Tag : Retails

240 ผลลัพธ์
แคตตาล็อกอิเกีย 2021  เปิดตัวแล้ว  พร้อมหั่นราคาถูกลง 20%

แคตตาล็อกอิเกีย 2021 เปิดตัวแล้ว พร้อมหั่นราคาถูกลง 20%

แคตตาล็อกอิเกีย 2021 เปิดตัวแล้ว พร้อมกับการหั่นราคาสินค้าขายดีถูกลง 20% กว่า 376 รายการ รับกำลังซื้อลดลง พร้อมเปิดตัว E-catalogue รับยอดขายออนไลน์เติบโต คาดสัดส่วนเพิ่มเป็น 20%  ในอีก 1-2 ปี   ในช่วงไตรมาส 3 ของทุกปี แม้ว่าจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาการเข้าสู่ปีใหม่ แต่สำหรับ อิเกีย (IKEA) แล้ว ถือว่าเป็นช่วงเวลาของการเปิดตัวแคตตาล็อกเล่มใหม่ของค.ศ.หน้า ที่กำลังจะก้าวมาถึง โดยในปีนี้ก็เช่นกันช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา “อิเกีย” ได้เปิดตัวแคตตาล็อก 2021 ออกมาอวดโฉมให้บรรดาลูกค้าและแฟนคลับที่ชื่นชอบสินค้าของอิเกียให้ได้เลือกซื้อกัน โดยแคตตาล็อกอิเกีย 2021 มีไฮไลท์ที่น่าสนใจ คือ 1.สินค้ายอดฮิตหั่นราคา 20% แคตตาล็อกอิเกีย 2021 มีสินค้า 376 รายการที่ได้ปรับลดราคาถูกลงกว่า ปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 20% จากปกติที่ผ่านมาลดราคาเพียง 10-12% เท่านั้น  และถือว่าเป็นการลดราคาสินค้าที่มากที่สุดในรอบ 10 ปี โดยต้องการให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้มากขึ้น และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อ ซึ่งลดลงต่อเนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้ เป็นการวางแผนไว้ก่อนที่จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19    สินค้าในแคตตาล็อกอิเกีย 2021 ที่ปรับราคาลดลง เป็นสินค้าที่ขายดีและลูกค้าชื่นชอบอยู่แล้ว มีครบทุกกลุ่มสินค้า และทุกหมวดหมู่ อาทิ สินค้าห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน 2.สินค้าใหม่กว่า 2,000 รายการ แคตตาล็อกอิเกีย 2021 ได้มีสินค้าใหม่ออกมาจำหน่ายกว่า 2,000 รายการ โดยจะทยอยวางจำหน่ายอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี   สินค้าใหม่ภายในแคตตาล็อกอิเกีย 2021 ได้พัฒนาให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน ที่ยังคงอาศัยอยู่ในเมืองเป็นหลักมากถึง 70% และอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านจึงต้องมีฟังก์ชั่นหลากหลายในการใช้งาน และมีขนาดเหมาะสม 3.ออก E-catalogue รับออนไลน์โต   นอกจากแคตตาล็อกอิเกีย 2021 ซึ่งมาในรูปแบบหนังสือ ยังมีการจัดทำแคตตาล็อกอิเกีย 2021 ในรูปแบบ E-catalogue เพื่ออำนวยความสะดวกกับลูกค้า และไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจัยที่ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์​ เพราะสินค้าในแคตตาล็อกอิเกีย 2021 รูปแบบ E-catalogue สินค้าจะลิงค์ไปที่เว็บไซต์ของอิเกีย เพื่อสั่งซื้อสินค้าได้เลย นายรอย เดวาร์ ผู้จัดการสโตร์ อิเกีย บางนา เปิดเผยว่า ปัจจุบันยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถช่วยผลประกอบการของอิเกียได้จำนวนมาก มากกว่าที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งช่วงล็อกดาวน์ อิเกียสามารถขายสินค้าผ่านออนไลน์ได้มากถึง 18% ของยอดขายรวม จากปกติมียอดขายเพียงเลขตัวเดียว แม้ว่าปัจจุบันจะลดลงเฉลี่ย 12-14.5% เพราะลูกค้าหันมาซื้อสินค้าที่สโตร์มากขึ้นก็ตาม แต่เชื่อว่าแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอิเกียคาดว่าภายใน 1-2 ปีนับจากนี้ ยดขายผ่านช่องทางออนไลน์น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% (อ่านข่าวเพิ่มเติม ... ก้าวต่อไปของ อิเกีย บุกตลาดออนไลน์ หลังโควิด-19 ทุบยอดขายหาย 40%) 4.ยอดพิมพ์กว่า 38 ล้านเล่ม 32 ภาษา แคตตาล็อกอิเกีย 2021 หน้าปกจะเป็นไอเดียการตกแต่งห้องนั่งเล่น จากปี 2020 เปิดตัวแคตตาล็อกเป็นหน้าปกห้องนอน (อ่านข่าว...เปิด 5 เรื่อง (ไม่) ลับ ของแคตตาล็อกอิเกีย 2020 เพื่อแรงบันดาลใจในการอยู่อาศัย) โดยมีจำนวนตีพิมพ์ทั้งหมดทั่วโลกกว่า 38 ล้านเล่ม ด้วยจำนวนภาษามากถึง 32 ภาษา มีทั้งหมดด้วยกัน 69 เวอร์ชั่น เพื่อใช้ใน 53 ประเทศที่อิเกียเปิดให้บริการ ซึ่งแคตตาล็อกอิเกีย 2021 มีจำนวน 280 หน้าและมากับปก 4 หน้า
31 บิ๊กอสังหาฯ  โดนพิษโควิด-19 กำไรรวมไตรมาส 2 ลดกว่า 48%

31 บิ๊กอสังหาฯ โดนพิษโควิด-19 กำไรรวมไตรมาส 2 ลดกว่า 48%

แม้ว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทำให้ยอดขายและรายได้ลดลง ซึ่งบางรายได้รับผลกระทบจนต้องปิดกิจการก็มีให้เห็น แต่หลายธุรกิจสามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดได้เป็นอย่างดี  เห็นได้จากผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ยังสามารถสร้างการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้หรือกำไร   ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เป็นหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ ไม่ได้แตกต่างจากหลายธุรกิจ ซึ่งมีทั้งผู้ที่ยังทำกำไรเติบโต ขณะเดียวกันก็มีหลายรายที่ประสบภาวะขาดทุน  ผู้ที่สามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ได้ดี ก็สามารถสร้างผลงานชนิดทุบสถิติรายได้ของตนเอง นับตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจจนมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับตนเอง โดยเฉพาะบริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทมหาชน (บมจ.) ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 31 บริษัท พบว่า ผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ยังคงทำรายได้รวมจำนวน 73,712.62 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเพียง 1.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 74,960.02 ล้านบาท แต่กำไรจากการดำเนินงานของทั้ง 31 บริษัท ลดลงอย่างมากถึง 48.72%   อัตรากำไรที่ลดลงดังกล่าว  เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจอสังหาฯ ประเภทอื่นๆ อาทิ โรงแรม ศูนย์การค้า สำนักงานให้เช่า ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ปกติ จึงทำให้บริษัทอสังหาฯ ซึ่งไม่ได้ขายแต่บ้านและคอนโดมิเนียม ต้องอัตรากำไรสุทธิลดลง แม้ว่ารายได้เฉพาะที่มาจากการขายบ้านและคอนโด ของทั้ง 31 บริษัท จะยังเติบโตในอัตรา 10.96% ซึ่งมีรายได้ 66,330.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาส 2 ปี 2562 ที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ 59,778.80 ล้านบาทก็ตาม 10 บิ๊กอสังหาฯ กวาดรายได้รวมกว่า 5.6 หมื่นล้าน สำหรับบริษัทที่มีรายได้รวมมากที่สุด 10 อันแรก ยังคงเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และเป็นผู้นำตลาด โดยมีรายได้รวมทั้ง 10 บริษัท จำนวน  56,424.75 ล้านบาท เติบโต 10.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีรายได้รวมจำนวน 51,250.03 ล้านบาท 10 อันดับแรกบริษัทอสังหาฯ ทำรายได้รวมสูงสุด ได้แก่ 1.แสนสิริ  มีรายได้รวม 11,305.51 ล้าบาท เติบโต 163.82% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวน 4,285.37 ล้านบาท 2.แลนด์แอนด์เฮ้าส์  มีรายได้รวม 8,298.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,859.46 ล้านบาท 3.เอพี (ไทยแลนด์)  มีรายได้รวม 7,792.00 ล้านบาท เติบโต 62.23%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,803.09 ล้านบาท 4.พฤกษา โฮลดิ้ง  มีรายได้รวม 6,222.81ล้านบาท ลดลง 20.27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,805.09 ล้านบาท 5.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ 4,882.54 ล้านบาท ลดลง 2.95% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี จำนวน 5,031.11 ล้านบาท 6.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น   มีรายได้รวม 4,568.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.67% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 3,496.42 ล้านบาท 7.ควอลิตี้ เฮ้าส์   มีรายได้รวม 4,341.24 ล้านบาท ลดลง 26.14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี จำนวน 5,878.01 ล้านบาท 8.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้   มีรายได้รวม จำนวน 3,292.37 ล้านบาท ลดลง 1.32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,336.49 ล้านบาท 9.ศุภาลัย  มีรายได้รวม จำนวน 3,039.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,477.10 ล้านบาท 10.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค  มีรายได้รวม จำนวน 2,680.77 ล้านบาท ลดลง -37.33% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,277.89 ล้านบาท 10 บิ๊กอสังหาฯ​ ขายบ้าน-คอนโด สร้างรายได้โต 22.11% อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะผลประกอบการ  ในส่วนที่เป็นรายได้ด้านการขายที่อยู่อาศัย ในกลุ่มบิ๊กอสังหาฯ 10 อันดับแรก พบว่า มีรายได้รวมกันจำนวน 51,940 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จาการขายอสังหาฯ รวม 42,536.33 ล้านบาท สำหรับ 10 อันดับแรกของบริษัทที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ​ สูงสุด ได้แก่ 1.แสนสิริ  มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 10,338.20 ล้านบาท เติบโต 309.41% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  2,525.14 ล้านบาท 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 7,582.90 ล้านบาท เติบโต  67.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 4,529.82 ล้านบาท 3.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 7,230.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 6,539.03 ล้านบาท 4.พฤกษา โฮลดิ้ง มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 6,165.52 ล้านบาท ลดลง​ 20.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,780.66 ล้านบาท 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 4,360.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  3,275.08 ล้านบาท 6.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)* มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,880.16 ล้านบาท เติบโต 12.81% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,439.54 ล้านบาท 7.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,859.15 ล้านบาท ลดลง​ 23.50%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 5,044.68 ล้านบาท 8.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,088.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  2,825.80 ล้านบาท 9.ศุภาลัย มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 2,917.91 ล้านบาท ลดลง​ 32.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 4,320.04 ล้านบาท 10.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 2,517.51ล้านบาท  เติบโต 11.57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 2,256.54 ล้านบาท หมายเหตุ - * ผลการดำเนินงานของบริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำไตรมาส 3/2563 งวดเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 10 บิ๊กอสังหาฯ กำไรลดกว่า 5% แม้ว่า 10 บริษัทขนาดใหญ่ จะสามารถสร้างรายได้รวม และรายได้จากการขายอสังหาฯ เติบโตจากไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมาได้ แต่ดูเหมือนว่าความสามารถในทำกำไรจะลดลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า เป็นผลจากการลดราคาสินค้า การจัดทำแคมเปญกระตุ้นการขาย และการมีต้นทุนทางการตลาดที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อรวมกับธุรกิจอื่น ๆ ที่บริษัทนั้น ๆ ดำเนินการ ที่รับผลกระทบ เช่น การปิดบริการธุรกิจโรงแรม หรือ ปิดศูนย์การค้า จึงทำให้กำไรโดยรวมลดน้อยลงนั่นเอง   โดยบริษัทอสังหาฯ รายใหญ่ 10 อันดับแรก มีอัตรากำไรรวม 6,478.63 ล้านบาท ลดลง 5.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 6,826.71 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับภาพรวมทั้งอุตสาหกรรม ยังถือว่าทั้ง 10 บริษัทดังกล่าว ยังมีความสามารถทำกำไรได้ดีกว่า เพราะภาพรวมกำไรลดไปกว่า 48.28% โดย 10 บริษัทแรกที่มีอัตรากำไรสุทธิสูงสุด ได้แก่ 1.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,386.28 ล้านบาท  ลดลง 25.24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,854.30 ล้านบาท 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,214.61ล้านบาท เพิ่มขึ้น 149.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 487.09 ล้านบาท 3.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 968.58 ล้านบาท ลดลง 33.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,462.40 ล้านบาท 4.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 707.07 ล้านบาท ลดลง 4.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 737.16 ล้านบาท 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีกำไรสุทธิ จำนวน 454.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 279.46 ล้านบาท 6.ศุภาลัย มีกำไรสุทธิ จำนวน 423.30 ล้านบาท ลดลง 45.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 777.15 ล้านบาท 7.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)* มีกำไรสุทธิ จำนวน 398.69 ล้านบาท ลดลง​49.99%จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 797.29 ล้านบาท 8.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท 9.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 303.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 164.47 ล้านบาท 10.เสนา ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 226.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 117.60 ล้านบาท หมายเหตุ - * ผลการดำเนินงานของบริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำไตรมาส 3/2563 งวดเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 11 บริษัทสู้พิษโควิดไม่ไหว ขาดทุนรวม 2,209.58 ล. การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ไม่เพียงแต่ทำให้หลายบริษัทมีกำไรลดลงเท่านั้น แต่ทำให้ผู้ประกอบการบางรายประสบภาวะขาดทุนจากการดำเนินงานเลยทีเดียว ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีถึง 11 บริษัท ที่ประสบภาวะขาดทุนในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โดยมีผลขาดทุนรวมกัน 2,537.09 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่ทั้ง 11 บริษัทมีกำไรรวม 923.51 ล้านบาท   โดย 11 บริษัทที่ประสบภาวะขาดทุนในไตรมาส 2 ได้แก่ 1.สิงห์ เอสเตท ขาดทุน จำนวน 946.05 ล้านบาท  ลดลง 606.07% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 186.94 ล้านบาท 2.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ขาดทุน จำนวน 544.70 ล้านบาท ลดลง 424.09% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 168.07 ล้านบาท 3.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ขาดทุน จำนวน 470.70 ล้านบาท ลดลง 238.98% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 255.84 ล้านบาท 4.ชาญ อิสระ ขาดทุน จำนวน 158.59 ขาดทุนเพิ่ม 39.04% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 114.06 ล้านบาท 5.ไรมอนด์ แลนด์ ขาดทุน จำนวน 130.44 ล้านบาท ลดลง 309.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 54.73 ล้านบาท 6.นุศาศิริ ขาดทุน จำนวน 128.71 ล้านบาท ลดลง 620.46%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 24.73 ล้านบาท 7.เมเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ ขาดทุน จำนวน 79.95 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 467.02 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 14.10ล้านบาท 8.มั่นคง เคหะการ ขาดทุน จำนวน 35.22 ล้านบาท  ลดลง 126.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 131.25 ล้านบาท 9.เนอวานา ไดอิ ขาดทุน จำนวน 34.47 ล้านบาท ลดลง 268.89% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 20.41 ล้านบาท 10.สัมมากร ขาดทุน จำนวน 4.70 ล้านบาท ลดลง 102.16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 217.70 ล้านบาท 11.ปรีชา กรุ๊ป ขาดทุน จำนวน 3.56 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 55.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุน 8.00 ล้านบาท สำหรับธุรกิจอสังหาฯ​ ในปีนี้ ถือว่าเป็นปีที่มีความท้าทาย และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ที่สำคัญเป็นปีที่ดีสำหรับผู้ที่มีกำลังซื้อ และมีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง เพราะผู้ประกอบการต่างจัดโปรโมชั่น การส่งเสริมการขาย เพื่อระบายสต็อกในมือที่มีอยู่  แลกเป็นกระแสเงินสดให้เข้ามาใช้ในการบริหารธุรกิจในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ซึ่งผู้ซื้อก็ต้องเลือกพิจารณาโครงการให้รอบครอบ  ราคาก็เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อ แต่เรื่องของคุณภาพและบริการหลังการขาย  ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเราต้องอยู่กับบ้านที่ซื้อไม่ใช่แค่ปีสองปี แต่คงเป็นระยะเวลานับสิบ ๆปี หากไม่คิดขายก่อนเพื่อเก็งกำไร   แต่สำหรับผู้ประกอบการ เชื่อว่าวิกฤตครั้งนี้ น่าจะเป็นอีกหนึ่งบทเรียนทางธุรกิจสำคัญ ที่จะทำให้นับจากนี้ต้องพิจารณาทิศทางการดำเนินธุรกิจให้รอบครอบ รวมถึงต้องเตรียมแผนสำรอง และการบริหารความเสี่ยงในมุมต่าง ๆ เอาไว้ให้รอบด้านด้วย
ส่องทิศทางอสังหาฯ ไทย หลังผ่านวิกฤตโควิด-19

ส่องทิศทางอสังหาฯ ไทย หลังผ่านวิกฤตโควิด-19

ตลาดอสังหาฯ คาดซึมยาว 2-3 ปี หลังโดนผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ธุรกิจโรงแรมโดนหนักสุด เหตุนักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ คาดทั้งปีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 8-10 ล้านคน  ขณะที่ศูนย์การค้าโดนกระทบไม่ต่างกัน ส่วนออฟฟิศให้เช่าปรับตัวได้ดี แนวโน้มราคาลดลงเล็กน้อย ด้านตลาดคอนโด​ดีเวลลอปเปอร์หั่นราคา พร้อมอัดโปรอยู่ฟรี กระตุ้นยอดขาย   ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นหนึ่งธุรกิจสำคัญที่มีส่วนผลักดัน ให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจอื่น ๆ และยังมีธุรกิจต่อเนื่องอีกมากมาย ซึ่งธุรกิจอสังหาฯ​ ไม่ได้มีเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยเท่านั้น  แต่ยังมีธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้า และสำนักงานให้เช่า ซึ่งล้วนแต่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่แทบทั้งสิ้น   นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันธุรกิจอสังหาฯ หลายประเภทยังไม่กลับมาฟื้นตัวเป็นปกติ แม้ว่าระบบสาธารณสุขไทยจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม เพราะยังมีหลายปัจจัยที่ยังไม่ได้กลับมาเป็นปกติ เหมือนก่อนเกิดการแพร่ระบาด โรงแรมโดนพิษโควิดหนักสุด อัตราเข้าพักแค่ 10% นางสุพินท์ มีชูชีพ ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัลพร็อพเพอร์ตี้กูรู ไทยแลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ อวอร์ดส์  และกรรมการผู้จัดการ  บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจโรงแรมถือว่าได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะที่ผ่านมามีมาตรการล็อกดาวน์ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  จึงส่งผลให้ตลาดโรงแรมได้รับผลกระทบตั้งแต่ไตรมาสแรก แต่ในช่วงไตรมาส 2 มีผลกระทบรุนแรงมากที่สุดเพราะมีอัตราการเข้าพักต่ำแม้ว่าภาครัฐจะไม่ได้สั่งปิดโรงแรม  ทำให้การเปิดบริการไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายในการบริหาร จึงไม่สามารถเปิดให้บริการได้ปกติ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมระดับ 5-6 ดาว ที่มีต้นทุนการเปิดดำเนินการค่อนข้างสูง   อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อตลาดโรงแรมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมีการอนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศได้  แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะควบคุมได้ดี และมีความผ่อนคลายมากขึ้นขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องการจัดประชุม สัมมนาขนาดใหญ่ได้   โดยในปีนี้  คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณ​ 8-10 ล้านคน จากเดิมที่ตั้งเป้าว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 40 ล้านคน จำนวนนักท่องเที่ยวดังกล่าว ประกอบกับอัตราการเข้าพักที่อยู่ระดับ 10% จึงทำให้ตลาดโรงแรมยังได้รับผลกระทบ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการตั้งเป้าหมายว่าอัตราเข้าพักในโรงแรมต่างๆ ของปีนี้จะมีอัตราเฉลี่ย 75-80% และในช่วงไฮซีซั่นคาดว่าจะมีอัตราเข้าพัก 80-90%   แม้ว่าปีนี้รัฐบาลจะพยายามส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ แต่เชื่อว่าไม่สามารถกระตุ้นตลาดให้กลับมาเหมือนช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิดได้ ออฟฟิศให้เช่าหดตัว10-15% สำหรับตลาดศูนย์การค้า เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์  เพราะถูกสั่งให้ปิดบริการ จึงได้รับผลกระทบจากการที่ลูกค้าไม่สามารถเดินทางมาซื้อสินค้าได้ รวมถึงศูนย์การค้าที่จับกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยว ยังได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หายไปด้วย ซึ่งหลังจากนี้ยังเชื่อว่าธุรกิจศูนย์การค้า จะยังไม่กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว เพราะยังมีผลกระทบจากกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง และธุรกิจอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ธุรกิจศูนย์การค้ายังต้องเผชิญความท้าทายในช่วงเวลาที่เหลือ   ส่วนตลาดสำนักงานให้เช่า  สามารถรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ได้ดี​ แม้ว่าจะมีการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) หรือผู้เช่าจะขอเว้นระยะการจ่ายค่าเช่าจากผู้ให้บริการพื้นที่บ้างก็ตาม แต่ตลาดสำนักงานให้เช่า ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยสุด  โดยแนวโน้มการใช้พื้นที่สำนักงานให้เช่า คาดว่าจะมีความต้องการลดลงเล็กน้อยประมาณ 10-15% แต่ทั้งนี้ คงต้องพิจารณาสถานการณ์และผลกระทบของเศรษฐกิจ จะได้รับผลกระทบแตกต่างกันอย่างไร  ซึ่งความต้องการตลาดสำนักงานให้เช่ามีแนวโน้มลดลงแน่นอน   ตลาดออฟฟิศไทยยังมีปริมาณจำกัด จึงน่าจะรองรับความต้องการได้ และราคาไม่น่าจะปรับเพิ่มขึ้น หรืออาจะจะลดลงเล็กน้อยภายในระยะ  6-12 เดือน จากเดิมที่คาดว่าราคาจะปรับเพิ่มขึ้น หยุดเปิดโปรเจ็กต์คอนโด 2 ปี สำหรับตลาดคอนโดมิเนียม ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 น้อย โดยเฉพาะกลุ่มตลาดลักชัวรี่ ในพื้นที่ย่านใจกลางเมือง ทำเลสุขุมวิท สีลม เพลินจิต เป็นต้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีซัพพลายน้อย เมื่อเทียบกับภาพรวมของตลาด ส่งผลให้ได้รับผลกระทบไม่มากนัก แต่จากความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ดีเวลลอปเปอร์มีแพคเกจต่าง ๆ ออกมากระตุ้นการตัดสินใจซื้อ รวมถึงการลดราคาคอนโดลง  แต่สำหรับการเปิดตัวโครงการใหม่ เชื่อว่าจะยังมีน้อยหรืออาจจะไม่มีการเปิดตัวภายในระยะ 2 ปีข้างหน้า และหากมีการเปิดตัวโครงการใหม่ เชื่อว่าราคาจะไม่ต่ำกว่าในช่วงที่ผ่านมาแน่นอน วัคซีนป้องกันโควิดไม่รู้จะมาเมื่อไร ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ และความกังวลต่อโควิดยังมีอยู่  และนักลงทุนยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ ส่งผลกระทบต่อการลงทุนขนาดใหญ่ เพราะเข้ามาดูสินค้าไม่ได้ ทำให้การตัดสินใจล่าช้าออกไป นางสุพินท์ กล่าวอีกว่า  ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตหลายครั้ง นับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง ประท้วงทางการเมือง วิกฤตแฮมเบอเกอร์  แต่ตลาดอสังหาฯ ​ไทยมีแรงต้านทานวิกฤตมาก แม้จะต้องใช้ระยะเวลาปรับตัวสู้กับวิกฤตก็ตาม  ซึ่งในภาวะวิกฤตโควิดครั้งนี้  คาดว่าอาจจะต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปี เพื่อให้ตลาดกลับมาฟื้นตัว ซึ่งประเทศไทยถือว่ามีข้อดี ที่สามารถควบคุมโควิดได้ดีในอันดับต้น ๆ ของโลก  ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้ามาในประเทศ   ตลาดท่องเที่ยวหากยังไม่ฟื้นตัวเหมือนเดิม จะทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ฟื้นตัวตาม เพราะธุรกิจการท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 15-20% ของจีดีพีไทย ดีเวลลอปเปอร์หั่นราคาอัดโปรกระตุ้นตลาดคอนโด ด้านนางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดี พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า ราคาอสังหาฯ​ ในช่วงไตรมาส 2 ปรับลดลง 4% จากไตรมาสแรกของปี  ซึ่งถือว่าเป็นผลดีที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ได้ง่ายขึ้น  โดยราคาคอนโดลดลง 9% ส่วนบ้านเดี่ยวราคาปรับเพิ่มขึ้น 3% ทาวน์โฮมปรับเพิ่มขึ้น 2% เนื่องจากความต้องการโครงการแนวราบมีเพิ่มมากขึ้น นอกจากการปรับตัวเรื่องราคาอสังหาฯ แล้ว ยังพบว่าลูกค้ามีวิธีการเลือกซื้ออสังหาฯ  เปลี่ยนไป เช่น ต้องการห้องลิฟวิ่งรูมขนาดใหญ่ และอินเตอร์เน็ต มาพร้อมกับบ้าน ต้องการใช้พื้นที่ส่วนกลาง  แต่ต้องมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น  ทำเลที่ตั้งยังคงมีความสำคัญ ซึ่งอดีตคนอยากอยู่ในเมือง ซึ่งส่งผลให้ราคาคอนโดแพงขึ้น แต่ปัจจุบันสามารถทำงานจากที่บ้านได้  ทำให้คนส่วนใหญ๋ไม่จำเป็นต้องการซื้อทั้อยู่ในเมือง  สามารถซื้อที่อยู่ไกลออกไปได้ แต่ยังต้องเดินทางสะดวก จึงเลือกที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า แม้สถานีไกลออกไป  และเลือกบ้านแนวราบมากขึ้น   ซัพพลายที่อยู่อาศัยลดลง 15% จากการปรับราคาลดลง ของดีเวลลอปเปอร์ รวมถึงการออกโปรโมชั่นอยู่ฟรี 2-5 ปี  ซึ่งนักลงทุนประมาณ 15% ยังซื้อคอนโด  เพราะเห็นว่าราคาน่าซื้อ แต่รูปแบบการซื้อและโลเคชั่นแตกต่างกันไปแต่ลูกค้าในภาพรวมยังพิจารณามากขึ้น ดูความสามารถในการผ่อนในอนาคต    
5 กลยุทธ์ “โฮมโปร” ลุยตลาดครึ่งปีหลัง สู่เป้าหมายรายได้ 69,000 ล้าน

