Tag : News

2376 ผลลัพธ์
7  มาตรการดึงต่างชาติกระตุ้นเศรษฐกิจ-การลงทุนไทย เพิ่มเม็ดเงิน 1 ล้านล้าน

7 มาตรการดึงต่างชาติกระตุ้นเศรษฐกิจ-การลงทุนไทย เพิ่มเม็ดเงิน 1 ล้านล้าน

ภาวะเศรษฐกิจไทย มีหลายอุตสาหกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนและสร้างการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออก การเกษตร การท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์  ซึ่งส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศ หรือไม่ก็เป็นกลุ่มค้าชาวต่างชาติ เพราะลำพังการบริโภคภายในประเทศ อาจจะไม่เพียงพอต่อการสร้างการเติบของเศรษฐกิจไทยได้มากพอ แต่จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจไทยก็ชะลอตัวลงอย่างมาก โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์ เพราะ 2 กลุ่มนี้มีฐานลูกค้าต่างชาติช่วยสร้างการเติบโตอย่างมีนัยะสำคัญ เมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ทำให้ต้องล็อกดาวน์ประเทศ หยุดการเดินทางหยุดการท่องเที่ยว แน่นอนกลุ่มลูกค้าต่างชาติสำหรับตลาดการท่องเที่ยวและอสังหาฯ หายไปจนแทบจะเป็นศูนย์ ซึ่งทุกประเทศในโลกนี้ต่างก็เผชิญชะตากรรมไม่ได้แตกต่างกันมากนัก   รัฐบาลไทยเองจึงพยายามเร่งหามาตรการเพื่อมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ และกระตุ้นตลาดกลับมาให้ได้เร็วและมากที่สุด เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดส่งสัญญาณดีขึ้น มาตรการควบคุมโรคทำได้ดี ประชาชนคนไทยได้รับการฉีดวัคซีนกันมากตามเกณฑ์ที่กำหนด   ล่าสุด การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา จึงมีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้ามาภายในประเทศไทย ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ซึ่งมีด้วยกัน 7 เรื่องสำคัญ ดังนี้ ​   1.เห็นชอบในหลักการของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (มาตรการฯ) และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) รับผิดชอบการดำเนินมาตรการฯ โดยพิจารณาจัดตั้งหน่วยบริการขึ้นเพื่อสนับสนุนและเชิญชวนให้ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้ามาเป็นผู้พำนักระยะยาวในประเทศไทย หรือพิจารณาให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงานส่วนใดส่วนหนึ่งภายใต้กำกับของ สกท. ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินมาตรการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินเกินสมควร 2.มอบหมายให้กระทรวงมหาไทย (มท.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวใหม่ รวมทั้งข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ยกเว้นให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักอาศัยระยะยาวและวีซ่าประเภท Smart Visa ทั้งหมดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบหากอยู่ในประเทศเกินเก้าสิบวัน ตามมาตรา 37 (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และให้มีคุณสมบัติของผู้ขอวีซ่า สิทธิประโยชน์ และรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่เสนอ (2) ให้ศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน   3.มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน (รง.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการทำงานและอนุญาตให้ทำงานของคนต่างด้าว โดยให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวสามารถทำงานให้นายจ้างทั้งที่อยู่ในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักรได้โดยได้รับอนุญาตให้ทำงานโดยอัตโนมัติพร้อมกับการขอวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว   4.มอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) พิจารณาให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตทำงาน เรื่อง การกำหนดให้การจ้างคนต่างด้าว 1 คนต้องจ้างงานพนักงานคนไทยทำงานประจำ 4 คน ตามคำสั่ง ตช. ที่ 327/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว 5.มอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีประเภทต่าง ๆ และระเบียบวิธีปฏิบัติด้านการศุลกากร ดังนี้ 1.ปรับลดพิกัดอัตราอากรขาเข้าเพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการนำสินค้าประเภทไวน์ สุรา และยาสูบประเภทซิการ์ลงกึ่งหนึ่งเป็นเวลา 5 ปี 2.ปรับปรุงประกาศกรมศุลกากรที่เกี่ยวกับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารที่นำติดตัวเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมกับตนทางท่าอากาศยานให้เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน โดยให้ใช้หลักการพิจารณาจากปริมาณ จำนวน หรือสภาพของสิ่งของที่นำเข้าหรือส่งออกว่าเป็นไปเพื่อการใช้ประโยชน์ส่วนตนหรือไม่ แทนการพิจารณาจากมูลค่าของสิ่งของ 3.ดำเนินการจัดทำและเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรเพื่อกำหนดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ถือวีซ่าผู้พำนักระยะยาวประเภทกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ โดยเทียบเคียงกับมาตรการภาษีในลักษณะเดียวกันของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดึงดูดกลุ่มผู้พำนักระยะยาวเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงและมีรายได้จากการทำงานในประเทศไทยระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยในราชอาณาจักร   6.มอบหมายให้ สกท. พิจารณาการบริหารจัดการวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวและวีซ่าประเภทอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน   7.มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบข้างต้นเร่งรัดดำเนินการภายใน 90 วัน และให้รายงานความคืบหน้าของผลการพิจารณาผ่าน สศช. เพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป โดยเป้าหมายในระยะ 5 ปี (2565-2569) ประเทศไทยต้องการมีชาวต่างชาติที่มีรายได้สูง นักลงทุน ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผู้เกษียณอายุที่มีรายได้สูงจากบำนาญมาอาศัยในไทย 1 ล้านคน เพื่อทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านบาท  ซึ่งคาดว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย จะมีการใช้จ่ายเงินเบื้องต้นคนละ 1  ล้านบาทต่อปี   ที่มา : เว็บไซต์นสพ.แนวหน้า, มติครม.วันที่ 14 ก.ย.2564      
พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค  เตรียมเปิด 2 โปรเจ็กต์กว่า 6,600 ล้าน  เจาะลูกค้าไฮเอนด์ กำลังซื้อสูง-กระทบโควิด-19 น้อย

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เตรียมเปิด 2 โปรเจ็กต์กว่า 6,600 ล้าน เจาะลูกค้าไฮเอนด์ กำลังซื้อสูง-กระทบโควิด-19 น้อย

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ลุยสร้างยอดขายเพิ่มกลุ่มโครงการไฮเอนด์ เตรียมเปิดโครงการใหม่โค้งท้ายปลายปี  2 โปรเจ็กต์ มูลค่า 6,630 ล้าน ​หลังพบกลุ่มลูกค้ายังมีกำลังซื้อสูง ได้ผลกระทบจากโควิด-19 น้อย   นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในไตรมาส 4 บริษัทเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 2 โครงการ รวมมูลค่า 6,630 ล้านบาท ได้แก่ “เลค เลเจ้นด์ บางนา-สุวรรณภูมิ” บนทำเลใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 127 ยูนิต ระดับราคา 28-80 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 6,080 ล้านบาท  ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนกับฮ่องกงแลนด์เป็นโครงการที่ 2 ต่อเนื่องจากเลค เลเจ้นด์ แจ้งวัฒนะ โดยยังคงคอนเซ็ปต์บ้านริมทะเลสาบ แต่มีขนาดใหญ่ถึง 100 ไร่ ซึ่งใหญ่ที่สุดในทำเลบางนา-สุวรรณภูมิ นอกจากนี้ ยังจะเปิดตัวโครงการ “เพนตัน” โฮมออฟฟิศและบ้านเดี่ยว 5 ชั้น ทำเลสุทธิสาร มูลค่าโครงการ 550 ล้านบาท โดยจะเปิดตัวในส่วนของโฮมออฟฟิศก่อน จำนวน 6 ยูนิต มูลค่ารวม 300 ล้านบาท โดยโฮมออฟฟิศ ใจกลางเมืองยังคงเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ ที่ต้องการซื้อเพื่อทำเป็นออฟฟิศในทำเลที่สามารถเดินทางสะดวก และยังสามารถจัดสรรพื้นที่ชั้นบนไว้เพื่อพักอาศัยและพักผ่อนด้วยสวนและสระว่ายน้ำส่วนตัว ช่วงโค้งสุดท้ายของปี  จะมีการเปิดตัว 2 โครงการใหม่ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน ที่มีกำลังซื้อสูง มีความพร้อม และได้รับผลกระทบจากโควิด-19 น้อยกว่ากลุ่มอื่น พร้อมกันนี้ ในช่วงปลายปี บริษัทยังจะเน้นทำการตลาดในโครงการระดับไฮเอนด์ต่อเนื่อง ในโครงการทำเลเขาใหญ่ ได้แก่ “เบลล่า เดล มอนเต้” บ้านเดี่ยวในแบบรีสอร์ตเรสซิเดนซ์ ราคา 23-80 ล้านบาท  เนื่องจากยังมีแนวโน้มยอดขายที่ดีต่อเนื่อง จากช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา สามารถทำยอดขายโครงการได้ถึง 400 ล้านบาท  เฉพาะเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โครงการได้รับความสนใจมีการเข้าชมข้อมูลทางออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 85% โดยดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ บ้านตากอากาศหรือบ้านหลังที่สองนอกเมืองเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ เนื่องจากเขาใหญ่ยังคงเป็นทำเลทอง สำหรับคนที่ต้องการบ้านพักตากอากาศหรูมักเลือกเป็นแห่งแรก ๆ ลูกค้ากลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีคุณภาพ   นอกจากนี้ การก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบางปะอิน–โคราช ยังมีส่วนทำให้โครงการในย่านเขาใหญ่มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น โดย “เบลล่า เดล มอนเต้” มีจุดเด่นอยู่ที่รูปแบบโครงการในสไตล์อิตาเลี่ยนรายล้อมด้วยทิวเขา ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเลคโคโมทะเลสาบยอดนิยมของอิตาลี โดยเน้นกลุ่มที่ต้องการบ้านสไตล์รีสอร์ตในสังคมที่เงียบสงบ ให้ความเป็นส่วนตัว ด้วยจำนวนยูนิตไม่มาก
เซ็นทรัลพรัฒนา  ปั้นแบรนด์ นิรติ จับตลาดเรียลดีมานด์  เปิดโปรเจ็ตก์ใหม่ 1,850 ล้าน

เซ็นทรัลพรัฒนา ปั้นแบรนด์ นิรติ จับตลาดเรียลดีมานด์ เปิดโปรเจ็ตก์ใหม่ 1,850 ล้าน

เซ็นทรัลพัฒนา เดินหน้าปั้นพอร์ตอสังหาฯ เพื่ออยู่อาศัย เปิดโปรเจ็กต์ นิรติ ดอนเมือง มูลค่า 1,850 ล้าน รับกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์และเครดิตดี   ร.อ. กรี เดชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย บริษัท เซ็นทรัล​พัฒนา จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า ได้เตรียมเดินหน้าปั้นพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ ทั้งแนวราบและแนวสูง เพื่อเป้าหมายการเป็นหนึ่งในผู้นำโครงการในรูปแบบมิกซ์ยูส  ด้วยการนำธุรกิจศูนย์การค้ามาเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ​   โดยวันที่ 18-19 กันยายนนี้ เตรียมเปิดพรีเซลอย่างเป็นทางการ  โครงการแนวราบในรูปแบบมิกซ์โปรดักส์ ประกอบด้วยบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ภายใต้แบรนด์นิรติ ได้แก่ โครงการนิรติ ดอนเมือง ตั้งอยู่ในย่านดอนเมือง-วิภาวดี  บ้านสไตล์โมเดิร์นทรอปิคอล​ รวม 262 ยูนิต มูลค่ารวม 1,850 ล้านบาท  ในระดับราคา 4.29-12 ล้านบาท  ซึ่งถือว่าเป็นเซ็กเมนต์กลุ่มลูกค้าเรียลดีมานต์ ที่มีกำลังซื้อและเครดิตดี โครงการ​นิรติ ดอนเมือง มีพื้นที่โครงการ 45-3-68.5 ไร่ แบ่งเป็น บ้านเดี่ยว  ขนาดที่ดิน 50.2 ตร.ว. ขึ้นไป พื้นที่ใช้สอย 180 – 227 ตร.ม.,  บ้านแฝด ขนาดที่ดิน 36.9 ตร.ว. ขึ้นไป พื้นที่ใช้สอย 180-227 ตร.ม. และทาวน์โฮมขนาดที่ดิน 22.1 ตร.ว. ขึ้นไป  พื้นที่ใช้สอยประมาณ 143 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้น 4.29  - 12 ล้าน   นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่เปิดขายแล้ว อีกสองทำเล ได้แก่ นิรติ บางนา และนิรติ เชียงราย รวม 3 โครงการ และยังมี แบรนด์ นินญา บ้านหรูระดับ 9.9-15  ล้านบาท และ แบรนด์ นิยาม บ้านหรูระดับลักชูรี่ เริ่มต้น 25 ล้านบาท การลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ ​เพื่อการอยู่อาศัย ในปี 2564 บริษัทวางเป้าหมายพัฒนาโครงการให้สอดคล้องไปกับธุรกิจหลักอย่างศูนย์การค้า และมิกซ์ยูสโปรเจ็กต์ ที่จะเข้าไปเป็นแลนด์มาร์กใหม่ศูนย์กลางการใช้ชีวิต หรือ Center of Life ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ชูอัตลักษณ์ของจังหวัด และต้องเป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม   ปัจจุบันเซ็นทรัลพัฒนา เรซซิเด้นซ์ และบริษัทในเครือ มีโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายแล้ว  ได้แก่ 1.โครงการคอนโดมิเนียม ฟีล พหล34  คอนโดมิเนียมแบบ Low Rise 8 ชั้น มูลค่าโครงการประมาณ 1,400 ล้านบาท พื้นที่ 3-2-7.4 ไร่  จำนวน 358 ยูนิต ห้องขนาด 25-35  ตร.ม. ราคาเริ่มต้น 2.99 ล้านบาท* 2.โครงการบ้าน นินญา กัลปพฤกษ์ (บ้านแฝด) มูลค่าโครงการประมาณ 1,500 ล้านบาท ติดถนนใหญ่กัลปพฤกษ์ จำนวน 144 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 9-12 ล้านบาท 3.โครงการบ้านเดี่ยว นิยาม บรมราชชนนี (บ้านเดี่ยวระดับลักชูรี่) คฤหาสน์หรูสไตล์ Modern Classic มูลค่าโครงการประมาณ 2,000 กว่าล้านบาท จำนวน71 ยูนิต
เอพี เปิดบ้านเดี่ยว 5 โปรเจ็กต์กว่า 7,000 ล.  รับคลายล็อกดาวน์ พร้อมโชว์  8 เดือนทำยอดโต36%

เอพี เปิดบ้านเดี่ยว 5 โปรเจ็กต์กว่า 7,000 ล. รับคลายล็อกดาวน์ พร้อมโชว์ 8 เดือนทำยอดโต36%

คลายล็อกดาวน์ ส่งสัญญาณบวกธุรกิจอสังหาฯ “เอพี” เดินหน้าเปิด 5 โครงการใหม่กว่า 7,000 ล้าน เติมพอร์ตบ้านเดี่ยว หลัง 8 เดือนปิดไป 6 โปรเจ็กต์ พร้อมสร้างยอดขายกว่า 12,400 ล้าน ​เติบโต 36%   นายรัชต์ชยุตม์ นันทโชติโสภณ รองกรรมการผู้อำนวยการ  สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าบ้านเดี่ยว บริษัท​ เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดการชะลอการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ลงบ้าง  แต่ปัจจุบันภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ เริ่มฟื้นตัวหลังคลายล็อกดาวน์เป็นสัญญาณบวก ทำให้ช่วง​ 8 เดือนที่ผ่านมา เอพี สามารถสร้างยอดขายรวมได้มากถึง 23,300 ล้านบาท โดยเป็นยอดขายจากสินค้าบ้านเดี่ยว 12,400 ล้านบาท หรือเติบโตกว่า 36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 9,100 ล้านบาท ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาบ้านเดี่ยวเครือเอพี มียอดลูกค้าเยี่ยมชมโครงการผ่านการนัดหมายล่วงหน้า ทางระบบออน์ไลน์ เฉลี่ย 385 ครอบครัวต่อสัปดาห์ นับเป็นกระแสตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถประกาศปิดการขายไปได้ทั้งสิ้น 6 โครงการ ส่วนในไตรมาส 4 นี้ คาดว่าจะสามารถทยอยปิดการขายเพิ่มได้อีก 8 โครงการ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตอย่างมั่นคง  ในเดือนกันยายนนี้ เอพีพร้อมเปิดตัวบ้านเดี่ยวโครงการใหม่เพิ่มจำนวน 5 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 7,020 ล้านบาท โดยมุ่งกระจายไปหลากหลายทำเลขายดี เพื่อเติมเต็มช่องว่างของโครงการเดิมที่ปิดการขายไปแล้ว และเพื่อสร้างโอกาสความได้เปรียบในการแข่งขันที่มากขึ้น รวมไปถึงการรุกขยายพอร์ตในเซ็กเมนต์ซูเปอร์ลักชัวรี่ ด้วยแบรนด์ “บ้านกลางกรุง” ที่จะกลับมาปักธงในทำเลใจกลางเมืองอีกครั้ง สำหรับบ้านเดี่ยวเอพี 5 โครงการใหม่ ที่พร้อมเปิดขายเดือนกันยายนนี้ มูลค่ารวม 7,020 ล้านบาท ได้แก่ ​1.บ้านกลางกรุง สาธุประดิษฐ์-พระราม 3 มูลค่าโครงการ 400 ล้านบาท บนพื้นที่ดิน 2 ไร่ บ้านเดี่ยวสุดหรู 3 ชั้น  ด้ยการดีไซน์สถาปัตยกรรมโมเดิร์นในวิถีใหม่ พร้อมสเปซฟังก์ชั่นขนาดใหญ่ ตอบรับการใช้ชีวิตของสมาชิกทุกช่วงวัย ทั้งพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ของครอบครัว จำนวน​ 13 หลัง ​บนทำเลย่านสาธุประดิษฐ์ ราคา 35-60 ล้านบาท 2.THE CITY ปิ่นเกล้า-บรมฯ 2 มูลค่าโครงการ 2,060 ล้านบาท ตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 48 ไร่ บ้านเดี่ยวหรูหลังใหญ่ จำนวนเพียง 105 หลัง ดีไซน์ทันสมัยระดับไฮเอนด์ การออกแบบที่ลงตัวด้วย Double Volume เพดานสูง  บนทำเลศักยภาพบรมราชชนนี ราคา 18.9-29 ล้านบาท 3.THE CITY รามอินทรา-วงแหวน มูลค่าโครงการ 1,270 ล้านบาท ตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 34 ไร่ บ้านเดี่ยวสองชั้นสุดหรู จำนวน 108 หลัง ราคา 15.99 - 21 ล้านบาท 4.CENTRO วิภาวดี มูลค่าโครงการ 2,090 ล้านบาท ตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 56 ไร่ บ้านเดี่ยวดีไซน์สไตล์โมเดิร์น พื้นที่ใหญ่ 193-274 ตร.ม. ฟังก์ชั่นครบ 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ 3 ที่จอดรถ ทำเลเมือง บนถนนวิภาวดี จำนวน 233 หลัง ราคา 8.99 - 12 ล้านบาท 5.CENTRO ราชพฤกษ์ 345 มูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท ตั้งอยู่บนขนาดที่ดิน 42 ไร่ บ้านเดี่ยวแนวคิดใหม่ ฟังก์ชั่นใหญ่ จำนวน 187 หลัง พื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 274 ตร.ม. 4 ห้องนอน  3 ที่จอดรถ พร้อม Home Automation ทั้งหลัง บนทำเลติดถนนใหญ่ 345 ราคา 5.99 - 12 ล้านบาท แม้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะท้าทายอย่างมาก แต่ด้วยความตั้งใจในการพัฒนาและส่งมอบบ้านเดี่ยวทุกโครงการในเครือเอพี รวมถึง 5 โครงการใหม่ที่พร้อมในการเปิดตัวเดือนกันยายนนี้  ทำให้เรามั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างโดดเด่นตามเป้าหมาย ทั้งในมิติการขายและการโอนกรรมสิทธิ์อย่างแน่นอน บ้านเดี่ยวเอพี 5 โครงการใหม่ พร้อมเปิดชมโครงการจริงแล้ววันนี้ ลูกค้าสามารถเยี่ยมชมโครงการได้อย่างไร้กังวลด้วยมาตรการสร้างความอุ่นใจในรูปแบบที่เป็นส่วนตัว ผ่านการนัดหมายวันและเวลาล่วงหน้า พร้อมด้วยการฉีดวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันโควิด-19 แก่พนักงานขายเครือเอพีทุกคน สำนักงานขายเปิดให้เยี่ยมชมทุกวัน 09.00 – 18.00 น. ภายใต้มาตรการทำความสะอาดและการดูแลอำนวยความสะดวกที่รัดกุม พร้อมลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษและราคาที่ดีที่สุดจากแต่ละโครงการ ได้ทางเว็บไซต์ของบริษัท    
IWG จับมือ รัตนากร แอสเซท  บริหารออฟฟิศให้เช่า 40 แห่งทั่วไทย

IWG จับมือ รัตนากร แอสเซท บริหารออฟฟิศให้เช่า 40 แห่งทั่วไทย

IWG จับมือ รัตนากร แอสเซท ลุยตลาดพื้นที่สำนักงานแบบ​ flexspace ระดับโลก รับวิถีชีวิตหลังโควิด-19 เดินหน้าขยายสาขาทั่วไทย 40 แห่งใน 10 ปี  รองรับความต้องการสถานที่ทำงานแบบไฮบริดที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว   นายกาเร็ท เฮเวอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IWG APAC ผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงาน เปิดเผยว่า ได้เซ็นสัญญาแฟรนไชส์กับ รัตนากร แอสเซท เพื่อให้สิทธิ์เป็นผู้บริหารแฟรนไชส์ระดับภูมิภาค(Regional Master Franchise rights) ของพื้นที่สำนักงาน IWG ในแบรนด์ HQ, Regus, Spaces และ Signature ในการขยายพื้นที่สำนักงานในทุกจังหวัดของประเทศไทย นอกพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 40 แห่งทั่วประเทศ​ ภายในระยะเวลา 10 ปี   ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง IWG และรัตนากร แอสเซท  จะร่วมกันพัฒนาและขยายสาขา ครอบคลุมในทุกเมืองสำคัญในทุกภูมิภาคของไทย เพิ่มเติมจากพื้นที่สำนักงานให้เช่าที่ปัจจุบันมีทั้งหมด 30 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต โดย​ รัตนากร แอสเซท เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปีในประเทศไทย ที่ผ่านมา บริษัทได้พัฒนาโครงการมากกว่า 17 แห่งในภาคตะวันออก ซึ่งรวมถึงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเมืองชายทะเลในภาคใต้   เรากำลังปรับขยายธุรกิจให้ครอบคลุมเมืองต่างๆ มากขึ้น ตั้งแต่เมืองที่มีขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็ก และพื้นที่ชานเมือง โดยการร่วมมือกับ รัตนากร แอสเซท จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจต่างๆ ในทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทระดับโลก กลุ่มธุรกิจสตาร์ตอัป คนทำงานฟรีแลนซ์ และผู้ประกอบการ ได้เข้าถึงบริการสำนักงานให้เช่าที่ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ได้มากขึ้น   นายกาเร็ท กล่าวอีกว่า ปัจจุบันความนิยมในพื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่น หรือ flexspace กำลังขยายตัวทั่วโลก และกลายเป็นเทรนด์หลักที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง เช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งธุรกิจนี้กำลังเติบโต หลังจากที่องค์กรขนาดใหญ่เริ่มให้ความสำคัญและเล็งเห็นคุณค่าของพื้นที่สำนักงานที่พร้อมปรับตัวและยืดหยุ่น  ซึ่งการลงนามเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ครั้งนี้ ​เป็นผลมาจากที่ IWG ได้เล็งเห็นถึงความต้องการในการทำงานแบบไฮบริดในตลาดที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยในปีนี้ มีลูกค้าใหม่ของเครือข่ายเพิ่มขึ้นถึง​ 2 ล้านราย ซึ่งรวมถึงการตกลงเช่าพื้นที่ครั้งใหญ่ที่สุดของ Nippon Telegraph and Telephone Corporation (NTT) โดยพนักงานกว่า 300,000 คนของ NTT สามารถใช้พื้นที่สำนักงานของ IWG ได้ทั่วโลก และเมื่อโลกค่อย ๆ ฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ความต้องการพื้นที่สำนักงานคุณภาพสูงที่พร้อมยืดหยุ่นได้ตามความต้องการก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เพราะการทำงานแบบไฮบริดได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่แห่งโลกยุคนิวนอร์มัล กระแสนี้จึงยิ่งทำให้ไอดับบลิวจีได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันมีพาร์ตเนอร์ในระบบแฟรนไชส์แล้วมากกว่า 50 แห่ง ใน 40 กว่าประเทศทั่วโลก   จากสถานการณ์แพร่ระบาดส่งผลให้คนทั่วโลกได้หันมาใช้ชีวิตการทำงานแบบไฮบริดไปพร้อมๆกับการสร้างสมดุลให้กับชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว การขยายธุรกิจของเราไปยังทั่วภาคเหนือของประเทศไทยจะช่วยให้คนทำงานสามารถประหยัดเวลาในการเดินทาง ความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการขยายฐานธุรกิจของเราในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ในอนาคต        
แลนดี้โฮม เจาะตลาดลูกค้าไฮเอนด์ ดันยอดขาย 8 เดือนทะลุ 1,600 ล้าน

