Tag : Office

144 ผลลัพธ์
วัน แบงค็อก ดึง 6 ผู้รับเหมาพัฒนาเฟสแรก พื้นที่ 1.3 ล้านตร.ม.เสร็จใช้ปี 66

วัน แบงค็อก ดึง 6 ผู้รับเหมาพัฒนาเฟสแรก พื้นที่ 1.3 ล้านตร.ม.เสร็จใช้ปี 66

โครงการวัน แบงค็อก อภิมหาโปรเจ็กต์ 1.2 แสนล้าน แต่งตั้ง 6 ผู้รับเหมาแนวหน้า พัฒนาเฟสแรก พื้นที่ 1.3 ล้าน ตร.ม. กำหนดแล้วเสร็จปี 66   โครงการวัน แบงค็อก​ (One Bangkok) อภิมหาโปรเจ็กต์ที่มีมูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท (เฉพาะการลงทุนพัฒนาไม่รวมค่าที่ดิน) บนพื้นที่รวมกว่า 1.83 ล้านตารางเมตร  ของตระกูลสิริวัฒนภักดี หรือ “เสี่ยเจริญ” มหาเศรษฐีของเมืองไทย  ได้แต่งตั้ง 6 บริษัทผู้รับเหมา เพื่อพัฒนางานก่อสร้างอาคารต่าง ๆ   โดยจะพัฒนาในเฟสแรก ที่ประกอบด้วยอาคารสูง 8 อาคาร และพื้นที่รีเทลและพื้นที่ไลฟ์สไตล์ 3 แห่ง บนพื้นที่รวมทั้งหมด 896,000 ตารางเมตร ที่พร้อมจะเปิดให้บริการในปี 2566 ซึ่งเมื่อรวมกับพื้นที่งานโครงสร้างใต้ดิน 500,000 ตารางเมตร จะมีพื้นที่ของโครงสร้างในส่วนนี้ทั้งหมดกว่า 1.3 ล้านตารางเมตร สำหรับผู้รับเหมาแต่ละรายมีขอบข่ายงานดังนี้ 1.ไทยโอบายาชิ (บริษัท นันทวัน จำกัด) ดูแลงานก่อสร้างอาคารสำนักงาน พื้นที่รีเทลและพื้นที่ไลฟ์สไตล์ บนพื้นที่ 200,000 ตารางเมตร   2.อิตาเลียนไทย-ไทยทาเคนาคา (จากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยทาเคนาคาสากลก่อสร้าง จำกัด) ดูแลงานก่อสร้างอาคารสำนักงาน พื้นที่รีเทลและพื้นที่ไลฟ์สไตล์ บนพื้นที่ 280,000 ตารางเมตร   3.บริษัท พรีบิลท์ จำกัด (มหาชน) ดูแลงานก่อสร้างอาคารสำนักงาน อาคารที่อยู่อาศัย พื้นที่รีเทลและพื้นที่ไลฟ์สไตล์ บนพื้น 260,000 ตารางเมตร   4.บริษัท วิศวภัทร์ จำกัด ดูแลงานก่อสร้างโรงแรมและอาคารที่อยู่อาศัย บนพื้นที่ 80,000 ตารางเมตร   5.บริษัท กรณิศ ก่อสร้าง จำกัด ดูแลงานก่อสร้างโรงแรม 2 อาคาร บนพื้นที่ 46,000 ตารางเมตร   6.บริษัท ที.ที.เอส.เอ็นจิเนียริ่ง (2004) จำกัด ดูแลงานก่อสร้างศูนย์ประชุม บนพื้นที่ 30,000 ตารางเมตร   สำหรับโครงการวัน แบงค็อก พัฒนาภายใต้บริษัท วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็นกิจการร่วมทุนระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อเสร็จสมบูรณ์ จะเป็น โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยภาคเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยใจกลางเมือง ซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะประกอบด้วยอาคารสูงทั้งหมด 11 อาคาร พื้นที่รีเทลและพื้นที่ไลฟ์สไตล์ 4 แห่ง ได้แก่ อาคารสำนักงานแบบพรีเมี่ยมเกรดเอ จำนวน 5 อาคาร พื้นที่รีเทล 4 โซน โรงแรมระดับลักชัวรี่ จำนวน 5 แห่ง อาคารที่พักอาศัยระดับลักชัวรี่อีกจำนวน 3 อาคาร   นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ศูนย์กลางสำหรับการจัดกิจกรรมและการแสดงผลงานทางศิลปะและวัฒนธรรมที่เชื่อมต่อทั่วถึงกันทั้งโครงการ โดยมีพื้นที่ทั้งหมดมีขนาด 104 ไร่ หรือ 166,440 ตารางเมตร บนถนนวิทยุและถนนพระราม 4 โครงการ วัน แบงค็อก พร้อมเปิดให้บริการเฟสแรกในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566 และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2570   นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ผู้พัฒนาโครงการวัน แบงค็อก เปิดเผยว่า ได้จับมือร่วมกับผู้รับเหมาระดับแนวหน้าของไทย เดินหน้าการก่อสร้างเฟสแรกที่สมบูรณ์แบบที่สุด เป้าหมายเพื่อให้โครงการวัน แบงค็อกได้เป็นแลนด์มาร์คระดับโลกอย่างสง่างาม พร้อมดึงดูดนักลงทุนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อีกทั้งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้กลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว   เรามีความเชื่อมั่นในการผสานพลังอันแข็งแกร่งของทุกภาคส่วน และด้วยมาตรฐานการก่อสร้างที่ใส่ใจในทุกมิติ ผู้รับเหมาทั้งหมดจึงล้วนผ่านการคัดสรรโดยพิจารณาจากความเชี่ยวชาญ ชื่อเสียง และประสบการณ์ในการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนั้น ผู้รับเหมาทุกรายต่างได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติทั้งในด้านการบริหารงานก่อสร้างที่เป็นระบบ คุณภาพ และความปลอดภัย ทำให้ระยะเวลาการก่อสร้างเป็นไปอย่างรวดเร็วตามแผนงานที่กำหนดและเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ หากเปรียบเทียบกับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ระดับอินเตอร์เนชั่นแนลที่มีพื้นที่ใกล้เคียงกัน บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของประเทศ รวมถึงเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่แข็งแกร่งของกรุงเทพฯ ในภูมิภาคนี้ ตามนโยบายของกลุ่มบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้   ด้านนางสาว ซู หลิน ซูน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโครงการ วัน แบงค็อก กล่าวเสริมว่า โครงการ วัน  แบงค็อก ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่สุดใจกลางเมือง และมีความละเอียด ซับซ้อน ดังนั้นผู้พัฒนาโครงการและ ผู้รับเหมาทั้งหมดจึงต้องมีความเชี่ยวชาญ ในการวางแผน การบริหาร การจัดการ การตรวจสอบและควบคุมมาตราฐานคุณภาพ เพื่อรับมือกับความท้าทายจากงานก่อสร้างที่อยู่ภายในพื้นที่ใจกลางเมืองเช่นนี้   โดยทุกบริษัทล้วนมีประสบการณ์ในการก่อสร้างโครงการที่มีข้อกำหนดภายใต้มาตรฐาน LEED ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการออกแบบและก่อสร้างอาคารสีเขียวที่ยั่งยืนและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายที่สุดในโลก รวมถึงมาตรฐาน WELL ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสูงสุดที่ใช้กับอาคาร การออกแบบพื้นที่เพื่อสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย สอดคล้องกับเป้าหมายของของ วัน แบงค็อก ที่มุ่งสู่การเป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองทั้งมาตรฐาน LEED for Neighborhood Development ระดับ Platinum สำหรับการพัฒนาชุมชนแวดล้อม  และมาตรฐานรับรองอาคาร WELL เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้อาคาร   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -“วัน แบงค็อก” เผยโฉมมาสเตอร์แพลน บิ๊กโปรเจ็กต์ 120,000 ล้าน
สีลมเอจ x จัสโค ประเดิมรายแรก เช่าพื้นที่  4,400 ตร.ม.  ผุดโคเวิร์คกิ้งสเปซ เติมเต็มสังคมแซนด์บ็อกซ์

สีลมเอจ x จัสโค ประเดิมรายแรก เช่าพื้นที่  4,400 ตร.ม. ผุดโคเวิร์คกิ้งสเปซ เติมเต็มสังคมแซนด์บ็อกซ์

สีลมเอจ คว้า จัสโค ประเดิมลูกค้ารายแรก เช่าพื้นที่  4,400 ตารางเมตร  ผุดโปรเจกต์โคเวิร์คกิ้งสเปซ จัสโค เติมเต็มสังคมแซนด์บ็อกซ์แห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ รองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ธุรกิจ Start-up และแพลตฟอร์มออนไลน์ พร้อมพัฒนา “Co-creation Platform” ต่อยอดธุรกิจให้ผู้เช่า   หลังจากบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) หรือ FPCT เปิดตัวโครงการสีลมเอจ (Silom Edge) เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีลูกค้าสนใจติดต่อเข้ามาเพื่อขอเช่าพื้นที่จำนวนมาก ล่าสุด​ จัสโค (JustCo) ผู้ให้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซในเอเชียแปซิฟิก ได้ยืนยันเช่าพื้นที่ในโซนสำนักงาน จำนวนทั้งสิ้น 4 ชั้นต่อเนื่องกันรวมกว่า 4,400 ตารางเมตร หรือคิดเป็น 40% ของพื้นที่สำนักงานทั้งหมดในโครงการ  ซึ่งจะสามารถรองรับสมาชิกได้กว่า 900 คน   "จัสโค  x สีลมเอจ" เป็นโปรเจกต์ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง FPCT และ จัสโคสอดคล้องกับกลยุทธ์การสร้างความแข็งแกร่งและขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตด้วยโมเดล Core & Flex ซึ่ง  เป็นเทรนด์ใหม่ของการให้บริการพื้นที่สำนักงานในยุค Next Normal โดยบริษัทฯจะผสานความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการพัฒนาสำนักงานชั้นนำที่มีมาตรฐานระดับสากล พร้อมด้วยจุดแข็งของที่ตั้งโครงการที่อยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) เข้ากับ ความชำนาญของจัสโคในการให้บริการพื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่น (Flexible) นอกจากนี้ จัสโค ยังเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งทางการเงิน และมีฐานลูกค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น นายวิทวัส คุตตะเทพ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายโครงการเชิงพาณิชยกรรม FPCT  เปิดเผยว่า  เมื่อโครงการสีลมเอจพัฒนาแล้วเสร็จ บริษัทฯจะมีพื้นที่สำนักงานในสุดยอดทำเลเพิ่มขึ้นกว่า 12,000 ตารางเมตร ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถขยายพอร์ทกลุ่มลูกค้าให้ครอบคลุมธุรกิจ Start-up และ ออนไลน์แพลตฟอร์มที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วน 20% ในภาพรวมดีมานด์พื้นที่สำนักงานเกรด A ใจกลางเมือง   จัสโค จะเติมเต็มความเป็นสังคมแซนด์บ็อกซ์แห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ ศูนย์รวมกลุ่มคนรุ่นใหม่ ธุรกิจ Start-up และแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา   ด้านนางสาววิมลนิตย์ เลิศพิทักษ์กิจ ผู้จัดการทั่วไป จัสโค ประเทศไทยและอินโดนีเซีย กล่าวเสริมด้วยว่า “การทำงานรูปแบบไฮบริดในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ​และจัสโคพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้   จากผลการวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้าสำนักงานแบบยืดหยุ่นจะเติบโตสูงขึ้นจาก 5% เป็น 30% ของตลาดสำนักงานทั้งหมด ทำให้ธุรกิจมีโอกาสเติบโตอย่างสูง และเราเชื่อมั่นว่าการผสมผสานโซลูชั่นด้านพื้นที่สำนักงานตามความจำเป็นของผู้ใช้งานจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการด้านอสังหาริมทรัพย์ของธุรกิจในยุคปัจจุบันได้   เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของโครงการสีลมเอจ “BE DIFFERENT. BE CONNECTED” วิถีแตกต่าง ที่จะเชื่อมโยงผู้คนในทุกมิติอย่างลงตัว "จัสโค x สีลมเอจ" ยังได้เตรียมพัฒนา  "Co-creation Platform" สำหรับต่อยอดธุรกิจให้ผู้เช่า และเพื่อเป็นการสนับสนุนธุรกิจหน้าใหม่ให้ประสบความสำเร็จ และสามารถเป็นยูนิคอร์นของประเทศไทย โครงการสีลมเอจ แซนด์บ็อกซ์แห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ จะเป็นแหล่งระดมความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถนำไปพัฒนาจนเป็นสินค้าและบริการ ที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัลได้อย่างแท้จริง    
[PR News] เพอร์เฟค จับมือ 7 พันธมิตร  เดินพัฒนา “ถนนหอการค้าไทย” ให้เป็นถนนสีเขียว

[PR News] เพอร์เฟค จับมือ 7 พันธมิตร เดินพัฒนา “ถนนหอการค้าไทย” ให้เป็นถนนสีเขียว

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จับมือ 7 องค์กร ร่วมสร้าง “ถนนหอการค้าไทย” ยาว 4 กิโลเมตร ให้เป็นถนนสีเขียว มุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต   โดยร่วมกับ “อีวีโลโม” บริษัทชั้นนำจากอเมริกา สร้างสถานีชาร์จรถไฟฟ้าและติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าในบ้านเดี่ยวทุกโครงการ จับมือบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้แก่ “อรุณ พลัส, อีวี มี พลัส, สวอพ แอนด์ โก” ให้บริการซื้อหรือเช่ารถยนต์ไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชั่น ศึกษาการให้บริการ EV Bus และตู้สลับแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในชุมชน พร้อมจับมือ “โลตัส โกเฟรช” ที่มาเปิดสาขาใหม่ในแนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ “โรงเรียนนานาชาติเอสไอเอสบี” ร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วยโรงเรียนพลังงานทางเลือก   นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้  เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ 7 องค์กรร่วมสร้าง “ถนนหอการค้าไทย” ให้เป็นถนนสีเขียว เพื่อส่งเสริมการใช้พลังานสะอาดบนถนนหอการค้าไทย ด้วยการตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าบนพื้นที่ส่วนกลางและบริเวณชุมชน มีการติดตั้ง EV Charger Home Box ให้กับบ้านเดี่ยวทุกโครงการทุกระดับราคา เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และยังมีการศึกษาถึงการให้บริการ EV Bus และตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อให้บริการในชุมชน ตลอดจนยังได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจที่ตั้งอยู่บนถนนนี้ ที่มีแนวทางการดำเนินงานในแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจะติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในศูนย์ราชการนนทบุรี เพื่อจุดประกายให้คนหันมาสนใจการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น   โดยความร่วมมือกับ 7 องค์กรประกอบด้วย “อีวีโลโม” บริษัทชั้นนำจากอเมริกา สร้างสถานีชาร์จรถไฟฟ้าและติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าในบ้านเดี่ยวทุกโครงการ บริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้แก่ “อรุณ พลัส, อีวี มี พลัส, สวอพ แอนด์ โก” ให้บริการซื้อหรือเช่ารถยนต์ไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชั่น ศึกษาการให้บริการ EV Bus และตู้สลับแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในชุมชน “โลตัส โกเฟรช” ที่มาเปิดสาขาใหม่ในแนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ “โรงเรียนนานาชาติเอสไอเอสบี” ร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วยโรงเรียนพลังงานทางเลือก   สำหรับถนนหอการค้าไทยเป็นถนนที่บริษัทสร้างขึ้น มีระยะทาง 4 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างถ.ชัยพฤกษ์และถ.สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ซึ่งถนนดังกล่าวมีพื้นที่สำหรับพัฒนาโครงการรวม 1,226 ไร่ ปัจจุบันเติบโตเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีโครงการที่อยู่อาศัย สถาบันการศึกษา โรงเรียนนานาชาติ ศูนย์การค้าชุมชน ธุรกิจร้านค้าต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย อีกทั้งยังมีพื้นที่รอการพัฒนาและ   มีศักยภาพที่จะขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต จากการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ บริษัทจึงมีแนวคิดที่จะผลักดันให้ถนนหอการค้าไทย เป็นถนนที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาด เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม   สำหรับความร่วมมือจากบริษัทใน กลุ่ม ปตท. นายชาญ กุลภัทรนิรันดร์  Head of 2 Wheel and Bus Business Development  บริษัท อรุณ พลัส จำกัด  กล่าวว่า อรุณ พลัส เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้าน EV Value Chain รองรับการขยายฐานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. โดยรถบัสไฟฟ้า หรือ  E-Bus เป็นหนึ่งการดำเนินงานที่อยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อสามารถให้บริการได้ในราคาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบัน อรุณ พลัส ให้บริการ Shuttle E-Bus สำหรับรับส่งพนักงานในกลุ่ม ปตท. และมีแผนให้บริการแก่ผู้ที่สนใจภายนอกสามารถเลือกซื้อหรือเช่า E-Bus ได้ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าจะพร้อมให้บริการได้กลางปี 2565 สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค และ อรุณ พลัส จะหารือเพื่อพัฒนาการให้บริการ E-Bus ร่วมกัน เพื่อให้ชุมชนบนถนนหอการค้าไทยได้มีโอกาสทดลองใช้งาน E-Bus ของอรุณ พลัส ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพลังงานสะอาด อันจะมีส่วนช่วยพัฒนาชุมชนนี้ ให้เป็นชุมชนสีเขียว   นายสุวิชชา สุดใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการจัดการ บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด  กล่าวว่า  อีวี มี พลัส บริษัทสตาร์ทอัพของ กลุ่ม ปตท. พร้อมมอบประสบการณ์การเป็นเจ้าของ EV ที่สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านแอปพลิเคชัน EVme ซึ่งเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มให้บริการ EV เต็มรูปแบบรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่สามารถเลือกใช้บริการซื้อหรือเช่า EV ได้ในราคาพิเศษ โดยมีตัวเลือกรถหลากรุ่นหลายแบรนด์  ตลอดจนให้บริการข้อมูลที่ตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ปัจจุบัน EVme อยู่ระหว่างทดสอบการให้บริการ โดยจะพร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในต้นปี 2565 สำหรับโครงการของ พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค บน  “ถนนหอการค้าไทย” ซึ่งเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว อีวี มี พลัส จะนำเสนอบริการทดลองใช้งาน EV ได้ในราคาพิเศษก่อนตัดสินใจซื้อ ให้กับลูกบ้าน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดผ่าน EV ต่อไป   นางสาวอาวีมาศ สิริแสงทักษิณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวอพ แอนด์ โก จำกัด  กล่าวว่า สวอพ แอนด์ โก เป็นอีกหนึ่งบริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มสลับแบตเตอรี่แก่ผู้ใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้ใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ปัจจุบัน สวอพ แอนด์ โก เปิดให้บริการสถานีสลับแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ จำนวน 22 แห่งทั่วกรุงเทพฯ และมีแผนขยายการให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ สำหรับโครงการ “ถนนหอการค้าไทย” นี้  สวอพ แอนด์ โก จะมีบริการตู้สลับแบตเตอรี่ พร้อมแบตเตอรี่ ประมาณ 30 ก้อน เพื่อสามารถรองรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในพื้นที่ ได้กว่า 10 คัน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Swap & Go เชื่อมต่อกับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่รองรับการใช้งาน เพื่อเข้ากระบวนการสลับแบตเตอรี่ได้ด้วยตัวเอง ได้อย่างสะดวก ง่ายดาย   สำหรับ อีวีโลโม  นางสาวนิโคล วู กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีวีโลโม เทคโนโลยีส์ จำกัด เปิดเผยว่า อีวีโลโม เป็นบริษัทชั้นนำด้านยานยนต์ไฟฟ้าจากสหรัฐอเมริกา มีความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เพื่อรุกเข้าสู่ตลาดบ้าน EV Ready ในประเทศไทย  โดยจะเป็นผู้ติดตั้ง EV Charger Home Box ให้กับบ้านเดี่ยวในทุกโครงการของ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค พร้อมบริการบำรุงรักษา ซึ่งทั่วไปแล้วผู้ใช้รถยนต์ไฟไฟฟ้าจะมีการชาร์จไฟที่บ้านมากกว่า 80% จึงตั้งเป้าหมายจะร่วมกันติดตั้งเครื่องชาร์จในบ้านรวมจำนวน 10,000 หลัง โดยเป็นเครื่องชาร์จอัจฉริยะ EVLOMO ELO Series ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องการป้องกันฝุ่นและน้ำ ใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศ มีความปลอดภัย สามารถเชื่อมต่อ 4G และ Wi-Fi สำหรับการชาร์จจากระยะไกล และยังรองรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการแสดงผลบนหน้าจอ  EVLOMO ยังได้เปิดตัวสถานีชาร์จไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนกลางและบริเวณชุมชน อาทิ หน้าคลับเฮ้าส์ ลานจอดรถหน้าร้านค้า ฯลฯ เพื่อให้บริการแก่คนในชุมชนและประชาชนทั่วไป เป็นการส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในวงกว้างมากขึ้น”   ในส่วน โลตัส โดย นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืนและกฏหมาย บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด กล่าวว่า บริษัทจะเปิด “โลตัส โกเฟรช” สาขาใหม่บนถนนหอการค้าไทย ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ด้วยแนวคิดมินิซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะติดตั้งเครื่องรับขวดน้ำพลาสติกอัตโนมัติ (Reverse Vending Machine) เพื่อเก็บบรรจุภัณฑ์กลับไปรีไซเคิล โดยลูกค้าสามารถแลกไข่ไก่ฟรี 1 ฟอง สำหรับขวดพลาสติกทุกๆ 10 ขวดที่นำมารีไซเคิลผ่านเครื่องนี้ พร้อมส่งเสริมให้ลดการใช้พลาสติก ด้วยการงดแจกถุงพลาสติก ซึ่งทางโลตัสมี “ถุงคืนชีพ” จำหน่าย ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง เมื่อชำรุดก็นำมาเปลี่ยนใบใหม่ได้ฟรี ทั้งนี้ โลตัสมีนโยบายลดใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อลดขยะต่างๆ โดยเฉพาะขยะพลาสติกและขยะอาหาร รวมทั้งส่งเสริมให้มีการนำทรัพยากรวนกลับมาใช้ด้วย   ด้าน โรงเรียนนานาชาติเอสไอเอสบี นายเคลวิน โคว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า ที่ผ่านมา เอสไอเอสบี ได้ก้าวไปสู่การเป็นโรงเรียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดำเนินการตามแนวทางที่จะไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  สำหรับโรงเรียนนานาชาติเอสไอเอสบี นนทบุรี ตั้งอยู่บนพื้นที่ 18.5 ไร่ บนถนนหอการค้าไทย มีกำหนดเปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2566 โดยโรงเรียนเอสไอเอสบี สาขาที่ 5 แห่งนี้ พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการถนนสีเขียว เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับนักเรียน อาทิเช่น การนำระบบปรับอากาศอัจฉริยะมาใช้ การออกแบบให้ใช้แสงธรรมชาติเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังพร้อมมีความร่วมมือเพื่อเปลี่ยนการใช้พลังงานของโรงเรียนไปสู่การใช้พลังงานสะอาด เพื่อให้โรงเรียนเอสไอเอสบี นนทบุรี เป็นโรงเรียนสีเขียวชั้นนำ และเป็นต้นแบบของโรงเรียนที่ใช้พลังงานทางเลือก
CPN  เปิด “เซ็นทรัล ศรีราชา” 27 ต.ค.นี้  ชู 7 ไฮไลท์ ต้นแบบมิกซ์ยูสแห่งอนาคต

