Tag : Office

144 ผลลัพธ์
ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้  วาง 3 แผนงานสร้างการโตไม่สิ้นสุด  จับเมกะเทรนด์ลุยธุรกิจทั่วไทย

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ วาง 3 แผนงานสร้างการโตไม่สิ้นสุด จับเมกะเทรนด์ลุยธุรกิจทั่วไทย

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ยกทัพ 5 ผู้บริหารบริษัทในเครือ ประกาศทิศทางธุรกิจปี 2566 “Origin Infinity” สู่เส้นทาง Well-Being Lifetime Company สร้างการเติบโตและดูแลบริโภคแบบไม่สิ้นสุด เปิดตัวโครงการบ้าน-คอนโดใหม่ 42 โครงการ มูลค่าโครงการ 50,000 ล้าน โรงแรม-อาคารสำนักงาน-มิกซ์ยูส มูลค่า REIT ประมาณการ 25,500 ล้าน โครงการโลจิสติกส์และคลังสินค้าอีก 4,500 ล้าน ครอบคลุมทุกเซ็กเมนท์ กระจายตัวใน 13 จังหวัดทั่วประเทศ     นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร  พร้อมทีมผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มธุรกิจออริจิ้นร่วมกันแถลงแผนธุรกิจปี 2566 ที่ปีนี้ มาในแนวคิด “Origin Infinity” สร้างการเติบโตและการดูแลผู้บริโภคแบบไม่สิ้นสุด พัฒนาเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ให้กลายเป็น Well-Being Lifetime Company หรือองค์กรที่มีธุรกิจครอบคลุมการดูแลผู้บริโภคตลอดช่วงชีวิต ซึ่งมีทีมผู้บริหารร่วมแถลงข่าวครั้งนี้ ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ สุนทรชูเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น คอนโดมิเนียม จำกัด แกลุ่มธุรกิจสมาร์ทคอนโดมิเนียม นายปิติ จารุกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด กลุ่มธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income Business) ผศ.นพ.ชวกิจ ภูมิบุญชู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น เฮลท์แคร์ จำกัด  กลุ่มธุรกิจบริการด้านสุขภาพ นายปธาน สมบูรณสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น จำกัด กลุ่มโลจิสติกส์และคลังสินค้า (Logistics & Warehouse) ​ ออริจิ้น กับ 3 แผนงาน Origin Infinity สำหรับแผนงาน Origin Infinity ประกอบด้วยการขับเคลื่อน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.การขยายสินค้าและบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ (Nationwide Serve) ยกทัพธุรกิจในเครือกระจายสู่ต่างจังหวัดเพื่อพัฒนาการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น (Better Living) ให้แก่คนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เริ่มจากกลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการขาย เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่แบบ All Time High รวมทั้งสิ้น 42 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 50,000 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ 13 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น โครงการคอนโดมิเนียม 22 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 27,500 ล้านบาท โครงการบ้านจัดสรร 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 22,500 ล้านบาท เริ่มพัฒนาโครงการโรงแรม อาคารสำนักงาน และศูนย์การค้าใหม่ในปีนี้ มูลค่า REIT ประมาณการรวม 25,500 ล้านบาท โครงการกลุ่มโลจิสติกส์และคลังสินค้า (Logistics & Warehouse) มูลค่า REIT ประมาณการรวม 4,500 ล้านบาท พร้อมทยอยนำธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรในเครือบริษัท พรีโม​ เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) ธุรกิจบริการสุขภาพภายใต้ออริจิ้น เฮลท์แคร์ ไปให้บริการในต่างจังหวัดด้วย ไฮไลต์ของปีนี้ คือ การนำหลายแบรนด์ที่เราไม่ได้เปิดตัวมาระยะหนึ่ง กลับมาร่วมบุกตลาดเพื่อให้ครอบคลุมลูกค้าหลากเซ็กเมนท์และสอดคล้องกับสภาพความต้องการของตลาดในปีนี้ อาทิ แบรนด์ดิ ออริจิ้น กลับมาเจาะตลาดคอนโดมิเนียมเพื่อคน Gen Z และกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานหรือ First Jobber  แบรนด์เบลกราเวีย กลับมาเจาะตลาดบ้านเดี่ยวลักชัวรีรองรับดีมานด์หลากทำเล ปีนี้จะมีการบุกไปยังจังหวัดใหม่ๆ ที่เราไม่เคยไปบุกมาก่อน รวมถึงมีโครงการไฮไลต์ เป็นโครงการมิกซ์ยูส กระจายตัวในหัวเมืองใหญ่หลายจังหวัด เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น โคราช ผสมผสานหลากหลายสูตร เช่น บ้าน คอนโด โรงแรม ศูนย์การค้า บริการสุขภาพ ต่อยอดความสำเร็จของการพัฒนาโครงการออริจิ้น ดิสทริค แหลมฉบัง-ศรีราชา และออริจิ้น สมาร์ท ซิตี้ ระยอง 2.การขยายจักรวาลธุรกิจใหม่ให้มีเส้นทางเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Multiverse Expansion) มุ่งพัฒนาช่วงชีวิตที่ดีขึ้น (Better Lifetime) ต่อยอดจากแผน Origin Multiverse ในปี 2565 ด้วยการขยายธุรกิจนอกเหนือจากที่อยู่อาศัยให้มีเส้นทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมการดูแลคนทุกเจเนอเรชั่น ทุกช่วงจังหวะของชีวิต ตั้งแต่ยังโสด เพิ่งแต่งงาน ครอบครัวขยายตัว จนเกษียณอายุ ทุกแพลตฟอร์ม ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ นำพาบริษัทย่อยที่ดูแลธุรกิจใหม่ๆ เติบโตเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่องปีละ 1 บริษัท หลังจากนำบริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) หรือ BRI และบริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRI เข้าตลาดได้แล้วในปี 2564 และ 2565 (ตามลำดับ) ตามแผนงาน ในปี 2566 มีแผนส่งบริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด เป็นธุรกิจถัดไป ตามด้วยบริษัท แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น จำกัด บริษัท ออริจิ้น เฮลท์แคร์ จำกัด และบริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์  แมเนจเมนท์ จำกัด โดยวัน ออริจิ้น จะมีโครงการสร้างเสร็จใหม่ในปีนี้ทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน อย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มเฮลท์แคร์จะเริ่มวางรากฐาน เปิดตัวธุรกิจใหม่ๆ อาทิ คลินิกทันตกรรม คลินิกความงาม คลินิกสัตว์เลี้ยง คลินิกเส้นผม กระจายตัวไปพร้อมกับโครงการที่อยู่อาศัยและมิกซ์ยูสเครือออริจิ้น โดยมีแผนเปิดสาขารวมทั้งหมด 25 แห่งในสิ้นปี 2566 3.การดูแลสังคม (Social Attention) ร่วมใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ เพื่อสร้างสังคมที่ดีขึ้น (Better Society) ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร (Talent Development) จับมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ สร้าง Origin Valley ร่วมกับสถาบันการศึกษานั้นๆ เพื่อเป็นพื้นที่พัฒนาทักษะคนรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความสามารถที่ตรงกับความต้องการขององค์กรและตลาดแรงงาน รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ที่มีมากกว่า 3,000 คน ให้พร้อมเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ด้านการพัฒนาชุมชน (Community Development) ดำเนินโครงการ Origin Give เพื่อสร้างโอกาสและส่งมอบสิ่งดีๆ แก่ชุมชน อาทิ การมอบทุนการศึกษา การมอบอุปกรณ์การแพทย์ การลงพื้นที่พัฒนาโรงเรียน ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ร่วมเดินหน้าแผน Net-Zero Emission 2044 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกมิติ อาทิการออกแบบโครงการที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะ การลดใช้ไฟฟ้าทั้งในออฟฟิศและสำนักงานขาย การเริ่มติดตั้ง Solar Roof และ EV Charger ในโครงการใหม่ๆ จากแผนงาน Origin Infinity บริษัทเชื่อมั่นว่าจะช่วยสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งในทุกมิติ และเป็นการกระจายการเติบโตพร้อมรับมือทุกสภาวะเศรษฐกิจ ปี 2566 นี้ จึงตั้งเป้าหมายยอดขายโครงการ ที่อยู่อาศัยไว้ที่ 45,000 ล้านบาท และเป้ารายได้รวมอยู่ที่ 19,000 ล้านบาท หรือเป็นเป้าหมายเติบโต All Time High จากวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ต้องการขยายอาณาจักรธุรกิจ ไม่ใช่เพียงกลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย แต่ครอบคลุมถึงเมกะเทรนด์ และธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้สามารถครอบคลุมทุกมิติการยกระดับการใช้ชีวิตของผู้บริโภค   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ทุกผลงาน Q2/65 ทำ New High เล็งจ่ายปันผลระหว่างกาล หุ้นละ 0.15 บาท -“ออริจิ้น” ตุนยอดขายครึ่งปีแรก 51% ของเป้าทั้งปี เตรียมเปิดโครงการเพิ่มอีก 26,500 ล้าน
เอสซี แอสเสท เปิดแผนรายได้รวม 150,000 ล้าน การเติบโตด้วย 2 ENGINE ใน 5 ปี

เอสซี แอสเสท เปิดแผนรายได้รวม 150,000 ล้าน การเติบโตด้วย 2 ENGINE ใน 5 ปี

เอสซี แอสเสท มั่นใจโตเหนือชั้น เปิดแผนโรดแมป SC Thriving Beyond ตั้งเป้ารายได้ 5 ปี รวมมูลค่า 150,000 ลบ. ปี 2566 รุกเปิด 25 โครงการ รวมมูลค่า 40,000 ลบ. มุ่งสร้างคุณค่าสู่คนและโลก เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน   บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC ผู้นำการเป็น Living Solutions Provider คุณภาพสูง โดยนายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดวิสัยทัศน์การพัฒนาธุรกิจและองค์กร ปี 2566 - 2570 ตั้งเป้ารายได้ 5 ปี ทะยานสู่รายได้ 150,000 ล้านบาท ขับเคลื่อนบนยุทธศาสตร์ SC Thriving Beyond เติบโต อย่างมีคุณภาพ แบบเหนือชั้น และยั่งยืน  มุ่งสร้างคุณค่า สู่คนและโลก ดำเนินธุรกิจภายใต้ 4 แกนหลัก คือ ลูกค้า พนักงาน สิ่งแวดล้อม และองค์กร  ลูกค้า SC มุ่งมั่นส่งมอบสินค้าและบริการคุณภาพสูง พัฒนาสินค้าทั้งบ้านและคอนโด สรรหาและคิดค้นนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยหลากหลายราคา รูปแบบการใช้ชีวิต และเจเนอเรชั่น เพื่อลูกค้ามีคุณภาพชีวิตที่ดี ไร้ความกังวลในการใช้ชีวิต   ปี 2566 มีแผนการเปิดโครงการใหม่รวม 25 โครงการ มูลค่ารวม 40,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น โครงการแนวราบ: เปิดใหม่ 22 โครงการ รวมมูลค่า 30,000 ล้านบาท รักษาสถานะผู้นำในตลาดบ้านเดี่ยวคุณภาพสูง ด้วยไฮไลท์โปรดักส์ คือ #No1LuxuryHome ปีนี้ SC พร้อมเผยโฉม “95E1” (ไนน์-ตี้-ไฟว์-อีสต์-วัน) แบรนด์บ้านใหม่ในเซกเมนต์ Ultimate Luxury ราคาเริ่มต้นสูงสุดที่เคยเปิดขายมา ด้วยราคาเริ่มต้น 100 ล้านบาท จำนวนจำกัดเพียง 10 ยูนิต มูลค่าโครงการ 970 ล้านบาท #OneSizeDoesNotFitAll ด้วยการตอบรับอย่างดีมากของ “บ้านคนโสด” ปีนี้ SC ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดเรื่องการพัฒนาบ้านที่ออกแบบเพื่อไลฟ์สไตล์ที่มีความเฉพาะบุคคลด้วยการเปิดตัว #บ้านเกมเมอร์ (Gamer’s Home) บ้านที่ร่วมออกแบบโดยเกมเมอร์ชื่อดัง Willcomeback และ MNJ TV เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านในสายอาชีพยุคใหม่มาแรง อย่าง Streamer หรือ Content Creator ทั้งหลาย พร้อมเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 ณ โครงการ Venue ID มอเตอร์เวย์-พระราม 9 ราคาเริ่มต้น 14.29 ล้านบาท และมีโครงการพัฒนาบ้านที่ออกแบบเฉพาะสำหรับคนที่มีไลฟ์สไตล์ Introvert และ Extrovert ในอนาคต  #SCHomesForAll สร้างบ้านตอบโจทย์ลูกค้าครอบคลุมทุกกลุ่มราคา ในปีนี้ SC จะมีสินค้าบ้านเปิดขายในราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 2.5 ล้านบาท ไปจนถึงมากกว่า 150 ล้านบาท ด้วยการเปิดตัวบ้านซีรีส์ใหม่ของแต่ละ Sub-brand เพื่อลงแข่งขันครองความเป็นผู้นำบ้านเดี่ยว  โครงการแนวสูง: เปิดใหม่ 3 โครงการ รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท  ปีนี้ SC พร้อมลุยตลาดแนวสูง ส่ง 3 โครงการไฮไลท์ของปีลงแข่งขัน คือ เปิดตัวแบรนด์ใหม่ เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เน้นพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางที่เป็นส่วนหนึ่งของ Living Solutions เพื่อประสบการณ์การพักอาศัยที่ดีขึ้น ในสังคมที่เน้นความยั่งยืน บน 2 ทำเลศักยภาพ ได้แก่ ย่านรัชดา-พระราม 9 ใกล้ MRT ศูนย์วัฒนธรรม มูลค่าโครงการ 5,500 ล้านบาท ราคาเริ่ม 2 ล้านต้น ซึ่งเป็น Segment ใหม่ของ SC ทำเลแห่งที่สองคือ เกษตร-ศรีปทุม ตรงข้ามมหาวิทยาลัยศรีปทุม ติดรถไฟฟ้า 0 เมตร มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท เน้นงานดีไซน์และการออกแบบพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อคนเมือง รุ่นใหม่ คอนโด SCOPE ประสานมิตร เจาะกลุ่มลูกค้า International Premium ที่ให้ความสำคัญกับทั้งคุณภาพและดีไซน์  ในระดับ World-class  ใช้ชีวิตในแบบ "Live the Finest Life" หรือชีวิตที่สุขสบายและสวยงามพร้อมไปด้วยบริการระดับ Premium ราคาเริ่มต้น 35 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 2,600 ล้านบาท นอกจากการมุ่งพัฒนาสินค้าบ้านและคอนโดมิเนียมคุณภาพสูงที่มีฟังก์ชั่นตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยแล้ว ตลอดหลายปีที่ผ่านมา SC ยังคงสานต่อการสรรหาและคิดค้นนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการส่งมอบ Living Solutions แก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน เพื่อลูกค้าจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยแผนในปี 2566 คือ ติดตั้งชุดเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัยในบ้านและคอนโด ทั้งหมด 24 รายการ  ให้กับลูกค้า SC Asset ตามเป้าหมายคือไม่ต่ำกว่า 5,000 ครัวเรือนในปี 2566  เปิดตัว Morning Coin เชื่อมต่อลูกค้ากับโลกแห่งสิทธิพิเศษแบบเหนือชั้น ด้วยนวัตกรรม Blockchain โดยมีเป้าหมายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น และมีความมั่นใจปลอดภัยในคอมมูนิตี้ที่ดีของ “รู้ใจคลับ” พร้อมใช้งานกลางปี 2566 นี้ พนักงาน พนักงาน SC เจริญก้าวหน้า ได้ทำงานที่สร้างคุณค่า ปลดปล่อยศักยภาพได้อย่างเต็มที่ SC ให้ความสำคัญกับการลงทุนในทรัพยากรบุคคลเสมอมา เพราะบุคลากรในองค์กร คือ หัวใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน  โดย SC ลงทุนใน Infrastructure ต่าง ๆ เชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ทำให้ลดเวลาในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รองรับการเติบโตของธุรกิจ สร้างประสบการณ์ให้พนักงานมากกว่าแค่การทำงานรูปแบบเดิม ๆ มีการใช้ Morning Coin และระบบการสะสม NFTs ด้วยเทคโนโลยี Blockchain เพื่อคนทำงานได้พัฒนาตนเอง ปลดปล่อยศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ทำงานอย่างมีคุณค่า มีความภาคภูมิใจพร้อมเติบโตไปกับองค์กร พร้อมใช้งานมีนาคมนี้  เปิดตัว “Inside SC” บอกเล่าเรื่องราวในองค์กรเพื่อการสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพมาร่วมงานกับ SC อย่างยั่งยืน คว้ารางวัลอันดับที่ 17 จาก 50 องค์กรที่ทำงานในฝัน โดยเป็นอันดับหนึ่ง ในบริษัทอสังหาฯ จัดโดย WorkVenture  สิ่งแวดล้อม SC ประกาศพันธกิจ #SCeroMission ดำเนินธุรกิจเพื่อดูแลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ก๊าซเรือนกระจกลดลง ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ คิดค้นนวัตกรรม และการจับมือร่วมกับคู่ค้าชั้นนำ ที่มีแนวคิดในการมุ่งลดก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการ ออกแบบ สร้าง ใช้ ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ ภายใต้ 8 ภารกิจย่อย  SC ตั้งเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25% ภายในปี 2573   ตั้งแต่ปลายปี 2565 ได้มีการตั้งทีมพัฒนาการออกแบบ SC #บ้านLowCarbon ด้วยการทำการวิจัยจำลองการใช้พลังงานของบ้านพักอาศัย ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งมอบสินค้าที่อยู่อาศัยที่ลดการทำร้ายโลก ลดปริมาณการใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่าย เพื่อสุขภาพกายใจที่ดีขึ้นของลูกค้าในอนาคต องค์กร องค์กรเติบโต จากหลากหลายเครื่องยนต์ธุรกิจ ทั้งบนธุรกิจหลัก Engine1 และธุรกิจ Engine2 ที่สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง (Recurring Income) พร้อมตั้งเป้าเพิ่มการลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี  สำหรับแผนธุรกิจในปี 2566 SC มีการตั้งเป้าหมายตัวเลขสำคัญต่างๆดังนี้ โตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 30,000 ล้านบาท เติบโต 23% โดยแบ่งเป็น โครงการเพื่อขายแนวราบ 65% และโครงการเพื่อขายแนวสูง 35% สร้างรายได้รวม 25,000 ล้านบาท เติบโต 16% ทั้งจาก โครงการเพื่อขาย และธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income) ในสัดส่วน 95 : 5 ตามลำดับ มูลค่าการลงทุนทั้งหมด 25,000 ล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุน 80% โครงการเพื่อขายแนวราบ แนวสูง และ 20% ในธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ และเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืน SC วางแผนเพิ่มการลงทุน และเริ่มดำเนินธุรกิจที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง (Recurring Income) เปิดตัวโรงแรม YANH ราชวัตร รับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกภายใต้คอนเซ็ปต์ “Workcation Hotel” รองรับวิถี Remote Working ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศไทยหลัง โควิด-19 พร้อมเปิดให้เข้าพักแล้วในเดือนมีนาคม 2566  พัฒนาแบรนด์โรงแรมใหม่ บนถนนสุขุมวิท 29 มูลค่าการลงทุน 2,500 ล้านบาท และยังมีแผนในการขยายธุรกิจโรงแรมในทำเลพัทยา เพื่อไปให้ถึงเป้ารวมจำนวน 1,000 keys ปัจจุบัน SC บริหารพื้นที่อาคารสำนักงานให้เช่า มีพื้นที่รวมกันถึง 120,000 ตร.ม.   หลังจากการประกาศความร่วมมือกับบริษัท Flash Express ไปเมื่อปี 2565 SC วางแผนขยายธุรกิจคลังสินค้าโดยตั้งเป้าหมายพัฒนาพื้นที่ Warehouse ให้ได้ 1,000,000 ตร.ม. ภายในปี 2573  SC Thriving Beyond คือเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืนใน 5 ปีนี้ของ SC โดยหัวใจสำคัญ คือการสร้างคุณค่า เพื่อเติบโต “ร่วมกัน” ไปกับสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจของ SC คุณค่าจะกลับมาสร้างกำไรให้องค์กร และกำไรจะกลับไปสร้างคุณค่าให้ผู้คนรอบข้าง ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เอสซี แอสเสท ตุนยอดขาย 6 เดือนกว่า 11,500 ล้าน เตรียมเปิด 15 โปรเจ็กต์ใหม่ดันเป้ารายได้
เสนา ดีเวลลอปเม้นท์  ไม่ขายบ้าน-คอนโดอย่างเดียวแล้ว  เปิด 10 ธุรกิจใหม่ 3กลุ่ม โฮลดิ้ง

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ไม่ขายบ้าน-คอนโดอย่างเดียวแล้ว เปิด 10 ธุรกิจใหม่ 3กลุ่ม โฮลดิ้ง

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ประกาศมูฟเม้นต์ ปี 2023 ชูจุดยืนธุรกิจองค์กรภายใต้วิชั่นของการเป็น Sustainable Business ผ่านคีย์เวิร์ด “SENA Multiplied” เบิกทางลงทุนพัฒนาโครงการและขยายโอกาสทางธุรกิจใหม่ ด้วยมูลค่า 55,000 กว่าล้านบาท ปูทางสร้างรากฐานตามแบบ “Lifelong Trusted Partner” เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงอายุ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของโลก แจงแผนเปิด 26 โครงการ 24,000 ล้าน​ ตั้งเป้ายอดขาย 18,000 กว่าล้าน และยอดโอนรวม 16,500 ล้าน   ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจและสิ่งที่คนทั่วโลกต้องเผชิญมีทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession) เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าแพงแต่รายได้เท่าเดิม และอัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอไม่ต่างไปจากปีที่ผ่านมา ประกอบกับสถานการณ์โลกที่แปรปรวน และปัญหาสิ่งแวดล้อม (Climate Change) ถือเป็นความท้าทายหรือ Social Challenge ของภาคธุรกิจ ทั้งการบริหารสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย ด้านสาธารณสุข รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ทำให้ทุกภาคธุรกิจให้ความสำคัญและผลักดันเป็นยุทธศาสตร์หลักเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบนแนวคิดสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้กับสังคม   ด้วย Core Business SENA พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยเพื่อขาย ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ทาวน์โฮมและอาคารชุด ธุรกิจเช่า ได้แก่ อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า ธุรกิจอาคารสำนักงาน ธุรกิจสนามกอล์ฟ ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจบริหารงานนิติบุคคล ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่พักอาศัย เป็นต้น วันนี้ SENA เรายกระดับ (ENHANCED) การพัฒนาโครงการบ้านติดโซลาร์สู่การพัฒนาบ้านพลังงานเป็นศูนย์ “ZERO ENERGY HOUSING” (ZEH)” ลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 20 % ในบ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียมของ SENA พร้อมขยายธุรกิจใหม่ (New Business) ที่หลากหลายและครอบคลุมตาม Mega Trend และ Social Challenge ผ่านแกนวิชั่นโครงสร้างองค์กรที่เป็นมากกว่า Property Developer สู่ “The Essential Lifelong Trusted Partner” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี บนแกน “SENA Multiplied” อย่างไรก็ตาม ทาง SENA วางงบเพื่อการลงทุนในการพัฒนาสินค้าและขยายโอกาสสู่ธุรกิจใหม่ 9,084 ล้านบาท โดยประกอบด้วย New Business to Strengthen Core Business SENA มุ่งมั่นในการต่อยอดพัฒนาอสังหาฯ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตลูกบ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ประกอบด้วย   1.จับมือบริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ NEC Thailand ที่ปรึกษาเทคโนโลยีด้านไอที บริษัทชั้นนำระดับโลก พัฒนาแพลตฟอร์ม “SMARTIFY” Smart Living Community เพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและลูกบ้าน   2.ธุรกิจบริการทางการเงิน “เงินสดใจดี” เพื่อเพิ่มความสามารถในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้า พร้อมให้คำปรึกษาและให้ความรู้ทางด้านการเงิน   3. ธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อบริการขายและให้เช่าอสังหาริมทรัพย์   4.ธุรกิจบริหารนิติบุคคลโครงการที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินแบบครบวงจร (Property Management)   5.ธุรกิจบ้านมือสอง “SENA SURE” โดยร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM และบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM คัดเลือกทรัพย์และนำมาปรับปรุงให้มีคุณภาพ ทางเลือกหนึ่งให้คนที่ต้องการที่อยู่อาศัย New Business New Foundation ขณะเดียว SENA การขยายธุรกิจใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สะดวกสบาย (Convenience) ให้กับทุกคน และเน้นธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ใหม่ให้กับการใช้ชีวิตเพื่อช่วยกันลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization Lifestyle) รวมถึงการนำเทคโนโลยีด้านบริการเข้าปรับใช้เพิ่มความสะดวกสบายให้กับทุกคนและในทุกช่วงชีวิต พุ่งเป้าหมายธุรกิจเมกะเทรนด์ (Mega Trends) ของโลก สร้างสังคมที่ยั่งยืน ทั้งด้านบริการครอบคลุมครบ ขณะเดียวกัน มองว่าเทรนด์การลงทุนในธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราพุ่งเป้าไปธุรกิจที่ตอบรับเมกะเทรนด์ (Mega Trend) ทั้งความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อโลก สังคม สุขภาพ​ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ประกอบด้วย   1. เตรียมขยายพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ใหม่ Premium Segment   2. การบริหารจัดการด้าน Hospitality เต็มรูปแบบ “Hotel & Service Apartment Management” ผ่านการจัดการด้วยมืออาชีพเฉพาะด้าน   3. ธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะฟื้นตัว (Nursing Home) “SJ HEALTHCARE” เพื่อรองรับการเติบโตของสังคมสูงอายุพัฒนา MEDICAL WELLNESS CENTER และ PRIMARY CARE สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการและความกังวลด้านดูแลสุขภาพโดยเฉพาะ   4.ธุรกิจ WAREHOUSE ให้เช่าแบบครบวงจร “METROBOX” ซึ่งเป็นอาคารคลังสินค้ามาตรฐานสากลเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เตรียมเปิด 2 ทำเล 1.บางนา บางพลี สมุทรปราการ และ 2.พหลโยธิน วังน้อย อยุธยา   5.จับมือบริษัท ชิเซ็น อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Shizen เพื่อลงทุนและศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ในการขยายตลาดด้านพลังงานหมุนเวียนร่วมกันในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมองหาพันธมิตรในการติดตั้ง “โซลาร์แนวตั้ง” สำหรับอาคารสูงในประเทศไทยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้มากที่สุด   6.เดินหน้าขยายพื้นที่ให้บริการชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV CHARGING STATION ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ เพื่อให้สอดคล้องไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (SMARTCITY) ปัจจุบันติดตั้งในหมู่บ้านของ SENA ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งสถานีชาร์ตรถไฟฟ้า (EV Charging Station) เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับลูกบ้านในโครงการและลูกค้าทั่วไปในอนาคต   7.บริษัท SENA REFORESTATION ปลูกป่ารักษาโลก ตามเป้าเจตนารมณ์ 100,000 ไร่ New Project Launch ปี 2023 เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 26 โครงการ รวมมูลค่า 24,024 กว่าล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 9 โครงการ 7,471 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม 17 โครงการ 16,553 ล้านบาท (ซึ่งใน 26 โครงการ แบ่งเป็นโครงการร่วมทุนกับ ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป 22 โครงการ 21,210 ล้านบาท) ตอกย้ำพันธมิตรธุรกิจที่แข็งแกร่ง 8 ปี ร่วมกันพัฒนาโครงการรวม 45 โครงการ มูลค่า 69,554 ล้านบาท ทั้งนี้ วางเป้าหมายสร้างนิวเรคคอร์ดครั้งใหม่ของบริษัท ด้วยเป้ายอดขาย 18,242 ล้านบาท และเป้าโอนรวม 16,539 ล้านบาท โดยมีสินค้าที่เหลือขาย คิดเป็นมูลค่า 22,294 ล้านบาท เพื่อรอรับรู้รายได้ในอนาคต   แต่อย่างไรก็ตาม เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ยังมองถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก แผนเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ และธุรกิจใหม่ รองรับ Mega Trend ที่พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าและการบริการ สานต่อจุดยืนขององค์กรที่เป็นมากกว่าคนพัฒนาอสังหาฯ ด้วยการเป็น “THE ESSENTIAL LIFELONG TRUSTED PARTNER” เพื่อสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกช่วงชีวิต   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เสนาฯ เปิดโมเดล​ บ้านพลังงานเป็นศูนย์ เดินหน้าสู่บริษัท ด้านความยั่งยืน -[PR News] เสนาเจ จับมือ NEC พลิกโฉม “Smart Living Community”
เนอวานา กลับมาลุยตลาดบ้าน-คอนโดลักชัวรี่ งัดแลนด์แบงก์ปั้นโปรเจ็กต์ 40,000 ล้าน

