Tag : Money

360 ผลลัพธ์
แอสเซทไวส์ พร้อมขาย IPO หลังก.ล.ต.อนุมัติให้ระดมทุน 206 ล้านหุ้น

แอสเซทไวส์ พร้อมขาย IPO หลังก.ล.ต.อนุมัติให้ระดมทุน 206 ล้านหุ้น

แอสเซทไวส์  ยิ้มรับ ก.ล.ต. อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้น ASW เล็งหาจังหวะความพร้อมดีเดย์ขายหุ้น IPO ชี้ 9 เดือนแรกปี 63 ทำกำไรกว่า 886 ล้าน ขณะที่ปี 64 ได้โปรเจ็กต์พร้อมโอนหนุนรายได้เติบโต    นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” (We Build Happiness) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม เพื่อเสนอขายหุ้น IPO และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตามแผนที่วางไว้ หลังจากเตรียมตัวมากว่า 3 ปี   ทั้งนี้ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน  ได้มีการเตรียมความพร้อม และอยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสนอขายหุ้น IPO ASW และที่ปรึกษาทางการเงิน อยู่ระหว่างติดตามดูแนวโน้มเศรษฐกิจ และบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น รวมถึงพิจารณาความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ  หากสถานการณ์โดยรวม มีความชัดเจนมากขึ้น บริษัทฯ ก็พร้อมเดินหน้าเสนอขายหุ้นไอพีโอและพร้อมเข้าจดทะเบียนใน SET ได้อย่างแน่นอน  ASW มีแผนจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 206 ล้านหุ้น คิดเป็น 27.07% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชําระแล้วทั้งหมดหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ โดยกลุ่มบริษัท ASW มีบริษัทย่อยทั้งหมด 15 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักคือ ธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ทั้งโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม และโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทแนวราบ ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมและโฮมออฟฟิศ จำนวน 12 บริษัท และบริษัทย่อยอีก 3 บริษัท ประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่า, ธุรกิจรับฝากขายฝากเช่า   สำหรับภาพรวมของผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2563 ที่ผ่านมา  ASW มีรายได้จากการขายและบริการรวม  2,176.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันจากปีก่อนที่ทำได้  1,779.30 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิ 307.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 110.51 % จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้  146.00  ล้านบาท  โดยกลุ่มบริษัทมีกำไรขั้นต้นเท่ากับ 886.20 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นที่ 40.72%   ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส​4 ปี 2563 บริษัทฯ ได้มีการเปิดขายโครงการโดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการบนทำเลศักยภาพที่มีความต้องการอยู่อาศัยจริงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการโมดิซ ราห์ม รามคำแหง (Modiz Rhyme Ramkhamhaeng) ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง ซึ่งเป็นทำเลที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี (อ่านข่าวเพิ่มเติม...“แอสเซทไวส์” แบ่งเฟสขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19)   นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาทำเลในกลุ่มตลาดบลู โอเชี่ยน เนื่องจากมีกำลังซื้อที่มีสัญญาณดีต่อเนื่อง เช่น โครงการโมดิซ ลอนซ์ (Modiz Launch)  ทำเลย่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า และโครงการทาวน์โฮมแนวคิดใหม่ “บ้านภูริปุรี คอร์ทยาร์ด – พัฒนาการ” (Baan Puripuri Courtyard - Pattanakarn) โครงการทาวน์โฮมที่มีดีไซน์ Private Courtyard ใจกลางบ้านในระดับราคา 14.2 – 22 ล้านบาท  ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บ้านภูริ ปุรี โฮลดิ้ง จำกัด ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่องไปในปี 2564 เช่น  โครงการแอทโมซ รัชดา - ห้วยขวาง (Atmoz Ratchada - Hauikwang) (อ่านรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม....แอสเซทไวส์ เปิดตัว “แอทโมซ รัชดา-ห้วยขวาง”)  และโครงการเคฟ ทาวน์ สเปซ (Kave Town Space) ซึ่งเป็นโครงการคอนโดมิเนียมใกล้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  โดยโครงการต่าง ๆ จะสนับสนุนให้ผลประกอบการในปีนี้เติบโตได้เป็นอย่างดี   ในช่วงไตรมาส 1/2564 บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าการเปิดขายโครงการอย่างต่อเนื่องในทำเลศักยภาพที่รองรับการขยายของเมืองและระบบคมนาคมเส้นทางใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการด้านการอยู่อาศัยของลูกค้าอย่างแท้จริง
เอพี ไทยแลนด์ เตรียมขึ้นเบอร์ 1 ผู้นำอสังหาฯ ปี 63 

เอพี ไทยแลนด์ เตรียมขึ้นเบอร์ 1 ผู้นำอสังหาฯ ปี 63 

เอพี ประกาศความสำเร็จก้าวข้ามผ่านวิกฤตมาได้อย่างสวยงาม มุ่งสู่การเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรม คาดยอดโอนรวมปี 63 สูงถึงประมาณ 46,000 ล้านบาท โตกว่า 40% จากปี 2562 เชื่อจะเป็นยอดโอนที่มากที่สุดในตลาด       นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในรอบปี 2563 คาดว่าจะทำยอดโอนรวมเกือบ 46,000 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ 40,550 ล้านบาท หรือโตกว่า 40% จากปี 2562 และคาดว่าน่าจะเป็นยอดโอนที่มากที่สุดในตลาด พร้อมคาดการณ์ผลกำไรรวมทั้งปี 63 จะเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ ผลการดำเนินงานดังกล่าว มาจากความสำเร็จในการส่งมอบสินค้า ทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท และสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา และมั่นใจว่าเอพี ไทยแลนด์จะสามารถมุ่งสู่การเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมอสังหาฯ ไทย นายวิทการ กล่าวอีกว่า  ความสำเร็จของบริษัท เกิดจากความพร้อมของพนักงานในองค์กรกว่า 2,000 คน ในการตั้งรับกับการปรับตัวที่รวดเร็วจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ตลอดจนความเข้มแข็งในการทำงานโดยมองไปที่เป้าหมาย EMPOWER LIVING เดียวกัน ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการกระแสเงินสดที่รัดกุม ส่งผลให้บริษัท สามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตมาได้อย่างมั่งคง สร้างผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในทุกไตรมาส   ทั้งนี้ อีกหนึ่งคีย์ซัคเซสสำคัญนอกเหนือจากการมีทีมงานที่แข็งแกร่งแล้ว นั่นคือแผนการบริหารจัดการภายในองค์กรที่ดำเนินควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพอร์ตสินค้าที่นำมาซึ่งการตอบรับที่ดีจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมานอกจากความสำเร็จในการขายและโอนกรรมสิทธิ์สินค้าในกลุ่มธุรกิจแนวราบแล้วนั้น บริษัท  ยังได้รับการตอบรับที่ดีมากจากการโอนสินค้ากลุ่มคอนโดมิเนียม โดยมี LIFE ลาดพร้าว LIFE อโศก-พระราม 9 LIFE วัน ไวร์เลส และ Aspire อโศก-รัชดา เป็นคีย์สำคัญ ทั้งนี้ปี 2563 ที่ผ่านมาบริษัทฯ เปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 40 โครงการ รวมมูลค่า 45,020 ล้านบาท เป็นบ้านเดี่ยว 18 โครงการ มูลค่า 20,860  ล้านบาท ทาวน์โฮม 18 โครงการ มูลค่า 18,530 ล้านบาท และโครงการในต่างจังหวัด 3 โครงการ มูลค่า 2,430 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม 1 โครงการ มูลค่า 3,200 ล้านบาท   บริษัทยังคงดำเนินแผนธุรกิจด้วยความรัดกุม ควบคู่ไปกับความพร้อมที่จะปรับตัวอย่างรวดเร็ว ด้วย  การบริหารจัดการกระแสเงินสด ภายใต้พันธกิจใหญ่ขององค์กร “EMPOWER LIVING” ที่พร้อมเติมเต็มทุกเป้าหมายของชีวิต ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและมีความหมาย
8 บทสรุปผลงาน “แสนสิริ” ทุบสถิติยอดโอนสูงสุดรอบ 36 ปี​

8 บทสรุปผลงาน “แสนสิริ” ทุบสถิติยอดโอนสูงสุดรอบ 36 ปี​

แสนสิริ ปิดผลงานปี 63 สร้างประวัติศาสต์โอนสูงสุดรอบ 36 ปี ทะลุ 45,000 ล้าน หลังปรับเป้าทั้งปีถึง 4 ครั้ง ชี้ คีย์ซัคเซส คือ กลยุทธ์ “Speed to Market” และโปรโมชั่นโดนใจลูกค้า ​   นายอุทัย  อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมาแสนสิริประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าทั้งในด้านการขายและโอนโครงการ   สำหรับ 8 บทสรุปผลการดำเนินงานของปี 2563 ที่ทำให้สามารถสร้างยอดโอนได้สูงสุดในรอบ 36 ปี ได้แก่ 1.ปิดการขายโครงการที่อยู่อาศัยไปถึง 35  โครงการ มูลค่ารวมกว่า 64,600 ล้านบาท   2.มียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สร้างเสร็จและส่งมอบให้กับลูกค้า 45,000  ล้านบาท เกินจากเป้าหมายใหม่ที่มีการปรับล่าสุดในช่วงปลายปี คือ 43,000 ล้านบาท สร้างประวัติศาสต์การโอนที่สูงสุดในรอบ 36 ปี และเติบโตจากปี 2562 ถึง 45%   3.ปี 2563 มีการปรับเป้ายอดโอน 4 รอบ ซึ่งช่วงต้นปีวางเป้าหมายยอดโอน 33,000 ล้านบาท และช่วงปลายปีได้ปรับเป้าหมายเป็น 43,000 ล้านบาท   4.ปี 2563 มียอดโอนจากโครงการคอนโดมิเนียมสูงถึง 25,500 ล้านบาท โตจากปีก่อนถึง 50% มีการปิดการขายและโอนโครงการภายใต้พอร์ต Sansiri Luxury Collection ด้วยกันถึง 3 โครงการ คือ 98 Wireless แฟล็กชิพคอนโดมิเนียมซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ บ้านแสนสิริ พัฒนาการ แฟล็กชิพบ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ เดอะ โมนูเมนต์ ทองหล่อ ลักซ์ชัวรี่คอนโดมิเนียมใจกลางย่านทองหล่อ 5.ปี 2563 มียอดโอนโครงการแนวราบ 19,500 ล้านบาท โตขึ้น 39% จากปีก่อน มีการปิดโครงการลักซ์ชัวรี่แนวราบ ได้แก่ ไทเกอร์ เลน  ลักซ์ชัวรี่โฮมออฟฟิศบนที่สุดของทำเลทอง ไพร์มโลเคชั่นตำแหน่งฮวงจุ้ยท้องมังกร ที่หายากใจกลางย่านเสือป่า เยาวราช และปิดการขายโครงการบ้านเดี่ยวนาราสิริ บางนา และ นาราสิริ พุทธมณฑล สาย 1 เป็นต้น   6.กลยุทธ์ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ กลยุทธ์ “Speed to Market” ที่มีการปรับแผนรับมือสถานการณ์โควิด-19  การรุกการขายในทุกช่องทาง ผ่าน Multi-channel และการนำเสนอโปรโมชั่น อาทิ -“มีเงินเดือนเริ่มต้น 18,000 บาทก็เป็นเจ้าของสิริ เพลส ได้ง่ายๆ” -“โปรลื่นปรื้ด” -“แสนสิริผ่อนให้ 24 เดือน” 7.การบริหารเงินสดในมือที่ดี (Cash is King) มีกระแสเงินสดที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ 15,000 ล้านบาท   8.เป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้บริโภค ด้วย 2 รางวัลคุณภาพ ทั้งจาก Marketeer : No.1 Brand Thailand ปี 2019-2020  และ รางวัลจาก Terra BKK : The Most Powerful Real Estate Brand 2020 รักษาแชมป์ 3 ปีซ้อน   นายอุทัย กล่าวอีกว่า ในระยะยาว บริษัทยังมียอดขายรอโอน (Backlog) (รวมโครงการร่วมทุนในคอนโดมิเนียม) มูลค่ารวมประมาณ 24,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การพัฒนาของแสนสิริ 19,800 ล้านบาท และยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การร่วมทุนอีก 4,200 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566 ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แสนสิริเป็นอย่างดีและเสริมความแข็งแกร่งในทุกสภาวะเศรษฐกิจ
อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนมกราคม 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนมกราคม 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน เริ่มต้นปี 2564 ที่เรายังคงต้องอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หากเราไม่ประมาทและยังคงอยู่ภายใต้มาตรฐานด้านสาธารณสุข และไม่ไปยังพื้นที่เสี่ยง โควิด-19 ก็ทำอะไรเราไม่ได้   แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ความต้องการมีที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง ก็ยังคงมีอยู่ เพราะบ้านคือปัจจัย 4 สำคัญของการมีชีวิต  ใครวางแผนจะมีบ้านสักหลัง หรือคอนโดมิเนียมใหม่สักห้อง  ปีนี้ก็เป็นอีกปีที่ถือว่าเป็นจังหวะที่ดี เพราะดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารยังคงอยู่ในอัตราที่ต่ำ ประกอบกับ ดีเวลลอปเปอร์ก็ยังคงทำแคมเปญออกมากระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง   ลองมาดูกันว่า ดอกเบี้ยธนาคารไหนมีอัตราเท่าไร เราอัพเดทมาให้แล้ว สำหรับดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านใหม่ประจำเดือนมกราคม 2564 ​​ อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ธนาคารกรุงเทพ เฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.22% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% หลังจากนั้น MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.28% (หมายเหตุ : อัตราดอกเบี้ย คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) สำหรับลูกค้าทั่วไป  วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.22% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% หลังจากนั้น MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.28% (หมายเหตุ : อัตราดอกเบี้ย คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) วงเงินตั้งแต่ 3 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.625% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.375% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-0.875% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.45% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.625% หลังจากนั้น MRR-0.875% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.47% (หมายเหตุ : ดอกเบี้ยคำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 4 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.25% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.57% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.59% (หมายเหตุ : ดอกเบี้ยคำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 4 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับผู้ที่ยื่นคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.– 31 ธ.ค. 63 โดยผู้กู้ต้องลงนามในสัญญากู้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุมัติสินเชื่อ และจดทะเบียนจำนองพร้อมเบิกเงินกู้งวดแรกหรือทั้งหมดภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญากู้ -พนักงานที่มีรายได้ประจำ หมายถึง พนักงานที่มีรายได้หลัก หรือมีความสามารถในการชำระคืนหลัก จากรายได้ประจำ -รูปแบบการชำระแบบคงที่ เลือกผ่อนได้ทุกทางเลือก/รูปแบบการผ่อนชำระแบบขั้นบันได เลือกผ่อนได้เฉพาะทางเลือกที่ 1 -อัตราส่วนวงเงินกู้สูงสุด และมูลค่าหลักประกัน ให้เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค. 63 เท่ากับ 5.75% ต่อปี​ -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไข​ ธนาคารกสิกรไทย สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ประจำ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.77% หลังจากนั้นจนสิ้นสุดสัญญา MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.20% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (20 ปี) เท่ากับ 5.21% สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.27% หลังจากนั้น จนสิ้นสุดสัญญา MRR-0.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (20 ปี) เท่ากับ 5.71% อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% (ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63) หมายเหตุ -ระยะเวลากู้สูงสุด 30 ปี -รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อธนาคาร ธนาคารกรุงไทย ประเภทสินเชื่อบ้านกรุงไทย…สุขใจถ้วนหน้า ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.90% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย MRR-2.40% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-2.40% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.22% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.90% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย  MRR-2.25% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.26% อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี ผ่อนล้านละ 3,500 บาท 3 ปีแรก แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.24% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.15% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.24% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.54% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.15% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.28% อัตราดอกเบี้ยลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.37% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.25% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.27% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.29% ประเภทสินเชื่อบ้านกรุงไทย…สุขใจถ้วนหน้า ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ กรณีธนาครออกค่าจดจำนองให้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.64% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.95% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.35% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.64% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.65% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.39% อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี   แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.44% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.36% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.74% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.40% อัตราดอกเบี้ยลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.04% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.37% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.94% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.41% หมายเหตุ -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ 1.ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี 2.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ หรือ ระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ -ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,600 บาทต่อเดือน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านกรุงศรี เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไป สำหรับวงเงินกู้ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.35% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.82% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.30% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.50% ปีที่ 1 เดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.60% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.35% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 4.21% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.52% สำหรับวงเงินกู้ ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.52% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.02% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.25% ปีที่ 1 เดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.95% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.89% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.23% หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. 63 ถึง 31 มี.ค. 64 -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และ ฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปีในกรณีที่ลูกค้าซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เฉพาะในปีที่ 1จากอัตราดอกเบี้ยทุกทางเลือก ลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้ 1.ผลิตภัณฑ์ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการได้แก่ MRTA : แผนกรุงศรี เซฟตี้โลน 1 พลัส หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 1 หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 2 MLTA : กรุงศรี รักบ้าน รักคุณ หรือกรุงศรี รักบ้าน รักคุณ พลัส เท่านั้น 2.กรณีผู้กู้หลักเป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ประจำต้องซื้อ MRTA/MLTA 100% ของ วงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 70% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 20 ปี 3.กรณีผู้กู้หลักเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องซื้อ MRTA/MLTA อย่างน้อย 80% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 50% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี 4.กรณี มีผู้กู้ร่วม สามารถซื้อ MRTA/MLTA เฉพาะผู้กู้หลักเพียงคนเดียวได้หรือหากผู้กู้ร่วมประสงค์ที่จะซื้อ MRTA/MLTA ด้วย ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องมีทุนประกันขั้นต่ำในสัดส่วนที่เท่ากัน ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติตามที่ลูกค้าได้เลือกไว้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทประกันไม่อนุมัติ MRTA/MLTA หรือในกรณีที่ลูกค้าขอยกเลิก MRTA/MLTA  ธนาคารเกียรตินาคิน  สินเชื่อบ้านวงเงินกู้ตั้งแต่ 5 แสนบาทแต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ประเภทลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ (MLR-4.41%)-(MLR-3.31%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ (MLR-4.41%)-(MLR-3.15%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% ประเภทคงที่ 3 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0.00%-3.99% ปีที่ 4-5 (MLR-3.00%)-(MLR-1.75%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0.00%-3.99% ปีที่ 4-5 (MLR-3.00%)-(MLR-1.75%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% ประเภทคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.69%-2.79% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย (MLR-4.01%) – (MLR-3.51%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.94%-3.04% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย (MLR-3.76%) – (MLR-3.26%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับ ปัจจัยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ย ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา  (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการให้บริการและเว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เท่ากับ 6.525% ต่อปี 3.กรณีที่ทำประกัน สมัครประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อกับบริษัทประกันที่ธนาคารกำหนด (MRTA) ทุนประกันภัย100% และระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลากู้สินเชื่อไม่ถึง 10 ปี ให้ระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำเท่ากับระยะเวลาการกู้สินเชื่อ 4.ระยะเวลากู้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สูงสุด 30 ปี (อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปีสำหรับพนักงานเงินเดือนประจำ และไม่เกิน 70 ปีสำหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) ธนาคารซีไอเอ็มบี  ดอกเบี้ยสำหรับพนักงานประจำ หรือเจ้าของกิจการ รายได้ 50,000 บาทต่อขึ้นไป แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-5 ดอกเบี้ย  4.49% อัตราเฉลี่ย​ 5 ปี ดอกเบี้ย 4.49% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.00% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-5 ดอกเบี้ย  4.79% อัตราเฉลี่ย​ 5 ปี ดอกเบี้ย 4.79% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.12% สำหรับพนักงานประจำรายได้ 15,000 บาท หรือ เจ้าของกิจการ รายได้ 30,000 บาท แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-3.0% อัตราเฉลี่ย​ 3 ปี ดอกเบี้ย 4.35% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.10% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-2.7% อัตราเฉลี่ย​ 3 ปี ดอกเบี้ย 4.65% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.18% ธนาคารทีเอ็มบี อัตราดอกเบี้ย ซื้อบ้านจากโครงการทั่วไป กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.05% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย MRR-1.63% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.45% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-2.23% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.05% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย MRR-1.63% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.46% ทางเลือกที่ 3 (เพิ่มฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.38% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย MRR-1.63% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.56% ทางเลือกที่ 4 (เพิ่มฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-1.88% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.40% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย MRR-1.63% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.57% กรณีสมัครไม่ครบผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 4.90% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-1.38% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.90% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย MRR-1.38% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.90% ทางเลือกที่ 6 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-1.48% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.80% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย MRR-1.38% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.87% หมายเหตุ เมื่อคุณกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบีคุ้มบ้าน (MRTA) 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีเอ็มบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต TMB (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต TMB แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ข้อเสนอพิเศษเมื่อกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท นอกจากดอกเบี้ยคงที่ต่ำสำหรับ 3 ปีแรกแล้ว คุณยังได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง: TMB จ่ายให้ 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท สำหรับกรณีซื้อบ้าน จากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง สำหรับกรณีที่กู้ซื้อบ้านกับ TMB โดยไม่สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท จะได้รับอัตราดอกเบี้ยปกติจาก TMB โดยยังได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร EIR (Effective Interest Rate : อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา) เป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น โดยคำนวณจาก เงินกู้ 3 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี / MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ธนาคารไทยพาณิชย์ แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.995% ปีต่อไป MRR อัตราเฉลี่ย 3 ปี 5.995% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.995% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.950% ปีต่อไป MRR อัตราเฉลี่ย 3 ปี 5.950% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.983% ธนาคารธอส. สินเชื่อบ้านโครงการจัดสรร (ยกเว้นค่าธรรมเนียมยื่นกู้ 0.1% ของวงเงินนิติกรรม) ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.80% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย MRR-3.35% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-2.65% ปีที่ 4 ตลอดอายุสัญญา -กรณีลูกค้าสวัสดิการ MRR-1.00% -กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป MRR-0.50% หมายเหตุ : MRR = 6.15% ประกาศวันที่ 25 พ.ค.63 ธนาคารยูโอบี สินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับโครงการของบริษัทมหาชน (ยื่นขอสินเชื่อวันที่ 4 ม.ค.64 – 31 มี.ค. 64 และจดจำนองภายใน 30 เม.ย.64) ทางเลือก 1 กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.35% ปีที่ 3 MRR-4.00% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.35% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.79% ทางเลือก 2 กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.55% ปีที่ 3 MRR-3.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.87% ทางเลือก 3 กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.80% ปีที่ 3 MRR-2.60% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.80% ทางเลือก 4 กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.00% ปีที่ 3 MRR-2.40% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.88% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาคารยูโอบี -ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ -ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR=7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ แบบที่ 1 สำหรับผู้กู้มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบ 1.1 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 1.90% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.85% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.54% แบบที่ 1.2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.00% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.65% แบบที่ 1.3 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.50% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.50% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 1.4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.70% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน 3 ปีแรก ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 2 สำหรับผู้กู้มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบ 2.1 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.00% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 2.2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.20% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 2.3 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.55% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.60% แบบที่ 2.4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.75% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน 3 ปีแรก ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.73% เงื่อนไข 1.สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อบ้านใหม่ในโครงการจัดสรร ดอกเบี้ยเริ่มต้น 1.90% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรืออัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.00% สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.63-31 ม.ค. 64 เท่านั้น 2.กรณีลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1%  ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงสัญญาใด ๆ ภายใน 5 ปีแรกทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 3.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี 4.ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำล้านละ 3,500 บาท ได้ในแบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้น 5. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.350% (ณ วันที่ 14 เม.ย. 63) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย 6.อัตราดอกเบี้ย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเคหะ กรณีผู้กู้ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 3.49% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-1.25% กรณีผู้กู้ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 3.99% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-0.75%   บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนธันวาคม 2563
5 วิธีปลดหนี้ไว รับรองว่าใช้ได้ผลจริง!

5 วิธีปลดหนี้ไว รับรองว่าใช้ได้ผลจริง!

