Tag : Office

144 ผลลัพธ์
SC ASSET ตั้งเป้า5ปี 150,000 ล้าน ภายใต้แนวคิด “มหาศาล มั่นคง สมดุล“

SC ASSET ตั้งเป้า5ปี 150,000 ล้าน ภายใต้แนวคิด “มหาศาล มั่นคง สมดุล“

นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา SC ทำยอดขายนิวไฮ 4 ปีต่อเนื่อง ต่อไปทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทในระยะเวลา 5 ปี จากนี้ (2567-2571)  คาดว่าจะสร้างรายได้รวมกว่า 150,000 ล้านบาท ซึ่งจะมาจากหลากหลายธุรกิจทั้งในส่วนของ อสังหาฯที่อยู่อาศัย โรงแรม และคลังสินค้า ภายใต้แนวคิด “มหาศาล  มั่นคง สมดุล”   SC ASSET ธุรกิจบนความหลากหลายเริ่มจาก  มหาศาล การสร้างรายได้รวม (portfolio revenue) รวม 5 ปี (2567-2571) จากหลากหลายธุรกิจที่คาดว่าจะทำรายได้มากกว่า 150,000 ลบ. สำหรับเป้าหมายและแผนธุรกิจในปี 2567 คาดการณ์จะทำยอดขายนิวไฮ 28,000 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็น โครงการแนวราบ 65% และโครงการแนวสูง 35% โครงการเพื่อขายทั้งสิ้น 86 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 91,000 ล้านบาท เป็นการเปิดโครงการใหม่รวม 17 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 30,000ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการแนวราบ15 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 25,000 ล้านบาท โดยมีไฮไลท์เป็นแบรนด์ใหม่ชื่อ “คอนนาเซอร์” (Connoisseur) ราคาเริ่มต้น 80 ล้านบาท และบ้านไลฟ์สไตล์เฉพาะ และโครงการใหม่แนวสูง 2 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 5,000 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์ “เรฟเฟอเรนซ์” (Reference) มั่นคง : ลงทุนอย่างเหมาะสม เพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน D/E น้อยกว่า 1.5 สมดุล : ส่วนผสมกำไร จากธุรกิจที่หลากหลาย โดยมีกำไรจากธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำสม่ำเสมอ (engine 2) มากกว่า 25%ในส่วนธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำสม่ำเสมอ มาจาก 4 ธุรกิจหลัก แบ่งเป็น 1.อาคารสำนักงานให้เช่า มีพื้นที่เช่ารวม 120,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) จากอาคารสำนักงานรวม 6 อาคาร 2.โรงแรม มีจำนวนห้องพักรวม 545 ห้อง จากโรงแรม 3 โครงการ โดยเปิดแล้วที่ “YANH ราชวัตร” ขนาด 78 ห้องและกำลังจะเปิดปลายปี 2567 นี้ “ครอโม” (Kromo) ทำเลสุขุมวิท 29 บริหารโดย CurioCollection by Hilton จำนวน 306 ห้อง และเปิดต้นปี 2568 ในทำเลพัทยา จำนวน 161 ห้อง 3.คลังสินค้า มีพื้นที่เช่ารวม 160,000 ตร.ม. จากคลังสินค้ารวม4 โครงการ ดำเนินการแล้วที่ทำเลนครสววรค์พื้นที่ 16,000 ตร.ม. กำลังจะเปิดในปี 2567 นี้และปี 2568 อีก 144,000 ตร.ม. ใน 3 ทำเลคือ บางนา กม.20, บางนา กม.22 และแหลมฉบัง และยังมีการร่วมลงทุนกับสตอเรจเอเชีย บุกตลาด Self Storageภายใต้แบรนด์ “i-Store” 4.อสังหาริมทรัพย์เพื่อเช่าในสหรัฐอเมริกา มีห้องพักรวม78 ห้อง ใน 4 ทำเลใจกลางเมืองบอสตัน   ในส่วนของภารกิจ SCeroMission ดำเนินธุรกิจอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการออกแบบ สร้าง ใช้ ทิ้ง จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก 25% ในปี 2573 ที่ผ่านมาองค์กรได้มีการติดตั้ง Solar Roof บริเวณอาคารสำนักงาน และโครงการบ้าน ติดตั้ง EV Charger ณ อาคารสำนักงาน และคอนโดมิเนียม เปลี่ยนหลอดไฟ LED เปลี่ยนระบบทำความเย็น ในอาคารสำนักงาน ช่วยลด GHG ได้กว่า 1,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปี 2565-2566 และตั้งเป้าหมายว่าจะลดก๊าซเรือนกระจก 15% จากการดำเนินงานตามปกติ ในปี 2567 นายณัฐพงศ์ กล่าวสรุปอย่างมั่นใจว่า “SC พร้อมและมุ่งมั่นสำหรับการเติบโตในทศวรรษที่ 3 ตามวิสัยทัศน์ SC the Evolution เติบโตด้วยการปรับตัวตามบริบท เติบโตด้วยการสร้างคุณค่าสู่คนและโลก เติบโตด้วยธุรกิจที่หลากหลาย ทั้งที่อยู่อาศัย โรงแรม คลังสินค้า ออฟฟิศ”   บทความน่าสนใจ SC เปิดบ้านหรูซีรีส์ใหม่ “อยู่แบบใหม่ แบบสับ” bangkok boulevard signature westgate Grand Bangkok Boulevard พระราม 9 กรุงเทพกรีฑา โครงการ Modern Luxury เป็นบ้านเดี่ยว 3 ชั้น  
สิงห์ เอสเตท ตั้งเป้า1.8 หมื่นล้าน ก้าวสู่ปีที่ 10 อย่างแข็งแกร่ง ทุกโครงการที่เปิดต้องมาสเตอร์พีซ

สิงห์ เอสเตท ตั้งเป้า1.8 หมื่นล้าน ก้าวสู่ปีที่ 10 อย่างแข็งแกร่ง ทุกโครงการที่เปิดต้องมาสเตอร์พีซ

บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) แถลงข่าวทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2567 ที่ยังคงเน้นการพัฒนาและลงทุนกับโครงการระดับมาสเตอร์พีซ ภายใต้ปรัชญา “Go Beyond Dreams” เดินหน้าสร้างซินเนอร์จีธุรกิจภายในเครือ ตลอดจนผนึกกำลังพันธมิตร พร้อมชูกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน  โดยตั้งเป้ารายได้โต 20% อยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท   สิงห์ เอสเตท นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. สิงห์ เอสเตท กล่าวว่า  ถึงกลยุทธ์ในการสร้าง สิงห์ เอสเตท ในปี 2566 ที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจที่พักอาศัย ที่มีการเปิดตัวโครงการบ้านแนวราบขยายฐานลูกค้าครบทุก ลักซ์ชัวรีเซ็กเมนต์ และการขยายสัดส่วนการถือครองโครงการ The ESSE Sukhumvit 36 รับการฟื้นตัวของความต้องการในกลุ่ม ของตลาดคอนโดมิเนียม อีกทั้งการลงทุนในที่ดินในทำเลศักยภาพที่รองรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำหรับโครงการในอนาคตตามกลยุทธ์หลักของบริษัทที่สร้างการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน   ขณะที่กลุ่มธุรกิจโรงแรมภายใต้การบริหารงานของ ‘เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท’ (SET: SHR) ก็มีความโดดเด่นจากการเปิดตัว SO/Maldives โรงแรมไลฟ์สไตล์หรูระดับ 5 ดาว ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการครอสโรดส์ มัลดีฟส์ และการยกระดับห้องพักโรงแรมในเครืออีก 5 แห่ง เพื่อตอบรับโอกาสจากความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงเสริมการให้บริการในโรงแรมเพื่อให้สามารถเก็บอัตราห้องพักต่อวันและรายได้จากบริการอื่น ๆ ได้สูงขึ้นและเพิ่มมากขึ้น และการต่อยอดแบรนด์ ทราย (“SAii”)  ในการให้บริการที่มีความหลากหลายยิ่งขึ้นและเพิ่มรายได้อื่น ๆ นอกจากราคาห้องโรงแรมของกลุ่ม   ในส่วนของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า บริษัทมีการนำโมเดลธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการใช้พื้นที่ของคนทำงานยุคใหม่ และกลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ด้วยจุดแข็งของนิคมอุตสาหกรรม เอส อ่างทอง ที่มีการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ของโรงไฟฟ้าเพิ่มอีก 2 แห่ง และแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ภายในพื้นที่รองรับการลงทุนในอนาคต “โดยในปี 2567 นี้ เราตั้งเป้ารายได้รวมของบริษัทให้เติบโตขึ้นสูงถึง 20% หรือมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 18,000 ล้านบาทผ่านแนวคิด Go Beyond Dream ที่ใช้ 3 แนวทางสนับสนุนสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตครั้งนี้ ได้แก่ 1) Go Expertise การสร้างซินเนอร์จีจากความชำนาญของทีมระหว่าง 4 กลุ่มธุรกิจ โดยดึงเอาจุดแข็งและความชำนาญที่แตกต่างและโดดเด่นของแต่ละธุรกิจเพื่อเกื้อหนุนกันและกัน เพื่อการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำและส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้า 2) Go Elixir การผนึกกำลังกับพันธมิตรใหม่ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและการลงทุน 3) Go Exceed, Go Exit ความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDG13 Climate Change สู่การเป็นองค์กร Carbon Neutrality ของสิงห์ เอสเตท ในปี 2573 เพื่อสร้างความสมดุลของธุรกิจทั้งกับชุมชุน สังคมและสิ่งแวดล้อม” กลุ่มธุรกิจที่พักอาศัย จากความสำเร็จในการพัฒนาโครงการระดับมาสเตอร์พีซอย่าง โครงการสันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส โครงการลาซัวว์ เดอ เอส และโครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส ทำให้เกิดความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในโครงการใหม่ ๆ อาทิ SMYTH, S’RIN และ SHAWN ในปี 2567 นี้ สิงห์ เอสเตท เตรียมต่อยอดความสำเร็จโครงการบ้านแนวราบที่มีครบทุกเซ็กเมนลักซ์ชัวรีตามแผนงาน และยังคงไว้ซึ่งการถ่ายทอด DNA ที่ยึดถือในการพัฒนาโครงการให้ได้คุณภาพระดับ “Best in Class” ด้วยอัตลักษณ์ในแบบฉบับของสิงห์ เอสเตท โดยได้มีการลงทุนในที่ดินทำเลศักยภาพที่รองรับการพัฒนาสำหรับโครงการที่จะเกิดขึ้นระยะ 3-5 ปีต่อจากนี้ นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้จากยอดโอนเพิ่มขึ้นอีก 50% ในปีนี้   กลุ่มธุรกิจโรงแรมภายใต้การบริหารงานของ SHR ยังคงมีแผนที่จะปรับปรุงโรงแรมตามแผนการยกระดับพอร์ตโฟลิโออย่างต่อเนื่อง จำนวน 5 โรงแรมในเครือที่ประเทศไทยและต่างประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มอัตราเฉลี่ยต่อห้องต่อคืน (RevPAR) ได้มากกว่า 25% รวมถึงแผนการเสริมการให้บริการด้านอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับการยกระดับห้องพักที่จะสร้างรายได้เพิ่มเติม นอกเหนือจากรายได้การเข้าพัก (Non-Room Revenue) จากการใช้จ่ายต่อคนในการใช้บริการ ภายในโรงแรมเพิ่มขึ้นอีก 15% ขณะที่การหมุนเวียนสินทรัพย์ (Asset Rotation) ยังเป็นปัจจัยหนึ่งในการเสริมความแข็งแกร่งด้านผลประกอบการ โดยมุ่งเน้นไปที่สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง รวมถึงการมองหาโอกาสในการควบรวมกิจการของธุรกิจที่ทำให้เกิดโอกาสรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นด้วย   กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า ยังคงมุ่งเน้นกลยุทธ์ในการใช้โมเดลธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น ควบคู่ไปกับการชูจุดเด่นด้านที่ตั้งของโครงการต่างๆ ในเครือ ซึ่งจะทำให้มีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยของอาคารสำนักงานในเครือที่มากกว่าในช่วงปี 2562 ด้วยอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ย 85% ในทุกโครงการที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ กลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน มีการตั้งเป้ายอดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม เอส อ่างทอง อยู่ที่ 40% ของพื้นที่ขายรวม โดยใช้ทำเลยุทธศาสตร์ที่เป็นจุดศูนย์กลางระหว่างแหล่งวัตถุดิบและเส้นทางการขนส่ง ความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคทั้งกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีสูงถึง 400 MWและปริมาณน้ำซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับผู้ประกอบการเฉพาะทาง อาทิ กลุ่ม Semi-Conductor หรือ กลุ่ม Data Center นอกเหนือจากธุรกิจทางด้านอาหาร และความร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นแรงหนุนสำคัญในการทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย   การดำเนินงานด้านความยั่งยืน มีแผนที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ด้วยกลยุทธ์ Climate Resilience Model เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  รวมถึงการให้ความสำคัญของพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยตั้งเป้าขยายพื้นที่ความหลากหลายทางทะเลถึง 30% นอกจากนี้ยังมุ่งเป็นศูนย์กลางในการสร้างสังคมคุณภาพ ผ่านโครงการต่าง ๆ ถึงกว่า 30 โครงการ นับเป็นจำนวนมากกว่า 100,000 คน ครอบคลุมพื้นที่การดำเนินงาน 5 ประเทศในทุกกลุ่มธุรกิจ  ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐมัลดีฟส์ สาธารณรัฐมอริเชียส สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ     “ภายใต้แนวคิด Go Beyond Dreams เราพร้อมก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 10 ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมที่จะพัฒนาโครงการคุณภาพระดับ “Best in Class” ในทุกกลุ่มธุรกิจ อย่างที่เราได้ประสบความสำเร็จมาแล้วกับโครงการระดับมาสเตอร์พีซ อาทิ โครงการสันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส โครงการ  ครอสโรดส์ มัลดีฟส์ และโครงการสิงห์ คอมเพล็กซ์ แม้ว่า ปี 2567 จะเป็นอีกหนึ่งปีที่ท้าทายสำหรับเศรษฐกิจโลก แต่กลุ่มบริษัท สิงห์ เอสเตท มีกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจไปพร้อมกับการเตรียมตั้งรับสถานการณ์ต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพื่อตอกย้ำแนวทางการทำธุรกิจแบบมั่นคงและยั่งยืน” นางฐิติมา กล่าว   บทความน่าสนใจ สิงห์ เอสเตท รุกตลาดบ้าน Ultra Luxury ปักหมุด SMYTH’S Ramintra เริ่ม 120 ล้าน สิงห์เอสเตท  ครึ่งปีแรกรายได้โต 92% พลิกมีกำไร 102 ล้าน สิงห์ เอสเตท เปิด 5 โครงการที่อยู่อาศัยหมื่นล้าน ขายบ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ หลังละ 550 ล้าน
AWC จับมือ 2C2P แพลตฟอร์มชำระเงินระดับโลก ปักหมุดที่เอ็มไพร์ทาวเวอร์

AWC จับมือ 2C2P แพลตฟอร์มชำระเงินระดับโลก ปักหมุดที่เอ็มไพร์ทาวเวอร์

         บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดบ้านเอ็มไพร์ทาวเวอร์ต้อนรับบริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด (2C2P) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการชำระเงินระดับโลก เปิดสำนักงานแห่งใหม่ที่อาคาร ‘เอ็มไพร์’ อาคารสำนักงานไลฟ์สไตล์สเปซ และทำความร่วมมือของทั้งสององค์กรที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับดิจิทัลอีโคซิสเต็ม ตอบโจทย์บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก สร้างพื้นที่สนับสนุนให้เกิดการเชื่อมต่อองค์กร ผู้คน และชุมชน ผ่านคอนเซ็ปต์ ‘Co-Living Collective: Empower Future’ ที่เป็นเอกลักษณ์ของอาคาร ‘เอ็มไพร์’ พร้อมนำเสนอ AWC Infinite Lifestyle (AWI) โปรแกรมสิทธิประโยชน์สำหรับผู้เช่า ตอบโจทย์ทั้งด้านการทำงานและการพักผ่อนได้อย่างลงตัว โดยอาคาร ‘เอ็มไพร์’ จะสร้างพื้นที่ Co-Living ให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เช่า ตอบโจทย์การใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย รวมถึงการส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ผ่านการจัดกิจกรรม เวิร์คช็อป สัมมนา และการสร้างโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน AWC จับมือ 2C2P AWC จับมือ 2C2P           นายปิยชาติ รัตน์ประสาทพร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด (2C2P) กล่าวว่า “วิสัยทัศน์ของ 2c2p คือพัฒนาและให้บริการระบบชำระเงินแบบครบวงจร โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการชำระเงินผ่านเครือข่ายการชำระเงินที่เป็นพันธมิตรกับเรา เพื่อให้ผู้ใช้มีทางเลือกที่หลากหลายในการชำระเงิน เพราะการชำระเงินถือเป็นส่วนหลักเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ 2C2P เราเชื่อว่าบุคลากรคือรากฐานของความสำเร็จของเรา เราดูแลพนักงานของเราและพยายามหาวิธีการเพื่อให้เกิดความสมดุลที่ดีระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว ดังนั้นเราจึงเลือก อาคาร 'เอ็มไพร์' เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ของเราเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัท การตัดสินใจของเรามีรากฐานมาจากความเชื่อมั่นของเราที่มีต่ออาคาร 'เอ็มไพร์' ที่มีการจัดสรรพื้นที่ส่วนกลางเพื่อให้ผู้เช่าได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ทำงานแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของเราในการผสมผสานงานและชีวิตของพนักงานของเราเข้าด้วยกัน และให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน”   “อาคาร ‘เอ็มไพร์’ ยังมีพื้นที่ส่วนกลางที่สามารถใช้ทำงานร่วมกันแบบเอ็กซ์คลูซีฟ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย บวกกับอยู่บนทำเลที่ตั้งใจกลางเมือง และเพียบพร้อมด้วยสิทธิพิเศษมากมายที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และการทำงานของพนักงาน 2C2P ด้วยข้อเสนอสิทธิพิเศษของ AWI (AWC Infinite Lifestyle) ที่นอกจากสามารถใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกของ อาคาร 'เอ็มไพร์’ ร่วมกันอันเป็นอภิสิทธิเฉพาะผู้เช่าเท่านั้น ทางผุ้บริหาร พนักงานของ 2C2P ยังได้สิทธิในการรับบริการพิเศษจากเครือข่ายแบรนด์และพันธมิตรของ AWC ในส่วนของโรงแรม ศูนย์การค้า และอาคารสำนักงานด้วยเช่นกัน จึงทำให้ทีม 2C2P ลงตัวสำหรับการเลือกที่จะขยับขยายมาที่อาคาร 'เอ็มไพร์”                                ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC กล่าวว่า “AWC และ 2C2P มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการมุ่งสร้างสถานที่ทำงานแห่งความสุขให้กับพนักงาน เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับ 2C2P สู่อาคาร ‘เอ็มไพร์’ และเชื่อมั่นว่าความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมการชำระเงินดิจิทัลของ 2C2P ผสานกับคอนเซ็ปต์ ‘Co-Living Collective: Empower Future’ ของอาคาร ‘เอ็มไพร์’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับเทรนด์ที่ผสานการทำงานและไลฟ์สไตล์อย่างลงตัว จะตอบโจทย์ความต้องการของคนทำงานและองค์กรรุ่นใหม่ได้อย่างดี และเป็นพื้นที่เสริมความแข็งแกร่งและการเติบโตให้ดิจิทัลอีโคซิสเต็มอย่างไม่มีขีดจำกัด นอกจากนี้ภายใต้แนวคิด Co-Living ยังสร้างพื้นที่สำหรับกลุ่มคนที่มีไลฟ์สไตล์และความคิดสร้างสรรค์เหมือนกัน มารวมตัวเพื่อสร้างคุณค่าและเติบโตไปด้วยกัน โดยผู้เช่าและพนักงานจะมีโอกาสในการทำความรู้จักและสร้างการเชื่อมต่อเพื่อสร้างการเติบโตและพัฒนาโอกาสทางธุรกิจร่วมกันกับองค์กรอื่นภายในอาคารผ่านแพลตฟอร์มทั้งออฟไลน์-ออนไลน์ รวมถึงการแบ่งปันทักษะ ความรู้ร่วมกัน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จัดโดย AWC อาทิ เวิร์คช็อป การสัมมนา โดยความร่วมมือระหว่าง AWC และ 2C2P ครั้งนี้ ยังตอบสนองความต้องการของพนักงานในอีโคซิสเต็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเติบโตอย่างไร้ขอบเขต พร้อมร่วมสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่าให้กับพนักงานร่วมกัน”   ทั้งนี้ สำนักงานแห่งใหม่ของ 2C2P จะเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคมปี 2567 มีพื้นที่รวมกว่า 3,000 ตารางเมตร รองรับพนักงานได้กว่า 300 คน โดยอาคาร ‘เอ็มไพร์’ เป็นสำนักงานระดับเกรดเอ ตั้งอยู่ใจกลาง CBD ย่านสาทร ครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีใน Co-Living และ Collaborative Spaces ที่ใหญ่ที่สุด พร้อมด้วยการออกแบบตกแต่งที่ผสานพื้นที่ทำงานและพื้นที่ด้านไลฟ์สไตล์ได้อย่างลงตัว เชื่อมต่อผู้เช่าและพนักงานของบริษัทชั้นนำเข้าในอีโคซิสเต็ม นอกจากนี้ AWC ยังตอบสนองไลฟ์สไตล์การทำงานของผู้เช่าอาคาร ‘เอ็มไพร์’ พร้อมไลฟ์สไตล์สุดพิเศษ ผ่าน AWC Infinite Lifestyle ลอยัลตี้โปรแกรมที่มอบสิทธิประโยชน์ สินค้าและบริการในโครงการคุณภาพของ AWC ทั้งโรงแรม อาคารสำนักงานและคอมมูนิตี้ชอปปิ้งมอลล์ เพื่อส่งเสริมดิจิทัลอีโคซิสเต็มในอาคาร ‘เอ็มไพร์’ แบบครบวงจร “AWC ยังได้ร่วมมือกับ 2C2P ในการพัฒนา Pikul แอปพลิเคชันอสังหาริมทรัพย์เพื่อไลฟ์สไตล์ตัวใหม่ของเรา ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มบูรณาการแบบ Omnichannel ที่ไม่เหมือนใคร โดยจะรวมประสบการณ์ออนไลน์และออฟไลน์สุดพิเศษต่าง ๆ ที่ดีที่สุดเข้าด้วยกัน ทั้งการขาย (Sales) การส่งของขวัญ (Gifting) และเกมมิฟิเคชั่นเพื่อแลกรางวัล (Gamification) ในแอปพลิเคชัน โดย Pikul ยังทำงานร่วมกับ 2C2P ในการพัฒนาช่องทางการชำระเงิน e-wallet และ prepaid-card แพลตฟอร์มการชำระเงินที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับ Pikul โดยเฉพาะ เพื่อเสริมศักยภาพและประสบการณ์การใช้ AWC Infinite Lifestyle”   “AWC มุ่งพัฒนาอาคาร ‘เอ็มไพร์’ เป็นอาคารสำนักงานระดับสากลที่รวมบริษัทชั้นนำระดับโลกมากมาย พร้อมด้วยเครือข่ายดิจิทัลที่เป็นแกนหลักของทุกอุตสาหกรรมธุรกิจ เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มที่รวมพลังตอบโจทย์การเติบโตทางธุรกิจ รวมถึงความสุขและไลฟ์สไตล์ของทุกคน ผ่านโมเดลรูปแบบใหม่ Co-Living ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดย AWC เชิญชวนบริษัทชั้นนำระดับโลกมาร่วมส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน ขยายเครือข่าย และสร้างความแข็งแกร่งทางด้านโซลูชั่นระหว่างอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของอีโคซิส สร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับทุกคน” นางวัลลภา กล่าวสรุป   บทความน่าสนใจ [PR News] AWC จับมือกับ Ant Group ร่วมสร้างความแข็งแกร่งเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม AWC จับมือ โนบุ ผุดโรงแรม Plaza Athenee สร้างแลนด์มาร์กในนิวยอร์ก-กรุงเทพฯ
แอสเสท เวิรด์ คอร์ป ทำผลงาน Q2/66 รายได้-กำไรโตก้าวกระโดด​ ครึ่งปีหลังเดินหน้า​เพิ่มห้องพักและกระแสเงินสด

แอสเสท เวิรด์ คอร์ป ทำผลงาน Q2/66 รายได้-กำไรโตก้าวกระโดด​ ครึ่งปีหลังเดินหน้า​เพิ่มห้องพักและกระแสเงินสด