เนอวานา กลับมาลุยตลาดบ้าน-คอนโดลักชัวรี่ งัดแลนด์แบงก์ปั้นโปรเจ็กต์ 40,000 ล้าน

เนอวานา สลัดภาพบริษัทร่วมทุนต่างชาติ กลับมาเป็นดีเวลลอปเปอร์ ปั้นโปรเจ็กต์อสังหาฯ เพื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก เตรียมขออนุมัติผู้ถือหุ้นใช้ชื่อเดิม “เนอวานา ดีเวลลอปเมนท์” พร้อมงันแลนด์แบงก์ปั้นโปรเจ็กต์ 40,000 ล้าน ประเดิมปี 66 เปิด 9 โครงการใหม่ มูลค่ากว่า 21,100 ล้าน สู่เป้ายอดขายเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็น 8,500 ล้าน   นายศรศักดิ์ สมวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) หรือ NVD เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทได้ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นและองค์กรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อย บริษัทได้กลับมาขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง โดยนำเอาที่ดินที่ได้สะสมไว้ในช่วงที่ผ่านมา พัฒนาเป็นโครงการที่อยู่อาศัย ทั้งประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโดมิเนียม และโฮมออฟฟิศ ซึ่งปัจจุบันมีที่ดินสะสม และสามารถพัฒนาโครงการได้มูลค่า 40,000 ล้านบาท ในการขายและทำตลาดถึงปี 2568   ขณะเดียวกันได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ เป็นบริษัท เนอวานา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นชื่อเดิมตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจในช่วงปี 2548 หลังจากปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ จึงจะมุ่งเน้นในการพัฒนาอสังหาฯ เป็นหลัก โดยจะมีการขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้ง ในวันที่ 12 เมษายน 2566 เราจะเป็นดีเวลลอปเปอร์ทำสิ่งที่เราถนัน เชื่อว่าสินค้าเนอวานาตอบสนองลูกค้าได้ดี บนที่ดินศักยภาพ ซึ่งบางแปลงซื้อมา 4-5 ปีที่แล้ว ทำให้มีต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้วันนี้เนอวานากลับไปยืนในจุดที่ลูกค้าพอใจอีกครั้ง สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ว่า บริษัทเตรียมงบลงทุน 4,370 ล้านบาท เพื่อเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาว์นโฮมและคอนโด จำนวน 9 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 21,100 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนโครงการใหม่ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท และโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวยังคงมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายในตลาดระดับบนเป็นหลักด้วย โดยจะมีการพัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ใหม่เพิ่มเข้ามาทำตลาดด้วย ​ โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้ายอดขายรวม 8,500 ล้านบาท ซึ่งเติบโตอย่างก้าวกระโดดกว่า 160% จากปีก่อนหน้านี้ และรายได้ 4,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75%” ปีนี้จะเป็นปีที่เนอวานาเก็บเกี่ยวสิ่งที่เราได้เตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจในทุกด้านและลงทุนซื้อที่ดินใหม่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เรามั่นใจในตลาดที่อยู่อาศัยระดับบนที่ยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพในการเติบโตหลังวิกฤตโควิด   สำหรับโครงการใหม่ที่จะเปิดในปีนี้ ได้แก่ โครงการบ้านเดี่ยวเนอวานา คอลเลคชั่น กรุงเทพกรีฑา (Nirvana Collection Krungthep Kreetha) โครงการบ้านเดี่ยวเนอวานา แอปโซลูท เอกมัยรามอินทรา (Nirvana Absolute Ekkamai Ramintra ) โครงการบ้านเดี่ยวเนอวานา แอปโซลูท กรุงเทพกรีฑา (Nirvana Absolute Krungthep Kreetha) โครงการทาว์นโฮมเนอวานา   ดีฟายน์ กรุงเทพกรีฑา(Nirvana Define Krungthep Kreetha) โครงการโฮมออฟฟิศ แอทเวิร์ค เนอวานาทาว์นชิพ (@Work Nirvana Township) โครงการโฮมออฟฟิศ แอทเวิร์ค กรุงเทพกรีฑา (@Work Krungthep Kreetha) โครงการโฮมออฟฟิศ แอทเวิร์ค ร่มเกล้า (@Work Romklao) เดอะโมส คอนโดมิเนียม รัตนาธิเบศร์ (The Most Condominium Rattanathibet) คอนโด สุขุมวิท 23 (Condominium Sukhumvit 23) เดินหน้าพัฒนาทาวน์ชิพ 30,000 ล้าน นายศรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนอวานา ยังคงมุ่งเน้นพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในย่านกรุงเทพกรีฑาเป็นหลัก เนื่องจากเป็นทำเลของที่อยู่อาศัยในระดับบนที่มีการเติบโตอย่างสูง เปรียบเสมือน “เบเวอร์ลี ฮิลล์ ของกรุงเทพฯ ” ซึ่งถือเป็นทำเลศักยภาพของการอยู่อาศัย สามารถเชื่อมต่อกับถนนหลักเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในได้หลายเส้นทาง เช่น ใช้เส้นทางทางด่วนถนนพระราม 9 สำหรับการเข้าถึงโครงข่ายระบบรางด้วยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และแอร์พอร์ตลิงค์ อีกทั้งยังมีโครงข่ายถนนวงแหวนรอบนอกและมอเตอร์เวย์ ใช้เดินทางไปยังโซนอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ โรงเรียนนานาชาติ โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าชั้นนำและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ   โดยบริษัท มีที่ดินอยู่ในบริเวณกรุงเทพกรีฑากว่า 200 ไร่ ในโครงการเนอวานา ทาวน์ชิพ (Nirvana Township) ซึ่งสามารถพัฒนาโครงการได้ 12 โครงการ รวมมูลค่า 30,000 ล้านบาท โดยพัฒนาที่อยู่อาศัยไปแล้ว 3 โครงการ วางแผนพัฒนาในปีนี้อีก 3 โครงการ ประกอบไปด้วย โครงการที่อยู่อาศัยระดับอัลตราลักชัวรี โครงการที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนด์ และ พรีเมี่ยมโฮมออฟฟิต พร้อมทั้งยังสร้างไลฟ์สไตล์มอลล์ ที่มีทั้งซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าระดับไฮเอนด์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ บริเวณด้านหน้าโครงการ เพื่อเติมเต็มการอยู่อาศัยที่สมบูรณ์แบบที่สุดในโครงการเนอวานา ทาวน์ชิพแห่งนี้ ซึ่งในอนาคตจะพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพิ่มอีก 6 โครงการด้วย ในปีที่ผ่านมา เนอวานาให้ความสำคัญกับการรีฟอร์มในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ซื้อบ้านให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการซื้อที่ดินใหม่เข้ามาเป็นแลนด์แบงก์สำหรับพัฒนาโครงการในอนาคต โดยในปี 2565 บริษัทมีรายได้รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 2,569 ล้านบาท และยอดขายรวม 3,260 ล้านบาท ซึ่ง 87% ของยอดขายมาจากบ้านแนวราบและ 13% มาจากคอนโด มีการเปิดตัวโครงการใหม่ 2 โครงการ คือ เนอวานา แอปโซลูท บางนา (Nirvana Absolute Bang Na) และเนอวานา ดีฟายน์ เอกมัย-รามอินทรา (Nirvana Define Ekkamai-Ramintra) ซึ่งสามารถทำยอดขายรวมกันได้ 720 ล้านบาท ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์  ทำให้ปีนี้บริษัทมีโครงการออกมาขายและทำตลาดรวมมูลค่า 33,100 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -โฮมออฟฟิศติดรถไฟฟ้า ใกล้ทางด่วน Nirvana @WORK-เนอวานาแอทเวิร์ค : รีวิวโฮมออฟฟิศ -เนอวานา จับมือ คริสตี้ส์ ขายโครงการ “Banyan Tree Residence Riverside Bangkok” ให้กลุ่มเอ-ลิสต์ทั่วโลก
วัน แบงค็อก  เตรียมเปิดเฟสแรก Q1/2567  กับ 8 ประสบการณ์ Urbanverse กว่า 1.2 แสนล้าน

วัน แบงค็อก เตรียมเปิดเฟสแรก Q1/2567 กับ 8 ประสบการณ์ Urbanverse กว่า 1.2 แสนล้าน

วัน แบงค็อก เตรียมเปิดเฟสแรก ไตรมาส 1 ปี 2567 พร้อมเดินหน้าพัฒนาโปรเจ็กต์มูลค่ากว่า 120,000 ล้าน ให้สมบูรณ์ ภายใต้แนวคิด “จักรวาลของชีวิตเมือง” (Urbanverse) มิติของการใช้ชีวิตที่หลากหลาย เชื่อมย่านพระราม 4 กับเมือง ด้วย 8 ประสบการณ์ใหม่     วัน แบงค็อก โครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ มูลค่ากว่า 120,000 ล้านบาท  ที่พัฒนาโดย บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด กำหนดแผนการเปิดให้บริการเฟสที่หนึ่ง ในช่วงไตรมาสแรกปี 2567 นี้แล้ว นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า  จากจุดเริ่มต้น บนถนน ถนนพระราม 4 ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ มีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน เปี่ยมไปด้วยศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ  ด้วยเหตุนี้ ทางบริษัทจึงเข้ามาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งบนถนนพระราม 4 เริ่มตั้งแต่ สามย่าน มิตรทาวน์ สีลม เอจ เดอะ ปาร์ค เอฟวายไอ เซ็นเตอร์  รวมถึงศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยโครงการ วัน แบงค็อก จะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่มาเติมเต็มย่านพระราม 4 ให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์แบบ และมีส่วนช่วยผลักดันให้กรุงเทพฯ กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าระดับนานาชาติ ดึงดูดนักธุรกิจ นักลงทุน และนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก โครงการวัน แบงค็อก ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพฯ (Evolving Bangkok) สร้างโครงการระดับโลก ด้วยการนำคุณค่าและเสน่ห์ของกรุงเทพฯ ในอดีตมาพัฒนาเพื่อสร้างพื้นที่พระราม 4 ให้เป็นย่านแห่งใหม่ บนแนวคิด 4 แกนหลัก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง  ดังนี้ Being the Movement: ขับเคลื่อนเมืองและนำความก้าวหน้ามาพัฒนาไปพร้อมกับกรุงเทพฯ เพื่อคุณภาพชีวิตของคนเมือง Amplify Bangkok’s Values: ความเป็นที่สุดแห่งคุณค่าและเสน่ห์ของกรุงเทพฯ ที่สั่งสมมานับศตวรรษมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบพื้นที่ต่างๆ Redefine the Cityscape: เป็นหมุดหมายสำคัญที่จะพลิกโฉมเมือง ด้วยการพัฒนาย่านพระราม 4 ให้เป็นแกนกลางใหม่ของเมือง ที่มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ Empower Life in Smart and Sustainable Ecosystem: ให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการระบบข้อมูล และเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบาย ตอบโจทย์การใช้ชีวิต พร้อมดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อเติบโตไปพร้อมกับกรุงเทพฯอย่างยั่งยืน   วัน แบงค็อก พัฒนาขึ้นภายใต้คอนเซปต์ “จักรวาลของชีวิตเมือง” (Urbanverse) มิติของการใช้ชีวิตที่หลากหลาย เชื่อมย่านพระราม 4 กับเมือง ไม่เพียงแต่เชิงกายภาพเท่านั้น หากยังเชื่อมโยง ส่งเสริม ร่วมมือ และเติมเต็มศักยภาพให้กับย่านอื่นๆ ของกรุงเทพฯ เพื่อให้เกิดพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของเมืองและสร้างประโยชน์ให้กับผู้คนและเกิดประสบการณ์ที่หลากหลาย 8 ประสบการณ์ใหม่ ในวัน แบงค็อก จักรวาลชีวิตเมืองใน วัน แบงค็อก มอบประสบการณ์ใหม่ 8 ส่วน ประกอบด้วย   ประสบการณ์แห่งโลกธุรกิจ (Workplace): อาคารสำนักงานที่เพรียบพร้อมด้วยระบบเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนทำงาน และความสะดวกสบายที่ช่วยพาธุรกิจให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า ประสบการณ์แห่งโลกไลฟ์สไตล์ (Retail): ประสบการณ์ใหม่แห่งการช้อปปิ้งที่สร้างสรรค์ขึ้นจากเสน่ห์ที่หลากหลายของกรุงเทพฯบนแนวคิดและการออกแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ประสบการณ์แห่งนิทรรศการและการแสดงระดับโลก (Live Entertainment Arena): พื้นที่จัดการประชุม นิทรรศการ งานแสดงระดับโลก ที่ได้มาตรฐานระดับสากล ประสบการณ์แห่งการบริการที่ดีที่สุดสำหรับการพักผ่อนและธุรกิจ (Hotels): โรงแรมระดับโลก อันเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่มองหาบริการระดับสากล แต่ยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ประสบการณ์เหนือระดับของการอยู่อาศัย (Residences): ที่พักอาศัยระดับลักซ์ชัวรี่บนทำเลที่ดีที่สุดใจกลางกรุงเทพฯ ครบครันด้วยคุณค่าการใช้ชีวิตเหนือระดับ ประสบการณ์แห่งศิลปะและวัฒนธรรม (Art & Culture): แหล่งรวมโปรแกรมทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สร้างสีสันให้กับชีวิตในทุกวันของทุกคนผ่านพื้นที่ที่เชื่อมโยงผลงาน ศิลปะสาธารณะ  และพื้นที่แห่งการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ (Art Loop) ประสบการณ์บนพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เปิดโล่ง (Public Realm):พื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียว มากกว่า 50 ไร่ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ออกแบบให้เป็นจุดพักผ่อนใจกลางเมืองและเป็นพื้นที่กิจกรรมและสันทนาการของเมือง เชื่อมระหว่างสวนลุมพินี และสวนเบญจกิติ ประสบการณ์เมืองอัจฉริยะแบบยั่งยืน (Smart City with Sustainable Infrastructure): โครงสร้างพื้นฐานแห่งเมืองอัจฉริยะที่เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตและส่งเสริมเมืองอย่างยั่งยืนทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โครงการวัน แบงค็อก มุ่งสู่การรับรองโดยมาตรฐาน LEED for Neighbourhood Development ระดับ Platinum แห่งแรกในประเทศไทย และมาตรฐานรับรองอาคาร WELL เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้อาคาร ตลอดจนตั้งเป้าสู่การรับรองมาตรฐาน WiredScore และ SmartScore สำหรับกลุ่มอาคารสำนักงานแห่งแรก ที่มีระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะแห่งอนาคตที่ดีที่สุด เพื่อให้ผู้อาศัยในอาคารได้รับประสบการณ์สุดพิเศษ อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงาน เพื่อความคุ้มค่าในอนาคต   โดยล่าสุด โครงการวัน แบงค็อก ได้คว้า 2 รางวัลอันทรงเกียรติจากเวทีระดับเอเชีย คือ Best Landmark Mixed-Use Development (Asia) โดยถือเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ไทยรายแรกที่ได้รับรางวัลนี้  และรางวัล Best Office Development (Thailand) สำหรับอาคารสำนักงาน Tower 4 จากเวทีประกาศผลรางวัล PropertyGuru Asia Property Awards Grand Final 2022 ที่ผ่านมา   เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสู่การเปิดโครงการฯ วัน แบงค็อก ได้วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกอย่างเข้มข้นตลอดทั้งปี โดยจะมีแบรนด์เเคมเปญชูภาพลักษณ์ที่มีสีสัน ตอบรับทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงง่าย เพื่อตอกย้ำแนวคิดของโครงการฯ ตลอดจนการผนึกกำลังกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำกรุงเทพฯไปสู่ความก้าวหน้าร่วมกันอย่างยั่งยืน   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -“วัน แบงค็อก” ดึง 6 ผู้รับเหมาพัฒนาเฟสแรก พื้นที่ 1.3 ล้านตร.ม.เสร็จใช้ปี 66
ตลาดจ๊อดแฟร์ เตรียมย้ายไปที่ใหม่  ใหญ่กว่าเดิม มีทั้งเอ้าท์ดอร์-อินดอร์

ตลาดจ๊อดแฟร์ เตรียมย้ายไปที่ใหม่ ใหญ่กว่าเดิม มีทั้งเอ้าท์ดอร์-อินดอร์

ตลาดจ๊อดแฟร์ เตรียมย้ายไปที่ใหม่ ใกล้ MRT ศูนย์วัฒธรรม ​บนเนื้อที่ 13 ไร่ พร้อมจับมือ กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ปรับคอนเซ็ปต์ใหม่ มีร้านทั้งอินดอร์และเอ้าท์ดอร์ พร้อมเปิดบริการต้นปี 67 ร้านค้าเดิม 700-800 ร้าน เตรียมย้ายหลังหมดสัญญากับกลุ่มเซ็นทรัลในสิ้นปีนี้ ​   ถนนรัชดา เป็นทำเลที่ถูกนิยามเป็น CBD แห่งใหม่ ที่ตอนนี้ใคร ๆ ก็มุ่งหน้าเข้ามาพัฒนาโครงการจำนวนมาก และหนึ่งในทำเลยอดฮิตในการช้อปปิ้ง ที่ในอดีตเคยมีตลาดนัดรถไฟรัชดา สถานที่ยอดฮิตที่คนไทยและต่างชาติ นิยมไปเดินช้อปปิ้ง กิน-ดื่ม กันจำนวนมาก ซึ่งมี “ไพโรจน์ ร้อยแก้ว” หรือ คุณจ๊อด บริหารงานมาตั้งแต่ตลาดรถไฟ สวนจตุจักร เป็นผู้บริหาร ตลาดจ๊อดแฟร์   ล่าสุด ได้เปิดตลาดจ๊อดแฟร์ หลังศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 ที่เปิดมาจะ 2 ปีแล้ว โดยตอนเปิดตลาดก็ยังเป็นช่วงไวรัสโควิด-19 ยังแพร่ระบาดอยู่ด้วย แต่คุณจ๊อดก็ยังสามารถนำพาตลาดจ๊อดแฟร์  ฟันผ่าและผ่านวิกฤตโควิด-19 มาได้จนประสบความสำเร็จ กลายเป็นตลาดยอดฮิตแห่งตลาดหนึ่งของคนกรุงเทพฯ ที่สำคัญตลาดจ๊อดแฟร์ยังไม่ได้ฮิตเฉพาะคนไทยเท่านั้น แต่ยังฮิตในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วย  จากข้อมูลล่าสุดของการใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชั่น Grab พบว่า ตลาดจ๊อดแฟร์ คือ ติดอันดับ 2 ของ 5 จุดหมายปลายทางที่ชาวต่างชาติชอบไปมากที่สุด เป็นรองอันดับ 1 แค่ ไอคอนสยาม เท่านั้น ส่วนอีก 3 อันดับเป็น เซ็นทรัลเวิล์ด ถนนข้าวสาร และสยามพารากอน   แต่ตลาดจ๊อดแฟร์กำลังจะสิ้นสุดสัญญาเช่ากับ กลุ่มเซ็นทรัลภายในสิ้นปีนี้ และเตรียมจะย้ายไปเปิดที่ใหม่ บนที่ดินของกลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค บนถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเดิมคือจัสโก้ ซูปเปอร์มาร์เก็ต สาขารัชดา และต่อมามีการพัฒนาเป็นตลาดนัดอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนจะปิดตัวลง พื้นที่ดังกล่าวอยู่ติดกับบิ๊กซี รัชดา ใกล้กับ MRT สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เนื้อที่ 13 ไร่  ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีส้ม พื้นที่ใกล้เคียง มีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น AIA Capital Center, CW Tower, Rs Tower ศูนย์การเอสพลานาด และเดอะสตรีท   ตลาดจ๊อดแฟร์ แห่งใหม่มีกำหนดเปิดช่วงต้นปี 2567 ซึ่งมีไฮไลท์น่าสนใจ คือ จะมีพื้นที่ร้านค้าทั้งในส่วนเอาท์ดอร์ และอินดอร์ พร้อมด้วยอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ รวม​มูลค่าโครงการ 7,000 ล้านบาท  ภายใต้การพัฒนาโดยบริษัท วีรีเทล จำกัด (มหาชน) ในเครือ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค นั่นเอง ไฮไลท์โปรเจ็กต์ ตลาดจ๊อดแฟร์ ใหม่ สำหรับรายละเอียดโครงการมีดังนี้ โครงการแบ่งออกเป็น 2 โซน คือ  อาคารสูง 12 ชั้น และพื้นที่ร้านค้าด้านหน้าอาคาร ประกอบด้วย ตัวอาคารมีพื้นที่รวมกว่า 93,000 ตร.ม. พื้นที่สำนักงาน 5 ชั้น 20,000 ตร.ม. พื้นที่ร้านค้า 3 ชั้น 25,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 4 ชั้น 33,000 ตร.ม. (จอดรถได้ 750 คัน) พื้นที่บริการและสัญจร สวน ล็อบบี้ 15,000 ตร.ม. ส่วนของพื้นที่สำนักงาน จะเป็นสำนักงานแห่งใหม่ของ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค และบริษัทในกลุ่ม เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ และออกแบบให้เป็นสำนักงานทันสมัย ภายใต้แนวคิด Smart Green Office ทั้งการอนุรักษ์พลังงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การออกแบบอาคารให้แสงธรรมชาติเข้าถึงภายในเพื่อประหยัดพลังงาน มีรูฟการ์เด้นท์หรือสวนลอยฟ้า และพื้นที่สีเขียวภายในอาคาร ติดตั้ง Solar Roof ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และมี EV Charging Station สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ตัวอาคารยังมีการใช้เทคโนโลยีใหม่เรื่องการจัดการอาคาร เช่น  ระบบจดจำใบหน้าในการเข้า-ออก ระบบจดจำป้ายทะเบียนรถยนต์ ระบบแลกบัตรผ่านเข้าออกอัจฉริยะ  และระบบชำระค่าจอดรถแบบไร้สัมผัส   ในส่วนของร้านค้าภายในอาคารรวมพื้นที่ 25,000 ตร.ม. จำนวน 3 ชั้น รวมร้านค้า 928 ร้าน ตัวอาคารออกแบบสไตล์วินเทจ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เน้นบรรยากาศสบายๆ เหมือนเดินอยู่ในเชลซีมาร์เก็ต นิวยอร์ค โดยวางคอนเซ็ปต์ให้เป็นแหล่งรวมร้านอาหารสตรีทฟู้ดร้านเด็ดจากทั่วทุกย่านมาไว้ที่นี่   สำหรับพื้นที่กลางแจ้งด้านหน้าอาคารประมาณ 5.6 ไร่ จะเป็นไนท์มาร์เก็ตแห่งใหม่ ที่มีทั้งพื้นที่เป็นล็อค ร้านค้า และร้านในรูปแบบคีออส รวม 798 ร้าน ที่มีสินค้าหลายอย่าง ทั้งอาคาร คาเฟ่ สตรีทฟู้ดชื่อดัง ต้นไม้ เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ ของแต่งบ้าน งานวินเทจ งานคราฟท์ งานแฮนด์เมด ซึ่งจะคงคอนเซ็ปท์ไนท์มาร์เก็ตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติในแบบฉบับ “จ๊อดแฟร์” นายไพโรจน์ ร้อยแก้ว เจ้าของตลาดจ๊อดแฟร์ เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ บริษัท วีรีเทล จำกัด (มหาชน) ในการเข้าบริหารพื้นที่รีเทลของโครงการมิกซ์ยูส ริมถนนรัชดาภิเษก ติด MRT ศูนย์วัฒนธรรมฯ ซึ่งมีระยะเวลาสัญญา 20 ปี นานที่สุดเท่าที่เคยบริหารตลาดมาก่อน โดยตลาดนัดสวนรถไฟ ถนนศรีนครินทร์มีระยะเวลาสัญญาเช่า 15 ปี ส่วนตลาดจ๊อดแฟร์ หลังศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 9 มีระยะเวลาสัญญา 2 ปี ที่กำลังจะหมดลงภายในสิ้นปี 2566 นี้ จึงเตรียมเปิดตลาดจ๊อดแฟร์แห่งใหม่ ในพื้นที่ 13 ไร่ของบริษัท วีรีเทลฯ ดังกล่าว   โดยจำนวนผู้เช่าที่ตลาดจ๊อดแฟร์ปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 700-800 ราย หากรวมผู้ค้าในเครือข่ายที่เคยเช่าพื้นที่น่าจะมีมากกว่า 3,000 ราย ซึ่งเชื่อว่าหากเปิดจองจะสามารถขายพื้นที่ได้ทั้งหมดโดยเร็ว และอัตราค่าเช่าน่าจะอยู่ในอัตราใกล้เคียงเดิมกับตลาดจ๊อดแฟร์ปัจจุบัน ซึ่งคิดในเรทวันละ 500 บาทต่อ 4 ตร.ม. โดยเท่ากันในทุกทำเล   นายไพโรจน์ กล่าวอีกว่า ในปีนี้ยังมีเปิดให้บริการตลาดนัดกลางคืนอีก 1 แห่ง ซึ่งอยู่ในทำเลที่เดินทางสะดวก ด้วยรถไฟฟ้า มีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 13 ไร่ และเป็นคอนเซ็ปต์ที่น่าสนใจ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ขณะเดียวกันบริษัท วีรีเทลฯ ยังมีที่ดินอีกหลายแปลง อาทิ ที่ดินจำนวนกว่า 11 ไร่ บริเวณตรงข้ามที่ดิน 13 ไร่ มีซึ่งสามารถพัฒนาเป็นตลาดได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ตนจะได้เข้าไปพัฒนาและบริหารต่อไปในอนาคต   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ตุนยอดขายครึ่งปีแรก 7,900 ล้าน จ่อขึ้นราคาบ้าน-คอนโดเพิ่ม5%หลังต้นทุนพุ่ง
มีอะไรใหม่ใน เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ หลังทุ่มพันล้านสู่ Co-Living Space

มีอะไรใหม่ใน เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ หลังทุ่มพันล้านสู่ Co-Living Space

