Tag : Retails

240 ผลลัพธ์
อิเกีย บางใหญ่  เปิด  “IKEA PLANNING STUDIO”  แห่งแรกของโลกเพื่องานออกแบบหอ้ง

อิเกีย บางใหญ่ เปิด  “IKEA PLANNING STUDIO” แห่งแรกของโลกเพื่องานออกแบบหอ้ง

อิเกีย เปิด  “IKEA PLANNING STUDIO”  ให้บริการด้านงานออกแบบแห่งแรกของโลก ตอบโจทย์ลูกค้าต้องการใช้เวลาซื้อสินค้าน้อยลง พร้อมทั้งเดินหน้าขยายตลาดลูกค้าองค์กร ลุยกลุ่ม B2B วางเป้าเพิ่มยอดขาย 2 เท่าตัว   ด้วยวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นเรื่อง “การสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีกว่าในทุกวัน” ของอิเกีย ศูนย์จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านที่ใหญ่ที่สุดในโลกสัญชาติสวีเดน ซึ่งมีจำนวนสโตร์มากกว่า 443 แห่ง ใน 53 ประเทศทั่วโลก และในประเทศไทย​ ทำให้อิเกีย พยายามที่จะแก้ไขปัญหา และหาแนวทางการพัฒนาธุรกิจ เพื่อสร้างความสะดวกสบาย และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า   ล่าสุด อิเกีย สาขาบางใหญ่ จึงได้เปิด “IKEA Planning Studio” พื้นที่ให้บริการออกแบบของห้องครัว ห้องนั่งเล่น และตู้เสื้อผ้ารวมไว้ในที่เดียว  ซึ่งนอกจากการให้บริการด้านการออกแบบ และงานดีไซน์  ยัง รวมถึงบริการอื่น ๆ เช่น ชำระเงิน บริการจัดส่งและติดตั้ง ไว้ในที่เดียว ช่วยประหยัดเวลา และยังมีผู้เชี่ยวชาญของอิเกียช่วยดูแล  ให้คำแนะนำการแต่งบ้าน ที่ถือว่าเป็นแห่งเดียวของโลก ขณะที่พื้นที่การให้บริการของการออกแบบในลักษณะดังกล่าวจะมีให้บริการในบางประเทศ เช่น สิงค์โปร์  แต่จะอยู่ภายนอกสโตร์ นายทอม ซูเทอร์ ผู้จัดการสโตร์ อิเกีย บางใหญ่ เปิดเผยว่า การเปิดให้บริการ “IKEA Planning Studio” เพื่อเป็นการบริการด้านการออกแบบห้องครัว ห้องนั่งเล่น และห้องนอน ไว้ในพื้นที่เดียวกัน เพราะลูกค้าต้องการคามสะดวกสบาย และลดระยะเวลาการใช้บริการให้น้อยลง และทำให้ลูกค้าสามารถวางแผนการออกแบบห้องได้มากกว่า 1 ห้อง เดิมลูกค้าที่วางแผนออกแบบห้อง ต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่งเพื่ออกแบบห้อง 1 ห้อง แต่ถ้าใช้บริการ IKEA Planning Studio 2 ชั่วโมงจะออกแบบได้มากกว่า 1 ห้อง ปัจจุบันจุดให้บริการด้านการออกแบบ ตามพื้นที่ต่าง ๆ ภายในสโตร์ ยังมีให้บริการด้วยกัน 4 แห่ง แต่การเปิด “IKEA Planning Studio” เพิ่มขึ้นมา จะทำให้สามารถรองรับลูกค้าได้มากขึ้น โดยจากการทดลองเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการ พบว่ามีจำนวนลูกค้ามาใช้บริการมากถึง 160 ครอบครัว หรือเฉลี่ยวันละ 3-4 ครอบครัว   นายทอม กล่าวอีกว่า นอกจาก “IKEA Planning Studio” จะให้บริการกับลูกค้าทั่วไป ยังมีการให้บริการที่ปรึกษาสำหรับธุรกิจขนาดต่าง ๆ (B2B) หรือ IKEA For Business สำหรับลูกค้าองค์กรขนาดเอสเอ็มอี และลูกค้าขนาดใหญ่ หรือกลุ่ม B2B ซึ่งอิเกียได้ให้ความสำคัญและต้องการเพิ่มสัดส่วนลูกค้าในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันฐานลูกค้า B2B ยังถือว่าน้อยเพียง 1% เท่านั้น ทางอิเกียคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนลูกค้าขึ้นอีก 2 เท่าในปีหน้า เนื่องจากเป็นกลุ่มลูกค้ามีศักยภาพ และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี แนวทางการทำตลาดอิเกีย ได้จัดตั้งทีมงานขายและตลาดกลุ่มลูกค้า B2B เพื่อเจาะตลาดโดยเฉพาะ โดยจะทำการนำเสนอสินค้า และฟังก์ชั่นการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์อิเกีย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งนอกจากฐานลูกค้ากลุ่ม B2B ที่ดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเวลเนสเซ็นเตอร์ ร้านจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์กีฬา อิเกียยังได้จับมือกับดีเวลลอปเปอร์อสังหาริมทรัพย์ อย่างบริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ในการนำเอาเฟอร์นิเจอร์ไปใช้ในการตกแต่งห้องชุดคอนโดมิเนียมด้วย และยังมีดีเวลลอปเปอร์ที่อยู่ระหว่างการเจรจาอีกหลายหลาย   นอกเหนือจากการจัดตั้งทีมงานเพื่อทำตลาดกับกลุ่มลูกค้า B2B แล้ว เทรนด์การทำงานจากที่บ้าน หรือ  Work From Home ที่เพิ่มมากขึ้นจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ทำให้สินค้ากลุ่มอุปกรณ์สำนักงานของอิเกียมียอดขายเพิ่มมากขึ้นถึง 25% ทำให้อิเกียวางแผนจัดดิสเพลย์ห้องทำงานในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าทั่วไป และลูกค้ากลุ่ม B2B ได้เห็นฟังก์ชั่นและการใช้งานของอุปกรณ์สำนักงานด้วย สำหรับการให้บริการ IKEA Planning Studio จะเป็นการให้บริการฟรี สำหรับสมาชิก IKEA Family ซึ่งปัจจุบันอิเกีย มีฐานสมาชิก 1.7 แสนคน โดยสมาชิกสามารถใช้บริการที่ IKEA Planning Studio ตั้งอยู่โซนโชว์รูมห้องนอน ชั้น 3A อิเกีย บางใหญ่ ส่วนลูกค้าที่ไม่ได้เป็นสมาชิก IKEA Family สามารถสมัครได้ฟรี และใช้บริการได้ทันที โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1.เตรียมขนาดพื้นที่ห้องที่ต้องการออกแบบ พร้อมบัตรสมาชิก 2.กดบัตรคิวเลือกบริการที่ต้องการ ได้แก่ บริการออกแบบชุดครัว, บริการออกแบบชุดตู้เสื้อผ้า, บริการออกแบบชุดวางทีวี, บริการติดตั้งชุดครัวและห้องน้ำ และบริการจัดส่งและประกอบเฟอร์นิเจอร์ 3.เมื่อถึงคิว ผู้เชี่ยวชาญของอิเกียจะช่วยให้บริการออกแบบและให้คำแนะนำในการเลือกสินค้าให้เหมาะสมกับพื้นที่  การใช้งาน และฟังก์ชั่นต่าง ๆ บริการออกแบบฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เมื่อเสร็จแล้วจะพิมพ์แบบพร้อมด้วยรายการสินค้า และคู่มือต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้านำไปประกอบการตัดสินใจ (ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจและชำระเงินทันที) ทั้งนี้ อิเกียจะเก็บข้อมูลไว้เพื่อให้ลูกค้าสามารถกลับมาใช้บริการในครั้งต่อไปได้ 4.กรณีที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า สามารถชำระเงิน (ไม่รับเงินสด) และติดต่อบริการต่าง ๆ ได้จากที่ IKEA Planning Service ครบจบที่เดียว IKEA Planning Studio ที่อิเกีย บางใหญ่ เป็นสตูดิโอออกแบบแห่งแรกในโลกที่ตั้งอยู่ในสโตร์อิเกีย หากได้รับการตอบรับที่ดี ในอนาคตก็จะเปิดให้บริการที่สโตร์อื่น ๆ ด้วย  
เซ็นทรัลพัฒนา ลงทุน 13,900 ล้าน ปั้นแลนด์มาร์ก 3 บิ๊กมิกซ์ยูส

เซ็นทรัลพัฒนา ลงทุน 13,900 ล้าน ปั้นแลนด์มาร์ก 3 บิ๊กมิกซ์ยูส

เซ็นทรัลพัฒนา เตรียมเปิดให้บริการ 3 โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส ขนาดใหญ่ รวมมูลค่ากว่า 13,900 ล้าน ใน 3 เมืองศักยภาพ ทั้งอยุธยา ศรีราชา และจันทรบุรี มั่นใจเศรษฐกิจแข็งแกร่ง และกำลังซื้อเติบโต ชู 3 กลยุทธ์จับตลาดสร้างรายได้ ขณะที่ภาพรวมปี 2563 ยังทำรายได้เติบโตกว่า 32,062 ล้านบาท และกำไร 9,557 ล้านบาท   นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ยังคงเดินหน้าตามแผนธุรกิจในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส 3 แห่ง รวมมูลค่าโครงการกว่า 13,900 ล้านบาท ได้แก่ โครงการเซ็นทรัล อยุธยา มูลค่า 6,200 ล้านบาท เซ็นทรัล ศรีราชา มูลค่า 4,200 ล้านบาท และเซ็นทรัล จันทบุรี มูลค่า 3,500 ล้านบาท แม้ว่าในปีที่ผ่านมาจะมีความท้าทายจากวิกฤตโควิด-19 และปีนี้ แต่จากการมองบวกและเชื่อมั่นในวิกฤตยังมีโอกาสในการลงทุน จึงยังคงเดินหน้าตามแผนที่วางไว้ เพื่อเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งเสริมและยกระดับศักยภาพจังหวัด พร้อมดึงความโดดเด่นของอัตลักษณ์ท้องถิ่น และกระจายความเจริญและรายได้ในแต่ละแห่ง ​ 3 กลยุทธ์สร้างความสำเร็จ แนวทางสำหรับสร้างความสำเร็จของการพัฒนาโครงการทั้ง 3 แห่ง ได้วาง 3 กลยุทธ์แห่งความสำเร็จ คือ 1. บุกเบิกเมืองด้วยโมเดล Fully-Integrated Mixed-Use Developments ที่แข็งแกร่ง 2.Customer-Centric Design Thinking and Marketing และ 3.Tenant-Centric Business Partnership กล่าวคือ กลยุทธ์ที่ 1: บุกเบิกเมืองด้วยโมเดล Fully-Integrated Mixed-Use Developments ด้วยจุดแข็งและ Success Formula ของบริษัทฯ ที่มีมายาวนาน โดยทุกโครงการสร้าง Big Impacts ให้กับทุกจังหวัดที่ไปตั้งอยู่ ประกอบกับความเชี่ยวชาญในการพัฒนาทุกองค์ประกอบให้เป็นส่วนประกอบที่ดีที่สุดและที่เชื่อมโยงเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน อีกทั้งคอนโดมิเนียมของเราเน้นจุดแข็งที่อยู่ติดศูนย์การค้าทำให้หลายโครงการสามารถ sold out ได้อย่างรวดเร็ว อาทิ ระยอง อาคารแรก, เชียงใหม่ อาคาร 1-2, โคราช อาคารแรก  โดยปัจจุบันธุรกิจที่พักอาศัยของเซ็นทรัลพัฒนามีกว่า 18 โครงการใน 10 จังหวัด นอกจากนี้ มีโรงแรมแบรนด์ใหม่ที่จะเกื้อหนุนโครงการ ทำให้มี Business & Traffic Ecosystem ที่ดีอย่างแน่นอน กลยุทธ์ที่ 2: Customer-Centric Design Thinking and Marketing แนวคิดการพัฒนาโปรเจ็กต์ที่ รังสรรค์โครงการในทุกองค์ประกอบเพื่อทุกไลฟ์สไตล์แห่งอนาคต และชูวิถีอัตลักษณ์ของเมือง ทุกโครงการมีความพร้อม และเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตที่ดีที่สุดของจังหวัด ในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ -การออกแบบก่อสร้างที่ทันสมัย ผนวกวิถีแห่งเมือง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม -การร่วมมือกับพันธมิตรที่พร้อมเดินหน้าลงทุนเติบโตไปด้วยกัน และสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ customize ตามจังหวัดต่างๆ -แผนการตลาดที่เจาะกลุ่มพร้อมรับ Digital Disruption, การสร้าง community, และแผนดันกำลังซื้อสนับสนุนร้านค้าตลอดทั้งปี ย้ำ "กำลังซื้อชัด-ไลฟ์สไตล์ดี-สร้างเสน่ห์ท่องเที่ยว" กลยุทธ์ที่ 3: Tenant-Centric Business Partnership เซ็นทรัลพัฒนามองการลงทุนกับคู่ค้าในระยะยาว ซึ่งการที่ธุรกิจต่าง ๆ จะเข้าไปขยายการลงทุนไปกับเรา จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ที่ธุรกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว เราต้องก้าวไปสู่ next success ด้วยกัน โดยทุกศูนย์การค้าของเซ็นทรัลพัฒนา เน้นที่กลยุทธ์ในระยะยาวในการเป็น Center of Life, Center of Community ในทุกที่ที่ไป ด้วยการสร้างศูนย์การค้าที่ตรงใจคนในแต่ละโลเคชั่น เป็น The best in city and the most preferred choice ของ  แต่ละจังหวัด พร้อมช่วยยกระดับจังหวัด ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนในทุกที่ ทำให้ถึงแม้จะมีปัจจัยระยะสั้น ก็ยังคงมีทราฟฟิกกลับมาดีต่อเนื่อง   นอกจากนี้ การนำเอา Digital Tools ต่างๆ มาเป็นเครื่องมือให้พันธมิตรร้านค้าเข้าใจ Customer Insight และทำ Targeted Marketing ได้มากขึ้น จากฐานข้อมูลของธุรกิจต่างๆ ในเครือเซ็นทรัลที่ทำธุรกิจในตลาดต่างจังหวัดทั่วประเทศมาอย่างยาวนาน และมีการพาร์ทเนอร์กับ The 1 พัฒนาโปรเจ็ค The 1 Biz เพื่อช่วยให้ร้านค้าขายได้ดีขึ้น และช่วยให้แต่ละแบรนด์สามารถทำ CRM ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น และในช่วงสถานการณ์นี้ เราคำนึงถึง Tenant Growth, Tenant Sales, Tenant Success เป็นสำคัญ จึงได้ออก Flexible Leasing Programme เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการช่วยเหลือร้านค้าผู้เช่า อาทิ -การช่วยลดภาระ ผ่อนคลายความกังวลเรื่องผลประกอบการในช่วงเปิดร้านใหม่ หรือในช่วงปีแรก -การช่วยเหลือให้เข้าถึง Soft Loans กับพันธมิตรธนาคารต่าง ๆ -ช่วย Business Matching กับ Local Investors -On-going Tenant Support ตลอดทั้งปี เช่น The 1 Biz ซึ่งจะเป็น Effective CRM เพิ่มยอดขายให้กับผู้เช่า -มี Central Pattana Serve Application พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างครบวงจร เหตุผลที่เซ็นทรัลพัฒนา บุกตลาด 3 เมือง โครงการ เซ็นทรัล อยุธยา เป็นโครงการมิกซ์ยูสที่ประกอบไปด้วย ศูนย์การค้า, Tourist Attraction, โรงแรม, ที่พักอาศัย, และคอนเวนชั่นฮอลล์ บนที่ดิน 47 ไร่ โดยมีพื้นที่ GFA 68,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 6,200 ล้านบาท เปิดให้บริการเดือน 27 ต.ค. 64 ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้เข้ามาพัฒนาโครงการในอยุธยา เป็นเพราะ 1.มีกลุ่มคนอยุธยารุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง (Young Affluent & Urban Vibes) -จากฐานข้อมูล The 1 ของกลุ่มเซ็นทรัล พบว่า มีคนจำนวนกว่า 180,000 คน เดินทางเข้ามาซื้อสินค้าในกรุงเทพฯ เฉลี่ย 6 ครั้งต่อเดือน   -มีประชากรกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนมากเกือบ 2,500,000 คน ทั้งในจังหวัดอยุธยา และจังหวัดรอบข้าง ได้แก่ จังหวัดอ่างทอง, สิงห์บุรี, ชัยนาท และสุพรรณบุรี นอกจากนี้ ยังมีประชากรแฝงจากนิคมอุตสาหกรรมชั้นนำ 5 แห่งกว่า 166,000 คน ซึ่งเป็นบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และ Hi-tech โดยมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำกว่า 56 โครงการกว่า 5,700 ยูนิต ราคาเฉลี่ย 1.5-3 ล้านบาท   2.เมืองท่องเที่ยว ที่สามารถเดินทางได้แบบ Short-Trip Destination โดยอยุธยามีนักท่องเที่ยวเดินทางมากกว่า 8 ล้านคนในปี 2562 โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 6.2 ล้านคน และต่างชาติ 2.1 ล้านคน ขณะเดียวกันยังมีผู้ที่ Commuters ที่เดินทางผ่านหน้าโครงการ ซึ่งอยู่ติดถนนสายหลักถึง 100,000 คันต่อวัน  ซึ่งตลาดการท่องเที่ยวอยุธยาสามารถเติบโตได้อีกมาก โดยเรามีแผนทำ International marketing กับนักท่องเที่ยวทั่วโลก   3.นักท่องเที่ยวและ Commuter มหาศาล: จับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน -นอกจากในช่วง Weekday และ Weekend จับกลุ่มคนอยุธยา 85% ที่มีกำลังซื้อแล้ว สำหรับ Weekend ยังเน้นจับกลุ่มสำคัญคือ กลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ อีก 15% โดยอยุธยามีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมเยือนมากกว่า 8 ล้านคนในปี 2019 โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 6.2 ล้านคน และต่างชาติ 2.1 ล้านคน  ซึ่งตลาดการท่องเที่ยวอยุธยาสามารถเติบโตได้อีกมาก โครงการเซ็นทรัล ศรีราชา เป็นโครงการมิกซ์ยูสที่ประกอบไปด้วย ศูนย์การค้า, คอนเวนชั่นฮอลล์, เซอร์วิส อพาร์ทเมนต์, ออฟฟิศ และโรงแรม บนที่ดิน 27 ไร่ โดยมีพื้นที่ GFA 71,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 4,200 ล้านบาท เปิดให้บริการ เดือน 25 ก.ย. 64 ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้เข้ามาพัฒนาโครงการในศรีราชา เป็นเพราะ 1.ศรีราชาเป็นเมืองดาวรุ่งอุตสาหกรรม และมี GDP เป็นอันดับ 2 ของประเทศ ศรีราชาจะมีการพัฒนาให้เป็น ​Innovation Hub โดยมีตัวเลขประมาณการจากการที่เป็นเมือง New S-Curve จะมี ตัวเลขเงินลงทุนใน EEC สะพัดกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ในช่วงปี  2560-2565   เพื่อดึงดูด Start-Up และ Digital Nomad เข้ามาในพื้นที่ 2.กลุ่มเป้าหมายหลากหลายและมีกำลังซื้อสูง -ศรีราชา มีประชากรกว่า 580,000 คน โครงการที่อยู่อาศัยเติบโตเฉลี่ย 8% ต่อปี ปัจจุบันมีดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ เข้าไปพัฒนาที่อยู่อาศัยกว่า 61,000 ยูนิต ราคาเฉลี่ย 1.5-6 ล้านบาท ทำให้มีกำลัง​ซื้อหนาแน่น และยังมีการพัฒนาโครงการโรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาลชั้นนำ และนิคมอุตสาหกรรม 11 แห่ง -นอกจากคนไทยที่อาศัยอยู่ในศรีราชาแล้ว  ยังมีชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น ปัจจุบันมีชุมชน Japanese Expat ที่เข้มแข็ง โดยมีชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติอื่น ๆ อาศัยอยู่ประมาณ 40,000 คน อีกทั้ง กลุ่มคนญี่ปุ่นในทำงานที่ศรีราชาเป็นระดับ Top management เงินเดือนสูงเฉลี่ยประมาณ 100,000-200,000 บาทต่อเดือน   โครงการเซ็นทรัล จันทบุรี เป็นโครงการมิกซ์ยูสที่ประกอบไปด้วย ศูนย์การค้า, Local market, ที่พักอาศัย, และโรงแรม รวมถึง Social Park บนที่ดิน 46 ไร่ โดยมีพื้นที่ GFA 42,600 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท เปิดให้บริการไตรมาสที่2/2565 ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้เข้ามาพัฒนาโครงการในจันทบุรีเป็นเพราะ   1.เชื่อมโยงเศรษฐกิจต่อจากพื้นที่ EEC จันทบุรี ถือเป็น The Hidden Gem of EEC Plus 2 สร้างเศรษฐกิจและวิถีท้องถิ่นแข็งแกร่งระดับประเทศ และเป็นตลาด​ Blue Ocean เพราะยังไม่การพัฒนาโครงการในรูปแบบมิกซ์ยูส  และจันทรบุรี เป้นเมืองกำลังเติบโต มีสถานศึกษาถึง 45 แห่ง โรงแรม 29 แห่ง และที่พักอาศัย 24 แห่ง   จันทบุรียังเป็นมหานครผลไม้เมืองร้อนระดับโลก มี GPP (Gross Provincial Product) อันดับ 1 ของประเทศด้านเกษตรกรรม   2.กำลังซื้อชัด ไลฟ์สไตล์ดี -มีประชากรกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนมากกว่า 1,800,000 คน ทั้งในจังหวัดจันทบุรี รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ทั้งจังหวัดตราด, ปราจีนบุรี และสระแก้ว รวมถึงยังมีกลุ่มผู้มีฐานะจากประเทศเพื่อนบ้าน เดินทางเข้ามาใช้จ่ายในจันทบุรีด้วย   3.การท่องเที่ยวเติบโตด้วย EEC Plus 2 และความมีเสน่ห์ของเมือง -จันทบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านสวนผลไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศ -เป็นศูนย์กลางการค้าพลอยและอัญมณีที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมช่างฝีมือไทยที่ทั่วโลกต้องส่งมาเจียระไนที่นี่ -เมืองท่องเที่ยวที่เป็น Rising star มี Local Tourism ที่แข็งแกร่งและเติบโตต่อเนื่อง โดยมีจุดเด่นทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม ชุมชนเก่า รวมถึงการเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในประวัติศาสตร์ ทำให้มีคาเฟ่ และร้านอาหารสุดชิคมากมายจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2557-2561) ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติกว่า 2.47 ล้านคนต่อปี (ปี 2563)   ปี 63 ยังทำรายได้กว่า 32,062 ล้าน สำหรับภาพรวมธุรกิจของเซ็นทรัลพัฒนา ของปี 2563 ยังเติบโตมีรายได้รวม 32,062 ล้านบาท และกำไร 9,557 ล้านบาท สะท้อนความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการต้นทุน การปรับแผนการลงทุน รวมถึงการดูแลช่วยเหลือ Stakeholders ทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง  ปัจจุบัน เซ็นทรัลพัฒนา บริหารจัดการศูนย์การค้า 34 แห่ง มีพื้นที่ให้เช่าสุทธิรวม 1.8 ล้านตารางเมตร  (อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 15 โครงการ, ต่างจังหวัด 18 โครงการ และในมาเลเซีย 1 โครงการ) ศูนย์อาหาร 30 แห่ง อาคารสำนักงาน 10 อาคาร โรงแรม 2 แห่ง   นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่พักอาศัยอีก 18 โครงการ ประกอบด้วยคอนโดมิเนียมภายใต้แบรนด์ ESCENT, ESCENT  VILLE, ESCENT PARK VILLE, PHYLL PAHOL 34 และ BELLE GRAND RAMA 9 และโครงการแนวราบภายใต้แบรนด์ ESCENT TOWN พิษณุโลก (ทาวน์โฮม) นินญา กัลปพฤกษ์ (บ้านแฝด) โครงการนิยาม บรมราชชนนี (บ้านเดี่ยวระดับลักชูรี่) และโครงการบ้านเดี่ยวแบรนด์ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว ได้แก่ นีรติ เชียงราย และนีรติ บางนา อีกทั้งยังมีโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่อีกมากมาย อาทิ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ที่ร่วมทุนกับดุสิตธานี และโครงการ GLAND ที่เซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อีกด้วย      
สามย่านมิตรทาวน์ เพิ่ม 11 ร้านอาหารเกาหลี-จัดอีเวนต์ทั้งปี  ดึงผู้ใช้บริการทะลุ 80,000คน