5 กลยุทธ์ “โฮมโปร” ลุยตลาดครึ่งปีหลัง สู่เป้าหมายรายได้ 69,000 ล้าน

ผลกระทบจากมาตรการล็อคดาวน์ประเทศ เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายธุรกิจต่างต้องหยุดการดำเนินธุรกิจชั่วคราว คนส่วนใหญ่จำเป็นต้อง “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” การใช้ชีวิตและการทำงานต้องเปลี่ยนเป็น Work From Home หลาย ๆ ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และวิธีการทำตลาดใหม่ หันมามุ่งเน้นช่องทางตลาดออนไลน์ แทนการเปิดร้านขายแบบปกติ   การปิดสาขา หรือร้านขายสินค้าปกติ แน่นอนกระทบต่อยอดขายที่ต้องหายไป  แม้การเปิดขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จะสามารถสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าอาจจะไม่ทดแทนกับยอดขายที่หายไปได้อย่างแน่นอน เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ไม่มีใครคาดคิดและเตรียมแผนรับมือเอาไว้ล่วงหน้า   “โฮมโปร”  ศูนย์จำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง และวัสดุก่อสร้าง ก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกคดาวน์  ซึ่งทำให้ผลการดำเนินงานในรอบครึ่งปีแรกของปี 2563 นี้ ชะลอตัวลงในอัตรา 12% แม้ว่ายอดขายผ่านช่องทางออนไลน์จะเพิ่มสูงขึ้น 350% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาก็ตาม นางสาวศิริวรรณ เปี่ยมเศรษฐสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มการตลาด บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ยอดขายออนไลน์ของโฮมโปรเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก เฉพาะช่วงเดือนเมษายน มียอดขายเติบโตถึง 500%  โดยปกติยอดขายออนไลน์เฉลี่ยต่อวันจะมีประมาณ 2-3 ล้านบาท แต่ช่วงโควิด-19 สามารถขายได้สูงถึง 20 ล้านบาทต่อวัน และหากวันไหนมีการจัด Live Facebook ขายสินค้าได้สูงถึงวันละ 30 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายอดขายออนไลน์จะเติบโตเพิ่มสูงขึ้น แต่ผลการดำเนินงานโดยรวมของช่วงครึ่งปีแรก ยังลดต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วงครึ่งปีหลังโฮมโปรเตรียมแผนการตลาด เพื่อกระตุ้นยอดขายให้กลับมาเติบโต และคาดหวังว่าจะสามารถทำผลประกอบการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ว่าจะมีรายได้ 69,000 ล้านบาทในปีนี้ สำหรับแผนการตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งโฮมโปรได้วางแผนไว้ ประกอบด้วย 1.การขยายสาขาใหม่เพิ่มอีก 2 แห่ง ในช่วงครึ่งปีหลังโฮมโปรวางแผนขยายสาขาขนาดใหญ่ 2 แห่ง ที่ย่านรังสิต และย่านสุขสวัสดิ์ ซึ่งตามแผนเดิมโฮมโปรจะขยายสาขาในรูปแบบโฮมโปร เอส ซึ่งเป็นาขาขนาดเล็ก อยู่ในพื้นที่ศูนย์การค้าหรือคอมมูนิตี้มอลล์ แต่จากสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ ศูนย์การค้าหรือคอมมูนิตี้มอลล์ที่จะเข้าไปขยายสาขา ยังไม่เปิดให้บริการ ทางโฮมโปรจึงต้องเลื่อนกำหนดการขยายสาขาออกไปเป็นปีหน้าแทน 2.จัดอีเวนต์ 5 งานใหญ่ ในช่วงครึ่งปีหลังโฮมโปรวางแผนจัดงานอีเวนต์ 5 งานหลัก ได้แก่ งานโฮมโปร แฟร์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจัดไปแล้วในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา งานโฮมโปรเอ็กซ์โป เมืองทองธานี ช่วงจัดขึ้นใน วันที่ 24 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2563 นี้ และอีก 3 งานที่กำลังจะจัดขึ้นต่อไป ได้แก่  งานโฮมโปร เอ็กซ์โป จ.เชียงใหม่  งานโฮมโปร เอ็กซ์โป จ.ขอนแก่น และงานโฮมโปร เอ็กซ์โป เมืองทองธานี ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งนอกเหนือจากงานอีเวนต์หลักดังกล่าวแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมภายในสาขา เช่น งานวันครบรอบ การจัดโปรโมชั่นประจำปี และการไปร่วมกับพันธมิตรในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย   3.เปิดตัว Homepro Mobile  Application สำหรับช่องทางตลาดออนไลน์ ปัจจุบันโฮมโปรมีการจำหน่ายสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.homepro.co.th  และ  Application Line “SHOP4YOU” และการสั่งซื้อสินค้าผ่านโทร 1284 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ที่ไม่สามารถเดินทางมาซื้อสินค้าที่สาขาได้ และเป็นการเสริมช่องทาง Omni Channel ของโฮมโปรให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น  จึงเตรียมเปิดตัว Homepro Mobile Application ในวันที่ 1 กันยายน 2563 นี้ โดยโฮมโปรตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้จากช่องทางออนไลน์ จากปัจจุบันประมาณ​ 3% ให้ได้ประมาณ 5% ตามเป้าหมายในปีนี้   4.พัฒนาระบบโลจิสติกส์ ระบบโลจิสติกส์  ถือว่าเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการทำตลาดออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันโฮมโปรมีการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าในพื้นที่สาขาตั้งอยู่รัศมี 30 กิโลเมตร เมื่อสั่งซื้อสินค้าครบ 3,000 บาท แต่ในช่วงเกิดภาวะโควิด-19 ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเพียง 500 บาท ก็สามารถได้รับบริการจัดส่งสินค้าได้เช่นกัน โดยบริษัทมีแผนที่จะพัฒนาระบบการจัดส่งสินค้า ให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ด้วยบริการ “SAMEDAY Delivery” หรือการบริการจัดส่งสินค้าภายในวันเดียวกับที่สั่งซื้อสินค้า ซึ่งเริ่มต้นทดลองระบบดังกล่าวในงานโฮมโปร เอ็กซ์โป ครั้งที่ 31 ก่อน หากประสบความสำเร็จจะนำมาใช้จริง   นอกจากนี้ ทางโฮมโปร ยังได้ขยายระยะเวลาการให้บริการจัดส่งสินค้า  จากเดิมจัดส่งภายในเวลา 18.00 น. เป็นการจัดส่งภายในเวลา 21.00 น. ซึ่งแผนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ โฮมโปรยังทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การส่งสินค้ามีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ในอนาคตจะขยายศูนย์กระจายสินค้าให้เพิ่มมากขึ้นด้วย 5.เพิ่มความหลากหลายสินค้า รับ New Normal สินค้า คือ ความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องมีทั้งความหลากหลาย และตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะการเข้าสู่ความปกติวิถีใหม่ หรือ New Normal ของลูกค้าในยุคโควิด-19 โดยโฮมโปรมองว่าสินค้าที่จะนำมาจำหน่าย ต้องมีความหลากหลาย  จึงได้ปรับสินค้าให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ภายใต้แนวคิด Happy Home Healthy Living ยิ่งอยู่บ้าน ยิ่งรู้ว่าบ้านต้องการอะไร  ซึ่งเป็นการจัดกลุ่มสินค้าเพื่อตอบโจทย์ความเป็น Total Home Solution  ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม   -ลูกค้าที่ต้องทำงานที่บ้าน (Work from Home) เช่น เฟอร์นิเจอร์, โต๊ะ, เก้าอี้ -ลูกค้าที่ต้องการความบันเทิงภายในบ้าน (Entertainment Home) เช่น Smart TV. -กลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่ต้องเรียนออนไลน์ (Learning at Home)  -กลุ่มที่ทำอาหารเอง (Cooking at Home) เช่น หม้อทอด, เครื่องครัว, เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก -กลุ่มสินค้าสุขอนามัย (Hygienic) เช่น เครื่องอบจาน, เครื่องซักผ้า, เครื่องอบผ้า, เครื่องฟอกอากาศ, เครื่องกรองน้ำ -สินค้าจำเป็นในการดูแลบ้าน ซ่อมแซม ปรับปรุง และบริการด้าน Home Service การันตีด้วยทีมช่างมืออาชีพ   บทสรุปสุดท้าย ภายใต้สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ซึ่งปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โฮมโปร จะยังสามารถกอบกู้ยอดขายที่หดหายไปในช่วงครึ่งปีแรก ให้กลับมาได้ตามเป้าหมายรายได้ปีนี้ 69,000 ล้านบาท หรือไม่ ต้องรอดูว่ากลยุทธ์ต่าง ๆ ที่วางแผนออกมานั้น มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน
5 เหตุผลที่ทำให้ ห้าแยกลาดพร้าว เป็นทำเลศักยภาพของปัจจุบันและอนาคต

5 เหตุผลที่ทำให้ ห้าแยกลาดพร้าว เป็นทำเลศักยภาพของปัจจุบันและอนาคต

ในบรรดาทำเลจุดตัดถนนสำคัญของกรุงเทพฯ สิ่งที่มักเป็นปรากฎการณ์ให้เห็นอย่างชัดเจน คือ ความเจริญเติบโตของการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์บริเวณจุดตัดนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ศูนย์การค้าและพื้นที่รีเทลจำนวนมาก รวมถึงการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมอย่างหนาแน่น   โดยหนึ่งในจุดตัดถนนสำคัญของกรุงเทพฯ ลำดับต้นๆ ที่มีความเจริญด้านการพัฒนาโครงการอสังหาฯ รูปแบบต่าง ๆ คงต้องยกให้บริเวณห้าแยกลาดพร้าว  เพราะเต็มไปด้วยโครงการจำนวนมาก ทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า และโครงการคอนโดฯ ที่สำคัญยังเป็นจุดเชื่อมต่อระบบคมนาคมสำคัญของเมือง ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว กับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินอีกด้วย 5 ปัจจัยผลักดันให้ห้าแยกลาดพร้าวทำเลทอง ข้อมลจากบริษัท บางกอกซิตี้สมาร์ท จำกัด (บีซี) ระบุว่า ทำเลลาดพร้าวปี 2563 นี้ ถือเป็นทำเลแห่งอนาคตของวันนี้อย่างแท้จริง (Ladprao 2020 – The Future is Now) เพราะมี 5 ปัจจัยหลักสำคัญ ที่เข้ามาสนับสนุน ทำให้โซนห้าแยกลาดพร้าว เป็นแม่เหล็กดึงดูดทั้งผู้ประกอบการให้เข้ามาลงทุนจำนวนมาก รวมถึงกระตุ้นความคึกคักตลาดคอนโดฯ ทั้งลูกค้าเรียลดีมานด์ รวมถึงกลุ่มนักลงทุน ที่ยังสามารถเข้ามาสร้างโอกาสได้จากผลตอบแทนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ทำเลห้าแยกลาดพร้าวมีศักยภาพ คงมาจาก 5 ปัจจัย ดังนี้ 1.ศูนย์กลางของการเดินทางและระบบขนส่งมวลชน นอกจากการเป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าสำคัญ 2 สาย คือ รถไฟฟ้าวบีทีเอสสายสีเขียว และรถไฟใต้ดินสายน้ำเงิน  ซึ่งปัจจุบันมีการขยายการเดินรถออกไปเพิ่มมากขึ้น รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว เปิดเดินรถต่อไปถึงสถานีวัดพระศรีฯ​ ขณะที่รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปได้ถึงท่าพระหรือสถานีหลักสอง นอกจากนี้  ในพื้นที่ห้าแยกลาดพร้าว ยังตั้งอยู่ใกล้กับสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางสายรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนที่กำลังจะสร้างเสร็จและเปิดให้บริการในช่วงต้นปี 2564 นี้อีกด้วย ทำให้พื้นที่โดยรอบของสถานีกลางบางซื่อ เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นในด้านปริมาณหรือด้านราคาอสังหาฯ   2.ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ พื้นที่ห้าแยกลาดพร้าว และพื้นที่โดยรอบ ปัจจุบันมีการพัฒนาขยายตัวของบรรดา อาคารสำนักงานเกรดเอและบีครอบคลุมกว่า 300,000 ตารางเมตร และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสถานีกลางบางซื่อสร้างเสร็จ จะส่งผลให้เกิดพื้นที่อาคารสำนักงานแห่งใหม่อีกกว่า 100,000 ตารางเมตร ซึ่งคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของพนักงานออฟฟิศทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมกว่า 40,000 คน ทำให้มีผู้สนใจลงทุนในย่านนี้จำนวนมาก จึงปฏิเสธ ไม่ได้ว่าพื้นที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว กำลังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งใหม่ที่มีความสำคัญ  อีกหนึ่งโซนของพื้นที่กรุงเทพฯ   3.ศูนย์กลางสิ่งอำนวยความสะดวก  บริเวณห้าแยกลาดพร้าว  แม้ว่าจะไม่ใช่พื้นที่ธุรกิจใจกลางเมือง หรือ CBD แต่ถือเป็นย่านที่มีความเจริญและความสะดวกครบถ้วน โดยเฉพาะการมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ อย่างศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ที่มีผู้ใช้บริการมากกว่า 150,000 คนต่อวัน นอกจากนี้ ยังมีศูนย์การค้าอื่นอีก ไม่ว่าจะเป็นยูเนี่ยนมอลล์ หรือเทสโก้ โลตัส ที่สำคัญในโซนห้าแยกลาดพร้าว ใกล้กับแหล่งช้อปปิ้งขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ ที่มีชื่อเสียงดังไปทั่วโลก คือ ตลาดนัดจตุจักร ที่มีการเปิดขายสินค้าหมุนเวียนแทบจะทุกวันตลอดสัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็นประเภทต้นไม้ สัตว์เลี้ยง หรือสินค้าทั่วไป ในพื้นที่ติดตลาดนัดจตุจักร ยังมีศูนย์การค้าเปิดให้บริการอีก 2 แห่ง คือ ศูนย์การค้ามิกซ์​จตุจักร และเจเจมอลล์  นี่ยังไม่นับรวมตลาดนัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามพื้นที่สำนักงานใหญ่ๆ ที่อยู่โดยรอบให้ผู้คนได้ช้อปปิ้งกันอีกมากมายด้วย   4.มีพื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ถึง 3 แห่ง บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ยังใกล้กับปอดขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ  เพราะมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ถึง 3 แห่ง ได้แก่ สวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟ ขนาด 375 ไร่  สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ขนาด 196 ไร่ และสวนจตุจักร ขนาด 155 ไร่  เมื่อนับพื้นที่รวมกันมีขนาดพื้นที่มากถึง 726 ไร่ หรือ 1.12 ล้านตารางเมตรเลยทีเดียว   5.ตลาดคอนโด เติบโตและมีราคาที่คุ้มค่า   ตลาดคอนโด ในย่านทำเลห้าแยกลาดพร้าว นับว่าเติบโตต่อเนื่อง แม้จะมีปริมาณไม่มาก แต่ก็เพิ่มขึ้นโดยตลาด ที่สำคัญยังมีราคาขายที่สามารถจับต้องได้ และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จึงเหมาะสำหรับกลุ่มผู้อยู่อาศัยจริง และกลุ่มนักลงทุน สำหรับข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ของบีซีตั้งแต่ช่วงปี 2558-2562  พบการเปิดตัวของโครงการคอนโด ติดถนนหลักเส้นพหลโยธิน ตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินพหลโยธิน-สถานีรถไฟฟ้ารัชโยธิน ทั้งสิ้น 11 โครงการ จำนวน 8,263 ยูนิต ในราคาขายเฉลี่ย 145,000 บาทต่อตารางเมตร  มียอดขายรวมแล้วกว่า 74% โดยหากเจาะข้อมูลดีมานด์ในแต่ละสถานีพบว่า สถานีที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ สถานีบีทีเอสห้าแยกลาดพร้าวที่มีอัตราการตอบรับที่ดีที่สุด ด้วยยอดขายรวมกว่า 82% มียูนิตคงเหลือขายประมาณ 490 ยูนิตเท่านั้น สาเหตุหลักเพราะเป็นทำเลที่ดีที่สุดเปรียบเสมือนศูนย์กลางของย่านนี้   ขณะที่คอนโด ในกลุ่มสินค้ารีเซล ก็พบการปรับตัวของราคาขึ้นมาปีละประมาณ 8% เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ซื้อที่ต้องการลงทุนในการปล่อยเช่าและขายต่อให้ความสนใจในตลาดโซนนี้ไม่แพ้กัน เพราะผลตอบแทนจากการปล่อยเช่าระยะยาว (Rental Yield) ของคอนโด ในย่านนี้ พบอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 4-5% ซึ่งคอนโด ในทำเลนี้ ยังมีราคาเหมาะสมในการซื้อ ทั้งเพื่ออยู่อาศัยและเพื่อการลงทุนระยะยาว   บิ๊กเนมแห่ปักหมุดผุดโปรเจ็กต์ สำหรับความเคลื่อนไหวการพัฒนาโครงการคอนโดฯ ในย่านห้าแยกลาดพร้าว นับว่ามีมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี เพราะในบริเวณห้าแยกลาดพร้าว เป็นจุดตัดถนนสำคัญถึง 3 เส้น ได้แก่ ถนนพหลโยธิน ถนนลาดพร้าว และถนนวิภาวดี-รังสิต ซึ่งสามารถเดินทางไปยังจุดต่าง ๆ ได้ทั่วกรุงเทพฯ ขณะเดียวกันยังใกล้กับสถานที่สำคัญ ทั้งหน่วยงานราชการ อาคารสำนักงาน บริษัทเอกชน ศูนย์การค้า หรือแม้แต่การเชื่อมต่อไปยังต่างจังหวัด เพราะใกล้กับสถานีขนส่งหมอชิต ยิ่งแผนการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน ผ่านบริเวณห้าแยกลาดพร้าว ดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่จึงแห่กันมาจับจองที่ดินขึ้นโครงการกันมากมาย   โดยปัจจุบันยังพบว่า มีหลายโครงการที่ยังเปิดการขาย หรือเป็นโครงการพร้อมเข้าอยู่ รวมถึงกำลังก่อสร้าง แต่ยังไม่เปิดการขายหลายโครงการ โดยเฉพาะบนถนนพหลโยธิน  ช่วงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีพหลโยธิน และรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีห้าแยกลาดพร้าว ซึ่งมีโครงการที่น่าสนใจ ได้แก่   1.โครงการเดอะเครสท์ พาร์ค เรสซิเดนซ์ (The Crest Park Residences) เป็นโครงการภายใต้การร่วมทุนระหว่างบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับ Nishitetsu Group ยักษ์ใหญ่และผู้นำในภูมิภาค คิวชูของประเทศญี่ปุ่น โดยตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ใกล้กับห้าแยกลาดพร้าว มีระยะห่างเพียง 75 เมตร ถึง รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีพหลโยธิน และใกล้กับบีทีเอสสถานีห้าแยกลาดพร้าว ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ จำนวน 429 ยูนิต มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท ซึ่งราคาขายเฉลี่ยกว่า 2-2.5 แสนบาทต่อตารางเมตร  ซึ่งโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และวางแผนเปิดการขายในปีนี้   2.โครงการไลฟ์ ลาดพร้าว (LIFE LADPRAO) คอนโดพร้อมอยู่ จากบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)หรือ เอพี นับเป็นหนึ่งในไฮไลท์โปรเจคร่วมทุนระหว่างเอพีและพันธมิตรญี่ปุ่น มิตซูบิชิ เอสเตท เรสซิเดนซ์ (บริษัทในเครือมิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป) ตั้งอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีห้าแยกลาดพร้าว มากที่สุด มีมูลค่าโครงการ 8,000 ล้านบาท จำนวน 1,615 ยูนิต     3.โครงการไลฟ์ ลาดพร้าว แวลลีย์ (Life Ladprao Valley) อีกหนึ่งโครงการของค่ายเอพี ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีห้าแยกลาดพร้าวอีกหนึ่งโครงการ บนพื้นที่โครงการกว่า 5 ไร่ ปัจจุบันงานก่อสร้างโครงสร้างคืบหน้ากว่า 73% มีจำนวนยูนิต 1,140 ห้อง และร้านค้า 1 ร้าน 4.โครงการไลฟ์ ลาดพร้าว สเตชั่น (Life Ladprao Station) เป็นโครงการที่ 3 ของค่ายเอพี ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและก่อสร้าง เป็นโครงการบนพื้นที่กว่า 2 ไร่ ขนาดอาคารสูง 42 ชั้น จำนวน 636 ยูนิต น่าจะมีมูลค่าโครงการประมาณ 2,100 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันยังไม่เปิดการขาย คาดว่าจะเปิดขายได้ภายในช่วงปี 2564 ถือเป็นโครงการล่าสุดที่เข้ามาปักหมุดในทำเลห้าแยกลาดพร้าว 5.โครงการเดอะ ไลน์ พหลโยธิน พาร์ค (The Line Phahonyothin Park) โครงการคอนโดฯ ภายใต้การร่วมทุนระหว่างแสนสิริและบีทีเอส กรุ๊ป เป็นอาคารขนาดสูง 32 ชั้น มีจำนวน 880 ยูนิต มูลค่าโครงการ 4,900 ล้านบาท ในความเป็นจริงแล้ว บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ทุกถนนที่วิ่งตัดผ่าน ต่างมีโครงการคอนโด พัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งติดถนนใหญ่และตามซอยแยกเข้าไปมากมาย เพราะด้วยปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ข้างต้น จึงไม่แปลกใจที่จะส่งผลให้ที่ดินบริเวณนี้มีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางแปลงพุ่งทะลุไปกว่า 1 ล้านบาทต่อตารางวาก็เคยมีให้เห็นมาแล้ว และเป็นทำเลที่ได้รับความนิยมจากดีเวลลอปเปอร์ไม่แพ้ในโซนใจกลางเมืองเลยทีเดียว เชื่อว่าหลังจากโครงการขนาดใหญ่ อย่างสถานีกลางบางซื่อ ก่อสร้างเสร็จแล้วและเปิดให้บริการ ศักยภาพของทำเลห้าแยกลาดพร้าว คงได้รับอานิสงค์และมีการเติบโตมากขึ้นอีกหลายเท่าตัวอย่างแน่นอน  
ดูไอเดีย การดีไซน์ ร้านนวด-สปา ยุค New Normal ให้ปลอดภัยห่างไกล โควิด-19

