน้าลุยต่อ​ธุรกิจ “บริการรับฝากขายที่ดิน” เสริมความแข็งแกร่งธุรกิจอสังหาฯ     นางสาววรางคณา อัครสถาพร ประธานผู้บริหารสายงานการเงิน บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) เปิดเผยว่า หลังจากแสนสิริเดินหน้าการเข้าลงทุนใน บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ XSpring  ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินและหลักทรัพย์ โดยแสนสิริเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง ในสัดส่วน 15% ด้วยเงินลงทุนกว่า  2,000 ล้านบาท   ล่าสุด วันที่ 21 มิถุนายน 2564  บริษัทได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการร่วมทำธุรกิจ กับ บริษัท บริหารสินทรัพย์ เอ็กซ์สปริง เอ เอ็ม ซี จำกัด “XSpring AMC” ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เอ็กซ์สปริงฯ  ในสัดส่วน 50 : 50 เพื่อ “ร่วมลงทุนในกองสินทรัพย์” ที่ประกอบด้วยลูกหนี้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และพักอาศัย และสัญญาหลักประกันซึ่งประกอบไปด้วยที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง อาทิ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (NPL) มูลค่ากองสินทรัพย์แรกประมาณ 127 ล้านบาท จากการชนะการประมูลของ XSpring AMC โดยจะนำมาบริหารสินทรัพย์ต่อ เพื่อต่อยอดธุรกิจ และสร้างรายได้เพิ่มในระยะยาว โดยจะมีส่วนแบ่งกำไรในสัดส่วน 50% ของกำไรจากกองสินทรัพย์ เรากำลังขยายธุรกิจเพื่อการเติบโตที่มากขึ้น สู่ธุรกิจที่มีศักยภาพที่ดีในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ จากธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และมีพันธมิตรในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของเราไปพร้อม ๆ กัน สำหรับการเดินหน้าประมูลซื้อกองสินทรัพย์ NPL ในครั้งนี้ แสนสิริมีความเชื่อมั่นว่า จากความแข็งแกร่งของ XSpring ในฐานะกลุ่มธุรกิจการเงินและหลักทรัพย์ผู้ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่เชื่อมโลกการเงินปัจจุบันกับโลกการเงินดิจิทัลหรือ Digital Financial Service เข้าไว้ด้วยกันรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่มี License ของ XSpring AMC ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ผสานกับความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ของแสนสิริจึงคาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี   นอกจากนี้ แสนสิริ และ XSpring AMC ยังมีแผนเดินหน้าเข้าประมูล กองสินทรัพย์ NPL ล้อตใหม่จากธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติมในเดือนกรกฎาคมอีกด้วย  ขณะเดียวกัน แสนสิริยังสนใจการลงทุนในธุรกิจ “บริการรับฝากขายที่ดิน” ที่จะรับซื้อฝากที่ดินในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงเมืองท่องเที่ยวในจังหวัดใหญ่ อาทิ  เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ พัทยา และหัวหิน เป็นต้น ในวงเงิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งจะดำเนินการโดยพลัส พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ เพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการทำธุรกิจของแสนสิริในระยะยาวอีกด้วย    
ธ.กรุงเทพ จับมือประกันสังคม  ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำคงที่ตลอด 3 ปี  เสริมสภาพคล่อง-หนุนจ้างงานผู้ประกันตนต่อเนื่อง

ธ.กรุงเทพ จับมือประกันสังคม ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำคงที่ตลอด 3 ปี เสริมสภาพคล่อง-หนุนจ้างงานผู้ประกันตนต่อเนื่อง

ธนาคารกรุงเทพ จับมือสำนักงานประกันสังคม ปล่อยกู้ต่อลมหายใจให้ผู้ประกอบการ สูงสุดไม่เกิน 15 ล้านต่อสถานประกอบการ ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง หวังให้มีการจ้างงานผู้ประกันตนต่อเนื่อง ลดต้นทุนการเงิน คิดดอกเบี้ยต่ำ คงที่ตลอด 3 ปี แค่ 2.75% ต่อปี กรณีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน วงเงินรวมทั้งโครงการ 30,000 ล้านบาท   นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ได้ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม ในโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ระยะที่ 2 (พ.ศ.2563 – 2564) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งจะช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ เพื่อเพิ่มผลผลิตแรงงาน รักษาระดับการจ้างงานลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ธุรกิจอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้   สำหรับโครงการดังกล่าว มีวงเงินสินเชื่อรวมทั้งโครงการ 30,000 ล้านบาท ระยะเวลาสินเชื่อตามโครงการ 3 ปี วงเงินสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อสถานประกอบการ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.75% ต่อปี สำหรับกรณีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.75% ต่อปี กรณีไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือค้ำประกันโดยบุคคล หรือใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ทั้งนี้ การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร และไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อ Refinance สินเชื่อเดิมได้ ผู้ประกอบการที่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ จะต้องเป็นสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม โดยต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และได้รับการรับรองสถานะความเป็นสถานประกอบการจากสำนักงานประกันสังคม ทั้งนี้ เมื่อได้รับการอนุมัติสินเชื่อแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องรักษาจำนวนผู้ประกันตนในสถานประกอบการให้อยู่ในระดับไม่น้อยกว่า 80% ของจำนวนผู้ประกันตนในสถานประกอบการ ณ วันที่ธนาคารส่งแบบรายงานผลการอนุมัติสินเชื่อให้ประกันสังคม ไว้ตลอดอายุสินเชื่อ   นายสุวรรณ กล่าวอีกว่า โครงการนี้นับเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจ รวมถึงการคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ และคงที่ตลอด 3 ปี เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ โดยมีเงื่อนไขให้ยังคงรักษาระดับการจ้างงานเอาไว้ เพื่อช่วยให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนยังคงมีรายได้ต่อเนื่อง และบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน   “ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ธุรกิจส่วนใหญ่กำลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ธนาคารกรุงเทพเข้าใจและห่วงใยผู้ประกอบการทุกระดับ และพร้อมที่จะเป็นอีกหนึ่งกลไกในการส่งมอบความช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการเข้าถึงบริการทางการเงินต่าง ๆ รวมถึงสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง ผ่านหลากหลายแนวทาง ทั้งมาตรการให้ความช่วยเหลือโดยตรงของธนาคาร และมาตรการที่ธนาคารดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูของธนาคารแห่งประเทศไทย และสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานกับประกันสังคมในครั้งนี้ ซึ่งในฐานะ  เพื่อนคู่คิด ธนาคารก็พร้อมให้คำปรึกษาและนำเสนอความช่วยเหลือให้แก่ลูกค้าอย่างเต็มที่ในทุกสถานการณ์”   สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสมัครขอสินเชื่อในโครงการดังกล่าวได้ที่เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ หรือ สำนักธุรกิจของธนาคารกรุงเทพทุกสาขา โดยสามารถยื่นคำขอสินเชื่อได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือ เมื่อเงินสนับสนุนตามโครงการครบจำนวนตามที่กำหนด ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถติดตามข้อมูลมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ เพิ่มเติม ตลอดจนข้อมูลอื่นที่น่าสนใจของธนาคาร ได้จากสื่อประชาสัมพันธ์ของทุกช่องทาง    
อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนมิถุนายน 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนมิถุนายน 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน เผลอแป๊ปเดียวเราก็เดินทางมาสู่เดือนมิถุนายน 2564 แล้ว ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีคลัสเตอร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็ตาม เพราะจำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ส่วนตอนนี้ ใครที่กำลังมองหาซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม เพื่ออยู่อาศัย ปีนี้ก็ยังนับว่าเป็นปีทองของผู้ซื้อ เพราะแคมเปญการตลาดของผู้ประกอบการหลายรายยังคงมีออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นช่วงเวลาที่ดีหากใครที่มีความพร้อมและความสามารถในการจะซื้อบ้านสักหลังหนึ่ง เพราะแคมเปญลด แลก แจก แถมยังมีเยอะ แถมดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงินก็ยังถือว่าต่ำ แม้ว่าธนาคารบางแห่งอาจจะเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อบ้าง แต่หากเรามีคุณสมบัติครบถ้วนก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา ทีนี้เรามาลองดูกันว่าแต่ละธนาคาร มีอัตราดอกเบี้ยสำหรับกู้ซื้อบ้านใหม่ ในเดือนมิถุนายน 2564 อัตราเท่าไรกันบ้าง 1.ธนาคารกรุงเทพ สำหรับการธนาคารกรุงเทพ มีสินเชื่อบ้านบัวหลวง ที่ให้บริการลูกค้า 2 กลุ่ม คือ ลูกค้าพนักงานที่มีรายได้ประจำ และลูกค้าทั่วไป อัตราดอกเบี้ยเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท  (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1   ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% (MRR-1.00%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.50% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 4% (MRR-1.75%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4% (MRR-1.75%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.45%   อัตราดอกเบี้ยเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25%  (MRR-1.50%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.33% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.38% อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% (MRR-1.00%) หลังจากนั้น 5.25% (MRR-0.50%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.72% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.50%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.50%) หลังจากนั้น 5.25% (MRR-0.50%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.70% อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.25%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.41% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.38% -กรณีวงเงิน ตั้งแต่ 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย คงที่ปีแรก 4.75% หลังจากนั้น คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีวงเงินต่ำกว่า ​500,00 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันสิทธิการเช่า ​คิดอัตราดอกเบี้ย​ MRR-0.75% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันที่ดินเปล่าเพื่อการอยู่อาศัย คิดอัตราดอกเบี้ย ​MRR-0.25% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา   หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยนี้สําหรับผู้ที่ยื่นคําขอสินเชื่อพร้อมเอกสารครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 – 30 มิ.ย. 64 โดยผู้กู้ต้องลงนามในสัญญากู้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุมัติสินเชื่อ​และจดทะเบียนจำนองพร้อมเบิกเงินกู้งวดแรกหรือทั้งหมดภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญา -พนักงานที่มีรายได้ประจำ หมายถึง พนักงานที่มีรายได้หลัก หรือ มีความสามารถในการชำระคืนหลัก จากรายได้ประจำ -รูปแบบการชำ​ระแบบคงที่ เลือกผ่อนได้ทุกทางเลือก/รูปแบบการผ่อนชำ​ระแบบขั้นบันได เลือกผ่อนได้เฉพาะทางเลือกที่ 1 -อัตราส่วนวงเงินกู้สูงสุดและมูลค่าหลักประกันให้เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วนั ที่ 21 พ.ค.63 เท่ากับ 5.75% ต่อปี -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ​​ 2.ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อสำหรับบ้านใหม่ แคมเปญ สินเชื่อบ้านกรุงไทย…สุขใจถ้วนหน้า โดยไม่คิดค่า  ธรรมเนียมยื่นกู้ ดังนี้ การกู้เงินโดยทำประกัน  คิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 3.77% (MRR-2.45%) ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.77% (MRR-2.45%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72%  (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.73% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.02% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 3.92% (MRR-2.30%) ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.92% (MRR-2.30%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.83% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.05% สินเชื่อสำหรับการกู้ซื้อบ้านที่ธนาคารออกค่าจดจำนองให้** และ ฟรี ค่าธรรมเนียมยื่นกู้ แบบทำประกัน  ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 4.27% (MRR-1.95%) ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.27% (MRR-1.95%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.06% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.13% แบบไม่ทำประกัน  ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 4.42% (MRR-1.80%) ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.42% (MRR-1.80%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.16% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา = 4.16% หมายเหตุ การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ* : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ หรือ ระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ **ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน ***อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,500 บาท/เดือน เงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด การพิจารณาสินเชื่ออยู่ภายใต้ดุลยพินิจของธนาคาร ยื่นสมัครสินเชื่อ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 MRR = 6.22% ต่อปี (ณ 1 เม.ย. 2564) 3.ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี มีสินเชื่อบ้านกรุงศรี เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (บ้านใหม่/บ้านมือสอง) สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยมีแคมเปญฟรี ค่าธรรมเนียมสำรวจ และค่าประเมิน สำหรับการกู้ในวงเงิน 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.9% ( MRR-3.15%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.05% (MRR-2.00%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป 4.95% (MRR-1.10%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.97% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.39% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.50% เดือนที่ 7-12 ดอกเบี้ย MRR-1.60% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.7% (MRR-1.35%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 4.95% (MRR-1.10%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.21% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.52% สำหรับการกู้เงินในวงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.55%  (MRR-3.50%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.3%  (MRR-2.75%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 4.7% (MRR-1.35%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.52% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.02% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.25% เดือนที่ 7-12 ดอกเบี้ย 4.1% (MRR-1.95%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.3% (MRR-1.75%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป 4.7%  (MRR-1.35%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.89% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.23%   หมายเหตุ * อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปี ในกรณีที่ลูกค้า ซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสาหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เฉพาะในปีที่ 1 จากอัตราดอกเบี้ยทุกทางเลือก ลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้ 1.ผลิตภัณฑ์ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการได้แก่ MRTA : แผนกรุงศรี เซฟตี้โลน 1 พลัส หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 1 หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 2 / MLTA : กรุงศรี รักบ้าน รักคุณ หรือกรุงศรี รักบ้าน รักคุณ พลัส เท่านั้น 2.กรณีผู้กู้หลักเป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ ประจำ​ต้องซื้อ MRTA/MLTA 100% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 70% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความ คุ้มครองไม่ต่ำกว่า 20 ปี 3.กรณีผู้กู้หลักเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องซื้อ MRTA/MLTA อย่างน้อย 80% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือซื้อย่างน้อย 50% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี 4.กรณีมีผู้กู้ร่วม สามารถซื้อ MRTA/MLTA เฉพาะผู้กู้หลักเพียงคนเดียวได้ หรือหากผู้กู้ร่วมประสงค์ที่จะซื้อ MRTA/MLTA ด้วย ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องมีทุนประกันขั้นต่ำในสัดส่วนที่เท่ากัน ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติตามที่ลูกค้าได้เลือกไว้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทประกันไม่ อนุมัติ MRTA/MLTA หรือในกรณีที่ลูกค้าขอยกเลิก MRTA/MLTA -ตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค. 63 อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.05% ต่อปี -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 64 – 31 ส.ค. 64 โดยจดจำานองและเบิกรับเงินกู้ภายในวันที่ 30 ก.ย. 64 -ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -การพิจารณา อนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด -วงเงินกู้อนุมัติสูงสุดเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด และไม่เกินกว่า วงเงินกู้สูงสุดต่อมูลค่าหลักประกัน (ราคาซื้อขาย) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์เรียกเก็บค่าเบี้ยปรับกรณีปิด ภาระหนี้ก่อนกำหนด (กรณีที่ลูกค้ารีไฟแนนซ์ไปสถาบันการเงินอื่นภายใน 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา) คิดเป็น 3% ของยอดหนี้คงเหลือ 4.ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย มีสินเชื่อกู้ซื้อบ้านสำหรับบ้านใหม่ให้กับลูกค้าทั่วไป โดยพิจารณาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีรายได้ประจำ และกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ระจำ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.4% (MRR-0.57%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.47% (MRR-0.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.40% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.44% สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.9% (MRR-0.07%) หลังจากนั้น MRR = 5.97% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.94% หมายเหตุ : -อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% (ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63) -อัตราดอกเบี้ยข้างต้นสำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้สินเชื่อบ้านตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 – 30 มิ.ย. 64 -สำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภทรวมอาคารพาณิชย์ยกเว้น Refinance และการปล่อยกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า -มีค่าสำรวจและประเมินราคาหลักประกันโดยบริษัท โพรเกรส แอพไพรซัล หรือบริษัทประเมินที่ธนาคารรับรอง คิดขั้นต่ำ 3,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 5.ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารเกียรตินาคิน มีสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (บ้านใหม่ : กรณีซื้อบ้านจากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกําหนด) โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  2.450%-2.750% ปีต่อไป ดอกเบี้ย  4.775% (MLR-1.75%) แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.650%-2.950% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.60%-2.99% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.80%-3.19% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว  โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการให้บริการและ​เว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่​ 18 สิวหาคม 2563 เท่กับ​ 6.525% ต่อปี 3.เลือกทําประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ​(MRTA)ผ่านธนาคาร ทุนประกันภัยเท่ากับวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาเอาประกันภัยขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลาการกู้ไม่ถึง 10 ปี ให้ระยะเวลาเอา​​​​​​ประกันภัยเท่ากับระยะเวลาการกู้ 4.กรณี Refinance ไปสถาบันการเงินอื่นก่อนครบ 3 ปี แรก คิดค่า​ Prepayment Penalty 3% ของเงินต้นคงค้าง 5.​กรณีเลือกใช้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแบบฟรีค่าจดจำนอง ​​หากลูกค้า Re-Finance หรือชําระปิดบัญชีก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ ลูกค้าต้องชำระค่าจดจำนองที่ธนาคาร เคยสำรองจ่ายให้แก่ธนาคาร​ 6.ค่าประเมินหลักประกันเริ่มต้น 3,210 บาท  ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท) 7.เบี้ยประกันอัคคี ​เป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด ​โดยผู้กู้สามารถเลือกทําประกันกับบริษัทที่น่าเชื่อถือใดก็ได้ ​ a.อัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุด ต่อหลักประกัน 100% ของราคาซื้อขายจริง หรือราคาประเมินธนาคาร แล้วแต่ราคาใดต่ำกว่า ยกเว้นธนาคารมีกำหนดเงื่อนไขพิเศษอื่น ๆ สำหรับบางโครงการ อาจจะได้รับอัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุดต่อหลักประกัน​ 100% b.ระยะเวลากู้สูงสุด ​30 ปี (อายุผู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปี สําหรับพนักงานเงินเดือนประจํา และไม่เกิน 70 ปี สําหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) 6.ธนาคารซีไอเอ็มบี ธนาคารซีไอเอ็มบี สินเชื่อบ้าน โฮมโลนฟอร์ยู ให้กับพนักงานประจำ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ และเจ้าของกิจการ  โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ สำหรับพนักงานประจำ รายได้ 15,000 บาท หรือเจ้าของกิจการรายได้ 30,000 บาท ประเภททำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-3.10%) ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย 5.35% (MRR-2.00%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.25% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.07% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.55% (MRR-2.80%) หลังจากนั้น 5.35% (MRR-2.00%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.15% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR=7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 2563) 7.ธนาคารทีทีบี ธนาคารทีทีบี มีสินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับการซื้อบ้านหรือคอนโดจากโครงการทั่วไป จะได้รับฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมินหลักทรัพย์ มีการคิดดอกเบี้ย ดังนี้ สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ทางเลือก 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.05% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.45% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.05% (MRR-2.23%) หลังจากนั้น 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.46% ทางเลือก 3 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.65% MRR-1.63% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีดอกเบี้ย  4.38% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.56% ทางเลือกที่ 4 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 4.4% (MRR-1.88%) หลังจากนั้น 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.40% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา  4.57% สมัครไม่ครบผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 4.90% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.90% ทางเลือกที่ 6 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.8% (MRR-1.48%) หลังจากนั้น 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.87%   หมายเหตุ สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ สไมล์โฮม หรือ สไมล์โฮม พลัส ​ 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีทีบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต ttb (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต ttb แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) กู้ซื้อบ้าน คอนโดใหม่ กับทีทีบี รับข้อเสนอพิเศษ ด้วยอัตราดอกเบี้ย ให้เลือก 2 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท -รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษนาน 3 ปี -ฟรีประกันอัคคีภัยมูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง แบบที่ 2 สมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท​ -ฟรีประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 เม.ย. 64 -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ ทำเพื่อประโยชน์หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นกับผู้กู้ในขณะที่ยังชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของผู้กู้และธนาคาร และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อบ้านสำหรับลูกค้าทั่วไป โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ แบบไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.995% ปีต่อไป MRR = 5.995% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.995% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.995% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.950% ปีต่อไป MRR = 5.995% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.950% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.983% หมายเหตุ -กรณีใช้ดอกเบี้ย​แบบทําประกัน​ Credit Life 70% กําหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลาเอาประกัน 70% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา โดยกําหนดให้เอาระยะเวลาขั้นต่ำ 10  ปี (กรณีระยะเวลากู้ตามสัญญาต่ำ​10 ปี กําหนดให้ระยะเวลาเอาประกันเท่ากับระยะเวลากู้ตามสัญญา) ​-ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ รับประกันภัยโดย บมจ. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต บริษัทนเครือกลุ่มเอฟดับบลิวดี หากต้องการสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับการประกันภัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์บริการลูกค้า โท​ร. 1315 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น. -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข ​​ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุก​ ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น ​การพิจารณารับประกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันภัย ของบริษัทประกันภัย -อัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารไทยพาณิชย์ เท่ากับ 5.995% ต่อปี ​(ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563) ซึ่งอาจะเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศธนาคาร -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ระบุในตารางเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ​ซึ่งอาจะมีความแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีลูกค้าบอกเลือกประกันชีวิต หรือขอเวนคืนกรมธรรม์ หรือทำประกันไม่ครบกำหนดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ​ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยวงเงินกู้ เป็นอัตราดอกเบี้ยทั่วไป  ตามประกาศธนาคาร ระยะเวลากู้ตามสัญญา วงเงิน ระยเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย คุณสมบัติ เอกสารปรกอบการพิจารณา และการอนุมัติเป็นไปตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด 9.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์  หรือ ธอส. มีสินเชื่อสำหรับการซื้อบ้านหลากหลายประเภท โดยประเภทสินเชื่อโครงการบ้านจัดสรร ​มีการคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.80% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 2.8% (MRR-3.35%) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.5% (MRR-2.65%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.65% (MRR-0.5%) (สำหรับลูกค้ารายย่อย) หมายเหตุ ยื่นคำขอกู้และอนุมัติตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 64 – 30 มิ.ย. 64 ทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ก.ค. 64 (ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเติ,วงเงินของโครงการแล้ว) อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.15% ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 10.ธนาคารยูโอบี ธนาคารยูโอบี มีสินเชื่อบ้านสำหรับโคงการหมู่บ้านทั่วไป โดยวงเงินตั้งแต่ 500,000 บาทจนถึง 50 ล้านบาทขึ้นอยู่กับที่ตั้งของหลักประกัน โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ทางเลือก 1 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.35% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.35% (MRR-4.00%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.79% ทางเลือกที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.55% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.55% (MRR-3.80%) หลังจากนั้น 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.87% ทางเลือกที่ 3 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.80% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% (MRR-2.60%) หลังจากนั้น 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.80% ทางเลือกที่ 4 ไม่ทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.95% (MRR-2.40%) ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.88% หมายเหตุ -ขอสินเชื่อตั้งแต่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 64 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายใน 30 ก.ค. 64 -อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาครยูโอบี >ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ >ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ -อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR=7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจะมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีไถ่ถอนจำนองเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น ​(Re-finance) ในช่วงระยะเวลา 3 ปีแรก นับจากวันที่กู้ จะมีค่าปรับ 3% ของยอดเงินต้นคงค้าง (เฉพาะวงเงินสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยเท่านั้น)​ -การอนุมัติสินเชื่อ​เป็นไปตำมหลักเกณฑ์ของธนาคาร​ -เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันเท่ากับ  7.35% ต่อปี ​(ตามประกาศธนาคารณ วันที่ 1 เม.ย. 64) อนึ่ง ธนาคารสามารถประกาศปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย​ MRR ได้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอนุญาตไว้​ -อัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ​เป็นไปตามประกาศที่ธนาคารจัดทำไว้  และประกาศให้ทราบตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารอาจเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยการปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการ หรือเว็บไซต์ของธนาคาร​ -ธนาคารยูโอบีในฐานะนายหน้าประกันภัย ​(ใบอนุญาตประกันชีวิต​เลขที่ ช.00026/2545 และใบอนุญาตประกันวินาสภัย​ เลขที่ ว.00020/2546) ทำหนี่เสนอผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยและเป็นผู้จัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย และอำนวยความสะดวกในการรับชำระเบี้ยประกันเท่านั้น  รับประกันชีวิตโดยบริษัท พรูเด็นเชียลประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), รับประกันวินาศภัยโดย บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ​จะเป็นผู้รับผิดชอบตามเงื่อนไข ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง 11.ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย คือ โฮมโลน โดนใจ สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้น 2.00% โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ แบบที่ 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.00% (MRR-5.35%) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.80% (MRR-3.55%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.10% (MRR-2.25% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10%  (ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท 2 ปีแรก) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.20% (MRR-3.15%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 3 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.55% (MRR-4.80%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.63% แบบที่ 4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยคงที่ 2.75% (ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท 3 ปีแรก) ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.76% เงื่อนไข กรณีลูกค้าเลือกทำประกัน MRTA/MLTA ผ่านธนาคาร : 1.กรณีที่ลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ผ่านธนาคาร ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1%  ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือ สูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือ เปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ภายใน 5 ปีแรก ทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 2.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี หมายเหตุ -โครงการจัดสรรในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เท่านั้น* -ราคาซื้อขายของหลักประกันต้องมีราคา (แนวราบ) ไม่น้อยกว่า 2.00 ล้านบาท , (แนวสูง) ไม่น้อยกว่า 2.50 ล้านบาท -ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำ ล้านละ 3,500 บาท  กรณีเลือกอัตราดอกเบี้ยคงที่** -ยกเว้น ค่าประเมินราคาหลักประกัน (โครงการจัดสรรทุกโครงการที่มีราคาซื้อขาย 2 ล้านบาทขึ้นไป)*** -ระยะเวลากู้สูงสุด 40 ปี รวมอายุผู้กู้ไม่เกิน 70 ปี**** -วงเงินกู้เพิ่มสูงสุด 10% จากสัญญาซื้อขาย เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน อัตราดอกเบี้ย 1) ทำประกัน MRTA/MLTA : ปีที่ 1-3 : MRR – 2.75% = 4.60% หรือ 2) ไม่ทำประกัน MRTA/MLTA : ปีที่ 1-3 : MRR – 2.25% = 5.10% , หลังจากนั้นปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR = 7.35% ***** -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.35% (ณ 1 เม.ย. 64) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -การพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละรายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่ธนาคารกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์การพิจารณาสินเชื่อ โดยอยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆเป็นไปตามประกาศธนาคาร โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า -อัตราดอกเบี้ย และโปรโมชั่น (มีวงเงินสินเชื่อจำกัด) สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อ โดยเบิกรับเงินกู้ ตั้งแต่ วันนี้ – 30 มิ.ย. 64 12.ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสิน มีสินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนสบาย ปีแรก 0.50% ผ่อนสบาย ล้านละ 4,000 บาทต่อเดือน นาน 1 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.025% (MRR-2.22%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย 5.245% (MRR-1.00%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.850% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.327% กรณีไม่ทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.750% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.275% (MRR-1.970%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.245% (MRR-1.00%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.100% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.424%   เงื่อนไขการใช้อัตราดอกเบี้ยโปรโมชั่น 1.ต้องสมัครบริการ MyMo และผลิตภัณฑ์/บริการอื่นของธนาคารเพิ่มอย่างน้อย 2 ประเภท ได้แก่ บัตรอิเล็กทรอนิกส์/ บัตรเครดิต หรือ สินเชื่อบัตรเงินสด / ชำระสินเชื่อหักผ่านบัญชี / ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ทั้งนี้ หากลูกค้ใช้ผลิตตภัณฑ์/ บริการ ตามที่กหนดอยู่แล้วสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวได้ กรณีไม่มี Smartphone ให้สมัครผลิตภัณฑ์ / บริการอื่นของธนาคารตามที่กำหนดทดแทนได้ 2.กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนครบกำหนด 3 ปี ทุกกรณี คิดค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ธนาคารกระกาศกำหนด เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมบริการประเภทต่าง ๆ (ปัจจุบัน 3% ของยอดเงินต้นคงเหลือ) 3.สินเชื่อเคหะ สามารถเลือกชำระแบบผ่อนต่ำ โดยเงินงวดผ่อนชำระต่อจำนวนเงินกู้สินเชื่อเคหะ 1 ล้านบาท ปีที่ 1 เท่ากับ 4,000 บาท /เดือน ยกเว้น กรณีกู้ปลูก​สร้าง/ต่อเติมซ่อมแซม ไม่สามารถเลือกชำระแบบผ่อนต่ำได้ หมายเหตุ 1.ประกัน หมายถึง ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 2.อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ MRR=6.245% (ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2563) 3.อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี     บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ กู้ซื้อบ้านและคอนโด เดือนมิถุนายน 64 แบงก์ไหน? ให้ดีลดีสุด
ชาญอิสสระ  แตกไลน์ 2 ธุรกิจ “เวลเนส-คริปโตฯ”  พร้อมขนบ้าน-คอนโดหั่นราคา 50%

