Tag : News

2376 ผลลัพธ์
อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด เดือนกรกฎาคม 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด เดือนกรกฎาคม 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน  ดูปฏิทินตอนนี้ ก็เป็นเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งก้าวสู่ครึ่งปีหลังของปี 2564 แล้ว แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น โดยยังไม่สามารถประเมินได้ว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติเมื่อไร แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่ปริมาณยังอาจจะไม่มากเพียงพอจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่   เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองยังไม่กลับมาเป็นปกติ ภาคธุรกิจต่างได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน รวมถึงภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่เกิดภาวการณ์ระบาดในระลอกแรก ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการต่างก็ทำแคมเปญการตลาด และการส่งเสริมการขายเพื่อสร้างยอดขาย ทำให้ช่วงที่ผ่านมาราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวลงลงมาอย่างมาก นับเป็นโอกาสที่ดีในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ที่มีความสามารถในการซื้อ และวางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว   นอกเหนือจากดีเวลลอปเปอร์จะทำแคมเปญการตลาดออกมามากมายแล้ว ด้านสถาบันการเงินเองก็มีแคมเปญ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อดึงฐานลูกค้าให้มาใช้บริการกับสถาบันของตนเองด้วย ลองมาเช็คกันดูว่า ตอนนี้ธนาคารแต่แห่งมีอัตราดอกเบี้ย สำหรับผู้กู้ซื้อบ้านเท่าไรกันบ้าง สำหรับอัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน เดือนกรกฎาคม 2564 ​1.ธนาคารกรุงเทพ สำหรับการธนาคารกรุงเทพ มีสินเชื่อบ้านบัวหลวง ที่ให้บริการลูกค้า 2 กลุ่ม คือ ลูกค้าพนักงานที่มีรายได้ประจำ และลูกค้าทั่วไป (อัตราดอกเบี้ยยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา) อัตราดอกเบี้ยเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ  วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท  (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1   ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% (MRR-1.00%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.50% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 4% (MRR-1.75%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4% (MRR-1.75%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.45%   อัตราดอกเบี้ยเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25%  (MRR-1.50%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.33% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.38% อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% (MRR-1.00%) หลังจากนั้น 5.25% (MRR-0.50%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.72% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.50%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.50%) หลังจากนั้น 5.25% (MRR-0.50%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.70% อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.25%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.41% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.38% -กรณีวงเงิน ตั้งแต่ 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย คงที่ปีแรก 4.75% หลังจากนั้น คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีวงเงินต่ำกว่า ​500,00 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันสิทธิการเช่า ​คิดอัตราดอกเบี้ย​ MRR-0.75% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันที่ดินเปล่าเพื่อการอยู่อาศัย คิดอัตราดอกเบี้ย ​MRR-0.25% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา   หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยนี้สําหรับผู้ที่ยื่นคําขอสินเชื่อพร้อมเอกสารครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 – 30 มิ.ย. 64 โดยผู้กู้ต้องลงนามในสัญญากู้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุมัติสินเชื่อ​และจดทะเบียนจำนองพร้อมเบิกเงินกู้งวดแรกหรือทั้งหมดภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญา -พนักงานที่มีรายได้ประจำ หมายถึง พนักงานที่มีรายได้หลัก หรือ มีความสามารถในการชำระคืนหลัก จากรายได้ประจำ -รูปแบบการชำ​ระแบบคงที่ เลือกผ่อนได้ทุกทางเลือก/รูปแบบการผ่อนชำ​ระแบบขั้นบันได เลือกผ่อนได้เฉพาะทางเลือกที่ 1 -อัตราส่วนวงเงินกู้สูงสุดและมูลค่าหลักประกันให้เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วนั ที่ 21 พ.ค.63 เท่ากับ 5.75% ต่อปี -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ​​ 2.ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อสำหรับบ้านใหม่ แคมเปญ สินเชื่อบ้านกรุงไทย…สุขใจถ้วนหน้า โดยไม่คิดค่า  ธรรมเนียมยื่นกู้  โดยมีการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดังนี้ แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.75%  ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 3.67% (MRR-2.55%) ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 3.77% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.67% (MRR-2.55%) ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 3.77% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72%  (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.70% ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 2.73% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.01% ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 4.02% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.0% ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 3.67% (MRR-2.55%)ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดดอกเบี้ย 3.92% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.67% (MRR-2.55%)ปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดดอกเบี้ย 3.92% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.78% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 2.83% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.04% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.05% สินเชื่อสำหรับการกู้ซื้อบ้านที่ธนาคารออกค่าจดจำนองให้** และ ฟรี ค่าธรรมเนียมยื่นกู้ แบบทำประกัน  คิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.75% ปรับเพิ่มจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 4.17% (MRR-2.05%)ปรับลดจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.27% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.17% (MRR-2.05%)ปรับลดจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.27% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.03% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.06% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.12% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.13% แบบไม่ทำประกัน  คิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.0% ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 4.17% (MRR-2.05%) ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.42% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.17% (MRR-2.05%) ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.42% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.11% ปรับลดจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.16% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา = 4.15% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.16%   การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ* : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ 1.ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี 2.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ 3.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ **ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน ***อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,500 บาท/เดือน เงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด การพิจารณาสินเชื่ออยู่ภายใต้ดุลยพินิจของธนาคาร ยื่นสมัครสินเชื่อ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 MRR = 6.22% ต่อปี (ณ 1 เม.ย. 2564) 3.ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี มีสินเชื่อบ้านกรุงศรี เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (บ้านใหม่/บ้านมือสอง) สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยมีแคมเปญฟรี ค่าธรรมเนียมสำรวจ และค่าประเมิน ตั้งแต่ 1 มิ.ย.- 31 ส.ค. 64 สำหรับการกู้ในวงเงิน 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.9% ( MRR-3.15%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.05% (MRR-2.00%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป 4.95% (MRR-1.10%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.97% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.39% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.50% เดือนที่ 7-12 ดอกเบี้ย MRR-1.60% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.7% (MRR-1.35%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 4.95% (MRR-1.10%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.21% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.52% สำหรับการกู้เงินในวงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.55%  (MRR-3.50%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.3%  (MRR-2.75%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 4.7% (MRR-1.35%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.52% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.02% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.25% เดือนที่ 7-12 ดอกเบี้ย 4.1% (MRR-1.95%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.3% (MRR-1.75%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป 4.7%  (MRR-1.35%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.89% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.23%   หมายเหตุ * อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปี ในกรณีที่ลูกค้า ซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสาหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เฉพาะในปีที่ 1 จากอัตราดอกเบี้ยทุกทางเลือก ลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้ 1.ผลิตภัณฑ์ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการได้แก่ MRTA : แผนกรุงศรี เซฟตี้โลน 1 พลัส หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 1 หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 2 / MLTA : กรุงศรี รักบ้าน รักคุณ หรือกรุงศรี รักบ้าน รักคุณ พลัส เท่านั้น 2.กรณีผู้กู้หลักเป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ ประจำ​ต้องซื้อ MRTA/MLTA 100% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 70% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความ คุ้มครองไม่ต่ำกว่า 20 ปี 3.กรณีผู้กู้หลักเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องซื้อ MRTA/MLTA อย่างน้อย 80% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือซื้อย่างน้อย 50% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี 4.กรณีมีผู้กู้ร่วม สามารถซื้อ MRTA/MLTA เฉพาะผู้กู้หลักเพียงคนเดียวได้ หรือหากผู้กู้ร่วมประสงค์ที่จะซื้อ MRTA/MLTA ด้วย ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องมีทุนประกันขั้นต่ำในสัดส่วนที่เท่ากัน ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติตามที่ลูกค้าได้เลือกไว้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทประกันไม่ อนุมัติ MRTA/MLTA หรือในกรณีที่ลูกค้าขอยกเลิก MRTA/MLTA -ตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค. 63 อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.05% ต่อปี -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 64 – 31 ส.ค. 64 โดยจดจำานองและเบิกรับเงินกู้ภายในวันที่ 30 ก.ย. 64 -ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -การพิจารณา อนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด -วงเงินกู้อนุมัติสูงสุดเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด และไม่เกินกว่า วงเงินกู้สูงสุดต่อมูลค่าหลักประกัน (ราคาซื้อขาย) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์เรียกเก็บค่าเบี้ยปรับกรณีปิด ภาระหนี้ก่อนกำหนด (กรณีที่ลูกค้ารีไฟแนนซ์ไปสถาบันการเงินอื่นภายใน 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา) คิดเป็น 3% ของยอดหนี้คงเหลือ 4.ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย มีสินเชื่อกู้ซื้อบ้านสำหรับบ้านใหม่ให้กับลูกค้าทั่วไป โดยพิจารณาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีรายได้ประจำ และกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ ซึ่งเดือนนี้มีอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ระจำ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.9% (MRR-0.07%)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 5.4% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.97% (MRR)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 5.47% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.90% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 5.40% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.94% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 5.44% สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 6.4%(MRR+0.43%) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 5.9% หลังจากนั้น 6.47% (MRR+0.5%) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 5.97% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 6.40% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 5.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 6.44% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 5.94% หมายเหตุ : -อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% (ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63) -อัตราดอกเบี้ยข้างต้นสำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้สินเชื่อบ้านตั้งแต่ 1 ก.ค.  – 30 ก.ย. 64 -สำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภทรวมอาคารพาณิชย์ยกเว้น Refinance และการปล่อยกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า -มีค่าสำรวจและประเมินราคาหลักประกันโดยบริษัท โพรเกรส แอพไพรซัล หรือบริษัทประเมินที่ธนาคารรับรอง คิดขั้นต่ำ 3,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 5.ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารเกียรตินาคิน มีสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (บ้านใหม่ : กรณีซื้อบ้านจากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกําหนด) โดยคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราดเดิมเท่ากับเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ ดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  2.450%-2.750% ปีต่อไป ดอกเบี้ย  4.775% (MLR-1.75%) แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.650%-2.950% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.60%-2.99% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.80%-3.19% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว  โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการให้บริการและ​เว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่​ 18 สิวหาคม 2563 เท่กับ​ 6.525% ต่อปี 3.เลือกทําประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ​(MRTA)ผ่านธนาคาร ทุนประกันภัยเท่ากับวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาเอาประกันภัยขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลาการกู้ไม่ถึง 10 ปี ให้ระยะเวลาเอา​​​​​​ประกันภัยเท่ากับระยะเวลาการกู้ 4.กรณี Refinance ไปสถาบันการเงินอื่นก่อนครบ 3 ปี แรก คิดค่า​ Prepayment Penalty 3% ของเงินต้นคงค้าง 5.​กรณีเลือกใช้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแบบฟรีค่าจดจำนอง ​​หากลูกค้า Re-Finance หรือชําระปิดบัญชีก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ ลูกค้าต้องชำระค่าจดจำนองที่ธนาคาร เคยสำรองจ่ายให้แก่ธนาคาร​ 6.ค่าประเมินหลักประกันเริ่มต้น 3,210 บาท  ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท) 7.เบี้ยประกันอัคคี ​เป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด ​โดยผู้กู้สามารถเลือกทําประกันกับบริษัทที่น่าเชื่อถือใดก็ได้ ​ a.อัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุด ต่อหลักประกัน 100% ของราคาซื้อขายจริง หรือราคาประเมินธนาคาร แล้วแต่ราคาใดต่ำกว่า ยกเว้นธนาคารมีกำหนดเงื่อนไขพิเศษอื่น ๆ สำหรับบางโครงการ อาจจะได้รับอัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุดต่อหลักประกัน​ 100% b.ระยะเวลากู้สูงสุด ​30 ปี (อายุผู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปี สําหรับพนักงานเงินเดือนประจํา และไม่เกิน 70 ปี สําหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) 6.ธนาคารซีไอเอ็มบี ธนาคารซีไอเอ็มบี สินเชื่อบ้าน โฮมโลนฟอร์ยู ให้กับพนักงานประจำ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ และเจ้าของกิจการ  โดยคิดอัตราดอกเบี้ย เท่ากับเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ สำหรับพนักงานประจำ รายได้ 15,000 บาท หรือเจ้าของกิจการรายได้ 30,000 บาท ประเภททำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-3.10%) ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย 5.35% (MRR-2.00%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.25% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.07% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.55% (MRR-2.80%) หลังจากนั้น 5.35% (MRR-2.00%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.15% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR=7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 2563) 7.ธนาคารทีทีบี ธนาคารทีทีบี มีสินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับการซื้อบ้านหรือคอนโดจากโครงการทั่วไป จะได้รับฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ค่าจดทะเบียนจำนอง และค่าประเมินหลักทรัพย์ มีการคิดดอกเบี้ย ในอัตราเดียวกับช่วงเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ทางเลือก 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.05% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.45% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.05% (MRR-2.23%) หลังจากนั้น 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.46% ทางเลือก 3 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.65% MRR-1.63% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีดอกเบี้ย  4.38% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.56% ทางเลือกที่ 4 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 4.4% (MRR-1.88%) หลังจากนั้น 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.40% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา  4.57% สมัครไม่ครบผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 4.90% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.90% ทางเลือกที่ 6 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.8% (MRR-1.48%) หลังจากนั้น 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.87%   หมายเหตุ สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ สไมล์โฮม หรือ สไมล์โฮม พลัส ​ 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีทีบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต ttb (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต ttb แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) กู้ซื้อบ้าน คอนโดใหม่ กับทีทีบี รับข้อเสนอพิเศษ ด้วยอัตราดอกเบี้ย ให้เลือก 2 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท -รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษนาน 3 ปี -ฟรีประกันอัคคีภัยมูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง แบบที่ 2 สมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท​ -ฟรีประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 เม.ย. 64 -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ ทำเพื่อประโยชน์หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นกับผู้กู้ในขณะที่ยังชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของผู้กู้และธนาคาร และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อบ้านสำหรับลูกค้าทั่วไป โดยคิดอัตราดอกเบี้ย เท่ากับช่วงเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ แบบไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.995% ปีต่อไป MRR = 5.995% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.995% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.995% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.950% ปีต่อไป MRR = 5.995% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.950% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.983% หมายเหตุ -กรณีใช้ดอกเบี้ย​แบบทำประกัน​ Credit Life 70% กำหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลาเอาประกัน 70% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา โดยกำหนดให้เอาระยะเวลาขั้นต่ำ 10  ปี (กรณีระยะเวลากู้ตามสัญญาต่ำ​10 ปี กำหนดให้ระยะเวลาเอาประกันเท่ากับระยะเวลากู้ตามสัญญา) ​-ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ รับประกันภัยโดย บมจ. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต บริษัทนเครือกลุ่มเอฟดับบลิวดี หากต้องการสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับการประกันภัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์บริการลูกค้า โท​ร. 1315 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น. -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข ​​ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุก​ ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น ​การพิจารณารับประกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันภัย ของบริษัทประกันภัย -อัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารไทยพาณิชย์ เท่ากับ 5.995% ต่อปี ​(ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563) ซึ่งอาจะเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศธนาคาร -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ระบุในตารางเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ​ซึ่งอาจะมีความแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีลูกค้าบอกเลือกประกันชีวิต หรือขอเวนคืนกรมธรรม์ หรือทำประกันไม่ครบกำหนดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ​ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยวงเงินกู้ เป็นอัตราดอกเบี้ยทั่วไป  ตามประกาศธนาคาร ระยะเวลากู้ตามสัญญา วงเงิน ระยเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย คุณสมบัติ เอกสารปรกอบการพิจารณา และการอนุมัติเป็นไปตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด 9.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์  หรือ ธอส. มีสินเชื่อสำหรับการซื้อบ้านหลากหลายประเภท โดยประเภทสินเชื่อโครงการบ้าน ธอส. เพื่อคุณ ปี 2564 ​มีการคิดอัตราดอกเบี้ย ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา  ดังนี้ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.86% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.86% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.86% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.4% หมายเหตุ ยื่นคำขอกู้และอนุมัติตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 64 – 30 ธ.ค. 64   (ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเติมวงเงินของโครงการแล้ว) อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.15% ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 10.ธนาคารยูโอบี ธนาคารยูโอบี มีสินเชื่อบ้านสำหรับโคงการหมู่บ้านทั่วไป  โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ ทางเลือก 1 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.55% เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดดอกเบี้ย 3.35% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.55% (MRR-3.80%)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.35% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.87% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย  4.79% ทางเลือกที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.75% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.55% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.75% (MRR-3.60%)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.75% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.95% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.87% ทางเลือกที่ 3 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.0% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 2.80% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.95% (MRR-2.40%)เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.75% หลังจากนั้น 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.65% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.90% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.80% ทางเลือกที่ 4 ไม่ทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.20% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 5.15% (MRR-2.20%) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.95% ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.85% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.96% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 4.88% หมายเหตุ -ขอสินเชื่อตั้งแต่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. 64 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายใน 30 ก.ค. 64 -อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาครยูโอบี >ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ >ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ -อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR=7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจะมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีไถ่ถอนจำนองเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น ​(Re-finance) ในช่วงระยะเวลา 3 ปีแรก นับจากวันที่กู้ จะมีค่าปรับ 3% ของยอดเงินต้นคงค้าง (เฉพาะวงเงินสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยเท่านั้น)​ -การอนุมัติสินเชื่อ​เป็นไปตำมหลักเกณฑ์ของธนาคาร​ -เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันเท่ากับ  7.35% ต่อปี ​(ตามประกาศธนาคารณ วันที่ 1 เม.ย. 64) อนึ่ง ธนาคารสามารถประกาศปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย​ MRR ได้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอนุญาตไว้​ -อัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ​เป็นไปตามประกาศที่ธนาคารจัดทำไว้  และประกาศให้ทราบตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารอาจเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยการปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการ หรือเว็บไซต์ของธนาคาร​ -ธนาคารยูโอบีในฐานะนายหน้าประกันภัย ​(ใบอนุญาตประกันชีวิต​เลขที่ ช.00026/2545 และใบอนุญาตประกันวินาสภัย​ เลขที่ ว.00020/2546) ทำหนี่เสนอผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยและเป็นผู้จัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย และอำนวยความสะดวกในการรับชำระเบี้ยประกันเท่านั้น  รับประกันชีวิตโดยบริษัท พรูเด็นเชียลประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), รับประกันวินาศภัยโดย บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ​จะเป็นผู้รับผิดชอบตามเงื่อนไข ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง 11.ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย คือ โฮมโลน โดนใจ สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้น 2.00% โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ย เท่ากับช่วงเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ แบบที่ 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.00% (MRR-5.35%) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.80% (MRR-3.55%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.10% (MRR-2.25% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10%  (ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท 2 ปีแรก) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.20% (MRR-3.15%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 3 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.55% (MRR-4.80%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.63% แบบที่ 4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยคงที่ 2.75% (ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท 3 ปีแรก) ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.76% เงื่อนไข กรณีลูกค้าเลือกทำประกัน MRTA/MLTA ผ่านธนาคาร : 1.กรณีที่ลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ผ่านธนาคาร ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1%  ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือ สูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือ เปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ภายใน 5 ปีแรก ทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 2.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี หมายเหตุ -โครงการจัดสรรในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เท่านั้น* -ราคาซื้อขายของหลักประกันต้องมีราคา (แนวราบ) ไม่น้อยกว่า 2.00 ล้านบาท , (แนวสูง) ไม่น้อยกว่า 2.50 ล้านบาท -ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำ ล้านละ 3,500 บาท  กรณีเลือกอัตราดอกเบี้ยคงที่** -ยกเว้น ค่าประเมินราคาหลักประกัน (โครงการจัดสรรทุกโครงการที่มีราคาซื้อขาย 2 ล้านบาทขึ้นไป)*** -ระยะเวลากู้สูงสุด 40 ปี รวมอายุผู้กู้ไม่เกิน 70 ปี**** -วงเงินกู้เพิ่มสูงสุด 10% จากสัญญาซื้อขาย เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน อัตราดอกเบี้ย 1) ทำประกัน MRTA/MLTA : ปีที่ 1-3 : MRR – 2.75% = 4.60% หรือ 2) ไม่ทำประกัน MRTA/MLTA : ปีที่ 1-3 : MRR – 2.25% = 5.10% , หลังจากนั้นปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR = 7.35% ***** -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.35% (ณ 1 เม.ย. 64) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -การพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละรายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่ธนาคารกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์การพิจารณาสินเชื่อ โดยอยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆเป็นไปตามประกาศธนาคาร โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า -อัตราดอกเบี้ย และโปรโมชั่น (มีวงเงินสินเชื่อจำกัด) สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อ โดยเบิกรับเงินกู้ ตั้งแต่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. 64 12.ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสิน มีสินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนสบาย ปีแรก 0.50% ผ่อนสบาย ล้านละ 4,000 บาทต่อเดือน นาน 1 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ย เท่ากับช่วงเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ กรณีทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.025% (MRR-2.22%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย 5.245% (MRR-1.00%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.850% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.327% กรณีไม่ทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.750% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.275% (MRR-1.970%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.245% (MRR-1.00%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.100% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.424%   เงื่อนไขการใช้อัตราดอกเบี้ยโปรโมชั่น 1.ต้องสมัครบริการ MyMo และผลิตภัณฑ์/บริการอื่นของธนาคารเพิ่มอย่างน้อย 2 ประเภท ได้แก่ บัตรอิเล็กทรอนิกส์/ บัตรเครดิต หรือ สินเชื่อบัตรเงินสด / ชำระสินเชื่อหักผ่านบัญชี / ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ทั้งนี้ หากลูกค้ใช้ผลิตตภัณฑ์/ บริการ ตามที่กหนดอยู่แล้วสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวได้ กรณีไม่มี Smartphone ให้สมัครผลิตภัณฑ์ / บริการอื่นของธนาคารตามที่กำหนดทดแทนได้ 2.กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนครบกำหนด 3 ปี ทุกกรณี คิดค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ธนาคารกระกาศกำหนด เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมบริการประเภทต่าง ๆ (ปัจจุบัน 3% ของยอดเงินต้นคงเหลือ) 3.สินเชื่อเคหะ สามารถเลือกชำระแบบผ่อนต่ำ โดยเงินงวดผ่อนชำระต่อจำนวนเงินกู้สินเชื่อเคหะ 1 ล้านบาท ปีที่ 1 เท่ากับ 4,000 บาท /เดือน ยกเว้น กรณีกู้ปลูก​สร้าง/ต่อเติมซ่อมแซม ไม่สามารถเลือกชำระแบบผ่อนต่ำได้ หมายเหตุ 1.ประกัน หมายถึง ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 2.อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ MRR=6.245% (ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2563) 3.อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี     บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดท ดอกเบี้ยเงินกู้ รีไฟแนนซ์บ้าน เดือนกรกฎาคม 2564 อัพเดท ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน-คอนโด เดือนมิถุนายน 2564
“ออริจิ้น”โชว์พรีเซลครึ่งปีแรก ทำยอดทะลุ 54% ของเป้าทั้งปี 

“ออริจิ้น”โชว์พรีเซลครึ่งปีแรก ทำยอดทะลุ 54% ของเป้าทั้งปี 

“ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้” โชว์ยอดพรีเซลครึ่งปีแรก 15,700 ล้าน ทะลุ 54% ของเป้าหมายทั้งปี ขณะที่ไตรมาส 2 กวาดยอดขายไป 8,000 ล้าน ส่วนไตรมาส 3 เล็งส่ง 5 โครงการใหม่ เจาะหลากเซ็กเมนท์ ดันยอดขายสู่ 29,000 ล้านบาท สร้างสถิติใหม่ All Time High ตามเป้า    นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI   เปิดเผยถึงยอดขายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564  ว่า บริษัทมียอดขายสะสมแล้วกว่า 15,700 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ถึง 37% และคิดเป็นสัดส่วน 54% ของเป้าหมายปีนี้ ที่ตั้งไว้ 29,000 ล้านบาท  โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 2/2564 บริษัทมียอดขายกว่า 8,000 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ราว 22%   สำหรับยอดขายในไตรมาส 2 มูลค่า 8,0000 ล้านบาท ​ แบ่งเป็นยอดขายจากกลุ่มบ้านจัดสรร 25% และกลุ่มคอนโดมิเนียม 75% หากแบ่งตามสถานะโครงการ มี ยอดขายจากโครงการพร้อมอยู่ (Ready to move) สัดส่วน 71% และยอดขายจากกลุ่มโครงการที่เพิ่งเปิดขายหรืออยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง (Ongoing) สัดส่วน​ 29% โดยโครงการที่มีส่วนสำคัญในการสร้างยอดขายใหม่ช่วงไตรมาส 2/2564 คือ โครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (Investment Property) แบรนด์แรกของบริษัทอย่าง แฮมป์ตัน (Hampton) และแบรนด์บ้านจัดสรรมิกซ์โปรดักส์ (Mixed Products) บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮมระดับไฮเอนด์-ลักชัวรีอย่าง แกรนด์ บริทาเนีย (Grand Britania)    ล่าสุด แฮมป์ตัน ศรีราชา โครงการร่วมทุนกับกลุ่มดุสิตธานีสามารถทำยอดขายได้แล้วกว่า 90% ถือเป็นก้าวแรกของความสำเร็จในการเข้าสู่ตลาด Investment Property ขณะเดียวกัน แกรนด์ บริทาเนีย ราชพฤกษ์-พระราม 5 บ้านจัดสรรในฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ที่เพิ่งเปิดขายอย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาส 2/2564 ก็ได้กระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้าอย่างมากเช่นเดียวกัน   นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า  นอกจากยอดขายในฝั่งโครงการเปิดตัวใหม่ เรายังใช้ความเข้าใจใน Insight ของผู้บริโภคมาเป็นแนวทางในการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดแคมเปญ Final War, Final Price เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงคอนโดมิเนียมไฮเอนด์คุณภาพในราคาสุดคุ้ม การงัดกลยุทธ์ Online Marketing  มาประยุกต์สร้างช่องทางขายเชิงรุกใหม่ผ่าน Property Live การจับมือกับ Bitkub เพิ่มช่องทางการซื้อขายให้แก่ผู้บริโภคด้วยคริปโทเคอร์เรนซี   การปรับตัวทั้งหมดถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรายังรักษาการเติบโตของยอดขายได้อย่างยอดเยี่ยม แม้ในช่วงที่ภาคเศรษฐกิจจะได้รับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 สำหรับสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งปีหลัง ยังอยู่ในช่วงต้องจับตาดูสถานการณ์ภาพรวมของประเทศอย่างใกล้ชิด อาทิ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและการเยียวยาภาคส่วนต่างๆ ของภาครัฐ ความเร็วของการกระจายการฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) หากภาครัฐสามารถดำเนินการเรื่องดังกล่าวได้ดี จะช่วยให้เศรษฐกิจภาพรวมและภาคอสังหาริมทรัพย์ได้อานิสงส์ไปด้วย อย่างไรก็ดี ออริจิ้น จะเดินหน้าปรับตัวให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ ควบคู่กับการเดินหน้าเปิดตัวโครงการใหม่ตามแผนงานที่วางไว้ โดยในไตรมาส 3/2564 บริษัทจะเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 5 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 4,580 ล้านบาท ได้แก่ บริทาเนีย ติวานนท์-ราชพฤกษ์ และบริทาเนีย ราชพฤกษ์-นครอินทร์ ต่อยอดความสำเร็จของบ้านจัดสรรฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ โครงการแฮมป์ตัน ระยอง ต่อยอดความสำเร็จตลาด Investment Property รวมถึงแบรนด์ใหม่ “ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์” (Origin Plug & Play) คอนโดมิเนียมเจาะกลุ่มสตาร์ทอัพ ภายใต้ชื่อออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ รามคำแหง ทริปเปิ้ล สเตชั่น และแบรนด์ “บริกซ์ตัน” (Brixton) เจาะกลุ่มความต้องการเฉพาะ (Affordable Niche) อย่างบริกซ์ตัน เพ็ท แอนด์ เพลย์ สุขุมวิท 107 คอนโดมิเนียมเลี้ยงสัตว์ได้โครงการแรกของบริษัท เชื่อมั่นว่าจากความเข้าใจ Insight ของผู้บริโภค และความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว จะส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างสถิติยอดขาย All Time High ได้ตามเป้า    
LGBTQ+ เลือกซื้อที่อยู่อย่างไร ในไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย

LGBTQ+ เลือกซื้อที่อยู่อย่างไร ในไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย

ชาว LGBTQ+ หรือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ปัจจุบันมีบทบาทสำคัญในทุกธุรกิจและสังคม แม้ว่าอาจจะมีบางสังคมหรือประเทศ ยังไม่ได้ให้สิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกับเพศชายและหญิงทั่วไปก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่ากลุ่มคนเหล่านี้ มีส่วนสำคัญต่อการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมในหลายเรื่องด้วยกัน   นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะมีอำนาจในด้านการใช้จ่ายเงินสูง จากการประสบความสำเร็จในสายอาชีพต่าง ๆ มีรายได้สูง แต่ไม่มีภาวะด้านการเลี้ยงดูบุตร และเป็นกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญต่อการใช้จ่าย เพื่อสร้างความสุขให้กับตนเอง ​ ข้อมูลจากรายงาน LGBT GDP, WEALTH & TRAVEL DATA 2018 โดย LGBT Capital คาดการณ์ว่าทั่วโลกมีจำนวนประชากรกลุ่ม LGBTQ+ ประมาณ 6.5% หรือประมาณ 496 ล้านคน อยู่ในแถบเอเชียประมาณ 293 ล้านคน โดยประชากร LGBTQ+ ชาวไทยมีถึง 4.5 ล้านคน ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้มีกำลังซื้อและพฤติกรรมการใช้เงินในระดับดี มีการประมาณส่วนแบ่งความมั่งคั่งในครัวเรือนของผู้บริโภค LGBTQ+ ชาวไทยอยู่ที่ 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ งานวิจัยของเอาท์ นาว คอนซัลติ้ง ร่วมกับ เวิลด์ ทราเวล มาร์เก็ต (WTM) เผยว่าชาว LGBTQ+ ใช้จ่ายไปกับการท่องเที่ยวสูงถึง 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเลยทีเดียว เนื่องจากการที่ชาว LGBTQ+ ส่วนใหญ่มักไม่มีบุตรจึงไม่มีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ จึงเลือกวางแผนชีวิตอย่างเป็นรูปแบบและใช้จ่ายเพื่อซื้อความสุขให้ตัวเองตามไลฟ์สไตล์ที่สนใจมากขึ้นแทน   ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มชาวLGBTQ+ ก็มีบทบาทสำคัญ เพราะมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อใช้ในการพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่กลุ่มคนเหล่านี้ มักจะมีความชื่นชอบและความหลากหลายในการเลือกซื้อของใช้ ซึ่งเป็นไปตามไลฟ์สไตล์ของตนเอง  แต่ที่สำคัญกลุ่มชาว LGBTQ+ มักจะเลือกซื้อที่ดีมีคุณภาพ และตอบโจทย์ความต้องการและไลฟ์สไตล์ของพวกเขาอย่างแท้จริง ซึ่งไม่เว้นการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ​​   ข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study พบว่า ความต้องการของชาว LGBTQ+ ทางด้านตลาดอฯ นั้น ยังสอดคล้องกับผู้บริโภคส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยภายในที่ผู้บริโภคชาวไทยให้ความสำคัญ เมื่อต้องเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การพิจารณาขนาดที่อยู่อาศัยมาก่อนถึง 48% ตามมาด้วยความครบครันของสิ่งอำนวยความสะดวก (44%) และความคุ้มค่าของราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอย (38%) ในขณะที่ปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยนั้น ผู้บริโภคเกินครึ่ง (54%) ให้ความสำคัญเรื่องทำเลที่ตั้งมากที่สุด ตามมาด้วยความสะดวกสบายจากการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ (50%) และความปลอดภัยในโครงการ (45%) 4 อินไซต์ วิธีเลือกที่อยู่อาศัยชาว LGBTQ+ ชาว LGBTQ+ เป็นกลุ่มคนที่เต็มที่ในทุกเรื่องแบบ “Work hard, play harder” ไม่เว้นแม้แต่การเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจว่า คนกลุ่มนี้ชื่นชอบที่จะพักอาศัยในคอนโดเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วไลฟ์สไตล์ของชาว LGBTQ+ มีความหลากหลายมากกว่านั้น แต่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง แถมยังมีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ ลองมาดูกันว่าสไตล์การเลือกที่อยู่อาศัยของชาว LGBTQ+ เป็นอย่างไรบ้าง 1.พื้นที่ใช้สอยคุ้มค่า รองรับชีวิตแบบมัลติไลฟ์สไตล์ ชาว LGBTQ+ มีรูปแบบการใช้ชีวิตที่หลากหลาย จะเห็นได้จากกิจกรรมยามว่างที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการร่วมสังสรรค์/ปาร์ตี้เพื่อเข้าสังคม พักผ่อนภายในบ้านกับงานอดิเรกไม่ว่าจะเป็นสร้างมุมปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว แยกมุมทำงานเป็นสัดส่วน โซนอเนกประสงค์ไว้เล่นเกมหรือทำกิจกรรมสานสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง   นอกจากนี้ ชาว LGBTQ+ ส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่มีบุตร จึงนิยมมีงานอดิเรก เช่น เลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อนแก้เหงา ที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมนอกบ้านจึงจำเป็นไม่แพ้กัน บ้านหรือคอนโดที่มีพื้นที่ใช้สอยเพียงพอรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายเหล่านี้ รวมทั้งการมีพื้นที่ส่วนกลางที่มาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันจึงเป็นตัวแปรลำดับแรก ๆ 2.สุขนิยม สุขภาพดีทั้งกายและใจต้องมา ผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์และรูปร่าง จึงให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพมาเป็นอันดับต้น ๆ โครงการอสังหาฯ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางที่ตอบโจทย์พฤติกรรมเพื่อสุขภาพนี้ จะได้คะแนนจากผู้บริโภคที่อยู่ระหว่างการเลือกหรือตัดสินใจซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย สอดคล้องกับข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ล่าสุด พบว่า สิ่งอำนวยความสะดวกยอดนิยมในคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการบ่อยที่สุดจะเน้นไปที่การออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพมาเป็นอันดับต้น ๆ โดยเกือบครึ่งของผู้บริโภค (47%) เลือกใช้บริการที่ออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพเป็นประจำ ตามมาเกือบ 1 ใน 3 ใช้บริการสระว่ายน้ำ (32%) และห้องโถงอเนกประสงค์ 13% 3.ชอบการท่องโลกออนไลน์ อินเทอร์เน็ตต้องพร้อมใช้ ข้อมูลจากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA พบว่า LGBTQ+ เป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดถึง 11 ชั่วโมง 20 นาทีต่อวัน ถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเพศชายและหญิง เมื่อรวมกับเทรนด์ในปัจจุบันประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมของชาว LGBTQ+ มีการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในหลายมิติมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์คอนเทนต์หลากหลายรูปแบบ ฝึกฝนและเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ หรือใช้เป็นช่องทางในทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโครงการที่มีคุณภาพและเสถียรต้องตอบโจทย์นี้ ไม่ว่าจะอยู่ภายในที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ส่วนกลาง 4.ใส่ใจการออกแบบ สะท้อนตัวตนผู้อยู่ ความพิถีพิถันใส่ใจทุกรายละเอียด เป็นอีกอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชาว LGBTQ+ ซึ่งรวมถึงเรื่องที่อยู่อาศัยที่สะท้อนตัวตนได้เป็นอย่างดีพอ ๆ กับการดูแลรูปลักษณ์ภายนอกหรือเครื่องแต่งกาย ผู้บริโภคจะพิจารณาการออกแบบและตกแต่งที่สะท้อนบุคลิกอย่างมีสไตล์ การออกแบบเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน รวมถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่เข้ากันกับบ้าน "กฎหมาย" อุปสรรคการซื้อบ้าน​ชาว LGBTQ+    แม้สังคมไทยปัจจุบันจะเปิดรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ยังไม่มีการรับรองความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิตอย่างเป็นทางการ จึงส่งผลต่อการทำธุรกรรมของชาว LGBTQ+ เมื่อต้องการซื้ออสังหาฯ จึงเป็นข้อจำกัดสำคัญของคู่รักชาว LGBTQ+ ที่ต้องการใช้สิทธิกู้ร่วมไม่น้อย โดยทั่วไปแล้วการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของชาว LGBTQ+ หากเป็นการกู้เพียงลำพังก็สามารถดำเนินการยื่นขอสินเชื่อได้ทันทีไม่ต่างจากเพศชายและเพศหญิง แต่ไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในฐานะผู้กู้ร่วมได้เฉกเช่นคู่รักทั่วไปได้ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขของธนาคารที่ระบุว่าผู้กู้ร่วมนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกัน เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ร่วมเชื้อสายเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเป็นชายหญิงที่เป็นคู่สมรสกัน ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ ในขณะที่ปัจจุบันกฎหมายไทยยังไม่รองรับการจดทะเบียนสมรสของคู่รัก LGBTQ+ จึงทำให้ความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่มีผลทางนิตินัยไปโดยปริยาย ​   นอกจากนี้ ธนาคารประเมินว่าความเสี่ยงของการกู้ร่วมของกลุ่ม LGBTQ+ สูงกว่าของคู่สมรสชายหญิง และก็สูงกว่าการกู้ร่วมของชายหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส การรับรู้ความเสี่ยงที่สูงกว่านี้เป็นปัจจัยที่ธนาคารอาจพิจารณาให้วงเงินกู้ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการกู้ร่วมของคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส ทำให้ชาว LGBTQ+ อาจไม่ได้รับวงเงินสินเชื่อตามที่ตั้งเป้าไว้ หรือต้องปรับลดสเปกที่อยู่อาศัยที่ต้องการลงมา ซึ่งชาว LGBTQ+ ต่างรอติดตามความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ว่าจะเข้ามาช่วยลดช่องว่างของปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง   แม้ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... จะยังไม่รับรองสถานะของคู่รัก LGBTQ+ ทำธุรกรรมกู้ร่วมตามกฎหมายเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ในเวลานี้ อย่างไรก็ดีเวลานี้มีสถาบันการเงินหลายแห่งที่เปิดโอกาสให้คู่ LGBTQ+ สามารถยื่นเรื่องกู้สินเชื่อร่วมกันได้ภายใต้เงื่อนไขในการพิจารณาของแต่ละสถาบันฯ      
ตลาดที่อยู่อาศัย 4 จังหวัดภาคใต้ อัตราดูดซับต่ำ เหลือขายเฉียด 16,000 ยูนิต

ตลาดที่อยู่อาศัย 4 จังหวัดภาคใต้ อัตราดูดซับต่ำ เหลือขายเฉียด 16,000 ยูนิต

4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ถือเป็นจังหวัดสำคัญอันดับต้น ๆ ต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเป็นจังหวัดที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง จากหลากหลายธุรกิจ ทั้งภาคการท่องเที่ยว การค้า และอสังหาริมทรัพย์ เพราะถือเป็นจังหวัดจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว และพักอาศัยสำคัญของไทยแห่งหนึ่ง แต่การเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนักโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและอสังหาฯ ครึ่งหลัง ปี 63 ที่อยู่อาศัยเหลือขาย 15,952 ยูนิต สำหรับธุรกิจอสังหาฯ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ได้ทำการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขายใน 4 จังหวัดดังกล่าว  โดยเป็นผลสำรวจในช่วงครึ่งหลัง ปี 2563 และเป็นการสำรวจโครงการบ้านจัดสรรและอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ที่มียูนิตเหลือขายไม่ต่ำกว่า  6 ยูนิต โดยในช่วงที่ทำการสำรวจพบว่ามีจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขาย ณ ครึ่งหลัง ปี 2563  พบว่า มีทั้งหมด 339 โครงการ จำนวน 17,765 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 77,296 ล้านบาท จำแนกเป็นโครงการบ้านจัดสรร 257 โครงการ 10,592 ยูนิต มูลค่า 43,780 ล้านบาท และโครงการคอนโด 82 โครงการ 7,173 ยูนิต มูลค่า 33,516 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวมียูนิตเหลือขายของบ้านจัดสรรและคอนโดจำนวน 15,952 ยูนิต มูลค่ายูนิตเหลือขาย 70,632 ล้านบาท และในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่จำนวน 1,813 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 6,664 ล้านบาท   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC เปิดเผยว่าการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคใต้ ในพื้นที่ที่ทำการสำรวจ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขายลดลง -0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (YoY) และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 6 Half ล่าสุด โดยเป็นการลดลงของบ้านจัดสรร -6.6% และ แต่คอนโดเพิ่มขึ้น 9.6% เมื่อพิจารณาจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ มีจำนวนยูนิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 -19.2% และยูนิตขายได้ใหม่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลง -32.8% ส่งผลให้ยูนิตเหลือขายกลับมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น  5.0% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2562   โดยภาพรวมพบว่าที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขาย ณ ครึ่งหลังปี 2563 ของภาคใต้ลดลงเกือบทุกจังหวัด โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการลดลงมากที่สุด -8.8% รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ลดลง -3.8% จังหวัดภูเก็ต ลดลง -2.2% ซึ่งจังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดเดียวที่มีจำนวนที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขายเพิ่มขึ้น 11.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562  โดยจังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่ที่มียูนิตเปิดขายใหม่มากที่สุด รวม 1,260 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 4,017 ล้านบาท รองลงมาคือ จังหวัดภูเก็ต มียูนิตเปิดขายใหม่รวม 423 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 1,836  ล้านบาท ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี  มียูนิตเปิดขายใหม่รวม 324 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 998 ล้านบาท   อย่างไรก็ตามจำนวนยูนิตเหลือขาย และยูนิตขายได้ใหม่ ยังคงเป็นประเด็นที่น่าจับตาโดย ณ ครึ่งหลัง ปี 2563 ในภาคใต้ มีอุปทานเหลือขายจำนวน 15,952 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 70,632 ล้านบาท จำแนกเป็นบ้านจัดสรร 9,798 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 40,753 ล้านบาท และคอนโด 6,154 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 29,879 ล้านบาท เมื่อแยกตามสถานะของการก่อสร้างของยูนิตเหลือขายทั้งหมด พบว่า ส่วนใหญ่  45.5% อยู่ระหว่างการก่อสร้าง รองลงมา  34.4% ยังไม่ก่อสร้าง และที่เหลือ  20.0% ก่อสร้างเสร็จแล้ว หากแยกตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า บ้านจัดสรรส่วนใหญ่ 42.6%  อยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยยังไม่ก่อสร้าง 35.8% และสร้างเสร็จแล้ว 21.6% ส่วนคอนโดส่วนใหญ่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 50.2%  ยังไม่ก่อสร้าง 32.3% และสร้างเสร็จแล้ว 17.5% ตามลำดับ ปี 64 เปิดตัวใหม่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยกว่า 5,000 ยูนิต ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ได้ประมาณการทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ในพื้นที่สำรวจ ปี 2564 โดยคาดว่า ณ ครึ่งแรกปี 2564 จะมีที่อยู่อาศัยรอการขายจำนวน 16,738 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 76,070 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 16,941 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 76,697 ล้านบาท ในครึ่งหลังปี 2564 ในขณะที่อัตราดูดซับต่อเดือนของบ้านจัดสรร คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 1.1% ในครึ่งแรกปี 2564 และอยู่ที่ 1.2% ในครึ่งหลังปี 2564 ส่วนอัตราดูดซับต่อเดือนของคอนโดคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 1.4% ในครึ่งแรกปี 2564 และอยู่ที่ 1.5% ในครึ่งหลังปี 2564   สำหรับการเคลื่อนไหวด้านการเปิดตัวโครงการใหม่ประมาณการว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยคาดว่าจะมีการเปิดโครงการใหม่ประมาณ 2,308 ยูนิต ในครึ่งแรกปี 2564 และเปิดใหม่อีก  2,711 ยูนิต ในครึ่งหลังปี 2564 ในขณะที่จำนวนยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์ ณ ครึ่งแรกปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ  8,663 ยูนิต มูลค่า 22,400 ล้านบาท และยูนิตโอนกรรมสิทธิ์จะเพิ่มขึ้นมาเป็น 9,893 ยูนิต มูลค่า 25,125 ล้านบาท ในครึ่งหลัง ปี 2564  ภูเก็ตครึ่งหลังปี 63 ขายได้ใหม่ลด 72.5% ผลสำรวจจังหวัดภูเก็ต จำนวนที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขาย ณ ครึ่งหลังปี 2563 มีอัตราลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562  -2.2% โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 9,044 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 3,384 ยูนิต หรือ 37.4% เป็นโครงการคอนโด 5,660 ยูนิต หรือ 62.6% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 เพียง 423 ยูนิต มีอัตราลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 -65.0% มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 443 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราลดลงถึง -72.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 8,601 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้น 12.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 3,383 ยูนิต ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 170 ยูนิต   สำหรับยูนิตเหลือขายที่สร้างเสร็จ หรือ Inventory ในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดภูเก็ต มีจำนวนยูนิตทั้งหมด 1,335 ยูนิต เป็นคอนโด 878 ยูนิต คิดเป็น 65.8% ของ Inventory ทั้งหมด และบ้านจัดสรร 457 ยูนิต คิดเป็น 34.2%  ของ Inventory ทั้งหมด ปี 64 คาดที่อยู่เปิดใหม่ภูเก็ต กว่า 3,000 ยูนิต โดยทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูเก็ต ปี 2564 คาดการณ์ว่าในช่วง H1/64 โครงการเปิดขายใหม่ จะสูงกว่า H1/63  6.3% และ H2/64 จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก H2/63   296.7% รวมคาดว่ามียูนิตเปิดใหม่ปี 2564 จำนวน 3,005 ยูนิต มูลค่า 17,045 ล้านบาท ด้านยูนิตขายได้ใหม่ ช่วง H1/64 จะต่ำกว่า H1/63  -19.8% โดย H2/64 จะเพิ่มขึ้น  47.2% จาก H2/63 ยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมี 1,246 ยูนิต มูลค่า 5,402 ล้านบาท ส่วนยูนิตเหลือขาย H1/64 จะเพิ่มจาก H1/63  3.5% ส่วน H2/64 จะลดลง  -1.5% เมื่อเทียบกับ H2/63 สำหรับยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 8,468 ยูนิต มูลค่า 47,775 ล้านบาท   ด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ H1/64 ยูนิตโอนกรรมสิทธิ์จะเพิ่มขึ้นจาก H1/63  19.9% และมูลค่าโอนฯจะเพิ่มขึ้น 20.0% ส่วน H2/64 มีแนวโน้มว่ายูนิตโอนกรรมสิทธิ์จะเพิ่มขึ้นจาก H2/63   19.1% และมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์จะเพิ่มขึ้น  21.8% เมื่อเทียบกับ H2/63 โดย ปี 2564 มียูนิตโอนกรรมสิทธิ์รวมประมาณ 6,374 ยูนิตมูลค่ารวม 21,161 ล้านบาท สงขลาครึ่งปีหลัง 63 เปิดใหม่ 1,260 ยูนิต ผลสำรวจจังหวัดสงขลา จำนวนที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขายมีอัตราเพิ่มขึ้น 11.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 4,250 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 2,951 ยูนิต หรือ 69.4% เป็นโครงการคอนโด 1,299 ยูนิต หรือ 30.6% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 จำนวน 1,260 ยูนิต โดยเพิ่มขึ้น 49.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 สำหรับยูนิตขายได้ใหม่ มีจำนวน 950 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราเพิ่มขึ้น 23.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 3,300 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้น 8.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 1,285 ยูนิต ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดอยู่ในช่วงราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 473 ยูนิต ปี 64 คาดสงขลา ขายที่อยู่ได้แค่ 942 ยูนิต ตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดสงขลา คาดว่าในช่วง H1/64 ยูนิตเปิดใหม่จะสูงกว่า H1/63 19.5% และ H2/64 จะลดลง -54.0% จาก H2/63 โดยยูนิตเปิดใหม่รวมในปี 2564 คาดว่าจะมี 1,124 ยูนิต มูลค่า 3,991 ล้านบาท ยูนิตขายได้ใหม่ H1/64 จะต่ำกว่า H1/63  -8.9% ช่วง H2/64 จะยังคงลดลงต่อเนื่อง -46.3% จาก H2/63 ยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมี 962 ยูนิต มูลค่า 3,043 ล้านบาท สำหรับยูนิตเหลือขาย H1/64 ยูนิตเหลือขายจะเพิ่มจาก H1/63  16.9% และ H2/64 ยูนิตเหลือขายจะยังคงเพิ่มขึ้น  11.8% เมื่อเทียบกับ H2/63 สำหรับยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 3,690 ยูนิต มูลค่า13,183 ล้านบาท ครึ่งหลังปี 63 จ.สุราษฎร์ฯ ที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 324 ยูนิต ผลสำรวจจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวนที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขายมีอัตราลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562  -8.8% โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 2,906 ยูนิต  ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 2,737 ยูนิต หรือ  94.2% เป็นโครงการคอนโด 169 ยูนิต หรือ 5.8% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 จำนวน 324 ยูนิต มีอัตราลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562  -41.7% มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 331 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราเพิ่มขึ้นในอัตรา 39.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 2,575 ยูนิต หรือลดลง -12.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 1,147 ยูนิต ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดอยู่ในช่วงราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 94 ยูนิต ปี 64 จ.สุราษฎร์ฯ คาดโอนที่อยู่อาศัย 9,707 ล้าน สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยูนิตเปิดขายใหม่ H1/64 จะสูงกว่า H1/63   926.5% โดย H2/64 จะเพิ่มขึ้น 12.7% จาก H2/63 ส่วนยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมี 714 ยูนิต มูลค่า 2,445 ล้านบาท โดยยูนิตขายได้ใหม่ H1/64 จะสูงกว่า H1/63  59.8% ส่วน H2/64 จะลดลง -27.8% จาก H2/63 ซึ่งยูนิตขายได้รวมในปี 2564 คาดว่าจะมี 450 ยูนิต มูลค่า 1,270 ล้านบาท โดยคาดว่ายูนิตเหลือขาย H1/64 จะเพิ่มจาก H1/63 4.5%  และ H2/64 ยูนิตเหลือขายจะยังคงเพิ่มขึ้นอีก 16.7% เมื่อเทียบกับ H2/63 สำหรับยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 3,006 ยูนิต มูลค่า 9,507 ล้านบาท   ในส่วนของการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย  H1/64 คาดว่าจำนวนยูนิตโอนฯ จะลดลงจาก H1/63  -7.3% แต่มูลค่าโอนฯ จะเพิ่มสูงขึ้น 20.6 และ H2/64 มีแนวโน้มว่ายูนิตโอนฯ จะเพิ่มจาก H2/63  29.9% และมูลค่าโอนฯ จะเพิ่มขึ้น 41.7%  เมื่อเทียบกับ H2/63 สำหรับยูนิตโอนและมูลค่าการโอนฯ รวมปี 2564 จะมีประมาณ 3,919 ยูนิต มูลค่า 9,707 ล้านบาท นครศรีธรรมราช ครึ่งหลัง 63 เปิดเพิ่ม 97 ยูนิต ผลสำรวจจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่ามีจำนวนที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขาย ณ ครึ่งหลังปี 2563  มีอัตราลดลง -3.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 1,565 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,520 ยูนิต หรือ 97.1% เป็นโครงการคอนโด 45 ยูนิต หรือ 2.9 % และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 จำนวน เพียง 97 ยูนิต ซึ่งทั้งหมดเป็นโครงการบ้านจัดสรร หรือเพิ่มขึ้นในอัตรา  100% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 สำหรับยูนิตขายได้ใหม่ มีจำนวน 89 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราเพิ่มขึ้น 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 1,476 ยูนิต หรือลดลง  -4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,433 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน  97.1% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 816 ยูนิต ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 43 ยูนิต ปี 64 ที่อยู่อาศัยจ.นครศรีธรรมราช เหลือขาย 1.778 ยูนิต สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช ยูนิตเปิดขายใหม่ H1/64 เพิ่มจาก H1/63 มาประมาณ 86 ยูนิต จากที่ H1/63 ไม่มียูนิตเปิดใหม่เลย โดย H2/64 คาดว่าจะลดลง  -9.3% จาก H2/63 ยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมี 174 ยูนิต มูลค่า 773 ล้านบาท ยูนิตขายได้ใหม่ H1/64 จะสูงกว่า H1/63  73.5%  ส่วน H2/64 จะลดลง -23.6% จาก H2/63 และยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมี 127 ยูนิต มูลค่า 441 ล้านบาท สำหรับยูนิตเหลือขาย H1/64 จะเพิ่มจาก H1/63 ประมาณ 13.7%  และ H2/64 ยูนิตเหลือขายจะยังคงเพิ่มขึ้น 20.5% เมื่อเทียบกับ H2/63 ยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 1,778 ยูนิต มูลค่า 6,232 ล้านบาท   ด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ H1/64 ยูนิตโอนกรรมสิทธิ์จะลดลงจาก H1/63  -38.1% และมูลค่าโอนฯ จะลดลง  -21.4% สำหรับ H2/64 มีแนวโน้มว่ายูนิตโอนฯ จะเพิ่มจาก H2/63   8.9% และมูลค่าโอนฯ จะเพิ่มขึ้น   30.4% เมื่อเทียบกับ H2/63 ส่วนยูนิตโอนฯ และมูลค่าการโอนฯ รวมปี 2564 จะมีประมาณ 2,778 ยูนิต มูลค่า 5,640 ล้านบาท    
ออริจิ้น  งัดกลยุทธ์ “Property Live”  กวาดยอด “ดิ ออริจิ้น” กว่า 200 ล้าน

ออริจิ้น งัดกลยุทธ์ “Property Live” กวาดยอด “ดิ ออริจิ้น” กว่า 200 ล้าน

“ออริจิ้น”  ใช้กลยุทธ์ Online Marketing  โกยยอดขายคอนโด “ดิ ออริจิ้น” จากการไลฟ์แค่วันเดียว  กว่า 200 ล้าน ตอกย้ำพฤติกรรมกลุ่ม Gen Z  เติบโตพร้อมเทคโนโลยี ชอบช้อปปิ้งออนไลน์​ในการเข้าถึงให้ลูกค้า พร้อมครองใจ   นายอภิสิทธิ์ สุนทรชูเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท ออริจิ้น คอนโดมิเนียม จำกัด ผู้พัฒนาโครงการกลุ่มสมาร์ทคอนโดมิเนียมในเครือ บริษัท​ ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยว่า แม้ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลให้จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมโครงการอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงจากช่วงเวลาปกติ แต่บริษัทยังคงสามารถสร้างยอดขายใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง   โดยล่าสุด บริษัทได้ต่อยอดจากการพัฒนาแพลทฟอร์มอีเวนท์การขายออนไลน์ Evenprop.com สู่การทำกลยุทธ์ “Property Live” นำคอนโดมิเนียมแบรนด์ ดิ ออริจิ้น (The Origin) แบรนด์คอนโดมิเนียมที่เจาะตลาดคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z จำนวน 10 โครงการ 10 ทำเล มาผนวกกับแคมเปญ “The Origin 10 Big Surprise” ขายคอนโดผ่าน Live เฟซบุ๊ก รายการ “คอนโดน่าไลฟ์” พร้อมโปรโมชั่นลด แจก แถม บนช่องทางแฟนเพจ Origin Property แบบ Online Marketing ของฝั่ง Consumer Products จากกลยุทธ์ดังกล่าว บริษัทได้รับการตอบรับอย่างดี สามารถปิดการขายระหว่าง Live สดวันแรกได้ทันที 22 ห้อง  และมียอดจองต่อเนื่องจาก Live วันแรกอีก 8 ห้อง ส่งผลให้หลังจบแคมเปญ The Origin 10 Big Surprise 10 วัน 10 โครงการ บริษัทสามารถสร้างยอดขายรวมจากแบรนด์ดิ ออริจิ้น กว่า 200 ล้านบาท   “เราเคยเชื่อกันว่าฝั่ง Consumer Products ใช้กลยุทธ์ Online Marketing แบบนี้ได้ เพราะสินค้าขนาดเล็ก ราคาไม่สูง ส่วนอสังหาฯ ยังทำไม่ได้ เพราะราคาค่อนข้างสูง ผู้บริโภคยังต้องมาเห็นสินค้าด้วยตาตัวเอง แต่ตอนนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว บางประเทศ เช่น จีน Live สดขายคอนโดกันเป็นเรื่องปกติ ในไทยเอง สถานการณ์ COVID-19 กลายเป็นตัวเร่งให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมแบบ New Normal และ Next Normal ในทุกด้านมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z ที่เติบโตมากับเทคโนโลยี วันนี้ Gen Z พร้อมที่จะตัดสินใจซื้อคอนโดผ่าน Live โดยไม่ต้องเห็นของจริงได้เลย หากแบรนด์น่าเชื่อถือ ข้อมูลสินค้าชัดเจนโดนใจ นี่จึงเป็นสาเหตุให้เราสามารถกวาดยอดขายได้สูงมากในครั้งนี้”   สำหรับการทำกลยุทธ์ Property Live มีข้อดีหลักๆ 5 ข้อ ได้แก่ 1.สร้างความสะดวกในการเข้าถึง ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเดินทางมาถึงโครงการ ก็สามารถตัดสินใจซื้อได้เลย 2.สร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม ผู้บริโภคจะรู้สึกเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายขึ้นและมีความผูกพันกับแบรนด์มากขึ้นผ่านกิจกรรมระหว่าง Live 3.สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า โดยสามารถให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ครั้งละจำนวนมาก 4.สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ ให้ผู้บริโภคได้สัมผัสวิธีการซื้อขายคอนโดมิเนียมที่แตกต่างจากเดิม 5.กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจได้รวดเร็วขึ้น ผ่านโปรโมชั่นแบบจำกัดระยะเวลา ทั้งนี้ บริษัทจะพิจารณาจัดโปรโมชั่นแบบจำกัดระยะเวลาในการขายผ่าน Live สด ควบคู่กับกิจกรรมการตลาดแบบ Next Normal อื่น ๆ ที่บริษัทเคยดำเนินการมาก่อนหน้านี้ อาทิ การจัดกิจกรรมพรีเซลผ่าน https://evenprop.com การกระจายช่องทางการขายและการทำธุรกรรมผ่านทั้ง Lazada, Shopee, LINE Official Account เพื่อสร้างทั้งความสะดวกในการเข้าถึง ความสัมพันธ์ และประสบการณ์ที่ดีในการซื้อขายสินค้า พร้อมทั้งครองใจกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์ ดิ ออริจิ้น
“เดอะ ฟอเรสเทียส์” ทำผลงานแค่ 3 เดือน  ยอดขายเพิ่มสองเท่าทะลุ 13,000 ล้าน​