แอสเสท เวิรด์ คอร์ป ประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2566 รายได้รวม 4,518 ล้านบาท เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด กำไรสุทธิ 1,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 32% ทำรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก 3,356 บาท สูงขึ้น 82.1% เดินหน้าเพิ่มโครงการ เพิ่มจำนวนห้องพัก เพิ่มกระแสเงินสดพร้อมเติบโตก้าวกระโดด   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยถึงผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2566 ตามงบการเงินรวมมูลค่ายุติธรรมว่า มีรายได้รวมกว่า 4,518 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเติบโตแบบก้าวกระโดดมากกว่าปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย   ทั้งนี้ AWC ยังคงมุ่งพัฒนาโครงการในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ เปลี่ยนทรัพย์สินกำลังพัฒนา (Developing Asset) เป็นทรัพย์สินดำเนินงาน (Operating Asset) ควบคู่การยกระดับโครงการในพอร์ตโฟลิโอ (Assets Enhancement) ของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail & Commercial) สอดคล้องกลยุทธ์ GROWTH-LED เพื่อสร้างการเติบโตของกระแสเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไตรมาส 2 นี้ บริษัทมีมูลค่าทรัพย์สินดำเนินงานรวม 120,307 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้น 36,996 ล้านบาท คิดเป็น 44.4% เทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2562 ผลประกอบการไตรมาสที่ 2/2566 ของ AWC มีการเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดากลุ่มธุรกิจ) อยู่ที่ 2,472 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการกลับมาของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ และภาพรวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น   รวมถึงเทศกาลสงกรานต์ในช่วงเดือนเมษายนที่มีการกลับมาจัดอย่างยิ่งใหญ่เป็นปีแรกหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยเฉพาะโรงแรมในกรุงเทพฯ และโรงแรมกลุ่มประชุมสัมมนา (MICE) ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าพักโรงแรมในเครือ AWC เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่งผลให้อัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพักในภาพรวม (RevPAR) สูงถึง 3,356 บาท เพิ่มขึ้น  82.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 อยู่ที่ประมาณ 10% รวมถึงมีอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อวัน (Average Daily Rate: ADR) เท่ากับ 5,367 บาทต่อคืน เติบโต 25.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังสูงกว่าปี 2562 ด้วยเช่นกัน   สำหรับกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail & Commercial) AWC ยังคงมุ่งเพิ่มศักยภาพในการสร้างการเติบโตของกระแสเงินสดในระยะยาว โดยบริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ด้านไลฟ์สไตล์ ตอบรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าและนักท่องเที่ยวในยุคปัจจุบัน ธุรกิจโรงแรม AWC ทำกำไรเพิ่ม 200% ผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการมีกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดา) อยู่ที่ 660 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 200.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะโรงแรมในกลุ่มประชุมสัมมนา และกลุ่มโรงแรมในกรุงเทพฯ ซึ่งมีค่า Revenue Generation Index (RGI) ในภาพรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับโรงแรมในกลุ่มเดียวกันที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง อาทิ โรงแรมแบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ มีค่า RGI เท่ากับ 218 เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งพัฒนาทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นทรัพย์สินดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดากลุ่มธุรกิจ) อย่างต่อเนื่อง พร้อมเสริมความแข็งแกร่งพอร์ตโฟลิโอของกลุ่มโรงแรมที่ตั้งอยู่ในทําเลยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ การเปิดตัวโรงแรม 'INNSiDE by Meliá Bangkok Sukhumvit' แห่งแรกในประเทศไทยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อมอบประสบการณ์โมเดิร์นไลฟ์สไตล์ให้กับกลุ่มนักเดินทางรุ่นใหม่ และเป็นโรงแรมที่ได้มีการออกแบบและก่อสร้างตามกรอบการรับรองของมาตรฐานอาคาร Excellence in Design for Greater Efficiency (EDGE)   รวมถึงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟกับ Nobu Hospitality ร่วมสร้างโรงแรมระดับอัลตร้า ลักชูรี่ 2 แห่งภายใต้แบรนด์ Plaza Athenee ได้แก่ โรงแรม พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา นิวยอร์ก (Plaza Athenee Nobu Hotel and Spa New York) และโรงแรม เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก (The Plaza Athenee Nobu Hotel and Spa Bangkok) เชื่อม 2 มหานคร นิวยอร์กและกรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด River Journey Project พร้อมเชื่อมต่อหลากหลายโครงการริมแม่น้ำเจ้าพระยาของ AWC สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวทางสายน้ำให้แก่นักเดินทาง   ปัจจุบัน AWC มีจำนวนโรงแรมที่เปิดดำเนินการทั้งสิ้นจำนวน 22 โรงแรม รวมจำนวนห้องพักรวม 5,794 ห้อง และจะเพิ่มขึ้นเป็น 23 โรงแรม ภายในสิ้นปี 2566 รวม 6,034 ห้อง คิดเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่จำนวน 3,432 ห้อง ประกอบกับอัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) ที่สูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าปีก่อนและก่อนสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้มีรายได้ 2,287 ล้านบาท เติบโตขึ้น 76.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ บริษัทมุ่งเพิ่มศักยภาพในการสร้างกระแสเงินสดที่แข็งแกร่งให้กับบริษัท พร้อมตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวคุณภาพและจำนวนกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย High-to-Luxury ที่เพิ่มมากขึ้น เอเชียทีค ผู้ใช้บริการเพิ่ม 47% กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงานยังคงสร้างกระแสเงินสดให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราค่าเช่าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการยกระดับอาคารให้เป็นไลฟ์สไตล์สเปซแห่งใหม่ที่ตอบโจทย์การทำงานและไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ อาทิ การเปิดตัว “Co-Living Collective: Empower Future” ของอาคารเอ็มไพร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยคอนเซ็ปต์ที่ผสานรูปแบบการใช้ชีวิตในบ้านมาเชื่อมต่อกับการทำงานอย่างลงตัว สร้างความแตกต่างจากอาคารสำนักงานรูปแบบเดิม ซึ่งช่วยรักษาฐานผู้เช่าเก่า พร้อมดึงดูดผู้เช่าใหม่ที่มองหาอาคารสำนักงานคุณภาพ ที่มีพื้นที่ตอบรับเทรนด์การทำงานในรูปแบบไฮบริดที่เพิ่มสูงขึ้น AWC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลก เพื่อสร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็มที่อาคารเอ็มไพร์ให้เป็นคอมมูนิตี้ดิจิทัลรูปแบบใหม่ เชื่อมต่อผู้เช่าในอุตสาหกรรมดิจิทัลเข้าด้วยกันอีกด้วย ในขณะที่กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการค้า (Retail and Wholesale) สามารถเติบโตได้ดี ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวเติบโตของดัชนียอดขายของร้านค้า และบริษัทได้พัฒนาพื้นที่เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยวและกลุ่มลูกค้าอยู่เสมอ โดยโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เดสติเนชั่น มีจำนวนผู้มาใช้บริการเพิ่มสูงขึ้นถึง 47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากกิจกรรม Disney100 Village at Asiatique พร้อมเสริมความแข็งแกร่งในการเป็นจุดหมายปลายด้านการท่องเที่ยวและด้านอาหารเครื่องดื่มระดับโลกที่ช่วยดึงดูดจำนวนผู้เช่าและจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ   รวมถึงการเปิดตัวโครงการ THE PANTIP LIFESTYLE HUB ที่เชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด “EVERY HAPPINESS FOR EVERYONE” มุ่งสร้างแลนด์มาร์คไลฟ์สไตล์สำหรับครอบครัวใจกลางเมืองเชียงใหม่ และโครงการ THE PANTIP AT NGAMWONGWAN โฉมใหม่ภายใต้แนวคิด “TREASURE HUNT” สู่การเป็นศูนย์พระเครื่อง และศูนย์รวมอาหารและไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุด สำหรับธุรกิจค้าส่ง AWC ได้ร่วมรวมพลังผู้นำธุรกิจอาหารทั้งภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อนประเทศไทยเป็น “ศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค” ที่ AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM ตอบโจทย์การค้าส่งอาหารครบวงจร พร้อมเชื่อมผู้ค้าส่งอาหารทั่วโลกกับผู้ซื้อในเขตเศรษฐกิจอาเซียน   AWC มุ่งมั่นสร้างการเติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน โดยบริษัทได้ลงนามสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) รวมถึงสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท กับ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เพื่อรองรับแผนการพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์เสริมความแข็งแกร่งของพอร์ตโฟลิโอที่มุ่งเน้นการลดการใช้ทรัพยากร และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ ร่วมสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวยั่งยืน โดย AWC ตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนวงเงินสินเชื่อระยะยาวซึ่งเป็นสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนและสินเชื่อสีเขียวเป็น 100% เพื่อมุ่งสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับสังคมองค์รวม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน   AWC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแผนกลยุทธ์เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยล่าสุดบริษัทได้รับรางวัลที่สะท้อนถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานสากลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในปีนี้ AWC ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประเมินองค์กรด้านความยั่งยืน ในกลุ่มดัชนี Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) พร้อมได้รับคัดเลือกเป็น “Top 1% S&P Global ESG Score 2022” รวมถึงยังคงรักษาการประเมินจาก MSCI ESG Rating ในระดับ "AA" เป็นต้น สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และสร้างมิติใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยั่งยืนของไทยตามพันธกิจ “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” (Building a Better Future)   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] AWC จับมือกับ Ant Group ร่วมสร้างความแข็งแกร่งเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม
[PR News] AWC จับมือกับ Ant Group ร่วมสร้างความแข็งแกร่งเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม

[PR News] AWC จับมือกับ Ant Group ร่วมสร้างความแข็งแกร่งเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม

AWC จับมือกับ Ant Group AWC จับมือกับ Ant Group มุ่งยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม สําหรับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไลฟ์สไตล์ของไทย สร้างโอกาสการทำตลาดร่วมกัน ส่งเสริมการเติบโตอย่างไร้ขีดจํากัด ในการสร้างนวัตกรรมและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ด้วย omnichannel ช่องทางการตลาดที่เชื่อมออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงช่องทางการชําระเงินดิจิทัลระดับโลกสําหรับผู้ซื้อและผู้ขาย   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จํากัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือกับ Ant Group ผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลก ร่วมสร้างความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม (Digital Technology Ecosystem) ในกลุ่มธุรกิจของ AWC พร้อมยกระดับโซลูชันการชําระเงินดิจิทัลในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไทย โดยความร่วมมือกับ Ant Group นี้ จะสร้างประสบการณ์การทําธุรกรรมที่สะดวกสบายอย่างไร้รอยต่อแก่ผู้ซื้อและผู้ขายทั่วโลก นับเป็นก้าวสําคัญในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย ความร่วมมือในครั้งนี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของ AWC ในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งเน้นไลฟ์สไตล์ของไทย พร้อมพัฒนาอีโคซิสเต็มทางธุรกิจที่ยั่งยืนให้กับกลุ่มธุรกิจค้าส่ง กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงาน และกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ โดยโซลูชันนี้ จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงการบริการชําระเงินดิจิทัล และสร้างประสบการณ์ Omnichannel ให้กับผู้ซื้อและผู้ขายทั่วโลก ได้แก่ โซลูชันทางการเงินดิจิทัล (Payment Solution) สําหรับกลุ่มธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และบริการของ AWC รวมถึง 'PhenixBox' ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Omnichannel ที่เชื่อมโยงการซื้อขายจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ และ Pikul แพลตฟอร์มดิจิทัลอสังหาริมทรัพย์ไลฟ์สไตล์ของ AWC ซี่งการร่วมมือกันนี้ยังส่งเสริมให้ AWC สามารถขยายอีโคซิสเต็มสำหรับกลุ่มธุรกิจค้าส่งด้วยระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ (Cross-Border Payment Solution) เพื่อสร้างโซลูชันการชําระเงินแบบครบวงจรสําหรับศูนย์กลางการค้าส่งของ AWC และแพลตฟอร์ม PhenixBox ที่จะช่วยให้การชําระเงินระหว่างผู้ค้าส่งและผู้ซื้อทั่วโลกในสกุลเงินต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างราบรื่น”Thai translation. นอกจากนี้ AWC มุ่งพัฒนาอาคาร เอ็มไพร์ ให้มี ดิจิทัลอีโคซิสเต็ม (Digital Eco-System) ที่ครอบคลุม ส่งเสริมให้เป็นพื้นที่สำนักงานไลฟ์สไตล์สําหรับบริษัทเทคโนโลยีและดิจิทัล เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจด้านเทคโนโลยี ซึ่งความร่วมมือกับ Ant Group นี้ จะส่งเสริมการทำตลาดร่วมกัน (Cross-Marketing) กระตุ้นการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยาว พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญ เปิดโอกาสทางธุรกิจ และขยายฐานลูกค้า ด้วยจุดแข็งที่แข็งแกร่งของ AWC ในการเป็นเจ้าของพอร์ตโฟลิโอที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการไลฟ์สไตล์ และเครือข่ายสํานักงานที่มีผู้เช่าเป็นบริษัทเทคโนโลยีและดิจิทัล สนับสนุนให้ความร่วมมือกับ Ant Group นี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ผลักดันการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็มสําหรับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไลฟ์สไตล์ในระยะยาว   นางวัลลภา กล่าวอีกว่า AWC เดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับประสบการณ์การทําธุรกรรมที่ราบรื่นให้แก่ลูกค้าและผู้ประกอบการทั่วโลก พร้อมเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจในวงกว้างด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของ Ant Group ซึ่งเป็นพันธมิตรที่มีวิสัยทัศน์ตรงกันเพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า เพื่อร่วมกันส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนในธุรกิจด้วยการนําเสนอโซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย   นางสาวคลารา ชิ รองประธาน Ant Group และ Head of WorldFirst กล่าวว่า การเป็นพันธมิตรกับ AWC ตอกย้ำถึงความสำคัญของระบบการชำระเงินที่มีความคล่องตัวที่ช่วยสนับสนุนการทำธุรกรรมทั่วโลก และเป็นกลไกสู่ความสำเร็จในโลกปัจจุบันที่เชื่อมต่อถึงกันด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทาง ​​Ant Group ได้พัฒนาโซลูชันการชำระเงินข้ามพรมแดนอย่างครอบคลุมเพื่อเพิ่มความคล่องตัวของระบบการทำธุรกรรมข้ามประเทศ Ant Group มุ่งมั่นในการส่งเสริมธุรกิจต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงและมอบประสบการณ์ที่ดีกับทั้งพันธมิตร ผู้ขาย และลูกค้าในแต่ละประเทศผ่านช่องทางการชำระเงินแบบ Omnichannel และการบริการทางการเงินต่างๆ ขององค์กรมากมาย 4 กลุ่มธุรกิจภายใตความร่วมมือ การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่าง AWC และ Ant Group นี้ จะสร้างความร่วมมือในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ได้แก่: กลุ่มธุรกิจค้าส่ง ได้ร่วมมือกับ 'WorldFirst' แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการชำระเงินและบริการทางการเงินแบบครบวงจรสำหรับ SME ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระดับโลกหรือการค้าข้ามพรมแดน ภายใต้ Ant Group มีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจค้าส่งโดยนําเสนอบริการชําระเงินข้ามประเทศ อํานวยความสะดวกสำหรับทุกขั้นตอนการใช้จ่ายจากทางออนไลน์สู่ออฟไลน์ (O2O) พร้อมขยายเครือข่ายผู้ซื้อและผู้ขายในการเป็นแพลตฟอร์ม Business-to-Business (B2B) ที่ทำให้การเข้าถึงบริการทางการเงินของซัพพลายเชนง่ายขึ้น อีกทั้ง AWC วางแผนที่จะเปิดใช้งานโซลูชันการชําระเงินข้ามประเทศในแพลตฟอร์ม  PhenixBox ที่ช่วยส่งเสริมช่องทางการชําระเงินของผู้ซื้อ การค้าขาย และการตลาด ภายในปี 2566 กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ และกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้า ความร่วมมือกับ 2C2P ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการชำระเงินเต็มรูปแบบและพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของ Ant Group มีเป้าหมายที่จะยกระดับช่องทางการชําระเงิน วิธีการ และประสบการณ์ของผู้ใช้ให้มีประสิทธิภาพสําหรับนักเดินทางและผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงาน ด้วยจุดแข็งของ Ant Group ในเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยสร้างการเชื่อมต่อระหว่างองค์กร ผู้คน และสังคม เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มในอาคาร ‘เอ็มไพร์’ ให้เป็นคอมมูนิตี้ดิจิทัลรูปแบบใหม่ เชื่อมต่อผู้เช่าในอุตสาหกรรมดิจิทัลเข้าด้วยกัน กลุ่มธุรกิจในด้านดิจิทัล (Digitalization Business) การทำงานร่วมกับ 2C2P เพื่อเสริมศักยภาพของช่องทางการชําระเงินและโซลูชัน e-wallet บัตรเติมเงิน และโปรแกรมระบบสมาชิกที่ปรับเพื่อการใช้งานอย่างลงตัวใน  Pikul แพลตฟอร์มดิจิทัลอสังหาริมทรัพย์ไลฟ์สไตล์ของ AWC ที่กําลังจะเปิดตัวเร็วๆ นี้   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] ไทยพาณิชย์ ปล่อยสินเชื่อความยั่งยืน-สินเชื่อสีเขียว 20,000 ล้าน ให้ AWC
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้  โชว์ผลงานรายได้-กำไร Q3/66  พร้อมรายได้ 9 เดือนกว่า 11,598 ล้าน

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ผลงานรายได้-กำไร Q3/66 พร้อมรายได้ 9 เดือนกว่า 11,598 ล้าน

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ผลงานไตรมาส 3 ทำรายได้ 4,468 ล้าน พร้อมกำไรสุทธิ 396 ล้าน​ หลังธุรกิจที่อยู่อาศัยได้รับแรงตอบรับดี ได้บ้านเดี่ยวเซกเมนต์ระดับบนหนุน ขณะที่ธุรกิจอุตสาหกรรม – พาณิชยกรรมสร้างรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการเติบโตสูง รับอานิสงส์การย้ายและขยายฐานการลงทุนมาไทย รวมถึงการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเต็มที่ ส่วนผลประกอบการ 9 เดือนตุนรายได้ 11,598 ล้านบาท     นายธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2566 (เมษายน – มิถุนายน 2566) บริษัทสามารถสร้างรายได้รายได้รวม 4,468 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2566 (มกราคม – มีนาคม 2566) มี จาก 3,424 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 396 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% จากไตรมาสก่อนหน้าที่มีกำไร 318 ล้านบาท   บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผนธุรกิจอย่างรอบคอบ โดยให้ความสำคัญในการบริหารจัดการเงินทุน เพื่อรักษาเสถียรภาพและคงสภาพคล่องทางการเงิน รองรับโอกาสการฟื้นตัวของตลาด ภายใต้กลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นในการรับมือสภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงเสริมความพร้อมเข้าลงทุนธุรกิจที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการควบคู่กับการบริหารจัดการองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานตามเป้าหมาย สำหรับไตรมาส 3 กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยสร้างรายได้ 2,708 ล้านบาท เป็นผลมาจากการออกแคมเปญการตลาดอย่างต่อเนื่อง และสามารถสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงสามารถกวาดยอดขายได้ 6,134 ล้านบาท โดยเฉพาะบ้านเดี่ยวราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปได้รับการตอบรับดี ซึ่งไตรมาส 3 ได้เปิดโครงการอัลพีน่า พระราม 2 บ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ ราคา 20 – 35 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 2,200 ล้านบาท   ขณะที่สิ้นไตรมาสบริษัทมีโครงการดำเนินการอยู่ 78 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 108,700 ล้านบาท  ส่วนในไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ 2566 (กรกฎาคม - กันยายน 2566) บริษัทเตรียมเปิดตัวบ้านและทาวน์โฮมเพิ่มอีก 2 โครงการ รวมมูลค่า 2,830 ล้านบาท  ปัจจุบันบริษัทมีแบ็กล็อกอีกกว่า 1,000 ล้านบาทที่จะช่วยผลักดันผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง   ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมและอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมสามารถทำรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการได้ถึง 710 ล้านบาท แรงหนุนมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์จากยุทธศาสตร์ China Plus One และภูมิศาสตร์การเมืองโลกที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานและขยายการลงทุนมายังประเทศไทย ซึ่งมีที่ตั้งบนทำเลยุทธศาสตร์พร้อมด้วยศักยภาพที่เหมาะกับการเป็นฐานการผลิต ทำให้โรงงานและคลังสินค้าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เช่า โดยบริษัทได้ส่งมอบอาคารคลังสินค้าแบบสร้างตามความต้องการ (Built-to-Suit) ให้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่อันดับต้นของเอเชียแปซิฟิก มีพื้นที่ใช้สอยรวม 20,000 ตร.ม. ในโครงการเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (บางพลี 7) เฟส 2 จังหวัดสมุทรปราการ และสามารถรักษาอัตราการเช่าของพอร์ตโฟลิโอได้สูงถึง 86%   ด้านกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรม พอร์ตโฟลิโอของอาคารสำนักงานให้เช่าเกรดเอในพื้นที่ CBD และโครงการมิกซ์ยูสมีอัตราการเช่าสูงถึง 93% ด้วยความสามารถในการบริหารจัดการที่รองรับการใช้งานของผู้เช่า ผู้ใช้อาคาร และลูกค้าได้อย่างครอบคลุม   ล่าสุด อาคารที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการทั้งปาร์คเวนเชอร์ เอฟวายไอ เซนเตอร์ และสามย่านมิตรทาวน์ผ่านการรับรองจาก WiredScore มาตรฐานระดับโลกการันตีความสามารถด้านการเชื่อมต่อและโครงสร้างด้านสาธารณูปโภคดิจิทัลของอาคารเทียบเท่าในระดับสากล ส่วนศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์และสีลมเอจมีทราฟฟิกสูงต่อเนื่อง เป็นผลจากการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในไทยมากขึ้น ซึ่งจากการขยายตัวของภาคท่องเที่ยวได้ส่งผลบวกต่อธุรกิจโรงแรมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ จากรายได้ของธุรกิจโรงแรมที่เติบโตขึ้น รวมถึงรายได้ค่าบริหารจัดการ การขายที่ดิน และการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัท ย่อยที่ดำเนินธุรกิจด้านดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ของ FPT ที่ปรับการใช้เงินลงทุนในอนาคตเพื่อมุ่งเน้นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจหลัก ส่งผลให้ในไตรมาสนี้ บริษัทรับรู้รายได้อื่น ๆ รวม 1,050 ล้านบาท สำหรับโครงการในอนาคต FPT มีแผนพัฒนาสินทรัพย์โครงการเมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซกคิวทีฟ อพาร์ตเมนต์ (Mayfair Marriott Executive Apartment)  เป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ เพื่อเป็นการต่อยอดทางธุรกิจ และเพิ่มผลตอบแทนให้กับบริษัทในระยะยาว   สำหรับผลประกอบการรอบระยะเวลา 9 เดือนของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มิถุนายน 2566) FPT มีรายได้รวม 11,598 ล้านบาท เป็นรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 7,691 ล้านบาท รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 2,061 ล้านบาท และรายได้อื่น ๆ 1,846 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,031 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม ปรับแผนธุรกิจปี 65 เพิ่มพอร์ต บ้านหรู ปูทางโตอย่างยั่งยืน เล็งรายได้คอนโด 20% -เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ​โชว์กำไร 6 เดือน เฉียดพันล้าน หลังใช้ธุรกิจเชิงรุก -ผลดีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
[PR News] CPANEL มองธุรกิจครึ่งปีหลัง 66 โตต่อเนื่องลุ้น Backlog ปีนี้แตะ 1,800 ล้าน

[PR News] CPANEL มองธุรกิจครึ่งปีหลัง 66 โตต่อเนื่องลุ้น Backlog ปีนี้แตะ 1,800 ล้าน

CPANEL เผยทิศทางธุรกิจครึ่งปีหลัง 2566 เติบโตต่อเนื่อง ดีมานด์ลูกค้าเดิม-ลูกค้าใหม่พุ่ง พร้อมแตกไลน์รับงานโรงแรม ปั้นพอร์ตคอนโด ความผันผวนทางเศรษฐกิจกระทบต้นทุนก่อสร้าง หนุน Precast Concrete ขาขึ้นลุ้น Backlog แตะ 1,800 ล้านบาท มั่นใจเป้าหมายรายได้ปีนี้โตตามแผน 10-15% ด้านโรงงานแห่งที่ 2 ก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จ คาดเริ่มติดตั้งเครื่องจักรภายในปีนี้   นายชาคริต ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีแพนเนล จำกัด (มหาชน) หรือ CPANEL ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete) เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจครึ่งปีหลังปี 2566 ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มลูกค้าใหม่ที่มากขึ้น และลูกค้าเดิมมีคำสั่งซื้อซ้ำ รวมถึงแผนขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพิ่มเติม ซึ่งช่วงที่ผ่านมาบริษัทรับงานก่อสร้างโรงแรมแห่งแรก มูลค่าประมาณ 13 ล้านบาท รวมถึงงานก่อสร้างคอนโดมิเนียมจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ มูลค่าประมาณ 46 ล้านบาท ซึ่งงานประเภทดังกล่าวถือเป็นโอกาสของบริษัทในการรับงานที่หลากหลายมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังมีโครงการแนวราบอีก 5 ราย มูลค่าประมาณ 240 ล้านบาท ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ (Backlog)  ประมาณ 1,400 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาลูกค้าเพิ่มเติมอีกหลายราย  จะส่งผลให้บริษัททำรายได้ตามเป้าหมายเติบโต 10-15% จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 433.97 ล้านบาท และคาดว่าผลการดำเนินงานจะปรับตัวสูงขึ้น จากการบริหารจัดการควบคุมต้นทุนการผลิตและการขาย ทำให้เกิด  Economy of Scale   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ครึ่งปีหลังมีแนวโน้มชะลอตัว จากภาวะความผันผวนทางเศรษฐกิจ แต่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หลายรายยังมีแผนลงทุนในโครงการใหม่ๆ จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมต้นทุนที่มีความผันแปร เช่น การขาดแคลนแรงงาน ค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าพลังงาน และดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ Precast Concrete มีความต้องการที่สูงขึ้น เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ดี ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายเดิมและรายใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันที่คาดว่าภายในปีนี้จะมี Backlog 1,800 ล้านบาท นายชาคริต กล่าวอีกว่า ส่วน​ความคืบหน้าโรงงานผลิตแห่งที่ 2 ปัจจุบันก่อสร้างตัวอาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเริ่มติดตั้งเครื่องจักรได้ในภายในปีนี้ หลังจากติดตั้งแล้วเสร็จจะเพิ่มกำลังการผลิตอีก 1 เท่าตัว จากปัจจุบันกำลังการผลิต 7.92 แสนตารางเมตร สามารถรองรับความต้องการใช้ Precast Concrete จากแนวโน้มคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -“ซีแพนแนล” รับผลบวกมาตรการ LTVหลังดีเวลลอปเปอร์ หันมาขยายตลาดบ้านแนวราบ -5 เทรนด์อุตสาหกรรมก่อสร้างโลกที่แรงไม่หยุด
[PR News] สิงห์ เอสเตท เปิดตัว JUMP&SYNC สำนักงานพร้อมใช้ ที่ S-OASIS