สามย่านมิตรทาวน์ เพิ่ม 11 ร้านอาหารเกาหลี-จัดอีเวนต์ทั้งปี ดึงผู้ใช้บริการทะลุ 80,000คน

สามย่านมิตรทาวน์ เดินหน้าตอกย้ำ สู่การเป็น “คลังอาหารและการเรียนรู้” ชูกลยุทธ์ “Inspiring Everyday Experiences” ดึงลูกค้าเข้าใช้บริการวันละ 80,000 คน เพิ่มร้านอาหารเกาหลีใหม่ 11 ร้าน เติมพอร์ต​ ขยับสัดส่วนเป็น 50% ของพื้นที่ทั้งโครงการ    นางธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอเชียล (ประเทศไทย) เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2564 ว่า จะใช้กลยุทธ์ Inspiring Everyday Experiences ด้วยการใช้พื้นที่รีเทล เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการได้ทุกวัน และทำให้มีทราฟิคผู้เข้าใช้บริการในปีนี้เฉลี่ย 80,000 คนต่อวัน จากช่วงต้นปีถึงปัจจุบันมีผู้เข้ามาใช้บริการกว่า 53,000 คน หรือเทียบเท่า 84% กับช่วงก่อนไวรัสโควิด-19  ขณะที่ปีที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 63,000 คนต่อวัน    โดยเป้าหมายดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ภายใต้สถานการณ์ปกติที่ไม่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะซิกเนอเจอร์อีเวนต์ที่เป็นกิจกรรมที่สามย่านมิตรทาวน์จัดขึ้นมาโดยเฉพาะปีละ 4 ครั้ง  ขณะที่ยอดร้านค้าเช่าพื้นที่แล้วกว่า 97%    ตั้งแต่เริ่มเปิดสามย่านมิตรทาวน์  โครงการได้สร้างความสำเร็จผ่านการดำเนินงานที่อาศัยความเข้าใจในกลุ่มลูกค้า ร้านค้า และพนักงาน จนทำให้สามย่านมิตรทาวน์ ผ่านพ้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้ง 2 ระลอก สำหรับกลยุทธ์ “Inspiring Everyday Experiences”  จะมีวิธีการดำเนินงาน 3 ประการ ดังนี้ 1.เพิ่มร้านอาหารใหม่ 11 ร้าน ด้วยคอนเซ็ปต์ของสามย่านมิตรทาวน์ ที่วางตำแหน่งการเป็น คลังอาหารและการเรียนรู้ ในปีนี้จึงได้เพิ่มสัดส่วนร้านอาหารขึ้นเป็น 50% จากก่อนหน้าที่มีสัดส่วน 43% ของพื้นที่โครงการ  โดยมีร้านอาหารใหม่ที่เพิ่มเข้ามา 11 ร้าน ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่  -กลุ่มร้านอาหารเกาหลี “K-strEAT” พื้นที่รวมร้านอาหารเกาหลีไว้ทุกเมนูในพื้นที่เดียวกัน  -ร้านดังจากโซเชียล การนำร้านดังทั่วกรุงเทพฯ ที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา มานำเสนอใหม่ในซิกเนเจอร์ของสามย่านมิตรทาวน์ -ร้านอิ่มสบายกระเป๋า ราคาเริ่มต้นเพียง 40 บาท   2.พื้นที่การแห่งเรียนรู้ สามย่านมิตรทาวน์ มีพื้นที่แห่งการเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจ ที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย อาทิ โซนสามย่านโคออป (Samyan CO-OP) โคเลิร์นนิ่งสเปซที่เปิดให้บริการฟรี  และร้านมีเดียม แอนด์ มอร์ (Medium & More) ศูนย์รวมสินค้าอาร์ต แอนด์ คราฟ คอนเซ็ปต์ใหม่ ที่มีสินค้าครบสำหรับผู้สนใจด้านศิลปะ  และมีการจัดอีเว้นต์ อาทิ การเพิ่มกิจกรรมสอนวิธีการใช้งาน ฝึกปฏิบัติ รวมถึงเวิร์คช็อปเข้ากับอีเว้นต์ต่าง ๆ     3.การจัดกิจกรรมให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับชุมชน  โดยให้บริการพื้นที่ ด้วยคอนเซ็ปต์ Placemaking เพื่อเปิดพื้นที่ส่วนกลางให้ลูกค้า และผู้มาใช้บริการได้ใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ โดยให้บริการในรูปแบบพื้นที่สาธารณะ (Public Space) ที่ใครก็สามารถเข้าไปได้ มีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย สามารถทำกิจกรรมที่อยากทำ นอกจากการช้อปปิ้ง ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่ต้องการตอบแทนคืนสังคมในรูปแบบหนึ่งที่โครงการตั้งใจ อาทิ การร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำจัดกิจกรรมที่เกิดประโยชน์กับสังคม การยกพื้นที่ให้นิสิตนักศึกษาได้แสดงฝีมือจัดแสดงธีสิส เป็นต้น   ปัจจุบันโครงการสามย่านมิตรทาวน์มีสัดส่วนของร้านค้า ภายใต้คอนเซ็ปต์การเป็น คลังอาหารและการเรียนรู้ ดังนี้ 1.The Eating Library (50%) พื้นที่สร้างประสบการณ์ทั้งศาสตร์ และศิลป์ในการรับประทานอาหาร นอกเหนือจากการรับประทานธรรมดาทั่วไป โดยคัดสรรอาหารที่หลากหลายตามความต้องการ 2.The Learning Library (25%) พื้นที่สำหรับเปิดกว้างสำหรับการเรียนรู้ และการเรียนเสริมทักษะที่จะเติมเต็มจินตนาการสานให้ครบทุกด้านของชีวิต 3.The Living Library (25%) พื้นที่รวบรวมสิ่งจำเป็นต่อไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยของคนเมือง ทั้งนี้ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์สามย่านมิตรทาวน์ยังคง กิจกรรม Endless Summer “หน้าร้อนสุดฟิน เช็คอินความสุข สนุกทุกองศา” เป็นกิจกรรมแรกของปี ท่ามกลางบรรยากาศการตกแต่งศูนย์ฯ ครั้งแรกที่ดึงซิกเนเจอร์ไฮไลท์ของศูนย์ฯ คือ อุโมงค์เชื่อมมิตรหรืออุโมงค์อวกาศที่หลายคนคุ้นเคย ให้กลายเป็นโลกใต้ท้องทะเลสุดอลังการเติมเต็มมิตรสายทำคอนเทนต์ทั้งถ่ายภาพ และวิดีโอคลิปที่ให้ความรู้สึกเสมือนเดินอยู่ในอควาเรี่ยมขนาดใหญ่       
ORIGIN NEXT LEVEL การเดินหน้าสู่ Top5 ผู้นำในทุกธุรกิจ

ORIGIN NEXT LEVEL การเดินหน้าสู่ Top5 ผู้นำในทุกธุรกิจ

เพียงระยะเวลา 10 กว่าปี บริษัทเล็ก ๆ อย่างบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเริ่มต้นธุรกิจด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาท ในปี 2552 ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดอสังหาริมทรัพย์ ติดอันดับ Top 10 ด้วยขนาดสินทรัพย์เมื่อสิ้นปี 2563 ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 33,693 ล้านบาท   มีมูลค่าโครงการที่พัฒนาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 125,278 ล้านบาท ถือเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการเติบโตเร็วมาก เมื่อเทียบกับบรรดารุ่นพี่ในวงการ ซึ่งหลายแห่ง มีอายุการดำเนินธุรกิจที่มากกว่า 10 ปี แต่ยังไม่สามารถสร้างขนาดองค์กร และพัฒนาโครงการได้มากเท่ากับออริจิ้นแห่งนี้   ความสำเร็จของ ออริจิ้น เกิดขึ้นจากฝีมือการบริหารงานของ “พีระพงศ์ จรูญเอก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่สามารถนำกลยุทธ์การบริหารธุรกิจต่าง ๆ มาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ ให้สามารถก้ามข้ามภาวะการแข่งขัน ปัจจัยลบ และความเสี่ยงทางธุรกิจต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างดี เห็นได้จากตัวเลขของปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ภาวะตลาดอสังหาฯ ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่หลายคนมองว่าเป็นผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุด นับตั้งแต่ดำเนินธุรกิจมาตลอดหลายปี แต่ออริจิ้นยังคงเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัท ที่สามารถสร้างผลงาน ทั้งด้านรายได้และกำไรเติบโต โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา ออริจิ้น สามารถทำรายได้รวม 11,114 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากกลุ่มโครงการคอนโดมิเนียม 7,100 ล้านบาท และบ้านแนวราบ 6,200 ล้านบาท  มียอดโอนรวม 15,086 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นยอดโอนจากโครงการร่วมทุน 5,216 ล้านบาท ขณะที่ปีที่ผ่านมามียอดขาย 25,774 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 120% โดยผลประกอบการปี 2563 มีกำไรสุทธิ 2,662 ล้านบาท วางเป้าทุกธุรกิจติด Top5 จากความสำเร็จในปีที่ผ่านมา ทำให้ ออริจิ้น ยังคงเดินหน้าลงทุนและพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อการก้าวสู่ความเป็นผู้นำตลาดอสังหาฯ ที่ไม่ใช่แค่ติดอันดับ Top10 แต่เป้าหมายคือการก้าวสู่ผู้นำ Top5 ในแต่ละกลุ่มธุรกิจของบริษัท ที่ปัจจุบันมีหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโด โรงแรม และธุรกิจบริการ ซึ่งปีนี้และในอนาคต ยังได้วางแผนขยายไปยังธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ต่อยอดและเชื่อมโยงเกื้อหนุนกัน เพื่อสร้างรายได้และทำกำไรกลับคืนมาในอนาคตอีกด้วย   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยว่า บริษัทใช้เวลาประมาณ 10 ปีก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดคอนโด ติดอันดับ Top 3 ขณะที่บ้านเดี่ยวได้ใช้เวลา 3 ปีในการเป็นผู้นำตลาด ซึ่งปีนี้เปิดโครงการมูลค่าประมาณ​ 10,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการก้าวสู่ผู้นำตลาด Top5 ในด้านการเปิดโครงการ และคาดว่าในระยะเวลา 2-3 ปีนับจากนี้ ออริจิ้นน่าจะเป็น Top5 ในด้านยอดขายและยอดโอนในกลุ่มธุรกิจบ้านจัดสรร เราทำ Business Expansion มันเกินกว่าคำว่า Diversify เราจะโฟกัสแต่ละธุรกิจ สร้างให้แต่ละผลิตภัณฑ์ติดอันดับ Top5 หรือ Top10  2 กลยุทธ์ “ORIGIN NEXT LEVEL” หลังจากปีที่ผ่านมา ออริจิ้น สามารถสร้างรายได้และกำไรเติบโตจนเป็นที่น่าพอใจ ในปี 2564 จึงได้วางนโยบายการดำเนินธุรกิจให้มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง  ซึ่งในปีนี้​ ออริจิ้น ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด “ORIGIN NEXT LEVEL” ด้วยการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าแบบครบวงจรในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยการนำความรู้ที่ได้รับตลอดปี 2563 มาใช้ภายใต้ 2 แกนหลัก ได้แก่ 1.Next Level of Business Expansion ขยายธุรกิจทั้งเชิงกว้างและเชิงลึกด้วยทำเลใหม่ (New Location) แบรนด์ใหม่ (New Brand) กลุ่มธุรกิจใหม่ (New Business) ความร่วมมือใหม่ (New Collaboration) เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายใหม่ (New Target Segmentation) 2.Next Level of Living Solutions การสร้างสรรค์ทั้งฟังก์ชั่นใหม่ (New Function) และบริการใหม่ (New Services) ในบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนยุค Now Normal ไปจนถึง Next Normal วันนี้เราไม่ได้มองตัวเองเป็นแค่ผู้พัฒนาที่อยู่อาศัย เรามองตัวเองสู่การเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีสินค้าและบริการต่อยอดไปได้อย่างต่อเนื่อง หรือ Beyond Property เพื่อตอบโจทย์คนทุกเจเนอเรชั่นตลอดช่วงชีวิตของเขา เพิ่ม 3 ธุรกิจใหม่จับทุกโอกาสทางการตลาด ปัจจุบัน ออริจิ้น มี 4 ธุรกิจหลักที่บริหารอยู่ ประกอบด้วย ธุรกิจคอนโด บ้านจัดสรร โรงแรม และธุรกิจบริการ ในปีนี้ เพื่อต่อยอดและสร้างระบบนิเวศ เชื่อมโยงกันทั้งหมด และสร้างรายได้เพิ่ม จึงได้ขยายไปยังธุรกิจใหม่อีก 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มธุรกิจบริการสุขภาพ (Healthcare) โดยในปีนี้ได้จัดตั้งบริษัท ออริจิ้น เฮลท์แคร์ จำกัด ซึ่ง ออริจิ้น ถือหุ้น 76% และพันธมิตรที่เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถือหุ้น 24% เพื่อดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม โดยมีแผนเปิดคลินิคเสริมความงาม ภายใต้แบรนด์ “Cheva Plus” สาขาเมอคิวรี่ พื้นที่ 200 ตารางเมตร โดยตั้งเป้าจะขยายครบ 10 สาขาภายในปี 2566 อีกทั้งยังมีแผนเปิดให้บริการศูนย์สุขภาพ 2 แห่ง ในทำเลรามอินทรา ขนาด 240 เตียง มูลค่าการลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งคาดจะเปิดให้บริการได้ในปี 2566 และทำเลบางนา คาดจะเปิดให้บริการปี 2565 รวมถึงยังขยายตลาดไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ กลุ่มธุรกิจเสริมความงาม กลุ่มศูนย์บริการสุขภาพ กลุ่มแพลทฟอร์มให้บริการสุขภาพออนไลน์และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือกับพันธมิตรด้านเฮลท์แคร์ต่าง ๆ เพื่อเสริมบริการ  อาทิ โรงพยาบาลสมิติเวช ที่เข้ามาเป็นพันธมิตรด้านโรงพยาบาลเสมือนจริง (Virtual Hospital) และมอบบัตร Origin Samitivej Club เข้ามาบริการตรวจสุขภาพ ให้คำปรึกษาด้านโภชนาการบำบัด วิทยาศาสตร์การกีฬา ในโครงการที่อยู่อาศัย หรือเป็น Hospital at Home อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคไม่ต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาล ขณะเดียวกัน ยังคงจับมือกับโรงพยาบาลใกล้เคียงแต่ละโครงการ (Local Hospital) เช่น โรงพยาบาลสินแพทย์ อำนวยความสะดวกอีกทางหนึ่งให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงมี Let’s Relax เข้ามาให้บริการสปาผ่อนคลายสุขภาพ   บริษัทยังได้จับมือกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบ สภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน และสวางคนิเวศ เพื่อดำเนินการ Senior Living Lab ศึกษาวิจัยสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุไทยในปัจจุบัน และยกระดับการออกแบบโครงการที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับคนกลุ่มดังกล่าว 2.กลุ่มธุรกิจศูนย์โลจิสติกส์ (Logistic Center) ดำเนินกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโลจิสติกส์ ภายใต้การร่วมทุนกับบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD คาดว่าจะเปิดเผยแผนธุรกิจร่วมกันได้ในวันที่ 21 เมษายน 2564 ซึ่งเบื้องต้นจะเริ่มก่อสร้างคลังสินค้าในอีก 1-2 เดือนจากนี้ บนทำเลบางนา กม. 22 ขนาด 62,000 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุน 1,000 ล้านบาท คาดจะเริ่มรับรู้รายได้ในช่วงกลางปี 2565 เป็นต้นไป 3.กลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Company หรือ AMC) นำรากฐานองค์ความรู้และความพร้อมในเครือบริษัท มาต่อยอดสู่การดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์อย่างเข้มแข็งและครบวงจร ร่วมกันบริหารทรัพย์สินรอการขาย (NPA) และสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ โควิด-19 โดยอาศัยความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้บริโภค การคัดกรองทรัพย์ การพัฒนาโครงการ การรีโนเวท การขาย การตลาด มาเพิ่มมิติในการดูแลผู้บริโภคและมิติการเติบโตสู่อีกระดับของเครือ คาดว่าจะเปิดเผยแผนธุรกิจและพันธมิตรได้เร็วๆ นี้ เปิดตัว 4 คอนโดแบรนด์ใหม่ ครบทุกเซ็กเมนต์ ในจำนวนโครงการคอนโดที่ได้วางแผนเปิดตัวในปีนี้ ออริจิ้น มีแผนเปิดโครงการแบรนด์ 4 แบรนด์ เพื่อขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ ให้ครอบคลุมทุกเจเนอเรชั่น  ได้แก่ 1.ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ (Origin Plug & Play) เจาะตลาดกลุ่ม Gen Y และ Gen Z โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำสตาร์ทอัพของตัวเอง โดยจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับคนกลุ่มดังกล่าว 2.บริกซ์ตัน (Brixton) แบรนด์ราคาเข้าถึงง่าย สำหรับตลาดเฉพาะกลุ่ม (Affordable Niche) คอนเซ็ปต์แต่ละโครงการ อาจเจาะลูกค้าแตกต่างกันไป เช่น เจาะกลุ่มนักศึกษา-คนทำงานใกล้มหาวิทยาลัย (Campus) เจาะกลุ่มคนรักสัตว์ (Pet Lover) 3.แฮมป์ตัน (Hampton) แบรนด์คอนโดเจาะตลาดนักลงทุนโดยเฉพาะ โดยมีสิทธิพิเศษและการันตีผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อ นำร่องในศรีราชาและระยอง 4.ออริจินอล (Original) คอนโดสำหรับเจาะตลาดผู้สูงอายุ (Silver Age) ขณะเดียวกัน บริษัทยังคงเดินหน้าในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ โดยในปีนี้จะพัฒนาโครงการวัน ออริจิ้น สนามเป้า (One Origin Sanampao) เป็นโครงการอาคารสำนักงาน ขนาดพื้นที่กว่า 56,100 ตารางเมตร ติด BTS สนามเป้า ซึ่งพร้อมตอบโจทย์ความต้องการอาคารสำนักงานในฝั่งกรุงเทพฯ ตอนเหนือที่ยังคงขยายตัวได้ดี เชื่อมั่นว่าสินค้าและบริการของเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จะตอบโจทย์คนทุกเจเนอเรชั่นในทุกช่วงเวลาของการใช้ชีวิต สรุปไฮไลท์ทางการเงิน ออริจิ้น ปี 2564 -เปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ มูลค่า 10,400 ล้านบาท และคอนโด 9,600 ล้านบาท -วางเป้าหมายสร้างยอดโอน 12,800 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านแนวราบ 4,000 ล้านบาท และคอนโด 8,800 ล้านบาท -เป้าพรีเซล 29,000 ล้านบาท -เป้าหมายรายได้ 14,000 ล้านบาท เติบโต 26% จากปี 2563 -ยอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่า 35,834 ล้านบาท รับรู้ต่อเนื่องถึงปี 2567 รับรู้ในปีนี้ 14,410 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงร่วมทุนมูลค่า 5,000 ล้านบาท และเฉพาะของออริจิ้น 9,410 ล้านบาท ​ -วางงบลงทุนรวม 10,000 ล้านบาท สำหรับการขยายธุรกิจอสังหาฯ เพื่อขาย 8,000 ล้านบาท และขยายธุรกิจใหม่ ๆ อีก 2,000 ล้านบาท  
โฮมโปร เจอพิษกระทบโควิด-19 ทำรายได้-กำไรลดตามคาด