“เดอะ ฟอเรสเทียส์” ทำผลงานแค่ 3 เดือน ยอดขายเพิ่มสองเท่าทะลุ 13,000 ล้าน​

"เดอะ ฟอเรสเทียส์" เผยยอดขายดีเกินคาด แค่ 3 เดือน ยอดขายโครงการที่อยู่อาศัยรวม ทะลุ 13,000 ล้าน ​หลังคนเจอผลกระทบโควิด-19  หันมาให้ความสำคัญเรื่องการอยู่อาศัยในเมืองที่ให้สุขภาพที่ดี    นายกิตติพันธุ์ อุยยามะพันธุ์ ผู้อำนวยการโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เปิดเผยว่า โครงการที่พักอาศัยต่าง ๆ ใน เดอะ ฟอเรสเทียส์ สามารถทำขายได้มากกว่า 7,000 ล้านบาท ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ล่า สุดยอดขายโครงการ ทะลุ 13,000 ล้านบาทแล้ว  โดยแบ่งเป็นยอดขาย คอนโดมิเนียมแบรนด์ มัลเบอร์รี โกรฟ และ ที่อยู่อาศัยแบรนด์ มัลเบอร์รี โกรฟ ใน เดอะ ฟอเรสเทียส์ ด้วยมูลค่ามากกว่า 6,300 ล้านบาท ตามมาด้วยคอนโดแบรนด์ วิสซ์ดอม ที่มียอดขายมากกว่า 3,000 ล้านบาท   ในช่วงระยะเวลาสามเดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้ซื้อโครงการที่พักอาศัยใน เดอะ ฟอเรสเทียส์ มีจำนวนมากกว่าผู้ซื้อโครงการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เราประกาศที่จะสร้างโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ ให้เป็นเมืองที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพของผู้อยู่อาศัยเป็นอันดับแรก    นายกิตติพันธุ์ กล่าวอีกว่า  การที่ผู้คนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงการได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันกับครอบครัวมากขึ้น เป็นการตอบโจทย์แนวคิดสำคัญของโครงการ ที่ผสานธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน และการออกแบบที่ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวจากหลากหลายเจเนอเรชั่นได้มาอยู่ด้วยกัน   ล่าสุดได้เปิด ฟอเรสต์ พาวิลเลียน ซึ่งออกแบบโดย Foster+Partners จัดแสดงห้องตัวอย่าง 11 ห้องจาก 3 โครงการที่อยู่อาศัยในเดอะ ฟอเรสเทียส์ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยให้เข้ามาเยี่ยมชมภายในโครงการ และ ช่วยให้ผู้สนใจเห็นภาพแนวคิดสำคัญในการพัฒนาโครงการของเรา รวมทั้งคุณภาพของการออกแบบและรูปแบบของที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ สำหรับโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 398 ไร่ บนพื้นที่ยุทธศาสตร์ EEC บนถนนบางนา-ตราด กม. 7  ประกอบไปด้วยโครงการที่พักอาศัยหลากหลายรูปแบบ พื้นที่สีเขียว และสวนสาธารณะ พื้นที่สำหรับกิจกรรมชุมชน และพื้นที่เชิงธุรกิจสำหรับร้านค้าและสำนักงาน โดย เดอะ ฟอเรสเทียส์ เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่พัฒนาโดยบริษัทเอกชน   เดอะ ฟอเรสเทียส์ ประกอบไปด้วยที่อยู่อาศัยทั้งหมด 7 แบบ ซึ่งได้รับการออกแบบจัดสรรออกมาในหลายระดับราคาที่สอดคล้องสำหรับช่วงวัยต่างๆ และไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายรูปแบบ มุ่งเน้นการได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน พร้อมกับการเลือกใช้วัสดุและการออกแบบด้วยมาตรฐานคุณภาพสูงสุด โดยมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณ 5 ล้านบาท ไปจนถึง 250 ล้านบาท  โดยเดอะ ฟอเรสเทียส์ มีกำหนดสร้างเสร็จสมบูรณ์ทุกโครงการ ต้นปี 2567   ขณะที่อยู่อาศัยแบรนด์ มัลเบอร์รี โกรฟ ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบครอบครัวคนไทย ที่มีหลากหลายเจนเนเรชั่นอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยบ้าน มัลเบอร์รี โกรฟ แต่ละหลังจะมีขนาดที่แตกต่าง เชื่อมถึงกันได้ด้วยทางเดินพิเศษ มุ่งตอบโจทย์ครอบครัวใหญ่ให้สามารถใช้เวลาอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด แต่ยังคงมีความเป็นส่วนตัว และมีพื้นที่ที่แยกออกจากกัน เป็นแนวคิดรูปแบบใหม่ที่มีการออกแบบให้บ้านหลายขนาดเชื่อมต่อถึงกันเป็นคลัสเตอร์โฮม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของครอบครัว ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดย ‘มัลเบอร์รี โกรฟ วิลล่า’ ขายได้แล้วจำนวน 10 หลัง
พร็อพฟิต  เปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ Propfit  ดึง 900 รายสร้างยอดขายอสังหาฯ​ 3,200 ล้าน

พร็อพฟิต เปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ Propfit ดึง 900 รายสร้างยอดขายอสังหาฯ​ 3,200 ล้าน

พร็อพฟิต ลุยธุรกิจอสังหาฯ เปิดแพลตฟอร์มตัวแทนขายอสังหาฯ ออนไลน์ Propfit ชูคอนเซ็ปต์ ดีลครบจบง่ายได้มากกว่า หลังเห็น 2 ว่างโอกาสทางการตลาด ผู้บริโภคคุ้นเคยช้อปปิ้งออนไลน์​ และภาวะเศรษฐกิจผันผวน ดีเวลลอปเปอร์มองหาการทำงานที่ยืดหยุ่น ตั้งเป้าทำยอดขาย 3,200 ล้านบาท   นายฐิติพันธ์ เผ่าทรง ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริหารบริษัท พร็อพฟิต จำกัด (Founder & CEO) เปิดเผยว่า ได้เปิดตัว  Propfit (พร็อพฟิต) แพลตฟอร์มตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใหม่ หรือ Online Agent Platform​ ที่ใช้เทคโนโลยีมาเพิ่มศักยภาพให้กับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ช่วยปิดการขายได้รวดเร็ว และมีรายได้มากขึ้น โดยมีการ​ทำงานร่วมกับบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ซึ่งถือเป็นโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ที่จะมาปฏิวัติวงการตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์จากรูปแบบเดิม   “Propfit” เป็นแพลตฟอร์มตัวแทนขายอสังหาฯ ​ ด้วยรูปแบบการทำงานภายใต้คอนเซ็ปต์ “ดีลครบ จบง่าย  ได้มากกว่า” เป็นศูนย์รวมคอนโดฯ สำหรับนายหน้าอสังหาฯ  ที่สร้างช่องทางการเข้าถึงอสังหาฯ ​ในลักษณะการสร้างเครือข่ายในรูปแบบของ Online Agent Platform ที่มีขนาดใหญ่และมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด สามารถเข้าถึงอสังหาฯ ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยแพลตฟอร์มดิจิทัลทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ระหว่างเครือข่ายของ “ตัวแทนขาย/นายหน้าอสังหาริมทรัพย์” (Property Agent) และ “ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์” (Property Developer) ทั้งรายใหญ่ รายกลาง รายเล็ก ให้สามารถทำงานร่วมกันเพื่อปิดการขายโครงการอสังหาฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Propfit จะช่วยลดต้นทุน จากการนำเสนอวิธีการขายในรูปแบบใหม่ โดยผู้ประกอบการฯ ไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนสำหรับการตั้งทีมขายของตัวเอง ทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในสภาพตลาดที่มีความผันผวน​ ด้วย 3 เครื่องมือสนับสนุนที่ใช้งานง่าย ได้แก่ 1.Stock inventory ช่วยให้สามารถเข้าถึงสต๊อกโครงการต่าง ๆ กว่า 8,000 ยูนิต 2.Proposal module สามารถส่งข้อมูลรายการให้ลูกค้าสะดวกและเรียลไทม์ 3.Sales Pipeline Management ระบบบริหารการขายประสิทธิภาพสูง (Free beta)   โดยเครือข่ายนายหน้าอสังหาฯ ​จะได้รับข้อมูลสนับสนุนจาก Propfit ทั้งด้านการตลาดและบริการด้านการขาย (Marketing & Sale Service ) แพล็ตฟอร์มของ Propfit  ยังมีข้อได้เปรียบสำหรับการทำงาน คือ “Matching Mechanism” หรือระบบที่ Propfit เก็บข้อมูลเป็นรายสัปดาห์ ที่จะช่วยจับคู่ระหว่างยูนิตคอนโดมิเนียมเข้ากับความถนัดเฉพาะตัวของแต่ละตัวแทนขาย/นายหน้าอสังหาฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการที่ตัวแทนขายหรือนายหน้าอสังหาฯ ในแต่ละกลุ่มจะมีความถนัดเฉพาะตัว ทั้งในเรื่องของราคา พื้นที่ รวมถึงฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกกลุ่มนายหน้าให้เหมาะกับโครงการ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะดันให้นายหน้าสามารถปิดการขายได้รวดเร็ว   นอกจากนี้ Propfit ยังมีประสบการณ์ทำการตลาดให้กว่า 90 โครงการในเกือบทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ ผ่านแพล็ตฟอร์มดิจิทัล ที่มีข้อมูลลูกค้าครอบคลุมและอัปเดตอยู่ตลอดเวลา จึงเหมาะกับผู้ประกอบการฯ ที่เปิดโครงการใหม่ ซึ่งยังไม่เคยทำการตลาดจับกลุ่มลูกเป้าหมายในทำเลนั้น ๆ มาก่อน  โดยจะช่วยให้ทำการตลาดขายได้เร็วขึ้นและใช้งบประมาณน้อยลงด้วย นายฐิติพันธ์ กล่าวอีกว่า จากการมองเห็นช่องว่างธุรกิจจาก 2 ประเด็น คือหนึ่ง แม้ปัจจุบันผู้บริโภคจะคุ้นชินกับการซื้อขายออนไลน์เองโดยตรง แต่สินค้าประเภท high-Involvement อย่างอสังหาฯ ​ยังมีความจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องเข้าเยี่ยมชมโครงการเพื่อเปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจซื้อ จึงทำให้ที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญ พนักงานขาย และนายหน้ามีความสำคัญในกระบวนการขาย และการตัดสินใจของผู้บริโภค  ข้อสองคือความผันผวนของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 1-2 ปีนี้ เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำธุรกิจในรูปแบบเดิม โดยเฉพาะองค์กรที่มีความยืดหยุ่นน้อย การบริหารทีมงานแบบเดิม ๆ จะสู้กับคู่แข่งที่ปรับตัวได้เร็วและดีกว่าไม่ได้ จึงนับเป็นข้อได้เปรียบขององค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม   ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัทเปิดตัว Propfit ในระยะเวลาเพียง 18 เดือน พบว่ามีการตอบรับที่เกินความคาดหมาย โดยได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการอสังหาฯ รายใหญ่ อาทิ เอพี, อนันดา, พฤกษา  แสนสิริ  และบริษัทพัฒนาอสังหาฯ รายกลาง อาทิ Asset 5 และ Divine Development รวมทั้งเครือข่ายนายหน้าอสังหาฯ ​ที่สนใจร่วมงานกับบริษัทมากกว่า 900 ราย และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ​ จากโครงสร้างส่วนแบ่งคอมมิชชั่นที่สูงกว่าในระดับปกติ และการสนับสนุนด้านแพล็ตฟอร์มการทำงาน ที่ทำให้ปิดดีลได้ง่ายขึ้น สามารถเข้าถึงรายการอสังหาฯ ในสต๊อกกว่า 8,000 รายการ และรับลูกค้าจากระบบเพื่อเริ่มปิดการขายได้ทันที   โดยล่าสุด Propfit สามารถทำยอดขายคอนโด คิดเป็นมูลค่ารวม 2,000 ล้านบาท  ซึ่งนับเป็นบทพิสูจน์ถึงโมเดลธุรกิจใหม่ ที่มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจได้โดยไม่มีข้อจำกัด ซึ่งบริษัทยังได้วางเป้าหมายทางธุรกิจ ด้วยการเป็นเครือข่ายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย ภายในระยะเวลา 2 ปี  โดยในปี 2564 บริษัทวางเป้าหมายยอดขายไว้ที่ 3,200 ล้านบาท    
แอสเซทไวส์    เพิ่มทางเลือกแลกเงินดิจิทัล  จับมือ​ “Bitkub” ขยายฐานลูกค้า  New Gen  

แอสเซทไวส์   เพิ่มทางเลือกแลกเงินดิจิทัล จับมือ​ “Bitkub” ขยายฐานลูกค้า  New Gen  

แอสเซทไวส์  จับมือ​ “Bitkub” ​เพิ่มทางเลือกในการแลกเงินดิจิทัลเป็นเงินบาท เพื่อซื้อบ้านและคอนโด  หวังขยายฐานลูกค้ากลุ่ม New Gen ครึ่งปีหลัง เตรียมเปิด 4 โครงการใหม่     นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) (ASW)  เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (Bitkub) ในการเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของบ้านและคอนโดมิเนียมทุกโครงการในเครือ ผ่านการแลกสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโทเคอเรนซี่ (Cryptocurrency) เป็นเงินบาท เพื่อใช้ในการซื้อบ้านและคอนโดมิเนียมในเครือแอสเซทไวส์ โดยลูกค้าสามารถแลกเหรียญคริปโทฯ ผ่าน Wallet ของบิทคับซึ่งเตรียมความพร้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้า นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาต่อยอดธุรกิจและปรับตัวสู่นวัตกรรมทางการเงินสมัยใหม่ได้อย่างรวดเร็ว   ความร่วมมือกันในครั้งนี้เกิดจากการเล็งเห็นถึงโอกาสในการขยายฐานลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งปัจจุบัน Bitkub.com เป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดในการแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดกว่า 1,200 ล้านบาท/วัน ซึ่งมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ควบคู่กับ ASW ที่พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตอบรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ และเป็นผู้นำด้านแคมปัสคอนโดภายใต้แบรนด์เคฟ (KAVE) ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มผู้อยู่อาศัยที่เป็นกลุ่มนักศึกษาที่คุ้นเคยกับการใช้สกุลเงินคริปโทฯ ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ ASW ได้จัดตั้ง บริษัท ดิจิโทไนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เพื่อรองรับการศึกษาและลงทุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอล (Digital Asset) และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนไปของเทคโนโลยี โดยมุ่งความสนใจไปที่เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) และพร้อมที่จะแต่งตั้ง บริษัท ฟิวเจอร์คอมแพทเทเร่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาผู้ชำนาญการในการจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล และทั้งหมดนี้ เป็นการตอกย้ำความเป็นผู้พัฒนาอสังหาฯ รุ่นใหม่ในตลาด   ปัจจุบัน ASW มียอดขายรอโอน (Backlog) กว่า 7,500 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 4,700 ล้านบาท ทั้งนี้ ในครึ่งแรกของปี 2564 มีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จคือโครงการ “เคฟ ทาวน์ ชิฟท์” (Kave Town Shift) มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท และในช่วงครึ่งปีหลัง มี 2 โครงการที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้แก่ โครงการ “เคฟ ทียู” (Kave TU) มูลค่าโครงการ 1,800 ล้านบาท และโครงการ “โมดิซ สุขุมวิท 50” (Modiz Sukhumvit 50) มูลค่าโครงการ 2,100 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้จนถึงปี 2565 มั่นใจรายได้ในปี 2564 เติบโต 20% ตามเป้าที่วางไว้   สำหรับโครงการใหม่ของแอสเซทไวส์ในปี 2564 บริษัทฯ มีการเปิดโครงการ “เคฟ ศาลายา” (Kave Salaya) ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และยังเตรียมเปิดโครงการอื่นๆอย่างต่อเนื่อง ทั้งแนวราบและแนวสูง มูลค่าโครงการรวม 9,700 ล้านบาท ในไตรมาส 2/64 บริษัทฯ เตรียมเปิดโครงการใหม่ “แอทโมซ บางนา” (Atmoz Bangna) มูลค่าโครงการ 2,200 ล้านบาท นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯ เตรียมเปิด  4 โครงการใหม่ ได้แก่ 1.โครงการ “เคฟ เอวา” (Kave Ava) มูลค่าโครงการ 2,400 ล้านบาท 2.โครงการ “โมดิซ ไรห์ม คลาวด์” (Modiz Rhyme Cloud) มูลค่าโครงการ 3,700 ล้านบาท  3.โครงการ “โมดิซ ศรีราชา” (Modiz Sriracha) มูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท และ 4.โครงการบ้านภูริปุรี ลาดพร้าว 41 โฮมออฟฟิศ (Baan Puri Puri Ladproa 41 – Home Office) มูลค่าโครงการ 87 ล้านบาท   ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในไตรมาส 1/64 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564) มีรายได้รวม 1,173 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 582 ล้านบาท หรือโตขึ้น 98.5% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนมีรายได้รวม 591 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 250 ล้านบาท หรือ 361.8% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 69 ล้านบาท ขณะที่มีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) อยู่ที่ 48.5 % และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อยู่ที่ 25.7%
แสนสิริ ผนึก XSpring  รุกเปิดตัว 2 ธุรกิจใหม่  ซื้อ NPL-รับฝากขายที่ดิน

แสนสิริ ผนึก XSpring รุกเปิดตัว 2 ธุรกิจใหม่ ซื้อ NPL-รับฝากขายที่ดิน

แสนสินิ ต่อยอดการผนึกธุรกิจ XSpring เข้าลงทุนบริษัทย่อย  “XSpring AMC” สัดส่วน 50% รุกธุรกิจ NPL ประเดิมซื้อกองสินทรัพย์แรก 127 ล้าน ก่อนหน้าลุยต่อ​ธุรกิจ “บริการรับฝากขายที่ดิน” เสริมความแข็งแกร่งธุรกิจอสังหาฯ     นางสาววรางคณา อัครสถาพร ประธานผู้บริหารสายงานการเงิน บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) เปิดเผยว่า หลังจากแสนสิริเดินหน้าการเข้าลงทุนใน บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ XSpring  ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินและหลักทรัพย์ โดยแสนสิริเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง ในสัดส่วน 15% ด้วยเงินลงทุนกว่า  2,000 ล้านบาท   ล่าสุด วันที่ 21 มิถุนายน 2564  บริษัทได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการร่วมทำธุรกิจ กับ บริษัท บริหารสินทรัพย์ เอ็กซ์สปริง เอ เอ็ม ซี จำกัด “XSpring AMC” ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เอ็กซ์สปริงฯ  ในสัดส่วน 50 : 50 เพื่อ “ร่วมลงทุนในกองสินทรัพย์” ที่ประกอบด้วยลูกหนี้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และพักอาศัย และสัญญาหลักประกันซึ่งประกอบไปด้วยที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง อาทิ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (NPL) มูลค่ากองสินทรัพย์แรกประมาณ 127 ล้านบาท จากการชนะการประมูลของ XSpring AMC โดยจะนำมาบริหารสินทรัพย์ต่อ เพื่อต่อยอดธุรกิจ และสร้างรายได้เพิ่มในระยะยาว โดยจะมีส่วนแบ่งกำไรในสัดส่วน 50% ของกำไรจากกองสินทรัพย์ เรากำลังขยายธุรกิจเพื่อการเติบโตที่มากขึ้น สู่ธุรกิจที่มีศักยภาพที่ดีในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ จากธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และมีพันธมิตรในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของเราไปพร้อม ๆ กัน สำหรับการเดินหน้าประมูลซื้อกองสินทรัพย์ NPL ในครั้งนี้ แสนสิริมีความเชื่อมั่นว่า จากความแข็งแกร่งของ XSpring ในฐานะกลุ่มธุรกิจการเงินและหลักทรัพย์ผู้ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่เชื่อมโลกการเงินปัจจุบันกับโลกการเงินดิจิทัลหรือ Digital Financial Service เข้าไว้ด้วยกันรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่มี License ของ XSpring AMC ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ผสานกับความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ของแสนสิริจึงคาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี   นอกจากนี้ แสนสิริ และ XSpring AMC ยังมีแผนเดินหน้าเข้าประมูล กองสินทรัพย์ NPL ล้อตใหม่จากธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติมในเดือนกรกฎาคมอีกด้วย  ขณะเดียวกัน แสนสิริยังสนใจการลงทุนในธุรกิจ “บริการรับฝากขายที่ดิน” ที่จะรับซื้อฝากที่ดินในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงเมืองท่องเที่ยวในจังหวัดใหญ่ อาทิ  เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ พัทยา และหัวหิน เป็นต้น ในวงเงิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งจะดำเนินการโดยพลัส พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ เพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการทำธุรกิจของแสนสิริในระยะยาวอีกด้วย    
แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น  ผนึกกลุ่ม IHG เพิ่มพอร์ตห้องพัก  บริหารโรงแรม-รีสอร์ทอีก 5 แห่ง

แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น ผนึกกลุ่ม IHG เพิ่มพอร์ตห้องพัก บริหารโรงแรม-รีสอร์ทอีก 5 แห่ง

แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น  ผนึกกลุ่ม IHG เดินหน้าบริหารโรงแรมและรีสอร์ทเพิ่มอีก 5 แห่ง รวมกว่า 1,200 ห้องพัก ในกรุงเทพฯ และพัทยา ลุยธุรกิจท่องเที่ยวไทย มั่นใจ​อนาคตยังสดใส พร้อมเสริมพอร์ตห้องพักให้ AWC เพิ่มเป็น 10,136 ห้อง   บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC  ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบครบวงจร ได้ลงนาม กับกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ทเครืออินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ลส์ กรุ๊ป (IHG) จำนวน 5 ฉบับ เพื่อร่วมมือและบริหารโรงแรมและรีสอร์จำนวน 5 แห่ง ในจังหวัดกรุงเทพฯ และเมืองพัทยา รวมห้องพักกว่า 1,200 ห้อง ​   โดยข้อตกลงด้านอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ครอบคลุมโครงการพัฒนาโรงเเรมหรูที่เพิ่งสร้างใหม่แห่งเเรกในเยาวราชอย่าง โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล แบงค็อก ไชน่าทาวน์ (โครงการเวิ้งนครเกษม) และอีก 2 โครงการในเยาวราชและพัทยา ซึ่งมีห้องพักรวม 629 ห้อง รวมถึงยังครอบคลุมอีก 2 โรงแรมภายใต้แบรนด์คิมป์ตัน นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) (AWC) เปิดเผยว่า โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล แบงค็อก ไชน่าทาวน์ (โครงการเวิ้งนครเกษม) มีกำหนดเปิดตัวในปี 2569 ซึ่งเป็นโรงเเรมหรูที่มีห้องพักจำนวน 332 ห้อง ตั้งอยู่ในโครงการมิกซ์ยูส ซึ่งมีอีก 2 โรงเเรมบูทีค และห้องพักระยะยาวแบบมีเซอร์วิส พื้นที่รีเทล รวมถึงร้านค้าปลีก 1 แห่ง  ที่ถือว่าเป็นร้านค้าปลีกใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ  ภายในโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เเบงค็อก ไชน่าทาวน์ จะมีห้องอาหาร 3 แห่ง บาร์ สระว่ายน้ำ ฟิตเนส รวมทั้งพื้นที่จัดการประชุม 8 ห้อง บนพื้นที่รวมกว่า 1,382 ตารางเมตร "ข้อตกลงดังกล่าวยังครอบคลุมโรงเเรมสไตล์บูทีค ซึ่งปรับโฉมพื้นที่จากอาคารพาณิชย์สี่ชั้นแบบดั้งเดิมเป็นโรงแรมขนาด 63 ห้องพัก พร้อมร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ และอีกหนึ่งแห่งเป็นห้องพักระยะยาวแบบมีเซอร์วิสจำนวน 105 ห้อง ภายใต้แบรนด์ อินเตอร์คอนดิเนนตัล เรสซิเดนซ์" นอกจากนี้ การร่วมมือกับกลุ่ม IHG ยังรวมถึงการบริหารและพัฒนาโรงแรมอีกหนึ่งแห่งในเมือง พัทยา ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาและมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2566 ตั้งอยู่ในย่าน Aquatique ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นศูนย์รวมกิจกรรมความบันเทิงและไลฟ์สไตล์อันประกอบด้วยโรงแรม ร้านค้าปลีกและร้านอาหาร และพื้นที่จัดการประชุม ด้วยห้องพักและห้องสวีท 224 ห้อง ห้องอาหาร 4 แห่ง บาร์บนชั้นดาดฟ้า สระว่ายน้ำ สปา และห้องประชุม 6 ห้องบนพื้นที่ใช้สอยกว่า 670 ตารางเมตร   โครงการเหล่านี้จะนำเสนอสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นตลอดจนส่งมอบประสบการณ์เฉพาะสุดพิเศษ ควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าให้กับชุมชน สังคมองค์รวม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย รองรับทั้งนักธุรกิจและนักเดินทางเพื่อการพักผ่อน "การลงนามความร่วมมือครั้งนี้จะส่งผลให้ AWC มีห้องพักเพื่อให้บริการเพิ่มขึ้นถึง 1,109  ห้อง จากเดิม 9,027, ห้องที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 10,136 ห้องพัก" นางวัลลภา กล่าวอีกว่า ​AWC ยังมีความเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย จะมีอนาคตที่สดใสในระยะยาว จึงเดินหน้าวางกลยุทธ์การลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการขยายความร่วมมือกับกลุ่ม IHG ครั้งนี้ที่จะเพิ่มความหลากหลายให้กับพอร์ตโฟลิโอ ส่งมอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจควบคู่กับการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ในวงกว้างมากขึ้น พร้อมช่วยเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวของประเทศไทยในการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มระดับกลางถึงระดับสูงซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตในอนาคตอันใกล้ โดยมีเป้าหมายที่กลุ่มนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับมาตรฐานการบริการระดับสากล   "เราเชื่อมั่นว่าการผสานพลังกับพันธมิตรระดับโลกอย่างกลุ่ม IHG จะทำให้เราเดินหน้าร่วมกันยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มความแข็งแกร่งในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาชื่นชมโครงการคุณภาพของประเทศไทย"   สำหรับ อินเตอร์คอนติเนนตัล แบงค็อก ไชน่าทาวน์ จะเป็นโรงแรมในเครืออินเตอร์คอนติเนนตัลแห่งที่ 3 ของกลุ่ม IHG ในกรุงเทพฯ และเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบสำหรับเวิ้งนครเกษม หนึ่งในย่านเก่าแก่ที่สุดในเมือง ในขณะเดียวกันเรากำลังหารือร่วมกับ AWC เกี่ยวกับโรงแรมอีกสองแห่งในข้อตกลงของเรา ในพื้นที่กรุงเทพฯ และพัทยา   ทั้งนี้ กลุ่ม IHG ​วางแผนเพิ่มพอร์ตโฟลิโอในประเทศไทยเป็น 2 เท่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้า และการลงนามร่วมกันเหล่านี้แสดงถึงทิศทางการเติบโตที่แข็งแกร่งของ IHG ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   เพื่อขยายการให้บริการและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย และทำให้แบรนด์ในเครือ IHG เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย   โดยข้อตกลงในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมืออันยาวนานระหว่าง AWC และ IHG เพื่อบริหารจัดการห้องพักมากกว่า 1,200 ห้องทั่วประเทศไทย รวมถึงโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง 306 ห้องที่จะเปิดให้บริการในปี 2565 ซึ่งส่งเสริมการเป็นพันธมิตรระหว่าง AWC และ IHG ในฐานะแบรนด์ระดับโลกที่ได้รับการยอมรับด้านการจัดการ มาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัย แพลตฟอร์มการจัดจำหน่ายทั่วโลกที่แข็งแกร่งและกว้างขวาง ตลอดจนแคมเปญการขายและทีมงานมืออาชีพที่ดึงดูดใจลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ   ประเทศไทยยังคงเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งสำหรับ IHG โดยมีโรงแรม 32 แห่งจาก 8 แบรนด์ในประเทศและอีก 33 แห่งที่อยู่ระหว่างดำเนินการ การเซ็นสัญญาครั้งใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของบริษัทที่จะขยายพอร์ตโฟลิโอสินค้าลักชัวรีและไลฟ์สไตล์ในประเทศไทยให้เติบโต 50% รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ในทุกแบรนด์ในเครือ ภายในประเทศ    
ไรมอนแลนด์  กับ 5 เหตุผลหนุนสร้างรายได้ปีนี้ 2,700 ล้าน