ชาญอิสสระ แตกไลน์ 2 ธุรกิจ “เวลเนส-คริปโตฯ” พร้อมขนบ้าน-คอนโดหั่นราคา 50%

ชาญอิสสระ วาง 3 แนวทางรับมือโควิด-19 ทั้งการรัดเข็มขัด จัดทีมให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาโครงการคุณภาพ รับเรียลดีมานด์คนต้องการซื้อบ้าน พร้อมแตกไลน์สู่ธุรกิจใหม่ “เวลเนส” ขน 40-50 ยูนิตโปรเจ็กต์บลูไดมอนด์นำร่อง เล็งศึกษาธุรกิจ “คริปโตเคอเรสซี” เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ลุยตลาดอสังหาฯ ต่อ ขนบ้าน-คอนโด ลดราคา 50%   นายสงกรานต์ อิสสระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภายใต้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้บริษัทต้องใช้บริหารจัดการธุรกิจด้วยนโยบายสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ 2.การสร้างทีมในการบริหารธุรกิจแต่ละฝ่ายให้มีประสิทธิภาพและไม่มีขนาดที่ใหญ่เกินไป รวมถึงการนำระบบหรือเครื่องมือที่สามารถช่วยการบริหารและดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมาใช้ และ 3.การพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพ ในระดับราคาที่เหมาะสม การทำบ้านดีมีคุณภาพที่ดี อย่างไรก็ขายได้ ที่ผ่านมาบริษัทพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ ซึ่งลูกค้ามีความต้องการบ้านที่มีคุณภาพในราคาที่ยุติธรรม ขยายธุรกิจเวลเนส-คริปโตเคอเรนซี สำหรับแผนธุรกิจในปีนี้ นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจหลัก ในด้านการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทั้งรูปแบบคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว และโรงแรมแล้ว ในปีนี้บริษัทยังมองหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจใหม่ ซึ่งสามารถเสริมกับธุรกิจหลักได้ด้วย  โดยจะเริ่มทดลองทำการตลาดธุรกิจเวลเนส (Wellness) ด้วยรูปแบบ Wellness Serviced Condo ซึ่งเป็นบริการเสริมให้กับลูกค้าที่ซื้อห้องของโครงการบลูไดมอนด์ ที่อยู่ภายในโครงการทิวทะเลเวิลด์ ชะอำ-หัวหิน ซึ่งลูกค้าจะได้รับบริการพิเศษด้านสุขภาพ (Wellness Service Package) จากโรงแรมศรีพันวา อาทิ การตรวจสุขภาพประจำปีฟรี 2 ปี การประสานงานกับโรงพยาบาล การให้บริการห้องพยาบาลส่วนกลาง  บริการรองรับและช่วยเหลือเบื้องต้น เป็นต้น เบื้องต้นจะนำคอนโดมาทดลอง 40-50 ยูนิต หากประสบความสำเร็จ อาจจะขยายการให้บริการด้านสุขภาพไปในโครงการอื่น ๆ บริษัท รวมถึงการเพิ่มรูปแบบและการให้บริการด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย ​   นอกจากนี้ ยังมองโอกาสในการขยายธุรกิจคริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency) ​หรือ สินทรัพย์ดิจิทัล โดยจะนำเอาโครงการของบริษัท 1-2 โครงการ เข้ามาดำเนินการซื้อขาย หรือมาผสมผสานการดำเนินธุรกิจระหว่างกัน ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ และโอกาสในการเข้าไปดำเนินการ คาดว่าน่าจะเห็นความชัดเจนได้ในอีก 4-5 เดือนข้างหน้านี้   สำหรับปีนี้บริษัทยังไม่มีแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ แต่จะทำการตลาดและขายโครงการที่เปิดดำเนินการมาก่อนหน้า อาทิ โครงการบ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักชัวรี่  โครงการอิสสระ เรสซิเดนซ์ พระราม 9 (Issara Residence Rama 9) ,โครงการบ้านอิสสระ บางนา (Baan Issara Bangna) ปัจจุบันโครการอิสสระ เรสซิเดนซ์ พระราม 9 มียอดขายไปแล้วกว่า 70% จากจำนวนบ้านสร้างเสร็จทั้งโครงการ 20 ยูนิต  และโครงการบ้านอิสสระ บางนา มียอดขายกว่า 60% ของเฟสที่เปิดขาย จำนวน 25 ยูนิต ดึงดีมานด์ต่างชาติกระตุ้นตลาด นายสงกรานต์ กล่าวว่า ภาพรวมของตลาดอสังหาฯ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ว่าถือเป็นจุดเปลี่ยนของวงการทั้งในแง่การขาย การตลาด จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะตลาดอสังหาฯ แนวราบอย่างบ้านเดี่ยว ผู้อยู่อาศัยที่มีกำลังซื้อจะมองหาบ้านเดี่ยวที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต มากกว่าการเลือกซื้อคอนโด​ ซึ่งถือเป็นโอกาสให้ดีเวลอปเปอร์ที่มีสินค้าพร้อมขายอยู่ในมือได้รับอานิสงค์เพิ่มขึ้น   ทั้งนี้ จะเห็นว่าแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะเข้ามากระทบต่อตลาดอสังหาฯ โดยจะ กระทบหนักในส่วนของตลาดระดับกลางลงไป เพราะกำลังซื้อถดถอยอย่างมาก แต่หากภาครัฐมีการ  แก้มาตรการทางกฎหมายในการเปิดทางให้ชาวต่างชาติ  สามารถซื้ออสังหาฯ บ้านแนวราบระดับราคา 10 – 15 ล้านบาทขึ้นไป พร้อมขยายสัดส่วนการซื้อคอนโดเป็น  70 – 80 % ของโครงการ รวมถึงขยายสิทธิการเช่าจาก 30 ปี เป็น 40-50 ปี ก็ถือเป็นอีกโอกาสสำคัญที่จะช่วยดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศมาช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ และกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ให้กลับมาฟื้นตัวได้เร็วต่อไป   นายสงกรานต์ กล่าวอีกว่า ​ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบนี้นับว่าเป็นรอบที่รุนแรงมาก ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทุก ๆ ภาคธุรกิจ ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าสถานการณ์จะจบลงเมื่อไหร่ จากรอบแรกที่ประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีเยี่ยมเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่ก็ยังต้องกลับมาเผชิญอีกครั้ง ดังนั้นภาคธุรกิจต้องมีการปรับตัว และควรดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ต่างชาติสามารถเข้ามาซื้ออสังหาฯ ไทยได้มากขึ้น เพราะกำลังซื้อของคนไทยลดลง จึงต้องอาศัยกำลังซื้อจากต่างชาติ เพื่อกระตุ้นตลาด​ มองว่าประเทศไทยต้องเร่งนำวัคซีนเข้ามาเพื่อฉีดให้ประชาชนให้มากที่สุด แม้วัคซีนอาจจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาได้ 100% แต่ก็สามารถช่วยสร้างความมั่นใจพลิกฟื้นความเชื่อมั่น หนุนการบริโภค การลงทุน ภาคท่องเที่ยวและบริการกลับมาเป็นบวก จะช่วยพลิกเศรษฐกิจประเทศฟื้นคืนกลับมาได้ ขนบ้าน-คอนโด หั่นราคา 50% ในช่วงกลางปีนี้ ชาญอิสระ เตรียมกลยุทธ์กระตุ้นยอดขายในช่วงกลางปี ด้วยการจัด​แคมเปญใหญ่ “Mid Year Sale ทุกโครงการลด 50%” ทั้งบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม โรงแรม เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าได้มีโอกาสเข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาและเงื่อนไขที่จับต้องได้ อีกทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับลูกค้าในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งแต่ละโครงการได้นำเสนอโปรโมชั่น ​ อาทิ โครงการดิ อิสสระ เชียงใหม่ จัดโปรฯ มอบส่วนลด 50% 1 ห้องนอน 35 ตร.ม. โครงการ บลูไดมอนด์ ชะอำ-หัวหิน ลดทันที 50% หรือจะเป็นคอนโดฯ ใจกลางเมือง โครงการ ดิ อิสสระ สาทร จัดโปรฯ ลดเงินดาวน์ 50%โครงการ อิสสระ เรสซิเดนส์ พระราม 9 ​เมื่อซื้อบ้านหลังแรก หลังที่สองลดราคา 50%” ซึ่งแคมเปญจะเริ่มในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 นี้   โดยภาพรวมผลประกอบการในปีนี้ บริษัทคาดว่าจะเติบโตด้วยดีทั้งด้านยอดขายและรายได้ เนื่องจากโครงการต่าง ๆ ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้า มียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะทำผลประกอบการได้มากกว่าปีที่ผ่านมาเป็นเท่าตัว แม้ว่าธุรกิจโรงแรมจะได้รับผลกระทบบ้างจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่จากการฉีดวัคซีนที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในจังหวัดภูเก็ตซึ่งมีโครงการแซนบ็อกซ์ ที่มีเป้าหมายจะฉีดวัคซีนให้ได้ 80% ของจำนวนประชากรในจังหวัด เพื่อเปิดให้มีการท่องเที่ยวได้ จังคาดว่าจะส่งผลทำให้โรงแรมของบริษัทมีอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นได้ถึง 50-60% และตลาดท่องเที่ยวจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงปลายปีนี้ด้วย   ในส่วนของภาคธุรกิจโรงแรมนั้น ยอมรับว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมารอบแรก จนถึง ปัจจุบัน ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมได้รับผลกระทบหนักสุด ที่ผ่านมาโรงแรมหลายแห่งได้ประกาศหยุด  ดำเนินการไปบ้างแล้ว  โดยในส่วนของโรงแรมในเครือของบริษัทฯ ทั้งโรงแรมศรีพันวา ภูเก็ต โรงแรม บาบาบีช    คลับ นาใต้ และโรงแรมบาบาบีช คลับ หัวหิน ต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกัน ที่ผ่านมาได้มีการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจ และปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางภาครัฐอย่างเคร่งครัด โดยในส่วนของภูเก็ตเองขณะนี้พนักงานได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเชื่อว่าหากเร่งการ วัคซีนให้ดำเนินการอย่างทั่วถึง และภูเก็ตมีการออกมาตรการคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัดอย่างเคร่งครัด  เน้นสร้างความเป็นเมืองสะอาดและปลอดภัย ก็จะเริ่มเห็นภาคการท่องเที่ยวในส่วนของภูเก็ตกลับมาฟื้นตัวได้  ภายในปลายปีนี้ทั้งในส่วนของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติ      
มั่นคง เคหะการ  เจอพิษโควิดทำขาดทุนกว่า 102 ล้าน เตรียมเปิด 3 โปรเจ็กต์-ขยายคลังสินค้าสร้างรายได้

มั่นคง เคหะการ เจอพิษโควิดทำขาดทุนกว่า 102 ล้าน เตรียมเปิด 3 โปรเจ็กต์-ขยายคลังสินค้าสร้างรายได้

มั่นคงฯ เจอพิษโควิด-19 ไตรมาสแรกยังขาดทุน รอความหวังการฉีดวัคซีนคนไทยให้ได้กว่า 50% ช่วยหนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว ยันเดินหน้าเปิดโปรเจ็กต์ใหม่แนวราบอีก 3 โครงการ รวม 2,347 ล้าน พร้อมขยายธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าอีก 120,000 ตารางเมตร   บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2564 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้นจำนวน 594.63 ล้านบาท ลดลง 10.75% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 666.27 ล้านบาท มีรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 448.0 ล้านบาท ลดลง 9.85% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมีรายได้ 496.92 ล้านบาท รายได้จากธุรกิจให้เช่าและบริการ มีรายได้ 74.44 ล้านบาท ลดลง 29.81% จากช่วงเดียวกันที่มีรายได้ 106.05 ล้านบาท มีรายได้จากธุรกิจสนามกอล์ฟและบริหารอสังหาริมทรัพย์ 44.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.03% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 37.79 ล้านบาท   ขณะที่ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปีนี้ ขาดทุนจำนวน 102.41 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขาดทุน 71.42% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 59.74 ล้านบาท ซึ่งเป็นกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19   นายวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2564ว่า ธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ มีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 27.25% มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นปี 2563 ที่มี 24.4% ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีในการดำเนินธุรกิจ ส่วนธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการที่ลดลง เป็นผลจากในช่วงไตรมาส 3 ปี 2563 บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ได้ขายทรัพย์สินประมาณ 45% ของโครงการทั้งหมดเข้าทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ พรอสเพค โลจิสติกส์และอินดัสเทรียล (กองทรัสต์)   ในส่วนธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการ (Recurring Income) มีรายได้จำนวน 74.44 ล้านบาท เป็นรายได้จากโครงการ “บางกอกฟรีเทรดโซน” (Bangkok Free Trade Zone : BFTZ) 57.44 ล้านบาท โดยมีอัตราการเช่า (Occupancy rate) สูงถึง 93% ขณะที่ธุรกิจสนามกอล์ฟ และธุรกิจบริหารอสังหาริมทรัพย์ มีรายได้จำนวน 44.61 ล้านบาท ซึ่งถือว่าธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการแทบไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด   แต่หากเปรียบเทียบรายได้ภายหลังการขายทรัพย์สินบางส่วน บริษัทย่อยได้กลับมามีรายได้เพิ่มขึ้น 13% จากจำนวน 51 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน จากการพัฒนาพื้นที่ในโครงการที่เหลืออยู่และสามารถเริ่มเปิดให้เช่าพื้นที่เพิ่มเติมโดยมีอัตราการเช่า (Occupancy rate) ณ สิ้นไตรมาสสูงถึง 93% ทำให้รายได้จากการให้เช่าและบริการมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องตามแผนธุรกิจที่วางไว้ ซึ่ง​บริษัท พรอสเพค​ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ที่จะกลับมามีมูลค่าทรัพย์สินเท่าเดิมก่อนขายเข้าให้กองทรัสต์ฯ   ส่วนธุรกิจสนามกอล์ฟ และธุรกิจบริการอสังหาริมทรัพย์ ยังคงสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจบริหารอสังหาริมทรัพย์ ที่มียอดรับรู้รายได้ จำนวน 16.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 80.69% โดยรายได้ ที่เพิ่มขึ้นมาจากการบริหารทรัพย์สินในกองทรัสต์ของ “บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด” และรายได้จากการจัดการกองทุนทรัสต์ของ “บริษัท พรอสเพค รีท แมเนจเมนท์ จำกัด” ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขั้นต้นของธุรกิจบริหารอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 6.27 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 179.93% ด้านธุรกิจเพื่อสุขภาพโครงการรักษ (RAKxa) ที่ได้เปิดให้บริการเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 นั้น แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ค่อนข้างส่งผลกระทบต่อตัวโครงการ เพราะกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาใช้บริการในประเทศได้ ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้มีการปรับกลยุทธ์เชิงรุก สร้างการรับรู้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าภายในประเทศมากยิ่งขึ้น และเน้นขาย Membership โดยปัจจุบันมีค่าสมาชิกมากกว่า 50 ล้านบาท   ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในแต่ละธุรกิจหลักนั้น มีผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เนื่องจากแผนธุรกิจ 5 ปี ที่มุ่งเน้นเพิ่มสัดส่วนกำไร ในกลุ่มธุรกิจเพื่อเช่าและเพื่อการบริการ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถช่วยลดผลกระทบ  จากปัจจัยลบของสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกอบกับกลุ่มธุรกิจของบริษัทฯ ยังมีการจัดการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ภาพรวมธุรกิจตั้งแต่ต้นปี ที่ค่อนข้างได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วจากโควิด-19 ระลอกใหม่  ถ้าสามารถดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนได้ 50% ของจำนวนประชากรทั้งหมด คาดจะเป็นตัวแปรสำคัญ  ที่ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมค่อยๆ กลับคืนมาอีกครั้งในช่วงไตรมาส 3 สำหรับ การเตรียมความพร้อมของบริษัทฯ ​ได้มีการเตรียมความพร้อมทุกช่องทาง และยังคงเดินหน้าดำเนินงานตามแผนที่ได้วางเอาไว้ คือ เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่จำนวน  3 โครงการ มูลค่ารวม 2,347 ล้านบาท และขยายธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าให้เช่า “โครงการบางกอกฟรีเทรดโซน”  เพิ่มอีก 2 แห่ง จำนวน 120,000 ตารางเมตร  
แสนสิริ  โชว์ผลงาน Q1 รายได้-กำไรโต  เดินหน้าต่อสู่เป้ายอดขาย-โอน 31,000 ล้าน