AWC ทุ่มงบ 1,000 ล้าน ปรับโฉม “เอ็มไพร์ ทาวเวอร์” สู่ Co-Living Space ผสานการใช้ชีวิตและการทำงาน พร้อมปั้นรูฟท็อป แลนด์มาร์คใหม่ย่านสาทร   AWC หรือ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) ของตระกูล "สิริวัฒนภักดี" ที่มีลูกสาวคนรองของเจ้าสัว เจริญ สิริวัฒภักดี อย่าง นางวัลลภา ไตรโสรัส นั่งบริหารงาน ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ AWC ได้ประกาศทุ่มงบถึง 1,000 ล้านบาท เพื่อปรับโฉมอาคารเอ็มไพร์ใหม่ สู่ “Co-Living Collective: Empower Future” จากเดิมที่เป็นอาคารสำนักงานเกรด เอ เหมือน ๆ กับอาคารสำนักงานทั่วไปที่อยู่ในย่านใจกลางธุรกิจ เป็น Co-Living Space ทำไมต้องก้าวสู่ Co-Living Space ต้องยอมรับว่า ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงชีวิตพนักงานออฟฟิศ ที่ต้องอยู่บ้านเพื่อทำงาน หรือ Work from Home ทำให้พื้นที่ออฟฟิศลดความจำเป็นในการใช้งานลง แม้แต่ภายหลังที่สถานการณ์โควิดเบาบางลง จนทำให้หลายองค์กรเริ่มกลับมาทำงานที่ออฟฟิศกันปกติ แต่ก็ยังมีออฟฟิศจำนวนมาก ปรับรูปแบบสู่การทำงานแบบไฮบริด คือ ผสมผสานการทำงาน ให้พนักงานมาทำงานที่ออฟฟิศบางวัน ทำงานจากที่บ้าน หรือทำงานจากที่ไหน ๆ ก็ได้ (Work from anywhere) ในบางวัน   เพราะในช่วงเวลาของการเกิดโควิดและพนักงานจำนวนมากทำงานอยู่ที่บ้าน หรือที่ใด ๆ ก็ตาม  การทำงานก็ยังมีประสิทธิภาพ และสามารถจบงานต่าง ๆ ได้ ไม่แตกต่างจากการต้องมาทำงานที่ออฟฟิศ แถมมีงานวิจัยหรือการสำรวจความเห็นของหลายองค์กร ระบุว่า คนทำงานบางส่วนไม่พร้อมจะกลับมาทำงานที่ออฟฟิศแบบฟลูไทม์แล้ว ยิ่งคนรุ่นใหม่จำนวนมาก หลักเกณฑ์ในการเลือกองค์กรทำงาน ก็จะเน้นองค์กรที่มีความยื่นหยุ่นสูงในเรื่องสถานที่การทำงา หรือเรื่องของการทำงาน   ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่าตอนนี้อาคารสำนักงานใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในปัจจุบัน และแผนการพัฒนาในอนาคต จะเกิดขึ้นอีกมากมายหลายประเภท และหลายเกรด ทำให้การแข่งขันในธุรกิจอาคารสำนักงานมีสูงมากขึ้น ทำให้อาคารสำนักงานที่มีอยู่แต่เดิม ต้องลุกขึ้นมาปรับโฉม รีโนเวท พัฒนาหรือเติมเต็มการบริการให้กับผู้เช่า  เพื่อจะรักษาฐานผู้เช่ารายเดิมไว้ ขณะเดียวกันก็ดึงดูดผู้เช่ารายใหม่ให้เข้ามาใช้บริการด้วย   การปรับโฉมของ AWC ครั้งนี้ ก็เพราะมองเห็นเทรนด์การเปลี่ยนแปลงไป ของรูปแบบการทำงานและไลฟ์สไตล์การทำงานของคนยุคปัจจุบัน ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่ออฟฟิศเท่านั้น แถมการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันก็เชื่อมโยงไปกันหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน การกิน การใช้ชีวิต หรือการพักผ่าน นอกจากนี้ AWC ก็มองเห็นว่าการแข่งขันในธุรกิจอาคารสำนักงานมีสูง นอกจากจะเติมเต็มประสบการณ์ให้กับพนักงานแล้ว ต้องเพิ่มและเสริมการบริการใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ และรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ ไม่ให้ย้ายออกไปไหนด้วย มีอะไร? ใน อาคารเอ็มไพร์   สำหรับอาคารเอ็มไพร์ โฉมใหม่ ที่ได้ทุ่มทุน 1,000 ล้านบาท เพื่อเติมไฮไลท์ใหม่ ๆ เข้ามาเสริม ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนทำงานยุคปัจจุบัน เป็นการเพิ่มพื้นที่ส่วนกลาง เหมือนการอาศัยอยู่กับคอนโด จากเดิมที่มีแค่การให้บริการที่จอดรถ และห้องน้ำ แต่ต่อไปนี้จะมีพื้นที่ใหม่ ๆ ที่เตรียมเข้ามา ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส 2 และจะสมบูรณ์ภายในสิ้นปีนี้ โดยอาคารเอ็มไพร์ ภายใต้รูปโฉม The Co-Living Collective: Empower Future จะเพิ่มเติมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ Co-Living Space ที่ใหญ่ที่สุด AWC ได้ผสมผสานประสบการณ์การใช้ชีวิตและการทำงาน ให้การมาทำงานที่อาคารเอ็มไพร์ มีบรรยากาศเหมือนอยู่บ้าน ด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามา ภายใต้แนวคิด “Co-Living Collective: Empower Future” ซึ่งได้เตรียมพื้นที่กว่า 1,500 ตารางเมตร บนชั้น 53 สร้าง อาทิ พื้นที่เตรียมอาหาร รับประทานอาหาร พื้นที่นั่งเล่น ประชุม พักผ่อนหย่อนใจ เสริมสร้างสุขภาพ ห้องอาบน้ำ พื้นที่ทำงานร่วมกัน และ ห้องประชุม  Circle Club Chat Board ห้องนั่งเล่น (Living Room) พื้นที่สันทนาการเพื่อการพักผ่อน เพลิดเพลินกับเกมคอนโซล โต๊ะพูล และโต๊ะปิงปอง ห้องพักผ่อนที่หลับได้พักนึง  (Nap Lounge) ในวันที่ทำงานหนักหรือพักผ่อนไม่พอ ห้องอาบน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า (Locker Room) ห้องสำหรับเด็ก (Kids Room) เพื่อมานั่งเล่น ทำการบ้าน หลังเลิกเรียน ระหว่างรอผู้ปกครองกลับบ้าน ห้องดูแลลูก (Nursing Lounge) เปลี่ยนผ้าอ้อม ห้องปั๊มนมสำหรับคุณแม่ลูกอ่อน พื้นที่สำหรับดูแลสัตว์เลี้ยง (Pet’s Hotel) “EA” รูฟท็อปอาหาร-เครื่องดื่ม ใหญ่สุด  การกินอาหารปัจจุบันไม่ใช่แค่ความจำเป็นของชีวิตอย่างเดียว ยิ่งเป็นคนทำงานหรือนักธุรกิจ การกินอาหารยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเรื่องธุรกิจด้วย เพราะสามารถคุยงานหรือเจรจาธุรกิจระหว่างกินอาหารได้ และที่สำคัญ AWC มีเครือโรงแรมจำนวนมากที่บริหารงานอยู่ จึงถือว่านำเอาความแข็งแกร่งในเรื่องของอาหารและเครื่องดื่มมาช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า และสร้างจุดแข็งให้กับอาคารเอ็มไพร์ ด้วยการสร้างแลนด์มาร์คใหม่ย่านสาทร บนชั้น 55-58 พื้นที่รวม 9,000 ตารางเมตร ใช้งบประมาณ 500-600 ล้านบาท เป็นศูนย์รวมร้านอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำ โดยมีรูฟท็อปที่สามารถเห็นวิวกรุงเทพฯ ได้แบบ 360 องศา และใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วย ชั้น 55 รวบรวมภัตตาคารและร้านอาหารนานาชาติที่หลากหลาย อาทิ ร้าน % Arabica ที่จะเปิดเป็นสาขาแบบ Sky Café แห่งแรกของโลก และ The Cassette Music Bar แฮงเอาท์คลับยอดนิยมของชาวกรุงเทพฯ เป็นต้น ชั้น 56 “EA” (เอ-ยา) จุดหมายปลายทางแห่งอาหารอันโดดเด่นบนยอดตึกใจกลางกรุง ที่ผสมผสานระหว่างบาร์ ภัตตาคาร พร้อมบริการชั้นเลิศ เพื่อนำเสนออาหารและเครื่องดื่มอันหลากหลาย ชั้น 57 – 58 นำเสนอสุดยอดแบรนด์ไลฟ์สไตล์สุดหรูระดับโลกครั้งแรกในประเทศไทย โดยเชฟ Nobu Matsuhisa เชฟผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารญี่ปุ่น-เปรู ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกจากการนำเสนอวัตถุดิบชั้นเลิศและบริการชั้นยอด พร้อมด้วยการออกแบบตกแต่งร้านให้มีเอกลักษณ์จากบริษัทออกแบบระดับตำนานอย่าง Rockwell Group นอกจากนี้ ในบริเวณชั้น Ground  จะมีการพัฒนาเป็นเลาจ์ เพื่อเชื่อมโยงลิฟท์ขึ้นไปโดยตรงบริเวณชั้นอาหารและเครื่องดื่มตั้งแต่ชั้น 55 ขึ้นไปด้วย ก่อนหน้าเรามีแค่ห้องน้ำและที่จอดรถให้กับผู้เช่า วันนี้เราเติม Common facility เหมือนการซื้อคอนโดอยู่ เตรียม 40,000 ตร.ม.เพิ่มการอัตราเช่า อาคารเอ็มไพร์มีพื้นที่รวม 314,800 ตร.ม. มีจำนวน 58 ชั้น มูลค่าสินทรัพย์ถึง 20,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีอัตราการเข้าใช้พื้นที่เช่าอยู่ประมาณ 70% เป็นบริษัทองค์กรต่างชาติถึง 74% ซึ่งอัตราเข้าใช้พื้นที่อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด แม้ว่าช่วง 3 ปีจะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่อาคารเอ็มไพร์ก็ยังรักษาระดับจำนวนผู้เช่าไว้ได้อย่างดี   แต่ปัจจุบันอาคารเอ็มไพร์ ยังมีพื้นที่เหลือถึง 40,000 ตร.ม. สำหรับรองรับกับผู้เช่ารายใหม่ได้ พื้นที่ดังกล่าวหักในส่วนที่ต้องปรับปรุงเป็นพื้นที่ทำส่วนกลางและร้านอาหารแล้ว​ ซึ่ง AWC มีเป้าหมายการดึงกลุ่มผู้เช่ารายใหม่ โดยเฉพาะที่บริษัทข้ามชาติ และบริษัทคนรุ่นใหม่ให้เข้าใช้บริการ โดยปัจจุบนคิดอัตราเช่า 1,200-1,400 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน แต่อัตราเช่าจะมีโปรโมชั่นและส่วนลดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสัญญาเช่า ระยะเวลา และขนาดพื้นที่   โดย AWC ได้จัดเตรียมพื้นที่เช่าที่มีความหลากหลาย ทั้งพื้นที่เปล่า พื้นที่สำเร็จรูปตกแต่งพร้อมเข้าอยู่ ให้กับผู้เช้าได้เลือกใช้บริการ มี Swing Floor พื้นที่ทำงานชั่วคราวสำหรับผู้เช่าระหว่างการออกแบบตกแต่งสำนักงาน ที่มีการตกแต่งบางส่วนหรือทั้งหมดด้วยวัสดุและอุปกรณ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการเฉพาะของผู้เช่า เช่น ฉากกั้นแบบยืดหยุ่น เฟอร์นิเจอร์โมดูลาร์ เฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบให้สอดคล้องกับสรีระ ตลอดจนให้คำปรึกษาในการออกแบบและตกแต่งสำนักงาน   AWC คาดหวังกว่า การปรับโฉมใหม่ครั้งนี้ และการเตรียมเพิ่มประสบการณ์อันหลาหลายเหล่านี้ จะช่วยทำให้อัตราการเข้าใช้พื้นที่ขยับมากขึ้น เพราะตามพอร์ตอาคารสำนักงาน ที่ AWC บริหารงานอยู่มีอัตราการเข้าใช้พื้นที่มากกว่านี้ อาทิ อาคารสำนักงานแอทธินีทาวเวอร์ มีอัตราการเช่า 96% อาคาร 208 ไวร์เลส โรด อัตราเช่า 92% พร้อมกับดึงทราฟฟิคให้คนเข้ามาใช้บริการส่วนร้านอาหารและเครื่องดื่มได้อีกวันละ​ 5,000 คน จากปัจจุบันมีการหมุนเวียนการใช้บริการต่าง ๆ ภายในอาคารวันละ 20,000 คน ตอนนี้เป็นการบิวด์ธุรกิจให้กลับมา ช่วง 3 ปี เรารักษาการเช่าไว้ได้ที่ 70% แต่ควรขยับมากกว่านี้ ที่ไม่ขยับ   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -จากโรบินสันสีลม สู่ สีลมเอจ มิกซ์ยูส 1,800 ล้านของ เฟรเซอร์สฯ -ตลาดออฟฟิศ-โรงแรมในกรุงเทพฯ Q1 บทสรุป ยังบาดเจ็บจากพิษโควิด-19 -AWC เดินแผนขยายธุรกิจแสนล้าน เตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 9 แห่ง  
พรีโม ขาย IPO หุ้นละ 15 บาท 80 ล้านหุ้น  วางเป้า Top 3 บริการด้านอสังหาฯ ​

พรีโม ขาย IPO หุ้นละ 15 บาท 80 ล้านหุ้น วางเป้า Top 3 บริการด้านอสังหาฯ ​

พรีโม พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น เคาะราคา IPO 15 บาทต่อหุ้น พร้อมเปิดจองซื้อวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายนนี้ เตรียมระดมทุน 80 ล้านหุ้น ในตลาด เอ็ม เอ ไอ ต่อยอดธุรกิจบริการด้านอสังหาฯ ครบวงจร พร้อมใช้เทคโนโลยีเสริมการบริการ ตั้งเป้าขึ้น Top3 หลัง 9 เดือนกวดรายได้กว่า 604.26 ล้าน มีกำไรสุทธิ 156.02 ล้าน   หลังจากบริษัทแม่อย่าง ออริจิ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ไปก่อนหน้า พร้อมนำเอาบริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครืออีกหนึ่งบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคิวของบริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือ PRI ที่จะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เป็นรายต่อไป   นางสาวจตุพร วิไลแก้ว  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีโมฯ  เปิดเผยว่า บริษัทได้เริ่มต้นธุรกิจขึ้นตั้งแต่ปี 2554 ในธุรกิจให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ และเป็นนายหน้า และมีการจัดตั้งบริษัทต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการด้านอสังหาฯ จนปัจจุบันได้เตรียมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ​เนื่องจากเป็นบริษัทเรือธงของบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ซึ่งเดิมทางออริจิ้นถือหุ้น 100% จะปรับลดเหลือ 75% ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 160 ล้านบาท ชำระแล้ว 120 ล้านบาท   โดยปัจจุบันมีบริการที่หลากหลายตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ หรือก่อนเข้าอยู่อาศัย เข้าอยู่อาศัยแล้วและบริการหลังการขายอสังหาฯ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าอสังหาฯ ที่ต้องการพัฒนาโครงการและลูกค้ารายย่อย โดยสามารถให้บริการได้ตั้งแต่เริ่มออกแบบก่อสร้าง จนถึงโอนกรรมสิทธิ์และมีบริการหลังการขายอสังหาฯ ที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการด้านการอยู่อาศัยแบบวันสต็อปเซอร์วิส ภายใต้แนวคิด “Living Partner” เสมือนเป็นเพื่อนคู่คิดในการใช้ชีวิตร่วมกับลูกค้า สำหรับวัตถุประสงค์ของการระดมทุนครั้งนี้ เพื่อใช้ในการสร้างการเติบโตแบบออกานิคอย่างต่อเนื่อง ​ และการเพิ่มบริการให้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า ที่มีอยู่กว่า 30,000 ครัวเรือน 100 โครงการ และขยายไปสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเสริมบริการ อาทิ การเพิ่มบริการของแอปพลิเคชั่น PRIMO PLUS ด้านเฮลท์แคร์ การช้อปปิ้ง นอกจากนี้ ยังเสริมธุรกิจด้านต่าง ๆ ให้เติบโตเพื่อไปสู่เป้าหมายสำคัญ ในการขึ้นเป็นผู้นำ1 ใน 3  หรือ Top3 ตลาดธุรกิจบริการด้านอสังหาฯ ด้วย สาเหตุที่ออกมาจากออริจิ้น เพราะอยากเติบโตรองรับลูกค้าจาก One-time customer เป็น Life-time เพราะบริษัทเป็นฟันเฟืองที่ใหญ่ในธุรกิจอสังหาฯ ที่สามารถเติบโตได้ด้วยตนเอง สามารถรับลูกค้าได้ทั้งกลุ่มนอกออริจิ้นได้ด้วย 3 กลุ่มธุรกิจ 8 บริษัทในเครือ ปัจจุบันบริษัทฯ แบ่งการดำเนินธุรกิจเป็น 3 กลุ่ม ภายใต้การดำเนินงานของ 8 บริษัทย่อย ได้แก่ 1.ธุรกิจที่ปรึกษาและออกแบบทางวิศวกรรม (Pre-Living Services) โดยมีบริการที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้างโครงการอสังหาฯ  บริการออกแบบสถาปัตยกรรม งานวิศวกรรมและงานระบบ โดยได้รับมาตรฐาน ISO 9001: ด้านที่ปรึกษาและบริหารจัดการก่อสร้าง รวมถึงมีบริการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับอสังหาฯ และการพัฒนาบุคลากร 2.ธุรกิจบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Living Services) โดยให้บริการรับบริหารนิติบุคคลอาคารชุด บ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงาน บริการจัดหาผู้เช่าห้องชุดภายใต้แบรนด์ “พรีโม แมเนจเม้นท์” โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 มีลูกค้า 56 โครงการ และให้บริการดังกล่าวแก่โครงการระดับลักชัวรี่ภายใต้แบรนด์ “คราวน์ เรสซิเดนซ์” โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 มีลูกค้า 15 โครงการ (ไม่รวมลูกค้าจากบริการจัดหาผู้เช่าห้องชุด) นอกจากนี้ยังมีบริการรับบริหารจัดการอสังหาฯ เพื่อเช่าระยะยาวภายใต้แบรนด์ “แฮมตัน” (Hampton) บริการนายหน้าซื้อ ขาย ให้เช่า อสังหาฯ  ครบวงจร รวมถึงบริการที่ปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาฯ และการตลาด 3.ธุรกิจให้บริการหลังการขายอสังหาริมทรัพย์ (Living & Earning Services) โดยมีบริการต่างๆ ได้แก่ ออกแบบตกแต่งภายในบ้าน คอนโดฯ และพื้นที่ส่วนกลาง, ตกแต่งพื้นที่ส่วนกลาง สำนักงานขายโครงการอสังหาฯ, ทำความสะอาดที่พักอาศัยแบบทำสัญญาและรายครั้ง และบริการช่างและขนย้ายสิ่งของ ทั้งนี้ การที่บริษัทสามารถให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาฯ แบบครบวงจร ถือเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ๆ โดยฐานรายได้หลักของบริษัทมาจากการให้บริการ ซึ่งมีทั้งการทำสัญญาให้บริการแบบระยะยาว เช่น บริการที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง, บริหารนิติบุคคลอาคารชุด บ้านจัดสรร เป็นต้น และการให้บริการเป็นรายครั้ง รวมถึงมีฐานลูกค้าจากโครงการของ ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านรายได้แก่บริษัท  นอกจากนี้บริษัทมุ่งขับเคลื่อนการให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือ Tech Service Company โดยมีแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นช่องทางติดต่อและให้แก่บริการแก่ลูกค้า   นางสาวจตุพร กล่าวอีกว่า บริษัทวางกลยุทธ์การเติบโตด้วยการมุ่งเพิ่มศักยภาพการให้บริการและสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ แบบวันสต็อปเซอร์วิส เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านการอยู่อาศัยในทุกจังหวะการใช้ชีวิต หรือ “At Your Service, Every Moment” โดยจะมุ่งรักษาฐานลูกค้าเดิมใช้บริการต่อเนื่องและขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีศักยภาพ พร้อมทั้งวางแผนยายการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักในปัจจุบัน ควบคู่กับการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีไอทีและดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ มุ่งสู่ผู้นำของธุรกิจให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจร 9 เดือนกวาดรายได้กว่า 600 ล้าน ด้านนางสาวนุชจรีย์ จิตต์อาจหาญ ผู้บริหารสายงานบัญชีและการเงิน กล่าวว่า บริษัทมีผลการดำเนินงานเติบโตแข็งแกร่ง โดยในปี 2562 – 2564 มีรายได้รวม 255.69 ล้านบาท 266.51 ล้านบาท และ 489.56 ล้านบาทตามลำดับ เติบโตเฉลี่ย 30.48% ต่อปี และมีกำไรสุทธิ 34.52 ล้านบาท 40.05  ล้านบาท และ 111.25 ล้านบาทตามลำดับ เติบโตเฉลี่ย 74.09% ต่อปี ส่วนผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกของ   ปี 2565 มีรายได้รวม 604.26 ล้านบาท เติบโต 95.92% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 156.02 ล้านบาท เติบโต 128.17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้ทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจเติบโตได้ดีและมีอัตราการทำกำไรที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ณ งวด 9 เดือนแรกของปี 2565 อยู่ที่ 61.62% และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อยู่ที่ 81.20% เคาะราคาหุ้นละ 15 บาท ระดม 80 ล้านหุ้น ขณะที่นายประเสริฐ ตันตยาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า ความคืบหน้าการนำ บริษัท​ พรีโมฯ หรือ PRI เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ หลังจากที่ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุมัติ   ล่าสุด ได้รับการอนุมัติแบบคำขอฯ และแบบไฟลิ่งมีผลใช้บังคับแล้ว โดย บมจ.พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญ ที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ เพื่อนำเงินจากการระดมทุนไปใช้ขยายกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจในปัจจุบัน และพัฒนาเทคโนโลยีในการให้บริการลูกค้า รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ   โดย PRI เป็นบริษัทที่มีศักยภาพเติบโตได้อีกมากตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาฯ และความต้องการใช้บริการด้านการอยู่อาศัย โดยมีบริการที่สามารถตอบสนองลูกค้าที่เป็นโครงการอสังหาฯ และลูกค้ารายย่อย   ส่วนนางสาวยอดฤดี สันตติกุล กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า บมจ.พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น ได้กำหนดราคาเสนอขาย IPO ที่ราคาหุ้นละ 15 บาท ซึ่งมองว่าเป็นราคาที่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานและศักยภาพการเติบโตในอนาคต โดยจะเปิดให้นักลงทุนจองซื้อในวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายนนี้ ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด และผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย 5 ราย   โดยคาดว่าจะนำหุ้น PRI เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยเชื่อว่า PRI จะเป็นหุ้น IPO ที่ได้รับความสนใจที่ดีจากนักลงทุน ด้วยจุดแข็งด้านบริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาฯ แบบครบวงจร มีฐานลูกค้าที่มั่นคง มีรายได้ประจำที่มาจากการทำสัญญาระยะยาวกับลูกค้า และผลประกอบการที่ผ่านมาที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โชว์ศักยภาพธุรกิจเป็นผู้ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ครอบคลุมต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ตั้งแต่ก่อนเข้าอยู่อาศัย เข้าอยู่อาศัยแล้วและบริการหลังการขายอสังหาฯ ส่วนกำไรสุทธิงวด 9 เดือนแรกของปี 2565 อยู่ที่ 156.02 ล้านบาท เติบโต 128.17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน วางกลยุทธ์ขยายบริการใหม่มุ่งสู่ผู้นำของธุรกิจให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจร   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เปิดโรดแมพธุรกิจ “ออริจิ้น” ใน 3 ปี ปูทางสู่มาร์เก็ตแคปกลุ่มธุรกิจ 1 แสนล้าน -พรีโม เตรียม IPO ในปลายปีนี้ วางเป้าขึ้น Top3 ด้านบริการอสังหาฯ ​ครบวงจร
เปิดเหตุผล  เซ็นทรัลพัฒนา  ทุ่ม 14,000 ล้าน ปั้นมิกยูสต์ 2 โปรเจ็กต์  ปักหมุด นครสวรรค์-นครปฐม

เปิดเหตุผล เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่ม 14,000 ล้าน ปั้นมิกยูสต์ 2 โปรเจ็กต์ ปักหมุด นครสวรรค์-นครปฐม