ดูไอเดีย การดีไซน์ ร้านนวด-สปา ยุค New Normal ให้ปลอดภัยห่างไกล โควิด-19

แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนไม่พบการผู้ติดเชื่อรายใหม่ภายในประเทศ  ติดต่อกันหลายสิบวันแล้วก็ตาม  แต่เรื่องของความปลอดภัย ยังคงเป็นหัวใจสำคัญสูงสุด ไม่อย่างนั้น การแพร่ระบาดระรอก 2 จะเกิดขึ้น และอาจรุนแรงจนเกินจะรับมือได้เหมือนกัน   การใช้ชีวิตภายหลังจากนี้ พูดกันว่าต้องอยู่ภายใต้ความปกติวิถีใหม่ หรือ New Normal ซึ่งก็คือการใช้ชีวิตปกติเหมือนที่เคยเป็นมา แต่อยู่ภายใต้มาตรฐานการควบคุม และเข้มงวดเรื่องของความปลอดภัย ไม่เป็นผู้แพร่เชื้อโรคไวรัสโควิด-19 หรือเป็นผู้ป่วยที่ไปได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้ามา   ไม่เพียงแต่เราทุกคนจะต้องปฏิบัติตัวเองให้อยู่ภายใต้วิถีชีวิตแบบ New Normal เท่านั้น  ธุรกิจและสถานประกอบการต่าง ๆ ก็ต้องปรับตัวเอง จัดการธุรกิจให้อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยด้วยเช่นกัน  อย่างเช่น ธุรกิจร้านนวดแผนไทย-สปา ที่นับว่าเป็นธุรกิจเสี่ยงต่อการติดต่อของไวรัสโควิด-19 เป็นลำดับต้น ๆ เพราะผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ต้องสัมผัสร่างกายและอยู่ใกล้ชิดกัน แถมยังเป็นสถานที่มีผู้เข้ามาใช้บริการจำนวนมาก กลุ่มสถานประกอบการประเภทนี้จึงต้องเข้มงวดอย่างมากในการดูแลสภาพแวดล้อม   โดยภาครัฐได้กำหนดมาตรฐานข้อปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการ ซึ่งผู้ให้บริการต้องผ่านการประเมินความพร้อมก่อนจึงจะสามารถกลับมาให้บริการได้ หลังจากช่วงก่อนหน้าได้มีการล็อกดาวน์ ปิดการให้บริการเป็นการชั่วคราว เพื่อความเชื่อมั่นและความปลอดภัยต่อสุขอนามัยของผู้ใช้บริการ และจากข้อปฏิบัติด้านการจัดการสถานที่โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ลดการสัมผัส การคัดกรอง เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล   วันนี้ เรามีไอเดียในการออกแบบร้านนวดแผนไทยและสปา จากอาจารย์ธนิต จึงดำรงกิจ และ ดร.ศรีดารา ติเพียร อาจารย์ประจำหลักสูตรออกแบบภายในคณะศิลปกรรมศาสตร์ และ RDI มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มาฝาก เพื่อให้ร้านนวดไทยและสปา ภายใต้ยุค New Normal มีความปลอดภัย อยู่ภายใต้มาตรฐานของภาครัฐ   โดยอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน  ได้ให้ความเห็นว่า ในด้านของการออกแบบร้านนวดแผนไทยและสปา  มีทั้งแนวทางการออกแบบและจัดการร้านได้ 2 แนวทาง คือ แบบระยะสั้น (Short Term) และแบบระยะยาว (Long Term) การออกแบบร้านในระยะสั้น (Short  Term) การปรับปรุงร้านในระยะสั้น  (Short Term) ได้แก่ การจัดการกับพื้นที่ ที่มีผลกับความปลอดภัยของผู้ใช้บริการโดยตรง ซึ่งมีพื้นที่ 3 ส่วนหลัก ๆ ที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ ดังนี้ 1.พื้นที่ต้อนรับและรอรับบริการ เป็นพื้นที่บริเวณส่วนหน้าร้าน ประกอบด้วยส่วนต้อนรับ จุดนั่งพักรอรับบริการ ให้คำปรึกษาคอร์สบริการ แสดงตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย เคาท์เตอร์ประชาสัมพันธ์ รับชำระเงิน สามารถปรับปรุงได้โดยแยกสัดส่วนพื้นที่ -สำหรับจุดคัดกรอง พื้นที่รอรับบริการ หากไม่มีพื้นที่ด้านนอกอาคาร ให้กันพื้นที่ต้อนรับส่วนหนึ่งไว้เป็นจุดคัดกรอง และมีฉากกั้นก่อนเข้าสู่พื้นที่นั่ง   -พื้นที่รอรับบริการ ควรมีไม่เกิน 2 ที่นั่ง และจะต้องเว้นระยะห่างต่อที่นั่ง 1.50 เมตร และควรเป็นที่นั่งเดี่ยว   -พื้นที่ให้คำปรึกษา เคาท์เตอร์ประชาสัมพันธ์ แคชเชียร์ ให้วางตำแหน่งของผู้ใช้บริการด้านหน้าเคาท์เตอร์ มีระยะห่าง 1.50 เมตร พร้อมติดตั้งฉากกั้นระหว่างผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ 2.พื้นที่ให้บริการนวด -พื้นที่บริการนวด หากเป็นพื้นที่รวม ให้เว้นระยะห่างระหว่างเตียงนวด อย่างน้อย 1.50 เมตร และติดตั้งฉากกั้นซึ่งเป็นวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย แต่ควรใช้ผ้าเนื่องจากเป็นวัสดุที่จับติดกับสิ่งสกปรกและสะสมเชื้อโรคได้ง่าย   -ห้องนวดสปา ควรจัดเป็นห้องเตียงเดี่ยว และมีพื้นที่บริเวณรอบเตียงกว้างพอเหมาะ เหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน 3.พื้นที่เก็บอุปกรณ์   -พื้นที่จัดเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด 1-2 จุด เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้งาน เนื่องจากเป็นข้อกำหนดที่สถานบริการต้องทำความสะอาดทุกครั้ง หลังให้บริการ   -พื้นที่เก็บอุปกรณ์ ควรแยกพื้นที่เก็บอุปกรณ์และผ้าที่ยังไม่ได้ใช้และที่ใช้แล้วห่างจากกัน และมิดชิด 3 องค์ประกอบ จัดการร้านนวด-สปา แบบระยะยาว (Long Term ) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะส่งผลกระทบต่อการออกแบบพื้นที่ในอนาคต ดังนั้นสถานประกอบการจึงควรมีแผนการปรับตัวและการจัดเตรียมสถานที่รับรองผู้ใช้บริการในระยะยาว (Long Term) ทั้งนี้ วงการวิชาชีพสถาปนิกต้องสามารถคิดค้นการออกแบบที่สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัยต่อสุขอนามัย โดยผสมผสานศิลปะการออกแบบเข้ากับจิตวิทยาสภาพแวดล้อม ซึ่งควรออกแบบบนพื้นฐานที่ตอบสนองทางสรีระวิทยา และจิตวิทยา ปลอดภัยต่อสุขอนามัยของผู้ใช้งาน ดังนั้นในมุมมองของนักออกแบบเอง จะมีอยู่ 3 องค์ประกอบที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ได้แก่   องค์ประกอบที่ 1. การจัดการเชิงพื้นที่ในสถานบริการ ควรคำนึงถึงหลักการจัดวางพื้นที่ ทางเดินสัญจรภายใน ขนาด ระยะห่างของพื้นที่ที่เหมาะสม พื้นที่ใช้สอยภายใน ควรแยกกลุ่มการใช้งานอย่างชัดเจน จำกัดพื้นที่ของผู้ใช้บริการแต่ละคน รวมทั้งการสัญจรภายในร้าน ต้องแยกชัดเจนระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ แบ่งเส้นทางในการเก็บสิ่งของที่ใช้งานแล้ว เช่น ผ้าปูที่นอน เสื้อผ้า เพิ่มขนาดทางเดิน ขนาดเฟอร์นิเจอร์ ที่แยกการใช้งานเฉพาะบุคคล เน้นความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ ซึ่งการจัดการเชิงพื้นที่มี  3 ส่วนที่ควรให้ความสำคัญ คือ 1.พื้นที่ต้อนรับและจุดรอรับบริการ -จุดคัดกรองด้านนอก เพิ่มจุดล้างมือในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยก่อนผู้ใช้บริการจะเข้าสู่พื้นที่ต้อนรับหรือจุดรอรรับบริการ   -จุดรอรับบริการ ควรใช้เก้าอี้แบบเดียว และมีการเว้นระยะห่าง หรือขั้นด้วยโต๊ะข้าง   -จุดให้คำปรึกษา ควรจัดเป็นพื้นที่แยกต่างหาก เป็นชุดละ 2 ที่นั่ง และแบ่งขอบเขตพื้นที่ชัดเจน -เคาท์เตอร์ประชาสัมพันธ์และแคชเชียร์ ควรเพิ่มระยะห่างระหว่างพื้นที่ของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ พร้อมจัดระยะห่างระหว่างที่นั่งอย่างน้อย 1.50 เมตร 2.พื้นที่ให้บริการนวด -พื้นที่นวดเท้าและนวดไทย หากเป็นพื้นที่นวดรวม ให้เว้นระยะของเตียงนวด 1.50 เมตรและติดตั้งฉากกั้นระหว่างเตียง สามารถปิดเปิดได้ แต่ต้องมีส่วนของผนังยื่นออกมา 1.00 เมตร และควรใช้เป็นประตูบานเลื่อนที่เชื่อมพื้นที่ได้แทนผ้าม่าน -พื้นที่นวดสปา ควรเป็นพื้นที่เตียงเดี่ยว หากจะออกแบบให้เป็นห้องเตียงคู่ ควรจัดวางตำแหน่งให้หันด้านปลายเท้าเข้าหากัน 3.พื้นที่สุขอนามัยในสถานบริการ -จัดวางพื้นที่ส่วนเก็บของที่ยังไม่ได้ใช้งานไว้ส่วนกลางของสถานบริการ และแยกพื้นที่ส่วนเก็บอุปกรณ์ที่ใช้แล้วไว้ส่วนด้านหลังสถานบริการ จัดการให้เป็นพื้นที่ปิดมิดชิด   องค์ประกอบที่ 2. การตกแต่งด้วยวัสดุปิดผิว การเลือกใช้วัสดุภาย ควรเลือกใช้วัสดุลักษณะผิวเรียบ ไม่กักเก็บสิ่งสกปรกและเชื้อโรค เช่นวัสดุที่มีพื้นผิวเป็นรูพรุนเพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด เช่น การใช้กระเบื้องเซรามิคผิวเรียบที่ผ่านการอบด้วยความร้อนสูง หรือใช้วัสดุปูพื้นด้วยไวนิล หรือกระเบื้องยางแบบม้วน อาจนำมาใช้สำหรับเป็นพื้นห้องนวด เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีรอยต่อน้อย ลดการกักเก็บความชื้น ลดเสียงสะท้อน หลีกเลี้ยงการใช้วัสดุจากผ้าเนื่องจากจับกับสิ่งสกปรกได้ง่าย และกักเก็บเชื้อไวรัสได้นานถึง 8-12 ชั่วโมง (ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค) ยกเว้นกรณีผ้าปูเตียง ส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่บุด้วยผ้า ควรเปลี่ยนวัสดุเป็นเบาะ PVC หรือหนังแทน   องค์ประกอบที่ 3. การระบายอากาศภายใน หากสถานประกอบเอื้ออำนวย ควรจัดระบบระบายอากาศให้ไหลเวียนได้ดี ด้วยการมีช่องระบายอากาศให้ไหลเวียนได้ดีด้วยช่องเปิดรับอากาศจากภายนอกสู่ภายใน ยกเว้นกรณีที่สภาพภูมิอากาศรอบอาคารไม่เอื้ออำนวย อาจจำเป็นต้องใช้ระบบปรับอากาศช่วยเพื่อให้เกิดการไหลเวียน และต้องกำหนดจุดติดตั้งที่เหมาะสม เช่น ยึดติดฝาพนัง แขวนฝ้าเพดาน หรือวางกับพื้น เพื่อให้อากาศที่สะอาดไหวเวียนไปยังพื้นที่ที่มีการใช้งาน  และต้องมีระบบดูดอากาศเพื่อการไหลเวียนที่ดี   อย่างไรก็ดี การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของสถานบริการร้านนวดแผนไทย - สปา ต้องอาศัยความเข้าใจต่อการรับรู้สภาพแวดล้อมของตัวผู้ประกอบการเอง ซึ่งสภาพแวดล้อมส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ใช้บริการ ในด้านการออกแบบสถานบริการจึงต้องสื่อสารบางอย่างให้ผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจในสุขลักษณะของสถานประกอบการนั้น ๆ ด้วย    
เฟรเซอร์ส ตั้ง “ธนพล ศิริธนชัย” บริหารองค์กรแสนล้าน

เฟรเซอร์ส ตั้ง “ธนพล ศิริธนชัย” บริหารองค์กรแสนล้าน

เฟรเซอร์สแต่งตั้ง “นายธนพล ศิริธนชัย” นั่งเก้าอี้ ซีอีโอ นำทัพองค์กร 1 แสนล้าน  สร้างการเติบโตให้กับแพลตฟอร์มใหม่ ที่รวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร   คณะกรรมการบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ FPT มีมติแต่งตั้งนายธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ (GOLD) ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ  FPT  โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป   โดยนายธนพล ศิริธนชัย จะรับภารกิจสำคัญในการเป็นหัวเรือใหญ่ที่จะสร้างการเติบโตให้กับ เฟรเซอร์ส  พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) รวมถึงการเดินหน้าภายใต้นโยบายการลงทุนของบริษัทฯ ในการเพิ่มศักยภาพที่จะเติบโตอย่างสมดุลให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ในการเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย (Residential) โครงการเชิงพาณิชย์ (Commercial) และพื้นที่เชิงอุตสาหกรรม (Industrial) จากผู้บริหาร GOLD สู่เก้าอี้ซีอีโอ FPT สำหรับนายธนพล ศิริธนชัย  ถือว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และคร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กว่า 30 ปี โดยก่อนร่วมงานกับเฟรเซอร์ส เคยดำรงตำแหน่งประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ผู้พลิกฟื้นจากที่บริษัทฯขาดทุน ให้กลับมามีกำไรภายใน 3 ปี และก้าวกลับมาสู่ท็อป 5 ของประเทศไทยภายใน 7 ปี  (อ่านข่าวผลประกอบการ 3 เดือนแรกปี 2563) พร้อมพัฒนาโครงการครอบคลุมทั้งอาคารสำนักงาน เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ โรงแรม และโครงการแนวราบ เช่น บ้านเดี่ยว และทาวน์โฮม และล่าสุด พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสใจกลางเมืองสามย่านมิตรทาวน์  ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี   นอกจากนี้ นายธนพล ยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ของ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด​ (มหาชน)  ผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของโครงการอาคารสำนักงานที่ดีที่สุด ด้วยมาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานสูงที่สุดระดับโลก กับโครงการปาร์คเวนเชอร์ ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ โดยนายธนพลยังได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคมและการกุศลต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ประธานโครงการ IMET Mentorship Academy for Excellent Leaders (IMET MAX) โครงการภายใต้มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย และรองผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์   นายธนพล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ (MBA) จากมหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาหลักสูตร Advanced Management Program มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา 1+1 เท่ากับสินทรัพย์ 1 แสนล้าน สำหรับ  FPT  เป็นบริษัทในกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้  ซึ่ง FPT ผู้นำการให้บริการแพลตฟอร์มด้านอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรของประเทศไทย  ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท ภายหลังควบรวมกับ  GOLD เป็นบริษัทย่อย ทำให้ภาพรวมการประกอบธุรกิจของ FPT มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 100,000 ล้านบาท ก้าวสู่ความเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย  พาณิชยกรรมและโรงแรม  และการอุตสาหกรรม   โดยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 GOLD ได้รับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัททั้งหมด  จาก FPT เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการ ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นไปตามแผนของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ที่ได้ประกาศเริ่มรับซื้อรอบแรกในเดือนมิถุนายนปี 2562 ที่ผ่านมา เพื่อปรับกลยุทธ์ เพิ่มศักยภาพของการเชื่อมโยง ต่อยอด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ในการเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย   ทั้งนี้ การขอเพิกถอนหลักทรัพย์ของ GOLD ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ GOLD เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 และ วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 FPT เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ GOLD จำนวน 2,222,623,901 หุ้น คิดเป็นประมาณ 95.65% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ GOLD โดย FPT จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดของ GOLD จำนวน 101,096,099 หุ้น คิดเป็นประมาณ 4.35% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ GOLD โดยมีราคาเสนอซื้อ 8.50 บาทต่อหุ้น ระยะเวลารับซื้อรวมทั้งสิ้น 45 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2563 – 23 กรกฎาคม 2563   นายธนพล กล่าวว่า ก้าวต่อไปของโกลเด้นแลนด์ คือการก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร  ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย โครงการเชิงพาณิชย์  และพี้นที่เชิงอุตสาหกรรม  แห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้นโยบายการลงทุนของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ในการเพิ่มศักยภาพที่จะเติบโตอย่างสมดุล และยั่งยืนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย นอกจากนี้ FPT ยังเป็นผู้สนับสนุนและผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ หรือ FTREIT ซึ่งปัจจุบันเป็นกองทรัสต์ฯ อุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ อีกทั้ง FPT ยังเป็นผู้สนับสนุนและผู้จัดการทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT) ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชยกรรม  ซึ่ง FPT, FTREIT และ GVREIT เป็นบริษัทและกองทรัสต์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.    
นิปปอนเพนต์ผนึก 3 พันธมิตรระดับโลก เตรียมรับมือตลาดฟื้นตัวหลังหมดโควิด-19

นิปปอนเพนต์ผนึก 3 พันธมิตรระดับโลก เตรียมรับมือตลาดฟื้นตัวหลังหมดโควิด-19

นิปปอนเพนต์ผนึกกำลัง 3 พันธมิตรระดับโลก “เทอร์ราโก้ – เกรโก้ -  เมอร์กา” ลุยตลาดสีกลุ่ม Professional Series รับทิศทางอุตสหกรรมก่อสร้างฟื้นตัว หลังโดนพิษไวรัสโควิด-19 ทุบตลาดติดลบ 10-15% มั่นใจปี 2564 ตลาดโตอีกครั้ง   นายวัชระ ศิริฤทธิชัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสีนิปปอนเพนต์ในประเทศไทย  เปิดเผยว่า  ภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างในปีนี้คาดว่าจะลดลง 10-15% จากเดิมที่เคยเติบโต 3-5% ต่อปี  ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา  และยังส่งผลต่อการใช้สีเพื่อการปรับปรุง (Renovation) เกิดการชะลอตัวของการใช้ตามมาด้วย ทำให้ความต้องการใช้สีในช่วงครึ่งปีแรกลดลง 15-20%   แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังพบว่า ยังมีงานก่อสร้างอาคารใหม่บางส่วนที่ยังคงก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง เพราะมีระยะเวลาในการส่งมอบงานที่ชัดเจน โดยประเมินว่าภายหลังจากที่สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายลง  ในปี 2564 ภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างจะกลับมาเติบโตอย่างก้าวกระโดดอีกครั้ง สำหรับทิศทางการดำเนินงานของบริษัทนั้น  ล่าสุดได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ 3 บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมก่อสร้างระดับโลก เพื่อร่วมกันพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีส่งเสริมการทำงานอย่างมืออาชีพ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์, เจ้าของอาคาร, สถาปนิกและนักออกแบบ, ผู้รับเหมาก่อสร้าง รวมถึงช่างสี เป็นต้น ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น   โดยเริ่มจากการพัฒนานวัตกรรมแรกเพื่อผู้ประกอบการผ่านระบบ  Professional Series by Nippon Paint ด้วยการผนึกกำลังกับ 3 แบรนด์ชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง  ได้แก่ เทอร์ราโก้ (Terraco) จากประเทศสวีเดน เกรโก้ (Graco) จากประเทศสหรัฐอเมริกา และเมอร์กา (Mirka) จากประเทศฟินแลนด์     สำหรับเทอร์ราโก้ (Terraco) ประเทศสวีเดน ถือว่าเป็นผู้นำด้านวัสดุตกแต่งผิว เช่น อะคริลิกฉาบบาง อะคริลิกกันซึม วัสดุอุดโป๊ว ด้วยนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งนานกว่า 40 ปี ด้วยวัตถุดิบและเทคโนโลยีการผลิตที่คัดสรรมาอย่างดี ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเทอร์ราโก้มีความทนทานสูงตอบโจทย์การออกแบบการตกแต่งผิวที่มีความหลากหลายซับซ้อนมากขึ้น  และเทอร์ราโก้เป็นผู้ผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้งานอีกด้วย   ส่วนเกรโก้ (Graco) ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำอันดับหนึ่งของโลกในด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องพ่นสี ด้วยยอดขายทั่วโลกกว่า 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี  ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของเกรโก้ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา จำหน่ายในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิเช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง การประกอบรถยนต์และซ่อมรถยนต์  อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เกรโก้ทุ่มเทให้กับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้คุณภาพสูงสุดและตอบสนองความคุ้มค่าที่มากที่สุด ปัจจุบันจำหน่ายมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก   ขณะที่เมอร์กา (Mirka) ประเทศฟินแลนด์  ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดาษทรายและผลิตภัณฑ์สำหรับการขัดพื้นผิวที่ไร้ฝุ่น (Net Sanding) รายแรกของโลก  ด้วยนวัตกรรมการสร้างกระบวนการผลิตสารเคลือบผิวที่คิดค้นขึ้นใหม่  อาทิ เครื่องขัดไฟฟ้าไร้ฝุ่น อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพสูง ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดดเด่นเหนือคู่แข่งสามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้ได้อย่างยอดเยี่ยม โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของเมอร์กากว่า 90%  ถูกส่งออกไปจำหน่ายในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก   ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกของโลก ที่ 4 บริษัทชั้นนำจากอุตสาหกรรมก่อสร้างมาร่วมมือ  เพื่อยกระดับการทำงานของมืออาชีพให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการทำงานที่เร็วขึ้น ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มคุณภาพงาน โดยการร่วมมือกันในครั้งนี้ บริษัทได้พัฒนาระบบสีเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมก่อสร้าง คือ ระบบปิดผิวผนัง โปร-วอลล์ ฟินิช (Pro-Wall Finish) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อความคุ้มค่า ทั้งการยึดเกาะ ประหยัดค่าใช้จ่าย  ประหยัดเวลา รวมถึงการใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แรกในกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้ Professional Series  และในอนาคต นิปปอนเพนต์  มีแผนขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ Professional Series ให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น   นายวัชระ กล่าวในตอนท้ายว่า ภายหลังจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลายจะทำให้ทิศทางของอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลังกลับมาคึกคัก จากกลุ่มลูกค้ารีโนเวตที่จะกลับมามากขึ้น      
“พรอสเพค”  เดินหน้าขยายพื้นที่โรงงาน-คลังสินค้ากว่า 150,000 ตร.ม. รับดีมานด์จีน