CPN เปิด “เซ็นทรัล ศรีราชา” 27 ต.ค.นี้ ชู 7 ไฮไลท์ ต้นแบบมิกซ์ยูสแห่งอนาคต

CPN เดินหน้าตามแผนเปิด เซ็นทรัล ศรีราชา 27 ต.ค.นี้ นับเป็นศูนย์การค้าแห่งที่ 34 หลังปักหมุดลงทุนในชลบุรีกว่า 13,000 ล้าน ชู 7 ไฮไลท์ ต้นแบบโครงการมิกซ์ยูสแห่งอนาคต พร้อมมั่นใจศักยภาพของเมือง ก้าวสู่การเป็น New Silicon Valley ของเมืองไทย ในอนาคต   ถ้าไม่นับจังหวัดกรุงเทพฯ แล้ว จังหวัดที่กลุ่มเซ็นทรัลเช้าไปลงทุนขยายสาขามากที่สุด ก็คงเป็นจังหวัดชลบุรี เพราะมีมากถึง 4 สาขา คือ เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี, เซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยาบีช และ เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา​ ล่าสุดกำลังจะเปิดตัวสาขาแห่งที่ 4 ของจังหวัดชลบุรี คือ เซ็นทรัล ศรีราชา ซึ่งบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ได้ลงทุนไปกว่า 4,200 ล้านบาท มีกำหนดการเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว คือวันที่ 27 ต.ค. 2564 แม้จะเปิดพื้นที่ 90% แต่ถือว่าเป็นการเปิดตัวเป็นทางการอย่างสมบูรณ์แบบ ตามกำหนดแผนธุรกิจที่วางไว้ตั้งแต่ต้น   เหตุผลสำคัญที่ทำให้ CPN เลือกปักหมุด ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลถึง 4 สาขา ก็คงเป็นที่รู้กันอย่างดีว่า จังหวัดชลบุรีเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักด้านการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม เพราะมีทั้งนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ สร้างรายได้ให้ประเทศสูงเป็นอันดับต้น ๆ ทั้งรายได้จากภาคการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม และการบริการ มีแรงงานอยู่จำนวนมากมายมหาศาล ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ซึ่งถือเป็นกำลังซื้อที่มากมายมหาศาล  ซึ่งเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ จึงทำให้​ CPN ​เข้ามาลงทุนในจังหวัดชลบุรี และหากนับเม็ดเงินลงทุนทั้ง 4 โครงการดังกล่าว ก็มากกว่า 13,000 ล้านบาท นี่เฉพาะในส่วนของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเท่านั้น ยังไม่นับโครงการโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ และออฟฟิศ ที่ลงทุนในอดีตและอนาคตอีกมากมาย​   สำหรับความน่าสนใจของโครงการเซ็นทรัล ศรีราชา ที่กำลังจะเปิดตัวให้คนชลบุรี และจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจังหวัดชลบุรี ได้มีประสบการณ์ภายในศูนย์การค้าแห่งนี้ มีอะไรน่าสนใจบ้างนั้น  มาฟังจากดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด นางสาวภัทรพร เพ็ญประพัฒน์ Head of Commercialization CPN อธิบายถึงแนวคิดและรูปแบบของโครงการนี้ กับชู 7 ไฮไลท์ ที่ CPN วางให้เป็นต้นแบบโครงการมิกซ์ยูสแห่งอนาคต ว่ามีอะไรบ้าง 1.The New District: CPN มุ่งหวังให้ “เซ็นทรัล ศรีราชา” เป็นจุดหมายปลายทางใหม่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี แม้อ.ศรีราชาจะเป็นเพียงเมืองระดับอำเภอ แต่ก็มีศักยภาพและความพร้อมในการเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของทั้งนักท่องเที่ยว ผู้ต้องการจับจ่ายใช้สอย และใช้ชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ  ที่สำคัญต้องการสร้าง Business District และดาวน์ทาวน์ศรีราชา สู่การเป็น Center of EEC ด้วย   โดยตัวโครงการเป็นรูปแบบมิกซ์ยูส​ บนที่ดิน 27 ไร่ พื้นที่รวมกว่า 140,000 ตร.ม. ประกอบด้วยศูนย์การค้า, โรงแรมขนาด 180 ห้อง, ที่อยู่อาศัย และคอนเวนชั่นฮอลล์ภายในโครงการ ซึ่งเริ่มต้นเปิดตัวศูนย์การค้าก่อน และภายในระยะเวลา 3-5 ปีจะพัฒนาส่วนอื่น ๆ ตามมา 2.Hygiene & Safety: จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มาตรการด้านสาธารณสุขเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในทุกพื้นที่  เซ็นทรัล ศรีราชา จึงลงทุนใช้นวัตกรรม “Smart & Healthy Building” ครั้งแรกกับที่เซ็นทรัล  ศรีราชา อัพเกรดระบบปรับอากาศและกรองอากาศเพื่อให้มีอากาศที่สะอาดหมุนเวียนภายในศูนย์การค้ามากที่สุด ด้วยการติดตั้งแผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง (MERV Filter) ที่ช่วยกรองละอองฝุ่นได้มากถึง 90%, ติดตั้ง UVC Lamp แสงยูวีที่เครื่องปรับอากาศส่วนกลาง ลดการแพร่เชื้อโรคในระบบปรับอากาศได้มากถึง 95% และติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศตามจุดต่าง ๆ เพื่อวัดคุณภาพอากาศภายในศูนย์การค้าให้มั่นใจว่าอยู่ในระดับที่ดีเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าทุกท่านที่มาใช้บริการ 3.Green Living & Circular Economy: จากพันธกิจ Carbon Neutral และ Zero Waste เพื่อความยั่งยืน เซ็นทรัล ศรีราชาจึงเป็นต้นแบบ Eco-Friendly Mall แห่งแรกในภาคตะวันออกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างโครงการกับการนำขยะเสาเข็มมารีไซเคิล, การติดตั้ง Recycle Station กับเป้าหมายการแยกขยะที่ร้านค้าภายในศูนย์​ ก่อนวางแผนขยายสู่โรงเรียน โรงพยาบาล และชุมชน สำหรับด้าน Energy Saving  มีการพัฒนาระบบปรับอากาศที่ช่วยลดพลังงานได้ถึง 40%, การติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อช่วยลดการใช้ไฟฟ้ารวมไปถึงการออกแบบที่ช่วยประหยัดพลังงาน อาทิ การใช้แสงธรรมชาติภายในศูนย์ให้มากที่สุด, การติดตั้งฝ้าลดความร้อน ไปจนถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วทั้งโครงการ 4.The First Semi-Outdoor Experience จากความสำเร็จของโครงการ​เซ็นทรัล อีสต์วิลล์ ในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะพื้นที่ Outdoor ทำให้ CPN นำต้นแบบดังกล่าวมาใช้กับ เซ็นทรัล ศรีราชา อาทิ Outdoor Walking Street บนพื้นที่กว่า 2,800 ตร.ม., Giant Green Wall, Pet Park & Services เป็น Pet-Friendly Mall แห่งแรกในภาคตะวันออก สร้างคอมมูนิตี้แห่งใหม่ของคนรักสัตว์เลี้ยงอีกด้วย 5.Seamless Integrated Experience เพราะปัจจุบันไลฟ์สไตล์ของคนไม่ได้จำกัดเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับชีวิตครอบครัว การทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวมากขึ้น แนวคิดในการพัฒนาโครงการของ CPN จึงสร้าง Destination Concepts อย่างเป็นรูปธรรมด้วยศูนย์การค้ารูปแบบใหม่ที่ Blur the Line กับโซนใหม่ที่ช้อปปิ้งด้วยกันได้ทั้งครอบครัวที่มีชื่อว่า Playhouse​ แห่งแรกตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคนรักแฟชั่น คัดสรรสินค้าสุดชิคมารวมอยู่ในชั้นเดียว และ  Design House  สินค้าตกแต่งบ้านอย่างมีสไตล์มารวมไว้ในที่เดียว 6.Digitalization & Sharing Economy ด้วยความมุ่งมั่นในการเป็น Community Thought Leader ให้ศรีราชา สร้าง Co-Working Space แห่งแรกในศรีราชา ตอบโจทย์คนทำงานยุคใหม่และกลุ่ม Start-up 7.The Innovation Oasis: CPN ตั้งเป้าให้ เซ็นทรัล ศรีราช เป็น No.1 Destination ศูนย์กลางไลฟ์สไตล์แห่งอนาคตเพื่อศรีราชา จึงได้นำระบบไอทีเข้ามาสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า ในหลากหลายเรื่อง ภายใต้ 4 ไอเดีย​สำคัญ​ ได้แก่ -Nature-Tech Oasis การนำเทคโนโลยีและประสบการณ์ใกล้ชิดธรรมชาติ มาให้บริการ ​เช่น EV Charging Station, Solar Battery Charger, สนับสนุนให้ใช้ร้านค้าใช้ Bio-Degradable Packaging, E-Receipt, E-Menu เพื่อลดการใช้กระดาษ และรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเริ่มที่แรกที่ Food Park ภายในศูนย์ -Inspiring Oasis   การสร้างพื้นที่สำหรับการสร้างไอเดีย ภายใต้แนวคิด Hub of Creative Lifestyle เช่น B2S Think Space และ Co-Working Space -Urbanised Oasis การนำแบรนด์และสินค้ามาตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น Tops Premium ซูเปอร์มาเก็ตดีไซน์แบบ Glasshouse, แบรนด์แฟชั่นชั้นนำที่ขยายสาขามาที่อ.ศรีราชาครั้งแรก อาทิ Muji, Uniqlo, กลุ่ม Jaspal อาทิ CCOO, Lyn  เป็นต้น ร้านอาหารดังมากมายกว่า 30 ร้าน อาทิ Bonchon, Mos Burger, Fin Sushi, Potato Corner, Fuji Restaurant เป็นต้น และโซนไฮไลท์ อาทิ Asian Village ที่นำแบรนด์ดังจากทั่วเอเชียมารวมกันไว้ในที่เดียว พร้อมเอาใจ Pet Lovers ด้วย Central Si Racha Pet Community คอมมูนิตี้คนรักสัตว์ ที่สามารถพาน้องหมามาทำ Dog ID ฟรี! พร้อมด้วยบริการต่างๆ ทั้งธนาคาร โรงภาพยนตร์  Si Racha Cineplex, Supersports, Powerbuy, Kids Playground และ Education Center -Community Co-Creation Oasis เซ็นทรัล ศรีราชา มีการดึงเอาอัตลักษณ์และความภาคภูมิใจท้องถิ่นมาผสานและถ่ายทอดผ่านคอนเซ็ปต์  Si Racha's Charm หรือ มนต์เสน่ห์แห่งศรีราชา จึงได้ดีไซน์ฟีเจอร์แลนด์มาร์กทั่วศูนย์​  ได้แก่ Outdoor Signature ชื่อเมือง “ศรีราชา”, Si Racha Textile ตกแต่งด้วยลวดลาย “ผ้าทอคุณย่าท่าน”, House of Carpenter จุดนั่งพักผ่อนหย่อนใจ, Tiger + Neko Sculpture เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการนำเอาซอสพริกศรีราชา ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมทั่วประเทศ มาร่วมกันทำเมนูอาหารเฉพาะกับศูนย์อาหารด้วย ภายใต้แคมเปญ “Food Park x ซอสศรีราชา และยังมีการจับมือกับแบรนด์ดังเพื่อทำสินค้าคอลเลคชั่นพิเศษ เช่น Uniqlo และ Jubilee นอกจากนี้ยังจับมือภาครัฐ อาทิ อพท. จัดงานส่งเสริมหัตถกรรมชุมชนตลอดปี, ร่วมกับชุมชนพนัสนิคม ทำ Wrap ตุ๊กตุ๊กจักสาน และนำสินค้าจักสานชุมชนมาขายภายในศูนย์, และแผนความร่วมกับคอมมูนิตี้โดยรอบ เซ็นทรัล ศรีราชา เป็นศูนย์การค้าแห่งที่ 34 ซึ่งศรีราชามีศักยภาพในอนาคตจะเป็น New Silicon Valley ของเมืองไทย    
จากโรบินสันสีลม สู่ สีลมเอจ มิกซ์ยูส 1,800 ล้านของ เฟรเซอร์สฯ

จากโรบินสันสีลม สู่ สีลมเอจ มิกซ์ยูส 1,800 ล้านของ เฟรเซอร์สฯ

เฟรเซอร์สฯ ทุ่มงบ 1,800 ล้าน ปรับโฉมอาคารโรบินสันสีลมเก่า สู่โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 50,000 ตารางเมตร “สีลมเอจ” ​กับคอนเซ็ปต์การพัฒนาแนวใหม่  “The new sandbox community in CBD”  เจาะกลุ่ม Gen ใหม่ ธุรกิจ Start-Up และแพลตฟอร์มออนไลน์ เตรียมเปิดกันยายน 65 ​   เชื่อว่าหลายคนยังมีภาพจำอาคารบริเวณหัวมุมถนน ตรงข้ามโรงแรมดุสิตธานี และตรงข้ามโรงพยาบาลจุฬาฯ บริเวณ​สี่แยกของถนนสีลมตัดกับถนนพระราม 4 ว่าคือที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสีลม ที่เปิดให้บริการนานกว่า 24 ปี ก่อนจะปิดสาขาสีลมช่วงเดือนพฤษภาคม 2551 เร็วกว่ากำหนดสัญญาเช่าอาคารถึง 3 ปี   สาเหตุของการปิดกิจการสาขาสีลม ผู้บริหารชี้แจงว่าเป็นเพราะพื้นที่ของอาคารที่ใช้เป็นส่วนห้างสรรพสินค้าโรบินสัน มีขนาดเล็กเกินกว่าจะรีโนเวตให้เป็นห้างสรรพสินค้ารูปโฉมใหม่ ทางบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) จึงยุติการดำเนินงานของสาขาสีลม แต่ในเดือนกันยายน 2565 ที่จะมาถึงประมาณ 1 ปีข้างหน้า อาคารที่เคยเป็นตำนานของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จะถูกจดจำใหม่ กับภาพลักษณ์ของอาคารสำนักงานและรีเทล รูปแบบโครงการมิกซ์ยูส ภายใต้ชื่อ “สีลมเอจ” (Silom Edge) ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 1,800 ล้านบาท ภายใต้การบริหารและพัฒนาโดย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “FPT” หลังจากได้ทำสัญญาเช่าอาคารจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นระยะเวลา 30 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป   นายธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  FPT  เล่าว่า บริษัทได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของที่ตั้งโครงการที่อยู่หัวมุมถนนสีลม ซึ่งเป็นทำเลใจกลาง CBD เชื่อมต่อกับทั้งรถไฟฟ้า BTS และ MRT  และยังเคยเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของกรุงเทพฯ และเป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำหลายแห่งในประเทศไทย ทำให้ถนนสีลมกลายเป็นหนึ่งในถนนเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัจจุบันไม่มีแลนด์แบงก์มากพอเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทได้ตัดสินใจเข้าลงทุนในทรัพย์สินนี้ ​เพื่อพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส สอดคล้องกับกลยุทธ์การสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่องค์กร โดยสีลมเอจ นับเป็นโครงการ Re-development แห่งแรกของ FPT ที่จะมาเสริมความแข็งแกร่งและกระจายความเสี่ยง พร้อมเพิ่มสัดส่วนของรายได้ประจำ (Recurring Income) ให้แก่พอร์ตคอมเมอร์เชียล  ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีพื้นที่อาคารสำนักงานโกลเด้นแลนด์บิวดิ้ง บริเวณซอยมหาดหลวงเล็ก 1 ที่สร้างรายได้ 300 ล้านบาท และกำลังจะหมดสัญญาในเดือนสิงหาคม 2565 โดยบริษัทคาดว่าโครงการสีลมเอจจะเข้ามาทดแทนรายได้ดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการนี้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีหน้า และคาดว่าโครงการนี้จะถึงจุดคุ้มทุนภายในระยะเวลา 9-10 ปี   สำหรับอาคารสีลมเอจเป็นต้นแบบโครงการ Re-development ที่นำอาคารเก่ามาแปลงเป็นมิกซ์ยูสพันธุ์ใหม่  ถูกพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์  “The new sandbox community in CBD”  ด้วยแนวคิด “BE DIFFERENT. BE CONNECTED” ซึ่งมีลักษณะของโครงการ คือ -SPACE & CONTRACT AS A SERVICE พื้นที่สำนักงานให้เช่า มีทั้งแบบที่ยังไม่ตกแต่ง คาดว่าจะกำหนดราคา 750-800 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน และตกแต่งในรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ ทำให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้ไม่จำกัด ตามลักษณะการใช้งานของแต่ละธุรกิจ ขณะเดียวกันมีพื้นที่ส่วนกลางให้ผู้เช่าได้ใช้บริการด้วย -CREATE A SANDBOX PLATFORM TO UNLEASH THE MAXIMUM POTENTIAL สร้างแพลตฟอร์มแซนด์บ็อกซ์ เพื่อให้ธุรกิจของคนรุ่นใหม่สามารถทดลองและพัฒนาธุรกิจได้ ​ -EXTENDED OPERATION HOURS FOR DIGITALIZING LIFE อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เช่าและผู้ใช้บริการในทุกช่วงเวลา ตอบโจทย์การทำงานยุคดิจิทัล ขณะที่พื้นที่รีเทลจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 11.00-24.00 น. -O2O2O READY รองรับทุกการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจได้อย่างคล่องตัว พร้อมสนับสนุนทุกบริษัทให้เติบโตผ่านการผสานธุรกิจจากออนไลน์ไปสู่ออฟไลน์ โดยมีพื้นที่รองรับธุรกิจออนไลน์ที่ต้องการมีหน้าร้าน ซึ่งจะคิดค่าบริการแบบต่อร้าน ไม่คิดค่าบริการต่อพื้นที่ต่อตารางเมตร BE CONNECTED -CONQUER THE WORK-LIFE INTEGRATION เชื่อมรูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยพื้นที่ที่ตอบโจทย์ในทุกมิติตลอดวัน -EXTREMELY CONVENIENT LOCATION โครงการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าทั้ง BTS และ MRT ทำให้การเดินทางสะดวกและรวดเร็ว -OPEN TO CRYPTO & CASHLESS SOCIETY บริษัทวางระบบรองรับกับการชำระเงินด้วยเงินดิจิทัลด้วยคริปโตฯ และหลากหลายสกุลเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และการทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ -REDEFINE ENDLESS BUSINESS OPPORTUNITIES สร้างนิยามใหม่สู่โอกาสทางธุรกิจที่ไม่สิ้นสุด สำหรับข้อมูลโครงการ มีรายละเอียดดังนี้  ชื่อโครงการ:      สีลมเอจ (Silom Edge) เจ้าของที่ดิน:      สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พัฒนาโครงการ: เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย มูลค่าโครงการ:  1,800 ล้านบาท ขนาดที่ดิน:        2 ไร่ 2 งาน 71 ตารางวา พื้นที่โครงการ:   50,000 ตารางเมตร พื้นที่ให้เช่า:       22,000 ตารางเมตร จำนวนชั้น:        24 ชั้น ที่ตั้งโครงการ:    ถนนสีลม-พระราม 4 การเดินทาง:      เข้าออกได้จาก 2 ถนนสำคัญของกรุงเทพ ถนนสีลม และถนนพระราม 4 เชื่อมตรง รถไฟฟ้า 2 สาย BTS ศาลาแดง และ MRT สีลม ทำเลโดยรอบ:    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เชื่อมต่อ สวนลุมพินี-สวนเบญจกิติ เปิดโครงการ:     กันยายน 2565  
ธุรกิจโรงแรมของ AWC ปรับกลยุทธ์อย่างไร ​ในวันที่โควิดทำรายได้หาย 10,000 ล้าน 

ธุรกิจโรงแรมของ AWC ปรับกลยุทธ์อย่างไร ​ในวันที่โควิดทำรายได้หาย 10,000 ล้าน 

AWC หรือ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  บริษัทภายใต้การบริหารงานของนางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ หนึ่งในทายาทของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่มี 3 พอร์ตธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจอาคารสำนักงาน และธุรกิจรีเทล  ซึ่งตลอดระยะเวลา​ 2 ปีภายหลังจากนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 ต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ที่กระทบธุรกิจอย่างหนัก เพราะต้องอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมที่นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ และรายได้หายไปกว่า 10,000 ล้านบาทจากเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้   กลยุทธ์การรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นของ AWC คือ การให้ความสำคัญกับการบาลาซ์พอร์ตฟอลิโอ โดยปัจจุบัน AWC มีทรัพย์สินในพอร์ตรวมมูลค่ากว่า 130,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง IPO ที่มีทรัพย์สินมูลค่า 100,000 ล้านบาท  โดยเป็นพอร์ตโรงแรมถึง 50% ​ส่วนที่เหลือเป็นธุรกิจอื่น ๆ ซึ่งการสร้างการเติบโต AWC จึงยังต้องมีการลงทุนและการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง นางวัลลภา เล่าว่า ต้องปรับตัวมองทุกอย่างในรูปแบบใหม่ บาลานซ์ซับเซ็กเมนต์ การบริหารความเสี่ยง การดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานทั้งหมด มีการคิดโปรแกรมลดค่าใช้จ่าย หรือสร้างคุณค่าเพิ่ม รวมถึงการมองใหม่และเดินหน้า เราต้องหา New Demand ความต้องการของลูกค้าที่จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ตอบสนองในสิ่งที่​ลูกค้ากำลังมองหาสำหรับการลงทุนและการบริหารความเสี่ยง AWC วางไว้ 3 แนวทาง คือ ​ ​ 1.ระยะสั้น (Short-term) ขยับหรือปรับเวลาให้ตรงกับดีมานด์ เช่น การเปิดตัวโรงแรมบันยันทรี กระบี่ เดิมจะเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2563 แต่เกิดการล็อกดาวน์เลยขยับเวลามาเปิดช่วงปลายไตรมาส 4 แทน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายการเปิดบริการ และยังได้อัตราเข้าพักสูงถึง 80% จากการเดินทางท่องเที่ยวช่วงปลายปีด้วย ส่วนปีนี้เตรียมเปิดโรงแรมคอร์ทยาท บายแมริออท วันที่ 2 พ.ย. 2564 และโรงแรมมีเรีย เชียงใหม่ ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2.ระยะกลาง (Medium-term) พิจารณาโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาให้มีระยะเวลาการเปิดดำเนินการให้เหมาะสม อาจจะให้ช้ากว่าปกติ เพื่อรอดีมานด์ที่กำลังจะเข้ามาในอนาคต 3.ระยะยาว (Long-term) ยังคงพัฒนาโครงการตามแผนงานที่ได้วางไว้ เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพและความแข็งแกร่งด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย ที่มีอยู่มากมาย และสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เมืองไทยยิ่งตอบโจทย์ในด้านความหลากหลาย และตอบโจทย์ New Demand ในกลุ่มที่ต้องการพักอาศัยแบบ Long stay และ Workation เนื่องจากมีโรงแรมคุณภาพไว้บริการมากมาย และมีแพ็กเกจในต้นทุนโดยรวมยังน่าสนใจกว่าหลายเมืองท่องเที่ยงอื่น ๆ ของโลก นอกจากนี้  AWC ยังมีโมเดลธุรกิจที่จับมือกับพันธมิตรระดับโลก Global partner ทำธุรกิจร่วมกัน เนื่องจาก​ AWC มองว่าพันธมิตรเหล่านั้นได้เข้ามาตอบโจทย์ธุรกิจ และสนองตอบความต้องการการของลูกค้าที่เป็น Global demand ได้ จึงได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับเชนโรงแรมระดับโลก เป็นท็อปแบรนด์ระดับโลกที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า พัฒนาธุรกิจ หรือการพัฒนา​ Global Destination หรือ Quality Asset ที่ตอบโจทย์นักเดินทางและ Global Demand ได้อย่างเต็มที่   โดย AWC ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับแบรนด์โรงแรมระดับโลก  ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม IHG ซึ่งมีการเปิดตัวแบรนด์ใหม่เดอะ วีนแยทท์ คอลเล็คชั่น (Vignette Collection) แบรนด์ใหม่ในฝั่งคอลเล็คชั่น Luxury & Lifestyle ที่เปิดตัวแห่งแรกของโลก, Hilton, Okura, Banyantree, Maria, Marriott, The ritz-carlton residences ซึ่งเป็นแห่งแรกของกรุงเทพฯ   ล่าสุด ยังร่วมมือกับ Nobu Hospitality แบรนด์ไลฟ์สไตล์สุดหรูระดับโลก ที่ก่อตั้งโดยเชฟโนบุ มัตสึฮิสะ, เมียร์ เทเปอร์ และโรเบิร์ต เดอ นิโร ในการร่วมพัฒนาและเปิดตัว Nobu Hotels and Restaurants  ในประเทศไทย โดยในเฟสแรกจะเริ่มด้วยการเปิดร้านอาหาร  Nobu Restaurants แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย บน Rooftop อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์  อาคารสำนักงานมิกซ์ยูส (Mixed-Use) แนวไลฟ์สไตล์ที่ใหญ่สุดในประเทศไทย  ซึ่งตั้งอยู่บนศูนย์กลางธุรกิจชั้นนำของกรุงเทพฯ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปลายปีนี้ ต่อด้วยการลงทุนสร้างโรงแรม Nobu Hotels อีก 1-2 แห่ง ภายใน 5-6 ปีข้างหน้า โดยจะเป็นการลงทุนของ AWC ทั้งหมด จับดีมานด์กลับมาเร็วและคุณภาพ แม้ว่าสถานการณ์ทุกอย่างเริ่มดีขึ้น รัฐบาลเริ่มเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ วันที่ 1 พ.ย.นี้ แต่สถานการณ์ทุกอย่างล้วนไม่มีความแน่นอน สิ่งที่ AWC วางกลยุทธ์รับมือ คือ การมุ่งจับตลาดดีมานด์ที่กลับมาเร็วและดีมานด์คุณภาพ ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับบน ที่มีกำลังซื้อสูง เพราะภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ยังมีค่าใช้จ่ายพิเศษที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าตรวจเชื้อโควิด-19 รวมถึงอาจจะต้องกักตัวตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มากกว่าปกติ ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวที่น่าจะกลับมาได้ช้าสุด คือ กลุ่มตลาดการประชุมและสัมมนา หรือ MICE เพราะต้องมีการจองล่วงหน้าเป็นระยะเวลานาน ดีลซื้อโรงแรม 200 แห่ง การขยายธุรกิจและสร้างการเติบโต นอกจากการลงทุนและพัฒนาโครงการต่าง ๆ ด้วยตนเองแล้ว AWC ยังมองเรื่องการซื้อกิจการหรือธุรกิจที่สามารถสร้างการเติบโต หรือตอบโจทย์ทางธุรกิจให้กับ AWC ได้ด้วย แม้ว่าปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่สำหรับ AWC แล้วมองว่าในวิกฤติยังมีโอกาส  ในการสร้างโครงการอสังหาฯ รูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการซื้อกิจการโรงแรม ที่ผ่านมามีหลายโรงแรมที่ไม่ดำเนินธุรกิจต่อ ได้เข้ามาเสนอขายให้กับทาง AWC กว่า 200 แห่ง ซึ่งมีเพียงดีลเดียวที่จบลง คือ โครงการที่เมืองพัทยา  ส่วนโครงการอื่น ๆ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา   โดย AWC ได้​พัฒนาระบบการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ หรือ  “Business Analysis” บนเว็บไซต์ด้วยการนำเอาระบบ AI มาช่วยในการวิเคราะห์โอกาส ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และการจัดประเภทธุรกิจว่าอยู่ในกลุ่มใด สำหรับโครงการที่นำมาเสนอทั้งหมด ซึ่งในเบื้องต้นยังไม่มีโครงการที่ตรงกับความต้องการของ AWC หลายคนบอกว่าในสถานการณ์แบบนี้มีโอกาสมาด้วยเสมอ    
อัพเดท ดอกเบี้ย สินเชื่อบ้านแลกเงิน สิงหาคม 2564