ไรมอนแลนด์ กับ 5 เหตุผลหนุนสร้างรายได้ปีนี้ 2,700 ล้าน

ไรมอนแลนด์ เดินหน้าสร้างรายได้ 2,700 ล้าน หลังไตรมาสแรกตุนรายได้มากกว่า 50% ของเป้าหมาย เตรียมอีก 3 โปรเจ็กต์ใหม่ 20,000 ล้าน เปิดช่วงครึ่งปีหลัง พร้อมเดินหน้าทำตลาดดึงต่างชาติในต่างประเทศ ขณะเดียวกันรอลุ้นมาตรการรัฐปลดล็อกอสังหาฯ เพิ่มโควตาซื้อคอนโดฯ ขยายเวลาเช่า   ในปีนี้ “ไรมอนแลนด์” ดีเวลลอปเปอร์ซึ่งพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับลักชัวรี่ วางเป้าหมายทำรายได้ 2,700 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่อาจจะไม่สูงมากนัก หากวัดจากบรรดาเพื่อนร่วมวงการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ Top 10 แต่หากวัดกับตัวเอง ที่เป็นบริษัทซึ่งมีสินทรัพย์รวมประมาณ 10,000 ล้านบาท ถือเป็นเป้าหมายที่ไม่มากไม่น้อย  และหากเปรียบเทียบกับผลประกอบการในปีที่ผ่านมา ที่ทำรายได้รวม 3,171.5 ล้านบาท ลดลง 448.9 ล้านบาท จากปี 2562 ก่อนที่มีรายได้รวม 3,620.4 ล้านบาท  หรือลดลง 12.4% ถือเป็นเป้าหมายรายได้ที่ลดลงต่อเนื่อง   แต่ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีมาต่อเนื่องปีกว่า และปัจจุบันยังไม่ได้กลับสู่ภาวะปกติ การฉีดวัคซีนยังต้องลุ้นว่าปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ภาครัฐวางไวหรือไม่ รวมถึงหลังจากนี้ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กับมาเหมือนเดิม ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายปี การตั้งเป้าหมายในระดับนี้ ก็ถือว่าเป็นความท้าทายสำหรับไรมอนด์แลนด์พอสมควร แต่เชื่อว่าน่าจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ไม่ยากนัก ​   โดยปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้ไรมอนด์แลนด์สามารถทำผลงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ คงมาจาก 5 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.Q1 ตุนรายได้กว่า 50% ของเป้าหมาย สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาสแรกที่ผ่านมา ไรมอนแลนด์ สามารถสร้างรายได้ 1,599 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 277% และหากวัดจากเป้าหมาย ถือว่าเพียงไตรมาสเดียวทำรายได้มากกว่า 50% ของเป้าหมายรายได้ที่จะต้องทำให้ได้ทั้งปีแล้ว และปัจจุบันยังมีระยะเวลาเหลือในการสร้างรายได้อีกกว่า 6 เดือน จึงทำให้มั่นใจว่าจะทำเป้าหมายได้ตามที่วางไว้   ขณะที่ไตรมาสแรกบริษัทมีกำไรสุทธิ 138 ล้านบาท เติบโตกว่า 199% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากช่วงที่ผ่านมา บริษัทได้ทำการรีแบรนด์ลุยขยายฐานกลุ่มลูกค้า Young generation ที่มีกำลังซื้อสูง เร่งแผนเปิดตัวโครงการใหม่ปี 64 รอรับมาตรการใหม่รัฐบาลขยายลิมิตลูกค้าต่างชาติ ผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 64 พลิกกำไรครั้งแรกจากขาดทุน 5 ไตรมาสติด ตอบรับกลยุทธ์ใหม่   โดยปัจจุบันบริษัทได้ปิดการขายโครงการ เดอะ ลอฟท์ สีลม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งได้ขายห้องชุดที่เหลืออยู่ในโครงการ เดอะ ริเวอร์ โครงการ ยูนิกซ์ เซ้าท์ พัทยา และ โครงการ เดอะ ลอฟท์ อโศก ทั้งหมดแล้วในไตรมาสแรกนี้ 2.ครึ่งปีหลังเปิดตัว 3 โคงการใหม่ 20,000 ล้าน ในช่วงเวลาที่เหลือ บริษัทวางแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ เพื่อสร้างรายได้ต่อเนื่อง อีก 3 โครงการ รวมมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการบริเวณถนนสุขุมวิท 38 ในย่านทองหล่อ เป็นคอนโดระดับซุปเปอร์ลักชัวรี่ 2.โครงการคอนโดระดับอัลตร้าลักชัวรี่ บริเวณสุขุมวิทตอนกลาง ในย่านพร้อมพงษ์ ซึ่งจะร่วมทุนกับพันธมิตจากประเทศญี่ปุ่น และ 3.โครงการวิลล่าลักชัวรี่ริมทะเล  ในจ.ภูเก็ต มูลค่าเฉพาะโครงการนี้ประมาณ​ 4,000-5,000 ล้านบาท ​ ซึ่งทั้ง 3 โครงการจะมาช่วงเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทให้เป็นไปตามเป้าหมาย 3.เดินหน้าทำตลาด2โปรเจ็กต์หรู ในช่วงปีหลัง นอกจากการเปิดตัวโครงการใหม่ บริษัทยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและการขายที่สำคัญ  2 โครงการ ได้แก่ ​โครงการ ดิ เอสเทลล์ พร้อมพงษ์ และโครงการ เทตต์ สาทร ทเวลฟ์ ซึ่งบริษัทจะโฟกัสและทำตลาดสร้างยอดขาย โดยเฉพาะโครงการเทตต์ สาทร ทเวลฟ์ ที่ปัจจุบันสามารถสร้างยอดขายได้แล้ว 75% จากมูลค่าโครงการ 2,600 ล้านบาท โดยยังเหลือยูนิตขายอีกประมาณ 73 ยูนิต มูลค่า 1,700 ล้านบาท ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถปิดการขายได้ในเร็ว ๆ นี้ และปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ 5,700 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่อง ขณะทีเดียวกันยังมีสินค้ารอการขายอีกกว่า 8,000 ล้านบาท 4.บุกตลาดต่างประเทศโรดโชว์ดึงต่างชาติ​ นอกจากการทำตลาดภายในประเทศแล้ว ไรมอนด์แลนด์ ยังทำตลาดในต่างประเทศไปพร้อมกัน แม้ว่าจะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ตาม โดยร่วมมือกับตัวแทนในต่างประเทศช่วยทำตลาด และทำการซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ โดยในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการโรดโชว์ที่ประเทศจีน ด้วยการร่วมงาน Luxury Property Showcase ที่เชียงไฮ้และปักกิ่ง ขณะเดียวกันยังร่วมมือกับ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (TPC) เพื่อเป็นผู้แทนจำหน่ายบัตรสมาชิกพิเศษ Elite Flexible One  (อ่านข่าวเพิ่มเติม...ไทยแลนด์ อีลิท เปิดรายชื่อ 57 คอนโด ร่วมโปรแกรม Elite Flexible One) ซึ่งถือเป็นรายแรกของผู้ประกอบการอสังหาฯ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนและกลุ่มชาวต่างชาติเข้ามาซื้ออสังหาฯ ในประเทศไทย ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาฯ และเศรษฐกิจของประเทศ​  ซึ่งไรมอนด์แลนด์สามารถดึงนักลงทุนมาร่วมโครงการแล้ว 3 ราย 5.รัฐบาลเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ   มาตรการรัฐกระตุ้นตลาดอสังหาฯ จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากผลกระทบของโควิด-19 ทางรัฐบาลไทยได้พยายามหาแนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม รวมถึงการกระตุ้นภาคอสังหาฯ เพื่อให้เศรษฐกิจในภาพรวมกลับมาเติบโต โดยแนวทางหนึ่งที่หลายฝ่ายมองว่าน่าจะช่วยฟื้นตลาดอสังหาฯ ไทยได้อย่างดี คือ การพึ่งพาดีมานด์จากชาวต่างชาติ โดยมีการเสนอให้มีการขยายเพดานสัดส่วนการซื้อคอนโดฯ จากปกติ 49% ให้เพิ่มขึ้นเป็น 70-80% และการขยายสิทธิการเช่าซื้ออสังหาฯ จาก 30 ปี เป็น 50 ปี ซึ่งทั้งสองแนวทางดังกล่าว ทางไรมอนด์แลนด์คาดว่าจะเป็นแรงผลักดันให้ตลาดอสังหาฯ ฟื้นตัวได้อย่างดี ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนชาวต่างชาติที่ซื้อโครงการของไรมอนแลนด์ มีสัดส่วนเฉลี่ย 35% แต่บางโครงการมีสัดส่วน 49% หากในช่วงครึ่งปีหลังมีการปลดล็อกในเรื่องดังกล่าวได้ เชื่อว่าจะมีส่วนทำให้ไรมอนด์แลนด์มีรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้   นอกจากนี้ จากการประกาศนโยบายการเปิดประเทศภายใน 120 วัน ของนายกรัฐมนตรี เชื่อว่าหากเป็นไปตามแผนดังกล่าว จะส่งผลให้มีกลุ่มชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศมากขึ้น และอาจจะมียอดขายจากการซื้ออสังหาฯ ภายในประเทศไทยเพิ่มขึ้นด้วย เพราะที่ผ่านมาชาวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้   รวมถึงการเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดย ศบศ. เพื่อดึงดูดชาวต่างชาติ   4 กลุ่ม ที่มีรายได้สูงและศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย ด้วยสิทธิในการพำนักในประเทศไทยด้วยอายุวีซ่า10ปี, ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากต่างประเทศ รวมถึงสิทธิในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือเช่าระยะยาว เพื่อสร้างรายได้ การลงทุน และ อัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นให้กับประเทศ หากมาตรการดังกล่าวผ่านการรับรองจากภาครัฐ ก็จะส่งผลดีกับบริษัทและประเทศชาติ จากกำลังซื้อของลูกค้าต่างชาติที่จะกลับมา นายมนาเทศ อันนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด และการขาย บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) (RML) เปิดเผยว่า แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในกลุ่มลักชัวรี่ถือว่าโชคดีที่ไม่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะราคายังทรงตัวไม่ได้ปรับลด หรือต้องทำตลาดด้วการแข่งขันในเรื่องราคา เหมือนกับอสังหาฯ ในกลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีซัพพลายจำกัด โดยเฉพาะในพื้นที่ทำเลใจกลางเมืองและซีบีดี ขณะที่ดีมานด์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลในเรื่องของการตัดสินใจซื้อที่ใช้เวลานานขึ้น 1-3 เดือน   อย่างไรก็ตาม บริษัทมั่นใจว่า ภาพรวมของตลาดอสังหาฯ ในกลุ่มลักชัวรี่ช่วงครึ่งปีหลังจะมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรก แม้ว่าต้องรอให้สถานการณ์ต่าง ๆ คลี่คลาย  เพราะด้วยศักยภาพของตลาดคอนโดลักชัวรี่ ทำเลใจกลางเมืองที่มีจำนวนจำกัด แต่ยังคงมีความต้องการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง  ประกอบกับ​การเปิดประเทศในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อรับนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จะเป็นส่วนกระตุ้นให้ตลาดอสังหาฯ เติบโตได้เพิ่มขึ้น ครึ่งปีหลังมองเห็นสัญญาไปได้ด้วยดี รัฐบาลพยายามอัดฉีดมาตรการต่าง ๆ รวมถึงการปูพรมฉีดวัคซีน เพื่อเปิดประเทศให้ได้ภายใน 120 ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้อย่างดี รวมถึงการขยายโควตาการซื้ออสังหาฯ ของชาวต่างชาติก็ช่วยได้เช่นกัน  
ตลาดออฟฟิศ-โรงแรมในกรุงเทพฯ Q1  บทสรุป ยังบาดเจ็บจากพิษโควิด-19

ตลาดออฟฟิศ-โรงแรมในกรุงเทพฯ Q1 บทสรุป ยังบาดเจ็บจากพิษโควิด-19

สรุปภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานและตลาดโรงแรมในกรุงเทพฯ ไตรมาส 1 ปี 2564 ยังต้องเผชิญความท้าทาย และปัจจัยลบจากโควิด-19 ออฟฟิศให้เช่าซัพพลายเพิ่ม-ดีมานด์ลด เหลือพื้นที่กว่า 23,500 ตารางเมตร ขณะที่ตลาดโรงแรมอัตราเข้าพักลดต่ำเหลือ 19.9%   หลังจากผ่านไปหนึ่งปีเต็มภายใต้แรงกดดันทางการเงินที่เกิดจากโควิด-19 และสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ พบว่า ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2564 ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับภาวะซัพพลายที่กลับเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการลดพื้นที่ของผู้เช่า ส่วนตลาดโรงแรมในกรุงเทพฯ มีอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก ซัพพลายออฟฟิศเหลือกว่า 2.3 หมื่นตร.ม. ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากผู้เช่าพิจารณาใช้พื้นที่ลดลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายและมีการใช้นโยบายให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ปริมาณพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ ในไตรมาสแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น 25,000 ตารางเมตร เป็น 9.26 ล้านตารางเมตร จากอาคารดับบลิวเอชเอ ทาวเวอร์ (WHA Tower) ในย่านบางนา – ตราด โดยพื้นที่ส่วนหนึ่งในอาคารเป็นการใช้พื้นที่ของเจ้าของอาคารเอง ซึ่งทำให้ซัพพลายในย่านนี้คิดเป็นเพิ่ม 13% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา และในย่านดังกล่าวมีอัตราการใช้พื้นที่สำนักงานโดยรวมอยู่ที่ 80.4% ณ ไตรมาส 1 ปี 2564   ในด้านการใช้พื้นที่สำนักงานที่เพิ่มขึ้นใหม่ในไตรมาส 1 ปี 2564 นั้น แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ถึงแม้ว่าจะมีความต้องการใหม่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจที่มีการขยายตัว แต่ตัวเลขโดยรวมนั้นติดลบ 23,521 ตารางเมตร ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้เช่าบางรายในอาคารสำนักงานเกรดบีในย่านใจกลางธุรกิจย้ายสำนักงานไปยังทำเลนอกใจกลางย่านธุรกิจ ที่มีค่าเช่าต่ำกว่าและลดขนาดพื้นที่ไปในตัว อย่างไรก็ตาม ตลาดอาคารสำนักงานเกรดเอที่อยู่นอกใจกลางย่านธุรกิจยังคงแข็งแกร่งโดยเป็นตลาดย่อยเพียงตลาดเดียวที่มีการใช้พื้นที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้  ส่งผลให้อัตราการใช้พื้นที่โดยเฉลี่ยทั้งตลาดลดลง 0.5% มาอยู่ที่ 90.1% จาก 90.6% ในไตรมาสก่อนหน้า   นางสาวรุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ หัวหน้าแผนกพื้นที่สำนักงาน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วง 3 ปีนับจากนี้  คาดการณ์ว่าจะมีพื้นที่สำนักงานใหม่กว่า 1.3 ล้านตารางเมตรที่จะแล้วเสร็จในกรุงเทพฯ   ขณะที่ย้อนดูอดีตที่ผ่านมา ต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปีตั้งแต่ช่วงปี 2553 ถึง 2563 ที่พื้นที่สำนักงานเพิ่มขึ้น 1 ล้านตารางเมตร  ซึ่งซัพพลายใหม่ดังกล่าวจะสร้างแรงกดดัน ทั้งในด้านอัตราการใช้พื้นที่และอัตราค่าเช่าในตลาดสำนักงานของกรุงเทพฯ ซีบีอาร์อียังคาดการณ์ว่าอัตราค่าเช่าในตลาดอาคารสำนักงานโดยรวม อาจจะไม่มีการเติบโต ยกเว้นอาคารสำนักงานเกรดเอรุ่นใหม่ ที่มีอัตราการใช้พื้นที่มากกว่า 90% ซึ่งค่าเช่ายังคงเติบโตได้อยู่ อัตราเข้าพักโรงแรม Q1 เหลือ 19.9% นายอรรถกวี ชูแสง หัวหน้าแผนกธุรกิจโรงแรม ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในไตรมาสแรก ปี 2564 มีเพียง 20,172 คน ต่ำกว่าในไตรมาส 1 ปี 2563 ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 6.7 ล้านคนอย่างเห็นได้ชัด  เนื่องจากปี 2563 ยังมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ก่อนเกิดโควิด ต่างจากในปี 2564 นี้   ปีนี้จึงถือเป็นอีกปีที่ท้าทายอย่างมากสำหรับตลาดโรงแรมทั่วประเทศ   นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังได้ลดการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือ 3 ล้านคน จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 5.5 ล้านคน ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีน้อยมาก  อัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยของโรงแรมในกรุงเทพฯ ลดลงเหลือ 19.9% ในไตรมาส 1 ปี 2564 จาก 54.7% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยฟื้นตัวมาอยู่ที่ระดับ 22.1% ในเดือนมีนาคม 2564  นอกจากนี้ รายได้เฉลี่ยต่อวันจากห้องพักที่ขายได้ (ADR) ในกรุงเทพฯ ก็ลดลงจาก 3,209 บาทในไตรมาส 1 ปี 2563 เป็น 2,106 บาท เนื่องจากโรงแรมมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าในประเทศและมีการเสนอโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงอัตราการเข้าพักให้กลับคืนมา จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่เริ่มในเดือนเมษายน 2564 นั้นจะส่งผลให้ผลประกอบการของโรงแรมในกรุงเทพฯ ในไตรมาสที่ 2 อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงมีอยู่ โรงแรมใหม่หลายแห่งจึงตัดสินใจที่จะชะลอแผนการเปิดตัวออกไป โดยในไตรมาส 1 ปี 2564 มีโรงแรมใหม่เพียงแห่งเดียวที่เปิดให้บริการ ซึ่งทำให้จำนวนห้องพักของโรงแรมในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 141 ห้อง มาเป็น 51,239 ห้องโดยรวม    
ส่องตลาที่อยู่อาศัยภาคอีสาน​ 5 จังหวัด  เหลือขายกว่า 4.3 หมื่นล้านบาท บ้านจัดสรรยังน่าห่วง

ส่องตลาที่อยู่อาศัยภาคอีสาน​ 5 จังหวัด เหลือขายกว่า 4.3 หมื่นล้านบาท บ้านจัดสรรยังน่าห่วง

สำรวจตลาดอสังหาฯ 5 จังหวัดภาคอีสาน สต็อกเหลือขายกว่า 43,000 ล้าน ตลาดน่าห่วงเป็นกลุ่มบ้านจัดสรร  ขณะที่ขายได้ใหม่ช่วงปลายปีได้แค่ 3,585 ล้าน   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า จากการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดมหาสารคาม ในช่วงครึ่งหลังปี 2563  พบว่ามีจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขาย ทั้งหมด 297 โครงการ จำนวน 13,500 ยูนิต มูลค่ารวม 47,535 ล้านบาท   โดยจำนวนทั้งหมด แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 250 โครงการ 10,620 ยูนิต มูลค่า 40,361 ล้านบาท และโครงการอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) จำนวน 47 โครงการ  2,880 ยูนิต มูลค่า 7,174 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวมียูนิตเหลือขายจำนวน 12,365 ยูนิต รวมมูลค่ายูนิตเหลือขาย 43,350 ล้านบาท  และในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่จำนวน 1,135 ยูนิต รวมมูลค่า 3,585 ล้านบาท โคราชบ้านเหลือขายปลายปี 63 กว่า 4,000 ยูนิต สำหรับภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยระหว่างการขายในพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา มีอัตราลดลง 10.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 6,161 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 4,480 ยูนิต สัดส่วน 72.7% เป็นโครงการคอนโด​ 1,681 ยูนิต สัดส่วน​ 27.3% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 เพียง 607 ยูนิต มีอัตราลดลง 53.0% จากช่วงเดียวกันของปี 2562  มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 495 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราลดลง 18.6% ​ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน  5,666 ยูนิต หรือลดลง  9.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 2,191 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน  38.7% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา  2.01-3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 234 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 47.3%  สำหรับยูนิตเหลือขายในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 4,069 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 5,666 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน 71.8% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ปี 64 โคราชเปิดขายใหม่กว่า 5,000 ลบ. สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดนครราชสีมาในปี 2564 ภาพรวมตลาดยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2563 ผลจากโควิด-19 ช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ทำให้ตลาดทั้งปี 2564 มีภาวะชะลอตัวเช่นเดียวกับปี 2563 คาดการณ์ว่าช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ จะมียูนิตเปิดใหม่ลดลง 24.7% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ​และ ช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ จะเพิ่มขึ้น 45.6% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   ส่วนยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 1,684 ยูนิต มูลค่า 5,352 ล้านบาท ส่วนยูนิตขายได้ใหม่ในครึ่งปีแรกปีนี้ คาดว่าลดลง  34.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่าน​ และคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น​91.5% เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังปีที่ผ่านมา   ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่ปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 1,793 ยูนิต มูลค่า 5,711 ล้านบาท มียูนิตเหลือขาย ช่วงสิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 6,770 ยูนิต มูลค่า 24,278 ล้านบาท และการโอนกรรมสิทธิ์ ในปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวนยูนิตประมาณ 6,141 ยูนิต ลดลง 26.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 10,627 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 38.4% ขอนแก่นมียูนิตเหลือขายพุ่งกว่า 82% สำหรับจังหวัดขอนแก่น ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยระหว่างการขายมีอัตราลดลง 1.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 3,974 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 3,270 ยูนิต สัดส่วน 82.3% เป็นโครงการคอนโด 704 ยูนิต สัดส่วน​ 17.7% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 เพียง 411 ยูนิต มีอัตราลดลง 45.1% จากช่วงเดียวกันของปี 2562  มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 346 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่ลดลง 20.5% ​เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 3,628 ยูนิต  เพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 1,393 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน  38.4% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 127 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 36.7%   สำหรับยูนิตเหลือขายในครึ่งหลังปี 2563 ในจังหวัดขอนแก่น เป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น  3,003 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 3,628 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน  82.8% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด คาดปี 64 ขอนแก่น เหลือขายกว่า 12,000 ลบ. สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดขอนแก่น ปี 2564 คาดว่าช่วงครึ่งปีแรกนี้ มียูนิตเปิดใหม่ต่ำกว่าครึ่งปีแรกของปี 2563 ในอัตรา​ 21.5% และช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คาดว่ายูนิตเปิดใหม่จะเพิ่มขึ้น 25.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า  ซึ่งยูนิตเปิดใหม่รวมในปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 982 ยูนิต มูลค่า 3,117 ล้านบาท   ส่วนยูนิตขายได้ใหม่ช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ลดลง 39.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ช่วงครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้น 77.5% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปีที่ผ่านมา  โดยยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 1,156 ยูนิต มูลค่า 3,310 ล้านบาท มียูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 3,573 ยูนิต มูลค่า 12,062 ล้านบาท  ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ คาดว่าจะมีจำนวนยูนิตประมาณ 4,997 ยูนิต ลดลง 20% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 7,613 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 34.3% สิ้นปี 63 จ.อุดรฯ มีสินค้าเหลือขาย 1,360 ยูนิต​ ด้านภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยระหว่างการขายจังหวัดอุดรธานี พบว่ามีอัตราลดลง 13.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 1,503 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,379 ยูนิต สัดส่วน 91.7% เป็นโครงการคอนโด 124 ยูนิต สัดส่วน 8.3% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 จำนวน เพียง 69 ยูนิต ซึ่งทั้งหมดเป็นโครงการบ้านจัดสรร และมีจำนวนลดลง 57.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 สำหรับยูนิตขายได้ใหม่ มีจำนวน 143 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราลดลง 19.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 1,360 ยูนิต  ลดลง 12.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 533 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 39.2% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 1.01-1.50 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 70 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 49%   สำหรับยูนิตเหลือขายในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดอุดรธานี เป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 1,242 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 1,360 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน 91.3%  ปี 64 บ้านเหลือขายขยับเพิ่มเป็น 1,735 ยูนิต สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดอุดรธานี ปี 2564 ประมาณการณ์ช่วงครึ่งปีแรก ยูนิตเปิดใหม่จะต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนในอัตรา​ 8.0% และช่วงครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้น​ 87.0% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปีที่ผ่านมา ​ยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 255 ยูนิต มูลค่า 1,504 ล้านบาท ยูนิตขายได้ใหม่ในครึ่งปีแรกขายได้ลดลง 32.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ​ส่วนครึ่งปีหลังคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ​60.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยปีนี้คาดว่ามียูนิตขายได้รวม​ 432 ยูนิต มูลค่า 1,289 ล้านบาท และมียูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 1,753 ยูนิต มูลค่า 6,936 ล้านบาท ด้านการโอนกรรมสิทธิ์ คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 2,855 ยูนิต ลดลง 8.2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 4,726 ล้านบาท ลดลง 10.4%​จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ปลายปี 63 อุบลฯ ขายบ้านใหม่ได้แค่ 57 ยูนิต ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยระหว่างการขายจังหวัดอุบลราชธานี พบว่ามีอัตราลดลง 22.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน​ โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 1,129 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 894 ยูนิต  คิดเป็นสัดส่วน​ 79.2% เป็นโครงการคอนโด​ 235 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน​ 20.8% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 เพียง 168 ยูนิต มีอัตราเพิ่มขึ้น 130.1% จากช่วงเดียวกันของปี 2562  ยูนิตขายได้ใหม่จำนวน 112 ยูนิต ลดลง 44.3% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 1,017 ยูนิต  ลดลง 19.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 432 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 42.5% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 2.01-3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 57 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 50.9%  ขณะที่ยูนิตเหลือขายในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดอุบลราชธานี  เป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 796 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 1,017 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 78.3% ปี 64 คาดจ.อุบลฯ ขายได้แค่ 1,080 ลบ. สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2564  คาดการณ์ว่าช่วงครึ่งปีแรก​ ยูนิตเปิดใหม่จะลดลง 42.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และช่วงครึ่งหลังปีนี้ ​จะลดลง​ 16.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ​ ยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 270 ยูนิต มูลค่า 868 ล้านบาท และในส่วนยูนิตขายได้ใหม่ครึ่งปีแรก​ ขายได้จะต่ำว่าครึ่งปีแรกปีที่แล้วอัตรา​​ 31.5% ส่วนครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้น 77.7% จากช่วงครึ่งหลังปีที่แล้ว ​ ยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 375 ยูนิต มูลค่า 1,080 ล้านบาท มียูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 1,530 ยูนิต มูลค่า 4,295 ล้านบาท ด้านการโอนกรรมสิทธิ์คาดว่าในปี 2564 จะมีจำนวนยูนิตประมาณ 2,448 ยูนิต ลดลง 30.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า​ และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 2,894 ล้านบาท ลดลง 48.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มหาสารคาม สต็อกบ้านเพิ่ม 4% ส่วนภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยระหว่างการขายจังหวัดมหาสารคาม มีอัตราลดลง 2.9% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 733 ยูนิต ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 597 ยูนิต สัดส่วน​ 81.4% เป็นโครงการอาคารชุด 136 ยูนิต สัดส่วน 18.6% และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 เพียง 51 ยูนิต มีอัตราลดลง 42.7% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ยูนิตขายได้ใหม่จำนวน 39 ยูนิต มีอัตราลดลง 55.7% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 694 ยูนิต เพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 1.01-1.50 ล้านบาท โดยมีจำนวน 161 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน  23.2% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 1.01-1.50 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 19 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน  48.7%   สำหรับยูนิตเหลือขายในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดมหาสารคามเป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 567 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 694 ยูนิต หรือคิดเป็น  81.7% มหาสารคาม ปี 64 ขายบ้านใหม่ได้ 413 ลบ. สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดมหาสารคาม ปี 2564 ประมาณการณ์ช่วงครึ่งปีแรก มียูนิตเปิดใหม่จะต่ำกว่าช่วงครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมาในอัตรา​ 2.8 และครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้น​ 60.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว​ โดยยูนิตเปิดใหม่รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 152 ยูนิต มูลค่า 284 ล้านบาท และในส่วนยูนิตขายได้ใหม่ครึ่งปีแรก​ ขายได้จะต่ำว่าช่วงเดียวกันของปี 2563 ในอัตรา​ 35.2%  ส่วนครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้น ​97.4%  ยูนิตขายได้รวมปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวน 145 ยูนิต มูลค่า 413 ล้านบาท ยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 จะมีประมาณ 873 ยูนิต มูลค่า 2,550 ล้านบาท ด้านการโอนกรรมสิทธิ์คาดว่าในปี 2564 จะมีจำนวนยูนิตประมาณ 1,210 ยูนิต เพิ่มขึ้น 2.6%​ จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า  และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 17.9%  
1 ปีโควิด-19 สะเทือนไทย แต่ที่อยู่อาศัยไม่แผ่ว  คนไทยยังอยากมีบ้าน การซื้อ-เช่ายังเติบโต