“พรอสเพค”  เดินหน้าขยายพื้นที่โรงงาน-คลังสินค้ากว่า 150,000 ตร.ม. รับดีมานด์จีน

พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ เดินหน้าขยายพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าเพิ่มอีก 150,000 ตารางเมตร รับดีมานด์ต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน แห่เช่าพื้นที่หลังหนีสงครามการค้า มองหาแหล่งผลิตสินค้าใหม่ ชี้ผลกระทบโควิด-19 น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ครึ่งปีหลังเล็งออกกองทรัสต์   นางสาวรัชนี มหัตเดชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (PD) ในเครือ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK ผู้พัฒนาและบริหารโครงการบางกอกฟรีเทรดโซน (Bangkok Free Trade Zone : BFTZ) เปิดเผยว่า ได้วางแผนขยายโรงงานและคลังสินค้าให้เช่าเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง  ในบริเวณ กม.19 ถนนบางนา-ตราด และย่านเทพารักษ์ รวม 150,000 ตารางเมตร  โรงงานและคลังสินค้าให้เช่าทั้ง 2 แห่ง จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปลายปี 2563 จากปัจจุบัน  พรอสเพค มีพื้นที่อาคารโรงงานและคลังสินค้าประมาณ 220,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ที่ ถนนบางนา-ตราด กม.23 ที่ได้เริ่มพัฒนาโครงการมาตั้งแต่ปี 2559  โดยภายในไตรมาสแรกของปี 2564 พรอสเพค จะมีพื้นที่ทั้งหมด 300,000 ตารางเมตร ตั้งแต่เริ่มพัฒนาโครงการจนปัจจุบัน พรอสเพค มีพื้นที่อาคารโรงงานและคลังสินค้าเติบโตสูงถึง 160% ซึ่งหากมีการพัฒนาเต็มทุกเฟส จะทำให้บริษัทมีพื้นที่อาคารโรงงานและคลังสินค้ากว่า 450,000 ตารางเมตร สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถสร้างรายได้แล้ว 101 ล้านบาท จากอัตราการเช่าพื้นที่กว่า 92%  ซึ่งนอกจากแผนการขยายพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าเพิ่ม บริษัท ยังมีแผนจัดตั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ด้วย   อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมามีปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่พบว่า ธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าให้เช่าของบริษัท ได้รับผลกระทบน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเบื้องต้น  แต่ในทางกลับกันพบว่ามีกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อขอเช่าพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าเพิ่มมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชาวจีนที่เริ่มเห็นสัญญาณชัดเจน  ตั้งแต่มีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน (Trade war) ส่งผลให้จีนมองหาแหล่งผลิตและฐานกระจายสินค้าใหม่  จึงถือเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจให้เช่าโรงงานและคลังสินค้า สำหรับปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้ BFTZ มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากโครงการดังกล่าวมีความ  โดดเด่นอย่างมาก โดยเป็นโครงการที่มีทั้งส่วนที่เป็น Free Zone และ General Zone มีพื้นที่ในการบริการทั้งในส่วนที่เป็นคลังสินค้าและโรงงานให้เช่า มีระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยที่สมบูรณ์แบบ บนพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 1,000 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สีม่วงที่ใหญ่ที่สุดในย่านนี้ สามารถเดินทางเข้าออกได้ 2 เส้นทาง คือ ถนนบางนา-ตราด กม.23 และ ถนนบางนา-ตราด กม.19 และมีการคมนาคมที่สะดวก โดยห่างจากท่าเรือคลองเตยเพียง 23 กิโลเมตร ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิเพียง 17 กิโลเมตร และห่างจากท่าเรือแหลมฉบังเพียง 90 กิโลเมตร   ทั้งนี้ สามารถเดินทางไปยังเขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพียง 50 กิโลเมตร มีบริการเสริมสำหรับอำนวยความสะดวกที่เตรียมไว้ให้ผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติ อาทิ Consulting Service เป็นบริการให้คำปรึกษาเรื่องการขออนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทย ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจ เอกสารประกอบ และให้คำปรึกษาด้านการขอใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร (กศก. 185) เป็นต้น นอกจากนี้ทางโครงการยังมีระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นระบบการบำบัดน้ำเสีย ระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบรักษาความปลอดภัย และการดูแลความสะอาดภายในโครงการ และยังมีโซนร้านค้า ร้านอาหาร และบริการด้านศุลกากรสำหรับการบริการผู้เช่าอีกด้วย   ทั้งนี้  โครงการ Bangkok Free Trade Zone ตั้งอยู่ที่ บางนาตราด กม.23  เป็นพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าที่มีการ ขออนุญาตให้เป็น Free Zone สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาเช่าพื้นที่ โดยสามารถเลือกได้ทั้งส่วนที่เป็น Free Zone หรือ ส่วนที่เป็น General Zone  ซึ่งภายใน Bangkok Free Trade Zone นี้ เรามีอาคาร ให้เช่าแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.อาคารคลังสินค้า และ 2.อาคารโรงงาน เนื่องจากบริเวณที่ตั้งโครงการเป็นพื้นที่  สีม่วง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างโรงงานในพื้นที่นี้ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการขออนุญาต สำหรับ Bangkok Free Trade Zone พื้นที่ทั้งหมดในโครงการมีทั้งสิ้น 1,000 ไร่ ซึ่ง 700 ไร่ เป็นพื้นที่เพื่อการเช่าหรือ Leasable Area  โดยอีก 300 ไร่ คือ พื้นที่เพื่อการสาธารณูปโภค อาทิ ถนนสาธารณะ โรงบำบัดน้ำเสีย และส่วนการรักษาความปลอดภัยภายในโครงการ เป็นต้น                      
อินเด็กซ์ฯ  ปรับตัวสู้โควิด ลุยออนไลน์ สร้างยอดโต 150% เดินหน้าปรับโฉมสาขาจับลูกค้าไฮเอนด์

อินเด็กซ์ฯ ปรับตัวสู้โควิด ลุยออนไลน์ สร้างยอดโต 150% เดินหน้าปรับโฉมสาขาจับลูกค้าไฮเอนด์

อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ไตรมาสแรก ยังกวาดรายได้และทำกำไร แม้ต้องปิดสาขาชั่วคราว จากพิษโควิด-19  ลูกค้าหันไปช้อปปิ้งออนไลน์ ทำยอดขายเติบโต 150%  เดินหน้าทำตลาด หาสินค้าเพิ่มขายผ่านออนไลน์  ล่าสุด ปรับโฉม สาขาราชพฤกษ์ ปักหมุดโซนกรุงเทพฯ ตะวันตก รับกำลังซื้อผู้บริโภคไฮเอนด์   นางสาวกฤษชนก ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ ILM  เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 2,211 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 118 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสาขาส่วนใหญ่ของอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์  ปิดดำเนินการเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ตามคำสั่งของกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของ COVID-19 อินเด็กซ์ฯ กวาดยอดออนไลน์โต 150% อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่หลายบริษัทดำเนินมาตรการ Work From Home เพื่อเพิ่มระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า โดยพบว่าผู้บริโภคเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าหมวดหมวดโต๊ะเก้าอี้สำนักงาน (Home Office) และหมวดของใช้ของตกแต่งบ้าน (Home decoration) โดยบริษัทฯ ได้ขยายความร่วมมือกับ Market Place เช่น Lazada, Shopee, และ JD Central    รวมถึงจัดโปรโมชั่นพิเศษ พร้อมส่งสินค้าฟรีทั่วประเทศ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภค ส่งผลให้ยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ไตรมาสแรกที่ผ่านมามีอัตราเติบโตสูงถึง 150% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และบริษัทฯ เชื่อมั่นว่ายอดขายผ่านช่องทางออนไลน์จะสามารถเติบโตต่อไปได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 45.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 43.8% เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของสินค้า (Product Mix) นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในเครื่องจักรที่ยังไม่เริ่มใช้อีกประมาณ 70 ล้านบาท   ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.46 บาท บาท เตรียมเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 17 กรกฏาคม 2563 อินเด็กซ์ฯ เดินหน้าหาสินค้าใหม่ทำตลาดออนไลน์ สำหรับทิศทางไตรมาส 2 สถานการณ์เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถทยอยเปิดสาขาต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น  หลังหน่วยงานภาครัฐเริ่มมีมาตรการผ่อนปรนตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะเดียวกันได้มุ่งเน้นการเพิ่มประเภทสินค้าใหม่ๆ (Product Range) สำหรับช่องทางออนไลน์ รวมถึงงานโปรเจกต์ที่อยู่อาศัยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เร่งดำเนินงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จเพื่อส่งมอบโครงการให้ลูกค้าได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้   พร้อมกันนี้ บริษัทฯ มีแผนปรับปรุงสาขาเพื่อเพิ่มพื้นที่ขายสินค้า  ผลิตภัณฑ์ที่มียอดขายและอัตรากำไรที่สูงขึ้น ทดแทนการขยายสาขาที่จะชะลอออกไปก่อนในปีนี้ โดยการปรับปรุงสาขาใช้กระแสเงินสดจำนวนไม่มากแต่จะสามารถเพิ่มยอดขายได้อย่างคุ้มค่า โดยก่อนหน้านี้ บริษัทฯ ได้ปรับปรุงอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ไปแล้ว 3 สาขา ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี  นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงมีแผนขยายสาขาแฟรนไชส์ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในปีนี้ อาทิ เวียดนาม และเมียนมาร์ เป็นต้น อินเด็กซ์ฯ​ ปรับโฉมสาขาราชพฤกษ์ รับดีมานด์ไฮเอนด์ ล่าสุด ได้ปรับโฉม อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ สาขาราชพฤกษ์  ครั้งใหญ่ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค โดยต้องการให้เป็น “FLAGSHIP FURNITURE & DÉCOR STORE” ภายใต้แนวคิด  “Modern Luxury Lifestyle” ในพื้นที่กรุงเทพฯโซนตะวันตก  เนื่องจากพื้นที่โซนกรุงเทพฯ ตะวันตก เป็นทำเลที่มีศักยภาพ  จากการขยายตัวของโครงการอสังหาริมทรัพย์  บ้านจัดสรรระดับไฮเอนด์ที่ขยายตัวขึ้น ถือเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง และมีความต้องการเฟอร์นิเจอร์ที่มีดีไซน์โดดเด่นเฉพาะตัว   สำหรับโฉมใหม่ของ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ สาขาราชพฤกษ์ ได้คัดสรรทุกกลุ่มสินค้ามาให้เลือกช้อปครบครันมากขึ้น โดยจัดเลย์เอาท์ใหม่  แบ่งประเภทสินค้า และฟังก์ชันการใช้งานอย่างเป็นระเบียบ  เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกช้อปได้ง่ายขึ้น พร้อมเปิดโซนสินค้าใหม่ๆ เช่น กลุ่มสินค้าลักซ์ชัวรี่ การจัดพื้นที่ส่วนกลางไว้อำนวยความสะดวกมากขึ้น ด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเองโปร่งโล่ง สบาย พร้อมมุมดิสเพลย์ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการแต่งบ้าน เป็นต้น   ความพิเศษของสาขาใหม่นี้ คือ จะมีแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ให้เลือกหลากหลาย ได้แก่  เทรนด์ดีไซน์ (Trend Design) แบรนด์เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านระดับพรีเมียม สไตล์ Modern Elegance มาตรฐานยุโรป แบรนด์เดอะ ลักชูรี่ อิดิชั่น (The Luxury Edition)  แบรนด์ เดอะ คอนโด คอลเล็คชั่น (The Condo Collection) เฟอร์นิเจอร์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตบนพื้นที่จำกัด สำหรับคอนโดมิเนียม, ทาวน์โฮม   นอกจากนี้ ยังมีโซน เพอร์เฟกต์ สลีป (Perfect Sleep)  โซนที่รวบรวมศาสตร์แห่งการนอน  เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ด้านการนอนหลับอย่างครบวงจร ในรูปแบบของ One Stop Service ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาด้านการนอน  มีมุม Co-Working Space พื้นที่ที่ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนมานั่งทำงานได้ ที่เน้นดีไซน์บรรยากาศพื้นที่ให้สบาย ผ่อนคลาย พร้อมพื้นที่สีเขียว   ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เตรียมแผนรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ไว้อย่างรอบด้าน เช่น การลดค่าใช้จ่าย การชะลอการใช้จ่ายเงินและการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงิน แผนการรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลง รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุดสำหรับทั้งลูกค้าและพนักงาน หลังภาครัฐเริ่มมีมาตรการผ่อนปรนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ สามารถเริ่มทยอยเปิดสาขาต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้เหมือนที่เคยผ่านมาได้ในทุกครั้ง และสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแรงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
สิงห์ เอสเตท ปิดไตรมาส1 3 กลุ่มธุรกิจดันกำไรโตขึ้น 14%

สิงห์ เอสเตท ปิดไตรมาส1 3 กลุ่มธุรกิจดันกำไรโตขึ้น 14%

ไตรมาสแรก สิงห์ เอสเตท ยังทำรายได้รวม 2,186 ล้าน ฝ่าปัจจัยลบโควิด-19 มีกำไรเพิ่มขึ้น 14% ใน 3 กลุ่มธุรกิจ กลุ่มคอนโดฯ เริ่มหลังทยอยโอนหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ  ธุรกิจสำนักงานให้เช่า มีรายได้เพิ่มจากการซื้อ อาคารเมโทรโพลิส เข้าพอร์ต ส่วนธุรกิจโรงแรมรายได้เติบโตจากการเปิดโรงแรมใหม่เพิ่ม   นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี 2563 ว่า บริษัทมีรายได้รวมจาก 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจที่อยู่อาศัย ธุรกิจสำนักงานให้เช่า และธุรกิจโรงแรม มีรายได้รวม 2,186 ล้านบาท โดยธุรกิจที่พักอาศัยมีรายได้มาจากการโอนคอนโดมิเนียมโครงการ ดิ เอส อโศก (THE ESSE ASOKE) และโครงการ ดิ เอส แอท สิงห์ คอมเพล็กซ์ (THE ESSE at SINGHA COMPLEX) มูลค่า 752 ล้านบาท  คิดเป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ 34% บริษัทยังมีโครงการที่ก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จในปีนี้ และพร้อมที่จะเริ่มโอนในไตรมาส 4 คือโครงการ ดิ เอส สุขุมวิท 36 (THE ESSE SUKHUMVIT 36) ซึ่งร่วมทุนกับ ฮ่องกง แลนด์  ปัจจุบันมียอดขายแล้วกว่า 60% โดยเป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับ super luxury มีมูลค่าโครงการ  6,500 ล้านบาท   นอกจากนี้บริษัทได้มีการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมระดับ Affordable luxury ในทำเลศักยภาพย่านรางน้ำภายใต้ชื่อโครงการ ดิ เอ็กซ์โทร พญาไท-รางน้ำ (THE EXTRO PHAYATHAI – RANGNAM) มีมูลค่าโครงการกว่า 4,100 ล้านบาท ทำให้ภาพรวมธุรกิจที่พักอาศัยสามารถเติบโตได้ในระดับที่บริษัทคาดการณ์ไว้   โดยที่ผ่านมามีมาตรการปิดเมือง (Lock-down)  ซึ่งส่งผลต่อธุรกิจในระดับหนึ่ง อาทิ ลูกค้าชาวต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาตรวจรับมอบอาคารชุดได้ด้วยตนเอง และลูกค้าชาวไทยบางส่วนชะลอการเข้าเยี่ยมชมโครงการ และตรวจรับห้องออกไปจนกว่าสถานการณ์จะคลายตัวลงเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) นอกจากนี้ เพื่อสร้างความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการแพร่เชื่อโควิด-19 บริษัทจึงได้เพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์แบบ Virtual Tour 360 องศา ที่ทำให้ลูกค้าสามารถชมห้องตัวอย่างได้เปรียบเสมือนมาอยู่ในสถานที่จริง ด้านธุรกิจอาคารสำนักงานปัจจุบันมีทั้งสิ้น 4 อาคารได้แก่ อาคารซันทาวเวอร์ส, อาคารสิงห์ คอมเพล็กซ์, เดอะ ไลท์เฮ้าส์ และอาคารเมโทรโพลิส พื้นที่รวม 140,000 ตารางเมตร มีอัตราปล่อยเช่าเฉลี่ยราว 87% โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 บริษัทรับรู้รายได้จำนวน 243 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการเข้าซื้ออาคารเมโทรโพลิส ซึ่งมีพื้นที่ 13,700 ตารางเมตร และมีอัตราปล่อยเช่าสูงถึง 97% มีโอกาสในการเติบโตสูงเพราะตั้งอยู่ในทำเลใกล้รถไฟฟ้าสถานีพร้อมพงษ์ เป็นแหล่งไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่   ขณะที่ธุรกิจโรงแรม จากพอร์ทรวมทั้งหมด 39 แห่ง มีรายได้ 1,144 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 52% โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นมานั้น มาจากการเปิดโครงการ Crossroads และได้ดำเนินการ SAii Lagoon Maldives, Hard Rock Hotel Maldives และ The Marina @ CROSSROADS ตั้งแต่ปลายปีก่อนต่อเนื่องถึงต้นปีนี้   อย่างไรก็ตาม จากการเปิดโครงการ Crossroads  ส่งผลทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น แต่บริษัทยังมีกำไรเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากการรับรู้รายได้จากส่วนอื่น ได้แก่ กำไรจำนวน 423 ล้านบาท จากการขายเงินลงทุนในเกาะ 3 ที่โครงการ Crossroads โดยการขายเงินลงทุน 50% ให้กับ Wai Eco World Developer Pte. Ltd ตามสัญญาร่วมทุนเพื่อพัฒนาและบริหารงาน High-end lifestyle resorts ด้วยราคาซื้อขายหุ้นมูลค่า 16.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และผลจากมาตรฐานการบัญชี TFRS 9 ทำให้บริษัทสามารถรับรู้กำไรจำนวน 115 ล้านบาทจากส่วนต่างของการ Mark to market อนุพันธ์แฝงจากหุ้นกู้แปลงสภาพ ส่งผลให้กำไรสุทธิของงวดอยู่ที่ 335 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากไตรมาสที่ 1 ปี 2562   จากภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บริษัทตระหนักดีว่าต้องเผชิญกับความท้าท้ายครั้งสำคัญ รวมทั้งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ทั้งนี้ บริษัทมั่นใจว่าสามารถรักษาการเติบโตแบบยั่งยืนได้ ด้วยสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง จากอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ 0.86 เท่า ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับ covenant ของบริษัทที่ 2.0 เท่า และเพื่อเป็นการคำนึงถึงผลตอบแทนผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นสำคัญ บริษัทจึงคงการจ่ายปันผลระหว่างกาล จากกำไรสุทธิประจำปี 2562 หุ้นละ 0.045 บาท และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563   สำหรับในไตรมาสต่อไปบริษัทมีการปรับแผนกลยุทธ์เพื่อฟื้นฟูธุรกิจเน้นการดำเนินแผนบริหารจัดการต้นทุนที่เคร่งครัด อาทิ การปรับงบประมาณและควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการตลาด  การบริหารกระแสเงินสด รวมถึงการสร้าง synergy ระหว่างพันธมิตรธุรกิจ ที่สำคัญบริษัทยังมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกกลุ่มตลอดจนสร้างความยืดหยุ่นให้กับองค์กรเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทุกมิติ และเชื่อมั่นว่าบริษัท จะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างแข็งแกร่ง
ก้าวต่อไปของ อิเกีย บุกตลาดออนไลน์ หลังโควิด-19 ทุบยอดขายหาย 40%