อัพเดท ดอกเบี้ย สินเชื่อบ้านแลกเงิน สิงหาคม 2564

อัพเดท ดอกเบี้ย สินเชื่อบ้านแลกเงิน สิงหาคม 2564 สำหรับผู้ที่มีหลักทรัพย์ประเภทบ้าน คอนโด หรืออสังหาฯ หลากหลายประเภท ที่ธนาคารพาณิชย์ให้ใช้เป็นหลักประกันได้ ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0%    การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยาวนานกว่า 1 ปี ได้ส่งผลกระทบทำให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หลายธุรกิจขาดสภาพคล่อง ผู้คนรายได้ลดลง บางคนหนักสุด คือ ถูกออกจากงาน เพราะกิจการไปต่อไม่ไหว เรียกว่าเดือดร้อนกันทั่วหน้า แต่เชื่อว่าในที่สุดแล้วปัญหาทุกอย่างจะคลี่คลายลง เพียงแต่เราอาจจะต้องอดทนรอเวลาให้ทุกอย่างกลับคืนสู่สภาพปกติ   ส่วนสำหรับใครที่ต้องการหาเงินมาเพิ่มสภาพคล่อง ด้วยการนำเอาบ้าน คอนโดมิเนียม หรืออาจจะเป็นอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ เช่น อาคารพาณิชย์ หรือที่ดิน ไปขอกู้เงินกับธนาคาร โดยใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน วันนี้เราเอาอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารมาให้เลือกพิจารณา เพื่อเปรียบเทียบว่าดอกเบี้ยเงินกู้ ประเภท สินเชื่อบ้านแลกเงิน ธนาคารไหนให้เรทได้ดีสุด และคุ้มค่าสุด 1.ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงเทพมีสินเชื่อบัวหลวงพูนผลด้วยการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้กู้ยกเว้นที่ดินและสิทธิการเช่าโดยให้มีระยะเวลาการู้ขั้นต่ำ 3 ปี สูงสุด 10 ปี ผ่อนชำระแบบคงที่ตลอดอายุสัญญา โดยมีการให้กู้ 2 ประเภท ดังนี้ กรณีแสดงวัตถุประสงค์เพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย เพื่อซื้ออุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เพื่อการศึกษา เพื่ออุปโภคบริโภค อัตราดอกเบี้ย = MRR-0.625% = 5.325% กรณีเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว อัตราดอกเบี้ย​ = MRR+0.375% (6.325%)  หมายเหตุ  -อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา -เพื่อใช้จ่ายส่วนตัว กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 10 เท่าของเงินเดือนและไม่เกิน 2 ล้านบาท  -เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ กู้ได้ 80% ของราคาประเมินหลักประกัน -ส่วนลด 0.25% ในปีแรกถ้าทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินและระยะเวลาประกันอย่างน้อย 10 ปีหรือเท่ากับระยะเวลาในสัญญากู้ -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ 17 มิ.ย. 64 เท่ากับ 5.95% ต่อปี -ค่าประเมินราคาหลักประกัน 3,210 บาท  -รายละเอียดเพิ่มเติม www.bangkokgbank.com 2.ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อ Home for cash ที่สามารถนำเงินไปใช้จ่ายได้ตามวัตถุประสงค์ โดยมีประเภทสินเชื่อให้เลือก 2 แบบ ดังนี้ เงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา (Term Loan) แบบระยะเวลาผ่อนน้อยกว่า 2 ปี อัตราดอกเบี้ย = MRR (6.22%) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา = 6.22% แบบระยะเวลาผ่อนตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป อัตราดอกเบี้ย = MRR-0.5% (5.72%) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.72% ประเภทสินเชื่อเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Loan) อัตราดอกเบี้ยต่อปี = MRR+1.0% (7.22%) หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) >ระยะเวลาผ่อนชำระบ้าน น้อยกว่า 2 ปี: คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 7,300 บาท/เดือน >ระยะเวลาผ่อนชำระบ้าน ตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป: คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 7,100 บาท/เดือน -MRR = 6.22% ต่อปี (ณ 1 เม.ย. 2564) -ระยะเวลาให้กู้ 1 ปี ธนาคารจะพิจารณาต่อสัญญาปีต่อปีให้กับลูกค้าที่มีประวัติชำระดี -เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด การพิจารณาสินเชื่ออยู่ภายใต้ดุลยพินิจของธนาคาร -รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อธนาคาร หรือ www.krungthai.com 3.ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี มีสินเชื่อกรุงศรีโฮมฟอร์แคช เปลี่ยนบ้านเป็นเงินก้อน เพื่อใช้จ่ายอเนกประสงค์ โดยกู้ 1 ล้านบาทผ่อนเพียงเดือนละ 6,700 ล้านบาท ผ่อนได้นานสูงสุด 30 ปี มีสินเชื่อให้เลือกดังนี้ ​ ประเภทหลักประกัน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และห้องชุดพักอาศัย สัดส่วนวงเงินกู้สูงสุด 85% ของราคาประเมิน วงเงินกู้ 300,000 บาท แต่ไม่ถึง 500,000 บาท ทางเลือก 1 อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR+2.4% (8.45%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี= 8.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 8.45% ทางเลือก 2 ฟรีค่าจดจำนอง อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR+2.9% (8.95%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 8.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 8.95% วงเงินกู้ 500,000 บาทแต่ไม่ถึง 1 ล้านบาท ทางเลือก 1 อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR+1.4% (7.45%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี= 7.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 7.45% ทางเลือก 2 ฟรีค่าจดจำนอง อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR+1.9% (7.95%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 7.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 7.95% วงเงินกู้ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือก 1 อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR (6.05%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี =6.05% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 6.05% ทางเลือก 2 ฟรีค่าจดจำนอง อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 =MRR+0.5% (6.55%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี =6.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 6.55% วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือก 1 อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 =MRR-1.75%  (7.8%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี =4.30% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 5.11% ทางเลือก 2 ฟรีค่าจดจำนอง อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = MRR-1.4% (7.45%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 5.3% หมายเหตุ -เฉพาะลูกค้าที่ซื้อ MRTA/MLTA ตามเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น จึงจะสามารถเลือกรับดอกเบี้ยทางเลือกที่ 2 ได้ (มีรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาสอบถามกับทางธนาคาร) -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 300,000 บาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 300,000 บาทแต่ไม่ถึง 500,000 บาท, ฐานวงเงินกู้ 500,000 บาท สำหรับเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 500,000 บาท แต่ไม่ถึง 1 ล้านบาท, ฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปีในกรณีที่ลูกค้าซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ -ตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค.63 อัตราดอกเบี้ย MRR=6.05% -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.-31 ส.ค.64 โดยจดจำนองและเบิกรับเงินกู้ภายในวันที่ 30 ก.ย.64 -รายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามกับทางธนาคาร หรือติดต่อ www.krungsri.com 4.ธนาคารกสิกรไทย สำหรับธนาคารกสิกรไทย มีสินเชื่อบ้านช่วยได้ โดยใช้หลักประกันที่นำมาใช้กู้ได้ ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด อาคารพาณิชย์ ปลอดภาระ ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 30 ปี อายุผู้กู้ไม่เกิน 70 ปี ให้วงเงินสูงสุด 90% ของราคาประเมินหลักประกันตามหลักเกณฑ์ของทางธนาคาร มีรายละเอียดดังนี้ สำหรับผู้มีรายได้ประจำ ใช้หลักประกันเป็นที่อยู่อาศัย อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 7.97% อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา = MRR+2.0% (7.97%) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (20ปี) = 7.97% สำหรับผู้มีรายได้ประจำ ใช้หลักประกันเป็นที่ดินเปล่า อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 8.97% อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา =MRR+3.0% (8.97%) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง  (20ปี) = 8.97% สำหรับเจ้าของกิจการ ใช้หลักประกันเป็นที่อยู่อาศัย อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 7.97% อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา = MRR+2.0% (7.97%) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (20ปี) = 7.97% หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63 -รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อธนาคาร หรือ www.kasikornbank.com 5.ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารเกียรตินาคินมีสินเชื่อบ้านกู้เงินด่วน (KKP Home Quick Cash) ตั้งแต่ 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท สูงสุด 20 ปี ยกเว้นห้องชุดคอนโดสูงสุดไม่เกิน 15 ปี มีรายละเอียดดังนี้ ทางเลือกอัตราดอกเบี้ยคงที่ แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 4.9% ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ย = MLR-1.75% (4.775%) แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 5.1%  ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ย = MLR-1.75% (4.775%) หมายเหตุ  1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอ้าง เช่น  อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการที่ให้บริการและเว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่ 18 ส.ค. 63 เท่ากับ 5.525% ต่อปี 3.เลือกทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ผ่านธนาคาร ทุนประกันภัยเท่ากับวงเงินกู้ โดยมีระยะเวลาเอาประกันภัยขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลาการกู้ไม่ถึง 10 ปีให้ระยะเวลาเอาประกันภัยเท่ากับระยะเวลาการกู้ 4.กรณีรีไฟแนนซ์ไปสถาบันการเงินอื่นก่อนครบ 3 ปีแรก คิด Prepayment Penalty 3% ของเงินต้นคงค้าง 5.กรณีเลือกใช้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแบบฟรีค่าจดจำนอง หากลูกค้า รีไฟแนนซ์หรือชำระปิดบัญชีก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ทุกกรณี ลูกค้าต้องชำระคืนค่าจดจำนองเพื่อที่ธนาคารเคยสำรองจ่ายให้แก่ธนาคาร 6.ค่าประเมินหลักประกันเริ่มต้น 3,210 บาท ค่าอาการแสตมป์ ร้อยละ 0.05 ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท) 7.เบี้ยประกันภัย เป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด โดยผู้กู้สามารถเลือกทำประกันกับบริษัทประกันที่น่าเชื่อถือใดก็ได้  8.รายละเอียดเพิ่มเติมอื่นติดต่อธนาคาร หรือ https://bank.kkpfg.com 6.ธนาคารซีไอเอ็มบี ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยมีสินเชื่ออเนกประสงค์เพื่อให้คนมีโฉนดนำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ขอสินเชื่อกับทางธนาคารได้โดยไม่จำกัดเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยเท่านั้นแต่ยังรวมถึงโกดังสำนักงานอพาร์ตเม้นท์และอื่นๆแต่การสำรวจครั้งนี้นำเฉพาะสินเชื่อที่ใช้ที่อยู่อาศัยมาเป็นหลักทรัพย์คำ้ประกันเท่านั้นได้แก่สินเชื่อประเภทมอร์เกจพาวเวอร์ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ สำหรับผู้มีรายได้ 30,000 บาท แบบที่ 1ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-2.61 (4.74%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.74% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.2% แบบที่ 1 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-2.31 (5.04%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.04% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.27% สำหรับผู้มีรายได้ 50,000 บาท ทางเลือกที่ 1 แบบที่ 1ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-2.91% (4.44%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.44% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.12% แบบที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-2.61% (4.74%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.74% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.20% ทางเลือกที่ 2 แบบที่ 1ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = 4.44% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.44% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.12% แบบที่ 1 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = 4.74% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.74% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.20% สำหรับผู้มีรายได้ 100,000 บาท ทางเลือกที่ 1  แบบที่ 1 ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-3.06% (4.29%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.29% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง =5.08% แบบที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = MRR-3.76% (4.59%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.59% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง =5.16% ทางเลือกที่ 2 แบบที่ 1ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = ​4.29% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.29% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.08% แบบที่ 1 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = 4.59%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.59% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.16% ทางเลือกที่ 3  แบบที่ 1ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 =  4.99% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.99% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.21% แบบที่ 1 ไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 = 5.29% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.29% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.33% หมายเหตุ  -MRR = 7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เม.ย. 63 -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 2ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี เท่านั้น  -รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อธนาคาร หรือ www.cimbthai.com 7.ธนาคารทีทีบี ธนาคารทีทีบี มีสินเชื่อบ้านแลกเงิน ดอกเบี้ยพิเศษ 0% นาน 3 เดือน เฉลี่ย 3 ปีแรก 5.15%ต่อปี  สามารถรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านแลกเงินจากสถาบันการเงินอื่นได้ด้วย วงเงินขั้นต่ำ 500,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 10,000,000 บาท และไม่เกิน 90% ของราคาประเมินธนาคาร มีรายละเอียดดังนี้ แบบสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม MRTA ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1อัตราดอกเบี้ย 0% 3 เดือนแรก เดือนหลังจากนั้น 5.55% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.63% = 5.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.15% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.47% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.88% = 5.4% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.4% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.57% ทางเลือกที่ 3 ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1​-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.63% = 5.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.65% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.65% ทางเลือกที่ 4 ปีที่ 1อัตราดอกเบี้ย 0% 3 เดือนแรก เดือนหลังจากนั้น 5.55% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.63% = 5.65% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.15% ดอกเบี้ยแท้จริง =  5.47% หมายเหตุ -ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย,ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์,สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม MRTA, MRR = 6.28% -รายละเอียดติดต่อธนาคาร หรือ https://www.ttbbank.com 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสินเชื่อเปลี่ยนบ้านเป็นเงิน สินเชื่อบ้านคือเงิน My Home My Cash เปลี่ยนบ้านเป็นเงิน ให้วงเงินสินเชื่อสูงสุด 20 ล้านบาท ผ่อนนาน 30 ปี โดยสามารถนำเอาที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ หรือที่ดินเปล่า ซึ่งไม่รกร้างและอยู่ในชุมชนพักอาศัย มาเป็นหลักประกัน มีรายละเอียดดังนี้ 1.แบบลูกค้าทั่วไป ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 100%/100% ปีที่ 1-3 =  MRR+1.65% (7.645%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 7.645% ดอกเบี้ยแท้จริง =  7.645% 2.แบบลูกค้าทั่วไป ฟรีค่าจดจำนอง ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 100%/100% ปีที่ 1-3 =  MRR+2.65% (8.645%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 8.645% ดอกเบี้ยแท้จริง =  8.645% 3.แบบลูกค้าทั่วไป ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 70%/70% ปีที่ 1-3 =  MRR+2.40% (8.395%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 8.395% ดอกเบี้ยแท้จริง =  8.395% 4.แบบลูกค้าทั่วไป ฟรีค่าจดจำนอง ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 70%/70% ปีที่ 1-3 =  MRR+3.40% (9.395%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 9.395% ดอกเบี้ยแท้จริง =  9.395% 5.แบบลูกค้าทั่วไป ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-3 =  MRR+3.40% (9.395%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 9.395% ดอกเบี้ยแท้จริง =  9.395% หมายเหตุ : 1.อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) เท่ากับ 5.995% ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 2.อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Rate) คำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี 3.อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวมีผลในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 – 30 กันยายน 2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง 4.กรณีใช้อัตราดอกเบี้ย Credit Life -กรณีใช้อัตราดอกเบี้ย Credit Life 70%/70% กำหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 70%ของวงเงินกู้ และระยะเวลาเอาประกัน 70% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา โดยกำหนดให้ระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี (กรณีระยะเวลากู้ตามสัญญาต่ำกว่า 10 ปี กำหนดให้ระยะเวลาเอาประกันเท่ากับระยะเวลากู้ตามสัญญา) และให้ลูกค้า Top up ประกันอัคคีภัยรวมในวงเงินกู้ -กรณีใช้อัตราดอกเบี้ยทำประกัน Credit Life 100%/100% กำหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 100% ของวงเงินกู้และระยะเวลาเอาประกัน 100% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา และให้ลูกค้า Top up ประกันอัคคีภัยรวมในวงเงินกู้ -รับประกันภัยโดย บมจ. เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต หากต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับประกันภัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อศูนย์บริการลูกค้า โทร. 1315 (ทุกวัน เวลา 8.00-20.00 น.) หรือ fwd.co.th ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง -ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่องให้ทำประกันเท่านั้น ทั้งนี้การพิจารณาขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันของบริษัทประกันภัย -รายละเอียดติตต่อธนาคาร หรือ 9.ธนาคารยูโอบี ธนาคารยูโอบี มีสินชื่ออเนกประสงค์ (UOB Cash to Home) แบบวงเงินกู้มีกำหนดระยะเวลา โดยยื่นคำขอสินเชื่อ ตั้งแต่ 1 ก.ค.-30 ก.ย.64 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายใจวันที่ 29 ต.ค.64 มีรายละเอียดสินเชื่อดังนี้ แบบทำประกันชีวิต* ปีที่ 1-2 =  4.99% ปีที่ 3 = MRR-2.36% (4.99%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.99% ดอกเบี้ยแท้จริง** =  5.89% แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 =  5.10% ปีที่ 3 = MRR-2.25% (5.10%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.10% ดอกเบี้ยแท้จริง** =  5.93% หมายเหตุ *อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ผ่านธนาคารยูโอบี -ทุนประกันเต็มวงเงินกู้และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปีหรือ -ทนุ ประกันขั้นต่ำ​ 80% ของวงเงินกู้และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ **อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่ออเนกประสงค์วงเงิน 1 ล้านบาทอายุสัญญา 15 ปีMRR = 7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจะมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้า แต่ละราย ​ -กรณไถ่ถอนจำนองเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น ​​​(Re-finance) ในช่วงระยะเวลา 3 ปีแรก นับจากวันที่กู้จะมีค่าปรับ​ 3% ของยอดเงินต้นคงค้าง​ (เฉพาะวงเงินสินเชื่ออื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยเท่านั้น -การอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร -เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น อัตราดอกเบี้ย​ MRR ปัจจุบันเท่ากับ 7.35% ตอ่ ปี/MOR ปัจจุบันเท่ากับ ​ 6.80% ต่อปี (ตามประกาศธนาคาร​ ณ วันที่ 1 เม.ย. 64) อนึ่งธนาคารสามารถประกาศปรับเปลี่ยนอัตรา​ MRR/MOR ได้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอนุญาตไว้ -อัตราคา​ธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ​ๆ เป็นไปตามประกาศที่ธนาคารจัดทำไว้ และประกาศให้ทราบตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอาจเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยการปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการ หรือเว็บไซต์ของธนาคาร​ -ธนาคารยูโอบีในฐานะนายหน้าค้ำประกันภัย ​(ใบอนุญาตประกันชีวิตเลขที่ ช.00026/2545 และใบอนุญาตประกันวินาศภัย เลขที่ ว.00020/2546) ทำหน้าที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยและเป็นผู้จัดการให้บุคคลทำสัญญา​ประกันชวีติ/ประกันวินาศภัย และอำนวยความสะดวกในการรับชำระเบี้ยประกันเท่านั้น​ รับประกันชีวิต​โดยบริษัท​ พรูเด็นเชียลประกันชีวิต​ (ประเทศไทย) จำกัด​ (มหาชน), รับประกันวินาศภัย โดย บริษัท​ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) ​, บริษัท ​แอกซ่า ประกันภัย จำกัด ​(มหาชน) และบริษัท เอ็มม เอส ไอ จีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้รับผิดชอบตามเงื่อนไข ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่ได้ระบุไว้ในกรม​ธรรม์ประกันภัย -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง -รายละเอียดติตต่อธนาคาร หรือ https://www.uob.co.th 10.ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ หรือ LH Bank มีสินเชื่อบ้านเพิ่มเงิน Happy Home  For Cash ให้สินเชื่อวงเงินกู้สูงสุด 80% ระยะเวลากู้สูงสุดถึง 30 ปี ซึ่งบ้านที่นำมาค้ำประกัน ทั้งบ้านหมดภาระหรือผ่อนอยู่ก็กู้ได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 = MRR-2.75% (4.60%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.60% ดอกเบี้ยแท้จริง = 5.30% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 = MRR-2.25% (5.10%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.10% ดอกเบี้ยแท้จริง = 5.68% หมายเหตุ -วงเงินกู้อนุมัติสูงสุด 80% ของราคาประเมินหลักประกัน** -วงเงินกู้เริ่มต้น 1.0 ล้านบาท และราคาประเมินหลักประกัน (แนวราบ) ไม่น้อยกว่า 2.0 ล้านบาท หรือ (แนวสูง) ไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านบาท (โครงการจัดสรรทุกโครงการ) -อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขดังกล่าว สำหรับหลักประกันที่ได้รับการจัดสรรทุกโครงการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ยกเว้น ที่ดินว่างเปล่า, อาคารพาณิชย์ -ระยะเวลาการกู้สูงสุด 30 ปี รวมอายุผู้กู้ไม่เกิน 65 ปี(สูงสุด)* -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.35% (ณ วันที่ 14 เม.ย. 63) และใช้การผ่อนชำระค่างวดปกติที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย*** -ลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อต้องมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ พร้อมทั้งสมัคร Retail Internet Banking (RIB) หรือ Mobile Banking หรือ Promptpay กับธนาคารอย่างใดอย่างหนึ่ง -ทราบผลอนุมัติเบื้องต้นภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ธนาคารได้รับใบสมัครสินเชื่อพร้อมเอกสารประกอบครบถ้วน -การพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละรายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่ธนาคารกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์การพิจารณาสินเชื่อ โดยอยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆ เป็นไปตามประกาศธนาคาร โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า -อัตราดอกเบี้ยและโปรโมชั่น(มีวงเงินสินเชื่อจำกัด) สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติและเบิกรับเงินกู้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2564 -รายละเอียดติตต่อธนาคาร หรือ https://www.lhbank.co.th 11.ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินมีสินเชื่อ บ้านแลกเงิน วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาท ผ่อนสูงสุด 25 ปี โดยมีรายเอียดสินเชื่อดังนี้ ประเภททำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1 = MRR-2.0% (4.245%) ปีที่ 2 = MRR-1.5% (4.745%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป = MRR-0.5% (5.745%) ประเภทไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-2 = MRR-1.5% (4.745%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป = MRR-0.5% (5.745%) หมายเหตุ -MRR = 6.245% ต่อปี ตั้งแต่ 25 พ.ค.63 เป็นต้นไป -อัตราดอกเบี้ยเฉพาะวงเงินกู้ระยะยาว -รายละเอียดติตต่อธนาคาร หรือ https://www.gsb.or.th ที่มา : Reviewyourliving รวบรวม   บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์ สินเชื่อกู้ซื้อบ้านประจำเดือนสิงหาคม 2564 อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือน สิงหาคม 2564            
ตลาดออฟฟิศ-โรงแรมในกรุงเทพฯ Q1  บทสรุป ยังบาดเจ็บจากพิษโควิด-19

ตลาดออฟฟิศ-โรงแรมในกรุงเทพฯ Q1 บทสรุป ยังบาดเจ็บจากพิษโควิด-19

สรุปภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานและตลาดโรงแรมในกรุงเทพฯ ไตรมาส 1 ปี 2564 ยังต้องเผชิญความท้าทาย และปัจจัยลบจากโควิด-19 ออฟฟิศให้เช่าซัพพลายเพิ่ม-ดีมานด์ลด เหลือพื้นที่กว่า 23,500 ตารางเมตร ขณะที่ตลาดโรงแรมอัตราเข้าพักลดต่ำเหลือ 19.9%   หลังจากผ่านไปหนึ่งปีเต็มภายใต้แรงกดดันทางการเงินที่เกิดจากโควิด-19 และสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ พบว่า ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2564 ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับภาวะซัพพลายที่กลับเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการลดพื้นที่ของผู้เช่า ส่วนตลาดโรงแรมในกรุงเทพฯ มีอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก ซัพพลายออฟฟิศเหลือกว่า 2.3 หมื่นตร.ม. ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากผู้เช่าพิจารณาใช้พื้นที่ลดลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายและมีการใช้นโยบายให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ปริมาณพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ ในไตรมาสแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น 25,000 ตารางเมตร เป็น 9.26 ล้านตารางเมตร จากอาคารดับบลิวเอชเอ ทาวเวอร์ (WHA Tower) ในย่านบางนา – ตราด โดยพื้นที่ส่วนหนึ่งในอาคารเป็นการใช้พื้นที่ของเจ้าของอาคารเอง ซึ่งทำให้ซัพพลายในย่านนี้คิดเป็นเพิ่ม 13% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา และในย่านดังกล่าวมีอัตราการใช้พื้นที่สำนักงานโดยรวมอยู่ที่ 80.4% ณ ไตรมาส 1 ปี 2564   ในด้านการใช้พื้นที่สำนักงานที่เพิ่มขึ้นใหม่ในไตรมาส 1 ปี 2564 นั้น แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ถึงแม้ว่าจะมีความต้องการใหม่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจที่มีการขยายตัว แต่ตัวเลขโดยรวมนั้นติดลบ 23,521 ตารางเมตร ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้เช่าบางรายในอาคารสำนักงานเกรดบีในย่านใจกลางธุรกิจย้ายสำนักงานไปยังทำเลนอกใจกลางย่านธุรกิจ ที่มีค่าเช่าต่ำกว่าและลดขนาดพื้นที่ไปในตัว อย่างไรก็ตาม ตลาดอาคารสำนักงานเกรดเอที่อยู่นอกใจกลางย่านธุรกิจยังคงแข็งแกร่งโดยเป็นตลาดย่อยเพียงตลาดเดียวที่มีการใช้พื้นที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้  ส่งผลให้อัตราการใช้พื้นที่โดยเฉลี่ยทั้งตลาดลดลง 0.5% มาอยู่ที่ 90.1% จาก 90.6% ในไตรมาสก่อนหน้า   นางสาวรุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ หัวหน้าแผนกพื้นที่สำนักงาน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วง 3 ปีนับจากนี้  คาดการณ์ว่าจะมีพื้นที่สำนักงานใหม่กว่า 1.3 ล้านตารางเมตรที่จะแล้วเสร็จในกรุงเทพฯ   ขณะที่ย้อนดูอดีตที่ผ่านมา ต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปีตั้งแต่ช่วงปี 2553 ถึง 2563 ที่พื้นที่สำนักงานเพิ่มขึ้น 1 ล้านตารางเมตร  ซึ่งซัพพลายใหม่ดังกล่าวจะสร้างแรงกดดัน ทั้งในด้านอัตราการใช้พื้นที่และอัตราค่าเช่าในตลาดสำนักงานของกรุงเทพฯ ซีบีอาร์อียังคาดการณ์ว่าอัตราค่าเช่าในตลาดอาคารสำนักงานโดยรวม อาจจะไม่มีการเติบโต ยกเว้นอาคารสำนักงานเกรดเอรุ่นใหม่ ที่มีอัตราการใช้พื้นที่มากกว่า 90% ซึ่งค่าเช่ายังคงเติบโตได้อยู่ อัตราเข้าพักโรงแรม Q1 เหลือ 19.9% นายอรรถกวี ชูแสง หัวหน้าแผนกธุรกิจโรงแรม ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในไตรมาสแรก ปี 2564 มีเพียง 20,172 คน ต่ำกว่าในไตรมาส 1 ปี 2563 ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 6.7 ล้านคนอย่างเห็นได้ชัด  เนื่องจากปี 2563 ยังมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ก่อนเกิดโควิด ต่างจากในปี 2564 นี้   ปีนี้จึงถือเป็นอีกปีที่ท้าทายอย่างมากสำหรับตลาดโรงแรมทั่วประเทศ   นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังได้ลดการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือ 3 ล้านคน จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 5.5 ล้านคน ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีน้อยมาก  อัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยของโรงแรมในกรุงเทพฯ ลดลงเหลือ 19.9% ในไตรมาส 1 ปี 2564 จาก 54.7% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยฟื้นตัวมาอยู่ที่ระดับ 22.1% ในเดือนมีนาคม 2564  นอกจากนี้ รายได้เฉลี่ยต่อวันจากห้องพักที่ขายได้ (ADR) ในกรุงเทพฯ ก็ลดลงจาก 3,209 บาทในไตรมาส 1 ปี 2563 เป็น 2,106 บาท เนื่องจากโรงแรมมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าในประเทศและมีการเสนอโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงอัตราการเข้าพักให้กลับคืนมา จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่เริ่มในเดือนเมษายน 2564 นั้นจะส่งผลให้ผลประกอบการของโรงแรมในกรุงเทพฯ ในไตรมาสที่ 2 อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงมีอยู่ โรงแรมใหม่หลายแห่งจึงตัดสินใจที่จะชะลอแผนการเปิดตัวออกไป โดยในไตรมาส 1 ปี 2564 มีโรงแรมใหม่เพียงแห่งเดียวที่เปิดให้บริการ ซึ่งทำให้จำนวนห้องพักของโรงแรมในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 141 ห้อง มาเป็น 51,239 ห้องโดยรวม    
5 ทริคปรับคอนโดไซส์เล็กให้ดูกว้าง รับวิถี W​FH

5 ทริคปรับคอนโดไซส์เล็กให้ดูกว้าง รับวิถี W​FH

จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่เข้ามาเชื่อมต่อคนในยุคปัจจุบัน ให้สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา แถมภายใต้ภาวะเกิดโรคระบาดโควิด-19 ส่งผลให้หลายองค์กรต้องปรับเปลี่ยนวิธีดำเนินงานของคนในองค์กร  ด้วยรูปแบบการทำงานจากที่บ้าน หรือ  Work From Home มากขึ้น นิยามของ Workplace จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในออฟฟิศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  บ้านหรือที่อยู่อาศัย จึงถูกใช้ประโยชน์มากกว่าการเป็นที่พักหรืออยู่อาศัย  แต่เป็นพื้นที่สำหรับการทำงานและการใช้ทำธุรกิจได้ด้วย   แต่ด้วยการเติบโตของตลาดคอนโดมิเนียม ซึ่งตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนเมือง เนื่องจากอยู่ในทำเลใกล้สถานที่ทำงาน หรือการคมนาคมคนส่ง รวมถึงระดับราคาที่คนส่วนใหญ่หาซื้อได้  จึงทำให้คนทำงานในเมืองส่วนใหญ่ เลือกที่จะพักอาศัยในคอนโด แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องของระดับราคาคอนโด ที่คนส่วนใหญ่จะเลือกซื้อได้ ห้องพักที่ตรงโจทย์การใช้ชีวิตของคนเมือง จึงมักจะเป็นห้องขนาดไม่ใหญ่มาก โดยเฉลี่ยก็ระดับพื้นที่ 30 ตารางเมตรบวกลบไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่อาศัยกันเพียง 1-2 คนเท่านั้น   ด้วยดีไซน์ให้คอนโดมีขนาดห้องที่พอเหมาะกับการอยู่อาศัย แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับการทำกิจกรรมอื่น ๆ มากนัก จึงทำให้พื้นที่ห้อง หากจะต้องถูกนำมาใช้เพื่อการทำงาน อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน ปรับรูปแบบหรือเติมฟังก์ชั่นอื่น ๆเข้าไปเสริมด้วย ซึ่งวันนี้ บริษัท เอ็มดีพีซี จำกัด MDPC Expertise Meets Excellence ได้นำเสนอเทคนิคการตกแต่งที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับวิถีชีวิต Work From Home ในปัจจุบัน โดยเฉพาะห้องพักในโครงการคอนโดที่ส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ใช้สอยกะทัดรัดประมาณ 29 ตร.ม. ให้รองรับทั้งชีวิตการทำงานและพักผ่อนได้อย่างลงตัวด้วย 5 เทคนิคสำคัญ ดังนี้ 1.ตกแต่งผนังห้องด้วยสีเอิร์ทโทน การแต่งห้องด้วยการใช้สีเอิร์ทโทน หรือ Earth Tone นอกจากช่วยให้บรรยากาศผ่อนคลายและรู้สึกสบายตาแล้ว การเลือกใช้วอลเปเปอร์สีโทนธรรมชาติ ลักษณะเอิร์ทโทน โดยเฉพาะสีเบจ (Beige) และสีเบจอมเทา (Greige) จะช่วยให้ห้องแลดูมีพื้นที่กว้างขวาง และสว่างมีชีวิตชีวาโดยไม่สะท้อนแสงไฟจนรบกวนสายตาเกินไป เหมาะกับช่วงเวลาที่ต้องใช้สมาธิและความสร้างสรรค์  ขณะเดียวกัน สีโทนนี้ยังเข้ากันได้กับอีกหลายโทนจึงง่ายต่อการตกแต่ง ช่วยขับให้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นอื่นภายในห้องพักดูโดดเด่น และยังสะดวกต่อการหามุมสำหรับ Video Conference 2.วางเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ชิดผนัง การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ให้ชิดผนังหรือเข้ามุม แล้วเปิดพื้นที่กลางห้องให้โล่ง มีทางเดิน จะช่วยให้ห้องดูโปร่ง เช่น วางโต๊ะทำงานชิดผนังห้อง เพื่อให้มีพื้นที่โล่งด้านหลัง ช่วยลดความรู้สึกอึดอัดขณะนั่งทำงาน และสะดวกต่อการถอยเก้าอี้  ทั้งนี้ ควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ที่มีดีไซน์เรียบง่าย มีทรงเหลี่ยมจะจัดวางได้ง่ายกว่าทรงอื่น รวมถึงการใช้เฟอร์นิเจอร์แนวสูงอย่างชั้นเก็บของแบบเข้ามุม จะช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บของได้มากขึ้น 3.เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบ Dual-purpose โครงการคอนโด ส่วนใหญ่มักติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ Built-in ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับขนาดห้องพัก อย่างตู้เสื้อผ้า เคาน์เตอร์ครัว หรือชั้นวางแบบติดผนัง แต่เฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ เช่น เตียง โต๊ะรับประทานอาหาร โต๊ะกลางหน้าโซฟา และโซฟา จะเป็นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวซึ่งใช้พื้นที่ใช้สอยมากกว่า จึงควรเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบ Dual-purpose หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานได้มากกว่า 1 ฟังก์ชัน และเฟอร์นิเจอร์พับเก็บได้ อย่างเตียงที่มีลิ้นชักเก็บของ โซฟาเบด และเก้าอี้ที่สามารถเก็บของได้จะช่วยลดจำนวนเฟอร์นิเจอร์ในห้องและประหยัดพื้นที่ใช้สอย 4.กั้นห้องด้วยฉากโปร่งใส แม้พื้นที่ในห้องพักจะไม่เหมาะกับการแบ่งห้อง แต่หากต้องการจัดพื้นที่พักผ่อนในห้องนอนกับพื้นที่ทำงานแยกออกจากกัน ควรใช้ฉากกั้นแบบโปร่งใส ประตูกระจกบานเลื่อน ติดตั้งม่านที่สามารถเลื่อนเก็บได้ หรืออาจจะใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีลักษณะโปร่ง เช่น ชั้นวางของที่ไม่มีผนังทึบ ซึ่งยังสามารถมองเห็นบริเวณอื่นของห้องได้ ช่วยไม่ให้ห้องดูคับแคบจนเกินไป มอบความรู้สึกโล่งสบายขณะพักอาศัย 5.ติดกระจกเงาบานใหญ่ การนำกระจกเงาบานใหญ่ติดตั้งบนผนังห้องในมุมทำงานหรือมุมนั่งเล่น และเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์อย่างตู้เสื้อผ้าที่มีกระจกเงาตรงประตู และตู้เก็บอุปกรณ์ในห้องน้ำที่เป็นบานกระจก นอกจากจะใช้งานได้แบบ Dual-purpose แล้ว ยังช่วยสะท้อนภาพให้ห้องพักดูกว้างขึ้น   ถือเป็น 5 เทคนิคที่เชื่อว่าหากนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละห้อง ก็น่าจะช่วยทำให้ห้องที่เล็กมีพื้นที่จำกัด ดูกว้างขวางมากขึ้น และทำให้การทำงานจากที่บ้านเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ ได้ทั้งงานได้ทั้งความสุขกันทุกคน
พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค วาง 3 กลยุทธ์ล้างขาดทุน ​ ตั้งเป้าโตแบบเทิร์นอะราวด์

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค วาง 3 กลยุทธ์ล้างขาดทุน ​ ตั้งเป้าโตแบบเทิร์นอะราวด์