1 ปีโควิด-19 สะเทือนไทย แต่ที่อยู่อาศัยไม่แผ่ว คนไทยยังอยากมีบ้าน การซื้อ-เช่ายังเติบโต

ครบ 1 ปีหลังเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ที่การเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยหยุดชะงักในช่วงแรกแต่ก็ยังมีแนวโน้มโต สะท้อนจากความต้องการของผู้บริโภคที่แม้จะได้รับผลกระทบทางการเงินจากวิกฤติครั้งนี้ แต่ยังมองหาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ ชี้ยังเป็นโอกาสทองของนักลงทุนและผู้ซื้อที่มีความพร้อม หวังต่อยอดการลงทุนในระยะยาว คาดการแข่งขันในตลาดจะกลับมาคึกคักอีกครั้งเมื่อสถานการณ์คลี่คลายหลังระดมฉีดวัคซีนครอบคลุมทั่วประเทศ   นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยว่า ข้อมูลจาก​ DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด รายงานว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 190 จุด จาก 197 จุด หรือลดลง 4% จากไตรมาสก่อนหน้า ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) โดยมีการปรับตัวลดลงถึง 7% ในรอบปีที่ผ่านมา ในขณะที่ดัชนีอุปทานในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 399 จุด จาก 363 จุด หรือเพิ่มขึ้นถึง 10% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มถึง 19% ในรอบปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ มีการเปิดตัวโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด และผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือเริ่มนำสินค้าออกขาย แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดฯ รอบล่าสุด ทำให้อัตราการดูดซับไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ จำนวนที่อยู่อาศัยในตลาดจึงแปรผันตามสถานการณ์ปัจจุบัน   ตลอดหนึ่งปีของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวจากการชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ความต้องการซื้อและเช่าในตลาดอสังหาฯ ยังมีอยู่ไม่น้อย เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ โดยในปีนี้มีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการระบาดฯ รอบแรกในปีที่แล้ว  ซึ่งตอนนั้นทุกภาคส่วนล้วนไม่มีประสบการณ์ในการรับมือวิกฤติแบบนี้มาก่อน  เทรนด์ที่เห็นได้ชัดคือผู้บริโภคหันมาพิจารณาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก และแถบชานเมืองเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทำเลแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ที่เพิ่งเปิดใช้หรือมีแผนเปิดใช้บริการในอนาคตอันใกล้ ประกอบกับผู้บริโภคต้อง Work From Home ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ต้องกระจุกตัวอยู่ใกล้แหล่งงานย่านใจกลางเมือง   แม้ดัชนีอุปทานในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้นถึง 19% ในรอบปีที่ผ่านมาสวนทางกับอัตราดูดซับที่น้อยลง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับปกติเมื่อพิจารณาตามสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ที่มีความไม่แน่นอนสูง ผู้บริโภคยังมีความกังวลใจในการใช้จ่าย จึงพยายามรักษาเสถียรภาพทางการเงินไว้ นอกจากนี้  จากผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "วัคซีนเข็มแรก ความต้องการถ้วนหน้า" ของสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ถึง 87.9% ต้องการให้คนไทยทุกคนได้รับวัคซีนเข็มแรกก่อน ตามมาด้วยต้องการให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนกระจายวัคซีนครอบคลุมคนที่ต้องการทุกพื้นที่เร่งด่วนที่สุด 86.8% จะเห็นได้ว่าแผนการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมยังคงเป็นเป้าหมายอันดับต้น ๆ ที่คนไทยต้องการ เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย เช่นเดียวกับภาคธุรกิจที่มองว่ากุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตอนนี้ คือแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวได้ คาดการณ์ว่าเมื่อมีการฉีดวัคซีนครอบคลุมทั่วประเทศ  และรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ได้แล้ว ผู้พัฒนาอสังหาฯ ก็พร้อมจะกลับมาเปิดตัวโครงการใหม่เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค และเชื่อว่าตลาดอสังหาฯ จะกลับมาคึกคักอีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายของปี ครบ 1 ปีโควิด ความต้องการอสังหาฯ ยังไม่แผ่ว รายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด  ยังเปิดเผยถึง ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ทั่วไทย หลังต้องเผชิญวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (เปรียบเทียบระหว่างเดือนเมษายน 2563 และเดือนเมษายน 2564) ระบุว่า ความต้องการที่อยู่อาศัยยังเติบโตต่อเนื่อง แม้ผู้บริโภคจะชะลอการใช้จ่ายก็ตาม -เมืองหลวงยังไม่สิ้นมนต์ขลัง ความต้องการซื้อ-เช่าโตกว่าเท่าตัว ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ในรอบ 1 ปีตั้งแต่เกิดการล็อกดาวน์มาจนถึงการแพร่ระบาดฯ ระลอกล่าสุด พบว่า ผู้บริโภคยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ความต้องการเช่าและซื้อเติบโตกว่าเท่าตัว โดย “เขตยานนาวา” เป็นทำเลมาแรงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้รับความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นในรอบปีสูงสุดถึง 215% ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่เป็นทำเลที่อยู่ใจกลางเมือง ครอบคลุมแนวถนนพระราม 3 ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตทั้งจากการที่เป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ และมีโครงการพัฒนาของทั้งภาครัฐและเอกชนอยู่อย่างต่อเนื่อง ผู้ซื้อที่มีความพร้อมสามารถซื้อเก็บไว้ในช่วงนี้เพื่อนำไปทำกำไรในอนาคตเมื่อเข้าสู่สถานการณ์ปกติ ตามมาด้วยเขตธนบุรีเพิ่มขึ้น 137% มีนบุรีเพิ่มขึ้น 132% จอมทองเพิ่มขึ้น 114% และบางแคเพิ่มขึ้น 113% ซึ่งล้วนเป็นทำเลที่ไม่ได้อยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแถบพื้นที่รอบนอกมากขึ้น โดยเลือกพิจารณาความคุ้มค่าของราคากับขนาดที่อยู่อาศัยที่จะได้รับ เนื่องจากยังเป็นทำเลที่สามารถเดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้า และระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ   ส่วนทำเลยอดนิยมของผู้เช่าในรอบปีที่มีการแพร่ระบาดฯ นั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ย่านใจกลางเมืองเป็นหลักและมีอัตราเติบโตไม่แพ้กัน โดย “เขตปทุมวัน” ได้รับความสนใจเช่าเพิ่มขึ้นในรอบปีสูงสุดถึง 193% เนื่องจากผลกระทบของสภาพเศรษฐกิจชะลอตัวและวิกฤติโควิด-19 ที่มีอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานศึกษาอยู่ในย่านดังกล่าวหันมาเช่าที่อยู่อาศัยแทนการตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ที่มีราคาสูง เพราะสถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีความไม่แน่นอน การสำรองเงินสดไว้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ในขณะที่ทำเลอื่น ๆ ที่มีความต้องการเช่าสูงไม่แพ้กัน ได้แก่ เขตบางคอแหลม (+188%) เขตบึงกุ่ม (+185%) จตุจักร (+159%) และเขตบางซื่อ (+150%) -ตลาดเช่าโตต่อเนื่อง ครองใจคนหาบ้านในเขตปริมณฑล ภาพรวมความเคลื่อนไหวของตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดปริมณฑล ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาครในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมานั้น เทรนด์การเช่าที่อยู่อาศัยได้รับความนิยมอย่างสูง โดยบางพื้นที่มีการเติบโตกว่าความสนใจซื้อมากกว่าเท่าตัว อย่างไรก็ดี ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ความสนใจซื้อและเช่าที่อยู่อาศัยในจังหวัดปริมณฑลมีการเติบโตเป็นบวกในรอบปีที่ผ่านมา คือเทรนด์การ Work From Home ที่หลายองค์กรใช้ในช่วงที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดฯ และคาดว่าหลายองค์กรจะยังคง Work From Home ต่อเนื่องแม้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ ส่งผลให้คนทำงานไม่ต้องกังวลเรื่องเวลาในการเดินทางมาทำงานใจกลางเมือง จึงมีการย้ายกลับไปอาศัยที่ภูมิลำเนาเดิมหรือหันไปเลือกซื้อ/เช่าอสังหาฯ ในจังหวัดปริมณฑลที่มีราคาย่อมเยากว่า   ทำเลมาแรงที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพิ่มขึ้นถึง 151% ด้านอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพิ่มขึ้น 168% ส่วนทำเลยอดนิยมของผู้เช่าในจังหวัดสมุทรปราการจะอยู่ในอำเภอเมือง โดยเพิ่มสูงถึง 216% ในขณะที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครถือเป็นทำเลที่น่าจับตามอง เนื่องจากได้รับความสนใจเช่าเพิ่มสูงถึง 650% เติบโตสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ 4 จังหวัดปริมณฑลอื่น ๆ   ทำเลที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา ได้แก่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เพิ่มขึ้นถึง 73% ด้านจังหวัดปทุมธานีนั้นพื้นที่อำเภอคลองหลวงมีผู้สนใจซื้อเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 74% ส่วนอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการมีความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นถึง 74% เช่นกัน และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ยังคงมาแรงครองความนิยมสูงสุด มีความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นถึง 88% -โอกาสทองเลือกเป็นเจ้าของอสังหาฯ หัวเมืองท่องเที่ยว จากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ที่หนักหน่วง ทำให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการปิดประเทศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจท่องเที่ยวที่ขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ แน่นอนว่าตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดท่องเที่ยวต่าง ๆ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน ซ้ำร้ายการเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 ในหลายหัวเมืองท่องเที่ยวส่งผลให้ความสนใจเช่าลดลง แต่ในวิกฤติยังมีโอกาสเมื่อดัชนีราคาอสังหาฯ ที่ปรับตัวลดลงช่วยผลักดันให้ความสนใจซื้อเติบโตสูงขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวใหญ่ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต ระยอง และประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากผู้บริโภคและนักลงทุนมองเห็นโอกาสในการเป็นเจ้าของอสังหาฯ ในทำเลเหล่านี้ซึ่งถือว่ามีศักยภาพที่จะเติบโตได้ในอนาคต มีเพียงพัทยาที่มีทิศทางการเติบโตต่างจากจังหวัดท่องเที่ยวอื่น โดยมีความสนใจเช่าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 106% มากกว่าความสนใจซื้อที่เพิ่มขึ้นเพียง 70%   เมื่อพิจารณาจากความสนใจซื้อที่เพิ่มขึ้นในรอบ 1 ปีที่มีการแพร่ระบาดฯ พบว่า อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นถึง 128% อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพิ่มขึ้น 164% อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นถึง 174% ในขณะที่อำเภอหัวหินยังเป็นทำเลที่ดึงดูดความสนใจซื้อในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้มากที่สุดถึง 96%   ด้านความสนใจเช่าแม้จะเติบโตน้อยกว่าซื้อ แต่ถือว่ายังมีทิศทางเติบโตเป็นบวกทั้งหมด โดยอําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความสนใจเช่าเพิ่มขึ้น 74% อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพิ่มขึ้น 17% อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เพิ่มขึ้น 60% และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพิ่มขึ้น 48%   “จะเห็นได้ว่าจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลกระทบต่อทุกคน ทุกองค์กร ธุรกิจทุกแขนงทั่วประเทศทำให้เกิดภาวะชะงักงันไปตาม ๆ กัน แต่อย่างไรก็ตามมาตรการต่าง ๆ ที่ภาครัฐออกมาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับทุกภาคส่วนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสำคัญที่สุดคือด้านสาธารณสุขก็ส่งผลเชิงจิตวิทยาต่อผู้บริโภคในด้านความมั่นใจ แม้ว่าภาพรวมจะยังไม่มีกลไกใดที่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าอาจมีการสะดุดหรือล้มลุกคลุกคลานในบางจังหวะ แต่ทุกคนยังมีความหวังที่จะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ให้ก้าวต่อไป”      
เอพี ไทยแลนด์  กวาดยอดขายบ้านเดี่ยว 5 เดือน 7,800 ล้าน  พร้อมเปิดแคมเปญ รับเทรนด์ “HOMEBODY”

เอพี ไทยแลนด์ กวาดยอดขายบ้านเดี่ยว 5 เดือน 7,800 ล้าน พร้อมเปิดแคมเปญ รับเทรนด์ “HOMEBODY”

เอพี กวาดยอดขายบ้านเดี่ยว 5 เดือนแรกกว่า 7,800 ล้าน รักษาความเป็นผู้นำตลาด พร้อมจับเทรนด์ใหม่ “HOMEBODY” ผู้คนใช้ชีวิตติดบ้านมากขึ้น เปิดตัว​แคมเปญใหญ่ “HOMEMADE STORY 2 - เทรนด์ติดบ้าน” พร้อมดึง “เสือร้องไห้” สร้างแรงบันดาลใจผ่าน 6 ซีรีย์   นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ทุกคนก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายในบ้านมากขึ้น เพื่อลดปัญหาการการได้รับเชื้อโรค หรือการแพร่ระบาดของเชื้อโรค กิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือการเรียน ต้องอาศัยพื้นที่ภายในบ้านเป็นหลัก ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในกลุ่มบ้านแนวราบที่ผ่านมา มียอดขายเติบโตสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว   หนึ่งในผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่สามารถขายที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ทาวโฮม หรือบ้านแฝดได้ดี มียอดขายเป็นผู้นำตลาดในหลายเซ็กเมนต์  ก็คงต้องเป็นบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ซึ่งสร้างผลงานในปี 2563 ที่ผ่านมาได้ดีกว่าในอดีตที่ผ่าน ๆ มาด้วยซ้ำ เฉพาะปีนี้เอง แม้ว่าจะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเนื่องระลอก 3 แต่ยอดขายของเอพี ก็ไม่ได้แผ่วลงแม้แต่น้อย ยอดขายบ้านเดี่ยว 5 เดือนแรกก็กวาดไปแล้วกว่า 7,800 ล้านบาท มียอดลูกค้าเข้าเยี่ยมชมโครงการต่าง ๆ ของเอพีเฉลี่ยเดือนละกว่า 1,500 ครอบครัว แสดงให้เห็นถึงความต้องการบ้านเดี่ยว ไม่ได้ลดน้อยลงเลย และในมุมกลับกันอาจจะมีความต้องการที่มากขึ้นด้วย เพราะผู้คนจำนวนมากเริ่มคุ้นชินกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบ้านมากขึ้นแล้วด้วย   เทรนด์หนึ่งที่เอพีมองเห็นจากข้อมูลอินไซต์ทางการตลาด พบว่า ผู้คนจำนวนมากเริ่มมีเทรนด์การใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า HOMEBODY หรือ เทรนด์ติดบ้าน  ที่สมาชิกในครอบครัวคุ้นชินกับการทำทุกกิจกรรมในบ้าน ที่ไม่ใช่เพียงการติดตั้งอุปกรณ์  แบ่งโต๊ะทำงาน หรือแบ่งโต๊ะเรียนออนไลน์ที่บ้าน แต่คือการความสำคัญกับการแยกพื้นที่ส่วนตัวและส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน ห้องที่เป็นสัดส่วน หน้าต่างที่เปิดรับแสงธรรมชาติ หรือระเบียงที่เป็นมุมพักผ่อน  ปลูกต้นไม้ เป็นโลกส่วนตัวที่ตอบโจทย์กิจกรรมของสมาชิกในบ้านได้จริง นางพิมพรรณ ปรีชานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริหารแบรนด์และพัฒนาสินค้าบ้านเดี่ยว บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) เปิดเผยว่า เทรนด์ติดบ้านที่เกิดขึ้น​ ส่งผลให้ดีมานด์บ้านเดี่ยวของเอพียังมีอย่างต่อเนื่อง ​สะท้อนจากยอดลูกค้าเยี่ยมชมโครงการและยอดขายบ้านเดี่ยวช่วง 5 เดือนแรกที่ผ่านมา ​   โดยคำตอบแรกที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อ นอกจากความเชื่อมั่นในแบรนด์บ้านเดี่ยวเครือเอพีแล้ว คือ เรื่องการออกแบบฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยของทุกคนในครอบครัว พื้นที่ใช้สอยที่มากกว่าและแพ็กเกจราคาที่คุ้มค่าจับต้องได้จริงเหนือคู่แข่ง   ล่าสุด เอพีได้เปิดตัว​ แบรนด์แคมเปญใหญ่อีกครั้ง “HOMEMADE STORY 2 - เทรนด์ติดบ้าน” เพื่อต่อยอดความสำเร็จและย้ำอัตลักษณ์แบรนด์บ้านเดี่ยวเครือเอพี  โดยนำ 2 กลยุทธ์หลัก ที่เป็นจุดต่างสร้างความสำเร็จของบ้านเดี่ยวเครือเอพี มาใช้เป็นแกนในการสื่อสารผ่านแคมเปญ​ ได้แก่ 1.โมเดลบ้านที่ดีที่สุด การพัฒนาบ้านด้วกยแนวคิดจากอินไซต์จริง เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้อาศัย อาทิ แปลนบ้านหน้ากว้าง ที่สามารถเพิ่มมุม Work from Home หรือ เรียนออนไลน์พร้อมรับแสงธรรมชาติ การออกแบบห้องนอนพร้อมระเบียงที่กว้าง เพิ่มมุมพักผ่อนปลูกต้นไม้ใหญ่ได้จริง หรือพื้นที่สวนข้างบ้านขนาดพอดีสำหรับทำสวน พร้อมบ้านหลังเล็กสำหรับสัตว์เลี้ยงของครอบครัว เป็นต้น 2.นวัตกรรมบ้านที่เข้าใจชีวิต การผสานเทคโนโลยีเข้ากับการออกแบบพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่ส่วนรวมภายในบ้านหนึ่งหลัง ที่มีรายละเอียดการออกแบบที่ตอบโจทย์ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย ตลอดจนฟังก์ชันส่วนกลาง พื้นที่สีเขียวในโครงการ และสังคมที่ดีในภาพใหญ่ของคอมมูนิตี้บ้านเดี่ยวเอพีให้เกิดขึ้นไปในขณะเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ ในเครือบ้านเดี่ยวเอพี ทั้งแบรนด์ CENTRO, THE CITY, THE PALAZZO และ BAAN KLANG KRUNG รวม 40 โครงการทั่วกรุงเทพฯ มูลค่าโครงการรวม 53,760 ล้านบาท ได้พัฒนาภายใต้แนวคิดดังกล่าว   นอกจากนี้  ภายใต้แคมเปญ “Homemade Story 2 - เทรนด์ติดบ้าน” เอพีได้ร่วมงานกับ ยูทูปเบอร์ชื่อดัง “เสือร้องไห้” และ 6 แขกรับเชิญแถวหน้าของวงการที่จะมาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวมิติใหม่ ในวันที่ชีวิตติดบ้านปีที่ 2  พร้อมอัพเดตกิจกรรม ไอเดียล้ำๆ กับการปรับสเปซฟังก์ชันในบ้านเดี่ยวเอพี โดยสามารถรับชมเรื่องราวความสนุกพร้อมแรงบันดาลใจการใช้ชีวิตในสเปซบ้านที่เป็นมากกว่าบ้าน ผ่านซีรีย์ 6 ตอนพิเศษ ผ่านช่องทางหลัก FACEBOOK และ YOUTUBE APThai ประเดิมตอนแรกวันพุธที่ 16 มิถุนายน – 31 สิงหาคมนี้ HOMEBODY หรือ เทรนด์ติดบ้าน  เป็นความท้าทายและโอกาสใหม่ของแบรนด์ ในการทำการบ้านให้ลึกมากยิ่งขึ้น เพื่อเจาะเข้าไปในกลุ่มลูกค้าใหม่ของบ้านเดี่ยวเอพี ทั้งกลุ่มลูกค้าคอนโด หรือคนรุ่นใหม่ที่อาศัยในทาวน์โฮมหรือบ้านหลังเดิมของครอบครัว และต้องการขยับขยายเป็นเจ้าของบ้านของตัวเอง  
เสนา ดีเวลลอปเม้นท์  ปรับแผนเปิดโปรเจ็กต์เพิ่ม  เจาะฐานลูกค้าเรียลดีมานด์

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ปรับแผนเปิดโปรเจ็กต์เพิ่ม เจาะฐานลูกค้าเรียลดีมานด์

เสนา ปรับแผนเปิดโปรเจ็กต์เพิ่ม เป็น 18 โปรเจ็กต์มูลค่ากว่า 16,764 ล้าน รับตลาดกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ หลังไตรมาสแรก ผลการดำเนินงานยังทำกำไรกว่า 228 ล้าน   นางสาวอธิกา บุญรอดชู ผู้อำนวยการ ฝ่ายจัดสรรเงินทุนและการลงทุน บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA  เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับแผนการเปิดโครงการใหม่ปีในปีนี้ ​ จากเดิมวางแผนเปิดโครงการทั้งหมด 17 โครงการ รวมมูลค่า 15,700 ล้านบาท ได้ปรับเพิ่มเป็น 18 โครงการ รวมมูลค่า 16,764 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบ 7 โครงการ และแนวสูง 11 โครงการ เพื่อให้สอดรับกับกำลังซื้อที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ภายใต้มาตรการ “SENA Strong”  โดยบริษัทมีความเชื่อมั่นว่า ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังเป็นปัจจัยที่สำคัญ ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ได้เปิดตัวโครงการไปแล้ว 1 โครงการ คือ เสนาคิทท์ เวสต์เกต -บางบัวทอง มูลค่าโครงการ 250 ล้านบาท ส่วนในไตรมาส 3 วางแผนเปิดโครงการใหม่เพิ่ม 8 โครงการ รวมมูลค่า 6,109 กว่าล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบ 5 โครงการ และแนวสูง 3 โครงการ โดยเดือนกรกฏาคม เตรียมเปิดขาย “เสนาคิทท์ ฉลองกรุง – ลาดกระบัง” ราคาเริ่ม 799,000 ล้านบาท   สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาสแรกที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวม​ 907.8 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 7% ซึ่งมีสาเหตุหลักจากธุรกิจให้เช่าปรับตัวลดลงเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในขณะที่รายได้จากธุรกิจการขายที่อยู่อาศัย มีรายได้รวมทั้งสิ้น 623.6 ล้านบาท ปรับตัวสูงขึ้น 10.3% โดยมี รายได้จากโครงการแนวราบ 221.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 119.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 116.7% ซึ่งมาจาก  5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการ เสนา พาร์คแกรนด์ วงแหวน – รามอินทรา ​โครงการเสนาวิลล์ ลำลูกกา-คลอง 6 ​โครงการเสนาวิลล์ บรมราชชนนี สาย 5 โครงการเสนาวิลล์ รามอินทรา และโครงการเสนา แกรนด์ โฮม รามอินทรา กม.8   ปัจจุบันบริษัทมียอดขายที่รอรับรู้รายได้จากการโอน (Backlog) คิดเป็นมูลค่า 7,399 ล้านบาท ณ สิ้น 31 มีนาคม 2564 และจะทยอยรับรู้รายได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ 4,390 ล้านบาท และที่เหลือจะทยอยรับรู้ต่อเนื่องในปีต่อไป​​​ นางสาวอธิกา กล่าวอีกว่า สถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ใน​ภาพรวมยังได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง แต่บริษัทยังสามารถรักษาฐานตลาดในเซกเมนท์ที่มีกำลังซื้อ  โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองอย่างต่อเนื่อง   ขณะที่ผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น  228.6 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นและการบริหารจัดการต้นทุนทางการขายที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องการขายและการบริหารจัดการโครงการ รวมถึงมีการวางกลยุทธ์ทางการตลาดในการเปิดโครงการใหม่ ๆ ทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม โดยเน้นไปยังพื้นที่ที่ยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยจำนวนมาก  
ธ.กรุงเทพ จับมือประกันสังคม  ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำคงที่ตลอด 3 ปี  เสริมสภาพคล่อง-หนุนจ้างงานผู้ประกันตนต่อเนื่อง

ธ.กรุงเทพ จับมือประกันสังคม ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำคงที่ตลอด 3 ปี เสริมสภาพคล่อง-หนุนจ้างงานผู้ประกันตนต่อเนื่อง

ธนาคารกรุงเทพ จับมือสำนักงานประกันสังคม ปล่อยกู้ต่อลมหายใจให้ผู้ประกอบการ สูงสุดไม่เกิน 15 ล้านต่อสถานประกอบการ ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง หวังให้มีการจ้างงานผู้ประกันตนต่อเนื่อง ลดต้นทุนการเงิน คิดดอกเบี้ยต่ำ คงที่ตลอด 3 ปี แค่ 2.75% ต่อปี กรณีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน วงเงินรวมทั้งโครงการ 30,000 ล้านบาท   นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ได้ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม ในโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ระยะที่ 2 (พ.ศ.2563 – 2564) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งจะช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ เพื่อเพิ่มผลผลิตแรงงาน รักษาระดับการจ้างงานลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ธุรกิจอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้   สำหรับโครงการดังกล่าว มีวงเงินสินเชื่อรวมทั้งโครงการ 30,000 ล้านบาท ระยะเวลาสินเชื่อตามโครงการ 3 ปี วงเงินสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อสถานประกอบการ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.75% ต่อปี สำหรับกรณีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.75% ต่อปี กรณีไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือค้ำประกันโดยบุคคล หรือใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ทั้งนี้ การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร และไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อ Refinance สินเชื่อเดิมได้ ผู้ประกอบการที่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ จะต้องเป็นสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม โดยต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และได้รับการรับรองสถานะความเป็นสถานประกอบการจากสำนักงานประกันสังคม ทั้งนี้ เมื่อได้รับการอนุมัติสินเชื่อแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องรักษาจำนวนผู้ประกันตนในสถานประกอบการให้อยู่ในระดับไม่น้อยกว่า 80% ของจำนวนผู้ประกันตนในสถานประกอบการ ณ วันที่ธนาคารส่งแบบรายงานผลการอนุมัติสินเชื่อให้ประกันสังคม ไว้ตลอดอายุสินเชื่อ   นายสุวรรณ กล่าวอีกว่า โครงการนี้นับเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจ รวมถึงการคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ และคงที่ตลอด 3 ปี เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ โดยมีเงื่อนไขให้ยังคงรักษาระดับการจ้างงานเอาไว้ เพื่อช่วยให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนยังคงมีรายได้ต่อเนื่อง และบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน   “ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ธุรกิจส่วนใหญ่กำลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ธนาคารกรุงเทพเข้าใจและห่วงใยผู้ประกอบการทุกระดับ และพร้อมที่จะเป็นอีกหนึ่งกลไกในการส่งมอบความช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการเข้าถึงบริการทางการเงินต่าง ๆ รวมถึงสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง ผ่านหลากหลายแนวทาง ทั้งมาตรการให้ความช่วยเหลือโดยตรงของธนาคาร และมาตรการที่ธนาคารดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูของธนาคารแห่งประเทศไทย และสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานกับประกันสังคมในครั้งนี้ ซึ่งในฐานะ  เพื่อนคู่คิด ธนาคารก็พร้อมให้คำปรึกษาและนำเสนอความช่วยเหลือให้แก่ลูกค้าอย่างเต็มที่ในทุกสถานการณ์”   สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสมัครขอสินเชื่อในโครงการดังกล่าวได้ที่เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ หรือ สำนักธุรกิจของธนาคารกรุงเทพทุกสาขา โดยสามารถยื่นคำขอสินเชื่อได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือ เมื่อเงินสนับสนุนตามโครงการครบจำนวนตามที่กำหนด ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถติดตามข้อมูลมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ เพิ่มเติม ตลอดจนข้อมูลอื่นที่น่าสนใจของธนาคาร ได้จากสื่อประชาสัมพันธ์ของทุกช่องทาง    
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย  ยื่น 4 ข้อเสนอ จี้รัฐช่วยผู้ประกอบการ  เร่งเสริมสภาพคล่อง ลดภาษี ออกซอฟท์โลนด่วน