ก้าวต่อไปของ อิเกีย บุกตลาดออนไลน์ หลังโควิด-19 ทุบยอดขายหาย 40%

นับเป็นข่าวดีในรอบหลายเดือน เมื่อรัฐบาลประกาศคลาดล็อกดาวน์  ให้บรรดาห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ เริ่มกลับมาเปิดบริการให้กับประชาชนได้ แต่ต้องมีมาตรการรักษาความสะอาด การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม  รวมถึงการขยายระยะเวลาเคอร์ฟิว  ออกไปเพิ่มมากขึ้น เป็นช่วงเวลา 23.00 – 04.00 น. ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา   ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป  ออกการแฮปปี้กับการผ่อนปรนมาตรการดังกล่าว เพราะทำให้ประชาชนทั่วไป สามารถกลับมาใช้ชีวิตเหมือนที่ผ่านๆ มาได้มากขึ้น แม้จะมีข้อจำกัดหลายอย่าง ที่ต้องปฎิบัติตามวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal และยังต้องเคร่งครัดกับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ตาม ขณะที่ผู้ประกอบการ ก็จะได้มีเงินกลับเข้ามาหล่อเลี้ยงธุรกิจ หลังหยุดกิจการชั่วคราว หรือต้องปรับรูปแบบธุรกิจไปสู่การตลาดออนไลน์  เป็นเวลานานกว่า 2 เดือนก็ตาม   นอกจาก ห้างสรรพสินค้า และร้านอาหารต่างๆ ที่เห็นภาพประชาชนจำนวนมาก  ต่อแถวเข้าไปใช้บริการในวันแรกที่รัฐบาลคลายล็อกดาวน์แล้ว หนึ่งในสถานที่มีคนไปใช้บริการจำนวนมากไม่น้อยหน้า คือ ร้านจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ สัญชาติ “สวีเดน” อย่าง “อิเกีย” ที่มีประชาชนแห่ไปใช้บริการจนแน่น ที่สาขาบางนา ทำให้ในวันแรกของการกลับมาเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 ต้องมีการหยุดรับคนเข้าใช้บริการภายในสโตร์ชั่วคราว เพราะปริมาณลูกค้ามีจำนวนมากเกินไป วางมาตรฐานความปลอดภัยสู้โควิด-19 อย่างไรก็ตาม อิเกีย ได้วางแนวทาง และเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไป  โดยได้วางมาตการด้านรักษาความปลอดภัย ได้แก่ -รักษาระยะห่างทางสังคม ช้อปได้อย่างอุ่นใจ เมื่อมีการเว้นระยะห่างกันอย่างน้อยหนึ่งเมตรทุกพื้นที่ในสโตร์   -ตรวจอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าสโตร์ ทั้งพนักงานและลูกค้าที่เข้ามาในสโตร์ต้องมีอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส   -บริการเจลล้างมือในจุดต่าง ๆ ทั่วทั้งสโตร์อิเกีย   -สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในสโตร์ ลูกค้าต้องสวมใส่หน้ากากขณะที่อยู่ในสโตร์ของเรา ขณะที่พนักงานอิเกียจะสวมหน้ากากอนามัยคู่กับหน้ากากป้องกันใบหน้าหรือ Face Shield ตลอดเวลา   -จำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการ เพื่อเป็นการป้องกันและดูแลรักษาระยะห่างอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉลี่ยผู้ใช้บริการหนึ่งท่านต่อพื้นที่ประมาณ 8 ตารางเมตร   -ปิดให้บริการสมอลล์แลนด์ เพื่อรักษาความปลอดภัยและสุขภาพของลูกค้าตัวน้อยของเรา   จะเห็นได้ว่า การหยุดรับลูกค้าของ “อิเกีย” สาขาบางนา เป็นหนึ่งในมาตรการรักษาความปลอดภัย ที่กำหนดจำนวนลูกค้า 1 คน ต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร เช่นเดียวกับสาขาบางใหญ่ โดยสาขาบางใหญ่ในภาวะปกติ สามารถรองรับลูกค้าได้มากสุดถึง 5,000 คน แต่ภายใต้มาตรการดังกล่าว ทำให้ต้องบริการลูกค้าได้สูงสุดไม่เกิน 3,600 คน ขณะที่พื้นที่บริหารร้านอาหาร ได้ลดจำนวนลง 50% เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการเว้นระยะทางสังคมเช่นกัน อีก 6 เดือน อิเกียจะมียอดขายออนไลน์ 25% ในด้านธุรกิจ อิเกีย ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพราะต้องปิดการให้บริการที่สาขาไปนานกว่า 2 เดือน และหันไปเน้นการให้บริการผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซแทน ซึ่งถือว่ายอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ เติบโตได้มากกว่า 320% ขณะที่ยอดขายช่องทางปกติ ยอดขายหายไปมากถึง 40% ทำให้ทิศทางต่อไปนับจากนี้ อิเกีย คงจะหันกลับมาให้น้ำหนักและเพิ่มการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น เพราะวางเป้าหมายไว้ว่าภายในระยะ 6 เดือนนับจากนี้  สัดส่วนยอดขายทางช่องทางออนไลน์จะเพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็น 25% จากปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้ประมาณ 10-12% เพราะเชื่อว่าหลังจากนี้ไป วิถีชีวิตใหม่ของคนไทย จะหันมาเน้นการช้อปปิ้งออนไลน์กันมากขึ้น   ในช่วงที่ผ่านมา อิเกียได้เพิ่มบริการใหม่ๆ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์การช้อปปิ้งให้ลูกค้า ได้แก่ บริการออกแบบออนไลน์ ให้ลูกค้ารับคำแนะนำการออกแบบเฟอร์นิเจอร์จัดเก็บ ตู้เสื้อผ้า PAX/พักซ์ และชุดครัวอิเกีย  ได้โดยไม่ต้องมาที่สโตร์ ยังมีบริการ Click & Collect สั่งซื้อออนไลน์และมารับสินค้าด้วยตนเองที่สโตร์ บริการจัดส่ง และบริการประกอบสินค้า ซึ่งได้รับการปรับให้เป็นบริการแบบไร้สัมผัส เพื่อให้ลูกค้าอุ่นใจได้ยิ่งขึ้น นายทอม ซูเทอร์ ผู้จัดการสโตร์ อิเกีย บางใหญ่ เปิดเผยว่า แนวโน้มยอดขายของอิเกีย น่าจะมียอดขายลดลง 8.4% จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลให้ภาพรวมของอิเกีย ที่เดิมคาดว่าจะมีรายได้เติบโต 3.5% ลดลงเหลือยอดขายติดลบ 5% และปีต่อไปยังคงติดลบต่อเนื่องอีก 3%  แนวโน้มยอดขายของอิเกีย น่าจะกลับมาเป็นบวกได้ในอีก 2 ปีข้างหน้า แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการมีวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวด้วย   อย่างไรก็ตาม นับจากนี้ อิเกีย จะเน้นการทำตลาดออนไลน์ให้เพิ่มมากขึ้น และการทำตลาดอื่นๆ เช่น การออกสินค้าใหม่ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ การมีสิค้าคอลเลคชั่นร่วมกับแบรนด์เกรฮาวน์ การจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้าลง 3% และการยกเว้นค่าหยิบสินค้า 200 บาท วันนี้ - 31 สิงหาคม 2563 ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา สโตร์อิเกียออนไลน์มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรามากกว่า 4 ล้านคน ยอดสั่งซื้อออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 320% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้  มาตรการดูแลความปลอดภัยของอิเกีย  https://youtu.be/F2lOj9XrpWY                      
โกลเด้นแลนด์ ไม่หวั่นโควิด-19 เตรียมเปิดอีก 8 โปรเจ็กต์ 9,400 ล้าน

โกลเด้นแลนด์ ไม่หวั่นโควิด-19 เตรียมเปิดอีก 8 โปรเจ็กต์ 9,400 ล้าน

โกลเด้นแลนด์ ยังรักษาอัตรากำไรและทำรายได้ช่วง 3 เดือนแรกของปี 63  ใกล้เคียงไตรมาสก่อนหน้า แม้อยู่ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 หลังกลุ่มลูกค้าหันมาให้ความสนใจโครงการแนวราบ ทำงานแบบ Work Form Home และมีรายได้จากโครงการเชิงพาณิชย์หนุน  ครึ่งปีหลังยังเดินหน้าตามแผนเตรียมเปิดอีก 8 โครงการ มูลค่า 9,400 ล้านบาท   นายธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้มีการปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจในปี 2563 ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการบริหารกระแสเงินสด และการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ซึ่งตลอดการปรับตัวตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ยังรักษาผลการดำเนินงานไว้ได้ทำให้พนักงาน คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจได้รับผลกระทบน้อยที่สุด   โดยโกลเด้นแลนด์ มียอดรับรู้รายได้สำหรับรอบระยะเวลา 3 เดือนแรกของปีนี้  (1 มกราคม 2563 – 31 มีนาคม 2563) จำนวน 3,994 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า (1 ตุลาคม 2562 – 31 ธันวาคม 2562) และมีกำไรสุทธิกว่า 351 ล้านบาท แม้อยู่ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19  ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง  มียอดขายจากโครงการแนวราบ และค่าเช่าจากโครงการเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง สำหรับทิศทางของปี 2563 บริษัทวางแผนเปิดขายโครงการ นีโอโฮม จำนวน 5 โครงการ ทาวน์โฮม จำนวน 7 โครงการ และโครงการในต่างจังหวัด 1 โครงการ มูลค่ารวม 14,000 ล้านบาท และคาดการณ์รายได้จากโครงการเชิงพาณิชย์ 1,000 ล้านบาทจากอาคารสำนักงาน เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ และมิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ที่ยังคงเปิดให้บริการได้ตามปกติท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 และศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ที่คาดว่าจะกลับมาเปิดให้บริการได้เต็มรูปแบบภายในเดือนมิถุนายน 2563   ส่วนภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะเกิดความท้าทายจากผลกระทบของวิกฤตโควิด-19 ซึ่งจะแสดงให้เห็นชัดเจนจากผลการดำเนินงานในรอบเดือนเมษายน – มิถุนายน 2563 แต่สำหรับบริษัทฯ ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ ยังคงมียอดขายโครงการแนวราบที่ดี เพราะลูกค้าหันมาสนใจโครงการแนวราบมากขึ้น โดยมียอดเข้าชมโครงการเพิ่มขึ้น 40-50% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากลูกค้ามีความจำเป็นต้องใช้จริงจากการปรับรูปแบบทำงานที่บ้าน (Work from home) ที่ต้องการพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัย และทำงาน โดยไม่รบกวนกันของสมาชิกในครอบครัว ต้องการพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น ฟังก์ชั่นของโครงการแนวราบจึงตอบโจทย์มากกว่าสินค้าประเภทอื่น   โดยในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยอดขายกลับมามีแนวโน้มดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ได้ผลกระทบจากมาตรการ LTV ปัจจุบันบริษัทฯ มียอดขายสะสม (Backlog) ที่ 2,900 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะทยอยรับรู้รายได้ทั้งหมดภายในปี 2563 โดยในครึ่งปีหลัง (กรกฎาคม – ธันวาคม) ของปี 2563 บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าเปิดโครงการนีโอโฮมอีก 4 โครงการ และโครงการทาวน์โฮมอีก 4 โครงการ มูลค่ารวม 9,400 ล้านบาท สำหรับธุรกิจอาคารสำนักงาน ถึงแม้ว่าหลายบริษัทฯ จะปรับตัวตามมาตรการระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ของภาครัฐ โดยการปรับให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) มากขึ้น แต่บริษัทฯ ยังเชื่อว่าเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ รูปแบบการทำงานที่ทำงาน (Work at Office) จะกลับมาเช่นเดียวกัน เพราะยังจำเป็นต้องใช้พื้นที่สำหรับการประชุม และการใช้พื้นที่ร่วมกันของพนักงาน โดยจะมีการปรับความยืดหยุ่นในการทำงาน (Work flexibility) มากขึ้น จึงคาดว่าจะไม่ทำให้ภาพรวมความต้องการพื้นที่สำนักงานลดลงจนเกิดผลกระทบ   ส่วนธุรกิจศูนย์การค้า ทางบริษัทฯ มีความพร้อมเปิดให้บริการสามย่านมิตรทาวน์ หากมีการประกาศจากภาครัฐให้สามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติก็สามารถเปิดให้บริการได้ใน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งระหว่างนี้ได้เตรียมความพร้อมในแนวทางการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรการระยะห่างทางสังคม  เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มีการคัดกรองผู้ใช้บริการ ตรวจวัดไข้ ทำความสะอาดในจุดสัมผัสต่างๆ เป็นอย่างดีแล้ว   นายธนพล กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าขณะนี้ สถานการณ์ภาวะวิกฤตโควิด-19 ของประเทศไทยจะดีขึ้น แต่คงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด  ความท้าทายกลับอยู่ที่การวางแผนหลังจากวิกฤตคลี่คลาย ในการปรับตัวไปสู่ New Normal เช่น มาตรการรองรับรูปแบบการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อจัดการคิวจองซื้อบ้านในวันเปิดโครงการ การเปิดศูนย์การค้าอย่างระมัดระวัง และให้ความสำคัญกับมาตรการระยะห่างทางสังคม  เช่นเดียวกัน   บริษัทฯ มีความพร้อม และมั่นใจในการเดินหน้า ปรับตัวสู่ New Normal ที่สามารถรักษาผลการดำเนินงานของบริษัทให้มีความแข็งแกร่งอยู่ในระดับที่ไม่เกิดผลกระทบกับพนักงาน คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ  
“แอสเสท เวิรด์” โดนพิษโควิด-19 ทุบกำไร-รายได้ไตรมาสแรกลด

“แอสเสท เวิรด์” โดนพิษโควิด-19 ทุบกำไร-รายได้ไตรมาสแรกลด

แอสเสท เวิรด์ เผยผลประกอบการไตรมาสแรก โดนพิษโควิด-19 ทุบรายได้และกำไรลดลง  เหตุนักท่องเที่ยวหาย ปิดโรงแรม-ศูนย์การค้า  มีกำไรลดลง 55.6% เหลือสุทธิ 108.2 ล้านบาท  และมีรายได้รวม 2,512.9 ล้านบาท ลดลง 30.6% จาก 3,623.0 ล้านบาท  พร้อมเดินหน้าธุรกิจต่อเนื่องด้วยมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่าย   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายของทุกภาคส่วน ด้วยผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ที่มีแนวโน้มลดลงกว่า 80% (ข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยงต่างชาติที่มาเยือนประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) และมาตรการเข้มงวดจากทางภาครัฐ ในการปิดสถานประกอบการ ซึ่งรวมถึงโครงการศูนย์การค้า เพื่อป้องกันและลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลให้ AWC ต้องประกาศมาตรการปิดให้บริการโรงแรม และอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้าต่างๆ ชั่วคราว รวมถึงมีมาตรการอื่นๆ เพื่อดูแลช่วยเหลือผู้เช่า ทำให้ AWC มีกำไรในไตรมาสแรกลดลงลดลง 55.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หรือมีกำไรสุทธิ 108.2 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม AWC ยังคงได้รับประโยชน์ จากกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลาย และสมดุลเชิงธุรกิจ (Balanced and Diversified Portfolio) ที่ช่วยกระจายความเสี่ยง ซึ่งเห็นได้ชัดจากธุรกิจอาคารสำนักงาน (Office) ที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนกำไรจากการดำเนินงานของสินทรัพย์ดำเนินงาน (พอร์ททรัพย์สินที่ดำเนินงานและไม่รวม โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง และโรงแรมอิมพีเรียล หัวหิน ที่หยุดดำเนินงานเพื่อปรับปรุงโรงแรม ช่วงกลางปี 2562 รวมถึงรายได้จากค่าบริหาร และดอกเบี้ยรับจากบริษัทกลุ่มทีซีซี)   โดยในไตรมาส 1 ของปี 2563 AWC ยังคงมีกำไรจากการดำเนินงานของสินทรัพย์ดำเนินงาน อยู่ที่ 1,184.9 ล้านบาท ซึ่งแบ่งสัดส่วนเป็นธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) 38.8% ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการประกอบกิจการการค้า (Retail) 21.8% และธุรกิจอาคารสำนักงาน (Office) 39.4%   นอกจากนี้ AWC ได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเคร่งครัด (Cost Efficiency Initiatives) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ทำให้ค่าใช้จ่ายการบริหารส่วนกลางในช่วงไตรมาสแรก เท่ากับ 127.0 ล้านบาท ลดลง 37.1% จาก 202.0 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมเท่ากับ 1,364.0 ล้านบาท ลดลง 22.1% จาก 1,572.1 ล้านบาท ส่งผลให้ AWC มีอัตราส่วนอีบิทดาต่อรายได้ (EBITDA Margin) เท่ากับ 38.8% ลดลงเพียง 0.7% แม้จะมีรายได้ลดลงจากเหตุผลข้างต้น และมีอัตรากำไรสุทธิ 4.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีอัตรากำไรสุทธิ 6.7% สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจต่างๆ กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) มีรายได้จากสินทรัพย์ดำเนินงานอยู่ที่ 1,534.6 ล้านบาท ลดลง 36.2% จาก 2,404.0 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศปรับตัวลดลงตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม รวมทั้งการจัดประชุมสัมมนาและจัดแสดงสินค้าต่างๆ หยุดชะงักตามนโยบายของรัฐบาล   กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail & Commercial) มีรายได้จากสินทรัพย์ดำเนินงาน  อยู่ที่ 1,014.3 ล้านบาท ซึ่งลดลง 10.9% จาก 1,138.5 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากมาตรการลดหรือยกเว้นค่าเช่าชั่วคราว เพื่อช่วยเหลือดูแลผู้เช่าที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการเข้มงวดจากทางภาครัฐในการปิดสถานประกอบการต่างๆ เพื่อป้องกันและลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19   โดย AWC มีนโยบายที่ต้องการให้พันธมิตรผู้เช่าสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในภาวะที่ยากลำบาก และเป็นพันธมิตรต่อเนื่องร่วมกันไปในระยะยาว อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาคารสำนักงานยังคงสร้างกระแสเงินสดที่มั่นคงและต่อเนื่อง และช่วยรักษาระดับรายได้รวมของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์จากกลยุทธ์หลักของ AWC ที่มุ่งเน้นการลงทุนที่หลากหลายและสมดุลเชิงธุรกิจได้เป็นอย่างดี   นอกจากนี้ AWC ได้เข้าซื้อสินทรัพย์กลุ่ม 3 ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 ด้วยมูลค่าลงทุนรวม 25,785.6 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการอสังสหาริมทรัพย์จำนวน 12 โครงการ ตามสัญญาซื้อขายหุ้นสินทรัพย์กลุ่ม 3 ปี 2562 ที่เพิ่มจำนวนห้องพักในโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้วรวม 989 ห้องในทันที และจะเพิ่มห้องพักอีกมากกว่า 2,500 ห้องจากโครงการที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือพัฒนา พร้อมทั้งศักยภาพในการพัฒนาโครงการค้าปลีกในอนาคต ทำให้ AWC มีสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 มูลค่า 124,921.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.4% จาก 109,158.0 ล้านบาท เมื่อเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 “ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่มีความแน่นอน AWC จะยังคงดำเนินมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน และเพิ่มประสิทธิผลให้สอดคล้องไปกับแผนกลยุทธ์หลักทางธุรกิจขององค์กร รวมทั้งการพัฒนากลยุทธ์การตลาดให้ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับบริษัท พนักงาน นักลงทุน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สู่เป้าหมายการเป็นกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ก้าวหน้าและเติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน และผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 นี้ไปด้วยกันได้อย่างดีที่สุด”    
อสังหาฯ ไทยจะเปลี่ยนไปอย่างไร?  หลังวิกฤตโควิด-19

อสังหาฯ ไทยจะเปลี่ยนไปอย่างไร? หลังวิกฤตโควิด-19

เน็กซัส ชี้โควิด-19 สร้าง Covid Shock จุดเปลี่ยนอสังหาฯ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแบบพลิกฝ่ามือ ทุกคนถูก Fast Forward เข้าสู่โลกอนาคตเพียงพริบตา ปีนี้ซัพพลายเก่าจะถูกเร่งขาย ในขณะที่ซัพพลายใหม่  จะเข้าสู่ตลาดไม่เกิน 30,000 ยูนิต   ถือเป็นโอกาสทองของคนเงินเย็นที่พร้อมช้อนซื้อสินค้าดีราคาประหยัด  ส่งสัญญาณไปยังภาครัฐช่วยพิจารณามาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ทั้งมาตรการการโอน ผ่อนปรนภาษีธุรกิจเฉพาะ และ LTV พร้อมเสนอผ่อนปรนกฎการถือครองกรรมสิทธิ์ ชาวต่างชาติเพื่อช่วยดีเวลลอปเปอร์ไทย   นางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด  ประเมินสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์หลังวิกฤตโควิด-19  ว่า ในช่วงปีนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการระบายสต๊อกเก่า ข้อมูลจากเน็กซัสพบว่าซัพพลายของคอนโดมิเนียมคงค้างในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปลายปี 2562 มีประมาณ 60,000 ยูนิต คาดว่าในปีนี้ตลาดจะสามารถดูดซับไปได้ประมาณ 80% โดยเราจะเริ่มเห็นการลดราคาจากดีเวลลอปเปอร์ ซึ่งราคาที่ลดลงจะอยู่ในเรทเหมาะสมและค่อนข้างดี เป็นระดับราคาที่ดีเวลลอปเปอร์ยอมรับได้และคุ้มค่าที่จะซื้อในฝั่งผู้บริโภค   คาดการณ์ว่ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่จะกลับมาได้รับความสนใจเร็วที่สุดหลังวิกฤติโควิด-19 คือ คอนโดฯ​ ราคาไม่เกิน 4 ล้านบาท เพราะเป็นระดับราคาที่คนกรุงเทพฯ​ ส่วนใหญ่รับได้ และเป็นเรียลดีมานด์ที่ต้องการอยู่อาศัยเลย ส่วนอีกตลาดที่จะฟื้นตัวเร็ว คือ สินค้าในระดับลักซ์ชัวรี ที่ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะมีเงินลดลง แต่ยังมีกำลังซื้อมากพอที่จะจ่ายได้ โดยตัวผู้บริโภคเองจะเลือกซื้อสินค้าที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ใหม่ของตัวเอง และมีฟังก์ชั่นที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ เช่น การปรับให้มีห้องทำงานที่เหมาะกับการทำงานที่บ้านได้ เป็นต้น อสังหาฯ ไทยหลังวิกฤตโควิด-19     หากประเมินภาพเชิงลบที่สุด คือ หากวิกฤติโควิด-19 ยังดำเนินต่อไปและไม่สามารถลดปริมาณผู้ติดเชื้อได้ ผู้ประกอบการภาคเอกชนจะอยู่ได้ยาวที่สุดอีกเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น และจะเป็นงานหนักสำหรับดีเวลลอปเปอร์ เพราะเมื่อภาคธุรกิจขาดสภาพคล่อง จะเริ่มเห็นแนวโน้มการปิดตัวลงของผู้ประกอบการจำนวนมาก ทำให้เม็ดเงิน ในกระเป๋าของผู้บริโภคลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจชะลอการซื้อ จะกระทบต่อตลาด อสังหาริมทรัพย์มากขึ้นตามไปด้วย   หากประเมินในภาพบวกเพิ่มขึ้น คือ หากเราสามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อได้  และจำนวนผู้ติดเชื้อค่อยๆ ลดลงจนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ประเมินว่าในช่วงไตรมาส 2 นี้ ตลาดก็อาจจะ ยังไม่สดใสนัก แต่จะเห็นแนวโน้มที่จะค่อยๆ ดีขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มปรับตัว กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ้าง แต่จะเห็นว่าทุกอย่างจะกลับมาดีขึ้นอย่างจริงจังในไตรมาส 3 โดยผู้ประกอบการ หลายรายจะเริ่มกลับมามีกิจกรรมทางการตลาด เพราะอย่างไรก็ตามธุรกิจต้องดำเนินไป   ไตรมาสที่4 จะดีที่สุด และคาดว่าจะเป็นไตรมาสที่รัฐบาลหันกลับมาพิจารณาให้ความสำคัญกับภาคอสังหาฯ โดยมีมาตรการช่วยเหลือ และผ่อนปรนต่างๆ ออกมาเพื่อสนับสนุนให้อสังหาฯ ยังคงเดินต่อไปได้ ในไตรมาส 4 หากภาครัฐออกมาตรการเพื่อสนับสนุนภาคอสังหาฯ  จะเห็นตลาดรีบาวด์กลับมาอย่างชัดเจน  ไม่ว่าจะเป็น มาตรการลดค่าโอน ที่ขยายให้ครอบคลุมทั้งตลาดอสังหาฯ การยืดหยุ่นภาษีธุรกิจเฉพาะ การผ่อนปรนมาตรการ LTV รวมถึงการผ่อนคลายกฎเกณฑ์การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของชาวต่างชาติ โดยอาจปรับให้สามารถซื้อที่ดินหรือบ้านในโครงการจัดสรรที่พัฒนาเพื่อที่อยู่อาศัยได้ ซึ่งกำลังซื้อจากต่างชาติจะช่วยให้ตลาดอสังหาฯ ไทยกลับมาได้เร็วมากยิ่งขึ้น เทรนด์การอยู่อาศัยในปี 2564   เนื่องจากปีนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งระบายสต๊อกเก่า ดังนั้นจะส่งผลให้ซัพพลายใหม่ที่จะออกมา น่าจะไม่เกิน 30,000 ยูนิต จากปกติในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ จะมีซัพพลายใหม่ออกมาเฉลี่ยปีละ 52,000 ยูนิต และเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11%ทุกปี ซึ่งผลจาก Covid Shock ในครั้งนี้ส่งผลให้ยอดสะสมของคอนโดฯ จะลดลง ถือเป็นการปรับฐานใหม่อีกครั้งสำหรับอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ   การปรับฐานในครั้งนี้  ไม่เพียงแค่เรื่องจำนวนคอนโดฯ เท่านั้น แต่ยังปรับไปถึงเรื่องการเปลี่ยนฟังก์ชั่นการใช้งานในคอนโดฯ หรือบ้านด้วย เพราะการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป ทำให้การออกแบบที่อยู่อาศัยต้องตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ใหม่ อาทิ การเริ่มคุ้นชินกับการทำงานที่บ้าน ดังนั้นดีเวลลอปเปอร์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเรื่องฟังก์ชั่นภายในบ้านหรือคอนโดฯ เช่น ให้ความสำคัญกับห้องทำงานมากพอกับห้องนอน เป็นต้น   ในส่วนกลางที่เคยให้ความสำคัญกับการมี Co-working space หรือ Co-kitchen แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนเรามีระยะห่างมากขึ้น มีความนิ่ง อยู่กับตัวเอง และรักความสะอาดมากกว่าเดิม ดังนั้นสินค้าใหม่ของดีเวลลอปเปอร์ที่จะผลิตออกมา จะชูจุดขายเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว เช่น ห้องครัว หรือห้องทำงาน แบบรองรับคนเพียงคนเดียวจะเป็นรูปแบบที่ถูกได้รับความสำคัญมากอย่างยิ่ง เพราะคนใช้ชีวิตกับตัวเองมากขึ้น รวมถึงการให้น้ำหนักไปกับ Living Room หรือห้องทำงานมากกว่าห้องนอน เพราะเมื่อคนทำงานอยู่ที่บ้าน มักใช้เวลาในห้องเหล่านี้มากกว่าห้องนอน โดยคาดว่าจะเห็นสินค้าใหม่ๆ รูปแบบนี้ออกมาจากดีเวลลอปเปอร์ในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ตลาดรีเทล-อาคารสำนักงานกระทบหนัก กลุ่มรีเทลเป็นอีกกลุ่มสำคัญที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ผู้เช่าที่เคยเช่าพื้นที่ขายของในห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่คอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ จะเริ่มคุ้นชินกับการขายของผ่านออนไลน์ ดังนั้น ต่อจากนี้ไปหน้าร้านจะถูกลดบทบาทความสำคัญลง ผู้เช่าคุ้นชินกับการขายของผ่านโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น มีทักษะด้านออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การมีหน้าร้านหรือการเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่จะถูกลดทอนขนาดการเช่าลง แต่เน้นเรื่องการให้บริการออนไลน์ และการส่งเดลิเวอรี่หรือให้ลูกค้าไปรับสินค้าที่หน้าร้านแทนมากยิ่งขึ้น   ทำให้กลุ่มธุรกิจส่วนนี้ ต้องวางแผนการปรับตัวอย่างมากเพื่อให้พื้นที่เช่ายังคงเป็นที่ต้องการอยู่ ร้านค้าจะเป็นดิสเพลย์ที่ให้ประสบการณ์หลังจากศึกษาข้อมูลออนไลน์ หรือเข้ามาเพื่อรับบริการหลังการขายต่างๆ มากกว่า การตกแต่งภายในของพื้นที่อาจมีความจำเป็นน้อยลง นอกจากนี้พื้นที่ค้าปลีกอาจมี Stand alone เพื่อบริการเดลิเวอรี่มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้างสรรพสินค้าใหญ่อีกต่อไป   สำหรับตลาดอาคารสำนักงานนั้น เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากปีที่ผ่านมาและอีก 2 ปีข้างหน้า ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ จะมีซัพพลายใหม่ออกมาอีกนับเป็นล้านตารางเมตร จากอาคารที่กำลังก่อสร้าง กว่า 40 อาคาร พื้นที่ประมาณ 1.61 ล้านตารางเมตร และจะแล้วเสร็จพร้อมกันในปี 2564 - 2566 แต่พฤติกรรมของคนได้ถูกปรับเปลี่ยนไปแล้ว เพราะการทำงานที่บ้านเริ่มได้รับการยอมรับ และมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดเทรนด์ต่อไป แม้ว่าเหตุการณ์โควิดจะผ่านไปแล้วก็ตาม ส่งผลให้บริษัทต้องการพื้นที่ออฟฟิศลดลง ทั้งจำนวนที่นั่ง โต๊ะทำงาน และห้องประชุม และจะส่งผลกระทบต่อเจ้าของอาคารอย่างชัดเจน เทรนด์ที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ล้วนเป็นไลฟ์สไตล์ใหม่  เทรนด์ใหม่ที่ออกมาท้าทายโลกของเราอย่าง Fast Forward แบบที่เราเองก็ไม่นึกมาก่อน ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมที่จะรับมือและต้องปรับตัว อาทิเช่น 1.Facilities ปรับปรุงระบบ Facilities ของอาคารให้สามารถสนับสนุนการทำงาน  ข้ามไปข้ามมาระหว่างที่อาคารสำนักงาน (Head Office) กับการทำงานนอกสถานที่ (Home) โดย Facilities ที่สำคัญ ได้แก่ ระบบทางด้าน IT ที่จะต้องมีความพร้อมในขั้นสูงสุด และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนระบบให้ได้อย่างรวดเร็วตามกระแสการใช้งาน 2.Flexibility เนื่องจากเทรนด์สมัยใหม่ ผู้เช่าหลายๆ รายต้องการความยืดหยุ่นในการใช้พื้นที่ ปรับลด-เพิ่ม ได้ตามความต้องการ ผู้ประกอบการที่เข้าใจในรูปแบบของผู้เช่า อาจจะต้องปรับรูปแบบของสัญญาเช่าและพื้นที่เช่าให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น 3.Fair Price จากการที่ Supply & Demand กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ ในขณะที่ Supply กำลังจะมีคู่แข่งเข้ามาในตลาดที่มากขึ้น ทางด้าน Demand ก็กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบของความต้องการ แน่นอนเลยคือตลาด จะพบกับการแข่งขันที่ดุเดือด สิ่งที่จะเห็นได้คือ สงครามราคา ดังนั้นผู้ประกอบการที่ปรับตัวและพร้อมที่จะแข่งขัน ในเรื่องราคาและบริการได้ก่อนผู้ประกอบการรายอื่น ก็จะสามารถผ่านช่วงเวลาท้าทายช่วงนี้ไปได้อย่างไม่ลำบาก  
มั่นคง เดินแผนธุรกิจ 5 ปี รักษาธุรกิจให้โตในภาวะผลกระทบ  Covid-19