จะดีแค่ไหน? ถ้าปีใหม่ 2564 เป็นปีที่เราสามารถเริ่มต้นสร้างอิสรภาพทางการเงินได้ ซึ่งก้าวแรกของการมีอิสรภาพทางการเงิน ก็คงเริ่มต้นด้วยการเป็นคนไม่มีหนี้สิน ไม่ต้องมีภาระมาเบียดบังรายได้ที่เข้ามา  การไม่มีหนี้สิน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการมีอิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง   แล้วทำอย่างไร? เราถึงจะสามารถปลดหนี้สินที่พะรุงพะรัง สร้างปัญหากวนใจของเราได้บ้าง หรือแม้ว่าหนี้สินที่มีอยู่จะไม่ได้หมดลงทั้งหมด แต่อย่างน้อยปีนี้หนี้สินที่มีอยู่ก็ลดน้อยลงไปได้บ้าง วันนี้เรามีเทคนิควิธีปลดหนี้ไว และใช้ได้ผลจริง เป็นบทความจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) มาให้ได้ลองทำตามกันดู   ปัจจุบันหนี้สินที่มีอยู่อาจจะเกิดขึ้นได้ง่าย  จากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือการชอปปิงออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งการที่มีจำนวนหนี้ที่เพิ่มมากขึ้นบวกกับค่าครองชีพที่แพง สวนทางกับรายได้ที่มีอยู่เท่าเดิม ทำให้หนี้กลายเป็นภาระที่รัดแน่นและนำไปสู่ปัญหาชีวิตในด้านอื่น ๆ ตามมา   จะดีกว่าไหม? ถ้าคุณสามารถปลดหนี้หนี้ที่มีอยู่ให้หายไปได้ด้วยการปฏิบัติตาม 5 วิธีปลดหนี้ไวที่นำมาฝากกัน ดังนี้ 1.แยกประเภทหนี้ให้ถูกต้อง ในกรณีที่มีหนี้สินหลายก้อน แนะนำให้เริ่มต้นจากการจัดหมวดหมู่หนี้ออกมาเป็นประเภท เพื่อเป็นการจัดลำดับหนี้สินที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยทำให้สามารถตัดสินใจได้ว่า หนี้ในส่วนไหนเป็นเงินคงค้างที่ต้องได้รับการชำระก่อน-หลัง โดยคุณสามารถแบ่งแยกหนี้ที่มีออกเป็น 2 กลุ่มได้ดังนี้ หนี้ดี – หนี้ไม่ดี  การปลดหนี้ด้วยการคัดแยกหนี้ดีและหนี้ไม่ดี เป็นวิธีการจัดหมวดหมู่หนี้ไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้พฤติกรรมการใช้เงินที่ก่อให้เกิดหนี้ตามมาได้ในทีเดียว โดยจะต้องจำแนกให้ได้ว่า หนี้ที่มีอยู่หลายก้อนนั้นเป็นหนี้ที่สามารถสร้างรายได้กลับมาให้ในภายหลัง (หนี้ดี) หรือเป็นหนี้ที่ไม่ได้สร้างประโยชน์ตามมาเลย (หนี้ไม่ดี)   ยกตัวอย่างหนี้ทั้ง 2 รูปแบบ เช่น หนี้จากการซื้อสินค้า เสื้อผ้า หรือของใช้ต่าง ๆ ที่เป็นสินค้าตามแฟชั่น ตลอดไปจนถึงการกินอาหารหรูมื้อละหลายร้อยบาท ทั้งหมดนี้เป็นหนี้ไม่ดีที่เกิดจากความฟุ่มเฟือยของตัวเอง   ส่วนประเภทหนี้สินที่เกิดจากการลงทุนอย่างการปล่อยเช่าอสังหาฯ จะเป็นหนี้ที่จัดอยู่ในประเภทหนี้ดีที่สามารถสร้างรายได้จากค่าเช่า ซึ่งช่วยในการผ่อนทรัพย์สินที่ซื้อมา แถมยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามเวลาหากต้องการจะขายในภายหลังก็ยังสร้างกำไรให้กับเจ้าของหนี้ได้อีกด้วย จัดลำดับหนี้ตามอัตราการเสียดอกเบี้ย หลังจากจำแนกหนี้ดี-หนี้ไม่ดีได้แล้ว ก็ให้นำหนี้ทั้ง 2 ประเภทมาจัดอันดับและแยกแยะเพื่อเข้าสู่กระบวนการปลดหนี้ในขั้นต่อไป นั่นก็คือ การเรียงลำดับว่า หนี้ก้อนไหนเป็นหนี้สินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยมากที่สุด ให้เริ่มปลดหนี้ส่วนนั้นก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อหยุดวงจรการทบต้นทบดอกของหนี้ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้ปลดหนี้ได้ไวยิ่งขึ้นด้วย 2.หยุดวงจรการสร้างหนี้ ในระหว่างที่ยังชำระหนี้เก่าไม่หมดก็ต้องหยุดการสร้างหนี้ใหม่ด้วยมาตรการรัดเข็มขัดให้ตัวเอง ซึ่งคุณสามารถศึกษาวิธีการ ลด ละ เลิก การสร้างหนี้ได้ดังนี้ ตัดภาระรายจ่ายที่ไม่จำเป็น  วิธีการหยุดวัฏจักรหนี้คงค้าง สิ่งแรกที่ต้องเริ่มทำเลยคือ การเริ่มต้นควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น โดยการหั่นรายจ่ายต่างๆ ที่เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยที่ทำให้กระแสเงินสดของคุณสะดุด เช่น การชอปปิง, การสังสรรค์, การท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการช่วยปลดหนี้ เพราะคุณสามารถนำเงินส่วนนี้มาใช้ในการปลดหนี้บางส่วนได้ก่อนที่ดอกเบี้ยจะบานปลาย หยุดการใช้บัตรเครดิต   บัตรเครดิตถือเป็นตัวช่วยในการจับจ่ายใช้สอยสำหรับคนในยุคปัจจุบัน แต่ด้วยรูปแบบการใช้งานที่แสนสะดวกสบาย ใช้ผ่อนสินค้าง่าย แถมยังมีส่วนลดล่อตาล่อใจ ทำให้บัตรเครดิตกลายเป็นตัวสร้างหนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน   ถ้าคุณมีบัตรเครดิตหลายใบและไม่สามารถวางแผนการใช้งานได้ แน่นอนว่า จะสร้างหนี้เกินกว่าที่จะจ่ายไหว ดังนั้น คุณจะต้องหยุดการใช้บัตรเครดิตเพื่อเป็นการปลดหนี้บัตรเครดิตให้หมดไว  ซึ่งถือเป็นการปรับเปลี่ยนนิสัยการใช้จ่ายให้ดีขึ้นได้ด้วย ห้ามยุ่งกับการกู้หนี้นอกระบบ แม้จะอยู่ในช่วงที่กระแสเงินสดขาดมือมากขนาดไหนก็ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการกู้หนี้นอกระบบเด็ดขาด เพราะการกู้หนี้นอกระบบจะทำให้คุณเจอกับเจ้าหนี้ที่คิดดอกเบี้ยในอัตราที่เกินกว่ากฎเกณฑ์ ทำให้หนี้สินที่มีอยู่เพิ่มมากขึ้นเกินกว่าความสามารถในการจ่าย แถมยังเสี่ยงอันตรายกับการถูกตามทวงหนี้ด้วยวิธีนอกกฎหมายอีกด้วย เลิกใช้วิธีหมุนเงินเพื่อโปะยอดหนี้ การยืมเงินจากเพื่อนอีกคนหนึ่งมาโปะยอดหนี้ของเพื่อนอีกคนหนึ่ง หรือการใช้วิธีถอนเงินสดจากบัตรเครดิตออกมาเพื่อใช้จ่ายหนี้อื่น ๆ ทั้งหมดนี้ล้วนไม่ใช่วิธีที่ทำให้คุณปลดหนี้ได้ แถมยังมีโอกาสเพิ่มหนี้สินจากการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในส่วนที่หยิบยืมเงินจากอนาคตมาใช้ รวมถึงอาจทำให้เสียความเชื่อใจกับคนรอบข้างได้ด้วย   ดังนั้น การปลดหนี้ให้ได้ผลจึงควรเลิกใช้วิธีการหมุนเงินเพื่อโปะยอดหนี้คงค้างเดิม แต่ควรจะเริ่มจากการลดค่าใช้จ่าย และเริ่มปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ด้วยการวางแผนการชำระหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.ปรับแผนทางการเงินใหม่ วิธีการที่จะช่วยทำให้ปลดหนี้ได้เร็วและยั่งยืนมากที่สุด คงจะหนีไม่พ้นการเริ่มต้นปรับแผนทางการเงินใหม่ ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะช่วยลดหนี้และควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีแล้ว ยังเป็นพื้นฐานของการวางแผนทางการเงินให้ชีวิตสามารถบรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งใจในระยะยาวได้อีกด้วย   โดยในบทความนี้จะขอหยิบยกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินที่จะช่วยทำให้คุณปลดเปลื้องภาระหนี้ที่มีอยู่ออกไปได้จนหมด และสร้างวินัยทางการออมขั้นเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วย 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 วางแผนรายรับ-รายจ่าย สาเหตุที่คนเรามักมีพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินตัว เป็นเพราะมองไม่เห็นว่าในแต่ละเดือนเราหมดเงินไปกับสิ่งต่าง ๆ มากน้อยแค่ไหน   ดังนั้น การเริ่มต้นปลดหนี้ด้วยการวางแผนรายรับ-รายจ่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้มองเห็นภาพกว้างมากขึ้นว่า ในแต่ละเดือนควรสร้างสมดุลให้กับรายรับและรายจ่ายให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ด้วยการสร้าง 2 บัญชีหลักไว้สำหรับบันทึกค่าใช้จ่าย ดังนี้ บัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวัน  เป็นรูปแบบบัญชีที่ช่วยในการสำรวจตัวเองว่า การใช้เงินในแต่ละวันเกินงบที่ตั้งไว้แต่แรกหรือไม่ มีค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่เสียไปแบบเปล่าประโยชน์เพราะพฤติกรรมแบบเดิม ๆ หรือเปล่า   เช่น ค่าเครื่องดื่มอย่างน้ำอัดลม ชา กาแฟ ที่ต้องจ่ายวันละ 20-30 บาท ฯลฯ เงินจำนวนนี้อาจจะเป็นเงินจำนวนเล็กน้อยในแต่ละวัน แต่เมื่อนำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวันมาดูพร้อมกันก็จะเห็นความฟุ่มเฟือยที่อาจไม่จำเป็นเกิดขึ้นแบบซ้ำ ๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีสำหรับการปลดหนี้ เนื่องจากไม่สามารถลดรายจ่ายได้เลย   ดังนั้น บัญชีประเภทนี้จึงเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ให้เห็นว่า คุณควรจะเริ่มปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายในแต่ละวันอย่างไร ถึงจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง บัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำเดือน  เป็นบัญชีภาพรวมที่จะทำให้มองเห็นค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนว่ามีสัดส่วนเป็นอย่างไร โดยต้องทำการแบ่งหมวดหมู่การใช้จ่ายเงินในแต่ละเดือนเอาไว้ว่า มีรายรับและรายจ่ายอะไรที่หมุนเวียนในเดือนนั้นๆ บ้าง และควรลดสัดส่วนการใช้จ่ายตรงไหนถึงจะสามารถหักลบกลบกับหนี้ที่มีได้ทันกับเวลาที่กำหนด ขั้นที่ 2 ตั้งเป้าหมายทางการเงิน ปกติแล้วจะเป็นการวางแผนเพื่อการออมเงิน แต่สำหรับคนที่ยังมีหนี้ การตั้งเป้าหมายในครั้งนี้อาจจะเป็นการตั้งเป้าการชำระหนี้ให้ครบโดยเร็ว ซึ่งอาจใช้การกำหนดเวลาช่วยด้วยก็ได้ เช่น มีหนี้อยู่ทั้งสิ้น 1 ล้านบาทต้องการชำระให้หมดภายใน 2 ปี   การตั้งเป้าแบบนี้ก็จะช่วยทำให้คุณมองเห็นว่า หากต้องการใช้หนี้จำนวนนี้ในระยะเวลา 2 ปี ในแต่ละเดือนควรจะเริ่มทำอะไรบ้าง ซึ่งอาจจะเริ่มวางแผนการเก็บเงินให้ได้เดือนละ 42,000 บาทด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงินออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูง, การลงทุนในกองทุนรวม หรือการหารายได้เสริมที่นอกเหนือไปจากเงินเดือน เป็นต้น ขั้นที่ 3 รู้จักการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ  การลงทุนก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยทำให้คุณบรรลุเป้าหมายในการปลดหนี้ได้ไวขึ้น โดยอาจจะแบ่งหนี้ที่สามารถชำระได้ในระยะยาวออกมา และคำนวณดูว่า การลงทุนแบบไหนที่จะสามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอจะชำระหนี้ก้อนนี้ได้บ้าง   แต่ก็อย่าลืมว่าการลงทุนมาพร้อมกับความเสี่ยง ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงด้านการลงทุนเท่าที่รับไหวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้เวลาศึกษาสำหรับผู้เริ่มต้นการลงทุน 4.รู้จักวิธีช่วยลดหนี้ หากพูดถึงหนี้สิน แน่นอนว่า ต้องมาพร้อมกับดอกเบี้ยที่ถ้าปล่อยไว้เรื่อย ๆ จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งในหัวข้อนี้จะขอแนะนำให้รู้จักกับวิธีการลดภาระดอกเบี้ยจากการรีไฟแนนซ์   ที่เป็นวิธีการชำระเงินกู้เดิมด้วยเงินกู้ใหม่ และใช้สินทรัพย์เดิมเป็นหลักประกัน โดยสามารถทำได้จากการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินแห่งใหม่เพื่อนำไปปลดภาระเงินกู้เก่าที่มีอยู่   เช่น คนมีบ้านอาจจะเลือกใช้ตัวช่วยลดหนี้อย่างการรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งเป็นวิธีการช่วยลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มระยะเวลาการกู้ และจ่ายค่างวดในการผ่อนบ้านน้อยลงกว่าเดิม ทำให้มีเงินเหลือใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นได้มากขึ้น สามารถนำไปหมุนเวียนใช้จ่ายหรือหมุนเวียนในธุรกิจได้ต่อไป 5.เข้าไปคุยกับธนาคาร เมื่อเป็นหนี้ก็ต้องอย่ากลัวที่จะเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ ดังนั้น การเลือกเข้าไปคุยกับธนาคารจึงถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อขอประนอมหนี้ และทำการตกลงกับทางธนาคารในการปลดหนี้ที่มีทั้งหมดใหม่ เช่น การขอปรับลดดอกเบี้ยชั่วคราว, การขอจ่ายแค่ดอกเบี้ยชั่วคราว, การขอหยุดชำระหนี้ชั่วคราว ฯลฯ เพื่อเป็นการคืนสภาพคล่องทางการเงินและตั้งหลักได้ง่ายขึ้น   ซึ่งการพิจารณาประนอมหนี้ทั้งหมด จะแล้วแต่กรณีและขึ้นอยู่กับทางธนาคารว่า จะเริ่มต้นปรับโครงสร้างหนี้อย่างไรได้บ้าง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ที่เกิดขึ้นให้ก่อนในระยะสั้น แต่อย่างไรก็ตามคุณจะต้องหาวิธีปลดหนี้ให้ได้จนกว่าจะสำเร็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นศาลและการถูกฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง สรุป  อย่างไรก็ตามวิธีการปลดหนี้ที่ดีที่สุด คือการเริ่มยอมรับถึงนิสัยและพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เกินตัวของตนเอง รวมถึงพยายามปฏิบัติตามกระบวนการปลดหนี้ที่ตัวเองวางไว้อย่างเต็มความสามารถด้วยความตั้งใจจริง รับรองเลยว่า หากเรามีวินัยและมีความตั้งใจที่ดีแล้วจะสามารถปลดหนี้ที่มีอยู่จนหมดได้อย่างแน่นอน  
อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนธันวาคม 2563

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนธันวาคม 2563

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ถือว่าเป็นช่วงเวลาโค้งท้ายของปีนี้แล้ว  สำหรับผู้ที่กำลังจะวางแผนซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมใหม่ ที่จะยื่นขอกู้เงินจากธนาคารต่าง ๆ เพราะเดือนนี้เป็นเดือนธันวาคมแล้ว ซึ่งช่วงนี้บรรดาดีเวลลอปเปอร์ต่าง ๆ ก็ขนบ้านและคอนโด มาจัดโปรโมชั่น พร้อมรายการส่งเสริมการขาย ทั้งลด แลก แจก แถม กันกระหน่ำ เพราะหวังจะสร้างยอดขายทำผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของปี 2563 นี้   นอกจากจะได้แคมเปญสารพัดของบรรดาดีเวลลอปเปอร์ต่าง ๆ แล้ว ยังมีมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐที่ออกมาช่วยให้คนไทยมีบ้านได้ง่ายขึ้นอีกด้วย กับมาตรการลดค่าโอน-จำนองจาก 3% เหลือ 0.01%ซึ่งจะสิ้นสุดภายในปีนี้ด้วย   เมื่อตัดสินใจจะซื้อบ้านสักหลัง หรือคอนโดสักห้อง ลองมาดูกันว่า จะยื่นกู้เงินกับธนาคารอะไรดี ที่จะได้อัตราดอกเบี้ยดีที่สุด และดอกเบี้ยต่ำที่สุดในปัจจุบัน ธนาคารกรุงเทพ สินเชื่อบ้านบัวหลวง เฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำด วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.22% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% หลังจากนั้น MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.28% สำหรับลูกค้าทั่วไป  วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.22% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% หลังจากนั้น MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.28% วงเงินตั้งแต่ 3 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.625% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.375% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-0.875% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.45% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.625% หลังจากนั้น MRR-0.875% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.47% วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.25% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.57% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.59% อัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ตั้งแต่ 50,000-99,999 บาทต่อเดือน  ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ 2.50% กรณีทำประกัน อัตราดอกเบี้ย 2.25% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.50-3.55% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ MRR-3.75% กรณีทำประกันอัตราดอกเบี้ย MRR-4.0% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.48-3.53% อัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ตั้งแต่ 100,000-199,999 บาทต่อเดือน ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ 2.25% กรณีทำประกัน อัตราดอกเบี้ย 2.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.44-3.50% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ MRR-4.00% กรณีทำประกันอัตราดอกเบี้ย MRR-4.25% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.42-3.48% อัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ตั้งแต่ 200,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป    ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ 2.00% กรณีทำประกัน อัตราดอกเบี้ย 1.75% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.75% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.30-3.35% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ 2.00% กรณีทำประกัน อัตราดอกเบี้ย 1.75% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่​ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.34-3.40% ทางเลือกที่ 3 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ MRR-4.25% กรณีทำประกัน อัตราดอกเบี้ย MRR-4.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.284-3.33% หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับผู้ที่ยื่นคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.– 31 ธ.ค. 63 โดยผู้กู้ต้องลงนามในสัญญากู้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุมัติสินเชื่อ และจดทะเบียนจำนองพร้อมเบิกเงินกู้งวดแรกหรือทั้งหมดภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญากู้ -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค. 63 เท่ากับ 5.75% ต่อปี -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี -กรณีสมัครประกันชีวิตคุ้มครองเครดิตโฮมเฟิสต์ รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยปีแรก 0.25% ตามเงื่อนไข ​ -ฟรีค่าสำรวจและประเมินหลักประกัน (ปกติ 3,210 บาท) ธนาคารกสิกรไทย สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ประจำ 3 ปีแรก MRR-1.28%  หลังจากนั้นจนสิ้นสุดสัญญา MRR-1.00%  อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.69%  อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (20 ปี) เท่ากับ 4.87% สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ 3 ปีแรก MRR-0.77%  หลังจากนั้น จนสิ้นสุดสัญญา MRR-0.50%  อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.20% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (20 ปี) เท่ากับ 5.37% อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% (ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63) หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้ ตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค.-31 ธ.ค. 63 โดยยื่นจดจำนองภายในวันที่ 29 ม.ค. 64 -สามารถยื่นกู้ได้สำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภท ยกเว้น Refinance และการกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า -วงเงินให้กู้ได้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 90% ของราคาประเมินหลักประกัน -สมัครทำประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้านได้รับอนุมัติและไม่ยกเลิกการทำประกันตามเงื่อนไข -ทุนประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อขั้นต่ำ 70 % ขึ้นไปของวงเงินสินเชื่อบ้านและเลือกระยะเวลาคุ้มครอง 100 % ของระยะเวลากู้ หรือ -ทุนประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 100 % ของวงเงินสินเชื่อบ้านและเลือกระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำ 70 % ของระยะเวลากู้ -การทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้านกสิกรไทยรับประกันโดย บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ลูกค้าต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขในกรมธรรม์ก่อนตัดสินใจทำประกันทุกครั้ง ทั้งนี้ผู้ซื้อมีสิทธิ์เลือกที่จะทำประกันชีวิตหรือไม่ก็ได้ ไม่มีผลต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ -การพิจารณารับประกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและกฎเกณฑ์การรับประกันของ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย ประเภทสินเชื่อบ้านกรุงไทย…สุขใจถ้วนหน้า ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.90% ปีที่ 2 MRR-2.40% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.40% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.22% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.90% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.25% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.26% อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี ผ่อนล้านละ 3,500 บาท 3 ปีแรก แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.24% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.15% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.24% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.54% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.15% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.28% อัตราดอกเบี้ยลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.37% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.25% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.27% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.29% ประเภทสินเชื่อบ้านกรุงไทย…สุขใจถ้วนหน้า ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ กรณีธนาครออกค่าจดจำนองให้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.64% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.95% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.35% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.64% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.65% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.39% อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี   แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.44% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.36% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.74% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.40% อัตราดอกเบี้ยลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.04% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.37% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.94% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.41% หมายเหตุ -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ 1.ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี 2.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ หรือ ระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ -ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,600 บาทต่อเดือน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านกรุงศรี เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไป สำหรับวงเงินกู้ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.35% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.82% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.30% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.50% เดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.60% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.35% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 4.21% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.52% สำหรับวงเงินกู้ ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.52% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.02% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.25% เดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.95% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.89% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.23% หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. 63 ถึง 31 มี.ค. 64 -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และ ฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปีในกรณีที่ลูกค้าซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เฉพาะในปีที่ 1จากอัตราดอกเบี้ยทุกทางเลือก ลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้ 1.ผลิตภัณฑ์ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการได้แก่ MRTA : แผนกรุงศรี เซฟตี้โลน 1 พลัส หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 1 หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 2 MLTA : กรุงศรี รักบ้าน รักคุณ หรือกรุงศรี รักบ้าน รักคุณ พลัส เท่านั้น 2.กรณีผู้กู้หลักเป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ประจำต้องซื้อ MRTA/MLTA 100% ของ วงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 70% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 20 ปี 3.กรณีผู้กู้หลักเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องซื้อ MRTA/MLTA อย่างน้อย 80% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 50% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี 4.กรณี มีผู้กู้ร่วม สามารถซื้อ MRTA/MLTA เฉพาะผู้กู้หลักเพียงคนเดียวได้หรือหากผู้กู้ร่วมประสงค์ที่จะซื้อ MRTA/MLTA ด้วย ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องมีทุนประกันขั้นต่ำในสัดส่วนที่เท่ากัน ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติตามที่ลูกค้าได้เลือกไว้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทประกันไม่อนุมัติ MRTA/MLTA หรือในกรณีที่ลูกค้าขอยกเลิก MRTA/MLTA ธนาคารเกียรตินาคิน  สินเชื่อบ้านวงเงินกู้ตั้งแต่ 5 แสนบาทแต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ประเภทลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ (MLR-4.41%)-(MLR-3.31%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ (MLR-4.41%)-(MLR-3.15%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% ประเภทคงที่ 3 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0.00%-3.99% ปีที่ 4-5 (MLR-3.00%)-(MLR-1.75%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0.00%-3.99% ปีที่ 4-5 (MLR-3.00%)-(MLR-1.75%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% ประเภทคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.69%-2.79% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย (MLR-4.01%) – (MLR-3.51%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.94%-3.04% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย (MLR-3.76%) – (MLR-3.26%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับ ปัจจัยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ย ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา  (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการให้บริการและเว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เท่ากับ 6.525% ต่อปี 3.กรณีที่ทำประกัน สมัครประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อกับบริษัทประกันที่ธนาคารกำหนด (MRTA) ทุนประกันภัย100% และระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลากู้สินเชื่อไม่ถึง 10 ปี ให้ระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำเท่ากับระยะเวลาการกู้สินเชื่อ 4.ระยะเวลากู้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สูงสุด 30 ปี (อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปีสำหรับพนักงานเงินเดือนประจำ และไม่เกิน 70 ปีสำหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) ธนาคารซีไอเอ็มบี  ดอกเบี้ยสำหรับพนักงานประจำ หรือเจ้าของกิจการ รายได้ 50,000 บาทต่อขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 พนักงานประจำ สัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 80% แบบทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 MRR-4.760% เฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.59% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.630% แบบไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 MRR-4.560% เฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.79% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.680% ทางเลือกที่ 2 พนักงานประจำ สัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 85% เจ้าของกิจการ สัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 70% แบบทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 MRR-4.360% เฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.99% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.750% แบบไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 MRR-4.060% เฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.29% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.820% ทางเลือกที่ 3 แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-5  ดอกเบี้ย 4.49%  เฉลี่ย 5 ปี ดอกเบี้ย 4.49% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.00% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-5  ดอกเบี้ย 4.79%  เฉลี่ย 5 ปี ดอกเบี้ย 4.79% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.12% อัตราดอกเบี้ย สำหรับพนักงานประจำ รายได้ 30,000 บาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ยกเว้นค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ แบบทำประกันชีวิต เดือน ที่ 1-3 ดอกเบี้ย 0% เดือนที่ 4-12 ดอกเบี้ย MRR-3.935% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-3.935% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.13% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.77% แบบไม่ทำประกันชีวิต เดือน ที่ 1-3 ดอกเบี้ย 0% เดือนที่ 4-12 ดอกเบี้ย MRR-3.608% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-3.608% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.43% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.85% ทางเลือกที่ 2 ยกเว้นค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ยกเว้น ค่าจดจำนอง สูงสุด 1% ของวงเงินกู้ แบบทำประกันชีวิต เดือน ที่ 1-3 ดอกเบี้ย 0% เดือนที่ 4-12 ดอกเบี้ย MRR-3.826% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-3.826% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.23% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.80% แบบไม่ทำประกันชีวิต เดือน ที่ 1-3 ดอกเบี้ย 0% เดือนที่ 4-12 ดอกเบี้ย MRR-3.499% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-3.499% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.53% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.88% ทางเลือกที่ 3 แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย ­3.66%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.66% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.92% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย ­3.96%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.96% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.00% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR = 7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 63) ธนาคารทีเอ็มบี อัตราดอกเบี้ย ซื้อบ้านจากโครงการทั่วไป กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี ค่าจดทะเบียนจำนอง ,ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.88% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.40% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.57% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.23% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.05% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.46% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.48% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.38% อัตราเฉลี่ย 4.90% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.87% หมายเหตุ เมื่อคุณกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบีคุ้มบ้าน (MRTA) 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีเอ็มบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต TMB (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต TMB แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ข้อเสนอพิเศษเมื่อกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท นอกจากดอกเบี้ยคงที่ต่ำสำหรับ 3 ปีแรกแล้ว คุณยังได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง: TMB จ่ายให้ 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท สำหรับกรณีซื้อบ้าน จากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง สำหรับกรณีที่กู้ซื้อบ้านกับ TMB โดยไม่สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท จะได้รับอัตราดอกเบี้ยปกติจาก TMB โดยยังได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร EIR (Effective Interest Rate : อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา) เป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น โดยคำนวณจาก เงินกู้ 3 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี / MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ธนาคารไทยพาณิชย์ แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.995% ปีต่อไป MRR อัตราเฉลี่ย 3 ปี 5.995% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.995% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.950% ปีต่อไป MRR อัตราเฉลี่ย 3 ปี 5.950% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.983% ธนาคารธอส. สินเชื่อบ้านโครงการจัดสรร ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยเท่ากับ 2.65% ปีที่ 2 เท่ากับ 2.75% ปีที่ 3 เท่ากับ MRR-2.90% ปีที่ 4 ตลอดอายุสัญญา  กรณีลูกค้าสวัสดิการ MRR-1.00% กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป MRR-0.50% กรณีลูกค้ารายย่อย MOU ดอกเบี้ย MRR-0.75% ธนาคารยูโอบี สินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับโครงการของบริษัทมหาชน ทางเลือก 1 กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.35% ปีที่ 3 MRR-4.00% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.35% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.79% ทางเลือก 2 กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.55% ปีที่ 3 MRR-3.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.87% ทางเลือก 3 กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.80% ปีที่ 3 MRR-2.60% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.80% ทางเลือก 4 กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.00% ปีที่ 3 MRR-2.40% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.88% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาคารยูโอบี -ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ -ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR=7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ แบบที่ 1 สำหรับผู้กู้มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบ 1.1 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 1.90% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.85% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.54% แบบที่ 1.2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.00% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.65% แบบที่ 1.3 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.50% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.50% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 1.4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.70% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน 3 ปีแรก ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 2 สำหรับผู้กู้มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบ 2.1 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.00% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 2.2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน  ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.20% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 2.3 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.55% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.60% แบบที่ 2.4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.75% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน 3 ปีแรก ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.73% เงื่อนไข 1.สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อบ้านใหม่ในโครงการจัดสรร ดอกเบี้ยเริ่มต้น 1.90% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรืออัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.00% สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 31 ธ.ค. 2563 เท่านั้น 2.กรณีลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1%  ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงสัญญาใด ๆ ภายใน 5 ปีแรกทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 3.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี 4.ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำล้านละ 3,500 บาท ได้ในแบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้น 5. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.350% (ณ วันที่ 14 เม.ย. 63) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย 6.อัตราดอกเบี้ย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเคหะ กรณีผู้กู้ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ปีที่ 4 เป็นต้นไป 4.745% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.50% เฉลี่ย 5 ปี 3.398% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 3.944% กรณีผู้กู้ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.245% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.00% เฉลี่ย 5 ปี 3.898% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.429%   บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้านและคอนโดประจำเดือนกันยายน 63
REIC จับมือ RESAM พัฒนา “THAI-MLS” ระบบขายบ้านมือสองออนไลน์