แลนดี้โฮม เจาะตลาดลูกค้าไฮเอนด์ ดันยอดขาย 8 เดือนทะลุ 1,600 ล้าน

แลนดี้โฮม โชว์ผลงานปิดยอดขาย 8 เดือน ทะลุ 1,600 ล้าน สวนกระแสโควิด-19 หลังบุกตลาดลูกค้าไฮเอนด์ สร้างบ้านหลังละ 15 ล้าน มั่นใจสิ้นปีปิดยอดขายได้ตาม​เป้า 2,400 ล้าน   นางสาวพรรัตน์ มณีรัตนะพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท แลนดี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ยอดขายในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา บริษัทสามารถปิดยอดขายได้ 1,600 ล้านบาท แม้ว่าจะมีมาตรการ​ล็อกดาวน์ประเทศ เพื่อยับยั้งการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อให้ภาคธุรกิจเกิดการชะลอตัว แต่สำหรับแลนดี้ โฮม ยังคงเติบโตสวนทางพิษโควิดดังกล่าว โดยยอดขายในช่วงมกราคม – สิงหาคมที่ผ่านมา ​แบ่งสัดส่วนตามมูลค่าการปลูกสร้าง ดังนี้ บ้านหรูขนาดใหญ่ Brand Landy Grand ราคา 15 ล้านบาทขึ้นไป สัดส่วน 32% บ้านขนาดกลาง Brand Landy Home ราคา 5 - 10 ล้านบาท สัดส่วน 32% และราคา 10-15 ล้านบาท สัดส่วน 23% ส่วนบ้านหลังเล็ก  Brand Trendy Home ราคา 2 - 5 ล้านบาท สัดส่วน 13% โดยพบว่าลูกค้าที่มีงบประมาณปลูกสร้างตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความต้องการปลูกสร้างบ้านสูงสุด   สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้ยอดขายของในกลุ่มบ้านหรูแบรนด์ Landy Grand เติบโตเกินเป้าหมาย มาจากการเปิดสาขาใหม่ในโซนราชพฤกษ์ที่เน้นเจาะกลุ่มตลาดไฮเอนด์ย่านฝั่งธนฯ ได้รับการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างดี ตลาดไฮเอนด์เป็นกลุ่มนิชมาร์เก็ตที่มีกำลังซื้อและความต้องการบ้านหรูในราคาที่คุ้มค่า และเป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางการเงินจากสถานการณ์โควิดน้อยกว่ากลุ่มอื่น ประกอบกับการขึ้นราคาของวัสดุก่อสร้างโดยเฉพาะราคาเหล็กที่ปรับขึ้นแรงในช่วงต้นปี รวมถึงค่าแรงช่างที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ลูกค้าเร่งตัดสินใจปลูกสร้างบ้าน เพราะมองว่าในอนาคตราคาบ้านจะมีการขึ้นราคาตามวัสดุและค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง   นอกจากนี้ การอ่อนตัวของค่าเงินบาทยังส่งผลให้ลูกค้าหันมาปลูกสร้างบ้าน เพื่อเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และที่ดิน เนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีแต่มูลค่าเพิ่มขึ้น อีกทั้งไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่นการ Work from home ในช่วงโควิดทำให้ลูกค้าเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านและเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพการอยู่อาศัยที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตวิถีใหม่ รวมถึงลูกค้าหลายรายมองว่าช่วงนี้สามารถบริหารจัดการเวลาในการปรึกษากับทีมสถาปนิกและมีเวลาในการเข้ามาตรวจสอบความคืบหน้าการก่อสร้างได้มากขึ้น   ตลาดไฮเอนด์ที่เติบโต สอดคล้องกับผลสำรวจของสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ที่พบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  ไม่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีความพร้อมในการตัดสินใจปลูกสร้างบ้าน แลนดี้ โฮม จึงมองเห็นโอกาสในการทำตลาดรับสร้างบ้านหรูขนาดใหญ่ภายใต้แบรนด์ Landy Grand   นางสาวพรรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวโน้มสถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านครึ่งปีหลังว่า หากสถานการณ์โควิด-19 มีทิศทางที่ดีขึ้น รัฐบาลมีการคลายมาตรการล็อกดาวน์ จะส่งผลให้กิจการต่าง ๆ กลับมามีรายได้ ซึ่งลูกค้ากลุ่มเจ้าของธุรกิจที่มีแผนจะปลูกสร้างบ้านจะกล้าตัดสินใจ เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในสถานการณ์และสามารถวางแผนในอนาคตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น   อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายยอดขายในปีนี้  ที่คาดว่าจะทำได้​ 2,400 ล้านบาท ทางแลนดี้ โฮม จึงถือโอกาส จัดโปรโมชั่นพิเศษ เพื่อฉลองครบรอบ 33 ปี แลนดี้ โฮม ระหว่างวันที่ 16-26 กันยายน 2564 ณ แลนดี้ โฮม ทุกสาขา โดยจะมีการ​​เปิดตัวแบบบ้านใหม่ ​เพื่อการใช้ชีวิตวิถีใหม่กว่า 10 แบบ พร้อมติดตั้ง CAP+ (แค็พพลัส) ระบบเติมอากาศบริสุทธิ์ภายในบ้าน ช่วยกรองฝุ่น PM 2.5, ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ภายในห้องด้วยการสร้าง Positive Pressure ช่วยสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยจากเชื้อโรค และมอบส่วนลดสูงสุด 33%​ สูงสุด 250,000 บาท และ On top ด้วย Voucher มูลค่าสูงสุด 300,000 บาท   นอกจากนี้ทางแลนดี้ โฮม ยังสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการด้วยการกำหนดนโยบายการป้องกันและปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยแบ่งเป็นส่วนของ Show room สำนักงานขาย ได้มีมาตรการการดูแลรักษาความสะอาด โดยพนักงานทุกสาขาได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบ 100% สำหรับในส่วนของหน้างานก่อสร้าง ได้กำหนดให้ช่างวัดอุณหภูมิร่างกายพร้อมถ่ายภาพการตรวจสอบทุกเช้า ก่อนเริ่มงานและพนักงานทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
ที่อยู่อาศัยครึ่งปีแรกเปิดใหม่ยังเจอวิกฤต  จำนวนลดถึง37.3%เหลือมูลค่ากว่า1.18แสนล.​

ที่อยู่อาศัยครึ่งปีแรกเปิดใหม่ยังเจอวิกฤต จำนวนลดถึง37.3%เหลือมูลค่ากว่า1.18แสนล.​

ศูนย์ข้อมูลฯ เปิดเผยผลสำรวจภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยของ 27 จังหวัดสำคัญ พบว่า  การชะลอตัวอย่างมากถึง 32% ในด้านจำนวนที่อยู่อาศัยใหม่ ขณะที่มูลค่าลดลงถึง 37.3% เดินหน้าส่งสัญญาณเตือน เตรียมจัดสัมมนา “ตลาดที่อยู่อาศัย ครึ่งหลังปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 ภายใต้วิกฤติโควิด-19” ​   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2564 จนถึงปัจจุบันประเทศไทยยังประสบกับการแพร่ระบาดของไวรันโควิด​-19 ซึ่งรุนแรงมากขึ้น และยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยุติลงเมื่อไร  ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2564 และภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยของทั้งประเทศ  จากการสำรวจภาคสนามของศูนย์ข้อมูลฯ ถึงสภาวะของตลาดที่อยู่อาศัยใน 27 จังหวัดที่สำคัญ พบว่า มีความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของจำนวนที่อยู่อาศัยเข้าใหม่ที่เข้าสู่ตลาดใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ซึ่งมีจำนวนยูนิตเพียง 29,775 ยูนิต ลดลงถึง 32.0% และมีมูลค่า 118,667 ล้านบาท ลดลง 37.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563   จำนวนที่อยู่อาศัยเข้าใหม่ในกลุ่มของโครงการอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) มีการชะลอตัวลงมากกว่าโครงการบ้านจัดสรร โดยประเภทโครงการคอนโด​เข้าใหม่ในพื้นที่ 27 จังหวัด มีจำนวนประมาณ 8,769 ยูนิต ลดลง 46.0% มีมูลค่า 28,918 ล้านบาท ลดลง 53.3%​ ในขณะที่โครงการบ้านจัดสรรเข้าใหม่มีจำนวนยูนิตประมาณ 21,006 ยูนิต ลดลง 23.9% มีมูลค่ารวม 89,749 ล้านบาท ​ลดลง 29.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 การปรับตัวลดลงของจำนวนที่อยู่อาศัยเข้าใหม่เช่นนี้ ได้ส่งผลต่อภาพรวมของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดที่มีการขายในตลาดพื้นที่ 27 จังหวัด ณ ครึ่งแรก ปี 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 328,657 ยูนิต มูลค่ารวม 1,446,276 ล้านบาท จำนวนยูนิตลดลง 5.7% มูลค่าลดลง 6.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ไม่เพิ่มเติมสินค้าใหม่เข้ามาในตลาดมากนัก แต่จะเน้นการระบายสินค้าเดิมที่มีอยู่ออกไป เพื่อสร้างสภาพคล่องในการบริหารจัดการ   ในภาวะที่ยังมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้กำลังซื้อของผู้ที่ต้องการจะซื้อที่อยู่อาศัย และความสนใจในการซื้อเพื่อเป็นบ้านหลังที่สอง หรือเพื่อการลงทุนมีการชะลอตัวลงจนเห็นได้อย่างชัดเจนจากยอดขายที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ในภาพรวม โดยพบว่า ในช่วงครึ่งแรกปี 2564 มีจำนวนที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ประมาณ 45,895 ยูนิต ลดลง 14.3% มูลค่า 195,803 ล้านบาท ​ลดลง​ 14.7% ​ ซึ่งพบว่าเป็นโครงการบ้านจัดสรรขายได้ใหม่ 27,489 ยูนิต 22.6% มูลค่า 124,219 ล้านบาท ลดลง 20.7%​   ในขณะที่โครงการคอนโดขายได้ใหม่จำนวน 18,406 ยูนิต เพิ่มขึ้น 1.8% และมูลค่า 71,583 ล้านบาท  ลดลง​ 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563  การที่คอนโด​ขายได้ใหม่มีจำนวนยูนิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็นเพราะในปี 2563 มีฐานที่ต่ำมาก นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราดูดซับในภาพรวมลดลงต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2563 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว แม้ยอดขายใหม่จะขายได้น้อยลง แต่ผลจากการที่จำนวนเข้าใหม่ในตลาดน้อยลงด้วย ส่งผลให้จำนวนยูนิตเหลือขายลดลงตามไปด้วย โดย ณ ครึ่งแรกปี 2564 มีที่อยู่อาศัยเหลือขายจำนวน 282,762 ยูนิต ลดลง 4.1% คิดเป็นมูลค่า 1,250,473 ล้านบาท ลดลง 4.9% ซึ่งนับได้ว่าเป็นการลดแรงกดดันของภาวะยูนิตเหลือขายในตลาดให้ลดความรุนแรงลง และสะท้อนว่าตลาดมีการปรับสมดุลของอุปสงค์และอุปทานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งศูนย์ข้อมูลฯ  ได้ส่งสัญญาเตือนตลาดมาอย่างต่อเนื่อง   เพื่อเป็นการสร้างความชัดเจนของข้อมูลการสำรวจในพื้นที่แต่ละภูมิภาคให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจที่อยู่อาศัย ศูนย์ข้อมูลฯ จึงได้จัดงานสัมมนา “สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย ครึ่งหลังปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 ภายใต้วิกฤติโควิด-19” โดยศูนย์ข้อมูลจะนำเสนอชุดข้อมูลที่เจาะลึกลงไปในรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เห็นภาพที่แท้จริงของตลาดทั้งในส่วนของพื้นที่ขายดี พื้นที่ที่มีสินค้าเหลือขายมาก และระดับอัตราดูดซับ แยกตามประเภทที่อยู่อาศัย และระดับราคา เปรียบเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้าและช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ยังจะได้นำเอา Big Data ที่มี Time Series กว่า 10 ปีมาประมวลผลเชิงวิเคราะห์และคาดการณ์ภาพรวมตลาดในช่วงครึ่งหลังปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 ในแต่ละภูมิภาครวมถึงการเปิดเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนมุมมองทางการตลาดร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในวงการ อีกด้วย   งานสัมมนา “สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย ครึ่งหลังปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 ภายใต้วิกฤติโควิด-19” ครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 15 (กรุงเทพฯปริมณฑลและภาคกลาง), 17 (ภาคเหนือและ EEC) และ 21 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันตก) ของเดือนกันยายน 2564 ในรูปแบบของ Online Seminar เพื่อสามารถเผยแพร่ข้อมูลให้เกิดการรับรู้ข้อมูลอย่างทั่วถึงและเป็นข้อมูลให้แก่ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ใช้เป็นข้อมูลในการปรับแผนและกลยุทธ์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคอสังหาริมทรัพย์ต่อไป
5 ความท้าทายอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในปี 65

5 ความท้าทายอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในปี 65

ภาคการก่อสร้าง ถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ไม่เพียงขนาดอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ ที่มูลค่าคิดเป็นสัดส่วนราว 8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเท่านั้น  สามารถสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศได้ราว 200,000 บาท/คน/ปี  ในอุตสาหกรรมยังนี้ยังมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจอื่น ๆ อีกจำนวนมาก และมีแรงงานที่เกี่ยวข้องมากมาย   แต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบกับภาคการก่อสร้างไม่ต่างจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ แต่ผลกระทบดังกล่าวที่เกิดขึ้น มีมากน้อยแค่ไหน และทิศทางจากนี้จ ภาคการก่อสร้างจะเป็นไปในทิศทางใด EIC (Economic Intelligence Center) ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ทำการวิเคราะห์และประเมินอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยช่วงที่เหลือของปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 เพื่อสะท้อนให้มองเห็นอุปสรรคและโอกาสที่จะเกิดขึ้น   EIC คาดมูลค่าการก่อสร้างภาครัฐปี 2564 มีมูลค่าประมาณ 806,000 ล้านบาท ขยายตัว 6% จากปีที่ผ่านมา และ​เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี2563 ที่ขยายตัว 5% จากปี 2562   โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความคืบหน้าของโครงการเมกะโปรเจกต์ อย่างไรก็ดี การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในแคมป์คนงานก่อสร้าง รวมถึงการดำเนินกิจกรรมก่อสร้างภายใต้มาตรการ Bubble and seal สร้างแรงกดดันต่อภาคก่อสร้างในช่วงที่เหลือของปี การก่อสร้างภาครัฐครึ่งปีแรกโต 17% -ครึ่งปีแรกปี 2564 มูลค่าการก่อสร้างภาครัฐอยู่ที่ 438,295 ล้านบาท เติบโต 17% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2563 โดยเป็นผลจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.จากความคืบหน้าของโครงการเมกะโปรเจกต์ ทั้งโครงการที่เพิ่งเริ่มก่อสร้างในปีนี้ และโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างมาจากในอดีต -การเริ่มก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3  โครงการเมืองการบินภาคตะวันออก เฟส 1 โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ รันเวย์ที่ 3  -โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างมาจากในอดีต และมีความคืบหน้า เช่น ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี สายบางปะอิน-นครราชสีมา 2.งบประมาณ 4 หน่วยงานหลัก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า งบประมาณในปี 2564 ของหน่วยงานหลักที่ลงทุนภาคก่อสร้าง ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า และ​มูลค่าการเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปี 2564  ที่อยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา  ส่งผลให้มีเม็ดเงินทยอยเข้าสู่การก่อสร้างภาครัฐอย่างต่อเนื่องและตเติบโตในอัตรา 17% สำหรับงบประมาณในปีงบประมาณ 2564 ของ 4 หน่วยงานหลักที่ลงทุนภาคก่อสร้าง ได้แก่ -กรมทางหลวง ได้รับงบประมาณกว่า 126,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11%​ ใช้ก่อสร้าง ปรับปรุงทางหลวงและสะพาน -กรมชลประทาน ได้รับงบประมาณกว่า 74,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น​ 9%​ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ก่อสร้างขยายพื้นที่ชลประทาน -กรมทางหลวงชนบท ได้รับงบประมาณกว่า 49,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% -กรมโยธาธิการและผังเมือง  ได้รับงบประมาณกว่า 29,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10%   มูลค่าการเบิกจ่ายงบลงทุนในเดือนกรกฎาคม 2564  ลดลงมาอยู่ที่ 33,966 ล้านบาท ลดลง​ 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 มีคำสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ส่งผลให้โครงการก่อสร้างภาครัฐในกรุงเทพฯ และปริมณฑลหยุดชะงัก   มีแนวโน้มมูลค่าการก่อสร้างภาครัฐครึ่งปีหลังปี 2564 คาดว่าหดตัวลง 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะในช่วง​ครึ่งหลังของปี 2563 มูลค่าการก่อสร้างภาครัฐยังขยายตัวในอัตราสูงถึง 11%  จากการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ฐานในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูง การก่อสร้างภาคเอกชนปี 64 ลดลง 7% EIC คาดว่ามูลค่าการก่อสร้างภาคเอกชนในปี 2564 มีประมาณ 514,000 ล้านบาท ลดลง ​7% เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยเป็นการปรับลดลงทั้งในส่วนของการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย และเชิงพาณิชย์ -จำนวนที่อยู่อาศัยขายได้ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปีนี้​อยู่ที่ 57,300 ยูนิต ลดลง​ 12% ลดลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ซึ่งปี 2563 ที่ผ่านมา​จำนวน​ที่อยู่อาศัยขายได้อยู่ที่ 65,279 ยูนิต​ ลดลง 35%​ จากปี 2562 นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปี เ และตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 การระบาดของไวรัสโควิด-19 รุนแรงขึ้น สร้างแรงกดดันให้หน่วยที่อยู่อาศัยขายได้ในปีนี้​ไม่สามารถฟื้นตัวได้ สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยยังต้องเน้นการระบายสต็อก และเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่อย่างระมัดระวัง โดยผู้ประกอบการยังชะลอเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ออกไปในช่วงที่เหลือของปีนี้   -EIC คาดว่า จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2564 อยู่ที่ 47,000 ยูนิต ลดลง​ 36% จากปี 2563  หดตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2563  เพราะผู้ประกอบการเน้นการระบายสต็อก และเปิดโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง ซึ่งชะลอการเปิดโครงการใหม่ออกไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยปีที่ผ่านมามีจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่อยู่ที่ 73,043 ยูนิต​​ ลดลง ​39% จากปี 2562   -ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วยเช่นกัน โดยการปิดกิจการของภาคธุรกิจ และมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้าน ทำให้ภาคธุรกิจยกเลิกหรือลดการเช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน ส่งผลให้การขออนุญาตก่อสร้างอาคารสำนักงานยังหดตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 การขออนุญาตก่อสร้างพื้นที่ค้าปลีกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 สามารถฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำมากในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 ที่หดตัว  47% (YTD) แต่ยังถือว่าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น โดยอัตราการเช่าพื้นที่ลดลงมาก รวมถึงผู้ประกอบการไม่สามารถปรับขึ้นค่าเช่าได้   เนื่องจากที่ผ่านมาพื้นที่ค้าปลีกได้รับผลกระทบจากคำสั่งล็อกดาวน์  โดยสามารถเปิดบริการเฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหารแบบซื้อกลับบ้านและเดลิเวอรี่ ทำให้ผู้เช่าพื้นที่บริเวณอื่น ๆ ที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าเช่าได้ยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่ไป แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายคำสั่งล็อกดาวน์ให้พื้นที่ค้าปลีกเปิดให้บริการได้แล้วก็ตาม แต่ผู้ประกอบการยังมีความท้าทายจาก​จากความนิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ที่อาจทำให้การเดินทางมาซื้อสินค้าที่หน้าร้านลดลง ซึ่งผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์เพื่อดึงดูดการเดินทางมาซื้อสินค้าที่หน้าร้านต่อไป   สำหรับในปีหน้า มูลค่าการก่อสร้างภาคเอกชนจะยังมีแนวโน้มทรงตัว  เนื่องจากยังเผชิญความท้าทายจากภาคอสังหาฯ ​ที่ฟื้นตัวได้ช้า ทั้งภาคธุรกิจยังคงมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้าน สลับกับการเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ รวมถึงความนิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ​เชิงพาณิชย์ มีแนวโน้มชะลอหรือทบทวนการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ขณะที่ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มพัฒนาโครงการขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถปิดการขายได้รวดเร็ว แนวโน้มอุตสาหกรรมก่อสร้างปี 65 EIC คาดว่ามูลค่าการก่อสร้างภาครัฐในปี 2565 มีมูลค่าประมาณ 858,000 ล้านบาท เติบโต​  6% เมื่อเทียบจากปีนี้ ​ โดยเป็นผลมา 1.จากการก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ ที่มีความต่อเนื่องและคืบหน้าจากที่ผ่านมา เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3  โครงการเมืองการบินภาคตะวันออก เฟส 1 โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ รันเวย์ที่ 3 2.การเริ่มประมูลและเริ่มก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ใหม่ ๆ ทั้งโครงการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง โครงการขยายสนามบิน และโครงการทางถนน จะทำให้มีเม็ดเงินทยอยเข้าสู่ภาคก่อสร้างภาครัฐ ในปี 2565 อย่างต่อเนื่องเช่นกัน   แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาการประมูลและลงนามสัญญาโครงการใหม่ ๆ ที่อาจมีความล่าช้า และส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของมูลค่าการก่อสร้างภาครัฐในปี 2565 ได้เช่นกัน 5 ความท้าทายธุรกิจก่อสร้างปี 65 1.งบภาครัฐลดลง ในปีงบประมาณ 2565 หน่วยงานหลักที่ลงทุนภาคก่อสร้าง มีการลดงบประมาณลงในบางหน่วยงาน ​โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรมทางหลวงชนบท ที่หดตัวจากปีก่อนหน้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้โครงการก่อสร้างในภูมิภาค มีแนวโน้มชะลอหรือหยุดชะงักไป ทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กสูญเสียโอกาสในการเข้าประมูลและก่อสร้างโครงการขนาดกลางและเล็กในภูมิภาคตามมา  ทั้งนี้ งบประมาณของหน่วยงานหลักที่ลงทุนภาคก่อสร้าง ได้แก่ กรมทางหลวง หดตัว -8%YoY  และกรมทางหลวงชนบท ลดลง -5%YoY  2.ภาวะต้นทุนราคาเหล็กสูง โดยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนทำให้ความต้องการใช้เหล็กยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีนี้ ​ ต้นทุนสินแร่เหล็กที่มีแนวโน้มลดลงจากปริมาณการผลิตจากสหรัฐอเมริกา และบราซิลที่เพิ่มสูงขึ้น จะช่วยบรรเทาความร้อนแรงของราคาเหล็กจีนลงได้ส่วนหนึ่ง ซึ่ง EIC คาดว่า ในปีหน้าราคาเหล็กทรงยาวจีนจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 733 บาท/ตัน จากในปีนี้อยู่ที่ 785 บาท/ตัน อย่างไรก็ดี ระดับราคาดังกล่าว ยังถือว่ายังอยู่ในระดับสูงกว่าในอดีตที่ราว 500-600 บาท/ตัน โดยราคาเหล็กทรงยาวจีนที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงนี้ ส่งผลให้ราคาเหล็กไทยจะยังอยู่ในระดับสูงตามไปด้วย 3.ขาดแรงงาน-ต้นทุนค่าแรงสูงขึ้น คำสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ส่งผลให้แรงงานข้ามชาติ และแรงงานต่างจังหวัด ออกจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล และยังไม่กลับเข้าพื้นที่ได้ทั้งหมด ขณะที่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการภาครัฐ ต้องเร่งดำเนินการก่อสร้างให้ทันตามกำหนดการส่งมอบงานในช่วงเดือนสิงหาคม และกันยายนนี้ ​ซึ่งเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของปีงบประมาณ​ 2564  ทำให้ผู้ประกอบการเผชิญภาวะขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนแรงงานพุ่งสูงขึ้น ซึ่งปัญหานี้อาจจะต่อเนื่องไปถึงปี 2565 อีกด้วย   นอกจากนี้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุยังทำให้จำนวนแรงงานในภาคก่อสร้างมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานอายุ 15-40 ปี ที่ในปี 2557  คิดเป็นสัดส่วน 48% ของจำนวนแรงงานในภาคก่อสร้างโดยรวม ค่อย ๆ ลดลงมาอยู่ที่ 45% ของจำนวนแรงงานในภาคก่อสร้างโดยรวมในปี 2563 อีกทั้ง ค่าจ้างแรงงานพื้นฐานของภาคก่อสร้างยังอยู่ในระดับต่ำกว่าภาคธุรกิจอื่น ๆ โดยค่าจ้างแรงงานพื้นฐานของภาคก่อสร้างในปี 2563 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7,529 บาท/เดือน ขณะที่ค่าจ้างแรงงานพื้นฐานของภาคธุรกิจอื่น ๆ อย่างค้าส่ง/ค้าปลีก การผลิต และโรงแรม/ร้านอาหารจะอยู่ในระดับสูงกว่า โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8,499 บาท/เดือน 8,845 บาท/เดือน และ 9,034 บาท/เดือน ตามลำดับ   กล่าวได้ว่าค่าจ้างแรงงานพื้นฐานของภาคก่อสร้างที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ภาคก่อสร้างเผชิญสถานการณ์การไหลออกของแรงงานไปยังภาคธุรกิจอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสัดส่วนแรงงานอายุน้อยในภาคก่อสร้างที่ค่อย ๆ ลดลงจากเทรนด์การเข้าสู่สังคมสูงอายุ ท่ามกลางความต้องการใช้แรงงานพื้นฐานอย่างเข้มข้นของภาคก่อสร้าง ทำให้ภาคก่อสร้างยังต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติจำนวนมาก โดยในปีนี้จำนวนแรงงานต่างชาติคิดเป็นสัดส่วนราว 17% ของจำนวนแรงงานในภาคก่อสร้างทั้งหมด 4.การเปลี่ยนแบบก่อสร้าง จากวิถี New normal ผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการระบาดของโควิด​-19 ทำให้เกิดรูปแบบการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New normal) ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องติดตามแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เพื่อนำมาสู่การปรับรูปแบบการก่อสร้างให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตผู้บริโภค และภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะตลาดที่อยู่อาศัย ที่มีความนิยมซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบ และการก่อสร้างก็จะต้องตอบโจทย์แนวโน้มที่ผู้คนใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึ้น   อีกทั้ง มาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้านสลับกับการเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ จะทำให้รูปแบบการก่อสร้างอาคารสำนักงานเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่มุ่งเน้นพื้นที่สำหรับที่นั่งทำงานประจำของพนักงาน ไปสู่การปรับที่นั่งทำงานของพนักงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการขยายพื้นที่ส่วนกลาง รวมถึงการให้ความสำคัญกับระบบติดต่อสื่อสารมากขึ้น เพื่อรองรับการทำงานแบบ remote work   แม้แต่พื้นที่ค้าปลีก ที่อาจต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างให้มีสัดส่วนของพื้นที่ outdoor มากขึ้น นอกจากนี้ เทรนด์สิ่งปลูกสร้างยุคใหม่ ยังต้องให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี อย่างระบบอัตโนมัติ และเซ็นเซอร์มาใช้มากขึ้น เพื่อลดการสัมผัส ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างการก่อสร้างอาคารหรือที่อยู่อาศัยประหยัดพลังงาน และการใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.Productivity ต่ำ-พึ่งพาแรงงาน ภาคก่อสร้างคิดเป็นสัดส่วนราว 8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ แรงงานก่อสร้างสามารถสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศได้ราว 200,000 บาท/คน/ปี แต่จะพบว่า การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในปัจจุบันยังไม่สามารถปรับตัวดีขึ้นจากในอดีตได้มากนัก   ภาคก่อสร้างยังเป็นภาคธุรกิจที่มีความต้องการแรงงานพื้นฐานอย่างเข้มข้น ขณะที่การนำเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับ productivity ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเป็นผลมาจากการกระจายงานก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีกิจกรรมและขั้นตอนการทำงานที่หลากหลายไปยังผู้รับเหมาช่วง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่ยังขาดองค์ความรู้และเงินทุนในการเข้าถึงเทคโนโลยีก่อสร้าง ทำให้การใช้เทคโนโลยีส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และผู้ประกอบการขนาดกลางบางส่วนเท่านั้น   อีกทั้ง ในช่วงที่ผ่านมา แม้ภาคก่อสร้างจะเผชิญภาวะขาดแคลนแรงงาน แต่ก็ยังสามารถพึ่งพาแรงงานต่างชาติได้ จึงยังไม่มีความจำเป็นหรือมีแรงจูงใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับ productivity หรือทดแทนแรงงานมากนักทั้งนี้ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีในภาคก่อสร้างส่วนใหญ่จะเป็นการนำมาใช้เฉพาะในบางขั้นตอนเท่านั้น เช่น ขั้นตอนการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป อย่าง Prefabrication และ Modular การบริหารจัดการโครงการก่อสร้างที่มีการใช้ Building Information Modeling (BIM) และ Enterprise Resource Planning (ERP) โดยการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ยังจำกัด ในผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และผู้ประกอบการขนาดกลางบางส่วนเท่านั้น ขณะที่เมื่อพิจารณา supply chain ของภาคก่อสร้าง จะพบว่ามีขั้นตอนและกิจกรรมการทำงานที่หลากหลาย ตั้งแต่การจัดหาวัสดุก่อสร้าง การสำรวจพื้นที่การก่อสร้าง การส่งมอบงาน ไปจนถึงการบริการดูแลรักษาระบบต่าง ๆ หลังการส่งมอบงาน EIC มองว่า การนำเทคโนโลยีก่อสร้างมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น จะช่วยเพิ่ม productivity ภาคก่อสร้าง โดยผู้ประกอบการขนาดใหญ่และกลาง ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้และเงินทุนในการเข้าถึงเทคโนโลยีก่อสร้าง อาจขยายการใช้เทคโนโลยีจากที่ใช้เฉพาะขั้นตอนการก่อสร้าง และบริหารจัดการโครงการก่อสร้างเป็นหลัก ไปสู่การใช้เทคโนโลยีตลอด supply chain ตั้งแต่จัดหาวัสดุก่อสร้าง สำรวจพื้นที่ ส่งมอบงาน ไปจนถึงบริการดูแลรักษาระบบต่าง ๆ หลังการส่งมอบงาน ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดเล็กอาจเริ่มต้นจากการใช้ BIM และ ERP ก่อน   นอกจากนี้ ภาครัฐอาจเข้ามามีบทบาทสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีก่อสร้างผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการลงทุนด้านเทคโนโลยีก่อสร้าง การลดภาษีนำเข้าเทคโนโลยีก่อสร้าง การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการที่ลงทุนด้านเทคโนโลยีก่อสร้าง การสนับสนุนเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยการนำเทคโนโลยีก่อสร้างมาใช้อย่างแพร่หลายจะสามารถลดการใช้แรงงานพื้นฐาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถ upskill แรงงานพื้นฐานให้ไปทำงานที่ทักษะสูงขึ้นแทน ทั้งงานควบคุมเทคโนโลยี และงานที่ใช้ฝีมือ ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับ productivity แรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของผู้ประกอบการในระยะยาว 4 กลยุทธ์รับมือการก่อสร้างชะลอตัวปี 65 1.การหันมารับงานก่อสร้างภาครัฐ รวมถึงร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnerships : PPP) มากขึ้นโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ได้รับแรงกดดันจากภาคอสังหาฯ ฟื้นตัวได้ช้า   2.การให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพขององค์กร เพื่อให้สามารถเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้างภาครัฐได้อย่างหลากหลาย   3.ผู้ประกอบการที่เน้นการรับงานภาคเอกชนเป็นหลัก อาจต้องปรับกลยุทธ์หันไปรับงานประเภทรีโนเวท โดยยังมีโอกาสจากการที่ผู้ประกอบการโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์บางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ค้าปลีก มีการรีโนเวทพื้นที่เพื่อรองรับการฟื้นตัวของธุรกิจ หากการระบาดของไวรัสโควิด-19 บรรเทาลง   4.การหันมาเป็นผู้รับเหมาช่วงงานก่อสร้างภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ซึ่งได้รับผลกระทบจากการฟื้นตัวได้ช้าของภาคอสังหาฯ ​เช่นกัน   บทความต้นฉบับ
ตลาดอสังหาฯ 6 เดือนแรกยังชะลอตัว  โค้งท้าย 64 ยังลดต่อรออีก 4 ปีฟื้นตัวปกติ​