แสนสิริ โชว์ผลงาน Q1 รายได้-กำไรโต เดินหน้าต่อสู่เป้ายอดขาย-โอน 31,000 ล้าน

กลยุทธ์ Speed to Market  ดันผลงาน “แสนสิริ” ไตรมาสแรก ทำรายได้รวมโต 5% และทำกำไรได้กว่า 384 ล้าน ไตรมาส 2 เดินหน้าสร้างรายได้ต่อเนื่อง สู่เป้าหมายยอดขายและยอดโอนใหม่ทั้งปีหลังปรับเป็น 31,000 ล้าน   แสนสิริ รายงานผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกที่ผ่านมาว่า มีรายได้รวมทั้งสิ้น 6,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวม 6,527 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีจำนวน 6,044 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12%  จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมามีจำนวน 5,383 ล้านบาท โดยกลุ่มสินค้าที่ส่งผลให้รายได้จากการขายอสังหาฯ เติบโต  คือ รายได้จากการขายโครงการมิกซ์โปรดักส์ จำนวน 621 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 274% และโครงการบ้านเดี่ยวจำนวน 3,272 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36%   แต่ขณะเดียวกันรายได้จากการขายโครงการทาวน์โฮม ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ มีจำนวน 493 ล้านบาท ลดลง18% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และโครงการคอนโดมิเนียม จำนวน 1,659 ล้านบาท ลดลง 25% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา  ส่วนช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ​แสนสิริและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 384 ล้านบาท เติบโต 521% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 62 ล้านบาท นางสาววรางคณา อัครสถาพร ประธานผู้บริหารสายงานการเงิน บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) เปิดเผยว่า ด้วยกลยุทธ์ Speed to Market ส่งผลให้แสนสิริมีผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกที่ดี  ภายใต้สถานการณ์โควิด-19  ขณะที่แผนการดำเนินธุรกิจในไตรมาสที่ 2 เตรียมโอนโครงการ XT ห้วยขวาง มูลค่า 7,000 ล้านบาท ที่มียอดขายแล้วกว่า 60% โดยกลุ่มลูกค้าต่างชาติมีการโอนล่วงหน้าแล้วถึง 60% โดยจะเริ่มเปิดการโอนในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ ซึ่งจะส่งผลให้แสนสิริมีรายได้จากการโอนในมือเพิ่มและสร้างยอดโอนได้ตามเป้าหมาย 31,000 ล้านบาท   ขณะที่ยอดโอนในช่วง​ 4 เดือนแรกของปีมีจำนวน​ 9,400 ล้านบาท และมียอดขาย 12,500 ล้านบาท ทำให้ต้องมีการปรับเพิ่มเป้ายอดขายและยอดโอนทั้งปีเป็น 31,000 ล้านบาท   นอกจากนี้ แสนสิริยังได้ประกาศการลงทุนใน บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ XSpring Capital Public Company Limited (XPG) กลุ่มธุรกิจการเงินและหลักทรัพย์ผู้ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่เชื่อมโลกการเงินปัจจุบันและโลกบริการทางการเงินดิจิทัลหรือ Digital Financial Service ไว้ด้วยกัน โดยแสนสิริเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งในสัดส่วน 15% ด้วยเงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่ง​ XSpring มีใบอนุญาตการดำเนินธุรกิจ Digital Financial Service ในด้าน “บริการซื้อขายโทเคนดิจิทัลเต็มรูปแบบ” ผ่านบริษัท SE Digital (เอสอี ดิจิทัล) ในฐานะ ICO Portal ที่เสนอขายโทเคนดิจิทัลให้แก่นักลงทุน ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว
‘สิงห์ เอสเตท’  รายได้รวมลด 40% หลังขาย NVD  แต่ใช้เงินยังทำกำไร 70 ล้าน

‘สิงห์ เอสเตท’ รายได้รวมลด 40% หลังขาย NVD แต่ใช้เงินยังทำกำไร 70 ล้าน

สิงห์ เอสเตท ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2564 มีรายได้รวม 1,306 ล้าน ลดลง 40%  สาเหตุตัด “เนอวานา” ออกจากงบการเงินรวม และธุรกิจโรงแรมยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19  แต่ยังมีกำไรสุทธิ 70 ล้าน จากการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ได้ส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจร่วมทุน   บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S รายงานผลประกอบการในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีรายได้รวม 1,306 ล้านบาท ลดลง  40% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้รายได้รวมดังกล่าวแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจที่พักอาศัย (Residential development)  486 ล้านบาท, ธุรกิจอาคารสำนักงาน (Commercial) 249 ล้านบาท, ธุรกิจโรงแรม (Hospitality) 544 ล้านบาท, และธุรกิจอื่น ๆ 27 ล้านบาท   อนึ่ง การลดลงของรายได้รวม 40% มีสาเหตุหลักจากธุรกิจโรงแรมที่ยังได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด และการตัดบริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) (“NVD”) ออกจากงบการเงินรวมของสิงห์ เอสเตท หลังจากธุรกรรมการขายเงินลงทุนใน NVD แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 อย่างไรก็ดี ปัจจัยหน่วงทั้งสองรายการถูกชดเชยบางส่วนด้วยรายได้จากโครงการ สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส มูลค่าราว 360 ล้านบาท และรายได้เดือนมีนาคม 2564 ของ FS JV Co., Ltd. (“FS JV”) ซึ่งประกอบธุรกิจโรงแรมในสหราชอาณาจักรจำนวน 26 แห่ง ห้องพักรวม 2,886 ห้อง ภายใต้แฟรนไชส์แบรนด์ Mercure นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.​สิงห์ เอสเตท​ เปิดเผยว่า ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ผลประกอบการธุรกิจที่พักอาศัยยังคงเป็นไปด้วยดี การรับรู้รายได้และยอดโอนกรรมสิทธิ์เป็นไปตามคาดการณ์ โดยรายได้กว่า 74% มาจากโครงการ สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส สำหรับโครงการ ดิ เอส สุขุมวิท 36 ยังคงมีการส่งมอบห้องชุดต่อเนื่องจากปลายปีที่แล้ว ทั้งนี้เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างสิงห์ เอสเตท กับฮ่องกง แลนด์ จึงทำให้รับรู้ผลประกอบการของโครงการภายใต้ส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้าจำนวน 99 ล้านบาท ในส่วนของธุรกิจอาคารสำนักงาน สิงห์ เอสเตท สามารถปล่อยเช่าพื้นที่และต่อสัญญากับผู้เช่าเดิมที่สัญญาเช่าหมดอายุได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราปล่อยเช่าเฉลี่ยโดยรวมขยับขึ้นสู่ระดับ 90% ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ยังคงกดดันผลประกอบการของธุรกิจโรงแรม แต่สิงห์ เอสเตท ตระหนักถึงโอกาสในการลงทุน เพื่อต่อยอดธุรกิจและลดผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ในเวลาเดียวกัน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กลุ่มสิงห์ เอสเตท ได้เพิ่มสัดส่วนเงินลงทุนจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายเดียวใน FS JV ซึ่งประกอบธุรกิจโรงแรมในสหราชอาณาจักรจำนวน 26 แห่ง ห้องพักรวม 2,886 ห้อง ภายใต้แฟรนไชส์แบรนด์ Mercure ที่ผ่านมา FS JV สามารถสร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ และช่วยจัดพอร์ตโรงแรมให้สมดุลขึ้นโดยการลดผลกระทบด้านฤดูกาล เนื่องจากมีฤดูกาลท่องเที่ยวที่แตกต่างจากโรงแรมส่วนใหญ่ของกลุ่มสิงห์ เอสเตท นอกจากนี้ การที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรเปิดให้เดินทางภายในประเทศได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดทั้งหมดในเดือนมิถุนายน ถือเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญให้ FS JV ซึ่งมีฐานลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยวในประเทศ ฟื้นตัวได้อย่างโดดเด่นตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป “ด้วยศักยภาพโรงแรมส่วนใหญ่ในพอร์ตของ FS JV ผนวกกับมาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของรัฐบาลท้องถิ่นที่จะบังคับใช้ในระยะเวลาอันสั้น ทำให้การเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มเติมใน FS JV ที่มูลค่ารายการ 13.75 ล้านปอนด์ในครั้งนี้ มีความเหมาะสมทั้งในด้านทรัพย์สิน เงื่อนเวลา และราคาที่เข้าลงทุน นอกจากนี้สิงห์ เอสเตท เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า FS JV จะเป็นทรัพย์สินชิ้นสำคัญที่ไม่ได้เป็นแค่แหล่งรายได้ใหม่เพื่อชดเชยรายได้จาก NVD ที่หายไปเท่านั้น แต่จะสามารถสร้างการเติบโตในระยะยาวได้อย่างมั่นคง”     อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง การรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า 99 ล้านบาท จากการส่งมอบห้องชุดโครงการ ดิ เอส สุขุมวิท 36 ตลอดจนรายการทางบัญชีอื่นๆ ที่ถูกบันทึกตามมาตรฐานการบัญชี สามารถชดเชยผลกระทบจากรายได้ที่ลดลงได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ สิงห์ เอสเตท พลิกรายงานกำไรสุทธิ 70 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ซึ่งเป็นการรายงานกำไรครั้งแรกหลังจากรายงานผลขาดทุนสุทธิ 3 ไตรมาสต่อเนื่อง
เอสซี แอสเสท  ลุย Q2 เปิดบ้านแนวราบ 1,145 ล้าน  เดินหน้ารักษาแชมป์บ้านเดี่ยว

เอสซี แอสเสท ลุย Q2 เปิดบ้านแนวราบ 1,145 ล้าน เดินหน้ารักษาแชมป์บ้านเดี่ยว

เอสซี แอสเสท  ทำผลงานไตรมาสแรก เติบโตทั้งรายได้และกำไร พร้อมรักษาแชมป์ตลาดบ้านเดี่ยว ครองส่วนแบ่ง 15% ลุยต่อไตรมาส 2 เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ 1,145 ล้าน   นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เปิดเผยว่า ไตรมาสแรกที่ผ่านมาบริษัทสามารถทำรายได้​รวม 3,955.66 ล้านบาท  เติบโต 20.16% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมาจากรายได้จากการดำเนินงานแบ่งเป็นรายได้จากการขาย 95%  และรายได้จากการเช่าและบริการ 5% พร้อมกำไรสุทธิ  416.81 ล้านบาท เติบโต 39% จากปีที่ผ่านมามีกำไร 300.61 ล้านบาท   โดยรายได้จากการขายทั้งหมดมีจำนวน 3.738.84 ล้านบาท ​แบ่งเป็นรายได้จากโครงการแนวราบ จำนวน 3,237.03 ล้านบาท เติบโต 77% และโครงการคอนโดมิเนียม 501.81 ล้านบาท ลดลง 59.62% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีรายได้ค่าเช่าและบริการ คิดเป็นจำนวน 198.96 ล้านบาท ลดลง 1.33% และรายได้จากค่าที่ปรึกษาและการจัดการ จำนวน 17.86 ล้านบาท ลดลง 5.45% ขณะที่ไตรมาสแรกมียอดขายรวม 5,700 ล้านบาท เติบโต 188% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วย ยอดขายแนวราบ 4,606 ล้านบาท เติบโต 123% และยอดขายคอนโดฯ 1,094 ล้านบาท เติบโต 1381% โดยในส่วนการเติบโตของยอดขายคอนโดมาจาก ​โครงการระดับ Luxury segment ราคามากกว่า 300,000 บาทต่อตร.ม. ของบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 26% และเป็นอันดับ 1 ของตลาด  พร้อมกับโครงการคอนโดเปิดใหม่ สโคป พร้อมศรี บนทำเลสุขุมวิท 49 มียอดจองแล้ว 45 %   ส่วนตลาดบ้านเดี่ยว ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทยังคงรักษาความเป็นผู้นำตลาด ด้วยส่วนแบ่งตลาด 15% จากข้อมูลตลาดบ้านเดี่ยวในกรุงเทพ-ปริมณฑลของ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด หรือ AREA ​โดยเป็นผลจากบ้านการเติบโตของยอดขายบ้านเดี่ยวใน 3 กลุ่มหลัก คือ   1.บ้านราคามากกว่า 20 ล้านบาท ซึ่งเป็นพอร์ตหลักของบริษัท ที่มีอัตราเติบโตประมาณ 4 เท่า หรือเติบโต268% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.บ้านระดับราคา 5-20 ล้านบาท​ มีการเติบโตประมาณ 2 เท่า หรือเติบโต 113% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.บ้านระดับราคาน้อยกว่า 5 ล้านบาท เติบโต 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน บ้านเดี่ยวของเราเติบโตทุกราคาและทำให้บริษัทเติบโตทั้งยอดขาย รายได้ และกำไรสุทธิ   ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของการประกาศแผนธุรกิจและการรุกสู่แบรนด์บ้านเดี่ยวอันดับ 1 จากช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ บริษัทและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์และหนี้สินรวม 44,846 ล้านบาท และ 25,744 ล้านบาทตามลำดับ โดยอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน 1.35 และมีสภาพคล่องแข็งแกร่งปัจจุบันมีเงินสดพร้อมวงเงินพร้อมเบิกมากกว่า 10,000 ล้านบาท เตรียมจ่ายปันผล 0.18 บาท/หุ้น ในวันที่ 20 พ.ค. นี้   สำหรับความคืบหน้าของแผนเปิดแนวราบ  จำนวน  8 โครงการ มูลค่าโครงการ  9,000 ล้านบาท ไตรมาส 2 นี้พร้อมเปิดจอง 2 โครงการใหม่ มูลค่ารวม  1,145 ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการบางกอก บูเลอวาร์ด  ซิกเนเจอร์  เพชรเกษม-ปิ่นเกล้า บ้านหรูบนที่ดินขนาดใหญ่ 100 ตร.ว.ขึ้นไป ราคา​ 20-30 ล้านบาท  ทำเลอยู่ใกล้เดอะมอลล์บางแค 2.โครงการเวิร์คเพลส สายไหม-พหลโยธิน ราคา 7-20 ล้านบาท ทำเลใกล้ทางด่วนจตุโชติ และทางด่วนฉลองรัช   โดยในไตรมาส 2 บริษัทมีโครงการที่เปิดขายทั้งหมด จำนวน 57 โครงการ มูลค่าคงเหลือเพื่อขายรวมกว่า40,560 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบ 47 โครงการ และคอนโด 10 โครงการ              
“เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์”  เตรียมปลดล็อกคนอยากมีบ้าน  เดินหน้าธุรกิจใหม่ Healthscape เพิ่มรายได้

“เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์” เตรียมปลดล็อกคนอยากมีบ้าน เดินหน้าธุรกิจใหม่ Healthscape เพิ่มรายได้

“เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์” โชว์ผลงานไตรมาสแรกกวาดรายได้กว่า 1,254 ล้านบาท แต่ทนพิษโควิด-19 ไม่ไหวส่งผลให้การดำเนินงานขาดทุน 27.88 ล้าน  เดินหน้าลุยธุรกิจไตรมาส 2 เตรียมมาตรการด้านการเงิน ปลดล็อกช่วยคนอยากมีบ้าน หวังสร้างรายได้ต่อเนื่อง พร้อมขยายธุรกิจใหม่​ Healthscape รับรู้รายได้ปลายปี   นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ MJD เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2564 บริษัทมีรายได้รวมทุกประเภทธุรกิจอยู่ที่ 1,254 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากยอดโอนกรรมสิทธิ์ในโครงการที่อยู่อาศัยกว่า 92%  ซึ่งเป็นโครงการที่ทยอยโอนอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา อาทิ โครงการเมทริส พระราม 9-รามคำแหง, เมทริส ลาดพร้าว, มารุ เอกมัย 2 และมารุ ลาดพร้าว 15 ช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายของทุกบริษัทอีกครั้ง กับการเผชิญกับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ระลอก 2 โดยเฉพาะในช่วงต้นไตรมาส เราถือเป็นบริษัทแรกๆ ที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงโครงการที่อยู่อาศัยได้สะดวก ผ่านช่องทางออนไลน์ ประกอบกับการรักษากระแสเงินสดของบริษัทให้พร้อมรับมือทุกสถานการณ์ 5 ปัจจัยทุบเมเจอร์ฯ ขาดทุน สำหรับรายได้รวมในไตรมาสแรกของปีนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ถือว่ามีรายได้ลดลง 36.90% ซึ่งช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมามีรายได้รวม 1,987.74  ล้านบาท ขณะที่ช่วงไตรมาสแรกปีนี้บริษัทมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 27.88 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 198.43 ล้านบาท ซึ่งผลประกอบการ ในไตรมาส 1/2564 ขาดทุนมาจากปัจจัยหลักดังนี้ ​ 1.รายได้การขายลดลง 36.46% รายได้จากการขายในไตรมาส 1/2564 จำนวน 1,159.37 ล้านบาท ลดลง 665.37 ล้านบาท หรือลดลง 36.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 1,824.74 ล้านบาท ลดลง ​การโอนกรรมสิทธิ์ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในไตรมาส 1/2564 ไม่มีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในขณะที่ไตรมาส1/2563 มีการเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ของโครงการเมทริส พระรามเก้า - รามคาแหง ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2.รายได้กิจการโรงแรมลดลง 74.54% รายได้จากกิจการโรงแรมในไตรมาส1/2564 จำนวน​ 16.15 ล้านบาท ลดลง 47.29 ล้านบาท หรือลดลง 74.54% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 63.44 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 3.รายได้ค่าเช่าลด 9.23% รายได้ค่าเช่าในไตรมาส 1/2564 จำนวน 22.22 ล้านบาท ลดลง 2.26 ล้านบนาท หรือลดลง 9.23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้ค่าเช่า จานวน 24.48 ล้านบาท เนื่องจากจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 4.ขาดทุนจากโครงการร่วมทุน ในไตรมาส 1/2564 มีส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า จำนวน 10.24 ล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2563 ที่มีส่วนแบ่งกาไรจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า จำนวน 30.57 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้การโอนกรรมสิทธิ์​ในโครงการร่วมทุน ลดลง โดยในไตรมาส 1/2564 มีการโอนกรรมสิทธิ์จานวน 118 ล้านบาท ในขณะที่ไตรมาส 1/2563 มีการโอนกรรมสิทธิ์ 282 ล้าน บาท 5.ต้นทุนการเงินเพิ่ม ต้นทุนทางการเงินในไตรมาส1/2564 เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงิน 171.67 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2563 ที่มีต้นทุนทางการเงิน 121.14 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 50.53 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น ​41.71% จากการรับรู้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ในโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทจะมีการบริหารจัดการในด้านอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ไม่เพียงพอต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้รายได้ลดลงได้ ไม่ว่าจะเป็น   -รายได้จากค่าบริหารจัดการ จากการรับบริหารงานนิติบุคคล แก่​บุคคลภายนอก ที่ในไตรมาส 1/2564 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 25.59 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2563 ที่มีรายได้ค่าบริหารจัดการ จำนวน 20.98 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอัตรา​ 21.97%   -การบริหารต้นทุนขายในไตรมาส 1/2564 ให้มีสัดส่วนใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยปีนี้มีต้นทุนขายจำนวน 711.97 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 61.41% ของรายได้จากการขาย เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2563 ที่มีต้นทุน 1,108.50 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 60.75% ของรายได้จากการขาย จาก โปรโมชั่น การลดราคา และการส่งเสริมการขายในโครงการพร้อมอยู่   - ต้นทุนจากกิจการโรงแรมในไตรมาส 1/2564 จำนวน 29.12 ล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2563 ที่มีต้นทุน 48.93 ล้านบาท ลดลง 19.81 ล้านบาท หรือลดลง 40.49% ตามยอดรายได้ที่ลดลง   - ค่าใช้จ่ายในการขายในไตรมาส 1/2564 จำนวน 182.99 ล้านบาท เปรียบเทียบไตรมาส 1/2563 ที่มีค่าใช้จ่ายในการขาย 281.28 ล้านบาท ลดลง 98.29 ล้านบาท หรือลดลง 34.94% จากการลดลงของการโอนกรรมสิทธิ์   - ค่าใช้จ่ายในการบริหารในไตรมาส 1/2564 จำนวน 131.74 ล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2563 ที่มีค่าใช้จ่ายใน การบริหาร จานวน 192.91 ล้านบาท ลดลง 61.17 ล้านบาท หรือลดลง 31.71% ส่วนใหญ่ลดลงจากค่าใช้จ่ายพนักงาน เตรียมมาตรการปลดล็อกคนอยากมีบ้าน สำหรับสถานการณ์ในไตรมาส 2 ปี 2564 ตลาดยังคงเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกที่ 3 และอาจเกิดภาวะผิดปกติครั้งใหม่ หรือ New Abnormal คล้ายคลึงกับสถานการณ์ช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 ที่เกิดสงครามราคามากกว่าระดับปกติ (Abnormal Price War) และเป็นช่วงเวลาที่ผู้บริโภคใช้เวลาพิจารณาตัดสินใจซื้อมากกว่าปกติ ผู้พัฒนาโครงการจำเป็นต้องออกมาตรการช่วยเหลือผู้บริโภคที่ไม่ใช่ราคาที่ถูกที่สุด แต่เป็นราคาและมาตรการช่วยเหลือที่เข้าใจผู้บริโภคที่สุด เพื่อให้กระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้อย่างตรงจุด สร้างยอดขายและยอดโอนกรรมสิทธิ์ได้อย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทได้เจรจาร่วมกับพันธมิตรทางการเงินในการออกมาตรการปลดล็อค เพื่อคนอยากมีบ้าน ประกอบด้วย การให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงินสำหรับการกู้ซื้อบ้าน, ช่วยลดภาระการผ่อนชำระนานสูงสุด 2 ปี, โปรแกรมเช่าพร้อมเข้าอยู่ก่อนโอนในโครงการเมเจอร์ฯ เป็นระยะเวลา 2 ปี, พร้อมรับฟรีความคุ้มครองที่ครอบคลุมจากทิพยประกันภัย เมื่อซื้อโครงการจากเมเจอร์ฯ และรับสิทธิ์ผ่อน 0% สำหรับเงินจองและเงินทำสัญญา นาน 6 เดือน เป็นต้น คาดว่าจะเริ่มใช้มาตรการดังกล่าวได้ในช่วงกลางเดือน พ.ค.นี้   ทั้งนี้ บริษัทมียอดรอรับรู้รายได้ (Backlog) ที่จะทยอยรับรู้ตั้งแต่ไตรมาส 2 นี้ เป็นต้นไป มูลค่า 5,463 บาท พร้อมทั้งยังมีโครงการสร้างเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ ในเดือนพฤษภาคมนี้ คือ โครงการเมทริส พัฒนาการ-เอกมัย สูง 29 ชั้น จำนวน 341 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,350 ล้านบาท   นอกจากการทำกลยุทธ์ด้านการตลาดแล้ว เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ยังคงเดินหน้าสู่การเป็นผู้พัฒนารูปแบบการใช้ชีวิต (Lifescape Developer) และขยายพอร์ตสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ (Business Diversification) คือกลุ่ม Healthscape  อย่างต่อเนื่อง เพื่อกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และก้าวเข้าสู่ธุรกิจที่จะสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคในระยะยาว โดยคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้จากกลุ่มธุรกิจใหม่ในช่วงปลายปี 2564 พร้อมกับการเปิดตัวโครงการใหม่ตามแผนทั้ง 5 โครงการ มูลค่ารวม 11,300 ล้านบาท นำร่องด้วยโครงการบ้านเดี่ยว Malton Gates กรุงเทพกรีฑา มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท
วิลล่า คุณาลัย  เปิดโปรเจ็กต์โซนใหม่​  จับตลาดเรียลดีมานด์ หนุนรายได้โต10-15 %