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ยื่น 4 ข้อเสนอ จี้รัฐช่วยผู้ประกอบการ เร่งเสริมสภาพคล่อง ลดภาษี ออกซอฟท์โลนด่วน

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ยื่น 4 ข้อเสนอรัฐช่วยค้าปลีก เร่งด่วนด้วยมาตรการภาษี ลดภาระค่าใช้จ่าย พร้อมออกซอฟท์โลนช่วยเอสเอ็มอีไทย หลังดัชนีความเชื่อมั่นเดือนพ.ค. ยังลดต่ำกว่าค่ากลางที่ 50 ผู้ประกอบการกว่าครึ่งมีสภาพคล่องประคองธุรกิจนานสุดแค่ 6 เดือน   สมาคมผู้ค้าปลีกไทยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการค้าปลีกและการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคไทยประจำเดือนพฤษภาคม 2564 พบว่า แนวโน้มผู้บริโภคไทยยังคงระมัดระวังการจับจ่าย มีผลต่อยอดซื้อต่อบิล (Purchasing per Basket) และความถี่ในการจับจ่าย (Frequency visit) ลดลงอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มการใช้จ่ายลดลงเกือบทุกภูมิภาคและเกือบทุกช่องทางประเภทร้านค้าปลีก   นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า​  สมาคมฯได้ทำการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกไทย ในทุกภาคส่วนของทั้งค้าปลีกสินค้าและค้าปลีกบริการซึ่งได้ดำเนินเป็นประจำทุกเดือน โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 ของปี 2564 เป็นการสำรวจทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 17-25 พฤษภาคม 2564 มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามประกอบด้วยร้านค้าปลีกสินค้าหลากหลายทั่วประเทศ โดยมีข้อสรุปดังนี้ 1.ผู้ค้าปลีกความเชื่อมั่นเดือนพ.ค.ยังต่ำ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกรวม (Retail Sentiment Index) เดือนพฤษภาคม ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดือนเมษายนและยังอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 มาก สอดคล้องกับภาวะการค้าปลีกที่แย่ลงตามการแพร่ระบาด โควิด-19 ระลอกสามที่รุนแรงขึ้น สะท้อนถึงความกังวลต่อแผนการกระจายวัคซีนและมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อที่ภาครัฐประกาศที่จะอัดฉีดเพิ่มเติมที่ยังไม่ชัดเจน 2.ผู้ประกอบการยังไม่มั่นใจอนาคต หวั่นโควิดยืดเยื้อ ดัชนีความเชื่อมั่นรวมในอีก 3 เดือนข้างหน้ายังต่ำกว่าค่ากลาง  ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 ระลอกสาม เดือนพฤษภาคม 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับ การแพร่ระบาด โควิด-19 ระลอกสอง เดือนมกราคม 2564 ปรากฏว่าดัชนีเดือนพฤษภาคม 2564 ลดต่ำกว่า ในเดือนมกราคม 2564 สะท้อนถึงความไม่มั่นใจถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้วยข้อกังวลถึงความยืดเยื้อของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกนี้ อาจจะยาวนานกว่าระลอกสองมาก 3.ยอดขายสาขาเดิมลดกว่า 30-50% ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่อการเติบโตยอดขายสาขาเดิม เดือนพฤษภาคม Same Store Sale Growth (SSSG) มีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จากข้อมูลยอดขายสาขาเดิมเดือนพฤษภาคมลดลงมากกว่า 30-50% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนและเดือนมีนาคม ตามลำดับ ซึ่งเป็นการลดลงทั้งยอดซื้อต่อบิล (Spending per Bill or Basket Size) และความถี่ในการจับจ่าย (Frequency of Shopping) ผู้ประกอบการกังวลถึงกำลังซื้อที่ลดลงและยังไม่ฟื้นตัวดี รวมถึงมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการไปจับจ่ายที่ร้านค้า 4.ผู้ประกอบการต่างจังหวัดหวั่นยอดขายลดต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่อยอดขายเดิมเมื่อจำแนกตามรายภูมิภาค ปรากฏว่าปรับลดลงต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 ในทุกภูมิภาค สะท้อนถึงแนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายลดลง โดยเฉพาะภูมิภาคกรุงเทพปริมณฑล ภาคเหนือ และภาคใต้ ที่ลดลงอย่างชัดเจน 5.ยอดขายร้านค้าปลีกลดทุกประเภท ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการจำแนกตามประเภทร้านค้าปลีก เปรียบเทียบระหว่างเดือนพฤษภาคมและเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า ลดลงอย่างชัดเจนและต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 ในทุกประเภทร้านค้าปลีก โดยเฉพาะลดลงอย่างชัดเจนในร้านค้าประเภทสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้า 6.ไฮเปอร์มาร์ทยอดกระเตื้องคนตุนสินค้ามากขึ้น สำหรับร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์ท ดัชนีความเชื่อมั่นดีขึ้นเล็กน้อย สะท้อนถึงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ ผู้บริโภคมีความกังวลที่จะยืดเยื้อส่งผลให้พฤติกรรมการซื้อเป็นแบบกักตุนสินค้ามากขึ้น และมุ่งใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ทำให้มูลค่าการซื้อต่อครั้ง Per Spending หรือ Per Basket เพิ่มขึ้น แต่ความถี่ในการจับจ่ายกลับลดลง 7.ร้านวัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง ซ่อมบำรุง ยอดขายเพิ่มรับ WFH สำหรับร้านค้าปลีกประเภทวัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง และซ่อมบำรุง น่าจะเป็นร้านค้าประเภทเดียวที่ดัชนีความเชื่อมั่นสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 ต่อเนื่อง ทั้งนี้จากราคาเหล็กที่เป็นปัจจัยพื้นที่ในการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้นและมีข่าวว่าภาครัฐจะมีมาตรการมาควบคุม ทำให้ราคาวัสดุก่อสร้างอื่นที่กำลังปรับราคาตามราคาเหล็กที่สูงขึ้นต้องสะดุด อย่างไรก็ตาม ร้านค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง ซ่อมบำรุง ยังคงได้รับแรงหนุนจากวิถี New Normal ทำงานที่บ้าน WFH อย่างต่อเนื่อง 8.ผู้ประกอบการมีทุนทำธุรกิจนานสุดแค่ 6 เดือน ประเด็นพิเศษ “การประเมินผลกระทบต่อยอดขายและกำลังซื้อ การจ้างงานและสภาพคล่องต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ จากมุมมองผู้ประกอบการ” 8.1 ผู้ประกอบการกว่า 29% ระบุว่า ยอดการจับจ่ายและการใช้บริการ (Traffic) ลดลงมากกว่า 25% การบริหารจัดการต้องปรับลดการจ้างงาน หรือปรับลดชั่วโมงการทำงานรวมถึงลดค่าธรรมเนียมการขาย เพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด 8.2  ผู้ประกอบการ 41% ระบุว่า มีการลดการจ้างงานมากกว่า 25% แล้ว ส่วนอีก 38% บอกว่า จะพยายามคงสภาวะการจ้างงานเดิมแต่คงไม่ได้นาน 8.3 ผู้ประกอบการ 39% ระบุว่า มีสภาพคล่องเงินทุนหมุนเวียนบริหารจัดการได้ไม่เกิน 6 เดือน ในจำนวนนี้ 8% บอกว่า มีสภาพคล่องเหลือเพียงแค่ 1-3 เดือน 8.4 มาตรการกระตุ้นการจับจ่าย “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ผู้ประกอบการ 56% คาดหมายว่า อาจจะช่วยให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ 38% คาดหมายว่า ยอดขายคงเดิมเพราะกลไกการใช้จ่ายซับซ้อน ไม่เอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่นิยมจับจ่ายด้วยเครดิตการ์ดได้ใช้เพิ่มเติมจาก G-Wallet 4 ข้อเสนอต่อภาครัฐ เร่งช่วยผู้ประกอบการ 1.เร่งรัดแผนกระจายการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นในการจับจ่ายผู้บริโภค 2.เร่งรัดมาตรการเยียวยาช่วยจ่ายค่าแรงพนักงาน 50% แก่ร้านค้าที่ได้รับผลกระทบจากการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ตามประกาศภาครัฐ 3.เร่งรัดธนาคารพาณิชย์ประสานงานกับห้างค้าปลีกพิจารณาสินเชื่อ Soft Loan แก่คู่ค้า-ซัพพลายเออร์ระดับ Micro SME ตามโมเดล Sand Box สมาคมผู้ค้าปลีกไทย 4.เสนอให้ปรับแต่งกลไกเอื้อให้ผู้ที่ลงทะเบียนใช้สิทธิ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” สามารถใช้เครดิตการ์ดจับจ่ายเพิ่มเติมจาก G-Wallet ทั้งนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มนี้นิยมที่จะจับจ่ายสินค้าด้วยเครดิตการ์ดมากกว่าเงินสด สมาคมฯ ขอตอกย้ำและกระตุ้นภาครัฐ ให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าปลีกและบริการ เรื่องสภาพคล่องอย่างเร่งด่วนด้วยมาตรการภาษี ลดภาระค่าใช้จ่าย และสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) แก่ผู้ประกอบการอย่างจริงจังและรวดเร็ว เพราะด้วยสภาพคล่องที่เหลืออยู่ของผู้ประกอบการค้าปลีกจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อีกเพียง 6 เดือน รวมทั้งมาตรการการกระตุ้นการบริโภคที่ตรงเป้าเข้าใจพฤติกรรมในการจับจ่ายของผู้บริโภค  
แอล.พี.เอ็น.ฯ  เปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่เจาะย่าน “จรัญฯ-เมืองทองธานี”  ผลักดันเป้ายอดขายปีนี้ 10,000 ล้าน

แอล.พี.เอ็น.ฯ เปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่เจาะย่าน “จรัญฯ-เมืองทองธานี” ผลักดันเป้ายอดขายปีนี้ 10,000 ล้าน

LPN เดินหน้าเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ 5,500 ล้าน เจาะทำเล "จรัญฯ ไปฉาย และเมืองทองธานี" หวังสร้างยอดขาย 3,000 ล้าน ผลักดันเป้าหมายปีนี้ให้ได้ 10,000 ล้าน ​   นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) เปิดเผยว่า LPN เดินหน้าเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปัจจุบันยังมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 2 โครงการ ใน 2 ทำเล ย่านจรัญสนิทวงศ์-สามแยกไฟฉาย  และแจ้งวัฒนะ มูลค่าโครงการรวม  5,500 ล้านบาท  ภายในไตรมาสสองของปี 2564 นี้   โดยโครงการแรกที่เปิดตัวเป็นโครงการคอนโดมิเนียม “ลุมพินี วิลล์ จรัญฯ-ไฟฉาย” มูลค่า 3,000 ล้านบาท  เป็นอาคารสูง 3 อาคาร บนทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพในย่านฝั่งธนบุรี ที่สามารถเดินทางเข้า-ออกสู่ใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกสบายทั้งทางรถยนต์และรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีจรัญ 13 และสถานีไฟฉาย  ออกแบบภายใต้แนวคิด “Balance is More : การใช้ชีวิตที่มากกว่า” อย่าง “พอดี” กับการอยู่อาศัยในทุกรูปแบบของการใช้ชีวิต  ราคาขายเริ่มต้นอยู่ที่ห้องละ  1.5 ล้านบาท โดยเปิดตัวในเฟสแรก มูลค่า 960 ล้านบาท ทำเล จรัญฯ-ไฟฉาย เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีศักยภาพของฝั่งธน เดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างสะดวก เป็นทำเลที่ยังมีความต้องการของตลาด ทั้งนี้  จากผลการสำรวจทำเล “จรัญสนิทวงศ์” พบว่า  มีจำนวนคอนโดขายเพียง 965 ยูนิต มีอัตราการขายเฉลี่ย 5% ต่อเดือน โดยมีระดับราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 89,700 บาทต่อตารางเมตร  โดยในปี 2563 คอนโดในย่านจรัญฯ มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (capital gain) จากการซื้อมาและขายออกไปเฉลี่ยอยู่ที่ ที่ 8% ต่อปี  ในขณะที่ผู้บริโภคในทำเลนี้มีกำลังซื้อสูง  ทำให้ LPN ตัดสินใจเปิดตัวโครงการใหม่ในทำเลนี้ ในระดับราคาที่จับต้องได้ (Affordable Price) พร้อมกับฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบทุกโจทย์ความต้องการ เพื่อให้ลูกค้าสามารถมีโอกาสมีบ้านเป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น   “ลุมพีนี วิลล์ จรัญ-ไฟฉาย” ถูกออกแบบภายใต้แนวคิด เพื่อชีวิตที่ “พอดี” อย่างเช่นห้องสตูดิโอที่มีขนาด 25 ตารางเมตร มากกว่าห้องสตูดิโอมาตรฐาน (24 ตารางเมตร) ที่สามารถปรับฟังก์ชั่นการใช้งานได้อย่างหลากหลาย ทั้งพื้นที่ทำงาน และพักผ่อน (Working & Relaxing Space) และห้องขนาด 1 ห้องนอน ถูกออกแบบให้รองรับกับการใช้ชีวิตที่บ้านที่มากขึ้นทั้งการทำงาน และการพักผ่อน (Work & Life Balance) พร้อมกับออกแบบหน้าต่างให้มีขนาดที่กว้างขึ้นเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ เพิ่มความโปร่งโล่ง ให้ได้รับแสงธรรมชาติอย่างเต็มที่ ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคาร   การออกแบบโครงการคำนึงถึงรูปแบบการอยู่อาศัยที่สะดวกสบายผ่านการออกแบบโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมในแบบ “Passive Design” ให้แต่ละอาคารมีโครงสร้างเป็น “L-Shape”  และออกแบบภูมิสถาปัตย์ฯ ให้แต่ละอาคารไม่ทับซ้อนกัน  เพื่อเปิดมุมมองให้ห้องพักทุกห้องสามารถมองเห็นทัศนียภาพภายนอกอาคารได้ทุกห้อง  และทำให้เกิดทิศทางลมระหว่างอาคาร ช่วยประหยัดการใช้พลังงานในอาคารอีกด้วย   นอกจากนี้ ตัวโครงการยังถูกออกแบบให้มีพื้นที่สีเขียวภายใต้แนวคิดของ “Playground” ขนาดใหญ่ ให้สามารถใช้งานได้จริงโดยแบ่งพื้นที่เป็น สวนสำหรับการออกกำลังกาย สวนพักผ่อน สวนผักและผลไม้แบบ Organic เพื่อส่งเสริมกิจกรรมและอาหารเพื่อสุขภาพ สวนที่อยู่เหนือชั้นอาคารจอดรถที่ช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร และติดตั้ง Solar Cell เพื่อใช้ในการผลิตพลังงานทดแทนสำหรับระบบไฟฟ้าในพื้นที่สวนของโครงการ ขณะที่ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2564 นี้  LPN มีแผนเปิดตัวโครงการ “บ้าน 365 เมืองทอง” มูลค่าโครงการ 2,500 ล้านบาท เป็นบ้านพรีเมี่ยมระดับราคา 9-19 ล้านบาท  บนทำเลใจกลางเมืองทองธานี  ติดทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีชมพู  ที่ออกแบบภายใต้แนวคิดหลัก “Simple Luxury” เรียบหรู สง่างาม เป็นส่วนตัว ผสมผสานการออกแบบของสถาปัตยกกรรมสไตล์ Modern ประกอบด้วย  ทาวน์โฮมสูง 3 ชั้น  บ้านแฝดสูง 3 ชั้น และโฮมออฟฟิศ สูง 4 ชั้น  รวมทั้งสิ้น 190 หลัง   นายโอภาส กล่าวอีกว่า LPN วางเป้าหมายยอดขาย สำหรับการเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาสสองของปี  ไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายยอดขายในปี 2564 นี้มูลค่า 10,000 ล้านบาท และในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้  LPN มีแผนเปิดโครงการบ้านพักอาศัยอย่างต่อเนื่องในอีกหลายทำเล อาทิ ลาดพร้าว 101 และ บางบัวทอง  เพื่อตอบโจทย์ความ ต้องการของผู้บริโภค ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 จะยังคงมีอยู่ แต่ด้วยมาตรการการดูแลผู้เข้าเยี่ยมชมโครงการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Healthy) ลดการสัมผัส (Touchless)  และการเว้นระยะห่าง(Social Distancing) โดยการนัดหมายล่วงหน้า รวมถึงการเยี่ยมชมโครงการโดยใช้ Virtual Visit  ที่ลูกค้าสามารถขอชมห้องตัวอย่างออนไลน์เพื่อการตัดสินใจเบื้องต้นได้  
อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ กู้ซื้อบ้านและคอนโด เดือนมิถุนายน 64 แบงก์ไหน? ให้ดีลดีสุด

อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ กู้ซื้อบ้านและคอนโด เดือนมิถุนายน 64 แบงก์ไหน? ให้ดีลดีสุด

อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ อัพเดทดอกเบี้ย สินเชื่อบ้าน สำหรับรีไฟแนนซ์ ประจำเดือนมิถุนายน 2564 จาก 11 แบงก์ ทั้งรัฐและเอกชน ดอกเบี้ยต่ำสุดๆ ปีแรก 0.59%    การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่อง ได้ส่งผลกระทบไปในวงกว้าง ทั้งการใช้ชีวิต การดำเนินธุรกิจ และเศรษฐกิจในภาพรวม ทำให้หลายคนอาจจะได้รับผลกระทบ มีรายได้ลดลง ซึ่งหากคนนั้นมีภาวะหนี้สินที่ต้องแบบรับเป็นประจำทุกเดือน ก็อาจจะได้รับความลำบากและเดือดร้อน โดยเฉพาะหากมีหนี้ก้อนใหญ่ อย่างสินเชื่อบ้าน   แนวทางหนึ่งในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และเป็นการบริหารหนี้ที่ช่วยทำให้ภาระการผ่อนชำระมีสภาพคล่องขึ้นกว่าเดิม หลายคนเลือกใช้วิธีการรีไฟแนนซ์ เพื่อลดอัตราดอกเบี้ย และลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระให้ลดน้อยลง แม้ว่าบางกรณีอาจจะทำให้ระยะเวลาผ่อนชำระขยายต่อออกไปนานขึ้นก็ตาม   โดยแต่ละธนาคารจะมีแคมเปญ และอัตราดอกเบี้ย ที่ออกมากระตุ้นตลาด ดึงลูกค้าจากธนาคารอื่น ให้มาลูกค้าของตนเองที่หลากหลาย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์มีอัตราเท่าไรบ้าง ลองไปเช็คดูกันเผื่อจะเป็นแนวทางเลือกให้เราได้ลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระบ้านให้ลดน้อยลงได้บ้าง 1.ธนาคารกรุงเทพ สำหรับการธนาคารกรุงเทพ มีสินเชื่อบ้านบัวหลวง ที่ให้บริการรีไฟแนนซ์บ้าน  กรณีหลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยทั่วไป เฉพาะวงเงินอนุมัติตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป 3 ทางเลือกด้วยกัน ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 กรณีทำประกัน Home 1st Plus ดอกเบี้ย 2.00% กรณีไม่ทำประกัน  อัตราดอกเบี้ย 2.25% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย MRR-3.00 =2.75​% ​ หลังจากนั้น ​MRR-1.50% = 4.25​%​ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.00-3.08% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 3.51-3.56% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 กรณีทำประกัน Home 1st Plus ดอกเบี้ย MRR-3.625% เท่ากับ ​​ % กรณีไม่ทำประกัน ดอกเบี้ย MRR-3.375% =2.375 % ปีที่ 2 ดอกเบี้ย MRR-3.375% = 2.375% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% =4.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.92-3.00% เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 3.47-3.52% ทางเลือกที่ 3 ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1 กรณีทำประกัน Home 1st Plus ดอกเบี้ย MRR-3.125% = 2.625% กรณีไม่ทำประกัน ดอกเบี้ย MRR-2.875% = 2.875% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย MRR-2.875% 2.875% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% = 4.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.25-3.33% เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 3.67-3.72%   หมายเหตุ -วงเงินกู้สูงสุด เท่ากับ 100% ภาระหนี้คงค้าง และไม่เกินอัตราส่วนสินเชื่อสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย -ระยะเวลากู้สูงสุด 30 ปี (เฉพาะพนักงานประจำสูงสุด 35 ปี) รวมอายุผู้กู้สูงสุด 65 ปี -ค่าธรรมเนียม คิดค่าสำรวจและประเมินหลักประกัน 3,210 บาท (ธนาคารจะคืนค่าสำรวจและค่าประเมินหลักประกันหลังจากลูกค้าได้รับอนุมัติและเบิกใช้สินเชื่อแล้ว) -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลาดอายุสัญญาวงเงินกู้ 2 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี -รายละเอียดและเงื่อนไขอื่น โปรดสอบถามจากธนาคาร 2.ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ดังนี้ แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 1.88% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.55%= 4.67% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% = 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.81% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.05% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% = 4.72% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% เท่ากับ 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.08% ทางเลือกแบบธนาคารออกค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 1.88% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.85% เท่ากับ 5.37% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% เท่ากับ 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.04% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.13% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.80% เท่ากับ 5.42% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% เท่ากับ 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.13% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.16%   หมายเหตุ การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ* : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ 1.ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี 2.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ หรือ ระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ **ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน ***อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,500 บาท/เดือน เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด การพิจารณาสินเชื่ออยู่ภายใต้ดุลยพินิจของธนาคาร ยื่นสมัครสินเชื่อ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 MRR = 6.22% ต่อปี (ณ 1 เม.ย. 2564) 3.ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี มีแคมเปญการให้บริการสินเชื่อรีไฟแนนซ์กับลูกค้า คือ  ฟรี! ค่าประเมินหลักทรัพย์ ฟรี! ค่าจดจำนอง ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. – 31 ส.ค. 64 โดยมีรายละเอียด ดังนี้​ สำหรับวงเงินตั้งแต่ 1 -1.5 ล้านบาท ทางเลือก 1 ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.75% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-1.85% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.66% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.90% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-3.15% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.65% ทางเลือกที่ 3* ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.50% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-1.35% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.30% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.78% สำหรับวงเงินตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.75% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-2.15% = 3.9% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.75% = 4.3% หลังจากนั้น MRR-1.75% = 4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.45% ทางเลือก 2 ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.75% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 2.20% ปีที่ 3-5 ดอกเบี้ย MRR-1.75% = 4.3% หลังจากนั้น MRR-1.75% =4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.40% ทางเลือกที่ 3 ปีที่ 1-5  ดอกเบี้ย MRR-2.70% = 3.35% หลังจากนั้น MRR-2.70% = 3.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.35% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.35% ทางเลือกที่ 4* ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.50% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-1.65% = 4.4% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.75% = 4.3% หลังจากนั้น MRR-1.75% = 4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.10% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.57% สำหรับวงเงินกู้อนุมัติ 3 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-5 อัตราดอกเบี้ย 3.50% หลังจากนั้น MRR-1.75%= 4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.50% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.67% หมายเหตุ *เฉพาะลูกค้าที่ซื้อ MRTA/MLTA ตามเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น จึงจะสามารถเลือกรับดอกเบี้ยทางเลือกฟรีค่าจดจำนองได้โปรดอ้างอิงตาม Product Catalog_ประกัน (สาขากลาง) / Product Catalog_ประกัน(สาขาภูมิภาค) และ ใบข้อเสนอ (QE) ** อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 1.5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 1.5 ล้านบาท และฐานวงเงินกู้ 3 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปี ในกรณีที่ลูกค้าซื้อ MRTA/MLTA หาก ค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -กรณีลูกค้าเลือกรับอัตราดอกเบี้ยทางเลือกที่ 3 (วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1.5 ล้านบาท) หรือทางเลือกที่ 4 (วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป) ฟรีค่าจดจำนองตามเงื่อนไขที่กำหนด -กรณีลูกค้าเลือกรับอัตราดอกเบี้ยทางเลือกที่ 1-2 (วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1.5 ล้านบาท) หรือทางเลือกที่ 1-3(วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป) หรือทางเลือกที่ 5(วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป) รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปีเฉพาะในปีที่ 1 ทั้ง 2 กรณีลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้1) -รายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม สอบถามได้จากธนาคาร​ 4.ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย ให้บริการสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ดังนี้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว 3 ปีแรก ลดสูงสุด 1.50% จากอัตราดอกเบี้ยเดิมของลูกค้า* หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50%** หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยลอยตัว 3 ปีแรก ลดสูงสุด 1.50% จากอัตราดอกเบี้ยเดิมของลูกค้า เมื่อคำนวณแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 3.75% ในช่วง 3 ปีแรก *อัตราดอกเบี้ยเดิมของลูกค้า ให้อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยท้ายของสัญญากู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเดิม (ฉบับหลัก) ของลูกค้า ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าได้ปรับลดดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินเดิมมาแล้ว ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยท้ายของบันทึกข้อตกลงแนบท้ายเพิ่มเติมของสัญญากู้เงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (ฉบับหลัก) **หากอัตราท้ายดอกเบี้ยเดิมของลูกค้าต่ำกว่า MRR - 1.50% ให้ได้เท่ากับอัตราท้ายเดิมของลูกค้า แต่ต้องไม่ต่ำกว่า MRR - 2.00% -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม 0.25% ในปีแรก หากทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อบ้านตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด -สำหรับวงเงินกู้เพิ่มจากยอดสินเชื่อบ้านคงค้างของวงเงินสินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ ปรับอัตราดอกเบี้ยเฉพาะวงเงินส่วนเพิ่มขึ้นอีก 0.50% ของอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ ตลอดอายุสัญญากู้ 5.ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารเกียรตินคิน มีแคมเปญ KKP Home Loan Refinance สำหรับลูกค้าบ้านรีไฟแนนซ์ ดังนี้ ทางเลือก ดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.590% ปีต่อไป MLR-1.75% = 4.775% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.790% ปีต่อไป MLR-1.75% = 4.775% ทางเลือก ดอกเบี้ยแบบลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3  ดอกเบี้ย 2.790% ปีต่อไป MLR-1.75% = 4.775% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3  ดอกเบี้ย 2.990% ปีต่อไป MLR-1.75% หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิง​ เช่น อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา​ (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยจะประกาศไว้​ ณ สถานที่ทำการให้บริการและเว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที 18 สิงหาคม​ 2563 เท่ากับ 6.525% ตอ่ ปี 3) เลือก​ทําประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA)​ ผ่านธนาคาร ทุนประกันภัยเท่ากับวงเงินกู้โดยมรีะยะเวลาเอาประกันภัย ​​0 ปี กรณีที่ระยะเวลาการกู้ไม่ถึง 10 ปีให้ระยะเวลาเอาประกันภัยเท่ากับระยะเวลาการกู้ 4.กรณี Refinance ไปสถาบันการเงินอื่นก่อนครบ​ 3 ปีแรก คิดค่า Prepayment Penalty 3% ของเงินต้นคงค้าง​ 5.กรณีเลือกใช้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแบบฟรีค่าจดจำนอง หากลูกค้า​ Re-Finance หรือชำระปิดบัญชีก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ทุกกรณี ลูกค้าต้องชำระคืนค่าจดจํานองที่ธนาคารเคยสำรองจ่ายให้ แก่ธนาคาร​ 6.ค่าประเมินหลักประกันเริ่มต้น​ 3,210 บาท ค่าอากรแสตมป์ ร้อยละ​ 0.05 ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน​ 10,000 บาท) 7.เบี้ยประกันอัคคภัยเป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด โดยผู้กู้สามารถเลือกทําประกันกับบริษัทประกันภัยที่เชื่อถือ​ (a) อัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุดต่อ หลักประกัน 100% ของราคาประเมิน (b) ระยะเวลากู้สูงสุด​ 30 ปี (อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน  65 ปีสําหรับพนักงานเงินเดือนประจํา และไม่เกิน 70 ปีสําหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) 6.ธนาคารซีไอเอ็มบี ธนาคารซีไอเอ็มบี มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์ และขอวงเงินเพิ่ม สำหรับพนักงานประจำ รายได้ 30,000 บาทขึ้นไป แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  (MRR-3.66%) = 3.69% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย (MRR-2.00%) =5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.69% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.93% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย   (MRR-3.36%) = 3.99% หลังจากนั้น (MRR-2.00%) = 5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.99% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.01% สำหรับพนักงานเงินเดือน 15,000 บาท หรือเจ้าของกิจการรายได้ 30,000 บาท ขึ้นไป ทางเลือก 2 แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-3.36% = 3.99% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-2.00% = 5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.99% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.01% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-3.06% = 4.29% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-2.00% = 5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.29% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.08% พนักงานประจำรายได้ 15,000 บาท หรือเจ้าของกิจการรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป ทางเลือก 1 แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-2.45% = 4.9% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-1.85% = 5.5% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.35% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-2.15% =5.2% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-1.85% = 5.5% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.20% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.43%   หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR=7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 2563) 7.ธนาคารทีทีบี ธนาคารทีทีบีมีแคมเปญสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์  ดอกเบี้ยพิเศษ คงที่ 2 ปีแรก 1.89% ต่อปี หรือเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.69% ต่อปี สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ทางเลือก 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 1.89% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย  (MRR-1.93%)= 4.35% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย (MRR-1.63%)=4.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.69% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.98% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย   (MRR-3.58%) = 2.7% หลังจากนั้น (MRR-1.63%)= 4.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.00% ทางเลือก 3 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.25% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.65% MRR-1.63% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีดอกเบี้ย  3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.10% ทางเลือกที่ 4 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย % (MRR-3.23%)= 3.05% หลังจากนั้น 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา  4.12% สมัครไม่ครบผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.89% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.56% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.44% ทางเลือกที่ 6 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย % (MRR-2.63%) = 3.65% หลังจากนั้น 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.49% หมายเหตุ : -อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ย ลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 เมษายน 2564 -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้าน (MRTA) ไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ ทำเพื่อประโยชน์หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นกับผู้กู้ในขณะที่ยังชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของผู้กู้และธนาคาร และไม่มีผลต่อการ พิจารณาสินเชื่อ สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1) สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน สไมล์ โฮม หรือ สไมล์ โฮม พลัส 2) สมัครใช้บริการ หักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ทีทีบีเพื่อผ่อนช าระสินเชื่อบ้าน 3) สมัครบัตรเดบิต ทีทีบี (กรณีที่มีบัตรเดบิต ทีทีบีแล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ช่วยคุณประหยัดดอกเบี้ยได้มากขึ้น ผ่อนต่อเดือนน้อยลง และเป็นเจ้าของบ้านได้เร็วขึ้น เมื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับทีทีบี รับข้อเสนอพิเศษ ด้วยอัตราดอกเบี้ยให้เลือก 2 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท  รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ นาน 3 ปี  ฟรี! ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท  ฟรี! ค่าจดทะเบียนจำนอง มูลค่า 1% ของเงินกู้สูงสุด 200,000 บาท  ฟรี! ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรมจำนอง แบบที่ 2 สมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท ฟรี! ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท ฟรี! ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรมจำนอง 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อทั่วไปที่รีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินอื่น ดังนี้ แบบไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.15% ปีต่อไป MRR-0.72%= 5.275% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.15% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.242% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.90% ปีต่อไป MRR-0.72% = 5.275% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.174% หมายเหตุ -กรณีใช้ดอกเบี้ย​แบบทําประกัน​ Credit Life 70% กําหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลาเอาประกัน 70% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา โดยกําหนดให้เอาระยะเวลาขั้นต่ำ 10  ปี (กรณีระยะเวลากู้ตามสัญญาต่ำ​10 ปี กําหนดให้ระยะเวลาเอาประกันเท่ากับระยะเวลากู้ตามสัญญา) ​-ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ รับประกันภัยโดย บมจ. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต บริษัทนเครือกลุ่มเอฟดับบลิวดี หากต้องการสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับการประกันภัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์บริการลูกค้า โท​ร. 1315 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น. -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข ​​ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุก​ ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น ​การพิจารณารับประกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันภัย ของบริษัทประกันภัย -อัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารไทยพาณิชย์ เท่ากับ 5.995% ต่อปี ​(ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563) ซึ่งอาจะเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศธนาคาร -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ระบุในตารางเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ​ซึ่งอาจะมีความแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีลูกค้าบอกเลือกประกันชีวิต หรือขอเวนคืนกรมธรรม์ หรือทำประกันไม่ครบกำหนดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ​ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยวงเงินกู้ เป็นอัตราดอกเบี้ยทั่วไป  ตามประกาศธนาคาร ระยะเวลากู้ตามสัญญา วงเงิน ระยเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย คุณสมบัติ เอกสารปรกอบการพิจารณา และการอนุมัติเป็นไปตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด 9.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. มีสินเชื่อบ้านสุขสันต์ (Re-in) เพื่อให้ลูกค้าเป็นทางเลือก โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ สำหรับวงเงินให้กู้รวมทุกบัญชี ภายใต้หลักประกันเดียวกัน ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.125% (MRR-3.15%) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.5% (MRR-2.65%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.65% (MRR-0.5%) (สำหรับลูกค้ารายย่อย) สำหรับวงเงินให้กู้รวมทุกบัญชี ภายใต้หลักประกันเดียวกัน ตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.115% (MRR-3.16%) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.5% (MRR-2.65%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.65% (MRR-0.5%) (สำหรับลูกค้ารายย่อย) หมายเหตุ -นิยามคำว่า “อาคาร” หมายถึง บ้านเดี่ยว บ้านแฝดทาวน์เฮ้าส์ และอาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย ยกเว้นแฟลต และบ้านเช่า -ผู้กู้ต้องมีประวัติเป็นลูกหนี้ที่ดีจากสถาบันการเงินเดิมไม่น้อยกว่า 12 เดือน และไม่ค้างชำระหนี้ตามที่ธนาคารกำหนด ยกเว้น ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ร้อยละ 0.1 ของวงเงินทำนิติกรรม  ยื่นคำขอกู้และอนุมัติตั้งแต่วันที่  4 มกราคม 2564 ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2564   ทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2564  (ทั้งนี้ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว) 10.ธนาคารยูโอบี สำหรับธนาคารยูโอบี มีแคมเปญสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ UOB Home Loan - รีไฟแนนซ์ ​(รวมวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์​)  สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเขื่อตั้งแต่ ​1 เม.ย. 64 - 30 มิ.ย. 64 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายในวันที่ 30 ก.ค. 64 ทางเลือก 1 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.29% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.35% (MRR-4.06%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.29% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.77% ทางเลือกที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.49% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย % (MRR-3.86%) หลังจากนั้น 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.49% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.85% หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ​ (MRTA) ผ่านธนาคารยูโอบี -ทุนประกันเต็มวงเงินกู้และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ ​10 ปีหรือ​ -ทุนประกันขั้นต่ำ ​80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มระยะเวลากู้​ 2.อัตราดอกเบี้ย สำหรับสินเชื่อรีไฟแนนซ์วงเงิน​ 1 ล้านบาทอายุสัญญา​ 15 ปี MRR = 7.35% ต่อปีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้สำหรับโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับทำสัญญากู้ยืม​ของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย​ 3.อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับวงเงินเพิ่มไม่เกิน​ 50% ของวงเงินกู้รวมทั้ง ทั้งนี้ไม่นับรวมวงเงินกู้สินเชื่ออื่นเพื่อชำระค่าเบี้ย​ประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินชื่อ ​ (MRTA) วงเงินกู้รีไฟแนนซ์สูงสุด รวมส่วนกู้เพิ่มต้องไม่เกิน 95% ของราคาประเมิน ขึ้นอยู่กับรายได้ ประเภทของลูกค้า / ประเภทและที่ตั้งของหลักประกัน/ ราคาหลักประกัน / จำนวนสัญญากู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้า วงเงินกู้รีไฟแนนซ์อนุมัติ รวมส่วนกู้เพิ่มต้องไม่เกินวงเงินกู้รีไฟแนนซ์ 11.ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีแคมเปญสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยต่ำ!! เพียง 0.59% ต่อปี ดังนี้ แบบที่ 1 สำหรับผู้กู้รายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.59% ต่อปี แบบที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-6.76% = 0.59% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.37% = 3.98% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.67% แบบที่ 2 ปีที่ 1 ดอกเบี้ยคงที่ 0.79% หรือ ผ่อนล้านละ 3,5000 บาท ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยคงที่ MRR-3.32% = 4.03% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.74% แบบที่ 3 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย MRR-5.35%=2.00% ปีที่ 3 MRR-3.55%=3.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 4 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10% หรือ ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-3.45% = 3.90% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.64% แบบที่ 5 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-4.75% = 2.60% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 6 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยคงที่ 2.90% หรือ ผ่อนล้านละ 3,500 บาท ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.82% ข้อกำหนดและเงื่อนไข 1.สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า Refinance ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.59% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรืออัตราดอกเบี้ย 0.79% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2564 2.วงเงินกู้เริ่มต้น 1.0 ล้านบาท และราคาประเมินหลักประกัน (แนวราบ) ไม่น้อยกว่า 2.0 ล้านบาท หรือ (แนวสูง) ไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านบาท (โครงการจัดสรรทุกโครงการ) 3.อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขดังกล่าว สำหรับหลักประกันที่ได้รับการจัดสรรทุกโครงการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ยกเว้น ที่ดินว่างเปล่า, อาคารพาณิชย์ 4.กรณีลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1% ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ภายใน 5 ปีแรกทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 5.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี 6.ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำล้านละ 3,500 บาท ได้ในแบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้น 7.อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.350% (ณ วันที่ 1 เม.ย. 64) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย 8.อัตราดอกเบี้ย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด   บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดท ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน-คอนโด เดือนมิถุนายน 2564  
มองภาวะตลาดอสังหาฯ ภาคเหนือปี 64 & อินไซต์ข้อมูลปี 63