มั่นคง เดินแผนธุรกิจ 5 ปี รักษาธุรกิจให้โตในภาวะผลกระทบ Covid-19

มั่นคงเคหะการ เดินหน้าตามแผนธุรกิจ 5 ปี เน้นปรับตัวและรูปแบบการดำเนินงาน รับมือผลกระทบ ไวรัสโควิด-19  ดึงเทคโนโลยีออนไลน์ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคปัจจุบัน   แจงไตรมาสแรกของปี 2563 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย สามารถทำยอดขายได้กว่า 500 ล้านบาท ในขณะที่ยอดจอง Pre-Approve และ Backlog เพิ่มขึ้นถึง 80% ด้านธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการ ยังคงมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง  สิ้นปี 2562  รายได้เพิ่มขึ้น 30% เตรียมขายทรัพย์สินกว่า 2,000 ล้านบาท เข้ากองทรัสต์ เพื่อการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงิน นายวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มั่นคงเคหะการจำกัด (มหาชน)  หรือ MK  เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของทุกภาคธุรกิจ ในส่วนของบริษัทได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มากนัก  เนื่องจากได้เตรียมพร้อมรับมือ และปรับเปลี่ยนแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การปรับการทำงานของทีมงาน​ การปรับการขายที่ดึงเอาเทคโนโลยี  Virtual Tour 360 องศา มาใช้  ให้ลูกค้าชมบ้านเสมือนจริงแม้ไม่ได้เดินทางมาที่โครงการ  และยังสามารถเลือกเป็นเจ้าของผ่านช่องทาง Line ได้อีกด้วย   นอกจากนี้ กลุ่มลูกค้าของบริษัท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และกว่า 70% เป็นลูกค้าไม่ติดภาระสัญญากู้เงินที่อยู่อาศัย ประกอบกับสินค้าของบริษัทอยู่ในระดับราคา 3-5 ล้านบาท จึงทำให้ได้รับผลกระทบ   ไม่มากหนัก ยิ่งไปกว่านั้นยังออกโปรโมชั่นต่างๆ ที่ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น ทำให้บริษัทฯ ยังสามารถ   ทำยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง   "ในไตรมาสแรกของปีนี้บริษัทสามารถสร้างยอดขายได้กว่า 500 ล้านบาท ซึ่งหากนับรวมยอดจอง Pre-Approve และ Backlog แล้ว สามารถทำยอดขายคิดเป็น 35% ของเป้าตลอดทั้งปี 2563 และช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา บริษัทมียอดจอง Pre-Approve และ Backlog  ประมาณ  90 ล้านบาทต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 80%" ส่วนภาพรวมธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการในปี 2562 มีรายได้รวม 530 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากปี 2561 เป็นผลจากความแข็งแกร่งของแผนธุรกิจ 5 ปี  ที่มุ่งสร้างสมดุลรายได้เพื่อความมั่นคง  นับว่าเป็นแผนการดำเนินงานของบริษัทซึ่งดำเนินมาถูกทางแล้ว  แม้ในภาพรวมของการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย  จะชะลอตัวไปบ้างด้วยปัจจัยต่างๆ แต่ด้วยแผนธุรกิจของบริษัท ทำให้เรามีรายได้จากธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการ หรือธุรกิจรายได้ประจำเข้ามาเสริมและช่วยรักษาสมดุล   สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าให้เช่า โครงการบางกอกฟรีเทรดโซน ที่บริหารงานโดย บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด  ยังคงทำผลงานได้ดี ในปี 2562 ที่ผ่านมามีผู้เช่าแล้วกว่า 90% ของพื้นที่เช่า, ธุรกิจโครงการ พาร์ค คอร์ท (Park Court) สุขุมวิท 77 คอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์ระดับลักซ์ชัวรี่ไฮเอนด์ให้เช่า ยังสามารถรักษาอัตราเช่าให้อยู่ที่ 80% ของจำนวนห้องเช่าทั้งหมด, ธุรกิจสนามกอล์ฟ ฟลอร่า วิลล์ กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ, ธุรกิจบริการด้านดูแลจัดการบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดย บริษัท ยัวร์ส พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด รวมไปถึงธุรกิจโครงการสถานพยาบาล สถานฟื้นฟู และเวชศาสตร์ชะลอวัย (Wellness Center) ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโต และมีแผนจะเปิดตัวช่วงปลายปี 2563   ในส่วนของหุ้นกู้และตั๋วแลกเงินที่จะครบกำหนดในช่วงปีนี้ บริษัทได้มีการเตรียมแผนการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยในช่วงปลายปีที่ผ่านมาบริษัทได้ระดมออกหุ้นกู้ 3 ปี 11 เดือน เป็นจำนวนเงิน 1,565 ล้านบาท  อีกทั้งได้มีการขายทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในแผนพัฒนาในอนาคตอันใกล้เป็นจำนวนเงินกว่า 2,600 ล้านบาทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากนี้ยังมีทรัพย์สินที่ไม่มีภาระผูกพันอีกมากกว่า 2,500 ล้านบาท ทำให้บริษัทฯ มีความยืดหยุ่นเพื่อใช้เป็นช่องทางในการเสริมสภาพคล่อง สำหรับปีนี้ได้เตรียมที่จะขายทรัพย์สินในส่วนของโรงงานและคลังสินค้าให้เช่ากว่า 130,000 ตารางเมตร มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท เข้ากองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์  โดยทาง กลต.ได้อนุมัติให้จัดตั้งบริษัทจัดการกองทรัสต์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และคาดว่ากองทรัสต์จะเสนอขายต่อประชาชนได้ในไตรมาส 3 นี้  ทั้งนี้เมื่อปีที่ผ่านมาบริษัทสามารถรักษาอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน (Interest bearing debt ratio) ให้ยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดย ณ สิ้นปี มีสัดส่วนเท่ากับ 1.3 เท่า ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม   ในปีนี้ถือว่าเป็นปีที่ท้าทายด้วยปัจจัยหลายๆ ด้าน ทั้งปัจจัยจากไวรัสโควิด-19 และสภาวะเศษฐกิจทั้งหลาย แต่บริษัทยังคงเดินหน้าสานต่อนโยบายสร้างความสมดุลของรายได้  ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายและธุรกิจที่สร้างรายได้  อย่างสม่ำเสมอทั้งเช่าและการบริการ และมุ่งมองหาโอกาสในการพัฒนาโครงการที่มีศักยภาพ เพื่อขยายในส่วนของธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ ตามแผนการดำเนินธุรกิจ 5 ปี พร้อมขยับสัดส่วนกำไรของทั้ง 2 ฝั่งให้อยู่ที่  50:50 ภายใน ปี 2564 เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นคงให้บริษัทฯ ตามแผนที่วางไว้
เดินหน้าเปิด “ดอง ดอง ดองกิ” สาขา 2 ตามแผน ใหญ่สุดในไทย-ไม่หวั่นไวรัสโควิด-19

เดินหน้าเปิด “ดอง ดอง ดองกิ” สาขา 2 ตามแผน ใหญ่สุดในไทย-ไม่หวั่นไวรัสโควิด-19

ดองกิ เปิดสาขา 2  เป็นสาขาแฟลกซิพ พร้อมขนทัพสินค้าอุปโภคบริโภคกว่า 13,000 รายการ ให้คนไทยได้ช้อป เดินวางมาตรการ “สะอาด ปลอดภัย มั่นใจได้”  รับมือไวรัสโควิด-19   นาย ชิมานุกิ โยซูเกะ ประธานกรรมการ บริษัท ดองกิ ทองหล่อ จำกัด เปิดเผยว่า ได้เปิดให้บริการดอง ดอง ดองกิ เดอะ มาร์เก็ต (DON DON DONKI The Market)  ที่สาขา THe market bangkok ถือเป็นสาขาที่ 2 ที่เปิดให้บริการในประเทศไทย โดยเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา  ถือเป็นสาขาแฟลกซิพขนาดใหญ่ในประเทศไทย (THE BIGGEST FLAGSHIP STORE IN THAILAND)  บนเนื้อที่ประมาณ 4,000 ตารางเมตร โดยมีสินค้าอุปโภคบริโภควางจำหน่ายกว่า 13,000 รายการ โดยบริษัทได้ดำเนินการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคมาล่วงหน้าหลายเดือน เพื่อเตรียมเปิดให้บริการ ดอง ดอง ดองกิ เดอะ มาร์เก็ต ตามแผนงานภายในไตรมาสแรกของปีนี้  ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัส covid-19 จนกระทั่งรัฐบาลได้ประกาศมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ขึ้น   ทางบริษัทฯ จึงได้ปรึกษาคณะทำงานร่วมกันแล้ว ในสถานการณ์เช่นนี้ ทางบริษัทฯ จึงเห็นพ้องต้องกันว่า พร้อมขอประกาศยืนยันที่จะเปิดให้บริการ “ดอง ดอง ดองกิ สาขาเดอะ มาร์เก็ต” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระจายสินค้าถึงมือผู้บริโภค ด้วยความพร้อมด้านการจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็น อาหารสด เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ อาหารญี่ปุ่นปรุงสำเร็จแบบ Take away อาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป ของใช้เพื่อรักษาความสะอาดต่างๆ รวมถึงสินค้าเบ็ดเตล็ดต่างๆ โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น   นอกจากนี้ยังเปิด SHOP IN SHOP แบรนด์ “โจเนทซึ คาคาคุ” แห่งแรกในประเทศไทย จำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตภายใต้การควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานโดย กลุ่มบริษัท PPIH ซึ่งเป็นบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น สำหรับการเปิดให้บริการ ดอง ดอง ดองกิ เดอะ มาร์เก็ต ภายใต้สถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ที่ทางรัฐบาลได้ประกาศไปนั้น ทางบริษัทได้ยึดแนวทางตามประกาศของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด และเพื่อเป็นการป้องกันสูงสุดให้กับลูกค้าและพนักงานทุกคน จึงเพิ่มมาตรการพิเศษ ได้แก่ 1.จำกัดทางเข้าออกของลูกค้าให้เหลือเพียงประตูเดียว 2.ตรวจวัดอุณหภูมิลูกค้าและพนักงานทุกคนบริเวณทางเข้า-ออก 3.จำกัดจำนวนลูกค้าในการเข้าซื้อแต่ละรอบตามความเหมาะสม 4.จัดเตรียมจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ 5.เช็ดทำความสะอาดตะกร้าสินค้า แคชเชียร์ จุดบริการอาหาร ตลอดจนบริเวณจุดสัมผัสสาธารณะ พื้นทางเดิน ด้วยน้ำยา  ฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ 6.พนักงานผู้ให้บริการทุกคนต้องได้รับการตรวจสุขภาพ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา สำหรับผู้ประกอบอาหารจะต้องสวมถุงมือและล้างมืออย่างสม่ำเสมอด้วย 7.ให้พนักงานล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสอุปกรณ์สิ่งของ เครื่องใช้ ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก 8.จำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จสำหรับนำไปบริโภคที่อื่น (Take away) เท่านั้น  
เปิดแผนธุรกิจ ไรมอน แลนด์ ลุยตลาดเชิงรุก สู้วิกฤตโควิด-19

เปิดแผนธุรกิจ ไรมอน แลนด์ ลุยตลาดเชิงรุก สู้วิกฤตโควิด-19

ไรมอน แลนด์ กางแผนธุรกิจปี 63 ปฏิวัติโครงสร้างธุรกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ทำการตลาดเชิงรุก เน้นอสังหาฯ เพื่อการลงทุน ในคอนโดฯ ปล่อยเช่าเป็นเซอร์วิส อพาร์ตเม้นท์ และจับตลาดคอนโดฯ ระดับลักซ์ชัวรี่ พร้อมเพิ่มรายได้จากธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม    นายไลโอเนล ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัว  และตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2563 มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบในทางลบ  ในระยะสั้นถึงระยะกลาง ซึ่งแผนธุรกิจในปีนี้ บริษัทจะปรับกลยุทธ์ในการรับมือกับผลกระทบของไวรัสโควิด-19โดยไม่เน้นการกระจายการลงทุน  ขณะเดียวกันได้เน้นให้ความสำคัญในการดูแลพนักงาน นักลงทุน และลูกค้า ควบคู่ไปด้วย   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปีนี้จะมีปัจจัยลบมากมาย แต่ยังมีปัจจัยบวกให้เห็นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตราดอกเบี้ยต่ำ และมีแนวโน้มลดดลง  มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของรัฐบาล การผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งอาจเป็นปีที่น่าสนใจ สำหรับนักลงทุนที่มีความพร้อม. และเน้นการลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว  เพราะเป็นโอกาสดีที่จะได้ลงทุนในอสังหาฯ ที่ถูกลง มีโอกาสรับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ทั้งในแง่ของการเพิ่มขึ้นของราคาในอนาคต ตลอดจนรายได้จากให้เช่า แผน ไรมอนแลนด์ เน้นทำตลาดเชิงรุก โดยกลยุทธ์การทำธุรกิจของบริษัทในปีนี้ มุ่งเน้นการทำตลาดเชิงรุก (Strategic Marketing) สร้างโอกาสการเติบโตในธุรกิจหลัก  โดยบริษัทออกโปรดักส์ สำหรับการลงทุนในคอนโดฯ​เพื่อปล่อยเช่า ในโครงการคอนโดฯ ระดับลักซ์ชัวรี่ บนทำเลใจกลางเมือง อาทิ เดอะ ลอฟท์ อโศก (The Lofts Asoke) เดอะ ดิโพลแมท 39 (The Diplomat 39) และ  เดอะ ดิโพลแมท สาทร (The Diplomat Sathorn) ภายใต้การบริหารงานจาก Klapsons The River Residences Bangkok  และบริษัท อสังหา เรียลตี้ บริษัทย่อยของ RML ขณะเดียวกัน บริษัทวางแผนส่งเสริมการขายผ่านช่องทาง Online ด้วยกลยุทธ์ O2O (Online to Offline) เพื่อให้ลูกค้าสามารถรับชมโครงการระดับลักซ์ชัวรี่ผ่านระบบ Online ก่อนตัดสินใจเข้าชมโครงการจริง เพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อและเข้าถึงลูกค้าโดยตรง และในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน. ยังเป็นช่องทางที่สามารถสร้างความปลอดภัยด้านสุขภาพให้กับลูกค้าอีกด้วย ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลักดันยอดขายโครงการได้เพิ่มมากขึ้น โควิด-19 พ่นพิษ เลื่อนเปิดโรงแรมครึ่งปีหลัง สำหรับแผนการเปิดโครงการใหม่  บริษัทวางแผนเปิดตัวโครงการคอนโดฯ ระดับลักซ์ชัวรี่  1โครงการ บนถนนสุขุมวิท ซอย 38  โดยเป็นการร่วมทุนกับโตเกียว ทาเทโมโนะ (Tokyo Tatemono) ซึ่งเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่และก่อตั้งมาอย่างยาวนานในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งโครงการดังกล่าว ถือเป็นโครงการที่ 3 ในการร่วมทุนกับโตเกียว ทาเทโมโนะ   ด้านธุรกิจสร้างรายได้ประจำ (Recurring Income) ประกอบด้วย ธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจโรงแรม ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 บริษัทจึงเลื่อนเปิดตัวโรงแรม HOTEL KITCH จากเดิมในเดือนเมษายน 2563 เป็นช่วงครึ่งปีหลังแทน โดยโรงแรมHOTEL KITCH เป็นคอนเซ็ปต์ใหม่และบริหารโรงแรมด้วยตนเอง จำนวน 72 ห้อง และมีแผนจะเปิดตัวโรงแรมใหม่อีก 1 แห่ง ตั้งอยู่ในย่านสุขุมวิท จำนวน 300 ห้อง เน้นคอนเซ็ปต์ที่ทันสมัยโดยการใช้เทคโนโลยีมานำเสนอ เล็งจับมือพันธมิตร ลุยธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ( Food & Beverage ) เพื่อจัดการความเสี่ยงของธุรกิจ ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการวางแผนในการวางกลยุทธ์ใหม่ของร้านอาหารบ้านหญิง และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจ F&B ซึ่งหากมีรายละเอียดแผนงานที่แน่ชัดจะแจ้งให้ทราบในลำดับต่อไป ขณะที่ตัวเลขยอดขายรอโอน (Backlog) ของบริษัททั้งหมด ณ สิ้นปี 2562 มีมูลค่ารวม 8,010.5 ล้านบาท   ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ขณะที่ในปีนี้ยอดโอนส่วนใหญ่มาจากโครงการ The Lofts Silom ที่คาดว่าลูกค้าจะทยอยโอนกรรมสิทธิ์ตั้งแต่ต้นปี ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 80%  บริษัทจะยังลงทุนในการทำกลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างแบรนด์ ไรมอน แลนด์ ในฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ   บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ นักลงทุน และลูกค้าของเรา ให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปพร้อม ๆ กัน  
ดีเวลลอปเปอร์ ต้องรอด!! ออกมาตรการสู้ไวรัสโควิด-19