วิลล่า คุณาลัย เปิดโปรเจ็กต์โซนใหม่​ จับตลาดเรียลดีมานด์ หนุนรายได้โต10-15 %

วิลล่า คุณาลัย โชว์ผลงาน สร้างรายได้โตและกำไรเติบโต หลังตลาดบ้าน 2-5 ล้าน ยังมีดีมานด์ เตรียมจ่ายปันผลให้นักลงทุน 0.08 บาทต่อหุ้น เดินหน้าเปิดโครงการใหม่โซนทิศใต้ของกรุงเทพฯ หนุนรายได้ทั้งปีโตประมาณ 10-15 %   นางประวีรัตน์ เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิลล่า คุณาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ KUN  เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2564 ที่ผ่านมา​ว่า บริษัทฯ มีรายได้รวม 189.74  ล้านบาท และกำไรสุทธิ 27.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 137.76% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเติบโตสวนกระแสเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 161.85 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 11.51 ล้านบาท   ทั้งนี้เนื่องจากการรับรู้รายได้จากการโอนโครงการของบริษัทฯ จำนวน  4 โครงการ ที่อยู่ระหว่างการขาย ประกอบด้วย โซนนนทบุรี 3 โครงการคือ 1.โครงการ คุณาลัย จอย 2. โครงการ คุณาลัย พรีม 3.โครงการ คุณาลัย บีกินส์ 2 และโซนฉะเชิงเทรา 1 โครงการคือ โครงการ คุณาลัย จอย ออน 314 ส่งผลให้สิ้นไตรมาส 1/2564 มี  Backlog ในมือรวมมูลค่าประมาณ 360 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้ในช่วงไตรมาส 2-3/2564 อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีอัตรากำไรสุทธิขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 55.58% ของรายได้รวม เนื่องจากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้นตามยอดโอนกรรมสิทธิ์ และต้นทุนการขายเมื่อเทียบสัดส่วนต่อรายได้จากการขายที่ลดลง จากการโอนกรรมสิทธิ์บ้านที่มีต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำกว่าปีก่อน ๆ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเทียบสัดส่วนต่อรายได้จากการขายที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ   “ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกที่เติบโต มาจากความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทโครงการแนวราบในระดับราคาที่จับต้องได้ ยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ระดับราคา 2-5 ล้านบาทซึ่ง KUN เป็นบริษัทพัฒนาหมู่บ้านจัดสรรในเขตปริมณฑลที่ชำนาญในสินค้าประเภทนี้เป็นหลักและเน้นการขายให้กับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้มาโดยตลอด จึงตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดี”   นอกจากนี้บริษัทฯ เตรียมจ่ายปันผลงวดครึ่งปีหลัง 2563 ในอัตรา 0.08 บาทต่อหุ้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้ ​​เป็นการตอกย้ำความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทฯ และเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้นได้เป็นอย่างดี   สำหรับในช่วงไตรมาส 2/2564 บริษัทฯ เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ จำนวน 1 โครงการ คือโครงการ คุณาลัย พาร์โก้ เป็นโครงการบ้านเดี่ยวระดับราคาเริ่มต้น 4.49 ล้านบาทต่อยูนิต รวมจำนวน 96 ยูนิต มูลค่าโครงการประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งจะเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายนนี้  โดยจะเป็นโครงการที่จะสร้างรายได้ให้บริษัทในช่วงปลายปี 2564 โดยโครงการดังกล่าว จะพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าครอบครัวใหญ่ที่อยู่อาศัยรวมกัน 3 เจเนอเรชั่น (Gen) ในบ้านหลังเดียว และลูกค้าที่ต้องการบ้านที่ให้เนื้อที่รอบบ้านและพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น มั่นใจว่าจะได้รับความสนใจและกระแสตอบรับที่ดีอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากสินค้าขายดีของบริษัทที่เพิ่งปิดโครงการไปแล้ว   ส่วนแผนการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบในทิศที่ 3  ล่าสุดมีความชัดเจนในการลงทุนมากขึ้น โดยจะลงทุนในโซนทิศใต้ของกรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการต่างๆ เบื้องต้นคาดว่าสามารถเปิดขายโครงการได้ในช่วงไตรมาส 4/2564 หรือไตรมาส 1/2565 โดยโครงการดังกล่าวจะรับรู้รายได้ในปี 2565   อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมั่นใจภาพรวมผลประกอบการในปี 2564 จะเป็นอีกปีที่ดีของ KUN เนื่องจาก บริษัทฯ มีความพร้อม และความหลากหลาย ทางด้านสินค้าและยังมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมการอยู่อาศัยที่จะตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมีกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นจำนวนมากที่ช่วยแนะนำบอกต่อเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญ โดยปีนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดขายที่ 1,500 ล้านบาท และรายได้ทั้งปีโตประมาณ 10-15 % เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ทำได้ 799.64 ล้านบาท
อนันดาฯ เผยผลงาน Q1/64  ทำยอดขายกว่า 3,979 ล้านบาท  แต่กำไรธุรกิจหลักเหลือ 38.8 ล้าน

อนันดาฯ เผยผลงาน Q1/64 ทำยอดขายกว่า 3,979 ล้านบาท แต่กำไรธุรกิจหลักเหลือ 38.8 ล้าน

อนันดา เผยยอดขายไตรมาสแรก ปี 2564 สูงกว่าเป้าหมาย 17% อยู่ที่ 3,979 ล้าน ขณะที่ทำกำไรจากธุรกิจหลักได้ 38.8 ล้าน ​ส่วนรายได้รวมทำได้กว่า 1,046 ล้าน ลดลงกว่า 31% แต่ยังคงมั่นใจทำยอดโอนทั้งปีได้ตามเป้ากว่า 16,000 ล้าน   นายเสริมศักดิ์ ขวัญพ่วง ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสแรก ปี 2564 มียอดโอนทั้งหมด 3,059 ล้านบาท และมีสัดส่วนยอดโอนจากลูกค้าชาวต่างประเทศใกล้เคียงจากปีก่อนที่ระดับ 21% ขณะที่มียอดขายรวม 3,979 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย 17% ที่ระดับ 3,393 ล้านบาท จากโครงการพร้อมอยู่ที่ความต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์มีอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ตาม แม้ว่าช่วงเดือนมกราคม และมีนาคมที่ผ่านมา มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยทั้งประเทศในวงกว้าง แต่บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานในส่วนยอดขาย และยอดโอนเป็นที่น่าพึงพอใจ พร้อมปิดการขาย 100% ในโครงการไอดีโอ โมบิ อโศก มูลค่าโครงการกว่า 3,200 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมุ่งเน้นดำเนินธุรกิจหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จำนวน 381 ล้านบาท ลดลงถึง 17% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ในไตรมาสแรกนี้ บริษัทฯ มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยและค่าเสื่อมราคา หรือ EBITDA จากการดำเนินงานของธุรกิจหลัก กว่า 225 ล้านบาท กำไรธุรกิจหลักทำได้แค่ 38.8 ล้าน อย่างไรก็ตาม จากการชี้แจงผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสแรก ปี 2564 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าบริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสำหรับปีจากการดำเนินงานในธุรกิจหลัก เป็นจำนวน 38.8 ล้านบาท ลดลงเป็นจำนวน 336.2 ล้านบาท หรือ 89.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากไตรมาสแรกของปี 2563 มีการบันทึกกำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท พีระ เซอร์กิต วัน จำกัด และบริษัท พรีระ คาร์ท จำกัด จำนวน 356.5 ล้านบาท สอดคล้องกับเป้าหมายในการลดสัดส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก และเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจหลักของบริษัท ซึ่งในไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทมีกำไรที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นจำนวน 5.5 ล้านบาท   ขณะที่ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า มีจำวน 155.3 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันนของปีก่อนหน้าเป็นจำนวน 4.2 ล้านบาท หรือ 2.6%  โดยปีที่ผ่านมาได้เริ่มมีการโอนโครงการคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่ 7 โครงการ ได้แก่ โครงการเอลลิโอ เดล เนสท์, ไอดีโอ คิว วิคตอรี่,​แอชตัน อโศก-พระราม 9, ไอดีโอ คิว สุขุมวิท 36, ไอดีโอ โมบิ สุขุมวิท อีสต์พอยท์, ไอดีโอ รัชดา-สุทธิสาร และเอลลิโอ สาทร-วุฒากาศ รายได้รวม Q1 ลดลง เหลือกว่า 1,046.5 ล้าน นอกจากนี้ ในส่วนของรายได้รวมไตรมาสแรก บริษัทมีจำนวน 1,046.5 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นจำนวน 475.2 ล้านบาท หรือลดลง 31.2% โดยมีสาเหตุหลักมาจากในไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา มีการบันทึกกำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท พีระ เซอร์กิจ วัน จำกัด และบริษัท พีระ คาร์ท จำกัด จำนวน 356.5 ล้านบาท และในปัจจุบันบริษัทมีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ ผ่านการร่วมทุนในกิจการร่วมค้า ซึ่งมีการรับรู้เป็นส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า   นายเสริมศักดิ์  กล่าวอีกว่า ในปี 2564 นี้ถือเป็นอีกปีที่ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อรองรับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรับมือกับความเสี่ยง และความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยที่วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 จะเป็นความหวังของชาวไทย และต่างประเทศ ทำให้การท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวและกำลังซื้อจากลูกค้าชาวต่างชาติโดยเฉพาะลูกค้าชาวจีนที่มีความต้องการซื้อสูง จะเป็นตัวช่วยให้แนวโน้มและความมั่นใจกลับมาดีขึ้น และเชื่อว่าเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลงทุกอย่างก็จะกลับสู่ภาวะปกติ ยืนเป้าโอนทั้งปีกว่า 1.6 หมื่นล้าน สำหรับแผนธุรกิจในปี 2564 บริษัทฯ ยังคงตั้งเป้าหมายยอดโอน 16,008 ล้านบาท และยอดขาย 18,570 ล้านบาท พร้อมเตรียมเปิด 5 โครงการใหม่ มูลค่าโครงการรวมกว่า 24,422 ล้านบาท บนทำเลศักยภาพ ใกล้รถไฟฟ้า ได้แก่ ทำเลทองหล่อ สุรวงศ์ สะพานควาย สุขุมวิท 38 และลำสาลี พร้อมแนวคิดใหม่ ดีไซน์การออกแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่ และในเดือนเมษายนที่ผ่านมา บริษัทฯประกาศความร่วมมือกับ Bitkub  เพื่อการนำคริปโทเคอร์เรนซี่ มาใช้สำหรับการซื้อบ้านและคอนโดจากอนันดา ซึ่งอนันดาเป็นบริษัทในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายแรกในประเทศไทย ที่อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการซื้อเพิ่มมากขึ้นในการนำคริปโทเคอร์เรนซี่มาใช้ด้านการชำระเงิน   ณ สิ้นไตรมาส 1 บริษัทฯ ยังคงรักษาเงินสดรวมโครงการร่วมทุนเกินกว่า 10,000 ล้านบาท ทั้งยังได้รับการสนับสนุนที่แข็งแกร่งและต่อเนื่องจากสถาบันการเงินชั้นนำ และมีทางเลือกในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่หลากหลายสามารถเลือกใช้ได้ตามสถานการณ์ และมีเป้าหมายในการรักษาอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อทุนไว้ภายใต้เป้าหมายระยะยาวที่ 1:1 สำหรับในเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุน มูลค่ารวม 1,000 ล้านบาท เพื่อชำระคืนตามสิทธิหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุน ครั้งที่ 1/2559
ALLY REIT ขยายพอร์ตศูนย์การค้า ลงทุน 670 ล้าน “เดอะคริสตัล ชัยพฤกษ์-กาดฝรั่ง วิลเลจ”

ALLY REIT ขยายพอร์ตศูนย์การค้า ลงทุน 670 ล้าน “เดอะคริสตัล ชัยพฤกษ์-กาดฝรั่ง วิลเลจ”

ผู้ถือหน่วยกองทรัสต์ ALLY โหวตอนุมัติให้เข้าลงทุนเพิ่มในโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ "เดอะคริสตัล ชัยพฤกษ์" และรับทราบการเข้าลงทุนใน "กาดฝรั่ง วิลเลจ" มูลค่ารวมไม่เกิน 670 ล้าน  พร้อมเดินหน้าหาแหล่งรายได้เพิ่ม ทั้งโครงการออฟฟิศ ตลาด โกดัง และพื้นที่พาณิชย์อื่น ๆ นายกวินทร์  เอี่ยมสกุลรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค.อี.รีท แมเนจเมนท์ จำกัด (ในเครือ เคอี กรุ๊ป) ในฐานะผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์อัลไล (ALLY) เปิดเผยผลการประชุมสามัญผู้ถือหน่วยทรัสต์ ประจำปี 2564 ว่าที่ประชุมมีมติอนุมัติการเข้าลงทุนทรัพย์สินเพิ่มเติมในโครงการเดอะคริสตัล ชัยพฤกษ์ มูลค่าการลงทุนไม่เกิน 280 ล้านบาท และรับทราบการเข้าลงทุนในโครงการกาดฝรั่ง วิลเลจ มูลค่าลงทุนไม่เกิน 390 ล้านบาท ซึ่งเข้าลงทุนแล้วเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยหลังจากเข้าลงทุนเพิ่มเติม 2 โครงการนี้แล้ว ALLY จะกลายเป็นเจ้าของพอร์ตศูนย์การค้าประเภทคอมมูนิตี้มอลล์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ วัดจากมูลค่าทรัพย์สินรวมที่ประมาณ 13,000 ล้านบาท ซึ่งมีทั้งหมด 12 โครงการ และพื้นที่ขายกว่า 156,000 ตารางเมตร เรายังคงมุ่งมั่นสร้างการเติบโตและหาโอกาสในการลงทุนเพิ่มเติมในโครงการต่างๆ ที่มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มแหล่งที่มาของรายได้และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหน่วยทรัสต์  โครงการเดอะคริสตัล ชัยพฤกษ์ และโครงการกาดฝรั่ง วิลเลจ ทำให้เราได้ขยายไปยังทำเลใหม่ที่มีศักยภาพ ย่านชัยพฤกษ์ในจังหวัดนนทบุรี และอำเภอหางดงในจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับทั้ง 2 โครงการถือว่ามีอัตราการเช่าพื้นที่เติบโตด้านอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีอัตราเช่าพื้นที่ 85% และ 88% แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่มีโรคระบาดโควิด -19  ก็ตาม และยังสามารถเพิ่มร้านค้าใหม่ ๆ เข้ามาได้อีกด้วย โดยที่ปรึกษาการเงินอิสระได้ประเมินว่า กองทรัสต์ ALLY จะมี EBITDA เพิ่มขึ้น 2.9% ในปีแรก หลังจากการเข้าลงทุนใน 2 โครงการนี้   นอกเหนือจากนี้ กองทรัสต์ ALLY ยังมีแผนที่จะขยายพอร์ตอย่างต่อเนื่อง โดยไม่จำกัดการลงทุนเพียงทรัพย์สินประเภทศูนย์การค้าและคอมมูนิตี้มอลล์เท่านั้น แต่เล็งหาโครงการออฟฟิศ ตลาด โกดัง และพื้นที่พาณิชย์อื่น ๆ ที่มีศักยภาพ และสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ โดยตอนนี้ได้รับความสนใจจากเจ้าของทรัพย์สินที่อยากนำโครงการของตนเองเข้ามาระดมทุนผ่านกองทรัสต์นี้ นายกวินทร์ กล่าวอีกว่า จุดแข็งของ ALLY เมื่อเทียบกับกองทรัสต์อื่น คือการมีทีมผู้บริหารโครงการในเครือ (Property Manager) ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีแพลตฟอร์มระดับสากล ซึ่งนำมาใช้ในการบริหารงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน โดยที่ผ่านมา 4 โครงการ ก็สามารถเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายหลังจากที่ ALLY ได้เข้าไปลงทุนแล้ว   สำหรับผลดำเนินงานปี 2563 กองทรัสต์ ALLY มีรายได้ทั้งหมด 1,132.52 ล้านบาท กำไรจากการลงทุนสุทธิอยู่ที่ 434.43 ล้านบาท และมีอัตราการจ่ายประโยชน์ตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 0.4350 บาทต่อหน่วย หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่ประมาณ 7.3% (อ้างอิงราคาตลาด ณ สิ้นปี 2563) ซึ่งสูงกว่ากองทรัสต์อื่น ๆ ที่ลงทุนในทรัพย์สินประเภทศูนย์การค้ากองทรัสต์ ALLY บริหารอยู่ภายใต้เครือของ เคอี กรุ๊ป    
ยูนิเวนเจอร์ โดนโควิด-19 ยอดขายอสังหาฯ ลด  แต่ยังทำกำไร 6 เดือนแรกโต 50%

ยูนิเวนเจอร์ โดนโควิด-19 ยอดขายอสังหาฯ ลด แต่ยังทำกำไร 6 เดือนแรกโต 50%

ยูนิเวนเจอร์  เผยผลประกอบการ 6 เดือนแรกปี​ 2564 ผลกำไรโตกว่า 50% แต่รายได้หลักลดลง  16% เหตุเจอสถานการณ์โควิด-19 รายได้จากการขายอสังหาฯ ชะลอตัว ลูกค้าไม่มั่นใจ การปฏิเสธสินเชื่อจากแบงก์   นายกำพล ปุญโสณี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ UV เปิดเผยว่า ผลประกอบการของบริษัทในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 (1 ตุลาคม 2563 – 31 มีนาคม 2564) สามารถทำรายได้รวม 1,913.8 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย 913.3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 48% ของรายได้รวม รายได้จากธุรกิจสังกะสีออกไซด์ 681.3 ล้านบาท คิดเป็น 36% ของรายได้รวม รายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาฯ ​และรายได้อื่นประมาณ 319.2 ล้านบาท คิดเป็น 16% ของรายได้รวม และ​มีกำไรเติบโตกว่า 50%   โดยในปีนี้ บริษัทยังคงมุ่งเน้นในการจัดหา การลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพ ทั้งการลงทุนโดยบริษัท เอง และการร่วมลงทุนกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในดำเนินธุรกิจ ซึ่งการลงทุนจะดำเนินภายใต้กลยุทธ์องค์กรทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1.การจัดหาการลงทุนเพื่อสร้างความสมดุลของ Investment Portfolio ของบริษัท (ENABLE) 2.การพัฒนาความเชี่ยวชาญและเพิ่มมูลค่าของธุรกิจที่ลงทุนเพื่อก่อให้เกิดรายได้และผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง (COMMIT) และ 3.การสร้างความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว (ACCOMPLISH)   ทั้งนี้ บริษัทมีโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแรง และพร้อมที่จะปรับสมดุลในการลงทุนของบริษัทเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลยุทธ์องค์กรดังกล่าวได้ภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) ที่จะทยอยรับรู้รายได้ในปี 2564-2565 ประมาณ 3,000 ล้านบาท   สำหรับผลประกอบการในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ (ม.ค.-มี.ค.2564) บริษัทีรายได้รวม 1,001.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีรายได้รวม 996.7 ล้านบาท โดยรายได้ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา แบ่งเป็นรายได้จากการขาย บริการ และให้เช่า จำนวน 932.9 ล้านบาท รายได้จากธุรกิจอสังหาฯ 501.5 ล้านบาท จากธุรกิจการขายและบริการ 425.8 ล้านบาท จากธุรกิจอสังหาฯ เพื่อเช่า 4 ล้านบาท และจากค่าการจัดการ 1.6 ล้านบาท ​   ส่วนรายได้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 มีรายได้รวม 1,913.8 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีรายได้รวม 2,130.1 ล้านบาท ซึ่งรายได้หลักในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 มีจำนวน 1,716.2 ล้านบาท มาจากธุรกิจอสังหาฯ เพื่อขาย 913.3 ล้านบาท ​​จากธุรกิจการขายและการให้บริการ​ 788.1 ล้านบาท ​จากธุรกิจอสังหาฯ เพื่อเช่า​ 8.0 ล้านบาท และจากค่าการจัดการ 6.8 ล้านบาท โดยรายได้หลักสำหรับงวด 6 เดือนปี 2564 ลดลง​ 16% เปรียบเทียบกับ​งวด 6 เดือนของปีก่อน รายได้หลักที่ลดลงส่วนใหญ่มาจาก รายได้ที่ลดลงจากธุรกิจอสังหาฯ เพื่อขายเนื่องจากลูกค้าชะลอการตัดสินใจซื้อ  และชะลอการโอนกรรมสิทธิ์โครงการอสังหาฯ ​​จากการระบาดของโควิด -19  ผลกระทบจากการ ปฏิเสธสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกลุ่มลูกค้าที่ประกอบอาชีพหรือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการระบาดโควิด-19 และรายได้จากการให้เช่าและบริการที่ลดลงไป หลังการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน TFRS16 ​  
สิงห์ เอสเตท ซื้อ“เวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ฯ” ทุ่ม 2,421 ล้าน ลุยธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม

สิงห์ เอสเตท ซื้อ“เวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ฯ” ทุ่ม 2,421 ล้าน ลุยธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม

สิงห์ เอสเตท ซื้อ“เวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ฯ” 1,790 ไร่ จากบุญรอดบริวเวอรี่ พร้อมทุ่มงบรวม 2,421  ล้าน ลุยธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม หวังต่อยอดเป้าหมายสร้างรายได้ปีละ 20,000 ล้านในระยะเวลา​3 ปี​​​   รายงานข่าวจากบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) (S) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 ได้​ลงนามในข้อตกลงเข้าซื้อหุ้น 100%  ของบริษัท ปาร์ค อินดัสตรี จำกัด จากบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด โดยบริษัท ปาร์ค อินดัสตรี จำกัด เป็นเจ้าของนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์ ซึ่งมีเนื้อที่ 1,790 ไร่ ตั้งอยู่ใน จ.อ่างทอง   สำหรับการโอนหุ้นระหว่างกันคาดว่าจะแล้วเสร็จ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 นี้ ซึ่งธุรกรรมดังกล่าวมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,421 ล้านบาท โดย 510 ล้านบาทเป็นเงินที่จ่ายเพื่อซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท ปาร์ค อินดัสตรีในราคาพาร์ ส่วนอีก 1,726 ล้านบาท เป็นเงินที่จะใช้ในการลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และอีกส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการ บริษัท  สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า การซื้อนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับโรงไฟฟ้า​ 3 แห่งที่บริษัทเข้าไปถือหุ้นในสัดส่วนที่มากพอสมควร ถือเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่ง ในการเดินหน้าสู่เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ที่จะสร้างจุดแข็งที่ให้กับธุรกิจ จากการส่งเสริมระหว่างกลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่หลากหลายของสิงห์ เอสเตท เพื่อทำให้บริษัทมีความแข็งแกร่งในการแข่งขัน และทำให้ธุรกิจมีความเป็น Resilient Business   ด้านนางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. สิงห์ เอสเตท กล่าวว่า  การผสานธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมเข้ากับธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า จะสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจของบริษัท ทั้งในด้านการเงินและการดำเนินงาน เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว นิคมอุตสาหกรรมคือหนึ่งในผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ การดำเนินกิจการในนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ ทำให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งของบริษัท   และการที่นิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ เน้นสินค้าอาหารโดยเฉพาะ ทำให้มีความต้องการใช้ไอน้ำจากผู้ประกอบการแปรรูปอาหารต่าง ๆ ในนิคมฯ ซึ่งโรงไฟฟ้าของบริษัท ก็เป็นผู้ผลิตไอน้ำที่ใช้ได้ในอุตสาหกรรมอาหารด้วย   นอกจากนั้น กิจการโรงไฟฟ้ายังช่วยให้บริษัทมีรายได้อย่างต่อเนื่อง และมีกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอ ลดความเสี่ยงในเรื่องความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดจากการขายพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม ​ ขณะเดียวกัน บริษัทยังมองเห็นอนาคตที่สดใสของธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยด้วย โดยอัตราการเข้าใช้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของทั้งประเทศนั้น เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 80% ณ ช่วงสิ้นปีของปีที่แล้ว ในขณะที่ ภาคกลางของประเทศไทย มีอัตราการเข้าใช้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในระดับสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 89%   นางฐิติมา กล่าวเพิ่มเติมว่า นิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ยังมีความสำคัญตามนโยบายการขับเคลื่อนประเทศที่มุ่งยกระดับประเทศไทยให้เป็นครัวของโลก และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลก โดยทำเลที่ตั้งของนิคมฯ แห่งนี้ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มีความเหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางห่วงโซ่อุปทานอาหารและวัตถุดิบของประเทศ ทั้งแหล่งสำคัญในการผลิตข้าว ผลิตภัณฑ์จากนม และสัตว์ปีก นอกจากนี้ ยังมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากอยู่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา   นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งกำหนดเป็นนโยบายระยะยาว โดยข้อมูลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พบว่า อุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร เป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนเข้ามาในอัตราที่เติบโตรวดเร็วที่สุด โดยภาคกลางของประเทศไทยมีสัดส่วนของการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนประมาณครึ่งหนึ่งของการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมดในปี 2563 มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีการผ่อนปรนมาตรการความเข้มงวดในการเดินทางหลังการคลี่คลายของวิกฤตโควิด-19 ทั้งนี้ บมจ. สิงห์ เอสเตท ได้จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 23 เมษายน ซึ่งในการประชุมดังกล่าว   ผู้ถือหุ้นได้อนุมัติแผนการซื้อหุ้น 30% ในโรงไฟฟ้า 3 แห่งที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์ โดยคิดเป็นมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 1,392 ล้านบาท  โดยโรงไฟฟ้าแห่งแรกเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ดำเนินการผลิตอยู่แล้วขนาด 123 เมกะวัตต์ ส่วนโรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 และแห่งที่ 3 เป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง  โดยมีกำหนดจะเปิดดำเนินการได้ในปี 2566 มีกำลังการผลิตแห่งละ 140 เมกะวัตต์   อย่างไรก็ตาม ช่วงเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา สิงห์ เอสเตท ได้ประกาศเป้าหมายดันรายได้ต่อปี ให้เพิ่มขึ้น 3 เท่า กลายเป็นประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี และมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 80,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา3 ปี โดยหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะสร้างการเติบโตตามเป้าหมายดังกล่าว คือ การขยายการลงทุนใหม่ และธุรกิจใหม่    
ASW เทรดวันแรกเปิดราคาพุ่งเหนือจอง 20.16%  วางเป้ามาร์เก็ตแคปติดท็อป 10 กลุ่มอสังหาฯ

ASW เทรดวันแรกเปิดราคาพุ่งเหนือจอง 20.16% วางเป้ามาร์เก็ตแคปติดท็อป 10 กลุ่มอสังหาฯ

หุ้น ASW ของ​แอสเซทไวส์ เทรดวันแรก เปิดราคา 11.80 บาท บวกเพิ่มขึ้น 20.16% เทียบราคาไอพีโอ 9.82 บาท/หุ้น บิ๊กบอส "กรมเชษฐ์” พร้อมเดินหน้าเปิดโครงการใหม่ตามแผนปีละ 5-7 โครงการ ปั้นผลงานเติบโตต่อเนื่องปีละกว่า 20% หนุนผลงานสร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง หวังติดท็อป 10 มาร์เก็ตแคปติดของกลุ่มอสังหาฯ   นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์  จำกัด (มหาชน) (ASW) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (วันที่ 28 เมษายน 2564 ) หุ้น ASW ของบริษัทได้ทำการเปิดการซื้อขาย​ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เป็นวันแรก ปรากฏว่าสามารถเปิดตลาดยืนเหนือราคาจองซื้อที่ราคา 11.80 บาท เพิ่มขึ้น หรือ 20.16 % เทียบราคาไอพีโอ 9.82 บาท/หุ้น  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อบริษัทฯ ในฐานะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีการเติบโตของรายได้และกำไรอย่างแข็งแกร่ง มีอัตราการทำกำไรขั้นต้น (ย้อนหลัง 3 ปี ) อยู่ในระดับสูง 30.7- 44.2%  จากควบคุมต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การบริหารงานของทีมงานที่มีประสบการณ์มายาวนานกว่า 16 ปี ทำให้มีความเข้าใจในตลาดและออกโปรดักส์ได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในทุกเซกเมนต์   โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทเตรียมนำไปใช้สำหรับพัฒนาโครงการระหว่างปี 2564-2567 รวมไปถึงคืนเงินกู้สถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ บริษัทมีโครงการในอนาคตพร้อมพัฒนาและขายใน 4-5 ปีข้างหน้าจำนวน 11 โครงการมูลค่า 21,202 ล้านบาท โดยในปีนี้มีแผนเปิดตัว 6 โครงการมูลค่า 10,850 ล้านบาท ซึ่งแต่ละปีวางแผนจะเปิดโครงการใหม่ประมาณ 5-7 โครงการ ในทำเลกรุงเทพฯ เป็นหลัก สำหรับแนวโน้มการเติบโต บริษัทวางเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา บริษัทสามารถดำเนินงานเติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 20% จึงวางเป้าหมายการเติบโตในอนาคตไม่ต่ำกว่าผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ด้วยกลยุทธ์การดำเนินงานเน้นใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การบริหารงานที่มีความยืดหยุ่น (Dynamic) 2.การมีแบรนด์สินค้าหลากหลาย จับกลุ่มเป้หมายหลายกลุ่ม และหลายระดับราคา และ 3.การกระจายทำเลไปยังหลายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เช่น จังหวัดชลบุรี รวมถึงการพัฒนาสินค้าหลายรูปแบบ ทั้งโครงการคอนโดไฮไลส์ คอนโดโรว์ไรส์  และโครงการแนวราบ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงอย่างหนึ่ง   โดยปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) 5,302 ล้านบาท และปีนี้จะมีโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จอีกกว่า 6,000 ล้านบาท ปัจจุบันยังมีโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้างและเปิดการขายรวม 8 โครงการ มูลค่า 11,377 ล้านบาท และโครงการในอนาคตอีก 11 โครงการ มูลค่า 21,202 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน บริษัทได้หันมาทำการตลาดและการขาย  ด้วยการเน้นช่องทางออนไลน์ ซึ่งได้ปรับตัวมาตั้งแต่การแพร่ระบาดในรอบแรก ซึ่งแนวทางการทำตลาดและการขายในปีนี้ บริษัทเน้นการจัดทำโปรโมชั่น และรายการส่งเสริมการขาย ทั้งในส่วนของแพ็กเกจห้องพักตกแต่งพร้อมเข้าอยู่ การได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐ รวมถึงการพัฒนาโครงการในระดับราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ยังมีความต้องการ นอกจากนี้ ยังเน้นการพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคโควิด-19 ด้วย ​ นายกรมเชษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันคาดหวังให้รัฐบาล มีมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ใน 2 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การขยายฐานกลุ่มราคาที่อยู่อาศัยในระดับราคา 5-10 ล้านบาท จากปัจจุบันที่อยู่อาศัยที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการของภาครัฐ คือ ระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท และ 2.อยากให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนเงินสนับสนุนการพัฒนาโครงการ สำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก โดยผ่านสถาบันการเงิน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายเล็ก มีความสามารถทางด้านการแข่งขัน และพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับกลไกลตลาดอสังหาฯ ได้เพิ่มมากขึ้น   ในอนาคต ASW มีเป้าหมายสู่การเป็นบริษัทที่มีมาร์เก็ตแคป ติดอันดับ 1 ใน 10 ของหุ้นกลุ่มอสังหาฯที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้านนางศิริพร เหล่ารัตนกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ  บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินกล่าวว่า การเข้าเทรดในวันแรกได้รับการตอบรับอย่างคึกคัก ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยพื้นฐานที่มีความแข็งแกร่งของบริษัทฯ และการกำหนดราคาขายหุ้นไอพีโอที่มีความเหมาะสม ซึ่งในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน มีความภูมิใจอย่างยิ่ง และถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของบริษัทฯ ที่จะสามารถนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนในครั้งนี้ไปต่อยอดธุรกิจ สร้างความแข็งแกร่งพร้อมทั้งผลักดันการเติบโตให้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ รวมทั้งเชื่อว่า ASW จะเป็นหุ้นที่มีความน่าสนใจ และจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนได้ในอนาคต
อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ​และคอนโด ประจำเดือนเมษายน 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ​และคอนโด ประจำเดือนเมษายน 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ใครที่กำลังวางแผนซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม และจะต้องกู้เงินกับธนาคาร ปีนี้ถือเป็นอีกปีที่อัตราดอกเบี้ยยังถือว่าต่ำ เป็นช่วงเวลาที่ดีหากใครมีความพร้อมด้านการเงิน และมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง  ลองมาสำรวจดูกันว่าในเดือนเมษายน 2564 แต่ละธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้เงินซื้อบ้านเท่าไรกันบ้าง อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน 1.ธนาคารกรุงเทพ สำหรับการธนาคารกรุงเทพ มีสินเชื่อบ้านบัวหลวง ที่ให้บริการลูกค้า 2 กลุ่ม คือ ลูกค้าพนักงานที่มีรายได้ประจำ และลูกค้าทั่วไป อัตราดอกเบี้ยเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ  วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท  (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1   ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% หลังจากนั้น MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.50% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% หลังจากนั้น MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.45% อัตราดอกเบี้ยเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.33% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% หลังจากนั้น MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.38% อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% หลังจากนั้น MRR-0.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.72% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-0.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.70% อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.25% หลังจากนั้น MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.41% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% หลังจากนั้น MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.38% -กรณีวงเงิน ตั้งแต่ 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย คงที่ปีแรก 4.75% หลังจากนั้น คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีวงเงินต่ำกว่า ​500,00 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันสิทธิการเช่า ​คิดอัตราดอกเบี้ย​ MRR-0.75% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันที่ดินเปล่าเพื่อการอยู่อาศัย คิดอัตราดอกเบี้ย ​MRR-0.25% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยนี้สําหรับผู้ที่ยื่นคําขอสินเชื่อพร้อมเอกสารครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 64 - 31 มี.ค. 64 โดยผู้กู้ต้องลงนามในสัญญากู้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุมัติสินเชื่อ​และจดทะเบียนจำนองพร้อมเบิกเงินกู้งวดแรกหรือทั้งหมดภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญา -พนักงานที่มีรายได้ประจำ หมายถึง พนักงานที่มีรายได้หลัก หรือ มีความสามารถในการชำระคืนหลัก จากรายได้ประจำ -รูปแบบการชำ​ระแบบคงที่ เลือกผ่อนได้ทุกทางเลือก/รูปแบบการผ่อนชำ​ระแบบขั้นบันได เลือกผ่อนได้เฉพาะทางเลือกที่ 1 -อัตราส่วนวงเงินกู้สูงสุดและมูลค่าหลักประกันให้เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วนั ที่ 21 พ.ค.63 เท่ากับ 5.75% ต่อปี -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ​​ 2.ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อสำหรับบ้านใหม่ แคมเปญ สินเชื่อบ้านกรุงไทย...สุขใจถ้วนหน้า โดยไม่คิดค่า  ธรรมเนียมยื่นกู้ ดังนี้ การกู้เงินโดยทำประกัน  คิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.45% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.45% ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.73% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.02% การกู้เงินแบบไม่ทำประกัน คิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.30% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.30% ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.83% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.05% ธนาคารกรุงไทย ยังมีแคมเปญการกู้เงินซื้อบ้าน ที่ธนาคารออกค่าจดจำนองให้** และยังฟรี ค่าธรรมเนียมยื่นกู้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้​ การกู้เงินโดยทำประกันด้วย คิดอัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.95% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.95% ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.06% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.13% การกู้เงินแบบไม่ทำประกัน คิดอัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.80% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.16% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.16% หมายเหตุ -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ* : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ 1.ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี 2.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ หรือ ระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ **ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน ***อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,500 บาท/เดือน 3.ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี มีสินเชื่อบ้านกรุงศรี เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (บ้านใหม่/บ้านมือสอง) สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยมีแคมเปญฟรี ค่าธรรมเนียมสำรวจ และค่าประเมิน สำหรับการกู้ในวงเงิน 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.35% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.82% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.30% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.50% เดือนที่ 7-12 ดอกเบี้ย MRR-1.60% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.35% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.21% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.52% สำหรับการกู้เงินในวงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.52% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.02% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.25% เดือนที่ 7-12 ดอกเบี้ย MRR-1.95% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.89% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.23% หมายเหตุ * อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปี ในกรณีที่ลูกค้า ซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสาหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เฉพาะในปีที่ 1 จากอัตราดอกเบี้ยทุกทางเลือก ลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้ 1.ผลิตภัณฑ์ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการได้แก่ MRTA : แผนกรุงศรี เซฟตี้โลน 1 พลัส หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 1 หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 2 / MLTA : กรุงศรี รักบ้าน รักคุณ หรือกรุงศรี รักบ้าน รักคุณ พลัส เท่านั้น 2.กรณีผู้กู้หลักเป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ ประจำ​ต้องซื้อ MRTA/MLTA 100% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 70% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความ คุ้มครองไม่ต่ำกว่า 20 ปี 3.กรณีผู้กู้หลักเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องซื้อ MRTA/MLTA อย่างน้อย 80% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือซื้อย่างน้อย 50% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี 4.กรณีมีผู้กู้ร่วม สามารถซื้อ MRTA/MLTA เฉพาะผู้กู้หลักเพียงคนเดียวได้ หรือหากผู้กู้ร่วมประสงค์ที่จะซื้อ MRTA/MLTA ด้วย ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องมีทุนประกันขั้นต่ำในสัดส่วนที่เท่ากัน ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติตามที่ลูกค้าได้เลือกไว้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทประกันไม่ อนุมัติ MRTA/MLTA หรือในกรณีที่ลูกค้าขอยกเลิก MRTA/MLTA -ตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค. 63 อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.05% ต่อปี -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 – 31 พ.ค. 64 โดยจดจำานองและเบิกรับเงินกู้ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 64 -ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -การพิจารณา อนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด -วงเงินกู้อนุมัติสูงสุดเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด และไม่เกินกว่า วงเงินกู้สูงสุดต่อมูลค่าหลักประกัน (ราคาซื้อขาย) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์เรียกเก็บค่าเบี้ยปรับกรณีปิด ภาระหนี้ก่อนกำหนด (กรณีที่ลูกค้ารีไฟแนนซ์ไปสถาบันการเงินอื่นภายใน 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา) คิดเป็น 3% ของยอดหนี้คงเหลือ 4.ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย มีสินเชื่อกู้ซื้อบ้านสำหรับบ้านใหม่ให้กับลูกค้าทั่วไป โดยพิจารณาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีรายได้ประจำ และกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ระจำ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.22% หลังจากนั้น MRR-1% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.89% สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.72% หลังจากนั้น MRR-0.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.25% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.39% หมายเหตุ : -อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% (ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63) -อัตราดอกเบี้ยข้างต้นสำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้สินเชื่อบ้านตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 เมษายน 2564 จดจำนองภายใน วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 -สำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภทรวมอาคารพาณิชย์ยกเว้น Refinance และการปล่อยกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า -วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขายและไม่เกิน 90% ของราคาประเมินหลักประกัน -ทำประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้าน โดยสมัครทำประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้านได้รับอนุมัติและไม่ยกเลิกการทำประกันตามเงื่อนไขดังนี้ >ทุนประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อขั้นต่ำ 70% ขึ้นไปของวงเงินสินเชื่อบ้านและเลือกระยะเวลาคุ้มครอง 100% ของระยะเวลากู้ หรือ >ทุนประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 100% ของวงเงินสินเชื่อบ้านและเลือกระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำ 70% ของระยะเวลากู้ -การทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้านกสิกรไทยรับประกันโดย บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ลูกค้าต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขในกรมธรรม์ก่อนตัดสินใจทำประกันทุกครั้ง ทั้งนี้ผู้ซื้อมีสิทธิ์เลือกที่จะทำประกันชีวิตหรือไม่ก็ได้ ไม่มีผลต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ -การพิจารณารับประกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและกฎเกณฑ์การรับประกันของ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) รายละเอียดอื่น ๆ -กรณีกู้ซื้อบ้านใหม่หรือบ้านมือสอง วงเงินกู้ได้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 90 % ของราคาประเมินหลักประกัน -กรณีกู้ปลูกสร้างบ้าน กู้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง >วงเงินให้กู้ไม่เกิน 100% ของราคาค่าก่อสร้างตามสัญญาว่าจ้าง แต่ไม่เกิน 90%ของราคาประเมิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กู้ซื้อที่ดินพร้อมขอกู้ปลูกสร้างบ้าน >วงเงินให้กู้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขายที่ดินรวมกับราคาค่าก่อสร้างตามสัญญาว่าจ้าง แต่ไม่เกิน 90% ของราคาประเมินที่ดินและราคาประเมินแบบสิ่งปลูกสร้าง -ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ดังนี้ ค่าสำรวจและประเมินราคาหลักประกันโดยบริษัท โพรเกรส แอพไพรซัล หรือบริษัทประเมินที่ธนาคารรับรอง คิดขั้นต่ำ 3,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 5.ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารเกียรตินาคิน มีสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (บ้านใหม่ : กรณีซื้อบ้านจากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกําหนด) โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  2.450%-2.750% ปีต่อไป MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย2.650%-2.950% ปีต่อไป MLR-1.75% ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.60%-2.99% ปีต่อไป MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.80%-3.19% ปีต่อไป MLR-1.75% หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบีระยะเวลา (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว  โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการให้บริการและ​เว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่​18 สิวหาคม 2563 เท่กับ​ 6.525% ต่อปี 3.เลือกทําประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ​(MRTA)ผ่านธนาคาร ทุนประกันภัยเท่ากับวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาเอาประกันภัยขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลาการกู้ไม่ถึง 10 ปี ให้ระยะเวลาเอา​​​​​​ประกันภัยเท่ากับระยะเวลาการกู้ 4.กรณี Refinance ไปสถาบันการเงินอื่นก่อนครบ 3 ปี แรก คิดค่า​ Prepayment Penalty 3% ของเงินต้นคงค้าง 5.​กรณีเลือกใช้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแบบฟรีค่าจดจำนอง ​​หากลูกค้า Re-Finance หรือชําระปิดบัญชีก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ ลูกค้าต้องชำระค่าจดจำนองที่ธนาคาร เคยสำรองจ่ายให้แก่ธนาคาร​ 6.ค่าประเมินหลักประกันเริ่มต้น 3,210 บาท ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท) 7.เบี้ยประกันอัคคี ​เป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด ​โดยผู้กู้สามารถเลือกทําประกันกับบริษัทที่น่าเชื่อถือใดก็ได้ ​ a.อัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุด ต่อหลักประกัน 100% ของราคาซื้อขายจริง หรือราคาประเมินธนาคาร แล้วแต่ราคาใดต่ำกว่า ยกเว้นธนาคารมีกำหนดเงื่อนไขพิเศษอื่น ๆ สำหรับบางโครงการ อาจจะได้รับอัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุดต่อหลักประกัน​ 100% b.ระยะเวลากู้สูงสุด ​30 ปี (อายุผู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปี สําหรับพนักงานเงินเดือนประจํา และไม่เกิน 70 ปี สําหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) 6.ธนาคารซีไอเอ็มบี ธนาคารซีไอเอ็มบี สินเชื่อบ้าน โฮมโลนฟอร์ยู ให้กับพนักงานประจำ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ และเจ้าของกิจการ  โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ สำหรับพนักงานประจำ รายได้ 15,000 บาท หรือเจ้าของกิจการรายได้ 30,000 บาท ประเภททำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.10% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.25% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.07% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.80% หลังจากนั้น MRR-2.00% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.15% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR=7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 2563) 7.ธนาคารทีเอ็มบี ธนาคารทีเอ็มบี มีสินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับการซื้อบ้านหรือคอนโดจากโครงการทั่วไป จะได้รับฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมินหลักทรัพย์ มีการคิดดอกเบี้ย ดังนี้ สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ทางเลือก 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.63% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.63% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.05% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.45% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.23% หลังจากนั้น MRR-1.63% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.46% ทางเลือก 3 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 3 MRR-1.63% หลังจากนั้น MRR-1.63% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.38% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.56% ทางเลือกที่ 4 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-1.88% หลังจากนั้น MRR-1.63% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.40% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.57% สมัครไม่ครบผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 4.90% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.38% หลังจากนั้น MRR-1.38% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.90% ทางเลือกที่ 6 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.48% หลังจากนั้น MRR-1.38% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.87% หมายเหตุ เมื่อคุณกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบีคุ้มบ้าน (MRTA) 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีเอ็มบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต TMB (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต TMB แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ข้อเสนอพิเศษเมื่อคุณกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท นอกจากดอกเบี้ยคงที่ต่ำสำหรับ 3 ปีแรกแล้ว ยังได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท –ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง: TMB จ่ายให้ 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท สำหรับกรณีซื้อบ้าน จากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง สำหรับกรณีที่กู้ซื้อบ้านกับ TMB โดยไม่สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท จะได้รับอัตราดอกเบี้ยปกติจาก TMB โดยยังได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร EIR (Effective Interest Rate : อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา) เป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น โดยคำนวณจาก เงินกู้ 3 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี / MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อบ้านสำหรับลูกค้าทั่วไป โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ แบบไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.995% ปีต่อไป MRR ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.995% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.995% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.950% ปีต่อไป MRR ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.950% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.983% หมายเหตุ -กรณีใช้ดอกเบี้ย​แบบทําประกัน​ Credit Life 70% กําหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลาเอาประกัน 70% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา โดยกําหนดให้เอาระยะเวลาขั้นต่ำ 10  ปี (กรณีระยะเวลากู้ตามสัญญาต่ำ​10 ปี กําหนดให้ระยะเวลาเอาประกันเท่ากับระยะเวลากู้ตามสัญญา) ​-ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ รับประกันภัยโดย บมจ. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต บริษัทนเครือกลุ่มเอฟดับบลิวดี หากต้องการสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับการประกันภัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์บริการลูกค้า โท​ร. 1315 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 - 20.00 น. -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข ​​ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุก​ ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น ​การพิจารณารับประกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันภัย ของบริษัทประกันภัย -อัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารไทยพาณิชย์ เท่ากับ 5.995% ต่อปี ​(ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563) ซึ่งอาจะเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศธนาคาร -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ระบุในตารางเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ​ซึ่งอาจะมีความแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีลูกค้าบอกเลือกประกันชีวิต หรือขอเวนคืนกรมธรรม์ หรือทำประกันไม่ครบกำหนดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ​ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยวงเงินกู้ เป็นอัตราดอกเบี้ยทั่วไป  ตามประกาศธนาคาร ระยะเวลากู้ตามสัญญา วงเงิน ระยเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย คุณสมบัติ เอกสารปรกอบการพิจารณา และการอนุมัติเป็นไปตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด สอบถามเพิ่มเติม SCB Call Center โทร.02-777-7777 9.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์  หรือ ธอส. มีสินเชื่อสำหรับการซื้อบ้านหลากหลายประเภท โดยประเภทสินเชื่อบ้านลูกค้าทั่วไป  โครงการบ้าน ธอส.เพื่อคุณปี 2564 มีการคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.86% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.86% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.29% หลังจากนั้น MRR-0.75% หมายเหตุ ยกเว้นค่าธรรมยื่นกู้  0.1% ของวงเงินกู้และทุกบัญชีเงินกู้ภายใต้หลักประกันเดียกกัน อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.15% ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 10.ธนาคารยูโอบี ธนาคารยูโอบี มีสินเชื่อบ้านสำหรับโคงการหมู่บ้านทั่วไป โดยวงเงินตั้งแต่ 500,000 บาทจนถึง 50 ล้านบาทขึ้นอยู่กับที่ตั้งของหลักประกัน โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ทางเลือก 1 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.55% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.80% หลังจากนั้น MRR-1.60% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.87% ทางเลือกที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.60% หลังจากนั้น MRR-1.60% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.95% ทางเลือกที่ 3 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.40% หลังจากนั้น MRR-1.60% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.88% ทางเลือกที่ 4 ไม่ทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.20% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.20% ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.60% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.96% หมายเหตุ -ขอสินเชื่อตั้งแต่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2564 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายใน 30 กรกฎาคม 2564 -อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาครยูโอบี >ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ >ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ -อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR=7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจะมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีไถ่ถอนจำนองเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น ​(Re-finance) ในช่วงระยะเวลา 3 ปีแรก นับจากวันที่กู้ จะมีค่าปรับ 3% ของยอดเงินต้นคงค้าง (เฉพาะวงเงินสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยเท่านั้น)​ -การอนุมัติสินเชื่อ​เป็นไปตำมหลักเกณฑ์ของธนาคาร​ -เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันเท่ากับ  7.35% ต่อปี ​(ตามประกาศธนาคารณ วันที่ 13 เม.ย. 63) อนึ่ง ธนาคารสามารถประกาศปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย​ MRR ได้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอนุญาตไว้​ -อัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ​เป็นไปตามประกาศที่ธนาคารจัดทำไว้  และประกาศให้ทราบตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารอาจเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยการปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการ หรือเว็บไซต์ของธนาคาร​ -ธนาคารยูโอบีในฐานะนายหน้าประกันภัย ​(ใบอนุญาตประกันชีวิต​เลขที่ ช.00026/2545 และใบอนุญาตประกันวินาสภัย​ เลขที่ ว.00020/2546) ทำหนี่เสนอผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยและเป็นผู้จัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย และอำนวยความสะดวกในการรับชำระเบี้ยประกันเท่านั้น  รับประกันชีวิตโดยบริษัท พรูเด็นเชียลประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), รับประกันวินาศภัยโดย บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ​จะเป็นผู้รับผิดชอบตามเงื่อนไข ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง 11.ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย คือ โฮมโลน โดนใจ สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้น 2.00% โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ แบบที่ 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.00% (MRR-5.35%) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.80% (MRR-2.25%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.10% (MRR-5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10%  (ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท 2 ปีแรก) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.20% (MRR-3.15%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 3 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.55% (MRR-4.80%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.63% แบบที่ 4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยคงที่ 2.75% (ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท 3 ปีแรก) ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.76% เงื่อนไข กรณีลูกค้าเลือกทำประกัน MRTA/MLTA ผ่านธนาคาร : กรณีที่ลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ผ่านธนาคาร ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1%  ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือ สูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือ เปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ภายใน 5 ปีแรก ทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี หมายเหตุ -โครงการจัดสรรในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เท่านั้น* -ราคาซื้อขายของหลักประกันต้องมีราคา (แนวราบ) ไม่น้อยกว่า 2.00 ล้านบาท , (แนวสูง) ไม่น้อยกว่า 2.50 ล้านบาท -ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำ ล้านละ 3,500 บาท  กรณีเลือกอัตราดอกเบี้ยคงที่** -ยกเว้น ค่าประเมินราคาหลักประกัน (โครงการจัดสรรทุกโครงการที่มีราคาซื้อขาย 2 ล้านบาทขึ้นไป)*** -ระยะเวลากู้สูงสุด 40 ปี รวมอายุผู้กู้ไม่เกิน 70 ปี**** -วงเงินกู้เพิ่มสูงสุด 10% จากสัญญาซื้อขาย เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน อัตราดอกเบี้ย 1) ทำประกัน MRTA/MLTA : ปีที่ 1-3 : MRR – 2.75% = 4.60% หรือ 2) ไม่ทำประกัน MRTA/MLTA : ปีที่ 1-3 : MRR – 2.25% = 5.10% , หลังจากนั้นปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR = 7.35% ***** -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.35% (ณ 1 เม.ย. 64) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -การพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละรายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่ธนาคารกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์การพิจารณาสินเชื่อ โดยอยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆเป็นไปตามประกาศธนาคาร โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า -อัตราดอกเบี้ย และโปรโมชั่น (มีวงเงินสินเชื่อจำกัด) สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อ โดยเบิกรับเงินกู้ ตั้งแต่ วันนี้ - 30 มิถุนายน 2564 12.ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสิน มีสินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนสบาย ปีแรก 0.50% ผ่อนสบาย ล้านละ 1,500 บาทต่อเดือน นาน 1 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 3.770% (MRR-2.475%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย 4.745% (MRR-1.50%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.680% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 3.975% กรณีไม่ทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 1.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.270% (MRR-1.975%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.245% (MRR-1.00%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.180% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.458% เงื่อนไขการใช้อัตราดอกเบี้ยโปรโมชั่น 1.สมัครผลิตภัณฑ์/บริการของธนาคาร ได้แก่ บัตรอิเล็กทรอนิกส์/ บัตรเครดิต หรือ สินเชื่อบัตรเงินสด / บริการ MyMo/ ชำระสินเชื่อหักผ่านบัญชี / ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) อย่างน้อย 3 ประเภท ทั้งนี้ หากลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์/ บริการ ตามที่กหนดอยู่แล้วสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวได้ 2.กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนครบกำหนด 3 ปี ทุกกรณี คิดค่าธรรมเนียม 3% ของยอดเงินต้นคงเหลือ 3.สามารถเลือกชำระแบบผ่อนต่ำ โดยเงินงวดผ่อนชำระต่อจำนวนเงินกู้สินเชื่อเคหะ 1 ล้านบาท ปีที่ 1 เท่ากับ 1,500 บาท /เดือน ปีที่ 2-3 เท่ากับ 6,000 บาท/เดือน ยกเว้น กรณีกู้ปลูกสร้าง/ต่อเติมซ่อมแซม ไม่สามารถเลือกชำระแบบผ่อนต่ำได้ หมายเหตุ 1.ประกัน หมายถึง ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 2.อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ MRR=6.245% (ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2563) 3.อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี   บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนมกราคม 2564
ไทยแลนด์ อีลิท  เปิดรายชื่อ 57 คอนโด  ร่วมโปรแกรม Elite Flexible One