REIC จับมือ RESAM พัฒนา “THAI-MLS” ระบบขายบ้านมือสองออนไลน์

REIC จับมือ RESAM นำร่องพัฒนาระบบขายบ้านมือสองออนไลน์ “THAI-MLS” รองรับตลาดบ้านมือสองพร้อมขายกว่า 250,000 ยูนิตต่อเดือน กระตุ้นดีมานด์คนไทยอยากมีบ้านทำเลดีราคาไม่แพง พร้อมช่วยรัฐจัดเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น   ในปัจจุบันตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยมีขนาดใหญ่มากและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างมาก โดยมีค่าเฉลี่ยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยระหว่างปี 2560 – 2562 สูงถึงปีละ ประมาณ 367,000 ยูนิต และมีมูลค่า 847,000 ล้านบาท โดยประมาณการว่า เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมือสอง (Resale-home) ประมาณปีละ 184,000 ยูนิต และมีมูลค่า 308,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 36.4% ของภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งประเทศ โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 17.9% ต่อปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นความต้องการในการซื้อที่อยู่อาศัยมือสองที่มีจำนวนและอัตราการขยายตัวที่สูงอย่างต่อเนื่อง ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า  จากการสำรวจศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ยังพบว่า ในแต่ละเดือนมีจำนวนอสังหาริมทรัพย์ที่ประกาศขายที่อยู่อาศัยมือสองในช่องทางออนไลน์ อยู่ประมาณ 130,000 – 150,000 ยูนิต และมีทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงินต่าง ๆ ประมาณ 50,000 ยูนิต รวมถึงทรัพย์รอการประมูลของกรมบังคับคดีที่รอการประมูลอีกประมาณ  50,000 ยูนิต คาดว่าน่าในแต่ละเดือนจะมีปริมาณที่อยู่อาศัยมือสองที่พร้อมขายสูงถึงประมาณ 250,000 ยูนิต ซึ่งที่อยู่อาศัยมือสองเป็นสินค้าทางเลือกในทำเลที่ดีและราคาที่ถูกกว่าด้วย ปริมาณดีมาน์และซัพพลายของที่อยู่อาศัยมือสองที่มีจำนวนมากเช่นนี้ แสดงให้เห็นได้ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ในปัจจุบัน และคาดว่าตลาดที่อยู่อาศัยมือสองมีโอกาสที่จะขยายตัวจนเท่ากับหรือใหญ่กว่าตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ สาเหตุที่ที่อยู่อาศัยมือสองเป็นที่นิยม เพราะทำเลในการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่มักจะอยู่ไกลออกไปจากเมือง ขณะที่ที่อยู่อาศัยมือสองมักจะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีกว่าในราคาเดียวกัน หรือ มีราคาที่ถูกไม่น้อยกว่าถึง 20% - 30% ในทำเลเดียวกัน อีกทั้งขนาดของที่ดินและ/หรือพื้นที่ใช้สอยของที่อยู่อาศัยมือสองมักจะได้ขนาดที่ใหญ่กว่าที่อยู่อาศัยใหม่ในระดับราคาและทำเลเดียวกัน และประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่ำ เช่น ที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่เกิน 1 ล้าน อาจยากที่จะหาซื้อได้จากตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ แต่ยังมีให้เลือกซื้อได้มากกว่าในตลาดที่อยู่อาศัยมือสอง   นอกจากนี้ ในปัจจุบันตัวแทนนายหน้ามีบทบาทสูงขึ้นอย่างมากในการช่วยหาผู้ซื้อให้ เจ้าของที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเช่นเดียวกับในต่างประเทศ โดยในประเทศที่มีการพัฒนาตลาดที่อยู่อาศัยมือสองที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะมีระบบ MLS (Multiple Listed Services) เพื่อเป็นระบบฐานข้อมูลที่อยู่อาศัยมือสองสำหรับตัวแทนนายหน้าที่จะสามารถนำมาประกาศ และหาตัวแทนนายหน้าอื่นเข้าช่วยขายได้  ทำให้ที่อยู่อาศัยมือสองในระบบ MLS มีโอกาสในการขายได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อประชาชนในกลุ่มเจ้าของที่อยู่อาศัยที่ต้องการขาย  หรือกลุ่มที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมือสอง โดยจะมีกฎหมายในการกำกับดูแล เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป หรือกลุ่มประเทศใน AEC เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ เวียดนาม ขณะที่ประเทศเมียนมาร์ กำลังที่จะบังคับใช้กฎหมาย แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีการเตรียมตัวรองรับตลาดที่อยู่อาศัยมือสองอย่างเป็นรูปธรรม ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้พัฒนา platform ระบบ MLS สำหรับการใช้งานในประเทศไทย ชื่อ “THAI-MLS” ขึ้น และ สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ (RESAM) ได้เป็นผู้บริหารจัดการสมาชิกที่เข้าร่วมระบบฯ โดยได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือด้านวิชาการจาก National Association of REALTORS®: NAR ซึ่งเป็นที่มาของการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ของโครงการนำร่องสำหรับทดลองใช้ระบบ MLS ในการดำเนินการจริง   โดยมีการนำที่อยู่อาศัยที่มีการฝากขายจริงเข้าระบบโดยตัวแทนนายหน้าขายหลัก (Major Broker) มีการเปิดให้มีการเข้าร่วมเป็นตัวแทนนายหน้าขายร่วม (Co-broker) ที่สามารถช่วยขายที่อยู่อาศัยในระบบ THAI-MLS ได้ แต่เนื่องจากการดำเนินการนี้เพียงระยะนำร่องจึงจะเปิดให้ผู้เข้าร่วมสามารถที่ยอมรับเงื่อนไขและกฎ กติกาและข้อบังคับต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น โดยเป็นการดำเนินการในลักษณะ Sandbox ก่อนเท่านั้น และหากได้ทดลองใช้จริงไประยะหนึ่ง และทุกอย่างเป็นได้ด้วยดี ก็ยินดีเปิดรับผู้ที่มีวิชาชีพตัวแทนนายหน้าจากทุกองค์กรเข้าร่วม   นางอรุณี เทียมหงส์ นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ (RESAM)  กล่าวว่า​ สมาคมฯ ได้ร่วมมือกับ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ในการดำเนินการ THAI-MLS เนื่องการพัฒนาระบบ THAI-MLS ครั้งนี้ เป็นการดำเนินการอย่างจริงจังในลักษณะโครงการนำร่องครั้งแรกในประเทศไทย แม้ในวันนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายสำหรับควบคุมวิชาชีพตัวแทนนายหน้า (Brokerage Licensing Law) ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่สร้าง กฎ กติกา และการควบคุมด้านจรรยบรรณและคุณภาพทางวิชาชีพ แต่การพัฒนาระบบ THAI-MLS นี้จะสามารถเป็น Platform ที่ช่วยสร้างเครือข่ายตัวแทนนายหน้าให้สามารถช่วยกันขายที่อยู่อาศัยมือสองให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้ที่ต้องการขายบ้านเดิมเพื่อหาซื้อบ้านใหม่สามารถทำได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีตัวแทนนายหน้าที่น่าเชื่อถือเป็นผู้ดำเนินการให้ ในระบบ THAI-MLS นี้ สมาคม RESAM ได้เข้ามาช่วยรับดูแลการบริหารจัดการด้านข้อมูลในระบบและข้อมูลสมาชิกในระบบฯ โดยผู้เข้าร่วมใช้ระบบต้องมีการลงนามในสัญญาว่าจะยอมรับการปฏิบัติตัวตาม กฎ กติกา และข้อบังคับ ต่าง ๆ ก่อนเข้าใช้ระบบฯ  ทางสมาคมฯมีความมั่นใจว่า การดำเนินการเช่นนี้ในจะช่วยยกระดับการทำงานและมาตรฐานวิชาชีพของตัวแทนนายหน้าด้านอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยให้สูงขึ้นได้ และเมื่อถึงวันที่ประเทศไทยมีกฎหมายสำหรับควบคุมวิชาชีพนายหน้าแล้ว ก็จะช่วยขับเคลื่อนให้ตลาดที่อสังหาริมทรัพย์มือสองจะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด โดยมีพื้นฐานด้านระบบปฏิบัติการและด้านธุรกิจที่สามารถรองรับได้ทันที ทั้งนี้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการฯนี้ จะเกิดกับประชาชนเจ้าของที่อยู่อาศัยและผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ธุรกิจตัวแทนนายหน้า และภาครัฐ โดยเฉพาะในเรื่องรายได้จากภาษีและค่าธรรมเนียม สามารถจัดเก็บเพิ่มได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากธุรกิจนี้ ซึ่งจะสามารถรายได้ส่วนนี้ไปช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป    
AWC ผลงานไตรมาส 3 ฟื้นตัว แต่ยังขาดทุน 620 ล้าน

AWC ผลงานไตรมาส 3 ฟื้นตัว แต่ยังขาดทุน 620 ล้าน

AWC ประกาศผลงาน ไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้น หลังการท่องเที่ยวเริ่มฟื้น สถานการณ์โควิดคลี่คลายรัฐเดินหน้าผ่อนปรนระยะที่ 6 สร้างรายได้รวม 1,225 ล้านบาท สูงขึ้น 63.5%  จากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังขาดทุนกว่า 620 ล้าน   AWC รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2563 ที่ผ่านมา ว่าขาดทุนสุทธิ 620 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น 29.3% จากไตรมาส 2/2563 ซึ่งขาดทุนกว่า 876 ล้านบาท  โดยไตรมาส 3/2563 มีรายได้รวม 1,225 ล้านบาท หรือลดลง 61.9% จาก 3,213 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ด้วยผลกระทบต่อเนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ว่าในปัจจุบันได้มีประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 6 ที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติบางกลุ่มเดินทางเข้าประเทศไทยได้ แต่ยังไม่สามารถเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวได้   อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายได้รวมไตรมาส 3/2563 เทียบกับไตรมาส 2/2563 จะเห็นได้รายได้รวมปรับตัวสูงขึ้น 63.5% แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวและแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยวภายในประเทศ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสามารถควบคุมค่ายใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานในไตรมาส 3/2563 ลดลง 18.9% จากไตรมาส 2/2563 เป็นผลมาจากแผนการปรับโครงการสร้างองค์กรควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่าย (Cost Control and Efficiency Initiatives) ซึ่งเป็นการรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน ไตรมาส 3 ขาดทุนลดเหลือ 620 ล้าน นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า  ในเดือนกรกฏาคม โรงแรมภายใต้ AWC เกือบทั้งหมด (ยกเว้นโรงแรม เชอราตัน สมุย รีสอร์ท) ได้กลับมาเปิดให้บริการ และตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม โรงแรมภายใต้ AWC อีก 2 แห่ง ได้แก่ โรงแรม เลอ เมอริเดียน กรุงเทพ และ โรงแรม ดับเบิ้ลทรี บาย ฮิลตัน สุขุมวิท กรุงเทพฯ ได้เข้าร่วมการเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine: ASQ) ทำให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมทั้งหมดของบริษัท (Average Occupancy Rate) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ​ ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ และยังมีการลดค่าเช่าให้กับผู้ประกอบการร้านค้าเช่าบางรายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า (Retail) เพื่อให้สามารถผ่านวิกฤตไปได้ร่วมกันกับ AWC ส่งผลให้บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิไตรมาส 3/2563 ที่ 620 ล้านบาท แม้ว่าจะยังคงได้รับผลประโยชน์อย่างต่อเนื่องจากกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายและสมดุลเชิงธุรกิจ (Balanced and Diversified Portfolio) ที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคง อัดโปรฯ กระตุ้นธุรกิจโรงแรม กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ของบริษัท ยังคงได้รับผลกระทบจากภาพรวมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับรายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัท โดยมีรายได้ 451 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีรายได้ 2,104 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2563 ที่มีรายได้ 130 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม AWC ได้ออกโปรแกรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ Thai Holidays Lifestyle, Gift of Hapiness จาก 16 โรงแรมภายใต้ AWC ขานรับโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” อีกทั้ง Bangkok Holidays Lifestyle, Gift of Happiness เพื่อกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยยอดจองโรงแรมต่างๆ อาทิ โรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค ที่ได้ยอดจองกว่า 5,000 คืน นอกจากนี้ ยังได้ออกแพคเกจ AWC INFINITE LIFESTYLE: INFINITE POINT OF HAPPINESS แพ็กเกจคะแนน Infinite Point ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ สำหรับใช้เข้าพักหรือแลกเพื่อใช้บริการที่หลากหลายในโรงแรมและรีสอร์ตใดก็ได้ในเครือ AWC ทั้ง 15 แห่งทั่วประเทศ ตอบรับนโยบายการท่องเที่ยวของภาครัฐ และส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยให้พลิกฟื้นและเดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้โรงแรมต่างๆ ภายใต้ AWC มี RGI Index ปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด   โดยโรงแรมในกรุงเทพฯ อาทิ โรงแรม เลอ เมอริเดียน และโรงแรม แบงค็อกแมริออท เดอะ สุรวงศ์ มี RGI Index เดือนกันยายนสูงถึง 268.2 และ 252.9 ตามลำดับ และโรงแรมในเมืองท่องเที่ยวสำคัญอย่าง โรงแรม ภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา, ในยางบีช และโรงแรม หัวหิน แมริออท รีสอร์ท และ สปา มี RGI Index ในไตรมาสที่ 3/2563 สูงถึง 387.0 และ 146.3 ตามลำดับ ทำให้รายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จาก 126 ล้านบาทในไตรมาส 2/2563 เป็น 450 ล้านบาทในไตรมาส 3/2563 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 257.1%   ในขณะที่รายได้ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail and Commercial) ได้ปรับตัวสูงขึ้นจาก จาก 632 ล้านบาทในไตรมาส 2/2563 เป็น 771 ล้านบาทในไตรมาส 3/2563 หรือเพิ่มขึ้น 22.0% เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้า (Retail) ที่มีจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการ (Traffic) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังการประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 และการลดส่วนลดตามจำนวนผู้ใช้บริการโครงการที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจอาคารสำนักงาน (Office) ยังคงสร้างรายได้ที่มั่นคงอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มประสิทธิภาพบริหารงาน+ลดค่าใช้จ่าย ด้วยการวางรากฐานการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน บริษัทยังคงเดินหน้าปรับโครงการสร้างองค์กรควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต (Cost Control and Efficiency Initiatives) โดยถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไตรมาส 3/2563 จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2563 แต่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานได้ลดลงจาก 96.9% ในไตรมาส 2/2563 เป็น 78.0% ในไตรมาส 3/2563 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัทได้เป็นอย่างดี   “AWC ยังคงเชื่อมั่นในธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยได้เดินหน้าตามแผนพัฒนาโครงการคุณภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การลงนามในสัญญาครั้งสำคัญกับแมริออทอินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อขยายความร่วมมือในการพัฒนาโรงแรม 4 แห่ง รวม 1,638 ห้องในกรุงเทพฯ และพัทยา การลงนามในบันทึกข้อตกลงกับครัวคุณต๋อย พันธมิตรเชิงกลยุทธ์รายใหม่ เพื่อมอบประสบการณ์ด้านอาหารแบบยั่งยืนและเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้า” เดินหน้าปรับโฉมใหม่พันธุ์ทิพย์ประตู้น้ำ นอกจากนี้ ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา AWC ได้ยกระดับโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในหลากหลายมิติของลูกค้าทุกกลุ่ม ด้วยองค์ประกอบและบรรยากาศที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่า ด้วยงบประมาณกว่า 300 ล้านบาท ภายใต้แนวคิด “Heritage Alive” ต่อยอดการอนุรักษ์หลักฐานอิงประวัติศาสตร์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง และเปิดตัวเรือ “สิริมหรรณพ” แลนด์มาร์คใหม่ริมน้ำเจ้าพระยาที่ตอบโจทย์การท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ ทั้งการกินดื่มและพักผ่อนหย่อนใจ ด้วยห้องอาหาร และบาร์ระดับพรีเมี่ยมที่ให้บริการอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะภายใต้แนวคิดใหม่ในความร่วมมือกับโรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค และได้เปิดตัวโรงแรม บันยันทรี กระบี่ โรงแรมแห่งแรกของ AWC ในจังหวัดกระบี่ บนทำเลทองติดที่ดินอุทยานแห่งชาติเขาหงอนนาค   นางวัลลภา กล่าวอีกว่า บริษัทฯ ยังเตรียมปรับโฉมโครงการพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ให้เป็นศูนย์ค้าส่งใจกลางเมือง “AEC Trade Center – Pantip Wholesale Destination” ด้วยการลงนามในสัญญาความร่วมมือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมการค้า 11 หน่วยงาน ส่งเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าให้ผู้ประกอบการ รวมทั้งร่วมมือกับ Yiwu CCC Group ศูนย์ค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จะเชื่อมการส่งออก-นำเข้า เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาค ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนถึงศักยภาพ และความแข็งแกร่งของ AWC ในการดำเนินแผนกลยุทธ์พัฒนาธุรกิจที่มุ่งเน้นการเติบโต ตลอดจนสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนเพื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในระยะยาว
เทคนิคเตรียมตัวให้พร้อมก่อนซื้อบ้าน