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ตั้งเป้าธุรกิจ ปี 64 เติบโตแบบเทิร์นอะราวด์ ด้วย 3 กลยุทธ์​ สร้างธุรกิจหลักโต ขายที่ดินและลดหนี้สินลง พร้อมเดินหน้าธุรกิจใหม่ “ผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง” สร้างรายได้ปีแรกกว่า 3,000 ล้าน   รอบปีที่ผ่านมาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องเผชิญกับความยากลำบาก กับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งผลกระทบยังมีต่อเนื่องมาถึงปี 2564 และกระทบหนักมากขึ้น เมื่อเกิดการแพร่ระบาดระรอกใหม่ สำหรับกลุ่มบริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่น  แต่อาจจะหนักกว่าผู้ประกอบการบางราย เพราะมีธุรกิจโรงแรมอยู่ในพอร์ต ซึ่งผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อธุรกิจโรงแรม รุนแรงกว่าธุรกิจที่อยู่อาศัย   ผลประกอบการในรอบปี 2563 ที่ผ่านมาของกลุ่มบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 10,596.3 ล้านบาท ลดลง 35.3% จากปีก่อนหน้าที่มี 16,367.1 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรขั้นต้น 3,026 ล้านบาท ลดลง 46.9% ส่วนธุรกิจโรงแรม มีรายได้ 1,469.8 ล้านบาท ขาดทุนขั้นต้น 191.6 ล้านบาท นายศานิต อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพเพอร์ตี้  เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง ทิศทางการดำเนินงานปี 2564 ว่า วางแผนการดำเนินธุรกิจอย่างเข้มข้น ด้วยการดำเนินการใน 2 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มบริษัทวางแผนปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อพลิกกลับมาสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน และ 2.สร้างความมั่นคงทางการเงิน เพื่อเข้าสู่การโหมดของการเทิร์นอะราวด์   บริษัทจะดำเนินการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและ เพื่อให้เข้าสู่โหมดเทิร์นอะราวด์ ด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1.ขับเคลื่อนธุรกิจหลักให้มีรายได้เติบโต โดยปีนี้วางแผนเปิดโครงการใหม่เพิ่ม 6 โครงการ มูลค่า 9,930  ล้านบาท เป็นโครงการแนวราบทั้งหมด ส่วนโครงการคอนโดมิเนียมไม่มีแผนเปิด ซึ่งบริษัทหยุดการเปิดโครงการคอนโดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3  ปีนี้บริษัทยังมีสินค้าใหม่เซกเมนต์ใหม่บ้านเดี่ยว 3 ชั้นและโฮมออฟฟิศ 5 ชั้น ใจกลางเมืองทำเลพหลโยธินเพิ่มเติม   สำหรับแนวคิดการพัฒนาโครงการ นอกจากการพัฒนารูปแบบบ้านให้รองรับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่แล้ว ปีนี้ยังเพิ่มบริการด้านต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ด้านไลฟ์สไตล์ใหม่ของผู้บริโภค อาทิ การให้ลูกบ้านสามารถใช้บริการพื้นที่ทำงาน (Work from Hotel) ได้ทุกโรงแรมในเครือแกรนด์ แอสเสทฯ รองรับการติดตั้ง EV Charger ด้วยการเดินระบบไฟ และติดตั้ง VDO Doorbell ในโครงการเปิดใหม่ ร่วมกับ AIS ให้บริการสัญญาณ AIS 5G ที่โรงแรมและโครงการต่างๆ เป็นต้น ด้านนายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ  กล่าวว่า สำหรับโครงการร่วมทุนที่จะเปิดตัวใหม่ในปีนี้ เป็นการร่วมทุนกับ ฮ่องกงแลนด์ ตั้งอยู่บนทำเลบางนา-สุวรรณภูมิ ในคอนเซ็ปท์บ้านริมทะเลสาบขนาด 100 ไร่ มูลค่าโครงการ 5,100 ล้านบาท  ปีนี้บริษัทยังมีสินค้าใหม่เซกเมนต์ใหม่บ้านเดี่ยว 3 ชั้นและโฮมออฟฟิศ 5 ชั้น ทำเลพหลโยธินเพิ่มเติม 2.ขายที่ดินและการลงทุนเพื่อลดหนี้และทำกำไร ปีนี้วางเป้าขาย 17,300 ล้านบาท จากโครงการแนวราบ 12,000 ล้านบาท โครงการร่วมทุน 2,000 ล้านบาท คอนโดมิเนียมในประเทศ 2,500 ล้านบาท และคอนโดมิเนียมประเทศญี่ปุ่น 800 ล้านบาท  และมีแผนทั้งการขายที่ดินที่ไม่มีแผนพัฒนาโครงการและสิทธิการเช่า รวมถึงขายการลงทุนในโรงแรมและจัดตั้งกองทรัสต์ รวม 20,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นแนวทางที่จะเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้ดีขึ้น ลดต้นทุนทางการเงิน  และลดภาระหนี้ โดยตั้งเป้าหนี้สินสุทธิต่อทุนที่ระดับ 1.2 จากปัจจุบันมีอัตรา 2.1 แผนการขายที่ดินและสิทธิการเช่า และการลงทุน แบ่งเป็น 1.ขายที่ดินและการลงทุน อาทิ ที่ดินบริเวณแจ้งวัฒนะ รามอินทรา และรามคำแหง รวมมูลค่า 10,200 ล้านบาท 2.การลงทุนในโรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน และไฮแอท รีเจนซี่ สุขุมวิท มูลค่า 8,500 ล้าน 3.ที่ดินถนนรัชดาภิเษก มูลค่า 1,500 ล้านบาท   ในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้รวมปีนี้จะอยู่ที่ 21,370 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ของพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค 13,070 ล้านบาท  แกรนด์ แอสเสทฯ 2,100 ล้านบาท และรายได้จากการขายที่ดินและการลงทุน 6,200 ล้านบาท ขณะที่ยังจะมีรายได้จากโครงการร่วมทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 4,000 ล้านบาท และธุรกิจถุงมือยาง 3,000 ล้านบาท ด้านนายวิทวัส วิภากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้ แกรนด์ แอสเสทฯ วางเป้าขายจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1,100 ล้านบาท เป็นคอนโดมิเนียม 500 ล้านบาท และ วิลล่าในจังหวัดระยอง 600 ล้านบาท ส่วนธุรกิจโรงแรม สถานการณ์โควิด-19 มีผลกระทบอย่างมากกับธุรกิจท่องเที่ยว ส่งผลให้รายได้ของโรงแรมปีที่ผ่านมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก   สำหรับปีนี้ คาดว่าจะฟื้นตัวและเติบโตอย่างรวดเร็วในครึ่งปีหลัง โดยประมาณการรายได้ไว้ที่ 1,500 ล้านบาท อย่างไรก็ดี เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่มาก แผนการดำเนินงานในปี 2564 จึงยังมุ่งเน้นไปที่ตลาดชาวไทยท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก ตั้งเป้าให้มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยทั้งปีที่ 50% 3.ลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง ขณะเดียวกัน ​ในปีนี้ กลุ่มบริษัทยังขยายการลงทุนในธุรกิจใหม่ซึ่งมีดีมานด์สูงและกำไรสูงได้แก่ ธุรกิจผลิตและส่งออกถุงมือยาง ที่จะช่วยเสริมสร้างรายได้ในระยะยาว โดยการร่วมมือกับ​ บริษัท วัฒนชัย รับเบอร์เมท จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกถุงมือยางจัดตั้ง บริษัท แกรนด์ โกลบอล โกลฟส์ จำกัด (GGG) เพื่อผลิตและจำหน่ายถุงมือยางสังเคราะห์ (Nitrile) ภายใต้แบรนด์ GGG สู่ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีอัตราการใช้ถุงมือยางสูง เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น โดยได้ลงทุน 1,100 ล้านบาท สร้างโรงงานบนเนื้อที่ 21 ไร่  ในนิคมอุตสาหกรรม ทีเอฟดี 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 2 อาคาร ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้างอาคารหลังแรก ที่มี 8 สายการผลิต มีกำลังการผลิต 21 ล้านกล่องต่อปี หรือ 2,100 ล้านชิ้นต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนเมษายนนี้ และเริ่มดำเนินการผลิตได้ในเดือนพฤษภาคมนี้   ส่วนอาคารหลังที่ 2 มีกำหนดแล้วเสร็จปลายปีนี้  มีจำนวนเครื่องจักร 8 เครื่อง กำลังการผลิตรวม 21 ล้านกล่องต่อปี นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายกำลังการผลิตถุงมือยางธรรมชาติควบคู่ไปกับถุงมือยางไนไตรล์ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดโลก โดยรายได้จากธุรกิจถุงมือยางในปีนี้ประมาณการไว้ที่ 3,000 ล้านบาท
ORIGIN NEXT LEVEL การเดินหน้าสู่ Top5 ผู้นำในทุกธุรกิจ

ORIGIN NEXT LEVEL การเดินหน้าสู่ Top5 ผู้นำในทุกธุรกิจ

เพียงระยะเวลา 10 กว่าปี บริษัทเล็ก ๆ อย่างบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเริ่มต้นธุรกิจด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาท ในปี 2552 ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดอสังหาริมทรัพย์ ติดอันดับ Top 10 ด้วยขนาดสินทรัพย์เมื่อสิ้นปี 2563 ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 33,693 ล้านบาท   มีมูลค่าโครงการที่พัฒนาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 125,278 ล้านบาท ถือเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการเติบโตเร็วมาก เมื่อเทียบกับบรรดารุ่นพี่ในวงการ ซึ่งหลายแห่ง มีอายุการดำเนินธุรกิจที่มากกว่า 10 ปี แต่ยังไม่สามารถสร้างขนาดองค์กร และพัฒนาโครงการได้มากเท่ากับออริจิ้นแห่งนี้   ความสำเร็จของ ออริจิ้น เกิดขึ้นจากฝีมือการบริหารงานของ “พีระพงศ์ จรูญเอก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่สามารถนำกลยุทธ์การบริหารธุรกิจต่าง ๆ มาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ ให้สามารถก้ามข้ามภาวะการแข่งขัน ปัจจัยลบ และความเสี่ยงทางธุรกิจต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างดี เห็นได้จากตัวเลขของปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ภาวะตลาดอสังหาฯ ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่หลายคนมองว่าเป็นผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุด นับตั้งแต่ดำเนินธุรกิจมาตลอดหลายปี แต่ออริจิ้นยังคงเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัท ที่สามารถสร้างผลงาน ทั้งด้านรายได้และกำไรเติบโต โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา ออริจิ้น สามารถทำรายได้รวม 11,114 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากกลุ่มโครงการคอนโดมิเนียม 7,100 ล้านบาท และบ้านแนวราบ 6,200 ล้านบาท  มียอดโอนรวม 15,086 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นยอดโอนจากโครงการร่วมทุน 5,216 ล้านบาท ขณะที่ปีที่ผ่านมามียอดขาย 25,774 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 120% โดยผลประกอบการปี 2563 มีกำไรสุทธิ 2,662 ล้านบาท วางเป้าทุกธุรกิจติด Top5 จากความสำเร็จในปีที่ผ่านมา ทำให้ ออริจิ้น ยังคงเดินหน้าลงทุนและพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อการก้าวสู่ความเป็นผู้นำตลาดอสังหาฯ ที่ไม่ใช่แค่ติดอันดับ Top10 แต่เป้าหมายคือการก้าวสู่ผู้นำ Top5 ในแต่ละกลุ่มธุรกิจของบริษัท ที่ปัจจุบันมีหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโด โรงแรม และธุรกิจบริการ ซึ่งปีนี้และในอนาคต ยังได้วางแผนขยายไปยังธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ต่อยอดและเชื่อมโยงเกื้อหนุนกัน เพื่อสร้างรายได้และทำกำไรกลับคืนมาในอนาคตอีกด้วย   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยว่า บริษัทใช้เวลาประมาณ 10 ปีก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดคอนโด ติดอันดับ Top 3 ขณะที่บ้านเดี่ยวได้ใช้เวลา 3 ปีในการเป็นผู้นำตลาด ซึ่งปีนี้เปิดโครงการมูลค่าประมาณ​ 10,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการก้าวสู่ผู้นำตลาด Top5 ในด้านการเปิดโครงการ และคาดว่าในระยะเวลา 2-3 ปีนับจากนี้ ออริจิ้นน่าจะเป็น Top5 ในด้านยอดขายและยอดโอนในกลุ่มธุรกิจบ้านจัดสรร เราทำ Business Expansion มันเกินกว่าคำว่า Diversify เราจะโฟกัสแต่ละธุรกิจ สร้างให้แต่ละผลิตภัณฑ์ติดอันดับ Top5 หรือ Top10  2 กลยุทธ์ “ORIGIN NEXT LEVEL” หลังจากปีที่ผ่านมา ออริจิ้น สามารถสร้างรายได้และกำไรเติบโตจนเป็นที่น่าพอใจ ในปี 2564 จึงได้วางนโยบายการดำเนินธุรกิจให้มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง  ซึ่งในปีนี้​ ออริจิ้น ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด “ORIGIN NEXT LEVEL” ด้วยการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าแบบครบวงจรในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยการนำความรู้ที่ได้รับตลอดปี 2563 มาใช้ภายใต้ 2 แกนหลัก ได้แก่ 1.Next Level of Business Expansion ขยายธุรกิจทั้งเชิงกว้างและเชิงลึกด้วยทำเลใหม่ (New Location) แบรนด์ใหม่ (New Brand) กลุ่มธุรกิจใหม่ (New Business) ความร่วมมือใหม่ (New Collaboration) เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายใหม่ (New Target Segmentation) 2.Next Level of Living Solutions การสร้างสรรค์ทั้งฟังก์ชั่นใหม่ (New Function) และบริการใหม่ (New Services) ในบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนยุค Now Normal ไปจนถึง Next Normal วันนี้เราไม่ได้มองตัวเองเป็นแค่ผู้พัฒนาที่อยู่อาศัย เรามองตัวเองสู่การเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีสินค้าและบริการต่อยอดไปได้อย่างต่อเนื่อง หรือ Beyond Property เพื่อตอบโจทย์คนทุกเจเนอเรชั่นตลอดช่วงชีวิตของเขา เพิ่ม 3 ธุรกิจใหม่จับทุกโอกาสทางการตลาด ปัจจุบัน ออริจิ้น มี 4 ธุรกิจหลักที่บริหารอยู่ ประกอบด้วย ธุรกิจคอนโด บ้านจัดสรร โรงแรม และธุรกิจบริการ ในปีนี้ เพื่อต่อยอดและสร้างระบบนิเวศ เชื่อมโยงกันทั้งหมด และสร้างรายได้เพิ่ม จึงได้ขยายไปยังธุรกิจใหม่อีก 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มธุรกิจบริการสุขภาพ (Healthcare) โดยในปีนี้ได้จัดตั้งบริษัท ออริจิ้น เฮลท์แคร์ จำกัด ซึ่ง ออริจิ้น ถือหุ้น 76% และพันธมิตรที่เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถือหุ้น 24% เพื่อดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม โดยมีแผนเปิดคลินิคเสริมความงาม ภายใต้แบรนด์ “Cheva Plus” สาขาเมอคิวรี่ พื้นที่ 200 ตารางเมตร โดยตั้งเป้าจะขยายครบ 10 สาขาภายในปี 2566 อีกทั้งยังมีแผนเปิดให้บริการศูนย์สุขภาพ 2 แห่ง ในทำเลรามอินทรา ขนาด 240 เตียง มูลค่าการลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งคาดจะเปิดให้บริการได้ในปี 2566 และทำเลบางนา คาดจะเปิดให้บริการปี 2565 รวมถึงยังขยายตลาดไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ กลุ่มธุรกิจเสริมความงาม กลุ่มศูนย์บริการสุขภาพ กลุ่มแพลทฟอร์มให้บริการสุขภาพออนไลน์และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือกับพันธมิตรด้านเฮลท์แคร์ต่าง ๆ เพื่อเสริมบริการ  อาทิ โรงพยาบาลสมิติเวช ที่เข้ามาเป็นพันธมิตรด้านโรงพยาบาลเสมือนจริง (Virtual Hospital) และมอบบัตร Origin Samitivej Club เข้ามาบริการตรวจสุขภาพ ให้คำปรึกษาด้านโภชนาการบำบัด วิทยาศาสตร์การกีฬา ในโครงการที่อยู่อาศัย หรือเป็น Hospital at Home อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคไม่ต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาล ขณะเดียวกัน ยังคงจับมือกับโรงพยาบาลใกล้เคียงแต่ละโครงการ (Local Hospital) เช่น โรงพยาบาลสินแพทย์ อำนวยความสะดวกอีกทางหนึ่งให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงมี Let’s Relax เข้ามาให้บริการสปาผ่อนคลายสุขภาพ   บริษัทยังได้จับมือกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบ สภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน และสวางคนิเวศ เพื่อดำเนินการ Senior Living Lab ศึกษาวิจัยสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุไทยในปัจจุบัน และยกระดับการออกแบบโครงการที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับคนกลุ่มดังกล่าว 2.กลุ่มธุรกิจศูนย์โลจิสติกส์ (Logistic Center) ดำเนินกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโลจิสติกส์ ภายใต้การร่วมทุนกับบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD คาดว่าจะเปิดเผยแผนธุรกิจร่วมกันได้ในวันที่ 21 เมษายน 2564 ซึ่งเบื้องต้นจะเริ่มก่อสร้างคลังสินค้าในอีก 1-2 เดือนจากนี้ บนทำเลบางนา กม. 22 ขนาด 62,000 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุน 1,000 ล้านบาท คาดจะเริ่มรับรู้รายได้ในช่วงกลางปี 2565 เป็นต้นไป 3.กลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Company หรือ AMC) นำรากฐานองค์ความรู้และความพร้อมในเครือบริษัท มาต่อยอดสู่การดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์อย่างเข้มแข็งและครบวงจร ร่วมกันบริหารทรัพย์สินรอการขาย (NPA) และสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ โควิด-19 โดยอาศัยความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้บริโภค การคัดกรองทรัพย์ การพัฒนาโครงการ การรีโนเวท การขาย การตลาด มาเพิ่มมิติในการดูแลผู้บริโภคและมิติการเติบโตสู่อีกระดับของเครือ คาดว่าจะเปิดเผยแผนธุรกิจและพันธมิตรได้เร็วๆ นี้ เปิดตัว 4 คอนโดแบรนด์ใหม่ ครบทุกเซ็กเมนต์ ในจำนวนโครงการคอนโดที่ได้วางแผนเปิดตัวในปีนี้ ออริจิ้น มีแผนเปิดโครงการแบรนด์ 4 แบรนด์ เพื่อขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ ให้ครอบคลุมทุกเจเนอเรชั่น  ได้แก่ 1.ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ (Origin Plug & Play) เจาะตลาดกลุ่ม Gen Y และ Gen Z โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำสตาร์ทอัพของตัวเอง โดยจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับคนกลุ่มดังกล่าว 2.บริกซ์ตัน (Brixton) แบรนด์ราคาเข้าถึงง่าย สำหรับตลาดเฉพาะกลุ่ม (Affordable Niche) คอนเซ็ปต์แต่ละโครงการ อาจเจาะลูกค้าแตกต่างกันไป เช่น เจาะกลุ่มนักศึกษา-คนทำงานใกล้มหาวิทยาลัย (Campus) เจาะกลุ่มคนรักสัตว์ (Pet Lover) 3.แฮมป์ตัน (Hampton) แบรนด์คอนโดเจาะตลาดนักลงทุนโดยเฉพาะ โดยมีสิทธิพิเศษและการันตีผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อ นำร่องในศรีราชาและระยอง 4.ออริจินอล (Original) คอนโดสำหรับเจาะตลาดผู้สูงอายุ (Silver Age) ขณะเดียวกัน บริษัทยังคงเดินหน้าในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ โดยในปีนี้จะพัฒนาโครงการวัน ออริจิ้น สนามเป้า (One Origin Sanampao) เป็นโครงการอาคารสำนักงาน ขนาดพื้นที่กว่า 56,100 ตารางเมตร ติด BTS สนามเป้า ซึ่งพร้อมตอบโจทย์ความต้องการอาคารสำนักงานในฝั่งกรุงเทพฯ ตอนเหนือที่ยังคงขยายตัวได้ดี เชื่อมั่นว่าสินค้าและบริการของเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จะตอบโจทย์คนทุกเจเนอเรชั่นในทุกช่วงเวลาของการใช้ชีวิต สรุปไฮไลท์ทางการเงิน ออริจิ้น ปี 2564 -เปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ มูลค่า 10,400 ล้านบาท และคอนโด 9,600 ล้านบาท -วางเป้าหมายสร้างยอดโอน 12,800 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านแนวราบ 4,000 ล้านบาท และคอนโด 8,800 ล้านบาท -เป้าพรีเซล 29,000 ล้านบาท -เป้าหมายรายได้ 14,000 ล้านบาท เติบโต 26% จากปี 2563 -ยอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่า 35,834 ล้านบาท รับรู้ต่อเนื่องถึงปี 2567 รับรู้ในปีนี้ 14,410 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงร่วมทุนมูลค่า 5,000 ล้านบาท และเฉพาะของออริจิ้น 9,410 ล้านบาท ​ -วางงบลงทุนรวม 10,000 ล้านบาท สำหรับการขยายธุรกิจอสังหาฯ เพื่อขาย 8,000 ล้านบาท และขยายธุรกิจใหม่ ๆ อีก 2,000 ล้านบาท  
เฟรเซอร์ส ชูกลยุทธ์ Core & Flex บริการยืดหยุ่นมัดใจผู้เช่าพื้นที่ออฟฟิศ

เฟรเซอร์ส ชูกลยุทธ์ Core & Flex บริการยืดหยุ่นมัดใจผู้เช่าพื้นที่ออฟฟิศ

เฟรเซอร์ส ปรับกลยุทธ์ใช้ Core & Flex บริหารธุรกิจสำนักงานให้เช่า มัดใจลูกค้า หลังหลายธุรกิจโดนพิษโควิด-19 ทุบเศรษฐกิจ ทำให้ไปต่อไม่ไหว พร้อมเตรียมตัวรับตลาดแข่งขันรุนแรง ดีมานด์ลด ซัพพลายพุ่ง อีก 3 ปีทะลุ 6.5 ล้านตารางเมตร   การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน อาจจะสะดวกสบายมากขึ้น เพราะมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาอำนวยความสะดวกสบาย แต่การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันก็ไม่ได้ง่าย หากจะทำให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เพราะนอกจากการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งเกิดจากปัจจุบันการเข้ามาดำเนินธุรกิจไม่ได้ยุ่งยาก และธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้มีคู่แข่งในแต่ละธุรกิจจำนวนมากมาย   นอกจากการแข่งขันที่รุนแรง  การดำเนินธุรกิจยุคปัจจุบัน ยังต้องเผชิญกับปัจจัยภายนอกจำนวนมาก ที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ สังคม หรือปัจจัยทางการเมือง หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และยังไม่นับรวมกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้เสมอ อย่างเช่น การแพร่ระบาดของเชื้อโรค อย่างไวรัสโควิด-19 ในยุคปัจจุบัน ก่อนหน้านี้ ธุรกิจต่าง ๆ ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เข้ามาดิสรับธุรกิจซึ่งส่งผลกระทบให้ผู้เล่นบางราย ที่ปรับตัวรับมือไม่ทันไม่สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้ ต้องหยุดดำเนินธุรกิจล้มเลิกกิจการไปก็เห็นเกิดขึ้นจำนวนมาก และปัจจุบันก็ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ซึ่งทำให้หลายธุรกิจไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และหลายธุรกิจต้องปรับตัวรับมือ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานและดำเนินธุรกิจ ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) ซึ่งไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป   เมื่อรูปแบบการใช้ชีวิตและการดำเนินธุรกิจไม่เหมือนเดิม แน่นอนว่าย่อมทำให้หลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ต้องได้รับผลกระทบและต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจตามไปด้วย อย่างธุรกิจการให้บริการพื้นที่สำนักงานให้เช่า เพราะมีประเด็นที่พูดถึงกันอย่างมาก ว่าผลกระสบสำคัญของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เกิดการล็อกดาวน์ประเทศ และการต้องมีมาตรการเว้นระยะทางสังคม (Social Distancing) ทำให้การใช้พื้นที่ในสำนักงานอาจจะต้องปรับเปลี่ยน เพื่อเข้าสู่มาตรการเพื่อความปลอดภัย จำนวนพนักงานที่ต้องมาออฟฟิศอาจจะต้องลดน้อยลง และให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน (Work from Home)    ประเด็นต่าง ๆ ที่มีการพูดถึงดังกล่าว รวมถึงบางธุรกิจที่ถูกผลกระทบจนต้องล้มเลิกกิจการ ส่วนบางธุรกิจที่ยังสามารถไปต่อได้ แต่ต้องรัดเข็มขัดบริหารงบประมาณ และต้นทุนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจให้เช่าพื้นที่สำนักงาน ต้องเผชิญและหาแนวทางการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะนับวันความต้องการ (Demand) การใช้พื้นที่ก็ลดน้อยลง ขณะที่ปริมาณของพื้นที่สำนักงาน (Supply) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง   มีการคาดการกันว่าภายในปี 2566 จะมีพื้นที่สำนักงานให้เช่าเพิ่มขึ้นถึง 6.5 ตารางเมตร หากเป็นไปตามที่ดีเวลอปเปอร์ประกาศแผนการพัฒนาเอาไว้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม... มองตลาดออฟฟิศให้เช่า Q2 หลัง COVID-19 จะไปทางไหน? ) จากช่วงปีที่ผ่านมามีพื้นที่สำนักงานให้เช่ารวมกว่า 5.33 ล้านตารางเมตร  แต่ฝั่งความต้องการในช่วงปีที่ผ่านมา ความต้องการเช่าพื้นที่สำนักงานมีเพียง 50,000 ตารางเมตร ลดลงอย่างมากจากปกติจะมีความต้องการเช่าพื้นที่ใหม่ปีละ 200,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นภาพสะท้อนผลกระทบอย่างชัดเจน ต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง บรรดาธุรกิจหลายแห่งต้องปิดกิจการ และหลายแห่งต้องปรับลดขนาดพื้นที่การใช้งานลง รวมถึงย้ายไปใช้พื้นที่ส่วนอื่น ๆ ที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ เช่นบางบริษัทมีโรงงานผลิตสินค้า ก็อาจจะย้ายสำนักงานส่วนบริหารไปยังพื้นที่ในโรงงานแทน ชูกลยุทธ์ Core & Flex มัดใจผู้เช่าพื้นที่ออฟฟิศ นายวิทวัส คุตตะเทพ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายโครงการเชิงพาณิชยกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า  ในปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยและทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบแรก และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กระทบต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมในวงกว้าง สำหรับตลาดอาคารสำนักงานของไทย ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ตลอดจนเทรนด์ของการทำงานจากที่บ้าน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการเช่าหรือขยายพื้นที่สำนักงานในปี 2563 ลดลงกว่า 50% ดังนั้นผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานจึงจำเป็นต้องประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถรับมือและปรับตัวได้ทันท่วงที   สำหรับปี 2564 บริษัทฯ คาดการณ์ว่าความต้องการเช่าหรือขยายพื้นที่สำนักงานจะฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ความต้องการพื้นที่สำนักงานลดลงต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี เนื่องจากภาคธุรกิจสามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์หลังเผชิญหน้าโควิด-19 รอบแรกเมื่อปีก่อน โดยกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี ได้แก่ กลุ่มธุรกิจดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ การเงิน และธุรกิจสุขภาพ   เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) ในฐานะผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานเกรด A ในย่านใจกลางธุรกิจ มีพื้นที่สำนักงานที่อยู่ภายใต้การดูแล รวมทั้งสิ้น 5 อาคาร ได้แก่ อาคารมิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ อาคารโกลเด้นแลนด์ และภายใต้ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT) ได้แก่ อาคารสาทรสแควร์ และอาคารปาร์คเวนเชอร์  พื้นที่รวมกว่า 209,000 ตารางเมตร ได้มองเห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมกับเตรียมแผนรับมือรองรับกับภาวการแข่งขัน ด้วยการให้บริการพื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่น (Flex) ซึ่งกำลังเป็นที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ   เทรนด์พื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่น (Flex) เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา  ซึ่งผู้ให้บริการจะนำเสนอพื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่นควบคู่ไปกับพื้นที่สำนักงานแบบมาตรฐาน (Core) เพื่อความเป็นส่วนตัว สร้างเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละองค์กร ​​ พื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่นจะให้บริการพื้นที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น “โคเวิร์คกิ้งสเปซ (Co-working Space)” สำหรับกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก สตาร์ทอัพ ฟรีแลนซ์ ที่ต้องการพื้นที่เพื่อสร้างเน็ตเวิร์คทางธุรกิจ โดยจะมีความยืดหยุ่นสูง ทั้งในเรื่องพื้นที่ และสัญญาเช่า เพราะไม่ต้องเช่าในระยะยาวอย่างเช่นในปัจจุบันที่กำหนดไว้นานถึง 3 ปี สามารถเช่าได้ตั้งแต่ 1 เดือน และการคิดค่าบริการต่อจำนวนพนักงาน จากเดิมคิดตามขนาดพื้นที่ โดยในปี 2564 นี้ บริษัทได้นำเอาพื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่นมาให้บริการควบคู่กับรูปแบบมาตรฐาน “Core & Flex” มาผสานกันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าที่ปรับเปลี่ยนไปในปัจจุบัน โดยมีพื้นที่หลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานตามความต้องการ ซึ่งบริษัทได้วางแผนพร้อมให้บริการภายใน 5 โครงการเชิงพาณิชย์เกรด A ใจกลางกรุงเทพฯ ภายในปีนี้ โดยคาดว่าด้วยบริการใหม่นี้ จะทำช่วยให้บริษัทรักษาอัตราผู้เช่าที่ 90% และยังคงอัตราค่าเช่าเฉลี่ย 900 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน รูปแบบการทำงานได้เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นผลมาจากนโยบายการทำงานที่บ้าน  และการทำงานจากที่ไหนก็ได้   ผู้เช่าจึงมองหาความคล่องตัวในการใช้พื้นที่ และต้องการทั้งพื้นที่สำนักงานแบบมาตรฐาน และพื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่นพร้อมกัน รูปแบบสำนักงานแบบ Core & Flex จึงช่วยเติมเต็มความต้องการที่เปลี่ยนไปนี้  นายวิทวัส กล่าวอีกว่า ปัจจุบันลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่ ยังไม่ได้ขอลดพื้นที่การใช้งาน หรือขอยกเลิกสัญญา แต่มีบางบริษัทที่อาจจะไม่ต่อสัญญา จาก 2 เหตุผล คือ ต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ แต่บริษัทไม่มีที่ว่างรองรับ และไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้  ซึ่งปกติบริษัทมีลูกค้าสัดส่วนประมาณ 20-30% ในการหมุนเวียนไม่ต่อสัญญา สำหรับเหตุผลสำคัญที่บริษัทนำเอารูปแบบการบริการ Core & Flex มาใช้ เพื่อต้องการรักษาฐานลูกค้าไว้ รวมถึงสร้างความหลากหลายในการให้บริการ รองรับกับภาวการแข่งขันทั้งในปัจจุบันจากความต้องการเช่าพื้นที่ลดลง แต่มีปริมาณพื้นที่จำนวนมาก รวมถึงการแข่งขันที่จะรุนแรงในอนาคตที่จะมีพื้นที่สำนักงานให้เช่าเข้ามาสู่ตลาดอีกจำนวนมาก   ดีมานด์ออฟฟิศเริ่มปรับตัว มีความต้องการพื้นที่ที่เป็น flex  เพราะลูกค้าต้องการความยืดหยุ่น และลูกค้าไม่ต้องลงทุนในการปรับแต่งพื้นที่ ซึ่งหากลงทุนเองต้องเช่าใช้พื้นที่นานถึง 6 ปีกว่าจะคุ้มทุน ในส่วน Flex ลูกค้าสามารถใช้ในพื้นที่อาคารเตรียมไว้ให้ได้ หากธุรกิจขยายตัวต้องการเพิ่มพื้นที่ในอนาคตก็สามารถทำได้เช่นกัน ​​   ปัจจุบันบริษัทมีพื้นที่​ FIex ที่อาคารสามย่านมิตรทาวน์ในสัดส่วน 30% ในอนาคตจะขยายไปยังอีก 4 อาคารภายใต้การบริหารงานของบริษัท โดยอาจจะร่วมกับพันธมิตรให้เป็นผู้ลงทุน หรือบริษัทอาจจะลงทุนพัฒนาพื้นที่ Flex เองก็ได้ ​สำหรับผลการดำเนินงานของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียลปีที่ผ่านมามีรายได้ 1,000 ล้นบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีรายได้ ​800 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนรายได้จากการให้บริการพื้นที่สำนักงาน ​70 % ​​​
AWC โดนโควิด-19ทุบธุรกิจ ปี 63 ขาดทุน 1,881 ล้าน