[PR News] สิงห์ เอสเตท เปิดตัว JUMP&SYNC สำนักงานพร้อมใช้ ที่ S-OASIS

สำนักงาน สิงห์ เอสเตท  เปิดตัวโซลูชันอาคารสำนักงานใหม่ JUMP&SYNC  สำนักงานแบบ Ready to Move Office Space ที่รวม 3 ความพร้อม  Space Ready-Design Ready-Business Ready  ภายในพื้นที่โครงการ S-OASIS อาคารสำนักงานที่มุ่งเน้นอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานระดับสากล LEED Gold V4     นางอรณีย์ พูลขวัญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและการพาณิชย์ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อาคารสำนักงาน S-OASIS ของสิงห์ เอสเตท เปิดตัวเมื่อปลายปี 2022 ได้รับการออกแบบให้รองรับการทำงานแบบHybrid Workplace ตอบโจทย์วัฒนธรรมการทำงานยุคใหม่ที่มีการจัดพื้นที่ใช้สอยภายในสำนักงานอย่างยืดหยุ่นและสะดวกสบาย (Workplace Strategy) ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้พื้นที่สำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยในปีนี้ ภาคธุรกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว ทุกบริษัทกลับมาดำเนินงานเต็มรูปแบบ ซึ่งส่งผลให้การขยายตัวทางธุรกิจมีแนวโน้มกลับมาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบรับกำลังการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะการมองหาอาคารสำนักงานใหม่ อาคาร S-OASIS  จึงได้เพิ่มทางเลือกด้วยการปรับพื้นที่อาคารให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันด้วยโซลูชัน JUMP&SYNC ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานแบบ Ready to Move Office Space เน้นความสะดวกสบายให้กับการขยาย และดำเนินธุรกิจได้แบบไร้รอยต่อ (Seamless Work Anywhere) ไม่ต้องกังวลเรื่องระยะเวลาในการก่อสร้างหรือตกแต่งสำนักงาน ภายใต้แนวคิด 3 ความพร้อม Space Ready, Design Ready, และ Business Ready Space Ready: ขนาดพื้นที่ที่รองรับธุรกิจได้หลากหลาย จัดสรรพื้นที่โดยคำนึงถึงความจำเป็นต่อการใช้งาน และความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ มีพื้นที่ให้เลือก 3 แบบ ได้แก่ Type S กับ Type S+ ที่มีขนาดกว้างสูงสุดถึง 150 ตรม. และ Type M ที่มีขนาดตั้งแต่ 150  - 450 ตรม. โดยใน Type S+ และ Type M มาพร้อมพื้นที่ Open Pantry เพื่อความสะดวกในการเตรียมอาหารและเครื่องดื่มของพนักงาน   นอกจากนี้พื้นที่ในแต่ละขนาดยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ Fix Area ที่จัดวางตามโครงสร้างของสำนักงาน และ Float Area ที่เปิดโล่งรองรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบทำงานได้อย่างยืดหยุ่น ทั้งเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์สำนักงาน สามารถปรับแต่งการจัดวางในบริเวณนี้ได้ตามความต้องการ ทั้ง Workstation, Private Workspace, Communal Workspace และ Meeting Booth หรือ Brainstorm ในกลุ่มที่ต้องการการสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน Design Ready: การออกแบบที่พร้อมใช้งานสำหรับธุรกิจ ในสไตล์ Modern Minimal ภายใต้แนวคิด Functional, Neutral, และ Adaptable มีการเลือกใช้โทนสีที่สบายตาผ่าน 3 แพ็คเกจ ได้แก่ Economy, Standard, และ Premium ออกแบบ Mood & Tone ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้สามารถปรับแต่งรายละเอียดพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมกับธุรกิจและภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างง่ายดาย และยังช่วยในการจัดลดงบประมาณไม่ให้สิ้นเปลืองในระยะยาว Business Ready: ให้คุณพร้อมสำหรับการเติบโตอย่างไร้ขอบเขต อาคาร S-OASIS มีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย มีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ช่วยตอบสนองการทำงานแบบ Hybrid Working Model ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งแบบไร้รอยต่อ (Seamless Work Anywhere) ซึ่งช่วยให้พนักงานได้ทำงานในสภาพแวดล้อมของสำนักงานที่ดี ช่วยให้ธุรกิจไม่ต้องกังวลกับเรื่องการบริหารสำนักงาน การก่อสร้างและจัดวางระบบสาธารณูปโภค นอกจากนี้ยังตั้งอยู่ในจุดยุทธศาตร์ ใจกลางย่านธุรกิจที่เชื่อมโยงด้วยโครงข่ายคมนาคมที่ครอบคลุมทันสมัย เสริมภาพลักษณ์ความมั่นคงและเป็นมืออาชีพ สามารถติดต่อประสานงานกับธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งกำลังมองหาโอกาสในแบบเดียวกัน ช่วยให้ธุรกิจสามารถ พัฒนาและเติบโตได้อย่างเต็มที่   ทั้งนี้ อาคาร สำนักงาน S-OASIS ถูกพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของอาคารประหยัดพลังงานและ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานโลก LEED Gold V4 ภายในสำนักงานมีการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นกระจก 3 ชั้นสะท้อนรังสี UV รวมถึงรองรับการติดตั้งระบบไฟ LED ที่สามารถสั่งการได้บนมือถือ ระบบหมุนเวียนอากาศ และสวนสวยรอบนอกอาคารที่รดด้วยน้ำจากกระบวนการบำบัด และการใช้เทคโนโลยีลดการสัมผัสในพื้นที่ส่วนกลางของอาคารเพื่อสุขอนามัยที่ดีของพนักงานทุกคน
[PR News] ไทยพาณิชย์ ปล่อยสินเชื่อความยั่งยืน-สินเชื่อสีเขียว 20,000 ล้าน ให้ AWC

[PR News] ไทยพาณิชย์ ปล่อยสินเชื่อความยั่งยืน-สินเชื่อสีเขียว 20,000 ล้าน ให้ AWC

สินเชื่อสีเขียว ธนาคารไทยพาณิชย์ ปล่อยสินเชื่อความยั่งยืน และสินเชื่อสีเขียว จำนวน 20,000 ล้าน ให้ แอสเสท เวิรด์ คอร์ป เพื่อพัฒนาโครงการเมกะโปรเจกต์ สานต่อเจตนารมณ์ด้านความยั่งยืนของทั้งสององค์กร   นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้สนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท ให้แก่ AWC เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ และการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ AWC อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคาร และธุรกิจภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ โดยมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050 ธนาคารมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของ AWC และเชื่อมั่นว่าการสนับสนุนทางการเงินจำนวน 20,000 ล้านในครั้งนี้ จะช่วยเสริมศักยภาพทางธุรกิจผ่านการพัฒนาโครงการคุณภาพมากมาย ที่จะสร้างความน่าตื่นเต้นให้แก่วงการอสังหาริมทรัพย์ และเพื่อสนับสนุนประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่ยั่งยืนระดับโลก ด้านนางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC กล่าวว่า AWC มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 เสาหลัก 9 มิติ หรือ 3 BETTERs ประกอบไปด้วย 1.การสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม (BETTER PLANET) เพื่อโลกที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น 2.การสร้างคุณค่าด้านสังคม (BETTER PEOPLE) เพื่อผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 3.การสร้างคุณค่าด้านเศรษฐกิจ (BETTER PROSPERITY) เพื่อเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น   โดยที่ผ่านมา AWC ได้ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง อาทิ โรงแรม เชอราตัน สมุย ดำเนินโครงการธนาคารปู เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และโรงแรมบันยันทรี กระบี่ ที่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิอันดามัน เพื่อนำร่องโครงการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านแนวคิดธุรกิจ reConcept ที่ส่งเสริมการนำเฟอร์นิเจอร์และวัสดุเก่า รวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งของโรงแรมที่ไม่ได้ใช้งาน กลับมารีไซเคิลและใช้ซ้ำ เพื่อลดปริมาณขยะฝังกลบ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ ที่ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างรายได้สู่ชุมชนรอบโครงการ และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยท้องถิ่นเพื่อสร้างโอกาสรายได้ที่ยั่งยืนผ่านโครงการ เดอะ GALLERY เป็นต้น   AWC ยังคงดำเนินงานตามแผนแม่บทอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan: EEP) สอดคล้องกับกรอบสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและสินเชื่อสีเขียว เพื่อมุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาหรือชั้นดาดฟ้าของอาคาร การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพระบบทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ครอบคลุมโรงแรมในเครือที่มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2019   นอกจากนี้ AWC จะพัฒนาโครงการในเครือตามกรอบเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวสากล อาทิ มาตรฐาน EDGE LEED หรือ WELL เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและคํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด   โดย AWC มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์ให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก (Mega sustainable destination) อาทิ โครงการเอเชียทีค ที่จะสร้างเป็นแลนด์มาร์คความยั่งยืนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับกรุงเทพฯ โครงการอควอทีค กลางเมืองพัทยา และโครงการเวิ้ง นาครเกษม ศูนย์กลางคุณค่าประวัติศาสตร์วัฒนธรรมกลางไชน่า ทาวน์ รวมถึงโครงการลานนาทีค ที่มีคุณค่าของเสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมล้านนากลางเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่ง AWC เชื่อมั่นว่าการพัฒนาโครงการต่างๆ ให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านความยั่งยืนระดับโลกนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสานต่อนโยบายและกลยุทธ์หลักของประเทศสู่การเป็นผู้นำการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก   AWC ยังมุ่งพัฒนาอาคารตามมาตรฐานอาคารสีเขียวในระดับสากล อาทิ โรงแรมอินน์ไซด์ บาย มีเลีย กรุงเทพ สุขุมวิท ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน EDGE (Excellence in Design for Greater Efficiencies) และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง ได้รับการรับรอง LEED & WELL PRECERTIFIED รวมถึงอีกหลากหลายโครงการ โดยใช้สินเชื่อยั่งยืนแรกที่ได้รับการสนับสนุนจาก SCB เมื่อปีที่แล้ว   โดยปัจจุบัน AWC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันการเงินชั้นนำจัดวงเงินสินเชื่อระยะยาวที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนกว่า 75% และตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนวงเงินสินเชื่อระยะยาวเชื่อมโยงความยั่งยืนเป็นร้อยละ 100% เพื่อมุ่งสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศ การลงนามสัญญาในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำวิสัยทัศน์ร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ โดย AWC จะยังคงดำเนินการตามกลยุทธ์ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ เพื่อร่วมสร้างคุณค่าในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ภายใต้พันธกิจ สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า  พร้อมเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก AWC ดำเนินงานภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานสากลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การได้รับการประเมินจาก MSCI ESG Rating ในระดับ "AA" ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รายชื่อหุ้นยั่งยืน Thailand Sustainability Investment (THSI) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ติดอันดับรายงานความยั่งยืน S&P CSA Yearbook 2023 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็น “Top 1% S&P Global ESG Score 2022” ได้รับรางวัล “Industry Mover” ในฐานะบริษัทที่มีความยั่งยืนของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรม รีสอร์ท และเรือสำราญ ได้รับการจัดอันดับรายงานการกำกับดูแลกิจการ ในระดับ “ดีเลิศ” (Excellence CG Scoring) ได้รับการรับรองให้เป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) และได้รับการจัดอันดับในฐานะองค์กรที่มีการกำกับกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียนของปี 2564 (ASEAN CG Scorecard)   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -AWC จับมือ โนบุ ผุดโรงแรม Plaza Athenee สร้างแลนด์มาร์กในนิวยอร์ก-กรุงเทพฯ -AWC ประกาศ Q1/2566  กำไร 1,422 ล้าน ผลการใช้กลยุทธ์ GROWTH-LED
“KRONOS SATHORN” สำนักงานอัลตร้าลักซ์ชัวรี สไตล์แมนฮัตตัน  บนทำเลสาทร

“KRONOS SATHORN” สำนักงานอัลตร้าลักซ์ชัวรี สไตล์แมนฮัตตัน บนทำเลสาทร

KRONOS SATHORN เปิดให้ชม โครนอส สาทร (KRONOS SATHORN) โครงการที่คนสาทรผ่านไปผ่านมา นึกว่าเป็นโรงแรมหรู 5 ดาว แต่เป็นอาคารสำนักงานระดับอัลตร้าลักซ์ชัวรีแห่งใหม่ใจกลางสาทร ย่านธุรกิจหลักของกรุงเทพฯ ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 4,000 ล้านบาท ลุกตลาดออฟฟิศบิลดิ้งเกรด A ด้วยคอนเซ็ปต์ “THE MANHATTAN ON SATHORN”   ทำยังไงให้ทำงานอยู่ในโรงแรมหรู 5 ดาว กับ 5 ความพิเศษ ในบนตึกสูง 28 ชั้น  ความต่างของโครงการโครนอส สาทร แตกต่างจากอาคารโดยทั่วไปในประเทศไทย     KRONOS SATHORN มาสเตอร์พีซแห่งใหม่ในไทยและเอเชีย การออกแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงามทันสมัยแนวโมเดิร์นคลาสสิค ซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อนในเมืองไทย โดดเด่นด้วยนาฬิกาสไตล์ Art Deco ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศและใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก สื่อถึงภาพลักษณ์อันงามสง่าและหรูหราเหนือกาลเวลาที่จะคงอยู่ไปสู่คนรุ่นต่อ ๆ ไป     ทำเลซูเปอร์ไพร์ม บนถนนสาทร ย่าน Real CBD ทำเลที่ตั้งในย่านธุรกิจ Real CBD ช่วงถนนสาทรตัดกับถนนพระราม 4 แวดล้อมด้วยธุรกิจและหน่วยงานชั้นนำ บริษัทตัวแทนระดับโลก โรงแรมหรูระดับ 5 ดาว และโครงการมิกซ์ยูสแถวหน้าอีกมากมายที่กำลังจะเกิดขึ้น ตลอดจนการเดินทางเข้าถึงได้ง่ายเชื่อมต่อไปยังโซนต่างๆ ของเมือง ด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวก รวดเร็ว ด้วยรถไฟฟ้า BTS สถานีศาลาแดง และรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสีลม ประมาณ 750เมตร เดินเพียง 10 นาที และอยู่ห่างจากรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีลุมพินีเพียง 600 เมตร เดินเพียง 7 นาที ทางโครงการฯ มีบริการรถรับ-ส่งไปยังรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสีลม และรถไฟฟ้า BTS สถานีศาลาแดง     มอบโซลูชั่น Best-In-Class ที่ตอบโจทย์การทำงานเหนือระดับ บนวิสัยทัศน์การนำเสนอ “อาคารสำนักงานที่ดีที่สุดในตลาดออฟฟิศเกรด A” ด้วยเทคนิคการวางผังแบบไร้เสากลางพื้นที่และมีเพดานสูงมากเป็นพิเศษตั้งแต่ 3-6 เมตร มีระเบียงสวยขนาดใหญ่บนชั้น 27 เพื่อเปิดรับทัศนียภาพเมืองและแม่น้ำเจ้าพระยาอันงดงามอย่างเต็มตา มอบความสะดวกบายด้วยลิฟต์โดยสารมากถึง 8 ตัว จึงไม่เกิดการแออัดแม้ในชั่วโมงการทำงานที่เร่งด่วน รวมถึงพื้นที่จอดรถที่มากพอต่อความต้องการ และบริการสำรองที่จอดรถแบบพิเศษและผู้พิการ   เทคโนโลยีล้ำสมัย มุ่งสู่ “'สมาร์ท บิลดิ้ง'” โครนอสมุ่งมั่นมอบประสบการณ์การใช้งานอาคารในรูปแบบ “อัจฉริยะ” ที่ติดตั้งเทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมทันสมัยมากมาย อาทิ ระบบคัดกรองบุคคลเข้าอาคารด้วยการสแกนใบหน้า คีย์การ์ด และคิวอาร์โค้ด ระบบไร้สัมผัสเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่การควบคุมจุดหมายในการใช้ลิฟต์และระบบจดจำใบหน้าเพื่อการระบุชั้นที่ต้องการไปแบบไร้การสัมผัส ซึ่งระบบไร้สัมผัสนี้ยังครอบคลุมไปถึงนวัตกรรมห้องน้ำไร้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นส่วนประตู ก็อกน้ำ และฟลัชโถสุขภัณฑ์ แท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV กว่า 11 จุด และระบบ Automate Car Parking system กล้องจับภาพทะเบียนรถยนต์ เพื่อเข้าจอดอัตโนมัติ และระบบชำระเงินอัตโนมัติ เป็นต้น   Well-being มอบสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคารระดับสากล ด้วยการติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อสุขอนามัยและสวัสดิภาพความปลอดภัยขั้นสูงด้วยมาตรฐานระดับโลก อาทิ ส่วนระบบปรับอากาศยังติตตั้งฟิลเตอร์กรองฝุ่น PM2.5 และระบบพลาสม่าฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงระบบรังสียูวีเพื่อลดจำนวนเชื้อโควิดที่ผ่านฟิลเตอร์กรองอากาศ จึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในการใช้อาคาร โครนอส     โครนอส ภายใต้แนวคิด ‘The Manhattan on Sathorn’ ผ่านความร่วมมือกับ 3 พันธมิตรชั้นนำ ทั้ง Palmer & Turner, Thai Obayashi และ Project Asia ในการพัฒนาโครงการในปัจจุบัน โครนอสได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพกว่า 50% โดยนำเสนอราคาเช่าเริ่มต้นต่อตารางเมตรที่ 900 บาท ในขณะที่ค่าเช่าออฟฟิศเกรด A ในทำเล CBD เฉลี่ยทั่วไปอยู่ที่ 1,178 บาท     อาคารสำนักงาน 28 ชั้นแห่งนี้ มีพื้นที่รวมกว่า 28,765 ตร.ม. ตอบโจทย์บริษัทที่ต้องการสำนักงานที่กว้างขวางและหรูหราไปจนถึงร้านค้าปลีกที่สะดวกสบาย โดยมีพื้นที่ให้เช่าต่อชั้น 1,150-1,270 ตร.ม. เหมาะกับองค์กรทุกขนาดรวมไปถึงบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการพื้นที่ทั้งชั้นสำหรับการทำงานหลายแผนก พร้อมที่จอดรถมากถึง 321 คัน   Kronos sathorn ตอบโจทย์ สำนักงานเกรด A เพื่อขยายฐานการดำเนินธุรกิจทั้งในเมืองไทยและเอเชีย โดยใช้ทำเลนี้เป็นฮับด้านธุรกิจ รวมถึงบริษัทที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์การเป็นบริษัทระดับนานาชาติ  เป็นอีกหนึ่งอาคารที่จะเป็นแลนด์มาร์คในย่านสาทร   บทความน่าสนใจ ไนท์แฟรงค์ เปิดข้อมูลตลาดออฟฟิศให้เช่า​ Q1/66 ซัพพลายเพิ่ม ดีมานด์เริ่มฟื้นตัว
พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น ต่อยอด Super Living Service เข้าถือหุ้น โปรเจคส์เอเชีย

พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น ต่อยอด Super Living Service เข้าถือหุ้น โปรเจคส์เอเชีย

พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น เร่งขยายอาณาจักร Super Living Service ส่งบริษัทย่อย “ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์” เข้าถือหุ้น “โปรเจคส์เอเชีย” บิ๊กที่ปรึกษาทางวิศวกรรม และจัดการงานพัฒนาอสังหาฯครบวงจร หวังเสริมแกร่งธุรกิจบริหารงานก่อสร้าง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ขยายฐานลูกค้าสู่การคุมงานโรงแรม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานเกรด A พร้อมรับรู้รายได้ทันทีจากธุรกิจในมือ ดันธุรกิจโตแบบก้าวกระโดดและยั่งยืน   นางสาวจตุพร วิไลแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRI เปิดเผยว่า บริษัทยังคงเดินหน้าสร้างการเติบโตในทุกมิติ ภายใต้แนวคิด “Super Living Service” ทั้งกลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้ดำเนินการให้ บริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จำกัด หรือ UPM บริษัทในเครือ ซึ่งให้บริการบริหารงานก่อสร้างโครงการ เข้าซื้อกิจการ บริษัท โปรเจคส์เอเชีย จำกัด ธุรกิจที่ปรึกษาทางวิศวกรรม รวมถึงงานบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเคยมีผลงานดูแลงานขนาดใหญ่ระดับประเทศทั้งที่อยู่อาศัย โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า อาทิ 185 ราชดำริ, โรงแรมดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ, โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว, อาคารปาร์ค เวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์, อาคาร FYI Center, ไอคอนสยาม   การที่โปรเจคส์เอเชีย จะเข้ามาช่วยเติมฐานธุรกิจในกลุ่มต้นน้ำของเครือ PRI ใน 2 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการขยายฐานลูกค้า ช่วยให้ UPM เข้าถึงฐานลูกค้ารายใหญ่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เช่น โรงแรม อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้าได้มากขึ้น จากเดิมที่บริษัทมีฐานอยู่ในฝั่งที่อยู่อาศัยเป็นหลัก และ 2.ด้านองค์ความรู้และบุคลากร ช่วยให้บริษัทได้รับองค์ความรู้ ตลอดจนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เข้ามาร่วมงานเพิ่มเติมทันที ด้านผศ.ดร.อรุณ ศิริจานุสรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ UPM ผู้ให้บริการบริหารงานก่อสร้างโครงการ ในเครือ PRI กล่าวว่า บริษัทฯ ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจต้นน้ำ - บริการก่อนเข้าอยู่อาศัย (Pre-Living Services) ที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในปี 2565 เมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจอื่นของ PRI โดยมีอัตราการเติบโตถึง 3 เท่าจากปี 2564 ทำให้บริษัทมองหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อให้สามารถเสริมแกร่งการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง   สำหรับการเข้าถือหุ้นครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายธุรกิจด้านที่ปรึกษาทางวิศวกรรม รวมถึงบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ รองรับลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ด้วยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของโปรเจคส์เอเชีย จะทำให้เราสามารถรับรู้รายได้จากการให้บริการได้ทันที ช่วยผลักดันให้บริษัทก้าวสู่การเป็น Super Living Service ที่สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ขณะที่นายไบรอัน จอห์น ซิมมอนด์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริษัท โปรเจคส์เอเชีย จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีความยินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับการได้ร่วมธุรกิจกันในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยที่นำความแข็งแกร่งด้านงานที่ปรึกษาทางวิศวกรรม รวมถึงงานบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการของบริษัท มาผนวกรวมกับความโดดเด่นด้านงานบริการออกแบบสถาปัตยกรรม ของ UPM เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต เพราะธุรกิจกลุ่มต้นน้ำเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องการผู้ที่มีประสบการณ์และความชำนาญอย่างแท้จริง จากประสบการณ์อันยาวนานกว่า 33 ปีของโปรเจคส์เอเชีย ในธุรกิจที่ปรึกษา รวมถึงบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ระดับประเทศมากมาย จึงเชื่อมั่นได้ว่าบริษัทจะสามารถเป็นอีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนให้ UPM และ PRI เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน สำหรับ PRI เป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจรชั้นนำของประเทศ มีประสบการณ์กว่า 11 ปี ปัจจุบัน ดำเนินธุรกิจภายใต้ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มธุรกิจต้นน้ำ – บริการก่อนเข้าอยู่อาศัย (Pre-Living Services) อาทิ บริการที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง บริการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม งานโครงสร้าง งานโยธา และงานระบบ บริการจัดฝึกอบรมและพัฒนาทักษะบุคลากร 2.กลุ่มกลางน้ำ – บริการการจัดการเพื่อการอยู่อาศัย (Living Services) อาทิ บริการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด บ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้า อาคาร และสำนักงาน บริการอพาร์ตเมนท์แบบพรีเมียม บริการซื้อ-ขาย-ปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร และ 3.กลุ่มปลายน้ำ - บริการหลังการขายที่อยู่อาศัย (Living & Earning Services) อาทิ บริการแม่บ้านและช่าง บริการออกแบบและตกแต่งภายใน   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -พรีโม ขาย IPO หุ้นละ 15 บาท 80 ล้านหุ้น วางเป้า Top 3 บริการด้านอสังหาฯ ​ -พรีโม เตรียม IPO ในปลายปีนี้ วางเป้าขึ้น Top3 ด้านบริการอสังหาฯ ​ครบวงจร
ไนท์แฟรงค์ เปิดข้อมูลตลาดออฟฟิศให้เช่า​ Q1/66 ซัพพลายเพิ่ม ดีมานด์เริ่มฟื้นตัว