เทคนิคเตรียมตัวให้พร้อมก่อนซื้อบ้าน

เทคนิคเตรียมตัวให้พร้อมก่อนซื้อบ้าน ช่วงที่ผ่านมา คนไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องปรับตัว ปรับวิถีชีวิต การอยู่อาศัย การใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงานกันใหม่ ไปสู่ความปกติวิถีใหม่ หรือ New Normal  รวมถึงการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home)   ขณะที่แวดวงธุรกิจ ก็ต้องเผชิญความท้าทาย กับปัจจัยลบที่เกิดขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งทำให้ต้องปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจ  เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  รวมถึงต้องทุ่มเททำการตลาดอย่างหนัก เพื่อกระตุ้นยอดขาย สร้างรายได้กลับเข้ามา   ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ช่วงที่ผ่านมาก็เจอความเปลี่ยนแปลง ไม่แตกต่างจากธุรกิจอื่น ที่สำคัญ ต้องหันมาโหมทำการตลาดกันอย่างหนัก จัดโปรโมชั่นกันชนิดที่ไม่เคยทำกันมาก่อน  โดยเฉพาะการลดราคา และแคมเปญอยู่ฟรี ไม่นับรวมกับโปรโมชั่นอื่น ๆ อีกสารพัด เพื่อสร้างกระแสเงินสด เพิ่มสภาพคล่อง ทำให้ปีนี้นับเป็นโอกาสทองของคนอยากมีบ้าน และมีความสามารถที่จะซื้อ เพราะราคาถือว่าค้าค่าจริง ๆ   แล้วหากจะเลือกซื้อบ้านสักหลัง หรือคอนโดมิเนียมสักห้อง เราควรเตรียมตัวก่อนการซื้อบ้านอย่างไร สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยซื้อมาก่อน หรือไม่เคยศึกษาการซื้อบ้าน ทางธนาคารกรุงเทพ มีคำแนะนำเบื้องต้นให้กับลูกค้า ได้ศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัว เพื่อจะทำให้ได้บ้านตามที่ต้องการ เทคนิคเตรียมตัวให้พร้อมก่อนซื้อบ้านก่อนกู้บ้านต้องเตรียมตัวอย่างไร  ข้อที่ 1. เลือกทำเล บ้านที่ชอบ พื้นที่ใช้สอยให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ ขึ้นอยู่กับขนาดครอบครัวและไลฟ์สไตล์ของคุณเองว่าต้องการบ้านแบบไหน เช่น คอนโดมีเนียมกลางเมืองเพื่อความสะดวกในการเดินทาง ทาวน์เฮ้าส์พร้อมกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่อยู่อาศัยและใช้สอยมากกว่า มองหาทำเลที่ชอบ เลือกทำเลที่คิดว่าสามารถเดินทางได้สะดวก โดยเฉพาะไปทำงาน หรือทำเลที่คุ้นเคยก็ได้ ตรวจสอบราคาจากโครงการที่สนใจหรือที่อยู่อาศัยในละแวกเดียวกัน หรือสอบถามสำนักงานที่ดินเพื่อขอราคาประเมินที่ดิน ประกอบการตัดสินใจก็ได้ กรณีผู้กู้มีบ้านอยู่แล้ว 1 หลัง ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2 หรือ บ้านพักตากอากาศ ควรคำนึงความจำเป็น และความสามารถในการผ่อนชำระ เนื่องจาก การผ่อนชำระบ้านเพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง จะเป็นการเพิ่มภาระในการผ่อนชำระให้หนักมากขึ้น นอกจากนี้ ลูกค้าอาจจะได้วงเงินกู้บ้านที่น้อยกว่าการซื้อบ้านหลังแรก ข้อที่ 2. เริ่มต้นประเมินความสามารถทางการเงินของตนเอง ลูกค้าควรจะทราบความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อของตนเอง ซึ่งมีวิธีคำนวณง่ายๆ คือ ประมาณการยอดผ่อนชำระรายเดือน โดยยอดผ่อนชำระรายเดือนควรประมาณ 1 ใน 3 ของรายได้รวมต่อเดือน หรือประมาณ 40% ของรายได้คงเหลือสุทธิต่อเดือน ซึ่งเป็นรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าผ่อนสินค้า ค่างวดผ่อนรถยนต์ ค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น รายได้คงเหลือหลังหักภาระผ่อนเดิมและภาระผ่อนสินเชื่อบ้านครั้งนี้แล้ว ควรมีเงินเหลือเพียงพอสำหรับการดำรงชีพขั้นต่ำของผู้ขอสินเชื่อ หากเป็นไปได้ ในช่วงก่อนที่จะกู้เงินซื้อบ้าน ไม่ควรมีการก่อหนี้ หรือซื้อสินค้าเงินผ่อน เพราะยิ่งก่อหนี้มากขึ้นเท่าไหร่ จะทำให้ความสามารถในการขอสินเชื่อน้อยลงเท่านั้น ข้อที่ 3. เงินดาวน์/การเก็บออม ลูกค้าควรมีเงินออมเพื่อชำระเงินดาวน์ 10-30% ของราคาบ้านที่ต้องการซื้อ ปัจจุบันการให้วงเงินสินเชื่อของธนาคาร จะให้อัตราส่วนวงเงินกู้ต่อราคาบ้านตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลำดับที่สัญญาสินเชื่อบ้านที่ลูกค้ามีอยู่กับสถาบันการเงินต่างๆ เช่น กรณีซื้อบ้านราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท ควรมีเงินดาวน์ หรือเงินออม ไม่น้อยกว่า 5%-10% ขึ้นไปสำหรับการขอสินเชื่อสัญญาบ้านหลังแรก, ไม่น้อยกว่า 10% - 20% ขึ้นไปสำหรับการขอสินเชื่อบ้านสัญญาบ้านหลังที่สอง, ไม่น้อยกว่า 30% ขึ้นไป สำหรับการขอสินเชื่อบ้านสัญญาบ้านหลังที่สาม การดำรงยอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีหรือการแสดงหลักฐานการออมและความสามารถในการชำระคืน แม้ว่าจะมีเงินได้เข้าบัญชีเป็นจำนวนมาก แต่หากไม่มียอดเงินคงเหลือในบัญชีหรือไม่มีหลักฐานเงินออมอื่นเลย ก็อาจทำให้ไม่มีศักยภาพการขอสินเชื่อเพียงพอได้ เช่น มีเงินได้เข้าบัญชีเงินฝาก 100,000 บาท/เดือน แต่มีการถอนออกไปใช้ทั้งหมด โดยมีเงินคงเหลือเพียงหลักร้อย และ ไม่มีหลักฐานการออมเงินอื่นประกอบ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ยิ่งเรามีจำนวนเงินที่ผ่อนดาวน์ หรือเงินออมมากขึ้นเท่าใด จะทำให้มีศักยภาพเพียงพอในการขอสินเชื่อมากขึ้นเท่านั้น ข้อที่ 4. การเดินบัญชีธนาคารก่อนการยื่นกู้ ควรแสดงหลักฐานรายได้ผ่านบัญชีธนาคาร ควรมีการเดินบัญชีอย่างสม่ำเสมอ และสอดคล้องกับรายได้ เตรียมเอกสารหลักฐานประเภทต่างๆให้พร้อม เช่น หลักฐานด้านรายได้, หลักฐานเงินออมในรูปกองทุนรวม LTF, RMF, ประกัน หรือการลงทุนในทรัพย์สินต่างๆ เป็นต้น ปัญหาสำคัญที่ทำให้กู้บ้านไม่ผ่าน มาจากสาเหตุสำคัญอะไรบ้าง แม้ว่าหลายคนจะเตรียมตัว เตรียมเอกสาร ศึกษาข้อมูลมาอย่างดี แต่บางครั้งอาจจะยื่นกู้แล้วไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อก็เป็นไปได้ ซึ่งอาจจะมีหลายสาเหตุ ลองมาพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุ ที่ทำให้สถาบันการเงินปฏิเสธการให้สินเชื่อลูกค้าก็เป็นไปได้ 1. มีรายได้ไม่มั่นคง หรือรายได้ไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อ ปัญหาสำคัญที่ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่กู้บ้านไม่ผ่าน จะเป็นเรื่องของรายได้ไม่มั่นคง หรือรายได้ไม่เพียงพอในการผ่อนชำระสินเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกค้าที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ หรือ ทำงานเป็นฟรีแลนซ์ อย่างไรก็ตาม หากผู้กู้มีการเตรียมตัวที่ดี และจัดเตรียมเอกสารแสดงรายได้ที่ชัดเจน เช่น  เอกสารแสดงกระแสเงินได้, บัญชีลูกหนี้การค้า ก็จะมีส่วนช่วยให้ธนาคารพิจารณาอนุมัติเงินกู้ได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กรณีประกอบธุรกิจส่วนตัว หากจดทะเบียนกิจการ ให้แสดงทะเบียนพาณิชย์/ทะเบียนการค้า/หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียน และ statement การเดินบัญชีที่แสดงกระแสเงินสดไม่น้อยกว่า 6 เดือน กรณีเป็นลูกจ้างตามสัญญา ควรมีหนังสือรับรองสัญญาจ้างที่มีการระบุระยะเวลาสัญญาชัดเจน ประกอบกับสลิปเงินเดือนและ statement การเดินบัญชี อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการให้กู้ อาจขึ้นอยู่กับระยะเวลาในสัญญาจ้าง ซึ่งหากระยะเวลาในสัญญาจ้างสั้น อาจทำมีภาระผ่อนในจำนวนที่สูง และไม่สามารถขอสินเชื่อได้ กรณีฟรีแลนซ์ หรือประกอบอาชีพอิสระ ควรมีการแสดงเอกสารรายรับ-รายจ่ายที่ชัดเจน เช่น ช่างแต่งหน้า/ช่างภาพอิสระ ควรแสดงสัญญาว่าจ้างหรือใบรับงานจากงานต่างๆ และ เอกสารแสดงการรับเงินจากผู้ว่าจ้าง กรณีรับเป็นเงินสด ควรนำเงินฝากเข้าผ่านบัญชีธนาคารอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตามข้อเท็จจริง โดยควรแสดงหลักฐานรายได้ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 6-12 เดือน ควรนำเงินได้เข้าบัญชีให้สอดคล้องกับรายได้ที่ได้รับมา รวมถึงเอกสารแสดงผลงาน เช่น รูปภาพผลงานการแต่งหน้าจากงานต่างๆ เป็นต้น ก่อนนำไปชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ นอกจากนี้ เอกสารอื่นๆที่ช่วยให้ธนาคารพิจารณาอนุมัติเงินกู้ได้ง่ายขึ้น เช่น หลักฐานการออม , สำเนาโฉนดที่ดินที่ปลอดภาระ, พันธบัตร, สลากออมสิน เป็นต้น 2.มีภาระหนี้เกินเกณฑ์ ธนาคารจะพิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระหนี้โดยคำนวณภาระหนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลภาระหนี้ของลูกค้าในข้อมูลเครดิตบูโร กรณีที่มีภาระหนี้ที่ต้องผ่อนชำระสูงอยู่แล้ว ทั้งภาระหนี้บัตรเครดิต / เช่าชื้อ / ผ่อนชำระรถยนต์ / เครื่องใช้ไฟฟ้า / ผ่อนชำระทรัพย์สินอื่น ธนาคารอาจพิจารณาลดวงเงินหรือ ปฎิเสธวงเงินที่ขอเพิ่มครั้งนี้ได้ ผู้กู้ควรเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการชำระหนี้ทั้งหมดเรียบร้อย สร้างความมั่นคงและความน่าเชื่อถือทางการเงินใหม่ด้วยเงินออม หรือ เอกสารแสดงรายได้ต่างๆ ตามความเหมาะสม  ท่านไม่ควรมีหนี้ค้างชำระ ในขณะขอสินเชื่อ และหากเคยมีประวัติการค้างชำระหนี้ใน 3 ปีที่ผ่านมา ควรชี้แจงสาเหตุการค้างชำระและแสดงหลักฐานการชำระประกอบตามเหตุผลที่สมควร กรณีมีบัตรเครดิตหรือมีภาระหนี้อื่นๆก่อนการขอสินเชื่อ ควรลดภาระการผ่อนสินเชื่อบุคคลที่ไม่จำเป็น เช่น การชำระค่าสินค้าเงินผ่อน 6-12 เดือน, ปิดบัญชีวงเงินสินเชื่อที่ใกล้ครบกำหนด/ยอดเงินไม่สูงมาก หรือ ควรยกเลิกบัตรเครดิตที่ไม่จำเป็น ช่องทางสำคัญ เพื่อสานฝันของคนอยากมีบ้านให้เป็นจริง ลูกค้าที่สนใจสามารถ ตรวจสอบคุณสมบัติ พร้อมทราบผลพิจารณาเบื้องต้น โดย เพียงกรอกข้อมูลผ่านทาง เว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ หรือ สามารถติดต่อสาขาที่ลูกค้าสะดวก สำหรับลูกค้าที่ซื้อบ้านใหม่จากโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นพันธมิตรกับธนาคาร สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ขายของโครงการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารให้บริการด้านสินเชื่อได้ เรื่องควรรู้อื่นๆ เพิ่มเติม ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ผู้ยื่นกู้อาจต้องชำระเพิ่มเติมนอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านและค่าสำรวจประเมินราคาหลักประกันแล้ว ลูกค้าอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายที่ชำระให้กับสำนักงานที่ดิน ได้แก่ 1.ค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาซื้อขาย (ส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการ อาจเป็นผู้ชำระแทนหรือ ชำระครึ่งหนึ่ง ตามแคมเปญหรือรายการส่งเสริมการขายของโครงการ), ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงิน (กรณีขอสินเชื่อกับธนาคาร) ค่าใช้จ่ายที่ชำระให้กับโครงการ เช่น ค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง, ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการโอน เช่น ค่ามิเตอร์น้ำ ค่ามิเตอร์ไฟ ค่าใช้จ่ายที่ชำระให้กับบริษัทประกันภัย กรณีทำประกันภัย/ประกันชีวิต เช่น ค่าเบี้ยประกันชีวิต และ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย (กรณีขอสินเชื่อกับธนาคาร) ค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติมของลูกค้า เช่น ค่าใช้จ่ายในการตกแต่งเพิ่มเติม ปี 2563 มาตรการลดค่าโอน และค่าจดจำนอง 0.01% มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง และช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้กู้เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง   มาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ เหลืออัตรา 0.01% โดยมีเงื่อนไข คือ การซื้ออสังหาริมทรัพย์จากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นผู้จัดสรรเท่านั้น เป็นที่ดินพร้อมอาคารประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ หรือ ห้องชุด (คอนโดมิเนียม) ในราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ไม่รวมการซื้อขายบ้านมือสอง ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย และการรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 – 24 ธันวาคม 2563   ดังนั้น ลูกค้าที่ซื้อบ้านหรือคอนโด และกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยจดจำนองไม่เกินปลายปีนี้ ก็จะเสียค่าโอนและค่าจดจำนองเพียงอัตรา 0.01% จากปกติจะต้องเสียค่าโอน 2% และค่าจดจำนอง 1% ซึ่งถือว่าช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้กู้ลงไปค่อนข้างมาก    บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง กู้สินเชื่อบ้านผ่านง่าย หากมีรายได้เสริม วิธีเตรียมกู้ซื้อบ้าน สำหรับอาชีพอิสระ 5 ข้อต้องรู้ก่อนจะเป็น “ผู้กู้ร่วม”    
ภาษีที่ดิน ใครต้องจ่าย จ่ายเท่าไหร่ จ่ายที่ไหน และใครได้ประโยชน์

ภาษีที่ดิน ใครต้องจ่าย จ่ายเท่าไหร่ จ่ายที่ไหน และใครได้ประโยชน์

ภาษีที่ดิน เป็นภาระจำเป็นที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องรับผิดชอบชำระ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายคนคงได้รับ “ใบแจ้งการชำระภาษีที่ดิน” กันมาระยะหนึ่งแล้วและประเด็นเกี่ยวกับ “ภาษีที่ดิน” ก็ถูกนำกลับมาพูดถึงกันอีกครั้งในแวดวงอสังหาฯ ทำเอาเจ้าของที่ดิน บ้านหรือห้องชุดมีเครื่องหมายคำถามในหัวกันอีกครั้งว่าจะต้องเตรียมตัวเสียภาษีกันอย่างไร เพราะใกล้ได้เวลาครบกำหนดชำระเข้าไปทุกที   เนื่องจากภาษีที่ดินนี้เป็นประกาศใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีอัตราภาษีและเงื่อนไขที่หลากหลาย  ทำเอาหลาย ๆ คนมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ และเกิดคำถามต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องใครต้องเสียภาษีบ้าง? เสียเท่าไร? ถ้ามีบ้านมากกว่าหนึ่งหลังจะเสียภาษีอย่างไร? มีข้อยกเว้นอย่างไรบ้าง? และสุดท้ายใครได้ประโยชน์จากภาษีนี้ นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยว่า แม้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ จะไม่ส่งผลกระทบกับคนทั่วไป ที่มีบ้านหรือคอนโดมิเนียมสำหรับอยู่อาศัยเองเพียงหลังเดียว ในราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่จะกระทบกับกลุ่มคนที่มีบ้านหรือคอนโดหลังที่สอง หรือมีอสังหาริมทรัพย์ปล่อยเช่า รวมทั้งผู้ที่ถือครองไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์  คนกลุ่มนี้จะต้องชำระภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562     การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ ถือว่าไม่ใช่เรื่องยาก และเจ้าหน้าที่ก็เป็นผู้ประเมินภาษีให้ด้วย  แต่การรู้วิธีคิดเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายล่วงหน้า ถือเป็นเรื่องที่ควรจะรู้ไว้ เพื่อวางแผนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอสังหาฯ  ของตัวเอง โดย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ได้สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่ผู้เสียภาษีที่ดินสำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยที่ควรรู้ ดังนี้ ภาษีที่ดิน คืออะไร อันดับแรก เรามาย้ำความเข้าใจว่าภาษีที่ดินที่ต้องชำระคืออะไรกันอีกที ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่ผู้ครอบครองอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน ที่ดิน คอนโด หรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ทั้งที่ใช้และไม่ได้ใช้ประโยชน์  ต้องเสียให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งอสังหาฯ นั้นตั้งอยู่ โดยภาษีที่ชำระให้กับ อปท. ดังกล่าว จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ   โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกประกาศเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านมา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นไป เพื่อทดแทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ฉบับเก่าที่ใช้มานานหลายสิบปี โดยการชำระภาษีตามประกาศใหม่ครั้งแรกนี้ เลื่อนมาเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563 จากเดิมต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายน 2563 และเพื่อช่วยลดภาระของประชาชนจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รัฐบาลยังได้ออกมาตรการลดภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยถึง 90% อีกด้วย   โดยประเภทของทรัพย์สินที่จะเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งออกเป็น ประเภทเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ (ซึ่งรวมประเภทพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และที่ดินรกร้างด้วย) ดังตารางสรุปด้านล่างนี้ ภาษีที่ดิน ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ  สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัย และการจัดการปัญหาเกี่ยวกับรายละเอียดในจดหมายภาษีที่ดิน   สิ่งที่ต้องพิจารณาอันดับแรกเลยคือ คุณมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือไม่? ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านจะถูกนับเป็นบ้านหลังรอง กรณีนี้ไม่ว่าราคาประเมินจะเท่าไหร่ก็ต้องเสียภาษี แต่หากมีชื่อในทะเบียนบ้าน (บ้านหลังหลัก) ก็ต้องมาดูต่อว่า เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว หรือเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง   ถ้าเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว (บ้านเราแต่ไปสร้างบนที่ดินคนอื่น) กรณีราคาประเมินน้อยกว่า 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนกรณีมากกว่า 10 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี และถ้าเป็นที่ดินและบ้านหลังหลัก กรณีราคาประเมินน้อยกว่า 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนกรณีมากกว่า 50 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี ปัญหาที่พบในจดหมายแจ้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนใหญ่จะพบว่า ข้อมูลที่ระบุมาไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น ขนาดพื้นที่ไม่ถูกต้อง ประเภทการใช้สอยไม่ถูกต้อง ชื่อของเจ้าของบ้านไม่ถูกต้อง เป็นต้น สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ การยื่นเรื่องแก้ไขข้อมูลเหล่านี้ต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันหลังจากจดหมายแจ้งฯ ส่งถึงผู้รับ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว จะไปแก้ไขหลังจากนั้นก็ยังไม่มีรายละเอียดว่าทำได้หรือไม่ และทำได้อย่างไร   โดยในจดหมายที่ได้รับจะมีคิวอาร์โค้ด (QR Code) สำหรับการแจ้งขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ ซึ่งหลังจากแก้ไขมาเรียบร้อยแล้วก็อย่าลืมตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง หากยังมีจุดผิดก็ต้องยื่นเรื่องแก้ไขกันอีก แต่คาดว่าจะดำเนินการได้รวดเร็วกว่าการแจ้งครั้งแรก เพราะมีข้อมูลพร้อมเอกสารต่าง ๆ อยู่ก่อนแล้ว ข้อแตกต่าง หลักการคำนวณภาษีบ้านและคอนโด ที่ควรรู้ ต่อมาประเด็นที่หลายคนตั้งคำถาม สำหรับการประเมินว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่ และจำนวนเงินเท่าไรที่ต้องชำระ โดยในครั้งนี้เราจะเน้นไปที่ ภาษีของบ้านและคอนโด  ที่มีวิธีคิดและหลักการคำนวณที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ หลักการคำนวณภาษีบ้าน การคำนวณภาษีจะแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่เป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับกรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น และเงื่อนไขของทั้ง 2 กรณีก็คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านด้วย วิธีการคิดภาษีจะวัดตามการประเมินมูลค่าซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ กรณีที่ 1: บ้าน (สิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดิน) บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 50-75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03 % บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 75-100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05% บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.1% กรณีที่ 2: บ้าน (เฉพาะสิ่งปลูกสร้าง) บ้าน มูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี บ้าน มูลค่า 10-50 ล้านบาท คิดภาษี 0.02% บ้าน มูลค่า 50-75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03% บ้าน มูลค่า 75-100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05% บ้าน มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.1% หลักการคำนวณภาษีสำหรับคอนโดฯ  การคิดภาษีของคอนโด  จะมีรายละเอียดมากกว่า ต้องใช้ข้อมูลทั้งการประเมินมูลค่าและขนาดของพื้นที่ แล้วนำมาเข้าสูตร จากนั้นก็หักลบกับเงื่อนไขของแต่ละประเภทคอนโด  อีกทีหนึ่งถึงจะได้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริง สูตรสำหรับคิดภาษีคอนโด (ราคาประเมินต่อตารางเมตร x ขนาดพื้นที่ห้องชุด) = (มูลค่าของคอนโด x อัตราภาษีแบบขั้นบันได) โดยมีการจำแนกประเภทของคอนโด ออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งมีเงื่อนไขในการคิดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่างกัน ดังนี้ คอนโดฯ หลังแรก และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านแรก คอนโดฯ หลังที่ 2 เป็นต้นไป ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ให้คิดภาษีทั้งหมดไม่มีส่วนยกเว้น คอนโดฯ ปล่อยเช่า จะคิดภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย ชำระภาษีกับใคร ภายในเมื่อไหร่? เนื่องจากหน้าที่การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้ขึ้นกับกรมสรรพากร แต่เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต โดยจะออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน/บ้าน ให้ผู้เสียภาษีทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และมีกำหนดให้ผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี ทั้งนี้ ก่อนเดินทางไปจ่ายภาษีให้ตรวจสอบว่าพื้นที่ที่ได้รับแจ้งให้จ่ายภาษีขึ้นอยู่กับหน่วยงานใด เช่น สำนักงานเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการเมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี สำหรับในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินเป็นปีแรก กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศขยายกำหนดเวลาจัดเก็บภาษีที่ดินออกเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563  และอีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สามารถผ่อนชำระได้ด้วย โดยกำหนดระยะเวลาใหม่นั้น ยังคงการผ่อนชำระเป็น 3 งวด ได้แก่ สิงหาคม กันยายน และงวดสุดท้ายในเดือน ตุลาคม 2563   สำหรับใครที่ไม่ได้ชำระภาษีที่ดินภายในเดือนกันยายน ก็จะมีหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษีที่ยังค้างชำระ และขั้นตอนสุดท้ายในหน้าที่ของ อปท. คือ การแจ้งรายการภาษีค้างชำระให้กับสำนักงานที่ดินและสำนักงานที่ดินสาขา ภายในเดือนตุลาคม 2563   แม้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะบังคับใช้แล้ว แต่จะเห็นได้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่มีบ้าน ในขณะเดียวกันก็ยังมีการผ่อนปรนต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัยเพื่อปล่อยเช่า เสียภาษีเท่ากับที่อยู่อาศัย แทนที่จะเสียเท่ากับประเภทพาณิชยกรรม นอกจากนี้ในปี 2563 ยังมีการลดอัตราภาษีลงถึง 90% ทำให้เจ้าของอสังหาฯ จ่ายภาษีน้อยลง   อย่างไรก็ตามเจ้าของอสังหาฯ ควรต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาษีที่ดิน และเตรียมตัวให้พร้อมว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ หากมีอสังหาฯ อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีทั้งในปัจจุบันและอนาคต   ภาษีที่ดิน นี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือประชาชนเอง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษีท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่เก็บได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาที่ดินรกร้างให้นำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น
10 บิ๊กอสังหาฯ ทำกำไรได้สูงสุด ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

10 บิ๊กอสังหาฯ ทำกำไรได้สูงสุด ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

แม้ว่าในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ จะสามารถสร้างผลงาน ให้ยังมีรายได้กลับเข้ามา ในภาวะวิกฤตที่ต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการ ต้องลงแรงทำงานกันหนักมากขึ้นกว่าปกติ    เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการซื้อบ้านและคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะการลดราคาสินค้า จัดโปรโมชั่นอยู่ฟรี ส่งผลให้ตัวเลขค่าใช้จ่ายทางการตลาดหลายบริษัทเพิ่มมากขึ้น เมื่อบวกลบคูณหารกับตัวเลขรายได้ในธุรกิจอื่น ๆ หรือค่าใช้จ่ายด้านอื่นด้วย อัตรากำไรของหลายบริษัทจึงลดน้อยลงอย่างปฎิเสธไม่ได้   จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทมหาชน (บมจ.) ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 31 บริษัท พบว่า มีกำไรจากการดำเนินงานของทั้ง 31 บริษัท ลดลงอย่างมากถึง 48.72% โดยกำไรสุทธิที่ทำได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้มีจำนวน 5,025.19 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามีกำไรสุทธิ 9,715.31 ล้านบาท กำไรส่วนหนึ่งที่ลดลง เป็นผลจากมี 11 บริษัทประสบภาวะขาดทุนในช่วงไตรมาสที่ 2 10 บิ๊กอสังหาฯ กำไรลดกว่า 5% สำหรับบริษัทอสังหาฯ รายใหญ่ 10 อันดับแรก ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีอัตรากำไรรวม 6,478.63 ล้านบาท ลดลง 5.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 6,826.71 ล้านบาท โดย 10 บริษัทแรกที่มีอัตรากำไรสุทธิสูงสุด ได้แก่ 1.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,386.28 ล้านบาท  ลดลง 25.24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,854.30 ล้านบาท   สำหรับสาเหตุที่กำไรลดลง เกิดจาก -บริษัทมีรายได้จากการขายเท่ากับ 7,230.22 ล้านบาท ในขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีรายได้จากการขายเท่ากับ 6,539.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 691.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.57%   - บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายเท่ากับ  31.00%  ในขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อน มีอัตรากำไรขั้นต้น จากการเขายเท่ากับ 31.94% อัตราขั้นต้นลดลง​ 0.94% เป็นผลมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น และสถานการณ์ไวรัสโควิด-19   -นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับผลกระทบจาก กำไรขั้นต้นจากรายได้ค่าเช่า และค่าบริการที่ลดลงจานวน 504.48 ล้านบาทจาก การให้บริการของกิจการโรงแรมในเครือเป็นการชั่วคราวด้วย 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,214.61ล้านบาท เพิ่มขึ้น 149.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 487.09 ล้านบาท สาเหตุสำคัญที่ทำให้ เอพี (ไทยแลนด์) รักษาอัตรากำไรให้เติบโตได้ เป็นผลมาจาก -การทำรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโครงการแนวราบ ซึ่งเติบโตทําสถิติสูงสุดถึง​ 6,732 ล้านบาท ​เพิ่มขึ้น 107.9% จากปีก่อน  โดยเป็นสัดส่วนรายได้ที่ใกล้เคียงกัน ระหว่าง ทาวเฮาส์และบ้านเดี่ยว   -การให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขาย และ​บริหาร ​โดยในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารอยู่ที่ 1,516 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.5% ของรายได้ (ไม่รวมโครงการร่วมทุน) โดยลดลง 4.4% จากปีก่อน เนื่องจากค่าใช้จ่ายใน การขายและบริหารครอบคลุมการดําเนินงานของโครงการร่วมทุน เมื่อคิดรวมรายได้​ 51% จาก โครงการร่วมทุนอตัราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ณ ไตรมาส 2 จะลดลงไปอยู่ 16.4% (ลดลง 5.8% จากปีก่อน) 3.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 968.58 ล้านบาท ลดลง 33.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,462.40 ล้านบาท   สาเหตุหลักที่ทำให้ ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรลดลง ทั้ง ๆ ที่รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น เป็นเพราะบริษัท มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ลดลง และกำไรขั้นต้นจากธุรกิจโรงแรมลดลงจำนวน 112 ล้านบาท   รวมถึงผลกระทบจากรายได้ในธุรกิจอื่น ๆ เช่น ธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้า ลดลงด้วย 4.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 707.07 ล้านบาท ลดลง 4.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 737.16 ล้านบาท   บริษัทยังคงรักษาอัตรากำไรได้ใกล้เคียงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้มีปัญหาไวรัสโควิด-19  เนื่องจากมีการรับรู้กำไรจากโครงการร่วมทุน  กับบริษัท โนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลล็อปเมนท์ จํากัด ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกของปีนี้  รวมทั้งบริษัทยังคงให้ความสําคัญกับการบริหารและควบคุมค่าใช้จ่ายให้เกิดประสิทธิภาพ​ 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีกำไรสุทธิ จำนวน 454.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 279.46 ล้านบาท   เหตุผลสำคัญที่ทำให้ เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีอัตรากำไรสุทธิพิ่มขึ้น มาจากรายได้จากขายที่เพิ่มมากขึ้น เพราะลูกค้ามีความต้องการบ้านเพิ่มขึ้น  ทำสถิติยอดขายรายไตรมาสสูงสุดในช่วงไตรมาส 2/63  โดยมียอดขายรวม 6,220 ล้านบาท เติบโต 47% (YoY) ทั้งนี้มาจากยอดขายแนวราบ 5,652 ล้านบาท เติบโตพุ่งถึง 116% (YoY) 6.ศุภาลัย มีกำไรสุทธิ จำนวน 423.30 ล้านบาท ลดลง 45.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 777.15 ล้านบาท   กำไรที่ลดลงมาจาก รายได้จากการโอนกรรมสิทธิในช่วงไตรมาส 2 ลดลง 32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 7.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) มีกำไรสุทธิ จำนวน 398.69 ล้านบาท ลดลง​49.99%จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 797.29 ล้านบาท   เหตุผลสำคัญเกิดจาก บริษัทมีค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 4,421.54 ล้านาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.1%  เป็นจำนวน 510.28 ล้านบาท จากสาเหตุ -ต้นทุนขายอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้นเป็นจานวนเงิน 536.51 ล้านบาท พรือเพิ่มขึ้น 23.9% เพิ่มมากกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้จาการขายอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากการปรับลดราคาและการส่งเสริมการขาย   -ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นเป็นจานวนเงิน 65.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6% เป็นผลจากรับรู้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 106 ล้านบาท แต่ในไตรมาสนี้ กลุ่มบริษัท ได้รับส่วนลดภาษีที่ดิน 90% คิดเป็น จำนวนเงิน 26.76 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท  ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จำนวน 384.54 ล้านบาทนั้น เพิ่มขึ้น จากช่วงเวลาเดียวกันจำนวน 110.28 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 40.2% จากการรวมผลการดำเนินงานของบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GOLD ในงวดปีนี้ 8.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท   สาเหตุสำคัญของบริษัทที่มีกำไรเพิ่มขึ้น เกิดจาก -รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้น จากรายได้  864.93  ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 1,301.08 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามแผนการวางกลยุทธ์ธุรกิจ  การวางแผนด้านการขายและการตลาดได้ดี   -กำไรจากการถูกเวนคืน  ในไตรมาส 2 ปี 2563 บริษัทมีการบันทึกกำไรที่เกิดจากการที่มีโคงการขายของบริษัทถูกเวนคืน ซึ่งมีกำไรก่อนภาษีเงินได้ ทั้งสิ้น 155.66 ล้านบาท ค่าใช่จ่ายในการขาย และบริหาร ปรับเพิ่มขึ้นต่ำกว่า รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งค่าใช้จ่ายจากการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 5.57% แต่รายได้เพิ่มขึ้น 50.43%   -ค่าใช้จ่ายทางด้านการเงินที่ลดลง  ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีค่าใช้จ่ายด้านการเงินเท่ากับ  3.75 ล้านบาท ลดลง จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี   5.62 ล้านบาท 9.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 303.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 164.47 ล้านบาท   สาเหตุสำคัญ คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ที่มีจำนวนมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้อัตรากำไรเพิ่มสูงขึ้น 10.เสนา ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 226.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 117.60 ล้านบาท   สาเหตุที่ทำให้อัตรากำไรสุทธิของเสนา ดีเวลลอปเมนท์ เพิ่มขึ้น เป็นเพราะการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า ที่มียอดโอนของโครงการร่วมทุนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2562 ได้แก่ โครงการ นิชโมโน สุขุมวิท-แบริ่ง และในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีการโอนโครงการ นิช ไพรด์ เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ทำให้บริษัทรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเพิ่มขึ้นอีก 6.7 ล้านบาท   นอกจากนี้  บริษัทยังได้จัดทำแผนรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายใต้มาตรการ SENA Zero COVID มีการบริหารปรับลดค่าใช้จ่ายนการขายและบริหาร ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง 16.5% จากจำนวน 218.3 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาเหลือ 170.0 ล้านบาทในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้   แม้ว่าจะมีบางบริษัทที่อัตรากำไรลดลง แต่ยังถือว่าในภาพรวมสามารถสร้างผลกำไรได้ดี ในภาวะที่ประเทศเผชิญกับปัจจัยลบเช่นนี้  กำไรอาจจะลดลงบ้างแต่ยังดีที่มีกำไร ซึ่งคงต้องมาลุ้นกันต่อไปสำหรับช่วงเวลาที่เหลือ ว่าดีเวลลอปเปอร์จะยังคงรักษาฝีมือในการดำเนินธุรกิจได้ดีต่อไปแค่ไหน
31 บิ๊กอสังหาฯ  โดนพิษโควิด-19 กำไรรวมไตรมาส 2 ลดกว่า 48%