AWC โดนโควิด-19ทุบธุรกิจ ปี 63 ขาดทุน 1,881 ล้าน

AWC แจงผลงานปี 63 ขาดทุน 1,881 ล้าน หลังโดน​ผลกระทบจากโควิด-19 แม้ไตรมาสสุดท้ายเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น ทำรายได้โต 24.6% แต่โดนโควิดระรอกใหม่ สกัดรายได้ทั้งกลุ่มโรงแรมและรีเทล นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2563 ผ่านมาว่าประสบภาวะขาดุทน 1,881 ล้านบาท ขณะที่มีรายจากการดำเนินงานในปี 2563 รวม 6,133 ล้านบาท และรายได้เฉพาะไตรมาส 4 ปี 2563 มีรายได้รวม 1,578 ล้านบาท ซึ่งปรับตัวสูงขึ้น 24.60% จาก​ไตรมาส 3 ปี 2563 ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2563 เราเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในระยะยาว AWC จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างปรากฏการณ์โดยการเปิดโครงการใหม่ระดับแลนด์มาร์ค เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย โดยได้ดำเนินการตามแผนงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด   โดยที่ผ่านมา AWC ดำเนินการได้บรรลุตามเป้าหมายของแผนธุรกิจที่วางไว้ ด้วยการเข้าซื้อทรัพย์สินกลุ่ม 3 และการเปิดโครงการ โรงแรมมีเลีย เกาะสมุย โรงแรมบันยันทรีกระบี่ เรือสิริมหรรณพ และลาซาล อเวนิว เฟส2 เป็นต้น  การดำเนินการดังกล่าวได้สร้างความมั่นคงให้กับพอร์ตทรัพย์สินของ AWC ทำให้ ณ สิ้นปี 2563 AWC มีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นเป็น 125,696 ล้านบาท เติบโต 26% จากปี 2562 ที่มีทรัพย์สินอยู่ 99,549 ล้านบาท   นอกจากนี้ บริษัทยังได้ทำการปรับปรุงพื้นที่โครงการต่าง ๆ ตามแผนที่วางไว้ อาทิ โครงการตะวันนา บางกะปิ2 โรงแรมคอร์ทยาร์ด บาย แมริออท ภูเก็ตทาวน์ แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ ขณะเดียวกัน บริษัทได้ลดค่าเช่าให้กับผู้ประกอบการร้านค้าเช่า ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า (Retail) เพื่อให้สามารถผ่านวิกฤตไปได้ด้วยกันอย่างดีที่สุด ส่งผลให้บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ ไตรมาส 4/2563 ที่ 492 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 20.6% จากไตรมาส 3/2563   อย่างไรก็ดีบริษัทสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคง เนื่องจากการต่อยอดในการดำเนินกลยุทธ์ในการลงทุนที่หลากหลายและสมดุลเชิงธุรกิจ (Balanced and Diversified Portfolio) ทำให้ธุรกิจยังคงเดินหน้า เติบโตได้อย่างยั่งยืน โควิดระรอกใหม่เบรกรายได้โรงแรม-รีเทล สำหรับกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ของบริษัท ยังคงได้รับผลกระทบจากภาพรวมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับรายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัท แต่จากการเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวการเดินทาง Workation Thailand ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน การวางแผนโครงการ AWC INFINITE LIFESTYLE: INFINITE POINT OF HAPPINESS ตอบรับนโยบายการท่องเที่ยวของภาครัฐ และส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยให้พลิกฟื้นและเดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้รายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จาก 470 ล้านบาทในไตรมาส 3/2563 เป็น 773 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2563 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 64.6% ในขณะที่รายได้ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail and Commercial) ได้ปรับตัวสูงขึ้นจาก 836 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2563 เป็น 872 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2563 หรือเพิ่มขึ้น 4.3% เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้า (Retail) ที่มีจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการ (Traffic) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ คาดว่าผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ รวมถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ จะปรับตัวสูงขึ้นกว่าตัวเลขในปัจจุบัน บริษัทยังคงเดินหน้าต่อยอดแผนพัฒนาองค์กร (Corporate Transformation) ควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต (Cost Control and Efficiency Initiatives) โดยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานได้ลดลงจาก 92.8% ในไตรมาส 3/2563 เป็น 78.6% ในไตรมาส 4/2563 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัทได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเดินหน้าในส่วนของมาตรการบริหารต้นทุนระดับองค์กร ในการตัดลดค่าใช้จ่ายในหลายด้าน เดินหน้าธุรกิจ “ดีกว่า” ใน 3 ด้าน นางวัลลภา กล่าวถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2564 นี้ ว่า ยังคงดำเนินธุรกิจในพันธกิจ “การสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” (Building A Better Future) ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในโลกที่เดินหน้าด้วยมาตรฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่พฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการดำเนินธุรกิจให้ “ดีกว่า” ใน 3 ด้าน คือ 1.BETTER PEOPLE สร้างความมั่นใจด้านสุขอนามัยความปลอดภัยเต็มรูปแบบในทุกโครงการของ AWC 2.BETTER LIFESTYLE ใช้ความโดดเด่นของพอร์ทโฟลิโอที่หลากหลายในการตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบ New Normal ผ่านบริการรูปแบบใหม่ๆ 3.BETTER ECONOMY เดินหน้าพัฒนาธุรกิจตามแผนการ ทั้งการพัฒนาโครงการคุณภาพใหม่ๆ รวมทั้งการปรับปรุงโครงการเดิมให้เป็นจุดหมายปลายทางหลักด้านการท่องเที่ยว สร้างความมั่นใจ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยสามารถกลับมาเป็นปกติได้โดยเร็วและเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อไป    
ซีบีอาร์อี แนะใช้ยาแรงฟื้นตลาดบ้าน-คอนโด  ขยายฐานราคา0-15ล.รับมาตรการรัฐ

ซีบีอาร์อี แนะใช้ยาแรงฟื้นตลาดบ้าน-คอนโด ขยายฐานราคา0-15ล.รับมาตรการรัฐ

ซีบีอาร์อี คาดตลาดอสังหาฯ ไทยปี 64 แต่ละธุรกิจฟื้นตัวแตกต่างกัน  จากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น มีความท้าทายจากความผันผวนของโรคโควิด-19  ตลาดโลจิสติกส์ขึ้นแท่นนำ ขณะที่ตลาดอาคารสำนักงานต้องเตรียมรับมือกับซัพพลายใหม่จำนวนมาก ส่วนตลาดโรงแรมและพื้นที่ค้าปลีกจะฟื้นตัวช้าสุด แนะภาครัฐอัดยาแรงในตลาดที่อยู่อาศัย ขยายฐานกลุ่มบ้าน-คอนโด ราคาตั้งแต่ 0-15 ล้านให้ได้รับอานิสงค์ พร้อมปลดล็อกขายลิสโฮลด์ขายบ้าน-ที่ดินได้ถึง 60 ปี ตลาดที่พักอาศัย : ปรับสมดุลราคา ซีบีอาร์อีเชื่อว่าตลาดที่พักอาศัยโดยรวมในกรุงเทพฯ จะยังคงชะลอตัวในปี 2564 และมีความเสี่ยงเนื่องจากโควิด-19 รอบใหม่ ได้ทำให้ผู้ซื้อชาวไทยและชาวต่างชาติใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้น   การเปิดตัวโครงการใหม่จะมีไม่มากนักโดยจะเป็นโครงการในย่านรอบนอกใจกลางเมือง (มิดทาวน์) และชานเมือง เพราะราคาที่ดินยังอยู่ในระดับราคาที่พัฒนาได้และทำให้ราคาขายเริ่มมีความสมเหตุสมผลมากขึ้น   ในปี 2564 ผู้พัฒนาโครงการจะยังให้ความสำคัญกับยูนิตที่แล้วเสร็จแต่ยังเหลือขายที่มีอยู่ในมือ แต่ขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสใหม่ในทำเลใหม่ๆ และให้ความสำคัญกับสภาพคล่องทางการเงินด้วย   ตลาดที่พักอาศัยแนวราบจะเป็นตลาดหลักสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ๆ เนื่องจากผู้พัฒนาโครงการต้องการลดความเสี่ยง   ขณะที่ความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมยังคงมีอยู่แต่มีงบประมาณที่น้อยลง   นอกจากนี้ผู้พัฒนาโครงการจะเปลี่ยนไปพัฒนาโครงการที่มีขนาดเล็กลง เพื่อลดขนาดการลงทุน และทำให้ผ่านเกณฑ์การอนุมัติเงินทุนจากธนาคารได้ง่ายขึ้น   นางสาวอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า  จากธุรกรรมซื้อขายที่ผ่านซีบีอาร์อีในปี 2563 พบว่าตลาดที่พักอาศัยระดับลักซ์ชัวรี่ที่เป็นกลุ่มเฉพาะยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมากจากทั้งลูกค้าที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองและนักลงทุน โดยเฉพาะที่พักอาศัยที่บริหารโดยเครือโรงแรมและบ้านหรู แต่ลูกค้าใช้ระยะเวลาการตัดสินใจนานขึ้น   เป็นที่น่าสังเกตว่ายูนิตขนาดใหญ่ในตลาดระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ซึ่งยอดขายชะลอตัวในอดีตกลับมามียอดขายมากขึ้นในปีที่ผ่านมา  นักลงทุนต่างชาติที่สนใจลงทุนในไทย โดยเฉพาะชาวจีน ยังคงให้ความสนใจตลาดในทุกระดับ แต่ยอดขายจากลูกค้ากลุ่มนี้จะกลับมาก็ต่อเมื่อสามารถเดินทางเข้ามาไทยได้ โปรโมชั่นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพจากรัฐบาลยังคงมีความจำเป็นสำหรับการดึงดูดผู้ซื้อต่างชาติ  ซีบีอาร์อีคาดหวังว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลออกมาอีกโดยควรจะครอบคลุมมากยิ่งขึ้นเพื่อช่วยตลาดในปีนี้   โดยเห็นว่ามาตรการที่จะช่วยกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยได้ดี คือ การขยายฐานระดับราคาที่อยู่อาศัย ให้ครอบคลุมมากขึ้น จากปัจจุบันที่ให้เฉพาะระดับบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท เห็นว่าควรขยายฐานราคาที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 0 บาทไปจนถึง 15 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยแบบสิทธิการเช่า หรือ ลิสโฮลด์นั้นควรขยายระยะเวลาให้เช่านานถึง 60 ปี เพื่อกระตุ้นตลาดในกลุ่มชาวต่างชาติให้เข้ามาซื้ออสังหาฯ​ ไทยเพิ่มมากขึ้น​ สิ่งที่จะช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ได้ คือ นโยบายของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมาตรการยังกระจัดกระจายและยังไม่อิมแพคมากพอ ตลาดอาคารสำนักงาน: ปรับเปลี่ยนอนาคตของสถานที่ทำงาน ซีบีอาร์อีมองเห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังคิดทบทวนเรื่องการออกแบบสถานที่ทำงานและวิธีการใช้พื้นที่ เนื่องจากการให้พนักงานเป็นศูนย์กลางและการทำงานแบบไฮบริดหรือการใช้พื้นที่สำนักงานรูปแบบเดิมควบคู่ไปกับการผสมผสานระหว่างการใช้พื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นกับการทำงานระยะไกลจะเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับหน้าที่และลักษณะเฉพาะของแต่ละบริษัทและแต่ละหน่วยธุรกิจ นางสาวรุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ หัวหน้าแผนกพื้นที่สำนักงาน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า สำหรับอนาคตของตลาดอาคารสำนักงาน ความกังวลที่สำคัญประการหนึ่งของซีบีอาร์อีคือจำนวนซัพพลายใหม่ที่จะเพิ่มเข้าสู่ตลาด  โดยในปี 2564 มีพื้นที่สำนักงานที่คาดว่าจะแล้วเสร็จจำนวน 334,000 ตารางเมตร  ซึ่งจะทำให้พื้นที่สำนักงานทั้งหมดในกรุงเทพฯ ขยับขึ้นไปอยู่ที่ 9.49 ล้านตารางเมตร   ในสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอนเช่นนี้  ซีบีอาร์อีได้เห็นว่าเจ้าของอาคารมีการเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จของอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน  นอกจากนี้ยังคาดว่าค่าเช่าโดยรวมในตลาดจะอยู่ในระดับทรงตัว  และตลาดจะเปลี่ยนไปสู่การเป็นตลาดของผู้เช่าโดยเฉพาะผู้เช่ารายใหญ่ที่ใช้พื้นที่สำนักงานขนาดใหญ่ ตลาดพื้นที่ค้าปลีก: พฤติกรรมเปลี่ยนส่งผลให้ต้องปฏิรูป ธุรกิจค้าปลีกของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และส่งผลให้ในปี 2563 ยอดผู้ใช้บริการลดลงอย่างมากและความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ลดลงเช่นกัน   ซีบีอาร์อีเห็นว่าเจ้าของพื้นที่ค้าปลีกได้มีการทบทวนโครงการที่มีการวางแผนไว้ รวมถึงแผนการลงทุน  ซึ่งจะมีการเสนอสัญญาเช่าที่ยืดหยุ่นมากขึ้นให้กับผู้เช่าและจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ภายในพื้นที่ศูนย์การค้า    ในทางกลับกัน ผู้ค้าปลีกจะลดขนาดและปรับรูปแบบพื้นที่เช่าเพื่อลดค่าใช้จ่ายและทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  ธนาคารต่างกำลังย้ายไปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์และต้องการพื้นที่สาขาน้อยลง   ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะให้ความสำคัญกับบริการส่งอาหารมากขึ้น และร้านขายสินค้าแฟชั่นจะมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายมากขึ้น   นอกจากการเปลี่ยนสถานะการเช่าจากแบบถาวรมาเป็นแบบชั่วคราวแล้ว ผู้เช่าจะพัฒนาให้เป็นร้านค้ารูปแบบที่เล็กลง เช่น ป๊อปอัปสโตร์ เพื่อรักษาผลกำไรในช่วงที่สถานการณ์ไม่แน่นอนเช่นนี้   ตลาดโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์: เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าพักและผู้เช่า ตลาดโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ในกรุงเทพฯ คือหนึ่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยลดลงจาก 40 ล้านคนในปี 2562 ไปเป็นต่ำกว่า 7 ล้านคนในปี 2563 ซีบีอาร์อีคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจะกลับคืนสู่ระดับเดียวกับปี 2562 ได้ในปี 2565 โดยต้องขึ้นอยู่กับความสำเร็จของวัคซีนและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นนักท่องเที่ยวหลักของไทยอย่างจีน รัสเซีย ญี่ปุ่น และอินเดีย   นายรัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย  กล่าวว่า “ในขณะเดียวกัน  เจ้าของโรงแรมและผู้บริหารจัดการโรงแรมถูกบังคับให้มุ่งเน้นไปที่ตลาดท่องเที่ยวในประเทศ โดยอาศัยรายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อให้อยู่รอด   ซีบีอาร์อีเห็นว่าโรงแรมต่างๆ ได้หาหนทางใหม่ๆ ในการดำเนินงานและทำการตลาด ตั้งแต่แพ็กเกจการทำงานจากโรงแรม (Work From Hotel) แพ็กเกจการเข้าพักแบบ Staycation (การพักผ่อนในสถานที่ใกล้ๆ) ไปจนถึงข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าที่ไม่ได้เข้าพัก    โรงแรมบางแห่งอาจเลือกที่จะเปิดให้บริการเป็นบางส่วนหรือเปิดเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม  โดยอาศัยช่วงเวลาที่มีผู้เข้าใช้บริการน้อยเป็นการทดลองเปิดให้บริการ และพยายามให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน้อยที่สุด” ตลาดพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์: ความต้องการสะสมถูกขัดขวางด้วยการห้ามเดินทาง นายอาดัม เบลล์ หัวหน้าแผนกพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดโลจิสติกส์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการแพร่ระบาด เนื่องจากโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคไทยปรับตัวเข้าสู่อี-คอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งผลักดันให้เกิดความต้องการพื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่ (Modern Logistics Property - MLP) ในประเทศไทย   พื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่มากกว่า 400,000 ตร.ม. ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าสู่ตลาดภายในปี 2564 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบสร้างขึ้นตามความต้องการเฉพาะ (Built-to-Suit)   สำหรับด้านซัพพลายเชน  ผู้ผลิตในจีนหลายรายพิจารณาย้ายฐานการผลิตมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า  นักลงทุนเริ่มให้ความสนใจซื้อโรงงานมากกว่าเช่าโรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลสถานที่ได้มากขึ้น  ในขณะที่ผู้พัฒนาโรงงานหลายรายชะลอการสร้างโรงงานสำเร็จรูป (Ready-Built Factory - RBF) แบบสร้างเสร็จก่อนขาย   ตลาดการลงทุน: ทบทวนพอร์ตและกลยุทธ์การลงทุน โควิด-19 ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเป็นตลาดของผู้เช่าและผู้ซื้อมากขึ้น โดยผู้เช่าจะมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นโดยอสังหาริมทรัพย์จะถูกนำออกมาขายมากขึ้น  เนื่องจากเจ้าของพื้นที่และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องการถือเงินสด  ซีบีอาร์อีเชื่อว่าเรื่องนี้อาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์ที่ยอมลดราคา แต่ความคาดหวังที่แตกต่างกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อจะยังคงเป็นปัญหาสำคัญ  ราคาที่ดินจะอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลมากขึ้นเพราะราคาที่ดินโดยรวมในทำเลชั้นนำยังไม่เปลี่ยนแปลง  อย่างไรก็ตาม ราคาที่ดินในย่านรอบนอกใจกลางเมืองและชานเมืองโดยรวมลดลง ยกเว้นบางพื้นที่จะปรับตัวสูงขึ้นตามการขยายเส้นทางระบบขนส่งมวลชนและการขยายถนนในพื้นที่   นางกุลวดี สว่างศรี หัวหน้าแผนกการลงทุนและที่ดิน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวสรุปว่า เจ้าของพื้นที่และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ในเชิงรุกเพื่อรักษารายได้และบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ   การลงทุนแต่ละครั้งจะได้รับการประเมินหลายครั้งเพื่อทำความเข้าใจกับการแทรกแซงจากคู่แข่ง รวมถึงความต้องการของผู้เช่านั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ที่มีอยู่หรือขายออก      
2 กลยุทธ์เอาตัวรอด “เฟรเซอร์ส” ในภาวะตลาดออฟฟิศให้เช่าดีมานด์หายกว่า 50%

2 กลยุทธ์เอาตัวรอด “เฟรเซอร์ส” ในภาวะตลาดออฟฟิศให้เช่าดีมานด์หายกว่า 50%

ตลาดออฟฟิศให้เช่าปี 63 ดีมานด์หายกว่า 50% แต่ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล ประเทศไทย”  ยังคงรักษาอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยสูงกว่า 90% ในทุกอาคาร หลังใช้ 2 กลยุทธ์สำคัญ ทั้งการรักษาฐานผู้เช่าปัจจุบัน  และจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณ ปรับลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น     นายวิทวัส คุตตะเทพ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายโครงการเชิงพาณิชยกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า  ปี 2563 เป็นปีที่เผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นครั้งแรก ซึ่งส่งผลกระทบเป็นกว้าง สำหรับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม พื้นที่จัดประชุมสัมมนา และศูนย์การค้า  ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมาทบทวนและปรับรูปแบบการให้บริการ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้   “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่บริษัทฯ ยังคงมีความแข็งแกร่ง เนื่องจากมีพอร์ตอาคารสำนักงานกว่า 209,000 ตร.ม. โดยสิ่งที่บริษัทฯ ทำตลอดปีที่ผ่านมา คือ การบริหารจัดการทรัพยากรและต้นทุนภายใน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนเตรียมความพร้อม เพื่อจะรับมือกับความท้าทายและความไม่แน่นอนต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต” ส่วนภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานปี 2563 ที่ผ่านมา มีความต้องการเช่าหรือขยายพื้นที่สำนักงานรวมลดลงกว่า 50% เมื่อเทียบกับ 1-2 ปีก่อน (2561-2562) แต่ในส่วนของบริษัทยังคงรักษาอัตราการเช่าได้เฉลี่ยสูงกว่า 90% ซึ่งเป็นผลมาจากทุกอาคารของบริษัท​เป็นอาคารคุณภาพเกรด A ตั้งอยู่ในศูนย์กลางเศรษฐกิจ อาทิ เพลินจิต สาทร พระราม 4 และสามย่าน และมีกลยุทธ์ในการเลือกผู้เช่าที่กระจายสัดส่วนในหลายธุรกิจ ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทยังไม่ได้รับสัญญาณการขอลดพื้นที่หรือยกเลิกการเช่า แต่บริษัทฯ ยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินสถานการณ์และผลกระทบ หากเกิดการลดพื้นที่ของผู้เช่าและธุรกิจซึ่งเป็นผู้เช่าของบริษัท   นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา บริษัทมีการปรับรูปแบบการดำเนินงาน 2 เรื่อง ได้แก่ 1.รักษาฐานผู้เช่าปัจจุบัน เน้นสร้างความสัมพันธ์ และสร้างความเชื่อมั่นในด้านการให้บริการกับผู้เช่า บริษัทดำเนินการรักษาฐานผู้เช่า ด้วยการจัดลำดับค่าใช้จ่าย เพื่อดูแลผู้เช่าที่ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม โดยมีการเข้าไปพูดคุยกับผู้เช่าทุกรายเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และมาตรการต่าง ๆ ที่ทางบริษัทบริหารจัดการ เพื่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพทางการเงินของผู้เช่าอย่างใกล้ชิด นอกเหนือจากนี้บริษัทไม่คิดค่าเช่าและค่าบริการในธุรกิจที่ถูกสั่งปิดตามประกาศจากภาครัฐ และมีการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้กับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม 2.จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณ ปรับลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น และเพิ่มงบประมาณด้านความปลอดภัย บริษัทลดงบประมาณด้านการตลาดและเพิ่มงบประมาณด้านการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย โดยงดเว้นการจัดกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มคน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล ลดความหนาแน่นของผู้ใช้บริการ และนำงบประมาณดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัย อาทิ การลงทุนในอุปกรณ์เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกสัปดาห์ และเพิ่มความถี่การทำความสะอาดจุดสัมผัสทั้งหมดทุกชั่วโมง  ทั้งนี้บริษัทไม่มีนโยบายลดพนักงาน แม้จะมีบางโซนหรือบางพื้นที่ถูกภาครัฐประกาศให้ปิดกิจการในช่วงล็อคดาวน์ ปัจจุบัน เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล ประเทศไทย มีพื้นที่สำนักงานที่อยู่ภายใต้การดูแล รวมทั้งสิ้น 5 อาคาร ได้แก่ อาคารมิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ อาคารโกลเด้นแลนด์ และภายใต้ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT) ได้แก่ อาคารสาทรสแควร์ และอาคารปาร์คเวนเชอร์ คิดเป็นพื้นที่รวมกว่า 209,000 ตารางเมตร มีพนักงานของบริษัทฯ ผู้เช่าชั้นนำในประเทศไทยและต่างประเทศกระจายในหลากหลายธุรกิจซึ่งมีผู้ใช้บริการมากกว่า 20,000 คนต่อวัน        
New Normal ตลาดออฟฟิศให้เช่า ใช้พื้นที่น้อยแต่ยืดหยุ่นสูง