ไนท์แฟรงค์ เปิดข้อมูลตลาดออฟฟิศให้เช่า​ Q1/66 ซัพพลายเพิ่ม ดีมานด์เริ่มฟื้นตัว

ออฟฟิศให้เช่า ไนท์แฟรงค์ เปิดข้อมูลตลาดสำนักงาน Q1/66 ซัพพลายเพิ่ม 86,000 ตร.ม. ดีมานด์ฟื้นตัว หลังปัจจัยหนุน ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว เทคโนโลยี สินค้าอุปโภคบริโภคกลับมาฟื้นตัว   หลังจากผ่านพ้นวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิ-19  จำนวนคนที่ทำงานจากที่บ้านก็ลดลง หันกลับมาทำงานที่ออฟฟิศเหมือนเดิม ซึ่งนี่คงเป็นหนึ่งในปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดพื้นที่สำนักงานให้เช่า กลับมาเติบโตเข้าสู่ภาวะปกติอีดครั้ง และจากรายงานล่าสุดของไนท์แฟรงค์ ก็พบว่า ความต้องการพื้นที่สำนักงานในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหนุนจากผู้เช่าในกลุ่มอุตสาหกรรมภาคการท่องเที่ยว เทคโนโลยี และสินค้าอุปโภคบริโภค   ขณะเดียวกัน ยังพบว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้เช่ารายย่อย ที่เปลี่ยนจากการเช่าโฮมออฟฟิศมาเป็นอาคารสำนักงานแทน เนื่องจากมีราคาค่าเช่าที่น่าดึงดูด และยังมีปัจจัยอื่น ๆ เป็นตัวกระตุ้น อาทิ ทำเลที่ตั้งสามารถเดินทางที่สะดวกกว่า การมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย การมีพื้นที่ค้าปลีกในอาคารสำนักงานวย Q1 พื้นที่ ออฟฟิศให้เช่า เพิ่ม 86,000 ตร.ม. จำนวนพื้นที่รวมสำนักงานทั้งหมดในกรุงเทพฯ ไตรมาส 1 ปี 2566 เพิ่มขึ้น 86,000 ตร.ม. หรือ 1.7% จากไตรมาสที่แล้ว โดยมีอาคารใหม่ 2 อาคารที่สร้างแล้วเสร็จ คือ อาคารวัน ซิตี้ เซ็นเตอร์ (One City Centre) บนถนนเพลินจิต ตรงข้ามเซ็นทรัลเอ็มบาสซี อาคารเดอะไรซ์ (The Rice) ตรงหัวมุมแยกสะพานควาย นอกจากนี้ ยังมีอุปทานใหม่จากโครงการซัมเมอร์ ลาซาล (Summer Lasalle) ซึ่งมีการพัฒนาพื้นที่ใหม่ภายในโครงการเดิม เนื่องจากอาคารที่สร้างเสร็จส่วนใหญ่เป็นอาคารที่ได้การรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (อาคารสีเขียว)   พื้นที่สำนักงานสีเขียวทั้งหมดที่ให้เช่า อยู่คิดเป็นสัดส่วน 21% ของอุปทานในตลาด หรือมีจำนวน​ 1,261,000 ตร.ม. เพิ่มขึ้น 27.3% จากไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 6.8% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยอาคารสีเขียวถือว่ามีอัตราการเติบโตสูงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยอัตราการเติบโต 16.2% ขณะที่อาคารสำนักงานทั่วไปเติบโตเพียง 2.5% เท่านั้น 3 ปีพื้นที่เช่าเพิ่มอีก 1.62 ล้านตร.ม. ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการประกาศจะพัฒนาโครงการอาคารสำนักงานใหม่ในอนาคตออกมาอีก 2 โครงการ โดยอยู่นอกพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ​ ได้แก่ คลาวด์ อีเลฟเว่น (Cloud 11) โดย เอ็มคิวดีซี (MQDC) แถวสุขุมวิทตอนปลาย และ โครงการสำนักงานแนวราบและพื้นที่ค้าปลีกโดย พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค กรุ๊ป (Property Perfect Group) บนถนนรัชดาภิเษก โดยจำนวนพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า​ ที่จะเพิ่มเข้ามาอยู่ในช่วงปลายปี 2566 จำนวน 509,000 ตร.ม.  ปลายปี 2567 จำนวน 402,000 ตร.ม.  และช่วงปลายปี 2568 จำนวน 302,000 ตร.ม.  ขนาดของพื้นที่ให้เช่าในอนาคตรวมทั้งหมด 1.62 ล้าน ตร.ม.  คิดเป็น 27% ของระดับอุปทานปัจจุบัน  ในขณะที่ 67% ของอุปทานใหม่ตั้งอยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจ ความต้องการเช่าฟื้นตัวรวม 4.53 ล้านตร.ม.   ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่ามา พบว่ามีอัตราการเช่า (การดูดซับสุทธิ) เพิ่มขึ้นเป็น 39,500 ตร.ม. จากไตรมาสก่อนหน้าที่มีอัตราการเช่า 20,900 ตร.ม.  ขณะที่ปี 2565 ที่ผ่านมาการดูดซับสุทธิของตลาดอยู่ที่ 150,700 ตร.ม. สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ที่ 78,400 ตร.ม. ค่าดูดซับเฉลี่ยสุทธิที่สูงขึ้นแสดงให้เห็นว่าความต้องการกำลังฟื้นตัว  ในแง่ของ ESG อาคารสีเขียวมีการดูดซับสุทธิที่ 31,600 ตร.ม. ซึ่งสูงกว่าอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 7,900 ตร.ม. ในแง่ของทำเล ขนาดพื้นที่การเช่าในไตรมาสที่ 1 มีขนาดใกล้เคียงกันทั้งในและนอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ   อย่างไรก็ตาม สังเกตว่ามีความต้องการใหม่  ๆเพิ่มขึ้นนอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ ส่งผลให้การดูดซับสุทธิสูงขึ้นเป็น 26,000 ตร.ม. ในขณะที่เขตศูนย์กลางธุรกิจอยู่ที่ 13,500 ตร.ม. จำนวนพื้นที่ปล่อยเช่าแล้วทั้งหมดเพิ่มขึ้น 39,500 ตร.ม. รวมเป็น 4.53 ล้านตร.ม. ในไตรมาส 1 ปี 2566 และทุกกลุ่มมีการดูดซับสุทธิเป็นบวก  อาคารเกรด A เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตมากที่สุด โดยมีการดูดซับสุทธิรายไตรมาสที่ 23,900 ตร.ม. เนื่องจากมีการเช่าพื้นที่ในอาคารที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ   ส่วนการดูดซับสุทธิของอาคารเกรด B ชะลอตัวลงในไตรมาสนี้ ถึงกระนั้นก็ยังคงเป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปีที่ผ่านมา โดยมีการดูดซับสุทธิที่ 78,200 ตร.ม. ต่อปี  อัตราการครอบครองตลาดลดลง 0.8% จากไตรมาสที่แล้ว เหลือ 79% โดยมีแนวโน้มลดลงในทุกกลุ่ม อัตราการครอบครองของอาคารเกรด A ลดลง 2.7% จากไตรมาสที่แล้ว เหลือ 85% เนื่องจากแรงกดดันจากอุปทานใหม่ซึ่งแซงหน้าอุปสงค์ อัตราการครอบครองของอาคารเกรด B ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ในปีที่ผ่านมาลดลงมากกว่า 3% ต่อปี ถึงแม้จะมีอุปสงค์สูงสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในขณะเดียวกัน อัตราการครอบครองของอาคารเกรด C ยังคงที่อยู่ประมาณ 80% โดยผลประกอบการมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและปีที่แล้ว ค่าเช่าเริ่มปรับเพิ่มขึ้น ค่าเช่าเฉลี่ยของพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสแรกของปีที่ผ่ามา 1.2%  และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 0.8% ซึ่งมีค่าเช่าโดยเฉลี่ยราคา 808 บาท ต่อตร.ม.ต่อเดือน ค่าเช่าดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้นในอาคารทุกเกรด เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเจ้าของอาคารไม่ได้ปรับขึ้นค่าเช่า อาคารเกรด A มีอัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นเป็น 1,178 บาท หรือเพิ่มขึ้นอัตรา 1% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 1.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีอัตราการครอบครองที่ค่อนข้างสูงและอุปทานใหม่มีส่วนสนับสนุนการเติบโตของอัตราค่าเช่า  ในขณะที่อาคารเกรด B มีราคาค่าเช่า 841 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสแรกของปีที่ผ่ามา 1.2% และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 0.9%  อาคารเกรด C  มีราคาค่าเช่า 512 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสแรกของปีที่ผ่ามา 0.8% และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 0.6% ค่าเช่าในและนอกพื้นที่ CBD พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ มีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ย 923 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน เพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีอัตราครอบครอง 83% เพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ลดลง 1.1% เมื่อเทียวกับไตรมาสก่อนหน้า   เพลินจิต-ชิดลม-วิทยุ มีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ย 1,053 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน เพิ่มขึ้น 4.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 3.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีอัตราครอบครอง 79% ลดลง 6.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และลดลง4.4% เมื่อเทียวกับไตรมาสก่อนหน้า   บางนา-อโศก-พร้อมพงษ์ มีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ย 923 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน เพิ่มขึ้น 1.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 1.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีอัตราครอบครอง 84% ลดลง 0.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และลดลง 1.7% เมื่อเทียวกับไตรมาสก่อนหน้า   สีลม-สาทร-พระราม 4 มีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ย 894 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน เพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีอัตราครอบครอง 84% เพิ่มขึ้น  3.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ลดลง 0.1% เมื่อเทียวกับไตรมาสก่อนหน้า พื้นที่นอกศูนย์กลางธุรกิจ มีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ย 663 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีอัตราครอบครอง 74% ลดลง 2.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และลดลง 2.1% เมื่อเทียวกับไตรมาสก่อนหน้า   เพชรบุรี-พระราม 9-รัชดา มีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ย 723 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ลดลง​ 1.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากอาคารบางแห่งมีการปรับกลยุทธ์ราคา โดยมีอัตราครอบครอง 80% ลดลง 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และลดลง 1.2% เมื่อเทียวกับไตรมาสก่อนหน้า   พหลโยธิน-วิภาวดี มีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ย 692 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน เพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น ​​ 1.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีอัตราครอบครอง 72% ลดลง 7.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และลดลง 0.9% เมื่อเทียวกับไตรมาสก่อนหน้า   บางนา-ศรีนครินทร์มีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ย 616 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน เพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น ​​ 2.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากมีอาคารเหลืออยู่ไม่มากประกอบกับค่าเช่าที่สูงขึ้น โดยมีอัตราครอบครอง 64% ลดลง 9.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียวกับไตรมาสก่อนหน้า แนวโน้มตลาดอนาคต ความต้องการเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ไตรมาส 1 ปี 2566 มีแนวโน้มฟื้นตัว เช่นเดียวกับเศรษฐกิจในประเทศ  การดูดซับสุทธิเป็นบวกติดต่อกัน 4 ไตรมาส ทำให้อัตราดูดซับในช่วงปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 145,000 ตร.ม.  การเพิ่มขึ้นของจำนวนพื้นที่สำนักงานใหม่ จำนวน 86,000 ตร.ม.แซงหน้าความต้องการส่งผลให้อัตราการครอบครองของตลาดในไตรมาส 1 ปี 2566 ลดลงเหลือ 79% ส่วนราคาค่าเช่าเฉลี่ยของพื้นที่สำนักงานปรับสูงขึ้นอีกครั้งในปี 2566 โดยเพิ่มขึ้น 0.9% จากไตรมาสก่อนหน้า แลเพิ่มขึ้น 1.2% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา​ มาอยู่ในระดับราคา​ 808 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน ค่าเช่าสูงขึ้นเนื่องจากมีอาคารใหม่ที่ตั้งราคาค่าเช่าสูงขึ้น และอาคารที่มีอยู่เดิมขึ้นค่าเช่าหลังจากผ่านการระบาดของโควิด-19 กลับเข้าสู่สภาวะปกติ   การเกิดอาคารใหม่เข้าสู่ตลาด ส่งผลให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อาคารเก่า (อาคารสำนักงานที่สร้างขึ้นก่อนและหลังปี 2543) เสียพื้นที่ครอบครองไป 390,000 ตร.ม. ในขณะที่อาคารใหม่มีพื้นที่ครอบครองที่ 401,000 ตร.ม. แต่ถ้าเป็นอาคารเก่าที่มีใบรับรองความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น LEED และ WELL สูญเสียพื้นที่ครอบครองไปเพียง 17,000 ตร.ม. เมื่อเทียบกับการเสียพื้นที่ครอบครอง 373,000 ตร.ม.ในอาคารเก่าที่ไม่มีใบรับรอง ผลลัพธ์ที่ได้สอดคล้องกับอาคารที่สร้างเสร็จหลังปี 2543  โดยอาคารใหม่ที่มีใบรับรองมีพื้นที่ครอบครองเพิ่มขึ้น 358,000 ตร.ม. ในขณะที่อาคารใหม่ที่ไม่มีใบรับรองมีพื้นที่ครอบครองเพียง 43,000 ตร.ม.   ผลการศึกษานี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างประสิทธิภาพของอาคารเก่าและอาคารใหม่ และความสำคัญของการอัพเกรดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตรงตามมาตรฐาน ESG อาคารที่ใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับมาตรฐานเหล่านี้จะประสบความสำเร็จในการรักษาผู้เช่ามากกว่าอาคารที่ไม่ได้ดำเนินการ ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าอาคารเก่าที่มีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้ตามมาตรฐานสามารถแข่งขันในตลาดได้     รายงานโดย นาย ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ จำกัด ​   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -IWG จับมือ รัตนากร แอสเซท บริหาร ออฟฟิศให้เช่า 40 แห่งทั่วไทย -มองตลาด ออฟฟิศให้เช่า Q2 หลัง COVID-19 จะไปทางไหน?  
AWC  จับมือ โนบุ ผุดโรงแรม Plaza Athenee สร้างแลนด์มาร์กในนิวยอร์ก-กรุงเทพฯ

AWC จับมือ โนบุ ผุดโรงแรม Plaza Athenee สร้างแลนด์มาร์กในนิวยอร์ก-กรุงเทพฯ

AWC เดินหน้าลงทุนหุ้นธุรกิจโรงแรม พลาซ่า แอทธินี นิวยอร์ก พร้อมจับมือแบบเอ็กซ์คลูซีฟกับ โนบุ ฮอสพิทาลิตี้  สร้างโรงแรมระดับไอคอนิก 2 แห่งภายใต้แบรนด์ Plaza Athenee "โรงแรม พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา นิวยอร์ก" และพัฒนาจากอาคาร EAC  เป็น "โรงแรม เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก"   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า ได้เดินหน้าขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามกลยุทธ์สร้างการเติบโต โดยจะเข้าลงทุนหุ้นธุรกิจโรงแรม พลาซ่า แอทธินี นิวยอร์ก และได้ขยายความร่วมมือเชิงกลยุทธ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟกับ Nobu Hospitality แบรนด์ไลฟ์สไตล์สุดหรูที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในระดับโลก ผสานกับความเชี่ยวชาญของ AWC ด้านการพัฒนาโครงการ เพื่อร่วมสร้างโรงแรมระดับไอคอนิก 2 แห่งภายใต้แบรนด์ Plaza Athenee ได้แก่ 1.โรงแรม พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา นิวยอร์ก (Plaza Athenee Nobu Hotel and Spa New York) ที่จะพัฒนาจากอาคารของโรงแรมพลาซ่า แอทธินี นิวยอร์ก ที่ตั้งอยู่บนทำเลที่ดีที่สุดของแมนฮัตตัน และเป็นหนึ่งในโรงแรมที่ดีที่สุดของมหานครนิวยอร์กต่อเนื่องเกือบศตวรรษ โดยมีมูลค่าการลงทุนหุ้นในธุรกิจโรงแรม พลาซ่า แอทธินี นิวยอร์ก จำนวน 7,789 ล้านบาท   โดยการลงทุนหุ้นในธุรกิจโรงแรม พลาซ่า แอทธินี นิวยอร์กครั้งนี้ เป็นไปตามกลยุทธ์สร้างการเติบโต และสร้างกระแสเงินสดให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัท และอยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น ซึ่ง AWC เชื่อมั่นว่าการลงทุนในโครงการแฟลกชิปครั้งนี้จะส่งเสริมการเติบโตให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน พร้อมขยายกลยุทธ์การดำเนินงานการสร้างผลประกอบการ และฐานลูกค้าของทางบริษัทฯ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น   2.โรงแรม เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก (The Plaza Athenee Nobu Hotel and Spa Bangkok) ซึ่งจะพัฒนาจากอาคาร EAC (East Asiatique Company) อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อายุกว่าศตวรรษ ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีที่สุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ โดยเป็นการผนึกความพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงแรมทั้งสองแห่งซึ่งจะพัฒนาจากอาคารที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ มีความสวยงาม และอยู่ในทำเลที่ตั้งที่ดีที่สุดของเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางของโลก   ทั้งนี้ การลงทุนหุ้นในธุรกิจโรงแรมพลาซ่า แอทธินี นิวยอร์ก ซึ่งเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมีชื่อเสียงยาวนาน ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีที่สุดของนิวยอร์ก ได้ให้การต้อนรับบุคคลสำคัญระดับโลกจากนานาประเทศ อีกทั้งยังได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในโรงแรมที่ดีที่สุดในนครนิวยอร์ก อีกทั้งยังเป็นทรัพย์สิน Freehold ที่ตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพสุดพิเศษของเมือง ทำให้การลงทุนครั้งนี้เป็นโอกาสก้าวสำคัญของ AWC ในการนำศักยภาพด้านการพัฒนาโครงการระดับโลกของบริษัทไปสู่ตลาดที่มีความมั่นคงสูง เพื่อเสริมการเติบโตของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน   นอกจากนี้ AWC ยังมีความร่วมมือในระยะยาวกับพันธมิตรอย่าง Nobu Hospitality ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ได้รับรางวัลแบรนด์ที่ดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ที่มีกำลังซื้อสูง และยังมีวิสัยทัศน์ด้านธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน ที่จะร่วมสร้างคุณค่าให้กับโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับแฟลกชิปของ AWC ในกรุงเทพฯ และนครนิวยอร์กภายใต้แบรนด์ Plaza Athenee ซึ่งจะรวมเอาความพิเศษของแบรนด์ Plaza Athenee ที่มีความหรูหราแบบตะวันตกอย่างเป็นเอกลักษณ์ มาผสานกับการมอบประสบการณ์แบบโมเดิร์นลักซ์ชูรี่วัฒนธรรมมินิมอลตะวันออกของแบรนด์ไลฟ์สไตล์อย่าง Nobu ได้อย่างลงตัว AWC เชื่อมั่นว่าความร่วมมือครั้งนี้ จะสร้างมิติใหม่ให้กับอุตสาหกรรมโรงแรมและการบริการระดับลักซ์ชูรี่ โดยโรงแรมทั้งสองแห่งมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2569 AWC X โนบุ ผุด 2 โรงแรมนิวยอร์ก-กรุงเทพฯ ด้านนาย เทรเวอร์ ฮอร์เวลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Nobu Hospitality กล่าวว่า โรงแรม พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา นิวยอร์ก ได้รับการพัฒนามาจากโรงแรม Plaza Athenee ซึ่งเป็นอาคารอันทรงคุณค่าประวัติศาสตร์ที่มีอายุเกือบร้อยปี ตั้งอยู่ในย่าน Upper East Side บนถนน 64 ระหว่างถนนปาร์ค อเวนิว และถนนเมดิสัน อเวนิว ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยระดับไฮเอนด์ ใกล้สวนสาธารณะ Central Park พิพิธภัณฑ์ สถานกงสุล และแหล่งช้อปปิ้งชั้นนำ โดยมีดีไซน์ที่เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมความหรูหราของตะวันตกจากแบรนด์ Plaza Athenee เข้ากับสไตล์โมเดิร์นลักซ์ชูรี่ที่รวมความเรียบง่ายแบบญี่ปุ่นอย่างลงตัว   นอกจากนี้ โรงแรมยังตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ รวมถึงงานศิลปะจากเหล่าศิลปินที่มีชื่อเสียง ประกอบไปด้วยห้องพักจำนวน 145 ห้อง พร้อมด้วยห้องอาหารสไตล์โอมากาเสะ และ Nobu Bar and Lounge ที่ออกแบบขึ้นเพื่อดึงดูดผู้ที่มีชื่อเสียง คนในพื้นที่ และแขกผู้มาเยือน รวมถึงมีรู๊ฟท็อปสำหรับจัดงานปาร์ตี้แบบส่วนตัวที่สามารถชมวิวแบบพาโนรามาของนิวยอร์กซิตี้ พร้อมทั้งออนเซ็นญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม สปา และศูนย์สุขภาพ นอกจากนี้ยังมีห้องสวีทที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยเฉลียงกระจกทั้งในส่วนพื้นที่ร่มและกลางแจ้ง รวมไปถึงเรสซิเดนท์ที่มีเอกลักษณ์พร้อมด้วยการบริการแบบเอ็กซ์คลูซีฟ โดยทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพิเศษให้มหานครนิวยอร์ก เพื่อต้อนรับนักเดินทางระดับชั้นนำจากทั่วทุกมุมโลก   ในขณะที่โรงแรม เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก จะถูกพัฒนาจากอาคารที่สวยงาม มีเสน่ห์อายุกว่าศตวรรษของบริษัทอีสต์เอเชียติก (EAC) ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีที่สุดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อตั้งขึ้นปี 2427 โดยกัปตัน Hans Niels Andersen นักเดินเรือชาวเดนมาร์ก โดยโรงแรมจะยังคงอนุรักษ์โครงสร้างและศิลปะดั้งเดิมของอาคาร เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและภาคภูมิใจในพื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ พร้อมทั้งสร้างคุณค่าในระยะยาวและยั่งยืนให้ชุมชนโดยรอบ   โดยโรงแรมแห่งนี้จะมีความคลาสสิกสไตล์ลักซ์ชูรี่ริมสายน้ำ นำเสนอความเชี่ยวชาญด้านอาหารและเครื่องดื่มและการบริการอันเป็นเลิศ พร้อมสร้างปรากกฎการณ์ที่ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อนผ่านการเชื่อมต่อประสบการณ์รูปแบบใหม่ของประวัติศาสตร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน ผ่านเรื่องราวของเมืองและอาคารอันทรงคุณค่า สู่ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ พร้อมมีสายน้ำเจ้าพระยาเชื่อมต่อโครงการริมน้ำต่างๆ ของ AWC ที่มอบความประทับใจให้แก่ผู้เข้าพัก ภายใต้แนวคิด “The River Journey” ควบคู่การเชื่อมต่อวัฒนธรรมอันทรงคู่ค่าของตะวันตกและตะวันออก สร้างมิติใหม่ให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงยังช่วยเสริมเสน่ห์ให้กับกรุงเทพฯ ในฐานะจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวระดับโลก   การลงนามสานต่อความร่วมมือเปิดตัวโรงแรมครั้งนี้ เป็นไปตามการลงนามแบบเอ็กซ์คลูซีฟเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2565 ที่ผ่านมาระหว่าง AWC และ Nobu Hospitality เพื่อพัฒนาโครงการในประเทศไทย พร้อมเปิดโรงแรมและร้านอาหารภายใต้แบรนด์ Nobu แห่งแรกในไทย ที่จะตั้งอยู่ชั้นบนสุดของอาคาร “เอ็มไพร์” อาคารสำนักงานแนวไลฟ์สไตล์แฟล็กชิพของ AWC ซึ่งตั้งอยู่ในย่านธุรกิจสำคัญใจกลางกรุงเทพฯ   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -AWC ประกาศ Q1/2566  กำไร 1,422 ล้าน ผลการใช้กลยุทธ์ GROWTH-LED -[PR News] AWC จับมือ Accor เตรียมขยายโรงแรมกว่า 1,000 ห้อง
วัน ออริจิ้น เตรียมขายหุ้น IPO ระดมทุนกว่า 702 ล้านหุ้น ลุยธุรกิจโรงแรม-บริการ