31 บิ๊กอสังหาฯ โดนพิษโควิด-19 กำไรรวมไตรมาส 2 ลดกว่า 48%

แม้ว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทำให้ยอดขายและรายได้ลดลง ซึ่งบางรายได้รับผลกระทบจนต้องปิดกิจการก็มีให้เห็น แต่หลายธุรกิจสามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดได้เป็นอย่างดี  เห็นได้จากผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ยังสามารถสร้างการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้หรือกำไร   ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เป็นหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ ไม่ได้แตกต่างจากหลายธุรกิจ ซึ่งมีทั้งผู้ที่ยังทำกำไรเติบโต ขณะเดียวกันก็มีหลายรายที่ประสบภาวะขาดทุน  ผู้ที่สามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ได้ดี ก็สามารถสร้างผลงานชนิดทุบสถิติรายได้ของตนเอง นับตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจจนมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับตนเอง โดยเฉพาะบริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทมหาชน (บมจ.) ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 31 บริษัท พบว่า ผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ยังคงทำรายได้รวมจำนวน 73,712.62 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเพียง 1.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 74,960.02 ล้านบาท แต่กำไรจากการดำเนินงานของทั้ง 31 บริษัท ลดลงอย่างมากถึง 48.72%   อัตรากำไรที่ลดลงดังกล่าว  เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจอสังหาฯ ประเภทอื่นๆ อาทิ โรงแรม ศูนย์การค้า สำนักงานให้เช่า ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ปกติ จึงทำให้บริษัทอสังหาฯ ซึ่งไม่ได้ขายแต่บ้านและคอนโดมิเนียม ต้องอัตรากำไรสุทธิลดลง แม้ว่ารายได้เฉพาะที่มาจากการขายบ้านและคอนโด ของทั้ง 31 บริษัท จะยังเติบโตในอัตรา 10.96% ซึ่งมีรายได้ 66,330.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาส 2 ปี 2562 ที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ 59,778.80 ล้านบาทก็ตาม 10 บิ๊กอสังหาฯ กวาดรายได้รวมกว่า 5.6 หมื่นล้าน สำหรับบริษัทที่มีรายได้รวมมากที่สุด 10 อันแรก ยังคงเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และเป็นผู้นำตลาด โดยมีรายได้รวมทั้ง 10 บริษัท จำนวน  56,424.75 ล้านบาท เติบโต 10.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีรายได้รวมจำนวน 51,250.03 ล้านบาท 10 อันดับแรกบริษัทอสังหาฯ ทำรายได้รวมสูงสุด ได้แก่ 1.แสนสิริ  มีรายได้รวม 11,305.51 ล้าบาท เติบโต 163.82% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวน 4,285.37 ล้านบาท 2.แลนด์แอนด์เฮ้าส์  มีรายได้รวม 8,298.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,859.46 ล้านบาท 3.เอพี (ไทยแลนด์)  มีรายได้รวม 7,792.00 ล้านบาท เติบโต 62.23%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,803.09 ล้านบาท 4.พฤกษา โฮลดิ้ง  มีรายได้รวม 6,222.81ล้านบาท ลดลง 20.27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,805.09 ล้านบาท 5.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ 4,882.54 ล้านบาท ลดลง 2.95% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี จำนวน 5,031.11 ล้านบาท 6.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น   มีรายได้รวม 4,568.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.67% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 3,496.42 ล้านบาท 7.ควอลิตี้ เฮ้าส์   มีรายได้รวม 4,341.24 ล้านบาท ลดลง 26.14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี จำนวน 5,878.01 ล้านบาท 8.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้   มีรายได้รวม จำนวน 3,292.37 ล้านบาท ลดลง 1.32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,336.49 ล้านบาท 9.ศุภาลัย  มีรายได้รวม จำนวน 3,039.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,477.10 ล้านบาท 10.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค  มีรายได้รวม จำนวน 2,680.77 ล้านบาท ลดลง -37.33% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,277.89 ล้านบาท 10 บิ๊กอสังหาฯ​ ขายบ้าน-คอนโด สร้างรายได้โต 22.11% อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะผลประกอบการ  ในส่วนที่เป็นรายได้ด้านการขายที่อยู่อาศัย ในกลุ่มบิ๊กอสังหาฯ 10 อันดับแรก พบว่า มีรายได้รวมกันจำนวน 51,940 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จาการขายอสังหาฯ รวม 42,536.33 ล้านบาท สำหรับ 10 อันดับแรกของบริษัทที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ​ สูงสุด ได้แก่ 1.แสนสิริ  มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 10,338.20 ล้านบาท เติบโต 309.41% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  2,525.14 ล้านบาท 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 7,582.90 ล้านบาท เติบโต  67.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 4,529.82 ล้านบาท 3.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 7,230.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 6,539.03 ล้านบาท 4.พฤกษา โฮลดิ้ง มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 6,165.52 ล้านบาท ลดลง​ 20.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,780.66 ล้านบาท 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 4,360.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  3,275.08 ล้านบาท 6.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)* มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,880.16 ล้านบาท เติบโต 12.81% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,439.54 ล้านบาท 7.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,859.15 ล้านบาท ลดลง​ 23.50%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 5,044.68 ล้านบาท 8.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,088.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  2,825.80 ล้านบาท 9.ศุภาลัย มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 2,917.91 ล้านบาท ลดลง​ 32.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 4,320.04 ล้านบาท 10.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 2,517.51ล้านบาท  เติบโต 11.57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 2,256.54 ล้านบาท หมายเหตุ - * ผลการดำเนินงานของบริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำไตรมาส 3/2563 งวดเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 10 บิ๊กอสังหาฯ กำไรลดกว่า 5% แม้ว่า 10 บริษัทขนาดใหญ่ จะสามารถสร้างรายได้รวม และรายได้จากการขายอสังหาฯ เติบโตจากไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมาได้ แต่ดูเหมือนว่าความสามารถในทำกำไรจะลดลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า เป็นผลจากการลดราคาสินค้า การจัดทำแคมเปญกระตุ้นการขาย และการมีต้นทุนทางการตลาดที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อรวมกับธุรกิจอื่น ๆ ที่บริษัทนั้น ๆ ดำเนินการ ที่รับผลกระทบ เช่น การปิดบริการธุรกิจโรงแรม หรือ ปิดศูนย์การค้า จึงทำให้กำไรโดยรวมลดน้อยลงนั่นเอง   โดยบริษัทอสังหาฯ รายใหญ่ 10 อันดับแรก มีอัตรากำไรรวม 6,478.63 ล้านบาท ลดลง 5.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 6,826.71 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับภาพรวมทั้งอุตสาหกรรม ยังถือว่าทั้ง 10 บริษัทดังกล่าว ยังมีความสามารถทำกำไรได้ดีกว่า เพราะภาพรวมกำไรลดไปกว่า 48.28% โดย 10 บริษัทแรกที่มีอัตรากำไรสุทธิสูงสุด ได้แก่ 1.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,386.28 ล้านบาท  ลดลง 25.24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,854.30 ล้านบาท 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,214.61ล้านบาท เพิ่มขึ้น 149.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 487.09 ล้านบาท 3.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 968.58 ล้านบาท ลดลง 33.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,462.40 ล้านบาท 4.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 707.07 ล้านบาท ลดลง 4.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 737.16 ล้านบาท 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีกำไรสุทธิ จำนวน 454.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 279.46 ล้านบาท 6.ศุภาลัย มีกำไรสุทธิ จำนวน 423.30 ล้านบาท ลดลง 45.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 777.15 ล้านบาท 7.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)* มีกำไรสุทธิ จำนวน 398.69 ล้านบาท ลดลง​49.99%จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 797.29 ล้านบาท 8.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท 9.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 303.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 164.47 ล้านบาท 10.เสนา ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 226.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 117.60 ล้านบาท หมายเหตุ - * ผลการดำเนินงานของบริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำไตรมาส 3/2563 งวดเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 11 บริษัทสู้พิษโควิดไม่ไหว ขาดทุนรวม 2,209.58 ล. การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ไม่เพียงแต่ทำให้หลายบริษัทมีกำไรลดลงเท่านั้น แต่ทำให้ผู้ประกอบการบางรายประสบภาวะขาดทุนจากการดำเนินงานเลยทีเดียว ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีถึง 11 บริษัท ที่ประสบภาวะขาดทุนในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โดยมีผลขาดทุนรวมกัน 2,537.09 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่ทั้ง 11 บริษัทมีกำไรรวม 923.51 ล้านบาท   โดย 11 บริษัทที่ประสบภาวะขาดทุนในไตรมาส 2 ได้แก่ 1.สิงห์ เอสเตท ขาดทุน จำนวน 946.05 ล้านบาท  ลดลง 606.07% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 186.94 ล้านบาท 2.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ขาดทุน จำนวน 544.70 ล้านบาท ลดลง 424.09% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 168.07 ล้านบาท 3.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ขาดทุน จำนวน 470.70 ล้านบาท ลดลง 238.98% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 255.84 ล้านบาท 4.ชาญ อิสระ ขาดทุน จำนวน 158.59 ขาดทุนเพิ่ม 39.04% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 114.06 ล้านบาท 5.ไรมอนด์ แลนด์ ขาดทุน จำนวน 130.44 ล้านบาท ลดลง 309.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 54.73 ล้านบาท 6.นุศาศิริ ขาดทุน จำนวน 128.71 ล้านบาท ลดลง 620.46%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 24.73 ล้านบาท 7.เมเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ ขาดทุน จำนวน 79.95 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 467.02 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 14.10ล้านบาท 8.มั่นคง เคหะการ ขาดทุน จำนวน 35.22 ล้านบาท  ลดลง 126.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 131.25 ล้านบาท 9.เนอวานา ไดอิ ขาดทุน จำนวน 34.47 ล้านบาท ลดลง 268.89% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 20.41 ล้านบาท 10.สัมมากร ขาดทุน จำนวน 4.70 ล้านบาท ลดลง 102.16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 217.70 ล้านบาท 11.ปรีชา กรุ๊ป ขาดทุน จำนวน 3.56 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 55.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุน 8.00 ล้านบาท สำหรับธุรกิจอสังหาฯ​ ในปีนี้ ถือว่าเป็นปีที่มีความท้าทาย และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ที่สำคัญเป็นปีที่ดีสำหรับผู้ที่มีกำลังซื้อ และมีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง เพราะผู้ประกอบการต่างจัดโปรโมชั่น การส่งเสริมการขาย เพื่อระบายสต็อกในมือที่มีอยู่  แลกเป็นกระแสเงินสดให้เข้ามาใช้ในการบริหารธุรกิจในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ซึ่งผู้ซื้อก็ต้องเลือกพิจารณาโครงการให้รอบครอบ  ราคาก็เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อ แต่เรื่องของคุณภาพและบริการหลังการขาย  ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเราต้องอยู่กับบ้านที่ซื้อไม่ใช่แค่ปีสองปี แต่คงเป็นระยะเวลานับสิบ ๆปี หากไม่คิดขายก่อนเพื่อเก็งกำไร   แต่สำหรับผู้ประกอบการ เชื่อว่าวิกฤตครั้งนี้ น่าจะเป็นอีกหนึ่งบทเรียนทางธุรกิจสำคัญ ที่จะทำให้นับจากนี้ต้องพิจารณาทิศทางการดำเนินธุรกิจให้รอบครอบ รวมถึงต้องเตรียมแผนสำรอง และการบริหารความเสี่ยงในมุมต่าง ๆ เอาไว้ให้รอบด้านด้วย
ผลประกอบการ แสนสิริ Q2/63  รายได้ทะลุหมื่นล้าน แต่กำไรลดกว่า 9%

ผลประกอบการ แสนสิริ Q2/63 รายได้ทะลุหมื่นล้าน แต่กำไรลดกว่า 9%

แสนสิริ ทำรายได้รวมไตรมาส 2 กว่า 11,306 ล้าน สูงสุดในตลาดอสังหาฯ แต่โดนผลกระทบโควิด-19 ทำกำไรลดกว่า 9.49% ส่วน 6 เดือนแรกของปีกำไรหายไปกว่าครึ่ง มั่นใจครึ่งปีหลังยังกวาดยอดขายและรายได้ต่อเนื่อง เตรียมโอนโครงการสร้างแล้วเสร็จอีก 5 โครงการ พร้อมเปิดโปรเจ็กต์ใหม่ไตรมาส 4 อีก 10 โครงการมูลค่ากว่า 11,700 ล้าน   สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทอสังหาริมทรัพย์  ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ถือว่าในภาพรวมหลายบริษัทยังคงสามารถสร้างการเติบโตได้ ท่ามกลางภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยบริษัทที่ทำรายได้สูงสุดในกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ  คงต้องยกให้กับ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ที่มีรายได้ระดับหมื่นล้านบาท ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของอุตสาหกรรมไปเรียบร้อยแล้ว รายได้รวมทะลุหมื่นล้าน แสนสิริ มีรายได้รวม ในไตรมาสที่ 2 จำนวน 11,306 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  4,285 ล้านบาท สาเหตุของการเพิ่มขึ้น เป็นเพราะรายได้จากการขายโครงการเพื่อขายที่เพิ่มขึ้นมากถึง 309% ทำให้ภาพรวมช่วง 6 เดือนแรก แสนสิริรายได้จากโครงการเพื่อขายเพิ่มขึ้นถึง 112% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  ส่วนรายได้ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563  มีจำนวน 17,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64% เมื่อเทียบกับรายได้รวมจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 10,923 ล้านบาท สำหรับรายได้ในช่วงไตรมาส 2 ของแสนสิริและบริษัทย่อย มีรายได้ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 10,338 ล้านบาท แบ่งออกเป็น -โครงการบ้านเดี่ยว จำนวน 4,917 ล้านบาท -โครงการคอนโดมิเนียม จำนวน 4,062 ล้านบาท -โครงการทาวน์เฮาส์ จำนวน 1,077 ล้านบาท -โครงการมิกซ์ จำนวน 282 ล้านบาท   โครงการบ้านเดี่ยว จำนวน 4,917 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 1,651 ล้านบาท ซึ่งมาจาก 3 โครงการหัก ได้แก่ โครงการบ้านแสนสิริ พัฒนาการ เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา และเศรษฐสิริ จรัญ-ปิ่นเกล้า 2 มีมูลค่ารวม 1,372 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13% ของรายได้จากโครงการเพื่อขายทั้งหมด   รายได้จากการขายโครงการทาวน์เฮาส์ ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีจำนวน 1,077 ล้านบาท  ปรับเพิ่มขึ้นจากจำนวน 480 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ปี​ 2562 ซึ่งมาจากรายได้หลักของ 4 โครงการทาวน์เฮาส์ ได้แก่ โครงการสิริเพลส สุขสวัสดิ์ - พระราม3 โครงการไทเกอร์เลน โครงการสิริเพลส เพชรเกษม-สาย 4 และโครงการสิริเพลส จรัญฯ-ปิ่นเกล้า ซึ่งทั้ง 4โครงการ มีรายได้รวม​ 452 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4% ของรายได้จากโครงการเพื่อขายทั้งหมด ส่วนรายได้จากการขายโครงการมิกซ์  มีจำนวน 282 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากจำนวน 7 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งรายได้หลักมาจากโครงการอณาสิริ บางใหญ่   รายได้จากการขายโครงการคอนโดมิเนียม ปรับเพิ่มขึ้น 950% จากจำนวน 387 ล้านบาทใน ไตรมาสที่ 2 ปีที่ผ่านมา เป็นจำนวน 4,062 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ซึ่ง​รายได้ส่วนใหญ่มาจาก 3 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการคาวะ เฮาส์ โครงการเดอะโมนูเมนต์ ทองหล่อ และโครงการดีคอนโด ริน  ทั้ง 3 โครงการ มีรายได้รวมจำนวน​ 2,429 ล้านบาท คิดเป็น 23% ของรายได้จากโครงการเพื่อขายทั้งหมด 6 เดือนแรกกำไรลดกว่า 50% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแสนสิริจะสามารถทำรายได้เติบโต แต่ในส่วนของกำไรสุทธิ ในไตรมาส 2 พบว่ามีอัตรากำไรลดลง 9.49% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิจำนวน  258.16 ล้านบาท ส่วนในไตรมาส 2 ปี 2562 มีกำไรสุทธิ 285.23 ล้านบาท  โดยอัตรากำไรสุทธิคิดเป็น 2.3% ของรายได้รวม ปรับลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี อัตรากำไรสุทธิ 6.7% ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการขาดทุนของธุรกิจการบริหารโรงแรม เพราะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ซึ่งภาพรวมในช่วง 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 320 ล้านบาท  ลดลง 53.62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 690 ล้านบาท   นายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารสายงานการเงินและสนับสนุนธุรกิจ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) เปิดเผยว่า ในครึ่งปีแรกบริษัทมีผลงานการโอนที่โดดเด่น ล่าสุด มียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ และส่งมอบให้กับลูกค้าไปแล้วถึง 28,200 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดโอนเฉพาะไตรมาสที่ 2 สูงถึง 25,200 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ ทั้งในรอบครึ่งปีและรายไตรมาสตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ตุน Backlog 5.4 หมื่นล้าน นอกจากนี้ บริษัทยังมียอดขายรอโอน (Backlog) (รวมโครงการร่วมทุนในคอนโดมิเนียม) มูลค่ารวมประมาณ 54,100 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การพัฒนาของแสนสิริ 40,000 ล้านบาท และยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การร่วมทุนอีก 14,000 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566 ซึ่งช่วยสร้างผลงานการโอนให้เป็นไปตามเป้าหมายในปีนี้ 42,000 ล้านบาท สำหรับยอดขาย (Presale) ในช่วง 7 เดือนของปี 2563 บริษัทมียอดขายรวมแล้วกว่า 25,000 ล้านบาท คิดเป็น 70% จากเป้าหมายยอดขายทั้งปี  35,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายจากโครงการแนวราบถึง 16,200 ล้านบาท เติบโต 110% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็น 85% ของเป้าหมายยอดขายแนวราบทั้งปีที่ตั้งไว้ 19,000 ล้านบาท   กุญแจสำคัญ ซึ่งจะผลักดันสู่ผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง คือการบริหารเงินสดในมือที่ดี ที่จะส่งผลให้แสนสิริเป็นองค์กรที่มีสภาพคล่องสูง มีกระแสเงินสดที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ ล่าสุดบริษัทมีสภาพคล่องในมือรวม 12,000 ล้านบาท ไตรมาส 4 เปิดอีก 10 โปรเจ็กต์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันแสนสิริ ให้บรรลุเป้าหมายการโอน สู่การสร้างรายได้ที่ดีต่อเนื่องในปีนี้มาจากแผนการโอนคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่ อีก 5 โครงการใหม่ มูลค่าโครงการรวม 16,200 ล้านบาท ได้แก่ เดอะ เบส สะพานใหม่ เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 21 – 23 สิงหาคมนี้ ,โอกะ เฮาส์ เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 18 – 20 กันยายน, XT เอกมัย เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 2 – 4 ตุลาคม, ลา ฮาบานา หัวหิน เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 16 – 18 ตุลาคม และดีคอนโด ธาร จรัญฯ เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 30 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน 2563   ด้านแผนการเปิดตัวโครงการใหม่  เตรียมเปิดตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 อีกจำนวน  10 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 11,700 ล้านบาท แบ่งการพัฒนาเป็นการเปิดตัวบ้านเดี่ยว จำนวน 3 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 5,500 ล้านบาท บ้านและทาวน์โฮมภายใต้แบรนด์ อณาสิริ 4 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 4,200 ล้านบาท และทาวน์โฮมแบรนด์ สิริ เพลส 3 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 2,000 ล้านบาท รวมทั้งบริษัทยังมีแผนเปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ ภายใต้แบรนด์ เดอะ เบส ในชื่อและทำเล “เดอะ เบส อีส-บางแค” มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท ในวันที่ 26 – 27 กันยายนนี้อีกด้วย  
เอพี ทุบสถิติยอดขายครึ่งปีแรก “สูงสุด” ส่งทาวน์โฮม 13 โปรเจ็กต์เพิ่มรายได้