New Normal ตลาดออฟฟิศให้เช่า ใช้พื้นที่น้อยแต่ยืดหยุ่นสูง

นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันต้องเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการทำงานที่หันมาใช้วิธีทำงานจากที่บ้าน (work from home) กันมากขึ้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายรูปแบบต่าง ๆ มาเป็นเครื่องมือในการทำงาน เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม และลดการได้รับเชื้อโรค ทั้งจากการเดินทางและการพบปะผู้คน   คำถามที่เกิดขึ้น คือ เมื่อสถานการณ์และรูปแบบการทำงานเป็นแบบนี้ แล้วพื้นที่สำนักงานยังมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เพราะทุกคนสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา และก่อนหน้าที่จะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ธุรกิจให้บริการพื้นที่สำนักงานให้เช่า ก็มีทิศทางเติบโตที่ดี มีผู้ประกอบการจำนวนมาก หันมาพัฒนาพื้นที่เพื่อเตรียมรองรับกับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต โควิด-19 พ่นพิษ ความต้องการใช้ออฟฟิศลดลง ล่าสุด นายภัทรพล ยุทธศักดิ์นุกูล นักวิเคราะห์ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้นำเสนอรายงานเรื่อง New Normal ของตลาดสำนักงานให้เช่า จากผลกระทบของโควิด-19 เพื่อให้เห็นภาพรวมของตลาดสำนักงาน ที่มีปัจจัยเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตและเทรนด์ในอนาคต โดยรายงานของ EIC ระบุว่า โควิด-19 ส่งผลให้แนวโน้มความต้องการพื้นที่สำนักงานเปลี่ยนแปลงไปในมิติสำคัญ 2 ด้าน คือ 1.ความต้องการพื้นที่สำนักงานให้เช่าที่ลดลง สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ ความต้องการ (Demand) พื้นที่สำนักงานให้เช่าลดลงนั้น เกิดจากจำนวนบริษัทที่ลดลง เพราะมีการปิดกิจการที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ การเปิดธุรกิจใหม่ก็มีแนวโน้มลดลงด้วยเช่นกัน และหลายบริษัทมีนโยบาย work from home ส่งผลให้ความต้องการพื้นที่สำนักงานลดลง และอาจกลายเป็น new normal ของหลายบริษัทในอนาคต 2.ความต้องการพื้นที่สำนักงานรูปแบบใหม่ ความต้องการพื้นที่สำนักงานจะปรับเปลี่ยนไปสู่สำนักงานรูปแบบใหม่อย่างเช่น flexible space ที่ต้องตอบสนอง เทรนด์การทำงานแบบใหม่ที่ต้องการความคล่องตัวและมีความยืดหยุ่นทำให้สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้สอยได้ตามความต้องการ ธุรกิจไปต่อไม่ไหว ปิดกิจการพุ่งกว่า 2 หมื่นราย​ โควิด-19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจจำนวนมากประสบปัญหาจนมีแนวโน้มการปิดกิจการเพิ่มขึ้น ขณะที่การเปิดกิจการใหม่มีแนวโน้มลดลง นำไปสู่การชะลอตัวของอุปสงค์ต่อพื้นที่สำนักงาน   วิกฤติ โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจเป็นวงกว้าง โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 บริษัทต่าง ๆ เริ่มกลับไปดำเนินงานที่สำนักงานภายหลังคลายล็อกดาวน์แล้ว แต่ในช่วงปลายปี 2563 ได้มีการระบาดรอบใหม่ส่งผลให้หลายบริษัทจำเป็นต้องกลับไปอยู่ในภาวะใกล้เคียงกับการล็อกดาวน์อีกครั้ง   ทั้งนี้ สภาพเศรษฐกิจที่หดตัวลงอย่างมากส่งผลให้หลายธุรกิจประสบปัญหา จนต้องมีการปรับลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างการดำเนินงาน ปรับลดจำนวนพนักงาน ปรับลดพื้นที่เช่า ตลอดจนปิดกิจการในท้ายที่สุด ซึ่งหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากและเป็นผู้เช่าสำคัญของธุรกิจสำนักงาน คือ ธุรกิจในภาคบริการ ซึ่งเป็นสัดส่วนราว 85% ของธุรกิจทั้งหมดในไทย   จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (รูปที่ 1) พบว่า จำนวนบริษัทในภาคบริการที่ปิดกิจการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากข้อมูลล่าสุดในปี 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ​มาอยู่ที่ 21,440 ราย ขณะที่จำนวนธุรกิจบริการที่เริ่มกิจการใหม่ กลับหดตัวลดลง 12% จากปีก่อนหน้า ​จากระดับเฉลี่ยที่มีการเพิ่มขึ้นราว 4% ต่อปีในช่วงปี 2557-2562 ส่งผลให้จำนวนบริษัทที่ดำเนินการอยู่โดยรวม มีแนวโน้มลดลงและนำไปสู่การชะลอตัวของความต้องการพื้นที่สำนักงานให้เช่า   ไม่เพียงแค่ภาคธุรกิจในประเทศเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ขณะเดียวกันความต้องการจากบริษัทต่างชาติก็มีแนวโน้มชะลอตัวลงเช่นกัน สะท้อนจากจำนวนชาวต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตทำงาน (aliens work permit) ในกรุงเทพฯ ช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงประมาณ ​9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ​ซึ่งสะท้อนถึงการชะลอตัวของการลงทุนของบริษัทต่างชาติ ที่เป็นหนึ่งในผู้เช่าหลักของพื้นที่สำนักงานโดยเฉพาะพื้นที่เกรด A   นอกจากนี้  จากบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการคาดการณ์แนวโน้ม การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของทั้งโลก (Global foreign direct investment) ของ UNCTAD คาดว่าในปี 2563 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของทั้งโลกอาจลดลงประมาณ​ 40% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ​และในปี 2564 จะลดลงต่อเนื่องราว 5-10% จากปีก่อนหน้า​และเริ่มกลับมาฟื้นตัวในปี 2565 หลังล็อกดาวน์ หลายธุรกิจให้ work from home ต่อ นอกจากนี้ สถานการณ์โควิด-19 ยังส่งผลให้ภาคธุรกิจปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาสู่การ work from home ซึ่งบางบริษัทมีการปรับใช้รูปแบบการทำงานที่บ้านอย่างต่อเนื่องในระยะยาว   ในการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ตั้งแต่ปลายปี 2563 ส่งผลให้หลายบริษัทจำเป็นที่จะต้องกลับไปใช้นโยบายในการ work from home อีกครั้ง ส่งผลให้การเดินทางไปทำงานเริ่มหดตัวอีกครั้งหนึ่ง เห็นได้จาก Google mobility index ของไทย (รูปที่ 2) ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดง traffic ของการเดินทางไปยังสถานที่ประเภทต่าง ๆ ของผู้ใช้บริการ Google พบว่า ในช่วงที่มีมาตรการล็อกดาวน์ การเดินทางไปที่ทำงานลดลงอย่างมาก แม้ว่าภายหลังคลายล็อกดาวน์ จะมีแนวโน้มที่ traffic ของการไปทำงานจะฟื้นตัวดีขึ้น แต่ยังคงน้อยกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19  โดยลดน้อยลงประมาณ 10%-20% จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดครั้งใหม่ ประกอบกับเป็นช่วงวันหยุดปีใหม่ ส่งผลให้แนวโน้มที่กำลังฟื้นตัวขึ้น เริ่มกลับไปหดตัวอีกครั้ง   ทั้งนี้ ในระยะต่อไป บริษัทหลายแห่งมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบาย work from home ต่อในระยะยาว หรือมีการปรับตัวโดยการลดวัน/เวลาในการเข้าทำงานในแต่ละสัปดาห์ลง เนื่องจากสามารถลดต้นทุนดำเนินธุรกิจได้ดี อีกทั้ง พนักงานยังได้รับความสะดวกมากขึ้นจากการลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น จากผลสำรวจของ Gartner เกี่ยวกับการรับมือกับ โควิด-19 ของ CFO (CFO Actions in Response to covid-19) จากผู้บริหารมากกว่า 15,000 บริษัททั่วโลกรวมถึงไทย (รูปที่ 3) พบว่า ภายหลังจากสถานการณ์ โควิด-19 คลี่คลาย บริษัททั่วโลกราว 74% ยังคงมีนโยบายให้พนักงานอย่างน้อย 5% สามารถที่จะทำงานจากที่บ้านได้ต่อไป  ส่งผลให้ความต้องการพื้นที่สำนักงานมีแนวโน้มชะลอลง อนาคตพื้นที่ออฟฟิศต้องการ flexible space แม้ว่าพนักงานบริษัทมีความต้องการที่จะใช้เวลาทำงาน จากทั้งออฟฟิศและบ้าน แต่พื้นที่สำนักงานยังคงจำเป็นต่อการทำงาน แต่รูปแบบของสำนักงานอาจต้องปรับเปลี่ยนไป โดย flexible space เป็นรูปแบบหนึ่งที่ตอบสนองเทรนด์การทำงานในอนาคต   จากผลสำรวจของ CBRE เกี่ยวกับรูปแบบสำนักงานในอนาคต (The Future of the Office Survey) จากพนักงานออฟฟิศ 10,000 คน จากหลายประเทศทั่วโลก  ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป อินเดีย และเอเชียตะวันออก ซึ่งรวมถึงไทยด้วย พบว่า ภายหลังจากเหตุการณ์ โควิด-19 คลี่คลาย 28% ของพนักงานออฟฟิศต้องการทำงานจากที่บ้านแบบเต็มเวลา ขณะที่ 67% ของพนักงานออฟฟิศต้องการใช้เวลาทำงานจากทั้งออฟฟิศและบ้าน ส่งผลให้พื้นที่สำนักงานยังมีความจำเป็นอยู่บางส่วน แต่รูปแบบของพื้นที่สำนักงานจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไป เพื่อตอบสนองต่อรูปแบบการทำงานในอนาคต   โดยบริษัทส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับพื้นที่สำนักงานเพื่อตอบโจทย์องค์กร 3 ด้านคือ 1.การสร้างความร่วมมือ นวัตกรรม และประสิทธิภาพในการทำงาน 2.ความสามารถในการสะท้อนภาพลักษณ์และวัฒนธรรมขององค์กร 3.สถานที่สำหรับพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์   ดังนั้น รูปแบบการใช้งานของพื้นที่สำนักงานอาจเปลี่ยนไป พนักงานทุกคนอาจไม่ต้องการโต๊ะทำงานประจำอีกต่อไป อาจต้องการเพียงพื้นที่นั่งทำงานร่วมกันเป็นทีมหรือมุมทำงานส่วนตัว ห้องประชุมอาจต้องมีเทคโนโลยีที่สามารถรองรับได้ทั้งพนักงานที่เข้าประชุมที่สำนักงานและผ่านทางช่องทางออนไลน์   จากผลสำรวจของ CBRE ยังพบว่า 56% ของบริษัทที่มีการสำรวจจะใช้พื้นที่สำนักงานที่เป็นรูปแบบ flexible space ในอนาคต เนื่องจากเป็นรูปแบบที่มีความคล่องตัวสูงและพื้นที่ใช้งานค่อนข้างหลากหลาย โดยอาจมีทั้งพื้นที่ส่วนกลางสำหรับการทำงานเป็นทีม หรือพื้นที่ส่วนตัวสำหรับผู้ที่ต้องการสมาธิ   ทั้งนี้ ความหมายโดยกว้างของ flexible space คือ พื้นที่สำนักงานที่มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้สอยได้ตามความต้องการในการใช้งาน โดย flexible space มักประกอบไปด้วยพื้นที่ทำงาน อุปกรณ์สำนักงาน สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ อีกทั้ง ระยะเวลาในการทำสัญญายังสั้นกว่าสำนักงานทั่วไป   flexible space จะครอบคลุมรูปแบบพื้นที่สำนักงาน ดังนี้ 1.สำนักงานสำเร็จรูป (serviced offices) คือพื้นที่สำนักงานให้เช่าพร้อมเฟอร์นิเจอร์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยผู้เช่ามักเป็นองค์กรหรือธุรกิจที่เริ่มตั้งใหม่หรืออยู่ในช่วงขยายกิจการ เนื่องจากสำนักงานลักษณะนี้มีเงื่อนไขและสัญญาเช่าที่ยืดหยุ่นมากกว่าพื้นที่สำนักงานให้เช่าทั่วไป 2.Co-working spaces เป็นพื้นที่ส่วนกลางที่สามารถเข้าใช้บริการได้ทั้งแบบส่วนบุคคลและแบบกลุ่ม และใช้พื้นที่ร่วมกันได้หลายกลุ่มในเวลาเดียวกัน พื้นที่นี้จะเน้นการแบ่งปันและสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เช่าผ่านการจัดกิจกรรมของ community manager ที่มีหน้าที่รับผิดชอบและตอบสนองความต้องการของผู้เข้าใช้บริการพื้นที่ ส่งผลให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วนกว่าสำนักงานสำเร็จรูป ตลาดออฟฟิศ 64 ซึมต่อเนื่อง แนวโน้มการชะลอตัวของภาคธุรกิจและเทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ ส่งผลให้ตลาดสำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ ปี 2564 มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องอีกเล็กน้อยจากในปี 2563   เนื่องจากผลจากการระบาดระลอกใหม่ของ โควิด-19 โดย EIC คาดว่าการชะลอตัวของตลาดในปี 2564 มาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.พื้นที่ให้เช่าได้ ในกรุงเทพฯ ลดลง 0.5% -1.0% พื้นที่สำนักงานให้เช่าได้ (occupied space) ในกรุงเทพฯ ในปี 2564 มีแนวโน้มชะลอตัวลงอีกเล็กน้อย โดยพื้นที่ที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ พื้นที่แถบนอกศูนย์กลางทางธุรกิจ (Non CBD) ทั้งนี้ผลจากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้แผนการขยายหรืออัปเกรดพื้นที่สำนักงานต่าง ๆ ในปี 2563 ถูกเลื่อนออกไป   สำหรับแนวโน้มในปี 2564 ภาพรวมของพื้นที่ให้เช่าได้จะชะลอตัวลง โดยคาดว่าจะลดลง 0.5% -1.0% (รูปที่ 4) โดยความต้องการพื้นที่เช่าจะลดลงจากการปิดกิจการหรือลดพื้นที่เช่า  อย่างไรก็ดี พื้นที่เช่าส่วนหนึ่งจะถูกชดเชยด้วยความต้องการพื้นที่เช่า จากในบางกลุ่มธุรกิจที่ยังมีความต้องการขยายพื้นที่ ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ   นอกจากนี้ หลายโครงการที่จะเปิดตัวในปี 2564 มีกลุ่มผู้เช่าแล้วบางส่วนจากที่มีทำสัญญาไว้ล่วงหน้า ประกอบกับเจ้าของโครงการมีแนวโน้มที่จะตั้งราคาค่าเช่าให้ต่ำลง เพื่อดึงดูดผู้เช่าเข้าสู่โครงการ อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และยังมีความเปราะบางทำให้หลายภาคธุรกิจยังต้องระมัดระวังในการขยายกิจการ ส่งผลให้อัตราเติบโตของความต้องการต่อพื้นที่สำนักงานต่ำกว่าในอดีต   โดยพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ พื้นที่แถบย่านนอกศูนย์กลางทางธุรกิจ (Non CBD) ที่มีบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นผู้เช่าอยู่เป็นสัดส่วนมากกว่าย่านศูนย์กลางทางธุรกิจ (CBD) เนื่องจากธุรกิจกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่  ส่งผลให้ต้องปรับตัวมากเพื่อให้สามารถอยู่รอดในภาวะวิกฤติ โดยหลายบริษัทต้องมีการลดจำนวนพนักงานหรือบางกิจการอาจต้องปิดดำเนินการส่งผลให้ความต้องการปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก 2.อัตราค่าเช่า ต่ำกว่าในช่วงก่อนเกิด โควิด-19 อัตราค่าเช่าปี 2564 มีแนวโน้มปรับลดลงอีกเล็กน้อย และยังอยู่ในระดับต่ำกว่าในช่วงก่อนเกิด โควิด-19 จากความต้องการที่ชะลอตัว ในขณะเดียวกันกับที่มีจำนวนพื้นที่ใหม่เข้ามาในตลาดซึ่งเป็นปัจจัยกดดันการปรับขึ้นของค่าเช่า   ในช่วงที่ 4-5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจสำนักงานให้เช่ายังมีรายได้เติบโตดีต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราค่าเช่า ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.5% ต่อปีในช่วงปี 2558-2562 จากอัตราการเช่าที่อยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจาก โควิด-19 ทำให้ความต้องการมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงมาก   โดยอัตราค่าเช่าเฉลี่ยในกรุงเทพฯ ในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัว โดยจะเห็นผลกระทบค่อนข้างชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 2 จากนโยบายล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งผู้ประกอบการให้เช่าสำนักงานหลายแห่ง  ได้ลดหย่อนค่าเช่าเพื่อช่วยเหลือผู้เช่าในโครงการที่ได้รับผลกระทบ​  และหลายรายยังคงลดหย่อนค่าเช่า​ต่อเนื่องจนถึงช่วงปลายปี 2563   สำหรับปี 2564 คาดว่าอัตราค่าเช่าจะลดลงอีกเล็กน้อย เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการอีกครั้ง  จากการระบาดรอบใหม่  ขณะที่จำนวนในพื้นที่ให้เช่ายังมีแนวโน้มชะลอตัว  จากจำนวนพื้นที่ให้เช่าใหม่เข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้นถึงราว 334,000 ตารางเมตรในปี 2564 (รูปที่ 5) ส่งผลให้ค่าเช่าไม่สามารถเติบโตได้ดีนัก   ในระยะกลาง จำนวนพื้นที่สำนักงานแห่งใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก จะกดดันให้เกิดภาวะจำนวนพื้นที่ส่วนเกิน ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราการเช่าปรับตัวลดลง พื้นที่ใหม่เข้าตลาดอีกกว่า 4.58 แสนตร.ม. เนื่องจากในช่วงปี 2565-2566  จำนวนพื้นที่สำนักงานใหม่ ที่เข้าสู่ตลาดจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 458,000 ตารางเมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2558-2562  ถึงประมาณ​ 3 เท่า (รูปที่ 5) โดยเฉพาะสำนักงานเกรด A ในพื้นที่ CBD ที่มีสัดส่วนของพื้นที่ใหม่ถึง 55% ของพื้นที่ใหม่ทั้งหมด   สำหรับสำนักงานเกรด B แม้ว่าจะมีพื้นที่ใหม่ไม่มากนัก แต่คาดว่าสำนักงานเกรด B จะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงกับสำนักงานเกรด A เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้หลายโครงการมีพื้นที่ว่างมากขึ้น ทำให้เจ้าของพื้นที่มีแนวโน้มปรับลดค่าเช่าลง เพื่อดึงดูดผู้เช่าใหม่ให้เข้าสู่โครงการ และลดภาระการแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น   โดยเฉพาะโครงการที่เปิดให้บริการมานานหรืออยู่ในพื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในทำเลทอง (prime location) ขณะที่ความต้องการในระยะกลางแม้ว่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่คาดว่าความต้องการในพื้นที่ให้เช่ายังคงเติบโตไม่ทันกับจำนวนพื้นที่ที่เข้ามาใหม่ ส่งผลให้อัตราการให้เช่า (occupancy rate) โดยรวม  มีแนวโน้มปรับลดลงจนอาจต่ำกว่าระดับ 85% ในช่วงปี 2565-2566 และจะเป็นปัจจัยกดดันการปรับค่าเช่าในระยะต่อไป แนวโน้มความต้องการพื้นที่สำนักงานที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจสำนักงานให้เช่าต้องปรับตัว อย่างเช่น การปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สำนักงานให้เหมาะสมกับผู้เช่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานพื้นที่ รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบโจทย์ความต้องการใช้งาน   แนวโน้มพื้นที่สำนักงานที่จะตอบโจทย์หลัง โควิด-19 นอกเหนือจาก  ต้องมีมาตรการเพื่อรักษาความสะอาดและความปลอดภัยแล้ว การให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนและออกแบบพื้นที่สำนักงาน ให้ตอบโจทย์ความต้องการ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการพื้นที่ให้เช่าต้องปรับตัว โดยเจ้าของพื้นที่อาจมีการสำรวจความต้องการของผู้เช่า และพิจารณาปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งาน  ตลอดจนการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน เทรนด์อนาคตพื้นที่ออฟฟิศต้องยืดหยุ่น จากผลสำรวจของ CBRE เกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่สำนักงานในอนาคต ที่พนักงานองค์กรต้องการจากหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย (รูปที่ 6) พบว่า  ปัจจัยสำคัญที่พนักงานส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการใช้งานพื้นที่สำนักงาน 3 อันดับแรกคือ 1.พื้นที่สำนักงานที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน 2.การมีห้องประชุมส่วนกลาง (shared meeting space) 3.คุณภาพของอากาศภายในอาคาร   จากผลสำรวจของ CBRE ยังพบว่า ในอนาคตสัดส่วนของสำนักงานที่มีที่นั่งประจำเป็นหลักมีแนวโน้มลดลงเหลือเพียง 10% เท่านั้น (จาก 57% ก่อนเกิด โควิด-19) ส่วนอีก 90% ที่เหลือมีการใช้พื้นที่แบบยืดหยุ่น  (รูปที่ 7) สะท้อนถึงความต้องการพื้นที่สำนักงานในรูปแบบ flexible space มากขึ้น นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ภายในพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกในอาคารยังเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ ตัวอย่างของเทคโนโลยีหรือแอปพลิเคชัน ที่มีการนำเอามาใช้ในพื้นที่สำนักงานมากขึ้น ได้แก่ แอปพลิเคชันสำหรับยืนยันตัวตนผู้เช่าใช้บริการ เทคโนโลยี touchless ต่าง ๆ ตั้งแต่การเข้า-ออกอาคารไปจนถึงภายในสำนักงาน การจองห้องประชุมผ่านมือถือ การสั่งงานอุปกรณ์ด้วยเสียง ตลอดจนอุปกรณ์ทำความสะอาดอัตโนมัติ หรือเครื่องมือช่วยในการติดต่อทางไกล (รูปที่ 8)   นอกจากนี้ การออกแบบพื้นที่ทำงานและพื้นที่รองรับการให้บริการต่าง ๆ ภายในโครงการอย่างครบวงจร จะช่วยตอบโจทย์เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ แม้ว่าการระบาดของ โควิด-19 ในระยะต่อไป จะปรับตัวดีขึ้นจนเข้าสู่ภาวะปกติ แต่รูปแบบการทำงานที่รักษาระยะห่างระหว่างบุคคลยังน่าจะเป็นเทรนด์ที่ภาคธุรกิจต่าง ๆ ให้ความสำคัญมากขึ้น ส่งผลให้ในอนาคตการวางแผนผัง (layout) ของออฟฟิศจะต้องมีการออกแบบ และปรับปรุงเพื่อลดความหนาแน่นของพนักงาน รวมถึงจุดที่มีโอกาสหนาแน่นสูง อาทิ ล็อบบี้ ลิฟต์ ห้องน้ำ   นอกจากนี้ อาจปรับปรุงพื้นที่สำนักงานในโครงการ เพื่อรองรับการให้บริการ flexible space ไม่ว่าจะเป็น serviced office หรือ co-working space ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวสามารถตอบสนองรูปแบบการทำงานในอนาคต ที่พนักงานบริษัทเริ่มใช้เวลาที่สำนักงานน้อยลงได้ดี อีกทั้ง การออกแบบพื้นที่ใช้ประโยชน์ภายในโครงการ  จะต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของพนักงาน นอกเหนือจากการออกแบบพื้นที่สำหรับการทำงานที่ตอบโจทย์เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ โดยอาจเน้นเพิ่มพื้นที่สนับสนุนต่าง ๆ อย่างครบวงจร อาทิ การเพิ่มพื้นที่สำหรับออกกำลังกาย หรือการจัดหาร้านอาหารเพื่อสุขภาพไว้ในโครงการ นับเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เช่ามีความต้องการเช่าพื้นที่มากขึ้น    
ศุภาลัย วางเป้ารายได้ 5,350 ล้าน จาก 7 โปรเจ็กต์ในออสเตรเลีย

ศุภาลัย วางเป้ารายได้ 5,350 ล้าน จาก 7 โปรเจ็กต์ในออสเตรเลีย

นโยบายกระจายความเสี่ยง สร้างรายได้ให้ “ศุภาลัย” กว่า 1,983 ล้าน จากโปรเจ็กต์ในออสเตรเลีย ปี 64 เดินหน้าปั้นรายได้จาก 7 โปรเจ็กต์ขายดี หวังสร้างรายได้เพิ่มกว่า 5,350 ล้าน ​   ดร.ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถทำยอดขายจากการร่วมลงทุน พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศออสเตรเลีย ได้จำนวน 1,983 ล้านบาท คิดเป็น 7.5% ของยอดขายรวมในประเทศไทยของบริษัทฯ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย แม้จะเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ซึ่งนโยบายการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มศักยภาพการเติบโตของศุภาลัยนั้น นับว่าได้ผลดี   ส่วนในปี 2564 นี้ บริษัทน่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะสามารถทำยอดขายได้เพิ่มเป็น 5,350 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 19% ของเป้าการขายรวมในประเทศไทย ทั้งนี้ เพราะออสเตรเลียเป็นประเทศใหญ่ ที่มีความมั่นคง ประกอบกับรัฐบาลออสเตรเลีย สร้างแรงจูงใจที่ส่งเสริมการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่แรงกว่าประเทศไทยมาก  ในปีที่ผ่านมา รัฐบาลของออสเตรเลีย มีงบประมาณช่วยผู้ซื้อบ้านรายละ 40,000 เหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 930,000 บาท   ส่วนดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม กรรมการที่ปรึกษา  ซึ่งรับผิดชอบดูแลโครงการลงทุนต่างประเทศ กล่าวว่า ปัจจุบันศุภาลัยเข้าไปลงทุนในประเทศออสเตรเลียแล้วจำนวน 11 โครงการ ได้แก่ Balmoral Quay, Officer, Greenvale, Gen Fyansford, Eden’s Crossing, Whole Green, Narangba, Ballarat Street, Eglinton, Madora Bay และ Katalia  โดยมีการเติบโตด้านยอดขายอย่างต่อเนื่อง   ในปี 2564 บริษัทมีแผนการขายโครงการของศุภาลัยในออสเตรเลีย ที่ได้รับความสนใจจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง 7 โครงการ ดังนี้   1.โครงการ Balmoral Quay เป็นโครงการที่อยู่อาศัยโดดเด่นริมทะเล ที่ขนาบด้วยสวนสาธารณะ  ทั้งซ้าย-ขวา มีทั้งที่อยู่อาศัยแบบทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม และที่จอดเรือสำราญ 300 ลำ โดยโครงการได้เปิดขายไปประมาณครึ่งหนึ่ง และมีลูกค้าย้ายเข้าอยู่แล้วบางส่วน ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างงานสาธารณูปโภค ก่อสร้างตัวอาคารในเฟสสุดท้าย 2.โครงการ Officer เป็นโครงการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ อยู่ทิศตะวันออกของ Melbourne ที่ร่วมทุนกับ Satterley ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนที่ใหญ่ที่สุดใน Australia เป็นโครงการที่มีสถานีรถไฟฟ้า ถึง 2 แห่ง ท้ายของโครงการ มีโรงเรียน ศูนย์สันทนาการ ศูนย์การค้าฯ เปิดขายตั้งแต่ปี 2557 และสามารถทำยอดขายได้ดีอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ปี 2561 - 2562 ก็สามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม (Best Performer) ปัจจุบันโครงการใกล้ดำเนินการแล้วเสร็จ และคาดว่าจะมีสินค้าสามารถขายได้ถึงช่วงปลาย  ปี 2565 โดยมีอัตราการขายของโครงการ จำนวน 12 แปลงต่อเดือน รวมเป็นยอดขายและยอดสัญญา จำนวน 180 แปลงในปี 2564 3.โครงการ Greenvale   เป็นโครงการที่ร่วมทุนกับ Satterley เช่นกัน ทำเลตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของ Melbourne และเป็นแหล่งทำเลที่ราคาที่ดินค่อนข้างสูง ทำให้อัตราการขายไม่ได้สูงเท่า Officer แต่สามารถสร้างยอดขายได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่าอัตราการขายจะอยู่ที่ 10 แปลงต่อเดือน  สาเหตุที่ยอดขายโดยรวมไม่สูง เนื่องจากที่ดิน Neighborhood 4 ยังไม่มีผังเมืองรองรับ ซึ่งจะทำให้เกิดความล่าช้าในการเปิดขายประมาณ 3 เดือน 4.โครงการ Whole Green เป็นโครงการร่วมทุนกับ Peet ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนอสังหาฯ ที่เก่าแก่ที่สุดในออสเตรเลีย โครงการตั้งอยู่ทางตะวันตกของ Melbourne ห่างไปประมาณ 30 กม. ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโครงการอยู่จำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากระดับราคาที่ดินไม่สูงมากนัก อีกทั้งถือว่าไม่ไกลจากตัวเมือง Melbourne คาดว่ายอดขาย/ยอดสัญญาจะอยู่ที่ 100 แปลง ในปี 2564 5.โครงการ Gen Fyansford เป็นโครงการจัดสรรที่ดินบนทำเลที่เป็นเหมืองหินปูนเดิม ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเมือง Geelong ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Melbourne ปัจจุบันกำลังเปิดขายเฟสที่ 9.1 และ 9.2 จากที่โครงการมีทั้งหมด 9 เฟส และขายหมดไปแล้ว 3 เฟส 6.โครงการ Ballarat Street เป็นอพาร์ทเม้นท์ทำเลดี ตั้งอยู่ที่ Brunswick ห่างจาก Melbourne ไปทางเหนือประมาณ 6 กม. เปิดขายอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2564 นี้  โดยช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ ​ 7.โครงการ Katalia เป็นการร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม Stockland บริษัทจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์  ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรเลีย โดยเริ่มเปิดขายในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ประมาณการขายอยู่ที่ 10 แปลงต่อเดือน  ไตรมาส 4 ของปี 2563 นั้น ได้รับผลตอบรับที่ดีเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยสามารถทำยอดขายอยู่ที่ 20 แปลงต่อเดือน โครงการนี้อยู่ทางเหนือของ Melbourne ห่างออกไปประมาณ 50 กม. และที่ดินราคาถูก เหมาะสมสำหรับครอบครัวที่ซื้อบ้านเป็นหลังแรก ด้วยเป้าการขายของโครงการและชื่อเสียงของกลุ่ม Stockland จะสามารถสร้างยอดขายและยอดสัญญาในปี 2564 โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 240 แปลง สำหรับโครงการต่าง ๆ ดังกล่าว บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วนโดยรวมเฉลี่ยประมาณ 50% เมื่อพิจารณาจากประมาณการยอดขายโครงการทั้งหมดแต่ละโครงการ ด้วยสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท คาดว่าจะทำให้มียอดสัญญาจากโครงการทั้งหมดในประเทศออสเตรเลีย เฉพาะส่วนของศุภาลัย เป็นจำนวนเงินประมาณ 226 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือคิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 5,350 ล้านบาท        
แอสเซทไวส์ พร้อมขาย IPO หลังก.ล.ต.อนุมัติให้ระดมทุน 206 ล้านหุ้น

แอสเซทไวส์ พร้อมขาย IPO หลังก.ล.ต.อนุมัติให้ระดมทุน 206 ล้านหุ้น

แอสเซทไวส์  ยิ้มรับ ก.ล.ต. อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้น ASW เล็งหาจังหวะความพร้อมดีเดย์ขายหุ้น IPO ชี้ 9 เดือนแรกปี 63 ทำกำไรกว่า 886 ล้าน ขณะที่ปี 64 ได้โปรเจ็กต์พร้อมโอนหนุนรายได้เติบโต    นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” (We Build Happiness) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม เพื่อเสนอขายหุ้น IPO และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตามแผนที่วางไว้ หลังจากเตรียมตัวมากว่า 3 ปี   ทั้งนี้ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน  ได้มีการเตรียมความพร้อม และอยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสนอขายหุ้น IPO ASW และที่ปรึกษาทางการเงิน อยู่ระหว่างติดตามดูแนวโน้มเศรษฐกิจ และบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น รวมถึงพิจารณาความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ  หากสถานการณ์โดยรวม มีความชัดเจนมากขึ้น บริษัทฯ ก็พร้อมเดินหน้าเสนอขายหุ้นไอพีโอและพร้อมเข้าจดทะเบียนใน SET ได้อย่างแน่นอน  ASW มีแผนจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 206 ล้านหุ้น คิดเป็น 27.07% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชําระแล้วทั้งหมดหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ โดยกลุ่มบริษัท ASW มีบริษัทย่อยทั้งหมด 15 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักคือ ธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ทั้งโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม และโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทแนวราบ ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมและโฮมออฟฟิศ จำนวน 12 บริษัท และบริษัทย่อยอีก 3 บริษัท ประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่า, ธุรกิจรับฝากขายฝากเช่า   สำหรับภาพรวมของผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2563 ที่ผ่านมา  ASW มีรายได้จากการขายและบริการรวม  2,176.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันจากปีก่อนที่ทำได้  1,779.30 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิ 307.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 110.51 % จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้  146.00  ล้านบาท  โดยกลุ่มบริษัทมีกำไรขั้นต้นเท่ากับ 886.20 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นที่ 40.72%   ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส​4 ปี 2563 บริษัทฯ ได้มีการเปิดขายโครงการโดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการบนทำเลศักยภาพที่มีความต้องการอยู่อาศัยจริงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการโมดิซ ราห์ม รามคำแหง (Modiz Rhyme Ramkhamhaeng) ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง ซึ่งเป็นทำเลที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี (อ่านข่าวเพิ่มเติม...“แอสเซทไวส์” แบ่งเฟสขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19)   นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาทำเลในกลุ่มตลาดบลู โอเชี่ยน เนื่องจากมีกำลังซื้อที่มีสัญญาณดีต่อเนื่อง เช่น โครงการโมดิซ ลอนซ์ (Modiz Launch)  ทำเลย่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า และโครงการทาวน์โฮมแนวคิดใหม่ “บ้านภูริปุรี คอร์ทยาร์ด – พัฒนาการ” (Baan Puripuri Courtyard - Pattanakarn) โครงการทาวน์โฮมที่มีดีไซน์ Private Courtyard ใจกลางบ้านในระดับราคา 14.2 – 22 ล้านบาท  ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บ้านภูริ ปุรี โฮลดิ้ง จำกัด ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่องไปในปี 2564 เช่น  โครงการแอทโมซ รัชดา - ห้วยขวาง (Atmoz Ratchada - Hauikwang) (อ่านรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม....แอสเซทไวส์ เปิดตัว “แอทโมซ รัชดา-ห้วยขวาง”)  และโครงการเคฟ ทาวน์ สเปซ (Kave Town Space) ซึ่งเป็นโครงการคอนโดมิเนียมใกล้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  โดยโครงการต่าง ๆ จะสนับสนุนให้ผลประกอบการในปีนี้เติบโตได้เป็นอย่างดี   ในช่วงไตรมาส 1/2564 บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าการเปิดขายโครงการอย่างต่อเนื่องในทำเลศักยภาพที่รองรับการขยายของเมืองและระบบคมนาคมเส้นทางใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการด้านการอยู่อาศัยของลูกค้าอย่างแท้จริง
4 กลยุทธ์ปรับพื้นที่ออฟฟิศ สู่วิกฤตโควิด-19