วัน ออริจิ้น เตรียมขายหุ้น IPO ระดมทุนกว่า 702 ล้านหุ้น ลุยธุรกิจโรงแรม-บริการ

วัน ออริจิ้น หรือ ONEO ยื่นไฟลิ่ง ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เตรียมเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 702,800,000 หุ้น ชูโมเดลธุรกิจสร้างรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง และกระจายตัวจาก 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ธุรกิจโรงแรมและบริการ​ ธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกและอาคารสำนักงาน กลุ่มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง    นายปิติ จารุกำจร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด (มหาชน) (“ONEO”) เปิดเผยว่า ONEO บริษัทในกลุ่มบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร โดย ONEO มีธุรกิจครอบคลุม 4 กลุ่มหลัก ซึ่ง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ได้แก่ กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ซึ่งรวมถึงโรงแรม และเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ (Serviced Apartment) ซึ่งได้เปิดดำเนินการแล้ว 7 โครงการ มีห้องพักรวมจำนวน 1,579 ห้อง และอยู่ระหว่างการพัฒนารอเปิดดำเนินการ 12 โครงการ มีห้องพักรวมประมาณ 4,343 ห้อง กลุ่มธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกและอาคารสำนักงาน (Retail and Office Building) หรือกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ มีพื้นที่ค้าปลีก (Community Mall) เปิดดำเนินการแล้ว 1 โครงการ พื้นที่เช่าสุทธิรวม 2,053 ตารางเมตร และอยู่ระหว่างการพัฒนารอเปิดดำเนินการ 4 โครงการ พื้นที่เช่าสุทธิรวมประมาณ 16,720 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังมีอาคารสำนักงานรอเปิดดำเนินการ 2 แห่ง พื้นที่เช่าสุทธิรวมประมาณ 59,869 ตารางเมตร กลุ่มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม 5 ร้าน อยู่ระหว่างรอเปิดดำเนินการอีก 4 ร้าน และ ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการให้บริการด้านการบริหารโครงการในกลุ่มธุรกิจของ ONEO จำนวน 12 บริษัท และการบริหารจัดการโปรแกรมการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (Investment Property) หรือโปรแกรมแฮมป์ตัน จำนวน 7 โครงการ โดยในส่วนของโปรแกรมแฮมป์ตันอยู่ระหว่างรอดำเนินการอีก 6 โครงการ ทั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตของผู้บริโภคแบบครบวงจร ทำให้ ONEO มีรายได้กระจายตัวจาก 4 กลุ่มธุรกิจหลักดังกล่าว และมีฐานลูกค้าที่หลากหลายพื้นที่ทั้งแหล่งท่องเที่ยวหลักในประเทศไทย อาทิ กรุงเทพฯ ภูเก็ต กระบี่ หัวหิน และในพื้นที่ใกล้นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (“EEC”) ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร กล่าวอีกว่า บริษัทมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นผู้นำกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการบริการ ด้วยความมุ่งมั่นและสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า ตลอดจนการสร้างผลตอบแทนที่เติบโตอย่างยั่งยืน ต่อผู้ลงทุน ควบคู่กับการดูแลพนักงาน พันธมิตร และรับผิดชอบต่อสังคม ล่าสุด ONEO ได้แต่งตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และได้ยื่นแบบคำขออนุญาตออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) จำนวน 702,800,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 26.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ ONEO   ภายหลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ แบ่งเป็น หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 675,668,000 หุ้น หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายแก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของ ORI และบริษัทย่อยของ ORI จำนวนไม่เกิน 22,701,000 หุ้น รวมทั้งหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 4,431,000 หุ้น ที่เสนอขายแก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือ พนักงานของ ONEO และบริษัทย่อยของ ONEO ตามโครงการ ESOP (Employee Stock Option Program) ที่ราคาเดียวกับการเสนอขายประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ ONEO มีการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 4,600,000 หุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (ESOP Warrant) ที่ออกและเสนอขายให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือ พนักงานของ ONEO และบริษัทย่อยของ ONEO ตามโครงการ ESOP Warrant ทั้งนี้ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ และการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน ภายใต้สมมติฐานว่ามีการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนและการใช้ตามใบสำคัญแสดงสิทธิทั้งจำนวน จะส่งผลให้ ONEO มีทุนชำระแล้วเพิ่มเป็น 1,353,700,000 บาท คิดเป็นจำนวน 2,707,400,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท จากทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 1,000,000,000 บาท   โดยวัตถุประสงค์ของการเสนอขายหุ้น IPO ครั้งนี้เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนสำหรับการพัฒนาโครงการ และ/หรือการขยายธุรกิจ  และเพื่อชำระเงินกู้ยืม รวมทั้งใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินงานของ ONEO   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง  
10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC  ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML

10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML

10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML ที่เบียดอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนซ์ แอท ไอคอนสยามตกไปเป็นที่ 2   ถ้าวัดระดับความสูงของอาคารที่สูงที่สุดในไทยตอนนี้ คงต้องยกให้เป็นอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนซ์ แอท ไอคอนสยาม ของบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อาคารประเภทคอนโดมิเนียม ด้วยความสูงอาคาร 317.95 เมตร   แต่อีกไม่นาน จะมีอาคารแห่งใหม่ที่มาทำลายสถิติของแมกโนเลียส์ฯ และก้าวขึ้นเป็นอาคารสูงที่สุดในประเทศไทยแทน นั่นคื อาคาร OCC  (One City Centre) อาคารสำนักงานเกรดเอระดับลักชัวรี่แห่งใหม่ ในทำเลใจกลางเพลินจิต ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML ร่วมทุนกับ มิตซูบิชิ เอสเตท หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ และมีชื่อเสียงยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น   นายกรณ์ ณรงค์เดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RML เปิดเผยว่า อาคาร OCC เกิดขึ้นจากความมุ่งหวังที่จะสร้างสุดยอดสถาปัตยกรรมแห่งใหม่ขึ้นในกรุงเทพฯ โดยจะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเอเชีย ทั้งในฐานะที่ตั้งขององค์กรธุรกิจชั้นนำทั้งไทยและระดับโลก และยังเป็นจุดหมายปลายทางที่ทั้งคนไทยและนักเดินทางจากทั่วโลกอยากแวะเวียนมาเยือน การพัฒนาโครงการนี้ก้าวข้ามทุกขีดจำกัดแห่งจินตนาการ สู่การสร้างสรรค์โลกใบใหม่ภายใต้แนวคิด REIMAGINE YOUR WORLD โดยเป็นการผสานความร่วมมือกัน ระหว่างบริษัทออกแบบชั้นนำระดับโลกและบริษัทสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของไทย ตั้งแต่การออกแบบสถาปัตยกรรม ตกแต่งภายใน ตลอดจนภูมิทัศน์ เพื่อให้ที่นี่เป็นหนึ่งในอาคารสำนักงานที่เป็นสุดยอดในประเทศไทย ซึ่งผนวกพื้นที่สำนักงานระดับลักชัวรี่และศูนย์กลางไลฟ์สไตล์เหนือระดับเข้าไว้ด้วยกัน   โดยบริเวณด้านหน้าอาคารเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่เปิดให้ทุกคนมาพักผ่อนกับพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ ยาวตลอดด้านหน้าอาคาร รวมทั้งเสพงานศิลป์จากผลงานศิลปะหลายชิ้นของคุณโด่ง-พงษธัช อ่วยกลาง ศิลปินเเถวหน้าของเมืองไทย ที่มีรูปปั้นผลงานชิ้นเอกตั้งเรียงรายอยู่ด้านหน้า และด้านในอาคาร ภายในอาคารออกแบบฟังก์ชั่นเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน โดยมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ล้ำสมัยและครบครัน นอกจากนี้ ยังมีร้านค้าในพื้นที่รีเทล คาเฟ่ บาร์ และร้านอาหารชั้นนำที่   โดยมีที่ปรึกษาในการวางแนวคิดการออกแบบอาคาร คือ สกิดมอร์, โอวิงส์ และเมอร์ริล ไทยแลนด์ (Skidmore, Owings & Merrill (Thailand) หรือ SOM (Thailand) บริษัทดีไซน์ชั้นนำระดับโลก ซึ่งทำงานร่วมกับ ดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล (Design 103 International) บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมชั้นนำของไทยที่มีประวัติยาวนาน และมีผลงานอาคารระดับมาซเตอร์พีซมากมาย และแทนเดม อาร์คิเท็ค (2001) (Tandem Architects) บริษัทสถาปนิกแถวหน้าของไทยที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาคารสูง โดยมี ฉมา (Shma) บริษัทภูมิสถาปัตย์ชั้นนำที่เชี่ยวชาญด้านภูมิทัศน์ ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมเป็นที่ปรึกษาด้านภูมิทัศน์ ดีดับเบิ้ลยูพี (ประเทศไทย) (DWP (Thailand)) บริษัทออกแบบและตกแต่งภายในชั้นนำ  เป็นที่ปรึกษาด้านการตกแต่งภายใน   นอกจากนี้ ยังมีออเรคอน คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) (Aurecon Consulting (Thailand)) ผู้นำด้านบริการงานออกแบบ ให้คำปรึกษาและบริหารงานทางวิศวกร เป็นที่ปรึกษาด้านงานระบบไฟฟ้า และงานระบบเครื่องกล ด้วยจุดมุ่งหมาย ในการสร้างอาคารสำนักงานลักชัวรี่ที่มีดีไซน์สุดล้ำ ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมระดับโลกและศิลปะวัฒนธรรมไทยเข้าด้วยกัน เห็นได้จากแผงแนวเฉียงที่พาดอยู่บนส่วนหน้าของอาคาร (façade) ซึ่งเป็นดีไซน์ที่มีความสอดคล้องลงตัวกับสภาพอากาศเมืองไทย โดยทำหน้าที่ลดความร้อนจากแสงอาทิตย์เข้าสู่อาคาร ด้านนายนพดล ตันพิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล (D103i) บริษัทออกแบบชั้นนำของประเทศไทย กล่าวถึงการต่อยอดแนวคิดการออกแบบ OCC ว่า ได้วางภาพของ OCC ให้เป็นระบบนิเวศแบบสมาร์ทลิฟวิ่ง ที่ผสานเทคโนโลยีอาคารอันล้ำสมัย เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการอาคาร ให้สามารถประหยัดพลังงานได้สูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายในด้านความยั่งยืนด้วย แนวคิด REIMAGINE YOUR WORLD ของ OCC ประกอบด้วย: Reimagined Daily Work Rhythm – พื้นที่สำนักงานที่ OCC ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อหล่อเลี้ยงพลังชีวิตของคนทำงาน สร้างความสุขให้กับช่วงเวลาทำงานโดยมีนวัตกรรมที่ทันสมัย Reimagined Daily Green Intake - ด้วยเป้าหมายที่จะนำต้นไม้และธรรมชาติกลับมาสู่วิถีคนเมืองในกรุงเทพฯ OCC เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตใจกลางเมืองที่เขียวชอุ่มที่สุดในย่านเพลินจิต ด้วยพื้นที่สีเขียวกว่า 5,000 ตร.ม. Reimagined Office Space Possibilities - ด้วยโครงสร้างอาคารที่ไม่มีเสาคั่นกลาง ผู้เช่าจึงสามารถออกแบบ เลย์เอาต์สำนักงานได้อย่างอิสระตามความต้องการ สร้างสรรค์พื้นที่สำนักงานที่ดีที่สุดได้อย่างใจ Reimagined Retail and Food Selection - OCC มาพร้อมกับพื้นที่รีเทล คาเฟ่ บาร์ และร้านอาหารที่คัดสรรมาอย่างมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร รวมถึงบาร์และภัตตาคารหรูบนชั้นดาดฟ้าที่จะกลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์และเป็นหนึ่งในรูฟท็อปเดสทิเนชั่นที่ดีที่สุดในเอเชีย Reimagined Journey In and Out – สุดท้ายนี้ การเดินทางเข้าและออกจากอาคาร OCC ง่ายและสะดวกสบายติดสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเพลินจิต โดยใช้เวลาเดินเพียง 2 นาทีจากบีทีเอส และสามารถเดินเชื่อมต่อเข้าไปในอาคารผ่าน Sky Bridge ได้เลย หรือถ้าขับรถมาก็อยู่ห่างจากทางด่วนเพลินจิต เพียง 200 เมตร 10 เรื่อง OCC ตึกสูงสุดในไทย นอกจากนั้น 10 อินไซต์ต่อไปนี้จะช่วยขยายความแนวคิดของ OCC ให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นในการเปิดมิติใหม่สู่โลกของอาคารออฟฟิศและสุดยอดศูนย์กลางไลฟ์สไตล์แห่งอนาคต 1.แลนด์มาร์คใหม่เหนือเส้นขอบฟ้ากรุงเทพฯ OCC คืออาคารสำนักงานที่สูงที่สุดในไทยในปัจจุบัน ด้วยความสูง 275.76 เมตร และจะกลายเป็นแลนด์มาร์กใหม่อันโดดเด่น รวมทั้งไฮไลต์คือรูฟท็อปเดสทิเนชั่นบนชั้นดาดฟ้า ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดแห่งหนึ่ง พร้อมทัศนียภาพที่สวยเหนือคำบรรยายของกรุงเทพฯ 2.สถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก ตัวอาคารแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักที่มีลักษณะตรงกันข้าม คือส่วนแกนกลางเป็นแท่งทึบรูปทรงที่เพรียวบางหันสู่ทิศตะวันตก และส่วนผนังกระจกใสตลอดความยาวตึกซึ่งเป็นพื้นที่ออฟฟิศหันสู่ทิศตะวันออก รวมทั้งพื้นที่สีเขียวตามจุดต่าง ๆ ทั้งพื้นที่โถงใหญ่กลางอาคาร (Atrium) ระเบียง และสวนหย่อมกระจายอยู่ทั่วอาคาร 3.ความยั่งยืน + สุขภาวะของผู้ใช้อาคาร เริ่มต้นที่จากถนนหน้าอาคาร พื้นที่สีเขียวอันกว้างขวางซึ่งส่งผลให้พื้นที่ส่วนกลางของโครงการมีบรรยากาศที่เย็นสบาย เป็นประโยชน์ทั้งสำหรับผู้ใช้อาคารและตัวเมืองกรุงเทพฯ เมื่อเข้ามาสู่ภายในอาคาร การออกแบบเพดานสูงเปิดรับทั้งแสงธรรมชาติให้ส่องเข้ามาได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งทิวทัศน์กรุงเทพฯ แบบพาโนรามาอันน่าหลงใหล เป็นการลดทั้งการใช้พลังงานและช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สบายและผ่อนคลาย และงานระบบอาคารต่าง ๆ อันล้ำสมัย ทั้งเครื่องกล ไฟฟ้า และประปา (MEP) ช่วยให้อากาศภายในสะอาดบริสุทธิ์ 4.การออกแบบและก่อสร้างที่อาศัยเทคโนโลยีดาต้า การพัฒนาโครงการ OCC มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัยที่สุด เช่น การสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM) โดยใช้ข้อมูลอาคารเพื่อช่วยให้การออกแบบ การก่อสร้าง       และการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลดีต่อโครงการทั้งด้านการประหยัดต้นทุน ความยั่งยืน รวมทั้งก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย 5.โซลูชั่นออฟฟิศสุดเหนือระดับ พื้นที่ทำงานภายใน OCC ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนได้ในอนาคตเพื่อรองรับความต้องการในการทำงานที่แตกต่างกันและเปลี่ยนแปลงไป โดยมีระเบียงบนชั้น 14 และ 61 เป็นพื้นที่พักผ่อนอีกหนึ่งจุด รวมทั้งพบปะสังสรรค์ในโอกาสต่างๆ ระบบกรองอากาศในอาคารใช้แผ่นกรองประสิทธิภาพสูง MERV14 ช่วยให้อากาศภายสะอาดและสดชื่นตลอดเวลา 6.ประสบการณ์อัจฉริยะเพื่อผู้เช่า OCC ติดตั้งเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อสร้างประสบการณ์ที่เหนือระดับแก่ผู้เช่า เช่น แอปพลิเคชั่นมือถือสำหรับผู้เช่าอาคาร ระบบจดจำใบหน้า และระบบจดจำป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ มอบความสะดวกสบายด้วยระบบไร้สัมผัส ตั้งแต่การเข้า-ออกที่จอดรถ ลิฟต์ และอาคารสำนักงาน รวมทั้งการจองใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางและร้านอาหารผ่านโมบายแอป 7.รางวัลและการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ OCC ได้รับรางวัลการพัฒนาอาคารสำนักงานแห่งปี (Office Development of the Year) จากเวที Real Estate Asia Awards 2021 และยังเป็นอาคารสำนักงานแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรอง Fitwel ในระดับ 2 ดาวจาก Center for Active Design (CfAD ) ในหมวด Multi-Tenant Building ในฐานะอาคารที่มีคุณภาพการบริหารจัดการอันโดดเด่นและสร้างสุขภาวะที่ดีเยี่ยมให้กับผู้ใช้อาคาร และอยู่ในระหว่างการยื่นขอการรับรองมาตรฐาน LEED Gold สำหรับการออกแบบ การก่อสร้าง และการดำเนินงานของอาคารที่มีความยั่งยืน 8.สุดยอดรูฟท็อปเดสทิเนชั่นใจกลางกรุง บนชั้น 58 และ 61 ของอาคารคือสเปซแห่งการดื่มด่ำกับมื้ออาหารสุดพิเศษ ด้วยบาร์และภัตตาคารสุดหรู ดีไซน์และตกแต่งทุกรายละเอียดอย่างเหนือระดับพร้อมทิวทัศน์กรุงเทพฯ แบบ            พาโนรามา 360 องศา รวมทั้งภาพโค้งน้ำเจ้าพระยาที่สะกดทุกสายตาอย่างไม่มีอะไรมาขวางกั้น ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับผู้มีไลฟ์สไตล์แห่งการกินดื่มอันละเมียดทุกคน ทั้งชาวไทยและนานาชาติ 9.ผสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน ที่ตั้งโครงการแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สีเขียวที่ประวัติความเป็นมายาวนาน ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ให้คงเดิมมากที่สุด โดยออกแบบด้วยการเพิ่มพื้นที่เปิดโล่งหันหน้าสู่ถนนด้านหน้าได้เต็มที่ และยกพื้นที่กลางแจ้งทั้งหมดนี้ให้เป็นสวนสาธารณะที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ 10.สุดยอดทำเลใจกลางเมือง บนพื้นที่ 6 ไร่ ตรงข้ามศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ใช้เวลาเดินเพียง 2 นาทีจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเพลินจิต และมีทางเชื่อมลอยฟ้าจากอาคารเข้าสู่สถานีโดยตรง รวมทั้งอยู่ห่างจากจุดขึ้น-ลงทางด่วนเพลินจิตเพียง 200 เมตร   ทั้งหมดนี้ คือ 10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML ที่เบียดอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนซ์ แอท ไอคอนสยามตกไปเป็นที่ 2   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ไรมอนแลนด์ ปั้น แบรนด์เด็ดเรสซิเดนซ์ ขายวิลล่าหลังละ 1,000 ล้าน พร้อมสู่ธุรกิจ New Economy สร้างรายได้ประจำ
4 ประสบการณ์ใหม่ เกษรอัมรินทร์ การพลิกโฉม อาคารอมรินทร์พลาซ่าอายุ 38 ปี 

4 ประสบการณ์ใหม่ เกษรอัมรินทร์ การพลิกโฉม อาคารอมรินทร์พลาซ่าอายุ 38 ปี 

เกษรวิลเลจ เดินหน้าแผนยกระดับโครงการมิกซ์ยูสเต็มพิกัดสู่การพัฒนา “Placemaking Destination” แห่งแรกและแห่งเดียวใจกลางกรุงเทพฯ เตรียมเผยภาพลักษณ์ใหม่ของ เกษรอัมรินทร์ กับ 4 ไฮไลต์สำคัญ จากการพลิกโฉม อาคารอมรินทร์พลาซ่าอายุ 38 ปี สู่​นิยามใหม่ของพื้นที่ “ที่มีความหมาย”  พร้อมเปิดบริการอย่างเป็นทางการในปลายปี 2566 นี้     นายชาญ ศรีวิกรม์ ประธานบริหารกลุ่มเกษร พร๊อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป เปิดเผยว่า​ การยกระดับเกษรวิลเลจสู่ความเป็น Placemaking Destination หรือ พื้นที่ที่มีความหมาย มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากการพัฒนาศูนย์กลางไลฟ์สไตล์อื่น ๆ ของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน เราไม่ได้สร้างอาคารขึ้นใหม่ แต่เราเล็งเห็นถึงคุณค่าจากอาคารเก่าที่บ่มเพาะเรื่องราวความเป็นมาและความทรงจำอันรุ่งเรืองในอดีต การรีแบรนด์ “เกษรอัมรินทร์” ครั้งใหญ่ ภายใต้แนวคิด Live your own Legacy   โดยเป็นการนำอาคารอัมรินทร์พลาซ่า ศูนย์การค้าที่เป็นตำนานของกรุงเทพฯ และอยู่คู่ย่านราชประสงค์มานานกว่า 38 ปี มาต่อยอดด้วยดีไซน์และองค์ประกอบใหม่ ๆ ที่สอดประสานไปกับบริบทของโลกปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงความผูกพันกับผู้คนและชุมชนที่มีความเชื่อในคุณค่าร่วมกัน จุดมุ่งหมายของเราจึงเป็นการสร้างสรรค์สถานที่  "เดิม" ให้กลายเป็นจุดหมายใหม่ของกรุงเทพฯ สำหรับให้ผู้คนได้มาใช้ชีวิตอย่างสุนทรีย์ ไม่ซ้ำใครในแบบฉบับของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการมาสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ มองหาทางเลือกของสีสันและกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการเติมเต็มประสบการณ์ชีวิตในหลากหลายรูปแบบอย่างที่ใจต้องการอย่างแท้จริง”   ทั้งหมดนี้พร้อมจะพลิกโฉมย่านราชประสงค์สู่ปรากฏการณ์ใหม่ของศูนย์กลางไลฟ์สไตล์ (Bangkok’s Capital of Lifestyle District) ใจกลางเมืองแห่งแรกหนึ่งเดียวของกรุงเทพฯ ผ่านนิยามใหม่ของวิถีการใช้ชีวิตคนเมืองอย่างสุนทรีย์ ด้วยประสบการณ์ที่แตกต่างกัน 4 รูปแบบ 4 ประสบการณ์ใหม่ เกษรอมรินทร์ 1.#MINGLE – Place for Tasteful Moments  โซนอาหารเลิศรส  ด้วยไฮไลต์สำคัญ Hanging Garden พื้นที่อินดอร์กึ่งเอาท์ดอร์ใหม่ด้านหน้าอาคาร โดยมีดีไซน์ฟีเจอร์ของ Gaysorn Cocoon ที่เต็มไปด้วยพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ โอบล้อมเสาโรมันงามสง่าอันเป็นเอกลักษณ์คู่ตึกเกษรอัมรินทร์ สัมผัสกลิ่นอายของสถานที่อันเป็นตำนานในบรรยากาศร่วมสมัย ซึ่งถือเป็นโหนด (Node) สำคัญหนึ่งเดียวใจกลางย่านราชประสงค์ที่ให้ผู้คนในพื้นที่ได้มารวมตัวพบปะกันในแบบฉบับของตัวเอง ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ พร้อมดื่มด่ำกับอาหารและเครื่องดื่มในคอนเซปต์ใหม่ ๆ ที่รังสรรค์โดยเชฟและมิกโซโลจิสต์มือรางวัล   ตลอดจนอีเวนต์และเอนเตอร์เทนเมนท์สุดพิเศษที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามโอกาสต่าง ๆ หรืออิ่มเอมกับมื้ออร่อยง่าย ๆ ได้ในทุกวันกับ The COOK ศูนย์รวมความอร่อยจากร้านอาหารสตรีทฟู้ดชื่อดังใจกลางกรุงเทพฯ ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงมายาวนาน  ทั้งนี้เกษรวิลเลจ ยังจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ที่รวมเหล่ากูรูด้านอาหารและเครื่องดื่ม หรือผู้ที่สนใจ ได้พบปะสังสรรค์หรือเฉลิมฉลอง อย่างเช่นงาน “เกษร เล วองดองช์″ (Gaysorn Les Vendanges) เทศกาลไวน์ระดับตำนานที่เปิดโอกาสให้คอไวน์ได้สัมผัสสุนทรียรสของไวน์อันเปี่ยมรสนิยมจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งจัดขึ้นในเดือนกันยายนของทุกปี เป็นต้น 2.#ADORE – Place Where Artisans and Admirers Meet  พื้นที่งานศิลป์ในพื้นที่ที่เป็นมากกว่าแหล่งช็อปปิ้งชื่นชมผลงานและเรื่องราวหลากสไตล์จากนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ และช่างฝีมือจากไทยและต่างประเทศ ประกอบด้วยพื้นที่ 3 ส่วน เริ่มตั้งแต่ Piazza ซึ่งเป็นลานเอนกประสงค์ด้านหน้าอาคารที่ออกแบบให้เป็นพื้นที่โล่ง กว้างขวาง ไปจนจรดแนวถนนหน้าตึก เพื่อเปิดรับผู้คน และสามารถรองรับการจัดกิจกรรมและอีเวนต์ในรูปแบบใหม่ ๆ Forum โถงด้านในที่อยู่ภายใต้สกายไลท์ หรือหลังคากระจกฉลุลวดลายดอกไม้อันวิจิตรที่ยังรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์สำคัญ เป็นพื้นที่อีเวนต์สเปซ สำหรับการแสดงหรือโชว์เคสโปรดักส์ใหม่ หรือผลงานศิลปะอันหลากหลาย เช่นเดียวกับพื้นที่ Atrium และ Cocoon ที่เกษรเซ็นเตอร์และเกษรทาวเวอร์ ที่ได้ร่วมรังสรรค์ผลงานกับศิลปินและนักออกแบบต่างประเทศ อาทิเช่น Biyan หรือ Dries Van Noten และศิลปินและนักออกแบบไทยอย่าง คุณณอน-ชวนล ไคสิริ หรือ คุณยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล Infinity Escalator อีกหนึ่งโซนใหม่ซึ่งเป็นพื้นที่รวมร้านค้าสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ ที่มีเรื่องราวอันโดดเด่นไม่ซ้ำใคร ทั้งแบรนด์ไทยและต่างประเทศ พร้อมรังสรรค์โดยคิวเรเตอร์ซึ่งเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่คร่ำหวอดในแวดวงและมีไลฟ์สไตล์เฉพาะตัวอันโดดเด่นหลากหลายรูปแบบ นับเป็นการต่อยอดจาก Designer Lane พื้นที่แห่งสุดยอดประสบการณ์แฟชั่น เครื่องประดับ อุปกรณ์พิเศษที่เหมาะกับแต่ละไลฟ์สไตล์ รวบรวมทั้งแบรนด์ไทยและระดับโลก ไม่ซ้ำใคร สู่การเป็นพื้นที่สำหรับกลุ่มผู้คนที่เป็น like-minded community ได้พบปะ มีปฏิสัมพันธ์ เพื่อเติมพลังการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า 3.#BOOST – Place for Urbanist Wellness  เสริมสุขภาวะในแบบฉบับคนเมืองไปกับ Gaysorn Urban Wellness รังสรรค์พื้นที่เพื่อให้คนเมืองได้ดูแล และฟื้นฟูตนเองไปกับ 3 องค์ประกอบ ด้านความงาม (Beauty & Aesthetics) ของร่างกายผิวพรรณใบหน้าและเส้นผม ด้านการดูแลสุขภาพกาย (Health & Wellness) คัดสรรประสบการณ์และบริการทางด้านการชะลอวัย การเสริมภูมิคุ้มกัน และฟื้นฟูให้กับร่างกาย หรือการรับประทานอาหารและอาหารเสริมให้ตรงกับแต่ละบุคคล และด้านสุขภาพใจ (Mental Wellbeing) พื้นที่ที่ให้คนเมืองได้หลบหลีกจากความวุ่นวายเพื่อรีแลกซ์และทำให้ร่างกายและจิตใจสงบ ฟื้นฟูสุขภาพใจจากการทำงานและการใช้ชีวิต ทุกการดูแลจะพรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย พร้อมกับโปรแกรมแบบ Personalized ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพกับผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง เพื่อสร้างประสบการณ์แห่งการสร้างเสริมสุขภาวะคนเมืองในแบบเฉพาะแต่ละบุคคล 4.#THRIVE – Place to Collaborate & Grow Creatively  สร้างสรรค์ สำเร็จ ในวิถีทำงานคุณภาพ ด้วยสถานที่ทำงานและสังคมที่สร้างแรงบันดาลใจ บนทำเลแยกราชประสงค์ ศูนย์กลางธุรกิจใจกลางเมือง หมุดหมายสำหรับที่ตั้งสำนักงานขององค์กรระดับนานาชาติชั้นนำ ดึงดูดคนทำงานรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ ไปกับการเดินทางที่สะดวกสบายด้วยทางเชื่อมสู่บีทีเอส และพรั่งพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์อันหลากหลาย บนพื้นที่สำนักงานเกรดเอในอาคารสถาปัตยกรรมโพสต์โมเดิร์น Gaysorn Amarin Tower ซึ่งมีการออกแบบตกแต่งและปรับปรุงพื้นที่ใหม่เพื่อมอบความสะดวกสบายและสุขภาวะที่ดีแก่คนทำงาน   พื้นที่ Co-Working Space พร้อมโซลูชันการทำงานแบบครบวงจร ตลอดจน Working Pods รองรับรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดในโลกธุรกิจยุคใหม่ กระจายอยู่ในจุดต่าง ๆ ทั่วอาคาร เพื่อเพิ่มพื้นที่ภายนอกออฟฟิศให้ผู้ที่ต้องการความยืดหยุ่นและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ภายในเกษร วิลเลจ จึงมีพื้นที่อันหลากหลายให้ทุกคนสามารถทำงาน และพบปะหรือประชุมกับพันธมิตรทางธุรกิจ   นอกจากนั้น ยังมี Gaysorn Urban Resort ศูนย์กลางแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้สำหรับคนทำงาน ด้วยโปรแกรมกิจกรรมและอีเวนต์สำหรับสายธุรกิจอันหลากหลาย เช่นสายเทค สตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ ให้ได้รับรู้ทิศทางธุรกิจของตลาดโลกตลอดทั้งปี ด้วยองค์ประกอบที่ส่งเสริมให้เกิดชุมชนแห่งการทำงานร่วมกัน ทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ บ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ ผลักดันนวัตกรรมใหม่ ๆ และสนับสนุนการให้ทุกคนสร้างเรื่องราวแห่งความสำเร็จให้กับตนเอง “การลงทุนรีแบรนด์เกษรอัมรินทร์และพลิกโฉมเกษรวิลเลจด้วยเงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาทครั้งนี้ เราเชื่อมั่นว่าจะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจและย่านราชประสงค์ให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ต้อนรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในปี 66 นี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยงต่างชาติเดินทางเข้ามาเพิ่มสูงขึ้นจากปี 65 ถึงหนึ่งเท่าตัว”      อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -4 โซนไฮไลท์ ใน “เกษรอัมรินทร์”  ชื่อใหม่ของ อัมรินทร์พลาซ่า
AWC ประกาศ Q1/2566  กำไร 1,422 ล้าน ผลการใช้กลยุทธ์ GROWTH-LED