ไทยแลนด์ อีลิท เปิดรายชื่อ 57 คอนโด ร่วมโปรแกรม Elite Flexible One

ไทยแลนด์ อีลิท เปิดรายชื่อ 57 คอนโด ดีเวลลอปเปอร์กว่า 20 ราย พร้อมขนโครงการเข้าร่วมโปรแกรม Elite Flexible One กระตุ้นเศรษฐกิจ ดึงผู้ซื้อและนักลงทุนต่างชาติซื้ออสังหาฯ ไทย  คาดสร้างรายได้ทะลุ 1,000 ล้าน   จากนโยบายในการทำตลาดเพื่อดึงดูดให้ชาวต่างชาติ ได้เข้ามาจับจ่ายใช้สอยและลงทุนในประเทศ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด จึงได้มี​การจัดทำโปรแกรมพิเศษ “Elite Flexible One” ด้วยการให้ชาวต่างชาติหรือนักลงทุนต่างชาติ ลงทุนซื้ออสัง​หาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมในประเทศไทย ที่สร้างแล้วเสร็จและพร้อมเข้าอยู่อาศัย มูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท   โดยสามารถซื้อได้ทั้งในรูปแบบ 1 ยูนิต ราคา 10 ล้านบาท หรือหลายยูนิตราคารวมกัน 10 ล้านบาท  จากดีเวลลอปเปอร์รายเดียวกัน ​เพื่อได้รับสิทธิการเป็นสมาชิกบัตรไทยแลนด์ อีลิท ตามประเทศบัตรที่บริษัทกำหนด แต่หากจำหน่าย จำนอง หรือโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นภายในระยะเวลา 5 ปี   สำหรับโปรแกรมพิเศษ “Elite Flexible One” มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม 2564-31 ธันวาคม 2565 รวมระยะเวลา 2 ปี  ซึ่งทางบริษัทตั้งเป้ายอดขายรวมไม่ต่ำกว่า 100 ยูนิต และมีมูลค่ารวมกว่า 1,000 ล้านบาท นายสมชัย สูงสว่าง ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด  ผู้ดำเนินโครงการบัตรสมาชิก ไทยแลนด์  อีลิท เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโปรแกรมพิเศษ Elite Flexible One ว่า ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทได้เดินหน้าเจรจาร่วมจัดทำบันทึกความเข้าใจในข้อตกลงความร่วมมือพิเศษโปรแกรม Elite Flexible One กับกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทยแล้วกว่า 20  ราย โดยทุกรายต่างมีศักยภาพและความแข็งแรง ทั้งภาพลักษณ์ของแบรนด์และของสินค้า รวมถึงนโยบายการดำเนินงานที่สอดคล้องกัน จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถดึงกำลังซื้อของนักลงทุนชาวต่างชาติ และสมาชิกอีลิทคาร์ด มาลงทุนเพิ่มทั้งการซื้อแบบ Freehold และ Leasehold ได้   โดยปัจจุบันมีกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาฯ ส่งโครงการเข้าร่วมโปรแกรม Elite Flexible One  แล้ว  57 โครงการ และอีกหลายโครงการที่อยู่ในช่วงการเตรียมความพร้อม รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนกว่า 80 โครงการ (รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถตรวจสอบได้ที่ www.thailandelite.com) โดยแต่ละกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาฯ ต่างมีกลยุทธ์ในการทำตลาดเพื่อดึงดูดลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการตลาดและการขายแบบเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งแนะนำบัตร Elite Flexible One ให้เป็นที่รู้จักผ่านการโฆษณาในสื่อต่าง ๆที่ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีกำลังซื้อ การยกระดับผลิตภัณฑ์สู่ความเป็นเลิศ (Product Excellence) ด้วยการเลือกสรรวัสดุคุณภาพเพื่อให้ตอบทุกเหตุผลของการอยู่อาศัย รวมถึงบริการหลังการขายที่มีคุณภาพ (Service Excellence) เป็นต้น   นายสมชัย  กล่าวอีกว่า จากท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 และสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันนี้ บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าโปรแกรมพิเศษ Elite Flexible One นั้น จะเป็นตัวแปรสำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงให้เศรษฐกิจดีขึ้น ด้ วยการขับเคลื่อนให้กลุ่มนักลงทุนชาวต่างชาติที่มีคุณภาพ  และมีกำลังซื้อสูงเข้ามาลงทุนในประเทศไทย รวมทั้งเพื่อต้องการผลักดันให้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาฯ ​ขายโครงการได้เร็วขึ้น เพื่อสร้างกระแสเงินสด ทำให้มีเม็ดเงินชาวต่างชาติเข้ามาลงทุน และใช้จ่ายในประเทศไทย สร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ  ทำให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ด้วยดี  ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ต่อภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ผ่านบัตรสมาชิกในรูปแบบของโปรแกรมพิเศษ "Elite Flexible One" เปิดรายชื่อ 57 โครงการคอนโดเข้าร่วมโปรแกรม บริษัท ไรมอนด์ แลนด์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วม 3 โครงการ ได้แก่ 1.The Loft Silom 2.The River 3.The Diplomat 39 บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เข้าร่วม 8 โครงการ ได้แก่ 1.Life Asoke-Rama 9 2.Life Asoke Hype 3.Life Ladprao 4.Life Ldprao Valley 5.Life One Wireless 6.Aspire Rattathibat 2 7.Aspire Sukhumvit-On Nut 8.Aspire Asoke – Ratchada บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วม 6 โครงการ ได้แก่ 1.Khun By Yoo 2.La Habana Hua Hin 3.XT Huaykwang 4.XT Ekkamai 5.Oka Huan Sukhumvit 36 6.The Best Central Phuket บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วม 5 โครงการ ได้แก่ 1.Park Origin Condominium 2.Knightsbridge Condominium 3.Kensington Condominium 4.The Origin Condominium 5.B-Loft Condominium บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 1.Ashton Asoke 2.Ashton Asoke – Rama 9 3.Asthon Residence 41 4.Asthon Silom 5.Ideo Q Victory 6.Q Prasanmit 7.Ideo Q Sukhumvit 36 บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) 1.Wyndham Residence 2.Wyndham Garden Residence 3.Ramada Plaza Residence 4.Ramada Residence 5.Siamese Exclusive 31 6.Siamese Surawong 7.Siamese Kin 8.Blossom Condo @Sathorn-Chroenrat 9.Blossom Condo @Fashion Beyond บริษัท วรลักษณ์ พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วม 1 โครงการ ได้แก่ Sky Walk Condominium บริษัท 888 ทองหล่อ จำกัด เข้าร่วม 1 โครงการ ได้แก่ Nivati Residence บริษัท ชาญอิสสระ วิภาพล จำกัด อยู่ในเครือ บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วม 1 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการดิ อิสสระ เชียงใหม่  (The Issara Chiang Mai) บริษัท ร่วมอิสสระ จำกัด อยู่ในเครือ บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วม 2 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการ บลูไดมอนด์ (BLUE Diamond) 2.โครงการบ้านทิวทะเล บลูแซฟไฟร์ (Baan Thew Talay Blue Sapphire) บริษัท นายณ์ เอสเตท จำกัด เข้าร่วม 3 โครงการ ได้แก่ 1.Kraam Sukhumvit 26 2.Quarter 31 3.Quarter 39 บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด เข้าร่วม 5 โครงการ ได้แก่ 1.Mazarine Ratchayothin 2.Condo U Kaset-Nawamin 3.De LAPIS Charan 81 4.KARA ARI-RAMA 6 5.CIELA Charan 13 Station บริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด เข้าร่วม 7 โครงการ ได้แก่ 1.The Astra 2.Arise Mahidol 3.The Next Jed Yod 4.The Next 1 5.The Next 2 6.The Next 3 7.The Next Premier บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วม 4 โครงการ ได้แก่ 1.Niche Mono Baearing 2.Niche Mono Puchao 3.Niche Mono Charoen Nakhon 4.Niche Pride Taopoon Interchange
ORIGIN NEXT LEVEL การเดินหน้าสู่ Top5 ผู้นำในทุกธุรกิจ