เอพี ทุบสถิติยอดขายครึ่งปีแรก “สูงสุด” ส่งทาวน์โฮม 13 โปรเจ็กต์เพิ่มรายได้

เอพี เดินหน้าทุบสถิติยอดขาย 7 เดือน สูงสุดในประวัติศาสตร์ พร้อมส่ง 13 โปรเจ็กต์กลุ่มทาวน์โฮม  มูลค่า 15,350 ล้านบาท  เดินหน้าทำตลาดช่วงโค้งท้ายปี หลังพบดีมานด์จริงยังต้องการซื้อบ้านอยู่อาศัย   ปฏิเสธไม่ได้ว่า “พระเอก” ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้ คือ กลุ่มบ้านแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และบ้านแฝด เพราะถือว่าเป็นตลาด Real Demand ที่ผู้ซื้อต้องการอาศัยอยู่จริง ที่สำคัญ ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มมีวิถีชีวิต ตามแบบความปกติใหม่ หรือ New Normal หลังจากเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ต้องตระหนักถึงความปลอดภัยเรื่องของสุขภาพ การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และการต้องใช้พื้นที่ เพื่อทำงานจากที่บ้าน (Work From Home)    ตลาดคอนโดมิเนียม ที่เคยเป็น “พระเอก” เมื่อหลายปีก่อน มาปีนี้ตลาดทรุดตัวลงอย่างหนัก เห็นได้จากผู้ประกอบการหลายราย เลือกที่จะไม่เปิดโครงการใหม่ และเร่งระบายสต็อกสินค้าในมือออกให้ได้มากที่สุด เพื่อบริหารความเสี่ยงและต้องการกระแสเงินสดเข้ามา เพราะเทรนด์การพักอาศัยนับจากนี้ คงเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตลาดคอนโดคงไม่เฟื่องฟูเหมือนอดีต หากมองจากสถานการณ์ปัจจุบัน ถึงอนาคตอันใกล้ในช่วง 2-3 ปีนับจากนี้   ช่วงที่ผ่านมาเรียกได้ว่าดีเวลลอปเปอร์แทบจะทุกราย หันมาโฟกัสการทำตลาดแนวราบ เปิดโครงการใหม่อออกมาทำตลาด  และเวลาช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา หลายบริษัทก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ตลาดแนวราบเป็น “พระเอก” ตัวจริง เพราะสามารถสร้างยอดขายและทำรายได้สูง อย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน บางรายสามารถ “ทุบสถิติ” ยอดขายของตัวเอง ที่เคยทำได้สูงสุดอดีต กลายเป็นยอดขายแบบ “นิวไฮด์” นับตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจอสังหาฯ​ มาเลยก็มีให้เห็น   สำหรับบริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ก็เป็นหนึ่งในดีเวลลอปเปอร์ ที่มีไดเรคชั่นการดำเนินธุรกิจ ไปในทิศทางเดียวกับสภาพตลาด โดยหันมาเน้นการเปิดตัวโครงการใหม่ ที่เป็นตลาดแนวราบ ไม่เปิดตัวโครงการคอนโด แต่ยังคงมีห้องชุดออกขาย ซึ่งเป็นโครงกาเก่าที่เปิดตัวมากก่อนหน้านี้  ที่สำคัญยังเป็นหนึ่งในดีเวลลอปเปอร์ที่สามารถสร้างผลงาน ทุบสถิติทำยอดขายได้สูงสุดนับตั้งแต่ตั้งบริษัทมาเลยเช่นกัน (อ่านข่าวเพิ่มเติม....เอพี ลุยตลาดอสังหาฯครึ่งปีหลัง เปิด 26 โปรเจ็กต์แนวราบ มูลค่า 26,000 ล้าน)   ทิศทางของบริษัทในช่วงครึ่งปีหลัง ยังคงเดินตามแนวทางดังกล่าว คือ การเปิดตัวโครงการแนวราบ โดยหนึ่งใน “พระเอก” ที่จะเข้ามาสร้างการเติบโต อย่างมีนัยะสำคัญ คือ กลุ่มทาวน์โฮม ภายใต้แบรนด์บ้านกลางเมือง และพลีโน่ (Pleno) ที่วางแผนเปิดตัวในช่วงเวลาที่เหลืออีก 13 โครงการ มูลค่า 15,350 ล้านบาท     นายภมร ประเสริฐสรรค์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าทาวน์โฮม บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จะเปิดตัวโครงการภายใต้แบรนด์  บ้านกลางเมือง  5 โครงการใหม่ มูลค่าโครงการรวม 7,855 ล้านบาท ในราคาเริ่มต้นที่ 3.99 - 8 ล้านบาท  ส่วนแบรนด์ พลีโน่ ​จะเปิดทั้งหมด 8 โครงการ มูลค่ารวมมากถึง 7,495 ล้านบาท ในราคาเริ่มต้น 1.99 – 6.8 ล้านบาท   โดยขาย 7 เดือนที่ผ่านมา มียอดขายรวมแล้วกว่า 18,175 ล้านบาท คิดเป็น 55% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 33,500 ล้านบาท โดยเป็นยอดขายจากโคงการแนวราบมูลค่า 15,540 ล้านบาท เติบโต 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และคิดเป็น 70% ของเป้ายอดขายแนวราบทั้งปีที่ 22,500 ล้านบาท ซึ่งยอดขายสินค้าแนวราบทั้งหมดที่เกิดขึ้น มาจากโครงการที่อยู่ระหว่างการขายกว่า 85 โครงการ มูลค่าคงเหลือขาย 46,750 ล้านบาท (รวมโครงการแนวราบที่เปิดตัวใหม่ในครึ่งปีแรก 14 โครงการ มูลค่า 15,475 ล้านบาท)     ที่ผ่านมาเอพีมียอดขายเฉลี่ยของตลาดแนวราบต่อสัปดาห์ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ตั้งแต่ในช่วงหลังการคลายล็อกดาวน์ แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริงยังมีอยู่ และความมั่นใจของลูกค้าเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ   “ในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา เอพี ไทยแลนด์ ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก โดยมี EMPOWER LIVING เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญขององค์กร ทั้งนี้ ท่ามกลางสภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ยังสามารถสร้างสถิติการเติบโตทางด้านรายได้ครั้งใหม่ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยในครึ่งปีแรกบริษัทฯ มีรายได้รวมจากสินค้าแนวราบและกลุ่มคอนโดฯ (100% JV) มากถึง 19,960 ล้านบาท ด้านกำไรสุทธิ (Net Profit) 2 ไตรมาสแรกสูงถึง 1,830 ล้านบาท หากดูในส่วนของรายได้รวม (100% JV) เฉพาะไตรมาส 2 ที่ 13,140 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์”  
โกลเด้นแลนด์ ยังทำรายได้และกำไร 6 เดือนแม้เจอวิกฤตโควิด-19

โกลเด้นแลนด์ ยังทำรายได้และกำไร 6 เดือนแม้เจอวิกฤตโควิด-19

เน้นคุมค่าใช้จ่าย รักษากระแสเงินสด ท่ามกลางโควิด-19 เตรียมออกจากการเทรดหุ้นในตลาด วันที่ 11 สิงหาคมนี้ หลังเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดแล้ว    โกลเด้นแลนด์ (GOLD) หรือ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เผยผลประกอบการสำหรับรอบระยะเวลา 6 เดือน (1 มกราคม 2563 – 30 มิถุนายน 2563) สามารถทำรายได้รวมจำนวน 8,308 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิจำนวน 830 ล้านบาท ใกล้เคียงกันจากงวดเดียวกันของปีก่อน จากการเปิดตัวโครงการครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และการเน้นรักษากระแสเงินสด   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะกระทบกับการรับรู้รายได้ของบริษัท เนื่องจากลูกค้าพิจารณานานขึ้น แต่บริษัทยังคงมั่นใจจะสามารถรับรู้รายได้  ในระดับที่ประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ดังกล่าวไปได้  เนื่องจากผู้บริโภคยังคงให้ความสนใจอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ซึ่งบริษัทยังเดินหน้าเปิดโครงการใหม่ และทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง อาทิ อยู่ฟรี 3 ปี เมื่อพิจารณาเฉพาะรายได้หลักจากการขายอสังหาฯ งวด 6 เดือน  บริษัทมีรายได้ส่วนนี้รวม 7,438 ล้านบาท ใกล้เคียงกันจากงวดเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากยังคงสามารถรับรู้รายได้จากโครงการที่เปิดขายตั้งแต่ปี 2562 อย่างต่อเนื่อง   ในขณะที่รายได้ค่าเช่าและอื่น ๆ งวด 6 เดือน บริษัทมีรายได้ส่วนนี้รวม 757ล้านบาท ใกล้เคียงจากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่าสามารถทำรายได้เพิ่มสูงขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่ธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบตรงจากวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19 จึงมีรายได้ลดลง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้อนุมัติให้บริษัทเพิกถอนออกจากสถานะการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2563 โดยหุ้นสามัญของ GOLD จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นวันสุดท้ายในวันที่ 10 สิงหาคม 2563   โดยเป็นไปตามกระบวนการเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“FPT”) เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยผลของการทำคำเสนอซื้อทำให้ FPT เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ GOLD มากกว่า 99% สำหรับกระบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ก้าวเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย (Residential) โครงการเชิงพาณิชย์ (Commercial) และพื้นที่เชิงอุตสาหกรรม (Industrial) ภายใต้บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน  และคอนโด ประจำเดือนสิงหาคม 63

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนสิงหาคม 63

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด สำหรับผู้ที่กำลังจะวางแผนซื้อบ้านใหม่ ในช่วงที่ดีเวลลอปเปอร์ขนบ้านและคอนโดมิเนียมออกมาขาย พร้อมจัดโปรโมชั่นกันกระหน่ำ ลองมาเช็คกันดูว่า ซื้อแล้วจะกู้เงินกับธนาคารไหนดี เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยที่ดีที่สุด และคุ้มค่ากับเม็ดเงิน ซึ่งเราได้รวบรวมเอามาไว้ให้แล้ว แต่เป็นดอกเบี้ยเบื้องต้นที่ธนาคารประกาศใช้ทั่วไป ซึ่งอาจจะมีบางโครงการหรือบางธนาคารที่ทำแคมเปญร่วมกัน อัตราดอกเบี้ยก็อาจจะต่ำกว่าที่เราได้นำมารวบรวมไว้ คงต้องตรวจสอบกับทางธนาคารหรือทางโครงการอีกครั้งหนึ่ง !!! ธนาคารกรุงเทพ มีบริการสินเชื่อบ้านบัวหลวง -อัตราดอกเบี้ยพิเศษเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.91% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 -3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.85% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) -อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.99% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 -3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 4.05% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) -อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 3 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.375% หลังจากนั้น MRR-1.375% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 4.09% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 4 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 -3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% หลังจากนั้น MRR-1.375% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 4.17% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 4 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) -อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 4.28% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 2 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 -3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.625% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 4.30% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 2 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) -กรณีวงเงินตั้งแต่ 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก 4.75% หลังจากนั้น คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-1% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีวงเงินต่ำกว่า 5 แสนบาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.625% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันสิทธิการเช่า คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันที่ดินเปล่าเพื่อการอยู่อาศัย คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.25% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับผู้ที่ยื่นคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 8 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 โดยผู้กู้ต้องลงนามในสัญญากู้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุมัติสินเชื่อ และจดทะเบียนจำนองพร้อมเบิกเงินกู้งวดแรกหรือทั้งหมดภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญา -พนักงานที่มีรายได้ประจำ หมายถึงพนักงานที่มีรายได้หลัก หรือมีความสามารถในการชำระคืนหลัก จากรายได้ประจำ -รูปแบบการชำระแบบคงที่ เลือกผ่อนได้ทุกทางเลือก/รูปแบบการผ่อนชำระแบบขั้นบันได เลือกผ่อนได้เฉพาะทางเลือกที่ 1 -อัตราส่วนวงเงินกู้สูงสุด และมูลค่าหลักประกัน ให้เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค. 63 เท่ากับ 5.75% ต่อปี -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ธนาคารกสิกรไทย -สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ประจำ 3 ปีแรก MRR-1.78%  หลังจากนั้นจนสิ้นสุดสัญญา MRR-1.00%  อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3ปี4.19%  อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (20 ปี) เท่ากับ 4.69% -สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ 3 ปีแรก MRR-1.00%  หลังจากนั้น จนสิ้นสุดสัญญา MRR-0.75%  อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3ปี4.97% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (20 ปี) เท่ากับ 5.13% อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% (ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63) หมายเหตุ  -อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 63 ถึง วันที่ 30 ก.ย. 63 โดยยื่นจดจำนองภายในวันที่ 30 พ.ย.63 -สามารถยื่นกู้ได้สำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภท ยกเว้น Refinance และการกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า -วงเงินให้กู้ได้ไม่เกิน 100% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักประกัน -สมัครทำประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้านได้รับอนุมัติและไม่ยกเลิกการทำประกันตามเงื่อนไข -ทุนประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อขั้นต่ำ 70 % ขึ้นไปของวงเงินสินเชื่อบ้านและเลือกระยะเวลาคุ้มครอง 100 % ของระยะเวลากู้ หรือ -ทุนประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 100 % ของวงเงินสินเชื่อบ้านและเลือกระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำ 70 % ของระยะเวลากู้ -การทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้านกสิกรไทยรับประกันโดย บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ลูกค้าต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขในกรมธรรม์ก่อนตัดสินใจทำประกันทุกครั้ง ทั้งนี้ผู้ซื้อมีสิทธิ์เลือกที่จะทำประกันชีวิตหรือไม่ก็ได้ ไม่มีผลต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ -การพิจารณารับประกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและกฎเกณฑ์การรับประกันของ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย ประเภทสินเชื่อบ้านกรุงไทย...สุขใจถ้วนหน้า ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ -อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.90% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.40% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.22% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.90% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.25% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.26% -อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี ผ่อนล้านละ 3,500 บาท 3 ปีแรก แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.24% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.15% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.24% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.54% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.15% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.28% -อัตราดอกเบี้ยลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.37% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.25% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.27% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.29% ประเภทสินเชื่อบ้านกรุงไทย...สุขใจถ้วนหน้า ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ กรณีธนาครออกค่าจดจำนองให้ -อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.64% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.95% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.35% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.64% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.65% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.25% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.39% -อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี   แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.44% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.36% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.74% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.40% -อัตราดอกเบี้ยลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.04% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.37% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.94% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.41% หมายเหตุ -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ 1.ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี 2.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ หรือ ระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ -ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,600 บาทต่อเดือน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา -อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านกรุงศรี เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.-พ.ย. 63 สำหรับวงเงินกู้ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.35% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.82% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.30% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.50% เดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.60% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.35% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 4.21% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.52% -สำหรับวงเงินกู้ ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.52% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.02% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.25% เดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.95% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.89% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.23% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และ ฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปีในกรณีที่ลูกค้าซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เฉพาะในปีที่ 1จากอัตราดอกเบี้ยทุกทางเลือก ลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้ 1.ผลิตภัณฑ์ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการได้แก่ MRTA : แผนกรุงศรี เซฟตี้โลน 1 พลัส หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 1 หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 2 MLTA : กรุงศรี รักบ้าน รักคุณ หรือกรุงศรี รักบ้าน รักคุณ พลัส เท่านั้น 2.กรณีผู้กู้หลักเป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ประจำต้องซื้อ MRTA/MLTA 100% ของ วงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 70% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 20 ปี 3.กรณีผู้กู้หลักเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องซื้อ MRTA/MLTA อย่างน้อย 80% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 50% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี 4.กรณี มีผู้กู้ร่วม สามารถซื้อ MRTA/MLTA เฉพาะผู้กู้หลักเพียงคนเดียวได้หรือหากผู้กู้ร่วมประสงค์ที่จะซื้อ MRTA/MLTA ด้วย ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องมีทุนประกันขั้นต่ำในสัดส่วนที่เท่ากัน ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติตามที่ลูกค้าได้เลือกไว้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทประกันไม่อนุมัติ MRTA/MLTA หรือในกรณีที่ลูกค้าขอยกเลิก MRTA/MLTA ธนาคารเกียรตินาคิน  -สินเชื่อบ้านวงเงินกู้ตั้งแต่ 5 แสนบาทแต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ประเภทลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ (MLR-4.41%)-(MLR-3.31%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ (MLR-4.41%)-(MLR-3.15%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% ประเภทคงที่ 3 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0.00%-3.99% ปีที่ 4-5 (MLR-3.00%)-(MLR-1.75%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0.00%-3.99% ปีที่ 4-5 (MLR-3.00%)-(MLR-1.75%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% ประเภทคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.69%-2.79% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย (MLR-4.01%) – (MLR-3.51%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.94%-3.04% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย (MLR-3.76%) – (MLR-3.26%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับ ปัจจัยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ย ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา  (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการให้บริการและเว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เท่ากับ 6.525% ต่อปี 3.กรณีที่ทำประกัน สมัครประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อกับบริษัทประกันที่ธนาคารกำหนด (MRTA) ทุนประกันภัย100% และระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลากู้สินเชื่อไม่ถึง 10 ปี ให้ระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำเท่ากับระยะเวลาการกู้สินเชื่อ 4.ระยะเวลากู้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สูงสุด 30 ปี (อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปีสำหรับพนักงานเงินเดือนประจำ และไม่เกิน 70 ปีสำหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) ธนาคารซีไอเอ็มบี  -สำหรับพนักงานประจำรายได้ 15,000 บาทต่อเดือน หรือเจ้าของกิจการ รายได้ 30,000 บาทต่อเดือน แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.00% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-2.00% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 4.35% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.10% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.70% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-2.00% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 4.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.18% -ดอกเบี้ยสำหรับพนักงานประจำ หรือเจ้าของกิจการ รายได้ 50,000 บาทต่อเดือน แบบทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-5 เท่ากับ 4.49% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี เท่ากับ 4.49% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 5.00% แบบไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-5 เท่ากับ 4.79% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี เท่ากับ 4.79% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.12% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR = 7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 63) ธนาคารทีเอ็มบี  -อัตราดอกเบี้ย ซื้อบ้านจากโครงการทั่วไป กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี ค่าจดทะเบียนจำนอง ,ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.88% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.40% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.57% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.23% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.05% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.46% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.48% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.38% อัตราเฉลี่ย 4.90% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.87% หมายเหตุ เมื่อคุณกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบีคุ้มบ้าน (MRTA) 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีเอ็มบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต TMB (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต TMB แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ข้อเสนอพิเศษเมื่อกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท นอกจากดอกเบี้ยคงที่ต่ำสำหรับ 3 ปีแรกแล้ว คุณยังได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง: TMB จ่ายให้ 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท สำหรับกรณีซื้อบ้าน จากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง สำหรับกรณีที่กู้ซื้อบ้านกับ TMB โดยไม่สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท จะได้รับอัตราดอกเบี้ยปกติจาก TMB โดยยังได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร EIR (Effective Interest Rate : อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา) เป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น โดยคำนวณจาก เงินกู้ 3 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี / MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 -กรณีซื้อบ้านจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี ค่าจดทะเบียนจำนอง ,ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.23% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 3.05% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.12% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.58% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 2.70% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.00% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.74% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 3.54% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.38% อัตราเฉลี่ย 4.90% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.45% หมายเหตุ เมื่อกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบีคุ้มบ้าน (MRTA) 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีเอ็มบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต TMB (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต TMB แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ข้อเสนอพิเศษเมื่อกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท นอกจากดอกเบี้ยคงที่ต่ำสำหรับ 3 ปีแรกแล้ว คุณยังได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง: TMB จ่ายให้ 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท สำหรับกรณีซื้อบ้าน จากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง สำหรับกรณีที่กู้ซื้อบ้านกับ TMB โดยไม่สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท จะได้รับอัตราดอกเบี้ยปกติจาก TMB โดยยังได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆเป็นไปตามประกาศของธนาคาร EIR (Effective Interest Rate : อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา) เป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น โดยคำนวณจาก เงินกู้ 3 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี / MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ธนาคารไทยพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย 3.25% - 4.10%* เฉลี่ย 3 ปีแรก สำหรับลูกค้าโครงการ/ลูกค้าองค์กร โดยขึ้นอยู่กับประเภทโครงการ หรือประเภทองค์กรตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด สำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้ภายใน 1 ก.ค.-30 ก.ย. 63 และจดจำนองภายใน 30 ก.ย. 63 ธนาคารธอส. สินเชื่อบ้าน GHB Precious ปีที่ 1 ดอกเบี้ยเท่ากับ 1.67% ปีที่ 2 เท่ากับ 2.75% ปีที่ 3 เท่ากับ MRR-2.40% ปีที่ 4-7 เท่ากับ MRR-2.00% ปีที่ 8 จนถึงตลอดอายุสัญญา  กรณีลูกค้าสวัสดิการ MRR-1.00% กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป MRR-0.50% หมายเหตุ ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมยื่นกู้ 0.1% ของวงเงินนิติกรรม สินเชื่อ New Life ปีที่ 1 ดอกเบี้ยเท่ากับ 3.00% ปีที่ 2 เท่ากับ 3.25% ปีที่ 3 เท่ากับ 3.50% ปีที่ 4-5 เท่ากับ 4.00% ปีที่ 6 จนถึงตลอดอายุสัญญา  กรณีลูกค้าสวัสดิการ MRR-1.00% กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป MRR-0.50% หมายเหตุ ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมยื่นกู้ 0.1% ของวงเงินนิติกรรม สินเชื่อบ้านโครงการจัดสรร ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยเท่ากับ 2.65% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-2.90% ปีที่ 4 เป็นต้นไป กรณีลูกค้าสวัสดิการ MRR-1.00% กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป MRR-0.50% ธนาคารยูโอบี สินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับโครงการของบริษัทมหาชน -แบบดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.35% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.79% -กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.55% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.87% -แบบดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.80% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 4.75% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.80% กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.00% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 4.95% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.88% สินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุน -แบบดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.40% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.81% กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.60% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.89% -แบบดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.85% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 4.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.50% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.82% กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.05% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 5.00% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.90% สินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับโครงการทั่วไป /บ้านมือสอง /ก่อสร้างบ้าน -แบบดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.55% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.87% กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.75% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.95% -แบบดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.00% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 4.95% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.88% กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.20% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 5.15% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.96% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาคารยูโอบี -ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ -ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR=7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ แบบที่ 1 สำหรับผู้กู้มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบ 1.1 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 1.90% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.85% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.54% แบบที่ 1.2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.00% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.65% แบบที่ 1.3 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.50% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.50% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 1.4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.70% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน 3 ปีแรก ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 2 สำหรับผู้กู้มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบ 2.1 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.00% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 2.2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน  ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.20% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 2.3 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.55% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.60% แบบที่ 2.4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.75% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน 3 ปีแรก ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.73% เงื่อนไข 1.สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อบ้านใหม่ในโครงการจัดสรร ดอกเบี้ยเริ่มต้น 1.90% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรืออัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.00% สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2563 เท่านั้น 2.กรณีลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1%  ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ภายใน 5 ปีแรกทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 3.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี 4.ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำล้านละ 3,500 บาท ได้ในแบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้น 5. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.350% (ณ วันที่ 14 เม.ย. 63) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย 6.อัตราดอกเบี้ย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเคหะ กรณีผู้กู้ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ แบบที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-4.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.25% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-1.00% แบบที่ 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% กรณีผู้กู้ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ แบบที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.25% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-0.25% แบบที่ 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-0.25%   บทความที่เกี่ยวข้อง [PR News] ธอส. ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.125% ต่อปี
3 ทางรอดอสังหาฯ สู้วิกฤตปี 63-64