AWC ประกาศ Q1/2566  กำไร 1,422 ล้าน ผลการใช้กลยุทธ์ GROWTH-LED

AWC ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/2566 เติบโตแข็งแกร่ง กำไรสุทธิ 1,422 ล้านบาท เพิ่มมากกว่าเท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเติบโตนำปี 2562 เทียบก่อนสถานการณ์โควิด-19 ขณะที่ทำ​รายได้ไตรมาสแรกรวม 4,785 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) สะท้อนการดำเนินงานตามกลยุทธ์ GROWTH-LED เพื่อสร้างการเติบโตของกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2566 ตามงบการเงินรวมมูลค่ายุติธรรม มีรายได้รวมกว่า 4,785 ล้านบาท เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด 65.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยมีกำไรจากการดำเนินงาน (EBITDA) ในไตรมาส 1/2566 กว่า 2,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  67.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการในทุกเซ็กเมนต์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) ที่ 4,152 บาท สูงกว่าปี 2562 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 อัตรา 17%   โดยเฉพาะโรงแรมนอกกรุงเทพฯ และรีสอร์ท ระดับลักซ์ซูรี ที่มีอัตราการเข้าพักสูงโดดเด่น สอดรับการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัทเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลการท่องเที่ยวอย่างเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้บริษัทฯ มีศักยภาพในการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,422 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 100.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และยังสูงกว่าปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย AWC ยังคงมุ่งพัฒนาทรัพย์สินคุณภาพให้เป็นทรัพย์สินดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดากลุ่มธุรกิจ) อย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1/2566 บริษัทมีมูลค่าทรัพย์สินดำเนินงานรวมกว่า 119,859 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36,548 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2562 คิดเป็น 43.9% นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนพัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างกระแสเงินสดในระยะกลางอย่างแข็งแกร่ง พร้อมเข้าลงทุนทรัพย์สินในสัญญาให้สิทธิ (ROFR) จากกลุ่มทีซีซี และโอกาสการลงทุนทรัพย์สินคุณภาพอื่น ๆ ในระยะยาว และด้วยขนาดของทรัพย์สินคุณภาพที่เติบโตต่อเนื่อง บริษัทเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างก้าวกระโดดและมั่นคง   จากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของ AWC ในไตรมาส 1/2566 ซึ่งเติบโตสูงขึ้นกว่าไตรมาส 4/2565 และก่อนช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปี 2562 ถือเป็นสัญญาณบวกของการเริ่มต้นปี โดยผลประกอบการที่เติบโตก้าวกระโดดนี้ มาจากการการดำเนินงานตามกลยุทธ์ GROWTH-LED ผ่านการพัฒนาโครงการทรัพย์สินคุณภาพให้เป็นทรัพย์สินดำเนินงาน โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 36,548 ล้านบาท เมื่อเทียบกับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ทั้งสร้างกระแสเงินสดเติบโต พร้อมเร่งสร้างการเติบโตของอัตราผลตอบแทนด้วยการพัฒนาทรัพย์สินเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย อาทิ ผลดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ ที่มีค่า Revenue Generation Index (RGI) ในภาพรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับโรงแรมในกลุ่มเดียวกันที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง อาทิ โรงแรม แบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ มีค่า RGI เท่ากับ 201 และโรงแรม คอร์ทยาร์ด แมริออท ภูเก็ต ทาวน์ มีค่า RGI เท่ากับ 195 เป็นต้น และอัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพักในภาพรวม (RevPAR) สูงถึง 4,152 บาท รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนกำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้ ซึ่งไม่รวมมูลค่ายุติธรรม (EBITDA MARGIN) ในไตรมาส 1/2566 ของทั้งกลุ่มบริษัทสูงถึง 45% แข็งแกร่งกว่าไตรมาส 1/2565 อัตรา 14% ธุรกิจโรงแรมและการบริการโต 17% บริษัทเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องในทุกเซ็กเมนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มรีสอร์ท ระดับลักซ์ซูรี และโรงแรมอื่น ๆ นอกกรุงเทพฯ ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีศักยภาพ (High-to-Luxury) สอดรับกับมาตรการการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้มีดีมานด์การท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่สูงขึ้นอย่างเด่นชัด ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) อยู่ที่ 4,152 บาท ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2562 ที่เท่ากับ 3,549 บาท โตขึ้น 17%  โดยในไตรมาส 1/2566 กลุ่มธุรกิจโรงแรมมีรายได้ 2,743 ล้านบาท คิดเป็นกำไรจากการดำเนินงาน (EBITDA) 1,091 ล้านบาท ซึ่งเติบโตก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือเพิ่มขึ้น 28.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) AWC มุ่งพัฒนาทรัพย์สินคุณภาพให้เป็นทรัพย์สินดำเนินงานเพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนห้องพักในปัจจุบันรวม 5,588 ห้อง เพิ่มขึ้น 63% เทียบกับก่อนสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งภายในปีนี้ ยังมีแผนเดินหน้าเพิ่มพอร์ตคุณภาพในกลุ่มโรงแรมและการรีแบรนด์โรงแรม ได้แก่ โรงแรม อินน์ไซด์ บาย มีเลีย กรุงเทพ สุขุมวิท และโรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง รวมทั้งการรีแบรนด์โรงแรม เลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ เป็น โรงแรม แมริออท เชียงใหม่   โดยบริษัทตั้งเป้าเพิ่มจำนวนโรงแรมที่เปิดดำเนินการจาก 20 โรงแรมในปี 2565 เป็น 22 โรงแรม ในปี 2566 รวม 6,036 ห้อง ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพบริษัทให้สามารถตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกเสริมความแข็งแกร่งของทรัพย์สินคุณภาพในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Assets Enhancement) อาทิ การร่วมมือกับ Accor ในการรีแบรนด์จากโรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว แบงค็อก วินด์เซอร์ เป็นโรงแรม แฟร์มอนท์ แบงคอก สุขุมวิท แห่งแรกในประเทศไทย อสังหาฯ เพื่อการพาณิชย์โต 114% กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการค้า (Retail and Wholesale) มีการเติบโตต่อเนื่องของผู้เช่า ซึ่งได้แรงสนับสนุนจากผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวออกมาจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มศูนย์การค้าเพื่อการท่องเที่ยว ส่งผลให้รายได้เติบโตมากกว่า 114% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งพัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย อาทิ โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เดสติเนชั่น ผ่านประสบการณ์ “ALL DAY EVERYDAY HAPPINESS” พร้อมการร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกเปิด “Disney100 Village at Asiatique” การเปิดตัวห้องอาหาร “เดอะ คริสตัลล์ กริลล์ เฮาส์” และ “เดอะ สยาม ที รูมท์” เพื่อยกระดับโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ สู่การเป็นจุดหมายปลายทางด้านอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก ส่งผลให้โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เดสติเนชั่น มีอัตราการเช่าพื้นที่และอัตราค่าเช่าที่สูงขึ้นสอดรับกับจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่า  250% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน   บริษัทยังได้มีการเปิดตัว THE PANTIP LIFESTYLE HUB ที่เชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด “EVERY HAPPINESS FOR EVERYONE” มุ่งสร้างแลนด์มาร์คไลฟ์สไตล์สำหรับครอบครัวใจกลางเมืองเชียงใหม่ และในเดือนเมษายนที่ผ่านมา AWC ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ขับเคลื่อนประเทศไทย เป็น “ศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค” โดยได้เปิดโมเดลค้าส่งอาหารรูปแบบใหม่ของโครงการ AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM ที่จะตอบโจทย์การค้าส่งอาหารครบวงจร พร้อมเชื่อมผู้ค้าส่งอาหารทั่วโลกกับผู้ซื้อในเขตเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับธุรกิจอาคารสำนักงาน (Commercial) ยังคงสร้างกระแสเงินสดให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง มาจากความต้องการเช่าพื้นที่สำนักงานเกรด A ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบรับเทรนด์อนาคตที่ผสมผสานการทำงานและไลฟ์สไตล์เข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสำนักงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียว (Green Building) โดยในไตรมาสที่ผ่านมา AWC ได้เปิดตัว “Co-Living Collective: Empower Future” ที่อาคาร “เอ็มไพร์” เป็นครั้งแรก นำ Co-Living Space กว่า 1,500 ตร.ม. ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมาสร้างประสบการณ์พิเศษให้กับผู้เช่าอาคาร ตอบโจทย์ทั้งด้านการทำงานและไลฟ์สไตล์ในที่เดียว AWC ยังคงมุ่งเน้นความสามารถในการทำกำไร และควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการดำเนินการพัฒนาโครงการคุณภาพอย่างต่อเนื่อง”  AWC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแผนกลยุทธ์เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยล่าสุดบริษัทฯ ได้รับรางวัลที่สะท้อนถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และความโดดเด่นของแบรนด์องค์กร ได้แก่  รางวัล “Thailand’s Top Corporate Brands 2022” ในฐานะองค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดของประเทศไทย ประจำปี 2565 ในหมวดธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่จัดขึ้นโดยหลักสูตรปริญญาโท สาขาการจัดการแบรนด์และการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ “Asia's Greatest Brand 2023” รางวัลระดับภูมิภาคเอเชีย ในกลุ่มธุรกิจบริการจากงาน Edition of Asian Business & Social Forum - Asia’s Greatest Brands and Leaders 2023 ที่จัดโดย Asia One Magazine นิตยสารธุรกิจชั้นนำของประเทศอินเดีย เพื่อยกย่องผู้นำทางธุรกิจและแบรนด์ที่มีความโดดเด่นในปี 2566   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -หมดยุคห้างสินค้าไอที พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ AWC ปรับสู่ศูนย์กลางค้าส่งด้านอาหาร ใหญ่สุดในไทย -AWC เดินแผนขยายธุรกิจแสนล้าน เตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 9 แห่ง
บีไอดับบลิว รุกตลาดม่านไฮเอนด์ 5,000 ล้าน  จับมือแบรนด์จากยุโรป เปิดตัวสินค้าใหม่​ 

บีไอดับบลิว รุกตลาดม่านไฮเอนด์ 5,000 ล้าน จับมือแบรนด์จากยุโรป เปิดตัวสินค้าใหม่​ 

บีไอดับบลิว เปิดตัวผ้าม่านนวัตกรรมจาก 2 แบรนด์ดังจากยุโรป คูลิส และ เซิร์จ เฟอรารี่ ตอบโจทย์เทรนด์และไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานยุคใหม่ ​รุกตลาดม่านระดับไฮเอนด์มูลค่ารวมกว่า 5,000 ล้าน  ชูผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิด ยกระดับคุณภาพชีวิต และ ปกป้องชีวิต   นายสิริชัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บีไอดับบลิว โพรดัคส์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายม่านเพื่อการตกแต่งภายในและภายนอกอาคารระดับไฮเอนด์ เปิดเผยว่า เทรนด์ม่านในตลาดโลกในปัจจุบันให้ความสำคัญ 4 ด้าน คือ คุณภาพ (Quality) ความฉลาด (Smart) การจัดการพื้นที่ (Space Management) และความยั่งยืน (Sustainability) บีไอดับบลิว ในฐานะที่เป็นผู้นำเทรนด์ม่านใหม่ ๆ เข้ามาในประเทศไทย จึงได้รุกตลาดด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบรับกับเทรนด์ที่เกิดขึ้น ภายใต้ 2 แนวคิด คือ “การยกระดับคุณภาพชีวิต และการปกป้องชีวิต” เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้งาน โดยจับมือกับแบรนด์ คูลิส (Coulisse) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และแบรนด์ เซิร์จ เฟอรารี่ (Serge Ferrari) ประเทศฝรั่งเศส   สำหรับม่านในกลุ่มที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ที่บีไอดับบลิวเน้นในปีนี้ คือ การสร้างพื้นที่ใหม่ ๆ ให้ที่อยู่อาศัยผ่านผลิตภัณฑ์ของแบรนด์คูลิส และเซิร์จ เฟอรารี่ และการทำให้ผู้ใช้งานใช้ชีวิตสะดวกสบาย มีไลฟ์สไตล์ที่ดีขึ้น เช่น ม่านอัจริยะ Eve Motion จากแบรนด์คูลิส รายแรกของโลกที่ไม่ใช้สายและรีโมตคอนโทรล เพียงกระตุกโซ่เบา ๆ ให้ม่านขึ้น-ลง หรือสั่งงานผ่านมือถือ รายแรกและรายเดียวที่เชื่อมกับ Apple Home Kit โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อ และยังเชื่อมกับค่ายอื่น ๆ เช่น กูเกิลโฮม ซัมซุง ได้บนแอปพลิเคชันเดียว ซึ่งมีทั้งม่านที่ใช้ระบบโฮมออโตเมชันในราคาที่เข้าถึงง่าย ไม่ยุ่งยากในการเซ็ตระบบ และม่านที่ปรับตามไลฟ์สไตล์ที่ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น เช่น ทำให้ตื่นนอนได้อย่าง  สดชื่นด้วยการตั้งเวลาและรูปแบบการเปิดของม่านด้วยวิธีง่าย ๆ ในกลุ่มเดียวกันนี้ บีไอดับบลิว ยังเปิดตลาดกลุ่ม ม่านระบบ Zip จากแบรนด์เซิร์จ เฟอรารี่ นวัตกรรมที่ทำให้ผู้ใช้งานใช้พื้นที่ได้ประโยชน์สูงสุด โดยใช้ม่านเป็นฉากที่เปิด-ปิดได้ตามต้องการ เช่น แบ่งโซนภายในห้อง เชื่อมต่อภายในบ้านกับสวนด้านนอก หรือการทำโรงรถที่เปิด-ปิดได้โดยไม่เสียพื้นที่ใช้สอย และยังได้เพิ่มไลน์ ผ้าม่านและผ้าใบคุณภาพสูงสำหรับงานโครงสร้างน้ำหนักเบากลางแจ้ง ที่ใช้เทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของเซิร์จ เฟอรารี่ ทำให้ผ้ามีความแข็งแรง ตึงตัวเป็นพิเศษ หนา นุ่ม ดูเป็นธรรมชาติ ป้องกันเชื้อรา คงทน และคงรูปได้นาน   สำหรับ ม่านในกลุ่มที่ช่วยปกป้องชีวิต จะมุ่งเน้นเรื่องการสร้างความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน และคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานระดับสูง โดยม่านในกลุ่มที่ช่วยปกป้องชีวิตที่นำมาเปิดตัว ได้แก่ ม่านม้วน Eco Luxury จากแบรนด์คูลิส ด้วยเทรนด์ที่สวยกลมกลืนเป็นธรรมชาติควบคู่กับการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเป็นแบรนด์เดียวในประเทศไทยที่มีกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน คำนึงถึงการปล่อยมลพิษให้น้อยที่สุด และนำวัสดุมารีไซเคิลแล้วผ่านกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพให้กลายเป็นผ้าม่านคุณภาพ   นายสิริชัย กล่าวอีกว่า ในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานนั้น ทุกแบรนด์ที่บีไอดับบลิวนำมาทำตลาด จะมุ่งเน้นความปลอดภัย โดยได้รับการรับรองว่าปราศจากสารก่อมะเร็ง เช่น ปรอท ฟอร์มาดีไฮน์ และ VOC นอกจากนี้ ผ้ากันแสงแดดจากคูลิสยังผ่านการทดสอบมาตรฐานระดับสูงจาก Greenguard Gold ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสำหรับใช้กับเด็ก หรือผู้ที่แพ้ง่าย ตลาดม่านระดับไฮเอ็นด์ในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท และยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก โดย บีไอดับบลิวครองส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 15% ของตลาดม่านม้วน ติดอันดับ 1 ใน 3 ผู้นำตลาด เรามั่นใจว่าการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในแนวคิดใหม่ครั้งนี้จะทำให้เราเติบโตขึ้น 50% ภายในปีนี้   ด้านนางแสงสุรีย์ อินทเดช ผู้จัดการทั่วไป บริษัท บีไอดับบลิว โพรดัคส์ จำกัด กล่าวเสริมว่า “บีไอดับบลิวได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี เพราะสามารถตอบโจทย์ลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โดยเป็นแบรนด์เดียวในประเทศไทยที่มีใบรับรองมาตรฐานมากที่สุด ทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัย มาตรฐานด้านประหยัดไฟ และมาตรฐานเรื่องความยั่งยืน  รวมทั้งมีฟังก์ชันที่หลากหลาย ทำให้เจ้าของบ้านและดีไซเนอร์มีทางเลือกมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีบริการหลังการขายที่สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ปัจจุบันมีร้านค้าที่มีแค็ตตาล็อกของบีไอดับบลิวกว่า 1,000 ร้านทั่วประเทศ สำหรับแผนงานในปีนี้จะมีการขยายดีลเลอร์ในจังหวัดใหญ่เพิ่มขึ้น รวมทั้งขยายกำลังการผลิตด้วยการตั้งโรงงานใหม่ ขยายไลน์สินค้า และขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่โดยเน้นกลุ่มโปรเจ็กใหญ่ และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์”   ขณะที่นายไบรอัน โบ อัน ชาง ผู้บริหารจากคูลิส เนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า คูลิสมีแนวคิดในการผลิตม่านที่คำนึงถึงการยกระดับคุณภาพชีวิต และปกป้องชีวิต ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของเจ้าของบ้านและดีไซเนอร์ยุคใหม่ หนึ่งในตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของคูลิสที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปกป้องชีวิตผู้ใช้งาน คือ การที่คูลิสเลือกที่จะทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในระดับสูงจาก Greenguard นอกจากนี้ คูลิสยังมุ่งที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโลก รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีฟังก์ชันอัจริยะที่จะสร้างความสุข และทำให้ผู้ใช้งานมีชีวิตที่ดีขึ้น   การที่บีไอดับบลิวเป็นผู้นำในตลาด มีแผนการตลาดที่น่าสนใจ ประกอบกับความโดดเด่นของคูลิสที่เป็นอันดับ 1 ของโลกเรื่องดีไซน์และแฟชั่น รวมถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ทำให้เราเชื่อมั่นว่าม่านของคูลิสที่นำมาทำตลาดครั้งนี้ทั้ง Eve Motion และ Eco Luxury จะได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลกที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้ ในส่วนของเซิร์จ เฟอรารี่ นับเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าม่านกลางแจ้งอันดับ 1 ของโลก ผ้าของเซิร์จ เฟอรารี่ มีความโดดเด่นแตกต่างจากผ้าทั่วไป โดยได้รับความไว้ใจจากโครงการระดับโลกมากมาย ทั้งหลังคาสนามฟุตบอลโลกที่การ์ตา รวมถึงสนามฟุตบอลและเรือยอชต์ที่สำคัญทั่วโลก และยังมีผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบให้เลือก ทั้งที่เป็นโครงสร้างถาวร และโครงสร้างเบา โดยมุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีให้ผู้ใช้งาน และใส่ใจสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เปิดแผน “บีไอดับบลิว” รุกตลาดผ้าม่านม้วน 2,000 ล้าน
[PR News]โฟกัส มีเดีย​ ลุยสื่อโฆษณาในลิฟท์ออฟฟิศ-คอนโด  เดินหน้าสร้างกำไร ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์

[PR News]โฟกัส มีเดีย​ ลุยสื่อโฆษณาในลิฟท์ออฟฟิศ-คอนโด เดินหน้าสร้างกำไร ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์