ตลาดอสังหาฯ 6 เดือนแรกยังชะลอตัว โค้งท้าย 64 ยังลดต่อรออีก 4 ปีฟื้นตัวปกติ​

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ  ประเมินสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยปี​ 64 ต้องปรับตัวเลขคาดการณ์ใหม่ หลังจากพบว่ามีการชะลอตัวอย่างมากในด้านซัพพลายใหม่ คาดเปิดตัวใหม่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะลดลงจากปีก่อนหน้า 35.0% หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ ลดลง 16.2% รอเวลาฟื้นสู่สภาวะตลาดปกติในปี 2568     ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์  ​เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2564 นี้้ ประเทศไทยยังประสบกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งค่อนข้างรุนแรงมากขึ้นกว่าในไตรมาสแรก ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2564  มีการถดถอยต่อเนื่่อง และยังไม่มีความชัดเจนถึงการฟื้นตัวภายในปี 2564   ศูนย์ข้อมูลฯ ได้เฝ้าสังเกตการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง พบว่าความกังวลต่อการควบคุุมการแพร่ระบาดของโควิด -19 มีผลโดยตรงต่อการลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ การขยายตัวของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ และการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย การขยายตัวโควิด-19 wave 3 – 4 ทำให้ผู้ประกอบการ ลดปริมาณการขอจัดสรรลงอย่างมาก แต่ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรที่มีราคาสูง ซึ่งกลุ่มที่มีกำลังซื้อในปัจจุบัน และลดการจัดสรรกลุ่มบ้านราคาต่ำ สรุปสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ หน่วยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรลดลงต่อเนื่อง Q2/64 ยูนิตที่ได้รับอนุญาตจัดสรรลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2563 แนวโน้มลดลงต่อเนื่องใน Q3/64 แต่กระเตื้องใน Q4/64 -การขยายตัวของโควิด-19 ระลอก 3-4 ทำให้ผู้ประกอบการ ลดปริมาณการขอจัดสรรลงอย่างมาก คือ ในไตรมาส 2 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ระบาดถึง -41.6% หรือมีจำนวนขออนุญาตจัดสรร 15,183 ยูนิต -ระหว่างเดือนมกราคม​-เมษายน 2564 ยูนิตจัดสรรรายเดือน ลงลง 37-46% หากเปรียบเทียบข่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่เริ่มกระเตื้องขึ้นบ้างในช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย.2564 และคาดว่าจะเริ่มดีขึ้นบ้างในไตรมาสสุดท้าย แต่ในภาพรวมทุกไตรมาสยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ที่อยู่ในระดับ 26,000 ยูนิต -คาดว่าผู้ประกอบการจะเน้นการขออนุญาตจัดสรร สำหรับบ้านแนวราบที่มีราคาสูงขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ปัจจุบันยังมีกำลังซื้อ และลดปริมาณการจัดสรรบ้านในราคาต่ำ เพราะกำลังซื้อได้รับผลกระทบมากกว่า -ภาพรวมของปี 2564 คาดว่าการขออนุญาตจัดสรรจะลดลงเหลือ 68,357 ยูนิตหรือลดลง 22.1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และในปี 2565 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 25.2% หรือมีการขออนุญาตจัดสรร 85,582 ยูนิต เนื่องจากปีนี้เป็นปีที่อยู่ในฐานต่ำ แต่ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีซึ่งมีระดับ 104,000 ยูนิต ซึ่งต้องถึงปี 2568 การจัดสรรถถึงจะอยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ย การโอนกรรมสิทธิ์Q2ลด 8.6% -ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีการโอนกรรมสิทธิ์ จำนวน 62,072 ยูนิต คิดเป็นอัตราลดลง 22.0% และมีมูลค่าการโอน 194,413 ล้านบาท ลดลง 8.6% -การโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาส 2 ลดลงทั้งจำนวนและมูลค่า ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ที่มีจำนวนโอน 90,223 ยูนิต และ 232,859 ล้านบาท ซึ่งในไตรมาส 2 จำนวนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 31.2% มูลค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 16.5% ภาพรวมของปีนี้ ยังคงติดลบเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยจำนวนน่าจะลดลง 5.7% และมูลค่าลดลง 6.2% -บ้านแนวราบ คาดว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์เหลือ 184,734 ยูนิต ลดลง 21.8% จากปีที่ผ่านมามีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ 236,158 ยูนิต และห่างจากค่าเฉลี่ย 23.6% ที่มีจำนวน 241,881 ยูนิต -คอนโด คาดว่าจะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ 85,416 ยูนิต ลดลง 30.2% จากปีที่ผ่านมามีจำนวน 122,338 ยูนิต และห่างจากค่าเฉลี่ย 28.3% ที่มีจำนวน 119,051 ยูนิต -แนวโน้มครึ่งปีหลัง คาดว่าไตรมาส 3 คาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์ยังจะลดลงต่อเนื่อง ทั้งด้านจำนวนที่จะลดลง 36.0% และมูลค่าลดลง 24.7% ส่วนไตรมาส 4 มีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนหน่วยและมูลค่าปรับตัวสูงขึ้นไปใกล้กับค่าเฉลี่ย -ภาพรวมปี 2564 คาดว่าจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ลดลงเหลือ270,151 ยูนิต ลดลง 24.6% จากปีที่ผ่านมามีจำนวน 358,496 ยูนิต และห่างจากค่าเฉลี่ย 25.2% ที่มีจำนวน 360,932 ยูนิต โดยการโอนกรรมสิทธิ์จะกลับมาปรับตัวดีขึ้นในปี 2565 และกลับสู่ภาวะปกติได้ในปี 2570 ปี64มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์เหลือ8แสนล้าน -ภาพรวมปี 2564 มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์คาดว่าจะลดลงเหลือ 804,241 ล้านบาท ลดลง 13.4% จากปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่า928,376 ล้านบาท แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 0.8% ที่มีมูลค่า 797,578 ล้านบาท ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์มีการรีไฟแนนซ์ด้วย ทำให้การโอนยังสูง​ -สำหรับบ้านแนวราบ คาดว่าจะมีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์เหลือเพียง 542,240 ล้านบาท ลดลง 12.1% จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่าการโอน 616,939 ล้านบาท -คอนโด ปีนี้น่าจะมีการโอน 262,001 ล้านบาท ลดลง 15.9% จากปีที่ผ่านมามีมูลค่าการโอน 311,437 ล้านบาท และห่างจากค่าเฉลี่ย -7.2% การโอนกรรมสิทธิ์ของต่างด้าว สถานการณ์หน่วยโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดคนต่างด้าวในปี 2563 มีจำนวน 8,258 ยูนิต ลดลงจากปีก่อนหน้า 35.3% และมีสัดส่วนลดลงเหลือ 6.8% จากเดิมที่เคยมีสัดส่วนเฉลี่ยประมาณ​ 10% มูลค่าการโอนอาคารชุดของคนต่างด้วย ในปี 2563 มีมูลค่า 37,716 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 อัตรา 25.5% และมีสัดส่วนลดลงเหลือ 12.1% จากเดิมที่เคยมีสัดส่วนเฉลี่ยประมาณ​ 16% จีนซื้อคอนโดไทยกว่า12,609ล้าน สำหรับสัดส่วนของชาวต่างชาติที่โอนกรรมสิทธิ์มากที่สุด 10 อันดับแรก ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ จากจำนวนชาวต่างชาติทั้งหมด 78 ประเทศ ได้แก่ 1.จีน โอนกรรมสิทธิ์จำนวน 2,748 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 12,609 ล้านบาท 2.รัสเซีย จำนวน 143 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 411 ล้านบาท 3.สหราชอาณาจักร จำนวน 130 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 473 ล้านบาท 4.ฝรั่งเศส จำนวน 119 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 436 ล้านบาท 5.เยอรมัน จำนวน 115 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 444 ล้านบาท 6.สหรัฐอเมริกา จำนวน 114 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 621 ล้านบาท 7.ไต้หวัน จำนวน 90 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 402 ล้านบาท 8.สิงคโปร์ จำนวน 88 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 446 ล้านบาท 9.ญี่ปุ่น จำนวน 62 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 284 ล้านบาท 10.อินเดีย จำนวน 62 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 409 ล้านบาท Q2สินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อยปรับเพิ่มขึ้น   -ข้อมูลสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย ทั่วประเทศในช่วงไตรมาส 2 มีการปรับตัวขึ้นอยู่บ้างแต่ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนมีโรคระบาด -คาดว่าไตรมาส 3-4 สินเชื่อที่อยู่อาศัยจะปรับตัวลดลง คาดว่าจะอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสองไตรมาส -ทิศทางในปีนี้ คาดว่าจะมีมูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยประมาณ 490,632-681,449 ล้านบาท โดยจะมีช่วงการเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง -19.8% ถึง 11.3% โดยกรณีปกติอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานถึงปี 2569 เพื่อที่จะมียอดสินเชื่อปล่อยใหม่เท่ากับ จุดสูงสุดในปี 2561 ที่มีอยู่​ 702,900 ล้านบาท ดีเวลลอปเปอร์พัฒนาบ้านแพงขึ้น​ การออกใบอนุญาตจัดสรร พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล -ไตรมาส 2 หน่วยจัดสรรลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2563 เริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 3 ปี 2564 จากความต้องการบ้านที่ยังมีอยู่ -สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3-4 ทำให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการจัดสรรลงอย่างมาก ในไตรมาส 2 มีปริมาณการจัดสรรลดลงมากถึง 56.4% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของช่วงก่อนเกิดโควิด-19 -ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2564 หน่วยจัดสรรลดลง 17-58% แต่ฟื้นตัวดีขึ้นบ้างในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2564 และคาดว่าไตรมาสสุดท้ายจะเริ่มดีขึ้นบ้าง แต่คาดว่าทุกไตรมาสจะยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย -ทิศทางการพัฒนาของดีเวลลอปเปอร์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีทิศทางเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ คือ มุ่งเน้นพัฒนาบ้านระดับราคาสูง เพราะเป็นกลุ่มลูกค้ามีกำลังซื้อดี และลดการพัฒนาบ้านระดับราคาต่ำ เพราะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ -ภาพรวมปี 2564 คาดว่ามีหน่วยจัดสรร 36,381 ยูนิต หรือจะลดลง 23.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นเป็น 49,954 ยูนิต หรือเติบโต 37.3% เพราะปีนี้ถือเป็นฐานที่ต่ำ และคาดว่าปี 2568-2570 การจัดสรรจะเข้าสู่ค่าเฉลี่ยปกติ 59,800 ยูนิต ปิดแคมป์คนงานกระทบบ้านสร้างเสร็จลดลง 12.7%  -ปัญหาการก่อสร้างที่เกิดจากภาวะวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาและการควบคุมการติดเชื้อของแคมป์คนงานก่อสร้างจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอก 4 ทำให้ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมามีหน่วยสร้างเสร็จต่ำกว่าเฉลี่ยของช่วงก่อนเกิดโควิดระบาดถึง 27% และลดลง 14.7% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 -คาดว่าไตรมาส 3 ปีนี้ หน่วยสร้างเสร็จจดทะเบียนจะยังคงปรับตัวลงลง แต่ในไตรมาสสุดท้ายน่าจะเริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ในช่วงปลายปี แต่คาดว่าทุกไตรมาสของปีนี้ จะยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ​ -แนวทางการดำเนินงานของดีเวลลอปเปอร์ จะเน้นการขายสินค้าที่เป็นสต็อกในปัจจุบัน และเปิดโครงการใหม่น้อยลง ซึ่งเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และส่งผลให้หน่วยสร้างเสร็จจดทะเบียนในปีนี้ลดลง -คาดว่าหน่วยสร้างเสร็จจดทะเบียนปีนี้จะลดลง 12.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยมีจำนวน 96,623 ยูนิต และคาดว่าในปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 5.2% หรือจำนวน 101,664 ยูนิต และการสร้างเสร็จจดทะเบียนจะเข้าสู่ค่าเฉลี่ยของช่วงปกติในปี 2570 หรือประมาณ 124,601 ยูนิต ลดเปิดตัวใหม่เน้นขายสต็อกในมือ -การชะลอตัวของหน่วยเปิดตัวใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอาจเป็นผลจากยอดขายที่ชะลอตัว และหน่วยเหลือขายสะสมในตลาด ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดระลอก 3-4 ทำให้กำลังซื้อของกลุ่มลูกค้าที่ต้องการที่อยู่อาศัยลดลง -ในไตรมาสที่ 2 มีหน่วยเปิดตัวใหม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 76.4% จากช่วงก่อนเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 -ในช่วงไตรมาสที่ 2 หน่วยเปิดใหม่หดตัวลง 46.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าไตรมาส 3-4 อาจจะเริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้นทดแทนยูนิตที่ขายได้ในช่วงที่ผ่านมา แต่คาดว่าจะเป็นการเปิดโครงการขนาดไม่ใหญ่ ทำให้ทุกไตรมาสของปีนี้จะยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่มีจำนวน 100,070 ยูนิตมากพอสมควร -สิ่งที่ดีเวลลอปเปอร์จะทำคาดว่าคือการเน้นขายสินค้าที่เป็นสต็อกในปัจจุบัน เปิดโครงการใหม่น้อยลง ทำให้ภาพรวมของปีนี้ คาดว่าจะมีจำนวนหน่วยเปิดใหม่ลดลง 35% โดยมีจำนวน 43,051 ยูนิต และปรับเพิ่มขึ้นในปีหน้าจำนวน 38.5% หรือมีจำนวน 59,607 ยูนิต ซึ่งคาดว่าการเปิดตัวใหม่จะเข้าสู่ค่าเฉลี่ยของช่วงปกติได้ในปี 2568-2569 10ทำเลฮิตเปิดตัวใหม่มากสุด 10 ทำเลเปิดตัวใหม่มากสุดในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ช่วง 6 เดือนแรกของปี 1.บางพลี จ.สมุทรปราการ เปิดตัวใหม่ทุกประเภทรวม 1,388 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 6,076 ล้านบาท 2.ห้วยขวาง จ.กรุงเทพฯ เปิดตัวใหม่ทุกประเภทรวม 982 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 4,797 ล้านบาท 3.บางใหญ่ จ.นนทบุรี เปิดตัวใหม่ทุกประเภทรวม 846 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 6,944 ล้านบาท 4.ลาดกระบัง จ.กรุงเทพฯ เปิดตัวใหม่ทุกประเภทรวม 754 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 3,416 ล้านบาท 5.วัฒนา จ.กรุงเทพฯ เปิดตัวใหม่ทุกประเภทรวม 692 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 8,200 ล้านบาท 6.จตุจักร จ.กรุงเทพฯ เปิดตัวใหม่ทุกประเภทรวม 668 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 6,426 ล้านบาท 7.บางกะปิ จ.กรุงเทพฯ เปิดตัวใหม่ทุกประเภทรวม 644 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 2,357 ล้านบาท 8.พระสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ เปิดตัวใหม่ทุกประเภทรวม 618 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 1,870 ล้านบาท 9.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ เปิดตัวใหม่ทุกประเภทรวม 596 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 3,808 ล้านบาท 10.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เปิดตัวใหม่ทุกประเภทรวม 588 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 2,210 ล้านบาท -สำหรับระดับราคาที่เปิดตัวใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ระดับราคา 3-5 ล้านบาท จำนวน 3,843 ยูนิต สัดส่วน 30.2% 2.ระดับราคา 2-2.5 ล้านบาท จำนวน 3,140 ยูนิต สัดส่วน 24.6% 3.ระดับราคา 7.5-10 ล้านบาท จำนวน 1,439 ยูนิต สัดส่วน 11.3% 4.ระดับราคา 5-7.5 ล้านบาท จำนวน 1,437 ยูนิต สัดส่วน 11.3% 5.ระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 910 ยูนิต สัดส่วน 7.1% โอนกรรมสิทธิ์ปี 64 ลดลง 16.2% -ไตรมาส 2 การโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวนลดลง 4.5% หรือมีจำนวน 45,795 ยูนิตแต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 3.3% มีมูลค่า 145,731 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่าราคาบ้านปรับราคาเพิ่มขึ้น -การโอนกรรมสิทธิ์ดังกล่าวทั้งจำนวนและมูลค่า ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี โดยจำนวนต่ำกว่าถึง 20.2% จากค่าเฉลี่ย 51,043 ยูนิต และมูลค่าต่ำกว่า 5.9% ที่มีค่าเฉลี่ย​ 154,803 ล้านบาท -ไตรมาส 3 มีแนวโน้มว่าการโอกนกรรมสิทธิ์จะลดลงต่อเนื่อง ทั้งจำนวนและมูลค่า โดยประเมินว่าจำนวนจะลดลง 22.8% หรือมีจำนวน 39,624 ยูนิต และมูลค่าเหลือ 136,118 ล้านบาท หรือลดลง 18.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -ไตรมาส 4 มีแนวโน้มว่าจำนวนหน่วยและมูลค่าจะปรับเพิ่มขึ้น แต่หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังคงลดลง โดยจำนวนลดลง 19.9% หรือมีจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ 45,795 ยูนิต ส่วนมูล่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.1% มีมูลค่าที่ 167,010 ล้านบาท ซึ่งเริ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี -ภาพรวมปีนี้ คาดว่าจะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์เหลือ 164,861 ยูนิต ลงลงจากปีที่ผ่านมา 16.2% ที่มีจำนวน 196,639 ยูนิต และห่างจากค่าเฉลี่ย -15.4% โดยมูลค่าการโอนลดลง 4.2% หรือมีมูลค่า 587,539 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมามีมูลค่า 613,590 ล้านบาท ซึ่งสูงค่าเฉลี่ย 12.9% -หากแยกประเภทบ้านแนวราบในปีนี้ อาจมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ลดลงเหลือเพียยง 92,877 ยูนิต ลดลงจากปีที่ผ่านมา 5.2% ที่มีหน่วยโอนกรรมสิทิ์ 97,941 ยูนิต และห่างจากค่าเฉลี่ย -7.8%  โดยมีมูลค่า 350,331 ล้านบาท ลดลง 0.8% จากปีที่ผ่านมามีมูลค่า 353,217 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 17.7% -สำหรับประเภทคอนโด อาจมีหน่วยโอนจำนวน 71,984 ยูนิต ลดลง 27.1% จากปีที่มีจำนวน 98,689 ยูนิต ​ซึ่งห่างจากค่าเฉลี่ย -19.6% โดยมีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ลดลง 8.9% เหลือมูลค่า 237,209 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ที่มีมูลค่า 260,374 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเฉลี่ย 6.6% -สถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2565 ที่น่าจะมีจำนวน 178,906 ยูนิต และเข้าสู่ภาวะปกติในปี 2567 ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวน 188.917 ยูนิต  โดยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีการปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 และน่าจะถือว่าปีนี้ลดลงต่ำสุด แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ผ่านมา สำรวจตลาดอสังหาฯ 29 พื้นที่สีแดง​ - 29 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มมีสัดส่วนการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินคิดเป็นสัดส่วน 89% ของการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ จากค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2558-2562 - สำหรับ 10 อันดับแรกของจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มในปี 2563 มีสัดส่วนการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเป็น 91% ของ 29 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม จะเห็นว่า 10 อันดับแรกของจังหวัดพื้นที่สีแดง ช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ มีอัตราขยายตัวลงลง 33.1% -สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม มีสัดส่วน 78% ของการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด -เฉพาะ 10 อันดับแรกของจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มในปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์เป็น 88% ของ 29 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม จะเห็นว่า 10 อันดับแรกของจังหวัดพื้นที่สีแดง ช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ มีอัตราขยายตัวลดลง 13.7% -สำหรับมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย 29 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มมีสัดส่วนวมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์เป็น 85% ของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด -เฉพาะ 10 อันดับแรกของจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มในปี 2563 มีสัดส่วนมูลค่าการโอนเป็น 93% ของ 29 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม จะเห็นว่า 10 อันดับแรกของจังหวัดพื้นที่สีแดง ช่วงไตรมาส 2 ปีนี้มีอัตราขยายตัวมูลค่าเพิ่มขึ้น 2.4%  
10 บิ๊กอสังหาฯ กวาดยอดขายบ้านและคอนโด ไตรมาส 2 กว่า 51,650 ล้าน