“เซ็นทรัลพัฒนา” ต่อยอดแผนธุรกิจ 5 ปี ปั้นมิกซ์ยูสโมเดลใหม่ยกระดับคุณภาพชีวิต ประกาศลงทุน รวม 14,000 ล้านบาท ขึ้น 2 โปรเจ็กต์ “เซ็นทรัล นครสวรรค์” และ “เซ็นทรัล นครปฐม” เตรียมเปิดให้บริการในปี ​2567 ปั้นเมืองศักยภาพ พาคู่ค้าเติบโตทั่วประเทศ   นายชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล Chief Development and Commercial Officer บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้วางแผนต่อยอดแผนธุรกิจ 5 ปี (2565-2569) ด้วยการวางงบลงทุนรวม 14,000 ล้านบาท ในการพัฒนา 2 โครงการใหม่ ในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดนครปฐม เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ โดยเตรียมเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2567  ตามแผนธุรกิจ 5 ปี เราลงทุนในธุรกิจหลักของเรารวมกว่า 120,000 ล้านบาท และขยายโครงการกว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศ จากความสำเร็จดังกล่าว จึงขยายโครงการใหม่ เซ็นทรัล นครสวรรค์ และ เซ็นทรัล นครปฐม ที่มีเป้าหมายเพื่อ สร้างเมืองใหม่-เจาะกลุ่มรายได้สูงมีไลฟ์สไตล์แบบคนเมือง-ขยายโอกาสธุรกิจเพื่อคู่ค้า ปักหมุดประตูสู่ภาคเหนือ “เซ็นทรัลนครสวรรค์” สำหรับจังหวัดนครสวรรค์ ซีพีเอ็นจะใช้งบประมาณ 5,800 ล้านบาท ในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส “เซ็นทรัล นครสวรรค์” ขนาดพื้นที่ 76,000 ตร.ม. บนที่ดิน 42 ไร่  ซึ่งนอกจากศูนย์การค้า จะยังมีโรงแรมขนาด 200 ห้อง, คอนโดมิเนียม และ Urban Park ขนาดใหญ่ 2 ไร่  และโรงพยาบาล​ โดยโครงการจะเปิดให้บริการช่วงไตรมาส 1/2567   โดยทางซีพีเอ็น วางแผนพัฒนา เซ็นทรัลนครสวรรค์ ให้เป็น แลนด์มาร์กใหม่เพื่อชีวิตที่มีคุณภาพ (Landmark of Quality Living) ซึ่งจะมีสวนขนาดใหญ่บนพื้นที่ 2 ไร่  “Urban Park” ซึ่งออกแบบให้เป็น Multi-Generation Space สำหรับทุกคนทุกวัยในครอบครัว ประกอบด้วย Playground, Pet’s Park และไฮไลท์อย่าง Longevity Hill ที่ดีไซน์ให้เป็น Vertical Walkway มี running track, bike track  มีการดีไซน์ Wellness Zone ภายในโครงการให้เชื่อมโยงกับ Neighbouring Component อย่างโรงพยาบาล ประกอบด้วย Fitness, Sport Anchors, Beauty Services เป็นต้น เป็นศูนย์การค้าที่มีคอนเซ็ปต์ดีไซน์ represent เมืองปากน้ำโพ ผสมผสาน Chinese meets Thai Culture เข้ามาในส่วนต่างๆ  ซึ่งมีสินค้าจากแบรนด์ต่าง ๆ รวมกว่า 400 แบรนด์ ซึ่งมีการออกแบบแต่ละโซนแบบ Holistic View ที่เชื่อมโยงแต่ละโซนอย่างเช่น Chinese Village ที่ประกอบด้วย Food Destination, Chinese Market, Authentic Café, Supermarket นอกจากนี้ยังมีร้านค้าแบรนด์ต่าง ๆ ในกลุ่มเซ็นทรัล ​ทั้งเซ็ลทรัลดีพาร์ทเมนท์สโตร์ ซูเปอร์สปอร์ต เพาเวอร์บาย ท็อปส์ บีทูเอส ออฟฟิศเมท ​และ go! WOW   โดยเหตุผลสำคัญที่ซีพีเอ็นลงทุนในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นเพราะ 1.การเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งภาคเหนือตอนล่าง (New Rising Economic City) เป็นประตูสู่จังหวัดภาคเหนือ (Gateway to the north) และตั้งอยู่บนแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridors (NSEC) และแผนเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐ เช่น รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ, รถไฟทางคู่สายนครสวรรค์-แม่สอด และส่วนต่อขยายของทางรถไฟสายเหนือ ศูนย์กลางด้านการขนส่งไปสู่จังหวัดภาคเหนือ (Logistic Hub)  นครสวรรค์เป็นจังหวัดศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ สำหรับการขนส่งสินค้าไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือ ซึ่งเซ็นทรัล นครสวรรค์ จะเป็นอีกหนึ่ง Hub สำคัญที่เชื่อมโยงโครงการของเซ็นทรัลพัฒนาในภาคกลางและภาคเหนือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ให้กับคู่ค้าผู้เช่า ในการขยายโอกาสทางธุรกิจ 2.ศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว (Hub of Cultural Tourism) นครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยว และศูนย์รวมเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย-จีน เมืองปากน้ำโพ เพราะเป็นเมืองต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา มีชุมชนชาวจีนใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ และเทศกาลตรุษจีนก็เป็นหนึ่งในเทศกาลใหญ่ของจังหวัด รองจากกรุงเทพฯ และภูเก็ต  เซ็นทรัลนครสวรรค์ จึงวางแผนดีไซน์ภายในศูนย์การค้าด้วยการชู Local Essence ผสมผสาน Thai-Chinese Culture เป็นอีกหนึ่ง Attraction ที่จะทำให้นครสวรรค์เป็นมากกว่าเมืองผ่าน สู่เมืองท่องเที่ยวที่ผู้คนต้องมาเยือน 3.มีกลุ่มครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนที่กำลังซื้อสูง (Affluent Multi-Generation Families) กลุ่มครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน กำลังซื้อสูง หลากหลายช่วงวัย ไลฟ์สไตล์คนเมือง GPP หรือ ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว มีกว่า 120,000 บาทต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับจังหวัดขอนแก่น รายได้ต่อครัวเรือน (Household Income) มากกว่า 21,000 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าจังหวัดเชียงราย มีกลุ่มครอบครัวคนรวย ซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายจีน (Multi-Generation Thai-Chinese Families) ครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน คนรวยนครสวรรค์ คือกลุ่มนักธุรกิจ คุ้นเคยกับ Urban lifestyle โดยจากข้อมูลที่เรามี ชาวนครสวรรค์เดินทางมาช้อปที่สาขาในกรุงเทพฯ จำนวนมาก อันดับหนึ่งคือ เซ็นทรัล ลาดพร้าว รองลงมาที่เซ็นทรัลเวิลด์ ประชากรในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ กำแพงเพชร, อุทัยธานี, ชัยนาท, ลพบุรี และพิจิตร มีรวมกว่า 1,000,000 คน อสังหาฯ ที่อยู่อาศัย (Housing Growth) เติบโต 6% ใน 5 ปี ราคาเฉลี่ยประมาณ 2.5 ล้านบาท พลิกที่ดิน 100 ไร่ ปั้น “เซ็นทรัลนครปฐม” 8,200 ล้าน แม้ว่าซีพีเอ็นจะมีโครงการใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นเซ็นทรัล ศาลายา หรือเซ็นทรัล มหาชัย แต่ก็วางแผนพัฒนาโครงการ “เซ็นทรัล นครปฐม” มูลค่าโครงการ 8,200 ล้านบาท บนที่ดินเกือบ 100 ไร่ เพราะมองศักยภาพและโอกาสทางการตลาดของจังหวัดนครปฐม ที่สามารถพัฒนาโครงการออกมารองรับได้   โดยโครงการ เซ็นทรัล นครปฐม ประกอบไปด้วย ศูนย์การค้า ขนาดพื้นที่ 69,000 ตร.ม. โดยจะเปิดให้บริการช่วงไตรมาส 2/2567  โรงแรมขนาด 200 ห้อง โครงการคอนโดมิเนียม  หมู่บ้านจัดสรร และ Urban Park ขนาดใหญ่ 4 ไร่ ซึ่งเป็นการพัฒนาภายใต้แนวคิด เมืองคนรุ่นใหม่ ใส่ใจความยั่งยืนและพื้นที่ Co-Creation สำหรับทุกคน  ซึ่งเป็นการนำความสำเร็จในการสร้างพื้นที่ Semi-Public จากเซ็นทรัล จันทบุรีมาไว้ที่นี่ด้วย แต่ที่นครปฐมจะโดดเด่นด้วย พื้นที่กิจกรรมสำหรับทุกคนในครอบครัว, Community Leisure Park และพื้นที่งาน Art & Craft และพื้นที่ Co-Creation กับกลุ่มนักเรียน นักศึกษาหรือ Young Co-Creator / Younger Mind เซ็นทรัล นครปฐม ยังจะมีร้านค้าและแบรนด์สินค้าพันธมิตรธุรกิจในกลุ่มเซ็นทรัลเข้ามาเปิดบริหาร ได้แก่ บีทูเอส ออฟฟิศเมท  เพาเวอร์บาย ท็อปส์ มาร์เก็ต ซูเปอร์สปอร์ต และ​ go! WOW  นอกจากนี้ ยังมีโซนไฮไลท์อื่น ๆ อาทิ Pathom Landmark: สะท้อนความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมและไลฟ์สไตล์ของคนนครปฐม, Pathom Samosorn: Authentic Lifestyle Food Destination กับพื้นที่ Semi-Outdoor Market และ Pathom Club เป็น Sport Fashion Destination ประกอบด้วยสินค้า Sport Fashion, Gadget, Fitness และ Running Track ที่เชื่อมต่อกับโซน Park ที่อยู่ใจกลางโครงการ สำหรับอาคารของโครงการ ยัง​ถูกพัฒนาภายใต้​มาตรฐาน Green Building มี Sustainable Design อาทิ Natural Light, Solar Roof ลดการใช้พลังงาน, Waste Management   ส่วนเหตุผลสำคัญที่ซีพีเอ็นเลือกพัฒนาโครงการในจังหวัดนครปฐม เป็นเพราะ 1.เป็นเมือง Strategic Move ในการขยายไปภาคตะวันตกโดยมีนครปฐมเป็น ประตูเชื่อมไปยังจังหวัดใกล้เคียงคือราชบุรี และกาญจนบุรี ทำเลที่ตั้งโครงการ อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยและสถานที่สำคัญ ทำหน้าที่เป็น Center ของเมือง ตอบโจทย์ลูกค้าได้โดยไม่ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เดินทางสะดวกด้วยมอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี และมอเตอร์เวย์ ชลบุรี-สระบุรี-นครปฐม ยุทธศาสตร์จังหวัด นครปฐมถูกวางให้เป็น Smart City และ Eco Industrial Town หรือเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่สร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และสังคมชุมชน 2.นครปฐมเมืองท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และธรรมชาติ (Heritage and Nature) Heritage: มีเสน่ห์ของเมืองเก่า และความรุ่งเรืองของ “อู่อารยธรรม” และแลนด์มาร์กสำคัญอย่างพระปฐมเจดีย์ โครงการเซ็นทรัล นครปฐมจึง เข้ามาต่อยอดความเป็นเมืองที่มีเสน่ห์และมีเรื่องราว Nature: เมืองที่มีพื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติถึง 35-40% ของพื้นที่สีเขียวทั้งหมดของจังหวัด โครงการเซ็นทรัล นครปฐม ยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ให้กับเมืองด้วย 3.เป็นเมืองคนรุ่นใหม่ และมีรายได้สูง (Attractive & Powerful Spenders)   ติดอันดับ 10 จังหวัดที่มี GPP (ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว) สูงที่กว่า 375,000 บาท มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ รายได้ครัวเรือนสูง เติบโตจากปีที่แล้วถึง 5% อยู่ที่ประมาณ 34,000 บาท ต่อเดือน ประชากรกว่า 1,000,000 คน  ที่อยู่ในจังหวัดนครปฐม และยังขยาย New Catchment ไปราชบุรี กาญจนบุรี มีจำนวนคนในเมืองเดินทางเข้ามากว่า 200,000 คนในช่วงระหว่างสัปดาห์ คนในนครปฐม, คนทำงาน, นักเรียนนักศึกษา เป็น Universities Hub นับเป็นอีกหนึ่งกลุ่มประชากรหลักของเมือง เป็นกลุ่มที่ต้องใช้ชีวิต เรียนหนังสือ ไม่ได้แค่เดินทางไป-กลับ การเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวปีละกว่า 4 ล้านคน เป็นชาวไทย 97%, ต่างชาติ 3%ซึ่งจังหวัดนครปฐมตอบโจทย์นักท่องเที่ยว และนักเดินทางที่มาพักผ่อนในช่วงสุดสัปดาห์ อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เปิดงบลงทุน 120,000 ล้าน เซ็นทรัลพัฒนา ใช้ไปกับธุรกิจอะไรบ้าง -เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่มงบ 120,000 ล้านบาทใน 5 ปี ตั้งเป้า องค์กร Mixed-use Developer รายแรกสู่ Net Zero ปี 2050
AWC  เดินแผนขยายธุรกิจแสนล้าน  เตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 9 แห่ง

AWC เดินแผนขยายธุรกิจแสนล้าน เตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 9 แห่ง

awc AWC เดินแผนธุรกิจ 5 ปี ลงทุน 100,000 ล้าน ทั้งขยายโครงการใหม่ และซื้อกิจการ รับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ที่ทั้งปีน่าจะทำตัวเลขต่างชาติทะลุ 10 ล้านคน เตรียมขยายพอร์ตโรงแรมเพิ่มอีก 9 แห่ง จากปัจจุบันมีอยู่ 19 แห่งทั่วประเทศ พร้อมจับมือ ททท. กระตุ้นท่องเที่ยวตามนโยบาย ททท. พันธมิตรทางภาครัฐ   ตอนนี้ประเทศไทยได้เปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางกลับเข้ามาในประเทศกันมากขึ้นแล้ว ข้อมูลล่าสุดจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รายงานว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 26 ตุลาคม 2565 มีจำนวน 7.39 ล้านคน หรือเฉลี่ยเดือนละ 51,000 คน โดยคาดว่าภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ตัวเลขน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 ล้านคน และภายในสิ้นปีนี้น่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทย 10 ล้านคน และปีหน้าตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน   สัญญาณการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวนี้ ได้สร้างความเชื่อมั่นในธุรกิจการท่องเที่ยวให้กับ AWC หรือ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) ที่จะเดินหน้าตามแผนธุรกิจขยายพอร์ตโรงแรมและธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะแผนธุรกิจในระยะ 5 ปี (2565-2569) ในการลงทุน 100,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการต่าง ๆ พร้อมลงทุน แสนล้านเพิ่มพอร์ตธุรกิจ นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  AWC เปิดเผยว่า ตามแผนธุรกิจในระยะ 5 ปี โดยเริ่มนับจากปี 2565 นี้ บริษัทได้วางงบลงทุนไว้ 100,000 ล้านบาท  เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาโครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจำนวน 15 โครงการ มูลค่ารวม 60,000 ล้านบาท ส่วนอีก 40,000 ล้านบาท จะมองโอกาสในการเข้าซื้อกิจการ รวมถึงการลงทุนที่เน้นการพัฒนาสู่ความยั่งยืนพร้อมกับการบริหารต้นทุนและกระแสเงินสดจากการที่ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น   โดยปัจจุบันยังมีโรงแรมที่เข้ามาเสนอขายให้กับบริษัทจำนวนกว่า 200 โรงแรม มีโรงแรมหลายขนาด ซึ่งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งบริษัทจะพิจารณาดูศักยภาพและคัดเลือกโรงแรมที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัท​ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุป ​จากช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมาได้มีการซื้อโรงแรมไปแล้วหลายแห่ง   ส่วนโรงแรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาปัจจุบัน มี 9 แห่ง ได้แก่ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง โรงแรมเจดับบลิว แมริออท เดอะ พัทยา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา โรงแรมพัทยา แมริออท มาร์คีส์ โรงแรมอควาทีค พัทยา ออโตทราฟ คอลเลคชัน โรงแรมพัทยา แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา แอท จอมเทียนบีช ​ โรงแรมเดอะ ริทช์ – คาร์ลตัน แบงค็อก เดอะ ริเวอร์ไซต์  โรงแรมเจดับบลิว แมริออท มาร์คีส์ โฮเทล เอเชียทีค กรุงเทพ โรงแรมดิ เอเชียทีค แบงค็อก, ออโตกราฟ คอลเลคชัน และโรงแรมอินน์ไซด์ กรุงเทพ สุขุมวิท   ทั้งนี้ ในจำนวนโรงแรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาปัจจุบัน จะมีโรงแรมที่พร้อมเปิดให้บริการในปี 2566 จำนวน 400 ห้อง จากช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทมีจำนวนโรงแรมและห้องที่​บริหารงานและดำเนินการอยู่ 19 แห่ง จำนวน 5,195 ห้อง เพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2562 ที่มีจำนวนห้อง 4,200 ห้อง โดยช่วงเวลาดังกล่าวโรงแรมในกลุ่ม AWC มีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 79% ในช่วงเกิดสถานการณ์โควิด ได้คุยกับพันธมิตรระดับโลก เขาบอกว่านักเดินทางจะกลับมาเมืองไทย เนื่องจากไทยมีมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวที่ชัดเจนอย่างมาตรฐาน SHA ปัจจุบันอัตราการจองเข้าพักล่วงหน้า (Booking) มีอัตราการจองที่สูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิดในปี 2562 แล้ว เฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมนี้ อัตราการจองแบบก้าวกระโดด เนื่องจากประเทศไทยจะมีการจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค และเป็นช่วงไฮซีซั่นที่มีกิจกรรมต่าง ๆ ​โดยอัตราการเข้าพักช่วงที่ผ่านมาอยู่ในระดับ​ 30-40% และปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50% ส่วนปัจจุบันปัจจุบันมีอัตราจองเข้าพัก​ 60% ทำให้อัตราการจองมีต่อเนื่องถึงกลางปี 2566 ถือเป็นสัญญาณที่ดี มีอัตราการจองวันละ​ 51,000 คน แม้จะเป็นครึ่งหนึ่งจากปี 2562 ที่เฉลี่ยวันละแสนคน เพราะต้องรอสายการบินกลับมาบิน แต่รายได้ต่อห้อง​ หรือ Room rate สูงขึ้น จากคืนละ 4,200 บาทเป็นคืน 4,900 บาท เพราะได้นักท่องเที่ยวคุณภาพ เดินหน้าการท่องเที่ยวยั่งยืน นอกจากการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตแล้วบริษัทยังมีพันธกิจ “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” เพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยอย่างยั่งยืน และ เชื่อมั่นว่าการรวมพลังและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะสามารถร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก   ล่าสุด ได้ตอบรับนโยบาย “ททท. พันธมิตรทางภาครัฐ” กับทางททท. ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันและเป็นศูนย์กลางรวบรวมผู้ประกอบการทั้งหมดมาร่วมสร้างคุณค่าให้กับการท่องเที่ยวยั่งยืนของไทยไปด้วยกัน โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินธุรกิจตามแผนกลยุทธ์ความอย่างยั่งยืนตลอดการะบวนการดำเนินงาน และโครงการต่างๆ  อาทิ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก, อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล ได้เป็นโรงแรมแห่งแรกของโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 20121 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านการจัดงานอย่างยั่งยืน   ทั้งนี้  บริษัทได้ตั้งเป้าหมายสำคัญ จะเป็น Carbon Neutral คือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ รวมไปถึงไม่มีขยะฝังกลบจากการดำเนินงาน ภายในปี 2572 โดยในช่วง 5 ปีจากนี้ ตั้งแต่ปี 2565-2569 บริษัทจะเน้นลงทุนพัฒนาโครงการตามกลยุทธ์ Carbon Neutral ที่คำนึงถึงมาตรฐานอาคารสีเขียว และได้รับการรับรองมาตรฐาน EDGE ด้วย สำหรับการดำเนินงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ  AWC และพันธมิตรจากภาคส่วนต่างๆ ดำเนินการภายใต้ 3 เสาหลัก 6 มิติ หรือ 3BETTERs ได้แก่ 1.สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น (BETTER PLANET) การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการดำเนินธุรกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตั้งแต่กระบวนการวางแผนและก่อสร้าง การจัดการ และการบริหารงาน ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรในการบูรณาการกรอบแนวคิดในระดับสากลเข้ามาใช้ในการพัฒนาโครงการตามมาตรฐานอาคารสีเขียว ทั้งผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ ผู้รับเหมา ที่ปรึกษาโครงการ และอื่นๆ ต่อเนื่องถึงพันธมิตรในด้านการจัดการและบริหารการดำเนินงานที่จะร่วมรวมพลัง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 2.คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (BETTER PEOPLE) การพัฒนาบุคคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร การยกระดับการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและชุมชน ผ่านความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นในการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืนผ่านโครงการ “เดอะ GALLERY” ที่มุ่งจัดจำหน่ายสินค้าฝีมือคนในชุมชน อีกทั้งยังเป็นอีกช่องทางที่ช่วยชุมชนเพิ่มมูลค่างานศิลปะ ซึ่ง AWC ตั้งใจขอชวนพันธมิตรและชุมชนติดต่อ เดอะ GALLERY เพื่อเพิ่มสินค้าและผลงานศิลปะเพื่อเป็นช่องทางการขาย ผ่านโครงการต่างๆ ของบริษัท​ ทำการตลาดถึงลูกค้าจากทั่วโลก 3.เศรษฐกิจที่ดีขึ้น (BETTER PROSPERITY) การผลักดันให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและกระตุ้นความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในวงกว้าง โดยวางแผนกลยุทธ์องค์กรให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผ่านการลงทุนพัฒนาบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่หลากหลายของบริษัทฯ สร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชนและธุรกิจท้องถิ่น สร้างคุณค่าทวีคูณและธุรกิจองค์รวม (Ecosystem) ที่แข็งแกร่ง เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก อีกทั้งส่งเสริมให้เศรษฐกิจประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดด     อ่านข่าวเพิ่มเติม -AWC ปี 64 ทำกำไรกว่า 861 ล้าน หลังคลายล็อกดาวน์-เปิดการท่องเที่ยว -[PR News] AWC ทุ่มงบ 435 ล้าน ซื้อ “ดุสิต ดีทู เชียงใหม่” ผนึกกำลัง “กลุ่มดุสิตธานี” เดินหน้ากระตุ้นการท่องเที่ยวภาคเหนือ  
4 โซนไฮไลท์ ใน “เกษรอัมรินทร์”   ชื่อใหม่ของ อัมรินทร์พลาซ่า

4 โซนไฮไลท์ ใน “เกษรอัมรินทร์”  ชื่อใหม่ของ อัมรินทร์พลาซ่า

เกษร พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป ทุ่ม 1,000 ล้าน พลิกโฉม อัมรินทร์พลาซ่า ศูนย์การค้าเก่ากว่า 40 ปี สู่ “เกษรอัมรินทร์” ต่อยอดโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส สร้างความสมบูรณ์แบบให้ย่านราชประสงค์ กับ 4 โซนไฮไลท์ที่พร้อมให้บริการปี 66 นี้   หลังจากเกษร พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป ได้ปรับโฉมศูนย์การค้าเกษรและพื้นที่สำนักงานใหม่ กลายเป็น เกสรวิลเลจ ต่อยอดการเป็นจุดไฮไลท์สำคัญของย่านราชประสงค์แล้ว ตอนนี้ก็เดินหน้าปรับโฉม อัมรินทร์พลาซ่า ศูนย์การค้าเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ย่านราชประสงค์ กับรูปโฉมใหม่ ที่จะมาเติมเต็มให้แยกราชประสงค์แลนด์มาร์คและพื้นที่ใจกลางธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ ให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้   สำหรับเกษรอัมรินทร์ เดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ “อัมรินทร์พลาซ่า” ที่มีตำนานอันยาวนานกว่า 40 ปีของประเทศไทยในย่านราชประสงค์ กำลังเข้าสู่มิติใหม่ของความเป็นศูนย์กลางแห่งไลฟ์สไตล์อินเทรนด์ในแนวคิด Immersive Experience สร้างสีสันและประสบการณ์ใหม่ที่เจิดจรัสบนย่านที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและความงดงามที่สั่งสมจากหลายมิติ ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ การผสมผสานของความล้ำสมัย ในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและระดับโลก 4 โซนไฮไลท์ ใน “เกษรอัมรินทร์” โดยเกษรวิลเลจ ยกระดับจากโครงการมิกซ์ยูสสู่การพัฒนา “Placemaking” อย่างเต็มรูปแบบแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย เริ่มปรับโฉมครั้งใหญ่ของ “เกษรอัมรินทร์”  ให้เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ และพื้นที่ให้กลุ่ม like-minded community พบปะและมีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างลงตัว  ซึ่งเตรียมเปิดบริการอย่างเป็นทางการใน ไตรมาส 4 ปี 2566   โฉมใหม่ของ เกษรอัมรินทร์ จะเป็นการขยายพื้นที่ของแต่ละองค์ประกอบ (Component) พร้อมกับการรังสรรค์พัฒนาควบคู่กับแบรนด์ บริษัทชั้นนำทั้งระดับโลก และชั้นนำของประเทศไทย เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับกลุ่มผู้ใช้บริการและลูกค้า ซึ่งจะมี 4 โซนไฮไลท์ที่สำคัญ  ได้แก่ 1.Fashion Style Component ต่อยอดจาก Designer Lane พื้นที่รวบรวมแบรนด์แฟชั่นระดับโลก เพิ่มเติมแบรนด์แอคทีฟแฟชั่นสปอร์ตเข้ามาในพื้นที่ให้ลูกค้าและดีไซเนอร์ได้มาเจอกั   สำหรับพื้นที่โซน Fashion Style Component ต่อยอดจาก Designer Lane  จะมีแบรนด์แฟชั่นระดับโลก อาทิ Club 21, Comme des Garçons, Diane Von Furstenberg, Boss by Hugo Boss, Boyy, Max Mara และอีกมากมาย ขยายเพิ่มเติมแบรนด์แอคทีฟแฟชั่นสปอร์ตเข้ามาในพื้นที่ พร้อมจัดกิจกรรมให้เป็นพื้นที่ที่ให้เหล่าดีไซเนอร์ชั้นนำของโลกและประเทศไทยได้จัดแสดงผลงาน art & culture แชร์ประสบการณ์ และเรื่องราวของผลงานให้กับลูกค้าที่ชื่นชอบในตัวดีไซเนอร์ 2.Food Style Component ขยายส่วนของ Gaysorn Food Village จากปัจจุบันที่รวบรวมร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ เติมเต็มด้วยร้านอาหารที่เป็น specialty ที่ร่วมรังสรรค์ใหม่กับเชฟ และมิกโซโลจิตส์ระดับรางวัล   พื้นที่ Food Style Component จะมีร้านอาหารชั้นนำ ตั้งแต่ร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ ได้แก่ Ginza Sushi Ichi, Paste ร้านโอมากาเสะ ร้าน One & Only และ First to Thailand (new to market) ได้แก่ Hei Yin, Burger & Lobster, Isola เติมเต็มประสบการณ์ให้ผู้คนได้สังสรรค์ในพื้นที่ Hanging Garden เกษรอัมรินทร์ นำเสนอ Specialty Food & Beverage เช่น ร้าน Izakaya ร้าน Thai Grill และร้านอาหารคอนเซ็ปต์ใหม่ ๆ จากเชฟระดับรางวัล รวมไปถึงพื้นที่บาร์ รังสรรค์โดยมิกโซโลจิสต์ระดับประเทศ ที่จะเป็นศูนย์กลางของแหล่งแฮงเอาท์ที่ใหม่ในย่านราชประสงค์ 3.Life & Wellness style  ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าคนเมือง คำนึงไปถึงการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี การออกกำลังกาย และพัฒนาความสวยความงามของแต่ละบุคคล รวมไปถึงไลฟ์สไตล์แบบลักชัวรี และผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรม outdoor sport   โซน Life & Wellness style Component curate concept Gaysorn Urbanist Retreat ได้ถูกพัฒนาพื้นที่ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าคนเมือง โดยคำนึงถึงการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี การออกกำลังกาย และพัฒนาความสวยความงามของแต่ละบุคคล และผู้ใช้ชีวิตในเมืองให้บาลานซ์ชีวิตในการทำงานและการดูแลตนเอง รวมไปถึงการรวบรวมแบรนด์ไลฟ์สไตล์แบบลักชัวรีจากแบรนด์ระดับโลก อาทิ Steinway & Sons, Bang & Olufsen, Leica, Rimowa ฯลฯ ไปจนถึงผู้ที่ชื่นชอบใช้ชีวิตแบบแอคทีฟ และกิจกรรม outdoor sport ต่าง ๆ เช่น Camping ปีนเขา และเล่นเซิร์ฟ ฯลฯ 4.Workstyle Component ด้วยคำนึงถึงการใช้ชีวิตของคนทำงานในเกษรวิลเลจ และในย่านราชประสงค์ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้อย่างสะดวกสบาย และสนุกไปกับการใช้ชีวิตอย่างลงตัว   โซน Workstyle Component ที่คำนึงถึงการใช้ชีวิตของคนทำงานในเกษรวิลเลจและในย่านราชประสงค์ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มพื้นที่ที่ให้คนกลุ่ม workstyle สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน รวมถึงพันธมิตรในธุรกิจ ได้อย่างสะดวกสบาย และสนุกไปกับการใช้ชีวิตอย่างลงตัว ทุ่ม 1,000 ล้านพลิกโฉม เกษรอัมรินทร์ โฉมใหม่ของ “เกษรอัมรินทร์” ครั้งนี้ มีบริษัท CL3 สถาปนิกชื่อดังที่มาสร้างสรรค์ และออกแบบให้เกษรวิลเลจมีประสบการณ์ต่อเนื่องอย่างไร้รอยต่อ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Old-New Spirit” กับการสืบสานคุณค่าที่มีมาจากในอดีตพร้อมก้าวสู่อนาคตเบื้องหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน   นายชาญ ศรีวิกรม์ ประธานบริหารกลุ่มเกษร พร๊อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป เล่าว่า เส้นทางการพัฒนาเกษรวิลเลจในวันนี้และในอนาคตจะเหนือกว่าการเป็นห้างสรรพสินค้าที่พร้อมให้ทุกคนเข้ามาพบกับประสบการณ์การช้อปปิ้ง หรือเป็นอาคารมิกซ์ยูสที่รวม 3 อาคาร ได้แก่ เกษรทาวเวอร์ เกษรเซ็นเตอร์ และเกษรอัมรินทร์ ที่ไม่เพียงแต่มอบความหลากหลายของการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังจะมีบทบาทใหม่ของการเป็นผู้พัฒนา Placemaking สร้างพื้นที่ที่ทุกคนสามารถดื่มด่ำหรือร่วมสร้างแรงบันดาลใจ และความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างมีเอกลักษณ์ในแบบฉบับของแต่ละบุคคล เกษรวิลเลจจะทำให้ทุกคนได้สัมผัสกับวิถีการใช้ชีวิตที่เพิ่มคุณค่า สร้างความผูกผัน และใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ในเออร์บันวิลเลจที่โดดเด่นและแตกต่าง หลอมรวมกันได้จาก 4 Component ที่เราจัดเตรียมไว้ หนึ่งในความสำเร็จของเกษรวิลเลจกับการเป็นผู้พัฒนา Placemaking ในรูปแบบ “วิลเลจ” คือการสร้างการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อของผู้คนที่เข้ามาใช้บริการในพื้นที่ จากการเริ่มพัฒนาเฟสแรกทางฝั่งเหนือคือ เกษรเซ็นเตอร์ และเกษรทาวเวอร์ ในปี 2560 โดยมี Ratchaprasong Walk (R Walk) ให้เข้าถึงอาคารได้สะดวกสบายหลายจุด โดยรูปลักษณ์ใหม่ของเกษรอัมรินทร์สัมผัสได้จากการดีไซน์มุมมองใหม่ด้านหน้าอาคาร (Façade) เป็นแนวคิดสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “เกษร โคคูน” (Gaysorn Cocoon) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากรังไหม อันเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญเติบโตงอกงามอย่างสวยงาม พร้อมการผสมผสานไปกับเสาโรมัน ที่เป็นสัญลักษณ์ของความรอบรู้ และภูมิปัญญาอย่างยั่งยืน การออกแบบยังได้คำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) โดยจะมีประสบการณ์จากทั้งภายนอกเชื่อมโยงสู่ภายในอาคาร เติมเต็มพื้นที่สีเขียว และสร้างสถานที่ตอบโจทย์ผู้คนให้ได้มาพบปะสังสรรค์ในพื้นที่ Hanging Garden อีกด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่ลานอเนกประสงค์ Piazza ที่กว้างขวางเปิดรับผู้คน สอดประสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่นอกอาคารจรดถนน สร้างสรรค์บรรยากาศอันสดใสเหมาะสำหรับการจัดอีเวนต์ต่าง ๆ ตลอดจนพื้นที่ Forum ด้านใน เป็นพื้นที่อีเวนต์สเปซ เพื่อมอบประสบการณ์แห่งไลฟ์สไตล์ที่เปี่ยมด้วยบรรยากาศอันคึกคัก สนุกสนาน และเพลิดเพลินยิ่งกว่าเดิม   นอกจากนี้ การปรับโฉมอัมรินทร์พลาซ่าสู่การเป็น “เกษรอัมรินทร์” ที่จะเปิดตัวเต็มรูปแบบปลายปี 2566 จะส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างชีวิตชีวาทางธุรกิจให้ย่านราชประสงค์เป็นศูนย์กลางไลฟ์สไตล์ (Bangkok’s Capital of Lifestyle District) ใจกลางเมืองแห่งแรกหนึ่งเดียวของกรุงเทพฯ ย่านราชประสงค์จะครบครันที่สุดด้วยทุกองค์ประกอบ ทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า เอ็นเตอเทนเมนต์ โรงแรม ที่พักอาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ ตลอดจนพื้นที่สีเขียว และสวนสาธารณะที่เชื่อมโยงถึงกันหมดภายในระยะเดินเพียงไม่กี่ก้าว เติมเต็มการใช้ชีวิตในทุกช่วงเวลาของทุกวันให้กับลูกค้า นักท่องเที่ยว ตลอดจนพันธมิตร ผู้เช่า และผู้อยู่อาศัย การก้าวสู่การเป็นผู้พัฒนา Placemaking ของเกษรวิลเลจในครั้งนี้ ใช้งบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท  โดยเกษรวิลเลจพร้อมให้พื้นที่ทั้ง 3 ส่วนเป็นจุดเชื่อมโยงประสบการณ์การใช้ชีวิต การทำงาน และช้อปปิ้งที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เกษร พร็อพเพอร์ตี้ เปิดตัว “GAYSORN VILLAGE – เกษรวิลเลจ -เกษร วิลเลจ เปิดอาณาจักรเกษร ทาวเวอร์ ดันยอดเช่าพื้นที่กว่า 60% โชว์กลยุทธ์ “Workplace Strategy”
[PR News] IWG จับมือ BDO รับเทรนด์การทำงานแบบไฮบริด เช่าพื้นที่ 500 ตร.ม.