โฟกัส มีเดีย เดินหน้ารุกตลาดโฆษณาในลิฟท์ทั้งออฟฟิศ-คอนโด  เผยผลงานไตรมาสแรกปีนี้ก้าวกระโดดมั่นใจถึงปลายปีกวาดยอด 250 ล้าน  วางเป้าหมายทำกำไรต่อเนื่อง ปูทางเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์   นายเลมอน ลี รองประธานฝ่ายขาย บริษัท โฟกัส มีเดีย (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านสื่อโฆษณาในและนอกลิฟท์ (Lift Advertising / Elevator Media) อาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียม  เปิดเผยว่า  ตลาดที่ประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว  นับจากเดือนกรกฎาคม 2565 ที่มีสื่อโฆษณา 3,000 จอ ถึงปี 2566 ไตรมาสแรก จำนวนสื่อทะลุเกิน 10,000 จอ  เป็นผลจากการขยายทีมงานจากแค่ 20 คน เป็นประมาณ100 คนทำให้บุกตลาดได้มากขึ้น   ปี 2565 มียอดขายทั้งปี 20 ล้านบาท  ปี 2566 ไตรมาสแรกยอดขายทะลุ 20 ล้านบาทไปแล้ว  จึงตั้งเป้าหมายทั้งปีไว้ที่ 250 ล้านบาท ซึ่งค่อนข้างมั่นใจว่าจะทำได้เมื่อขยายทีมงานได้เพียงพอ  และเชื่อในBusiness Model จากประสบการณ์ 20 ปีในจีน โควิดไม่มีผลต่อตลาดมากนักเพราะ INDOOR MEDIA ไม่เหมือน OUTDOOR MEDIA แม้ช่วงล็อคดาวน์ยังไงก็ต้องใช้ลิฟท์  ความจริงเป็นโอกาสของINDOOR MEDIA ด้วยซ้ำ  มีผลให้ตลาดเติบโตในช่วงนี้อย่างไรก็ตาม ​ตอนนี้บุคลากรยังไม่พอเพียงสำหรับการเจาะตลาดและการติดตั้งจอในช่วงไตรมาสสองจึงต้องปรับจังหวะให้เหมาะสม  เป้าหมายถึงสิ้นปีคือ 15,000 – 18,000 จอ  โดยจะมุ่งเป้าอาคารสำนักงานขนาดใหญ่  ไฮเปอร์มาร์เก็ตของค่ายต่างๆทั่วประเทศ   หัวเมืองสำคัญอาทิจังหวัดชลบุรีที่มีอยู่แล้ว 700 จอ  จะขยายตลาดให้ถึง 5,000 จอ  ส่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก็ยังมีโอกาสอีกมากเพราะประเมินว่ามี INDOOR MEDIA ไม่ถึง 50,000 จอ   ทั้งนี้ จอโฆษณาเดิมมีขนาด 21 นิ้ว  ตั้งแต่ปี 2565 ได้เปลี่ยนให้เด่นชัดขึ้นเป็นขนาด 25-32 นิ้ว ฉายวิดีโอได้  จอโฆษณานี้มีทั้งในลิฟท์ นอกลิฟท์ และลิฟท์ที่จอดรถ   นายเลมอน ลี กล่าวอีกว่า 4 ปัจจัยสนับสนุนการตลาดของโฆษณาในลิฟท์  ได้แก่  1.กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท และเป็นกลุ่มคนทำงานในเมืองที่อาศัยอยู่ในคอนโด  คือผู้ใช้ลิฟท์ที่มีโอกาสเห็นจอโฆษณามากที่สุด  2. มีเส้นทางการเดินทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตประจำวันที่ต้องใช้ลิฟท์ในคอนโด​ และอาคารสำนักงาน  3. ลิฟท์ คือ พื้นที่ปิด  คนเข้าลิฟท์ไม่รู้จักกัน  มีแต่จอโฆษณา ความสนใจอยู่ที่จอเท่ากับถูกบังคับให้ดู 4-8 ครั้งต่อวัน  และ 4.ในพื้นที่ปิด ด้วยความถี่ที่สูงทำให้เกิดประสิทธิภาพต่อการรับรู้ได้เป็นอย่างดี ในชีวิตประจำวันแม้สายตาจะถูกดึงดูดจากป้ายโฆษณาและโทรศัพท์มือถือ  แต่ก็ผ่านไปอย่างรวดเร็วไม่เป็นที่จดจำ  ในขณะที่ลิฟท์คือสิ่งที่ต้องเผชิญตั้งแต่เริ่มงานจนเลิกงาน  สำหรับ ตลาดโฆษณาในไทยมีมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือประมาณ 100,000 ล้านบาท​ แบ่งเป็นสื่อโทรทัศน์ 50%  สื่ออินเตอร์เน็ท 20%   สิ่งพิมพ์และโรงภาพยนตร์ 10% สื่อ Out of Home (OOH) 10-12%   ซึ่งงานของโฟกัส มีเดียอยู่ในกลุ่ม OOH  โดยตลาดโฆษณาของไทยวันนี้เหมือนกับตลาดจีนเมื่อ 10-15 ปีก่อน   นายเลมอน กล่าวในตอนท้ายว่า  เป้าหมายของบริษัทคือต้องการแชร์ส่วนแบ่งการตลาด 2-3%  เมื่อต้นปีซีอีโอของโฟกัส มีเดียจากประเทศจีนมาประชุมกับทีมงานไทย  มีการคุยกันถึงการเตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย  นั่นหมายถึงต้องทำกำไรต่อเนื่อง 3 ปี และต้องมียุทธศาสตร์ในระยะยาวซึ่งบริษัทกำลังหาผู้ร่วมงานด้านการเก็บและวิจัยข้อมูลมาช่วยสร้างความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น   อนึ่ง บริษัท โฟกัส มีเดีย(ประเทศไทย) จำกัด  อยู่ในเครือของบริษัท โฟกัส มีเดีย ประเทศจีน  ซึ่งบริษัทแม่ที่จีนนั้นมีส่วนแบ่งการตลาดในจีนเกินกว่า 1 แสนล้านหยวน(5 แสนล้านบาท)  มียอดขาย 16,000 ล้านหยวนต่อปี  ปี2548 จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แนสแด็กที่สหรัฐอเมริกา  ปี2549 ติดท็อป100ของแนสแด็ก  ปี2558 ถอนจากตลาดแนสแด็กไปจดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น  สาธารณรัฐประชาชนจีน   ปี 2560  โฟกัส มีเดีย เริ่มขยายออกต่างประเทศในแถบเอเชียที่เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย และไทย  ปี 2564 สาขาเกาหลีใต้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  เป็นจุดเปลี่ยนให้บริษัทแม่ที่จีนให้ความสำคัญต่อตลาดต่างประเทศมากขึ้นทั้งด้านเงินทุนและบุคลากร  โดยเฉพาะในสิงคโปร์และไทยที่มีตลาดหลักทรัพย์   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -5 โซลูชั่น “S-E-N-S-E” การออกแบบการพัฒนาเมือง กับวิถีชีวิต The Next Normal
เรื่องต้องคิด  เลือกซื้อบ้าน สำหรับมือใหม่

เรื่องต้องคิด เลือกซื้อบ้าน สำหรับมือใหม่

เลือกซื้อบ้าน  เรื่องของ "ที่อยู่อาศัย" นอกจากจะเป็นความจำเป็นของชีวิต ตามปัจจัย 4 แล้ว ที่อยู่อาศัย หรือ บ้าน ยังเป็นความฝันของคนส่วนใหญ่ ที่ในชีวิตหนึ่ง ก็อยากจะเป็นเจ้าของ ใครที่ยังไม่มีบ้าน จึงอยากจะมีบ้านเป็นของตนเองสักหลังหนึ่ง หรืออย่างน้อย คอนโดมิเนียมสักห้อง การซื้อบ้านอาจจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบ้านมีมูลค่าสูงมาก อาจจะเป็นสินค้าชิ้นเดียวในชีวิตของคน ๆ หนึ่งที่มีมูลค่าสูงที่สุดก็ได้  แถมมีรายละเอียดให้คิดเยอะด้วย   วันนี้ Reviewyourliving จึงมีบทความ เรื่องต้องคิด เลือกซื้อบ้าน สำหรับมือใหม่ มาเป็นคำแนะนำ สำหรับคนที่อยากจะซื้อบ้านหลังแรกมาฝากกัน เรื่องต้องคิด เลือกซื้อบ้าน สำหรับมือใหม่ 1.เลือกซื้อบ้านแบบไหน? สำหรับคนที่อยากซื้อบ้าน ซึ่งไม่ใช่คอนโดมิเนียม อาจจะต้องมาตอบคำถามตัวเองก่อนอันดับแรกว่า อยากซื้อบ้านแบบไหน เพราะรูปแบบบ้านที่มีขายกันในปัจจุบัน จะแบ่งเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน คือ บ้านเดี่ยว คือ บ้านที่ไม่มีผนังด้านใดติดกับบ้านอีกหลังหนึ่งเลย มักจะมีพื้นที่บริเวณโดยรอบตัวบ้าน ซึ่งบ้านเดี่ยวมีทั้งแบบชั้นเดียวและสองชั้น แต่ระยะหลังด้วยที่ดินแพงขึ้น ทำให้มีการพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวแบบสามชั้นขึ้นไปมากขึ้น   บ้านเดี่ยวเหมาะสำหรับคนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง และต้องการมีพื้นที่รอบ ๆ บ้านเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการ และสามารถอยู่อาศัยกันหลายเจเนอเรชั่นได้ตามขนาดบ้าน บ้านแฝด คือ บ้านที่มีลักษณะคล้ายบ้านเดี่ยวสองหลังอยู่ติดกัน โดยมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่ทำติดกัน เช่น ผนังบ้านด้านข้าง คาน แต่ปัจจุบันมีการออกแบบให้คานใต้ดินติดกัน ทำให้บางครั้งก็ดูเหมือนไม่ใช่บ้านแฝด นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดในเรื่องของขนาดที่ดินด้วย บ้านแฝดต้องมีที่ดินไม่ต่ำกว่า 35 ตารางวา ความหว้างที่ดินไม่ต่ำกว่า 16 เมตรแบ่งเป็นข้างละ 8 เมตร และมีระยะร่นด้านหน้าไม่ต่ำกว่า 3 เมตร กรณีที่บ้านไม่ได้ติดถนนหลัก ต้องเพิ่มระยะร่นด้านหน้าเป็น 6 เมตรด้วย และระยะร่นด้านด้านข้างและด้านหลังเว้นไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ปัจจุบันบ้านแฝดเริ่มพัฒนามากกว่า 2 ชั้น เป็นบ้านแฝด 3 ชั้นให้เห็นบ้างแล้ว   บ้านแฝด เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความเป็นส่วนตัว แต่มีงบประมาณน้อยกว่าการไปซื้อบ้านเดี่ยว เพราะราคาบ้านแฝดมักถูกกว่าบ้านเดี่ยว บ้านแฝดสามารถอยู่อาศัยได้หลายเจเนเรชั่น เหมือนกับบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรือทาวน์โฮม สำหรับทาวน์เฮ้าส์กับทาวน์โฮม จริง ๆ มีลักษณะคล้ายกัน คือ เป็นรูปแบบของบ้านที่ปลูกติดกันเป็นแถวเรียงกัน ทำให้ทาวน์เฮ้าส์หรือทาวน์โฮมจะต้องมีผนังติดกับบ้านด้านข้างทั้งสองด้าน ยกเว้นหลังแรกและหลังสุดท้าย ที่มักจะมีพื้นที่บริเวณด้านข้างบ้าน   แม้ทาวน์เฮ้าส์ และทาวน์โฮม จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันที่ชัดเจนอย่างหนึ่ง คือ ​ทาวน์เฮ้าส์ มักจะก่อสร้างขนาดความสูงไม่เกิน 2 ชั้น มีพื้นที่ขนาดเล็กทั้งที่ดินและตัวบ้าน และสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการมักไม่ค่อยมีอะไรพิเศษ   ส่วนทาวน์โฮมเป็นรูปแบบบ้านที่ต่อยอดมาจากทาวน์เฮ้าส์ (บางโครงการก็เรียกทาวน์เฮ้าส์ เป็นทาวน์โฮม เพื่อยกระดับโครงการให้ดีขึ้น ตามสิ่งอำนวยความสะดวกที่โครงการนั้นมี) ปัจจุบันมักจะก่อสร้างให้มีขนาดความสูงตั้งแต่ 3-5 ชั้น   ทาวน์เฮ้าส์ เหมาะสำหรับครอบครัวขนาดเล็ก เพราะพื้นที่บ้านค่อนข้างจำกัด และคนที่มีงบประมาณจำกัด แต่ยังต้องการพื้นที่ใช้สอยมากกว่าการอยู่ในคอนโดมิเนียม   ทาวน์โฮม เหมาะสำหรับครอบครัวที่อยู่กันหลายเจเนอเรชั่น เพราะมักจะมีพื้นที่มาก โฮมออฟฟิศ เป็นบ้านอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้อยู่อาศัยมีการใช้พื้นที่ของบ้านเพื่อทำธุรกิจ หรือทำเป็นสำนักงาน โดยรูปแบบบ้านเป็นการพัฒนามาจากตึกแถว หรืออาคารพาณิชย์ และผสมผสานกับรูปแบบของทาวน์โฮม ทำให้หน้าตาทันสมัย สวยงาม มีพื้นที่ด้านข้าง ภายในบ้านมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมาะกับการทำเป็นสำนักงาน ราคาค่อนข้างสูง เพราะมักจะเป็นโครงการในทำเลที่ดี   โฮมออฟฟิศ เหมาะสำหรับคนที่ประกอบอาชีพอิสระ ต้องการทำงานและพักอาศัยอยู่ในสถานที่เดียว ราคาโฮมออฟฟิศค่อนข้างสูง เพราะอยู่ในทำเลที่ดีเหมาะสำหรับการค้าขาย หรือทำธุรกิจ มากกว่าการอยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว 2.เลือกทำเลที่ต้องการ เมื่อได้รูปแบบบ้านที่ต้องการแล้ว ก็มาเลือกกันว่าต้องการอยู่ในทำเลไหน ซึ่งแต่ละทำเลก็จะมีการพัฒนาบ้านแตกต่างกันไป ทั้งรูปแบบ และระดับราคา นอกจากนี้ยังมีเรื่องต้องพิจารณาที่สำคัญเกี่ยวกับทำเล อาทิ ความสะดวกในการเดินทาง ดูสิ่งอำนวยความสะดวก มลภาวะทางอากาศและเสียง และเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ พวกน้ำท่วม หรือไม่​ 3.วางงบประมาณที่ต้องการซื้อ วางงบประมาณที่ต้องการซื้อบ้าน ซึ่งงบประมาณก็จะเป็นตัวคัดกรองว่าเราจะหารูปแบบบ้าน ในทำเลที่ต้องการได้หรือไม่ นอกจากราคาบ้านแล้ว เรายังต้องวางงบประมาณที่เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จะตามมาด้วย ซึ่งปกติเราควรมีเงินเก็บหรือเงินออมไว้ก่อนสัก 20% สำหรับผ่อนดาวน์ หรือเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งใครอยากรู้ว่า ถ้าจะซื้อบ้านจะมีค่าใช้จ่ายอะไรอีกบ้างที่ต้องเตรียมเอาไว้ ต้องไปอ่านบทความ อัปเดต ค่าใช้จ่ายซื้อบ้าน และคอนโด 2566 มีอะไรบ้าง?  ที่ได้นำเสนอไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อนำมาทำเช็คลิสต์กันดูก่อน 4.หาข้อมูลบ้าน-สำรวจทำเล-ดูบ้านตัวอย่าง หลังจากตอบคำถามตัวเองตั้งแต่ข้อ 1-3 เรียบร้อยแล้ว เราก็มาหาข้อมูลบ้านที่ต้องการกัน ซึ่งเดี๋ยวนี้ทำได้ง่าย ๆ มีข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตให้รวบรวมก่อนที่บ้าน หลังจากรวบรวมได้ข้อมูล และนำเอาข้อมูลของแต่ละโครงการมาเปรียบเทียบกันแล้ว ก็ถึงเวลาลงพื้นที่สำรวจโครงการ เพื่อดูสภาพแวดล้อม และการเข้าไปชมบ้านตัวอย่างจริง รวมถึงสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ทางโครงการมีเอาไว้ให้ต่อไป   ทั้งหมดนี้ ก็เป็นหลักเกณฑ์เริ่มต้นในการพิจารณา การเลือกซื้อบ้านสำหรับมือใหม่ ซึ่งใช้ได้กับทุกคนที่อยากจะมีบ้านในฝันสักหลัง เพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเอง และคนที่คุณรัก  แต่ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาประกอบด้วย เพื่อให้เราได้บ้านที่ดี ตรงใจ และไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง   ที่มา – ธอส., แลนด์แอนด์เฮ้าส์   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -4 เทรนด์การเลือกซื้อบ้าน หลังหมดโควิด-19 ยุควิถีชีวิต Nex normal -ไขความลับ “คนสูงวัย” เลือกซื้อบ้านยังไง ตอบโจทย์ชีวิตเกษียณ  
คอตโต้ จับ 5 บริษัทรวมกลุ่มสู่ SCG Decor  ลุยตลาดวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์

คอตโต้ จับ 5 บริษัทรวมกลุ่มสู่ SCG Decor ลุยตลาดวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์

คอตโต้ จับ 5 บริษัทในกลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ รวมเป็นหนึ่งเดียว สู่กลุ่ม SCG Decor บุกตลาดอาเซียน ขยายฐานจับลูกค้ากว่า 560 ล้านคน หวังเติบโตถึง 6 เท่า ชู 5 กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ​ ​   นายนำพล มลิชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ คอตโต้ (COTTO) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด หรือ SCG Decor เปิดเผยว่า COTTO เป็นบริษัทที่เติบโตต่อเนื่องและมีผลประกอบการที่ดี โดยมียอดขายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 33.0%  อีกทั้งนักลงทุนให้ความสนใจและเชื่อมั่นด้วยดีตลอดมา   อย่างไรก็ตาม COTTO ยังมีโอกาสขยายตลาดให้ครอบคลุมทุกวัสดุตกแต่งพื้นผิว ดังนั้นการปรับโครงสร้างโดยการขยายสินค้าให้ครอบคลุมทุกวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ พร้อมทั้งขยายธุรกิจไปยังตลาดอาเซียนที่มีศักยภาพสูง ภายใต้ SCG Decor นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้น รวม 5 บริษัทสู่ SCG Decor SCG Decor เป็นบริษัทแกนหลักของ เอสซีจี ในการประกอบธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ (Decor Surfaces & Bathroom) พร้อมช่องทางจัดจำหน่ายทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน โดยมีกลุ่มบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่   1.บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ COTTO ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศไทย มียอดขายกระเบื้องเซรามิกเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 33.0%   2.บริษัท สยามซานิทารีแวร์ จำกัด (SSW) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสุขภัณฑ์ในประเทศไทยและส่งออกไปต่างประเทศ มียอดขายสุขภัณฑ์เป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 32.8%   3.Prime Group ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศเวียดนาม มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 26.4%   4.บริษัท Mariwasa-Siam Ceramics, Inc (MSC) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศฟิลิปปินส์ มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 16.8%   5.PT Keramika Indonesia Assosiasi, Tbk (KIA) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากร 274 ล้านคน สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน   นายนำพล กล่าวว่า  การรวมแต่ละบริษัทในกลุ่มธุรกิจกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และสุขภัณฑ์ของ เอสซีจี เข้ามาอยู่ภายใต้ SCG Decor  เป็นการเสริมความแข็งแกร่ง และสร้างประโยชน์สูงสุดจากการประสานพลังร่วมกันระหว่างทุกบริษัท (Business Synergy) เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และเร่งการขยายการเติบโตอย่างรวดเร็วไปสู่ภูมิภาคอาเซียน  ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายครอบคลุมทุกวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ รวมถึงช่องทางจัดจำหน่ายทั้งในประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกระดับได้อย่างครบวงจร โดยมีโอกาสสร้างการเติบโตได้ถึง 6 เท่า จากประชากรไทยที่มี 70 ล้านคนไปสู่ตลาดที่มีประชากรมากกว่า 560 ล้านคน   (1 อ้างอิงมูลค่าตลาดสำหรับปี 2564 ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย เทียบกับมูลค่าตลาดรวมของประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย ตามรายงานของ Euromonitor) การปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้นของ COTTO ที่เปลี่ยนเป็นผู้ถือหุ้นของ SCG Decor คือ ยกระดับเป็น ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ประกอบธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและธุรกิจสุขภัณฑ์ชั้นนำระดับอาเซียน และยังคงสถานะเป็น ผู้ถือหุ้นทางอ้อมของ COTTO และบริษัทในกลุ่ม SCG Decor 5 กลยุทธ์เติบโตในอาเซียน 5 กลยุทธ์ SCG Decor เติบโตสู่ผู้นำธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน ได้แก่ 1.ขยายตลาดสู่อาเซียน ขยายธุรกิจสุขภัณฑ์ (Bathroom) จากประเทศไทย เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในอาเซียน ซึ่งกลุ่มสุขภัณฑ์ ในประเทศไทย เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตรากำไรสูง มียอดขายและส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 โดยนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ “COTTO Smart Toilet” ตอบโจทย์เทรนด์ด้านสุขภาพและอนามัย 2.สร้างแบรนด์วัสดุตกแต่งพื้นผิว ต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจตกแต่งพื้นผิว (Decor Surfaces) ทั้งในประเทศไทยและในอาเซียน โดยประยุกต์โมเดลธุรกิจที่เข้มแข็งของไทยถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเร่งการเติบโต ผลักดันแบรนด์สินค้าทุกประเทศให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เช่น PRIME ในเวียดนาม MARIWASA ในฟิลิปปินส์ และ KIA ในอินโดนีเซีย พร้อมเสริมความแข็งแกร่งทุกช่องทางการขาย และขยายการส่งออกไปทั่วโลก ด้วยนวัตกรรมการออกแบบและวิจัย นำเสนอสินค้าหลากหลาย ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่กลุ่มประหยัด กลุ่มมาตรฐาน และกลุ่มพรีเมียม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA - High Value Added Products & Services) เช่น “LT แผ่นปูพื้น Smart Flexible by COTTO” นวัตกรรมวัสดุสร้างความยืดหยุ่น ติดตั้ง-ดูแลสะดวก ลวดลายและสัมผัสเสมือนธรรมชาติ “AIR ION” กระเบื้องฟอกอากาศ และสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ผลิตภัณฑ์ติดตั้งและซ่อมแซม  ปูนกาว และยาแนว เป็นต้น 3.แตกไลน์ธุรกิจใกล้เคียงเพิ่ม ขยายธุรกิจสู่ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านการให้บริการแบบครบวงจร เพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ด้านตกแต่งพื้นผิว สุขภัณฑ์ และบริการ ด้วยโซลูชั่นแบบครบวงจรจากการผนึกกำลังของบริษัทในกลุ่มและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 4.บริหารซัพพลายเชนทั้งผลิต-จัดหา การบริหารห่วงโซ่อุปทานทั้งด้านการผลิตและการจัดหาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Regional Optimization and Global Sourcing Powerhouse) ผสานความร่วมมือระหว่างฐานการผลิตในภูมิภาคและบริษัทในกลุ่มเพื่อบริหารกำลังการผลิตในภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพและสรรหาผลิตภัณฑ์ชั้นนำจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก 5.สร้างสินค้ามาตรฐานโลก เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนด้วยมาตรฐานระดับโลก พัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลกและกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ลดของเสียจากการผลิตและนำกลับมาหมุนเวียนเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อสร้างรายได้ ลดต้นทุนพลังงานด้วยการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและเพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มุ่งบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 (NET ZERO 2050) สอดคล้องกับแนวทาง ESG (Environmental, Social, and Governance)   นายนำพล กล่าวเสริมว่า SCG Decor เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีรายได้จากการขาย ปี 2563 – 2565 ที่ 24,378.6 ล้านบาท 25,937.4 ล้านบาท และ 30,253.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.4% และ 16.6% ตามลำดับ ปี 2565 ส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดในอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และประเทศอื่น ๆ รวมกว่า 53 ประเทศ มีรายได้จากการส่งออกกว่า 4,500 ล้านบาท คิดเป็น 15.0% ของรายได้รวม   ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการของ COTTO เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 พิจารณาให้นำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น COTTO เพื่อขออนุมัติเพิกถอนหุ้นของบริษัทฯ ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ตามแผนการปรับโครงสร้างบริษัทร่วมกับ SCG Decor โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ COTTO ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นของ COTTO คัดค้านการเพิกถอนหลักทรัพย์เกินกว่า 10% ในวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 ปูพรมจับตลาด 560 ล้านคน นายสมิทธิ โกสีย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัทเอสซีจี เดคคอร์ จำกัด  กล่าวว่า อุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก และอุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ ทั้งในประเทศไทย รวมถึงเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง รองรับประชากรเกือบ 560 ล้านคน มีมูลค่าตลาดกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และสุขภัณฑ์ รวมกันกว่า 1.9 แสนล้านบาท  จึงเป็นโอกาสที่  SCG Decor จะขยายธุรกิจและเติบโตต่อไปในอาเซียนได้อีก   ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ปี 2565-2569 ของ ตลาดกระเบื้องเซรามิกในประเทศไทยเติบโตเฉลี่ย 1.2% ขณะที่ตลาดในไทย รวม เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เติบโตเฉลี่ย 7.1% SCG Decor ส่วนตลาดสุขภัณฑ์ในประเทศไทยเติบโตเฉลี่ย 2.1% เทียบกับรวม 3 ประเทศข้างต้น เติบโตเฉลี่ยต่อปี 8.6% (อ้างอิงจาก Euromonitor ปี 2564)   เมื่อ COTTO ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว SCG Decor จะยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ยื่นแบบ Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุมัติการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ภายหลังจากแบบไฟลิ่งมีผลใช้บังคับ SCG Decor จะเริ่มทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ COTTO ในราคา 2.40 บาทต่อหุ้น โดยจะชำระค่าหุ้นเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ SCG Decor เท่านั้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับการเสนอขายหุ้น IPO ของ SCG Decor หลังจากการทำคำเสนอซื้อสิ้นสุดลง COTTO จะถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยผู้ถือหุ้น COTTO ที่ตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นของ SCG Decor และยังคงเป็นเจ้าของ COTTO ทางอ้อม จากนั้น SCG Decor จะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป   นายนำพล กล่าวสรุปเพิ่มเติมว่า บริษัท ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุน และได้รับการอนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์จากผู้ถือหุ้น COTTO ในปัจจุบัน รวมถึงมอบความไว้วางใจตอบรับคำเสนอซื้อในครั้งนี้ ด้วยการแลกหุ้นและกลายเป็นผู้ถือหุ้นของ SCG Decor ต่อไป พร้อมทั้งขอเรียนเชิญผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทุกท่าน ร่วมเป็นพลังสำคัญในการนำ SCG Decor สยายปีกสู่การเป็นผู้นำธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -คอตโต้ เผย 5 ดีไซน์เทรนด์สุขภัณฑ์หลังโควิด กับ 2 ความท้าทายหลังเปิดประเทศ
ไนท์แฟรงค์  มองตลาดอสังหาฯ ปี 66    “ท่องเที่ยว-ไมซ์-บ้านหรู” ตัวเร่งกำลังซื้อ