ORIGIN NEXT LEVEL การเดินหน้าสู่ Top5 ผู้นำในทุกธุรกิจ

เพียงระยะเวลา 10 กว่าปี บริษัทเล็ก ๆ อย่างบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเริ่มต้นธุรกิจด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาท ในปี 2552 ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดอสังหาริมทรัพย์ ติดอันดับ Top 10 ด้วยขนาดสินทรัพย์เมื่อสิ้นปี 2563 ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 33,693 ล้านบาท   มีมูลค่าโครงการที่พัฒนาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 125,278 ล้านบาท ถือเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการเติบโตเร็วมาก เมื่อเทียบกับบรรดารุ่นพี่ในวงการ ซึ่งหลายแห่ง มีอายุการดำเนินธุรกิจที่มากกว่า 10 ปี แต่ยังไม่สามารถสร้างขนาดองค์กร และพัฒนาโครงการได้มากเท่ากับออริจิ้นแห่งนี้   ความสำเร็จของ ออริจิ้น เกิดขึ้นจากฝีมือการบริหารงานของ “พีระพงศ์ จรูญเอก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่สามารถนำกลยุทธ์การบริหารธุรกิจต่าง ๆ มาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ ให้สามารถก้ามข้ามภาวะการแข่งขัน ปัจจัยลบ และความเสี่ยงทางธุรกิจต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างดี เห็นได้จากตัวเลขของปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ภาวะตลาดอสังหาฯ ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่หลายคนมองว่าเป็นผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุด นับตั้งแต่ดำเนินธุรกิจมาตลอดหลายปี แต่ออริจิ้นยังคงเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัท ที่สามารถสร้างผลงาน ทั้งด้านรายได้และกำไรเติบโต โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา ออริจิ้น สามารถทำรายได้รวม 11,114 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากกลุ่มโครงการคอนโดมิเนียม 7,100 ล้านบาท และบ้านแนวราบ 6,200 ล้านบาท  มียอดโอนรวม 15,086 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นยอดโอนจากโครงการร่วมทุน 5,216 ล้านบาท ขณะที่ปีที่ผ่านมามียอดขาย 25,774 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 120% โดยผลประกอบการปี 2563 มีกำไรสุทธิ 2,662 ล้านบาท วางเป้าทุกธุรกิจติด Top5 จากความสำเร็จในปีที่ผ่านมา ทำให้ ออริจิ้น ยังคงเดินหน้าลงทุนและพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อการก้าวสู่ความเป็นผู้นำตลาดอสังหาฯ ที่ไม่ใช่แค่ติดอันดับ Top10 แต่เป้าหมายคือการก้าวสู่ผู้นำ Top5 ในแต่ละกลุ่มธุรกิจของบริษัท ที่ปัจจุบันมีหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโด โรงแรม และธุรกิจบริการ ซึ่งปีนี้และในอนาคต ยังได้วางแผนขยายไปยังธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ต่อยอดและเชื่อมโยงเกื้อหนุนกัน เพื่อสร้างรายได้และทำกำไรกลับคืนมาในอนาคตอีกด้วย   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยว่า บริษัทใช้เวลาประมาณ 10 ปีก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดคอนโด ติดอันดับ Top 3 ขณะที่บ้านเดี่ยวได้ใช้เวลา 3 ปีในการเป็นผู้นำตลาด ซึ่งปีนี้เปิดโครงการมูลค่าประมาณ​ 10,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการก้าวสู่ผู้นำตลาด Top5 ในด้านการเปิดโครงการ และคาดว่าในระยะเวลา 2-3 ปีนับจากนี้ ออริจิ้นน่าจะเป็น Top5 ในด้านยอดขายและยอดโอนในกลุ่มธุรกิจบ้านจัดสรร เราทำ Business Expansion มันเกินกว่าคำว่า Diversify เราจะโฟกัสแต่ละธุรกิจ สร้างให้แต่ละผลิตภัณฑ์ติดอันดับ Top5 หรือ Top10  2 กลยุทธ์ “ORIGIN NEXT LEVEL” หลังจากปีที่ผ่านมา ออริจิ้น สามารถสร้างรายได้และกำไรเติบโตจนเป็นที่น่าพอใจ ในปี 2564 จึงได้วางนโยบายการดำเนินธุรกิจให้มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง  ซึ่งในปีนี้​ ออริจิ้น ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด “ORIGIN NEXT LEVEL” ด้วยการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าแบบครบวงจรในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยการนำความรู้ที่ได้รับตลอดปี 2563 มาใช้ภายใต้ 2 แกนหลัก ได้แก่ 1.Next Level of Business Expansion ขยายธุรกิจทั้งเชิงกว้างและเชิงลึกด้วยทำเลใหม่ (New Location) แบรนด์ใหม่ (New Brand) กลุ่มธุรกิจใหม่ (New Business) ความร่วมมือใหม่ (New Collaboration) เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายใหม่ (New Target Segmentation) 2.Next Level of Living Solutions การสร้างสรรค์ทั้งฟังก์ชั่นใหม่ (New Function) และบริการใหม่ (New Services) ในบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนยุค Now Normal ไปจนถึง Next Normal วันนี้เราไม่ได้มองตัวเองเป็นแค่ผู้พัฒนาที่อยู่อาศัย เรามองตัวเองสู่การเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีสินค้าและบริการต่อยอดไปได้อย่างต่อเนื่อง หรือ Beyond Property เพื่อตอบโจทย์คนทุกเจเนอเรชั่นตลอดช่วงชีวิตของเขา เพิ่ม 3 ธุรกิจใหม่จับทุกโอกาสทางการตลาด ปัจจุบัน ออริจิ้น มี 4 ธุรกิจหลักที่บริหารอยู่ ประกอบด้วย ธุรกิจคอนโด บ้านจัดสรร โรงแรม และธุรกิจบริการ ในปีนี้ เพื่อต่อยอดและสร้างระบบนิเวศ เชื่อมโยงกันทั้งหมด และสร้างรายได้เพิ่ม จึงได้ขยายไปยังธุรกิจใหม่อีก 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มธุรกิจบริการสุขภาพ (Healthcare) โดยในปีนี้ได้จัดตั้งบริษัท ออริจิ้น เฮลท์แคร์ จำกัด ซึ่ง ออริจิ้น ถือหุ้น 76% และพันธมิตรที่เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถือหุ้น 24% เพื่อดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม โดยมีแผนเปิดคลินิคเสริมความงาม ภายใต้แบรนด์ “Cheva Plus” สาขาเมอคิวรี่ พื้นที่ 200 ตารางเมตร โดยตั้งเป้าจะขยายครบ 10 สาขาภายในปี 2566 อีกทั้งยังมีแผนเปิดให้บริการศูนย์สุขภาพ 2 แห่ง ในทำเลรามอินทรา ขนาด 240 เตียง มูลค่าการลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งคาดจะเปิดให้บริการได้ในปี 2566 และทำเลบางนา คาดจะเปิดให้บริการปี 2565 รวมถึงยังขยายตลาดไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ กลุ่มธุรกิจเสริมความงาม กลุ่มศูนย์บริการสุขภาพ กลุ่มแพลทฟอร์มให้บริการสุขภาพออนไลน์และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือกับพันธมิตรด้านเฮลท์แคร์ต่าง ๆ เพื่อเสริมบริการ  อาทิ โรงพยาบาลสมิติเวช ที่เข้ามาเป็นพันธมิตรด้านโรงพยาบาลเสมือนจริง (Virtual Hospital) และมอบบัตร Origin Samitivej Club เข้ามาบริการตรวจสุขภาพ ให้คำปรึกษาด้านโภชนาการบำบัด วิทยาศาสตร์การกีฬา ในโครงการที่อยู่อาศัย หรือเป็น Hospital at Home อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคไม่ต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาล ขณะเดียวกัน ยังคงจับมือกับโรงพยาบาลใกล้เคียงแต่ละโครงการ (Local Hospital) เช่น โรงพยาบาลสินแพทย์ อำนวยความสะดวกอีกทางหนึ่งให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงมี Let’s Relax เข้ามาให้บริการสปาผ่อนคลายสุขภาพ   บริษัทยังได้จับมือกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบ สภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน และสวางคนิเวศ เพื่อดำเนินการ Senior Living Lab ศึกษาวิจัยสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุไทยในปัจจุบัน และยกระดับการออกแบบโครงการที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับคนกลุ่มดังกล่าว 2.กลุ่มธุรกิจศูนย์โลจิสติกส์ (Logistic Center) ดำเนินกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโลจิสติกส์ ภายใต้การร่วมทุนกับบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD คาดว่าจะเปิดเผยแผนธุรกิจร่วมกันได้ในวันที่ 21 เมษายน 2564 ซึ่งเบื้องต้นจะเริ่มก่อสร้างคลังสินค้าในอีก 1-2 เดือนจากนี้ บนทำเลบางนา กม. 22 ขนาด 62,000 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุน 1,000 ล้านบาท คาดจะเริ่มรับรู้รายได้ในช่วงกลางปี 2565 เป็นต้นไป 3.กลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Company หรือ AMC) นำรากฐานองค์ความรู้และความพร้อมในเครือบริษัท มาต่อยอดสู่การดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์อย่างเข้มแข็งและครบวงจร ร่วมกันบริหารทรัพย์สินรอการขาย (NPA) และสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ โควิด-19 โดยอาศัยความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้บริโภค การคัดกรองทรัพย์ การพัฒนาโครงการ การรีโนเวท การขาย การตลาด มาเพิ่มมิติในการดูแลผู้บริโภคและมิติการเติบโตสู่อีกระดับของเครือ คาดว่าจะเปิดเผยแผนธุรกิจและพันธมิตรได้เร็วๆ นี้ เปิดตัว 4 คอนโดแบรนด์ใหม่ ครบทุกเซ็กเมนต์ ในจำนวนโครงการคอนโดที่ได้วางแผนเปิดตัวในปีนี้ ออริจิ้น มีแผนเปิดโครงการแบรนด์ 4 แบรนด์ เพื่อขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ ให้ครอบคลุมทุกเจเนอเรชั่น  ได้แก่ 1.ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ (Origin Plug & Play) เจาะตลาดกลุ่ม Gen Y และ Gen Z โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำสตาร์ทอัพของตัวเอง โดยจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับคนกลุ่มดังกล่าว 2.บริกซ์ตัน (Brixton) แบรนด์ราคาเข้าถึงง่าย สำหรับตลาดเฉพาะกลุ่ม (Affordable Niche) คอนเซ็ปต์แต่ละโครงการ อาจเจาะลูกค้าแตกต่างกันไป เช่น เจาะกลุ่มนักศึกษา-คนทำงานใกล้มหาวิทยาลัย (Campus) เจาะกลุ่มคนรักสัตว์ (Pet Lover) 3.แฮมป์ตัน (Hampton) แบรนด์คอนโดเจาะตลาดนักลงทุนโดยเฉพาะ โดยมีสิทธิพิเศษและการันตีผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อ นำร่องในศรีราชาและระยอง 4.ออริจินอล (Original) คอนโดสำหรับเจาะตลาดผู้สูงอายุ (Silver Age) ขณะเดียวกัน บริษัทยังคงเดินหน้าในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ โดยในปีนี้จะพัฒนาโครงการวัน ออริจิ้น สนามเป้า (One Origin Sanampao) เป็นโครงการอาคารสำนักงาน ขนาดพื้นที่กว่า 56,100 ตารางเมตร ติด BTS สนามเป้า ซึ่งพร้อมตอบโจทย์ความต้องการอาคารสำนักงานในฝั่งกรุงเทพฯ ตอนเหนือที่ยังคงขยายตัวได้ดี เชื่อมั่นว่าสินค้าและบริการของเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จะตอบโจทย์คนทุกเจเนอเรชั่นในทุกช่วงเวลาของการใช้ชีวิต สรุปไฮไลท์ทางการเงิน ออริจิ้น ปี 2564 -เปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ มูลค่า 10,400 ล้านบาท และคอนโด 9,600 ล้านบาท -วางเป้าหมายสร้างยอดโอน 12,800 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านแนวราบ 4,000 ล้านบาท และคอนโด 8,800 ล้านบาท -เป้าพรีเซล 29,000 ล้านบาท -เป้าหมายรายได้ 14,000 ล้านบาท เติบโต 26% จากปี 2563 -ยอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่า 35,834 ล้านบาท รับรู้ต่อเนื่องถึงปี 2567 รับรู้ในปีนี้ 14,410 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงร่วมทุนมูลค่า 5,000 ล้านบาท และเฉพาะของออริจิ้น 9,410 ล้านบาท ​ -วางงบลงทุนรวม 10,000 ล้านบาท สำหรับการขยายธุรกิจอสังหาฯ เพื่อขาย 8,000 ล้านบาท และขยายธุรกิจใหม่ ๆ อีก 2,000 ล้านบาท  
แสนสิริ ทำนิวไฮด์รายได้สูงสุด​ 34,707 ล. แต่กำไรสุทธิลดลงกว่า 52%

แสนสิริ ทำนิวไฮด์รายได้สูงสุด​ 34,707 ล. แต่กำไรสุทธิลดลงกว่า 52%

แสนสิริ แจ้งผลประกอบการปี 2563 ทำรายได้สูงสุดในตลาดอสังหาริมทรัพย์ 34,707 ล้านบาท โต 34% ขณะที่มียอดขาย โตขึ้น 67% แต่กำไรลดลงทั้งในส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ ลดลงกว่า 30% เหลือ 1,673 ล้าน ส่วนกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จลดลงกว่า  52% เหลือแค่ 923 ล้าน มั่นใจปีนี้ยังทำยอดขายต่อเนื่อง หลังตุนยอดขายไว้แล้ว 28,300 ล้าน รับรู้ได้ถึง 3 ปี กลางปีเตรียมเปิดตัวแบรนด์ใหม่​บูก้าน จับตลาดไฮเอนด์   นางสาววรางคณา อัครสถาพร ประธานผู้บริหารสายงานการเงิน บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI​ เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในรอบปี 2563 ว่า  สามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมาย 35,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 67% จากปี 2562 มียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภท ที่สร้างเสร็จและส่งมอบให้กับลูกค้าไปถึง 45,000 ล้านบาท เติบโต 45% จากปีก่อนหน้า สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ และเป็นการโอนที่สูงสุดในรอบ 36 ปีของแสนสิริ โดยปีที่ผ่านมาสามารถปิดการขายโครงการที่อยู่อาศัย 35  โครงการ มูลค่ารวมกว่า 64,600 ล้านบาท ปี 2563 ที่ผ่านมา เป็นปีที่แสนสิริต้องเผชิญกับอีกหนึ่งความท้าทายในการทำธุรกิจ ภายใต้สถานการณ์โควิด – 19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย นับเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่เราสามารถผ่านมาได้อย่างแข็งแกร่งในรอบ 36 ปีเช่นเดียวกับวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540   ในปี 2563  แสนสิริมีรายได้รวมสูงสุดในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ด้วยรายได้ 34,707 ล้านบาท เติบโตขึ้น 34% จากปีก่อนหน้า ที่มีรายได้ 25,859 ล้านบาท เป็นผลจากรายได้จากการขายโครงการที่เพิ่มขึ้น 60% จาก 19,126 ล้านบาทในปี 2562 มาอยู่ที่ 30,559 ล้านบาทในปี 2563   จากผลงานการโอนที่โดดเด่นในปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะไตรมาสที่ 2 ที่บันทึกการโอนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All Time High)     ขณะที่บริษัทมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ 1,673 ล้านบาท ลดลง 30% จากปี 2562 ที่มีจำนวน 2,392 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวมสำหรับปี 2563 จำนวน 923 ล้านบาท ลดลง 52% จากปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 1,953 ล้านบาท โดยปีที่ผ่านมาแสนสิริ มีการทำการตลาดและแคมเปญต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง  อาทิ “แสนสิริผ่อนให้ 24 เดือน” ที่ช่วยให้ลูกค้าซื้อที่อยู่อาศัยและมีที่อยู่อาศัยได้ง่ายที่สุด   นอกจากนี้ ผลจาก Cash Flow Strategy ยังส่งผลให้แสนสิริเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งในด้านการเงิน จากการบริหารจัดการสต็อคที่อยู่อาศัยที่ดี สามารถบริหารจัดการให้มี Inventory หรือสินค้าพร้อมขาย ลดลงมาต่ำสุดอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท จากการขายสินค้าสร้างเสร็จได้มาก ทำให้มีเงินสดกลับมาในมือ (Cash is King) ลดอัตราหนี้สินและมีสภาพคล่องในมือ ณ ปัจจุบันกว่า 17,000 ล้านบาท Gearing Ratio ลดลงจาก 1.82 เท่า อยู่ที่ 1.42 เท่า   แสนสิริยังมียอดขายรอโอน (รวมโครงการร่วมทุน) รองรับการเติบโตระยะยาวในอีก 3 ปี อีกถึง 28,300 ล้านบาท ขณะที่มี Secured Revenue ไปแล้วถึง 62% ของเป้ารายได้ที่ 24,400 ล้านบาท เสริมความแข็งแกร่งในทุกสภาวการณ์   สำหรับแผนธุรกิจในการเดินหน้า ปีแห่งความหวัง (The Year of Hope) แสนสิริจะเปิดตัว “BuGaan” (บูก้าน) เอ็กคลูซีฟ เรสซิเดนท์ 3 ชั้น แบรนด์ใหม่ใน Sansiri Luxury Collection กับแนวคิด “My Home Speaks for Myself” บ้านที่บ่งบอกความเป็นตัวตน ความชอบและสไตล์ที่แตกต่างไม่เหมือนใคร กับดีไซน์การออกแบบในสไตล์ Modern Luxury Living  พร้อมส่วนกลางแบบส่วนตัว สระว่ายน้ำ Freshwater Swimming Pool และลิฟท์ส่วนตัวภายในบ้าน เน้นออกแบบบ้านให้มีความเป็น Private Residence สูงสุด กับทำเลใจกลางเมือง บนโยธินพัฒนา  เพียง 14 ครอบครัว ราคา 30-80 ล้านบาท เตรียมเปิดการขายในเดือนพฤษภาคมนี้
เอพี วางเป้าขึ้นเบอร์ 1 อสังหาฯ ไทย ขน 147 โครงการสร้างรายได้กว่า 4 หมื่นล.

เอพี วางเป้าขึ้นเบอร์ 1 อสังหาฯ ไทย ขน 147 โครงการสร้างรายได้กว่า 4 หมื่นล.

เอพี วาง 3 กลยุทธ์ ขึ้นเบอร์ 1 อสังหาฯ ไทย หลังดำเนินธุรกิจมา 3 ทศวรรษ พร้อมขน 147 โครงการ สร้างรายได้และยอดขายปี 64 กว่า 43,100 ล้าน จากปีที่ผ่านมาทำนิวไฮด์สูงสุดในประวัติศาสตร์กว่า 46,130 ล้านบาท เติบโตกว่า 42% เดินหน้าขยายตลาดบ้านต่ำกว่า 3 ล้านและมากกว่า 10 ล้าน หลังซัพพลายเริ่มลดลง   นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ​เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ AP เปิดเผยถึงทิศทางสร้างการเติบโตของบริษัทนับจากนี้ หลังจากดำเนินธุรกิจมา 3 ทศวรรษว่า จะใช้ 3 ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนองค์กร ได้แก่ 1.การสร้างผู้นำอิสระ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันที่มากกว่า (Create Independent Responsible Leaders)  2.การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม (INNOVATIVE CULTURE) และ 3.พลิกเกมส์ธุรกิจเดินหน้าเต็มลูป ทรานฟอร์มทุกมิติด้วยดิจิทัล (eVERYTHING DIGITAL)  เพื่อเป้าหมายสู่การเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไทย วันนี้ เอพี ไทยแลนด์ ก้าวสู่การดำเนินธุรกิจปีที่ 30 โดยมี EMPOWER LIVING เป็นเจตจำนงสำคัญในการดำรงอยู่ของเอพี ไทยแลนด์จากอดีต ปัจจุบัน และก้าวต่อ ๆ ไปในอนาคต ภายใต้บทบาทหน้าที่สำคัญยิ่งในการเป็นผู้สร้างและจัดหาสินค้าหรือบริการที่เกื้อหนุนให้ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเอพี สามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตที่ดี ในแบบที่ต้องการด้วยตนเอง ส่วนแผนธุรกิจในปี 2564  นายอนุพงษ์  กล่าวว่า ได้วางแผนการเปิดตัวโครงการใหม่จำนวน 34 โครงการ มูลค่าประมาณ 43,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบจำนวน 30 โครงการ มูลค่าประมาณ 28,800 ล้านบาท และคอนโดมิเนียมที่คาดว่าจะพร้อมเปิดตัวในช่วงครึ่งปีหลังจำนวน 4 โครงการ มูลค่าประมาณ 14,200 ล้านบาท และปัจจุบันโครงการที่อยู่ระหว่างการขายมี 113 โครงการ มูลค่าสินค้าพร้อมขายประมาณ 78,890 ล้านบาท  ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทำให้ปีนี้มีโครงการพัฒนาและพร้อมขายมากถึง 147 โครงการ มูลค่ากว่า 121,890 ล้านบาท โดยในปี 2564 นี้ บริษัทตั้งเป้ารับรู้รายได้ (รวม 100% JV) มูลค่า 43,100 ล้านบาท และเป้ายอดขายที่ 35,500 ล้านบาท ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้เปิดการขายไป 2 โครงการในโครงการอภิทาวน์ เชียงราย มูลค่า 900 ล้านบาท และอภิทาวน์ อยุธยา มูลค่า 1,400 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 โครงการสามารถทำยอดขายได้กว่า 10% ขณะที่ยอดขายตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัททำยอดขายได้แล้ว 4,500 ล้านบาท เติบโต 37% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นยอดขายโครงการแนวราบ 4,100 ล้านบาท เติบโต 50% และคอนโด มียอดขาย 400 ล้านบาท   ด้านนายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์และการสร้างสรรค์ กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ หรือแบ็คล็อก มูลค่า 37,938 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 12,456 ล้านบาท ซึ่งจะรับรู้ได้ภายในปีนี้ และเป็นโครงการคอนโด 25,482 ล้านบาท จะรับรู้ภายใน 3 ปีนับจากนี้ และมีสินค้าพร้อมขายมูลค่า 3,100 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุน มูลค่า 2,000 ล้านบาท และของเอพี มูลค่า 1,000 ล้านบาท โดยในปีนี้บริษัทจะขยายการพัฒนาที่อยู่อาศัยในกลุ่มระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท และมากกว่า 10 ล้านบาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการ และที่อยู่อาศัยในระดับราคาดังกล่าวถูกขายออกไปจากตลาดจำนวนมาก มีเหลือขายไม่มากนัก ถือเป็นการขยายตลาดให้กว้างขึ้นจากปัจจุบันที่บริษัทพัฒนาโครงการระดับราคา 3-10 ล้านบาทเป็นหลัก   ในส่วนงบประมาณการจัดซื้อที่ดินในปีนี้ บริษัทวางงบประมาณไว้ 12,000 ล้านบาท แต่ทั้งนี้บริษัทจะพิจารณากระแสเงินสดในการจัดซื้อที่ดินในแต่ละไตรมาส ซึ่งปีที่ผ่านมาบริษัทใช้งบซื้อที่ดิน 4,000 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีกระแสเงินสด 14,000 ล้านบาท และวงเงินเบิกเงินกู้จากสถาบันการเงินมูลค่า 11,000 ล้านบาท สำหรับใช้ในการพัฒนาโครงการ สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2563 ที่ผ่านมา  เอพีมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดสูงสุดเกินจากคาดการณ์ ทั้งในรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100% JV) และธุรกิจอื่น ๆ ได้สูงถึง 46,130 ล้านบาท เติบโตกว่า 42% จากปีก่อนหน้า มีกำไรสุทธิ สิ้นปี 2563 อยู่ที่ 4,225 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 38% ด้านสัดส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับต่ำมากเพียง 0.71 เท่า ซึ่งทั้งหมดล้วนสะท้อนถึงความสามารถใน   การบริหารจัดการภายในองค์กร ควบคู่ไปกับการบริหารพอร์ตสินค้า และการบริหารกระแสเงินสดที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพท่ามกลางสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น  
REIC มองตลาดอสังหาฯ 64 เปิดตัวใหม่เพิ่มแต่การโอนยังลด