โฮมโปร เจอพิษกระทบโควิด-19 ทำรายได้-กำไรลดตามคาด

โฮมโปร เผยผลงานปี 63 รายได้และกำไรลด หลังโดนผล​กระทบของ​โควิด​-19​ ทำให้ต้องปิดสาขาชั่วคราว กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง แม้ยอดขายช่องทางออนไลน์เติบโต​ แต่ยังคงเดินหน้าขยายตลาดกลุ่ม CLMV ล่าสุด เข้าลงทุนในบริษัท Home Product Center Vietnam Company Limited ลุยธุรกิจค้าปลีกในเวียดนาม     นายคุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย ประจำปี 2563 ว่า  มีรายได้จำนวน 61,748.99 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 8.35% และมีกำไรสุทธิ จำนวน  5,154.70 ล้านบาท ลดลง 16.54% จากปีก่อนหน้า  ปัจจัยหลักที่ทำให้ผลการดำเนินงานที่ลดลง เป็นเพราะ​การปิดสาขาในช่วงไตรมาสที่ 2  และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง แม้ยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตขึ้น แต่ยังไม่สามารถชดเชยผลกระทบด้านผลประกอบการของสาขาที่ปิดไปได้ โดยรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งเป็นรายได้ที่ประกอบไปด้วยรายได้จากการขายสินค้า และรายได้จากการให้บริการลูกค้า (Home Service) รวมจำนวน 58,346.77 ล้านบาท ลดลง 4,699.46 ล้านบาท หรือ 7.45% ซึ่งเป็นผลมาจากยอดขายสาขาเดิมที่ลดลงของธุรกิจโฮมโปร เมกา โฮม และ โฮมโปรที่ประเทศมาเลเซีย และมีสาเหตุหลักมาจากการปิดสาขาชั่วคราวในประเทศไทยและมาเลเซีย   ด้านรายได้ค่าเช่า จำนวน 1,527.16 ล้านบาท ลดลง 679.92 ล้านบาท หรือ 30.81% เป็นผลมาจากการปิดร้านค้าเช่าที่อยู่ในพื้นที่สาขาของโฮมโปรและศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ และการลดค่าเช่าในพื้นที่สาขาของโฮมโปรและศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ รวมถึงการยกเลิกการจัดกิจกรรม HomePro Expo ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563   บริษัทยังมีรายได้อื่น จำนวน 1,875.06 ล้านบาท ลดลง 245.35 ล้านบาท หรือ 11.57% โดยเป็นผลมาจากการลดลงของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับคู่ค้าในสาขา การยกเลิกการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในงาน HomePro Expo ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563  บริษัทมีกำไรขั้นต้นจากการขายสินค้าและการให้บริการลูกค้า  รวมจำนวน 14,748.51 ล้านบาท ลดลง 1,472.80 ล้านบาท หรือ 9.08% เมื่อเทียบกับปีก่อน สำหรับอัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขายลดลงจาก 25.73% ในปีก่อน มาอยู่ที่ 25.28% ทั้งนี้ โฮมโปร มีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จำนวน 10,964.70 ล้านบาท ลดลง 980.16 ล้านบาท หรือ 8.21% เมื่อเทียบกับปีก่อน สำหรับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อยอดขายมีการปรับลดลงเล็กน้อยจาก 18.95% ในปีก่อน มาอยู่ที่ 18.79% สาเหตุหลักมาจากการยกเลิกการจัดกิจกรรม HomePro Expo รวมถึงการลดลงของค่าใช้จ่ายผันแปรและค่าใช้จ่ายคงที่   ในปี 2563 บริษัทฯ ได้เปิดสาขาใหม่ 2 สาขาที่ รังสิตคลอง 4 และสุขสวัสดิ์ ซึ่งทั้ง 2 สาขาอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพ และยังมีกำลังซื้อ โดย ณ สิ้นปี 2563 บริษัทฯ จำนวนสาขาคือ โฮมโปร 86 สาขา โฮมโปรเอส 9 สาขา เมกาโฮม 14 สาขา และโฮมโปรในประเทศมาเลเซียอีก 6 สาขา   นอกจากนี้บริษัทยังได้มีการแสวงหาโอกาสต่าง ๆ ในธุรกิจเพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติการเข้าลงทุนในบริษัท Home Product Center Vietnam Company Limited เพื่อดำเนินธุรกิจค้าปลีกในประเทศเวียดนาม อีกด้วย   นายคุณวุฒิ กล่าวต่อไปอีกว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ซึ่งเกิดจากสถานการณ์ ไวรัสโคโรนา 2019  โฮมโปร ได้ให้ความร่วมมือและดำเนินการสอดคล้องกับมาตรการและคำสั่งของหน่วยงานรัฐอย่างเต็มที่ โดยมีการปิดบางสาขาชั่วคราวในส่วนของโฮมโปรและเมกาโฮม ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 ถึง 16 พฤษภาคม 2563 และกลับมาเปิดครบทุกสาขาในวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 ตามมาตรการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แต่ยังคงจำกัดเวลาทำการ โดยภาพรวมในปีนี้บริษัทสามารถรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงจากการเกิดชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ที่ยังมีความต้องการจับจ่ายใช้สอย และรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างทันท่วงที ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งได้มีการเตรียมพร้อมและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงระบบขนส่งสินค้าและบริการภายในวันที่มีการสั่งซื้อ (Same Day Delivery) ยกระดับความรวดเร็วในการจัดส่ง โดยลูกค้าสามารถเลือกรับสินค้าที่สาขา (Click and collect) ได้เช่นกัน   ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความสะดวกยิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้าท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ทางบริษัทได้เปิดให้บริการ Shop4U ที่เสมือนมีผู้ช่วยในการเลือกซื้อสินค้าและบริการในช่วงที่ลูกค้าไม่สามารถออกมาซื้อที่สาขาได้ โดยนอกเหนือจากเว็บไซต์ของบริษัท ทางบริษัทได้มีช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านแอพพลิเคชั่น HomePro Application และ Home Service Application เพื่อตอบโจทย์ความต้องการบริการที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมบ้านและที่อยู่อาศัย  
เฟรเซอร์ส ชูกลยุทธ์ Core & Flex บริการยืดหยุ่นมัดใจผู้เช่าพื้นที่ออฟฟิศ

เฟรเซอร์ส ชูกลยุทธ์ Core & Flex บริการยืดหยุ่นมัดใจผู้เช่าพื้นที่ออฟฟิศ

เฟรเซอร์ส ปรับกลยุทธ์ใช้ Core & Flex บริหารธุรกิจสำนักงานให้เช่า มัดใจลูกค้า หลังหลายธุรกิจโดนพิษโควิด-19 ทุบเศรษฐกิจ ทำให้ไปต่อไม่ไหว พร้อมเตรียมตัวรับตลาดแข่งขันรุนแรง ดีมานด์ลด ซัพพลายพุ่ง อีก 3 ปีทะลุ 6.5 ล้านตารางเมตร   การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน อาจจะสะดวกสบายมากขึ้น เพราะมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาอำนวยความสะดวกสบาย แต่การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันก็ไม่ได้ง่าย หากจะทำให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เพราะนอกจากการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งเกิดจากปัจจุบันการเข้ามาดำเนินธุรกิจไม่ได้ยุ่งยาก และธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้มีคู่แข่งในแต่ละธุรกิจจำนวนมากมาย   นอกจากการแข่งขันที่รุนแรง  การดำเนินธุรกิจยุคปัจจุบัน ยังต้องเผชิญกับปัจจัยภายนอกจำนวนมาก ที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ สังคม หรือปัจจัยทางการเมือง หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และยังไม่นับรวมกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้เสมอ อย่างเช่น การแพร่ระบาดของเชื้อโรค อย่างไวรัสโควิด-19 ในยุคปัจจุบัน ก่อนหน้านี้ ธุรกิจต่าง ๆ ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เข้ามาดิสรับธุรกิจซึ่งส่งผลกระทบให้ผู้เล่นบางราย ที่ปรับตัวรับมือไม่ทันไม่สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้ ต้องหยุดดำเนินธุรกิจล้มเลิกกิจการไปก็เห็นเกิดขึ้นจำนวนมาก และปัจจุบันก็ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ซึ่งทำให้หลายธุรกิจไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และหลายธุรกิจต้องปรับตัวรับมือ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานและดำเนินธุรกิจ ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) ซึ่งไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป   เมื่อรูปแบบการใช้ชีวิตและการดำเนินธุรกิจไม่เหมือนเดิม แน่นอนว่าย่อมทำให้หลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ต้องได้รับผลกระทบและต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจตามไปด้วย อย่างธุรกิจการให้บริการพื้นที่สำนักงานให้เช่า เพราะมีประเด็นที่พูดถึงกันอย่างมาก ว่าผลกระสบสำคัญของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เกิดการล็อกดาวน์ประเทศ และการต้องมีมาตรการเว้นระยะทางสังคม (Social Distancing) ทำให้การใช้พื้นที่ในสำนักงานอาจจะต้องปรับเปลี่ยน เพื่อเข้าสู่มาตรการเพื่อความปลอดภัย จำนวนพนักงานที่ต้องมาออฟฟิศอาจจะต้องลดน้อยลง และให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน (Work from Home)    ประเด็นต่าง ๆ ที่มีการพูดถึงดังกล่าว รวมถึงบางธุรกิจที่ถูกผลกระทบจนต้องล้มเลิกกิจการ ส่วนบางธุรกิจที่ยังสามารถไปต่อได้ แต่ต้องรัดเข็มขัดบริหารงบประมาณ และต้นทุนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจให้เช่าพื้นที่สำนักงาน ต้องเผชิญและหาแนวทางการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะนับวันความต้องการ (Demand) การใช้พื้นที่ก็ลดน้อยลง ขณะที่ปริมาณของพื้นที่สำนักงาน (Supply) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง   มีการคาดการกันว่าภายในปี 2566 จะมีพื้นที่สำนักงานให้เช่าเพิ่มขึ้นถึง 6.5 ตารางเมตร หากเป็นไปตามที่ดีเวลอปเปอร์ประกาศแผนการพัฒนาเอาไว้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม... มองตลาดออฟฟิศให้เช่า Q2 หลัง COVID-19 จะไปทางไหน? ) จากช่วงปีที่ผ่านมามีพื้นที่สำนักงานให้เช่ารวมกว่า 5.33 ล้านตารางเมตร  แต่ฝั่งความต้องการในช่วงปีที่ผ่านมา ความต้องการเช่าพื้นที่สำนักงานมีเพียง 50,000 ตารางเมตร ลดลงอย่างมากจากปกติจะมีความต้องการเช่าพื้นที่ใหม่ปีละ 200,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นภาพสะท้อนผลกระทบอย่างชัดเจน ต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง บรรดาธุรกิจหลายแห่งต้องปิดกิจการ และหลายแห่งต้องปรับลดขนาดพื้นที่การใช้งานลง รวมถึงย้ายไปใช้พื้นที่ส่วนอื่น ๆ ที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ เช่นบางบริษัทมีโรงงานผลิตสินค้า ก็อาจจะย้ายสำนักงานส่วนบริหารไปยังพื้นที่ในโรงงานแทน ชูกลยุทธ์ Core & Flex มัดใจผู้เช่าพื้นที่ออฟฟิศ นายวิทวัส คุตตะเทพ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายโครงการเชิงพาณิชยกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า  ในปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยและทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบแรก และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กระทบต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมในวงกว้าง สำหรับตลาดอาคารสำนักงานของไทย ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ตลอดจนเทรนด์ของการทำงานจากที่บ้าน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการเช่าหรือขยายพื้นที่สำนักงานในปี 2563 ลดลงกว่า 50% ดังนั้นผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานจึงจำเป็นต้องประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถรับมือและปรับตัวได้ทันท่วงที   สำหรับปี 2564 บริษัทฯ คาดการณ์ว่าความต้องการเช่าหรือขยายพื้นที่สำนักงานจะฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ความต้องการพื้นที่สำนักงานลดลงต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี เนื่องจากภาคธุรกิจสามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์หลังเผชิญหน้าโควิด-19 รอบแรกเมื่อปีก่อน โดยกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี ได้แก่ กลุ่มธุรกิจดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ การเงิน และธุรกิจสุขภาพ   เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) ในฐานะผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานเกรด A ในย่านใจกลางธุรกิจ มีพื้นที่สำนักงานที่อยู่ภายใต้การดูแล รวมทั้งสิ้น 5 อาคาร ได้แก่ อาคารมิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ อาคารโกลเด้นแลนด์ และภายใต้ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT) ได้แก่ อาคารสาทรสแควร์ และอาคารปาร์คเวนเชอร์  พื้นที่รวมกว่า 209,000 ตารางเมตร ได้มองเห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมกับเตรียมแผนรับมือรองรับกับภาวการแข่งขัน ด้วยการให้บริการพื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่น (Flex) ซึ่งกำลังเป็นที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ   เทรนด์พื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่น (Flex) เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา  ซึ่งผู้ให้บริการจะนำเสนอพื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่นควบคู่ไปกับพื้นที่สำนักงานแบบมาตรฐาน (Core) เพื่อความเป็นส่วนตัว สร้างเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละองค์กร ​​ พื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่นจะให้บริการพื้นที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น “โคเวิร์คกิ้งสเปซ (Co-working Space)” สำหรับกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก สตาร์ทอัพ ฟรีแลนซ์ ที่ต้องการพื้นที่เพื่อสร้างเน็ตเวิร์คทางธุรกิจ โดยจะมีความยืดหยุ่นสูง ทั้งในเรื่องพื้นที่ และสัญญาเช่า เพราะไม่ต้องเช่าในระยะยาวอย่างเช่นในปัจจุบันที่กำหนดไว้นานถึง 3 ปี สามารถเช่าได้ตั้งแต่ 1 เดือน และการคิดค่าบริการต่อจำนวนพนักงาน จากเดิมคิดตามขนาดพื้นที่ โดยในปี 2564 นี้ บริษัทได้นำเอาพื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่นมาให้บริการควบคู่กับรูปแบบมาตรฐาน “Core & Flex” มาผสานกันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าที่ปรับเปลี่ยนไปในปัจจุบัน โดยมีพื้นที่หลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานตามความต้องการ ซึ่งบริษัทได้วางแผนพร้อมให้บริการภายใน 5 โครงการเชิงพาณิชย์เกรด A ใจกลางกรุงเทพฯ ภายในปีนี้ โดยคาดว่าด้วยบริการใหม่นี้ จะทำช่วยให้บริษัทรักษาอัตราผู้เช่าที่ 90% และยังคงอัตราค่าเช่าเฉลี่ย 900 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน รูปแบบการทำงานได้เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นผลมาจากนโยบายการทำงานที่บ้าน  และการทำงานจากที่ไหนก็ได้   ผู้เช่าจึงมองหาความคล่องตัวในการใช้พื้นที่ และต้องการทั้งพื้นที่สำนักงานแบบมาตรฐาน และพื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่นพร้อมกัน รูปแบบสำนักงานแบบ Core & Flex จึงช่วยเติมเต็มความต้องการที่เปลี่ยนไปนี้  นายวิทวัส กล่าวอีกว่า ปัจจุบันลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่ ยังไม่ได้ขอลดพื้นที่การใช้งาน หรือขอยกเลิกสัญญา แต่มีบางบริษัทที่อาจจะไม่ต่อสัญญา จาก 2 เหตุผล คือ ต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ แต่บริษัทไม่มีที่ว่างรองรับ และไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้  ซึ่งปกติบริษัทมีลูกค้าสัดส่วนประมาณ 20-30% ในการหมุนเวียนไม่ต่อสัญญา สำหรับเหตุผลสำคัญที่บริษัทนำเอารูปแบบการบริการ Core & Flex มาใช้ เพื่อต้องการรักษาฐานลูกค้าไว้ รวมถึงสร้างความหลากหลายในการให้บริการ รองรับกับภาวการแข่งขันทั้งในปัจจุบันจากความต้องการเช่าพื้นที่ลดลง แต่มีปริมาณพื้นที่จำนวนมาก รวมถึงการแข่งขันที่จะรุนแรงในอนาคตที่จะมีพื้นที่สำนักงานให้เช่าเข้ามาสู่ตลาดอีกจำนวนมาก   ดีมานด์ออฟฟิศเริ่มปรับตัว มีความต้องการพื้นที่ที่เป็น flex  เพราะลูกค้าต้องการความยืดหยุ่น และลูกค้าไม่ต้องลงทุนในการปรับแต่งพื้นที่ ซึ่งหากลงทุนเองต้องเช่าใช้พื้นที่นานถึง 6 ปีกว่าจะคุ้มทุน ในส่วน Flex ลูกค้าสามารถใช้ในพื้นที่อาคารเตรียมไว้ให้ได้ หากธุรกิจขยายตัวต้องการเพิ่มพื้นที่ในอนาคตก็สามารถทำได้เช่นกัน ​​   ปัจจุบันบริษัทมีพื้นที่​ FIex ที่อาคารสามย่านมิตรทาวน์ในสัดส่วน 30% ในอนาคตจะขยายไปยังอีก 4 อาคารภายใต้การบริหารงานของบริษัท โดยอาจจะร่วมกับพันธมิตรให้เป็นผู้ลงทุน หรือบริษัทอาจจะลงทุนพัฒนาพื้นที่ Flex เองก็ได้ ​สำหรับผลการดำเนินงานของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียลปีที่ผ่านมามีรายได้ 1,000 ล้นบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีรายได้ ​800 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนรายได้จากการให้บริการพื้นที่สำนักงาน ​70 % ​​​
AWC โดนโควิด-19ทุบธุรกิจ ปี 63 ขาดทุน 1,881 ล้าน

AWC โดนโควิด-19ทุบธุรกิจ ปี 63 ขาดทุน 1,881 ล้าน

AWC แจงผลงานปี 63 ขาดทุน 1,881 ล้าน หลังโดน​ผลกระทบจากโควิด-19 แม้ไตรมาสสุดท้ายเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น ทำรายได้โต 24.6% แต่โดนโควิดระรอกใหม่ สกัดรายได้ทั้งกลุ่มโรงแรมและรีเทล นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2563 ผ่านมาว่าประสบภาวะขาดุทน 1,881 ล้านบาท ขณะที่มีรายจากการดำเนินงานในปี 2563 รวม 6,133 ล้านบาท และรายได้เฉพาะไตรมาส 4 ปี 2563 มีรายได้รวม 1,578 ล้านบาท ซึ่งปรับตัวสูงขึ้น 24.60% จาก​ไตรมาส 3 ปี 2563 ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2563 เราเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในระยะยาว AWC จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างปรากฏการณ์โดยการเปิดโครงการใหม่ระดับแลนด์มาร์ค เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย โดยได้ดำเนินการตามแผนงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด   โดยที่ผ่านมา AWC ดำเนินการได้บรรลุตามเป้าหมายของแผนธุรกิจที่วางไว้ ด้วยการเข้าซื้อทรัพย์สินกลุ่ม 3 และการเปิดโครงการ โรงแรมมีเลีย เกาะสมุย โรงแรมบันยันทรีกระบี่ เรือสิริมหรรณพ และลาซาล อเวนิว เฟส2 เป็นต้น  การดำเนินการดังกล่าวได้สร้างความมั่นคงให้กับพอร์ตทรัพย์สินของ AWC ทำให้ ณ สิ้นปี 2563 AWC มีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นเป็น 125,696 ล้านบาท เติบโต 26% จากปี 2562 ที่มีทรัพย์สินอยู่ 99,549 ล้านบาท   นอกจากนี้ บริษัทยังได้ทำการปรับปรุงพื้นที่โครงการต่าง ๆ ตามแผนที่วางไว้ อาทิ โครงการตะวันนา บางกะปิ2 โรงแรมคอร์ทยาร์ด บาย แมริออท ภูเก็ตทาวน์ แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ ขณะเดียวกัน บริษัทได้ลดค่าเช่าให้กับผู้ประกอบการร้านค้าเช่า ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า (Retail) เพื่อให้สามารถผ่านวิกฤตไปได้ด้วยกันอย่างดีที่สุด ส่งผลให้บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ ไตรมาส 4/2563 ที่ 492 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 20.6% จากไตรมาส 3/2563   อย่างไรก็ดีบริษัทสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคง เนื่องจากการต่อยอดในการดำเนินกลยุทธ์ในการลงทุนที่หลากหลายและสมดุลเชิงธุรกิจ (Balanced and Diversified Portfolio) ทำให้ธุรกิจยังคงเดินหน้า เติบโตได้อย่างยั่งยืน โควิดระรอกใหม่เบรกรายได้โรงแรม-รีเทล สำหรับกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ของบริษัท ยังคงได้รับผลกระทบจากภาพรวมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับรายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัท แต่จากการเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวการเดินทาง Workation Thailand ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน การวางแผนโครงการ AWC INFINITE LIFESTYLE: INFINITE POINT OF HAPPINESS ตอบรับนโยบายการท่องเที่ยวของภาครัฐ และส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยให้พลิกฟื้นและเดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้รายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จาก 470 ล้านบาทในไตรมาส 3/2563 เป็น 773 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2563 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 64.6% ในขณะที่รายได้ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail and Commercial) ได้ปรับตัวสูงขึ้นจาก 836 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2563 เป็น 872 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2563 หรือเพิ่มขึ้น 4.3% เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้า (Retail) ที่มีจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการ (Traffic) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ คาดว่าผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ รวมถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ จะปรับตัวสูงขึ้นกว่าตัวเลขในปัจจุบัน บริษัทยังคงเดินหน้าต่อยอดแผนพัฒนาองค์กร (Corporate Transformation) ควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต (Cost Control and Efficiency Initiatives) โดยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานได้ลดลงจาก 92.8% ในไตรมาส 3/2563 เป็น 78.6% ในไตรมาส 4/2563 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัทได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเดินหน้าในส่วนของมาตรการบริหารต้นทุนระดับองค์กร ในการตัดลดค่าใช้จ่ายในหลายด้าน เดินหน้าธุรกิจ “ดีกว่า” ใน 3 ด้าน นางวัลลภา กล่าวถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2564 นี้ ว่า ยังคงดำเนินธุรกิจในพันธกิจ “การสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” (Building A Better Future) ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในโลกที่เดินหน้าด้วยมาตรฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่พฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการดำเนินธุรกิจให้ “ดีกว่า” ใน 3 ด้าน คือ 1.BETTER PEOPLE สร้างความมั่นใจด้านสุขอนามัยความปลอดภัยเต็มรูปแบบในทุกโครงการของ AWC 2.BETTER LIFESTYLE ใช้ความโดดเด่นของพอร์ทโฟลิโอที่หลากหลายในการตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบ New Normal ผ่านบริการรูปแบบใหม่ๆ 3.BETTER ECONOMY เดินหน้าพัฒนาธุรกิจตามแผนการ ทั้งการพัฒนาโครงการคุณภาพใหม่ๆ รวมทั้งการปรับปรุงโครงการเดิมให้เป็นจุดหมายปลายทางหลักด้านการท่องเที่ยว สร้างความมั่นใจ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยสามารถกลับมาเป็นปกติได้โดยเร็วและเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อไป    
ความเชื่อมั่นค้าปลีกไทยดิ่งหนักโควิด-19 ทำกำลังซื้อหาย 25%