[PR News] IWG จับมือ BDO รับเทรนด์การทำงานแบบไฮบริด เช่าพื้นที่ 500 ตร.ม.

ไอดับบลิวจี  (IWG) ผู้ให้บริการพื้นที่ทุกรูปแบบ ตามความต้องการของผู้ใช้  ในแบบเฟล็กซ์และไฮบริด ประกาศความร่วมมือกับ BDO เครือข่ายธุรกิจบัญชีขนาดใหญ่อันดับ 5 ของโลกที่ให้บริการครอบคลุมด้านประกัน ภาษี และที่ปรึกษาทางการเงินแก่ลูกค้าจากทุกมุมโลก   โดย BDO ไว้วางใจเลือกใช้พื้นที่ 500 ตร.ม. ที่ Regus Exchange Tower ใจกลางกรุงเทพฯ เป็นสำนักงานแบบไฮบริดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ พนักงานของบริษัทจะสามารถเข้าถึงเครือข่ายของไอดับบลิวจี ทั่วโลกได้ โดยปัจจุบันมีพื้นที่ให้บริการในจุดสำคัญของประเทศไทยถึง 26 แห่ง ปัจจุบัน BDO ให้บริการลูกค้าบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ และกิจการระหว่างประเทศ  มีเครือข่ายทั่วโลก สำหรับไอดับบลิวจี นั้น มีพื้นที่สำนักงานในเมืองสำคัญทั่วโลกกว่า 120 ประเทศ กว่า 3,500 แห่งทั่วโลก  และมีความร่วมมือกับ BDO แล้วในสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น อิสราเอล และกายอานา จึงได้ขยายความร่วมมือในประเทศไทย ​   นายกาเร็ท เฮเวอร์ ซีอีโอ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ IWG เปิดเผยว่า ปัจจุบันหลาย ๆ บริษัทเปลี่ยนมาเป็นไฮบริดโมเดลมากขึ้น เพราะตอบโจทย์ความต้องการของทีมงานให้มีความยืดหยุ่นและสมดุลในชีวิต ทำงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมเข้าไปมีส่วนร่วมและช่วยสนับสนุนลูกค้าได้เต็มที่ IWG จึงพยายามผลักดันเทรนด์พื้นที่การทำงานแบบไฮบริด ที่เป็นหนึ่งในโซลูชันบริการของเราที่ช่วยตอบโจทย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในรูปแบบใด   ปัจจุบัน IWG มีแบรนด์ในเครือหลากหลาย ได้แก่ Regus, Spaces, No18, Basepoint, Open Office และ Signature โดยในปี 2022  ได้มุ่งสร้างการเติบโตเชิงรุก จึงเตรียมเปิดจุดให้บริการอีก 8 แห่งเร็ว ๆ นี้  ในเขตปริมณฑล เนื่องจากมองเห็นโอกาสและศักยภาพของกรุงเทพฯ ที่จะพัฒนาเป็นการทำงานแบบไฮบริด ซึ่งจะส่งให้เครือข่ายของบริษัทเติบโต ขยายตัว และส่งเสริมการทำงานในพื้นที่ไฮบริด     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -IWG x รัตนากร ขยายสำนักงานให้เช่า วางเป้า 10 ปี 40 แห่งทั่วไทย -IWG จับมือ รัตนากร แอสเซท บริหารออฟฟิศให้เช่า 40 แห่งทั่วไทย
พาไปดู โปรเจ็กต์หมื่นล้าน “ไวส์พาร์ค มีนบุรี”  มิกซ์ยูสใหญ่สุดของ แอสเสทไวส์ ในรอบ 10 ปี

พาไปดู โปรเจ็กต์หมื่นล้าน “ไวส์พาร์ค มีนบุรี” มิกซ์ยูสใหญ่สุดของ แอสเสทไวส์ ในรอบ 10 ปี

ไวส์พาร์ค แอสเสทไวส์ ปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส์ หมื่นล้าน ใหญ่สุดรอบ 10 ปี เจาะพื้นที่ มีนบุรี รองรับเส้นทางรถไฟฟ้า 2 สาย “ชมพู-เหลือง” ประเดิม “แอทโมซ โฟลว์ มีนบุรี” มูลค่า​ 1,350 ล้าน พร้อมวางโรดแมปพัฒนาจบใน 6 ปี กับ 4,500 ยูนิตที่พักอาศัย   ถ้าย้อนดูโครงการที่บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) พัฒนามาตลอดระยะเวลา 9 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งธุรกิจในปี 2556 โครงการที่นับมีขนาดใหญ่พื้นที่ใหญ่สุด และมูลค่ามากที่สุด ก็คือ โครงการเคฟทาว์ รังสิต ด้วยมูลค่าโครงการรวม 9,100 ล้านบาท มีจำนวนยูนิตรวม 5,000 ยูนิต บนเนื้อที่ 60 ไร่ จากจำนวนโครงการที่พัฒนามาทั้งสิ้น 44 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 46,700 ล้านบาท   แต่ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 10 ในปี 2565 แอสเซทไวส์ ก็ได้พัฒนาโครงการที่มีมูลค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์การดำเนินธุรกิจ กับ “ไวส์พาร์ค มีนบุรี” (WISEPARK Minburi) โครงการมิกซ์ยูส ขนาดใหญ่บนพื้นที่ 33 ไร่ ย่านมีนบุรี มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท หลังจากได้ซื้อที่ดินมาในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้ นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอสเซทไวส์ เล่าว่า ได้ตัดสินใจซื้อที่ดินแปลงนี้มา ซึ่งมีขนาดใหญ่แต่อยู่ในทำเลที่มีศักยภาพ เพราะอยู่ใกล้สถานนีรถไฟฟ้าสายสีชมพู สถานีตลาดมีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีมีนบุรี  และมองเห็นศักยภาพของที่ดิน ในการพัฒนาโครงการให้เป็นรูปแบบมิกซ์ยูส เพราะมีประสบการณ์การพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวมาแล้ว จากโครงการเคฟทาวน์รังสิต ที่ได้กระแสตอบรับที่ดี ไวส์พาร์ค มีนบุรี โปรเจ็กต์หมื่นล้าน สำหรับโครงการไวส์พาร์ค มีนบุรี จะมีมูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท ประกอบไปด้วยโครงการคอนโดมิเนียม ทั้งรูปแบบโลว์ไรส์ และไฮไลท์ คอมมูนิตี้มอลล์ พื้นที่อาคารสำนักงานให้เช่า และพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ซึ่งในโครงการจะแบ่งการพัฒนาออกเป็นเฟส ใช้ระยะเวลาการพัฒนาและก่อสร้างประมาณ 6 ปี ซึ่งภายในโครงการมีรายละเอียดดังนี้ 1.”มิงเกิ้ล มีนบุรี” คอมมูนิตี้ มอลล์ บริเวณด้านหน้าโครงการฝั่งซ้ายมือเมื่อหันหน้าเข้าโครงการ จะถูกพัฒนาเป็นคอมมูนิตี้มอลล์  “มิงเกิ้ล มีนบุรี”  ขนาดพื้นที่อาคาร 8,857 ตร.ม. มูลค่าโครงการประมาณ 300 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปีหน้า ภายในคอมมูนิตี้มอลล์ จะประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้า และร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ อาทิ สุกี้ตี๋น้อย โลตัส โก เฟรช เป็นต้น   ส่วนบริเวณด้านหน้าฝั่งขวามือ ปัจจุบัน คือ  ไวส์พาร์ค พาวิลเลี่ยน ซึ่งเป็นสำนักงานขายของโครงการ ที่ออกแบบและพัฒนาให้มีพื้นที่สีเขียวบนอาคาร ซึ่งทำให้สามารถใช้เป็นสวนส่วนกลางสำหรับลูกบ้าน หรือคนในชุมชนใกล้เคียงได้ทั้งปัจจุบันและในอนาคตด้วย ขณะที่ทั้งโครงการมีพื้นที่สีเขียวรวมกว่า 12 ไร่ เพื่อให้ลูกบ้านได้ใช้บริการด้วย 2.มิกซ์ยูสคอนโด+ออฟฟิศ ถัดจากคอมมูนิตี้มอลล์เข้ามา แอสเซทไวส์ วางแนวทางการพัฒนาเป็นโครงการขนาดสูง 45 ชั้น 1 อาคาร ที่จะประกอบไปด้วยส่วนพักอาศัยและพื้นที่สำนักงาน  ส่วนที่พักอาศัยเบื้องต้นจะใช้แบรนด์โมดิซ แต่ทั้งนี้อาจจะปรับเปลี่ยนแบรนด์ได้ในอนาคต โดยพิจารณาสภาวะตลาดและผลการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าอีกครั้งหนึ่ง   สำหรับพื้นที่ออฟฟิศได้วางสัดส่วนไว้ประมาณ 10-15% ของอาคาร มีการจัดพื้นที่แยกกับส่วนพักอาศัย ด้วยการมีลิฟต์ส่วนตัว มีการจดทะเบียนเป็นพื้นที่พาณิชย์ ที่ผู้ซื้อสามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ โดยเป็นการขายพื้นที่ไม่ได้เป็นการให้เช่า​ ซึ่งแอสเซสไวส์มองกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือกลุ่ม SME ที่มีพนักงานไม่เกิน 10 คน สามารถทำงานออนไลน์ได้ 3.พื้นที่พักอาศัย 3 โปรเจ็กต์คอนโด ในพื้นที่ด้านหลังโครงการ ถูกจัดวางไว้เป็นพื้นที่ส่วนพักอาศัย ซึ่งจะเป็นโครงการคอนโดโรว์ไรส์  2 โครงการ และไฮไลท์ 1 โครงการ อยู่บริเวณด้านหลังสุด มีขนาดความสูงประมาณ 33 ชั้น คาดว่าจะพัฒนาภายใต้แบรนด์โมดิซ โดยวายแผนเปิดตัวในอนาคตอีกครั้ง   ก่อนถึงคอนโดไฮไลท์ ปัจจุบันพัฒนาเป็นโครงการ “แอทโมซ โฟลว์ มีนบุรี” (Atmoz Flow Minburi)  ซึ่งได้เปิดตัวโครงการไปก่อนหน้านี้แล้ว  โดยโครงการพัฒนาในรูปแบบคอนโดมิเนียมสไตล์รีสอร์ท มูลค่าโครงการ 1,350 ล้านบาท ขนาดพื้นที่ 6-0-13 ไร่ จำนวน 3 อาคาร รวม 739 ยูนิต  ซึ่งเริ่มเปิดจองแล้ว ในราคาเริ่มต้น 1.65 ล้านบาท  และพื้นที่ด้านหน้าโครงการแอทโมซ โฟลว์ ยังวางแผนพัฒนาเป็นโครงการคอนโดโลว์ไรส์อีก 1 โครงการเช่นกัน ภายใรต้แบรนด์โมดิซ โครงการไวส์พาร์ค จะมีส่วนพักอาศัยทั้งหมดของโครงการภายใต้แบรนด์ต่าง ๆ จำนวนรวม 4,500 ยูนิต ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างและพัฒนาประมาณ 6 ปี ระยะเวลาการเปิดตัว และการใช้แบรนด์ที่มาพัฒนา จะมีการพิจารณาจากสภาวะตลาดและการตอบรับของกลุ่มลูกค้าเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา แต่เบื้องต้นโครงการแอทโมช โฟลว์ มีนบุรี คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จได้ในช่วงปลายปีหน้า ซึ่งใกล้เคียงกับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู   สำหรับคอนเซ็ปต์ของ ไวส์พาร์ค มีนบุรี ภายใต้แนวคิด “WISECOLOGY” มีจุดเด่นของการอยู่อาศัยแห่งอนาคต 3 ด้าน ได้แก่ Smart Living, Sustainable Life และ Environment Friendly  ​   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] แอสเซทไวส์ กวาดยอดขาย Q1 กว่า 3,250 ล้าน เดินหน้าไตรมาส 2 เปิดอีก 3 โปรเจ็กต์ใหม่ -แอสเซทไวส์ เปิด 5 กลยุทธ์ความสำเร็จแบรนด์เคฟ แคมปัสคอนโด จับกลุ่มนศ.มหาลัย-นักลงทุน
พร้อมเปิด ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ 12 ก.ยนี้  160 อีเวนต์จ่อคิวเข้าจัดงาน ถึงสิ้นปี 66

พร้อมเปิด ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ 12 ก.ยนี้ 160 อีเวนต์จ่อคิวเข้าจัดงาน ถึงสิ้นปี 66

ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ พร้อมเปิดให้บริการ 12 กันยายน ตามแผน หลังลงทุน 15,000 ล้านปรับโฉมใหม่นาน 3 ปี สร้างพื้นที่ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า ประเดิม 2 งานแรก หลังตุนงานไว้ในมือแล้ว 160 งานพร้อมจัดปี 66   หลังจากศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Queen Sirikit National Convention Center-QSNCC) เริ่มปรับปรุงโฉมใหม่  ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2562 ในวันที่ 12 กันยายน 2565 ก็จะเป็นวันเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในส่วนของพื้นที่การจัดงานประชุม และอีเวนต์แล้ว หลังใช้ระยะเวลานานถึง 3 ปีเต็ม กับเม็ดเงินลงทุนมูลค่า 15,000 ล้านบาท   ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ มาพร้อมกับพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า ​หรือมีพื้นที่รวม 300,000 ตร.ม. รองรับพื้นที่การจัดงานได้มากถึง 78,500 ตร.ม. มีห้องประชุม 50 ห้อง พื้นที่รีเทล 12,000 ตร.ม. และพื้นที่จอดรถ 3,000 คัน นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี.แมนเนจเม้นท์ ​แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า การกลับมาของศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ มีศักยภาพที่จะรองรับการจัดงานในทุกรูปแบบ และผู้ใช้บริการทุกไลฟ์สไตล์ ซึ่งคาดว่ามีผู้เข้าใช้บริการมากกว่า 13 ล้านคนต่อปี เพิ่มจากช่วงก่อนปิดปรับปรุงที่มีผู้เข้าใช้บริการ 6 ล้านคนต่อปี   โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ เป็นมากกว่า “ศูนย์การประชุม”  และรองรับงานมากกว่า “ไมซ์” (MICE) ศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่ จึงถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบพื้นที่ให้มีความยืดหยุ่นรองรับการจัดงานทุกรูปแบบได้พร้อม ๆ กัน และเอื้อต่อการจัดการด้านโลจิสติกส์ และขนย้ายสินค้าจัดแสดงทุกประเภท พร้อมมีอุโมงค์ทางเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRTเข้าสู่พื้นที่จัดงาน ด้านนายสุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ  กล่าวว่า งานแรกของการเปิดให้บริการศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ จะเป็น 2 งานที่จัดพร้อมกัน คือ  ASEAN SUSTAINABILITY AND ENERGY WEEK 2022 ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2565 และงาน T   ISSUE & PAPER BANGKOK 2022   โดยปัจจุบันมีงานอีเวนต์ที่คอนเฟิร์มมาจัดงานจนถึงปี 2566 แล้ว 160 งาน แบ่งเป็นงานเดิมที่เคยจัดที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์มาแล้ว 50% และอีก 50% เป็นงานใหม่ ส่วนภายในปีนี้จะมีงานที่จัดขึ้นประมาณ​ 20% งาน คาดว่าจะทำรายได้ประมาณ​ 400 ล้านบาท ซึ่งราคาการใช้บริการจะปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10-15% ขณะที่หากเปรียบเทียบราคากับศูนย์ประชุมที่อื่นจะสูงกว่าประมาณ​ 20% สำหรับงานอีเวนต์ที่จะจัดขึ้นภายในปี 2565 อาทิ - Asia Pacific Leather Fair หรือ APLF งานแสดงสินค้าเครื่องหนังชั้นนำของโลก ปกติแล้วจะจัดอยู่ที่ประเทศฮ่องกง จะจัดในวันที่ 19 – 21 ตุลาคม 2565 - ASIA FRUIT LOGISTICA งานแสดงสินค้านานาชาติด้านผักและผลไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเคยจัดอยู่ที่ฮ่องกงเช่นกัน จะจัดในวันที่ 2 – 4 พฤศจิกายน 2565 - Jewellery & Gem ASEAN Bangkok (JGAB) งานจัดแสดงสินค้าอัญมณีครั้งยิ่งใหญ่ รวบรวมทั้งการค้าขาย สัมมนา และกิจกรรมเสริมความรู้ด้านอัญมณี เพื่อผู้ซื้อและซัพพลายเออร์จากทั่วโลก เดิมจัดที่ประเทศสิงคโปร์ จะจัดในวันที่ 2 – 5 พฤศจิกายน 2565 -“T-Pop Concert Fest” รวมศิลปินเพลงป๊อปแนวหน้าชั้นนำของไทย เช่น พีพี บิวกิ้น, ศิลปินเกิร์ลกรุ๊ป “4EVE”, โบกี้ ไลอ้อน ในวันที่ 29-30 ตุลาคม 2565 -งานมหกรรมเกมที่ยิ่งใหญ่ทีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “Thailand Game Show” ในวันที่ 21-23 ตุลาคม 2565  -งานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ในวันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2565 นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในการก้าวสู่การเป็น The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All คือ พื้นที่โซนรีเทล ภายใต้คอนเซ็ปต์ “แอคทีฟไลฟ์สไตล์มอลล์” เต็มรูปแบบแห่งแรกของกรุงเทพฯ (BALM - Bangkok Active Lifestyle Mall) บนเนื้อที่กว่า 11,000 ตารางเมตร BALM จะเป็นตัวสร้างสีสันและเติมเต็มให้กับศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ใจกลางกรุงเทพ ที่ดึงดูดทุกกลุ่มไลฟ์สไตล์ทั้งในและต่างประเทศ ช่วยให้ย่านพระราม 4 - รัชดา กลายเป็นอีกหนึ่งที่พบปะสังสรรค์พูดคุยและใช้ชีวิตที่เนืองแน่นไปด้วยร้านค้ารีเทลหลากหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ    ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา ร้านอุปกรณ์กีฬา ร้านขายสินค้าไอที เป็นต้นโดยพื้นที่รีเทลในเบื้องต้นจะเปิดให้บริการประมาณ 50%   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -6 ไฮไลท์ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ ที่พร้อมใช้งาน ก.ย.65 -โฉมใหม่ “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า เปิดแน่!! กันยายน 2565      
ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้  โชว์ทุกผลงาน Q2/65 ทำ New High  เล็งจ่ายปันผลระหว่างกาล หุ้นละ 0.15 บาท

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ทุกผลงาน Q2/65 ทำ New High เล็งจ่ายปันผลระหว่างกาล หุ้นละ 0.15 บาท

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ผลประกอบการ Q2/2565 คว้ากำไรสุทธิ New High 1,155 ล้าน พร้อมอัตรากำไรสุทธิ ทะลุ 28% หลังเมกะโปรเจกต์ “พาร์ค ออริจิ้น ทองหล่อ” เริ่มทยอยโอนตามแผน และธุรกิจบ้านจัดสรรทำ All Time High ทั้งพรีเซล ยอดโอนกรรมสิทธิ์ รายได้รวม และกำไรสุทธิ เล็งจ่ายปันผลระหว่างกาล หุ้นละ 0.15 บาท ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 26 สิงหานี้   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI  เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2565 (เม.ย.-มิ.ย.2565) บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 4,102 ล้านบาท มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,155 ล้านบาท เติบโตจากไตรมาสที่ผ่านมา 57% และเติบโต 36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ถือเป็นกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส สูงที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท (New High) ขณะเดียวกัน จากผลการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 28% สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม   ทั้งนี้ กำไรสุทธิดังกล่าว เป็นผลมาจากความสามารถในการโอนกรรมสิทธิ์ โครงการที่อยู่อาศัยทั้งกลุ่มโครงการคอนโดมิเนียม  และกลุ่มโครงการบ้านจัดสรรได้อย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มโครงการคอนโดมีโครงการระดับเมกะโปรเจกต์ 12,000 ล้านบาท อย่างพาร์ค ออริจิ้น ทองหล่อ (Park Origin Thonglor) และดิ ออริจิ้น อ่อนนุช (The Origin Onnut) เริ่มทยอยโอนกรรมสิทธิ์เป็นครั้งแรกในไตรมาสนี้ อีกทั้งยังมีโครงการดิ ออริจิ้น ราม 209 อินเตอร์เชนจ์ (The Origin Ram 209 Interchange) ที่ทยอยโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 1/2565 ขณะเดียวกัน กลุ่มธุรกิจบ้านจัดสรรภายใต้บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) หรือ BRI มีผลประกอบการในระดับ All Time High ทั้งพรีเซล ยอดโอนกรรมสิทธิ์ รายได้รวม และกำไรสุทธิ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมีโครงการใหม่ที่เพิ่งเริ่มโอนกรรมสิทธิ์เป็นครั้งแรกถึง 4 โครงการ   นอกจากนี้ จากผลการดำเนินงานที่มีเสถียรภาพและความสามารถในการปรับตัวให้พร้อมรับมือทุกความท้าทาย ส่งผลให้กลุ่มทุนทั้งไทยและต่างชาติยังคงให้ความสนใจในการพัฒนาโครงการร่วมทุน (Joint Venture Project) กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาส 2/2565 ที่ผ่านมานี้ มีโครงการร่วมทุนกับพันธมิตรทั้งญี่ปุ่น ฮ่องกงและไทย เพิ่มขึ้นอีก 5 โครงการ รวมมูลค่า 9,885 ล้านบาท   ประกอบด้วย 1.โครงการที่ร่วมทุนกับโนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลล็อปเมนท์ 1 โครงการ คือ คอนโด ดิ ออริจิ้น เพลย์ ศรีอุดม สเตชั่น (The Origin Play Sri Udom Station) 2.โครงการที่ร่วมทุนกับโลฟิส (ไทยแลนด์) 2 โครงการ ได้แก่คอนโด  ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ สิรินธร สเตชั่น (Origin Plug & Play Sririndhorn Station) และบ้านจัดสรร บริทาเนีย อมตะ-พานทอง (Britania Amata-Phanthong) และ 3.โครงการที่ร่วมทุนกับ โตคิว แลนด์ เอเชีย อีก 2 โครงการ ได้แก่ คลังสินค้า แอลฟา บางนา กม.19 (Alpha Bangna KM.19) และ แอลฟา รังสิต (Alpha Rungsit) ซึ่งเป็นการร่วมทุนครั้งแรกของกลุ่มบริษัทในธุรกิจพัฒนาคลังสินค้า   จากผลการดำเนินงานที่ยังรักษาระดับการเติบโตได้อย่างมั่นคง ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติเห็นชอบให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญจ่ายปันผลสำหรับกำไรสะสม  และผลการดำเนินงานของบริษัทงวด 1 ม.ค.-30 มิ.ย. 65 ในอัตรา 0.15 บาทต่อหุ้น คิดเป็นเงินปันผลจ่ายเป็นเงินสดทั้งสิ้นไม่เกิน 368 ล้านบาท โดยขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 26 สิงหาคม 2565 กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 29 สิงหาคม 2565 และกำหนดจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 13 กันยายน 2565 นายพีระพงศ์​ กล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565  โครงการพาร์ค ออริจิ้น ทองหล่อ จะยังคงทยอยโอนอย่างต่อเนื่องตามแผน ขณะเดียวกัน จะเริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการใหม่ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพาร์ค ออริจิ้น ราชเทวี และโครงการพาร์ค ออริจิ้น จุฬา-สามย่าน มูลค่าโครงการรวม 7,600 ล้านบาท โดยทั้ง 2 โครงการมียอดขายรอรับรู้รายได้ (แบ็คล็อก) เฉลี่ยถึง 97% ของมูลค่าโครงการ ขณะที่ภาพรวมบริษัทยังมีแบ็คล็อกทั้งกลุ่มรวมโครงการ JV และ Non-JV มูลค่ารวมกว่า 37,588 ล้านบาท คาดว่าจะมีส่วนสำคัญให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงครึ่งปีหลังเป็นไปตามเป้าหมาย และส่งผลให้รายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 17,500 ล้านบาทตามเป้า กำลังซื้ออสังหาฯ ของผู้บริโภค มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยออริจิ้นยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องทำเล คุณภาพ และความเข้าใจผู้บริโภค ส่งผลให้โครงการยังคงได้รับความไว้วางใจและมีการโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้แผนการเติบโตแบบพหุจักรวาล หรือ แผน Origin Multiverse ขับเคลื่อนไปได้อย่างแข็งแกร่งและราบรื่น บริษัทได้แต่งตั้ง 2 ผู้บริหารระดับสูง ขึ้นดำรงตำแหน่งใหม่ ประกอบด้วย นายปิติพงษ์ ไตรนุรักษ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม (Co-CEO) บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ร่วมดูแลออริจิ้นกรุ๊ป และขับเคลื่อนกลุ่มธุรกิจใหม่ (New Business) ที่เกี่ยวข้องกับเมกะเทรนด์ระยะยาว และนายปิติ จารุกำจร ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด ดูแลภาพรวมของกลุ่มธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income Business) ได้แก่ โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ ธุรกิจอาคารสำนักงาน ธุรกิจค้าปลีก ตลอดจนการนำพาบริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ที่ผ่านมา นายปิติพงษ์ ไตรนุรักษ์ ถือเป็นผู้บริหารคนสำคัญของเครือออริจิ้น ในการขับเคลื่อนธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income Business) และกลุ่มธุรกิจใหม่ (New Business) รวมถึงการเจรจาและพัฒนาความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ อาทิ การพัฒนาความร่วมมือกับโนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลล็อปเมนท์, โตคิว แลนด์ เอเชีย และ Ci:z Investment LLP พันธมิตรยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น จีเอส อีแอนด์ซี พันธมิตรอสังหาฯ ยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ โลฟิส พันธมิตรจากฮ่องกง และพันธมิตรแลนด์ลอร์ดในประเทศ ได้แก่ บุญภา 2020 และแอสเซท บลูม การพัฒนาความร่วมมือกับพันธมิตรในกลุ่มธุรกิจบริการสุขภาพ (Healthcare) การร่วมทุนกับบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ขณะที่นายปิติ จารุกำจร ถือเป็นผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์มาอย่างยาวนานกว่า 19 ปี และมีความชำนาญหลากหลายที่จะช่วยนำพาให้วัน ออริจิ้นเติบโตอย่างต่อเนื่อง   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -“ออริจิ้น” ตุนยอดขายครึ่งปีแรก 51% ของเป้าทั้งปี เตรียมเปิดโครงการเพิ่มอีก 26,500 ล้าน -ออริจิ้น​ เปิดคอนโดฯ 19 โปรเจ็กต์ 28,600 ล้าน ชู 2 กลยุทธ์ เจาะพื้นที่รถไฟฟ้า 8 สาย-EEC
สิงห์เอสเตท  ครึ่งปีแรกรายได้โต 92% พลิกมีกำไร 102 ล้าน