10 บิ๊กอสังหาฯ กวาดยอดขายบ้านและคอนโด ไตรมาส 2 กว่า 51,650 ล้าน

10 บิ๊กอสังหาฯ ยังกวาดยอขายบ้านและคอนโดไตรมาส 2 กว่า 51,650 ล้าน ​ขณะที่ทำรายได้ 6เดือนแรกโต9.78% รายได้รวมQ2โต131% ส่วน6เดือนแรกโกยรายได้กว่า 1.12 แสนล้าน ดูเหมือนว่าแม้บ้านเราจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาต่อเนื่องกว่าหนึ่งปี และได้ส่งผลกระทบกับภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อในวงกว้าง แต่ผลการดำเนินงานของดีเวลลอปเปอร์พัฒนาที่อยู่อาศัย ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนใหญ่ยังคงรักษาสร้างยอดขายและรายได้เอาไว้ได้ แม้ว่าบางบริษัทอาจจะทำผลงานได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ก็ถือว่าภายใต้สถานการณ์ความยากลำบากของการใช้ชีวิตและดำเนินธุรกิจ ผลงานที่ยังรักษาเอาไว้ได้ทำให้มองเห็นว่า ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และบางบริษัททำผลงานได้ดีและโดดเด่นด้วย 10 บิ๊กกวาดยอดขายบ้าน-คอนโดกว่า5หมื่นล้าน สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา หากวัดยอดขายเฉพาะธุรกิจที่อยู่อาศัย ประเภทบ้าน ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม ไม่รวมรายได้อื่น ๆ เช่น รายได้จากค่าบริหาร รายได้ธุรกิจโรงแรม รายได้จากดอกเบี้ย เป็นต้น  จะพบว่า 10 รายใหญ่มียอดขายกลุ่มบ้านและคอนโด รวมกว่า 51,650.15 ล้านบาท เติบโต 3.52% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาย 49,894.74 ล้านบาท   โดยบริษัทที่สร้างยอดขายกลุ่มบ้านและคอนโดมากที่สุด ยังเป็นบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่ทำยอดขายไปว่า 8,465.05 ล้านบาท เติบโต 17.08% จากไตรมาส 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมียอดขาย 7,230.21 ล้านบาท ซึ่งอาจจะเป็นเพราะในช่วงไตรมาสที่ 2 ปีที่แล้ว ได้เริ่มมีมาตรการล็อกดาวน์ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่ ต้องกักตัวอยู่บ้าน และผู้ประกอบการต้องหากลยุทธ์มาเพิ่มยอดขาย   แม้ว่าส่วนผู้ประกอบการใหญ่ยังคงทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น แต่มี 4 บริษัทที่ทำยอดขายลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ทำยอดขายบ้านและคอนโดลดลงมากที่สุดถึง 29.88% รองลงมาเป็นบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ยอดขายกลุ่มบ้านและคอนโดลดลง 25.05% ตามมาด้วย บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ลดลง 14.32% และบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ลดลง 0.1% (รายละเอียดตามตารางประกอบ) ยอดขายบ้าน-คอนโด6เดือนแรกโต9.78% หากดูเฉพาะยอดขายบ้านในช่วง 6 เดือนแรก ยังคงมีทิศทางเป็นบวก สามารถทำยอดขายได้เติบโต 9.78% มีมูลค่ากว่า 102,384.51 ล้านบาท โดยบมจ.เอพีฯ ทำยอดขายได้สูงสุดถึง 16,714.52 ล้านบาท แซงหน้าบมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ที่ทำยอดขายได้ 15,605.25 ล้านบาท   แม้ส่วนใหญ่จะทำยอดขายในช่วง 6 เดือนแรกได้เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่มี 3 บริษัทที่ทำยอดขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ได้แก่ บมจ.เฟรเซอร์สฯ ทำผลประกอบการช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ได้ 9,163.34 ล้านบาท ลดง 17.76% รองลงมาเป็น บมจ.แสนสิริ ที่ยอดขายลดลงไป 15.44% และบมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ที่ยอดขายลดลง 13.72% รายได้รวมQ2โต131%            แต่หากดูผลประกอบการโดยรวมทุกธุรกิจที่ดีเวลลอปเปอร์ดำเนินงานอยู่นั้น จะพบว่าช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา 10 ดีเวลลอปเปอร์สามารถสร้างรายได้รวมทุกธุรกิจได้เติบโตถึง 131.66%  หรือมีมูลค่า 55,876.45 ล้านบาท และสามารถทำกำไรได้ถึง 7,728.40 ล้านบาท เติบโตถึง 524.69 ล้านบาท ซึ่งเป็นเพราะไตรมาส 2 ปีที่แล้ว ธุรกิจอสังหาฯ ได้รับผลกระทบของไวรัสโควิด-19 มากที่สุด เป็นช่วงเวลาที่หลายบริษัทมียอดขายต่ำที่สุดของปี   โดยรายได้รวมของไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีบมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ที่ยังคงทำรายได้รวมสูงที่สุด คือ 9,153.21 ล้านบาท และยังทำกำไรได้สูงสุดเช่นกันด้วยมูลค่า 1,869.52 ล้านบาท แต่พบว่ามี 3 บริษัทที่ทำรายได้รวมลดลง ได้แก่ บมจ.แสนสิริ มีรายได้รวมลดลงมากที่สุดถึง 28.37% ตามมาด้วยบมจ.เฟรเซอร์ส ลดลง 22.12% และบมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ลดลง 12.13% 6เดือนแรกโกยรายได้กว่า 1.12 แสนล้าน แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะเพิ่มระดับความรุนแรงมาตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยศักยภาพและความสามารถในการทำธุรกิจของกลุ่มดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ 10 รายของกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ก็ยังทำให้ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สามารถทำรายได้จากการดำเนินธุรกิจไปถึง 112,218.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7.91% แม้ว่าจะมีหลายบริษัทที่รายได้รวมอาจจะลดลงจากปีที่ผ่านมาบ้าง เพราะธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มที่อยู่อาศัย ได้รับผลกระทบ เช่น ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจออฟฟิศให้เช่า เป็นต้น   โดยพบว่ามี 4 บริษัทที่รายได้รวมลดลง ซึ่งลดลงมากที่สุด คือ บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ที่ลดลง 21.75% ซึ่งส่วนหนึ่งบริษัทมีธุรกิจโรงแรมที่ปีนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก รองลงมาเป็นบมจ.แสนสิริ ที่ลดลงไป 16.25% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามมาด้วยบมจ.เฟรเซอร์สฯ ที่มีรายได้รวมลดลง 16.18% และบมจ.พฤกษา ที่รายได้รวมลดลง 0.82%   แต่ในภาพรวมแล้วทุกบริษัทยังคงรักษาอัตราการทำกำไรไว้ได้ดี ส่วนใหญ่จะมีกำไรเติบโต ยกเว้นบมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ที่ยังคงขาดทุนโดยาดทุนถึง 339.33 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 107.58% และบมจ.พฤกษา แม้ทำกำไรได้แต่อัตรากำไรลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.79%  
อัพเดท ตลาดอสังหาฯ ไทยครึ่งปีแรก  เปิดใหม่ลด18%สต็อกกว่า2.2แสนยูนิต

อัพเดท ตลาดอสังหาฯ ไทยครึ่งปีแรก เปิดใหม่ลด18%สต็อกกว่า2.2แสนยูนิต

ถึงเวลานี้เราได้เดินทางมาเกินครึ่งปี 2564 แล้ว แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่มีทีท่าว่าจะแผ่วลงไปเลย จำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน รวมถึงผู้เสียชีวิตยังคงสูงอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงทำให้หลายธุรกิจยังไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวได้   ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน ผ่านมากว่าครึ่งปีแล้ว ธุรกิจยังคงได้รับผลกระทบไม่ต่างธุรกิจอื่น ๆ การเปิดตัวโครงการใหม่ลดน้อยลงจนแทบจะไม่มีให้เห็น ส่วนใหญ่ยังคงเน้นการระบายสต็อกสินค้าที่มีอยู่ในมือ และขายโครงการเก่าที่เปิดตัวไปก่อนหน้า โปรโมชั่นส่งเสริมการขายยังคงแนวทางหลักที่ดีเวลลอปเปอร์ใช้ เพื่อสร้างยอดขาย ในภาวะที่กำลังซื้อชะลอตัว   โดยบทสรุปของการเปิดตัวในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาเป็นอย่างไรนั้น  ทางบริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) หรือ LPN ได้ทำบทสรุปออกมาให้เห็นถึงภาพรวมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ​ ครึ่งปีแรกเยูนิตปิดใหม่ลดลง 18% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 มีที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งหมด 23,551 ยูนิต ลดลง 18% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นมูลค่า 130,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 จำนวนยูนิตการเปิดตัวลดลง แต่มูลค่าสูงขึ้นเนื่องจากมีการเปิดตัวโครงการ The Forestias  ซึ่งเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูงถึง 45,000 ล้านบาท ของบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในไตรมาสสองของปี 2564  ทำให้มูลค่าการเปิดตัวโครงการอสังหาริมทรัพย์โดยรวมในครึ่งแรกของปี 2564 สูง เมื่อเทียบกับจำนวนยูนิตที่เปิดที่ลดลง   จากยูนิตเปิดตัวทั้งหมด 23,551 ยูนิต เป็นการเปิดตัวโครงการอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) จำนวน 9,235 ยูนิต เพิ่มขึ้น 4% มูลค่า 55,616 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 มีอัตราขายได้เฉลี่ย 29% ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่าน เนื่องจากในปี 2563 มีการประกาศบังคับใช้มาตรการด้านสินเชื่อ Loan to Value:LTV เป็นครั้งแรกจึงเกิดแรงกดดันต่อการตัดสินใจซื้อ บวกกับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถานบันการเงินที่เพิ่มมากขึ้น   ในขณะที่การเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2563 แต่ยังคงมีจำนวนยูนิตและมูลค่าที่มากกว่าอาคารชุด คิดเป็นสัดส่วน 61% ของยูนิตเปิดตัวทั้งหมด โดยมีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยจำนวน 14,316 ยูนิต มูลค่า 74,435 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 หดตัว 28% และ 18% ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แม้การเปิดตัวจะหดตัวลงแต่บ้านพักอาศัยยังมีอัตราขายได้เฉลี่ย 13% ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราขายได้ในปี 2563   โดยโครงการบ้านพักอาศัย ประเภททาวน์เฮ้าส์ เป็นรูปแบบบ้านที่ยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้ต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น คำนึงถึงระยะห่างทางสังคมกันมากขึ้น การมองหาที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้อย่างทาวน์เฮ้าส์จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในช่วงเวลานี้ โดยมีการเปิดตัวโครงการทาวน์เฮ้าส์ใหม่เป็นจำนวน 8,568 ยูนิต มูลค่า 25,267 ล้านบาท หดตัว 35% และ 33% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563  มีอัตราขายได้เฉลี่ย 14%   ประเภทบ้านเดี่ยว มีจำนวนยูนิตเปิดตัวใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 จำนวน 2,984 ยูนิต มูลค่า 33,499 ล้านบาท หดตัว 31% และ 16% ตามลำดับ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีอัตราขายได้เฉลี่ย 11% ซึ่งสูงขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563  เนื่องด้วยเป็นสินค้าที่มีราคาขายค่อนข้างสูง และสถานการณ์เศรษฐกิจอาจไม่ได้มีผลกระทบกับกลุ่มลูกค้าในระดับนี้มากนัก   ประเภทบ้านแฝด เป็นรูปแบบบ้านที่ได้รับความสนใจมากขึ้น มีอัตราขายได้เฉลี่ย 12% ด้วยรูปแบบบ้านที่ถูกพัฒนาให้ใกล้เคียงกับบ้านเดี่ยว บวกกับราคาขายเฉลี่ย 5-8 ล้านบาท จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยในครึ่งปีแรกเปิดตัวใหม่เป็นจำนวน 2,764 ยูนิต มูลค่า 15,669 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% และ 26% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา คอนโดต่ำกว่า 3 ล้านยังครองตลาด จากการศึกษาพบว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 คอนโดในระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท (Affordable Price) มีส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 70% จากยูนิตที่ขายได้ของคอนโดทั้งหมด ซึ่งเป็นระดับราคาที่ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มหันมาเปิด​แบรนด์ใหม่หรือพัฒนาโครงการระดับราคานี้มากขึ้น ขณะที่ตลาดบ้านพักอาศัยอย่างทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝดมีแนวโน้มที่ระดับราคาขายทรงตัว จากสภาวะตลาดและสภาพเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวในปัจจุบัน แต่ระดับราคาของบ้านเดี่ยวมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น จากการพัฒนาโครงการมูลค่าสูงบนพื้นที่โครงการขนาดเล็กหรือขนาดกลาง โดยมีจำนวนยูนิตในโครงการไม่มากนัก ซึ่งกลุ่มลูกค้าระดับราคานี้เป็นผู้อยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจมากนัก   ในขณะที่ทำเลในเขตปริมณฑล รอบกรุงเทพฯ ​ อย่าง ทำเลรังสิต ปทุมธานี และบางนา สมุทรปราการ เป็นทำเลที่ถูกพัฒนาเป็นโครงการบ้านพักอาศัยจำนวนมาก เนื่องจากเป็นทำเลที่สามารถเดินทางได้สะดวกทั้งถนนสายหลัก ทางหลวงพิเศษหรือถนนวงแหวนรอบนอก ทำให้เดินทางเข้า-ออกสู่ใจกลางเมืองหรือศูนย์กลางธุรกิจได้ง่าย แม้กระทั่งการเดินทางไปยังจังหวัดใกล้เคียง พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในทำเล รวมถึงปัจจัยด้านราคาที่ดินที่ยังสามารถพัฒนาโครงการเพื่อทำราคาขายไม่เกิน 5 ล้านบาทได้อยู่ แต่จากเหตุการณ์การระเบิดของโรงงานอุตสาหกรรมย่านกิ่งแก้วในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา อาจทำให้การตัดสินใจเลือกซื้อทำเลที่อยู่อาศัยใกล้กับพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างบางนานั้นยากขึ้น ใช้เวลาระบายสต็อกกว่า 2 ปีจึงจะหมด ผลจากสถานการณ์การเปิดตัวโครงการใหม่ที่หดตัวลง บวกกับอัตราการขายได้เฉลี่ยที่ลดลงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 “ลุมพินี วิสดอม” คาดว่ายูนิตคงค้างในตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 มีแนวโน้มทรงตัวจากสิ้นปี 2563 โดยมีจำนวนทั้งหมดประมาณ 222,000 ยูนิต อาจต้องใช้เวลาในการขายประมาณ 51 เดือนเพื่อระบายยูนิตคงค้างทั้งหมด ซึ่งแบ่งออกเป็นยูนิตคงค้างประเภทคอนโดประมาณ 85,300 ยูนิต หดตัวลงจากสิ้นปีที่ผ่านมาประมาณ 6% จากการชะลอแผนและเลื่อนเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2563   ในขณะที่ยูนิตคงค้างของบ้านพักอาศัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2563 ประมาณ 4% เป็นจำนวนประมาณ 136,700 ยูนิต ผลจากการที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ หันมาเน้นพัฒนาบ้านพักอาศัยมากกว่าคอนโด เพื่อตอบรับกับความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่และมีความเป็นส่วนตัว(Privacy) มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 และแนวโน้มที่ต้องทำงานที่บ้าน(Work from home) มากขึ้น นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทด้านวิจัยและพัฒนาในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) หรือ LPN  เปิดเผยว่า การเปิดตัวโครงการใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ลดลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในไตรมาสสองของปี 2564 ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ เลื่อนแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ ประกอบกับการที่ภาครัฐ ได้เริ่มมีการออกมาตรการที่เข้มงวดเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการประเมินสถานการณ์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ยังคงมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ ในช่วงครึ่งปีหลัง อาทิ มาตรการปิดแคมป์ก่อสร้างในเดือนกรกฏาคม ที่ส่งผลกระทบต่อการก่อสร้าง ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถส่งมอบที่อยู่อาศัยได้ตามแผนที่วางไว้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในเรื่องของราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาเหล็ก ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนทางธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น  นอกเหนือจากความสามารถในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่อาจจะยืดเยื้อจากไตรมาส 3 ไปจนถึงไตรมาส 4   ดังนั้น จำนวนยูนิตคงค้างที่อยู่ในตลาดจึงมีแนวโน้มคงที่ จากอัตราการระบายเฉลี่ยลดลง ผนวกกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งมีอัตราการว่างงานสูงแตะระดับ 2 ล้านกว่าคน ภาระหนี้ครัวเรือนแตะระดับ 90%  ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง แหล่งเงินทุนอย่างสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโดยมีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อ 40-50% ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อกำลังซื้อที่อยู่อาศัยในตลาด และการตัดสินใจเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ด้วย บทสรุปตลาดปี 64 ตลาดหดตัวต่อ สำหรับแนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ถือว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าช่วงครึ่งแรกของปี  เนื่องจากผู้ประกอบการอสังหาฯ มีแผนที่จะเปิดตัวโครงการใหม่  หลังจากที่เลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่หลายโครงการในช่วงครึ่งแรก  และหากรัฐบาลสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการ​ ทยอยเปิดตัวโครงการใหม่ในช่วงปลายไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ทำให้คาดว่าปีนี้ ​จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 52,000-60,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 265,000-300,000 ล้านบาท หรือหดตัวประมาณ 5% ถึงขยายตัว 8% ในปี 2564 เทียบกับปี 2563   แต่ทั้งนี้ ถ้ารัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ภายในปี 2564 นี้ คาดว่าตลาดที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่เปิดตัวใหม่อยู่ที่ประมาณ 45,000-52,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 225,000-265,000 ล้านบาท หรือหดตัว 5% ถึง 20% ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันจากปี 2563   ถ้ารัฐบาลควบคุมการแพร่ระบาดได้ในไตรมาส 3 สามารถเร่งนำเข้าและฉีดวัคซีนได้ตามแผนที่วางไว้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศ  ภาคการส่งออกและภาคการผลิต ยังคงสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐสามารถดำเนินการได้ตามแผน  อัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในอัตราต่ำ อาจทำให้สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยมีโอกาสกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564
บ้าน 24 ล้านหลังยังไม่ทำประกันภัย  ความเสี่ยงที่เป็นโอกาสสำหรับ​ TQM ​

บ้าน 24 ล้านหลังยังไม่ทำประกันภัย ความเสี่ยงที่เป็นโอกาสสำหรับ​ TQM ​

ตลาดบ้านไทย​ 27.2 ล้านหลัง ทำประกันแค่​ 3.2 หลังคา ขณะที่เมกะเทรนด์หลังโควิด คนจะอยู่ในบ้านมากขึ้น TQM เห็นโอกาส บุกตลาดประกันภัยบ้าน ปล่อยประกัน “TQM Home Insurance”​ กว่า 100 รูปแบบ หวังโกยเบี้ย 5 ปี 15,927 ล้านบาท ​ โดยปกติเวลาซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม แล้วเราต้องกู้เงินกับทางธนาคาร สิ่งหนึ่งที่มักจะตามมากับวงเงินสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ คือ ประกันภัยบ้าน ซึ่งมักจะเป็นการประกันอัคคีภัย หรือประกันภัยพิบัติ  (แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ประเภทสินเชื่อและหลักเกณฑ์ของแต่ละธนาคารด้วย) นอกจากนี้ ยังมีประกันชีวิตผู้กู้เพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อด้วย   แต่หลังจากการผ่อนสินเชื่อกับธนาคารหมดแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะละเลยกับการทำประกันภัยให้กับบ้าน หรือแม้แต่คนที่ซื้อบ้านด้วยสด ก็มักจะไม่ได้ทำประกันภัยที่มากกว่าโครงการที่ขายบ้านหรือคอนโดทำให้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสินค้าประเภทประกันภัยสำหรับบ้านมีหลากหลายชนิด หลากหลายประเภท และขอบเขตความคุ้มครองที่มากมาย เช่น การคุ้มครองเฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่งภายในบ้าน คุ้มครองการโจรกรรมทรัพย์สิน เป็นต้น   ตลาดประกันภัยบ้านหรือที่อยู่อาศัย จึงเป็นตลาดใหม่ ที่มีโอกาสทางการตลาดสูง และปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็ยังรู้จักหรือซื้อประกันภัยบ้านกันไม่มากนัก ล่าสุด TQM โบรคเกอร์ประกันภัยไทย ได้ออกประกันภัยบ้านแนวใหม่ “TQM Home Insurance” สำหรับคุ้มครองบ้าน​มากกว่า 100 แผนประกัน โดยมองว่าตลาดมีโอกาสและมีศักยภาพ ในการเข้ามาทำตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับบริษัท ​โดยมี 3 เหตุผลสำคัญ คือ 1.บ้านกว่า 24 ล้านหลังยังไม่มีประกัน ในประเทศไทยมีบ้านทั้งหมด 27.2 ล้านหลังคาเรือน มีเพียงแค่ 3.2 หลังคาเรือนเท่านั้นที่มีประกันบ้าน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 12% เท่านั้น ยังมีบ้านอีกมากที่ยังไม่ได้ทำประกันภัย ซึ่งหากเปรียบเทียบในต่างประเทศ จะพบว่า หลายประเทศให้ความสำคัญและทำประกันภัยบ้านในสัดส่วนที่มากกว่าไทย อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ประกันบ้านสูงถึง​ 80% ส่วนจีน มีสัดส่วนผู้ประกันบ้านสูงถึง 70% 2.ราคาเบี้ยประกันภัยต่ำ คนส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับการประกันภัยรถยนต์หรือประกันชีวิตมากกว่าการประกันบ้าน ทั้ง ๆ ที่บ้าน คือ ทรัพย์สินที่มีขนาดใหญ่และบางคนอาจจะต้องใช้เงินเก็บทั้งชีวิตเพื่อมาซื้อบ้าน 1 หลังหรือคอนโด 1 ห้อง ซึ่งอาจจะซื้อได้เพียงครั้งเดียวด้วยซ้ำ   จากสถิติของสำนักงานเบี้ยอัตราประกันวินาศภัย และกรมขนส่งทางบก พบว่า รถยนต์มีผู้เอาประกันกว่า 55% จำนวนทั้งหมด 11 ล้านกรรมธรรม์ จากจำนวนรถยนต์ทั้งหมด 20 ล้านคัน ส่วนข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และสำนักบริหารการทะเบียน พบว่า มีบ้านมีแค่ 12% ที่ทำประกันภัยบ้าน คิดเป็นจำนวน 3.2 ล้านกรรมธรรม์ จากบ้านทั้งหมด 27 ล้านหลัง ซึ่งหากเปรียบค่าใช้จ่ายต่อสินทรัพย์ระหว่างรถยนต์กับประกันภัยบ้าน บ้านจะมีสัดส่วนที่ถูกกว่า โดยจำนวนเงินประกันต่อรถยนต์หนึ่งคันต่อปี มีสัดส่วนประมาณ 3% แต่เงินประกันบ้านแค่เพียงมีสัดส่วนประมาณ​ 0.2-0.5% ของมูลค่าบ้านเท่านั้น 3.โควิดทำให้ชีวิตต้องอยู่ในบ้าน จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 2 ปี คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่แต่ในบ้าน ซึ่งแนวโน้มในอนาคต พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการที่ต้องอยู่บ้าน สามารถทำงานที่บ้านได้ (Work From Home) หรือเรียนออนไลน์จากที่บ้านได้ จึงทำให้เชื่อว่าวิถีชีวิตหลังวิกฤตโควิด-19 คนก็อาจจะใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากขึ้น กลายเป็นเมกะเทรนด์ใหม่ของโลกอนาคต ซึ่งจะทำให้คนหันมาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเมื่อใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากขึ้น และการประกันภัยบ้านจะเป็นเครื่องมือเข้ามาเสริมสร้างหลักประกันในเรื่องความปลอดภัย รวมถึงอีกหลายเรื่องเมื่อต้องใช้ชีวิตภายในบ้าน ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธาน บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด หรือ TQM เปิดเผยว่า ​ คนไทยส่วนมากยังเข้าใจว่าประกันภัยบ้านคือประกันอัคคีภัย คุ้มครองเฉพาะเรื่องของไฟไหม้ จึงเห็นเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ให้ความสำคัญในการทำประกันมากนัก ซึ่งยังเป็นความเข้าใจที่ไม่ครอบคลุมทั้งหมด จากภาพรวมการมีประกันภัยบ้านของคนไทยทำให้ TQM เห็นถึงโอกาสในการรุกเข้าไปเปิดตลาดโดยใช้กลยุทธ์การออกแบบประกันภัยบ้านแนวใหม่ ผ่านแนวคิด “ประกันบ้าน ที่เป็นมากกว่าประกันอัคคีภัย”​ เจาะกลุ่มคนที่ห่วงบ้านทุกกลุ่มเป้าหมาย   ดร.นภัสนันท์  พรรณนิภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด กล่าวว่า “TQM Home Insurance”​ เป็นประกันภัยบ้านแนวใหม่ที่มีแผนประกันภัยให้ลูกค้าได้เลือกหลากหลาย โดยลูกค้าเลือกได้ว่าต้องการแผนประกันภัยแบบใดเพื่อให้คุ้มครองครอบคลุมความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นต่อบ้านตนเอง โดยมีการนำ Insurtech มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาและสร้าง www.home.tqm.co.th เข้ามาช่วยคำนวณว่าบ้านแต่ละหลังมีความเสี่ยงภัยเรื่องใดบ้าง เพื่อประเมินภัยของพื้นที่บ้านตนเองก่อนตัดสินใจทำประกัน  โดยทาง TQM ตั้งเป้ายอดขายเบี้ยประกันภัยในปีแรก 500 ล้านบาท และภายใน 5 ปี จะสร้างเบี้ยประกันภัยรวมที่ 15,927 ล้านบาท   สำหรับแผนประกันภัยบ้านที่ TQM นำมาขายจะความครอบคลุมมากกว่าประกันอัคคีภัย แต่จะครอบคลุมตั้งแต่เรื่องเล็กที่เราเจอกันบ่อยๆ อย่างเช่น น้ำรั่ว กระจกแตก ต้นไม้ล้มทับ โจรงัดบ้านไปจนถึงภัยใหญ่ ๆ อย่างไฟไหม้ หรือ ผลกระทบจากการระเบิดจากโรงงานย่านกิ่งแก้ว ซึ่งมีความคุ้มครองที่คลอบคลุมกว่าร้อยเรื่องราวของการใช้ชีวิตในบ้าน ถึง 6 หมวดหมู่ ได้แก่ 1.ประกันอัคคีภัยและภัยเพิ่ม เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า (รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า), ภัยระเบิด ภัยจากการเฉี่ยวหรือการชนของยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน และภัยเนื่องจากน้ำ  รวมถึงภัยธรรมชาติ เช่น ภัยจากลมพายุ ภัยจากน้ำท่วม ภัยจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ หรือสึนามิ,ภัยลูกเห็บ   2.โจรกรรม ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ มีร่องรอยงัดแงะ   3.คุ้มครองทรัพย์สินประเภทเงินสด หรือ ประกันภัยเงิน   4.คุ้มครองกระจกแตกจากอุบัติเหตุ   5.ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก   6.คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุภายในที่พักอาศัยของผู้เอาประกันภัย        
“ตุนเงินสด-เพิ่มสภาพคล่อง” ทางรอดอสังหาฯ ท่ามกลางโควิด-เศรษฐกิจชะลอตัว