ความเชื่อมั่นค้าปลีกไทยดิ่งหนักโควิด-19 ทำกำลังซื้อหาย 25%

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ชี้ “ดัชนีความเชื่อมั่นค้าปลีก” เดือนมกรา 64 ดิ่งหนัก กระทบทุกพื้นที่ ทุกประเภทร้านค้า แต่กลุ่มร้านวัสดุก่อสร้างรับอานิสงค์ work from home คนแต่งบ้านเพิ่ม  ผู้ประกอบการแนะรัฐเเร่งคลอดมาตรการเยียวยากระตุ้นมู้ดจับจ่าย   นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า จากข้อมูลผลของการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบค้าปลีก (Retailer Sentiment Index: RSI) เดือนมกราคม 2564 (รอบการสำรวจข้อมูลระหว่างวันที่ 19-26 มกราคม 2564) โดยสมาคมผู้ค้าปลีกไทยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีการสำรวจเป็นรายเดือน พบว่า  ปรับลดลงต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วประเทศเพิ่มขึ้น แม้จะเริ่มมีข่าวดีด้านวัคซีน แต่ยังคงต้องใช้เวลาในการวัดผลประสิทธิภาพการรักษา ยกเว้นร้านค้าวัสดุก่อสร้างที่มีปัจจัยหนุนจากการที่คนใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้น พร้อมเสนอรัฐบาลเร่งเครื่องปล่อยมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ กระตุ้นการจับจ่ายภายในประเทศอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมมากขึ้น เชื่อว่าความมั่นใจจะค่อยๆ ฟื้นตัวในระยะต่อไป ผู้ประกอบการหวังอีก3เดือนตลาดฟื้น ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก เดือนมกราคม 2564 ลดลงทันทีอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม และเป็นการปรับลดลง จากความอ่อนไหวจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19ระลอกใหม่ แม้ภาครัฐจะใช้มาตรการเข้มข้นเพียง 28 จังหวัด ดัชนีความเชื่อมั่นก็ยังคงปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับดัชนีความเชื่อมั่นเมื่อเดือนเมษายน 2563 จากครั้งที่เกิดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกแรก ที่ภาครัฐมีมาตรการ Lock Down ทั้งประเทศ   อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ มองว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น รวมทั้งหวังว่าภาครัฐน่าจะมีมาตรการเยียวยาและกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นน่าจะมีทิศทางเดียวกับดัชนีเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน 2563 ทางด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่อยอดขายเดิมรายภูมิภาค ปรับลดลงจากเดือนธันวาคมในทุกภูมิภาค สะท้อนถึงสภาวะความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 อย่างชัดเจน โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งได้รับผลกระทบจาก super spreader ที่ตลาดกุ้งสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพ และปริมณฑล ที่มีอาณาเขตต่อเนื่องจากจังหวัดสมุทรสาคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มการบริโภคที่ขยายตัวได้ปานกลาง เนื่องจากประชากรส่วนหนึ่งเคลื่อนย้ายจากอุตสาหกรรมสู่ภูมิลำเนา ผสานกับแรงหนุนจากมาตรการของภาครัฐในการสนับสนุนสภาพคล่องและการใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยประคับประคองการบริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ   ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการ มองว่า แนวโน้มในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคเช่นกัน เนื่องจากมั่นใจว่าภาครัฐมีบทเรียนจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกเมื่อไตรมาสที่สอง 2563 และคาดหวังว่าคงต้องมีมาตรการเยียวยาและกระตุ้นการใช้จ่ายจากภาครัฐเช่นที่ผ่านมา ร้านวัสดุได้อานิสงค์ WFH ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ จำแนกตามประเภทร้านค้าปลีกเปรียบเทียบระหว่างเดือนมกราคมและเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกประเภทของร้านค้าปลีกลดลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะร้านค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกร้านอาหาร ซึ่งได้รับผลกระทบของมาตรการภาครัฐที่ประกาศปิดศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารในเวลา 21.00 น.   อย่างไรก็ตาม ผลจากการใช้มาตรการการทำงานจากบ้าน (WFH) ทำให้ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ซ่อมบำรุง เฟอร์นิเจอร์ กลับมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นสวนทางกลับดัชนีความเชื่อมั่นร้านค้าปลีกอื่นๆ   สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการประเภท ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ในเดือนมกราคม มีความเชื่อมั่นดีขึ้นสวนทางกับทิศทางของดัชนีความเชื่อมั่นร้านค้าประเภทอื่นๆ ที่ลดลงอย่างรุนแรง สะท้อนได้ว่าร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการปรับวิถี New Normal ทำงานจากที่บ้าน (WFH) ทำให้มีความนิยมในการปรับภูมิทัศน์ภายในที่อยู่อาศัย ประกอบกับช่วงจัดซื้อจัดจ้างงบประมาณก่อสร้างภาครัฐ และวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างมีการปรับราคาที่สูงขึ้น อาทิ เหล็ก ปูนซีเมนต์ ไม้อัดต่างๆ จึงทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นในธุรกิจร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ จึงดีกว่ากลุ่มอื่นๆ ห้าง-ซูเปอร์ ขาดความเชื่อมั่น ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า มีความวิตกต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างมาก สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในเดือนมกราคม 2564 ที่ลดลงอย่างทันที ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางระดับที่ 50 หรือลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งอย่างชัดเจน ในขณะที่ในเดือนธันวาคม 2563 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยกลางระดับที่ 50 สำหรับแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ายังคงมีความเชื่อมั่นที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยกลาง สะท้อนว่าผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ามีความมั่นใจว่าภาครัฐต้องมีมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วง 3 เดือนข้างหน้า   สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ร้านค้าปลีกประเภท ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต และ ร้านสะดวกซื้อ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนมกราคม ลดลงมากและรวดเร็ว จากที่ดัชนีความเชื่อมั่นเดือนธันวาคมยังอยู่เหนือระดับค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นการจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัวลงอย่างมาก เมื่อเทียบดัชนีประเภทร้านค้าทั้งสามประเภท ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการค้าปลีกไฮเปอร์มาร์เก็ต รู้สึกวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มากกว่าผู้ประกอบการร้านค้าสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ต   อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตกลับมีความเชื่อมั่นที่สูงขึ้น สูงกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อมาตรการภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจใน 3 เดือนข้างหน้า แต่ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนของผู้ประกอบการร้านค้าสะดวกซื้อเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเล็กน้อย แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 อยู่มาก สะท้อนถึงผู้ประกอบการร้านค้าสะดวกซื้อไม่มีความมั่นใจในมาตรการภาครัฐที่ผ่านมา อาทิเช่น โครงการคนละครึ่ง ซึ่งร้านค้าสะดวกซื้อไม่ได้รับประโยชน์เลย   ผลจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ประเภทร้านอาหาร ภัตตาคาร และเครื่องดื่ม มีความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างมีนัยยะชัดเจน มากกว่าร้านค้าประเภทอื่นๆ และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 ค่อนข้างมาก และเมื่อเทียบกับความเชื่อมั่นในเดือนธันวาคม 2563 ก็ยังลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นเพราะร้านอาหารมักเป็นธุรกิจที่อ่อนไหวต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และอาจได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดเวลาการให้บริการและจำนวนการให้บริการแต่ละรอบที่ลดลงจากมาตรการเว้นระยะห่าง Social Distancing   อีกทั้ง ผู้ประกอบร้านอาหารและเครื่องดื่มที่กรอกแบบสอบถามเป็นการบริหารแบบเชนสโตร์ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้ปริมาณการสัญจรยังอยู่ระดับที่ลดต่ำลงมาก ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นผู้ประกอบการร้านอาหารภัตตาคาร เครื่องดื่ม ในอีก 3 เดือนข้างหน้าก็ดีขึ้นกว่าเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ภาครัฐน่าจะควบคุมด้วยมาตรการที่เข้มข้นได้ดี   สมาคมฯ คาดการว่า การฟื้นตัวในระยะข้างหน้าจะมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทธุรกิจค้าปลีก ที่สำคัญ หากการระบาดของโควิด-19 กินระยะเวลายาวนานขึ้น ความแตกต่างของการฟื้นตัวนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น 7 มุมมองผู้ประกอบการ จากผลกระทบโควิด-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบทำให้บรรดาร้านค้าประเภทต่าง ๆ ต้องปิดตัวลงในหลายพื้นที่ หรือแม้แต่พื้นที่ที่ไม่ได้ปิดตัวลง แต่มาตรการและการรณรงค์ให้เว้นระยะห่างทางสังคม ก็ส่งผลให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอยน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดผลกระทบต่อร้านค้าประเภทต่าง ๆ ​ซึ่งผู้ประกอบการได้มีมุมมองและประเด็นสำคัญที่นำเสนอ เพื่อให้ภาครัฐหามาตรการออกมากระตุ้นตลาดโดยเร็วที่สุด ดังนี้   1.ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบด้านยอดขาย ที่ลดลง 10-30%   2.ผู้ประกอบการกล่าวว่า ด้วยยอดขายที่หายไปจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกเมื่อต้นปีที่แล้วจนมาระลอกใหม่เมื่อต้นปีนี้ สภาพคล่องที่เหลืออยู่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อีกไม่เกิน 6 เดือน หากไม่มีมาตรการเยียวยาและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตรงเป้า   3.ผู้ประกอบการกว่า 80% ประเมินว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงมากว่า 25% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม ปี 2563   4.หากเปรียบเทียบยอดขายจากมาตรการ "ช้อปดีมีคืน" เมื่อช่วงสิ้นปี 2563 (วงเงิน 30,000 บาท) เมื่อเทียบกับมาตรการช้อปช่วยชาติ (วงเงิน 15,000 บาท) ในปี 2561-2562 ผู้ประกอบการ 55% ตอบว่า มียอดขายเท่าเดิมและน้อยกว่าเดิม ขณะที่ผู้ประกอบการ 43% ตอบว่า ยอดขายเพิ่มขึ้นไม่ถึง 25% และมีเพียง 2% ที่ตอบว่า ยอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 25%   5.ผู้ประกอบการกว่า 90% อยากให้ภาครัฐเปิดโอกาสให้เข้าร่วมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน อาทิ โครงการคนละครึ่ง   6.ผู้ประกอบการเสนอแนะให้ภาครัฐช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่องอย่างเร่งด่วน ด้วยมาตรการภาษีลดภาระค่าใช้จ่าย และ สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) แก่ผู้ประกอบการโดยเร็ว เนื่องจากด้วยสภาพคล่องที่เหลืออยู่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้ไม่เกิน 6 เดือน   7.ผู้ประกอบการอยากให้ภาครัฐประกาศการจ้างงานเป็นรายชั่วโมง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริการต่อผู้บริโภคที่มาเป็นช่วงเวลา โดยให้ใช้กับธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหาร เป็นการเฉพาะก่อน    
ซีบีอาร์อี แนะใช้ยาแรงฟื้นตลาดบ้าน-คอนโด  ขยายฐานราคา0-15ล.รับมาตรการรัฐ

ซีบีอาร์อี แนะใช้ยาแรงฟื้นตลาดบ้าน-คอนโด ขยายฐานราคา0-15ล.รับมาตรการรัฐ

ซีบีอาร์อี คาดตลาดอสังหาฯ ไทยปี 64 แต่ละธุรกิจฟื้นตัวแตกต่างกัน  จากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น มีความท้าทายจากความผันผวนของโรคโควิด-19  ตลาดโลจิสติกส์ขึ้นแท่นนำ ขณะที่ตลาดอาคารสำนักงานต้องเตรียมรับมือกับซัพพลายใหม่จำนวนมาก ส่วนตลาดโรงแรมและพื้นที่ค้าปลีกจะฟื้นตัวช้าสุด แนะภาครัฐอัดยาแรงในตลาดที่อยู่อาศัย ขยายฐานกลุ่มบ้าน-คอนโด ราคาตั้งแต่ 0-15 ล้านให้ได้รับอานิสงค์ พร้อมปลดล็อกขายลิสโฮลด์ขายบ้าน-ที่ดินได้ถึง 60 ปี ตลาดที่พักอาศัย : ปรับสมดุลราคา ซีบีอาร์อีเชื่อว่าตลาดที่พักอาศัยโดยรวมในกรุงเทพฯ จะยังคงชะลอตัวในปี 2564 และมีความเสี่ยงเนื่องจากโควิด-19 รอบใหม่ ได้ทำให้ผู้ซื้อชาวไทยและชาวต่างชาติใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้น   การเปิดตัวโครงการใหม่จะมีไม่มากนักโดยจะเป็นโครงการในย่านรอบนอกใจกลางเมือง (มิดทาวน์) และชานเมือง เพราะราคาที่ดินยังอยู่ในระดับราคาที่พัฒนาได้และทำให้ราคาขายเริ่มมีความสมเหตุสมผลมากขึ้น   ในปี 2564 ผู้พัฒนาโครงการจะยังให้ความสำคัญกับยูนิตที่แล้วเสร็จแต่ยังเหลือขายที่มีอยู่ในมือ แต่ขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสใหม่ในทำเลใหม่ๆ และให้ความสำคัญกับสภาพคล่องทางการเงินด้วย   ตลาดที่พักอาศัยแนวราบจะเป็นตลาดหลักสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ๆ เนื่องจากผู้พัฒนาโครงการต้องการลดความเสี่ยง   ขณะที่ความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมยังคงมีอยู่แต่มีงบประมาณที่น้อยลง   นอกจากนี้ผู้พัฒนาโครงการจะเปลี่ยนไปพัฒนาโครงการที่มีขนาดเล็กลง เพื่อลดขนาดการลงทุน และทำให้ผ่านเกณฑ์การอนุมัติเงินทุนจากธนาคารได้ง่ายขึ้น   นางสาวอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า  จากธุรกรรมซื้อขายที่ผ่านซีบีอาร์อีในปี 2563 พบว่าตลาดที่พักอาศัยระดับลักซ์ชัวรี่ที่เป็นกลุ่มเฉพาะยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมากจากทั้งลูกค้าที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองและนักลงทุน โดยเฉพาะที่พักอาศัยที่บริหารโดยเครือโรงแรมและบ้านหรู แต่ลูกค้าใช้ระยะเวลาการตัดสินใจนานขึ้น   เป็นที่น่าสังเกตว่ายูนิตขนาดใหญ่ในตลาดระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ซึ่งยอดขายชะลอตัวในอดีตกลับมามียอดขายมากขึ้นในปีที่ผ่านมา  นักลงทุนต่างชาติที่สนใจลงทุนในไทย โดยเฉพาะชาวจีน ยังคงให้ความสนใจตลาดในทุกระดับ แต่ยอดขายจากลูกค้ากลุ่มนี้จะกลับมาก็ต่อเมื่อสามารถเดินทางเข้ามาไทยได้ โปรโมชั่นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพจากรัฐบาลยังคงมีความจำเป็นสำหรับการดึงดูดผู้ซื้อต่างชาติ  ซีบีอาร์อีคาดหวังว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลออกมาอีกโดยควรจะครอบคลุมมากยิ่งขึ้นเพื่อช่วยตลาดในปีนี้   โดยเห็นว่ามาตรการที่จะช่วยกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยได้ดี คือ การขยายฐานระดับราคาที่อยู่อาศัย ให้ครอบคลุมมากขึ้น จากปัจจุบันที่ให้เฉพาะระดับบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท เห็นว่าควรขยายฐานราคาที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 0 บาทไปจนถึง 15 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยแบบสิทธิการเช่า หรือ ลิสโฮลด์นั้นควรขยายระยะเวลาให้เช่านานถึง 60 ปี เพื่อกระตุ้นตลาดในกลุ่มชาวต่างชาติให้เข้ามาซื้ออสังหาฯ​ ไทยเพิ่มมากขึ้น​ สิ่งที่จะช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ได้ คือ นโยบายของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมาตรการยังกระจัดกระจายและยังไม่อิมแพคมากพอ ตลาดอาคารสำนักงาน: ปรับเปลี่ยนอนาคตของสถานที่ทำงาน ซีบีอาร์อีมองเห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังคิดทบทวนเรื่องการออกแบบสถานที่ทำงานและวิธีการใช้พื้นที่ เนื่องจากการให้พนักงานเป็นศูนย์กลางและการทำงานแบบไฮบริดหรือการใช้พื้นที่สำนักงานรูปแบบเดิมควบคู่ไปกับการผสมผสานระหว่างการใช้พื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นกับการทำงานระยะไกลจะเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับหน้าที่และลักษณะเฉพาะของแต่ละบริษัทและแต่ละหน่วยธุรกิจ นางสาวรุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ หัวหน้าแผนกพื้นที่สำนักงาน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า สำหรับอนาคตของตลาดอาคารสำนักงาน ความกังวลที่สำคัญประการหนึ่งของซีบีอาร์อีคือจำนวนซัพพลายใหม่ที่จะเพิ่มเข้าสู่ตลาด  โดยในปี 2564 มีพื้นที่สำนักงานที่คาดว่าจะแล้วเสร็จจำนวน 334,000 ตารางเมตร  ซึ่งจะทำให้พื้นที่สำนักงานทั้งหมดในกรุงเทพฯ ขยับขึ้นไปอยู่ที่ 9.49 ล้านตารางเมตร   ในสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอนเช่นนี้  ซีบีอาร์อีได้เห็นว่าเจ้าของอาคารมีการเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จของอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน  นอกจากนี้ยังคาดว่าค่าเช่าโดยรวมในตลาดจะอยู่ในระดับทรงตัว  และตลาดจะเปลี่ยนไปสู่การเป็นตลาดของผู้เช่าโดยเฉพาะผู้เช่ารายใหญ่ที่ใช้พื้นที่สำนักงานขนาดใหญ่ ตลาดพื้นที่ค้าปลีก: พฤติกรรมเปลี่ยนส่งผลให้ต้องปฏิรูป ธุรกิจค้าปลีกของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และส่งผลให้ในปี 2563 ยอดผู้ใช้บริการลดลงอย่างมากและความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ลดลงเช่นกัน   ซีบีอาร์อีเห็นว่าเจ้าของพื้นที่ค้าปลีกได้มีการทบทวนโครงการที่มีการวางแผนไว้ รวมถึงแผนการลงทุน  ซึ่งจะมีการเสนอสัญญาเช่าที่ยืดหยุ่นมากขึ้นให้กับผู้เช่าและจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ภายในพื้นที่ศูนย์การค้า    ในทางกลับกัน ผู้ค้าปลีกจะลดขนาดและปรับรูปแบบพื้นที่เช่าเพื่อลดค่าใช้จ่ายและทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  ธนาคารต่างกำลังย้ายไปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์และต้องการพื้นที่สาขาน้อยลง   ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะให้ความสำคัญกับบริการส่งอาหารมากขึ้น และร้านขายสินค้าแฟชั่นจะมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายมากขึ้น   นอกจากการเปลี่ยนสถานะการเช่าจากแบบถาวรมาเป็นแบบชั่วคราวแล้ว ผู้เช่าจะพัฒนาให้เป็นร้านค้ารูปแบบที่เล็กลง เช่น ป๊อปอัปสโตร์ เพื่อรักษาผลกำไรในช่วงที่สถานการณ์ไม่แน่นอนเช่นนี้   ตลาดโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์: เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าพักและผู้เช่า ตลาดโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ในกรุงเทพฯ คือหนึ่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยลดลงจาก 40 ล้านคนในปี 2562 ไปเป็นต่ำกว่า 7 ล้านคนในปี 2563 ซีบีอาร์อีคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจะกลับคืนสู่ระดับเดียวกับปี 2562 ได้ในปี 2565 โดยต้องขึ้นอยู่กับความสำเร็จของวัคซีนและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นนักท่องเที่ยวหลักของไทยอย่างจีน รัสเซีย ญี่ปุ่น และอินเดีย   นายรัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย  กล่าวว่า “ในขณะเดียวกัน  เจ้าของโรงแรมและผู้บริหารจัดการโรงแรมถูกบังคับให้มุ่งเน้นไปที่ตลาดท่องเที่ยวในประเทศ โดยอาศัยรายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อให้อยู่รอด   ซีบีอาร์อีเห็นว่าโรงแรมต่างๆ ได้หาหนทางใหม่ๆ ในการดำเนินงานและทำการตลาด ตั้งแต่แพ็กเกจการทำงานจากโรงแรม (Work From Hotel) แพ็กเกจการเข้าพักแบบ Staycation (การพักผ่อนในสถานที่ใกล้ๆ) ไปจนถึงข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าที่ไม่ได้เข้าพัก    โรงแรมบางแห่งอาจเลือกที่จะเปิดให้บริการเป็นบางส่วนหรือเปิดเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม  โดยอาศัยช่วงเวลาที่มีผู้เข้าใช้บริการน้อยเป็นการทดลองเปิดให้บริการ และพยายามให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน้อยที่สุด” ตลาดพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์: ความต้องการสะสมถูกขัดขวางด้วยการห้ามเดินทาง นายอาดัม เบลล์ หัวหน้าแผนกพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดโลจิสติกส์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการแพร่ระบาด เนื่องจากโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคไทยปรับตัวเข้าสู่อี-คอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งผลักดันให้เกิดความต้องการพื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่ (Modern Logistics Property - MLP) ในประเทศไทย   พื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่มากกว่า 400,000 ตร.ม. ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าสู่ตลาดภายในปี 2564 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบสร้างขึ้นตามความต้องการเฉพาะ (Built-to-Suit)   สำหรับด้านซัพพลายเชน  ผู้ผลิตในจีนหลายรายพิจารณาย้ายฐานการผลิตมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า  นักลงทุนเริ่มให้ความสนใจซื้อโรงงานมากกว่าเช่าโรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลสถานที่ได้มากขึ้น  ในขณะที่ผู้พัฒนาโรงงานหลายรายชะลอการสร้างโรงงานสำเร็จรูป (Ready-Built Factory - RBF) แบบสร้างเสร็จก่อนขาย   ตลาดการลงทุน: ทบทวนพอร์ตและกลยุทธ์การลงทุน โควิด-19 ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเป็นตลาดของผู้เช่าและผู้ซื้อมากขึ้น โดยผู้เช่าจะมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นโดยอสังหาริมทรัพย์จะถูกนำออกมาขายมากขึ้น  เนื่องจากเจ้าของพื้นที่และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องการถือเงินสด  ซีบีอาร์อีเชื่อว่าเรื่องนี้อาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์ที่ยอมลดราคา แต่ความคาดหวังที่แตกต่างกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อจะยังคงเป็นปัญหาสำคัญ  ราคาที่ดินจะอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลมากขึ้นเพราะราคาที่ดินโดยรวมในทำเลชั้นนำยังไม่เปลี่ยนแปลง  อย่างไรก็ตาม ราคาที่ดินในย่านรอบนอกใจกลางเมืองและชานเมืองโดยรวมลดลง ยกเว้นบางพื้นที่จะปรับตัวสูงขึ้นตามการขยายเส้นทางระบบขนส่งมวลชนและการขยายถนนในพื้นที่   นางกุลวดี สว่างศรี หัวหน้าแผนกการลงทุนและที่ดิน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวสรุปว่า เจ้าของพื้นที่และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ในเชิงรุกเพื่อรักษารายได้และบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ   การลงทุนแต่ละครั้งจะได้รับการประเมินหลายครั้งเพื่อทำความเข้าใจกับการแทรกแซงจากคู่แข่ง รวมถึงความต้องการของผู้เช่านั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ที่มีอยู่หรือขายออก      
2 กลยุทธ์เอาตัวรอด “เฟรเซอร์ส” ในภาวะตลาดออฟฟิศให้เช่าดีมานด์หายกว่า 50%