สิงห์เอสเตท  ครึ่งปีแรกรายได้โต 92% พลิกมีกำไร 102 ล้าน

สิงห์เอสเตท  สร้างรายได้ครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 92% มีมูลค่า 5,790 ล้าน รับอานิสงค์การทยอยฟื้นตัวของธุรกิจ ​ การควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมโตเกือบ 3 เท่าตัว ส่งผลภาพรวมพลิกทำกำไร 102 ล้าน   นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S เปิดเผยว่า  ครึ่งปีแรกปี 2565 มีรายได้ 5,790 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตของรายได้ในทุกกลุ่มธุรกิจ และเริ่มรับรู้รายได้จากการขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในไตรมาส 2 รวมถึง เป็นผลสำเร็จจากการปรับโครงสร้างธุรกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์กระจายการลงทุนเพื่อสร้างความหลากหลายใน 4 กลุ่มธุรกิจที่เชื่อมโยงกัน   โดยธุรกิจโรงแรมมีรายได้ 3,761 ล้านบาท เติบโตขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวจากครึ่งปีแรกปี 2564 ซึ่งโรงแรมทั้ง 2 แห่งในโครงการครอสโร้ด เฟส1 (CROSSROADS) สาธารณรัฐมัลดีฟส์ และพอร์ตโรงแรมในสหราชอาณาจักร ที่เติบโตขึ้น 128% จากช่วงครึ่งปีแรกปี 2564 ซึ่งสัดส่วนรายได้รวมกันคิดเป็น 75% ของรายได้รวมทั้งหมด   ขณะที่พอร์ตโรงแรมเอาท์ริกเกอร์ (Outrigger) และพอร์ตโรงแรมในประเทศไทย มีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีรายได้เติบโตกว่า 8 เท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็น 25% ของรายได้รวม แต่บริษัทตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้เป็น 35% ของรายได้รวมในช่วงที่ธุรกิจดำเนินการได้ปกติ หรือกว่า 4,000 ล้านบาท จาก​สถานการณ์การท่องเที่ยวและการให้บริการเส้นทางบินต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นปกติ   สำหรับรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าที่ปรับตัวดีขึ้น 5% ซึ่งเป็นผลมาจากการรักษาอัตราการปล่อยเช่าโดยรวมไว้ที่ 88% และสามารถปรับเพิ่มอัตราค่าเช่าขึ้นได้แม้จะอยู่ระหว่างสถานการณ์ที่ท้าทาย ส่งผลให้รายได้จากการขายและให้บริการรวมเติบโตขึ้น 132% สู่ 4,371 ล้านบาท   ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการขาย มีรายได้รวม 1,419 ล้านบาท เติบโตขึ้น 25% จากช่วงครึ่งปีแรกปี 2564 สะท้อนความสำเร็จในการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมโครงการ ดิ เอส สิงห์ คอมเพล็กซ์ และดิ เอส อโศก  รวมถึงการรับรู้รายได้จากการขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในไตรมาส 2 ปี 2565 ด้วยการรับรู้รายได้จากการขายที่ดินให้กับโรงไฟฟ้า บี.กริม เพาเวอร์ (อ่างทอง) จำนวน 77 ไร่ นอกจากนี้ เป็นผลจากการทยอยฟื้นตัวของธุรกิจอื่น ๆ และการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ สิงห์เอสเตท พลิกรายงานกำไรสุทธิ 102 ล้านบาท นางฐิติมา กล่าวว่า  ไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลสำเร็จจากการปรับโครงสร้างธุรกิจของสิงห์เอสเตท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าลงทุนเพิ่มเติมในโรงแรมที่จะสร้างสมดุลรายได้ด้านฤดูกาลให้กับพอร์ตโฟลิโอของบริษัท โดยในไตรมาส 2 ถือเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ รายได้ทั้ง 2 พอร์ตดังกล่าวเติบโตขึ้น 40% และ 100% จากไตรมาสก่อน นอกจากนั้นแล้ว การเข้าลงทุนในธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมที่นอกจากจะช่วยเพิ่มสมดุลรายได้ด้านฐานลูกค้าให้กับสิงห์ เอสเตท แล้ว ยังเป็นธุรกิจที่สร้างโอกาสในการหารายได้จากทรัพย์สิน  (Recurring income) ให้บริษัทฯ ในระยะยาว ภาพรวมผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าจะเติบโตขึ้นต่อเนื่องราว 30% จากในช่วงครึ่งปีแรก ผลักดันโดยรายได้จากธุรกิจโรงแรม และรายได้จากการขายบ้านและอาคารชุด ซึ่งบริษัทเห็นสัญญาณบวกที่เด่นชัดจากสถิติการดำเนินงานโรงแรมในเดือนกรกฎาคม 2565 โดยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของทั้งพอร์ตโฟลิโอปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 70% และคาดว่าจะมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเช้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ และประเทศไทยในไตรมาสที่ 4   นอกจากนี้ บริษัทใช้กลยุทธ์ในการปรับปรุงห้องพักของโรงแรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันอัตราค่าห้องพักต่อคืน (ADR) ให้เติบโตขึ้น โดยเฉพาะโรงแรมในโครงการ ครอสโร้ดส์ (CROSSROADS) และพอร์ตโรงแรมในสหราชอาณาจักร ที่คาดว่าจะมีอัตราค่าห้องพักต่อคืนที่สูงขึ้นกว่าปี 2562 ได้ถึง 41% และ 27% ตามลำดับ   สำหรับพอร์ตโรงแรมในประเทศไทย เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่รวดเร็วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นเดือนแรกในการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบ ส่งผลให้โรงแรม ทราย ลากูน่า ภูเก็ต (SAii Laguna Phuket) และโรงแรมทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ (SAii Phi Phi Island Village) มีอัตราการเข้าพักที่ 68% และ 63% ตามลำดับ ด้วยจุดแข็งด้านที่ตั้งของโรงแรมทั้งหมดของบริษัทฯ ที่ล้วนแล้วแต่อยู่ในทำเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ผนวกกับผลสำเร็จจากการสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ของบริษัท จึงมีความมั่นใจต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าพอร์ตโรงแรมในประเทศไทยจะสามารถสร้างรายได้ที่เติบโตขึ้นเกือบสองเท่าตัวในช่วงครึ่งปีหลังของปี บริษัทคาดการณ์ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ของโครงการบ้านแนวราบ สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในครึ่งปีหลัง และการรับรู้รายได้จากบ้านเดี่ยวโครงการใหม่ ศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส (Siraninn Residences) ที่คาดว่าจะทยอยโอนกรรมสิทธิ์ได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เป็นต้นไป จะช่วยสร้างการเติบโตของรายได้ธุรกิจที่พักอาศัยให้เพิ่มขึ้น 50% หรือกว่า 3,300 ล้านบาทในปี 2565 นี้   สำหรับโครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส คาดว่าจะเปิดการขายภายในเดือนกันยายน 2565 ตั้งอยู่ในซอยพัฒนาการ 32 ซึ่งเป็นทำเลที่อยู่อาศัยสำหรับโครงการแนวราบเขตเมือง โครงการเป็นบ้านเดี่ยวแนบราบระดับลักชัวรี่ (Horizontal Luxury House) ในรูปแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น จำนวน 28 แปลง ราคา 65 – 180 ล้านบาท และโฮมออฟฟิศ ราคา 20 ล้านบาท จำนวน 4 แปลง นอกจากนี้ บริษัทยังวางเป้าหมายการเปิดตัวโครงการที่พักอาศัยใหม่ ภายในระยะเวลา 5 ปี จะมีมูลค่าประมาณ 52,000 ล้านบาท โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการแนวราบระดับลักชัวรี่ ผ่าน 3 เซ็กเมนท์ใหม่ ที่ครอบคลุมระดับราคาที่กว้างขึ้น ด้วยการปรับราคาลงมาในแต่ละโครงการตั้งแต่ 100 ล้าน สู่ 10 ล้านบาทต่อยูนิต  โดยบ้านเดี่ยวโครงการใหม่ในอีก 2 เซ็กเมนท์ จะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในปี 2565   ทั้งนี้ บริษัทมีที่ดินที่พร้อมพัฒนาแล้ว 2 แปลง และอยู่ระหว่างรอโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติม เพื่อเดินหน้าพัฒนา 4 โครงการที่พร้อมเปิดขายในปี 2566 พร้อมตั้งเป้าหมายในการซื้อที่ดินในทำเลศักยภาพอีกจำนวน  5 - 7 แห่งต่อปีสำหรับการพัฒนาและทยอยเปิดตัวโครงการตั้งแต่ปี 2566 อย่างต่อเนื่อง ปีละกว่าหมื่นล้านบาท   สำหรับความคืบหน้าของการนำพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าระยะยาว แก่กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอส ไพรม์ โกรท (SPRIME) นั้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ได้ปล่อยเช่าส่วนพื้นที่ค้าปลีก ในโครงการอาคารซันทาวเวอร์ส มูลค่า 213 ล้านบาท โดยพื้นที่ดังกล่าวที่ เอส ไพรม์  เข้าลงทุนเพิ่มเติมนั้น ปัจจุบันมีอัตราการเช่าสูงถึง 98% จึงมั่นใจได้ว่า เอสไพรม์ เข้าลงทุนเพิ่มเติมในอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพและจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวให้แก่กองทรัสต์ SPRIM ต่อไป   อย่างไรก็ตาม แผนในการให้เช่าระยะยาวในส่วนอาคารสำนักงานสิงห์ คอมเพล็กซ์ ได้ถูกพิจารณาเลื่อนออกไป เนื่องจากสภาวะตลาดทุนที่ผันผวน และสภาพเศรษฐกิจที่ยังถูกกดดันจากแนวโน้มการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน โรคระบาด ตลอดจนประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยยังคงมีความเชื่อมั่นในผลการดำเนินงานของอาคารสำนักงาน สิงห์ คอมเพล็กซ์ ที่สร้างกำไรจากการดำเนินงานให้แก่บริษัทราว 400 ล้านบาทต่อปี   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -สิงห์ เอสเตท ขอท้าทายตัวเอง กับกลยุทธ์ RISE ABOVE พร้อมแผน 5 ปีปั้นโปรเจ็กต์บ้านหรู 52,000 ล้าน
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้  ​โชว์กำไร 6 เดือน เฉียดพันล้าน  หลังใช้ธุรกิจเชิงรุก -ผลดีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ​โชว์กำไร 6 เดือน เฉียดพันล้าน หลังใช้ธุรกิจเชิงรุก -ผลดีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ​ประกาศผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกปี​ 65 ทำรายได้​ 7,788 ล้าน กำไรเฉียดพันล้าน ตามเป้า อานิสงค์ประยุกต์ใช้แผนกลยุทธ์ธุรกิจเชิงรุก  และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่ผลงานรอบเม.ย.-มิ.ย. ทำรายได้ 4,374 ล้าน กำไร 680 ล้าน ครึ่งปีหลังเตรียมเปิดโครงการที่อยู่อาศัยอีก​ 12 โครงการ   นายธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country Chief Executive Officer) บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ FPT  เปิดเผยถึง​ผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-มิถุนายน 2565) ว่า สามารถสร้างรายได้จำนวน 7,788 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 991 ล้านบาท  ส่วนรายได้รวมในรอบ 3 เดือน (เมษายน-มิถุนายน 2565) ในจำนวน 4,374 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิจำนวน 680 ล้านบาท  และสามารถรับรู้อัตรากำไรขั้นต้นในสัดส่วนที่สูงขึ้น 6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว   ผลการดำเนินงานดังกล่าวบริษัทพอใจและเป็นไปตามที่วางแผนไว้ ซึ่งไตรมาสที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่บริษัทได้เริ่มเก็บเกี่ยวผลสำเร็จ จากความพยายามของในการปรับตัว ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ผ่านแผนกลยุทธ์การรุกตลาด และการจับกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น   โดยบริษัทจะยังคงมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่ทันสมัย เพื่อส่งมอบประสบการณ์และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” ให้เป็นแบรนด์ในใจลูกค้า ในภาพรวมของรอบปฎิทินไตรมาสที่สอง ปี 2565 บริษัทฯ ได้ออกหุ้นกู้ในมูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง (High Net Worth Individuals) และ กลุ่มสหกรณ์อย่างล้นหลาม สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของแพลตฟอร์มอสังหาฯ ครบวงจร และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของเฟรเซอร์ โดยบริษัทฯจะนำเงินที่ได้จากครั้งนี้ไปชำระคืนเงินกู้ รวมถึงใช้เป็นเงินทุนขยายธุรกิจ และเงินทุนหมุนเวียนในปี 2565   สำหรับ "เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม" กลุ่มธุรกิจอสังหาฯ เพื่อที่อยู่อาศัย มีการปรับกลยุทธ์ธุรกิจ ด้วยการ พัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายเซ็กเมนต์ของกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง  ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ได้เปิดโครงการไปแล้ว  6 โครงการ มูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท  มีระดับราคา  2-35 ล้านบาท จากทั้งหมด 18 โครงการ  ซึ่งในช่วงครึ่งหลังของปี 2565  บริษัทมีแผนเปิดโครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝด  ทาวน์โฮม และโครงการต่างจังหวัด อีก 12 โครงการ   กลุ่มธุรกิจ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล” และ กลุ่มธุรกิจ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล” ในครึ่งปีแรกมีรายได้ที่ 597 ล้านบาท โดยธุรกิจโรงงานและคลังสินค้ายังมีอัตราการเช่ารวมสูงถึง  85.4%  และยังได้รับอานิสงส์จากการชะลอการส่งออก ที่ทำให้มีดีมานด์เช่าคลังสินค้าระยะสั้นเข้ามาเพิ่ม  ซึ่งคาดการณ์ว่าจะส่งผลยาวถึงสิ้นปี 2565   สำหรับไตรมาสที่ผ่านมา เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล ได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของโครงการคลังสินค้าสมัยใหม่ที่ประเทศอินโดนีเซีย  ตั้งอยู่ในเมืองคาราวัง เมืองมากัซซาร์ และ เมืองบันจาร์มาซิน ทำให้พอร์ตโฟลิโอในต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 150,000 ตารางเมตร  ทำให้มีพอร์ต อสังหาฯ  เพื่ออุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 3.25 ล้านตารางเมตร นอกจากนี้ ยังมีการทยอยขายทรัพย์ให้กับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ และสิทธิการเช่าอสังหาฯ เพื่ออุตสาหกรรม FTREIT ซึ่งส่งผลให้ไตรมาสล่าสุดมีรายได้พิเศษรวมเป็นจำนวน 622 ล้านบาท ด้านธุรกิจอสังหาฯ  เพื่อพาณิชยกรรม สามารถรักษาอัตราการเช่าได้ในระดับสูง ในส่วนอาคารสำนักงานสามารถรักษาระดับผู้เช่าไว้ได้กว่า 90% โดยมุ่งเน้นการให้บริการแบบใหม่ Core & Flex ที่ผสานการให้บริการพื้นที่สำนักงานแบบมาตรฐานและแบบยืดหยุ่น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เช่าได้อย่างครอบคลุม   สำหรับ 2 โครงการมิกซ์ยูส “สีลมเอจ” ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา บริษัทพัฒนาได้คืบหน้าตามเป้าหมาย โดยจะเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2565 นี้  ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกับที่บริษัทจะส่งมอบโครงการศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ให้แก่ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ การเดินหน้าเปิดประเทศยังขับเคลื่อนให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น จะส่งผลให้ธุรกิจศูนย์การค้า สามย่านมิตรทาวน์กลับมาคึกคัก และธุรกิจโรงแรมเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม ปรับแผนธุรกิจปี 65 เพิ่มพอร์ต บ้านหรู ปูทางโตอย่างยั่งยืน เล็งรายได้คอนโด 20% -เฟรเซอร์สฯ ชู 4 กลยุทธ์ลุยธุรกิจรีเทล เตรียมเปิด “สีลมเอจ” เพิ่มพื้นที่ 24 ชั่วโมง
[PR News] ไอซีเอส มิกซ์ยูส ไลฟ์สไตล์ ทาวน์ แห่งใหม่ในฟังธน

[PR News] ไอซีเอส มิกซ์ยูส ไลฟ์สไตล์ ทาวน์ แห่งใหม่ในฟังธน

 ไอซีเอส  มิกซ์ยูส โครงการไอซีเอส  มิกซ์ยูส ไลฟสไตล์ ทาวน์ แห่งใหม่ฝั่งธนบุรี  การลงทุนร่วมของกลุ่มธุรกิจรีเทลและอสังหาฯ “สยามพิวรรธน์-แมกโนเลีย-ซีพี” สร้างปรากฎการณ์ครั้งสำคัญของฝั่งธนบุรี ภายใต้แนวคิด  Always A Good Day “ความสุขของทุกวันที่ไอซีเอส” ผนึกพันธมิตรแบรนด์ดัง โลตัส   ชูคอนเซ็ปต์ใหม่ “SMART Premium Supermarket” และ ฮิลตัน การ์เด้น อินน์ โรงแรมชั้นนำที่รองรับนักเดินทางจากธุรกิจ MICE, การท่องเที่ยวและสันทนาการ พร้อม อินโนเวทีฟ เฮลท์ แอนด์ ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ จากโรงพยาบาลชั้นนำ ที่ขยายบริการนอกพื้นที่โรงพยาบาลแห่งแรกในศูนย์การค้า    ไอซีเอส  มิกซ์ยูส รวมถึงพันธมิตรร้านค้าอีกกว่า 200 แบรนด์ มั่นใจศักยภาพทำเลทองอันดับหนึ่งของฝั่งธนบุรี รองรับการขยายตัวของเมือง สะดวกครบทุกโครงข่ายการคมนาคมทั้ง รถยนต์ รถไฟฟ้า และเรือโดยสาร  พร้อมเปิดให้บริการปลายไตรมาส 4 ปี 2565 นี้ เชื่อมั่นหลังไอซีเอส เปิดบริการ ช่วยเติมเต็มไอคอนสยามสู่ความเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายครบทุกเซกเมนต์   นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอซีเอส จำกัด เปิดเผยว่า จากการวาง Market Positioning ให้ ไอซีเอส เป็นมิกซ์ยูส ไลฟ์สไตล์ ทาวน์  ที่ตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการของลูกค้าได้ครบครัน โดยเน้นให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ มีทำเลที่ตั้งเชื่อมเส้นทาง Customer Journey ต่อตรงมาจากไอคอนสยาม โดยมีรถไฟฟ้าสายสีทองสถานีเจริญนครเป็นจุดเชื่อมต่อ  โครงการไอซีเอส มีจุดเด่นสำคัญที่ต้องตอกย้ำ คือทำเลที่ตั้งโครงการมีความพิเศษต่างจากย่านธุรกิจอื่น เพราะเป็นทำเลที่มีระบบการคมนาคมขนส่งสมบูรณ์ครบทั้งรถ ราง เรือ (รถยนต์ รถไฟฟ้า และเรือโดยสาร) โดยด้านหน้าโครงการติดถนนเจริญนคร เดินทางสะดวกได้ทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารสาธารณะ หรือจะเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีเจริญนคร ซึ่งเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนั้น ไอซีเอสยังเชื่อมต่อตรงกับโครงการไอคอนสยามที่ด้านหลังติดโค้งน้ำเจ้าพระยาซึ่งรองรับการหมุนเวียนของทราฟฟิกจากท่าเรือสาธารณะถึง 99 ท่าเรือ     “ทำเลทองที่ตั้งโครงการนี้อยู่บนพื้นที่ที่มีการขยายตัวของโครงการที่พักอาศัยมากที่สุดย่านหนึ่ง โดยภายใน 2-3 ปีจากนี้ คาดว่าจะมีที่พักอาศัยคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 50 โครงการหรือราว 25,000 ยูนิต นอกจากนั้น ยังรายล้อมไปด้วยโรงแรม 5 ดาว อย่าง มิลเลนเนียมฮิลตัน  เพนนินซูลา  โอเรียนเต็ล   แชงกรีลา ซึ่งในอนาคตยังจะมีกลุ่มธุรกิจโรงแรมชั้นนำที่เตรียมขยายบริการมายังทำเลย่านนี้อีก 2-3 โครงการ  รวมถึงมีแผนงานการย้ายศูนย์ราชการขนาดใหญ่มายังย่านคลองสาน แสดงให้เห็นว่าเป็นพื้นที่ธุรกิจที่มีการขยายตัวสูงมาก  จากศักยภาพทำเลดังกล่าวจึงเป็นจุดดึงดูดกลุ่มลูกค้าหลัก พนักงานออฟฟิศ เจ้าของธุรกิจ และประชาชนทั่วไป โดยคาดว่าจะมีการหมุนเวียนของผู้เข้ามาใช้บริการที่ไอซีเอส วันละกว่า 40,000 คน” นายสุพจน์กล่าว   นายสุพจน์ กล่าวต่อไปว่า  ไอซีเอสเป็นอาคารสูง 29 ชั้น บนพื้นที่ 5-1-94 ไร่ ริมถนนเจริญนคร มีพื้นที่บริการรวม 70,000 ตารางเมตร รูปแบบการพัฒนาโครงการเน้นมิกซ์ยูสแนวคิดใหม่ ที่มีทั้งธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจบริการโรงแรม และอาคารสำนักงาน ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการดำเนินธุรกิจทั้งของผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย สำหรับลูกค้าเรามีทั้งสินค้าและบริการที่หลากหลาย เน้นตอบโจทย์ชีวิตประจำวัน และการช้อปปิ้งที่สะดวก ง่าย เร็ว ทำให้สามารถขยายไปยังฐานลูกค้าใหม่ๆ ที่สินค้าและบริการในไอคอนสยามอาจยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการในบางวัน ดังนั้น มั่นใจมากว่า หลังไอซีเอสเปิดให้บริการ จะช่วยเติมเต็มไอคอนสยามสู่ความเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้ครบทุกเซกเมนต์ ไอซีเอส มิกซ์ยูส นางสาวแคโรไลน์ เมอร์ฟีย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการขายและธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยว่า ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งของโครงการไอซีเอส ส่งผลให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกอย่างโลตัส  กลุ่มธุรกิจโรงแรมชั้นนำอย่างฮิลตัน การ์เด้น อินน์ และธุรกิจเฮลท์แคร์ ที่ให้บริการ อินโนเวทีฟ เฮลท์ แอนด์ ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ จากโรงพยาบาลชื่อดังระดับประเทศ มองเห็นโอกาสและตัดสินใจเข้าร่วมสร้างสรรค์โครงการกับไอซีเอส การเปิดให้บริการของพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจจะมีความโดดเด่น และแตกต่างไปจากรูปแบบการให้บริการเดิม เพื่อสร้างความแปลกใหม่ และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้มากขึ้น เรียกได้ว่าเป็น บิสเนสแฟลกชิพที่มีความพิเศษ แตกต่าง ทันสมัย เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้เข้ามาใช้บริการ อีกทั้งยังเป็นการขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ ย่านฝั่งธนฯ ได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ไอซีเอส เป็นศูนย์รวมธุรกิจการค้าและบริการที่สะท้อนไลฟ์สไตล์ ประกอบด้วยธุรกิจ 3 ส่วนหลัก ได้แก่ พื้นที่สำหรับดำเนินธุรกิจค้าปลีก พื้นที่อาคารสำนักงานให้เช่า และธุรกิจบริการโรงแรม     1.ธุรกิจค้าปลีก รูปแบบเป็นอาคารโลว์ไรส์ รวม 8 ชั้น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่รีบเร่ง ไอซีเอส จึงเป็นแบรนด์ที่จะส่งมอบประสบการณ์และความสุขให้แก่ลูกค้าทุกวัน ภายใต้แนวคิด Always A Good Day “ความสุขของทุกวันที่ ICS”  โดยจับมือกับ โลตัส, อินโนเวทีฟ เฮลท์ แอนด์ ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ จากโรงพยาบาลชั้นนำ และพันธมิตรคู่ค้าชั้นนำอีกกว่า 200 แบรนด์  อาทิ สินค้าไลฟ์สไตล์เพื่อบ้านและการอยู่อาศัย สินค้าไอที บริการด้านการเงิน แบรนด์แฟชั่น ธุรกิจบริการด้านความงามและเครื่องสำอางระดับแถวหน้า รวมไปถึงร้านค้าที่ให้บริการด้านต่างๆ ที่รองรับการใช้ชีวิตประจำวัน   และร้านอาหารแบรนด์ดังกว่า 80 แบรนด์ รวมถึงร้านอาหารชั้นนำจากต่างประเทศ ที่เลือกมาเปิดให้บริการที่ไอซีเอสเป็นสาขาแรก 2.ไอซีเอส ออฟฟิศทาวเวอร์ พื้นที่สำนักงานให้เช่า ตั้งอยู่ระหว่างชั้น 6-8  พัฒนาภายใต้แนวคิดที่ต้องการส่งเสริมการทำธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งในกลุ่มที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งกิจการและกลุ่มที่ต้องการขยายกิจการ ซึ่งจะทำให้มีผู้มาใช้บริการระหว่างสัปดาห์เป็นจำนวนมาก 3.โรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ กรุงเทพ ไอซีเอส เจริญนคร ( Hilton Garden Inn Bangkok ICS Charoen Nakhon)  ภายใต้การบริหารงานโดยโรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ เชนโรงแรมชั้นนำชื่อดังจากต่างประเทศ ที่รองรับนักเดินทางทั้งจากธุรกิจ MICE, การท่องเที่ยวและสันทนาการ   นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย หนึ่งในแม่เหล็กสำคัญที่จะมาเติมเต็มความต้องการของนักช้อปย่านฝั่งธนฯ เผยถึงความพิเศษของ โลตัส สาขา ICS ว่า พร้อมเปิดตัวโลตัสคอนเซ็ปต์ใหม่ล่าสุด  “SMART Premium Supermarket” บนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความมุ่งมั่นของโลตัสในการทำให้ลูกค้าของเรา “รู้สึกดีดีทุกวัน ที่โลตัส” ปัจจุบัน โลตัส ถือเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีก New SMART Retail ที่ให้บริการแบบไร้รอยต่อผ่านทั้งสาขาหลากหลายรูปแบบและช่องทางออนไลน์ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกพื้นที่  การร่วมมือกับไอซีเอส เปิด Lotus’s SMART Premium Supermarket ครั้งนี้ จะเป็นการยกระดับการให้บริการนักช้อป พร้อมรองรับ Modern Urban Lifestyle ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ทันสมัยในระดับพรีเมียม ด้วยสินค้าพรีเมียมจากทั้งในไทยและต่างประเทศ สินค้าท้องถิ่นที่เราคัดสรรจากแหล่งที่ดีที่สุด และสินค้านำเข้าในราคาที่เอื้อมถึง   “โลตัส สาขาไอซีเอส ภายใต้คอนเซ็ปต์ Smart Premium Supermarket จะเป็นแหล่งช้อปปิ้งที่ยกระดับความสะดวกสบายให้ลูกค้าสามารถจับจ่ายสินค้าทั้งอาหารสด วัตถุดิบเกรดพรีเมียมที่นำเข้าส่งตรงจากต่างประเทศ สินค้าไทยที่เราคัดสรรมาจากแหล่งที่ดีที่สุด สินค้าอุปโภคบริโภคจากหลายแบรนด์ดังทั้งไทยและต่างประเทศ ที่สำคัญคือ ยังคงมาตรฐานของโลตัส ในด้านสินค้าที่มีคุณภาพสูงในราคาที่คุ้มค่า  ขณะเดียวกัน เรายังพร้อมบริการด้วยแนวคิด SMART Life Solutions โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มความสะดวกสบายสอดรับชีวิตทันสมัย ทำให้การซื้อและชำระเงินง่ายขึ้น ด้วยบริการไร้เงินสด (Cashless) ผ่านวอลเล็ตและแอปพลิเคชั่น รวมไปถึงการชำระสินค้าได้ด้วยตัวเองผ่านตู้คีออสรับชำระสินค้าแบบสมาร์ทอีกด้วย” นายสมพงษ์กล่าวสรุป   อีกความพิเศษของโครงการไอซีเอส คือ การได้พันธมิตรโรงแรมแบรนด์ดังระดับโลกในเครือฮิลตัน เข้ามารองรับความต้องการของนักเดินทาง นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ ที่มีแนวโน้มเดินทางมายังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยนายจิรฐา วรปรางกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอน โฮเทล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เปิดเผยว่า การที่เศรษฐกิจมีสัญญานค่อยๆ ฟื้นตัว การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคัก ทำให้บริการด้านโรงแรมสำหรับกลุ่ม MICE (Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions) มีแนวโน้มขยายตัวอย่างชัดเจน ดังนั้น ห้องพักและบริการจากทางโรงแรมจะเป็นส่วนสำคัญที่มารองรับการขยายตัวของธุรกิจนี้ โดยเห็นได้ชัดเจนจากจำนวนการจองพื้นที่เพื่อจัดอีเว้นท์และการประชุมของ ทรู ไอคอน ฮอลล์ ภายในไอคอนสยาม ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในครึ่งปีหลัง   “แบรนด์โรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ ตัดสินใจเปิดดำเนินการกับไอซีเอส เพราะเห็นศักยภาพของโครงการ มีความมั่นใจในทีมบริหารโครงการ และที่สำคัญคืออยู่ในทำเลทองที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเลือกเปิดให้บริการโรงแรม”   โรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ กรุงเทพ ไอซีเอส เจริญนคร เป็นอาคารสูง 19 ชั้น ให้บริการห้องพัก  241 ห้อง ได้รับแรงบันดาลใจจากการผสมผสานความหลากหลายทางศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนในอดีตย่านฝั่งธนบุรี ทั้งไทย จีน และโปรตุเกส ถ่ายทอดออกมาสู่การออกแบบตกแต่งภายในที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ด้วยการนำงานสถาปัตยกรรม ลวดลายปูนปั้นไทย  งานแกะสลักไม้แบบศิลปะจีน งานกระเบื้องและลวดลายเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมโปรตุเกส มาผสมผสานกันอย่างลงตัว  โรงแรมให้ความสำคัญในการบริการลูกค้าให้ได้รับความสะดวกสบาย มีบริการห้องอาหาร All Day Dining ที่รองรับการจัดงานอีเว้นต์ได้ตลอดวัน รังสรรค์เมนูอร่อยจาก 4 วัฒนธรรมของชุมชนในอดีต ที่สำคัญคือไพรม์โลเคชั่นของตัวโรงแรมที่เป็นอาคารสูงเพียงหลังเดียวในพื้นที่โดยรอบ ทำให้สามารถรับชมวิวของกรุงเทพมหานครได้แบบ 360 องศา ทั้งวิวฝั่งพระนคร และฝั่งธนบุรี   ไอซีเอส มิกซ์ยูส  ปัจจุบัน โครงการ ICS  มีความคืบหน้าการก่อสร้างแล้วร้อยละ 90  และพร้อมเปิดให้บริการปลายไตรมาส 4 ปี 2565 นี้   บทความน่าสนใจ 1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ ทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่ไม่มีคนขับ !! ไป ไอคอนสยาม ไอคอนสยาม’ จัดงาน “แบงค็อก อิลลูมิเนชั่น แอท ไอคอนสยาม อลังการขบวนต้นคริสต์มาสเอกลักษณ์ไทย ตระการตากับฟลอร์แมปปิ้งสุดล้ำ ครั้งแรกในประเทศไทยยิ่งใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ดีเวลลอปเปอร์ เชื่อมั่นธุรกิจอสังหาฯ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นQ2ขยับสูง  มองภาพบวกประเทศคลายล็อกแม้โควิด-19 ยังระบาด