ดีเวลลอปเปอร์ ต้องรอด!! ออกมาตรการสู้ไวรัสโควิด-19

ตอนนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขยายวงกว้างมากขึ้น แถมจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ไม่รุนแรงเหมือนหลายประเทศ แต่ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลง และไม่รู้จะจบเมื่อไรด้วย   ไม่เพียงแต่ไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป แต่ยังได้กระทบไปถึงธุรกิจต่างๆ แทบจะทุกธุรกิจไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ทำให้เจ้าของกิจการพยายามหาหนทาง เพื่อที่จะอยู่รอดให้ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน   สำหรับแวดวงอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการโดนผลกระทบมาต่อเนื่อง จากมาตรการ LTV ปัญหาค่าเงินบาท ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้อหดหาย ซ้ำร้ายปีนี้มาเจอกับไวรัสโควิด-19 เป็นแรงหนุนเพิ่มปัญหาให้หนักเข้าไปอีก แต่ผู้ประกอบการต่างพยายามดิ้นรน หาหนทางรอดเพื่อสู้กับปัญหา หลายรายยังมองว่าทุกวิกฤติมีโอกาส หากมีกำลังใจและต่อสู้กับปัญหาอย่างเต็มที่ มาดูกันว่าตอนนี้ผู้ประกอบการอสังหาฯ  ใช้อะไรในการสู้กับวิกฤตครั้งนี้บ้าง เพอร์เฟค จับมือ วิริยะ มอบประกันโควิด-19    พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค มอบประกันคุ้มครองไวรัสโคโรนา โดย วิริยะประกันภัย สำหรับลูกค้าที่ซื้อบ้านและทาวน์โฮม รวมถึง ลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมทุกโครงการ ภายในเดือนเมษายนนี้ นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มอบความคุ้มครองให้แก่ลูกค้าของ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ด้วยแผนประกันโควิดชีลด์  ติดปุ๊ปรับปั๊ป เมื่อตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 รับเงินก้อนทันที 100,000 บาท หากนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจากโควิด-19 มีค่าชดเชยรายวัน วันละ 300 บาท สูงสุด 14 วัน พร้อมคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุอีก 100,000 บาท   โดยลูกค้าที่ซื้อบ้านและทาวน์โฮมที่โอนกรรมสิทธิ์ภายในเดือนเมษายนนี้ จะได้รับความคุ้มครองดังกล่าว เป็นระยะเวลา 1 ปี  เพื่อให้ความอุ่นใจในช่วงที่โควิด-19 มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้ ลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมโครงการของพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ทุกโครงการ ภายในเดือนเมษายนนี้ จะได้รับสิทธิ์ความคุ้มครองนาน 30 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 รับทันที 30,000 บาท พร้อมค่าชดเชยรายวันกรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและประกันชีวิตด้วยเช่นกัน เป็นการส่งมอบความห่วงใยแก่ลูกค้าที่มีความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ LPN ให้พนักงาน Work from Home LPN ออกนโยบาย Work from Home ลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หลังพบอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะที่ผ่านมา เตรียมแผนรับมือและจัดตั้งทีมเฉพาะกิจ ให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้อย่างราบรื่น เน้นย้ำเรื่องการสื่อสารในภาวะวิกฤต ต้องรวดเร็วและถูกต้อง   นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) เปิดเผยว่า  จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดทั่วโลกและมีอัตราการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทยในระยะเวลาที่ผ่านมา LPN ได้ติดตามและเฝ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และเตรียมมาตรการ Work from Home เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้าน เป็นการลดความแออัดและลดโอกาสในการแพร่เชื้อ   โดยบริษัทได้ประกาศคิกออฟมาตรการดังกล่าว เริ่มต้นวันแรกในวันที่ 17 มีนาคม 2563 ซึ่งได้ลดสัดส่วนจำนวนพนักงานประจำสำนักงานใหญ่ให้เหลือ 50% สลับกับพนักงานที่ทำงานที่บ้าน โดยบริษัทได้เตรียมพร้อมในแง่ระบบการทำงาน มีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความคล่องตัวในการสื่อสารและการประชุมร่วมกัน รวมถึงสนับสนุนอุปกรณ์การทำงาน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในส่วนของสำนักงานขายและนิติบุคคลตามโครงการต่างๆ ยังปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ โดยมีแผนรองรับหากเกิดภาวะฉุกเฉิน   มาตรการ Work from Home 50% ในครั้งนี้ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมของบริษัท หากประเทศไทยเข้าสู่ภาวะติดเชื้อโควิด-19 ระยะ 3 และจำเป็นต้องปิดสำนักงานทั้งหมด เพื่อให้ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า LPN จะยังคงดำเนินงานได้แบบไม่มีสะดุด จะยังคงให้บริการลูกค้าอย่างสมบูรณ์ที่สุด   ในส่วนของการดูแลพนักงานนั้น นอกเหนือจากนโยบาย Work from Home ที่ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของพนักงานแล้ว LPN ยังได้ยกเลิกระบบสแกนนิ้วที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมถึงได้ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อที่สำนักงานใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีระบบเฝ้าระวังและติดตามพร้อมให้การดูแลหากพนักงานติดเชื้อโควิด-19 และมีการซื้อประกันโควิด-19 ให้กับกลุ่มพนักงานผู้ปฏิบัติงานประจำโครงการต่างๆ อีกด้วย   ที่ผ่านมา บริษัทได้เชิญวิทยากรจากกรมคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข มาจัดอบรมแก่พนักงานและบริษัทในเครือ ในการดูแลตัวเอง และแนวทางการปฏิบัติหากเกิดกรณีพนักงานหรือเจ้าของร่วมในโครงการต่างๆ ติดเชื้อโควิด-19 จึงถือว่า LPN มีการเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ต่อสถานการณ์ขณะนี้ แสนสิริ ขายคอนโดฯ ออนไลน์ รับดีมานด์ลูกค้าช่วง COVID-19 แสนสิริ เปิดขายคอนโดฯ ออนไลน์ ผ่าน “Sansiri 24 Online Booking” รับไลฟ์สไตล์ลูกค้าในยุคดิจิทัล และดีมานด์ลูกค้าไม่ออกจากบ้านช่วง COVID-19 ขน 10 โปรเจ็กต์ 70 ยูนิตจัดราคาพิเศษ   นายปิติ จารุกำจร รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมและบริหารกลยุทธ์โครงการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้รุกตลาดผ่านกลยุทธ์การขายและบริการออนไลน์ “Sansiri 24 Online Booking” เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ลูกค้าในยุคดิจิทัล ตอบโจทย์ดีมานด์ในตลาดที่ยังมีอยู่สูง ซึ่งต้องการซื้อที่อยู่อาศัยพร้อมเข้าอยู่ได้ทันที ผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์ที่อำนวยความสะสวกให้กับลูกค้าได้ซื้อคอนโดฯพร้อมอยู่ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องออกจากบ้าน   รวมถึงเพิ่มโอกาสรองรับดีมานด์ลูกค้าช่วง COVID-19 อีกด้วย ซึ่งบริษัทยังจัดโปรโมชั่นราคาพิเศษ  ให้ลูกค้าเลือกซื้อยูนิตที่ชอบ และชมโครงการได้เสมือนกับมาที่โครงการ โดยมีเจ้าหน้าฝ่ายขายติดต่อกลับทันที เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกหลังการจอง โดยมีโครงการของแสนสิริเข้ารวม 10 โครงการ จำนวน 70 ยูนิตพิเศษ ซึ่งลูกค้าสามารถซื้อคอนโดฯ ได้ง่าย ทุกที่ตลอด 24 ชั่วโมง   “แสนสิริ ยังมีบริการ Sansiri Service เพื่อมอบประสบการณ์ดีที่แตกต่างแก่ลูกค้า โดยพร้อมดูแลตลอดทุกช่วงการอยู่อาศัย ที่ทำให้บ้านได้มากกว่าบ้าน ตั้งแต่บริการโอน ดูแลบริหารโครงการโดยพลัส พร็อพเพอร์ตี้ อุ่นใจมากกว่าด้วยบริการ LIV-24 ปลอดภัย 24 ชม. บริการ Move-In Experience เตรียมความพร้อมก่อนการเข้าอยู่อาศัยอย่างครบวงจรผ่าน และไลฟ์สไตล์พริวิเล็จมากมายจากแสนสิริ แฟมิลี่”  “อัลติจูด แจกประกันลูกค้าเยี่ยมชมโครงการ  “อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์” รับมือไวรัสโควิด-19 เตรียมแจกประกันภัย สำหรับผู้เข้าชมโครงการ   นายชยพล หรรรุ่งโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้แบรนด์ ‘ALTITUDE’ เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้แม้จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัว และจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กระทบกับทั้งประเทศไทยและทั่วโลก บริษัทฯ ได้ตระหนักและคำนึงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา   โดยให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน จึงได้ซื้อประกันภัยโควิด-19 มอบให้กับพนักงาน และผู้เข้าเยี่ยมชมโครงการของอัลติจูด ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยผู้ต้องการเข้าชมโครงการต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของบริษัท www.altiude.co.th เค.อี. เน้นความสะอาดสูงสุด รับมือโควิด-19 เค.อี.แลนด์ เน้นความสะอาดสูงสุด รับมือไวรัสโควิด-19 พร้อมออก 7 มาตรการให้พนักงานปฎิบัติ พร้อมเฝ้าระวัง-ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด    นางศุภานวิต เอี่ยมสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เค.อี. และผู้บริหารกองทรัสต์ BKER เปิดเผยว่า บริษัทได้เตรียมมาตรการรับมือไวรัสโควิด-19 เพื่อสุขภาพและความปลอดภัย ของร้านค้า ผู้เช่า ลูกค้าที่มาใช้บริการศูนย์การค้า คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ (ซีดีซี)  เดอะ คริสตัล (เอกมัย-รามอินทรา, ราชพฤกษ์, ชัยพฤกษ์) เพลินนารี่ มอลล์, เดอะซีน (ทาวน์อินทาวน์)  อมอรินี่, แอมพาร์ค (จุฬา)  สัมมากร (รามคำแหง, ราชพฤกษ์, รังสิต) และพนักงานทุกคน   โดยออกประกาศมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยกำชับทุกหน่วยงานให้เข้มงวดและดำเนินมาตรการป้องกันสูงสุด ทั้งการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขและราชกิจจานุเบกษา ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย   สำหรับมาตรการการดูแลความสะอาดของสถานที่อย่างต่อเนื่อง มีดังนี้ 1.การฉีดพ่นทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและการเช็ดทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง 2.ให้บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือในจุดต่างๆ บริเวณทางเข้า-ออกหน้าลิฟท์ บันไดเลื่อน ห้องน้ำ โดยเติมแอลกอฮอล์ไม่ให้ขาด 3.เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดจุดสัมผัสต่างๆ ในพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน เช่น ปุ่มลิฟท์โดยสาร ราวบันไดเลื่อน 4.ทำความสะอาดห้องน้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ก๊อกน้ำ ชักโครก สายฉีดชำระ ทุกครึ่งชั่วโมง 5.จัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดภายในห้องน้ำส่วนกลางให้มีเพียงพอ 6.กำหนดให้พนักงาน ร้านค้าผู้เช่า สวมหน้ากากอนามัย และหากพบมีอาการป่วย ไอ เป็นไข้ ให้หยุดปฏิบัติงานทันที โดยให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาจนกว่าจะหาย หรือกรณีเดินทางกลับจากต่างประเทศจะให้หยุดงานเพื่อเฝ้าระวัง 14 วัน 7.กรณีฉุกเฉินหรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์และขอความร่วมมือจากร้านค้าผู้เช่า โดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันเชื้อไวรัสดังกล่าว โดยร่วมกับทุกร้านค้าทำความสะอาดพื้นที่ภายในร้าน (Big Cleaning) เพื่อสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ และพนักงานของร้านค้าผู้เช่าด้วย   ทั้งนี้ บริษัทฯ จะติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมในการเสริมมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับร้านค้าผู้เช่า ลูกค้าที่มาใช้บริการ และพนักงานทุกคนอย่างดีที่สุด เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปพร้อมกัน
เปิดแผน AWC รับมือโควิด-19  ซื้อประกันแจกพนักงาน-ลดค่าเช่าให้ร้านค้า50%

เปิดแผน AWC รับมือโควิด-19 ซื้อประกันแจกพนักงาน-ลดค่าเช่าให้ร้านค้า50%

AWC ช่วยเหลือลูกค้าและพนักงาน ลดค่าเช่าให้ผู้เช่าทุกโครงการโปรเจ็กต์รีเทล  50% ทุกโครงการรีเทล พร้อมขยายเวลารับส่งมอบงานลูกค้า และจัดทำประกันที่ดีที่สุดให้พนักงานทุกคน รับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอีกขั้น บริษัทจึงได้ยกระดับมาตรการต่าง ๆ สำหรับการดำเนินงานในกลุ่มธุรกิจทั้งหมดของ AWC ทั้งด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย ความช่วยเหลือในการแบ่งเบาภาระของคู่ค้า ผู้เช่าในโครงการต่าง ๆ การปรับแนวทางในการดำเนินธุรกิจ การเพิ่มสวัสดิการคุ้มครองพนักงานของทั้งบริษัทเองและธุรกิจในกลุ่ม รวมถึงการสื่อสารทั้งระดับภายในและกับภายนอกองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงาน พันธมิตรทางธุรกิจของเราทั้งผู้เช่า คู่ค้า ลูกค้า ชุมชนและสังคมในองค์รวม ผ่านพ้นสถานการณ์ยากลำบากนี้ไปด้วยกันอย่างดีที่สุด   โดยการยกระดับมาตรการรับมือสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ซื้อประกันคุ้มครองพนักงานกว่า 6,000 คน ในด้านทรัพยากรบุคคล   AWC ได้จัดทำประกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยเลือกแผนประกันที่ดีที่สุดให้กับพนักงานทั้งหมดกว่า 6,000 คน ทั้งส่วนของบริษัทเองและพนักงานโรงแรมทั้งหมดในกลุ่ม AWC และพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการต่าง ๆ ของ AWC เพิ่มเติมจากสวัสดิการปกติ เพื่อดูแลพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งยังกำหนดให้พนักงานปฏิบัติงานจากที่บ้านโดยพิจารณาสถานการณ์เป็นรายสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมจากการคาดการณ์ล่วงหน้าของ AWC   ขอให้พนักงานงดการเดินทางต่างประเทศ หากมีความจำเป็นให้แจ้งผู้บังคับบัญชาพิจารณาเป็นรายกรณี รวมถึงหลีกเลี่ยงการประชุมสัมมนาภายนอกและสถานที่ชุมชนหนาแน่น และงดรับนัดหมายประชุมและการพบปะโดยตรงกับบุคคลภายนอก โดยให้ใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านระบบสารสนเทศต่าง ๆ และหากมีอาการป่วยให้รีบพบแพทย์และแจ้งผู้บังคับบัญชาทราบทันที ลดค่าเช่าให้ร้านค้า 50% ผู้เช่าในโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้า (Retail and Wholesale)  AWC พิจารณามอบส่วนลดค่าเช่ารายเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 50% ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 ให้กับผู้เช่าทุกราย ในทุกโครงการ เพื่อเป็นการดูแลพันธมิตรของเราให้ก้าวข้ามผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน จากมาตรการเข้มงวดเพิ่มเติมจากทางภาครัฐในการปิดสถานบริการ และงดจัดกิจกรรมที่มีคนจำนวนมากมารวมตัวกันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ AWC จะพิจารณาแนวทางความช่วยเหลือตามความเหมาะสมของสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และจะร่วมยืนหยัดรับมือทุกปัญหาเพื่อให้ผ่านพ้นสถานการณ์ยากลำบากนี้ไปด้วยกันอย่างดีที่สุด ผู้เช่าอาคารสำนักงาน (Office) AWC ยินดีที่จะมอบส่วนลด 20% สำหรับผู้เช่าปัจจุบันและพันธมิตรทางธุรกิจที่มองหาสำนักงานสำรองในโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ของ AWC ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย และมีมาตรการเข้มงวดด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยอย่างต่อเนื่อง พันธมิตรและคู่ค้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการ AWC ได้ขยายเวลารับส่งมอบงานให้แก่พันธมิตรและคู่ค้าทุกรายที่ได้รับผลกระทบด้านห่วงโซ่อุปทานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดย AWC ยังคงเดินหน้าตามแผนระยะยาวในการสร้างเสริมศักยภาพของโครงการปัจจุบันและพัฒนาโครงการใหม่ ๆ อย่างไม่หยุดนิ่งตามแผนยุทธศาสตร์การเติบโตของ AWC รวมถึงวางแผนรองรับทางธุรกิจ (Business Continuity Plan) รวมถึงการจัดหาสำนักงานสำรองสำหรับตำแหน่งงานที่สำคัญ ให้พร้อมรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการติดต่อสื่อสาร ประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตร และคู่ค้า พันธมิตรกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) AWC ร่วมกับพันธมิตรเครือโรงแรมระดับโลกทั้ง 6 รายได้แก่ แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์, ฮิลตัน, อินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ลส์ กรุ๊ป, บันยันทรี, มีเลีย และโอกุระ ดำเนินมาตรการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เพื่อดูแลความปลอดภัยเรื่องสุขอนามัยภายในโครงการ ควบคู่กับสร้างความเชื่อมั่นให้กับแขกผู้เข้าพักและใช้บริการในโรงแรม โดยได้ออกมาตรการที่เหมาะสมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการยกเลิกเข้าพักในโรงแรมและการเลื่อนการจัดประชุมสัมมนา อีกทั้งการจัดแผนโปรแกรมทำความสะอาดใหญ่ทั่วทั้งบริเวณ (Big Cleaning) ในทุกโครงการเพิ่มเติมจากแผนการทำความสะอาดตามปกติ กลุ่มลูกค้า AWC ได้ยกระดับมาตรการด้านสุขอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 และสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับพนักงาน พันธมิตรทางธุรกิจ ผู้เช่า ผู้เช่าพื้นที่ ลูกค้า และผู้ที่มาติดต่อกับโรงแรม ร้านค้าปลีก และศูนย์การค้าต่าง ๆ ทั่วประเทศที่อยู่ภายใต้การดูแล   AWC ได้ดำเนินมาตรการทั่วไปภายในอาคาร   โดยทำความสะอาดพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และพ่นสเปรย์น้ำยาฆ่าเชื้อในลิฟต์โดยสารทุก ๆ 30 นาที ติดตั้งเจลทำความสะอาดมือที่บริเวณทางเข้าและในพื้นที่ที่มีการสัญจรคับคั่งของอาคาร แจ้งให้ลูกค้า ผู้มาติดต่อ และพนักงานของหน่วยงานต่าง ๆ ล้างมือบ่อย ๆ บริการเจลทำความสะอาดมือ สบู่ และกระดาษชำระให้พร้อมใช้ในห้องน้ำเสมอ และจัดทำป้ายมาตรการการดูแลและสัญลักษณ์แจ้งจุดที่ให้บริการเจลทำความสะอาดมือได้โดยสะดวก   เพิ่มเติมมาตรการในจัดให้มีการทำความสะอาดครั้งใหญ่ (Big cleaning) ในทุกโครงการ ทุก 30 วัน วัดอุณหภูมิผู้เข้าอาคาร/โครงการทุกคน และจุดคัดกรองในทางเข้าออกของทุกโครงการ รวมทั้งสุ่มขอเปิดเผยข้อมูลเดินทาง การพบปะผู้คนจากเขตติดโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศกระทรวง ข้อมูลการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของคนในครอบครัว และข้อมูลการพบปะผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วง 14 วันที่ผ่านมา รวมทั้งประสานและขอความร่วมมือกับผู้เช่าในการกำหนดมาตรการภายในของหน่วยงานของผู้เช่าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  กลุ่มผู้ถือหุ้น AWC ยังคงเดินหน้าตามกลยุทธ์เพื่อการเติบโตอย่างเต็มที่ มุ่งเน้นการลงทุนที่หลากหลายและสมดุลเชิงธุรกิจ (Balance and Diversified Portfolio) จึงทำให้ AWC สามารถบริหารความเสี่ยงจากการผันผวนและการเปลี่ยนแปลงของตลาดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรม  โดย AWC ยังคงมีกลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงานที่ไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง และดำเนินธุรกิจได้ตามแผนงานที่วางไว้อย่างเข้มงวดให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ด้านสังคมและชุมชน AWC จะเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ อย่างอย่างเต็มกำลัง เพือกำหนดแนวทาง มาตรการ และนโยบายในการดำเนินการต่าง ๆ ให้ความสำคัญสูงสุดกับการดูแล ให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถผ่านพ้นสถานการณ์ไปได้อย่างดีที่สุด AWC ตระหนักดีว่าสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เราพร้อมที่จะดูแลผู้มีส่วนได้เสียของเราในทุกมิติ เพื่อร่วมฝ่าฟันและผ่านพ้นสถานการณ์ยากลำบากนี้ไปด้วยกันได้อย่างดีที่สุด  
“ซีคอนสแควร์” ทุ่ม 1,000 ล้าน ปรับโฉม ผุด MUNx2 สร้างประสบการณ์มันมัน

“ซีคอนสแควร์” ทุ่ม 1,000 ล้าน ปรับโฉม ผุด MUNx2 สร้างประสบการณ์มันมัน

“ซีคอนสแควร์” ต่อยอดพัฒนาโครงการใหม่ อัดงบ 1,000 ล้านบาท ผุด MUNx2 (มันมัน) มอบประสบการณ์ใหม่สุดมันแก่ลูกค้า รับการเปลี่ยนแปลงของลูกค้ายุคใหม่ และ การมาของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง  เปิดให้บริการกลางปีนี้   นายตะติยะ ซอโสตถิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหาร ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์ เปิดเผยว่า บริษัทฯยังคงเดินหน้ามอบประสบการณ์ใหม่ๆให้กับลูกค้า โดยทุ่มงบลงทุน 1,000 ล้านบาท มากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ทำการเปิดศูนย์ฯมา เพื่อปรับพื้นที่บริเวณฝั่งโรบินสัน ชั้น G, 2 และ 3 รวม 27,000 ตารางเมตร  ด้วยดีไซน์ใหม่ รวมทั้ง คีออส  ป๊อปอัพ สโตร์ ร้านอาหาร และร้านค้า กว่า 150 ร้านค้า เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ ทุกเพศทุกวัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยใช้ชื่อโปรเจกต์นี้ว่า MUNx2 (มันมัน) หนุนปัจจัยบวกรับการมาของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่จะเปิดเดินรถกลางปี 2564 MUNx2 (มันมัน) คือ โปรเจกต์ใหม่ ที่รวมทุกความมันที่ไม่ธรรมดา ของมันๆ  ร้านมันๆ  คนมันๆ  จะมาสร้างปรากฏการณ์ เพื่อมอบประสบการณ์มันให้ลูกค้าซีคอนสแควร์ ได้สัมผัสถึงความแตกต่างผ่านร้านค้า, ร้านอาหาร,Events, Entertainment และอื่นๆ  พื้นที่แต่ละชั้นจะมีคอนเซ็ปต์ความมันที่แตกต่างกันออกไป   - ชั้น G  : MUN of Styles  ที่รวมของมันมันแบบมีสไตล์ และ Shop ที่มีดีไซน์ไม่ธรรมดา ให้คนซื้อชิคๆ คนขายคูลๆ อย่างร้าน Custom Space by TWK Shop ที่จะเนรมิตมอเตอร์ไซค์ Vespa, Peugeot, Lambretta ออกมาในสไตล์ของคุณ ที่มีคันเดียวในโลก   - ชั้น 2 : MUN Rak Lok ถึงชีวิต Slow Life แต่หัวใจเราเต้น Fast  จะเป็นความมันในแนวรักษ์โลก Organic และ Farm Activities ไม่เหมือนใครได้ที่นี่ เช่น Zensoul Farm ร้าน Organic Farm featuring เห็ด Milky และ Workshop ปลูกผัก   -  ชั้น 3 : MUN Sand Box  มันหยุดโลก พื้นที่ให้ชาว Start Up มาปล่อยของ หรือ Collab กับเหล่าสาวก Games , Models พร้อมด้วย TCDC ศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์เลื่องชื่อ มาใน Conceptใหม่ “Creative Food and Retail”,  Too Fast To Sleep  Co-working space ชื่อดัง มาในรูปแบบ Intend สุดๆกับ Too Fast Infinity ที่มาตั้งฐานความมันไปด้วยกัน  และเชื่อมทุกความมันของทุกชั้นด้วย "The Steps" ไฮไลท์สุดสร้างสรรค์ของโครงการ โครงการ MUNx2 อยู่ระหว่างการเร่งก่อสร้าง และคาดว่าจะเปิดได้อย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้  โดยขณะนี้ มีร้านค้าที่มีความมันไปจับจองพื้นที่แล้วประมาณ 50% เตรียมร่วมอุดมการณ์ความมันให้ทั้งโลกต้องจดจำเร็วๆนี้  เราเชื่อว่า MUNx2 จะสร้างปรากฏการณ์ความมันรูปแบบใหม่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน   ปัจจุบัน ซีคอนสแควร์ มีลูกค้าเข้ามาจับจ่ายชอปปิ้งเฉลี่ยวันธรรมดา 80,000 คน และวันหยุด 120,000 คน เป็นศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดแห่งแรก และประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจบนทำเล กถนนศรีนครินทร์
ไซมิสฯ วางโรดแมปธุรกิจ ลุยต่างจังหวัด-ต่างประเทศ