ไนท์แฟรงค์ มองตลาดอสังหาฯ ปี 66   “ท่องเที่ยว-ไมซ์-บ้านหรู” ตัวเร่งกำลังซื้อ

ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จัดงาน “Knight Frank Foresight 2023 It’s Time to Look Beyond the Crisis” เจาะลึกภาพรวมตลาดและแนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ไทย ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกของปี 2566 ฟื้นตัวต่อเนื่อง เผยสัญญาณบวกจากกำลังซื้อระดับบน ดันตลาดบ้านหรู กรุงเทพฯ และปริมณฑล ยอดขายโต 19,476 ยูนิต จับตาวิลล่าและคอนโดฯ ภูเก็ตร้อนแรงจากกลุ่มลูกค้ารัสเซียและจีน ด้านตลาดโรงแรมผ่านจุดต่ำสุดเริ่มขยับพร้อมรับมือตลาดไมซ์ 5 ไฮไลท์ตลาดอสังหาฯ ทำเลวิทยุ หลังสวน และเอกมัย 3 ทำเลยอดฮิตทั้งความต้องการซื้อ และตัวเลขการขายต่อ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 บ้านเดี่ยว 10 -100 ล้านขึ้นไป ทำยอดขาย 19,476 ยูนิต คิดเป็น 2 % จากทั้งหมด 24,602 ยูนิต อสังหาฯ ภูเก็ตฟื้นตัวรับกำลังซื้อชาวรัสเซียและจีน ปักหมุดหาดบางเทา และ หาดลายัน แนวโน้มความต้องการอาคารสำนักงาน แนวคิด ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และความยั่งยืนเติบโตต่อเนื่อง ตลาดโรงแรมทุกเซกเมนต์​เตรียมพร้อมกำลังคนรับธุรกิจฟื้นจากลูกค้ากลุ่มทัวร์และนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ (MICE) นายแฟรงค์ ข่าน กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายที่พักอาศัย บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด  เปิดเผยว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2566 มีสัญญาณเชิงบวกจากโครงการใหม่หลายแห่งที่รอเปิดตัว ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้ซื้อที่สูงขึ้น การเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะเกิดขึ้น และการเปิดประเทศจีน คาดว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง   ส่วนตลาดคอนโดมิเนียมในกลุ่ม Branded Residence ยังมีอัตราการขายได้ดีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากลูกค้าเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูง อาทิ คนไทย สิงคโปร์ และฮ่องกง  เป้าหมายเพื่อการลงทุนระยะยาว และซื้อเพื่ออยู่อาศัย ทำเลแรไอเทม ประทับใจการให้บริการระดับ 5-6 ดาว เพราะมองว่าอนาคตราคามีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง   ในส่วนโครงการคอนโดเปิดใหม่ และการขายต่อคอนโดหรูหลายแห่ง มีผลประกอบการที่ดีและเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 การขายต่อคอนโด​มีความต้องการและยอดขายสูงในทำเลวิทยุ หลังสวน และเอกมัย ซึ่งรับอานิสงส์กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นจากต่างชาติหลังการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และ ส่วนใหญ่กระตุ้นการขายด้วยส่วนลดประมาณ 15% อุปทานรวมของธุรกิจอสังหาฯ มีทั้งสิ้น 8,953 ยูนิต ส่วนใหญ่อยู่ในชานเมืองกรุงเทพฯ โดยที่การเปิดตัวใหม่นั้นมีการปรับตัวลดลง 9.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 และลดลง 20.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในด้านความต้องการโครงการอสังหาฯ ​ใหม่ก็ลดลงเช่นกัน เหลือเพียง 28.8%​จาก 30.7% ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ซึ่งราคาขายคอนโดในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในทุกพื้นที่เฉลี่ย 0.29%​ เนื่องจากรัฐบาลยุติมาตรการ LTV ( Loan to Value :LTV)  โดยที่ลูกค้ากลุ่มหลักของตลาดนี้ยังเป็นนักลงทุนที่ซื้อเพื่อปล่อยเช่า บ้านเดี่ยว 10 – 20 ล้านเติบโตสูง ผลสำรวจบ้านระดับบนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่าบ้านราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทถึง 100 ล้านบาทขึ้นไป มียอดขาย 19,476 ยูนิต คิดเป็นยอดขาย 79.2%​ จากทั้งหมด 24,602 ยูนิต  ทั้งนี้ อัตราการขายจะลดลง 3.9% จากครึ่งแรกของปี 2565 แต่ก็เพิ่มขึ้น 1.9%​ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งเป็นผลจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นสองเท่าของอุปทานที่มีเหลืออยู่ คาด 1-2 ปีตลาดคอนโดภูเก็ตฟื้นตัวสู่สภาวะปกติ ภูเก็ตยังเป็นตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อพักผ่อนที่ได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยคอนโดเปิดขายใหม่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณหาดบางเทามากถึง 45%​ รองลงมาเป็นที่หาดลายัน 31%​ และอื่น ๆ   ในภาพรวมตลาดคอนโดในจังหวัดภูเก็ตช่วงปลายปี 2565  ขายได้ 18,613 ยูนิต จาก 24,211 ยูนิต คิดเป็นยอดขาย 76.9%  ลดลงจากปี 2564 ณ ปัจจุบันมียูนิตเหลือขายอยู่ในตลาด 5,598 ยูนิต โดยภาพรวมคาดว่าตลาดจะกลับสู่ภาวะปกติเหมือนช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 ได้ภายใน 1-2 ปี นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียแห่ซื้อวิลลาภูเก็ต ทิศทางตลาดวิลลา มีแนวโน้มสดใส อุปสงค์และอุปทานเติบโตทั้งการซื้อและเช่า จากกำลังซื้อที่เกิดขึ้นพบว่าชาวต่างชาติบางคนสนใจซื้อบ้านที่ภูเก็ตไว้เป็นบ้านหลังที่สอง ในขณะที่บางคนสนใจเช่าวิลลามากกว่าคอนโดมิเนียม เพราะต้องการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับครอบครัว และยังสามารถปล่อยเช่า สร้างผลตอบแทนได้ 8-10% ต่อปี   ในช่วงปลายปี 2565 วิลลาในภูเก็ต ขายได้ 3,595 จากทั้งหมด 4,375 ยูนิต คิดเป็นอัตราขาย 82.1% เพิ่มขึ้น 1% จากปี 2564 ที่มียูนิตใหม่ขายได้ 341 หลัง จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดวิลล่าเป็นผลมาจากนักท่องเที่ยวรัสเซียเดินทางเข้ามาในไทยด้วยเหตุผลต้องการหนีภาวะสงคราม และเพื่อท่องเที่ยวในช่วงไฮซีซั่น ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับนโยบายของประเทศที่จะประกาศห้ามโอนเงินข้ามประเทศหรืออาญัติบัญชี ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมประเภทเดบิตได้ในอนาคต   โดยทำเลที่ได้รับความนิยมในการพัฒนาวิลล่ามากที่สุดอยู่ในพื้นที่ตำบลเชิงทะเล แม้ไม่ติดชายหาด แต่เป็นทำเลใกล้ภูเขาและป่าไม้บรรยากาศโดยรวมเงียบสงบกว่าและเหมาะแก่การพักผ่อน   นายณัฏฐา คหาปนะ กรรมการผู้จัดการ ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย  กล่าวว่า ตลาดอสังหาฯ ในภูเก็ตได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว โดยชาวรัสเซียมีสัดส่วนมากถึง 40-60% จากลูกค้าทั้งหมด หากเทียบกับเมื่อก่อนจะมีสัดส่วนเพียง 10-15% เท่านั้น โดยความสนใจจะอยู่ที่ทำเลหาดกะตะ หาดกะรน หาดป่าตอง หาดกมลา หาดบางเทา เชิงทะเล (ลากูนา) และหาดในทอน ทำให้ราคาอสังหาฯ ในพื้นที่ดังกล่าวขยับขึ้นอีก 15-20%   ทั้งนี้คาดว่าความต้องการของลูกค้ารัสเซียจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีก 1-2 ปีข้างหน้า โดยการตัดสินใจซื้อจะมองเรื่องทำเล ราคาขาย และชื่อเสียงของผู้พัฒนาโครงการ ซึ่งนอกจากชาวรัสเซียแล้วยังมีความต้องการจากลูกค้าชาวจีนสนับสนุนเข้ามาอีกทางหนึ่ง ESG สำนักงานสีเขียวทางเลือกใหม่ของผู้เช่า อุปสงค์ของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ เติบโตเพียงเล็กน้อยจากไตรมาส 4 ปี 2565 ขณะที่แนวโน้มความต้องการอาคารสำนักงานในแนวคิ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และความยั่งยืนกลับขยายตัวมากขึ้น เห็นได้จากอัตราดูดซับสุทธิของอาคารสีเขียวที่สูงกว่าอาคารทั่วไปในทุก ๆ ไตรมาส   ในช่วงปลายปี 2565 มีพื้นที่อาคารสำนักงานขยายตัว 117,000 ตร.ม.หรือ 2.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ส่งผลให้ภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานมีพื้นที่ 5.79 ล้าน ตร.ม. และในจำนวนเป็นพื้นที่อาคารสำนักงานสร้างใหม่ที่ผ่านการรับรองอาคารสีเขียว 1,180,000 ตร.ม. คิดเป็น 20% ของพื้นที่สำนักงานให้เช่าทั้งหมด   ทั้งนี้หากเจาะลึกเป็นรายเซกเมนต์ พื้นที่อาคารสำนักงานทุกเกรดมีอัตราดูดซับที่เป็นบวก โดยพื้นที่เกรดบีมีอัตราการดูดซับเพิ่มขึ้นสูงสุด 17,200 ตร.ม. ในขณะที่อัตราการเช่าในตลาดโดยรวมยังคงปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 801 บาทต่อ ตร.ม. โดยพื้นที่เกรดเอ เป็นเซกเมนต์เดียวที่มีอัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้น 0.6% นายปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหาร หัวหน้าแผนกอาคารสำนักงาน กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานยังแข็งแกร่งด้วยเม็ดเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากชาวจีนที่เข้ามาลงทุนในไทย โดยมองถึงอาคารสำนักงานที่พร้อมเปิดใช้งาน หรือตกแต่งแล้วบางส่วน ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 200 ถึงกว่า 1,000 ตร.ม. และเดินทางสะดวก ทำเลใกล้ระบบขนส่งสาธารณะ อัตราค่าเช่า และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี   อาคารสำนักงานเก่าควรได้รับการปรับปรุงและซ่อมบำรุงเพื่อมอบสภาพแวดล้อมในการทำงานและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ดีขึ้นเพ่อแข่งขันกับอาคารสำนักงานใหม่ ซึ่งการพัฒนานี้ต้องไม่เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ในการขึ้นค่าเช่า แต่เพื่อดึงให้ลูกค้าเก่าพึงพอใจที่จะเช่าพื้นที่ในระยะยาว   ด้าน นายอายุธพร บูรณะกุล กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์พื้นที่สำนักงานบริการสำหรับโครงการ​ ระบุว่ามีแนวโน้มหลักสองอย่างที่จะมีอิทธิพลต่อการเช่าพื้นที่สำนักงานและอาคารสำนักงาน นั่นคือ Workplace ESG และ The Perfect PM  การเปลี่ยนผ่านสู่แนวคิด ESG เน้นบูรณาการองค์ประกอบของความยั่งยืน การส่งเสริมสุขภาวะ และชีวิตเชิงสังคม รวมถึงการออกแบบจะเป็นกุญแจในการสนองตอบต่อความต้องการของพนักงานหลากหลายช่วงวัย   โดยองค์กรต่างๆ จะมองหาพื้นที่สำนักงานแบบใดขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน นอกจากนี้แนวโน้มการเลือกสถานที่ทำงานตามลักษณะของเนื้องานก็ช่วยลดฟุตพรินท์ทางสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ การสร้างขยะ และต้นทุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมหาศาล   สำหรับ The Perfect PM ครอบคลุมถึงการกำหนดอัตราส่วนที่นั่ง การค้นหาคุณลักษณะที่เหมาะสมของสำนักงานที่ต้องการ ทำเลที่ดีเหมาะสม คำแนะนำและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความยั่งยืน และผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้เพื่อให้มั่นใจว่างานจะเสร็จทันเวลา   นอกจากนี้การเข้ามาของนวัตกรรม SMART จะช่วยเป็นที่ปรึกษาทางเทคโนโลยีให้ผู้เช่าวิเคราะห์ รายงาน และติดตามตรวจสอบข้อมูลของพื้นที่สำนักงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยประสิทธิภาพการทำงานและการผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ากับกฏเกณฑ์ด้านดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม ตลาดโรงแรมรับอานิสงค์การเปิดประเทศ นายคาร์ลอส มาร์ติเนซ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา กล่าวว่าการเปิดประเทศทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวเฉลี่ย 27% จากปี 2562 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 23% และคาดว่าในปี 2566 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะฟื้นกลับมาได้ 70% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่มีตัวเลขนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน สำหรับภาพรวมตลาดโรงแรมไทยในปี 2566 คาดว่าจะเป็นไปในเชิงบวกจากการยุติของโรคระบาด ความต้องการเดินทางของผู้คนที่อัดอั้นมานาน และการเติบโตของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3-4%​ โดยจำนวนผู้เดินทางเข้าประเทศในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2566 อยู่ที่ 60% ของตัวเลขก่อนโควิด-19 และมีระดับการเข้าพักโรงแรม เฉลี่ยอยู่ที่ 72%​ เพิ่มขึ้นจาก 36% ในปี 2565   “คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประมาณ 28 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยว 7-8 ล้านคน แม้ว่าระดับการเข้าพักโรงแรมในปี 2566 จะยังไม่กลับมาเต็มร้อย แต่ราคาห้องพักก็อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงหรือสูงกว่าช่วงก่อนหน้าโควิด-19 โดยโรงแรมที่ได้รับผลบวกนั้นจะครอบคลุมทั้งระดับบน โรงแรมขนาดกลาง  และขนาดเล็ก จากลูกค้ากลุ่มทัวร์ และนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ (MICE) ที่เข้ามาประชุมและจัดสัมมนา   สำหรับความท้าทายที่อุตสาหกรรมโรงแรมในปี 2566 ยังต้องเผชิญคือการขาดแคลนพนักงาน ซึ่งสมาคมโรงแรมไทยกำลังดำเนินมาตรการชั่วคราว เช่น การขอให้พนักงานทำงานควบตำแหน่งหรือเพิ่มชั่วโมงการทำงาน การจ้างพนักงานชั่วคราว และการเพิ่มค่าตอบแทน ส่วนมาตรการระยะยาวประกอบด้วยการรับนักศึกษาจบใหม่และการอนุญาตให้พนักงานต่างชาติทำงานในอุตสาหกรรมบริการ รวมถึงต้นทุนการก่อสร้าง การดำเนินงาน และการเงิน โลจิสติกส์ ไทย รุกบริการ Build-to-Suit ตลาดอสังหาฯ โลจิสติกส์ในครึ่งหลังของปี 2565 อุปทานรวมของคลังสินค้าแบบสร้างเสร็จพร้อมใช้อยู่ที่ 5.35 ล้าน ตร.ม. โดยอัตราค่าเช่ายังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ราคา 158.6 บาท ต่อ ตร.ม. ต่อเดือน ขณะที่ภาพรวมยังคงขยายตัวของอี-คอมเมิร์ซ และการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งลูกค้าหลักที่เช่าพื้นที่ยังเป็นกลุ่มบริษัทโลจิสติกส์ ตามด้วยกลุ่มผู้เช่าจากธุรกิจเฉพาะทาง เช่น กลุ่ม FMCG และผู้ผลิตอุตสาหกรรม   นอกจากนี้แนวโน้มผู้ให้บริการคลังสินค้ากำลังหันไปให้บริการแบบทำพอดี (Built-to-Suit) แทนที่จะเป็นแบบคาดการณ์ล่วงหน้า (Speculative) เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้พื้นที่คลังสินค้าไร้ผู้เช่าเป็นเวลานาน กล่าวได้ว่าอนาคตของอสังหาริมทรัพย์โลจิสติกส์แบบพร้อมใช้งานจะยังคงสอดคล้องกับการเติบโตเฉลี่ยรายปี   ในด้านกระแสการใส่ใจ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และความยั่งยืน ของภาคธุรกิจ กำลังขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นอย่างมาก โดยคลังสินค้าบางแห่งเริ่มปรับตัวไปสู่ทิศทางนี้มากขึ้น เช่น เทคนิคการลดการไหลของน้ำ การเคลือบผิวหน้าตึกสองชั้น การระบายอากาศตามธรรมชาติ และการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา เพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินท์และต้นทุนการดำเนินงาน   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ไนท์แฟรงค์ หวังเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว-จีนเปิดประเทศ กระตุ้นตลาดคอนโดภูเก็ตฟื้นตัว
สิงห์ เอสเตท  เปิด 5 โครงการที่อยู่อาศัยหมื่นล้าน  ขายบ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ หลังละ 550 ล้าน

สิงห์ เอสเตท เปิด 5 โครงการที่อยู่อาศัยหมื่นล้าน ขายบ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ หลังละ 550 ล้าน

สิงห์ เอสเตท เดินหน้าลุยตลาดบ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ เปิดราคาขายตั้งแต่ 20 ล้านถึงกว่า 550 ล้านบาท หลังจัดทัพธุรกิจใหม่  มั่นใจธุรกิจที่อยู่อาศัยโต 70% ทำรายได้กว่า 4,000-5,000 ล้าน   หลังจาก "สิงห์ เอสเตท" บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มเบียร์สิงห์ มีการปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจตั้งแต่ปี  2564 ด้วยการขายเงินลงทุนสัดส่วน 51% ในบริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) ในปี 2565 ก็เริ่มพัฒนาโครงการบ้านแนวราบโครงการแรก คือ โครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส ในช่วงปลายปี ส่วนปีนี้ ก็เริ่มหันกลับมาบุกตลาดอสังหาฯ แนวราบเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง โดยแผนการเปิดตัวโครงการในปี 2566 ยังคงพัฒนาบ้านในกลุ่มลักชัวรี่เหมือนเช่นเคย ซึ่งมี 4 กลุ่มหลัก คือ บ้านลักชัวรี่ ระดับราคา 20 ล้านบาทขี้นไป บ้านพรีเมียม ลักชัวรี่ ระดับราคา 30-50 ล้านบาท บ้านซุปเปอร์ ลักชัวรี่ บ้านระดับราคา 50-100 ล้านบาท บ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ ระดับราคา 250 ล้านบาทขึ้นไป ตามแผนธุรกิจปี 2566 เตรียมเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ 5 โครงการ รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นโครงการภายใต้แบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ ขณะเดียวกันจะมีโครงการที่เป็น ​Flgship Cluster Home Project ที่ขายบ้านระดับอัลตร้า ลักชัวรี่ ราคาเริ่มต้นหลังละ 550 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ   นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S  เปิดเผยว่า กลุ่มธุรกิจอสังริมทรัพย์ในปีนี้ ตั้งเป้าหมายเติบโต 70% หรือมีรายได้ 4,000-5,000 ล้านบาท โดยหลังจากที่ปิดโครงการสันติบุรีแล้ว ในปีนี้จะเป็นโครงการในคอนเซ็ปต์เดียวกันอีก  2 โครงการ ในรูปแบบ ​​Flgship Cluster Home Project สำหรับโครงการรูปแบบ Flgship Cluster Home Project มีข้อดี คือ สามารถพัฒนาได้บนที่ดินขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไร่ มีจำนน 8-9 ยูนิต ในย่านใจกลลางธุรกิจ ซึ่งจะขายที่ดินก่อนการก่อสร้างบ้าน ทำให้สามารถปิดการขายได้เร็ว แลรับรู้รายได้ได้เร็ว โดยโครงการรูปแบบ ​Flgship Cluster Home Project โครงการแรกจะพัฒนาบริเวณซอยสุขุมวิท49 บนเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่จำนวน 2 ยูนิต เตรียมเปิดตัวช่วงกลางปีนี้ ส่วนโครงการที่เหลือจะเปิดตัวช่วงปลายปี   นางฐิติมา กล่าวอีกว่า  ในปี 2566 เป็นปีที่สำคัญมากของสิงห์ เอสเตท ในการสร้างการเติบโต ด้วยการใช้กลยุทธ์ “S EXCELS” คือการสร้างความเป็นเลิศในทุกมิติ ประกอบด้วย   มิติแรก คือ ผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ดันเป้ากำไรสู่ All-time High ในทุกพอร์ตธุรกิจ โดยปีนี้จะสามารถสร้างรายได้รวมของบริษัทให้เติบโตขึ้นสูงถึง 34% หรือมีมูลค่าแตะ 16,700 ล้านบาท   มิติที่สองคือ การเพิ่มแต้มต่อธุรกิจ เสริมแกร่งศักยภาพในการแข่งขัน เน้นการสร้าง Synergy ที่เกื้อหนุนกันระหว่าง 4 ธุรกิจ และความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำ เพื่อสร้างการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ตลอด 3 ปี   มิติที่สามคือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทฯ ตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2573 และกำหนดแผนอนุรักษ์ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณธุรกิจตั้งอยู่ ทั้งนี้ ปี 2565 ที่ผ่านมาบริษัทฯ สร้างรายได้ 1 2,500 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นจากปีก่อนประมาณ 62% โดยมีปัจจัยหลายประการที่ช่วยเกื้อหนุนการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นยอดจองและยอดโอนกรรมสิทธิ์  ของโครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส ซึ่งสูงถึง 77% และ 30% ตามลำดับ นับเป็นความสำเร็จอย่างงดงามที่เกิดขึ้นเพียง 1 ปี หลังปรับโครงสร้างธุรกิจและรุกเข้าสู่การพัฒนาบ้านแนวราบอย่างเต็มตัว   ธุรกิจโรงแรมภายใต้การบริหารงานของ SHR สามารถทำรายได้ทะลุเป้าหมายอยู่ที่ 8,700 ล้านบาท ขึ้นแท่นผู้ประกอบการโรงแรมในไทยที่มีรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ด้วยความแข็งแกร่งของกลยุทธ์ผนวกกับแรงหนุนจากการเปิดประเทศ ส่งผลให้อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยรายวัน (Average Daily Rate: ADR) ปรับเพิ่มขึ้นได้กว่า28% จากปีก่อนหน้า   กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงานมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ มีอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy) ที่ไต่ระดับสูงขึ้นขณะที่ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมีรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในปีก่อนได้กว่า 77 ไร่
เปิดประวัติ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี  ผู้ร่วมสร้างตำนานอาณาจักร TCC Group

เปิดประวัติ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ผู้ร่วมสร้างตำนานอาณาจักร TCC Group

คุณหญิงวรรณา ประวัติส่วนตัว คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี เกิดวันอังคารที่ 2 มีนาคม 2486 อายุ 80 ปี เป็นบุตรสาวของ เจ้าสัวกึ้งจู แซ่จิว ผู้คร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจการค้าขายเครื่องดื่มสุรา สมรสกับ ​เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี  มีบุตรด้วยกัน 5 คน ประกอบด้วย นางอาทินันท์ พีชานนท์ นางวัลลภา ไตรโสรัส นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายปณต สิริวัฒนภักดี นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล ประวัติการศึกษา คุณหญิงวรรณา ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก 8 มหาวิทยาลัย  ได้แก่ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยพะเยา ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณประโยชน์ทางธุรกิจของแต่ละสาขาวิชาได้เป็นอย่างดี ประวัตการทำงาน คุณหญิงวรรณา มีบทบาทสำคัญ นอกจากการเป็นภรรยาของ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้ก่อตั้ง ทีซีซี กรุ๊ป ยังมีบทบาทในธุรกิจของกลุ่มทีซีซี โดยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย อาทิ รองประธานกรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 1 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด(มหาชน) รองประธานกรรมการ คนที่ 1 บริษัท เครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) รองประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท เครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กรรมการ บริษัท ทีซีซี โฮลดิ้ง (2519) จำกัด รองประธานกรรมการกลุ่มบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด รองประธานกรรมการกลุ่มบริษัทเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ลิมิเต็ด รองประธานกรรมการ บริษัท สิริวนา จำกัด รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท คริสตอลลา จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท พรรณธิอร จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จำกัด รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท นอร์ธปาร์ค กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท เครืออาคเนย์ จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท แสงโสม จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท ธนภักดี จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท มงคลสมัย จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท กาญจนสิงขร จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท เบียร์ช้าง จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท น้ำใจไทยเบฟ (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท อาคเนย์แคปปิตอล จำกัด รองประธานกรรมการ International Beverage Holdings Limited รองประธานกรรมการ International Beverage Holdings (UK) Limited รองประธานกรรมการ International Beverage Holdings (China) Limited รองประธานกรรมการ InterBev Investment Limited โดยคุณหญิงวรรณา ได้ร่วมกับ เจ้าสัวเจริญ  ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี ซึ่งปัจจุบัน ทีซีซี กรุ๊ป มี 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจเครื่องดื่ม มีบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อาทิ ทีซีซี แลนด์, ยูนิเวนเจอร์ และ เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โรงแรม ศูนย์การค้า ธุรกิจอุตสาหกรรมการค้า สินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่  เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ หรือบีเจซี และบิ๊กซี ธุรกิจประกัน และการเงิน ธุรกิจเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งมีกิจการทั้งในและต่างประเทศ เช่น สปป.ลาว กัมพูชา ตำแหน่งทางสังคม นอกจากบทบาทสำคัญในด้านธุรกิจ คุณหญิงวรรณา ยังมีบทบาทสำคัญในด้านสังคม ทั้งการทำงานการกุศล และการช่วยเหลือสังคมในหลากหลายรูปแบบ โดยคุณหญิงวรรณา มีตำแหน่งทางสังคมสำคัญ ในมูลนิธิต่างๆ มากมาย อาทิ กรรมการมูลนิธิสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ กรรมการมูลนิธิรามาธิบดี กรรมการศิริราชมูลนิธิ กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กรรมการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ กรรมการ คณะกรรมการจัดหา และส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทย กรรมการมูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง กรรมการมูลนิธิ แอสเสท เวิรด์ เพื่อการกุศล ขอแสดงความอาลัย คุณหญิงวรรณา ที่ได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบเมื่อเวลา 01.24 น. ของวันนี้ (วันที่ 17 มีนาคม 2566)