3 ทางรอดอสังหาฯ สู้วิกฤตปี 63-64

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจของไทย เพราะเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล และยังก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากมายตามมา  หากธุรกิจอสังหาฯ เกิดปัญหา ย่อมส่งผลกระทบในวงกว้างและต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ อย่างในอดีตเกิดวิกฤตฟองสบู่ในปี 2540   ในปีนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ และแน่นอนธุรกิจอสังหาฯ ก็โดนไปเต็ม ๆ เช่นกัน เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกรรมต่าง ๆ ต้องหยุดชะงัก ผู้บริโภคต้องหยุดการทำงาน “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”   จะว่าไปแล้วธุรกิจอสังหาฯ เริ่มชะลอความร้อนแรงมาตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา จากการออกมาตรการ LTV ทำให้ปีที่ผ่านมาธุรกิจอสังหาฯ เติบโตเพียง 4% แม้ว่าจะมีขนาดธุรกิจคิดเป็นสัดส่วน 3% ของ GDP ก็ตาม โดยธุรกิจอสังหาฯ ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปีนี้ มีอัตราการเติบโตเพียง 2% เท่านั้น จึงถึงว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจอสังหาฯ อยู่ในภาวะที่ยากลำบาก 15 ประเด็นอสังหาฯ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ล่าสุด ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ได้ทำการประเมินภาพรวมธุรกิจอสังหาฯ ในปี 2563 พร้อมกับมองแนวโน้มธุรกิจในปี 2564 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีบทสรุปสำคัญ ดังนี้   1.ปี 2563 เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มหดตัวอย่างรุนแรง ในอัตรา 8.8% ส่งผลทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก อัตราการจ้างงานลดลง ผู้บริโภคมีรายได้ลดลง จำเป็นต้องเอาเงินออมออกมาใช้จ่าย ทำให้ความสามารถในการซื้อสินค้าขนาดใหญ่ อย่างรถยนต์หรืออสังหาริมทรัพย์ หดตัวลงตาม 2.ยอดพรีเซลล์มีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในไตรมาส 4 ปี 2562 มียอดพรีเซลล์  20% ไตรมาสแรก ยอดพรีเซลล์ลดลงเหลืออัตรา 15% และไตรมาส 2 ซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และมีมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ยอดพรีเซลล์ลดลงมีอัตราเพียง 12% ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชี้วัดว่าตลาดอสังหาฯ หดตัวอย่างรุนแรง   3.ผลสำรวจจาก Wunderman Thompson พบว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สัดส่วน 80% จะเลื่อนกำหนดการซื้อที่อยู่อาศัยอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากต้องสำรองเงินไว้ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น และยังมองว่าการลงทุนอสังหาฯ ในเวลานี้ให้ผลตอบแทนไม่มากพอ และ 20% จะเลื่อนการซื้ออสังหาฯ ออกไปอย่างน้อย 1 ปี   4.ผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยกว่า 40,000 บาทต่อเดือน ต้องสำรองเงินไว้ใช้จ่ายกับสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค ส่วนผู้บริโภคที่มีรายได้มากกว่า 40,000 บาทต่อเดือน มองว่าการลงทุนในอสังหาฯ ให้ผลตอบแทนไม่ดีเท่าที่ควร เลยเลื่อนการซื้ออสังหาฯ ออกไปก่อน   5.อสังหาฯ กลุ่ม Economy ซึ่งมีระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท และกลุ่ม Middle ราคา 3-10 ล้านบาท ยอดพรีเซลล์ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม จะมีอัตราต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 1 ปีคอนข้างมาก เพราะกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มที่มีระดับรายได้ต่อครัวเรือนต่ำกว่า 100,000 บาท มีความอ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นกลุ่มที่มีอาชีพอิสระ และจ้างงานตัวเองค่อนข้างมาก 6.อสังหาฯ กลุ่ม Luxury ระดับราคา 10-20 ล้านบาท และกลุ่ม Super Luxury ราคามากกว่า  20 ล้านบาท  ยอดพรีเซลล์ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ยังถือว่ายังดี โดยเฉพาะกลุ่ม Super Luxury สูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 1 ปีด้วย  เพราะกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อครัวเรือนขึ้นไป มีความมั่นคงทางด้านรายได้ และส่วนใหญ่จะมีความมั่นคงทางอาชีพ มีสัดส่วนอาชีพราชการค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงจึงทำให้ การซื้อที่อยู่อาศัยในกลุ่ม Luxury  และกลุ่ม Super Luxury ไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 เท่าที่ควร   7.แม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลต่อธุรกิจอสังหาฯ แต่มีอสังหาฯ บางประเภทและบางราคาที่ไม่ได้รับผลกระทบ เช่น กลุ่มคอนโด ระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท มีผลตอบรับที่ดี มียอดพรีเซลล์ 35% กลุ่มทาวน์เฮ้าส์ระดับราคา 3-10 ล้านบาท มียอดพรีเซลล์ 40% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะ การเปลี่ยนจากการซื้อคอนโดมาซื้อทาวน์เฮ้าส์แทน เพราะผู้บริโภคต้องการพื้นที่มากขึ้น แต่ระดับราคาเดียวกัน ส่วนกลุ่ม Super Luxury จะพบว่าอสังหาฯ ทุกประเภทยังมียอดพรีเซลล์ที่สูง   8.ความต้องการที่ซื้อลดลง ส่งผลต่อจำนวนที่อยู่อาศัย ทั้งโครงการเปิดตัวแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยโครงการที่เปิดตัวแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะได้รับผลกระทบเรื่องการขาดเงินทุนในการก่อสร้าง เพราะยอดพรีเซลล์ที่ต่ำทำให้ไม่สามารถได้รับเงินกู้จากสถาบันการเงิน ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ต้องใช้เงินทุนของตนเองเข้ามาพัฒนา แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันแนวทางนี้เป็นไปได้ยาก เพราะต้องมีสภาพคล่องเพื่อต่อสู่กับวิกฤตเศรษฐกิจมากกว่า ทำให้แนวทางที่เป็นไปได้ ดีเวลลอปเปอร์จะชะลอการก่อสร้าง 9.ความต้องการซื้อที่ลดลง ยังส่งผลทำให้ดีเวลลอปเปอร์เลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ โดยแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ จากการสำรวจดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ 8 บริษัท ที่วางแผนเปิดตัวโครงการในปีนี้  จะเห็นว่าก่อนเกิดโควิด-19 วางแผนเปิดโครงการใหม่มูลค่า 195,500 ล้านบาท โดยโครงการบ้านแนวราบมีมูลค่า 139,100 ล้านบาท และคอนโดมูลค่า 56,400 ล้านบาท ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ในไตรมาส 2 ดีเวลลอปเปอร์ได้ปรับแผน และเลื่อนเปิดโครงการใหม่ออกไป โดยวางแผนเปิดมูลค่า 137,800 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านแนวราบมูลค่า 116,800 ล้านบาท และคอนโด มูลค่า 21,000 ล้านบาท   การเปิดตัวใหม่ในปี 2563 คาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 72,000 ยูนิต ลดลง 40%  โดยมีแรงกดดันหลักจากการที่ดีเวลลอปเปอร์เลื่อนแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไป เฉพาะ 5 เดือนแรกของปีนี้ ดีเวลลอปเปอร์เปิดตัวใหม่ลดลงแล้ว 54%   10.มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในปีนี้ คาดว่าจะลดลง 27% มีมูลค่า 420,000 ล้านบาท บ้านจัดสรรมีมูลค่า ลดลง 24% คอนโด ลดลง 30%   11.สต็อกที่อยู่อาศัยเหลือขายสะสมปีนี้ น่าจะเพิ่มขึ้น 5% มีจำนวน 185,000 ยูนิต โดยสต็อกคอนโด กระจายอยู่ในหลายทำเล ขณะที่บ้านจัดสรรจะอยู่ที่ทำเลบางบัวทอง และรังสิต-ปทุมธานี เป็นหลัก 12.คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2564 เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อัตรา 6.1%   13.มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ ที่อยู่อาศัยในปี 2564 น่าจะเติบโต 12% มีมูลค่า 470,000 ล้านบาท   14.ในปี 2564 คาดว่าดีเวลลอปเปอร์จะเปิดตัวโครงการใหม่ จำนวน 85,000 ยูนิต เติบโต 18%   15.โครงการที่อยู่อาศัยเหลือขาย ปี 2564 คาดว่ามีจำนวน 192,000 ยูนิต 3 แนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ เพื่อรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal   1.การซื้ออสังหาฯ ผ่านออนไลน์ อาจกลายเป็นเรื่องปกติ มีสถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของดีเวลลอปเปอร์ชั้นนำ มีจำนวนผู้เข้าชมเพิ่มขึ้น 40% ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ซึ่งเดือนมกราคมมียอดเข้าชมเว็บไซต์ 8,400 ครั้งต่อวันต่อเว็บไซต์ และเพิ่มขึ้นเป็น 11,700 คนต่อวันต่อเว็บไซต์ หรือเพิ่มขึ้น 40% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งช่วงการแพร่ระบาด หลายดีเวลลอปเปอร์ได้ทำโปรโมชั่น โปรโมทการซื้อขายอสังหาฯ จึงส่งผลให้อัตราเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มสูงขึ้นมาก โดนแนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ คือ การมีกลยุทธ์และศึกษาพฤติกรรมกลุ่มลูกค้า ว่าทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเข้าชมโครงการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เช่น การโฆษณาผ่านอินฟลูเอนเซอร์ การสร้างความเชื่อมั่นให้ผุ้บริโภค ด้วยการพัฒนาระบบ Virtual Visits ให้กับผู้บริโภคสามารถชมโครงการเสมือนจริง และการยกระดับระบบหลังบ้าน (Back-office) ให้กับผู้บริโภคสามารถชำระเงิน และดำเนินการเรื่องเอกสารผ่านเว็บไซต์ได้เลย 2.ปัจจัยด้านทำเล อาจไม่สำคัญเท่า “ขนาดของที่อยู่อาศัย” เพื่อรองรับการการใช้ชีวิตในที่อยู่อาศัยที่นานขึ้น โดยเฉพาะ Work From Home  ซึ่งแนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ คือ พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะลดสัดส่วนห้อง Studio และเพิ่มห้อง One Bed+ ของโครงการคอนโดในบางทำเล และหันมาพัฒนาโครงการแนวราบแทนการพัฒนาคอนโด 3.อยากใช้พื้นที่ส่วนกลางแบบมี “พื้นที่ส่วนตัว” ดีเวลลอปเปอร์ ต้อง Re-design พื้นที่ส่วนกลาง และติดตั้งอุปกรณ์ Touchless เพื่อตอบโจทย์ความปลอดภัยของบริโภค เช่น Touchless door, Private Fitness, Touchless life และ Private Working Space ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวสรุปว่า  ตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สำหรับปี 2563 จะถูกกดดันจากการแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด -19 เป็นอย่างมาก ผ่านสภาพเศรษฐกิจที่หดตัว รายได้ของผู้บริโภคที่หายไป และการ ไม่สามารถเดินทางเข้ามาดูโครงการและโอนกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อต่างชาติในช่วง Lockdown ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าตลาดหดตัว 27%YoY และแม้เศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวในปี 2021 แต่กว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติไวรัสโควิด-19 (ปี 2562) ก็อาจต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี (ปี 2567-2568) อย่างไรก็ดี ผู้พัฒนาอสังหาฯ ควรติดตามพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้บริโภค ที่อาจเปลี่ยนไปหลังเกิดวิกฤติ ไวรัสโควิด -19 เพื่อนำมาปรับปรุงการออกแบบ และพัฒนาที่อยู่อาาศัยให้เหมาะสม    
“แอสเซทไวส์” แบ่งเฟสขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19

“แอสเซทไวส์” แบ่งเฟสขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19

แอสเซทไวส์ ปรับแผนขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19 แบ่งเป็น 2 เฟส พร้อมออกแบบสอดคล้องกับวิถีชีวิต New Normal พร้อมเดินหน้าลุย 2 โปรเจ็กต์ใหม่ ครึ่งปีหลัง ปั้นรายได้สิ้นปี 3,500 ล้าน  ขณะที่แผนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เดินหน้ายื่นไฟลิ่ง   นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภายหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บริษัทได้ปรับแผนการพัฒนาโครงการ “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” (Modiz Rhyme Ramkhamhaeng) ใหม่ จากเดิมจะพัฒนาเป็นโครงการขนาดสูงเพียง 1 อาคาร มูลค่าประมาณ ​5,000 ล้านบาท และเปิดตัวขายในครั้งเดียว แต่ได้ปรับแผนใหม่ ด้วยการพัฒนาเป็นอาคารสูง 2 อาคาร และแบ่งการขายออกเป็น 2 เฟส แต่ยังคงมีมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท และจำนวนยูนิตใกล้เคียงเดิม โดยเริ่มต้นเปิดการขายโครงการ “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” เฟสแรกในเดือนกรกฏาคมนี้ ด้วยการขายอาคารด้านหน้า ที่ประกอบด้วยคอนโดมิเนียมไฮไรส์สูง 30 ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 2 ไร่ แบ่งเป็นที่พักอาศัย จำนวน 546 ยูนิต และไลฟ์สไตล์ รีเทล จำนวน 9 ยูนิต มูลค่าโครงการรวมกว่า 1,790 ล้านบาท ซึ่งมีราคาเริ่มต้น 1.89 ล้านบาท ในขนาด 23.38 ตารางเมตร โดยอาคารเฟสแรกคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 4 ปี 2565   ส่วนโครงการในเฟสที่ 2 บริษัทจะเปิดการขาย โดยดูจากกระแสตอบรับจากการขายในเฟสแรกก่อน ซึ่งบริษัทคาดว่าภายในระยะเวลา 4-6 เดือนน่าจะมียอดพรีเซลล์ประมาณ 50% แต่กำหนดการก่อสร้างของเฟส 2 ยังเป็นไปตามแผน ซึ่งคาดว่าจะก่อนสร้างแล้วเสร็จในช่วงปี 2567 นอกจากการปรับรูปแบบการพัฒนาโครงการและการขายแล้ว บริษัทยังได้ปรับงานดีไซน์และรูปแบบห้อง ให้มีความเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของผู้บริโภคในยุค New Normal ด้วย โดยเน้นใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.Multi-Living Space New Normal  การออกแบบให้พื้นที่ต่าง ๆ สามารถใช้ได้จริง และมีความหลากหลายในการใช้งาน 2.Residence Utilization การเพิ่มพื้นที่ตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย  โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ จึงมีการเพิ่มพื้นที่ Health Station สำหรับการบริการด้านสุขภาพ 3.Virtual Community การนำแอปพลิเคชั่น หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ  เข้ามาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้า เช่น การนำ Telemedicine มาบริการภายในโครงการ เป็นต้น   ส่วนแผนธุรกิจของบริษัทในปีนี้ ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยช่วงครึ่งปีหลัง ยังเตรียมเปิดตัวอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการโมดิช ธรรมศาสตร์ รังสิต มูลค่า 1,200 ล้านบาท และโครงการบ้านภูริปุรี พัฒนาการ มูลค่า 500 ล้านบาท โดยในปีนี้คาดว่าบริษัทจะมีรายได้ 3,500 ล้านบาท โดยช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมายังทำรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งในช่วงปลายปีจะมีโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ และรับรู้รายได้ในปีนี้ต่อเนื่องไปถึงปีหน้าอีก 2 โครงการ มีมูลค่าโครงการรวม 3,400 ล้านบาทด้วย สำหรับแผนการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยังคงเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งล่าสุดได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เรียบร้อย เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา และน่าจะได้รับการพิจารณาภายใน 120 วัน โดยการเข้าระดมทุนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้ บริษัทต้องการเพิ่มศักยภาพการเติบโตให้บริษัท ซึ่งในแต่ละปีวางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ปีละ 4-6 โครงการ มูลค่า 4,000-5,000 ล้านบาท      
3 บิ๊กอสังหาฯ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 กับยอดขายครึ่งปีแรกที่ดีเกินคาด !!

3 บิ๊กอสังหาฯ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 กับยอดขายครึ่งปีแรกที่ดีเกินคาด !!

เริ่มต้นปี 2563 เชื่อว่าหลายคนคงไม่คาดคิดว่า ปีนี้ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปเกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องการทำงาน หรือทำธุรกิจ ทุกคนต้องปรับตัว ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานกันแทบทั้งหมด   ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เกิดปรากฏการณ์หลายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการขายและการตลาดออนไลน์ เพราะผู้บริโภคไม่ออกจากบ้าน ต้องอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ รูปแบบการขายจึงมุ่งเน้นไปที่การไลฟ์สด การขายผ่านออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ ผสมกับแคมเปญการตลาด ลด แลก แจก แถม ที่กระหน่ำใส่กันเข้ามา โดยเฉพาะการหั่นราคาขายหนักสุดเท่าที่เคยมีมาก่อน หรือแม้แต่กลยุทธ์ช่วยผ่อนก่อนมากถึง 5 ปี เพื่อทำให้ลูกค้าที่อยากมีที่อยู่แล้วเกิดลังเล กล้าจะตัดสินใจซื้อ   ช่วงเกิดการแพร่ระบาดช่วงแรก ๆ ดีเวลลอปเปอร์หลายราย วิตกและกังวล กลัวว่าปีนี้ธุรกิจอาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อาจจะย่ำแย่จากปัจจัยที่ไม่ได้คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น แต่ผลจากการทำตลาดอย่างหนัก บวกกับการปรับตัวที่รวดเร็วของดีเวลลอปเปอร์ ในการทำตลาดและรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิด ทำให้ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา หลายบริษัทยังรักษาการเติบโต สามารถกวาดยอดขายมาตุนไว้ในมือ ซึ่งหลายรายทำได้ดีเกินกว่าที่คาดเอาไว้ด้วยซ้ำ ORI โชว์พรีเซลครึ่งปีแรก 11,200 ล้าน นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI  เปิดเผยว่า ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาบริษัทมียอดพรีเซลล์กว่า 6,400 ล้านบาท สูงกว่าในไตรมาสแรกกว่า 32% แบ่งเป็นยอดขายจากกลุ่มบ้านจัดสรร 30% และคอนโดมิเนียม 70% ยอดขายดังกล่าวส่งผลให้ภาพรวมในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทมียอดขายสะสมแล้วกว่า 11,200 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็น บ้านจัดสรร 32% และคอนโดมิเนียม 68%   ยอดขายครึ่งปีแรก คิดเป็นกว่า 52% ของเป้าหมายทั้งปีที่ตั้งไว้ 21,500 ล้านบาท  ทำให้มีโอกาสที่ภาพรวมทั้งปีนี้  จะสามารถทำยอดขายได้มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ สาเหตุสำคัญที่ผลักดันยอดขายของบริษัทให้เติบโตโดดเด่นต่อเนื่อง มาจากการกลยุทธ์การขายที่ตอบสนองกับสถานการณ์ตลาด ควบคู่ไปกับการปรับเดินเกมการตลาดเชิงรุก เพิ่มช่องทางขายสินค้าบุกแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น อาทิ การเปิด Official Store บนแพลตฟอร์ม Shopee และ Lazada รวมทั้งการผลักดันพนักงานให้ก้าวสู่ Micro Influencer ขายสินค้าผ่านช่องทางสื่อสารส่วนบุคคล ภายใต้โปรเจ็คท์ Everyone can sell เพื่อเพิ่มการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายโดยตรง สำหรับภาพรวมครึ่งปีหลัง  บริษัทจะมีโครงการสร้างเสร็จ  พร้อมทยอยโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มเติมอีก 6 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 10,000 ล้านบาท เริ่มจากไตรมาส 3 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการไนท์บริดจ์ ไพร์ม อ่อนนุช และ 2.โครงการ ไนท์บริดจ์ คอลลาจ สุขุมวิท 107 และในช่วงไตรมาสสุดท้ายอีก 4 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการ ดิ ออริจิ้น สุขุมวิท 105, 2.โครงการ เคนซิงตัน ระยอง, 3.โครงการ ไนท์บริดจ์ เกษตร โซไซตี้ และ 4.โครงการ ไนท์บริดจ์ สเปซ รัชโยธิน โดยภาพรวมโครงการต่างๆ มียอดขายเฉลี่ยประมาณ 80-90% คาดว่าหลังก่อสร้างเสร็จแล้ว จะช่วยสร้างทั้งยอดขายใหม่และยอดโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง แสนสิริ ปรับเป้าใหม่ พร้อมตุนยอดขาย 65% นายอภิชาติ จูตระกูล ประธานอำนวยการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เผยว่า  ช่วงครึ่งปีแรกบริษัทสามารถทำยอดขายได้จำนวน 22,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 63% จากเป้าหมายยอดขาย 35,000 ล้านบาท  โดยเป้าหมายยอดขาย 35,000 ล้านบาท เป็นเป้าหมายยอดขายใหม่ที่บริษัทได้ปรับเพิ่มจากช่วงต้นปี ที่ประกาศว่าจะทำยอดขายได้ 29,000 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงแต่เป้าหมายยอดขายเท่านั้น แต่ยังปรับเป้ายอดโอนด้วย  โดยวางเป้าหมายยอนในปีนี้ใหม่เป็น 39,000 ล้านบาท จากแผนเดิมวางเป้าหมายยอดโอน 33,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่เติบโตสูงกว่าปีที่ผ่านมา 26% ความสำเร็จของแสนสิริดังกล่าว คงมาจากหลายปัจจัย ที่สำคัญคงเป็นเรื่องของกลยุทธ์การทำตลาด ซึ่งทำให้สามารถสร้างยอดขายได้ในท่ามกลางภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (อ่านข่าวประกอบ .. 8 เหตุผลที่แสนสิริ ประกาศปรับเป้าเพิ่มทั้ง “รายได้-ยอดขาย”) “อนันดา” ตุนยอดขาย 7,500 ล้าน สำหรับบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ในปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่เพียง 1 โครงการเท่านั้น ซึ่งเป็นโครงการคอนโด  ไอดีโอ พหล-สะพานควาย (IDEO Phahol-Saphankwai) ซึ่งเป็นโครงการที่ปรับแผนการเปิดตัวมาจากช่วงปี 2562 ส่วยยอดขายและรายได้สำหรับปีนี้ จะมาจากโครงการที่เปิดขายก่อนหน้า และโครงการที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปีนี้   ดร. ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า  บริษัททำยอดขายช่วง 6 เดือนแรก ได้ประมาณ 7,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบ 50% ของเป้ายอดขายทั้งปีที่ตั้งไว้ 16,600 ล้านบาท ซึ่งแนวโน้มยอดขายไตรมาส 2/2563 ค่อนข้างดีกว่าที่คาด โดยเฉพาะเดือนเมษายน-พฤษภาคม ที่ทำยอดขายสูงถึง 3,000 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มรายได้ในครึ่งหลังของปี 2563 คาดว่าจะสูงกว่าครึ่งปีแรก   โดยช่วงครึ่งปีหลังจะมีการโอนคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่ทั้งหมด 5 โครงการ ในไตรมาส 3 มีจำนวน 4 โครงการ  ประกอบด้วย Ashton  Asoke-Rama 9, Ideo Q Sukhumvit 36 , Ideo Mobi Sukhumvit Eastpoint และ Ideo Ratchada-Sutthisan และไตรมาส 4 จะเริ่มทยอยโอนโครงการ Elio Sathorn-Wutthakat ขณะที่แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จะมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมาก โดยเฉพาะยอดขายและยอดโอน หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลายลง และมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ภาพรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยสัญญาณดังกล่าวมีแนวโน้มดีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่ยอดการเข้าเยี่ยมชมโครงการของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 300-400 คนต่อวัน จากช่วงก่อนหน้าที่ 100 คนต่อวัน ซึ่งสะท้อนว่ากลุ่มลูกค้ากลับมาให้ความสนใจซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้ปรับกลยุทธ์การตลาดและเพิ่มการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี และสามารถสร้างยอดขายได้เป็นอย่างดี  
แปลง “ขยะ” เป็น “เงิน” หลังหมดช่วง Work From Home

แปลง “ขยะ” เป็น “เงิน” หลังหมดช่วง Work From Home

แปลง “ขยะ” เป็น “เงิน” หลังหมดช่วง Work From Home สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ขณะนี้ ถือว่าประเทศไทยทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เพราะเราไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศแล้ว และหลายคนคงกลับไปทำงานที่ออฟฟิศกันบ้างแล้ว แม้ว่าการทำงานที่ออฟฟิศอาจจะต้องอยู่ภายใต้ชีวิตปกติวิถีใหม่ หรือ New Normal และอาจจะต้องปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์บ้าง เช่น การสลับวันทำงานระหว่างพนักงาน  ภายใต้มาตรการการเว้นระยะห่างสังคม หรือ Social Distancing แต่เชื่อว่าการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home น่าจะลดลงกว่าช่วงที่ผ่านมาแล้ว   การทำงานที่บ้าน สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นผลพวงตามมา คือ ปริมาณขยะต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้ชีวิตอยู่ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์จากสั่งอาหารมากินที่บ้าน ไม่ว่าจะพลาสติก หรือขวดแก้ว เศษกระดาษ จากเอกสารการทำงาน ใบปลิวโฆษณา หรือกล่องบรรจุภัณฑ์พัสดุ ที่เกิดจากการช้อปปิ้งออนไลน์  เชื่อว่าตลอดระยะเวลา Work From Home น่าจะมีปริมาณมากอยู่พอสมควร   วันนี้เราอยากจะแนะนำวิธีการหารายได้จากปริมาณขยะต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในบ้าน ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าขยะเกือบทุกชนิด สามารถสร้างมูลค่าให้เป็นเงินขึ้นมาได้ เพราะขยะและของเหลือใช้เหล่านั้น สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ สู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อผลิตวัสดุนั้นกลับมาใช้งานได้ การขายขยะเหล่านั้นไม่เพียงแต่เป็นการสร้างมูลค่าเป็นตัวเงินกลับมาได้แล้ว ประโยชน์ที่ชัดเจนอีกเรื่อง คงเป็นการช่วยกันแยกขยะ และลดปริมาณขยะ เป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นด้วย ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุสิ่งของอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง   มาดูกันว่าขยะแต่ละประเภท มีมูลค่าและราคามากน้อยแค่ไหน ซึ่งราคาที่นำมาอ้างอิงครั้งนี้ เป็นราคาการรับซื้อจากบริษัท วงษ์วาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้รับซื้อขยะเพื่อนำไปรีไซเคิล รายใหญ่แห่งหนึ่งของไทย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 โดยหากจะขายสินค้าวันไหน ลองเข้าไปเช็คราคาเบื้องต้นก่อนก็ได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท (www.wongpanit.com) ราคารับซื้อขยะแต่ละชนิด ขวดแก้ว,เศษแก้ว มีราคาตั้งแต่ 0.30-19.00 บาท  ซึ่งขวดแก้ว ที่สามารถนำมาขายได้ มีตั้งแต่ขวดเบียร์  ขวดเหล้า จนไปถึงขวดซีอิ้ว น้ำปลา ขวดยาเขาก็รับซื้อ  ส่วนการรับซื้อมีทั้งซื้อแบบเป็นขวด และแบบเหมาลัง เช่น  ขวดเหล้าขาวหรือขวดสุราชุมชน กล่อง 24 ขวด ราคา  19 บาท หรือขวดเบียร์ลีโอ ใบละ 0.30 บาท เป็นต้น กระดาษ ราคารับซื้อตั้งแต่ 0.70-3.00 บาทต่อกิโลกรัม โดยกระดาษที่ทางร้านรับซื้อ ตั้งแต่กระดาษเอกสาร A4 ไปจนถึงกล่องกระดาษสีน้ำตาล หรือกล่องรองเท้าก็รับซื้อ หรือจะเป็นหนังสือหรือนิตยสารเขาก็ซื้อเหมือนกัน แต่ราคาก็แตกต่างกันไป อย่างกระดาษหนังสือเล่ม จะรับซื้อกิโลกรัมละ 0.80 บาท กระดาษขาวดำ ราคาขึ้นอยู่กับเกรดกระดาษ มีราคาตั้งแต่ กิโลกรัมละ 0.70-3.00 บาท กระดาษถุงปูนเขาก็รับซื้อเหมือนกัน ถ้าใครกำลังก่อสร้างบ้านหรือมีการซื้อปูนซีเมนต์มาซ่อมแซม เก็บถุงปูนไว้ขาย ได้กิโลกรัมละ 0.60 บาท พลาสติก พลาสติกที่ทางร้านรับซื้อมีระดับราคาตั้งแต่ 0.10-8.50 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิด สภาพ ความสะอาด ซึ่งมีการรับซื้อที่หลากหลายมากมายหลายชนิด ตั้งแต่เบสิกเลยก็ขวดน้ำพลาสติกสีขาวใส และสีขาวขุ่นที่เราซื้อน้ำเปล่ากินกันทุกวันนี้ หรือจะเป็นพลาสติกพีวีซี ถุงดำชนิดไม่เปียก เขาก็รับซื้อเหมือนกัน และมีพลาสติกอีกสารพัดชนิดที่สามารถแปลงเป็นเงินกลับมาได้ เช่น พลาสติกแผ่น VCD ราคากิโลกรัมละ 11.00 บาท ขวดพีวีซีราคากิโลกรัมละ 0.40 บาท สายยาง กิโลกรัมละ 2.00 บาท หรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดสีดำก็ขายได้กิโลกรัมละ 1.20 บาท โลหะต่างๆ โลหะก็เป็นอีกวัสดุหนึ่ง ที่นำกลับมารีไซเคิลได้อย่างดี ทำให้เป็นวัสดุที่มีราคาค่อนข้างสูง และมีความหลากหลายในการรับซื้อมาก โดยราคามีตั้งแต่ 2.00-131 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งโลหะที่นิยมซื้อมากสุดคงเป็นอลูมิเนียมชนิดต่างๆ เช่น อลูมิเนียมกระป๋องโค้กราคากิโลกรัมละ 24.00 บาท อลูมิเนียมล้อแมกซ์ราคากิโลกรัมละ 31.00 บาท อลูมิเนียมกระทะไฟฟ้า ราคากิโลกรัมละ 7.00 บาท สแตนเลท รับซื้อราคากิโลกรัมละ 10.00 บาท เหล็ก เหล็กก็เป็นโลหะอีกหนึ่งชนิด ที่มีการรับซื้อกันมาก เพราะรีไซเคิลได้ดีเช่นกัน โดยมีราคารับซื้อตั้งแต่กิโลกรัมละ1.00-7.00 บาท เช่น เหล็กตะปู 5.60 กิโลกรัมละ บาท กระป๋องเหล็กกิโลกรัมละ 4.60 บาท และมีเหล็กอีกหลายชนิดที่เขารับซื้อ แต่บางอย่างอาจจะไม่ได้พบเจอในชีวิตประจำวันของหนุ่มสาวชาวออฟฟิศเท่าไรนัก แต่อย่างไรก็ตาม หากมีเหล็กอยู่ในบ้าน ลองเช็คชนิดและราคากับทางร้านก่อนว่ารับซื้อหรือไม่ เพราะดีกว่าทิ้งให้เป็นขยะที่ไร้ค่า เครื่องใช้สำนักงาน เชื่อว่าหลายคนในช่วงเวลา Work From Home คงอาจจะต้องซื้อเครื่องใช้สำนักงานใหม่ ทดแทนกับเครื่องเก่าที่ชำรุด หรืออาจจะล้าสมัยไปแล้ว หากเครื่องใช้สำนักงานยังไม่ได้ถูกทิ้งลงถังขยะไปเสียก่อน ลองมาเช็คดูว่าสามารถนำไปขายเป็นขยะรีไซเคิลได้หรือไม่ ซึ่งทางร้านวงษ์วาณิชย์ เขาก็รับซื้อขยะที่เป็นประเภทเครื่องใช้สำนักงานด้วย มีราคาตั้งแต่ 0.50-150 บาทต่อกิโลกรัมเลยทีเดียว อาทิ จอแก้วของจอคอมพิวเตอร์ กิโลกรัมละ 0.50 บาท เครื่องสำรองไฟ กิโลกรัมละ 7.00 บาท เครื่องถ่ายเอกสาร กิโลกรัมละ 2.00 บาท เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าที่เขาก็รับซื้อด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็นทีวี ตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า และอีกสารพัด ลองเช็คราคาได้ในเว็บไซต์ อื่นๆ นอกเหนือจากขยะต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว ยังพบว่ามีของเหลือใช้บางอย่าง ที่บางครั้งเราก็ละเลย และอาจจะมองข้ามไป ไม่รู้ว่าสิ่งของเหล่านั้น ก็มีราคมและมีมูลค่าด้วย เช่น น้ำมันพืชเก่า ที่บรรจุในปี๊บใหม่ ราคา  160 บาท เศษเทียนไข กิโลกรัมละ 3.00 บาท กากมะพร้าว กิโลกรัมละ 3.00 บาท เป็นต้น   สิ่งของเหลือใช้ในบ้านหากไม่ใช้แล้ว สามารถนำเอามาขายสร้างเป็นรายได้กลับมาได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร แค่จัดเก็บรวบรวมให้มีปริมาณมากพอ แล้วขนไปขายตามร้านรับซื้อของเก่าใกล้บ้าน เราก็จะมีเงินกลับเข้ามา แม้ว่าบางครั้งอาจจะไม่ได้มีมูลค่ามากมาย แต่ก็ถือว่าดีกว่าทิ้งให้ไปเป็นขยะ เพราะบางครั้งอาจจะมีคนมาเก็บขยะไปขาย แต่หากของที่เราทิ้งไปรวมกับขยะชนิดอื่น ซึ่งไม่สะอาดหรือเสียหาย หรือคนเก็บเก็บไม่หมด ขยะเหล่านั้นก็อาจจะไร้ค่าลงไปอีก  แต่หากใครไม่อยากขายนำเอาของเหลือใช้ ที่สภาพยังดีอยู่ไปบริจาค ก็ไม่ว่ากัน เพราะปัจจุบันมีหลายองค์กรและหลายหน่วยงานที่รับของบริจาค  เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ หรือปรับปรุงสภาพให้ใช้งานได้ดีเหมือนเดิม  ก็ลองเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลกันดูนะ   บทความที่เกี่ยวข้อง รวมคอนเทนต์ เคล็ดลับคลีนบ้าน เวลาว่าง ช่วง Work Form Home “ฮาวทูเคลียร์..ตู้เย็น” ไม่ให้เหลือทิ้ง ลดปริมาณขยะตามแบบฉบับของเบโค  Work from home อย่างไรให้ได้งาน  
เรื่องต้องรู้ !! “ภาษีและค่าธรรมเนียม” ก่อนซื้อขายอสังหาฯ