4 กลยุทธ์ปรับพื้นที่ออฟฟิศ สู่วิกฤตโควิด-19

นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บริษัทต่าง ๆ ได้มีนโยบายการให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home เพื่อลดอัตราเสี่ยงการติดเชื้อโรค และเข้าสู่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) แต่หลังจากหน่วยงานภาครัฐมีระบบการจัดการ และควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้อย่างดี จนไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ พนักงานที่เคยทำงานจากที่บ้าน ก็เริ่มกลับมาเข้ามาทำงานในสำนักงานเช่นเดิม   แต่จากสถานการณ์ล่าสุด ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิดขึ้น ก็มีความวิตกกังวลกันว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด​-19 จะกลับมารุนแรงอีกครั้ง ซึ่งทำให้หลายองค์กรต้องเพิ่มมาตรการความเข้มข้น ในการดูแลเรื่องความสะอาดและการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในพื้นที่สำนักงาน หรืออาคารต่าง ๆ   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตอนนี้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ยังไม่รุนแรงจนต้องนำมาตรการล็อกดาวน์มาใช้อีกครั้ง แต่มีการคาดการณ์ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่าจะดำเนินต่อไปยาวนานอีกเป็นปี ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจลากยาวไปจนถึงปี 2565 ก่อนจะเริ่มฟื้นตัว   โดย นายอายุธพร บูรณะกุล กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายการวางกลยุทธ์พื้นที่ทำงาน บริษัท พีเพิลสเปซ คอนซัลติง (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด  มองว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลทำให้ CEO และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องปรับเปลี่ยนทิศทางการบริหารจัดการองค์กรกันอย่างจริงจัง ในขณะที่องค์กรทั่วโลกมีรายรับลดลงจากผลกระทบของการประกาศล็อคดาวน์ในหลายๆประเทศ และความยากลำบากในการแข่งขันเนื่องมาจากข้อจำกัดในการเข้าทำงานของบุคลากร แต่องค์กรกลับมีภาระรายจ่ายเท่าเดิมหรือมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการบริหารกระแสเงินสด (cash flow) จำเป็นต้องยกประเด็นดังกล่าวมาพิจารณา รวมไปถึงเรื่องของพื้นที่ทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน 4 กลยุทธ์สู่วิกฤตโควิด-19 ทั้งนี้  จากรายงาน Work+Life during COVID-19 Impact ของ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด และ บริษัท พีเพิลสเปซ คอนซัลติง (ประเทศไทย) จำกัด พบว่ากว่า 64% ของผู้บริหารองค์กรในประเทศไทยส่วนใหญ่ คิดว่าองค์กรต้องหันกลับไปมองการใช้งานพื้นที่ทำงาน และให้ความสำคัญกับการวางกลยุทธ์การจัดพื้นที่สำนักงาน (Workplace Strategy) เพื่อวิเคราะห์และวางกลยุทธ์การใช้งานพื้นที่ทำงานใหม่   โดย 40% วางแผนลดพื้นที่ทำงาน 29% กำลังพิจารณาหาแนวทางที่จะให้พนักงานทำงานใกล้บ้านมากขึ้น มีเพียงแค่ 11% ของผู้บริหารคิดว่าต้องการเพิ่มขนาดพื้นที่ทำงานเพื่อตอบสนองระยะห่างทางสังคม ซึ่งทั้งหมดส่งผลให้เกิด กลยุทธ์และเทรนพื้นที่ทำงานในช่วงโควิด-19 ทั้งหมด 4 อย่างดังนี้ 1.เปลี่ยนแปลงสู่ Activity-Based Workplace จากผลสำรวจความเห็นของพนักงานส่วนใหญ่ในประเทศไทย พบว่ากว่า 76% มีความต้องการที่จะทำงานที่บ้านต่อไปในอนาคตแม้โควิด-19 จะหายไปแล้วก็ตาม โดยกว่า 41% เห็นว่าองค์กรควรมีนโยบายให้ทำงานที่บ้าน ประมาณ 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ 24% ของพนักงานไม่ต้องการทำงานที่บ้านเลย   นอกจากนี้ผู้บริหารองค์กรในประเทศไทยกว่า 81% เห็นว่ารูปแบบพื้นที่ทำงานของตนเองในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานที่เป็นอยู่ ด้วยเหตุนี้เอง องค์กรจึงมองเห็นโอกาสในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงานเพื่อตอบโจทย์ด้านการลดค่าใช้จ่ายและตอบโจทย์การเพิ่มประสิทธิภาพให้พนักงาน โดยหลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 องค์กรมีความคาดหวังที่จะลดพื้นที่ให้ได้กว่า 30%-50% 2.ปรับองค์กรสู่Digital Workplace การปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ Digital Workplace (S.M.A.R.T.)  เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ซึ่ง Smart Workplace ในที่นี้ ประกอบไปด้วย Self-Monitoring, Analysing, Reporting Technology หรือเทคโนโลยีที่สามารถเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง วิเคราะห์ และรายงานผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานตัดสินใจ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์การทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถทำให้องค์กรบริหารจัดการพื้นที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในอนาคตได้เป็นอย่างดี 3.ลดการสัมผัสในการทำงาน การจัดการออฟฟิศในยุคโควิด-19 ที่สำคัญอีกเรื่อง คือ การลดการสัมผัสในการทำงาน (Contactless Journey) เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงาน และสร้างสุขอนามัยที่ดีในองค์กร  โดยผลสำรวจ พบว่า เรามักสัมผัสกับผิวสัมผัสต่าง ๆ ในพื้นที่ทำงานมากกว่า 200 ครั้งต่อวัน เช่น ประตู ลูกบิด ปุ่มกดลิฟต์ เก้าอี้โต๊ะประชุม รีโมต ก๊อกน้ำ โถสุขภัณฑ์ ถังขยะ บัตรจอดรถ ฯลฯ นั่นคือ 200 ความเสี่ยงที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโควิด-19 แน่นอนว่าการออกแบบเพื่อลดการสัมผัสในกิจวัตรการทำงาน (contactless journey) ในที่ทำงานจึงเป็นการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด แต่รวมไปถึงการบริหารทรัพยากรอาคาร การทำความสะอาด และการควบคุมจะมีประสิทธิผลมากขึ้นตามไปด้วย 4.Well-Working และCollaborative Climate องค์กรต้องหันมาให้ความสนใจด้าน สุขอนามัยในที่ทำงาน (Well-Working)  และ การกระตุ้นบรรยายกาศในการทำงานร่วมกัน​ (Collaborative Climate) ให้มากขึ้น เพราะนั่นหมายถึงประสบการณ์การทำงานที่ตอบสนองกับความต้องการของพนักงาน และควรถือโอกาสนี้ปรับพื้นที่ทำงาน การลงทุนออกแบบตกแต่งพื้นที่ทำงานให้สวยงามอาจจะไม่ใช่สิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญที่สุดอีกต่อไป แต่การปรับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์สำนักงานให้เหมาะสมกับกิจกรรมและการทำงานร่วมกัน อาจเป็นสิ่งที่องค์กรควรพิจารณา   การวางกลยุทธ์การจัดพื้นที่ทำงานให้ตอบโจทย์ต่อธุรกิจ (Workplace Strategy) ต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่าง “คน”  และ “พื้นที่” ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและลดค่าใช้จ่าย เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ในการลงทุนขององค์กรต่อพื้นที่ทำงานใหม่ให้เกิดความคุ้มค่าและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว (Cost Saving & ROI) สนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานให้ดีขึ้น (Staff Productivity) ตอบสนองความพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction) ดึงดูดพนักงานทั้งเก่าและใหม่ให้อยากทำงาน (Retain & Attract Workforce Calibre) และส่งเสริมภาพลักษณ์คุณค่าขององค์กร (Enhancing Brand Value) การวางกลยุทธ์การจัดพื้นที่ทำงาน (Workplace Strategy) จึงไม่ใช่แต่การออกแบบพื้นที่ทำงานให้สวยงาม แต่เป็นการบริหารจัดการพื้นที่ทำงานให้มีประสิทธิภาพ (Not design for the eyes, but design for the performance) และจัดอยู่ในประเภทงานด้านการบริหารทรัพยากรอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ทำงาน หรือ Facility Management (FM) และ Corporate Real Estate (CRE) เป็นสำคัญ มุ่งเน้นการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานอาคารและการเพิ่มประสิทธิผลสนับสนุนธุรกิจหลัก   อย่างไรก็๖ม องค์กรควรต้องใช้โอกาสจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิค-19 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งการปรับพื้นที่ทำงานให้ประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด และปรับรูปแบบที่ทำงานให้เหมาะสมกับสภาพกิจกรรมการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ดึงดูดพนักงาน และสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงาน เป็นแนวทางสร้างธุรกิจให้ยั่งยืนในอนาคต    
4 กลยุทธ์ทางรอดออฟฟิศบิวดิ้ง  รับมือโควิด-19 ยุค Next Normal

4 กลยุทธ์ทางรอดออฟฟิศบิวดิ้ง รับมือโควิด-19 ยุค Next Normal

สถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยอีกครั้ง ทำเอาหลายคนวิตกกังวล กลัวว่าจะสถานการณ์จะรุนแรงกว่าเดิม เพราะผู้ติดเชื้อได้เดินทางไปในสถานที่ และพบปะผู้คนมากมาย ซึ่งทำให้นับจากนี้ ประชาชนคงต้องระมัดระวังตัวเองมากขึ้น ต้องป้องกันการได้รับเชื้อโควิด-19 ด้วยมาตรการที่เคยปฎิบัติมา ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า และการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ หรือการทำความสะอาดมือทุกครั้งหลังการสัมผัสสิ่งของที่อาจจะเป็นแหล่งที่อยู่ของเชื้อโรค   ในขณะที่อาคารและสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร สำนักงาน หรือแหล่งชุมชน ต่างก็ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการป้องกันการแพร่เชื้อโรคไวรัสโควิด-19 มาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิของผู้เข้ามาใช้บริการ หรือการมีเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่าง ๆ ไว้ให้ทำความสะอาดมือ และการติดตั้งอุปกรณ์การใช้งานของสิ่งต่าง ๆ เพื่อที่จะลดการสัมผัส การกันพื้นที่บางส่วนให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งเป็นมาตรการที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา   แม้ในอนาคตหากมีการนำเอาวัคซีนมาใช้จริงกับมนุษย์ หรือเราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าทุกคนคงจะยังต้องปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสาธารณสุข เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างแน่นอน รวมถึงบรรดาอาคารและสถานที่ต่าง ๆ ก็คงยังต้องมีมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นไปตามวิถีชีวิตปกติใหม่ หรือ New Normal อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   นอกจาก อาคารสำนักงาน หรือ ออฟฟิศ บิลดิ้ง จะต้องปรับตัว กับการอยู่ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แล้ว  สถานการณ์ภาพรวมของตลาดธุรกิจสำนักงานให้เช่า และธุรกิจโรงแรมในปี 2563 ที่ผ่านมา ต่างต้องประสบกับวิกฤตจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดภาวะชะงักงันของภาคธุรกิจโดยรวม และปัจจุบันเกือบทุกบริษัทหันมาใช้การทำงานรูปแบบ Work from home กันมากขึ้น ทำให้อาคารสำนักงานให้เช่าเริ่มเข้าสู่จุดเสี่ยง สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ประกอบการเจ้าของอาคารหลายแห่งเริ่มมองหาตัวช่วยในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับอาคารของตนเพื่อดึงดูดผู้เช่าและผู้ใช้อาคารให้กลับมาเหมือนเดิม รวมไปถึงสร้างความเชื่อมั่นเพื่อเชิญชวนผู้เช่ารายใหม่ ๆ ให้เข้ามามากกว่าเดิมด้วย ขณะที่ทิศทางในอนาคตการจะรับมือกับรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ หรือ Next Normal นั้น SCG Building and Living Care Consulting มีคำแนะนำให้ใช้ 4 กลยุทธ์เพื่อรับมือแบบ Next Normal ของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง หลังยุคโควิด ดังนี้ 1.Intelligent Building ปรับอาคาร และ ฟังก์ชันการใช้งานภายในอาคารให้มีความอัจฉริยะ โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อมัดใจคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็น Gen Me หรือ Millennials ซึ่งมีผลวิจัยว่าคนรุ่นใหม่ 69-78% ให้ความสำคัญกับ workplace มากกว่า benefit บางอย่างที่พวกเขาอาจไม่ได้ใช้ 2.Healthy Building ทำอาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานอาคารมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง และปลอดภัย รวมถึงการออกแบบพื้นที่ทำงานจะต้องก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้ความสะดวกสบาย และสร้างประสิทธิภาพและการเข้าถึงให้แก่ผู้ทำงานทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และรวมถึงผู้ทุพลภาพในด้านต่าง ๆ ด้วย 3.Homey Environment ออกแบบพื้นที่ภายในและนอกอาคารให้รู้สึกสะดวกสบายเหมือนอยู่บ้าน โดยเชื่อมโยงชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน อาจใช้องค์ประกอบที่มีในธรรมชาติ มีพื้นที่ให้ผ่อนคลายจากการทำงาน มีพื้นที่หลากหลายตามแต่ความต้องการของการใช้พื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา และคำนึงถึงระดับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน 4.Building Certification ปรับพัฒนาอาคารตามมาตรฐานอาคารระดับโลก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้อาคาร จากการรับรองโดยสถาบันที่มีชื่อเสียง ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร/อาคารนั้นได้มากขึ้น และยังส่งผลต่อค่าเช่าพื้นที่ที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มได้มากกว่าอาคารทั่วไป   สำหรับ SCG Building and Living Care Consulting ได้ดำเนินธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่การออกแบบ ก่อสร้างอาคาร รวมไปถึงการรับรองอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ด้วยบริการให้คำปรึกษาเพื่อขอรับรองมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานในการรับรองอาคารแบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่  มาตรฐานอาคารเขียว (Green Building Certification) และ มาตรฐานอาคารเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี (Well-Being Building)  
AWC ผลงานไตรมาส 3 ฟื้นตัว แต่ยังขาดทุน 620 ล้าน

AWC ผลงานไตรมาส 3 ฟื้นตัว แต่ยังขาดทุน 620 ล้าน

AWC ประกาศผลงาน ไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้น หลังการท่องเที่ยวเริ่มฟื้น สถานการณ์โควิดคลี่คลายรัฐเดินหน้าผ่อนปรนระยะที่ 6 สร้างรายได้รวม 1,225 ล้านบาท สูงขึ้น 63.5%  จากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังขาดทุนกว่า 620 ล้าน   AWC รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2563 ที่ผ่านมา ว่าขาดทุนสุทธิ 620 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น 29.3% จากไตรมาส 2/2563 ซึ่งขาดทุนกว่า 876 ล้านบาท  โดยไตรมาส 3/2563 มีรายได้รวม 1,225 ล้านบาท หรือลดลง 61.9% จาก 3,213 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ด้วยผลกระทบต่อเนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ว่าในปัจจุบันได้มีประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 6 ที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติบางกลุ่มเดินทางเข้าประเทศไทยได้ แต่ยังไม่สามารถเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวได้   อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายได้รวมไตรมาส 3/2563 เทียบกับไตรมาส 2/2563 จะเห็นได้รายได้รวมปรับตัวสูงขึ้น 63.5% แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวและแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยวภายในประเทศ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสามารถควบคุมค่ายใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานในไตรมาส 3/2563 ลดลง 18.9% จากไตรมาส 2/2563 เป็นผลมาจากแผนการปรับโครงการสร้างองค์กรควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่าย (Cost Control and Efficiency Initiatives) ซึ่งเป็นการรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน ไตรมาส 3 ขาดทุนลดเหลือ 620 ล้าน นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า  ในเดือนกรกฏาคม โรงแรมภายใต้ AWC เกือบทั้งหมด (ยกเว้นโรงแรม เชอราตัน สมุย รีสอร์ท) ได้กลับมาเปิดให้บริการ และตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม โรงแรมภายใต้ AWC อีก 2 แห่ง ได้แก่ โรงแรม เลอ เมอริเดียน กรุงเทพ และ โรงแรม ดับเบิ้ลทรี บาย ฮิลตัน สุขุมวิท กรุงเทพฯ ได้เข้าร่วมการเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine: ASQ) ทำให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมทั้งหมดของบริษัท (Average Occupancy Rate) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ​ ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ และยังมีการลดค่าเช่าให้กับผู้ประกอบการร้านค้าเช่าบางรายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า (Retail) เพื่อให้สามารถผ่านวิกฤตไปได้ร่วมกันกับ AWC ส่งผลให้บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิไตรมาส 3/2563 ที่ 620 ล้านบาท แม้ว่าจะยังคงได้รับผลประโยชน์อย่างต่อเนื่องจากกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายและสมดุลเชิงธุรกิจ (Balanced and Diversified Portfolio) ที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคง อัดโปรฯ กระตุ้นธุรกิจโรงแรม กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ของบริษัท ยังคงได้รับผลกระทบจากภาพรวมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับรายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัท โดยมีรายได้ 451 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีรายได้ 2,104 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2563 ที่มีรายได้ 130 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม AWC ได้ออกโปรแกรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ Thai Holidays Lifestyle, Gift of Hapiness จาก 16 โรงแรมภายใต้ AWC ขานรับโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” อีกทั้ง Bangkok Holidays Lifestyle, Gift of Happiness เพื่อกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยยอดจองโรงแรมต่างๆ อาทิ โรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค ที่ได้ยอดจองกว่า 5,000 คืน นอกจากนี้ ยังได้ออกแพคเกจ AWC INFINITE LIFESTYLE: INFINITE POINT OF HAPPINESS แพ็กเกจคะแนน Infinite Point ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ สำหรับใช้เข้าพักหรือแลกเพื่อใช้บริการที่หลากหลายในโรงแรมและรีสอร์ตใดก็ได้ในเครือ AWC ทั้ง 15 แห่งทั่วประเทศ ตอบรับนโยบายการท่องเที่ยวของภาครัฐ และส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยให้พลิกฟื้นและเดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้โรงแรมต่างๆ ภายใต้ AWC มี RGI Index ปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด   โดยโรงแรมในกรุงเทพฯ อาทิ โรงแรม เลอ เมอริเดียน และโรงแรม แบงค็อกแมริออท เดอะ สุรวงศ์ มี RGI Index เดือนกันยายนสูงถึง 268.2 และ 252.9 ตามลำดับ และโรงแรมในเมืองท่องเที่ยวสำคัญอย่าง โรงแรม ภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา, ในยางบีช และโรงแรม หัวหิน แมริออท รีสอร์ท และ สปา มี RGI Index ในไตรมาสที่ 3/2563 สูงถึง 387.0 และ 146.3 ตามลำดับ ทำให้รายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จาก 126 ล้านบาทในไตรมาส 2/2563 เป็น 450 ล้านบาทในไตรมาส 3/2563 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 257.1%   ในขณะที่รายได้ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail and Commercial) ได้ปรับตัวสูงขึ้นจาก จาก 632 ล้านบาทในไตรมาส 2/2563 เป็น 771 ล้านบาทในไตรมาส 3/2563 หรือเพิ่มขึ้น 22.0% เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้า (Retail) ที่มีจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการ (Traffic) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังการประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 และการลดส่วนลดตามจำนวนผู้ใช้บริการโครงการที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจอาคารสำนักงาน (Office) ยังคงสร้างรายได้ที่มั่นคงอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มประสิทธิภาพบริหารงาน+ลดค่าใช้จ่าย ด้วยการวางรากฐานการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน บริษัทยังคงเดินหน้าปรับโครงการสร้างองค์กรควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต (Cost Control and Efficiency Initiatives) โดยถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไตรมาส 3/2563 จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2563 แต่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานได้ลดลงจาก 96.9% ในไตรมาส 2/2563 เป็น 78.0% ในไตรมาส 3/2563 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัทได้เป็นอย่างดี   “AWC ยังคงเชื่อมั่นในธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยได้เดินหน้าตามแผนพัฒนาโครงการคุณภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การลงนามในสัญญาครั้งสำคัญกับแมริออทอินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อขยายความร่วมมือในการพัฒนาโรงแรม 4 แห่ง รวม 1,638 ห้องในกรุงเทพฯ และพัทยา การลงนามในบันทึกข้อตกลงกับครัวคุณต๋อย พันธมิตรเชิงกลยุทธ์รายใหม่ เพื่อมอบประสบการณ์ด้านอาหารแบบยั่งยืนและเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้า” เดินหน้าปรับโฉมใหม่พันธุ์ทิพย์ประตู้น้ำ นอกจากนี้ ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา AWC ได้ยกระดับโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในหลากหลายมิติของลูกค้าทุกกลุ่ม ด้วยองค์ประกอบและบรรยากาศที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่า ด้วยงบประมาณกว่า 300 ล้านบาท ภายใต้แนวคิด “Heritage Alive” ต่อยอดการอนุรักษ์หลักฐานอิงประวัติศาสตร์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง และเปิดตัวเรือ “สิริมหรรณพ” แลนด์มาร์คใหม่ริมน้ำเจ้าพระยาที่ตอบโจทย์การท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ ทั้งการกินดื่มและพักผ่อนหย่อนใจ ด้วยห้องอาหาร และบาร์ระดับพรีเมี่ยมที่ให้บริการอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะภายใต้แนวคิดใหม่ในความร่วมมือกับโรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค และได้เปิดตัวโรงแรม บันยันทรี กระบี่ โรงแรมแห่งแรกของ AWC ในจังหวัดกระบี่ บนทำเลทองติดที่ดินอุทยานแห่งชาติเขาหงอนนาค   นางวัลลภา กล่าวอีกว่า บริษัทฯ ยังเตรียมปรับโฉมโครงการพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ให้เป็นศูนย์ค้าส่งใจกลางเมือง “AEC Trade Center – Pantip Wholesale Destination” ด้วยการลงนามในสัญญาความร่วมมือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมการค้า 11 หน่วยงาน ส่งเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าให้ผู้ประกอบการ รวมทั้งร่วมมือกับ Yiwu CCC Group ศูนย์ค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จะเชื่อมการส่งออก-นำเข้า เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาค ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนถึงศักยภาพ และความแข็งแกร่งของ AWC ในการดำเนินแผนกลยุทธ์พัฒนาธุรกิจที่มุ่งเน้นการเติบโต ตลอดจนสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนเพื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในระยะยาว
เปิดกลยุทธ์ธุรกิจโรงแรม UHG แม้โดนพิษโควิดแต่ยังกำไร 300 ล้าน

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจโรงแรม UHG แม้โดนพิษโควิดแต่ยังกำไร 300 ล้าน

ธุรกิจที่ทำรายได้หลักเข้ามาในประเทศปีละมหาศาล  นอกจากการผลิตละส่งออกสินค้าชนิดต่าง ๆ แล้ว ก็มีธุรกิจการท่องเที่ยว ที่นำรายได้มาสู่ประเทศของเรา จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหายออกไปจากตลาดการท่องเที่ยวของไทย แน่นอนปีนี้รายได้จากตลาดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คงเหลือเพียงน้อยนิด เพราะผลจากมาตรการการปิดประเทศป้องกันภัยจากโรคโควิด-19   ตลอดระยะเวลาหลายเดือนนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาด โรงแรมหลายแห่งจึงปิดกิจการลง เพราะไม่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ หากมีก็น้อยนิดไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายในการเปิดดำเนินการ ซึ่งมีทั้งแบบปิดเพียงชั่วคราว และปิดกิจการเลย หลังจากภาครัฐสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ จึงได้ออกมาตรการมาช่วยกระตุ้นตลาด อย่างเช่น เราเที่ยวด้วยกัน ให้สิทธิพิเศษในการเข้าพักโรงแรมด้วยส่วนลดถึง 40% เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น ปัจจุบันยังได้ขยายระยะเวลาโครงการเราเที่ยวด้วยกันไปสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2564 จากเดิมสิ้นสุดในปี 2563 และเพิ่มสิทธิพิเศษมากขึ้นด้วย กลุ่มบริษัท เออร์เบิน ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป จำกัด หรือ UHG ผู้พัฒนาโรงแรมภายใต้แบรนด์เดอะ ควอเตอร์ (The Quarter) เดอะเรสซิเดนซ์ (The Residence) อัลท์ โฮเทล นานา (Alt Hotel Nana) เอเวอร์กรีน เพลส สยาม​(Evergreen Place Siam) และ อโศก เรสซิเดนซ์ สุขุมวิท (​Asoke Residence Sukhumvit​) ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมระดับ 4 ดาว กระจายอยู่ในทำเลต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ  ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้เช่นกัน แต่ในภาพรวมแล้ว UHG ยังถือว่าสามารถผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ โดยไม่ได้ปิดการให้บริการโรงแรม และไม่ได้เลิกจ้างพนักงาน แต่ที่สำคัญยังคงสามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นในปีนี้ได้ UHG ยังทำกำไร 300 ล้าน นายวุฒิพล ถาวรธวัช กรรมการ ผู้จัดการกลุ่มบริษัท เออร์เบิน ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป จำกัด หรือ UHG เปิดเผยว่า ผลประกอบการในปีนี้ คาดว่าบริษัทจะยังรักษาอัตรากำไรขั้นต้นได้ 300 ล้านบาท ซึ่งปีที่ผ่านมามีกำไรขั้นต้นประมาณ​ 400 ล้านบาท เพราะในปีนี้ได้รับผลกระทบจากจำนวนลูกค้าต่างชาติที่เป็นสัดส่วนหลัก 80% ไม่ได้เข้ามาใช้บริการตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้บริษัทต้องปรับเป้าหมายรายได้ใหม่ โดยปรับลดรายได้ลง 40% จากเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะทำได้ "เราเป็นโรงแรม 4 ดาว ซิตี้ โฮเทล ค่าบริหารจัดการน้อยกว่า โรงแรม 5 ดาว ที่ต้องมีเซฟฝรั่ง สปาหรู ล็อบบี้เปิดแอร์ตลอด โครงสร้างค่าใช้จ่ายน้อยกว่าโรงแรม 5 ดาว  ซึ่งโรงแรม 5 ดาวมีกำไรขั้นต้น 35-40% แต่โรงแรม 4 ดาว มีกำไรขั้นต้น 65%  ที่สำคัญเรามีหนี้น้อย การพัฒนาโรงแรมใช้งบลงทุนน้อย เพราะเป็นที่ดินเช่า ช่วงที่ผ่านมาเจ้าของที่ดินยังมีการปรับลดค่าเช่าที่ดินลง 30% ให้ในช่วงโควิดด้วย และยังมีข้อดีจาก อีโคโนมีออฟสเกล เรามีหลายโรงแรม แต่ฝ่ายจัดการกลุ่มเดียว เพราะต้นทุนหลัก ๆ เป็น ค่าเงินเดือน ค่าเช่าและค่าไฟ"   ปัจจุบันอัตราการเข้าพักในโรงแรมของกลุ่มบริษัท เริ่มปรับตัวดีขึ้นจนใกล้จะเป็นปกติ รวมถึงค่าห้องได้ปรับเพิ่มขึ้นจนใกล้เคียงกับอัตราปกติ จากก่อนหน้าที่บริษัทได้ทำโปรโมชั่นและการจัดรายการส่งเสริมการขายต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าตลาดโรงแรมน่าจะฟื้นตัวได้ในช่วงปลายปี 2564 แต่ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเรื่องวัคซีนที่จะมีออกมาป้องกันไวรัสโควิด-19 ด้วยว่าจะมีออกมาใช้จริงเมื่อไร รวมถึงการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวของภาครัฐ จะมีมาตรการอะไรเพิ่มเติมหรือมากขึ้นกว่านี้หรือไม่ อัดงบสื่อออนไลน์ 4 เท่ากระตุ้นยอด แนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทในช่วงไตรมาสสุดท้าย จะต้องติดตามข่าวของภาครัฐ เพื่อปรับแผนการตลาดให้ทันกับมาตรการภาครัฐที่จะเกิดขึ้น และการมุ่งเน้นการให้บริการกับลูกค้า ตอบสนองทุกความต้องการที่ลูกค้าต้องการ เพื่อให้ลูกค้าพอใจ รวมถึงการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ควบคู่ การนำเอาข้อมูลลูกค้ามาวิเคราะห์ เพื่อการโฆษณาและสื่อสารได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย   หลังจากภาครัฐมีแคมเปญเราเที่ยวด้วยกันออกมา สถานการณ์ดีขึ้นทุกเดือน ถือว่าแคมเปญรัฐบาลมีผลพอสมควร และบริษัทได้เน้นการทำตลาดออนไลน์เจาะในแต่ละโลเกชั่นมากขึ้น แต่ละโลเกชั่นจะมีคีย์เวิร์ด เช่น ทองหล่อไนท์ไลฟ์  ทำคนเริ่มจำแบรนด์ UHG ได้มากขึ้น ปีนี้บริษัทเพิ่มงบในสื่อออนไลน์เพิ่มขึ้น 3-4 เท่า จากปีที่ผ่านมา เพราะในตลาดตอนนี้เหลือแต่คนไทย และคนไทยเล่นเฟสบุ๊คเยอะมาก เดินหน้าลงทุนไม่หยุดเพราะ “โควิด-19”    แม้ว่าปีนี้จะมีปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ในด้านการลงทุน UHG ยังคงเดินหน้าลงทุนตามแผนที่ได้วางไว้ โดยปีนี้วางแผนเปิดโรงแรมใหม่ 4 โรงแรม ซึ่งเปิดดำเนินการไปแล้ว 3 โรงแรม ยังเหลืออีก 1 โรงแรมที่จะเปิดในย่านสีลม ในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ขณะที่โครงการมิกซ์ยูสบริเวณถนนรามคำแหง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบ และการยื่นขออีไอเอ ซึ่งตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในไตรมาส 2 ปี 2564 บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผน​   นอกจากการเปิดโรงแรมแห่งใหม่ตามแผนที่วางไว้แล้ว ปีนี้บริษัทยังได้ทำสัญญาเช่าระยะยาวเป็นเวลา 18 ปี ในการบริหารโรงแรมสิริสาธร  เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยได้ลงทุน 40-50 ล้านบาท ปรับปรุงห้องพักและพื้นที่ส่วนกลางใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมสิริสาธร แบงคอก บาย ยูเอชจี  ซึ่งหลังจากการปรับปรุงห้องพัก ด้วยการลดขนาดห้อง 90 ตารางเมตร เหลือขนาดห้อง 45 ตารางเมตรทำให้มีห้องพักเพิ่มเป็น 167 ห้องจากเดิมที่มีจำนวน 104 ห้อง โดยเปิดให้บริการมาตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม “ใจสู้+เงินสด” 2 สิ่งสู้พิษโควิด นายวุฒิพล กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น บริษัทได้เรียนรู้ใน 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.ต้องพยายามสู้และปรับตัว เพราะในตลาดมันยังมีโอกาส และ 2.กระแสเงินสดสำคัญที่สุด ต้องหาเงินสดเข้ามาให้ได้ ที่ผ่านมาจึงไม่ได้ปิดให้บริการโรงแรมเลย และยังได้ปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลง เช่น การปรับห้องพักเป็นห้องทำงาน รองรับกับพฤติกรรม Work From Home ซึ่งพนักเลือกมาใช้บริการห้องของโรงแรม เพราะมีความสะดวก มีห้องอาหารเปิดให้บริการ เป็นต้น   นอกจากนี้ เรื่องการบริหารความเสี่ยง ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ต้องนำมาใช้ควบคู่กับกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งบริษัทมีโครงการที่เป็นลักษณะมิกซ์ยูส มีพื้นที่สำนักงานให้เช่า จึงทำให้สามารถบาลานซ์ความเสี่ยงจากธุรกิจโรงแรมได้ และยังสามารถนำสองธุรกิจดังกล่าวมาทำการตลาดร่วมกันได้ เช่น การบริการห้องประชุม ห้องพัก สำหรับกลุ่มลูกค้าของพื้นที่สำนักงานให้เช่า เป้นต้น  
มองตลาดออฟฟิศให้เช่า Q2 หลัง COVID-19 จะไปทางไหน?  