มองภาวะตลาดอสังหาฯ ภาคเหนือปี 64 & อินไซต์ข้อมูลปี 63

แนวโน้มตลาดอสังหาฯ 4 จังหวัดภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก และตาก ในปี 64 ยังต้องเผชิญความท้าทาย กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดอีก 1-3 ปี ตลาดถึงจะกลับมาฟื้นตัว ขณะที่ซัพพลายช่วงปี 63 ยังเหลือขายกว่า 16,499 ยูนิต   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยถึงผลการสำรวจการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัดสำคัญ ได้แก่  จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก และตาก ช่วงครึ่งหลังปี 2563 พบว่า ​มีจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขาย ณ ครึ่งหลัง ปี 2563 (Total Supply) ทั้งหมด 407 โครงการ จำนวน 18,570  ยูนิต คิดเป็นมูลค่ารวม 68,112 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร  354 โครงการ  15,644  ยูนิต มูลค่า 59,432 ล้านบาท และโครงการอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) จำนวน  53 โครงการ   2,926 ยูนิต มูลค่า  8,679  ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวมียูนิตเหลือขายจำนวน  16,499  ยูนิต และในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่จำนวน  2,071 ยูนิต สรุปภาวะตลาดอสังหาฯ จ.เชียงใหม่ ครึ่งหลังปี 63 -จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขายทั้งสิ้น 10,955 ยูนิตลดลง 4.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 8,560 ยูนิต หรือสัดส่วน 78.1% เป็นโครงการอาคารชุด 2,395 ยูนิต หรือสัดส่วน 21.9% -จำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขาย เป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 เพียง 1,239 ยูนิต มีอัตราลดลง 20.3% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 -ช่วงครึ่งหลังปี 63 จ.เชียงใหม่​ มียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 9,501 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้น  3.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 -ช่วงครึ่งหลังปี 63 มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 1,454 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราลดลงถึง 37.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -สำหรับยูนิตเหลือขาย (Inventory) ในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนทั้งสิ้น 7,517 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 9,501 ยูนิต และสัดส่วน 79.1% เป็นโครงการบ้านจัดสรร -เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 3,383 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 35.6% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด -ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 517 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 35.55% แนวโน้มตลาดอสังหาฯ จ.เชียงใหม่ ปี 64 แนวโน้มตลาดอสังหาฯ ของจ.เชียงใหม่ในปี 2564 ยังคงมีภาวะชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2563 ผลจาก โควิด-19 ช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ได้ทำให้ตลาดทั้งปี 2564 มีภาวะชะลอตัวเช่นเดียวกับปี 2563 ตลาดจะเริ่มฟื้นตัวครึ่งหลัง แต่ยังไม่ดีขึ้นมากต้องรอถึงปี 2565 – 2567 ถ้าซัพลลายใหม่ปรับตัวลงคาดว่า ซัพพลายเหลือขายจะทรงตัว หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2563 เพียงเล็กน้อย สรุปสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ จ.เชียงราย ครึ่งหลังปี 63 -จังหวัดเชียงรายมีจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขายรวม 3,337 ยูนิต เพิ่มขึ้น 10.9% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 3,268 ยูนิต หรือสัดส่วน 97.9% เป็นโครงการอาคารชุด 69 ยูนิต หรือสัดส่วน 2.1% -โครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 มีเพียง 738 ยูนิต มีอัตราลดลง 40.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 -มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 437 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราเพิ่มขึ้น 46.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -มียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 2,900 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้น 7.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 -สำหรับยูนิตเหลือขาย (Inventory) ในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดเชียงราย มีจำนวนทั้งสิ้น 2,864 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 2,900 ยูนิต และสัดส่วน 98.8% เป็นโครงการบ้านจัดสรร -เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 1,111 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 38.31% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด -ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 139 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 31.8% แนวโน้มตลาดอสังหาฯ จ.เชียงรายปี 64 ในปี 2564 แนวโนมตลาดอสังหาฯของ จ.เชียงราย ยังคงมีภาวะชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2563 ผลจาก โควิด-19 ช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ได้ทำให้ตลาดทั้งปี 2564 มีภาวะชะลอตัวเช่นเดียวกับปี 2563 ตลาดจะเริ่มฟื้นตัวครึ่งหลัง แต่ยังไม่ดีขึ้นมากต้องรอถึงปี 2565 – 2567 ถ้าซัพพลายใหม่ปรับตัวลงคาดว่า ซัพพลายเหลือขายจะลดลง จากปี 2563 สรุปสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ ครึ่งหลังปี 63 -จังหวัดพิษณุโลกมีจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขายรวม 3.422 ยูนิต เพิ่มขึ้น 31.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 3,076 ยูนิต หรือสัดส่วน 89.9% เป็นโครงการอาคารชุด 346 ยูนิต หรือสัดส่วน 10.1% -จำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขาย แบ่งเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในครึ่งหลังปี 2563 จำนวน เพียง 194 ยูนิต ซึ่งทั้งหมดเป็นโครงการบ้านจัดสรร โดยเพิ่มขึ้น 7.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 -สำหรับยูนิตขายได้ใหม่ มีจำนวน 142 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราเพิ่มขึ้น 6.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -มียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 3,280 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้น 33.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 -สำหรับยูนิตเหลือขาย (Inventory) ในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดพิษณุโลก มีจำนวนทั้งสิ้น 3,280 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 2,955 ยูนิต และสัดส่วน 90.1% เป็นโครงการบ้านจัดสรร -เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 1,171 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 35.70% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด -ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 60 ยูนิต ทิศทางตลาดอสังหาฯ จ.พิษณุโลก ปี 64 ทิศทางตลาดอสังหาฯ ในปี 2564 ของ พิษณุโลก ยังคงมีภาวะชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2563 ผลจากโควิด-19 ช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ได้ทำให้ตลาดทั้งปี 2564 มีภาวะชะลอตัวเช่นเดียวกับปี 2563 ตลาดจะเริ่มฟื้นตัวครึ่งหลัง แต่ยังไม่ดีขึ้นมากต้องรอถึงปี 2565 – 2567 ถ้าซัพพลายใหม่ปรับตัวลงคาดว่าซัพพลายเหลือขายจะลดลง จากปี 2563 สรุปภาวะตลาดอสังหาฯ จ.ตาก ครึ่งหลังปี 63 -จังหวัดตากมีจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขายรวม 856 ยูนิต เพิ่มขึ้น 10.6% จากช่วงเดียวกันของปี 2562  ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการบ้านจัดสรร 740 ยูนิต หรือ 86.4% เป็นโครงการอาคารชุด 116 ยูนิต หรือสัดส่วน 13.6% -จำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขายในครึ่งหลังปี 2563 มีโครงการเปิดขายใหม่ เพียง 27 ยูนิต มีอัตราลดลง 89.8% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 -ช่วงครึ่งหลังปี 63 มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 38 ยูนิต ซึ่งการขายได้ใหม่นี้มีอัตราเทียบเท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อน -มียูนิตเหลือขายสะสมจำนวน 818 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้น 11.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 -สำหรับยูนิตเหลือขาย (Inventory) ในครึ่งหลัง ปี 2563 ในจังหวัดตาก มีจำนวนทั้งสิ้น 856 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 740 ยูนิต และสัดส่วน 86.4% เป็นโครงการบ้านจัดสรร -เมื่อจำแนกตามราคาพบว่ายูนิตเหลือขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับราคา 1.51 – 2.00 ล้านบาท โดยมีจำนวน 290 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 35.45% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด -ขณะที่ยูนิตขายได้ใหม่มากที่สุดก็ยังคงอยู่ในช่วงราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 17 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 2.07% แนวโน้มตลาดอสังหาฯ จ.ตาก ปี 64 แนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในปี 2564 ของ จ.ตาก ยังคงมีภาวะชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2563 ผลจาก โควิด-19 ได้ทำให้ตลาดทั้งปี 2564 มีภาวะชะลอตัวเช่นเดียวกับปี 2563  
อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนมิถุนายน 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนมิถุนายน 2564