ไซมิสฯ วางโรดแมปธุรกิจ ลุยต่างจังหวัด-ต่างประเทศ

ไซมิส แอทเสท วาง 3 กลยุทธ์ พร้อมปั้นธุรกิจใหม่ ต่อยอดแนวคิด Asset of Life ก่อนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เตรียมปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 4,000-5,000 ​ล้าน สร้างรายได้ต่อเนื่อง พร้อมวางโรดแมปธุรกิจ 5-10 ปี บุกตลาดต่างจังหวัดและต่างประเทศ   นายขจรศิษฐ์ สิ่งสรรเสริญ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซมิส แอทเสท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2563 ว่า ได้เตรียมพัฒนาโครงการใหม่ 1 โครงการ มูลค่า 4,000-5,000 ล้านบาท เป็นโครงการมิกซ์ยูสในย่านแฟชั่นไอแลนด์ ภายในโครงาการจะมีประกอบไปด้วย คอนโดมิเนียมเพื่อพักอาศัย 1 อาคาร คอนโดฯ เพื่อให้เช่า 1 อาคาร และโรงแรม 1 อาคาร บนเนื้อที่ 5 ไร่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบโครงการ   นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจา เพื่อร่วมทุนกับเจ้าของที่ดินขนาด 17 ไร่ถนนบางนา-ตราด เพื่อพัฒนาโครงการร่วมกัน ซึ่งหากไม่สามารถเจรจาได้ลงตัว บริษัทยังมีแผนซื้อที่ดินในทำเลใกล้เคียงประมาณ 10 ไร่ เพื่อการพัฒนาโครงการในอนาคตด้วย   สำหรับทิศทางการเติบโตในปีนี้ บริษัทคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถสร้างรายได้ 3,430 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 629 ล้านบาท ซึ่งมีกำไรเติบโตเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังมากกว่า 100% โดยการพัฒนาโครงการภายใจ้แนวคิด Asset of Life สร้างกำไรให้กับการใช้ชีวิต เพิ่ม 3 ธุรกิจต่อยอดสร้างรายได้เพิ่ม นายขจรศิษฐ์  กล่าวว่า ช่วง 10 ปีที่แล้วบริษัทเริ่มต้นธุรกิจด้วยเงินทุนจดทะเบียนเพียง 200 ล้านบาท ปัจจุบันสามารถพัฒนาโครงการจนมีมูลค่าร่วม 47,000 ล้านบาท และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,200 ล้านบาท เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงเตรียมนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนมาพัฒนาธุรกิจ โดยปัจจุบันแม้บริษัทยังไม่ได้เงินทุนมาพัฒนาโครงการ แต่บริษัทได้เริ่มวางแผนและขยายธุรกิจใหม่เพื่อสร้างการเติบโตแล้ว   สำหรับแนวทางการพัฒนาและขยายธุรกิจ บริษัทได้วาง 3 กลยุทธ์สำคัญ​ คือ 1.พัฒนาโครงการในรูปแบบ Branded Residence เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการ และสร้างจุดขาย ซึ่งจะร่วมมือกับเครือโรงแรมชั้นนำ ในการเข้ามาบริหารโครงการ อาทิ ไฮแอท บันยันทรี ดุสิต และฮิลล์ตัน เป็นต้น โดยทำราคาให้เหมาะสม เพื่อให้กลุ่มลูกค้าที่ซื้อโครงการของบริษัท สามารถนำเอาห้องชุดไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ทั้งจากการปล่อยเช่าหรือการขายต่อเมื่อมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2.ขยายธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) โดยในปีที่ผ่านมาได้เปิดร้านอาหาร แบรนด์ โรสแมรี่ 1 สาขา และร้านกาแฟ ภายใต้แบรนด์ Kafeology 2 สาขา นอกจากนี้ ยังเตรียมวางแผนเปิดธุรกิจจัดส่งอาหารเดลิเวอรี่ ภายใต้บริการ Cloud Kitchen ซึ่งจะมีการดึงร้านอาหารที่มีชื่อเสียงมาไว้ด้วยกัน และมีครัวกลางสำหรับการจัดเตรียมอาหาร เพื่อจัดส่งให้กับลูกค้าผ่านบริการจัดส่งผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น แกร็บฟูด เป็นต้น โดยวางเป้าหมายภายใน 3-5 ปี จะขยายจุดให้บริการ 100 แห่ง  แต่ละแห่งจะมีร้านอาหารเข้าร่วมประมาณ 6-8 ร้าน เพื่อบริการลูกค้าในรัศมีไม่เกิน 8 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันมีร้านอาหารเข้าร่วมแล้ว 6 ร้าน   นอกจากนี้ การพัฒนาโครงการใหม่ของบริษัททุกโครงการจะมีเลาจ์ เพื่อบริการอาหารและเครื่องดื่มให้กับลูกบ้านและลูกค้าทั่วไป ส่วนบางโครงการจะเปิดพื้นที่ร้านอาหารบนชั้นดานฟ้า (Rooftop Restaurant) เช่น โครงการไซมิส เอ๊กซ์คลูซีพ ควีนส์ (Siamese Exlusive Queens) 3.ขยายสู่ธุรกิจการดูแลสุขภาพ (Wellness) นอกจากธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริษัทยังขยายไปสู่ธุรกิจการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ของสังคมไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งบริษัทจะร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขในเชิงการป้องกัน (Preventive Medicine) ซึ่งแพทย์ดังกล่าวมีแพลตฟอร์มด้านการให้บริการ และมีจำนวนผู้ติดตามในสื่อออนไลน์มากกว่า 50,000 คน โดยการให้บริการจะเป็นรูปแบบครบวงจร ซึ่งมีทั้งอาหารสุขภาพ บริการสปา และบริการเสริมความงาม เล็งบุกหัวเมืองท่องเที่ยว-ต่างประเทศ นอกจากการขยายตลาดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว บริษัทยังวางแผนพัฒนาโครงการในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นหัวเมืองหลักด้านารท่องเที่ยว โดยการนำเอาโมเดลธุรกิจการพัฒนาโครงกคอนโดฯ เพื่ออยู่อาศัย และคอนโดฯ เพื่อปล่อยเช่า ไปพัฒนาในต่างจังหวัด รวมถึงการพัฒนาโครงการในตลาดต่างประเทศ ซึ่งมองเมืองเป้าหมาย ได้แก่ มะนิลา จาร์กาต้า และบังคลาเทศ เนื่องจากเป็นเมืองที่มีประชากรจำนวนมาก   โดยบริษัทวางแผนในระยะ 5 ปีนับจานี้จะพัฒนาโครงการตามหัวเมืองใหญ่ด้านการท่องเที่ยว และภายใน 5-10 ปี จะขยายตลาดไปยังต่างประเทศดังล่าว ซึ่งถือว่าทั้ง 2 ตลาดเป็นบลูโอเชียนที่ยังมีคู่แข่งน้อย และที่ผ่านมายังไม่มีผู้ประกอบการคนไทยประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาโครงกอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศเลย   เราจะไปหาบลูโอเชี่ยน ไทยยังไม่มีใครซัคเซสในต่างประเทศ เราจะไปให้ได้
5 ปัจจัยหนุนทำเลเตาปูน สู่ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่

5 ปัจจัยหนุนทำเลเตาปูน สู่ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่

ถ้าพูดถึงทำเลที่มีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมหนาแน่น  นอกจากทำเลพื้นที่ย่านใจกลางเมือง หรือ ย่านใจกลางธุรกิจ อีกทำเลที่มีการพัฒนาคอนโดฯ​ อย่างหนาแน่น ก็คงเป็นทำเลตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ทั้งเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต  เพราะคนจะเลือกที่อยู่ทำเลไหน การเดินทางต้องมีความสะดวกสบายด้วย ซึ่งเรื่องของความสะดวกในการเดินทาง ถือเป็นตัวตัดสินใจอันดับแรกๆ ในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเลยก็ว่าได้   สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งมีการพัฒนาโครงการคอนโดฯ หนาแน่นแห่งหนึ่ง คงเป็นทำเลเตาปูน บริเวณรถไฟฟ้าสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ต่อเนื่องไปถึงสถานีบางโพ ยิ่งเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จากสถานีเตาปูน-ท่าพระ ได้เริ่มทดลองวิ่งแล้ว ทำเลนี้น่าสนใจและเป็นที่จับตามอง ดีเวลลอปเปอร์หลายราย มองว่าทำเลนี้ในอนาคตจะถูกพัฒนาและกลายเป็นย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ จากปัจจัยบวกหลายประการ   หากพิจารณาถึงเหตุผลตอกย้ำทำเลเตาปูน คือ ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคตนั้น  คงจะมาจากเหตุผลสำคัญ 5 ประการ คือ 1.การพัฒนาโครงการ “สถานีกลางบางซื่อ” สถานีกลางบางซื่อ เป็นโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีเป้าหมายสำคัญเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ และรถไฟฟ้า ซึ่งมีการริเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2553 โดยขณะนั้นสถานีกลางบางซื่อ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ซึ่งเดิมกำหนดให้มีโครงสร้างสถานีจำนวน 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นรถไฟทางไกล และชั้นสำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยาย   ต่อมาในปี  2557 รัฐบาล คสช. และกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินโครงการต่อมา จากก่อนหน้าโครงการล่าช้าเพราะมีการปรับแบบก่อสร้างมาโดยตลอดเวลา  ซึ่งแบบสถานีกลางบางซื่อใหม่ที่ถูกปรับขึ้น ล่าสุด จะประกอบด้วย ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่สำหรับห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.000 เมตร ประกอบด้วยรถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา และชั้นที่ 3 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.435 เมตร ประกอบด้วย รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  (Airport Rail Link) และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ และรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้ จำนวนสายละ 2 ชานชาลา รวมทั้งสิ้น 10 ชานชาลา (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)   ความสำคัญของสถานีกลางบางซื่อ คือ การเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งระบบรางที่เชื่อมโยงการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพฯ สู่ภูมิภาค และภายในเขตกรุงเทพฯ​ และปริมณฑลเอง  ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถานีกลางบางซื่อจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักให้พื้นโดยรอบกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ ที่สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการอยู่อาศัย เพราะคาดว่าสถานีกลางบางซื่อจะมีผู้ใช้บริการ หมุนเวียนต่อวันมากถึง 200,000 คนเลยทีเดียว 2.จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสี “น้ำเงิน-ม่วง” นับตั้งแต่รถไฟฟ้าสายสีม่วง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในช่วงปี 2560 ทำเลเตาปูน ก็ได้รับความสนใจจากบรรดาดีเวลลอปเปอร์อย่างต่อเนื่อง หลายรายเข้ามาปักหมุดขึ้นโครงการ  นับตั้งแต่รู้ข่าวว่าจะมีเส้นทางรถไฟฟ้าด้วยซ้ำ และเมื่อมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บริเวณสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ทำเลเตาปูน จึงกลายเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟฟ้า ทั้งสองสีอย่างมีนัยสำคัญต่อการเดินทางของคนในกรุงเทพฯ และจังหวัดนนทบุรี   ที่สำคัญ การเริ่มเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ตั้งแต่ปลายปี 2562 แม้จะเป็นช่วงเวลา 10.00-16.00 น. ก่อนจะขยายระยะเวลาให้บริการเป็น 06.00-24.00 น. ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะยังไม่ได้จัดเก็บค่าโดยสาร และจะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการวันที่ 30 มีนาคม 2563 นี้  ทำเลเตาปูนจึงถือเป็นจุดเชื่อมต่อของการเดินทาง  ซึ่งทำให้คนมีความสะดวก ไม่ว่าจะไปทางทิศตะวันออก หรือไปทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ 3.การเดินทางครบเชื่อมโยงทั้งระบบ “ราง-รถ-เรือ” นอกจากย่านเตาปูน จะเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงแล้ว ในอนาคต ยังมีการพัฒนาระบบคมนาคม เชื่อมโยงระหว่างกันทั้งระบบราง รถ และเรือ  ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ทำเลเตาปูน  จะกลายเป็นทำเลย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคตได้ไม่ยาก ซึ่งแผนการพัฒนาระบบคมนาคม ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ -การพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เส้นทาง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ นอกจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ (สถานีคลองบางไผ่) ซึ่งเชื่อมโยงคนจากจังหวัดนนทบุรีเข้าสู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ได้สะดวกสบายแล้วรถไฟฟ้าสายสีม่วง ยังมีแผนพัฒนาเส้นทางต่อเนื่องจากสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ คือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร เงินลงทุน 101,112 ล้านบาท   แนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า สถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทหารผ่านแยกเกียกกาย ผ่านแยกบางกระบือ, แยกศรีย่าน เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง ช่วงบางบำหรุ–มักกะสันเข้าสู่ถนนสามเสนผ่านอาคารรัฐสภาใหม่ โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ถนนราชดำเนินกลาง เลียบคลองรอบกรุงไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีผ่านฟ้าลีลาศ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง–มหาชัยที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีวงเวียนใหญ่ ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ลอดใต้แยกมไหสวรรย์ จากนั้นแนวเส้นทางจะเปลี่ยนยกระดับวิ่งไปตามกลางถนนสุขสวัสดิ์ ข้ามสะพานข้ามแยกพระราม 2 ผ่านสามแยกพระประแดงและสิ้นสุดที่ครุใน   -การพัฒนาท่าเรือบางโพ โฉมใหม่ เดิมบริเวณบางโพ มีท่าเรือบางโพคอยให้บริการอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ได้หยุดการใช้งานไป เพราะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน  หลังจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ทางกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ผู้ดูแลและรับผิดชอบโดยตรง จึงวางแผนปรับปรุงท่าเรือให้สอดรับกับระบบรถไฟฟ้า  และบริการประชาชนให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อได้แบบครบวงจร  ทั้งทางถนน ระบบราง และทางเรือ   โดยกรมเจ้าท่าได้เตรียมขอจัดสรรงบประมาณปี 2564- 2565 ปรับปรุงท่าเรือบางโพ  ประกอบด้วยงาน 3 ส่วน คือการปรับปรุงและก่อสร้างท่าเทียบเรือ พร้อมโป๊ะเทียบเรือ ขนาด 6x12 เมตร จำนวน 2 ตัว การก่อสร้างอาคารพักผู้โดยสารรูปแบบไทยประยุกต์ 1 หลัง และลานหลังท่าเรือขนาด 200 ตารางเมตร  ซึ่งคาดว่าน่าจะดำเนินการก่อสร้างและแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการได้ในเดือนมิถุนายนปี 2565  ท่าเรือบางโพจึงถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ผลักดันให้ทำเลเตาปูนได้รับความสนใจมากขึ้น -การพัฒนาถนน เพิ่มช่องทางการเดินรถ ในช่วงปี 2565 บริเวณใกล้เคียงกับทำเลเตาปูน ยังจะมีการขยายถนนช่วงสามเสน-ประชาราษฎร์สาย 1 ขยายถนนทหาร เป็น 8  ช่องจารจร การสร้างถนนใหม่ ขนานกับถนนสามเสนเดิม ต่อเนื่องจากถนนกรุงเทพ-นนทบุรี บริเวณแยกเตาปูนไปบรรจบกับถนนพิชัย ซึ่งเป็นแนวเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ซึ่งจะทำให้ในอนาคตทำเลเตาปูน มีโครงข่ายของถนนเชื่อมโยงไปยังทำเลหรือพื้นที่อื่นๆ ได้มากมาย เป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับคนในพื้นที่ หรือผู้ที่ต้องเดินทางเข้ามาในทำเลเตาปูน 4.แหล่งงาน สำคัญทั้งรัฐและเอกชน ทำเลเตาปูน ที่ผ่านมา อาจจะไม่ใช่ย่านใจกลางธุรกิจหนาแน่น เมื่อเปรียบเทียบกับย่านธุรกิจในทำเลอื่นๆ เพราะทำเลนี้ เป็นทำเลของการพักอาศัย ที่มีบ้านเรือนของคนกระจายอยู่ทั่วไป และเป็นแหล่งการค้าเก่าแก่ อย่างตลาดไม้บางโพ แหล่งค้าไม้และอุปกรณ์ ซึ่งอยู่มาอย่างยาวนาน  แต่ขณะเดียวกันย่านเตาปูน ก็มีสำนักงานเก่าแก่ ซึ่งก่อตั้งบริษัทมานานนับ 100 ปี อย่างเครือซีเมนต์ไทย  สำนักงานใหญ่ ซึ่งมีพนักงานจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นแหล่งงานสำคัญ ใกล้กับย่านเตาปูนเลยก็ว่าได้   ในอนาคตย่านเตาปูน จะกลายเป็นทำเลใกล้กับแหล่งงานขนาดใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชน  เพราะปัจจุบันมีโครงการและหน่วยงาน ที่เปิดให้บริการและกำลังจะเปิดบริการในอนาคต  ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภาแห่งใหม่  สถานีกลางบางซื่อ  ศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อ และสำนักงานเขตบางซื่อ นี่ยังไม่นับรวมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลต่างๆ ที่ตั้งอยู่โดยรอบของทำเลเตาปูนอีกมากมายด้วย 5.ชุมชนเก่าสู่โลกการค้ายุคใหม่ ย่านเตาปูน มีตลาดเก่าแก่ที่อยู่ในพื้นที่ คือ ถนนสายไม้ ซึ่งอยู่ในซอยประชานฤมิตร  แหล่งรวมของสินค้าประเภทไม้ เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์  ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป หากนึกถึงหรือต้องการจะซื้อสินค้าประเภทไม้  มักจะต้องเดินทางมาที่ซอยประชานฤมิตร  บรรดาร้านค้าไม้และสินค้าประเภทไม้ ในซอยประชานฤมิตร คาดว่าจะอยู่คู่กับทำเลเตาปูนมายาวนานมากว่า 50 ปี   แต่จากการพัฒนาของระบบคมนาคม โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกสบาย เกิดแหล่งชุมชนที่พักอาศัยใหม่เพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกออกมารองรับ  อย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ศูนย์การค้า หรือช้อปปิ้งมอลล์ เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ของคนอยู่ในทำเลนั้น ต้องใช้บริการเพื่อซื้อสินค้าใช้หรือบริโภค   ตอนนี้ทำเลเตาปูนมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นแล้ว คือ ศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อ (Gateway at Bangsue) ที่บริษัท แอสเสท เวิรด์ รีเทล จำกัด ในเครือของ แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น ได้ลงทุน 4,000 ล้านบาท พัฒนาโครการขึ้นมาบนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ รองรับการมาของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง จุดเชื่อมต่อสำคัญของทำเลเตาปูน ซึ่งศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อเปิดให้บริการมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561   อนาคตไม่นานจากนี้ คนที่อยู่ในทำเลเตาปูน ยังจะมีแหล่งช้อปปิ้งใหม่ ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีกลางบางซื่อ เพราะภายในโครงการนอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางคมนาคมต่างๆ แล้ว ยังมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะมีร้านค้าต่างๆ เปิดให้บริการด้วย ส่วนจะมีร้านค้าอะไรบ้างนั้น อดใจรออีกไม่นานคงได้เห็นกัน   และนี่คงเป็น 5 ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ทำเลเตาปูน มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคต หากโครงการต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนพัฒนาออกมาแล้วเสร็จ  โฉมหน้าของย่านเตาปูน รวมถึงทำเลใกล้เคียงคงเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันอย่างมาก
“โฮมโปร” ฝ่าปัจจัยลบปี 62 สร้างรายได้รวมกว่า 6 หมื่นล้าน

“โฮมโปร” ฝ่าปัจจัยลบปี 62 สร้างรายได้รวมกว่า 6 หมื่นล้าน

โฮมโปร ฝ่าปัจจัยลบปี 62 ทำรารายได้รวมโตได้เล็กน้อยแค่ 2.08% แต่ทำกำไรได้กว่า  6,176.59 ล้านบาท หลังหันปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานภายใน และขยายสาขาต่อเนื่อง แม้ได้รับผลกระทบรอบด้านจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อหดตัว   นายคุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย ประจำปี 2562 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยยังคงมีผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวมจำนวน 67,423.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.08%  และมีกำไรสุทธิจำนวน 6,176.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.05% จากปีก่อนหน้า ปัจจัยที่ทำให้บริษัทมีผลประกอบการเติบโต เป็นเพราะรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งเป็นรายได้ที่ประกอบไปด้วยรายได้จากการขายสินค้า และรายได้จากการให้บริการลูกค้า Home Service รวมจำนวน 63,046.23 ล้านบาท มารเติบโต 1.77% หรือเพิ่มขึ้น 1,094.91 ล้านบาท  เป็นผลมาจากการเติบโตเล็กน้อยของยอดขายสาขาเดิมของธุรกิจโฮมโปร ในขณะที่ยอดขายสาขาเดิมของธุรกิจเมกา โฮม อยู่ในระดับทรงตัว รวมถึงยอดขายสาขาใหม่ทั้งธุรกิจโฮมโปร และเมกา โฮม รวมถึงรายได้จากค่าบริการ “Home Service”   สำหรับยอดขายสาขาเดิมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 เติบโตสูงจากกลุ่มสินค้าปรับปรุงคุณภาพอากาศ เนื่องด้วยสภาพอากาศที่มีมลภาวะสูงผิดปกติ และกลุ่มสินค้าเครื่องทำความเย็นจากสภาพอากาศที่ร้อนต่อเนื่อง  อย่างไรก็ตาม ยอดขายสาขาในครึ่งปีหลังยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยนั้นมีประสิทธิภาพการดำเนินงานดีขึ้น เป็นผลจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านต่างๆ   นอกจากนี้ โฮมโปร ยังมีรายได้ค่าเช่า จำนวน 2,207.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 232.02 ล้านบาท หรือ 11.75% เป็นผลมาจากรายได้ค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่เช่าภายในศูนย์การค้ามาร์เกต วิลเลจ และพื้นที่ให้เช่าสาขาใหม่ของโฮมโปรและเมกา โฮม  ส่วนของรายได้อื่นปีที่ผ่านมาของโฮมโปรมีจำนวน 2,170.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.03 ล้านบาท หรือ 2.21% โดยเป็นผลมาจากการเติบโตของรายได้ส่งเสริมการขายร่วมกับคู่ค้า ดอกเบี้ยรับ และรายได้เบ็ดเตล็ด สำหรับกำไรขั้นต้นกำไรขั้นต้นจากการขายสินค้าและการให้บริการลูกค้า Home Service ปีที่ผ่านมามีจำนวนรวม 16,331.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 542.11 ล้านบาท หรือ 3.43% เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขายเพิ่มขึ้นจาก 25.49% ในปีก่อน มาอยู่ที่ 25.90% โดยเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนของส่วนผสมสินค้ามีไว้เพื่อขายทั้งกลุ่มสินค้าทั่วไป และกลุ่มสินค้า Direct Sourcing รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพวางแผนการจัดซื้อสินค้าของธุรกิจโฮมโปร เมกา โฮม และโฮมโปรที่ประเทศมาเลเซีย แม้ว่าบริษัทฯ มีต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นก็ตาม   ในปี 2562 บริษัทเปิดสาขาโฮมโปรทั้งหมด 2 แห่งที่จรัญสนิทวงศ์และมุกดาหาร และเปิดสาขาโฮมโปรเอส 1 แห่งที่ สามย่าน มิตรทาวน์ และได้มีการเปิดสาขาเมกา โฮม ทั้งหมด 2 แห่งที่บ้านฉาง จังหวัดระยอง  และบางนา-ตราด ส่งผลให้สิ้นปี 2562 มีสาขาโฮมโปร 84 สาขา โฮมโปรเอส 9 สาขา เมกาโฮม 14 สาขา และโฮมโปรที่ประเทศมาเลเซีย 6 สาขา ส่งผลให้ สิ้นปี 2562 บริษัทมีสาขาโฮมโปร 84 สาขาโฮมโปรเอส 9 สาขา เมกาโฮม 14 สาขา และโฮมโปรที่ประเทศมาเลเซีย 6 สาขา   นายคุณวุฒิ กล่าวต่อไปอีกว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ เป็นผลมาจากการชะลอตัวของปริมาณการค้าโลกและอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่สำคัญจากการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน โดยภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ที่ลดลงทั่วโลก ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงเช่นกัน เนื่องมาจากอัตราการจ้างงานที่ปรับลดลง โดยเฉพาะในภาคการผลิตเพื่อส่งออก   นอกจากนั้นกำลังซื้อของผู้บริโภคยังได้รับผลกระทบจากระดับหนี้สินภาคครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้น และราคาพืชผลทางการเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวเองก็ได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ลดน้อยลงโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก แม้ว่ารัฐบาลจะได้เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังด้วยมาตรการต่างๆ เช่น โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการชิมช้อปใช้ เป็นต้น แต่เศรษฐกิจในภาพรวมยังคงไม่เอื้ออำนวยต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเท่าที่ควร