2 กลยุทธ์เอาตัวรอด “เฟรเซอร์ส” ในภาวะตลาดออฟฟิศให้เช่าดีมานด์หายกว่า 50%

ตลาดออฟฟิศให้เช่าปี 63 ดีมานด์หายกว่า 50% แต่ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล ประเทศไทย”  ยังคงรักษาอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยสูงกว่า 90% ในทุกอาคาร หลังใช้ 2 กลยุทธ์สำคัญ ทั้งการรักษาฐานผู้เช่าปัจจุบัน  และจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณ ปรับลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น     นายวิทวัส คุตตะเทพ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายโครงการเชิงพาณิชยกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า  ปี 2563 เป็นปีที่เผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นครั้งแรก ซึ่งส่งผลกระทบเป็นกว้าง สำหรับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม พื้นที่จัดประชุมสัมมนา และศูนย์การค้า  ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมาทบทวนและปรับรูปแบบการให้บริการ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้   “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่บริษัทฯ ยังคงมีความแข็งแกร่ง เนื่องจากมีพอร์ตอาคารสำนักงานกว่า 209,000 ตร.ม. โดยสิ่งที่บริษัทฯ ทำตลอดปีที่ผ่านมา คือ การบริหารจัดการทรัพยากรและต้นทุนภายใน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนเตรียมความพร้อม เพื่อจะรับมือกับความท้าทายและความไม่แน่นอนต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต” ส่วนภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานปี 2563 ที่ผ่านมา มีความต้องการเช่าหรือขยายพื้นที่สำนักงานรวมลดลงกว่า 50% เมื่อเทียบกับ 1-2 ปีก่อน (2561-2562) แต่ในส่วนของบริษัทยังคงรักษาอัตราการเช่าได้เฉลี่ยสูงกว่า 90% ซึ่งเป็นผลมาจากทุกอาคารของบริษัท​เป็นอาคารคุณภาพเกรด A ตั้งอยู่ในศูนย์กลางเศรษฐกิจ อาทิ เพลินจิต สาทร พระราม 4 และสามย่าน และมีกลยุทธ์ในการเลือกผู้เช่าที่กระจายสัดส่วนในหลายธุรกิจ ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทยังไม่ได้รับสัญญาณการขอลดพื้นที่หรือยกเลิกการเช่า แต่บริษัทฯ ยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินสถานการณ์และผลกระทบ หากเกิดการลดพื้นที่ของผู้เช่าและธุรกิจซึ่งเป็นผู้เช่าของบริษัท   นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา บริษัทมีการปรับรูปแบบการดำเนินงาน 2 เรื่อง ได้แก่ 1.รักษาฐานผู้เช่าปัจจุบัน เน้นสร้างความสัมพันธ์ และสร้างความเชื่อมั่นในด้านการให้บริการกับผู้เช่า บริษัทดำเนินการรักษาฐานผู้เช่า ด้วยการจัดลำดับค่าใช้จ่าย เพื่อดูแลผู้เช่าที่ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม โดยมีการเข้าไปพูดคุยกับผู้เช่าทุกรายเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และมาตรการต่าง ๆ ที่ทางบริษัทบริหารจัดการ เพื่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพทางการเงินของผู้เช่าอย่างใกล้ชิด นอกเหนือจากนี้บริษัทไม่คิดค่าเช่าและค่าบริการในธุรกิจที่ถูกสั่งปิดตามประกาศจากภาครัฐ และมีการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้กับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม 2.จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณ ปรับลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น และเพิ่มงบประมาณด้านความปลอดภัย บริษัทลดงบประมาณด้านการตลาดและเพิ่มงบประมาณด้านการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย โดยงดเว้นการจัดกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มคน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล ลดความหนาแน่นของผู้ใช้บริการ และนำงบประมาณดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัย อาทิ การลงทุนในอุปกรณ์เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกสัปดาห์ และเพิ่มความถี่การทำความสะอาดจุดสัมผัสทั้งหมดทุกชั่วโมง  ทั้งนี้บริษัทไม่มีนโยบายลดพนักงาน แม้จะมีบางโซนหรือบางพื้นที่ถูกภาครัฐประกาศให้ปิดกิจการในช่วงล็อคดาวน์ ปัจจุบัน เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล ประเทศไทย มีพื้นที่สำนักงานที่อยู่ภายใต้การดูแล รวมทั้งสิ้น 5 อาคาร ได้แก่ อาคารมิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ อาคารโกลเด้นแลนด์ และภายใต้ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT) ได้แก่ อาคารสาทรสแควร์ และอาคารปาร์คเวนเชอร์ คิดเป็นพื้นที่รวมกว่า 209,000 ตารางเมตร มีพนักงานของบริษัทฯ ผู้เช่าชั้นนำในประเทศไทยและต่างประเทศกระจายในหลากหลายธุรกิจซึ่งมีผู้ใช้บริการมากกว่า 20,000 คนต่อวัน        
5 วัคซีนฟื้นเศรษฐกิจไทย เร่งฟื้นธุรกิจค้าปลีกหลังสูญรายได้ 5 แสนล.

5 วัคซีนฟื้นเศรษฐกิจไทย เร่งฟื้นธุรกิจค้าปลีกหลังสูญรายได้ 5 แสนล.

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการค้าอย่างมาก  โดยสมาคมผูค้าปลีกไทย ประเมินมูลค่าความเสียหายกว่า 500,000 ล้านบาทและคาดว่า ดัชนีค้าปลีก ในไตรมาสแรกของปี 2564 ยังคงติดลบราว 7-8 %  สมาคมผู้ค้าปลีกไทยขอภาครัฐวางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและเร่งด่วนเพื่อลดอัตราการว่างงานและเพิ่มอัตราการจ้างงานใหม่    โดยเสนอภาครัฐทดลอง เพิ่มทางเลือกการจ้างงาน เป็นรายชั่วโมง จัดเก็บภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่บาทแรก ในกลุ่มธุรกิจ E-Commerce และควบคุม  E-Commerce ในการไม่ขายสินค้าด้วยราคาต่ำกว่าทุน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อ SME ไทย และระบบค้าปลีกไทยโดยรวม นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจค้าปลีกไทยถือเป็นฐานรากสำคัญของระบบเศรษฐกิจทั้งหมดของประเทศ เนื่องจาก เป็นระบบที่ครอบคลุมตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ ซึ่งมีผู้ประกอบการในห่วงโซ่ค้าปลีกรวมทั้งหมดในระบบ 1.3 ล้านราย และมีการสร้างงานโดยตรงกว่า 6.2 ล้านราย   เมื่อค้าปลีกถูกผลกระทบ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้ดัชนีค้าปลีกสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ปี 2563 ลดลงจาก ปี 2562 จาก 2.8 % มาเป็นติดลบ 12.0 % ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ติดลบถึงสองหลัก (ตามตารางดัชนีค้าปลีก สมาคมผู้ค้าปลีกไทย 2020 ที่แนบ)  จึงทำให้เกิดผลเสียหายในวงกว้าง เกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น SME ทยอยปิดตัวลง กำลังซื้อหดหาย จึงจำเป็นต้องเร่งเยียวยาในระบบค้าปลีก ให้เกิดขึ้นได้จริง ต่อเนื่อง และดำเนินการทันที โดยเสนอ 5 มาตรการวัคซีนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย โดยเน้นการเกิดขึ้นได้จริงอย่างต่อเนื่องและทันที 1. ภาครัฐทดลองเพิ่มทางเลือกสำหรับอัตราค่าจ้างแบบเป็นรายชั่วโมง เพื่อเป็นการลดอัตราการว่างงาน และเพิ่มการจ้างงานใหม่ในภาคค้าปลีกสินค้าและค้าปลีกบริการ โดยการจ้างงานประจำจะยังคงมีอยู่เหมือนเดิม แต่เพิ่มอัตราการจ้างงานแบบเป็นรายชั่วโมง เพื่อเป็นทางเลือก และสอดรับการให้บริการช่วงพีคของวันในแต่ละช่วงให้เกิดประสิทธิภาพการบริการลูกค้าสูงสุด ภาคค้าปลีกสินค้าและค้าปลีกบริการคาดว่าจะสามารถจ้างงานรายชั่วโมงได้ทันทีไม่น้อยกว่า 52,000 อัตรา และ เพิ่มได้ถึง 200,000 อัตราในระยะยาว 2. ภาครัฐควรช่วยเหลือ SME โดยให้มีการปล่อยสินเชื่อ (Soft Loan) ผ่านแพลตฟอร์มค้าปลีก รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันออกมาตรการเพื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการ SME และ เกษตรกร ทำให้เข้าถึงสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยอัตราพิเศษ โดยสมาคมฯ ขอเสนอให้ภาครัฐพิจารณาการให้สินเชื่อพิเศษนี้โดยผ่านแพลตฟอร์มค้าปลีก ซึ่งสามารถเข้าถึง SME เกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 400,000 ราย ได้โดยตรงและอย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยแพลตฟอร์มค้าปลีกนี้ ธนาคารจะได้รับการชำระหนี้อย่างตรงเวลาและครบถ้วน เป็นการลดภาระหนี้สูญของธนาคารอีกด้วย 3. ภาครัฐต้องเร่งพิจารณาเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนำเข้ากับสินค้าที่ซื้อขายผ่าน E-Commerce/E-Marketplace ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จากข้อมูล ETDA มูลค่า  E-Commerce มีมูลค่าราว 300,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีมาตรการควบคุมที่ชัดเจน มีการขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าทุน ไม่มีมาตรการเรื่องการเก็บภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่บาทแรก ทำให้ SME ไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่ง SME ไทยมีการเสียภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มจำนวนตั้งแต่บาทแรก ถือว่าเป็นการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Trade) และจะสร้างความเสียหายให้กับระบบค้าปลีกไทยในระยะยาว 4. ภาครัฐต้องหามาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ โดยมุ่งไปยังกลุ่มที่มีกำลังซื้อระดับกลางถึงสูงกว่า 8 ล้านราย เพื่อผันเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย ด้วยมาตรการ ลดภาษีนำเข้าสินค้าไลฟ์สไตล์ ทั้งนี้จากวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้ กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อเหล่านี้ ซึ่งคุ้นเคยกับการเดินทางไปต่างประเทศ และช้อปปิ้งสินค้าปลอดภาษี ยังมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าแบรนด์ต่างๆ ทำให้ต้องหาซื้อสินค้าผ่านทาง Cross Borders หรือ Grey Market   โดยทางสมาคมฯ เสนอให้กระตุ้นการบริโภคในกลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูงนี้ โดยเฉพาะสินค้าไลฟ์สไตล์นำเข้า ซึ่งปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าสินค้าไลฟ์สไตล์ในไทยสูงถึง 30% ซึ่งสูงที่สุดใน 15 ประเทศในแถบเอเชีย ทำให้คนหันไปซื้อสินค้าที่ต่างประเทศแทน จึงเสนอให้ทดลองปรับลดภาษีนำเข้าชั่วคราวตามประเภทสินค้า เป็นแบบขั้นบันได เช่น ลดจากเดิม 30% เป็น 20% 15% และ 10% เพื่อให้มีส่วนต่างของอัตราภาษีและไม่เกิดผลกระทบกับแบรนด์ไทย ซึ่งจะสามารถสร้างเงินสะพัดได้กว่า 20,000 ล้านบาท ต่อไตรมาส 5.ภาครัฐควรพิจารณาอนุญาตให้ร้านค้าปลีกสมัยใหม่และซูเปอร์มาร์เก็ตเข้าร่วมโครงการ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงสินค้าที่หลากหลาย และราคาต่ำได้มากขึ้น จากงานวิจัย พบว่า สินค้าที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อหาเป็นประจำส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคไม่กี่ชนิด อาทิ ข้าวสาร น้ำมันพืช น้ำตาล ซึ่งผลิตโดยผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ทำให้การกระจายรายได้ไปไม่ถึงผู้ผลิตสินค้ารายเล็กอื่นๆ การเปิดให้ร้านค้าปลีกสมัยใหม่และซูเปอร์มาร์เก็ตเข้าร่วมโครงการ ซึ่งนอกจากจะช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้บัตรแล้ว ยังเป็นการกระจายรายได้สู่ผู้ผลิตสินค้าในวงกว้างมากขึ้น ทั้งเกษตรกร ชุมชน และ ผู้ประกอบการ SME นายญนน์ กล่าวอีกว่า สมาคมค้าปลีกไทยมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับและให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าปลีกทั่วประเทศและพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างสูงสุดกับรัฐบาลเพื่อร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยให้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง ผมเชื่อว่าการร่วมมือของทุกภาคส่วนจะเป็นแรงผลักดันให้ประเทศไทยก้าวผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกันได้อย่างดีที่สุด
PF ผนึกพันธมิตรต่างชาติ สร้างรายได้ 9,000 ล้าน

PF ผนึกพันธมิตรต่างชาติ สร้างรายได้ 9,000 ล้าน

กลุ่มพันธมิตรต่างชาติ ดันรายได้กลุ่ม “พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค”  คาดปี 2564 รายได้เพิ่มขึ้นจากโครงการร่วมทุน รวม 9,000 ล้าน จี้ภาครัฐใช้งบ 20,000 ล้าน ฉีดวัคซีนให้เร็ว กระตุ้นเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว      นายชายนิด อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพเพอร์ตี้  เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF เปิดเผยว่า ปีนี้ธุรกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศเชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัว หลังจากผ่านการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง สำหรับกลุ่มบริษัท ยอดขายและรายได้ในปีนี้จะกลับมาเติบโต โดยเฉพาะการดำเนินงานตามแผนสร้างการเติบโต  จากการผนึกพันธมิตรที่แข็งแกร่งทั้งต่างประเทศและในประเทศ ผสานจุดแข็งการร่วมลงทุนต่อยอดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ด้านสุขภาพหรือเฮลท์แคร์เพิ่มเติม ปีนี้ กลุ่มบริษัทคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น เฉพาะจากโครงการร่วมทุนรวม 9,000 ล้านบาท โดยจะมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 4,000 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการคอนโดมิเนียมไฮด์ เฮอริเทจ ทองหล่อ ภายใต้การร่วมทุนกับ “ซูมิโตโม ฟอเรสทรี” จำนวน 2,000 ล้านบาท โครงการบ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์ “เลค เลเจ้นด์” ร่วมทุนกับ “ฮ่องกง แลนด์” ใน 2 ทำเล คือแจ้งวัฒนะ และ บางนา-สุวรรณภูมิ จำนวน 1,000 ล้านบาท รวมทั้ง โครงการบ้านเดี่ยวอีก 1,000 ล้านบาท จากการร่วมทุนทั้งกับ “เซกิซุย เคมิคอล” ใน 5 ทำเล และ “ซูมิโตโม ฟอเรสทรี” ซึ่งปีนี้จะมีการเปิดโครงการใหม่เพิ่มเติมด้วย โดยแผนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ร่วมทุนของกลุ่มบริษัทขณะนี้มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 29,650 ล้านบาท   นอกจากโครงการร่วมทุนกับพันธมิตรต่างประเทศ กลุ่มบริษัทโดย บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ยังได้ขยายไปยังธุรกิจการผลิตและส่งออกถุงมือยาง โดยร่วมลงทุนกับ บริษัท วัฒนชัย รับเบอร์เมท จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายถุงมือยางที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกไปทั่วโลก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงงานผลิตถุงมือยาง ในนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเริ่มก่อสร้างไปเมื่อเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา กำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคมนี้ และจะดำเนินการผลิตได้ทันที คาดว่าจะมีรายได้จากธุรกิจใหม่นี้อีก 5,000 ล้านบาท จากความต้องการใช้ถุงมือยางของโลกที่เพิ่มขึ้นและยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมาก หากมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เร็ว ธุรกิจและเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็ว สิ่งที่อยากฝากให้ภาครัฐพิจารณาเพิ่มเติม คือ ควรลงทุน 20,000 ล้านบาท ในการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชากรในเมืองท่องเที่ยวหลัก อาทิ กรุงเทพฯ และปริมณฑล เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ สมุย ชลบุรี ระยอง และอื่นๆ  รวมถึงกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเป็นกลุ่มแรก ๆ  เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต้องอาศัยรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นรายได้หลัก โดยมีสัดส่วนถึง 17% ของ GDP ในขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2563 ที่ผ่านมา รายได้จากภาคท่องเที่ยวลดลง 1.93 ล้านล้านบาท หรือติดลบ 71.75% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังมีบทบาทสำคัญต่อการจ้างงาน ซึ่งการจ้างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการมีอยู่ถึง 4,393,294 คน หรือ 11.16% ของการจ้างงานทั้งหมด ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศจะฟื้นตัวเร็ว หากธุรกิจการท่องเที่ยวฟื้นตัว และภาพรวมของธุรกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ ก็จะดีไปด้วย
แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เดินหน้าลงทุน 11,000 ล.พร้อมระดมทุนผ่านหุ้นกู้ 12,000 ล.​

แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เดินหน้าลงทุน 11,000 ล.พร้อมระดมทุนผ่านหุ้นกู้ 12,000 ล.​

แม้ว่าปี 2564 จะยังมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ธุรกิจยังคงต้องเดินหน้าต่อ เพื่อสร้างการเติบโตและผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น โดยบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในดีเวลลอปเปอร์ที่ยังคงเดินหน้าลงทุนพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การบริหารงานของ นายนพร สุนทรจิตต์เจริญ  ประธานคณะกรรมการบริษัท และ​นายอดิศร ธนนันท์นราพูล  กรรมการผู้จัดการ   โดยแผนธุรกิจของ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ในปีนี้ ประกอบไปด้วย 1.เตรียมงบลงทุนไว้ทั้งหมดประมาณ 11,000 ล้านบาท สำหรับการซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประมาณ 6,000 ล้านบาท และงบลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่าอีกจำนวน 5,000 ล้านบาท   แผนการลงทุนในการซื้อที่ดินเพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต บริษัทจะพิจารณาทำเลที่สามารถนำมาพัฒนาโครงการได้ทันทีและมีศักยภาพที่ดี  ทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล  และต่างจังหวัด   โดยปี 2563  ที่ผ่านมา บริษัทมีการลงทุนประมาณ 6,800 ล้านบาท  แบ่งเป็นรายจ่ายในการซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย 4,600 ล้านบาท และรายจ่ายในการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่า มูลค่ารวม 2,200  ล้านบาท  ประกอบด้วย การลงทุนในการพัฒนาโครงการ Shopping Mall  - Terminal  21   จำนวน    900  ล้านบาท  และการลงทุนในธุรกิจโรงแรมและอพาร์ทเมนต์  จำนวน 1,300  ล้านบาท   2.บริษัทมีแผนพัฒนา 12 โครงการ มูลค่ารวม 20,660 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ที่เปิดโครงการใหม่  16  โครงการ มูลค่าโครงการรวม 28,620  ล้านบาท แผนการพัฒนาโครงการในปีนี้ แบ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยว 5 โครงการ มูลค่า 12,730 ล้านบาท โครงการทาวน์โฮมและบ้านแฝด 7 โครงการ มูลค่า 6,950 ล้านบาท (มี 2 โครงการที่มีทั้งโครงการบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมอยู่ในโครงการเดียวกัน) และคอนโดมิเนียม 2 โครงการ มูลค่า 980 ล้านบาท ซึ่งมีการพัฒนาโครงการคอนโดในจังหวัดเชียงใหม่ 1 โครงการมูลค่า 160 ล้านบาท   โดยในช่วงต้นปี 2564 บริษัทมีโครงการที่เปิดดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น  75   โครงการ  เป็นโครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  45  โครงการ  และต่างจังหวัด   30  โครงการ   3.วางแผนออกหุ้นกู้อีกจำนวน 12,000 ล้านบาท จากปี 2563 ซึ่งออกหุ้นกู้ มูลค่ารวม 8,400 ล้านบาท  ระยะเวลา 2-3 ปี  อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.29% ต่อปี   4.ตั้งเป้าหมายแผนการดำเนินงานในปี 2564 ด้วยยอดขาย (Booking)  28,000  ล้านบาท  และเป้าหมายรับรู้รายได้จากยอดโอนกรรมสิทธิ์  30,000 ล้านบาท มีราคาเฉลี่ยต่อยูนิต เท่ากับ 7.0 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากปี 2563 ซึ่งมีราคาเฉลี่ยต่อยูนิต  7.5  ล้านบาท   สัดส่วนของยอดขาย ในปี 2564   พิจารณาตามมูลค่า  จำแนกตามประเภทที่อยู่อาศัย มีสัดส่วน บ้านเดี่ยวและบ้านแฝด  78% , ทาวน์เฮ้าส์  13% และคอนโด  9%   จากแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ  ในปี 2564  คาดว่า ณ  สิ้นปี  2564  บริษัทฯ จะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเมื่อสิ้นปี 2563  โดยจะมีต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยลดลงกว่าระดับเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2563  เล็กน้อย   ส่วนบริษัทในเครือในรอบปี 2563 ที่ผ่านมา มีการพัฒนาโครงการใหม่ ได้แก่ บริษัท LHMH  ได้ดำเนินการพัฒนาโครงการอีก 1  โครงการ คือ  โครงการ Grande Centre Point  Lumpini   บนที่ดิน 6-2-73.5  ไร่ ในรูปแบบ Mixed Use  ประกอบด้วย โรงแรม จำนวน 512 ห้อง อาคารสำนักงาน  13,000 ตารางเมตร  มูลค่าการลงทุน 4,830  ล้านบาท แล้วเสร็จประมาณ Q1/2567   บริษัท LH USA ได้ขายโครงการอพาร์ทเมนท์  The Mode Residence  ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา  ให้กับบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัท ในราคา 80.05 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย ประมาณ  2,415 ล้านบาท  โดยมีกำไรก่อนภาษีประมาณ  13.77 ล้านเหรียญสหรัฐ  หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ  416 ล้านบาท        
อิเกีย ขายเสื้อผ้า  ครั้งแรก!! จากเฟอร์นิเจอร์สู่สตรีทแฟชั่น…