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน เผลอแป๊ปเดียวเราก็เดินทางมาสู่เดือนมิถุนายน 2564 แล้ว ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีคลัสเตอร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็ตาม เพราะจำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ส่วนตอนนี้ ใครที่กำลังมองหาซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม เพื่ออยู่อาศัย ปีนี้ก็ยังนับว่าเป็นปีทองของผู้ซื้อ เพราะแคมเปญการตลาดของผู้ประกอบการหลายรายยังคงมีออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นช่วงเวลาที่ดีหากใครที่มีความพร้อมและความสามารถในการจะซื้อบ้านสักหลังหนึ่ง เพราะแคมเปญลด แลก แจก แถมยังมีเยอะ แถมดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงินก็ยังถือว่าต่ำ แม้ว่าธนาคารบางแห่งอาจจะเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อบ้าง แต่หากเรามีคุณสมบัติครบถ้วนก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา ทีนี้เรามาลองดูกันว่าแต่ละธนาคาร มีอัตราดอกเบี้ยสำหรับกู้ซื้อบ้านใหม่ ในเดือนมิถุนายน 2564 อัตราเท่าไรกันบ้าง 1.ธนาคารกรุงเทพ สำหรับการธนาคารกรุงเทพ มีสินเชื่อบ้านบัวหลวง ที่ให้บริการลูกค้า 2 กลุ่ม คือ ลูกค้าพนักงานที่มีรายได้ประจำ และลูกค้าทั่วไป อัตราดอกเบี้ยเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท  (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1   ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% (MRR-1.00%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.50% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 4% (MRR-1.75%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4% (MRR-1.75%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.45%   อัตราดอกเบี้ยเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25%  (MRR-1.50%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.33% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.38% อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% (MRR-1.00%) หลังจากนั้น 5.25% (MRR-0.50%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.72% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.50%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.50%) หลังจากนั้น 5.25% (MRR-0.50%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.70% อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-1.25%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.41% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 3.875% (MRR-1.875%) หลังจากนั้น 5% (MRR-0.75%) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 4.38% -กรณีวงเงิน ตั้งแต่ 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย คงที่ปีแรก 4.75% หลังจากนั้น คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีวงเงินต่ำกว่า ​500,00 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันสิทธิการเช่า ​คิดอัตราดอกเบี้ย​ MRR-0.75% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันที่ดินเปล่าเพื่อการอยู่อาศัย คิดอัตราดอกเบี้ย ​MRR-0.25% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา   หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยนี้สําหรับผู้ที่ยื่นคําขอสินเชื่อพร้อมเอกสารครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 – 30 มิ.ย. 64 โดยผู้กู้ต้องลงนามในสัญญากู้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุมัติสินเชื่อ​และจดทะเบียนจำนองพร้อมเบิกเงินกู้งวดแรกหรือทั้งหมดภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญา -พนักงานที่มีรายได้ประจำ หมายถึง พนักงานที่มีรายได้หลัก หรือ มีความสามารถในการชำระคืนหลัก จากรายได้ประจำ -รูปแบบการชำ​ระแบบคงที่ เลือกผ่อนได้ทุกทางเลือก/รูปแบบการผ่อนชำ​ระแบบขั้นบันได เลือกผ่อนได้เฉพาะทางเลือกที่ 1 -อัตราส่วนวงเงินกู้สูงสุดและมูลค่าหลักประกันให้เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วนั ที่ 21 พ.ค.63 เท่ากับ 5.75% ต่อปี -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ​​ 2.ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อสำหรับบ้านใหม่ แคมเปญ สินเชื่อบ้านกรุงไทย…สุขใจถ้วนหน้า โดยไม่คิดค่า  ธรรมเนียมยื่นกู้ ดังนี้ การกู้เงินโดยทำประกัน  คิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 3.77% (MRR-2.45%) ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.77% (MRR-2.45%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72%  (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.73% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.02% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 3.92% (MRR-2.30%) ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.92% (MRR-2.30%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.83% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.05% สินเชื่อสำหรับการกู้ซื้อบ้านที่ธนาคารออกค่าจดจำนองให้** และ ฟรี ค่าธรรมเนียมยื่นกู้ แบบทำประกัน  ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 4.27% (MRR-1.95%) ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.27% (MRR-1.95%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.06% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.13% แบบไม่ทำประกัน  ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.64% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 4.42% (MRR-1.80%) ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.42% (MRR-1.80%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.72% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.16% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา = 4.16% หมายเหตุ การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ* : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ หรือ ระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ **ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน ***อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,500 บาท/เดือน เงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด การพิจารณาสินเชื่ออยู่ภายใต้ดุลยพินิจของธนาคาร ยื่นสมัครสินเชื่อ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 MRR = 6.22% ต่อปี (ณ 1 เม.ย. 2564) 3.ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี มีสินเชื่อบ้านกรุงศรี เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (บ้านใหม่/บ้านมือสอง) สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยมีแคมเปญฟรี ค่าธรรมเนียมสำรวจ และค่าประเมิน สำหรับการกู้ในวงเงิน 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.9% ( MRR-3.15%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.05% (MRR-2.00%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป 4.95% (MRR-1.10%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.97% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.39% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.50% เดือนที่ 7-12 ดอกเบี้ย MRR-1.60% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.7% (MRR-1.35%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 4.95% (MRR-1.10%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.21% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.52% สำหรับการกู้เงินในวงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.55%  (MRR-3.50%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.3%  (MRR-2.75%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 4.7% (MRR-1.35%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.52% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.02% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.25% เดือนที่ 7-12 ดอกเบี้ย 4.1% (MRR-1.95%) ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.3% (MRR-1.75%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป 4.7%  (MRR-1.35%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.89% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.23%   หมายเหตุ * อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปี ในกรณีที่ลูกค้า ซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสาหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เฉพาะในปีที่ 1 จากอัตราดอกเบี้ยทุกทางเลือก ลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้ 1.ผลิตภัณฑ์ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการได้แก่ MRTA : แผนกรุงศรี เซฟตี้โลน 1 พลัส หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 1 หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 2 / MLTA : กรุงศรี รักบ้าน รักคุณ หรือกรุงศรี รักบ้าน รักคุณ พลัส เท่านั้น 2.กรณีผู้กู้หลักเป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ ประจำ​ต้องซื้อ MRTA/MLTA 100% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 70% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความ คุ้มครองไม่ต่ำกว่า 20 ปี 3.กรณีผู้กู้หลักเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องซื้อ MRTA/MLTA อย่างน้อย 80% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือซื้อย่างน้อย 50% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี 4.กรณีมีผู้กู้ร่วม สามารถซื้อ MRTA/MLTA เฉพาะผู้กู้หลักเพียงคนเดียวได้ หรือหากผู้กู้ร่วมประสงค์ที่จะซื้อ MRTA/MLTA ด้วย ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องมีทุนประกันขั้นต่ำในสัดส่วนที่เท่ากัน ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติตามที่ลูกค้าได้เลือกไว้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทประกันไม่ อนุมัติ MRTA/MLTA หรือในกรณีที่ลูกค้าขอยกเลิก MRTA/MLTA -ตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค. 63 อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.05% ต่อปี -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 64 – 31 ส.ค. 64 โดยจดจำานองและเบิกรับเงินกู้ภายในวันที่ 30 ก.ย. 64 -ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -การพิจารณา อนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด -วงเงินกู้อนุมัติสูงสุดเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด และไม่เกินกว่า วงเงินกู้สูงสุดต่อมูลค่าหลักประกัน (ราคาซื้อขาย) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์เรียกเก็บค่าเบี้ยปรับกรณีปิด ภาระหนี้ก่อนกำหนด (กรณีที่ลูกค้ารีไฟแนนซ์ไปสถาบันการเงินอื่นภายใน 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา) คิดเป็น 3% ของยอดหนี้คงเหลือ 4.ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย มีสินเชื่อกู้ซื้อบ้านสำหรับบ้านใหม่ให้กับลูกค้าทั่วไป โดยพิจารณาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีรายได้ประจำ และกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ระจำ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.4% (MRR-0.57%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.47% (MRR-0.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.40% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.44% สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.9% (MRR-0.07%) หลังจากนั้น MRR = 5.97% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.94% หมายเหตุ : -อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% (ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63) -อัตราดอกเบี้ยข้างต้นสำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้สินเชื่อบ้านตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 – 30 มิ.ย. 64 -สำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภทรวมอาคารพาณิชย์ยกเว้น Refinance และการปล่อยกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า -มีค่าสำรวจและประเมินราคาหลักประกันโดยบริษัท โพรเกรส แอพไพรซัล หรือบริษัทประเมินที่ธนาคารรับรอง คิดขั้นต่ำ 3,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 5.ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารเกียรตินาคิน มีสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (บ้านใหม่ : กรณีซื้อบ้านจากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกําหนด) โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  2.450%-2.750% ปีต่อไป ดอกเบี้ย  4.775% (MLR-1.75%) แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.650%-2.950% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.60%-2.99% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.80%-3.19% ปีต่อไป ดอกเบี้ย 4.775% (MLR-1.75%) หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว  โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการให้บริการและ​เว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่​ 18 สิวหาคม 2563 เท่กับ​ 6.525% ต่อปี 3.เลือกทําประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ​(MRTA)ผ่านธนาคาร ทุนประกันภัยเท่ากับวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาเอาประกันภัยขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลาการกู้ไม่ถึง 10 ปี ให้ระยะเวลาเอา​​​​​​ประกันภัยเท่ากับระยะเวลาการกู้ 4.กรณี Refinance ไปสถาบันการเงินอื่นก่อนครบ 3 ปี แรก คิดค่า​ Prepayment Penalty 3% ของเงินต้นคงค้าง 5.​กรณีเลือกใช้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแบบฟรีค่าจดจำนอง ​​หากลูกค้า Re-Finance หรือชําระปิดบัญชีก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ ลูกค้าต้องชำระค่าจดจำนองที่ธนาคาร เคยสำรองจ่ายให้แก่ธนาคาร​ 6.ค่าประเมินหลักประกันเริ่มต้น 3,210 บาท  ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท) 7.เบี้ยประกันอัคคี ​เป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด ​โดยผู้กู้สามารถเลือกทําประกันกับบริษัทที่น่าเชื่อถือใดก็ได้ ​ a.อัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุด ต่อหลักประกัน 100% ของราคาซื้อขายจริง หรือราคาประเมินธนาคาร แล้วแต่ราคาใดต่ำกว่า ยกเว้นธนาคารมีกำหนดเงื่อนไขพิเศษอื่น ๆ สำหรับบางโครงการ อาจจะได้รับอัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุดต่อหลักประกัน​ 100% b.ระยะเวลากู้สูงสุด ​30 ปี (อายุผู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปี สําหรับพนักงานเงินเดือนประจํา และไม่เกิน 70 ปี สําหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) 6.ธนาคารซีไอเอ็มบี ธนาคารซีไอเอ็มบี สินเชื่อบ้าน โฮมโลนฟอร์ยู ให้กับพนักงานประจำ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ และเจ้าของกิจการ  โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ สำหรับพนักงานประจำ รายได้ 15,000 บาท หรือเจ้าของกิจการรายได้ 30,000 บาท ประเภททำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.25% (MRR-3.10%) ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย 5.35% (MRR-2.00%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.25% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.07% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.55% (MRR-2.80%) หลังจากนั้น 5.35% (MRR-2.00%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.15% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR=7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 2563) 7.ธนาคารทีทีบี ธนาคารทีทีบี มีสินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับการซื้อบ้านหรือคอนโดจากโครงการทั่วไป จะได้รับฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมินหลักทรัพย์ มีการคิดดอกเบี้ย ดังนี้ สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ทางเลือก 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.05% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.45% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.05% (MRR-2.23%) หลังจากนั้น 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.46% ทางเลือก 3 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.65% MRR-1.63% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีดอกเบี้ย  4.38% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.56% ทางเลือกที่ 4 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 4.4% (MRR-1.88%) หลังจากนั้น 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.40% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา  4.57% สมัครไม่ครบผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 4.90% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.90% ทางเลือกที่ 6 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.8% (MRR-1.48%) หลังจากนั้น 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 4.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.87%   หมายเหตุ สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ สไมล์โฮม หรือ สไมล์โฮม พลัส ​ 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีทีบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต ttb (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต ttb แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) กู้ซื้อบ้าน คอนโดใหม่ กับทีทีบี รับข้อเสนอพิเศษ ด้วยอัตราดอกเบี้ย ให้เลือก 2 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท -รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษนาน 3 ปี -ฟรีประกันอัคคีภัยมูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง แบบที่ 2 สมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท​ -ฟรีประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 เม.ย. 64 -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ ทำเพื่อประโยชน์หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นกับผู้กู้ในขณะที่ยังชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของผู้กู้และธนาคาร และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อบ้านสำหรับลูกค้าทั่วไป โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ แบบไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.995% ปีต่อไป MRR = 5.995% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.995% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.995% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.950% ปีต่อไป MRR = 5.995% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.950% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.983% หมายเหตุ -กรณีใช้ดอกเบี้ย​แบบทําประกัน​ Credit Life 70% กําหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลาเอาประกัน 70% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา โดยกําหนดให้เอาระยะเวลาขั้นต่ำ 10  ปี (กรณีระยะเวลากู้ตามสัญญาต่ำ​10 ปี กําหนดให้ระยะเวลาเอาประกันเท่ากับระยะเวลากู้ตามสัญญา) ​-ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ รับประกันภัยโดย บมจ. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต บริษัทนเครือกลุ่มเอฟดับบลิวดี หากต้องการสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับการประกันภัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์บริการลูกค้า โท​ร. 1315 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น. -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข ​​ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุก​ ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น ​การพิจารณารับประกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันภัย ของบริษัทประกันภัย -อัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารไทยพาณิชย์ เท่ากับ 5.995% ต่อปี ​(ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563) ซึ่งอาจะเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศธนาคาร -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ระบุในตารางเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ​ซึ่งอาจะมีความแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีลูกค้าบอกเลือกประกันชีวิต หรือขอเวนคืนกรมธรรม์ หรือทำประกันไม่ครบกำหนดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ​ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยวงเงินกู้ เป็นอัตราดอกเบี้ยทั่วไป  ตามประกาศธนาคาร ระยะเวลากู้ตามสัญญา วงเงิน ระยเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย คุณสมบัติ เอกสารปรกอบการพิจารณา และการอนุมัติเป็นไปตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด 9.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์  หรือ ธอส. มีสินเชื่อสำหรับการซื้อบ้านหลากหลายประเภท โดยประเภทสินเชื่อโครงการบ้านจัดสรร ​มีการคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.80% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 2.8% (MRR-3.35%) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.5% (MRR-2.65%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.65% (MRR-0.5%) (สำหรับลูกค้ารายย่อย) หมายเหตุ ยื่นคำขอกู้และอนุมัติตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 64 – 30 มิ.ย. 64 ทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ก.ค. 64 (ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเติ,วงเงินของโครงการแล้ว) อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.15% ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 10.ธนาคารยูโอบี ธนาคารยูโอบี มีสินเชื่อบ้านสำหรับโคงการหมู่บ้านทั่วไป โดยวงเงินตั้งแต่ 500,000 บาทจนถึง 50 ล้านบาทขึ้นอยู่กับที่ตั้งของหลักประกัน โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ทางเลือก 1 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.35% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.35% (MRR-4.00%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.79% ทางเลือกที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.55% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.55% (MRR-3.80%) หลังจากนั้น 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.87% ทางเลือกที่ 3 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.80% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% (MRR-2.60%) หลังจากนั้น 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.80% ทางเลือกที่ 4 ไม่ทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.95% (MRR-2.40%) ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย 5.75% (MRR-1.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.88% หมายเหตุ -ขอสินเชื่อตั้งแต่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 64 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายใน 30 ก.ค. 64 -อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาครยูโอบี >ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ >ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ -อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR=7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจะมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีไถ่ถอนจำนองเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น ​(Re-finance) ในช่วงระยะเวลา 3 ปีแรก นับจากวันที่กู้ จะมีค่าปรับ 3% ของยอดเงินต้นคงค้าง (เฉพาะวงเงินสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยเท่านั้น)​ -การอนุมัติสินเชื่อ​เป็นไปตำมหลักเกณฑ์ของธนาคาร​ -เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันเท่ากับ  7.35% ต่อปี ​(ตามประกาศธนาคารณ วันที่ 1 เม.ย. 64) อนึ่ง ธนาคารสามารถประกาศปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย​ MRR ได้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอนุญาตไว้​ -อัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ​เป็นไปตามประกาศที่ธนาคารจัดทำไว้  และประกาศให้ทราบตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารอาจเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยการปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการ หรือเว็บไซต์ของธนาคาร​ -ธนาคารยูโอบีในฐานะนายหน้าประกันภัย ​(ใบอนุญาตประกันชีวิต​เลขที่ ช.00026/2545 และใบอนุญาตประกันวินาสภัย​ เลขที่ ว.00020/2546) ทำหนี่เสนอผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยและเป็นผู้จัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย และอำนวยความสะดวกในการรับชำระเบี้ยประกันเท่านั้น  รับประกันชีวิตโดยบริษัท พรูเด็นเชียลประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), รับประกันวินาศภัยโดย บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ​จะเป็นผู้รับผิดชอบตามเงื่อนไข ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง 11.ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย คือ โฮมโลน โดนใจ สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้น 2.00% โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ แบบที่ 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.00% (MRR-5.35%) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.80% (MRR-3.55%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.10% (MRR-2.25% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10%  (ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท 2 ปีแรก) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.20% (MRR-3.15%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 3 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.55% (MRR-4.80%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.63% แบบที่ 4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยคงที่ 2.75% (ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท 3 ปีแรก) ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.76% เงื่อนไข กรณีลูกค้าเลือกทำประกัน MRTA/MLTA ผ่านธนาคาร : 1.กรณีที่ลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ผ่านธนาคาร ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1%  ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือ สูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือ เปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ภายใน 5 ปีแรก ทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 2.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี หมายเหตุ -โครงการจัดสรรในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เท่านั้น* -ราคาซื้อขายของหลักประกันต้องมีราคา (แนวราบ) ไม่น้อยกว่า 2.00 ล้านบาท , (แนวสูง) ไม่น้อยกว่า 2.50 ล้านบาท -ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำ ล้านละ 3,500 บาท  กรณีเลือกอัตราดอกเบี้ยคงที่** -ยกเว้น ค่าประเมินราคาหลักประกัน (โครงการจัดสรรทุกโครงการที่มีราคาซื้อขาย 2 ล้านบาทขึ้นไป)*** -ระยะเวลากู้สูงสุด 40 ปี รวมอายุผู้กู้ไม่เกิน 70 ปี**** -วงเงินกู้เพิ่มสูงสุด 10% จากสัญญาซื้อขาย เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน อัตราดอกเบี้ย 1) ทำประกัน MRTA/MLTA : ปีที่ 1-3 : MRR – 2.75% = 4.60% หรือ 2) ไม่ทำประกัน MRTA/MLTA : ปีที่ 1-3 : MRR – 2.25% = 5.10% , หลังจากนั้นปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR = 7.35% ***** -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.35% (ณ 1 เม.ย. 64) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -การพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละรายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่ธนาคารกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์การพิจารณาสินเชื่อ โดยอยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆเป็นไปตามประกาศธนาคาร โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า -อัตราดอกเบี้ย และโปรโมชั่น (มีวงเงินสินเชื่อจำกัด) สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อ โดยเบิกรับเงินกู้ ตั้งแต่ วันนี้ – 30 มิ.ย. 64 12.ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสิน มีสินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนสบาย ปีแรก 0.50% ผ่อนสบาย ล้านละ 4,000 บาทต่อเดือน นาน 1 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.025% (MRR-2.22%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย 5.245% (MRR-1.00%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.850% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.327% กรณีไม่ทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.750% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 4.275% (MRR-1.970%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.245% (MRR-1.00%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.100% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.424%   เงื่อนไขการใช้อัตราดอกเบี้ยโปรโมชั่น 1.ต้องสมัครบริการ MyMo และผลิตภัณฑ์/บริการอื่นของธนาคารเพิ่มอย่างน้อย 2 ประเภท ได้แก่ บัตรอิเล็กทรอนิกส์/ บัตรเครดิต หรือ สินเชื่อบัตรเงินสด / ชำระสินเชื่อหักผ่านบัญชี / ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ทั้งนี้ หากลูกค้ใช้ผลิตตภัณฑ์/ บริการ ตามที่กหนดอยู่แล้วสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวได้ กรณีไม่มี Smartphone ให้สมัครผลิตภัณฑ์ / บริการอื่นของธนาคารตามที่กำหนดทดแทนได้ 2.กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนครบกำหนด 3 ปี ทุกกรณี คิดค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ธนาคารกระกาศกำหนด เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมบริการประเภทต่าง ๆ (ปัจจุบัน 3% ของยอดเงินต้นคงเหลือ) 3.สินเชื่อเคหะ สามารถเลือกชำระแบบผ่อนต่ำ โดยเงินงวดผ่อนชำระต่อจำนวนเงินกู้สินเชื่อเคหะ 1 ล้านบาท ปีที่ 1 เท่ากับ 4,000 บาท /เดือน ยกเว้น กรณีกู้ปลูก​สร้าง/ต่อเติมซ่อมแซม ไม่สามารถเลือกชำระแบบผ่อนต่ำได้ หมายเหตุ 1.ประกัน หมายถึง ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 2.อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ MRR=6.245% (ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2563) 3.อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี     บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ กู้ซื้อบ้านและคอนโด เดือนมิถุนายน 64 แบงก์ไหน? ให้ดีลดีสุด
ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้  จับมือ”โนมูระ” ปั้นโซโห แบงค็อก รัชดา  เติมพอร์ตโปรเจ็กต์ร่วมทุน​ 34,000 ล้าน

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จับมือ”โนมูระ” ปั้นโซโห แบงค็อก รัชดา เติมพอร์ตโปรเจ็กต์ร่วมทุน​ 34,000 ล้าน

“ออริจิ้น” เดินหน้าร่วมทุน “โนมูระ เรียลเอสเตท” ปิดดีลลงทุนเพิ่มอีก 1 โปรเจ็กต์ “โซโห แบงค็อก รัชดา”​คอนโดไฮเอนด์แบรนด์ใหม่ มูลค่า​ 1,700 ล้าน ดัน​มูลค่าโครงการคอนโดร่วมทุนสะสม 2 บริษัททะลุ 34,000 ล้าน   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI  เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมทุนกับ บริษัท โนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่จากญี่ปุ่น พัฒนาคอนโดมิเนียมเพิ่มเติมอีก 1 โครงการ คือโครงการคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์แบรนด์ใหม่ โซโห แบงค็อก รัชดา (SOHO Bangkok Ratchada) มูลค่าโครงการประมาณ 1,700 ล้านบาท ถือเป็นการเดินหน้าร่วมทุนกันอย่างต่อเนื่อง จากช่วงต้นปีที่เพิ่งร่วมทุนกันเพิ่มเติมไป 2 โครงการ แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโควิด -19 ระลอกที่ 3 แต่โนมูระยังคงมองเห็นสัญญาณที่ดีในระยะยาวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ซึ่งยังคงเป็นตลาดที่น่าสนใจระดับท็อปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ขณะเดียวกัน ผลงานโครงการร่วมทุนในโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมา ตลอดจนผลงานไตรมาสล่าสุดของบริษัทที่ทำกำไรได้เป็นระดับ Top 3 ของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์  เป็นเครื่องการันตีที่ทำให้โนมูระมั่นใจ และตัดสินใจเดินหน้าร่วมทุนโครงการคอนโดกับบริษัทอย่างต่อเนื่อง   จากการร่วมทุนเพิ่มเติมดังกล่าว ส่งผลให้ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ และโนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลล็อปเมนท์ มีการร่วมทุนกันในกลุ่มธุรกิจคอนโดสะสมจากเดิม 9 โครงการ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 32,314 ล้านบาท เพิ่มเป็น 10โครงการ มูลค่าสะสม 34,014 ล้านบาท และส่งผลให้การร่วมทุนสะสมระหว่างกันครอบคลุมในคอนโดทุกเซ็กเมนท์ ตั้งแต่แบรนด์คอนโดระดับไฮเอนด์ อย่างไนท์บริดจ์ (KnightsBridge) แบรนด์คอนโดระดับลักชัวรี่อย่างพาร์ค ออริจิ้น (PARK ORIGIN) แบรนด์คอนโดสำหรับคน Gen Z อย่างดิ ออริจิ้น (The Origin)  และแบรนด์ใหม่อย่างโซโห แบงค็อก (SOHO Bangkok) นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการโซโห แบงค็อก รัชดา เป็นโครงการคอนโดมิเนียมไฮไรส์​สูง 24 ชั้น มูลค่าโครงการ 1,700 ล้านบาท เปิดขายเมื่อช่วงไตรมาส 4 ปี 2563 เป็นโครงการภายใต้แบรนด์ใหม่โซโห แบงค็อก โครงการแรก ที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดแกร่งทั้งด้านทำเลระดับย่านใจกลางธุรกิจ (CBD) และสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต ปัจจุบัน มียอดขายสะสมแล้วกว่า 80%   ทั้งนี้ บริษัทยังคงพิจารณาการร่วมทุนกับพันธมิตรทั้งรายเดิม และรายใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้อย่างแข็งแกร่งและก้าวกระโดดตามแผน ORIGIN NEXT LEVEL โดยเฉพาะในด้านการขยายธุรกิจ (Next Level of Business Expansion) โดยอาจพิจารณาร่วมทุนได้ทั้งในกลุ่มโครงการที่อยู่อาศัย โครงการที่สร้างรายได้ประจำ เช่น โรงแรม รวมถึงธุรกิจประเภทอื่นๆ ที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ในอนาคต   โครงการโซโห แบงค็อก รัชดา คอนโดมิเนียม High Rise สูง 24 ชั้น ตั้งอยู่บนเนื้อที่ขนาด 1-2-28 ไร่ จำนวนห้องพักอาศัย 341 ยูนิต และร้านค้า 1 ยูนิต มีห้องให้เลือก 4 รูปแบบ คือ 1 Bedroom 24.7-25.9 ตร.ม. และ 1 Bedroom Plus 34.8-34.9 ตร.ม. ทั้งแบบ Simplex เพดานสูง 2.6 เมตร และแบบ Duo Space คอนโด 2 ชั้น ฝ้าเพดานสูงพิเศษ 4.2 เมตร ตอบโจทย์ทุกการใช้งานของคนรุ่นใหม่ โดยไฮไลต์ของโครงการ ได้แก่ 1.Business Connection พื้นที่ส่วนกลางที่ออกแบบให้รองรับการทำธุรกิจโดยเฉพาะพร้อมหลากสิ่งอำนวยความสะดวกภายใน 2.Samitivej Club โปรแกรมดูแลสุขภาพสุด Exclusive โดยผู้เชี่ยวชาญผ่าน Virtual Hospital หรือบริการอื่นๆ เช่น Health Check Up Room และ One Touch Emergency จากโรงพยาบาลสมิติเวช 3.Park Concierge บริการผู้ช่วยส่วนตัวระดับมืออาชีพที่ช่วยจัดการชีวิตส่วนตัวให้ง่ายขึ้น อาทิ จองร้านอาหาร จองรถลีมูซีนเพื่อเดินทางไปยังสนามบิน จัดหาออแกไนซ์งานปาร์ตี้ส่วนตัว เทรนเนอร์ออกกำลังกาย สปาส่วนตัว บริการซักรีด  
3 ทำเลศักยภาพและโอกาสในการลงทุนที่อยู่อาศัย “จรัญฯ-แจ้งวัฒนะ-ลาดพร้าว 101”

3 ทำเลศักยภาพและโอกาสในการลงทุนที่อยู่อาศัย “จรัญฯ-แจ้งวัฒนะ-ลาดพร้าว 101”

เปิดศักยภาพและโอกาสการลงทุนอสังหาฯ ใน 3 ทำเลเติบโตสูง ​“จรัญฯ-แจ้งวัฒนะ-ลาดพร้าว 101” ได้อานิสงค์รถไฟฟ้า ช่วยผลักดันราคาและความต้องการอสังหาฯ  ย่านจรัญสนิทวงศ์ ได้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เปิดโอกาสการลงทุนเติบโต 8% ขณะที่แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด ราคาที่ดินพุ่งกว่า 12.5% ส่วนทำเลลาดพร้าว 101 มีรถไฟฟ้าพัฒนาโดยรอบ และการเปลี่ยนสีผังเมืองผลักดันความเจริญ   ​นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทด้านวิจัยและพัฒนาในเครือบริษัท แอล. พี. เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) เปิดเผยถึงผลการสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยใน 3 ทำเลประกอบด้วย “จรัญสนิทวงศ์-แจ้งวัฒนะ-ลาดพร้าว 101” ว่า เป็น 3 ทำเลที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วน ส่งผลให้ระดับราคาที่ดินใน 3 ทำเลมีการปรับตัวขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 10% ต่อปี ในขณะที่ระดับราคาที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามระดับราคาที่ดินที่ขยับสูงขึ้นทั้งที่อยู่อาศัยเก่าและใหม่  จรัญสนิทวงศ์  "สายสีน้ำเงิน" ดันราคาคอนโด จากผลการสำรวจพบว่า   ทำเล “จรัญสนิทวงศ์” เป็นพื้นที่มีแนวโน้มการพัฒนาที่อยู่อาศัยในรูปแบบคอนโดมิเนียมเป็นหลัก โดยเฉพาะโซนติดรถไฟฟ้า โดยในปี 2563 คอนโดในย่านจรัญฯ มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (capital gain) จากการซื้อมาและขายออกไปเฉลี่ยอยู่ที่ 8% ต่อปี โดยระดับราคาคอนโดในทำเลนี้มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 80,000-120,000 บาท/ตารางเมตร ซึ่งเป็นราคาที่ปรับขึ้น 20% จากปี 2560 และราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการขยายของเมืองตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยปัจจุบันมีจำนวนอาคารชุดเหลือขายในทำเลจรัญฯ 965 ยูนิต​ มีอัตราการขายเฉลี่ย 5% ต่อเดือน โดยมีระดับราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 89,700 บาทต่อตารางเมตร หรือประมาณ 2.8 ล้านบาทต่อยูนิต ในขณะเดียวกัน ความต้องการเช่าที่พักอาศัยในย่านนี้ก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีตก่อนรถไฟฟ้าสีน้ำเงินจะแล้วเสร็จ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งงานทางการแพทย์อย่างโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลธนบุรี และโรงพยาบาลยันฮี ทำให้มีกลุ่มผู้เช่าที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องการที่พักอาศัยใกล้ที่ทำงานเป็นจำนวนมาก ราคาเช่าเฉลี่ยในย่านจรัญสนิทวงศ์อยู่ที่ 350 บาท/ตร.ม./เดือน โดยราคาเช่าห้องขนาด 30-35 ตร.ม.เฉลี่ยอยู่ที่ 10,000 บาท/เดือน ห้อง Studio type เฉลี่ยที่ 6,000-8,500 บาท/เดือน และมี Rental Yield ที่ 5% ต่อปี แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด ที่ดินพุ่ง 12.5% ส่วนทำเล “แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด” เป็นทำเลที่มีอัตราการเติบโตของโครงการใหม่โดยเฉลี่ย 100% - 250% ต่อปี  จากผลการสำรวจของทีมวิจัย พบว่า ณ สิ้นปี  2563 ทำเลแจ้งวัฒนะมีซัพพลายสะสมอยู่ที่ 10,325  ยูนิต​ โดยคิดเป็นบ้านพักอาศัย 15% และ คอนโด 85%  มีอัตราการขายของบ้านพักอาศัยอยู่ที่ 3.1%ต่อเดือน และอัตราการขายคอนโด​ในทำเลอยู่ที่ 5% ต่อเดือน สูงกว่าอัตราการขายของบ้านพักอาศัยเฉลี่ยในนนทบุรีซึ่งอยู่ที่ 2.8% ต่อเดือน  และอัตราการขายคอนโด​ในทำเลอยู่ที่ 4%ต่อเดือน   การเติบโตของการพัฒนาที่อยู่อาศัยในทำเลนี้ ทำให้ระดับราคาที่ดินในย่าน “แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด” มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาประเมินที่ดินสูงขึ้นเฉลี่ย 12.5% ต่อปี  ทำให้ระดับราคาที่อยู่อาศัยในทำเลนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15-20% ต่อปี โดยเฉพาะราคาบ้านพักอาศัยย่านแจ้งวัฒนะ-เมืองทองธานี ที่เพิ่มขึ้นถึง 20%  ต่อปี โดยในด้านของตลาดมือสองมีอัตราผลตอบแทนของการลงทุน (capital gain) อยู่ที่ 7-8% ต่อปี  และมีราคาให้เช่าอยู่ที่ 28,000-35,000 บาท คาดว่าเมื่อรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีชมพูเปิดใช้งาน จะยิ่งส่งเสริมให้ทำเลแจ้งวัฒนะเป็นทำเลที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้นและราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันบ้านพักอาศัยเปิดตัวใหม่ในทำเลแจ้งวัฒนะมีหลายระดับราคา ตั้งแต่บ้านทาวโฮมในราคาเริ่มต้น 2 ล้านบาท จนถึง บ้านเดี่ยวราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป จึงถือว่าเป็นทำเลที่มีบ้านพักอาศัยให้เลือกอย่างหลากหลาย ทำให้บ้านพักอาศัยในทำเล แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ดเหมาะสำหรับ ผู้ที่มองหาบ้านพักอาศัยในทำเลศักยภาพที่เดินทางสะดวกใกล้แหล่งงานและสถานศึกษา มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ และมีศักยภาพในการลงทุน ลาดพร้าวได้รถไฟ 4 สีดันการพัฒนา ในขณะที่การพัฒนารถไฟฟ้าทั้งหมด 4 สาย ที่ล้อมรอบพื้นที่ “ลาดพร้าว 101-โพธิ์แก้ว” ทั้งสายสีเหลือง, สีส้ม, สีเทา และสีน้ำตาล ปัจจุบัน สายสีเหลือง และสายสีส้มกำลังดำเนินการก่อสร้างและมีกำหนดเปิดใช้งานได้ภายในปี 2565 และปี 2567 ตามลำดับ ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางเชื่อมต่อไปได้ทั่วทั้งกรุงเทพฯ สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น ทำให้ทำเล   “ลาดพร้าว 101 – โพธิ์แก้ว” เป็นหนึ่งในทำเลศักยภาพทางโซนเหนือของกรุงเทพฯ โดยปัจจุบันในทำเลนี้มี บ้านพักอาศัยเปิดขายใหม่อยู่ทั้งหมด 14 โครงการ แบ่งเป็นรูปแบบบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด 7 โครงการ ราคาขายต่อยูนิตมากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป มียูนิต​เหลือขายคิดเป็นสัดส่วน 16% ของยูนิตที่เปิดขายอยู่ทั้งหมด โดยมีอัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ 2% ต่อเดือน   อีกรูปแบบคือ ทาวน์โฮม อีกจำนวน 7 โครงการ มียูนิตเหลือขายคิดเป็นสัดส่วน 22% ของยูนิตที่เปิดขายอยู่ทั้งหมด โดยราคาขายเฉลี่ยต่อยูนิตแบ่งออกเป็น 3 ช่วงราคา ได้แก่ 3-5 ล้านบาท, 5-10 ล้านบาท และมากกว่า 10 ล้านบาท โดยมีอัตราการขายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 7% 3% และ 4% ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนเหลือขายในทำเลนี้มีประมาณ 420 ยูนิต ทำให้คาดว่าจะสามารถระบายยูนิตเหลือขายได้ภายใน 3 ปี   ในขณะที่ตลาดบ้านพักอาศัยมือสองในย่านมีราคาขายเริ่มต้นที่ 8 ล้านบาท สำหรับบ้านเดี่ยว อัตราค่าเช่าเริ่มต้น 35,000-120,000 บาทต่อเดือน ส่วนทาวน์โฮม 2 ชั้น ราคาขายเริ่มต้นที่ 2 ล้านบาท ทาวน์โฮม 3 ชั้น เริ่มต้นต่ำสุดที่ 3.70 ล้านบาท และสูงสุดถึง 6.50 ล้านบาท อัตราค่าเช่าเริ่มต้น 18,000-45,000 บาทต่อเดือน โดยขึ้นอยู่กับสภาพหรืออายุการใช้งานของบ้าน พื้นที่ใช้สอย และที่ตั้งห่างจากถนนหลักมากน้อยแค่ไหน ซึ่งอัตราค่าเช่านั้นใกล้เคียงกับอัตราการผ่อนชำระในกรณีซื้อเอง ทำให้โครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เป็นที่น่าสนใจและคุ้มค่าสำหรับผู้ที่มองหาที่อยู่อาศัยมากกว่า ร่างผังเมืองใหม่ดันราคาพุ่ง ในขณะเดียวกัน ร่างผังเมืองใหม่ที่จะประกาศใช้ในเร็วนี้ ได้มีการปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ “ลาดพร้าว 101-โพธิ์แก้ว” จากพื้นที่สีเหลือง เป็นพื้นที่สีส้ม คือ ประเภทพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ทำให้สามารถพัฒนาที่ดินได้เพิ่มมากขึ้นจาก FAR 3:1 – OSR 10% เป็น FAR 3.5:1 – OSR 8.5% และสามารถพัฒนาโครงการคอนโดขนาดน้อยกว่า 10,000 ตารางเมตร หรือพื้นที่มากกว่า 10,000 ตารางเมตรได้ โดยที่เหล่าผู้พัฒนารายใหญ่ยังมีที่ดินผืนใหญ่รอพัฒนาในบริเวณรอบ ๆ ย่านนี้อีกจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ราคาที่ดินในย่านมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นอีก จากปัจจุบันราคาซื้อขายที่ดินในย่านนี้ต่ำสุดอยู่ที่ราคา 50,000 บาท/ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินบริเวณกลางซอยลาดพร้าว 101 และราคาสูงสุดอยู่ที่ 130,000 บาท/ตารางวา ในตำแหน่งที่ดินที่ใกล้ถนนประเสริฐมนูญกิจหรือถนนลาดพร้าว   “การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ทำให้เมืองขยายจากพื้นที่เศรษฐกิจเดิมอย่างย่านสุขุมวิท เพลินจิต สาทร ไปสู่ย่านเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งทั้ง 3 ทำเล  ถือเป็นย่านธุรกิจใหม่ที่กระจายออกมาจากศูนย์กลางเศรษฐกิจเดิม จึงเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนของผู้ประกอบการ และผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่จับต้องได้และเดินทางได้สะดวก”