เรื่องต้องรู้ !! “ภาษีและค่าธรรมเนียม” ก่อนซื้อขายอสังหาฯ

ถ้าตอนนี้ ใครมีความคิดจะซื้ออสังหาริมทรัพย์  ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่ดินเปล่า หรือจะเอาอสังหาฯ ที่มีอยู่ออกขาย ไม่ว่าจะเหตุผลอะไร และเป็นมือใหม่เพิ่งจะเริ่มทำธุรกรรมนี้เป็นครั้งแรก ยังไม่เคยซื้อหรือขายอสังหาฯ มาก่อน เรามี ภาษี และ ค่าธรรมเนียม เรื่องต้องรู้ก่อนซื้อขายอสังหาฯ ก่อนซื้อขายอสังหาฯ มาให้เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพราะเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้นั่นเอง ถ้าหากจะต้องทำธุรกรรมเกี่ยวกับอสังหา   สำหรับผู้สนใจการลงทุนในอสังหาฯ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งการลงทุนทางเลือกที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแบบซื้อมาเพื่อปล่อยเช่า หรือเพื่อการเก็งกำไร โดยคาดหวังว่าจะได้ส่วนต่างกำไรจากราคาอสังหาฯ  ที่ซื้อมาและขายไป อย่างไรก็ตามการขายอสังหาฯ ย่อมมีภาระภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ มาเกี่ยวข้องเสมอ   โดยบทความ ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งที ต้องรู้เรื่องภาษีและค่าธรรมเนียมกันก่อน จาก “นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์” CFP®   นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร ได้นำเสนอข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ  ซึ่งระบุว่า กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา หากขายอสังหาฯ จะต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ ภาษี และ ค่าธรรมเนียม เรื่องต้องรู้ก่อนซื้อขายอสังหาฯ ดังนี้1.ค่าธรรมเนียม เป็นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ คิดในอัตรา  2% จากราคาประเมินหรือราคาขาย แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า ก็ใช้ราคานั้นในการคำนวณ โดยราคาประเมิน คือ ราคาที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นราคากลางของอสังหาฯ ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดค่าธรรมเนียมและภาษีจากการซื้อขายอสังหาฯ โดยจะมีการปรับราคาประเมินใหม่ทั่วประเทศทุก ๆ 4 ปี   ปัจจุบันกรมที่ดินอัพโหลดข้อมูลเกี่ยวกับราคาที่ดินทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปตรวจสอบเบื้องต้น บนเว็บไซต์ http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/index.asp เพื่อให้ผู้ที่จะซื้อหรือจะขายที่ดิน จะได้กำหนดราคาได้เหมาะสม ซึ่งราคาประเมินอาจจะสูงหรือต่ำกว่าราคาซื้อขายจริงก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วราคาประเมินจะต่ำกว่า ส่วนราคาตลาด คือ ราคาที่ใช้ในการซื้อขายกันจริง ซึ่งจะสอดคล้องกับดีมานด์และซัพพลายของตลาดในแต่ละช่วงเวลา มีการปรับตัวตามภาวะค่าครองชีพอยู่ตลอดเวลา  ราคาตลาดจึงมักสูงกว่าราคาประเมิน 2.ค่าอากรแสตมป์ คือ ค่าอากรแสตมป์ที่ผู้ขายต้องเสียในขั้นตอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ อยู่ที่  0.5% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินโดยเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้ในการคำนวณ 3.ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีผู้ขายถือครองอสังหาฯ เป็นเวลาน้อยกว่า 5 ปี (แบบนับวันชนวัน) จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งคิดในอัตรา 3.3% ของราคาซื้อขาย หรือราคาประเมิน โดยเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้เป็นฐานในการคำนวณ กรณีที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะได้รับยกเว้นค่าอากรแสตมป์ในข้อ 2 แต่ถ้าถือครองนานเกินกว่า 5 ปี หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนานกว่า 1 ปี จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 4.ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากเงินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นรายได้ จึงต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยใช้ราคาประเมิน (40(8) มาตรา 49 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร) หักด้วยค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 165 พ.ศ. 2529) ตามจำนวนปีที่ถือครอง ดังนี้ หากอสังหาฯ นั้น ได้รับมาโดยทางมรดก หรือ รับจากการให้โดยเสน่หาให้หักค่าใช้จ่ายได้ 50% จำนวนปีที่ถือครองนั้นจะนับตามปีบัญชี โดยหนึ่งปีจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมไปจนถึง 31 ธันวาคมของปีเดียวกัน การซื้อขายภายในปีเดียวกันนับเป็นการถือครอง 1 ปี หากครอบครองตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ถึงมีนาคมปีหน้าก็ให้นับเป็นถือครอง 2 ปี กรณีการขายอสังหาฯ ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้ากำไร ภาษีที่คำนวณหัก ณ ที่จ่าย สูงสุดต้องไม่เกิน 20% ของราคาขาย แต่หากเป็นกรณีขายโดยมุ่งค้ากำไร จะไม่มีการจำกัดเพดานภาษี นอกจากนี้การขายอสังหาฯ ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือ เมืองพัทยา ยังได้รับยกเว้น 200,000 บาทก่อน เหลือเท่าใดจึงนำไปคำนวณหักค่าใช้จ่าย ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีเงินได้ นายมั่งคั่งได้ซื้อที่ดินมาเดือนมิถุนายน 2555 และขายไปเมื่อเดือน มกราคม 2562 ในราคา 4,000,000 บาท * การคำนวณภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาทแรก ** การนับจำนวนปีในการถือครองอสังหาริมทรัพย์ เศษของปี ให้นับเป็น 1 ปี และหากถือครองเกิน 10 ปี ให้นับเพียง 10 ปี ทั้งนี้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้มุ่งค้ากำไร ผู้มีเงินได้มีสิทธิ์เลือกที่จะเสียภาษีตามจำนวนที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับรายได้อื่นตามปกติได้ จากตัวอย่างการซื้อขายที่ดินข้างต้น จะมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด ดังนี้ 1.ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาซื้อขาย หรือเท่ากับ 2% x 4,000,000 = 80,000 บาท ซึ่งค่าธรรมเนียมการโอนนี้สามารถเจรจาต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้ว่าใครจะเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมนี้ 2.ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขาย หรือเท่ากับ 0.5% x 4,000,000 = 20,000 บาท ผู้ขายเป็นผู้ชำระ 3.ภาษีธุรกิจเฉพาะ เนื่องจากนายมั่งคั่ง (ผู้ขาย) ถือครองที่ดินมาเกินกว่า 5 ปีจึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนี้ 4.ภาษีเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้ขายเป็นผู้ชำระตามที่ได้คำนวณดังตารางข้างต้น   ที่มา : www.scb.co.th   บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ลดหย่อนภาษี สำหรับมนุษย์เงินเดือน ครม. ลดภาษี 90% ช่วยเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดนพิษโควิด-19 EIC วิเคราะห์ ใครคือผู้ได้รับผลกระทบจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  
การเคหะฯ ช่วยลูกค้าโดนพิษโควิด-19 ขยายเวลาลงทะเบียนถึง 30 มิ.ย.63 นี้

การเคหะฯ ช่วยลูกค้าโดนพิษโควิด-19 ขยายเวลาลงทะเบียนถึง 30 มิ.ย.63 นี้

การเคหะแห่งชาติขยายระยะเวลาลงทะเบียนมาตรการช่วยเหลือลูกค้าถึง 30 มิถุนายน 2563 นี้ พร้อมเน้นย้ำ ขอให้ลูกค้าเร่งลงทะเบียนเพื่อรักษาสิทธิก่อนหมดมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว พร้อมร่วมกับกระทรวงแรงงานจัดกิจกรรมนัดพบแรงงานตามพื้นที่ชุมชนต่างๆ ของการเคหะแห่งชาติ       นายวิญญา สิงห์อินทร์ รักษาการผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วประเทศ ปัจจุบันรัฐบาลได้กระจายให้ความช่วยเหลือประชาชนในทุกด้าน รวมทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือมนุษย์ในทุกมิติ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) จึงมอบนโยบายให้การเคหะแห่งชาติออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกค้าของการเคหะแห่งชาติ เพื่อลดภาระรายจ่ายด้านที่อยู่อาศัยชั่วคราว นายณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ จึงได้การประชุมร่วมกับฝ่ายบริหารระดับสูงของการเคหะแห่งชาติเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และมอบนโยบายให้การเคหะแห่งชาติออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าของการเคหะแห่งชาติเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยในด้านสังคมเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในโครงการของการเคหะแห่งชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสถานการณ์ปัจจุบัน   สำหรับมาตรการช่วยเหลือลูกค้าของการเคหะแห่งชาติที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มี 4 มาตรการ ได้แก่ 1.พักชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ 2.พักชำระเงินดาวน์ 3.ปลอดค่าเช่า 4.ลดค่าเช่า 50% เป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563 โดยลูกค้าของการเคหะแห่งชาติสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://covid.nha.co.th และลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น Line ID : @NHA.THAILAND ได้ถึง 30 มิถุนายน 2563 นี้ พร้อมกันนี้การเคหะแห่งชาติได้ร่วมกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จัดกิจกรรมนัดพบแรงงานตามพื้นที่ต่างๆ ในโครงการของการเคหะแห่งชาติ โดยนำร่องที่โครงการบ้านเอื้ออาทรบ้านหลุมแก้ว 2 จังหวัดปทุมธานี เป็นที่แรก ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัท ห้างร้าน และโรงงานต่างๆ มาเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งว่างให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนที่ถูกเลิกจ้างหรือว่างงานจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เลือกงานที่เหมาะสม ตรงกับถนัด และความต้องการของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดรายได้เพิ่มขึ้นในครัวเรือน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชน และระดับประเทศต่อไป  
เฟรเซอร์ส ตั้ง “ธนพล ศิริธนชัย” บริหารองค์กรแสนล้าน

เฟรเซอร์ส ตั้ง “ธนพล ศิริธนชัย” บริหารองค์กรแสนล้าน

เฟรเซอร์สแต่งตั้ง “นายธนพล ศิริธนชัย” นั่งเก้าอี้ ซีอีโอ นำทัพองค์กร 1 แสนล้าน  สร้างการเติบโตให้กับแพลตฟอร์มใหม่ ที่รวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร   คณะกรรมการบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ FPT มีมติแต่งตั้งนายธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ (GOLD) ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ  FPT  โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป   โดยนายธนพล ศิริธนชัย จะรับภารกิจสำคัญในการเป็นหัวเรือใหญ่ที่จะสร้างการเติบโตให้กับ เฟรเซอร์ส  พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) รวมถึงการเดินหน้าภายใต้นโยบายการลงทุนของบริษัทฯ ในการเพิ่มศักยภาพที่จะเติบโตอย่างสมดุลให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ในการเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย (Residential) โครงการเชิงพาณิชย์ (Commercial) และพื้นที่เชิงอุตสาหกรรม (Industrial) จากผู้บริหาร GOLD สู่เก้าอี้ซีอีโอ FPT สำหรับนายธนพล ศิริธนชัย  ถือว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และคร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กว่า 30 ปี โดยก่อนร่วมงานกับเฟรเซอร์ส เคยดำรงตำแหน่งประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ผู้พลิกฟื้นจากที่บริษัทฯขาดทุน ให้กลับมามีกำไรภายใน 3 ปี และก้าวกลับมาสู่ท็อป 5 ของประเทศไทยภายใน 7 ปี  (อ่านข่าวผลประกอบการ 3 เดือนแรกปี 2563) พร้อมพัฒนาโครงการครอบคลุมทั้งอาคารสำนักงาน เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ โรงแรม และโครงการแนวราบ เช่น บ้านเดี่ยว และทาวน์โฮม และล่าสุด พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสใจกลางเมืองสามย่านมิตรทาวน์  ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี   นอกจากนี้ นายธนพล ยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ของ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด​ (มหาชน)  ผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของโครงการอาคารสำนักงานที่ดีที่สุด ด้วยมาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานสูงที่สุดระดับโลก กับโครงการปาร์คเวนเชอร์ ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ โดยนายธนพลยังได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคมและการกุศลต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ประธานโครงการ IMET Mentorship Academy for Excellent Leaders (IMET MAX) โครงการภายใต้มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย และรองผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์   นายธนพล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ (MBA) จากมหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาหลักสูตร Advanced Management Program มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา 1+1 เท่ากับสินทรัพย์ 1 แสนล้าน สำหรับ  FPT  เป็นบริษัทในกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้  ซึ่ง FPT ผู้นำการให้บริการแพลตฟอร์มด้านอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรของประเทศไทย  ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท ภายหลังควบรวมกับ  GOLD เป็นบริษัทย่อย ทำให้ภาพรวมการประกอบธุรกิจของ FPT มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 100,000 ล้านบาท ก้าวสู่ความเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย  พาณิชยกรรมและโรงแรม  และการอุตสาหกรรม   โดยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 GOLD ได้รับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัททั้งหมด  จาก FPT เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการ ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นไปตามแผนของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ที่ได้ประกาศเริ่มรับซื้อรอบแรกในเดือนมิถุนายนปี 2562 ที่ผ่านมา เพื่อปรับกลยุทธ์ เพิ่มศักยภาพของการเชื่อมโยง ต่อยอด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ในการเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย   ทั้งนี้ การขอเพิกถอนหลักทรัพย์ของ GOLD ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ GOLD เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 และ วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 FPT เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ GOLD จำนวน 2,222,623,901 หุ้น คิดเป็นประมาณ 95.65% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ GOLD โดย FPT จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดของ GOLD จำนวน 101,096,099 หุ้น คิดเป็นประมาณ 4.35% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ GOLD โดยมีราคาเสนอซื้อ 8.50 บาทต่อหุ้น ระยะเวลารับซื้อรวมทั้งสิ้น 45 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2563 – 23 กรกฎาคม 2563   นายธนพล กล่าวว่า ก้าวต่อไปของโกลเด้นแลนด์ คือการก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร  ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย โครงการเชิงพาณิชย์  และพี้นที่เชิงอุตสาหกรรม  แห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้นโยบายการลงทุนของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ในการเพิ่มศักยภาพที่จะเติบโตอย่างสมดุล และยั่งยืนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย นอกจากนี้ FPT ยังเป็นผู้สนับสนุนและผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ หรือ FTREIT ซึ่งปัจจุบันเป็นกองทรัสต์ฯ อุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ อีกทั้ง FPT ยังเป็นผู้สนับสนุนและผู้จัดการทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT) ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชยกรรม  ซึ่ง FPT, FTREIT และ GVREIT เป็นบริษัทและกองทรัสต์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.    
12 ปรากฎการณ์ “ราคาอสังหาฯ” ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

12 ปรากฎการณ์ “ราคาอสังหาฯ” ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

จะว่าไปแล้ว ตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม เริ่มได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2562 จากมาตรการ LTV ที่ออกมาบังคับใช้  ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างทำการตลาด แข่งขันกันด้วยแคมเปญการตลาดต่างๆ เพื่อกระตุ้นลูกค้าให้รีบโอนกรรมสิทธิ์  ก่อนมาตรการ LTV  เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา เพราะมาตรการ LTV มีผลทำให้ลูกค้าบางส่วนมีกำลังซื้อลดลง และธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น   พอถึงช่วงต้นปี 2563 ตลาดอสังหาฯ ก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้ตลาดอสังหาฯ ชะลอตัวอย่างมาก ผู้ประกอบการแทบไม่เปิดตัวโครงการใหม่ออกมาทำตลาด แต่มุ่งเน้นการระบายสต็อกสินค้าเก่าในมือ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากการลงทุน ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเกิดการทำตลาดกันอย่างดุเดือด มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะด้านราคา ซึ่งเป็นสิ่งที่แทบจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างแคมเปญการอยู่ฟรี ที่เห็นทำตลาดมากถึง 5 ปีเลยทีเดียว   ล่าสุด ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ได้เปิดเผยข้อมูล ตลาดอสังหาฯ ที่เผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาส 2 ของปีนี้  ซึ่งพบว่าภาวะราคาของอสังหาฯ ไทย มี 12 ประเด็นสำคัญเกิดขึ้น คือ 1.ไตรมาสแรกของปีนี้ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลงมาต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 5 โดยลดลงในอัตรา 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และลดลง 9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แน่นอนว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาปรับตัวลดลงมา คือ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   2.ก่อนหน้าที่ตลาดอสังหาฯ ไทยจะเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ​ มีดัชนีราคาที่เติบโตเพิ่มขึ้นมากถึง 104% จากราคาเฉลี่ยประมาณ​ 60,000 บาทต่อตารางเมตร ในช่วงปี 2558ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 120,000 บาทต่อตารางเมตร ในปี 2562 ที่ผ่านมา   3.ตลาดคอนโดฯ ค่อนข้างได้รับผลกระทบด้านราคาน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยลดลงเพียง 0.4% แต่หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จะพบว่ามีอัตราการเติบโตลดลงมากถึง 6% ซึ่งเป็นเพราะตลาดคอนโดฯ ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV มาก่อนหน้านี้แล้ว   4.ตลาดบ้านเดี่ยว เป็นกลุ่มสินค้าเดียวที่มีดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 2% เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส สาเหตุหลักเป็นเพราะ กลุ่มบ้านเดี่ยวเป็นตลาดเรียลดีมานด์ ซึ่งผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และในปีนี้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ชะลอแผนการพัฒนาโครงการคอนโดฯ และหันมาเน้นตลาดแนวราบเป็นหลัก 5.ตลาดทาวน์เฮ้าส์ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่อยู่อาศัย ที่ดัชนีราคาปรับลดลงมา ในอัตรา 2% ซึ่งสาเหตุหลักเป็นเพราะการแข่งขันด้านราคา และการจัดทำโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย ของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ตลาดทาวน์เฮ้าส์เป็นตลาดแมสที่ระดับราคาอยู่ในช่วง 3-5 ล้านบาท ที่ถือว่ามีการแข่งขันสูง และมีซัพพลายในตลาดจำนวนมาก   6.หากพิจารณาในเรื่องของระดับราคาสินค้า จะพบว่าที่อยู่อาศัยที่ปรับลดลงมากที่สุด คือ ที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 3.5 ล้านบาท ปรับลดลงในอัตรา 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   7.กลุ่มตลาดที่อยู่อาศัยราคาแพง ในระดับราคา 8.5-15 ล้านบาท มีดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้น 5% และหากมองย้อนไปในช่วงไตรมาส 4 ปี 2559 จะพบว่าบ้านและคอนโดฯ ในกลุ่มระดับราคา 15 ล้านบาทขึ้นไป มีอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 35%   8.พื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่มีดัชนีราคาเติบโตโดดเด่นที่สุด ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา คือ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีราคาที่อยู่อาศัยเฉลี่ยตารางเมตรละ 219,048 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 23% จากช่วงไตรมาส 4 ปี 2562 ถือว่าเป็นเขตที่มีราคาปรับเพิ่มสูงสุด สาเหตุหลักมาจาก การเปิดให้บริการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง 9.สถานีวัดมังกร เป็นพื้นที่ที่มีราคาของที่อยู่อาศัยแพงมากที่สุด ถึงตารางเมตรละ 200,000 บาท และมีการปรับเพิ่มขึ้นถึง 143% ตั้งแต่ช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน   10.แนวโน้มราคาในแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เพิ่งเปิดให้บริการในไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ที่อยู่อาศัยในบริเวณสถานีบางอ้อและสถานีบางพลัด มีอัตราการเติบโตของราคาสูงสุดถึง 76% ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ปี 2559 ถึงปัจจุบัน โดยมีราคาขายเฉลี่ย 85,009 บาทต่อตารางเมตร   11.บริเวณรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงสถานีไฟฉาย ถือว่าเป็นบริเวณที่มีที่อยู่อาศัย ซึ่งมีราคาขายเฉลี่ยสูงที่สุดของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงต่อขยายสถานีเตาปูน-จรัญ 13 โดยมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 126,471 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งปรับลดลงเพียง 1% จากช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา  (อ่านเพิ่มเติม...รีวิวคอนโด ส่องทำเลเตาปูน-บางโพ ฉบับอัปเดต 2563) 12.บริเวณรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงสถานีบางขุนนนท์ ถือว่าเป็นบริเวณที่มีราคาของที่อยู่อาศัยถูกที่สุด และอัตราการเติบโตลดลงมากที่สุด ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงต่อขยายสถานีเตาปูน-จรัญ 13 โดยมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 53,476 บาทต่อตารางเมตร ปรับลดลงมากถึง 56% จากช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา   หลังจากนี้ หากประเทศสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จนไม่พบการแพร่เชื้อ หรือการเกิดขึ้นของผู้ป่วยรายใหม่  รวมถึง หากมีการค้นพบวัคซีน ที่สามารถใช้ได้ผลจริงกับมนุษย์ เชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ จะกลับมาเป็นปกติ แม้ว่าในอนาคตทุกคนอาจจะต้องอยู่ภายใต้วิถีปกติรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ก็ตาม   โดยเชื่อว่าตลาดอสังหาฯ ของไทยเอง ก็น่าจะกลับมาเติบโตเป็นปกติ และคาดว่าจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นด้วย เพราะภายใต้สถานการณ์วิกฤต จะเห็นได้ว่าคนไทยเป็นชาติที่ไม่แพ้ใครในโลก สามารถบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโลกได้ดี รวมถึงประเทศไทยยังคงเป็นประเทศจุดหมายปลายทางที่ชาวต่างชาติยังต้องการมาท่องเที่ยวและพักอาศัยเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคอาเซียน และอันดับต้นๆ ของโลกอีกด้วย