ดีเวลลอปเปอร์ เชื่อมั่นธุรกิจอสังหาฯ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นQ2ขยับสูง มองภาพบวกประเทศคลายล็อกแม้โควิด-19 ยังระบาด

ดัชนีความเชื่อมั่น ดีเวลลอปเปอร์อสังหาฯ มั่นใจภาพรวมธุรกิจฟื้นตัวดีขึ้น แม้ยังต้องเผชิญโควิด-19 ระบาด หลังประเทศคลายล็อก เปิดรับต่างชาติเข้าไทยโดยไม่ต้องกักตัว แต่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาพรวมยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เหตุความกังวลปัญหาต้นทุน-ค่าพลังงาน-เงินเฟ้อ  ยังพุ่งสูง แต่ภาพรวมอีก 6 เดือนหน้า ผู้ประกอบการยังหวังภาพรวมธุรกิจดีขึ้น   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ REIC เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ในภาวะปัจจุบัน (Current Situation Index) ในภาพรวมของไตรมาส 2 ปี 2565 มีทิศทางที่ปรับตัวดีขึ้น ผู้ประกอบการเริ่มมีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจอสังหาฯ ดีขึ้น แม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันยังคงเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิค-19  โดยพบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 มีค่าดัชนีเท่ากับ 49.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 47.1 และมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวของปีก่อน (YoY) มีค่าดัชนีเท่ากับ 46.4 สาเหตุที่ทำให้​ค่าดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น  คาดว่าจะมาจากมาตรการคลายล็อกโควิด-19 ที่มีการยกเลิก Test & Go ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น และตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 มีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ โดยนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยไม่ต้องกักตัวทุกรูปแบบ และไม่ต้องลงทะเบียน Thailand Pass ทำให้ผู้ประกอบการมีทิศทางความเชื่อมั่นทางบวกต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์   แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าค่าดัชนีจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังคงต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 เป็นเพราะยังมีปัจจัยลบที่สร้างความกังวลกับ จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาของเหล็ก รวมถึงภาวะเงินเฟ้อ และการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการยังมีความกังวลในการดำเนินธุรกิจในไตรมาสปัจจุบันอยู่ ดังจะเห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในหมวดต้นทุนการประกอบการที่ปรับลดลงอย่างชัดเจน ดัชนีความเชื่อมั่น บิ๊กอสังหาฯ สูงกว่าค่าเฉลี่ย เมื่อจำแนกความเชื่อมั่นตามกลุ่มผู้ประกอบการฯ พบว่า ความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันของผู้ประกอบการกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Listed Companies) ในไตรมาส 2 ปี 2565 มีค่าดัชนีเท่ากับ 54.9 สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนี 51.1 และสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies มีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจในภาวะปัจจุบันเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวของปีก่อน   ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่มบริษัทจดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์ (Non-listed Companies) ในไตรมาส 2 ปี 2565 มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 42.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 41.1 แต่ยังคงต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการรายย่อยกลุ่ม Non-listed Companies มีความกังวลต่อปัจจัยลบดังกล่าวมากกว่ากลุ่ม Listed Companies แต่ถ้าหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวของปีก่อนผู้ประกอบการรายย่อยยังมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ในภาวะที่ยังคงเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิค-19 (ดูตารางที่ 1 และแผนภูมิที่ 1) ตารางที่ 1 ดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน (Current Situation Index) ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์   แผนภูมิที่ 1 ดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน (Current Situation Index) ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มอง 6 เดือนหน้าตลาดปรับตัวดีขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ในภาพรวมอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) มีค่าเท่ากับ 56.6 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.5 และค่าดัชนีสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0  สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาฯ เพิ่มขึ้น   เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการฯ ตามประเภทบริษัท พบว่า กลุ่ม Listed Companies มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 61.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.5 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีความเชื่อมั่นในธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเปิดโครงการใหม่ และ/หรือ เฟสใหม่ และการจ้างงานที่มากกว่าไตรมาสก่อนหน้าอย่างมีนัยสำคัญ   ขณะที่ผู้ประกอบการฯ กลุ่ม Non-listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับ 49.1 ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.5 และต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 โดยผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นลดลง โดยเฉพาะในด้านยอดขายที่มีความเชื่อมั่นลดลงมาก แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการในกลุ่ม Non-listed Companies มีความกังวลต่อปัจจัยลบดังกล่าวมากกว่ากลุ่ม Listed Companies อย่างเห็นได้ชัด (ดูตารางที่ 2 และ แผนภูมิที่ 2)   ตารางที่ 2 ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์   แผนภูมิที่ 2 ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แนะตลาดบ้าน-คอนโด ต้องต้องเฝ้าระวัง  5 เรื่องนี้  
เปิดงบลงทุน 120,000 ล้าน เซ็นทรัลพัฒนา ใช้ไปกับธุรกิจอะไรบ้าง

เปิดงบลงทุน 120,000 ล้าน เซ็นทรัลพัฒนา ใช้ไปกับธุรกิจอะไรบ้าง

เซ็นทรัลพัฒนา เซ็นทรัลพัฒนา วางแผน 5  ปี ทุ่มงบ 120,0000  ล้าน  ลุยขยาย 4 ธุรกิจ  รีเทล-โรงแรม-ที่อยุ่อาศัย-อาคารสำนักงาน ขึ้นโปรเจ็กต์​180 โครงการใน 30 เมืองทั่วไทย    บ้านเรามีตระกูลที่เป็นเจ้าของศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ อยู่ไม่กี่ราย หนึ่งในนั้นคงเป็นตระกูล “จิราธิวัฒน์” ซึ่งเป็นเจ้าของอาณาจักร “เซ็นทรัล” ที่ไม่ได้มีแค่ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า “เซ็นทรัล” เท่านั้น แต่ยังมี โรงแรม และสำนักงานให้เช่าอีกจำนวนมาก   โดยการพัฒนาโครงการต่าง ๆ เหล่านั้น อยู่ภายใต้กลุ่มบริษัท “เซ็นทรัลพัฒนา” หรือ CPN ซึ่งมีจุดเริ่มต้นโครงการแรก คือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว ที่มีทั้งศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และสำนักงานให้เช่า ถือโครงการมิ๊กซ์ยูสขนาดใหญ่ ที่ดำเนินธุรกิจมาถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 40 ปีแล้ว​   เซ็นทรัลพัฒนา ยังคงเดินหน้าต่อ กับการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ประกาศแผนธุรกิจในระยะ 5 ปี (2565-2569) นับจากนี้ กับเม็ดเงินลงทุนถึง 120,000 ล้านบาท ครอบคลุมกว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาทุกธุรกิจในมือด้วยจำนวนมากถึง 180 โครงการ ภายใต้ 4 กลุ่มธุรกิจหลัก เซ็นทรัลพัฒนา เทงบ 1.2 แสนล้านปั้น 4 ธุรกิจ โดยสิ่งที่เราจะได้เห็นจากงบประมาณการลงทุน 120,000 ล้านบาท ในแต่ละธุรกิจนั้น มีดังนี้ 1.ธุรกิจ “ศูนย์การค้า” -วางแผนพัฒนาโครงการใหญ่ 50 โครงการทั้งในและต่างประเทศ -คอมมูนิตี้ มอลล์ 16 แห่ง บุกทำเลศักยภาพสูง CBD Bangkok อาทิ โครงการใหม่ที่จะเปิดให้บริการในไตรมาส 4 ปีนี้ คือ โครงการ Marche Thonglor 2.ธุรกิจ “โครงการที่อยู่อาศัย” วางแผนพัฒนาโครงการทั้งแนวราบและแนวสูงรวม 68 โครงการทั่วประเทศ ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจที่อยู่อาศัย ​มีโครงการทั้งหมด 22 โครงการรวมมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งมียอดโอนแล้ว 10,000 ล้านบาท และยอดรอรับรู้รายได้ 3,700 ล้านบาท มีลูกบ้านเซ็นทรัลแล้วกว่า 10,000 ราย ในปีนี้จะเพิ่มการพัฒนาที่อยู่อาศัยขึ้นเป็น 46 โครงการ มูลค่าอีก 60,000 ล้านบาท 3.ธุรกิจ “โรงแรม” วางแผนพัฒนาโรงแรมใหม่รวม 37 โครงการ 4,000 ห้อง จากปัจจุบันมีโรงแรมทั้งหมด 560 ห้อง ภายใต้ 3 แบรนด์ ได้แก่ -แบรนด์ระดับ Upscale ได้แก่ แบรนด์ Centara ที่มาพร้อมส่วนสัมมนาและการจัดเลี้ยง, -แบรนด์ Lifestyle Midscale ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกแบบทั้งทำงานและพักผ่อน  ซึ่งจะเน้นการขยายไปยังหัวเมืองรองเป็นหลัก -แบรนด์ Premium budget  ที่สามารถขยายไปได้ทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ระดับราคาห้อง 700-1,000 บาทต่อคืน ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง 4.ธุรกิจ “อาคารสำนักงาน” ปัจจุบันเซ็นทรัลพัฒนา มีสำนักงานบริหารอยู่ 330,000 ตารางเมตร ภายในระยะ 5 ปีจะพัฒนาเพิ่มเป็น 500,000 ตารางเมตร ใน 13 โครงการ เพื่อก้าวสู่การเป็น The Most Preferred Workplace ของทั้งบริษัทผู้เช่าและคนทำงาน   ส่วนในปีนี้จะมีการปรับโฉม The Offices at centralwOrld และวางแผนขยายโปรเจ็กต์ในอนาคต ได้แก่ Central Park Office ภายในโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค  และโครงการภายใต้บริษัท GLAND ในย่านพระราม 9 นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท​ เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ทุกธุรกิจสามารถเติบโตไปพร้อมกับเซ็นทรัลพัฒนา หรือเติบโตไปพร้อมกับกลุ่มเซ็นทรัลก็ได้ หรือจะไปสร้างการเติบโตของตนเองก็ได้เช่นกัน เพราะจุดแข็งของกลุ่มเซ็นทรัล คือ การมีฐานข้อมูลจากสมาชิก  The 1 โดยสัดส่วนการลงทุนมูลค่า 120,000 ล้านบาท จะเป็นกลุ่มรีเทล 70% กลุ่มที่อยู่อาศัย 20% กลุ่มธุรกิจโรงแรมและสำนักงานอีก 10% ขณะเดียวกันยังเตรียมงบอีกส่วนหนึ่ง เพื่อใช้ในการซื้อกิจการหรือการลงทุนในธุรกิจอื่น ๆ ด้วย เพื่อตอบรับเทรนด์แห่งอนาคต นอกจาก 4 ธุรกิจหลักภายใต้ Retail-Led Mixed-Use Development เซ็นทรัลพัฒนายังมีกลุ่มธุรกิจ Alternative Assets เพื่อมองหาโอกาสในการขยายและลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเติมเต็ม Ecosystem และเชื่อมโยงกับธุรกิจหลัก อาทิ การร่วมทุน Grab ที่เป็น Delivery Platform และ Common Ground ที่เป็น Co-Working Space และเตรียมศึกษาการลงทุนใน Venture Capital ที่เตรียมเปิดเผยรายละเอียดเร็วๆ นี้   เพื่อตอบรับเทรนด์แห่งอนาคต นอกจาก 4 ธุรกิจหลักภายใต้ Retail-Led Mixed-Use Development เซ็นทรัลพัฒนายังมีกลุ่มธุรกิจ Alternative Assets เพื่อมองหาโอกาสในการขยายและลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเติมเต็ม Ecosystem และเชื่อมโยงกับธุรกิจหลัก อาทิ การร่วมทุน Grab ที่เป็น Delivery Platform และ Common Ground ที่เป็น Co-Working Space และเตรียมศึกษาการลงทุนใน Venture Capital ที่เตรียมเปิดเผยรายละเอียดเร็วๆ นี้   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่มงบ 120,000 ล้านบาทใน 5 ปี ตั้งเป้า องค์กร Mixed-use Developer รายแรกสู่ Net Zero ปี 2050 -เซ็นทรัลพรัฒนา ปั้นแบรนด์ นิรติ จับตลาดเรียลดีมานด์ เปิดโปรเจ็ตก์ใหม่ 1,850 ล้าน  
[PR News] GLAND จับมือหัวเว่ย  ร่วมพัฒนา Smart Digital Township & Intelligent Connectivity

[PR News] GLAND จับมือหัวเว่ย ร่วมพัฒนา Smart Digital Township & Intelligent Connectivity

GLAND จับมือหัวเว่ย ยกระดับอสังหาฯไทย ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ ร่วมพัฒนา Smart Digital Township & Intelligent Connectivity ด้วยเทคโนโลยีระดับโลก เดินหน้านโยบายไทยแลนด์ 4.0   นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLAND เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามบันทึกข้อตกลงการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์  กับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัดเพื่อเดินหน้าพัฒนาออฟฟิศอัจฉริยะและดิจิทัลสเปซ ตอกย้ำพื้นที่แห่งการใช้ชีวิตและการทำงานในอนาคต ผสานโลก Physical และ Digital เชื่อมโยง ICT และ IOT สู่วงการอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มรูปแบบ   การได้ร่วมมือกับหัวเว่ยในครั้งนี้ ถือเป็นการช่วยเติมเต็ม และนำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญของหัวเว่ย มาช่วยเพิ่มศักยภาพความแข็งแกร่งและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับมิกซ์ยูสโปรเจ็ค ต่าง ๆ อาทิ อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย และ โรงแรม ในอนาคต ของ GLAND รวมถึงบริษัทในเครือในอนาคต เพื่อสร้างเมืองแห่งการอยู่อาศัยอัจฉริยะ เป็น Smart Digital Township ที่ทันสมัย สร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดให้ธุรกิจ และ ยกระดับวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศไทย กำลังมุ่งสู่การก้าวสู่ยุคสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยประเทศไทยจะกลายเป็น ดิจิทัลฮับที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ของภาครัฐ รวมถึงเป็น ตลาดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในด้านการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ GLAND ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เป็นผู้พัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์ โดยมีสินทรัพย์หลักอยู่ในโครงการ เดอะ แกรนด์ พระราม 9 (The Grand Rama 9) พื้นที่ใจกลางเมืองบนพื้นที่ประมาณ 73 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนพระราม 9 ติดถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นทำเลศักยภาพสูงในย่านธุรกิจแห่งใหม่ (The New CBD) ของกรุงเทพฯ โดยโครงการมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ธุรกิจ ได้แก่ อาคารสำนักงานให้เช่าที่อยู่ภายใต้การบริหาร 3 แห่ง ได้แก่ 1. จี ทาวเวอร์ 2.เดอะไนน์ ทาวเวอร์ และ 3.ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ ด้วยพื้นที่เช่าสุทธิในทุกโครงการรวมกันกว่า 145,000 ตารางเมตร  โครงการคอนโดมิเนียมเพื่อขาย เบ็ล แกรนด์ พระราม 9 ซึ่งได้ทำการขายและโอนเสร็จสิ้นทั้งโครงการแล้ว และพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าสุทธิในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมรวมกันกว่า 20,000 ตารางเมตร   นอกจากนี้ GLAND มีที่ดินที่รอการพัฒนาอยู่อีก 4 แห่ง รวมกันกว่า 190 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่บนทำเลที่ศักยภาพสูงในกรุงเทพฯ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว โดยที่ดินดังกล่าวประกอบด้วย 1.ที่ดินเปล่าในโครงการ เดอะ แกรนด์ พระราม 9 2. ที่ดินบริเวณพหลโยธิน ซึ่งที่ดินทั้งสองแห่งอยู่ระหว่างการสรุปแผนการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส นอกจากนี้ยังมี 3. ที่ดินบริเวณดอนเมือง โดยได้นำที่ดินบางส่วนไปพัฒนาโครงการนิรติ ดอนเมือง ซึ่งเริ่มเปิดขายและโอนในปี 2564 และ 4.ที่ดินบริเวณกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการในอนาคต ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า  หัวเว่ยและทาง GLAND เป็นพันธมิตรที่ทำงานร่วมกันมาอย่างใกล้ชิดและยาวนาน นับตั้งแต่เราเริ่มธุรกิจในไทยอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2542 โดยสำนักงานใหญ่ของหัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย ตั้งอยู่ในอาคารจีทาวเวอร์ แกรนด์ ซึ่งเป็นอาคารในเครือของ GLAND   นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้นำร่องเปิดตัวศูนย์ Huawei Open Lab Bangkok ในปี 2560 ที่อาคารเดียวกัน เพื่อช่วยพัฒนาทักษะดิจิทัลในประเทศไทย สร้างสรรค์นวัตกรรม และรองรับเป้าหมายของประเทศในการขึ้นเป็นศูนย์กลางดิจิทัลระดับอาเซียน เราหวังว่าความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและ GLAND ครั้งนี้  จะช่วยเสริมความอัจฉริยะให้แก่ภาคอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการตอบโจทย์พันธกิจของหัวเว่ยในการเป็นผู้สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมทั้งนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปสู่ทุกคน บ้านทุกหลัง และองค์กรทุกแห่ง เพื่อสร้างประเทศไทยอัจฉริยะที่เชื่อมโยงกันอย่างเต็มรูปแบบ ความร่วมมือระหว่าง  GLAND และ หัวเว่ย ที่จะพัฒนา ecosystem ที่ครบวงจร ผ่านทาง 5 องค์ประกอบสำคัญ ในการสร้าง Smart Digital Township ผ่านอสังหาฯต่างๆ ของ GLAND ได้แก่ 1.Smart Building พัฒนาอาคารอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีระดับโลก ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายด้านการใช้งานต่อผู้ใช้อาคาร และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   2.Smart Asset Management การบริหารจัดการสินทรัพย์ด้วย เทคโนโลยี 5G, เทคโนโลยีแอคเซสพอยท์ Wi-Fi 6 ความเร็วระดับอัลตร้าไฮสปีด, โมดูล IoT และ กล้องตรวจจับอัจฉริยะ   3.Smart Hospitality and Retail เชื่อมโยงระบบ Fiber Backbone สู่การเป็นโรงแรมและศูนย์การค้าอัจฉริยะแห่งโลกอนาคต   4.Smart Campus and Living ระบบอาคารและพื้นที่อยู่อาศัย ที่มุ่งเน้นด้านความปลอดภัย รวมถึงระบบที่จอดรถอัจฉริยะ   5.Intelligent Connectivity การเชื่อมต่ออัจฉริยะด้วยระบบ AI หรือปัญญาประดิษฐ์, VDO & Imaging Technology และ ไฟเบอร์ออพติก รวมถึง พื้นที่เก็บข้อมูลในคลาวด์  
7 บิ๊กอสังหาฯ ระดมทุน ผ่าน “หุ้นกู้”  2 เดือนเฉียด 10,000 ล้าน