“ตุนเงินสด-เพิ่มสภาพคล่อง” ทางรอดอสังหาฯ ท่ามกลางโควิด-เศรษฐกิจชะลอตัว

เป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปีแล้ว ที่เรายังต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะสิ้นสุดลงเมื่อใด  ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลเฉพาะเรื่องสุขภาพของคนเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงวิถีชีวิต และเชื่อมโยงไปสู่ภาคธุรกิจ  ที่ต้องหยุดชะงัก หลายธุรกิจไม่สามารถไปต่อได้ เพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ภาคอสังหาริมทรัพย์เอง ก็เป็นหนึ่งธุรกิจที่ต้องเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกัน ​   ช่วงที่ผ่านมาบรรดาดีเวลลอปเปอร์จึงพยายามรับมือปัญหาที่เกิดขึ้น  โดยเฉพาะการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย เพื่อเร่งระบายสต็อกในมือ เปลี่ยนจากสินค้าให้กลายเป็นเงินสด เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ ขณะเดียวกันก็ชะลอการเปิดโครงการใหม่ ลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพราะมองว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่พยุงให้บริษัทยังสามารถผ่านพ้นวิกฤตให้ยังไปต่อได้ และวิธีการเหล่านั้นคือ “ทางรอด” ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง เพิ่มสภาพคล่อง รอเศรษฐกิจฟื้น ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตซ้อนวิกฤตทั้งเรื่องของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจหดตัว ภาพรวมตลาดในปีนี้จึงคาดว่าตลาดจะติดลบ 10% ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาที่ติดลบ 35% ซึ่งหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถคลี่คลายได้ภายในปีนี้ ตลาดน่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัวได้ในช่วงปี 2565 เป็นต้นไป   สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มองว่าทางรอดของผู้ประกอบการอสังหาฯ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก คือ การรักษาสภาพคล่อง ด้วยการมีกระแสเงินสดให้เพียงพอ เพื่อให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้ จนเหตุการณ์วิกฤตได้ผ่านพ้นไป เพราะมองว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ทุกวิกฤตจะต้องมีวันที่สิ้นสุดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องรักษาสภาพคล่องไว้ให้ได้ แม้ว่าการดำเนินธุรกิจจะต้องประสบภาวะขาดทุน แต่ต้องมีสภาพคล่อง รวมถึงจะต้องเตรียมความพร้อมรองรับกับการกลับมาของภาวะเศรษฐกิจที่เติบโต “ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ ในยามที่มีวิกฤต คือ การรักษาสภาพคล่อง ธุรกิจอาจจะกู้เยอะได้แต่ต้องมีเงิน สิ่งที่ต้องทำวันนี้ มันต้องยอมรับความจริงที่ว่า ตลาดมันแคบลง ถ้าหากสายป่านเรายาวไม่พอ ต้องสโคปดาวน์ธุรกิจลงมา เพื่อให้ผ่านวิกฤตไปให้ได้ ขาดทุนได้แต่ต้องมีสภาพคล่อง เพราะวิกฤตมีวันจบ แต่เราอยู่ได้จนจบไหม หมายความว่าอยู่ได้จนจบ ไม่ได้หมายความว่ามีกำไร แต่ละคนมีปัจจัยต่างกัน และจะต้องรักษาทีมงานไว้เพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อมในวันเศรษฐกิจฟื้นกลับมา” ​   ส่วนมาตรการภาครัฐในการกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ นั้น  ดร.เกษรา มองว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ เป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามเข้ามาช่วยกระตุ้นตลาด เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีซัพพลายเชนจำนวนมาก มีการจ้างงานมาก และมีการหมุนเวียนของสินค้าจำนวนมาก แต่ไม่มีมาตรการอะไรที่จะเข้ามาช่วยธุรกิจอสังหาฯ แล้วทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้น เพราะกำลังซื้อของคนชะลอตัว เหมือนการใส่โปรโมชั่นไปในสินค้า แต่คนไม่มีกำลังซื้อโปรโมชั่นก็ไม่สามารถช่วยทำให้ขายสินค้าได้  ​ ไม่มีมาตรการอะไรที่จะทำให้เศรฐกิจดี เหมือนซื้อของโปรโมชั่นเพิ่ม แต่ถ้าเขากู้ไม่ได้  ใส่โปรโมชั่นก็ขายไม่ได้ สิ่งที่ช่วยได้ คือ ความมั่นใจผู้บริโภค และการมีงานทำ เพราะถ้าไม่มีงานคนก็ไม่มีความมั่นใจ คนไม่กล้าซื้อ ไม่กล้าเป็นหนี้ระยะยาว นอกจากนี้ ดร.เกษรา ยังมองว่า สิ่งที่ภาครัฐต้องรีบดำเนินการโดยเร็ว คือ การทำให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัย ซึ่งคือเรื่องของวัคซีน เพราะไม่มีอะไรสำคัญกว่าชีวิต ไม่ว่างานนั้นเป็นอะไรก็ตาม การเร่งฉีดวัคซีนเพื่อให้คนได้กลับไปใช้ชีวิตปกติได้โดยเร็ว และการตรวจในเชิงรุก ที่เหลือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้​​มาตรการการคลังเข้ามาช่วย เนื่องจากมาตรการด้านการเงินได้ถูกใช้แล้ว เช่น เรื่องดอกเบี้ย ที่ปัจจุบันถือว่าต่ำมาก โดยมาตรการการคลังจะต้องแบ่งออกเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยเร่งดำเนินการมาตรการในระยะสั้นและกลางก่อน   วิกฤตมันมีวันจบ ช่วงนี้เราต้องอดทนกับมัน และมีกำลังใจต่อสู้ไปกับมัน และตอนนี้หน้าที่ของทุกคน มีหน้าที่ใหญ่ขึ้น ใหญ่กว่าตัวเรา เราต้องคิดว่าเราทำอะไรได้บ้างในจุดที่เรายืน ทำเลย ดีกว่าไปรอให้รัฐเข้ามาช่วย ทุกคนควรช่วยกันแบบนั้น กูเกิ้ล-เฟสบุ๊ค เครื่องมือตลาดออนไลน์ ด้าน นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง VIRTUAL SOLUTION กล่าวว่า ในส่วนของการตลาดออนไลน์ พบว่าในช่วงวิกฤตโควิดระลอกล่าสุด มีการเซิร์จค้นหา บ้าน และ คอนโด ผ่านทางกูเกิลน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด โดยลดลงไปประมาณ 40% ดังนั้นการทำการตลาดในช่วงนี้จึงต้องทำอย่างระมัดระวัง ส่วนตัวมองว่าคงไม่เหมาะกับการตลาดแบบ Mass Communication ที่เน้นการรับรู้ในวงกว้าง แต่น่าจะเป็นการตลาดแบบ Precision Marketing คือ เน้นเจาะไปยังกลุ่มคนที่ยังมีกำลังซื้อ กลุ่มนักลงทุน และกลุ่มคนที่มีความต้องการจะซื้อบ้านและ คอนโด จริง ๆ เท่านั้น   Media Channels ที่สามารถทำ Precision Marketing ได้ดี ก็คงจะหนีไม่พ้น Google และ Facebook ซึ่งทุกๆ แบรนด์ก็ทราบถึงประสิทธิภาพของช่องทางนี้ดี ทำให้ทุกแบรนด์กระโดดเข้ามาแข่งขันกัน ทำให้ค่าโฆษณาถีบตัวสูงขึ้น สวนทางกับดีมานด์ของตลาดซึ่งมีลดลง นอกจากนี้การเดินทางไปดูโครงการอสังหาต่าง ๆ มีความยากลำบาก จากการที่ผู้ซื้อมีความกังวลในเรื่องโควิด-19 ทางเจ้าของโครงการจึงจำเป็นจะต้องทำ Online Platform ให้ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมโครงการได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำบ้าน หรือ คอนโด ในรูปแบบ Virtual หรือการทำระบบ VDO Conference ให้ทีมขาย สามารถคุยกับลูกค้าได้ งานเทรดแฟร์ออนไลน์ กระตุ้นยอดQ4 นายกัมพล นิสิตสุขเจริญ กรรมการบริหาร บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด และผู้ก่อตั้ง VIRTUAL SOLUTION กล่าวว่า  สถานการณ์ปัจจุบันหลายธุรกิจต้องเผชิญกับความยากลำบาก แต่ธุรกิจต้องดำเนินต่อไปให้ได้  ขณะที่อนาคตก็มีความไม่แน่นอนสูง หลายธุรกิจจึงอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก รวมถึงธุรกิจอสังหาฯ ด้วย ซึ่งแนวทางหนึ่งในการทำตลาดของธุรกิจอสังหาฯ คือ การจัดงานแสดงสินค้า  แต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมางานแสดงสินค้าไม่สามารถจัดงานได้ เพราะสถานการณ์โควิด-19 จึงได้จัดงาน “Virtual Property Expo 2021” งานมหกรรมซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งปีบนโลกออนไลน์ในรูปแบบ Virtual Trade Fair เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุดของงานแสดงสินค้า ที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถมาพบปะกันบนออนไลน์มีฟังก์ชั่นเสมือนงานแสดงสินค้าจริง ๆ การทำตลาดของธุรกิจอสังหาฯ จะเห็นเครื่องมือหนึ่ง คือ การจัดงานเทรนด์แฟร์  ถือเป็นเครื่องมือการตลาดที่ทรงพลังมาก เมื่อสองปีที่ผ่านมา มีการจัดงานงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับอสังหาฯ ไปจัดตามศูนย์ประชุม หรือตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ต้องยอมรับว่า เป็นการจัดงานที่สามารถดึงวอลุ่มยอดขายของแบรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างดี เพราะ เป็นการรวมผู้ซื้อสินค้านั้น ๆ จำนวนมาก และมีผู้ขายสินค้านั้น ๆ ทั้งตลาดมานำเสนอ มาเจอกันในงานแสดงสินค้า   สำหรับงานเวอร์ชวลเทรดแฟร์จะเข้ามาแก้ปัญหา และตอบโจทย์อสังหาฯ ในภาวะปัจจุบัน เพราะธุรกิจต้องการกระแสเงินสด เนื่องจากภายในงานสามารถสร้างยอดขายที่มีปริมาณจำนวนมากได้  โดยจะมีการรวรวมกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการที่แท้จริงเข้ามาชมงานไม่ต่ำกว่า 580,000 แสนคน ​​จากทั่วประเทศ ถือเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างกระแสเงินสดเข้ามาสู่บริษัทจากยอดขายในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ซึ่งจะช่วยทำให้ธุรกิจรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ ​นับว่าเป็นการลงทุนทำการตลาดที่คุ้มค่ามาก หากเปรียบเทียบกับการทำตลาดในรูปแบบอื่น งาน “Virtual Property Expo 2021” ได้รวบรวมโครงการอสังหาฯ แบรนด์ชั้นนำทุกแบรนด์มารวมไว้ภายในงานเดียวกัน มีโครงการคุณภาพทั่วประเทศ พร้อมดีลที่ดีที่สุดภายในงานมากกว่า 300 โครงการ  ผู้เข้าชมงานสามารถใช้ระบบ Sale VDO Live Chat พูดคุยซื้อขายแบบเห็นหน้า (Real time) กับโครงการต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจได้อีกด้วย ผ่านทาง www.propertyexpo.net ​ ระหว่างวันที่ 14-17 ตุลาคม 2564 นี้      
โฉมใหม่ “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า เปิดแน่!! กันยายน 2565

โฉมใหม่ “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า เปิดแน่!! กันยายน 2565

โฉมใหม่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมเปิดให้บริการกันยายนปี 65  ขยายพื้นที่ใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า พร้อมรับผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 100,000 คนต่อวัน  ตอกย้ำการเป็นศูนย์ประชุมใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย  มุ่งเป้าสู่การเป็น The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All   บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ประกาศรุกตลาดธุรกิจไมซ์ (MICE) ประเทศไทยครั้งใหม่หลังความสำเร็จในอดีตตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ของการเปิดให้บริการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมทุ่มงบกว่า 15,000 ล้านบาท เดินหน้าพัฒนาสุดยอดศูนย์ประชุมใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เพิ่มศักยภาพของโครงการด้วยการขยายพื้นที่มากขึ้นถึง 5 เท่า พร้อมเพิ่มพื้นที่รีเทลเพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ โดยรักษาชื่อ “‎ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับในธุรกิจไมซ์ระดับนานาชาติ มั่นใจการพัฒนาปรับปรุงศูนย์ฯ สิริกิติ์ ครั้งนี้ จะสามารถรองรับการจัดงานประชุมหรืออิเวนต์ระดับเวิลด์คลาสได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัด นายปณต สิริวัฒนภักดี กรรมการ บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด   เปิดเผยว่า  ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่บริษัทฯ ยังเล็งเห็นความสำคัญในการเดินหน้าพัฒนาโครงการ “ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” (Queen Sirikit National Convention Center หรือ QSNCC)  ให้เสร็จสมบูรณ์ตามแผนที่วางไว้ สอดคล้องกับแผนการลงทุนระยะยาวของบริษัทฯ ซึ่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการศูนย์ประชุมระดับเวิลด์คลาสแห่งใหม่ของเอเชีย บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพของประเทศไทย ที่มีจุดแข็งหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าของภูมิภาค การมีสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคที่ครบครัน พร้อมด้วยกลุ่มคู่ค้าทางธุรกิจและซัพพลายเออร์ที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังมีศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ และมีการสืบสาน รักษา ต่อยอดให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน บริษัทฯ มั่นใจว่า ศูนย์ฯ สิริกิติ์ จะเป็น The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All ที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้านานาชาติ และจะสามารถดึงดูดเม็ดเงินเข้ามาในประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นได้อย่างแน่นอน นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถือเป็นหัวใจของการเริ่มต้นอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทย โดยตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เป็นสถานที่ที่บันทึกเรื่องราวความทรงจำของงานประชุมและอิเวนต์สำคัญๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติกว่า 20,000 งาน ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ทศวรรษ กอปรกับบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ และมีความเป็นมืออาชีพ เราเชื่อมั่นว่าศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่ จะสามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า และรองรับการจัดงานได้ในทุกรูปแบบได้อย่างแน่นอน ศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่ มีพื้นที่รองรับการจัดการประชุมและนิทรรศการมากถึง 78,500 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยฮอลล์สำหรับการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่ 2 ฮอลล์ พื้นที่รวมมากกว่า 45,000 ตารางเมตร ห้องสำหรับจัดประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ 2 ห้อง พื้นที่ประมาณ 10,000 ตารางเมตร และห้องประชุมย่อยที่สามารถรองรับการประชุมได้กว่า 50 ห้อง   นอกจากนี้ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ยังเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน และมีที่จอดรถภายในอาคารรองรับได้มากกว่า 2,700 คัน อำนวยความสะดวกให้แก่ทั้งผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมงาน  ขณะนี้ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้เริ่มเปิดจองพื้นที่และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้จัดงานเป็นอย่างมาก  เตรียมพบกับศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่ ที่จะมาสร้างความคึกคักและสีสันให้กับวงการไมซ์ กันยายน 2565 นี้
7 กลยุทธ์ครึ่งปีหลัง “พฤกษา” สู่เป้ารายได้ 32,000 ล้าน

7 กลยุทธ์ครึ่งปีหลัง “พฤกษา” สู่เป้ารายได้ 32,000 ล้าน

พฤกษา เดินหน้า 7 กลยุทธ์สร้างรายได้และยอดขายตามเป้า 32,000 ล้าน สู้พิษโควิด-19 และกำลังซื้อชะลอตัว เน้าเคลียสต็อก บริหารเงินสด ลุยดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง พร้อมเปิดโปรเจ็กต์ใหม่ตามแผนอีก 15 โครงการ   ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ ยังต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับยอดขายและรายได้ เพราะกำลังซื้อลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว กลยุทธ์การทำตลาดในช่วงที่ผ่ามนมา จึงเน้นการลดแลกแจกแถม และการทำตลาดดิจิทัล เพราะคนส่วนใหญ่ต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน หลายพื้นที่อยู่เขตสีแดงที่ต้องล็อกดาวน์   สำหรับ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ที่ถือว่าเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด ก็ต้องเผชิญกับผลกระทบต่าง ๆ เช่นกัน แต่ผลการดำเนินงานช่วงไตรมาสที่ 2 พฤกษาก็ยังสามารถประคองให้บริษัทผ่านพ้นวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   นายปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยถึงผลประกอบการไตรมาส  2 ประจำปี 2564 ว่า บริษัทยังคงทำให้ยังคงรักษาการเติบโตได้ดี โดยในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนบริษัทฯ ทำยอดขาย 7,225 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 106% ทำรายได้ 6,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% และมีกำไรสุทธิ 427 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% และสามารถลดสินค้าคงค้าง (Inventory) ลงไปได้ถึง 58%  แม้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะมีการชะลอตัวจากวิกฤติโควิด-19 แต่ด้วยที่อยู่อาศัยยังคงเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่เป็นพื้นฐานสำคัญและตลาดยังคงมีดีมานด์อยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับที่ผ่านมาพฤกษามีการปรับตัวเน้นการใช้ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับจัดแคมเปญส่งเสริมตลาดให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนไป   นอกจากนี้ ยังมีเปิดตัวโครงการใหม่ถึง 9 โครงการ ทำให้ผลประกอบการครึ่งปีแรก 2564 มียอดขายรวม 14,165 ล้านบาท เติบโต 48%  มีรายได้ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่ 13,222 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิครึ่งปีแรกที่ 1,034 ล้านบาท ไฮไลท์ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก -รายได้ครึ่งปีแรก 13,222 ล้านบาท ลดลง 1% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีรายได้ 13,308 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ไตรมาส 2 มูลค่า 6,334 ล้านบาท เติบโต 3% ส่วนไตรมาสแรกมีรายได้ 6,888 ล้านบาท   -ส่วนแบ่งการตลาดอสังหาฯ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในครึ่งปีแรกทำได้ 8.9% เริ่มกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่มีส่วนแบ่งตลาด 8.8% โดยส่วนแบ่งตลาดของพฤกษา เริ่มปรับตัวดีขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 7.6% ที่ถือว่าเป็นช่วงที่มีส่วนแบ่งตลาดต่ำสุดตั้งแต่ปี 2561 ผ่านมา   -พรีเซลล์ของช่วงครึ่งปีแรกพฤกษาทำได้ 14,165 ล้านบาท เติบโต 48% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เฉพาะไตรมาส 2 ทำยอดพรีเซลล์ได้ 7,225 ล้านบาท เติบโต 106% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดพรีเซลล์ 3,507 ล้านบาท และเติบโต 4% จากไตรมาสแรกที่ทำได้ 6,940 ล้านบาท   -สินค้าคงเหลือลงดลงเหลือ 8,488 ล้านบาท ลดลง 58% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน   -กำไรสุทธิไตรมาส 2 ทำได้ 427 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% ที่มีกำไรสุทธิ 417 ล้านบาท  ครึ่งปีแรกพฤกษาทำกำไรได้ 1,034 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23% ที่มีมูลค่า 1,339 ล้านบาท   -ยอดขายรอรับรู้รายได้ 22,877 ล้านบาท ซึ่งจะรับรู้รายได้ตั้งแต่ปีนี้ไปจนถึงปี 2568 โดยแบ่งเป็นยอดขายจากบ้านเดี่ยว 806 ล้านบาท ทาวน์เฮ้าส์ 2,366 ล้านบาท และคอนโด 19,705 ล้านบาท 7 กลยุทธ์เดินหน้าดันเป้ารายได้ 32,000 ล้าน 1.ในช่วงครึ่งปีหลัง พฤกษา ยังคงใช้กลยุทธ์ A YEAR OF VALUE เพื่อขับเคลื่อนองค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันเป้าหมายยอดขายและรายได้ในปีนี้ให้ได้ 32,000 ล้านบาท   2.โดยเน้นการบริหารสินทรัพย์ ด้วยการตั้งเป้าหมายการเคลียสินค้าที่มีอยู่ในสต็อกกว่า 8,000 ล้านบาทให้หมดภายในปีนี้   3.เปิดโครงการใหม่ตามแผนเดิม ที่ตั้งเป้าไว้ ในปีนี้พฤกษาตั้งเป้าหมายการเปิดโครงการทั้งหมด 29 โครงการ มูลค่า 26,630 ล้านบาท ในครึ่งปีแรกเปิดไปแล้ว 14 โครงการ มูลค่า 8,792 ล้านบาท ส่วนในครึ่งปีหลังจะเปิดอีก 15 โครงการ มูลค่า 17,838 ล้านบาท   สำหรับโครงการที่วางแผนเปิดในครึ่งปีหลัง ได้แก่ บ้านเดี่ยว 4 โครงการ ระดับราคา 5-20 ล้านบาท ทาวน์เฮ้าส์ 8 โครงการ ระดับราคา 1.5-3 ล้านบาท คอนโด 3 โครงการ ระดับราคา 1.5-3 ล้านบาท จับกลุ่มเรียลดีมาน์และอยู่ใกล้รถไฟฟ้า ซึ่งเปิดไปแล้ว 1 โครงการ   4.เน้นเปิดโครงการที่มีมูลค่าสูง โดยเฉพาะจับตลาดกลุ่มบ้านระดับราคา 5-20 ล้านบาท  ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้ 50,000-200,000 บาทต่อเดือน ที่ถือว่าไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยกว่ากลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่า และจะมีกลุ่มลูกค้าบางส่วนที่ย้ายจากการซื้อคอนโดมาซื้อบ้านเดี่ยวด้วย เห็นได้จากที่ผ่านมาพฤกษาทำยอดขายในกลุ่มนี้ได้เติบโต 50% สูงกว่าตลาดที่เติบโต 20%   5.นำเอาธุรกิจเฮลท์แคร์เข้ามาร่วมในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ทั้งรูปแบบคลินิกหน้าโครงการ หรือโรงพยาบาลขนาดเล็ก รวมถึงการพัฒนาบ้านให้รองรับกับผู้สูงอายุ ที่ดำเนินการภายใต้บริษัทในเครือ ขณะที่โรงพยาบาลวิมุติในปีนี้คาดว่าจะสร้างรายได้ 500 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะมีรายได้ 300 ล้านบาท โดยมีรายได้เพิ่มจากการสั่งซื้อวัคซีนไวรัสโควิด-19 มาให้บริการ ส่วนในปีหน้าคาดว่าโรงพยาบาลวิมุติน่าจะทำรายได้เติบโต 15-20% จากการวางแผนขยายธุรกิจเพิ่ม อาทิ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ การจัดสร้างโรงพยาบาลขนาด 40-50 เตียง   6..ดำเนินกลยุทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง และจัดโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง จากช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาถือว่าสามารถทำให้คนเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เติบโตถึง 100% และผลักดันให้คนเข้าเยี่ยมชมโครงการเพิ่มขึ้น 20%   7.รับรู้รายได้จากการโอนคอนโดมิ 7 โครงการมูลค่าประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท นายปิยะ กล่าวอีกว่า ​หากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยืดเยื้อนานไปจนถึงปีหน้า พฤกษาได้วางแผนรับมือด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ คือ การเน้นบริหารกระแสเงินสด ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 ล้านบาท เน้นการระบายสต็อกสินค้าในมือ เพื่อให้ไม่เป็นภาะกับองค์กร และปัจจุบันบริษัทได้ปรับลดพนักงานจากกว่า 3,000 คนเหลือกว่า 1,000 คน ทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น และมีการขยายช่องทางการตลาดให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะในช่องทางการตลาดออนไลน์ เช่นการเข้าไปขายในมาร์เก็รเพลส shopee เป็นต้น      
สำรวจตลาดคอนโดพัทยาปี 64 เหลือสะสมกว่า 1.18 แสนยูนิต

สำรวจตลาดคอนโดพัทยาปี 64 เหลือสะสมกว่า 1.18 แสนยูนิต

คอนโด เมืองพัทยาสต็อกบานทะลุ 1.18 แสนยูนิต คาดใช้เวลากว่า 3 ปีระบายหมดหากเศรษฐกิจฟื้นตัว ไม่มีโครงการใหม่เพิ่ม ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี ขายได้แค่พันกว่ายูนิต แม้ราคาปรับลดลง เหตุกลุ่มลูกค้าที่ซื้อมีจำกัด แค่คนไทยซื้อเป็นบ้านหลัง 2 แนวโน้มตลาดชะลอตัว ดีเวลลอปเปอร์ไม่มั่นใจเปิดโครงการใหม่   ตลาดที่อยู่อาศัย อย่างคอนโดมิเนียม นอกจากจะถูกพัฒนาในพื้นที่หลักอย่าง จังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว ตามจังหวัดหัวเมืองด้านการท่องเที่ยวสำคัญ อาทิ ภูเก็ต เชียงใหม่ และพัทยา ก็ถือว่าเป็นตลาดสำคัญของที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดด้วย เพราะสามารถพัฒนาและขายให้กับกลุ่มลูกค้า ได้ทั้งกลุ่มผู้ใช้อยู่อาศัยจริง ซึ่งเป็นได้ทั้งคนในพื้นทีหรือคนต่างพื้นที่ แต่เข้ามาทำงานในพื้นที่นั้น ๆ และกลุ่มชาวต่างชาติที่ซื้อไว้เพื่อการพักผ่อน รวมถึงกลุ่มนักลงทุนซื้อไว้สำหรับการปล่อยเช่าให้ลูกค้าประเภทต่าง ๆ ด้วย   บรรดาเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของตลาดคอนโด คือ เมืองพัทยา เพราะมีกลุ่มลูกค้าหลากหลายประเทศที่สามารถเป็นลูกค้าของคอนโดได้ เป็นเมืองที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งงานสำคัญ เมืองเศรษฐกิจ และเมืองการท่องเที่ยว   แต่จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้กลุ่มชาวต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อตลาดคอนโดในพัทยา เพราะชาวต่างชาติเป็นกลุ่มลูกค้าหลักสำคัญของคอนโดเมืองพัทยา ไม่แพ้กับกลุ่มลูกค้าคนไทยเลย   ข้อมูลล่าสุด ของบริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด รายงานว่า  ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงสิ้นเดือนพฤษาคม 2564 ที่ผ่านมา  ตลาดพัทยาสามารถขายคอนโดได้ใหม่เพียง 1,032 ยูนิตเท่านั้น หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 25% ของปี 2563 ซึ่งกลุ่มลูกค้าหลัก คือ คนไทยที่อยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ โดยซื้อไว้เป็นบ้านพักหลังที่ 2 ซึ่งกลุ่มลูกค้านี้ มีแนวโน้มลงลงอย่างต่อเนื่อง   นายณัฎฐา คหาปนะ รองกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าสำนักงานไนท์แฟรงค์ ภูเก็ต บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด  เปิดเผยว่า ​สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ที่ยังคงระบาดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ตลาดคอนโดในเมืองพัทยาตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก และช่วงนี้ไม่มีกำลังซื้อหลักจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในประเทศ ส่วนนักลงทุนในประเทศก็ชะลอการซื้อคอนโดเพื่อรอดูสถานการณ์ ทำให้การขายคอนโดยิ่งชะลอตัว ความน่ากังวลของผู้ประกอบการ นอกจากสถานการณ์การแพร่ระบาด คือ กลุ่มคนที่ซื้อคอนโดเก็บไว้ก็ทยอยปล่อยขายคอนโดมือสองมากขึ้น ทำให้คอนโดที่สร้างเสร็จและเปิดขายใหม่ยังคงมีสต็อกค้างอยู่ในตลาด แม้จะมีการเสนอโปรโมชั่นหลายอย่างหรือลดราคาขายแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถระบายสต็อกออกได้ เป็นเหตุให้การขายคอนโดในพัทยาในปีนี้เป็นเรื่องยากและท้าทายอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการ ซัพพลายสะสมกว่า 1.18 แสนยูนิต คอนโดในเมืองพัทยาตั้งแต่ก่อนปี 2553 จนถึง เดือนพฤษภาคม  2564 มีจำนวนยูนิตสะสมทั้งสิ้น 118,026 ยูนิต ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ไม่มีคอนโดเปิดขายใหม่ จากการสำรวจพบว่า คอนโดโดยส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณจอมเทียน คิดเป็นสัดส่วน 44% รองลงมาได้แก่บริเวณเขาพระตำหนัก คิดเป็นสัดส่วน 17% บริเวณเซ็นทรัลพัทยาสัดส่วน 10%  บริเวณพัทยาใต้ สัดส่วน 9%  และบริเวณวงอมาตย์ สัดส่วน 6%  ขณะที่บริเวณนาจอมเทียน คิดเป็นสัดสวน 8%  และพัทยาเหนือคิดเป็น 5%  ส่วนบริเวณหาดบางเสร่คิดเป็นสัดส่วน 1%  เท่านั้น สถานการณ์ก่อนหน้าการแพร่ระบาดของโควิค-19 กลุ่มผู้ซื้อคอนโดในพัทยาส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนซึ่งเป็นนักลงทุนที่มาซื้อคอนโดในพัทยาเพื่อการลงทุนเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลุ่มผู้ซื้อหลักเหลือเพียงคนไทยที่มาจากกรุงเทพฯ มาซื้อเพื่อเป็นบ้านพักหลังที่ 2 เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ส่งผลให้กำลังซื้อในพัทยาลดลงอย่างชัดเจน ยอดขายสะสมจนถึง ณ เดือนพฤษภาคม ปี 2564 คอนโด ในพัทยาขายไปทั้งสิ้น 98,998 ยูนิต จากจำนวนทั้งหมด 118,026 ยูนิต คิดเป็นอัตราการขายรวม 83.9%  โดยอัตราการขายเพิ่มขึ้น 0.9%  นับจากปี 2563 อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูล พบว่า จำนวนยูนิตขายใน 5 เดือนแรกของปีนี้​ มีจำนวน ขายได้ใหม่เพียง 1,032 ยูนิต เท่านั้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 25%  ของจำนวนยูนิตขายในปี 2563 โดยมีสาเหตุหลักมาจากลุ่มผู้ซื้อหลักที่เป็นชาวต่างชาติหายไปเป็นศูนย์และยังไม่กลับมา อีกทั้งกลุ่มผู้ซื้อชาวไทยที่เหลืออยู่ก็มีจำนวนลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ   โดย ณ เดือนพฤษภาคม ปี 2564 คอนโดในพัทยามีจำนวนเหลือขายอยู่ที่ประมาณ 19,000 ยูนิต ซึ่งคาดว่าหากไม่มีคอนโดใหม่เกิดขึ้น ทำให้ยูนิตเหลือขายน่าจะใช้เวลาขายอีกประมาณ 3 ปีหากสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ วงศ์อมาตย์ทำเลคอนโดขายดี บริเวณที่มีอัตราการขายสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ วงศ์อมาตย์ มีอัตราการขายสูงสุดในอัตรา 94%  รองลงมาคือพัทยาเหนือและเซ็นทรัลพัทยาโดยมีอัตราการขายที่  93%  และ 88%  ตามลำดับ ขณะที่บริเวณเขาพระตำหนักมีอัตราการขายเทียบเท่ากับบริเวณเซ็นทรัลพัทยา   ส่วนบริเวณจอมเทียนเป็นบริเวณที่มีจำนวนยูนิตเหลือขายมากที่สุด โดยมีจำนวนยูนิตเหลือขายอยู่ที่ 7,474 ยูนิต เพราะเนื่องจากพื้นที่นี้เป็นบริเวณที่ยังมีพื้นที่เหลือให้พัฒนาได้อีกค่อนข้างเยอะและโครงการใหม่ๆ ส่วนใหญ่ก็เปิดในบริเวณนี้ ในขณะที่บางโครงการที่เปิดขายอยู่เดิม แต่ไม่สามารถไปต่อได้ จำเป็นต้องหยุดการขายหรือขายโครงการต่อให้นายทุนอื่นเข้ามาปรับรูปแบบและบริหารโครงการแทน คอนโดวิวทะเลราคาลด9.7% ราคาขายเฉลี่ยของคอนโดในพัทยาทุกพื้นที่ ณ เดือน พฤษภาคมปีนี้ หากเป็นคอนโดที่เห็นวิวทะเลมีระดับราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 111,039 บาทต่อตารางเมตร ปรับตัวลดลง 9.7% จากปี 2563 ที่มีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 123,090 บาทต่อตารางเมตร ส่วนราคาขายคอนโดที่เห็นวิวทะเลบางส่วน มีระดับราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 69,154 บาทต่อตารางเมตร ปรับตัวลดลง 13% จากปี 2563 ​ ที่มีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 79,570 บาทต่อตารางเมตร ทั้งนี้คอนโดที่ไม่เห็นวิวทะเลมีระดับราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 66,921 บาทต่อตารางเมตร ปรับตัวลดลง 13.2% จากปี 2563 ที่มีราคาขายอยู่ที่ 77,116 บาทต่อตารางเมตร ดีเวลลอปเปอร์ชะลอขึ้นโครงการใหม่ จากการสำรวจสถานการณ์ตลาดคอนโดพัทยา พบว่ายังมียูนิตเหลือขายจำนวนมาก เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ชาวต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ อีกทั้งกลุ่มผู้ซื้อไทยก็ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ถึงแม้ว่ายอดผลิตวัคซีนจะมีมากกว่า 12,000 ล้านโดสภายในปีนี้ ซึ่งเพียงพอที่จะฉีดให้แก่ประชากรทั้งโลกกว่า 75%  แต่ในไทยการฉีดวัคซีนให้ประชากรยังทำได้อย่างจำกัด   สภาพเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่ายังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการในพัทยาส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนท้องถิ่น จึงเลือกที่จะชะลอตัวการเปิดโครงการและการพัฒนาพื้นที่ว่างไปก่อน แต่ก็ยังมีกลุ่มผู้ประกอบเอกชนรายใหญ่บางส่วนเข้าไปลงทุนในช่วงที่ผ่านมา เช่น ไอคอนสยาม ซึ่งมีแผนจะเข้ามาลงทุนในพื้นที่นาจอมเทียน เนื่องจากมองเห็นช่องทางการเติบโตในอนาคต ตามแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย หรือ Eastern Economic Corridor: EEC ที่รัฐบาลผลักดันในช่วงที่ผ่านมา   ด้านการท่องเที่ยวทางภาครัฐก็มีแผนนำร่องเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนแล้วเข้ามาท่องเที่ยวแบบจำกัดพื้นที่ และมีโครงการสนับสนุนให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของตลาดคอนโดมิเนียมในพัทยาขึ้นอยู่กับภาคการท่องเที่ยวเป็นหลักและอาจจะต้องใช้เวลาฟื้นตัว 2-3 ปี หรือมากกว่านั้น เพราะแต่ละประเทศก็ต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศตัวเองก่อนแล้วจึงค่อยไปท่องเที่ยวประเทศอื่น ณ เวลานั้นการเดินทางเข้ามาของต่างชาติก็จะกลับมาเหมือนปกติ    
เปิดอินไซต์ 3 ปัจจัยเลือกซื้อบ้าน ตอบโจทย์วิถีชีวิต New Normal