REIC มองตลาดอสังหาฯ 64 เปิดตัวใหม่เพิ่มแต่การโอนยังลด

จากภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP มีการปรับลดลง 6.1% ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 22 ปี   ภาพรวมดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  โดยจากการจัดเก็บข้อมูลตลอดปี 2563 ที่ผ่านมาของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC พบความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ รวมถึงแนวโน้มของตลาดอสังหาฯ ที่จะเกิดขึ้นในรอบปี 2564 ปี 64 หลายปัจจัยบวกและลบ แม้ว่าความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ของไทย จะทำได้ดีกว่าในหลายประเทศทั่วโลก แต่ยังถือว่ามีความล่าช้า โดยเฉพาะยังมีความไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของวัคซีน และยังมีการล็อกดาวน์ในธุรกิจบางประเภทด้วย จึงถือว่าเป็นปัจจัยลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยลบอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหนี้ครัวเรือนที่ยังเพิ่มขึ้น ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ ต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้  ส่งผลต่อตลาดคอนโดมิเนียมอย่างชัดเจน   แต่อย่างไรก็ตาม ในหลากหลายปัจจัยลบต่าง ๆ ยังคงพอมีมุมมองในเชิงบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ การต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียม จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอีก 1 ปี การลดภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสิ่งสร้างเหลือ 10% การเลื่อนประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ไปในปี 2565 การเริ่มทยอยฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในหลาย ๆ ประเทศ ราคาอสังหาฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง เพราะผู้ประกอบการยังคงจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง เปิดตัวใหม่เริ่มฟื้นตัวแต่การโอนยังลด ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยถึงทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 ว่า พบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปรับตัวของผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาฯ ​โดยมีการลดจำนวนโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด  เพื่อให้ที่อยู่อาศัยที่เปิดการขายก่อนหน้านี้ ได้ถูกดูดซับออกไปจากระบบ คาดว่าปี 2564 จะมีการเปิดตัวใหม่ในกรุงเทพฯ​ และปริมณฑล จำนวน 82,594 ยูนิต เพิ่มขึ้น 32.7% จากปี 2563 ที่เปิดตัว 62,227 ยูนิต โดยการเปิดตัวใหม่จะเห็นชัดเจนได้ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2564 และคาดว่าผู้ประกอบการยังจะลงทุนในบ้านจัดสรรมากกว่าคอนโด  ซึ่งคาดว่าบ้านจัดสรรจะเปิดตัวใหม่ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 22.5% จากปี 2563 หรือมีจำนวนยูนิตประมาณ 43,732 ยูนิต ส่วนโครงการคอนโดเปิดตัวใหม่ ปี 2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 46.5% จากปี 2563  สัดส่วนอาจจะดูเพิ่มขึ้นมากแต่เป็นการเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำมากจากปี 2563 หรือมีจำนวนยูนิตประมาณ 38,862 ยูนิต   สถานการณ์ที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ ปี 2563 ถือว่าผู้ประกอบการเปิดตัวอยู่อาศัยใหม่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี โดยสัดส่วนการเปิดตัวใหม่เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิมที่คอนโดจะมากกว่าบ้านจัดสรร แต่ในปี 2563 สัดส่วนเปิดตัวใหม่บ้านจัดรรมากกว่าคอนโด เท่ากับ 57.4 ต่อ 42.6 ด้านการเปิดตัวโครงการใหม่จากการสำรวจพบว่า จำนวนยูนิตที่เปิดขายใหม่ (ไม่นับรวมบ้านมือสอง) เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปี 2563 ลดลง 36.7% จากปี 2562  โดยมีการเปิดตัวใหม่ จำนวน 62,227 ยูนิต ประกอบด้วยโครงการบ้านจัดสรรเปิดตัวใหม่ 35,702 ยูนิต ลดลง 17.9% จากปี 2562  และโครงการคอนโดเปิดตัวใหม่ 26,525 ยูนิต ลดลง 51.6% จากปี 2562 โอนบ้าน-คอนโด ยังลดลงต่อเนื่อง REIC ประเมินสถานการณ์โดยรวมว่าปี 2564 จากการเกิดขึ้นของโควิด-19 ระรอกใหม่ ทำให้มียูนิตโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 353,236 ยูนิต จะลดลง 1.5% จากปี 2563  ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบจะลดลงเพียงเล็กน้อยหรือประมาณ 0.1% ในขณะที่คอนโดจะลดลง 4.2% ปี 2563 ที่ผ่านมาการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศมีจำนวน 358,496 ยูนิตลดลง 8.5% จากปี 2562  เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ยู่อาศัยแนวราบจำนวน 236,158 ยูนิต ลดลง 10.0% จากปี 2562 และเป็นการโอนกรรมสิทธิ์โครงการคอนโด 122,338 ยูนิต ลดลง 5.5% จากปี 2562   ด้านมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์คาดว่าปี 2564 จะมีมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 876,121 ล้านบาท ลดลง 5.6% จากปี 2563  โดยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบจะลดลง 7.7% ขณะที่คาดว่ามูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดจะลดลง 1.4%   ส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2563 มีมูลค่า 928,376 ล้านบาท ลดลง 0.3% จากปี 2562  โดยเป็นการลดลงของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์คอนโด 4.7% ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 2.2% หวังเศรษฐกิจฟื้นดันยอดสินเชื่อโต 7% ขณะที่สถานการณ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยในปี 2564 คาดว่าจะมีมูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยประมาณ 595,141 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่อง 2.8% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่หากสถานการเศรษฐกิจในปีนี้กลับมาฟื้นตัวได้ในภายหลัง อาจจะทำให้สินเชื่อปล่อยใหม่กลับมาเติบโตเพิ่มขึ้น 7.0% หรือมียอดสินเชื่อ 654,655 ล้านบาท โดยในปี 2563 มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศ มีมูลค่า  612,084 ล้านบาท ลดลง 4.4% จากปี 2562 ซึ่งเป็นผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ระรอกแรก ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563 และต่อเนื่องมาถึงไตรมาส 2 แม้ว่าช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 สถานการณ์จะปรับตัวดีขึ้น และมีมาตรการออกมากระตุ้น แต่ผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ส่งผลในวงกว้างทำให้ในภาพรวมของปี 2563 การปล่อยสินเชื่อยังลดลง ใช้มาตการรัฐกระตุ้นตลาดบ้าน3-7ล. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ ยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ จึงเห็นว่าภาครัฐควรกระตุ้นตลาด ด้วยการขยายเพดานาราคาของที่อยู่อาศัย ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐที่ออกมาก่อนหน้า โดยเฉพาะกลุ่มตลาดบ้านระดับราคา 3-7 ล้านบาท เพราะเป็นตลาดหลักและครอบคลุมตลาดอสังหาฯ ได้มากถึง 80% เมื่อรวมกับกลุ่มบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท ที่ภาครัฐได้ออกมาตรการมาช่วยเหลือก่อนหน้านี้แล้ว   นอกจากนี้ เห็นว่ามาตรการที่จะให้สิทธิประโยชน์กับกลุ่มบ้านมือ 2 ด้วย เพราะปัจจุบันมาตรการด้านภาษีและค่าธรรมเนียมที่ออกมา บ้านใหม่เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ การให้สิทธิประโยชน์กับกลุ่มบ้านมือ 2 จะส่งผลดีที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งระบบ เพราะเจ้าของบ้านที่ขายบ้านเก่าไปแล้ว ก็จะต้องหาซื้อบ้านใหม่ที่ใหญ่ขึ้น หรือในทำเลใหม่ ทำให้เกิดสภาพคล่องของตลาดอสังหาฯ
โควิดทุบ SMEs ธุรกิจบริการ-ท่องเที่ยว รายได้หาย 27,000 ล้าน

โควิดทุบ SMEs ธุรกิจบริการ-ท่องเที่ยว รายได้หาย 27,000 ล้าน

โควิดระลอกใหม่ อัดธุรกิจ SMEs อ่วม แรงงานในภาคการค้าบริการและท่องเที่ยวโดนกว่า 1.3 ล้านราย จ้างงานกว่า 6.1 ล้านคน ทำรายได้ลด 27,000 ล้าน แนะรัฐพยุงกลุ่ม SMEs นิติบุคคลที่ความช่วยเหลือไม่ยังครอบคลุมกว่า 1.1 แสนราย จ้างงาน 2.5 ล้านคน ประคองธุรกิจผ่านช่วงไตรมาสแรก   การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมปี 2563 สะเทือนไปถึงภาคธุรกิจที่เปราะบาง มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดตามระดับพื้นที่ควบคุมที่รัฐใช้จึงเป็นทางออกที่ช่วยลดผลกระทบไม่ให้เหมือนกับมาตรการล็อกดาวน์ในเดือนเมษายน 2563 อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายและท่องเที่ยวที่แผ่วลง ส่งผลกระทบธุรกิจ SMEs ในภาคการค้า บริการและท่องเที่ยวกว่า 1.3 ล้านรายและจ้างงานกว่า 6.1 ล้านคน   แม้ว่าในตอนนี้ภาครัฐจะได้ออกมาตรการช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว โดยการกระตุ้นการจับจ่ายผ่านโครงการ “เราชนะ” และ โครงการ "คนละครึ่ง” ซึ่งเป็นการช่วยเหลือ Micro SMEs ในส่วนที่เป็นร้านค้าย่อย และกลุ่มคนทำงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม แต่ยังไม่ได้ครอบคลุมไปถึงกลุ่ม SMEs ที่เป็นนิติบุคคลและอยู่ในระบบภาษี ซึ่งมีจำนวนอยู่ 110,000 ราย และจ้างงานกว่า 2.5 ล้านคน รายได้ SMEs การค้าบริการ-ท่องเที่ยว ลดกว่า 27,000 ล. ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics  คาดผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ จะทำให้รายได้ของธุรกิจ SMEs ภาคการค้าบริการและท่องเที่ยวทั่วประเทศรวมลดลงกว่า 27,000  ล้านบาท โดยจะมีผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบถึง 1.3 ล้านราย มีการจ้างงานรวมกันกว่าอยู่ 6.1 ล้านคน เมื่อแยกพิจารณาตามพื้นที่มาตรการควบคุมการระบาด พบว่ากลุ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุด รายได้จะลดลงประมาณ 22,000 ล้านบาท มี SMEs ที่ได้รับผลกระทบราว 5.7 แสนราย มีการจ้างงานกว่า 3.4 ล้านคน ในขณะที่กลุ่มพื้นที่ควบคุมจะลดลง 2,700  ล้านบาท และเฝ้าระวังสูง ลดลง  2,200 ล้านบาท และมีธุรกิจที่ได้รับผลกระทบกว่า 2 แสนราย และ 5.7 แสนราย ตามลำดับ   จากโครงสร้างธุรกิจ พบข้อสังเกตว่าในพื้นที่ควบคุมสูงสุด กลุ่ม SMEs นิติบุคคลที่อยู่ในภาคการค้าบริการและท่องเที่ยว มีบทบาทสำคัญในการจ้างงานถึง 1.8 ล้านคน หรือคิดเป็น 55% ของการจ้างงาน SMEs ในพื้นที่ ส่วนกลุ่มพื้นที่ควบคุมและเฝ้าระวัง กลุ่มธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลมีสัดส่วน 20-27% ของการจ้างงานเท่านั้น ธุรกิจเสื้อผ้าสูญรายได้ 5,000 ล้าน ธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบหนัก ได้แก่ ร้านค้าปลีกเสื้อผ้า ร้านค้าเบ็ดเตล็ด โรงแรงที่พัก และร้านอาหาร ภาพรวมธุรกิจ SMEs ในภาคการค้าบริการและท่องเที่ยวที่ถูกกระทบจากการระบาดในไตรมาสแรกของปี TMB Analytics ประเมินว่าธุรกิจที่จะถูกกระทบหนักสุด คือ ธุรกิจร้านขายปลีกเสื้อผ้า รายได้ลดลงกว่า 5,000 ล้านบาท รองลงมา คือ ร้านค้าเบ็ดเตล็ด รายได้ลดลง 4,700 ล้านบาท   สาเหตุที่ธุรกิจ ร้านค้าปลีกเสื้อผ้า ร้านค้าเบ็ดเตล็ดได้รับผลกระทบมากลำดับต้น ๆ เนื่องจากมีผู้ประกอบจำนวนการมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศ สำหรับธุรกิจโรงแรม/ที่พัก รายได้ลดลง 3,800 ล้านบาท และธุรกิจร้านอาหาร รายได้ลดลง ​2,700 ล้านบาท   เมื่อเจาะลึกลงไปในธุรกิจ SMEs ที่เป็นนิติบุคคล พบว่าร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไป มีจำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดถึง 46,000 ราย มีการจ้างงาน 330,000 คน  รองลงเป็นร้านขายปลีกเสื้อผ้ามีธุรกิจอยู่ 11,000 รายจ้างงานอยู่ที่ 64,000 คน  ตามด้วยกลุ่มร้านอาหารและโรงแรมที่พัก มีจำนวนธุรกิจ 10,000 ราย และ 7,000 รายตามลำดับ มีการจ้างงานรวมกันกว่า 290,000 คน SMEs ชลบุรีโดนหนักสุด เนื่องจากผลกระทบดังกล่าวได้กระจายตัวไปทั่วประเทศ แต่ระดับความรุนแรงของผลกระทบกลับกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเป็นกลุ่มจังหวัดขนาดใหญ่ที่เศรษฐกิจพึ่งพิงภาคการท่องเที่ยวและบริการอยู่มาก โดยประเมินว่าจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ จังหวัดชลบุรี ซึ่งคาดว่า SMEs จะมีรายได้ลดลง 6,200 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 2.46 แสนคน ได้รับผลกระทบมากเพราะเป็นเมืองท่องเที่ยวซึ่งมีสัดส่วนภาคท่องเที่ยวอยู่ถึง 48% ของมูลค่าการค้าและท่องเที่ยวรวมกัน   รองลงมาคือ กรุงเทพมหานคร รายได้จะลดลง 5,000 ล้านบาท แม้ว่าจะเป็นจังหวัดขนาดใหญ่กว่าชลบุรี แต่มีสัดส่วนภาคท่องเที่ยวน้อยกว่าโดยอยู่ที่ 37.6% ส่วนลำดับรองลงไป เป็นจังหวัดสมุทรปราการ ลดลง 1,380 ล้านบาท ประจวบคีรีขันธ์ ลดลง 1,130 ล้านบาท และสุราษฎร์ธานี 1,080 ล้านบาท   โดยสรุป มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐส่วนใหญ่ครอบคลุมกลุ่ม SMEs รายย่อยเป็นหลัก จึงยังขาดมาตรการช่วยเหลือให้กับกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่เป็นนิติบุคคล เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้มีการแข่งขันสูงกับธุรกิจขนาดกลางและใหญ่ จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐต้องยื่นมือช่วยเหลือ SMEs กลุ่มนี้ให้มากขึ้น เช่น เพิ่มการเข้าถึงมาตรการกระตุ้นการจับจ่าย ช่วยจ่ายค่าจ้างแรงงานบางส่วนเพื่อลดต้นทุนให้ธุรกิจรักษาการจ้างงานไว้ จะเป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงผู้ประกอบการ SMEs และแรงงานให้ผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน  
“Affordable Housing” คำตอบของคนกรุง​ ในวันที่เงินเดือนโตไม่ทันราคาอสังหาฯ ​

“Affordable Housing” คำตอบของคนกรุง​ ในวันที่เงินเดือนโตไม่ทันราคาอสังหาฯ ​

หลายคนคงเคยตั้งเป้าหมายว่าในวันนึง เมื่อมีรายได้สูงมากพอ จะหาซื้อคอนโดมิเนียม หรือบ้านใจกลางเมืองที่ตนเองใฝ่ฝัน เพื่อจะได้อยู่ใกล้เมืองมากขึ้น เพื่อให้เดินทางได้สะดวกสบาย และใกล้แหล่งความเจริญต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า ธนาคาร โรงพยาบาล หรือโรงเรียนที่มีคุณภาพ เพื่อความสะดวกของคนในครอบครัว แต่ความเป็นจริงกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อระดับเงินเดือนของคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่นั้น เพิ่มขึ้นไม่ทันกับราคาที่พักอาศัยในเมือง ที่สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งพวกเค้าวาดฝันว่าอยากจะมีโอกาศอยู่อาศัยได้ในระยะยาว   ทางออกในการอยากเป็นเจ้าของที่พักอาศัยของตัวเองนั้น ก็ต้องเลือกโครงการที่ห่างไกลออกจากตัวเมือง เมื่อมีความต้องการที่พักอาศัยในลักษณะแบบนี้มากขึ้น บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็เลือกที่จะตั้งโครงการแบบกระจัดกระจาย และห่างไกลจากระบบขนส่งสาธารณะหลัก เพื่อให้คนกลุ่มนี้ซื้อที่พักอาศัยในราคาย่อมเยาว์ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเมืองกระจัดกระจาย (Urban sprawl) เพิ่มมากขึ้นตาม รวมทั้งยังทำให้ต้นทุนค่าครองชีพ โดยเฉพาะค่าเดินทาง สูงขึ้นมากในคนกลุ่มนี้ คนกรุงเทพฯไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยในเมืองได้ ในปัจจุบัน “คนกรุงเทพส่วนใหญ่ไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยในเมืองได้” จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติและการเคหะแห่งชาติ ในปี 2563 พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของคนกรุงเทพฯ นั้นอยู่ที่ 37,750 บาทต่อเดือน โดยหากคิดตามความสามารถในการกู้คนกลุ่มนี้จะสามารถกู้ซื้อที่อยู่อาศัยได้ในราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท (คิดเทียบเงินเดือนกับวงเงินที่จะสามารถกู้ได้ โดยคิดที่ 40% ระยะสัญญา 30 ปี และไม่มีภาระทางการเงินอื่น ๆ) ซึ่ง งบประมาณดังกล่าว คนกลุ่มนี้จะสามารถซื้อคอนโดในเขตปทุมวันได้เพียงแค่ 8 ตารางเมตร จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกรุงเทพฯ กว่า 50% ไม่มีกรรมสิทธิในที่อยู่อาศัย และมีแนวโน้มที่จำนวนจะสูงขึ้นต่อเนื่องในทุกปี เพราะ “ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตเร็วกว่ารายได้ต่อครัวเรือน”   ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบกับคนกรุงเทพฯ ในทุกระดับรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ที่ไม่มีความมั่นคงและความแน่นอนในอาชีพการงานและรายได้ และส่วนใหญ่ไม่มีเงินเก็บสำรองไว้ในยามฉุกเฉิน ในหลายๆ ประเทศ จึงมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น เพื่อให้อัตราการถือครองที่อยู่อาศัยสูงขึ้น เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งสะท้อนการลดปัญหาสังคมในเรื่องการขาดแคลนที่อยู่อาศัยได้   สำหรับประเทศไทยนั้น ภาครัฐได้เริ่มให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ด้วยการออกนโยบายเพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนหันมาลงทุน พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อยมากขึ้น ด้วยการเพิ่มสิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อลดภาระให้กับภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษี การให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือมาตรการส่งเสริมการพัฒนาด้วยการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio Bonus :FAR Bonus) ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556   แต่อย่างไรก็ตาม มาตราการดังกล่าว ยังไม่สามารถดึงดูดภาคเอกชนให้ร่วมลงทุนได้มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการได้ โดยเฉพาะมาตรการการจัดให้มีหรือพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยภายในพื้นที่โครงการ (Affordable Housing) จนถึงปัจจุบัน โครงการที่เข้าร่วมมาตรการ FAR Bonus เลือกทำเพียงมาตรการเดียวเท่านั้น ที่มีต้นทุนน้อยที่สุดและไม่ส่งผลกระทบกับโครงการ นั่นคือ มาตรการการจัดให้มีพื้นที่รับน้ำในแปลงที่ดิน ทั้งหมดนี้ทำให้โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในเขตเมืองนั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก สวนทางกับความต้องการของคนกรุงเทพฯ ที่ต้องการอยู่อาศัยในเขตเมืองกันมากขึ้น “วัฒนา-จตุจักร” ควรเพิ่ม Affordable Housing มากขึ้น ที่มา: ข้อมูลจากการเคหะแห่งชาติและสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2563   จากข้อมูลรายงาน การคาดประมาณความต้องการของที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ที่จัดทำโดยการเคหะแห่งชาติ มีการคาดประมาณว่าเฉพาะในปี 2564 ความต้องการที่อยู่อาศัยของจำนวนครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 4,972 ครัวเรือน โดยเขตที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยของครัวเรือนของคนกลุ่มดังกล่าวมากที่สุดคือ เขตจตุจักร จำนวน 166 ครัวเรือน รองลงมา คือ เขตบางเขน จำนวน 166 ครับเรือน และเขตบางกะปิ จำนวน 163 ครัวเรือน ตามลำดับ   เมื่อเปรียบเทียบข้อมูล ระหว่างระดับความต้องการที่อยู่อาศัย ของจำนวนครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย (Real demand) กับความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย ของครัวเรือนที่มีรายได้น้อย (Affordability) พบว่า เขตวัฒนา​และเขตจตุจักร เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาโครงการ Affordable Housing มากที่สุด ทั้งในด้านอุปสงค์ (Demand) และด้านการเพิ่มโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อย สามารถเข้าถึงอสังหาริมทรัพย์ในเขตเมือง ที่มีราคาตลาดสูงกว่าความสามารถในการซื้อของคนกลุ่มดังกล่าว นอกจากนั้น โครงการในเขตเมืองเหล่านี้ ยังสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มดังกล่าวได้ ไม่ว่าจะเป็น -การเข้าถึงบริการสาธารณะได้ง่ายขึ้น -ลดต้นทุนด้านเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง -เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิต เป็นต้น ถ้าภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันพัฒนาโครงการ (Joint development) หรือสนับสนุนให้ภาคเอกชนพัฒนาโครงการที่พักอาศัยสำหรับคนทุกระดับรายได้ (Affordable housing) มากขึ้น ภายใต้แผนพัฒนาเมืองที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสอยู่อาศัยภายในเมือง จะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมลงได้ รวมทั้งช่วยเพิ่มอัตราการถือครองกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ สูงขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนแนวความคิดการพัฒนาเมืองสมัยใหม่อย่างยั่งยืน ที่เรียกว่า “การพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Development)”       บทความโดย -นายภาวิน ศิริพงษ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – MRE (รุ่น 19) -ดร.พรรัตน์ พงษ์ประเสริฐ อาจารย์ประจำ ภาควิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์