7 บิ๊กอสังหาฯ ระดมทุน ผ่าน “หุ้นกู้” 2 เดือนเฉียด 10,000 ล้าน

หุ้นกู้ 7 บิ๊กอสังหาฯ ออกรวมมูลค่าเฉียด 10,000 ล้าน เสนอดอกเบี้ย 3.1-7.5% นำเงินต่อยอดพัฒนาโครงการ พร้อมลุยธุรกิจปี 65 หลังจากปีที่ผ่านมามีการรดมทุนผ่านหุ้นกู้กว่า 270,000 ล้าน การระดมทุนเพื่อมาดำเนินธุรกิจ นอกจากจะมาจากส่วนของเจ้าของกินการและกรรมการ ที่จะนำออกมาใช้แล้ว การกู้ยืมเงินทุนกับสถาบันการเงิน ก็เป็นวิธีปกติที่ทุกธุรกิจเลือกที่จะใช้กัน แต่บางครั้งการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน ก็อาจจะไม่ได้คล่องตัวมากนัก หรือเจ้าของธุรกิจคงต้องมีหลักทรัพย์ หรือมีคุณสมบัติที่ดีพอในการจะไปกู้เงิน  นอกเหนือจากการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินแล้ว วิธีการระดมทุนเพื่อมาใช้ดำเนินธุรกิจ หรือขยายกิจการ ก็ยังมีอีกหลายวิธี หนึ่งในวิธีที่บริษัทชั้นนำนิยมทำ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คือ การระดมทุนผ่าน หุ้นกู้   โดยหุ้นกู้โดยทั่วไป จะมีการกำหนดมูลค่าไว้ที่หน่วยละ 1,000 บาท และหุ้นกู้ส่วนใหญ่มักกำหนดมูลค่าการซื้อขั้นต่ำไว้ที่ 100,000 บาท หรืออาจมากกว่านั้นในกรณีการขายให้นักลงทุนสถาบัน หรือนักลงทุนรายใหญ่  โดยผู้ซื้อหุ้นกู้จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ในขณะที่ผู้ออกหุ้นกู้จะมีสถานะเป็นลูกหนี้ที่มาขอยืมเงินพร้อมสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้คืนให้ผู้กู้ในอัตราที่แน่นอน ตามระยะเวลาของสัญญาการกู้เงิน เช่น หุ้นกู้อายุ 3 ปีจนถึง 10 ปี   สำหรับผลตอบแทนของหุ้นกู้จะอยู่ในรูปของดอกเบี้ย การจ่ายดอกเบี้ยจะจ่ายปีละ 2 ครั้ง หรือทุก ๆ 6 เดือน แต่สำหรับหุ้นกู้บางรุ่นอาจจ่ายปีละ 4 ครั้ง หรือทุก ๆ 3 เดือนก็ได้ และดอกเบี้ยที่ได้รับจากหุ้นกู้ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ 15% เช่นเดียวกับรายได้จากดอกเบี้ยชนิดอื่น ๆ   ในแวดวงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บรรดาดีเวลลอปเปอร์จำนวนมากก็เลือกใช้วิธีการขายหุ้นกู้ เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงิน สำหรับการระดมทุนเพื่อมาต่อยอดธุรกิจ พัฒนาโครงการใหม่ เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ โดยในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่า บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ มีการระดมทุนผ่านการขายหุ้นกู้กว่า 270,000 ล้านบาทเลยทีเดียว สำหรับปี 2565 เฉพาะแค่ 2 เดือนแรก ก็พบว่ามีบริษัทอสังหาฯ เสนอขายหุ้นกู้แล้วเกือบ 10,000 ล้านบาท ยังไม่นับรวมบริษัท แลนด์​ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่ประกาศแผนว่าจะระดมทุนผ่านหุ้นกู้อีก 14,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ได้ระบุว่าจะเริ่มเสนอขายเมื่อใดด้วย 5 ประโยชน์หุ้นกู้ รู้ไว้ก่อนจ่ายเงินซื้อ* สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจในการลงทุนหรือซื้อหุ้นกู้นั้น คือ ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ย ที่สูงกว่าอัตราเงินฝากธนาคาร แม้ว่าระยะเวลาการไถ่ถอนคืนจะมีระยะเวลาหลายปีก็ตาม แต่หากวัดจากอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ นักลงทุนที่มีเงินออมหรือไม่จำเป็นต้องรีบใช้เงิน จึงเลือกที่จะมาลงทุนในหุ้นกู้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม  นักลงทุนที่ตัดสินใจซื้อหุ้นกู้ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ที่จะได้รับจากการลงทุน ก่อน​ ได้แก่ 1.อัตราผลตอบแทน   หุ้นกู้ของบริษัทเอกชน มักจะเสนออัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีลักษณะและอายุคงเหลือใกล้เคียงกัน ผลตอบแทนสส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ จะเป็นการชดเชยให้กับความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนถือว่ามีความเสี่ยงในด้านการผิดนัดชำระหนี้ มากกว่าพันธบัตรรัฐบาล 2.เป็นแหล่งรายได้ประจำ   เนื่องจากหุ้นกู้และตราสารหนี้จ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆ แก่ผู้ลงทุน และจะจ่ายคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดของอายุกุ้นกู้ หากนักลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำ โดยที่เงินต้นของการลงทุนนั้นยังคงอยู่ครบ จึงอาจพิจารณาลงทุนในหุ้นกู้และตราสารหนี้อื่น ๆ ไว้ในพอร์ตการลงทุน ​​ 3.ความมั่นคงปลอดภัยของเงินลงทุน  นักลงทุนควรพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่ท่านลงทุน โดยอันดับความน่าเชื่อถือที่สูง ก็ถือว่ามีความปลอดภัยสูง หรือแปลได้ว่า มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระเงินคืนค่อนข้างต่ำ อันดับความน่าเชื่อถือนี้จะประเมินจากประวัติทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้หุ้นกู้ที่ออกขายในประเทศไทยจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 4.การกระจายความเสี่ยงของการลงทุน  หุ้นกู้อาจถือว่าเป็นเครื่องมือการลงทุนที่ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของความต้องการของนักลงทุนในเรื่องการกระจายความเสี่ยง โดยนักลงทุนสามารถกระจายการลงทุนไปสู่ธุรกิจประเภทต่าง ๆ โดยมีอันดับความน่าเชื่อถือที่หบากหลายได้ 5.สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้   หุ้นกู้ สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดรอง โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันครบกำหนดอายุ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องการซื้อขายอาจแตกต่างไปตามขนาดและเงื่อนไขของแต่ละหุ้นกู้ บิ๊กอสังหาฯ​เสนอขายหุ้นกู้เฉียด 10,000 ล้าน สำหรับในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2565 บริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการเสนอขายหุ้นกู้ให้กับประชาชนทั่วไป และนักลงทุนสถาบัน 7 บริษัท รวมวงเงินเบื้องต้น 9,950 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ 3.1-7.5% ต่อปี อนันดา ขายหุ้นได้ตามเป้า 5,000 ล้าน บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN ได้เสนอขายหุ้นกู้รุ่น 1 อายุ 1 ปี 6 เดือน ผลตอบแทน 4.50% ต่อปี และรุ่นอายุ 2 ปี 6 เดือน ผลตอบแทน 5.40% ต่อปี ซึ่งได้เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน ในวันที่ 11-13 มกราคม 2565 ผ่านสถาบันการเงิน 7 แห่ง ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ได้แก่  ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย ซีมิโก้ จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด   สำหรับหุ้นกู้ของบริษัทได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อจากบริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ที่ระดับ "BBB-" เช่นเดียวกับอันดับเครดิตองค์กร และมีแนวโน้ม "คงที่" (Stable) โดยตั้งเป้าเสนอขายหุ้นกู้ 5,000 ล้านบาท ซึ่งภายหลังจากการเปิดจำหน่ายก็สามารถขายได้ตามเป้าที่วางเอาไว้ แม้ว่าในสภาวะที่ตลาดตราสารหนี้ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 บริษัทฯ มีแผนไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ที่ถึงกำหนด 5 ปี จำนวน 770 ล้านบาทและเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 230 ล้านบาท หุ้นกู้ดิจิทัล “แสนสิริ” ขายเกลี้ยงไม่ถึง 4 วิ. บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) ได้มีการเสนอขายหุ้นกู้ในนรูปแบบใหม่ ด้วยการซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ที่มีมูลค่าเสนอขาย 2,000 ล้านบาท ในวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา โดยให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยคงที่ 3.10% ต่อปี ระยะเวลาลงทุนเพียง 2 ปี 6 เดือน รับดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ เมื่อเปิดขายหุ้นกู้สามารถมียอดจองซื้อเต็มมูมูลค่าเสนอขาย 2,000 ล้านบาท ในระยะเวลาเพียง 3 นาที 38 วินาที โดยเป็นหุ้นกู้ดิจิทัลแสนสิริตามแผนการเสนอขาย 1,000 ล้านบาท และมีหุ้นกู้สำรองเพื่อการเสนอขายเพิ่มเติม (กรีนชู) อีกจำนวน 1,000 ล้านบาท  จากนักลงทุนจำนวน 5,800 ราย ซึ่งเป็นนักลงทุนรายย่อยที่เข้าถึงหุ้นกู้ดิจิทัลแสนสิริ แกรนด์ แอสเสทฯ ขายหุ้นกู้ ดอกเบี้ย 7% บริษัท ​แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (GRAND) ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นกู้มีประกันมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท อายุ 1 ปี 6 เดือน ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 7%  ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ โดยเสนอขายให้ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 24-26 ม.ค.65 ผ่าน บล.โกลเบล็ก บล.กรุงไทย ซีมีโก้ และ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) โดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ "BB-" แนวโน้มอันดับเครดิต"Negative" เมื่อวันที่ 19 มี.ค.64   สำหรับหลักประกัน ได้แก่ หลักประกันประเภทอสังหาริมทรัพย์มูลค่าไม่น้อยกว่า 1.05 เท่าของมูลค่าหุ้นกู้ที่จำหน่ายได้ ได้แก่ ที่ดินระยอง และห้องชุดโครงการไฮด์ สุขุมวิท 11 และ หลักประกันประเภทหุ้น มูลค่าไม่น้อยกว่า 0.54 เท่า ของมูลค่าหุ้นกู้ที่จำหน่ายได้ ได้แก่ หุ้นสามัญของบมจ.โรงแรมรอยัลออคิด(ประเทศไทย)  (ROH)  บริษัทมีวัตถุประสงค์จะนำเงินที่ได้มาใช้ชำระคืนหนี้สถาบันการเงิน จำนวน 380 ล้านบาท และที่เหลือ 620 ล้านบาทใช้ชำระคืนหนี้หุ้นกู้ที่จะครบกำหนดเดือน ก.พ.65 จำนวน 1,489 ล้านบาท โนเบิล ขายหุ้นระดมทุนพัฒนาโครงการใหม่ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOBLE   หลังจากได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเพื่อขออนุญาตและเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ไปเมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ขณะนี้บริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้จากสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป และผู้ลงทุนสถาบัน อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.60% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือน จองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณทุก ๆ 100,000 บาท เสนอขายระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2565 นี้ โดยวัตถุประสงค์ในการออกหุ้นกู้ครั้งนี้เพื่อขยายการลงทุนและการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในแนวราบมากขึ้นรวมถึงการลงทุนในบริษัทร่วมทุน ทั้งนี้บริษัทฯและหุ้นกู้ที่ออกในครั้งนี้ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 ที่ระดับ “BBB” แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” ซึ่งหุ้นกู้ที่ออกครั้งนี้และหุ้นกู้ชุดอื่น ๆ ของบริษัทฯ ในปัจจุบันได้รับการเพิ่มอันดับเครดิตจากเดิมที่ระดับ “BBB-” มาที่ระดับ “BBB” เช่นเดียวกัน ไรมอนแลนด์ ขายหุ้นกู้ 300 ล้าน บริษัท  ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ ​ RML ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นกู้มีประกันของบริษัท ครั้งที่ 1/2565 มูลค่าไม่เกิน 300 ล้านบาท อายุ 1 ปี 3 เดือน ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2566 มีอัตราดอกเบี้ยคงที่  6.25% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 8-10 ก.พ.65 โดยมีผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ได้แก่ บล.คิงส์ฟอร์ด บล.ยูโอบีเคย์เฮียน (ประเทศไทย) บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ CCC(tha) เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.64 ซึ่งบริษัทมีวัตถุประสงค์จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจในปี 65-66 ไซมิส ขายหุ้นกู้ 1,200 ล้าน ต่อยอดธุรกิจ บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) หรือ SA ได้ออกหุ้นกู้จำนวน 2 ชุด วงเงินไม่เกิน 1,200 ล้านบาท  โดยแบ่งเป็นชุดที่ 1 หุ้นกู้ ผลตอบแทน 6.25% อายุ 2 ปี 6 เดือน มีหลักประกัน จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน และชุด 2​ หุ้นกู้ ผลตอบแทน 6.8% อายุ 2 ปี ไม่มีหลักประกัน จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน โดยเปิดขายระหว่างวันที่ 11 และ 14 – 15 ก.พ.นี้   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปต่อยอดในธุรกิจต่าง ๆ เช่น Recurring Income, F&B, Cloud Kitchen, AMC, Technology, Wellness, พัฒนาโครงการแนวราบต่าง ๆ และบางส่วนนำเงินไปไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด  โดยธุรกิจใหม่ๆ นี้ จะสร้างรายได้เพื่อการเติบโตแบบยั่งยืน  อีกทั้งจะทำให้มีการกระจายแหล่งที่มาของรายได้ ตอบโจทย์แผนธุรกิจระยะยาว ออลอินสไปร์ ระดมขายหุ้นกู้ 450 ล้าน บริษัท ​ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ALL ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นกู้มีประกันของบริษัท ครั้งที่ 1/2565 มูลค่าไม่เกิน 450 ล้านบาท ชุดที่ 1 หุ้นกู้อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 7.00% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ และชุดที่ 2 หุ้นกู้อายุ 3 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2568 มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 7.50% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้   โดยหุ้นกู้ดังกล่าวจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 17-18 และ 21-22 ก.พ.65 ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ได้แก่  บล.เอเอสแอล บล.บียอนด์ บล.คันทรี่กรุ๊ป  และ บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย) สำหรับหลักประกัน ได้แก่ ที่ดินเปล่ารวมถึงส่วนควบบนที่ดินที่จะมีขึ้นในอนาคต และ กรรมสิทธิ์ห้อง โครงการ The Excel Ratchada 18 และโครงการ The Excel Ladprao-Sutthisan โดยดำรงมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นประกันในอัตราส่วนไม่น้อยกว่า 1:1 เท่า บริษัทมีวัตถุประสงค์นำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้ เพื่อใช้ชำระคืนหุ้นกู้ ALL222A ที่จะครบกำหนด 28 ก.พ.65 ประมาณ 413 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนในกิจการ และในโครงการที่มีอยู่ปัจจุบัน ประมาณ 37 ล้านบาท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ วางแผนขายหุ้นกู้ 14,000 ล้าน สำหรับบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH ​มีแผนที่จะออกหุ้นกู้อีกจำนวน 14,000 ล้านบาทในปี 2565 นี้ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจะอยู่ในระดับที่ลดลงจากสิ้นปี 2564 โดยอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 100% ซึ่งในปี 2564 บริษัทได้มีการออกหุ้นกู้มูลค่ารวม 16,000 ล้านบาท ระยะเวลา 2-3 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 1.40% ต่อปี โดยปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดการจำหน่ายหุ้นกู้ออกมา ​​   ที่มา : *ดีดี พร็อพเพอร์ตี้ www.set.or.th, Reviewyourliving รวมรวม
เฟรเซอร์สฯ  ชู 4 กลยุทธ์ลุยธุรกิจรีเทล  เตรียมเปิด “สีลมเอจ” เพิ่มพื้นที่ 24 ชั่วโมง

เฟรเซอร์สฯ ชู 4 กลยุทธ์ลุยธุรกิจรีเทล เตรียมเปิด “สีลมเอจ” เพิ่มพื้นที่ 24 ชั่วโมง

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล ชู 4 กลยุทธ์เอาตัวรอดจากโควิด-19 พร้อมใช้เป็นเครื่องมือลุยต่อปี 65 เดินหน้าเติมพอร์ตธุรกิจรีเทล เตรียมเปิดพื้นที่ 10,000 ตร.ม. “สีลมเอจ” ​จับกลุ่มลูกค้าย่านสีลม-พระราม 4 ให้บริการร้านอาหาร 24 ชั่วโมง   นางสาวธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) หรือ  FPCT เปิดเผย ถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2565 ว่ายังเป็นปีที่ภาพรวมของธุรกิจรีเทล ยังมีความท้าทายเหมือนกับช่วงที่ผ่านมา และยังมีการแข่งขันเช่นเดิม แต่สถานการณ์การแข่งขันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ภายหลังจากที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศได้เป็นปกติ เพราะพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว จะไม่ใช้บริการเฉพาะแต่ศูนย์การค้าในย่านใจกลางเมืองเท่านั้น แต่จะเดินทางไปทุกศูนย์การค้า จึงถือเป็นความท้าทายในการที่ผู้ประกอบการจะทำตลาดและเพิ่มส่วนแบ่งรายได้จากกลุ่มนักท่องเที่ยวดังกล่าว   สำหรับศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ปัจจุบันถือว่ายังไม่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการ ลูกค้าหลักยังเป็นกลุ่มคนไทย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา ผู้ทำทงาน และผู้ที่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง ปัจจุบันมีปริมาณทราฟิคถือว่า 100% จากช่วงก่อนหน้านี้มีผู้เข้าใช้บริการเฉลี่ย 55,000 คน/วัน และยังคงรักษาอัตราผู้เช่าไว้ในระดับสูงที่ 98% โดยหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศคลายล็อคดาวน์ โดยเป็นผลจากการรักษามาตรฐานความปลอดภัยของโครงการ การดำเนินงานเชิงรุก การเน้นการจับกระแสอย่างรวดเร็ว แล้วลงมือสร้างกิจกรรมทางการตลาดผ่านแคมเปญต่าง ๆ 4 กลยุทธ์อยู่รอดและไปต่อในปี 65 สำหรับในรอบปีที่ผ่านมา สามย่านมิตรทาวน์ ต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า แต่ยังคงสามารถทำผลประกอบการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งกลยุทธ์ที่ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และยังจะใช้เป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจต่อในปี 2565 นี้ด้วย คือ 4 กลยุทธ์สำคัญ ดังนี้ 1.Fluid Approach หมายถึง การลื่นไหลไปกับกระแสนิยมแบบ Real Time ซึ่งเป็นรูปแบบการตลาดแบบอิงกับกระแสนิยมของสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นระยะเวลาสั้น ๆ 7 วันถึง 1 เดือน แล้วทำการตลาดสอดคล้องไปกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การทำตลาดตามความนิยมของซีรีย์เกาหลี ไม่ว่าจเป็นเรื่อง  SQUID GAME ,Hometown Cha-Cha-Cha  ถือเป็นการทำตลาดที่ใช้ความเร็ว หรือ Speed Marketing เข้ามาบริหาร 2.Redefine Physical Location เป็นการบริหารพื้นที่ของศูนย์การค้าให้เกิดประโยชน์ โดยไม่กำหนดว่าจะต้องเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อการขาย หรือ Sale Promotion เท่านั้น แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากสถานที่ ด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่เปิดกว้างและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการสร้างพื้นที่ให้เกิดประโยชน์กับชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งรูปแบบกิจกรรมมีหลากหลาย ทั้งที่เป็นของพันธมิตร การจัดโดยสามย่านมิตรทาวน์เอง ซึ่งเป็นรูปแบบ Signature Event ที่ปีนี้จะจัดขึ้นด้วยกันประมาณ 4 งาน รวมถึงการจัดและตกแต่งพื้นที่อุโมงค์เชื่อมมิตร ที่ทำให้กลายเป็นจุดในการดึงดูดคนให้เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์การค้า และเป็นสถานที่สำหรับการมาถ่ายภาพ และเช็คอิน 3.Leverage Digital Technology การนำเอาเทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาช่วยเสริมการบริการ และการบริหารศูนย์การค้า เช่นการ​ใช้เทคโนโลยีในพื้นที่รีเทล (เตรียมรองรับการชำระค่าบริการด้วยเงินดิจิทัล เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ลูกค้า) การใช้แอปพลิเคชัน MitrCare  ซึ่งได้ร่วมมือกับ KBTG เพิ่มฟังก์ชั่นระบบจัดซื้อ หรือ E-Catalogue อำนวยความสะดวกให้กับคู่ค้า ร้านค้าตลอด 24 ชั่วโมง ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้า SME ที่มีกว่า 40 ราย สามารถซื้อสินค้าที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจได้ 4.Hygiene and Safety Practice เป็นการส่งเสริมสุขอนามัยของผู้ใช้บริการและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง  ตามมาตรการ PREVENTIVE ด้วยการความเข้มงวดในการคัดกรองผู้ใช้บริการ ณ จุดตรวจวัดอุณหภูมิ การรักษาระยะห่างอย่างเหมาะสม การบังคับสวมหน้ากาก และการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนด สีลมเอจ เติมพอร์ตรีเทลให้เฟรเซอร์ฯ ปัจจุบันกลุ่มเฟรเซอร์ฯ มีพื้นที่รีเทลในส่วนของศูนย์การค้าแห่งเดียว คือ สามย่านมิตรทาวน์ แต่ในช่วงเดือนกันยายน 2565 นี้ จะมีพื้นที่รีเทลเพิ่มเติมเข้ามาในพอร์ตธุรกิจ คือ โครงการสีลมเอจ (Silom Edge) ซึ่งเป็นโครงการมิ๊กซ์ยูส มีทั้งส่วนพื้นที่สำนักงานและส่วนของศูนย์การค้า โดยมีขนาดพื้นที่รีเทล 10,000 ตารางเมตร จำนวน 7 ชั้น   โดยจะมีโซนรีเทลที่ทำการเปิดตั้งแต่ 11:00 น. ถึงเที่ยงคืน และโซนพิเศษ 2 ชั้นแรก คือ ชั้น B1 และชั้น G ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รองรับลูกค้าที่ต้องการใช้บริการร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา และเครื่องจำหน่ายสินค้าคุณภาพด้วยระบบอัตโนมัติ   สำหรับชั้น 1-4 จะเป็นพื้นที่สำหรับสินค้าแอคเซสซอรี่ จิวเวอรี่ สินค้าเทคโนโลยี ร้านสำหรับการดูแลผิว ธุรกิจเวลเนส  และแพทย์ทางเลือก ส่วนในชั้นที่ 7 จะเป็นส่วนของร้านอาหาร โดยคาดว่าหลังจากเปิดให้บริการแล้วจะมีผู้ใช้บริการวันละ 40,000 คน จากปัจจุบันในย่านสีลมมีผู้ทำงานและเดินทางเข้ามากว่า 700,000 คน และในวันหยุดมีคนเดินทางเข้ามาย่านสีลมกว่า 500,000 คน หัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จในยุคที่ธุรกิจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายและ ความไม่แน่นอน คือการทลายทุกข้อจำกัด และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์อยู่เสมอ   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม -สีลมเอจ x จัสโค ประเดิมรายแรก เช่าพื้นที่  4,400 ตร.ม. ผุดโคเวิร์คกิ้งสเปซ เติมเต็มสังคมแซนด์บ็อกซ์ -จากโรบินสันสีลม สู่ สีลมเอจ มิกซ์ยูส 1,800 ล้านของ เฟรเซอร์สฯ  
IWG x รัตนากร ขยายสำนักงานให้เช่า วางเป้า 10 ปี 40 แห่งทั่วไทย

IWG x รัตนากร ขยายสำนักงานให้เช่า วางเป้า 10 ปี 40 แห่งทั่วไทย

IWG x รัตนากร แอสเซท ลงนามสัญญาแฟรนไชส์ บริหารพื้นที่สำนักงานให้เช่า 40 แห่งทั่วไทย ใน 10 ปี ตอบสนองการทำงานแบบไฮบริด ประเดิมปี 65 เปิด 5 แห่ง ได้แก่ ในเมืองพัทยา ชลบุรี ศรีราชา ระยอง     มาร์ค ดิกสัน ผู้ก่อตั้งธุรกิจและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IWG เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หลายธุรกิจเล็งเห็น และปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบรับความต้องการในการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid working) ซึ่งมีธุรกิจจำนวนมากทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ กำลังนำมาใช้อยู่ เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ได้ ไม่เพียงเท่านั้นการปรับเปลี่ยนมาสู่โมเดลการทำงานในรูปแบบดังกล่าว ยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานได้อีกด้วย บรรดาธุรกิจต่าง ๆ กำลังกำหนดพื้นที่การทำงานใหม่ ให้เข้าไปใกล้ที่พักของบุคลากรมากขึ้น เพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่น เป็นการเปลี่ยนแปลง ที่ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของบุคลากร ปัจจุบันการทำงานแบบยืดหยุ่นที่ไม่ยึดติดกับสถานที่ ได้รับความนิยมมากขึ้นในหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียม (เจเนอเรชั่น วาย) ซึ่งคุ้นชินกับดิจิทัลเทคโนโลยีและชื่นชอบในความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการทำงาน การทำงานแบบไฮบริดพนักงานไม่เพียงแต่ได้ทำงานในสถานที่ที่หลากหลาย ยังใช้เวลาในการเดินทางไปทำงานลดลง สามารถทำงาน ณ สถานที่แห่งไหนก็ได้ สำนักงาน บ้าน หรือ พื้นที่ทำงานในรูปแบบ Flexible Workspace เป็นแนวทางการทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น   ล่าสุด IWG  ได้เซ็นสัญญามอบสิทธิ์หลักในการบริหารแฟรนไชส์ระดับภูมิภาคหรือมาสเตอร์แฟรนไชส์ให้กับ รัตนากร แอสเซท ผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ของไทย เป็นผู้ร่วมพัฒนาและขยายธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงแฟรนไชส์ที่ รัตนากร แอสเซท สามารถพัฒนาพื้นที่สำนักงานให้เช่าแบบยืดหยุ่น (Flexible Workspace) ได้ทุกจังหวัดทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยในปี 2565 รัตนากร แอสเซท ร่วมมือกับ IWG เปิดศูนย์ใหม่ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ในเมืองพัทยา จำนวน 2 แห่ง ในชลบุรี ศรีราชา และระยอง พื้นที่ละ 1 แห่ง ซึ่งการเปิดศูนย์แห่งใหม่นี้เป็นกลยุทธ์การขยายธุรกิจร่วมกันระหว่าง IWG และ รัตนากร แอสเซท โดยตั้งเป้าเปิดศูนย์อย่างน้อย 40 แห่งทั่วไทยภายใน 10 ปี   นายมาร์ค กล่าวว่า ความต้องการ ในการทำงานแบบไฮบริด ของหลายธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ ประกอบกับการคิดทบทวนใหม่ ในกลยุทธ์การดำเนินงานด้านอสังหาริมทรัพย์ จึงเกิดเป็นความร่วมมือทางธุรกิจร่วมกับรัตนากร แอสเซท ที่จะเอื้อประโยชน์ให้เกิดการขยายธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้คนในการทำงานแบบไฮบริดทั่วประเทศไทย และรองรับการขยายตัวของสังคมเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง การกระจายความเจริญจากเมืองหลวงสู่หัวเมืองใหญ่ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในหลากมิติ   ปัจจุบัน IWG ผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานให้เช่าในรูปแบบ Flexible Workspace แถวหน้าระดับโลก เปิดดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 30 ปี  สำหรับในประเทศไทยนั้น IWG เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2542 ปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั้งสิ้น 26 แห่งนับตั้งแต่ต้นปี 2564 IWG มีลูกค้าใหม่ในเครือข่ายทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 2 ล้านราย เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ รับรู้ถึงประโยชน์ของการให้พนักงานเข้าถึงสำนักงานให้เช่าระดับมืออาชีพที่มีอุปกรณ์ครบครันที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบนทำเลไม่ไกลจากที่พักอาศัย   ด้านนายจักรรัตน์ เรืองรัตนากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รัตนากร แอสเซท จำกัด บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี มีมูลค่าสินทรัพย์กว่า 33,000 ล้านบาท ดำเนินงานครอบคลุม ทั้งที่อยู่อาศัย พื้นที่ค้าปลีก โรงงาน และโรงแรม กล่าวว่า บริษัทมีแผนจัดหาพื้นที่สำนักงานให้เช่าในพื้นที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแต่ละภูมิภาค อย่างเชียงใหม่ เชียงราย และภูเก็ต โดยศูนย์เหล่านี้จะอยู่ในโครงการมิกซ์ยูสที่มีอยู่แล้วบางส่วน รวมถึงโรงแรม คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า และพื้นที่ค้าปลีกที่บริษัทบริหารจัดการอยู่ เพื่อให้ลูกค้าได้มีพื้นที่ทำงานที่สะดวกสบายพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยจะช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนให้ใช้ชีวิตอย่างสมดุล ทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว นี่เป็นการตอบโจทย์แนวโน้มการทำงานแบบไฮบริด คนกลุ่มนี้จะแสวงหาสถานที่ใหม่ ๆ ที่ชื่นชอบและเลือกใช้เป็นสถานที่ในการทำงานสำหรับพวกเขา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจท้องถิ่นอีกด้วย การทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานเป็นของตัวเอง หรือทำสัญญาเช่าระยะยาวอีกต่อไป นายจักรรัตน์ กล่าวอีกว่า ​IWG เป็นโคเวิร์กกิ้งสเปซที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยแบรนด์ที่หลากหลาย ดังนั้น รัตนากร แอสเซท จึงร่วมมือกับ IWG เพราะเชื่อมั่นในธุรกิจ flexspace หรือ พื้นที่พร้อมใช้ตามความต้องการ และมองเห็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจนี้ การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างรัตนากร แอสเซท กับ IWG มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้รัตนากร แอสเซท สามารถขยายธุรกิจและเติบโตต่อไปในอนาคต​​