อิเกีย ขายเสื้อผ้า ครั้งแรก!! จากเฟอร์นิเจอร์สู่สตรีทแฟชั่น…

อิเกีย ประเทศไทย เตรียมเปิดตัวสินค้าแฟชั่นครั้งแรก คอลเล็คชั่น เอฟเตอร์แทรดา  (EFTERTRÄDA)  นำโลโก้และบาร์โค้ดอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ผสานความเรียบง่ายสไตล์มินิมัลซึ่งเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของอิเกียมาใช้กับการสร้างสรรค์เสื้อผ้าและแอคเซสซอรี่ต่างๆ    คอลเล็คชั่น “EFTERTRÄDA/เอฟเตอร์แทรดา” เปิดตัวครั้งแรกที่อิเกีย ฮาราจูกุ เมื่อกลางปี 2563 และได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากแฟนอิเกียในญี่ปุ่น ตามด้วยในสิงคโปร์ และพร้อมเปิดตัวในประเทศไทย วันที่ 14 มกราคม 2564 ที่อิเกีย บางนา อิเกีย  บางใหญ่ และอิเกีย ภูเก็ต   คอลเล็คชั่น “EFTERTRÄDA/เอฟเตอร์แทรดา” นับเป็นการปฏิวัติของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์และ   ของแต่งบ้านชั้นนำระดับโลกจากสวีเดน ทั้งนี้ EFTERTRÄDA เป็นภาษาสวีเดนแปลว่า “ผู้สืบทอด” คอลเล็คชั่นนี้เกิดจากการทำงานร่วมกันของอิเกีย ญี่ปุ่น และ อิเกีย สวีเดน โดยได้รับแรงบันดาลใจ และผลิตขึ้นเพื่อแฟนอิเกียในโตเกียว และทั่วโลก โดยมีโลโก้อิเกียและบาร์โค้ดของตู้ รุ่น BILLY/ บิลลี่ ซึ่งเป็นสินค้าขายดีเป็นองค์ประกอบหลักของงานดีไซน์ ลีโอนี่ ฮอสกิ้น ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจค้าปลีก อิเกีย ประเทศไทย และเวียดนาม เปิดเผยว่า   อิเกีย ประเทศไทย  เตรียมจัดกิจกรรมพิเศษต้อนรับคอลเล็คชั่นแฟชั่นครั้งแรกของอิเกีย ผ่านแนวคิด “Bangkok City Scape” เพื่อถ่ายทอดกลิ่นอายความงดงามของกรุงเทพฯ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่มีเอกลักษณ์ สอดคล้องกับสไตล์ของคอลเล็คชั่น “EFTERTRÄDA/เอฟเตอร์แทรดา” ที่ออกแบบสำหรับผู้คนทุกเพศ ทุกวัย และทุกไลฟ์สไตล์ โดยเฉพาะคนที่มีความ young at heart รูปแบบที่เหนือกาลเวลา ซึ่งเป็นแนวคิดในการออกแบบของอิเกีย หรือที่เราเรียกว่า democratic design   เพราะอิเกียเชื่อเสมอว่าทุกคนควรเข้าถึงและเป็นเจ้าของงานดีไซน์ที่มีคุณภาพได้ ในราคาย่อมเยา คอลเล็คชั่น  EFTERTRÄDA/เอฟเตอร์แทรดา​ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดี   นอกจากนี้ อิเกีย ยังได้จัดมุมพิเศษ สำหรับคอลเล็คชั่น “EFTERTRÄDA/เอฟเตอร์แทรดา” รวมถึงแอคเซสซอรี่ที่เป็นไอคอนของอิเกียให้ลูกค้า ได้เลือกซื้อ​ พร้อมข้อเสนอพิเศษสำหรับสมาชิก IKEA Family  รับหน้ากากผ้าฟรี  จำนวนจำกัด เมื่อซื้อสินค้าใดก็ได้ในคอลเล็คชั่น “EFTERTRÄDA/เอฟเตอร์แทรดา”   รวมถึงจัดกิจกรรมออนไลน์ ชวนทุกคนร่วมสนุกลุ้นรับรางวัลกิฟต์การ์ดอิเกีย มูลค่า 3,000 บาท เพียงถ่ายภาพกับไอเท็มใดก็ได้จากคอลเล็คชั่น “EFTERTRÄDA/เอฟเตอร์แทรดา” โพสต์ลงในเฟซบุ๊กหรืออินสตาแกรมของคุณ พร้อมติด แฮชแท็ก #EFTERTRADA และ #IKEAThailand พร้อมตั้งค่าโพสต์เป็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 14 - 28 มกราคม 2564   สำหรับสินค้า EFTERTRÄDA/เอฟเตอร์แทรดา   ประกอบด้วย เสื้อฮู้ดแจ็คเก็ต ราคา 699 บาท มีขนาด  S/M: ยาว 65 ซม. กว้าง 52 ซม. L/M: ยาว 75 ซม. กว้าง 62 ซม. ​ ผ้าเช็ดตัว ราคา 299 บาท มี 2 สี เหลือง และ ขาว ขนาด: ยาว 140 ซม. กว้าง 70 ซม. กระเป๋าผ้า ราคา 199 บาท ขนาด: กว้าง 40 ซม. สูง 40 ซม. กระติกน้ำ ราคา 99 บาท มี 2 สี เหลือง และ ขาว  สูง: 24 ซม. ความจุ: 0.5 ลิตร คอลเลคชั่น ​EFTERTRÄDA/เอฟเตอร์แทรดา เติมเต็มลุคทั้งแต่งบ้านและแต่งตัว ประกอบด้วย เสื้อยืด  ฮู้ดแจ็คเก็ต ผ้าเช็ดตัว กระติกน้ำ กระเป๋าผ้า พวงกุญแจ ฯลฯ  พร้อมวางจำหน่ายที่อิเกีย บางนา  อิเกีย บางใหญ่ และอิเกีย ภูเก็ต ในวันที่ 14 มกราคม 2564 (สินค้ามีจำนวนจำกัด)    
6 วิธีช้อปปิ้งในห้าง-ซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ปลอดภัยจากโควิด-19

6 วิธีช้อปปิ้งในห้าง-ซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ปลอดภัยจากโควิด-19

ตอนนี้สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่ว ทุกพื้นที่นอกบ้านล้วนแต่เป็นพื้นที่เสี่ยง ซึ่งอาจจะมีเชื้อโรคปะปนอยู่ แต่หากเรายังมีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอกบ้าน เพื่อไปทำธุระหรือทำงานอะไรก็ตาม ต้องไม่ประมาท และอยู่ภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัยด้านสาธารณสุขอยู่เสมอ โดยเฉพาะการสมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และการเว้นระยะทางสังคม   สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นจะต้องเดินทางไปจับจ่ายซื้อสินค้า โดยเฉพาะในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต ก็ต้องระมัดรวังและดูแลตนเองให้ดี ไม่อยู่ในความประมาท ซึ่งวันนี้เรามีคำแนะนำเพื่อการไปช้อปปิ้งซื้อสินค้าอย่างปลอดภัยมาฝาก นอกเหนือจากการปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว 1.เช็คอินด้วยแอพปลิเคชั่น “ไทยชนะ” เมื่อไปในพื้นที่ใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องเช็คอินด้วยแอพปลิเคชั่น “ไทยชนะ” เพื่อบันทึกไทม์ไลน์การเดินทางของเราไว้ อย่าคิดว่าตนเองจะจดจำเส้นทางการเดินทางของตนเองได้หมด แต่หากเกิดโทรศัพท์แบตเตอรี่หมด หรือลืมนำติดตัวไป ให้บันทึกข้อมูลไว้กับสถานที่นั้นเสมอ ๆ ต้องเขียนด้วยลายมือที่อ่านง่าย และหลังจากลงชื่อแล้ว ต้องล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง 2.เว้นระยะการใช้บันไดเลื่อน-ลิฟท์ หากใช้บันไดเลื่อน ควรเว้นระยะระหว่างบุคคลที่อยู่ด้านหน้าอย่างน้อย 2 ขั้นบันได หรือหากใช้ลิฟท์ต้องไม่อยู่ภายในลิฟท์ที่มีจำนวนผู้ใช้บริการเกินกว่าที่เจ้าของสถานที่กำหนด ซึ่งปัจจุบันทุกลิฟท์จะมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าให้โดยสารได้กี่คนต่อครั้ง   ที่สำคัญ หลังจากจับราวบันไดเลื่อน หรือกดเปิด-ปิดลิฟท์ หรือชั้นที่ต้องการ ต้องล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง และหากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด อย่าใช้มือมาจับสิ่งของใช้ เช่น โทรศัพท์ หรือมาจับใบหน้าของตนเอง เพราะจะมีความเสี่ยงจากมือที่ยังไม่ได้ล้างให้สะอาดได้มาก 3.หลาย “จุดเสี่ยง” ในห้องน้ำ ที่อาจละเลย แม้ทางเจ้าของพื้นที่ให้บริการ จะทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคอยู่เสมอ แต่จำนวนผู้ใช้บริการที่มีอย่างต่อเนื่อง อาจจะเกิดการแพร่ระบาดในช่วงเวลาใดก็ได้ ซึ่งห้องน้ำถือว่ามีจุดเสี่ยงหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นลูกบิดประตู ที่จับประตู ที่กดชักโครก หรือแม้แต่ก๊อกน้ำ หากเป็นไปได้อาจจะต้องใช้สเปรย์หรือผ้าแอลกอฮอล์เช็ดบริเวณดังกล่าวก่อนใช้งาน หรืออาจจะล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดหลังจากเสร็จธุระในห้องน้ำแล้ว หลังจากนั้นควรล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์อีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานที่หลายแห่ง ได้มีอุปกรณ์ที่เป็นระบบเซ็นเซอร์ เปิด-ปิดแบบอัตโนมัติ ซึ่งหากมีอุปกรณ์ดังกล่าวเราแค่ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด ซึ่งต้องมีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 20 วินาที และล้างให้ทั่วบริเวณมือทั้งด้านหน้าและหลังมือ หรือเท่ากับระยะเวลาการร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ดเดย์ 2 รอบ ก็ถือว่าทำความสะอาดได้มีประสิทธิภาพแล้ว 4.ตะกร้า-รถเข็น ใช้แล้วอย่าลืมล้างมือ ตะกร้าและรถเข็น อีกบริเวณหนึ่งที่เป็นจุดเสี่ยงได้เช่นกัน ซุปเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งได้มีมาตรการทำความสะอาดอุปกรณ์ดังกล่าวอยู่เป็นระยะ ๆ  แต่เพื่อความไม่ประมาณและเป็นการดูแลตนเองที่ดีที่สุด ควรล้างมือทุกครั้งด้วยเจลแอลกอฮอล์ เพื่อลดความเสี่ยงการได้รับเชื้อโรค 5.“สังคมไร้เงินสด” สะดวกและปลอดภัย ธนบัตรและเหรียญ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีความเสี่ยง จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ และเราอาจจะไม่ทันรู้ตัว เพราะเงินถูกจับและเปลี่ยนมือหลายคน ทำให้ไม่รู้ว่าผู้ที่สัมผัสเงินก่อนหน้านั้น เป็นผู้ได้รับเชื้อโรคมาก่อนหรือไม่ รวมถึงบัตรเครดิตเองก็มีโอกาสที่จะมีเชื้อโรคสะสมอยู่ เราจึงควรลดการใช้เงินสดและบัตรเครดิต ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงของไวรัสโควิด-19   ปัจจุบันรูปแบบการชำระเงินสามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการชำระด้วย QR Code หรือ การโอนเงิน ซึ่งมีความสะดวก ปลอดภัยสูงกว่าการสัมผัสกับเงินสด หรือบัตรเครดิต ในสถานการณ์ปัจจุบันลูกค้าจึงควรหลีกเลี่ยงการชำระสินค้าด้วยเงินสด หรือบัตรเครดิต 6.Take home ซื้ออาหารกลับบ้าน ปลอดภัยกว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีความเสี่ยงสูง และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการเว้นระยะทางสังคม ร้านอาหารหลายแห่ง จึงปิดพื้นที่ส่วนให้บริการรับประทานในร้าน แต่ให้ซื้อกลับไปรับประทานที่บ้านแทน ซึ่งมีความปลอดภัยกว่า แม้ว่าอาจจะมีบางร้านที่สามารถให้นั่งรับประทานอาหารได้ แต่เพื่อลดความเสี่ยงและลดโอกาสในการสัมผัสเชื้อโรค แม้ว่าหลายร้านจะมีมาตรการที่ดีในการดูแล และมีการทำความสะอาดร้านและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่แล้ว แต่การซื้อไปรับประทานที่บ้านดีกว่า และปลอดภัยกว่า
4 กลยุทธ์ทางรอดออฟฟิศบิวดิ้ง  รับมือโควิด-19 ยุค Next Normal

4 กลยุทธ์ทางรอดออฟฟิศบิวดิ้ง รับมือโควิด-19 ยุค Next Normal

สถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยอีกครั้ง ทำเอาหลายคนวิตกกังวล กลัวว่าจะสถานการณ์จะรุนแรงกว่าเดิม เพราะผู้ติดเชื้อได้เดินทางไปในสถานที่ และพบปะผู้คนมากมาย ซึ่งทำให้นับจากนี้ ประชาชนคงต้องระมัดระวังตัวเองมากขึ้น ต้องป้องกันการได้รับเชื้อโควิด-19 ด้วยมาตรการที่เคยปฎิบัติมา ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า และการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ หรือการทำความสะอาดมือทุกครั้งหลังการสัมผัสสิ่งของที่อาจจะเป็นแหล่งที่อยู่ของเชื้อโรค   ในขณะที่อาคารและสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร สำนักงาน หรือแหล่งชุมชน ต่างก็ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการป้องกันการแพร่เชื้อโรคไวรัสโควิด-19 มาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิของผู้เข้ามาใช้บริการ หรือการมีเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่าง ๆ ไว้ให้ทำความสะอาดมือ และการติดตั้งอุปกรณ์การใช้งานของสิ่งต่าง ๆ เพื่อที่จะลดการสัมผัส การกันพื้นที่บางส่วนให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งเป็นมาตรการที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา   แม้ในอนาคตหากมีการนำเอาวัคซีนมาใช้จริงกับมนุษย์ หรือเราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าทุกคนคงจะยังต้องปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสาธารณสุข เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างแน่นอน รวมถึงบรรดาอาคารและสถานที่ต่าง ๆ ก็คงยังต้องมีมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นไปตามวิถีชีวิตปกติใหม่ หรือ New Normal อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   นอกจาก อาคารสำนักงาน หรือ ออฟฟิศ บิลดิ้ง จะต้องปรับตัว กับการอยู่ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แล้ว  สถานการณ์ภาพรวมของตลาดธุรกิจสำนักงานให้เช่า และธุรกิจโรงแรมในปี 2563 ที่ผ่านมา ต่างต้องประสบกับวิกฤตจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดภาวะชะงักงันของภาคธุรกิจโดยรวม และปัจจุบันเกือบทุกบริษัทหันมาใช้การทำงานรูปแบบ Work from home กันมากขึ้น ทำให้อาคารสำนักงานให้เช่าเริ่มเข้าสู่จุดเสี่ยง สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ประกอบการเจ้าของอาคารหลายแห่งเริ่มมองหาตัวช่วยในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับอาคารของตนเพื่อดึงดูดผู้เช่าและผู้ใช้อาคารให้กลับมาเหมือนเดิม รวมไปถึงสร้างความเชื่อมั่นเพื่อเชิญชวนผู้เช่ารายใหม่ ๆ ให้เข้ามามากกว่าเดิมด้วย ขณะที่ทิศทางในอนาคตการจะรับมือกับรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ หรือ Next Normal นั้น SCG Building and Living Care Consulting มีคำแนะนำให้ใช้ 4 กลยุทธ์เพื่อรับมือแบบ Next Normal ของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง หลังยุคโควิด ดังนี้ 1.Intelligent Building ปรับอาคาร และ ฟังก์ชันการใช้งานภายในอาคารให้มีความอัจฉริยะ โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อมัดใจคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็น Gen Me หรือ Millennials ซึ่งมีผลวิจัยว่าคนรุ่นใหม่ 69-78% ให้ความสำคัญกับ workplace มากกว่า benefit บางอย่างที่พวกเขาอาจไม่ได้ใช้ 2.Healthy Building ทำอาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานอาคารมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง และปลอดภัย รวมถึงการออกแบบพื้นที่ทำงานจะต้องก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้ความสะดวกสบาย และสร้างประสิทธิภาพและการเข้าถึงให้แก่ผู้ทำงานทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และรวมถึงผู้ทุพลภาพในด้านต่าง ๆ ด้วย 3.Homey Environment ออกแบบพื้นที่ภายในและนอกอาคารให้รู้สึกสะดวกสบายเหมือนอยู่บ้าน โดยเชื่อมโยงชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน อาจใช้องค์ประกอบที่มีในธรรมชาติ มีพื้นที่ให้ผ่อนคลายจากการทำงาน มีพื้นที่หลากหลายตามแต่ความต้องการของการใช้พื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา และคำนึงถึงระดับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน 4.Building Certification ปรับพัฒนาอาคารตามมาตรฐานอาคารระดับโลก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้อาคาร จากการรับรองโดยสถาบันที่มีชื่อเสียง ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร/อาคารนั้นได้มากขึ้น และยังส่งผลต่อค่าเช่าพื้นที่ที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มได้มากกว่าอาคารทั่วไป   สำหรับ SCG Building and Living Care Consulting ได้ดำเนินธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่การออกแบบ ก่อสร้างอาคาร รวมไปถึงการรับรองอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ด้วยบริการให้คำปรึกษาเพื่อขอรับรองมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานในการรับรองอาคารแบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่  มาตรฐานอาคารเขียว (Green Building Certification) และ มาตรฐานอาคารเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี (Well-Being Building)  
AWC ผลงานไตรมาส 3 ฟื้นตัว แต่ยังขาดทุน 620 ล้าน