เปิดอินไซต์ 3 ปัจจัยเลือกซื้อบ้าน ตอบโจทย์วิถีชีวิต New Normal

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากมาย ที่เห็นชัดเจนคือ การดูแลตนเอง ภายใต้มาตรฐานด้านการสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็น การสวมใส่หน้ากากอนามัย  การล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่ การเว้นระยะห่างทางสังคม และการลดไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือแออัด รวมถึง การหันมาทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) มากขึ้น   สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะยังไม่ยุติลง  แต่เชื่อว่าวิถีชีวิตของคนในอนาคตข้างหน้า คงไม่ได้แตกต่างจากปัจจุบันมากนัก เพราะเราต้องปรับตัวเพื่ออยู่กับโควิด-19 ให้ได้  เมื่อวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป เรื่องของการอยู่อาศัยก็ต้องปรับตัวตาม เพื่อรองรับกับวิถีชีวิตปกติใหม่ดังกล่าว ซึ่งบรรดาดีเวลลอปเปอร์ คงต้องหันมาพัฒนาที่อยู่อาศัย ให้ตอบโจทย์กับความต้องการและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงของคนส่วนใหญ่ด้วย   โดยผลวิจัยจาก บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทด้านวิจัยและพัฒนาในเครือบริษัท แอล. พี. เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยโดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1.พื้นที่ใช้สอยและวัสดุ (Function & Material) 2.การออกแบบโดยให้ความสำคัญกับสุขอนามัย (Health) และ 3.เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย (Smart Living Technology) 3 ปัจจัยผู้บริโภคเลือกซื้อบ้านรับวิถี New Normal 1.พื้นที่ใช้สอยและวัสดุในแบบ Multifunctional Space   หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากบ้านเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อการพักผ่อนและทำกิจกรรมส่วนตัว ไปสู่การใช้บ้านเป็นทั้งที่ทำงานและสถานที่พักผ่อนไปพร้อมกัน เมื่อผู้คนต้องทำงานที่บ้านมากขึ้น ทำให้การออกแบบพื้นที่อยู่อาศัย ต้องมีพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่น  สามารถปรับเปลี่ยนการใช้สอยในพื้นที่ได้ในแบบ Multifunctional Space อาทิ การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านด้วยผนังทึบอาจต้องปรับเปลี่ยนเป็นผนังที่สามารถเปิดเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ภายในที่อยู่อาศัย โดยการใช้บานเลื่อนหรือบานเฟี้ยม นอกจากจะมีประโยชน์ในด้านความยืดหยุ่นของพื้นที่ใช้สอยแล้ว ยังทำให้ที่อยู่อาศัยดูโปร่ง และมีการไหลเวียนอากาศที่ดี เพื่อตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคต ในขณะเดียวกันการเลือกใช้วัสดุต่างๆ จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม การระบายอากาศที่ดี มีปริมาณแสงธรรมชาติทเข้ามาภายในพื้นที่ใช้สอยได้อย่างเหมาะสม ​เช่น พื้นที่ครัวโดยเฉพาะครัวไทย ที่ต้องใช้วัสดุที่เช็ดทำความสะอาดได้ง่าย กันน้ำได้ดี และระบายอากาศได้ง่าย หรือพื้นที่อ่านหนังสือ-พื้นที่นั่งเล่นที่ต้องการปริมาณแสงธรรมชาติมากกว่าห้องนอน เป็นต้น 2.การออกแบบโดยให้ความสำคัญกับสุขอนามัย (Health) จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทำให้ประชาชนตระหนักและหันมาดูแลสุขภาพตัวเองกันมากขึ้น การออกแบบที่อยู่อาศัยจำเป็นต้องคำนึงถึงสุขอนามัยที่ดี โดยใช้นวัตกรรมการออกแบบที่ส่งเสริมคุณภาพทางด้านสุขอนามัยภายในที่อยู่อาศัย เช่น ระบบช่วยลดไวรัสและแบคทีเรียภายในอากาศ โดยใช้ประจุบวกและลบ ซึ่งมีประสิทธิภาพการกำจัดได้ถึง 99% ระบบควบคุมการไหลเวียนอากาศภายในบ้าน ที่ช่วยทำให้อากาศถ่ายเทแม้จะปิดประตูหน้าต่างอยู่ก็ตาม รวมถึงนวัตกรรมทางด้านวัสดุที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ เช่น สีทาบ้าน Low VOCs ซึ่งได้รับการรับรองว่ามีการปล่อยสาร VOCs หรือสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระดับต่ำ หรือลามิเนตที่ป้องกันแบคทีเรียและไวรัส เป็นต้น นอกจากนวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในเรื่องสุขอนามัยแล้ว พื้นที่สีเขียวภายในบ้านเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมสุขภาพทางด้านจิตใจให้แก่ผู้อยู่อาศัย ดังนั้นการออกแบบที่อยู่อาศัยจึงควรมีพื้นที่สวนเล็กๆ ภายในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่ปลูกต้นไม้ที่ระเบียงที่สามารถมองเห็นได้จากภายในห้อง 3.เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย (Smart Living Technology) เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย (Smart Living Technology) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ กับการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย เพราะช่วยสร้างความสะดวกสบายและ ความปลอดภัยในการอยู่อาศัย   เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย ได้เข้ามาช่วยในเรื่องของความสะดวกสบาย เช่น การพัฒนา Smart Residence มีการนำเทคโนโลยี Home Automation เชื่อมต่อเข้ากับระบบสั่งการต่าง ๆ ทั้งทางเสียง หรือ  แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในที่พักอาศัย เช่น  การเปิด-ปิดไฟ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อาทิ โทรทัศน์ เครื่องเสียง ปลั๊กไฟ การปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ และ การควบคุมแสงสว่างและอุณหภูมิภายในบ้าน เป็นต้น รวมถึงการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตกับอุปกรณ์สั่งการด้วยเสียง ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่การตรวจสอบสภาพการจราจรก่อนออกจากบ้านได้เพียงแค่การถามอุปกรณ์นั้น   นอกจากนี้ การพัฒนา Smart Residence ต้องคำนึงถึงการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ประหยัดพลังงาน ทำให้การออกแบบที่อยู่อาศัยในรูปแบบของ Smart Residence ต้องนำนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาความร้อนภายในที่อยู่อาศัย เช่น ระบบ Fresh Air Intake ที่จะการถ่ายเทอากาศและระบายความร้อนออกจากตัวบ้านด้วยการนำอากาศใหม่เข้ามาในบ้านผ่านช่องระบายอากาศ และดึงความร้อนจากภายในตัวบ้านขึ้นไปยังช่องใต้หลังคาด้วยระบบระบายอากาศฝ้าเพดาน และระบายออกสู่นอกตัวบ้านผ่านระบบระบายความร้อนในช่องใต้หลังคา นอกจากระบบ Fresh Air Intake แล้ว การใช้วัสดุ เช่น กระจก อิฐก่อผนัง หลังคา หรือฉนวนกันร้อนที่ได้คุณภาพก็ยังช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานภายในบ้านได้อีกด้วย   เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย   ที่เข้ามาช่วยด้านความปลอดภัย อาทิ​​ กล้องวงจรปิด ระบบเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว เซนเซอร์ที่ประตู-หน้าต่าง Digital Door Lock เป็นต้น โดยที่อุปกรณ์ต่างๆจะสามารถควบคุมได้ผ่านแอปพลิเคชั่น หรือ Home Automation ภายในบ้าน และเมื่อเกิดเหตุก็จะส่งสัญญาณเตือนมาที่โทรศัพท์ของผู้ใช้งาน นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการบริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)  กล่าวถึงแนวโน้มการพัฒนาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันว่า หลังการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019   ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ได้มีการพัฒนาการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของประชาชนภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ ซึ่งกลายเป็นวิถีชีวิตในปัจจุบัน (Now Normal) โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย การออกแบบพื้นที่ใช้สอยและวัสดุ (Function & Material) ที่ตอบโจทย์กับการอยู่อาศัยและเป็นมิตรกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม, การออกแบบโดยให้ความสำคัญกับสุขอนามัย (Health) และ การนำนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยโดยใช้เทคโนโลยี Internet of Thinks (IoTs) และอุปกรณ์อัจฉริยะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญเพื่อตอบโจทย์การอยู่อาศัยที่สะดวกสบายและปลอดภัย มากยิ่งขึ้น สินค้า Smart Home มูลค่ากว่า 2,500 ล้าน โดยจากการประเมินของ IDC สถาบันวิจัยด้านการตลาดของสหรัฐฯ ระบุว่า จำนวนอุปกรณ์ Smart Residence ของโลก มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย  31% ต่อปี จากจำนวน 644 ล้านเครื่องในปี 2561 จะเพิ่มเป็น 1,300 ล้านเครื่องในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า เท่าตัวภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี ขณะที่ A.T. Kearney ระบุว่า มูลค่าตลาดของ Smart Residence ทั่วโลกจะอยู่ที่  263,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราวๆ 8.4 ล้านล้านบาทในปี 2568 โดยผลการศึกษายระบุว่า Smart Residence  ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ 2 หมวดหลักๆ คืออุปกรณ์ที่เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต และอุปกรณ์ที่ตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัย   ขณะที่ บริษัท เมสเซ่ แฟรงก์เฟิร์ตนิว เอร่า บิซิเนส มีเดีย จำกัด ศึกษาการเติบโตของตลาด Smart Residence ในประเทศไทยระบุว่า ตลาดผลิตภัณฑ์ Smart Home ของประเทศไทยในปี 2559 มีมูลค่า 645 ล้านบาท และเพิ่มมากกว่าเท่าตัวในปี 2563 โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 2,500 ล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ย 40% ต่อปี โดยแบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ Smart Residence เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ เติบโตสูงสุด 60% และผลิตภัณฑ์ Smart Home เพื่อการรักษาความปลอดภัยจะเติบโตเป็นอันดับสองคือ 45% ต่อปี   จากผลการสำรวจดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยทั่วโลกให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัยเข้ามาใช้ในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยในรูปแบบของบ้านอัจฉริยะหรือ Smart Residence มากขึ้นรวมทั้งพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ที่เริ่มให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้การอยู่อาศัยมีความสะดวกสบายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น  
“เอสซี แอสเสท” ปล่อยแคมเปญ Home is Everything ปูทางสู่เบอร์ 1  ตลาดบ้านเดี่ยว

“เอสซี แอสเสท” ปล่อยแคมเปญ Home is Everything ปูทางสู่เบอร์ 1 ตลาดบ้านเดี่ยว

ในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ผู้บริโภคมีทางเลือกมากมายในการเลือกซื้อหรือใช้บริการจากสินค้าต่าง ๆ การสร้างแบรนด์  จึงมีความสำคัญและจำเป็นอยากมาก  เพราะการสร้างแบรนด์ไม่ได้ทำหน้าที่ แค่ให้ลูกค้าจดจำได้ว่า แบรนด์นี้เป็นใคร นำเสนอสินค้าอะไร และแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร เท่านั้น    แต่การสร้างแบรนด์มีเป้าหมายใหญ่กว่า และมักจะมุ่งไปสู่เป้าหมาย  ทำให้ผู้บริโภคเกิดความรักในแบรนด์  (Brand Love) หรือความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty)  ให้แบรนด์นั้นเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค  และผู้บริโภคนึกถึงแบรนด์นั้นเป็นอันดับแรก หากต้องการเลือกซื้อหรือใช้บริการ และยังบอกต่อแบรนด์นั้นให้กับบุคคลรอบข้างด้วย  รวมถึงหากเกิดภาวะวิกฤตหรือปัญหา ผู้บริโภคพร้อมจะออกมาปกป้องหรือเป็นกระบอกเสียงในการแก้ไขแทนเจ้าของแบรนด์ด้วย​   ดังนั้น การสร้างแบรนด์ จึงถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของนักการตลาด  และเจ้าของสินค้าหรือบริการ ที่ต้องสร้างแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้บริโภคยังระลึกถึง และจดจำแบรนด์ได้อยู่ตลอดเวลา สำคัญไปกว่านั้น นักการตลาดจะต้องสร้างแบรนด์ให้ไปถึงขั้นเกิด Brand Love และ Brand Loyalty ในใจผู้บริโภค เพราะไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อยอดขายสินค้าหรือบริการเท่านั้น แต่ยังจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับสินค้าหรือบริการนั้นได้ด้วย เพราะผู้บริโภคจะเกิดการซื้อซ้ำ หรือไม่ก็บอกต่อความดีงามของแบรนด์กับคนรอบข้างของเขา   ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งพัฒนาสินค้าประเภทที่อยู่อาศัยออกมาขาย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม หรือคอนโดมิเนียม การสร้างแบรนด์ก็นับเป็นเรื่องสำคัญ ไม่น้อยไปกว่าธุรกิจอื่น ๆ และไม่น้อยไปกว่ากลยุทธ์ทางการตลาดอื่น ๆ ด้วย เพราะถือว่าบ้านเป็นสินค้ามีมูลค่าสูง ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่อาจจะเลือกซื้อได้เพียง 1 ครั้งในชีวิตนี้ หรืออย่างมาก 2 ครั้งก็ตาม แต่การทำให้ผู้บริโภครักในแบรนด์ จะทำให้เกิดการ “บอกต่อ” และทำให้แบรนด์นั้นมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ ซึ่งมีพลังในทางการตลาด ไม่แพ้กลยุทธ์อื่นเลย เอสซี ปล่อยแคมเปญ “Home is Everything”   บริษัทพัฒนาอสังหาฯ ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงมุ่งสร้างแบรนด์ของตนเอง ควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้า ให้ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของการแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด-19 ที่ต้องสร้างที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตยุค New Normal แต่ขณะเดียวกันต้องสร้างแบรนด์ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งหนึ่งในผู้ประกอบการที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน ซึ่งสร้างแบรนด์มาอย่างต่อเนื่อง คือ บริษัท เอสซี แอสเซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ล่าสุด ปล่อยแคมเปญใหญ่ประจำปี “Home is Everything”  ออกมาตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดบ้านเดี่ยว โดยมีการจัดทำโฆษณาชุดใหม่ผ่านกลยุทธ์มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง ด้วยการนำเอาเพลง Home เวอร์ชั่นพิเศษจาก บอย โกสิยพงษ์  เพื่อนำความรู้สึกที่ดีจากภายในบ้านส่งมอบกำลังใจให้ทุกคน   นางสาวโฉมชฎา กุลดิลก หัวหน้าสายงานกลยุทธ์แบรนด์องค์กร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด  (มหาชน)  หรือ SC เปิดเผยว่า บริษัทจะจัดทำแคมเปญการตลาด เพื่อสื่อสารแบรนด์ เอสซี แอสเสท และแคมเปญส่งเสริมการขายประจำทุกปี โดยมีการทำวิจัยกลุ่ม (Focus group) เพื่อค้นหาความต้องการของผู้บริโภค และนำมาจัดทำเป็นแคมเปญการตลาด ซึ่งปีนี้ใช้แคมเปญ Home is Everything   ตลอดระยะเวลาที่ เอสซี แอสเสท ทำโฟกัสกรุ๊ป เพื่อค้นหาอินไซด์ความต้องการของกลุ่มลูกค้า ด้วยคำถามที่ว่า ‘บ้านมีความหมายอย่างไรกับคุณ?’ ทุก ๆ การวิจัยก็มักจะพบว่ามีผู้ตอบคำถาม 2-3 คน ที่ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ด้วยคำพูด ว่าบ้านมีความหมายต่อเขาอย่างไร แต่จะตอบว่าบ้านมีความหมายต่อเขาเหมือนกับเนื้อเพลง Home คือ ....ดอกไม้ ประตู แจกัน ดินทราย ต้นไม้ใหญ่ แก้วน้ำ จานชาม บันได โคมไฟที่สวยงาม... คำตอบเหล่านี้ทาง เอสซี แอสเสท ได้รับมาอย่างต่อเนื่องตลอด 7-8  ปีที่ได้ทำวิจัย ซึ่งในมุมของเอสซี แอสเสท มองว่าเพลงนี้มีความหมายและอธิบายความของคำว่า บ้าน ได้เป็นอย่างดีที่สุด ทำให้ที่ผ่านมายังไม่ได้นำเพลงนี้มาใช้ในการเล่าเรื่องราวของบ้านในมุมของแอสซี แอสเสท จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ต้องอยู่กักตัวอยู่ภายในบ้านมากขึ้น และพื้นที่ของบ้านถูกใช้ไปในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมากกว่าแค่การอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์ หรือการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) กลายเป็นว่า ปัจจุบันบ้านคือทุกสิ่งของการใช้ชีวิต จึงเป็นที่มาของแคมเปญ Home is Everything Music marketing ช่วยลูกค้าจดจำแบรนด์ แคมเปญการตลาดที่ผ่านมาของ เอสซี แอสเสท จะมีการนำเอาเพลงมาใช้เป็นส่วนประกอบของแคมเปญเสมอ โดยมีทั้งการทำเพลงใหม่หรือไม่ก็ใช้เพลงที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เพลงมันทำงานกับความรู้สึก การทำแคมเปญเป็นการสร้าง awareness และการเห็น เพลงเมื่อเห็นทำให้เกิดความรู้สึก ในช่วงปี 2562  เอสซี แอสเสท เคยทำแคมเปญ “Homes for All Birds” บ้านสบาย…สบาย สำหรับทุกคน โดยหยิบ 5 บทเพลงฮิตของคนทุกเพศ ทุกวัย คือเพลง คนไม่มีแฟน, ซ่อมได้, เล่าสู่กันฟัง, หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจ และสบาย สบาย  มาบอกเรื่องราวของ บ้านอยู่สบายไร้กังวล (Worry-Free Home) ในแบบฉบับเอสซี แอสเสท  เป็นการนำเอาเพลงมาเล่าเรื่องและขายของแบบตรง ๆ ปรากฏว่าคนชอบ เพราะเพลงเพราะและยังเห็นสินค้าที่ทำให้คนรื่นรมย์ เป็นแคมเปญที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนทำให้กลุ่มลูกค้าสนใจเข้ามาดูโครงการ   นางสาวโฉมชฎา กล่าวอีกว่า หลังจากทำแคมเปญเสร็จก็จะมีการทำวิจัยผลตอบรับเป็นอย่างไร ซึ่งคนดูแคมเปญลักษณะดังกล่าวแล้วเกิดความรู้สึกอยากมาเยี่ยมชมโครงการ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวถูกนำมาต่อยอดและเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ Home is Everything ด้วย เพราะ Music Marketing ช่วยในเรื่องการจดจำได้ดีกว่า และแคมเปญนี้เป็นการทำตลาดกับกลุ่มเป้าหมายแมส ไม่เฉพาะกับกลุ่มเป้าหมายของเอสซี แอสเสทเท่านั้น ทำให้ไม่ได้เน้นให้คนสนใจมาซื้อบ้านเอสซี แอสเสทในขณะนั้น เพราะไม่ได้เอาเรื่องความต้องการซื้อมาเล่า ขณะที่ที่แคมเปญการขายจะมุ่งเน้นวัตถุประสงค์เฉพาะเรื่อง ​ แคมเปญนี้ อยากสร้างความรู้สึกของคน และมีกำลังใจที่เกิดจากบ้านของเขา บ้านคือที่สร้างพลังของเขาอย่างดี โรดแมพ 2 ปี​ เบอร์ 1 ตลาดบ้านเดี่ยว ในภาพใหญ่แล้ว เอสซี แอสเสท มีเป้าหมายการเดินทางไปสู่ความเป็นผู้นำเบอร์ 1 ในตลาดบ้านทุกระดับราคา จากผลงานในปีที่ผ่านมาสามารถรักษาตำแหน่ง Top 3 ไว้ได้ โดยสลับอันดับระหว่างเบอร์​ 2 และเบอร์ 3 แต่หากโฟกัสเฉพาะตลาดบ้านระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป ช่วงไตรมาสแรก เอสซี แอสเซท ประสบความสำเร็จกับส่วนแบ่งการตลาดที่มาเป็นเบอร์ 1 แล้ว โจทย์ใญ่ที่ต้องเดินต่อไป คือ นำพาบ้านในทุกระดับราคาขึ้นเป็นเบอร์ 1 ให้ได้ภายในระยะเวลา 2 ปีนับจากนี้ ตามโจทย์ที่ นายนายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มอบให้กับพนักงานไว้   ในอดีตเอสซี แอสเสท แทบจะไม่มีบ้านระดับราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งตลาดบ้านเดี่ยวหลักจึงอยู่ที่ระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป และทำได้ดีจนเป็นผู้นำตลาด แต่ขณะที่ตลาดมีความต้องการบ้านระดับราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาทมากขึ้น ประกอบกับแนวคิด home for all  ที่เอสซี แอสเสท มีการพัฒนาบ้านขายที่เหมาะกับทุกกลุ่มเป้าหมาย ในระยะหลังเอสซี แอสเสท จึงหันมามุ่งเน้นพัฒนาบ้านระดับราคาขายต่ำกว่า 5 ล้านบาทเพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยภาพจำของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ซึ่งเห็นว่าบ้านเอสซี แอสเสท มีราคาสูง การสร้างการรับรู้ว่ามีบ้านระดับราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท จึงถึงเป็นความท้าทายหนึ่งของเอสซี แอสเสท ในปีนี้ นายณัฏฐกิตติ์ ศิริรัตน์    Head of Marketing เอสซี แอสเซท กล่าวว่า ในช่วง 2 เดือนนี้ เอสซี แอสเสทตั้งเป้ายอดขาย 4,000 ล้านบาท จากแคมเปญนี้ ซึ่งในช่วงที่ขายดีบริษัทจะมียอดขายประมาณไตรมาสละ 4,500-4,600 ล้านบาท  โดยมีโครงการบ้านเดี่ยว 38 โครงการ และทาวน์โฮม 6 โครงการ พร้อมเข้าร่วมแคมเปญในครั้งนี้  ซึ่งยอดขายตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันมียอดขายกว่า 70% ของเป้าหมายยอดขายทั้งปีแล้ว โดยยอดขายเฉพาะช่วงครึ่งปีแรกสามารถสร้างการเติบโตได้ 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   ปัจจุบันเอสซี แอสเสท สามารถเกาะกลุ่มผู้นำตลาดบ้านเดี่ยวทุกระดับราคาติดอันดับ Top3 ซึ่งปี 2563 มีส่วนแบ่งตลาดบ้านเดี่ยวอยู่ในอันดับที่ 3 ขณะที่ช่วงไตรมาสแรกเอสซี แอสเสท สามารถครองตำแหน่งผู้นำตลาดบ้านเดี่ยวระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 แต่หากเป็นตลาดบ้านเดี่ยวในทุกระดับราคาจะมีส่วนแบ่งอยู่ในอันดับ 2-3 แล้วแต่ช่วงเวลา ​ โรดแมพ ภายใน 2 ปีนี้ เอสซี แอสเซท ตั้งเป้าเป็นแบรนด์บ้านเดี่ยวอันดับ 1 โควิด-19 คนต้องการพื้นที่ใหญ่อยู่อาศัย​ สำหรับกลุ่มที่มาซื้อบ้านเอสซี แอสเสท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัวขยาย หรือต้องการใช้ชีวิตเยอะขึ้น คนที่เคยอยู่บ้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ก็ขยับขยาย คนต้องการพื้นที่เยอะขึ้นเราได้คนกลุ่มนี้เยอะ ส่วนคนที่เดิมตั้งใจจะซื้อคอนโดแล้วเปลี่ยนมาซื้อบ้านเลยมีสัดส่วนไม่ถึง 10%   ปัจจัยสำคัญของการเลือกซื้อบ้านในยุคโควิด-19 หากตัดเรื่องของทำเลที่ตั้งออกไป จะพบว่าอันดับ 1 คือ ความต้องการใช้พื้นที่ของบ้านเยอะขึ้น รองลงมาเป็นความต้องการพักอาศัยในสังคมที่ดี เป็นแบรนด์สินค้าที่สามารถดูแลลูกบ้านได้เป็นอย่างดี และยังพบว่า หลังจากเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คนส่วนใหญ่ มีความต้องการใช้พื้นที่เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องการพื้นที่ที่เป็นส่วนตัว และการอาศัยอยู่กับคนในบ้านที่มีความหลากหลาย เพราะทุกคนกลับมาอยู่อาศัยในบ้านมากขึ้น ใช้เวลาร่วมกันนานขึ้น   จากผลการวิจัยพบข้อมูล 4 อย่าง ได้แก่ 1.ความต้องการพื้นที่ธรรมชาติเยอะขึ้น 2.การอยู่อาศัยที่สะดวกสบาย Comfortable living 3.การปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้ตามความต้องการ Flexible space 4.การอยู่อาศัยในบ้านประหยัดพลังงาน Energy saving
อัพเดท ดอกเบี้ยเงินกู้ รีไฟแนนซ์บ้าน เดือนกรกฎาคม 2564