มองตลาดออฟฟิศให้เช่า Q2 หลัง COVID-19 จะไปทางไหน?  

การแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้  การทำงานของคนในยุคปัจจุบัน ลดเวลาการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ และหันมาทำงานจากที่บ้านมากขึ้น จึงทำให้เกิดคำถามว่า ในอนาคตบริษัทหรือธุรกิจต่าง ๆ จะลดขนาดพื้นที่สำนักงานหรือไม่ ซึ่งหากมีการลดขนาดของพื้นที่ออฟฟิศลง คงต้องกระทบกับผู้บริการให้เช่าพื้นที่สำนักงาน หรือเจ้าของอาคารต่าง ๆ อย่างแน่นอน   สำหรับเรื่องนี้  นายมาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรก พนักงานส่วนใหญ่ทำงานจากบ้าน  แต่เมื่อบริษัทต่าง ๆ เริ่มกลับเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศในช่วงไตรมาสที่ 2 หลายบริษัทเริ่มพิจารณาว่าจะปรับตัวรับกับสถานการณ์ในอนาคตอย่างไร แต่เชื่อว่าอัตราการเช่าพื้นที่สำนักงานน่าจะมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากผู้เช่าเริ่มคืนพื้นที่สำนักงานบางส่วนที่ไม่ใช้งาน  ในขณะเดียวกันค่าเช่าได้ปรับเพิ่มสูงขึ้น หากผู้เช่าไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ อาจจะเกิดการลดพื้นที่ใช้งาน หรือย้ายไปยังอาคารที่มีค่าเช่าถูกกว่าได้   ตัวชี้วัดตลาดสำนักงาน ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ภาพรวมเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยหดตัวลง 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 และลดลง 2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการหดตัวลงของจีดีพีที่มากที่สุด นับตั้งแต่วิกฤตการเงินในเอเชียในปี 2541 ซึ่ง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2541 ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง 12.5%   การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19และมาตรการที่ตามมาจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการหดตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีการยกเลิกข้อจำกัดหลายประการในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 แต่เศรษฐกิจยังคงได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยการส่งออกลดลง 28.3% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการผลิต  จากผลกระทบการล็อคดาวน์ชั่วคราวและความต้องการทั่วโลกลดลง   ส่วนด้านรายจ่ายการอุปโภคบริโภคของเอกชนลดลงไป 6.6% เนื่องจากการใช้จ่ายในสินค้าคงทน สินค้ากึ่งคงทน และบริการต่าง ๆ ลดลงไป 30.2%, 15.7% และ 7% ตามลำดับ ภาคการท่องเที่ยวลดลงเป็นอย่างมากเช่นกัน โดยเห็นได้จากการใช้จ่ายของชาวต่างชาติที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศลดลงไปถึง 91.2% เพราะปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเหลือศูนย์ ในขณะที่การลงทุนลดลงไป 8% โดยส่วนใหญ่อาจเป็นผลมาจากการลงทุนของภาคเอกชนที่ลดลงไป 15% แต่การใช้จ่ายของภาครัฐและการลงทุนภาครัฐขยายตัวขึ้น 1.4% และ 12.5% ​​ตามลำดับ เนื่องจากมีการใช้มาตรการเยียวยาเพื่อรักษาเสถียรภาพและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย   อุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย Q2 พื้นที่เพิ่มมากกว่า 99,000 ตร.ม. จากผลการวิจัยของไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 พบว่า จำนวนพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 99,420 ตร.ม. หรือ 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทำให้มีพื้นที่รวมทั้งหมด 5.33 ล้านตร.ม. โดยนับเป็นครั้งแรกที่จำนวนพื้นที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 99,000 ตร.ม. นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2554 โดยอาคารสำนักงานใหม่ 3 แห่งที่แล้วเสร็จ เพิ่มพื้นที่ 60,000 ตร.ม. เข้ามาในย่านศูนย์กลางธุรกิจ และ 39,420 ตร.ม. ในพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ และไม่มีการย้ายออกจากอาคารสำนักงานเก่า  ซึ่งอัตราเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ต่อไตรมาสในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เท่ากับ 26,800 ตร.ม.   อุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯในอนาคต    ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย อุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯในอนาคต (รายโครงการ)  ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ปี 66 พื้นที่ออฟฟิศทะลุ 6.5 ล้านตร.ม.  ในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 จะมีอาคารสำนักงานใหม่ 7 แห่งคาดว่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะมีพื้นที่สำนักงานเข้าสู่ตลาดประมาณ 110,000 ตร.ม. โดย 47% หรือ 52,423 ตร.ม. จะตั้งอยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยภายในปี 2566  หากเป็นไปตามแผน ตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ จะเติบโตขึ้น 1,216,139 ตร.ม. หรือเฉลี่ยที่ 347,468 ตร.ม. ต่อปี (คำนวนจากส่วนที่เพิ่มเข้ามาและไม่นับส่วนที่ย้ายออก) จากไตรมาสที่ 2 ปี 2559 จนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ซัพพลายใหม่เพิ่มเข้าสู่ตลาดในอัตราประมาณ 185,000 ตร.ม. ต่อปี จากประมาณ 5.3 ล้าน   ตร.ม. ณ ปัจจุบัน ซัพพลายรวมของตลาดสำนักงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 6.5 ล้าน ตร.ม. ภายในสิ้นปี 2566 การครอบครองต่อปีของสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ไดนามิกส์ของอุปสงค์และอุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ธุรกิจรัดเข็มขัดลดพื้นที่เช่าสำนักงาน​    การเช่าโดยรวมลดลงเนื่องจากการครอบครองโดยรวมลดลง 11% จากไตรมาสก่อน เหลือเพียง 66,211 ตร.ม. อัตราการครอบครองนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยต่อไตรมาสในช่วง 10 ปี เพียงเล็กน้อย โดยอยู่ที่ 67,126 ตร.ม. แม้ว่าจะมีการครอบครองค่อนข้างคงที่ แต่มีพื้นที่จำนวนมากถูกคืนสู่ตลาด โดย 115,750 ตร.ม. เป็นการคืนพื้นที่โดยผู้เช่า ซึ่งส่งผลต่อการลดลงของอัตราดูดซับสุทธิจาก 23,984 ตร.ม. เป็น -49,547 ตร.ม. ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดที่ถูกบันทึกไว้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ส่งผลให้พื้นที่ครอบครองรวมลดลงเหลือ 4.68 ล้าน ตร.ม. ลดลง 1% ต่อไตรมาส ปัจจัยเหล่านี้บ่งชี้ว่าแม้ว่าการเช่าจะยังคงดำเนินอยู่ แต่ผู้เช่าส่วนใหญ่ได้เลือกที่จะลดปริมาณพื้นที่ลงเพื่อเป็นแนวทางประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ บริษัทหลายแห่งอาจต้องปิดตัวลง และออกจากตลาดเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่แย่ลง จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ที่ยังคงยืดเยื้ออยู่ อุปทาน อุปสงค์ และอัตราการครอบครองของสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ออฟฟิศเพิ่มขึ้นมากแต่ความต้องการลดลง อัตราการครอบครองตลาดจึงปรับตัวลง 2.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลง 3.5%  จากที่อยู่ที่ในอัตรา 87.7% นับเป็นการลดลง 5 ไตรมาสติดต่อกันของอัตราการครอบครอง ซึ่งทำให้อัตราปัจจุบันต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยอยู่ที่ 89.9%   เมื่อแบ่งตามเกรดอาคารสำนักงานจะเห็นได้ชัดว่า สำนักงานเกรดที่สูงกว่าได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดมากกว่า ในขณะที่อัตราการครอบครองลดลงทั้งตลาด การลดลงมากที่สุดเป็นอาคารสำนักงานเกรด A โดยลดลงไป 3.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะเดียวกันอาคารสำนักงานเกรด B และ C ลดลงไป 2.8% และ 1.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามลำดับ เนื่องจากอัตราการครอบครองอาคารสำนักงานเกรด A ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของในช่วง 10 ปี ส่งผลให้ทุกเกรดแสดงประสิทธิภาพต่ำของค่าเฉลี่ยในระยะยาว   ในแต่ละไตรมาส การครอบครองยังคงลดลงทั้งในและนอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยอัตราการครอบครองในเขตอโศก-พร้อมพงษ์ และเขตเพลินจิต-ชิดลมลดลงไป 3.5% ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงที่มากที่สุดในบรรดาตลาดทั้งหมด ในทางกลับกัน เขตที่มีอัตราการครอบครองการลดลงน้อยที่สุด คือ เขตอโศก-เพชรบุรี โดยลดลงไปเพียง 0.7% โดยรวมแล้วพื้นที่ในและนอกย่านศูนย์กลางธุรกิจมีระดับการลดลงค่อนข้างเสมอกัน โดยลดลง 2.6% และ 2.7% ตามลำดับ ค่าเช่าโดยเฉลี่ยของสำนักงานในกรุงเทพฯ แบ่งตามเกรดอาคาร ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย อัตราค่าเช่ายังเพิ่มขึ้น 0.4% ค่าเช่ายังคงเผชิญกับแรงกดดันจากสภาวะตลาดที่อ่อนตัวลง ราคาเสนอเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ 2.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีราคาอยู่ที่ 798 บาท/ ตร.ม.ต่อเดือน ระดับการเติบโตนี้ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยต่อปีที่ 4.2% ที่ถูกบันทึกไว้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา   อาคารสำนักงานเกรด C มีการปรับค่าเช่ามากที่สุดต่อไตรมาส โดยเพิ่มขึ้นมากถึง 0.9% อยู่ที่ 474 บาท/ตร.ม. ในขณะที่ค่าเช่าอาคารสำนักงานเกรด A เพิ่มขึ้น 0.5% อยู่ที่ 1,137 บาท ส่วนอาคารสำนักงานเกรด B มีอัตราการเติบโตขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ 0.1% อยู่ที่ 785 บาท อย่างไรก็ตาม อาคารสำนักงานเกรดที่สูงกว่ามีการเติบโตของค่าเช่ามากกว่าเป็นประจำทุกปี ค่าเช่าอาคารสำนักงานเกรด A ยังคงเพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเมื่อเทียบกับค่าเช่าเกรด C ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกัน แม้จะมีความผันผวนในแต่ละไตรมาส การเผชิญกับสภาวะตลาดสำนักงานที่ยังคงซบเซาเจ้าของอาคารสำนักงานเกรด C จะพบว่าการปรับเพิ่มค่าเช่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าตลาด   อัตราค่าเช่าของสำนักงานในย่านศูนย์กลางธุรกิจเพิ่มขึ้นมากกว่าอาคารสำนักงานที่ตั้งอยู่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยในย่านศูนย์กลางธุรกิจ ราคาเสนอเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ 3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยอยู่ที่ 972 บาท สำหรับในพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ 1.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยอยู่ที่ 642 บาท    ตัวชี้วัดรายเขตของพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย   สำหรับในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ ทุกพื้นที่ประสบกับปัญหาการเติบโตของค่าเช่าต่อไตรมาสติดลบ ยกเว้นในเขตอโศก-พร้อมพงษ์ที่มีค่าเช่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.4% ในแต่ละปี ค่าเช่าในทุกพื้นที่ยังคงสูงขึ้นยกเว้นในเขตเพลินจิต-ชิดลมที่มีราคาค่าเช่าลดลงไป 0.1% สำหรับพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ ราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในเขตบางนา โดยเพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน นับเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดที่ถูกบันทึกไว้จากทุกเขตตัวอย่าง อย่างไรก็ตามในแต่ละปี ราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยในบางนาลดลง 2.4% ซึ่งมากกว่าในเขตอื่น ๆ   วงจรการเช่าของสำนักงานในกรุงเทพฯ   ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย แห่คืนพื้นที่-ปรับลดขนาดลง ตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ ยังคงอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องตามผลกระทบของไวรัสโควิด-19 จากข้อมูลในไตรมาสที่ 2 บริษัทหลายแห่งไม่รอโอกาสในตลาดแล้ว แต่ได้ดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ด้านพื้นที่อาคารสำนักงาน โดยพิจารณาตามผลกระทบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น ต่อการดำเนินธุรกิจของพวกเขา ซึ่งในทศวรรษที่ผ่านมาถูกขนานนามว่าเป็น “Flight to quality” โดยผู้เช่าทำการขยายพื้นที่สำนักงาน และลงทุนในพื้นที่ทำงานที่มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถและเพิ่มผลผลิต แต่ในไตรมาสนี้กลับมีสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มนี้ บริษัทจำนวนมากได้เลือกลดค่าใช้จ่ายด้านพื้นที่สำนักงานลง ไม่ว่าจะเป็นการคืนพื้นที่บางส่วนให้กับเจ้าของอาคาร การหาผู้เช่าช่วง หรือการย้ายที่ตั้งสำนักงาน บางบริษัทใช้นโยบายการทำงานจากบ้านหรือการทำงานทางไกลเป็นหลัก   ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เห็นได้จากอัตราดูดซับสุทธิที่ลดลงเป็นอย่างมาก แม้จะมีการครอบครองในระดับคงที่ก็ตาม บริษัทที่เลือกจะย้ายที่ตั้งไปยังอาคารสำนักงานที่มีราคาถูกลง หากบริษัทเหล่านี้ไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนวิกฤตได้ เนื่องจากการย้ายที่ตั้งสำนักงานเป็นค่าใช้จ่ายด้านทุนที่มีราคาแพง การลดพื้นที่จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ครอบครองส่วนใหญ่ภายใต้ข้อจำกัดทางการเงิน เว้นแต่พวกเขาจะหาพื้นที่รองรับการดำเนินงานในอัตราค่าเช่าที่น่าสนใจได้   ในช่วงก่อนโควิด-19 เราเริ่มเห็นสัญญาณตลาดที่อ่อนตัวลงเนื่อง จากความไม่สมดุลของจำนวนและความต้องการ ​แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า Flight to quality ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของตลาด  เพราะสำนักงานคุณภาพมีจำนวนมากให้เลือก  อย่างไรก็ตามคาดว่าจะใช้เวลา 2-3 ปี ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้กลับไปยังระดับก่อนวิกฤต แนวทางการลดต้นทุนด้านพื้นที่สำนักงานเริ่มปรากฏให้เห็นบางแล้ว ซึ่งอาจกลายเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการเช่าในระยะยาว แน่นอนว่าในธุรกิจบางประเภท เช่น เทคโนโลยี อีคอมเมิร์ซ และการรักษาพยาบาล ยังมีอัตราการเติบโตอย่างมากในช่วงโควิด-19 และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีความต้องการพื้นที่สำนักงานเพิ่มขึ้น เมื่อธุรกิจเติบโต แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการเช่าอาจจะไม่เพียงพอ จนชดเชยกับพื้นที่ที่ลดลงไปได้
อัพเดท ตำแหน่งคนในวงการอสังหาฯ หลังจัดองค์กรใหม่

อัพเดท ตำแหน่งคนในวงการอสังหาฯ หลังจัดองค์กรใหม่

ในวงการราชการ ช่วงเวลานี้ คงเป็นช่วงเวลาของการโยกย้าย-แต่งตั้ง รวมถึงการอำลาการทำงาน ด้วยการเกษียณอายุราชการที่กำลังจะสิ้นสุดในปลายเดือนกันยายนนี้ แต่แวดวงธุรกิจเอกชน การเปลี่ยนแปลงโยกย้าย หรือลาออกมักจะเป็นช่วงเวลาปลายปี หรือไม่ก็ต้นปี เพราะต้องรอรับโบนัสจากการทำงานมาตลอดทั้งปีก่อน   แต่สำหรับปีนี้ ดูเหมือนสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเร็ว และเกิดขึ้นมากมายในภาคธุรกิจเอกชน สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้องค์กรต้องรัดเข็มขัด หรือไม่ก็ต้องยอมลดจำนวนพนักงานลง เพื่อให้บริษัทยังคงไปต่อได้ แต่ก็มีหลายบริษัทที่ไปต่อไม่ไหว ต้องปิดกิจการลง ก็มีเห็นอยู่ไม่น้อย   ในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ช่วงเวลานี้ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะกับการปรับเปลี่ยนผู้บริหาร มีเข้า-ออก ปรับโครงสร้างธุรกิจ จัดทัพรับมือกับภาวะตลาดที่ชะลอตัวลง จากกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ข่าวคราวการปรับเปลี่ยนทีมผู้บริหารองค์กรมีมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ผ่านมา ลองมาดูกันว่าในแวดวงคนอสังหาฯ มีใครยังอยู่ ย้ายบ้านหลังใหม่ หรือไม่ได้ไปต่อกันบ้าง พฤกษาได้เวลาผลัดใบ ดันลูกลูกหม้อบริหาร เริ่มต้น คงต้องพูดถึงค่าย “พฤกษา” ยักษ์ใหญ่ในวงการของ “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์” ที่ก่อนหน้านี้ดึงเอามือการตลาดและนักสร้างแบรนด์จากค่ายยูนิลีเวอร์ “คุณจุ๋ม - สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์” มานั่งเก้าอี้บริหารในตำแหน่ง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  ยาวนาน  3 ปี  ก่อนจะมีการสละเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้กับคุณปิยะ ประยงค์ ลูกหม้อพฤกษา ให้ขึ้นมารับหน้าที่แทน จากก่อนหน้านี้คุณปิยะ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท แวลู ซึ่งถือเป็นหนึ่งธุรกิจของพฤกษาเท่านั้น   โดยคุณปิยะ จะดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท (CEO-PS)  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบงานบริหาร ธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตททั้งหมด และจะรายงานตรงต่อ  คุณสุพัตรา จะเน้นบริหารจัดการธุรกิจในกลุ่มพฤกษา โฮลดิ้ง เป็นหลัก มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป   เหตุผลที่ พฤกษา มีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ และการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงในครั้งนี้ อ้างว่าเพื่อเพิ่มศักยภาพและเป็นกลไกสำคัญในการบริหารธุรกิจต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัทฯ ให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  แต่ระยะเวลาผ่านไปไม่นาน ในช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา พฤกษาก็ปรับเปลี่ยนตัวผู้บริหารอีกครั้ง โดยคุณสุพัตราได้ลาออกจาก พฤกษา โดยไม่มีการระบุถึงสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งคุณทองมา ก็ได้จัดทำพิธีมอบช่อดอกไม้อำลา และแสดงความขอบคุณ ถือเป็นการส่งไม้ต่อการบริหารงานของพฤกษา เรียลเอสเตทให้กับปิยะ ประยงค์ ลูกหม้อพฤกษาอย่างเต็มตัว   การเปลี่ยนแปลงของพฤกษา ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมา มือบริหารที่อยู่เคียงคู่คุณทองมา มายาวนานอย่าง “ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท - พรีเมียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ได้โบกมืออำลาจากคุณทองมา  ไปนั่งเก้าอี้ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการ ของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2563 (ช่วงที่ออกจากพฤกษาใหม่ ๆ คุณประเสริฐ ยังไปลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการเคหะแห่งชาติด้วย แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก)   บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของคุณประเสริฐ กับบ้านหลังใหม่ คือ การจัดการด้านภาพรวมของผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งธุรกิจคอนโดและบ้านจัดสรร รวมทั้งการตลาดต่างประเทศ (International Sales) และธุรกิจตัวแทนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ดิ เอเจ้นท์ (พร็อพเพอร์ตี้ เอ๊กซ์เพิร์ท) จำกัด นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ดูแลการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการก่อนการก่อสร้าง (Pre-construction)  การก่อสร้าง (Construction), การให้บริการหลังการขาย (Aftersales services) และ การตลาด (Marketing) อีกด้วย เฟรเซอร์ส จัดทัพ สู่องค์กร 1 แสนล้าน ต้องบอกว่าการดำเนินธุรกิจภายใต้นามสกุล “สิริวัฒนภักดี” เล็ก ๆ ไม่น่าจะใช่ ต้องใหญ่ ๆ เท่านั้น กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด หรือ “FPL” ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การบริหารงานของ คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Group CEO) หนึ่งในทายาทของ “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” จึงต้องสร้างขนาดองค์กรให้ไม่น้อยหน้านักธุรกิจอื่น ๆ   เริ่มต้นจากการ ควบรวมเอาบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ (GOLD) เข้ามารวมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน ซึ่งตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมาโกลด์เด้นแลนด์ ได้รับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด  เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ ที่ได้ประกาศเริ่มรับซื้อรอบแรกในเดือนมิถุนายนปี 2562 ที่ผ่านมา เพื่อปรับกลยุทธ์ เพิ่มศักยภาพของการเชื่อมโยง ต่อยอด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน  ที่สำคัญการรวมกันแล้ว จะทำให้บริษัท เฟรเซอร์สฯ กลายเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 100,000 ล้านบาทเลยทีเดียว   หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทัพด้วยการประกาศแต่งตั้งทีมผู้บริหารต่าง ๆ ขึ้นมาดูแลรับผิดชอบงาน โดยล่าสุดคุณปณต ได้ประกาศแต่งตั้งทีมผู้บริหารใหม่ แม้บางรายจะหน้าเดิม แต่ก็มากด้วยประสบการณ์ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์  โดยการแต่งตั้งทั้งหมดจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563  ซึ่งทีมบริหารชุดใหม่ประกอบด้วย   1.คุณธนพล ศิริธนชัย ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ  มีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2563 และตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมหรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล” จากก่อนหน้าดำรงตำแหน่งประธานอำนวยการ โกลเด้นแลนด์    2.คุณแสนผิน สุขี ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” โดยจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้นำในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบ และแนวสูง โดยนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างครบครัน และมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้อยู่อาศัยได้อย่างสูงสุด ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลเด้นแลนด์เรสซิเดนซ์ จำกัด    3.คุณโสภณ ราชรักษา ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล” เพื่อสร้างการเติบโตและรักษาสถานะผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมยุคใหม่ และอาคารประเภทสร้างตามความต้องการ หรือ Built-to-Suit ที่เน้นการส่งมอบโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าแต่ละราย จากก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้   4.คุณสมบูรณ์ วศินชัชวาล ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยจะรับหน้าที่ในการบริหารและวางกลยุทธ์ด้านการเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการ ของโกลเด้นแลนด์ และเคยเป็นผู้บริหารของพฤกษา เรียลเอสเตท ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายวางแผนการเงินมาก่อนด้วย   5.คุณศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รับหน้าที่ในการบริหารงานด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล พร้อมกำหนดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของเทรนด์ในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสทีที จีดีซี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรูอินเตอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ ทรูไอดีซี ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด ไรมอนด์แลนด์ ดึง ดร.สุรเกียรติ์ คุมทีม  สำหรับบริษัท ไรมอน แลนด์​ จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศแต่งตั้ง ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาวางกลยุทธ์ทางธุรกิจและการลงทุนใหม่ ๆ เพราะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการเติบโต รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งประธานบริษัทให้กับองค์กรใหญ่หลายแห่ง รวมถึงเคยเป็นประธานคณะกรรมการของ บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) มาก่อนเป็นเวลานานกว่า 1 ปีด้วย   นอกจากนี้ ไรมอน แลนด์ ยังได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารภายในใหม่ ด้วยการแต่งตั้ง คุณกรณ์ ณรงค์เดช ให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) มีประสบการณ์ทางด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักซ์ชัวรี่ เคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าบริหารฝ่ายการตลาดกลุ่มเคพีเอ็น รองประธานกรรมการ บริษัท เคพีเอ็น แลนด์ จำกัด และเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการ ดิโพลแมท ซีรีย์ส และ เดอะ แคปปิตอล  ซีรีย์ส                         คุณมนาเทศ อันนวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  ฝ่ายการตลาดและการขาย (Chief Marketing Officer-Marketing & Sales) ซึ่งมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการบริหารงานด้านการตลาด การขาย และการสื่อสารองค์กร จากองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำหลายแห่ง และล่าสุดดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม และดิ เอ็มควอเทียร์ ฯลฯ  โดยจะเข้ามาดูแลรับผิดชอบงานด้านการวางแผนกลยุทธ์การตลาด การขาย การสื่อสารองค์กร และการบริหารจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ แสนสิริ  ปรับลด พนักงานไม่ได้ไปต่อ ขณะที่บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มีกระแสข่าวใหญ่ออกมา คือ การปลดพนักงานกว่า 600 คนของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัทในเครือแสนสิริ แม้ภายหลังคุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แสนสิริ จะออกมาปฏิเสธว่า การปลดพนักงานไม่ได้มีตัวเลขมากถึง 600 คน โดยได้ระบุข้อความผ่านทวิตเตอร์ ว่า “ขออนุญาตชี้แจงก่อนว่าเรามีการเลิกจ้าง 5% ของจำนวนพนักงานแสนสิริและพลัสทั้งหมด ตัวเลขน้อยกว่า 600 คนมากครับ ผมมองว่าเป็นเรื่องปกติของภาคธุรกิจที่ปรับการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจมากกว่า ซึ่งเราเองก็ทำทุกปี” อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ แสนสิริได้มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารคนสำคัญ  คือ คุณวันจักร บุรณศิริ ประธานผู้บริหารสายงานการเงินและสนับสนุนธุรกิจ (CFO) ได้ขอลาออกจากบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทได้ทำการแต่งตั้ง คุณวรางคณา อัครสถาพร  ให้ดำรงตำแหน่งประธานผู้บริหารสายงานการเงิน (CFO) โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ซึ่งก่อนหน้านี้มีตำแหน่ง  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ อาวุโสสายงานการเงินและพัฒนาธุรกิจใหม่  และยังให้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าวจนกว่าจะดำเนินการอบรบตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ในเรื่องคุณสมบัติ CFO เป็นที่เรียบร้อยต่อไป