อัพเดท ดอกเบี้ยเงินกู้ รีไฟแนนซ์บ้าน เดือนกรกฎาคม 2564

อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงรุนแรง จำนวนผู้ติดเชื้อมีตัวเลขสูงต่อเนื่อง เพราะการฉีดวัคซีนยังทำได้ไม่ครอบคลุมตามปริมาณที่ควรจะเป็น ในระยะนี้เราจึงร่วมมือกัน “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” กันต่อไป และลดความเสี่ยงที่จะได้รับเชื่อให้มากที่สุด   แน่นอนว่า ผลกระทบของโควิด-19 ทำให้หลายธุรกิจต้องสะดุด บางแห่งก็หยุดไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ซึ่งใครที่ยังพอสู้กันไหวก็ต้องไปต่อ และสำหรับคนที่กำลังคิดว่าจะหาเงินทุนมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือเพิ่มสภาพคล่องธุรกิจ รวมถึงการลดภาระค่าใช้จ่ายจากการผ่อนชำระค่างวดของบ้านหรือที่อยู่อาศัยให้น้อยลง ด้วยการนำเอาบ้านหรือที่อยู่อาศัยของตนเอง มาทำรีไฟแนนซ์ วันนี้เราได้รวบรวมนำเอาอัตราดอกเบี้ยมาให้พิจารณากัน ว่ามีธนาคารไหนให้อัตราดอกเบี้ยเท่าไร เพื่อเป็นตัวเลือกประกอบการพิจารณา หาอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดสำหรับคุณ 1.ธนาคารกรุงเทพ สำหรับการธนาคารกรุงเทพ  มีสินเชื่อบ้านบัวหลวง ที่ให้บริการรีไฟแนนซ์บ้าน  กรณีหลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยทั่วไป เฉพาะวงเงินอนุมัติตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งอัตราดอกเบี้ยไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา โดยมีอัตราดอกเบี้ยให้เลือกด้วยกัน 3 ทางเลือก  ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 กรณีทำประกัน Home 1st Plus ดอกเบี้ย 2.00% กรณีไม่ทำประกัน  อัตราดอกเบี้ย 2.25% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย MRR-3.00 =2.75​% ​ หลังจากนั้น ​MRR-1.50% = 4.25​%​ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.00-3.08% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 3.51-3.56% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 กรณีทำประกัน Home 1st Plus ดอกเบี้ย MRR-3.625% เท่ากับ ​​ % กรณีไม่ทำประกัน ดอกเบี้ย MRR-3.375% =2.375 % ปีที่ 2 ดอกเบี้ย MRR-3.375% = 2.375% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% =4.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.92-3.00% เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 3.47-3.52% ทางเลือกที่ 3 ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1 กรณีทำประกัน Home 1st Plus ดอกเบี้ย MRR-3.125% = 2.625% กรณีไม่ทำประกัน ดอกเบี้ย MRR-2.875% = 2.875% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย MRR-2.875% = 2.875% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% = 4.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.25-3.33% เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 3.67-3.72% หมายเหตุ -วงเงินกู้สูงสุด เท่ากับ 100% ภาระหนี้คงค้าง และไม่เกินอัตราส่วนสินเชื่อสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย -ระยะเวลากู้สูงสุด 30 ปี (เฉพาะพนักงานประจำสูงสุด 35 ปี) รวมอายุผู้กู้สูงสุด 65 ปี -ค่าธรรมเนียม คิดค่าสำรวจและประเมินหลักประกัน 3,210 บาท (ธนาคารจะคืนค่าสำรวจและค่าประเมินหลักประกันหลังจากลูกค้าได้รับอนุมัติและเบิกใช้สินเชื่อแล้ว) -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลาดอายุสัญญาวงเงินกู้ 2 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี -รายละเอียดและเงื่อนไขอื่น โปรดสอบถามจากธนาคาร 2.ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเดือนกรกฎาคม มีการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดือนที่ผ่านมา   ดังนี้ แบบทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.75% ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 1.88% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-2.70% =3.52% ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 4.67% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% = 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี  2.60% ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 2.81% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.97% ลดลงจากเดือนก่อนหน้า  4.05% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย  1.00%  ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.7% = 3.52% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.65% = 3.57% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดออกเบี้ย 4.72% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% เท่ากับ 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.7% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 2.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.01%  ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 4.08% ทางเลือกแบบธนาคารออกค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% แบบทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 0.75% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 1.88% ปีที่​ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.20 = 4.02% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 1.88% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.85% เท่ากับ 5.37% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% เท่ากับ 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.93% ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาที่คิดดอกเบี้ย 3.04% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.09% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย  4.13% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1อัตราดอกเบี้ย 1.00% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.15% = 4.07% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.15% = 4.07% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 5.42% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% เท่ากับ 4.72% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.03% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 3.13% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.13% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 4.16%   หมายเหตุ การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ* : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ 1.ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี 2.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ 3.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ **ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน ***อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,500 บาท/เดือน เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด การพิจารณาสินเชื่ออยู่ภายใต้ดุลยพินิจของธนาคาร ยื่นสมัครสินเชื่อ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 MRR = 6.22% ต่อปี (ณ 1 เม.ย. 2564) 3.ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี มีแคมเปญการให้บริการสินเชื่อรีไฟแนนซ์กับลูกค้า คือ  ฟรี! ค่าประเมินหลักทรัพย์ ฟรี! ค่าจดจำนอง ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. – 31 ส.ค. 64 โดยมีรายละเอียด ดังนี้​ สำหรับวงเงินตั้งแต่ 1 -1.5 ล้านบาท ทางเลือก 1 ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.75% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-1.85% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.66% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.90% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-3.15% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.65% ทางเลือกที่ 3* ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.50% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-1.35% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.30% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.78% สำหรับวงเงินตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.75% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-2.15% = 3.9% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.75% = 4.3% หลังจากนั้น MRR-1.75% = 4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.45% ทางเลือก 2 ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.75% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 2.20% ปีที่ 3-5 ดอกเบี้ย MRR-1.75% = 4.3% หลังจากนั้น MRR-1.75% =4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.40% ทางเลือกที่ 3 ปีที่ 1-5  ดอกเบี้ย MRR-2.70% = 3.35% หลังจากนั้น MRR-2.70% = 3.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.35% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.35% ทางเลือกที่ 4* ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.50% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-1.65% = 4.4% ปีที่ 4-5 ดอกเบี้ย MRR-1.75% = 4.3% หลังจากนั้น MRR-1.75% = 4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.10% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.57% สำหรับวงเงินกู้อนุมัติ 3 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-5 อัตราดอกเบี้ย 3.50% หลังจากนั้น MRR-1.75%= 4.3% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.50% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.67%   หมายเหตุ *เฉพาะลูกค้าที่ซื้อ MRTA/MLTA ตามเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น จึงจะสามารถเลือกรับดอกเบี้ยทางเลือกฟรีค่าจดจำนองได้โปรดอ้างอิงตาม Product Catalog_ประกัน (สาขากลาง) / Product Catalog_ประกัน(สาขาภูมิภาค) และ ใบข้อเสนอ (QE) ** อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 1.5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 1.5 ล้านบาท และฐานวงเงินกู้ 3 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปี ในกรณีที่ลูกค้าซื้อ MRTA/MLTA หาก ค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -กรณีลูกค้าเลือกรับอัตราดอกเบี้ยทางเลือกที่ 3 (วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1.5 ล้านบาท) หรือทางเลือกที่ 4 (วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป) ฟรีค่าจดจำนองตามเงื่อนไขที่กำหนด -กรณีลูกค้าเลือกรับอัตราดอกเบี้ยทางเลือกที่ 1-2 (วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1.5 ล้านบาท) หรือทางเลือกที่ 1-3(วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป) หรือทางเลือกที่ 5(วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป) รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปีเฉพาะในปีที่ 1 ทั้ง 2 กรณีลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้1) -รายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม สอบถามได้จากธนาคาร​ 4.ธนาคารกสิกรไทย อัตราดอกเบี้ยบ้านของธนาคารกสิกรไทย ในเดือนกรกฎาคมถือว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา  โดยธนาคารกสิกรไทยมีบริการสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ดังนี้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว 3 ปีแรก ลดสูงสุด 1.50% จากอัตราดอกเบี้ยเดิมของลูกค้า* หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50%** หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยลอยตัว 3 ปีแรก ลดสูงสุด 1.50% จากอัตราดอกเบี้ยเดิมของลูกค้า เมื่อคำนวณแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 3.75% ในช่วง 3 ปีแรก *อัตราดอกเบี้ยเดิมของลูกค้า ให้อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยท้ายของสัญญากู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเดิม (ฉบับหลัก) ของลูกค้า ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าได้ปรับลดดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินเดิมมาแล้ว ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยท้ายของบันทึกข้อตกลงแนบท้ายเพิ่มเติมของสัญญากู้เงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (ฉบับหลัก) **หากอัตราท้ายดอกเบี้ยเดิมของลูกค้าต่ำกว่า MRR - 1.50% ให้ได้เท่ากับอัตราท้ายเดิมของลูกค้า แต่ต้องไม่ต่ำกว่า MRR - 2.00% -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม 0.25% ในปีแรก หากทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อบ้านตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด -สำหรับวงเงินกู้เพิ่มจากยอดสินเชื่อบ้านคงค้างของวงเงินสินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ ปรับอัตราดอกเบี้ยเฉพาะวงเงินส่วนเพิ่มขึ้นอีก 0.50% ของอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ ตลอดอายุสัญญากู้ 5.ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารเกียรตินคิน มีแคมเปญ KKP Home Loan Refinance สำหรับลูกค้าบ้านรีไฟแนนซ์ประจำเดือนกรกฎาคม ในอัตราที่ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ ทางเลือก ดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.590% ปีต่อไป MLR-1.75% = 4.775% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.790% ปีต่อไป MLR-1.75% = 4.775% ทางเลือก ดอกเบี้ยแบบลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3  ดอกเบี้ย 2.790% ปีต่อไป MLR-1.75% = 4.775% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3  ดอกเบี้ย 2.990% ปีต่อไป MLR-1.75% หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิง​ เช่น อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา​ (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยจะประกาศไว้​ ณ สถานที่ทำการให้บริการและเว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที 18 สิงหาคม​ 2563 เท่ากับ 6.525% ตอ่ ปี 3.เลือก​ทําประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA)​ ผ่านธนาคาร ทุนประกันภัยเท่ากับวงเงินกู้โดยมรีะยะเวลาเอาประกันภัย ​​0 ปี กรณีที่ระยะเวลาการกู้ไม่ถึง 10 ปีให้ระยะเวลาเอาประกันภัยเท่ากับระยะเวลาการกู้ 4.กรณี Refinance ไปสถาบันการเงินอื่นก่อนครบ​ 3 ปีแรก คิดค่า Prepayment Penalty 3% ของเงินต้นคงค้าง​ 5.กรณีเลือกใช้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแบบฟรีค่าจดจำนอง หากลูกค้า​ Re-Finance หรือชำระปิดบัญชีก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ทุกกรณี ลูกค้าต้องชำระคืนค่าจดจํานองที่ธนาคารเคยสำรองจ่ายให้ แก่ธนาคาร​ 6.ค่าประเมินหลักประกันเริ่มต้น​ 3,210 บาท ค่าอากรแสตมป์ ร้อยละ​ 0.05 ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน​ 10,000 บาท) 7.เบี้ยประกันอัคคภัยเป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด โดยผู้กู้สามารถเลือกทําประกันกับบริษัทประกันภัยที่เชื่อถือ​ (a) อัตราส่วนวงเงินกู้ยืมสูงสุดต่อ หลักประกัน 100% ของราคาประเมิน (b) ระยะเวลากู้สูงสุด​ 30 ปี (อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน  65 ปีสําหรับพนักงานเงินเดือนประจํา และไม่เกิน 70 ปีสําหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) 6.ธนาคารซีไอเอ็มบี ธนาคารซีไอเอ็มบี มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยประเภทสินเชื่อรีไฟแนนซ์ และขอวงเงินเพิ่ม มีอัตราการคิดดอกเบี้ย ดังนี้ สำหรับพนักงานประจำ รายได้ 30,000 บาทขึ้นไป แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  (MRR-3.66%) = 3.69% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย (MRR-2.00%) =5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.69% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.93% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย   (MRR-3.36%) = 3.99% หลังจากนั้น (MRR-2.00%) = 5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.99% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.01% สำหรับพนักงานเงินเดือน 15,000 บาท หรือเจ้าของกิจการรายได้ 30,000 บาท ขึ้นไป ทางเลือก 2 แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-3.36% = 3.99% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-2.00% = 5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.99% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.01% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-3.06% = 4.29% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-2.00% = 5.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.29% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.08%   หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR=7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 2563) กรณีไม่ขอวงเงินเพิ่ม สอบถามรายละเอียดกับทางธนาคารโดยตรง 7.ธนาคารทีทีบี ธนาคารทีทีบีมีแคมเปญสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์  ที่ยังคงคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยมีอัตรา ดอกเบี้ยพิเศษ คงที่ 2 ปีแรก 1.89% ต่อปี หรือเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.69% ต่อปี และรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ทางเลือก 1 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 1.89% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย  (MRR-1.98%)= 4.30% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย (MRR-1.63%)=4.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.69% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.98% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย   (MRR-3.58%) = 2.7% หลังจากนั้น (MRR-1.63%)= 4.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.00% ทางเลือก 3 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.25% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.65% (MRR-1.63%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.65% MRR-1.63% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีดอกเบี้ย  3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.10% ทางเลือกที่ 4 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย % (MRR-3.23%)= 3.05% หลังจากนั้น 4.65% (MRR-1.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา  4.12% สมัครไม่ครบผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท ทางเลือกที่ 5 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.89% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) หลังจากนั้น ดอกเบี้ย 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.56% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.44% ทางเลือกที่ 6 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย % (MRR-2.63%) = 3.65% หลังจากนั้น 4.9% (MRR-1.38%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.49%   สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน สไมล์ โฮม หรือ สไมล์ โฮม พลัส 2.สมัครใช้บริการ หักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ทีทีบีเพื่อผ่อนช าระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต ทีทีบี (กรณีที่มีบัตรเดบิต ทีทีบีแล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ช่วยคุณประหยัดดอกเบี้ยได้มากขึ้น ผ่อนต่อเดือนน้อยลง และเป็นเจ้าของบ้านได้เร็วขึ้น เมื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับทีทีบี รับข้อเสนอพิเศษ ด้วยอัตราดอกเบี้ยให้เลือก 2 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท  รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ นาน 3 ปี  ฟรี! ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท  ฟรี! ค่าจดทะเบียนจำนอง มูลค่า 1% ของเงินกู้สูงสุด 200,000 บาท  ฟรี! ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรมจำนอง แบบที่ 2 สมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท ฟรี! ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท ฟรี! ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรมจำนอง หมายเหตุ : -อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ย ลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 เมษายน 2564 -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้าน (MRTA) ไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ ทำเพื่อประโยชน์หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นกับผู้กู้ในขณะที่ยังชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของผู้กู้และธนาคาร และไม่มีผลต่อการ พิจารณาสินเชื่อ 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อทั่วไปที่รีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินอื่น โดยเดือนกรกฎาคม ยังคงอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ แบบไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.15% ปีต่อไป MRR-0.72%= 5.275% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.15% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.242% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.90% ปีต่อไป MRR-0.72% = 5.275% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.174%   หมายเหตุ -กรณีใช้ดอกเบี้ย​แบบทําประกัน​ Credit Life 70% กําหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลาเอาประกัน 70% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา โดยกําหนดให้เอาระยะเวลาขั้นต่ำ 10  ปี (กรณีระยะเวลากู้ตามสัญญาต่ำ​10 ปี กําหนดให้ระยะเวลาเอาประกันเท่ากับระยะเวลากู้ตามสัญญา) ​-ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ รับประกันภัยโดย บมจ. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต บริษัทนเครือกลุ่มเอฟดับบลิวดี หากต้องการสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับการประกันภัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์บริการลูกค้า โท​ร. 1315 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น. -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข ​​ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุก​ ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น ​การพิจารณารับประกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันภัย ของบริษัทประกันภัย -อัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารไทยพาณิชย์ เท่ากับ 5.995% ต่อปี ​(ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563) ซึ่งอาจะเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศธนาคาร -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ระบุในตารางเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ​ซึ่งอาจะมีความแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีลูกค้าบอกเลือกประกันชีวิต หรือขอเวนคืนกรมธรรม์ หรือทำประกันไม่ครบกำหนดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ​ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยวงเงินกู้ เป็นอัตราดอกเบี้ยทั่วไป  ตามประกาศธนาคาร ระยะเวลากู้ตามสัญญา วงเงิน ระยเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย คุณสมบัติ เอกสารปรกอบการพิจารณา และการอนุมัติเป็นไปตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด 9.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. มีสินเชื่อบ้านสุขสันต์  เพื่อให้ลูกค้าใช้บริการรีไฟแนนซ์  โดยเป็นอัตราดอกเบี้ยเรทใหม่ สำหรับเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรทดอกเบี้ยที่ลดต่ำลงกว่าเดือนที่ผ่านมา  โดยมีรายละเอียดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ แบบที่ 1 สำหรับกลุ่มลูกค้าสวัสดิการ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 1.99% ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่คิดดอกเบี้ย 2.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.16%= 2.99% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 3.125% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.65%=3.5% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย MRR-1.0%= 5.15% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 5.65% แบบที่ 2 สำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.09% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย  MRR-3.06%= 3.09% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าคิดอกเบี้ย 3.115% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-2.55%=3.6% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าคิดอกเบี้ย 3.5% หลังจากนั้น ดอกเบี้ย MRR-1.0% =5.15%  ลดลงจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 5.65%   หมายเหตุ -นิยามคำว่า “อาคาร” หมายถึง บ้านเดี่ยว บ้านแฝดทาวน์เฮ้าส์ และอาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย ยกเว้นแฟลต และบ้านเช่า ยกเว้น ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ร้อยละ 0.1 ของวงเงินทำนิติกรรม  ยื่นคำขอกู้และอนุมัติตั้งแต่วันที่  1 กรกฎาคม ถึง​30 ธันวาคม 2564 อนุมัติและทำนิติกรรมภายใน​ 31 มกราคม ​2565  (ทั้งนี้ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว) 10.ธนาคารยูโอบี สำหรับธนาคารยูโอบี มีแคมเปญสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ UOB Home Loan - รีไฟแนนซ์ ​(รวมวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์​)  สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่ ​1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายในวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ตามรายละเอียดดังนี้ ทางเลือก 1 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 5.25%  เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.29% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.35%=6.0% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย  3.35% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.50% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 3.29% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.79% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 4.77% ทางเลือกที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 5.40% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 3.49% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.35% = 6.0%เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดอกเบี้ย 3.49% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.60% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 3.49% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.83% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 4.85%   หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ​ (MRTA) ผ่านธนาคารยูโอบี -ทุนประกันเต็มวงเงินกู้และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ ​10 ปีหรือ​ -ทุนประกันขั้นต่ำ ​80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มระยะเวลากู้​ 2.อัตราดอกเบี้ย สำหรับสินเชื่อรีไฟแนนซ์วงเงิน​ 1 ล้านบาทอายุสัญญา​ 15 ปี MRR = 7.35% ต่อปีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้สำหรับโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับทำสัญญากู้ยืม​ของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย​ 3.อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับวงเงินเพิ่มไม่เกิน​ 50% ของวงเงินกู้รวมทั้ง ทั้งนี้ไม่นับรวมวงเงินกู้สินเชื่ออื่นเพื่อชำระค่าเบี้ย​ประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินชื่อ ​ (MRTA) วงเงินกู้รีไฟแนนซ์สูงสุด รวมส่วนกู้เพิ่มต้องไม่เกิน 95% ของราคาประเมิน ขึ้นอยู่กับรายได้ ประเภทของลูกค้า / ประเภทและที่ตั้งของหลักประกัน/ ราคาหลักประกัน / จำนวนสัญญากู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้า วงเงินกู้รีไฟแนนซ์อนุมัติ รวมส่วนกู้เพิ่มต้องไม่เกินวงเงินกู้รีไฟแนนซ์ 4.กรณีกู้โดยไม่รวมวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์และรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อธนาคารโดยตรง 11.ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีแคมเปญสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยต่ำ!! เพียง 0.59% ต่อปี ดังนี้ แบบที่ 1 สำหรับผู้กู้รายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.59% ต่อปี แบบที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-6.76% = 0.59% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.37% = 3.98% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.67% แบบที่ 2 ปีที่ 1 ดอกเบี้ยคงที่ 0.79% หรือ ผ่อนล้านละ 3,5000 บาท ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยคงที่ MRR-3.32% = 4.03% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.74% แบบที่ 3 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย MRR-5.35%=2.00% ปีที่ 3 MRR-3.55%=3.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 4 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10% หรือ ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-3.45% = 3.90% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.64% แบบที่ 5 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-4.75% = 2.60% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.63% แบบที่ 6 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยคงที่ 2.80% หรือ ผ่อนล้านละ 3,500 บาท ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.76% แบบที่ 2 สำหรับผู้มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.79% ต่อปี แบบที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-6.56% = 0.79% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.32% = 4.03% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.74% แบบที่ 2 ปีที่ 1 ดอกเบี้ยคงที่ 0.99% หรือ ผ่อนล้านละ 3,5000 บาท ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยคงที่ MRR-3.27% = 4.08% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.81% แบบที่ 3 ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย MRR-5.25%=2.10% ปีที่ 3 MRR-3.45%=3.9% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.64% แบบที่ 4 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.20% หรือ ผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-3.35% = 4.00% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.70% แบบที่ 5 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย MRR-4.65% = 2.70% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 6 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยคงที่ 2.90% หรือ ผ่อนล้านละ 3,500 บาท ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2.25%=5.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.82%   ข้อกำหนดและเงื่อนไข 1.สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า Refinance ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.59% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรืออัตราดอกเบี้ย 0.79% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม- 30 กันยายน 2564 2.วงเงินกู้เริ่มต้น 1.0 ล้านบาท และราคาประเมินหลักประกัน (แนวราบ) ไม่น้อยกว่า 2.0 ล้านบาท หรือ (แนวสูง) ไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านบาท (โครงการจัดสรรทุกโครงการ) 3.อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขดังกล่าว สำหรับหลักประกันที่ได้รับการจัดสรรทุกโครงการในเขตกรุงเทพฯ  และปริมณฑล ยกเว้น ที่ดินว่างเปล่า, อาคารพาณิชย์ 4.กรณีลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1% ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ภายใน 5 ปีแรกทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 5.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี 6.ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำล้านละ 3,500 บาท ได้ในแบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้น 7.อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.350% (ณ วันที่ 1 เม.ย. 64) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย 8.อัตราดอกเบี้ย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด   บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด เดือนกรกฎาคม 2564 อัพเดท ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน-คอนโด เดือนมิถุนายน 2564
โควิด-19 ทุบความเชื่อมั่น Q2/64 มีแค่ 46.4  ผู้ประกอบการลุ้น​เปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจ

โควิด-19 ทุบความเชื่อมั่น Q2/64 มีแค่ 46.4 ผู้ประกอบการลุ้น​เปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจ

โควิด-19  ยังสร้างความกังวลใจให้ดีเวลลอปเปอร์  ค่าดัชนีความเชื่อมั่นไตรมาส 2 ปี 2564 มีแค่ 46.4 ยังต่ำกว่าค่า​กลาง และความเชื่อมั่นลดลงต่อเนื่องถึง 9 ไตรมาส ​แนวโน้มอนาคตความเชื่อมั่นยังแผ่ว ปรับขึ้นเล็กน้อย รอลุ้นมาตรการเปิดประเทศ 120 สร้างความเชื่อมั่นกลับคืนมา   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เปิดเผยว่า ​จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ในไตรมาส 2 ปี 2564 ยังต่ำกว่าระดับ 50.0 โดยมีค่าดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 46.4 ซึ่งลดลงต่อเนื่องมา 9 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562  ที่ เริ่มต้นจากการบังคับใช้มาตรการควบคุม LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย และยังเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงปี 2563  ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวทั้งในด้านปริมาณและความต้องการ ​   ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ จนมาถึงไตรมาส 2 ปี 2564  ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวช้ากว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ และมีผลทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน มีความกังวลว่าผลกระทบของสถานการณ์ดังกล่าวจะต่อเนื่องไปในอนาคตด้วย   อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการฯ ตามประเภทบริษัท พบว่า ความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันของผู้ประกอบการกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  หรือ Listed Companies  ประจำไตรมาส 2 ปี 2564 มีค่าดัชนีเท่ากับ 51.1 ซึ่งสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 และสูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีเพียง 49.4 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่ม บริษัทมหาชน มีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจในภาวะปัจจุบัน   ทั้งนี้  เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขาย การลงทุนใหม่ๆ และการเปิดตัวโครงการใหม่หรือเฟสใหม่ โดยเฉพาะที่เป็นโครงการบ้านจัดสรรเพื่อทดแทนหน่วยที่ได้ขายไปและทดแทนโครงการอาคารชุดที่เปิดตัวลดลง   ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่มผู้ประกอบการนอกตลาดหลักทรัพย์ หรือ Non-listed Companies มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 39.3 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ 41.7 และค่าดัชนียังต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้ไม่มีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจในภาวะปัจจุบันในทุก ๆ ปัจจัย (ดูตารางที่ 1 และ แผนภูมิที่ 1)   ความเชื่อมั่นในอนาคตยังแผ่ว สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ในภาพรวมอีก 6 เดือนข้างหน้า   พบว่าโดยภาพรวมค่าดัชนีความเชื่อมั่น เท่ากับ 50.5 ลดลงอย่างชัดเจนจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.8 แม้ว่าค่าดัชนียังสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 แต่มีการลดลงอย่างมากในทุกปัจจัย สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการก็ยังคงมีความเชื่อมั่นต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาฯ ในอีก 6 เดือนข้างหน้าในเชิงบวกเล็กน้อย   อาจเป็นเหตุผลจากการที่รัฐบาลได้ประกาศแผนการเปิดประเทศภายใน 120 วัน หรือประมาณเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งหากสามารถทำได้ตามแผนดังกล่าวก็จะทำให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้ แต่ก็ยังมีความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในปัจจุบัน   เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการฯ ตามประเภทบริษัท พบว่า กลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 55.7 ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 63.6 แม้ว่าก็ยังสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 แต่จะเห็นได้ว่ามีการลดลงอย่างมากในทุกปัจจัย   ขณะที่ผู้ประกอบการฯ กลุ่มบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ มีค่าดัชนีเท่ากับ 42.7 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.5 โดยมีการลดลงอย่างมากในทุกปัจจัย และจะเห็นได้อย่างชัดว่าผู้ประกอบการกลุ่มในกลุ่มนี้ขาดความเชื่อมั่นในธุรกิจในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้าในระดับที่มากกว่าผู้ประกอบการกลุ่มบริษัทมหาชน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเสียเปรียบในด้านเงินลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ หรือ ขยายเฟสใหม่ และความเชื่อมั่นของผู้ซื้อที่มีต่อชื่อเสียงของบริษัทมหาชนซึ่งมีผลต่อโอกาสและการแข่งขันในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (ดูตารางที่ 2 และ แผนภูมิที่ 2)  
แสนสิริ  โชว์ยอดครึ่งปีแรก 17,600 ล้าน  เตรียมเปิดอีก 20 โปรเจ็กต์ใหม่

แสนสิริ โชว์ยอดครึ่งปีแรก 17,600 ล้าน เตรียมเปิดอีก 20 โปรเจ็กต์ใหม่

แสนสิริโชว์ผลงานครึ่งปี 64 กวาดยอดขาย – ยอดโอน เกินเป้า สร้างยอดขายทะลุ 17,600 ล้าน และ ยอดโอน 16,400 ล้าน ครึ่งปีหลังลุยเปิด 20 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 19,400 ล้าน​ รับสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว   นายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จากัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกว่า บริษัทสร้างยอดขายรวมมูลค่า 17,600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 57% จากเป้าหมายยอดขาย 31,000 ล้านบาท  จำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นยอดขายจากโครงการแนวราบ 12,000 ล้านบาท และโครงการคอนโดมิเนียม 5,600 ล้านบาท  ส่วนผลงานในไตรมาสที่ 2 บริษัทมียอดขาย 10,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 32% จากไตรมาสแรกที่มียอดขาย 7,600 ล้านบาท โดยยอดขายในครึ่งปีแรก มาจากการปิดการขายโครงการ 5 โครงการหลัก ​อาทิ โครงการเศรษฐสิริ พัฒนาการ โครงการคณาสิริ ชัยพฤกษ์ – วงแหวน  โครงการ “BuGaan เอ็กซ์คลูซีฟ เรสซิเดนท์" ระดับราคา 35.9 - 80 ล้านบาท ที่ทำยอดขายไปถึง 75% ของมูลค่าโครงการ  โครงการทาวน์โฮมแบรนด์ สิริ เพลส ซีรีย์ใหม่ “Dream Destination” ทั้ง สิริ เพลส บางนา-เทพารักษ์  และสิริ เพลส วงแหวน – ลำลูกกา ที่ทำยอดขายไปแล้วกว่า 80% จากจำนวนยูนิตที่เปิดขายในระยะเวลาเพียง 2 วันพรีเซลล์ และคอนโดแบรนด์ “THE MUVE” (เดอะมูฟ)   ยอดขายของแสนสิริ เป็นผลมาจากการมองตลาดเร็ว และพร้อมปรับตัวรองรับทุกสถานการณ์ ตลอดเวลา  นอกจากนี้  ในครึ่งปีแรก บริษัทยังมียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สร้างเสร็จ และส่งมอบให้กับลูกค้าไปแล้วถึง 16,400 ล้านบาท  คิดเป็นสัดส่วน 53% จากเป้าหมายยอดโอนปีนี้จำนวน 31,000 ล้านบาท โดยเป็นยอดโอนในไตรมาส 2 อยู่ที่ 8,800 ล้านบาท เติบโตขึ้น 14% จากไตรมาสแรกที่มียอดโอน 7,700 ล้านบาท และแบ่งเป็นยอดโอนจากโครงการแนวราบ 55% และคอนโด  45%   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการปิดแคมป์ก่อสร้างในช่วงที่ผ่านมา เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด– 19  แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการโอนและรับรู้รายได้ในไตรมาส 2 ของบริษัท เนื่องจากที่อยู่อาศัยที่ต้องส่งมอบได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งแสนสิริได้เตรียมทำแผน catch up งานก่อสร้างหลังกลับมาเริ่มก่อสร้างได้ไว้เรียบร้อยแล้ว จึงมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าได้ตรงเวลา รวมทั้งยังมีที่อยู่อาศัยพร้อมเข้าอยู่ – พร้อมโอน รองรับความต้องการของลูกค้าได้อีกด้วย   นายอุทัย กล่าวอีกว่า โดยในครึ่งปีหลัง บริษัทยังเตรียมโอนคอนโด  เอดจ์ เซ็นทรัล - พัทยา ในวันที่ 21 – 22 สิงหาคม และ ดีคอนโด ไฮด์อเวย์ – รังสิต ในวันที่ 28 – 29 สิงหาคมนี้ เพื่อรองรับการรับรู้รายได้ในช่วงครึ่งปีหลังอีกด้วย  และบริษัทมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่อีก 20 โครงการ มูลค่ารวม 19,400 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยวและมิกซ์โปรดักส์แบรนด์อณาสิริ 8 โครงการ มูลค่ารวม 7,500 ล้านบาท ทาวน์โฮมแบรนด์สิริเพลสและแบรนด์ใหม่ล่าสุด 5 โครงการ มูลค่ารวม 6,300 ล้านบาท และโครงการคอนโด  7 โครงการ มูลค่ารวม 5,600 ล้านบาท   แสนสิริยังมองแง่บวกถึงทิศทางข้างหน้าที่ต้องปรับตัวให้เร็ว รองรับความต้องการลูกค้าและการกลับมาของตลาด ก่อนการเปิดประเทศและเศรษฐกิจเริ่มฟื้น     ทั้งนี้ แสนสิริยังมองเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี จากยอดขายในตลาดต่างจังหวัดที่เริ่มมียอดขายที่ดีขึ้น รวมถึงยอดโอนในกลุ่มลูกค้าต่างชาติ โดยล่าสุด แสนสิริได้เริ่มรุกตลาดเชียงใหม่ ด้วยการเปิดตัว “1517 NIMMAN” (1517 นิมมาน) Co - Business I Living Space พื้นที่ที่รวมธุรกิจ และการอยู่อาศัยเป็นหนึ่งเดียว ราคาเริ่มต้น 5.9 ล้านบาท บนพื้นที่ขนาด 2 ไร่ จำนวน 23 ยูนิต ขณะที่ตลาดท่องเที่ยวในภูเก็ต  มีทิศทางที่ดี จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน ภายใต้โครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์” ที่ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ทำให้ตลาดเริ่มกลับมาคึกคัก ยังรวมถึงสัญญาณที่ดีในตลาดต่างชาติ จากยอดโอน XT ห้วยขวาง ซึ่งกลุ่มลูกค้าต่างชาติให้ความเชื่อมั่นแสนสิริ และตอบรับโอนไปแล้วกว่า 60%    
ASM  แตกธุรกิจ “Always Clean”  บริการทำความสะอาด-ฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค  

ASM แตกธุรกิจ “Always Clean” บริการทำความสะอาด-ฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค  

ASM ผู้ให้บริการงานรักษาความปลอดภัย ในเครือล็อกซเล่ย์ แตกไลน์ธุรกิจ Always Clean by ASM บริการทำความสะอาดและฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรคครบวงจร รับวิถีชีวิตปกติใหม่ สู้ภัยวิกฤติโควิด-19     นางสาวพัทธ์ธีรา ลภัสเศรษฐศิริ รองกรรมการผู้จัดการกลุ่มงานปฏิบัติการ รักษาความปลอดภัยและบริการ บริษัท รักษาความปลอดภัย เอเอสเอ็ม แมเนจเมนท์ จำกัด หรือ  ASM  เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำความสะอาดและฉีดพ่นน้ำยากำจัดเชื้อโรคจึงเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการร้านค้า และองค์กรต่าง ๆ เริ่มตระหนักถึงการทำความสะอาดและการฉีดพ่นน้ำยากำจัดเชื้อโรคมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่บริษัทฯ จะเดินหน้าสู่ธุรกิจบริการทำความสะอาดครบวงจร ภายใต้ชื่อ ออลเว็ส คลีน บาย เอเอสเอ็ม (Always Clean by ASM) เพื่อตอบโจทย์กับความต้องการในยุคความปกติใหม่ (New Normal) การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังพบผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์กลุ่มก้อนเดิม และคลัสเตอร์ใหม่ในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการร้านค้า และองค์กรต่าง ๆ เริ่มยกระดับมาตรการทำความสะอาดและการฉีดพ่นน้ำยากำจัดเชื้อโรคถี่มากขึ้น หลังพบผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้บริการของ ออลเว็ส คลีน เติบโตสูงขึ้นตามลำดับ โดยบริษัทได้เริ่มให้บริการดังกล่าวมาตั้งแต่ปลายปี 2561 และได้รับการตอบรับที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะช่วงต้นปีจนถึงปัจจุบัน  การให้บริการเติบโตขึ้นกว่า 33% มีลูกค้าจองคิวใช้บริการเฉลี่ย 25 รายต่อวัน แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าประเภทบ้านและคอนโดฯ 80% องค์กรธุรกิจ 10% ร้านค้า ร้านอาหาร 8% และอื่นๆ 2%   สำหรับจุดแข็งของการให้บริการออลเว็ส คลีน คือ มาตรฐานการรับรองด้านความปลอดภัย ที่สร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้กับลูกค้า การเลือกใช้น้ำยากำจัดเชื้อโรคคุณภาพสูง ซึ่งเป็นน้ำยาพิเศษนำเข้าจากต่างประเทศ สามารถกำจัดเชื้อโรคได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น ไวรัสโควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ ไวรัส H1N1 ไวรัสเมอร์ส เชื้อรา เชื้อไมโคแบคทีเรีย เชื้อสปอร์ และไวรัสต่างๆ   นอกจากนี้ พนักงานทุกคนยังผ่านการตรวจคัดกรอง และได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นที่เรียบร้อย โดยจะมีเข็มกลัดติดที่อกเป็นสัญลักษณ์ว่าฉีดวัคซีนครบโดสแล้วเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า ที่สำคัญพนักงานทุกคนผ่านการตรวจประวัติอาชญากรรม ได้รับการฝึกอบรมด้านการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัท โดยบริการหลักของ “ออลเว็ส คลีน บาย เอเอสเอ็ม” ประกอบไปด้วย 1.บริการฉีดพ่นกำจัดเชื้อโรคที่ใช้น้ำยาพิเศษเฉพาะที่นำเข้าจากต่างประเทศ สามารถกำจัดเชื้อโรคได้ทุกชนิด 2.บริการทำความสะอาด Big Cleaning โดยให้บริการทำความสะอาดสำนักงาน อาคาร โรงงาน โกดังเก็บสินค้าฯลฯ 3.บริการทำความสะอาดบ้านรายชั่วโมงในราคาจับต้องได้ 4.บริการทำความสะอาดบ้าน ออฟฟิศ โรงงาน รายเดือน 5.บริการดูดไรฝุ่นที่นอน โซฟา และผ้าม่าน 6.บริการอบโอโซน และ7.บริการล้างแอร์ ปัจจุบันบริษัทฯ ได้จัดโปรโมชั่นลดราคาพิเศษเมื่อใช้บริการทำความสะอาดบ้าน 4 ชั่วโมง และฉีดพ่นกำจัดเชื้อโรค จะได้รับสิทธิสะสมแต้มแลกรับบริการฉีดพ่นกำจัดเชื้อโรคและกำจัดไรฝุ่นฟรีอีกด้วย  
เซ็นทรัลพัฒนา เข้าซื้อหุ้นสยามฟิวเจอร์ฯ มูลค่ากว่า 7,700 ล้าน

เซ็นทรัลพัฒนา เข้าซื้อหุ้นสยามฟิวเจอร์ฯ มูลค่ากว่า 7,700 ล้าน

เซ็นทรัลพัฒนา เข้าซื้อหุ้นสยามฟิวเจอร์ฯ 30.36% จากเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มูลค่ากว่า 7,700 ล้าน ขยาย​ Super Regional Mall เพิ่มเป็น 2 แห่ง  “เซ็นทรัล เวสต์เกต” และ “เมกาบางนา” เติบโตไปพร้อมกับพันธมิตรระดับโลกอย่างอิเกีย   บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทย  ลงนามข้อตกลง (MOU) เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นสามัญบริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ “SF” จากบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ “MAJOR” ในสัดส่วน 30.36% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด ในราคาซื้อขายหุ้นละ 12 บาท คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 7,700 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการซื้อขายและชำระเงินค่าหุ้นแก่ผู้ขายได้ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2564 และเตรียมพร้อมทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของ SF ภายหลังจากเข้าทำธุรกรรมการซื้อหุ้นจาก MAJOR เสร็จสิ้น   โดยข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยขยายพอร์ตศูนย์การค้าขนาดใหญ่ Super Regional Mall ของบริษัท เพิ่มขึ้นเป็น 2 แห่ง คือ เซ็นทรัล เวสต์เกต และเมกาบางนา และเติบโตไปพร้อมกับพันธมิตรระดับโลกอย่างอิเกีย พร้อมผนึกธุรกิจในเครือกลุ่มเซ็นทรัล เดินหน้าขยายธุรกิจ คอมมูนิตี้ มอลล์ต่างๆ และพัฒนาโครงการที่ดินบนทำเล CBD ของกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า  การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญของเซ็นทรัลพัฒนา ในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตรงตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้  โดยเซ็นทรัลพัฒนาเล็งเห็นศักยภาพในธุรกิจของ SF ซึ่งจะช่วยขยายพอร์ตโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ระดับ Super Regional Mall ของบริษัท เพิ่มขึ้นเป็น 2 แห่ง คือ เซ็นทรัล เวสต์เกต และเมกาบางนา ซึ่งทั้งสองแห่งถือเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังต่อยอดการลงทุนร่วมกับอิเกีย      นอกจากนี้ ยังสามารถเติมเต็ม พอร์ต คอมมูนีตี้ มอลล์ และที่ดินรอการพัฒนา ในทำเลศักยภาพสูงทั้ง CBD ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ในจังหวัดต่างๆ ด้วยการผนึกธุรกิจในเครือกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อสร้างศูนย์กลางการใช้ชีวิต (Center of Life) สร้างความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจและสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีต่อไปในอนาคต   เมื่อพิจารณาโครงสร้างเงินทุนของบริษัทที่สามารถบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่ในกรอบนโยบายสัดส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ Net D/E ที่ต่ำกว่า 1 เท่า ภายหลังจากการลงทุนครั้งนี้ได้ โดยเซ็นทรัลพัฒนายังเดินหน้าพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบมิกซ์ยูสต่อไป และศึกษาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ภายใต้เป้าหมายองค์กรในการ  ‘มุ่งมั่นสร้างสรรค์สิ่งที่ดี เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน’ ด้านนายวิชา พูลวรลักษณ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเข้าทำรายการดังกล่าวเป็นการสร้างผลตอบแทนที่ดี ต่อธุรกิจของบริษัทและผู้ถือหุ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เสริมความแข็งแกร่งเพื่อสนับสนุนแผนการขยายธุรกิจในอนาคต เพื่อต่อยอดความเป็นผู้นำธุรกิจโรงภาพยนตร์และศูนย์รวมความบันเทิงของลูกค้าทุกคนต่อไป สำหรับเซ็นทรัลพัฒนา เป็นผู้พัฒนาและบริหารจัดการศูนย์การค้า 34 แห่ง มีพื้นที่ให้เช่าสุทธิรวม 1.8 ล้านตารางเมตร  (อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 15 โครงการ, ต่างจังหวัด 18 โครงการ และในมาเลเซีย 1 โครงการ) ศูนย์อาหาร 30 แห่ง อาคารสำนักงาน 10 อาคาร โรงแรม 2 แห่ง โครงการที่พักอาศัยอีก 18 โครงการ ประกอบด้วยคอนโดมิเนียมภายใต้แบรนด์ ESCENT, ESCENT  VILLE, ESCENT PARK VILLE, PHYLL PAHOL 34 และ BELLE GRAND RAMA 9 และโครงการแนวราบภายใต้แบรนด์ ESCENT TOWN พิษณุโลก (ทาวน์โฮม) นินญา กัลปพฤกษ์ (บ้านแฝด) โครงการนิยาม บรมราชชนนี (บ้านเดี่ยวระดับลักชูรี่) และโครงการบ้านเดี่ยวแบรนด์ใหม่ ได้แก่ นีรติ เชียงราย และนีรติ บางนา โดยโครงการดังกล่าวได้รวมส่วนที่อยู่ภายใต้บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLAND ที่เซ็นทรัลพัฒนา เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ และเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีสินทรัพย์ที่ดำเนินการแล้ว และสินทรัพย์ที่รอการพัฒนาอยู่บนทำเลศักยภาพสูงในกรุงเทพฯ อีกทั้งมีโครงการระดับโลกที่ร่วมกับพันธมิตรชั้นนำ อาทิ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค อีกด้วย   ส่วนสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ ประกอบธุรกิจพัฒนาและบริหารจัดการศูนย์การค้า โดยมีโครงการที่ดำเนินการอยู่ทั้งหมดจำนวน 18 โครงการ ประกอบด้วย ศูนย์การค้าชุมชน ศูนย์ไลฟ์สไตล์ ศูนย์รวมสินค้าเฉพาะอย่าง  ร้านค้าปลีก ศูนย์บันเทิง และการลงทุนในโครงการเมกาบางนา ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในกรุงเทพและปริมณฑลฯ ด้วยพื้นที่เช่าเพื่อการค้าปลีกรวมกันกว่า 400,000  ตารางเมตร   ขณะที่บมจ. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป เป็นผู้ให้บริการธุรกิจศูนย์รวมความบันเทิง และเป็นผู้นำธุรกิจโรงภาพยนตร์ในประเทศไทยมากว่า 35 ปี โดยปัจจุบันมีโรงภาพยนตร์ในศูนย์การค้า ไลฟ์สไตล์มอลล์ และแบบ Standalone กว่า 800 โรงทั่วประเทศ รวมถึงประกอบธุรกิจอื่นที่ส่งเสริมต่อธุรกิจหลัก อาทิ ธุรกิจโบว์ลิ่ง คาราโอเกะ และลานสเก็ตน้ำแข็ง ธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจพื้นที่เช่าและบริการ และธุรกิจสื่อภาพยนตร์ เป็นต้น  
ROH ระดมทุนผ่านกองทรัสต์ GROREIT  พร้อมซื้อ “รอยัล ออคิด เชอราตัน” คืนใน 5 ปี

ROH ระดมทุนผ่านกองทรัสต์ GROREIT พร้อมซื้อ “รอยัล ออคิด เชอราตัน” คืนใน 5 ปี

ROH ระดมทุนผ่านกองทรัสต์โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน GROREIT - REIT Buy Back กองแรกของไทย เพื่อมีโอกาสกลับมาซื้อธุรกิจโรงแรมคืน เผยมูลค่ากองทรัสต์ 4,500 ล้านบาทยังน้อยกว่าศักยภาพการสร้างรายได้ของโรงแรม ยืนยันซื้อคืนโรงแรมภายใน 5 ปีข้างหน้าตามเงื่อนไข   นายศานิต อรรถญาณสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โรงแรม รอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ROH เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการระดมทุนผ่านกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แกรนด์ รอยัล ออคิด โฮสพีทาลิตี้ ที่มีข้อตกลงในการซื้อคืน (GROREIT) ทั้งนี้ GROREIT มีมูลค่า 4,500 ล้านบาท ซึ่งจะลงทุนซื้อกรรมสิทธิ์ (Freehold) ของโรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน ในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินของโรงแรมถึง 718 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ บริษัทได้ทำการประเมินโรงแรมดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึงกว่า 5,000 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีความจำเป็นต้องเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินเพื่อดำเนินธุรกิจในช่วงสถานการณ์การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการปิดเมือง ดังนั้น หากเปรียบเทียบมูลค่ากองทรัสต์ที่เสนอขายและโอกาสการสร้างรายได้ของโรงแรมในอนาคต ประเมินว่า โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน ยังเป็นโรงแรมที่มีศักยภาพสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทอีกมาก โดยบริษัทมีสัญญาที่จะกลับมาซื้อโรงแรมคืนภายในระยะเวลา 5 ปี   สำหรับกอง GROREIT มีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด เป็นผู้จัดการกองทรัสต์และจัดจำหน่าย เป็น REIT ประเภทพิเศษลักษณะการลงทุนระยะสั้นกว่า REIT ปกติทั่วไป คือไม่เกิน 5 ปี ซึ่ง บลจ.วรรณได้ออกโครงสร้างการลงทุนที่น่าสนใจ โดยจะให้ผลตอบแทนรวมจากการลงทุนที่ประมาณ 8% ต่อปี (IRR) เมื่อบริษัทกลับมาซื้อโรงแรมคืน โดยก่อนหน้านั้นระหว่างปีผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้ เงินปันผลประมาณ 6% ต่อปี   นายศานิต กล่าวเพิ่มเติมว่า  ทางเลือกของการระดมทุนรูปแบบ REIT  Buy Back  ถือเป็นโอกาสที่ดีของบริษัท ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การระดมทุนรูปแบบใหม่ที่สำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีออกมา เพื่อเป็นช่องทางในการระดมทุนสำหรับเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจโรงแรม คือไม่ใช่การขายขาด โดยบริษัทยังมีโอกาสกลับมาซื้อที่ดินและโรงแรมคืนได้ เพียงแต่การระดมทุนแบบ REIT เป็นแผนระดมทุนระยะสั้นที่บริษัทจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ แต่ในแผนระยะยาว บริษัทยังคงเตรียมการกลับมาซื้อโรงแรมคืนแน่นอน เพราะเปรียบเทียบมูลค่าที่บริษัทระดมทุนผ่านกองทรัสต์กับอนาคตการสร้างรายได้ของโรงแรมนั้น การซื้อคืนย่อมดีกว่าในแง่ของการดำเนินธุรกิจ เพราะโรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้มากกว่า  ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจโรงแรมภายใต้แบรนด์ “เชอราตัน” ในเครือ Marriott International หรือดำเนินแผนการเจรจาขายหุ้นให้กับนักลงทุนต่อจากที่ได้เคยเจรจาไว้ก่อนหน้านี้ เพราะเพียงแค่เฉพาะมูลค่าที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ปัจจุบันก็อยู่ที่ประมาณ 3,000-3,200 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทเชื่อมั่นว่า ภาคท่องเที่ยวของไทยยังคงเป็นแผนระยะแรกที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญ ประกอบกับความก้าวหน้าและการเร่งฉีดวัคซีนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ได้ช่วยลดความกังวลว่าการระบาดจะรุนแรงได้ ขณะที่เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วและมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลดีต่อธุรกิจโรงแรมของไทย ให้มีแนวโน้มที่จะกลับมามีความน่าสนใจอีกครั้งหนึ่ง   ในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม มีความเชื่อมั่นว่าภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้ภาคบริการของประเทศจะสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้เร็ว หากรัฐบาลเร่งนำเข้าวัคซีนประสิทธิภาพสูงปูพรมฉีดให้แก่ประชาชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน​หมู่ ในระดับที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 เหมือนเช่นในต่างประเทศบางประเทศที่ธุรกิจท่องเที่ยวเริ่มฟื้นแล้ว   บริษัทพยายามหาแนวทางเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้  โดยโรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน มีจุดเด่นในเรื่องทำเลที่ตั้งที่ดีเยี่ยม อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และอยู่ตรงข้ามไอคอนสยาม ย้อนหลังไป 4 ปีก่อนเกิดการระบาดของโรค คือปี 2559-2562  โรงแรมมีศักยภาพการสร้างรายได้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ประมาณ 863 ล้านบาท 893 ล้านบาท 1,030 ล้านบาท และ 1,075 ล้านบาท ตามลำดับ  โดยมีอัตราการเข้าพักของโรงแรมอยู่ในระดับเฉลี่ยเกิน 80% นั่นเป็นเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้บริษัทมีแนวทางชัดเจนในการซื้อคืนโรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน ในระยะ 5 ปีข้างหน้านับจากนี้ ตามเงื่อนไขการระดมทุน ซึ่ง​ GROREIT วางแผนเปิดเสนอขาย IPO จนถึง 9 กรกฎาคมนี้