AWC ผลงานไตรมาส 3 ฟื้นตัว แต่ยังขาดทุน 620 ล้าน

AWC ประกาศผลงาน ไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้น หลังการท่องเที่ยวเริ่มฟื้น สถานการณ์โควิดคลี่คลายรัฐเดินหน้าผ่อนปรนระยะที่ 6 สร้างรายได้รวม 1,225 ล้านบาท สูงขึ้น 63.5%  จากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังขาดทุนกว่า 620 ล้าน   AWC รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2563 ที่ผ่านมา ว่าขาดทุนสุทธิ 620 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น 29.3% จากไตรมาส 2/2563 ซึ่งขาดทุนกว่า 876 ล้านบาท  โดยไตรมาส 3/2563 มีรายได้รวม 1,225 ล้านบาท หรือลดลง 61.9% จาก 3,213 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ด้วยผลกระทบต่อเนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ว่าในปัจจุบันได้มีประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 6 ที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติบางกลุ่มเดินทางเข้าประเทศไทยได้ แต่ยังไม่สามารถเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวได้   อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายได้รวมไตรมาส 3/2563 เทียบกับไตรมาส 2/2563 จะเห็นได้รายได้รวมปรับตัวสูงขึ้น 63.5% แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวและแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยวภายในประเทศ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสามารถควบคุมค่ายใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานในไตรมาส 3/2563 ลดลง 18.9% จากไตรมาส 2/2563 เป็นผลมาจากแผนการปรับโครงการสร้างองค์กรควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่าย (Cost Control and Efficiency Initiatives) ซึ่งเป็นการรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน ไตรมาส 3 ขาดทุนลดเหลือ 620 ล้าน นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า  ในเดือนกรกฏาคม โรงแรมภายใต้ AWC เกือบทั้งหมด (ยกเว้นโรงแรม เชอราตัน สมุย รีสอร์ท) ได้กลับมาเปิดให้บริการ และตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม โรงแรมภายใต้ AWC อีก 2 แห่ง ได้แก่ โรงแรม เลอ เมอริเดียน กรุงเทพ และ โรงแรม ดับเบิ้ลทรี บาย ฮิลตัน สุขุมวิท กรุงเทพฯ ได้เข้าร่วมการเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine: ASQ) ทำให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมทั้งหมดของบริษัท (Average Occupancy Rate) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ​ ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ และยังมีการลดค่าเช่าให้กับผู้ประกอบการร้านค้าเช่าบางรายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า (Retail) เพื่อให้สามารถผ่านวิกฤตไปได้ร่วมกันกับ AWC ส่งผลให้บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิไตรมาส 3/2563 ที่ 620 ล้านบาท แม้ว่าจะยังคงได้รับผลประโยชน์อย่างต่อเนื่องจากกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายและสมดุลเชิงธุรกิจ (Balanced and Diversified Portfolio) ที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคง อัดโปรฯ กระตุ้นธุรกิจโรงแรม กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ของบริษัท ยังคงได้รับผลกระทบจากภาพรวมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับรายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัท โดยมีรายได้ 451 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีรายได้ 2,104 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2563 ที่มีรายได้ 130 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม AWC ได้ออกโปรแกรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ Thai Holidays Lifestyle, Gift of Hapiness จาก 16 โรงแรมภายใต้ AWC ขานรับโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” อีกทั้ง Bangkok Holidays Lifestyle, Gift of Happiness เพื่อกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยยอดจองโรงแรมต่างๆ อาทิ โรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค ที่ได้ยอดจองกว่า 5,000 คืน นอกจากนี้ ยังได้ออกแพคเกจ AWC INFINITE LIFESTYLE: INFINITE POINT OF HAPPINESS แพ็กเกจคะแนน Infinite Point ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ สำหรับใช้เข้าพักหรือแลกเพื่อใช้บริการที่หลากหลายในโรงแรมและรีสอร์ตใดก็ได้ในเครือ AWC ทั้ง 15 แห่งทั่วประเทศ ตอบรับนโยบายการท่องเที่ยวของภาครัฐ และส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยให้พลิกฟื้นและเดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้โรงแรมต่างๆ ภายใต้ AWC มี RGI Index ปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด   โดยโรงแรมในกรุงเทพฯ อาทิ โรงแรม เลอ เมอริเดียน และโรงแรม แบงค็อกแมริออท เดอะ สุรวงศ์ มี RGI Index เดือนกันยายนสูงถึง 268.2 และ 252.9 ตามลำดับ และโรงแรมในเมืองท่องเที่ยวสำคัญอย่าง โรงแรม ภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา, ในยางบีช และโรงแรม หัวหิน แมริออท รีสอร์ท และ สปา มี RGI Index ในไตรมาสที่ 3/2563 สูงถึง 387.0 และ 146.3 ตามลำดับ ทำให้รายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จาก 126 ล้านบาทในไตรมาส 2/2563 เป็น 450 ล้านบาทในไตรมาส 3/2563 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 257.1%   ในขณะที่รายได้ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail and Commercial) ได้ปรับตัวสูงขึ้นจาก จาก 632 ล้านบาทในไตรมาส 2/2563 เป็น 771 ล้านบาทในไตรมาส 3/2563 หรือเพิ่มขึ้น 22.0% เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้า (Retail) ที่มีจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการ (Traffic) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังการประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 และการลดส่วนลดตามจำนวนผู้ใช้บริการโครงการที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจอาคารสำนักงาน (Office) ยังคงสร้างรายได้ที่มั่นคงอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มประสิทธิภาพบริหารงาน+ลดค่าใช้จ่าย ด้วยการวางรากฐานการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน บริษัทยังคงเดินหน้าปรับโครงการสร้างองค์กรควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต (Cost Control and Efficiency Initiatives) โดยถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไตรมาส 3/2563 จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2563 แต่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานได้ลดลงจาก 96.9% ในไตรมาส 2/2563 เป็น 78.0% ในไตรมาส 3/2563 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัทได้เป็นอย่างดี   “AWC ยังคงเชื่อมั่นในธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยได้เดินหน้าตามแผนพัฒนาโครงการคุณภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การลงนามในสัญญาครั้งสำคัญกับแมริออทอินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อขยายความร่วมมือในการพัฒนาโรงแรม 4 แห่ง รวม 1,638 ห้องในกรุงเทพฯ และพัทยา การลงนามในบันทึกข้อตกลงกับครัวคุณต๋อย พันธมิตรเชิงกลยุทธ์รายใหม่ เพื่อมอบประสบการณ์ด้านอาหารแบบยั่งยืนและเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้า” เดินหน้าปรับโฉมใหม่พันธุ์ทิพย์ประตู้น้ำ นอกจากนี้ ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา AWC ได้ยกระดับโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในหลากหลายมิติของลูกค้าทุกกลุ่ม ด้วยองค์ประกอบและบรรยากาศที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่า ด้วยงบประมาณกว่า 300 ล้านบาท ภายใต้แนวคิด “Heritage Alive” ต่อยอดการอนุรักษ์หลักฐานอิงประวัติศาสตร์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง และเปิดตัวเรือ “สิริมหรรณพ” แลนด์มาร์คใหม่ริมน้ำเจ้าพระยาที่ตอบโจทย์การท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ ทั้งการกินดื่มและพักผ่อนหย่อนใจ ด้วยห้องอาหาร และบาร์ระดับพรีเมี่ยมที่ให้บริการอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะภายใต้แนวคิดใหม่ในความร่วมมือกับโรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค และได้เปิดตัวโรงแรม บันยันทรี กระบี่ โรงแรมแห่งแรกของ AWC ในจังหวัดกระบี่ บนทำเลทองติดที่ดินอุทยานแห่งชาติเขาหงอนนาค   นางวัลลภา กล่าวอีกว่า บริษัทฯ ยังเตรียมปรับโฉมโครงการพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ให้เป็นศูนย์ค้าส่งใจกลางเมือง “AEC Trade Center – Pantip Wholesale Destination” ด้วยการลงนามในสัญญาความร่วมมือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมการค้า 11 หน่วยงาน ส่งเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าให้ผู้ประกอบการ รวมทั้งร่วมมือกับ Yiwu CCC Group ศูนย์ค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จะเชื่อมการส่งออก-นำเข้า เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาค ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนถึงศักยภาพ และความแข็งแกร่งของ AWC ในการดำเนินแผนกลยุทธ์พัฒนาธุรกิจที่มุ่งเน้นการเติบโต ตลอดจนสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนเพื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในระยะยาว
2 กลยุทธ์ “โฮมโปร” รับไลฟ์สไตล์ลูกค้ายุค New Normal

2 กลยุทธ์ “โฮมโปร” รับไลฟ์สไตล์ลูกค้ายุค New Normal

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป เข้าสู่ความปกติใหม่ หรือ New Normal ไม่ใช่แค่การใช้ชีวิตประจำวันเท่านั้น ที่ต้องปรับเปลี่ยนไป แต่การทำงานหรือแม้แต่การดำเนินธุรกิจก็ต้องปรับเปลี่ยนเช่นกัน พนักงานจำนวนมากต้องทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) เจ้าของธุรกิจก็ต้องปรับโมเดลการทำธุรกิจใหม่ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าเช่นกัน   พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน นับตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 คือ การช้อปปิ้งออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น เพราะนับตั้งแต่มีการล็อกดาวน์เมือง ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าปิดให้บริการ แต่หันมาจำหน่ายสินค้าผ่านระบบเดลิเวอรี่และออนไลน์แทน แม้ว่าภายหลังจากสถานการณ์ทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น แต่พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์และระบบเดลิเวอรี่ก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นพฤติกรรมปกติใหม่ของคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว   สินค้าที่ที่จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ปัจจุบัน ลูกค้าไม่ได้สั่งซื้อเฉพาะกินของใช้จิปาถะ หรืออาหารการกิน หรือสินค้าแฟชั่นเท่านั้น แต่สินค้าชิ้นใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ อาทิ แอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หรือเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งและซ่อมแซมบ้าน ก็ได้รับความนิยมในการสั่งซื้อผ่านช่องทางด้วยเช่นกัน เพราะปัจจุบันระบบการสั่งซื้อและการจัดส่ง สะดวก รวดเร็ว และได้รับสินค้าเหมือนกับการไปซื้อด้วยตนเองที่ห้างสรรพสินค้า ล็อกดาวน์ดันยอดขายออนไลน์โต “โฮมโปร” ศูนย์จำหน่ายสินค้าวัสดุ ของตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ปรับตัวเองกับการเปิดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการล็อกดาวน์เมือง ไม่ได้เปิดให้บริการจำหน่ายสินค้าในร้าน แต่ปรับตัวด้วยการเปิดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ ไลน์ เฟสบุ๊ค และล่าสุด เปิดตัวแอปพลิเคชั่น โฮมโปร นางสาวเสาวณีย์  สิราริยกุล  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการกลุ่มการตลาด บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ “โฮมโปร”  เปิดเผยว่า ช่วงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โฮมโปรมีสัดส่วนยอดขายผ่านช่องออนไลน์ 3-4% แต่หลังจากที่โฮมโปรหันมาเพิ่มช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้มียอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ขึ้นเป็น 8%   นอกจากนี้  โฮมโปรยังมองเห็นปัญหาสำคัญของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ที่ลูกค้ามักจะไม่ได้รับสินค้าตรงกับที่สั่ง ด้วยการเปิดบริการ Click & Collect  เป็นการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า ที่เมื่อสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์แล้วสามารถมารับสินค้าได้ที่สาขาใกล้บ้าน 2 กลยุทธ์รับไลฟ์สไตล์ลูกค้ายุค New Normal โฮมโปร ไม่ได้ปรับตัวเฉพาะในเรื่องการตลาดออนไลน์เท่านั้น แต่ในช่องทางออฟไลน์ โฮมโปรก็ได้ปรับตัวรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย โดย 2 สิ่งที่โฮมโปรปรับกลยุทธ์การทำตลาด รับกับวิถีชีวิต New Normal ของผู้บริโภคยุคหลังโควิด-19 คือ 1.เพิ่มสินค้าใหม่รับไลฟ์สไตล์ New Normal ปัจจุบันสินค้าที่วางจำหน่ายในโฮมโปร เป็นแบรนด์สินค้าทั่วไปของซัพพลายเออร์ทั้งในและต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็มีสินค้าที่โฮมโปรสั่งผลิตภายใต้แบรนด์ของตนเอง หรือจัดหามาจำหน่ายเอง (Sourcing) เพราะต้องการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าของโฮมโปร ปัจจุบันมีสัดส่วนสินค้าของโฮมโปรอยู่ 22% โดยจะพัฒนาและคัดเลือกสินค้ามาจำหน่ายให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการในสัดส่วน 25%   ล่าสุด การเปิดให้บริการโฮมโปรในสาขา ศูนย์การค้ามาร์เก็ต วิลเลจ รังสิต โฮมโปรเพิ่มสินค้าแบรนด์ใหม่ของตนเองมากถึง 10-15% กระจายไปในหลายกลุ่มสินค้า ที่สำคัญสินค้าได้ถูกพัฒนามาเพื่อตอบโจทย์ New Normal อาทิ เครื่องบรรจุอาหารสุญญากาศ จากพฤติกรรมของลูกค้าที่มักจะประกอบอาหารกินเองที่บ้าน หรือทำขนมขายและต้องการจัดเก็บอาหารไว้ให้ได้นาน หรือการแพ็คอาหารขาย การจำหน่ายอุปกรณ์ปลูกผักที่เป็นระบบอัตโนมัติ รองรับกับพฤติกรรมการปลูกพักของคนที่ใช้เวลาอยู่บ้าน เป็นต้น 2.การจัดดิสเพลย์สินค้า ตอบโจทย์ Home Solution โฮมโปร สาขาศูนย์การค้ามาร์เก็ต วิลเลจ รังสิต ถือเป็นสาขาใหม่ล่าสุดของปีนี้ สาขาที่ 85 ที่มีรูปแบบการจัดเลย์เอาท์ของจำหน่ายสินค้าด้วยรูปแบบใหม่ ที่รองรับกับวิถีชีวิต New Normal  ด้วยการจัดกลุ่มสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกันมาไว้ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน พร้อมกับการจัดดิสเพลย์สินค้าให้เห็นถึงการใช้งานที่ร่วมกัน อาทิ การจัดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ไว้ใกล้กับจาน ชาม อุปกรณ์ครัว อุปกรณ์ประกอบอาหาร เพราะโฮมโปรพบว่า ในช่วงล็อกดาวน์  ลูกค้าซื้อเตาอบขนมไปทำขนมขาย ซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้นมากถึง 3-4 เท่าตัว ทำให้สาขาใหม่จึงจัดสินค้าที่ต้องใช้ในการทำขนมมาไว้ในพื้นที่ใกล้กัน   แนวคิดของการปรับเลย์เอาท์แสดงสินค้า จะถูกนำไปใช้กับสาขาเดิมของโฮมโปรด้วย เพื่อทำให้ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าภายในโฮมโปร สามารถได้สินค้าครบตามความต้องการ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของ Total Home Solution ของโฮมโปรที่ต้องการขายสินค้าให้กับลูกค้าแบบครบจบในที่เดียว ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดยอดขายต่อบิลที่สูงขึ้น โดยโฮมโปรสาขาศูนย์การค้ามาร์เก็ต วิลเลจ รังสิต คาดว่าจะสามารถทำยอดขายได้เดือนละ 100 ล้านบาท ใกล้เคียงกับสาขาขนาดใหญ่อื่น ๆ ของโฮมโปร   สำหรับศูนย์การค้ามาร์เก็ต วิลเลจ รังสิต บริษัทได้ลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 5 สาขา โดยมีคอนเซ็ปต์การพัฒนาให้เป็น  Life Style Mall  ซึ่งสาขาดังกล่าวตั้งอยู่บนถนนรังสิต-ธัญญบุรี พื้นที่กว่า 25 ไร่ รวมพื้นที่ใช้สอยกว่า 35,000 ตร.ม.  ภายในโครงการของศูนย์การค้าประกอบไปด้วย ร้านอาหารแบรนด์ชั้นนำ  Homepro และTop Super Market และร้านค้าปลีกชื่อดังกว่า 100 ร้านค้า ศูนย์อาหาร Street Food Market ศูนย์รวมความบันเทิง และพักผ่อน The Fitness Society และ Play Tory (PlayLand) ส่วนโฮมโปร สาขาศูนย์การค้ามาร์เก็ต วิลเลจ  ถือเป็นสาขาแห่งที่ 85  มีพื้นที่กว่า 9,000 ตรม. ตั้งอยู่ชั้น 2 ของศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ ซึ่งในวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้ จะเปิดสาขาที่ 86 ที่ย่านสุขสวัสดิ์ เพื่อผลักดันยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ในปีนี้    
อิเกีย เจอล็อกดาวน์เพราะโควิด-19 ยอดขาย-รายได้รวมลดกว่า 7% รอบ 10 ปี

อิเกีย เจอล็อกดาวน์เพราะโควิด-19 ยอดขาย-รายได้รวมลดกว่า 7% รอบ 10 ปี

อิเกีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเม็กซิโก  ได้รับผลกระทบโควิด ยอดขายและรายได้ลด กว่า 7% ครั้งแรกในรอบ 10 ปี เหตุเจอมาตรการณ์ล็อกดาวน์ แต่ได้อานิสงค์คนอยู่บ้าน สั่งสินค้าออนไลน์เพิ่ม ทำยอดขายโต 2 เท่า     อิเกีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเม็กซิโก ประกาศรายได้ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่าหนึ่งทศวรรษของ การเติบโตและขยายตัวทางธุรกิจ ปิดปีงบประมาณที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ด้วยรายได้รวม 26,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน วิกฤติโควิดได้เร่งให้บริษัทเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกธุรกิจแบบดิจิทัลเร็วขึ้น ผลจากความนิยมในการแต่งบ้านที่พุ่งขึ้นอย่างล้นหลามช่วงล็อกดาวน์ นายคริสเตียน รอยเคียร์ กรรมการผู้จัดการอิเกีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเม็กซิโก เปิดเผยว่า เมื่อต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันอย่างกะทันหัน หลายคนมาที่อิเกียเพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์และของใช้ไปแต่งโฮมออฟฟิศ มุมอ่านหนังสือ พื้นที่พักผ่อนกลางแจ้ง และครัวที่ตอบโจทย์การใช้งานในบ้านของตนเอง หลายคนตระหนักว่า บ้านมีความหมายและสำคัญต่อพวกเขามากแค่ไหน และเห็นว่ามันคุ้มที่จะลงทุนเพื่อทำให้บ้านที่ใช้ชีวิตอยู่ในทุก ๆ วัน เป็นที่อยู่อาศัยได้อย่างสบาย ตอบโจทย์การใช้งาน และมีรูปลักษณ์สวยงาม วิกฤติโควิดเปลี่ยนความคิดและค่านิยมที่หลายคนมีต่อการใช้ชีวิตในบ้าน โดยสโตร์อิเกียทั้ง 9 แห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท มียอดขายรวม 22,400 ล้านบาท ในช่วงเดือนกันยายน 2562 – สิงหาคม 2563 ลดลงจากยอดขายในปีงบประมาณที่ผ่านมา 7.4% เนื่องด้วยสโตร์หลายแห่งต้องปิดให้บริการชั่วคราว โดยบางแห่งปิดให้บริการไปนานถึงสองเดือนครึ่ง ทั้งยังต้องเผชิญความท้าท้ายในเรื่องการจัดหาสินค้า และการจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการภายในสโตร์เพื่อรักษาระยะห่างที่ปลอดภัย ทั้งนี้ เมื่อรวมกับรายได้จากศูนย์การค้าในเครือที่เชื่อมต่อกับสโตร์อิเกียอีก 5 ศูนย์ (ทั้งหมดบริหารงานโดยอิคาโน่ เซ็นเตอร์ส ซึ่งมีการเยียวยาค่าเช่าให้แก่ผู้เช่าจำนวนหลายร้อยรายที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติที่เกิดขึ้น) ทำให้บริษัทมีรายได้รวม 26,000 ล้านบาท น้อยกว่าปีก่อน 2,000 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 7.1%   อิเกีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเม็กซิโก เป็นหนึ่งใน 12 แฟรนไชส์อิเกียที่มีอยู่ทั่วโลก โดยมีสโตร์เปิดให้บริการในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ควบคู่ไปกับศูนย์การค้าในเครืออิคาโน่ เซ็นเตอร์ส ซึ่งปัจจุบันมีผู้เช่าประมาณ 1,500 ราย ภายใต้พื้นที่ให้เช่า 4 ล้านตารางฟุต บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะเข้าถึงคนทั่วไปอีกเป็นจำนวนมาก ด้วยการให้บริการเฟอร์นิเจอร์ และสินค้าตกแต่งบ้าน รวมถึงมีทบอลต้นตำรับสวีเดนในสโตร์ที่จะเปิดให้บริการในประเทศเม็กซิโกและฟิลิปปินส์ ซึ่งทั้งสองแห่งจะเปิดให้ลูกค้าช้อปออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ได้ล่วงหน้าหลายเดือนก่อนที่จะได้เข้าไปสัมผัสประสบการณ์ช้อปเต็มรูปแบบในสโตร์ หลังให้บริการอีคอมเมิร์ซใน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม สโตร์อิเกียในทั้ง 3 ประเทศยังสามารถจำหน่ายสินค้าที่ตอบโจทย์การใช้งานแก่ลูกค้าได้แม้ในช่วงที่ต้องปิดหน้าร้านไปเป็นเวลานาน โดยได้รับการสนับสนุนและคำแนะนำจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่ พนักงานร่วมแรงร่วมใจกันจัดตั้งระบบปฏิบัติงานด้านการหยิบ แพ็ก และจัดส่งสินค้าเพื่อรองรับยอดสั่งซื้อจำนวนมากในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน แผนกที่เกี่ยวข้องต้องจัดหาผู้ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าเพิ่มเติม เพิ่มรอบจัดส่งสินค้า ปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่ให้รองรับยอดสั่งซื้อออนไลน์ที่เข้ามาในแต่ละวัน เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ มียอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์กว่า 525,000 ออเดอร์ คิดเป็นยอดขายออนไลน์กว่า 3,100 ล้านบาท ซึ่งเกิน 2 เท่าของรายได้รวมจากอีคอมเมิร์ซของบริษัทในปีก่อนหน้า   สโตร์ในประเทศไทยได้เริ่มให้บริการ Click & Collect ช้อปออนไลน์และรับสินค้าได้ที่สโตร์ ขณะที่แผนกอาหารและเครื่องดื่มในสโตร์อิเกีย  ทั้งในไทยและมาเลเซียหันหน้าจับมือพันธมิตรทางธุรกิจ ขยายการให้บริการจัดส่งอาหารหลากหลายเมนู รวมถึงมีทบอลต้นตำรับสวีเดน  และหลายส่วนยังทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาคเพื่อให้ความช่วยเหลือในการจัดส่งสินค้าและบริการให้แก่โรงพยาบาล หอพักแรงงานอพยพ ศูนย์พักพิง และองค์กรอื่นๆ ที่เป็นแนวหน้าในการรับมือวิกฤติโควิด-19  ในแต่ต่ละประเทศ รวมมูลค่ากว่า 11.5 ล้านบาท   ผลประกอบการ รายได้ปีงบประมาณ 2563 ระหว่างกันยายน 2562 – สิงหาคม 2563 ประเทศสิงคโปร์ อิเกีย Tampines อิเกีย Alexandra รวมรายได้ 304 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 7,000 ล้านบาท ประเทศมาเลเซีย อิเกีย Damansara และศูนย์การค้า IPC อิเกีย Cheras และศูนย์การค้า MyTOWN อิเกีย Tebrau และศูนย์การค้า Toppen อิเกีย Batu Kawan และศูนย์การค้า Batu Kawan Link รวมรายได้ 472 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 10,900 ล้านบาท ประเทศไทยไทย อิเกีย บางนา และศูนย์การค้าเมกาบางนา อิเกีย บางใหญ่ อิเกีย ภูเก็ต รวมรายได้ 344 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ  8,000 ล้านบาท   ข้อมูลที่น่าสนใจ 1 กันยายน 2562 – 31 สิงหาคม 2563 77 ล้าน                 ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์อิเกียในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย เพิ่มขึ้น 46% จากปีที่แล้ว 28 ล้าน                จำนวนชิ้นของมีทบอล ชิคเก้นบอล และเวจจี้บอลที่จำหน่ายใน 3 ประเทศ 2.4 ล้าน               ผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมสมาชิก IKEA Family ใน 3 ประเทศ เพิ่มขึ้น 14% จากปีที่แล้ว 525,418             คำสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ใน 3 ประเทศ เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากปีที่แล้ว 3,561                   จำนวนพนักงานทั้งหมด (สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเม็กซิโก) 1,481                   ผู้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้า 5 แห่งในมาเลเซียและไทย 145                      เต็นท์พักอาศัยบรรจุในกล่องแบนที่อิเกียบริจาคเพื่อใช้เป็นจุดตรวจหาเชื้อ คลินิกชั่วคราวและพื้นที่พักฟื้นในประเทศเม็กซิโกและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 73                         วันที่สโตร์อิเกียปิดให้บริการในสิงคโปร์ 56 วันที่สโตร์อิเกียปิดให้บริการในไทย และ 47-51 วันที่ สโตร์อิเกียปิดให้บริการในมาเลเซีย 3                           สโตร์อิเกียที่เตรียมเปิดให้บริการในปี 2564 ในสิงคโปร์ มะนิลา และเม็กซิโกซิตี (สำหรับสโตร์อิเกียในเวียดนามอยู่ระหว่างวางแผนดำเนินงาน)
ทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่ไม่มีคนขับ !! ไป ไอคอนสยาม

ทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่ไม่มีคนขับ !! ไป ไอคอนสยาม

คนกรุงเทพฯ เตรียมใช้บริการ รถไฟฟ้าสายสีทอง รถไฟฟ้าที่ไม่มีคนขับ แห่งแรกของไทย ไปไอคอนสยาม-โรงพยาบาลตากสิน-สำนักงานเขตคลองสาน กลางเดือนธันวาคม 2563 นี้แน่นอน ด้วยค่าโดยสารแค่ 15 บาท ใช้ระยะเวลาเดินทางแค่ 5 นาทีเท่านั้น   เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เดินทางมาตรวจเยี่ยมโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีกรุงธนบุรี-สถานีสำนักงานเขตคลองสาน) พร้อมกับเปิดทดลองเดินรถก่อนเปิดใช้บริการจริงในช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ โดยมี ผู้บริหารสำนักการจราจรและขนส่ง ผู้บริหารบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้บริหาร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และสื่อมวลชนไปร่วมทดลองนั่งด้วย เปิดให้ใช้แน่กลางเดือนธ.ค.63 โครงการรถไฟฟ้าสายสีทองเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเริ่มก่อสร้างในปี 2561 และขณะนี้การก่อสร้างและติดตั้งระบบในภาพรวมมีความก้าวหน้า 96 % แบ่งออกเป็นความก้าวหน้างานโยธา 98 % และความก้าวหน้างานระบบการเดินรถ 92 % โดยหลังจากติดปัญหาเรื่องผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่ทำให้การจัดส่งขบวนรถและอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องล่าช้า รวมทั้งการปรับปรุงแบบทางขึ้นลงสถานีให้ตรงตามความต้องการของชุมชน ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการเปิดให้บริการจากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนตุลาคม 2563 โดยหลังจากที่สถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายก็ได้รับมอบขบวนรถในโครงการมาครบทั้งหมดแล้ว ทั้ง 3 ขบวน และขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบการเดินรถในเส้นทาง ซึ่งผลการทดสอบเป็นไปตามแผน โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้กลางเดือนธันวาคม 2563 นี้ถือเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาวกรุงเทพฯ โดยเฉพาะประชาชนในย่านฝั่งธนฯ ที่จะมีทางเลือกในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่สถานีคลองสาน เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการหลายแห่ง ทั้งโรงพยาบาลตากสิน สำนักงานเขตคลองสาน สน.ปากคลองสาน และสำนักการศึกษา กทม. จะช่วยให้การเดินทางมาติดต่อราชการสะดวกมากขึ้น รู้จักรถไฟฟ้าสายสีทอง โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง มีระยะทางรวม 2.75 กิโลเมตร 4 สถานี วิ่งตามแนวถนนกรุงธนบุรี ถนนเจริญนครและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน  การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ระยะทาง 1.80 กิโลเมตร (ดำเนินการในปัจจุบัน) ประกอบด้วย สถานีกรุงธนบุรี (G1) สถานีเจริญนคร (G2) สถานีคลองสาน (G3) ระยะที่ 2 ระยะทาง 0.88 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1 สถานี สถานีประชาธิปก (G4) ข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีทอง รถที่นำมาใช้เป็นรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 รถวิ่งได้ความเร็วสูงสุดที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ช่วงที่ได้มาทดลองวิ่งด้วยความเร็วประมาณ 30-60 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะเส้นทางรถไฟฟ้ามีความโค้งหลายจุด ซึ่งระยะเวลาวิ่งจากสถานีกรุงธนบุรีถึงสถานี สำนักงานเขตคลองสาน ใช้เวลาประมาณ 5 นาที มีจำนวน 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ ซึ่งใช้งานจริง 2 ขบวน และอีก 1 ขบวนสำรองไว้สำหรับรถไฟฟ้าขบวนจริงต้องซ่อมแซม หรือต้องหยุดวิ่ง และตู้ของรถไฟฟ้าแต่ละตู้ จะแยกจากกัน ไม่สามารถเดินไปมาระหว่างตู้ขบวน เหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือรถใต้ดินได้ ขนาดความจุผู้โดยสาร 138 คน/ตู้ ตู้รถไฟฟ้ามีความกว้าง 2.8 เมตร ความยาว 12.75 เมตร ความสูง 3.5 เมตร ประตูมีความกว้าง 1.9 เมตร ความสูงของพื้นรถ 1.1 เมตร ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบ Automated Guideway Transit (AGT) หรือระบบขนส่งมวลชนแบบนำทางอัตโนมัติ หรือรถไฟฟ้าระบบ Automated People Mover (APM) เป็นระบบล้อยาง ซึ่งไม่มีคนขับรถไฟฟ้าอยู่ในขบวน แต่จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยพนักงานประจำสถานี ถือเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางแรกของไทย ที่ไร้คนขับอยู่ในขบวน ไม่เหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือเอ็มอาร์ที   ไปไอคอนสยามได้ง่าย ๆ แค่ 5 นาที รถไฟฟ้าสายสีทอง จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี ด้วยอัตราค่าโดยสารเพียง 15 บาทตลอดสาย ทำให้ต่อไปผู้ที่จะเดินทางไปช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ก็ใช้ระยะเวลาเดินทางเพียง 5 นาทีเท่านั้น ทำให้เป็นการเพิ่มทางเลือกได้มากขึ้น ต่อไปนี้ถ้าจะไปช้อปปิ้งที่ไอคอนสยาม หรือไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลตากสินก็มีทางเลือกหลากหลาย เพราะรถไฟฟ้าสายสีทองยังเชื่อมต่อการเดินทาง ล้อ ราง เรือ รองรับผู้โดยสารจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีกรุงธนบุรี และเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) และสายสีแดง (ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย) ในอนาคต รวมทั้งเชื่อมการเดินทางของประชาชนที่ใช้บริการเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย ซึ่งคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารเมื่อเปิดให้บริการ อยู่ที่ประมาณ 42,260 เที่ยว-คน/วัน   การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้ายังช่วยเพิ่มมูลค่าของที่ดินในแนวรถไฟฟ้า เสริมสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ เห็นได้จากมีโครงการคอนโดมิเนียมของผู้ประกอบการทั้งหลาย เข้าไปปักหมุดกันมากมาย และจะเป็นจุดไฮไลท์อีกแห่งหนึ่งที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ได้อีกด้วย
อัพเดท ตำแหน่งคนในวงการอสังหาฯ หลังจัดองค์กรใหม่

อัพเดท ตำแหน่งคนในวงการอสังหาฯ หลังจัดองค์กรใหม่

ในวงการราชการ ช่วงเวลานี้ คงเป็นช่วงเวลาของการโยกย้าย-แต่งตั้ง รวมถึงการอำลาการทำงาน ด้วยการเกษียณอายุราชการที่กำลังจะสิ้นสุดในปลายเดือนกันยายนนี้ แต่แวดวงธุรกิจเอกชน การเปลี่ยนแปลงโยกย้าย หรือลาออกมักจะเป็นช่วงเวลาปลายปี หรือไม่ก็ต้นปี เพราะต้องรอรับโบนัสจากการทำงานมาตลอดทั้งปีก่อน   แต่สำหรับปีนี้ ดูเหมือนสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเร็ว และเกิดขึ้นมากมายในภาคธุรกิจเอกชน สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้องค์กรต้องรัดเข็มขัด หรือไม่ก็ต้องยอมลดจำนวนพนักงานลง เพื่อให้บริษัทยังคงไปต่อได้ แต่ก็มีหลายบริษัทที่ไปต่อไม่ไหว ต้องปิดกิจการลง ก็มีเห็นอยู่ไม่น้อย   ในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ช่วงเวลานี้ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะกับการปรับเปลี่ยนผู้บริหาร มีเข้า-ออก ปรับโครงสร้างธุรกิจ จัดทัพรับมือกับภาวะตลาดที่ชะลอตัวลง จากกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ข่าวคราวการปรับเปลี่ยนทีมผู้บริหารองค์กรมีมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ผ่านมา ลองมาดูกันว่าในแวดวงคนอสังหาฯ มีใครยังอยู่ ย้ายบ้านหลังใหม่ หรือไม่ได้ไปต่อกันบ้าง พฤกษาได้เวลาผลัดใบ ดันลูกลูกหม้อบริหาร เริ่มต้น คงต้องพูดถึงค่าย “พฤกษา” ยักษ์ใหญ่ในวงการของ “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์” ที่ก่อนหน้านี้ดึงเอามือการตลาดและนักสร้างแบรนด์จากค่ายยูนิลีเวอร์ “คุณจุ๋ม - สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์” มานั่งเก้าอี้บริหารในตำแหน่ง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  ยาวนาน  3 ปี  ก่อนจะมีการสละเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้กับคุณปิยะ ประยงค์ ลูกหม้อพฤกษา ให้ขึ้นมารับหน้าที่แทน จากก่อนหน้านี้คุณปิยะ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท แวลู ซึ่งถือเป็นหนึ่งธุรกิจของพฤกษาเท่านั้น   โดยคุณปิยะ จะดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท (CEO-PS)  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบงานบริหาร ธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตททั้งหมด และจะรายงานตรงต่อ  คุณสุพัตรา จะเน้นบริหารจัดการธุรกิจในกลุ่มพฤกษา โฮลดิ้ง เป็นหลัก มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป   เหตุผลที่ พฤกษา มีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ และการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงในครั้งนี้ อ้างว่าเพื่อเพิ่มศักยภาพและเป็นกลไกสำคัญในการบริหารธุรกิจต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัทฯ ให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  แต่ระยะเวลาผ่านไปไม่นาน ในช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา พฤกษาก็ปรับเปลี่ยนตัวผู้บริหารอีกครั้ง โดยคุณสุพัตราได้ลาออกจาก พฤกษา โดยไม่มีการระบุถึงสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งคุณทองมา ก็ได้จัดทำพิธีมอบช่อดอกไม้อำลา และแสดงความขอบคุณ ถือเป็นการส่งไม้ต่อการบริหารงานของพฤกษา เรียลเอสเตทให้กับปิยะ ประยงค์ ลูกหม้อพฤกษาอย่างเต็มตัว   การเปลี่ยนแปลงของพฤกษา ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมา มือบริหารที่อยู่เคียงคู่คุณทองมา มายาวนานอย่าง “ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท - พรีเมียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ได้โบกมืออำลาจากคุณทองมา  ไปนั่งเก้าอี้ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการ ของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2563 (ช่วงที่ออกจากพฤกษาใหม่ ๆ คุณประเสริฐ ยังไปลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการเคหะแห่งชาติด้วย แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก)   บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของคุณประเสริฐ กับบ้านหลังใหม่ คือ การจัดการด้านภาพรวมของผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งธุรกิจคอนโดและบ้านจัดสรร รวมทั้งการตลาดต่างประเทศ (International Sales) และธุรกิจตัวแทนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ดิ เอเจ้นท์ (พร็อพเพอร์ตี้ เอ๊กซ์เพิร์ท) จำกัด นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ดูแลการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการก่อนการก่อสร้าง (Pre-construction)  การก่อสร้าง (Construction), การให้บริการหลังการขาย (Aftersales services) และ การตลาด (Marketing) อีกด้วย เฟรเซอร์ส จัดทัพ สู่องค์กร 1 แสนล้าน ต้องบอกว่าการดำเนินธุรกิจภายใต้นามสกุล “สิริวัฒนภักดี” เล็ก ๆ ไม่น่าจะใช่ ต้องใหญ่ ๆ เท่านั้น กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด หรือ “FPL” ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การบริหารงานของ คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Group CEO) หนึ่งในทายาทของ “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” จึงต้องสร้างขนาดองค์กรให้ไม่น้อยหน้านักธุรกิจอื่น ๆ   เริ่มต้นจากการ ควบรวมเอาบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ (GOLD) เข้ามารวมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน ซึ่งตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมาโกลด์เด้นแลนด์ ได้รับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด  เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ ที่ได้ประกาศเริ่มรับซื้อรอบแรกในเดือนมิถุนายนปี 2562 ที่ผ่านมา เพื่อปรับกลยุทธ์ เพิ่มศักยภาพของการเชื่อมโยง ต่อยอด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน  ที่สำคัญการรวมกันแล้ว จะทำให้บริษัท เฟรเซอร์สฯ กลายเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 100,000 ล้านบาทเลยทีเดียว   หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทัพด้วยการประกาศแต่งตั้งทีมผู้บริหารต่าง ๆ ขึ้นมาดูแลรับผิดชอบงาน โดยล่าสุดคุณปณต ได้ประกาศแต่งตั้งทีมผู้บริหารใหม่ แม้บางรายจะหน้าเดิม แต่ก็มากด้วยประสบการณ์ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์  โดยการแต่งตั้งทั้งหมดจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563  ซึ่งทีมบริหารชุดใหม่ประกอบด้วย   1.คุณธนพล ศิริธนชัย ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ  มีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2563 และตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมหรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล” จากก่อนหน้าดำรงตำแหน่งประธานอำนวยการ โกลเด้นแลนด์    2.คุณแสนผิน สุขี ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” โดยจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้นำในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบ และแนวสูง โดยนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างครบครัน และมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้อยู่อาศัยได้อย่างสูงสุด ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลเด้นแลนด์เรสซิเดนซ์ จำกัด    3.คุณโสภณ ราชรักษา ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล” เพื่อสร้างการเติบโตและรักษาสถานะผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมยุคใหม่ และอาคารประเภทสร้างตามความต้องการ หรือ Built-to-Suit ที่เน้นการส่งมอบโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าแต่ละราย จากก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้   4.คุณสมบูรณ์ วศินชัชวาล ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยจะรับหน้าที่ในการบริหารและวางกลยุทธ์ด้านการเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการ ของโกลเด้นแลนด์ และเคยเป็นผู้บริหารของพฤกษา เรียลเอสเตท ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายวางแผนการเงินมาก่อนด้วย   5.คุณศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รับหน้าที่ในการบริหารงานด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล พร้อมกำหนดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของเทรนด์ในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสทีที จีดีซี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรูอินเตอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ ทรูไอดีซี ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด ไรมอนด์แลนด์ ดึง ดร.สุรเกียรติ์ คุมทีม  สำหรับบริษัท ไรมอน แลนด์​ จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศแต่งตั้ง ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาวางกลยุทธ์ทางธุรกิจและการลงทุนใหม่ ๆ เพราะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการเติบโต รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งประธานบริษัทให้กับองค์กรใหญ่หลายแห่ง รวมถึงเคยเป็นประธานคณะกรรมการของ บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) มาก่อนเป็นเวลานานกว่า 1 ปีด้วย   นอกจากนี้ ไรมอน แลนด์ ยังได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารภายในใหม่ ด้วยการแต่งตั้ง คุณกรณ์ ณรงค์เดช ให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) มีประสบการณ์ทางด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักซ์ชัวรี่ เคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าบริหารฝ่ายการตลาดกลุ่มเคพีเอ็น รองประธานกรรมการ บริษัท เคพีเอ็น แลนด์ จำกัด และเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการ ดิโพลแมท ซีรีย์ส และ เดอะ แคปปิตอล  ซีรีย์ส                         คุณมนาเทศ อันนวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  ฝ่ายการตลาดและการขาย (Chief Marketing Officer-Marketing & Sales) ซึ่งมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการบริหารงานด้านการตลาด การขาย และการสื่อสารองค์กร จากองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำหลายแห่ง และล่าสุดดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม และดิ เอ็มควอเทียร์ ฯลฯ  โดยจะเข้ามาดูแลรับผิดชอบงานด้านการวางแผนกลยุทธ์การตลาด การขาย การสื่อสารองค์กร และการบริหารจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ แสนสิริ  ปรับลด พนักงานไม่ได้ไปต่อ ขณะที่บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มีกระแสข่าวใหญ่ออกมา คือ การปลดพนักงานกว่า 600 คนของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัทในเครือแสนสิริ แม้ภายหลังคุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แสนสิริ จะออกมาปฏิเสธว่า การปลดพนักงานไม่ได้มีตัวเลขมากถึง 600 คน โดยได้ระบุข้อความผ่านทวิตเตอร์ ว่า “ขออนุญาตชี้แจงก่อนว่าเรามีการเลิกจ้าง 5% ของจำนวนพนักงานแสนสิริและพลัสทั้งหมด ตัวเลขน้อยกว่า 600 คนมากครับ ผมมองว่าเป็นเรื่องปกติของภาคธุรกิจที่ปรับการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจมากกว่า ซึ่งเราเองก็ทำทุกปี” อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ แสนสิริได้มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารคนสำคัญ  คือ คุณวันจักร บุรณศิริ ประธานผู้บริหารสายงานการเงินและสนับสนุนธุรกิจ (CFO) ได้ขอลาออกจากบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทได้ทำการแต่งตั้ง คุณวรางคณา อัครสถาพร  ให้ดำรงตำแหน่งประธานผู้บริหารสายงานการเงิน (CFO) โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ซึ่งก่อนหน้านี้มีตำแหน่ง  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ อาวุโสสายงานการเงินและพัฒนาธุรกิจใหม่  และยังให้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าวจนกว่าจะดำเนินการอบรบตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ในเรื่องคุณสมบัติ CFO เป็นที่เรียบร้อยต่อไป
เอสซีจี ลุย 2 ธุรกิจ “ให้คำปรึกษา-งานระบบอาคารแบบครบวงจร” รับเทรนด์ Well-being

เอสซีจี ลุย 2 ธุรกิจ “ให้คำปรึกษา-งานระบบอาคารแบบครบวงจร” รับเทรนด์ Well-being

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน  ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบัน ให้เข้ามาอยู่ภายใต้ความปกติใหม่ หรือ New Normal ที่ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพและอนามัยของตนเองในด้านต่าง ๆ  ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น แต่เชื่อว่าผู้คนในยุคปัจจุบันยังจะให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพและอนามัยของตนเองต่อไปในอนาคตด้วย   การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ไม่ได้ส่งผลเฉพาะพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังส่งผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์อีกมากมาย ที่เห็นชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา คือ การซื้อขายออนไลน์ที่เติบโตอย่างมากมาย เพราะคนไม่ออกจากบ้านไปซื้อสินค้า แต่เลือกจะช้อปปิ้งผ่านออนไลน์เป็นหลัก คนยุคปัจจุบันจึงเรียนรู้และยอมรับกับการซื้อออนไลน์มากขึ้น และคงเป็นเรื่องปกติต่อไปในนาคตแน่นอน   แม้แต่การใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า สถานที่ราชการ  อาคาร สำนักงานต่าง ๆ ฯลฯ ต่างก็มีการสร้างมาตรฐานใหม่ของการใช้พื้นที่ออกมารองรับ   ที่ต้องมีระบบมาตรฐานความปลอดภัยทางสาธารณสุข  ไม่ว่าการเช็คอินผ่านแอพพลิเคชั่น การวัดอุณหภูมิ การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ เป็นต้น แม้ว่าในอนาคตจะมีการคิดค้นวัคซีนได้ และถูกนำมาใช้กับมนุษย์อย่างได้ผลจริง ก็เชื่อว่าหลายมาตรการจะยังคงอยู่ และกลายเป็นวิถีชีวิตปกติใหม่ของคนในยุคหลังโควิด-19   นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Living Solution Business ในธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี เปิดเผยว่า  หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ที่ผ่านมา พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนไป พบว่าเกิดการเร่งในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ก้าวเข้าสู่ Digital Transformation เร็วมากขึ้น และที่เห็นได้ชัด คือการตื่นตัวกับกระแส Health and Wellness โดยคนส่วนใหญ่ได้หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพและสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สินค้าและบริการด้านสุขภาพ และความปลอดภัยเติบโตขึ้นหลายเท่าตัว   การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ยังส่งผลต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วย จากเดิมที่ให้ความสำคัญต่อการออกแบบอาคารแล้ว ยังคำนึงถึงอาคารที่ให้สุขอนามัยที่ดี ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดูแล "คน” ในพื้นที่ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน พื้นที่พาณิชย์ หรือที่อยู่อาศัย จะถูกให้ความสำคัญมากขึ้นควบคู่กับเรื่องความยั่งยืนซึ่งมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จุดเปลี่ยนสำคัญของรูปแบบการออกแบบและพัฒนาโครงการทั่วโลก จะคำนึงถึงสุขภาวะ (Well-being) เพื่อให้คนใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ได้อย่างแข็งแรงและมีความสุข   สำหรับกลุ่มเอสซีจี ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับวัสดุก่อสร้าง และงานระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร และการอยู่อาศัยของคน ได้มองเห็นการเปลี่ยนแปลง และต่อยอดธุรกิจที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง  โดยได้เริ่มดำเนิน 2 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1.ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งปลูกสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ (SCG Building & Living Care Consulting) และ 2. ธุรกิจผู้ให้บริการโซลูชั่นงานระบบวิศวกรรมอาคารแบบครบวงจร (Smart Building Solution) มาตั้งแต่ช่วง 9 ปีที่ผ่านมา และในปีนี้ได้รุกตลาดเพิ่มมากขึ้น จากเทรนด์ของการอายู่อาศัยที่มุ่งเน้นในเรื่องของสุขภาวะทีดี่มากขึ้น  เพื่อตอบรับกับการความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทรนด์การพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ซึ่งเข้ามาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน และดีต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว   SCG Living Solution Business มีแนวคิดในด้านการบริหารและพัฒนาธุรกิจใหม่ เพื่อยกระดับการให้บริการ และส่งมอบโซลูชั่น เกี่ยวกับ "Living" หรือการใช้ชีวิตทั้งผู้อยู่อาศัย อาคารสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนชุมชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบอย่างเป็น Eco-system โดยมีแนวทางการทำงานในรูปแบบสตาร์ทอัพ โฟกัสธุรกิจเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า โดยมุ่งมั่นในการริเริ่มพัฒนาแนวคิดและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบและรับรองมาตรฐานอาคารอย่างเชี่ยวชาญด้วยประสบการณ์ทำงานอย่างมืออาชีพ เพื่อการอยู่อาศัยอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในสังคม 4 บริการ SCG Building & Living Care Consulting SCG Building & Living Care Consulting เป็นธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งปลูกสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยกระดับมาตรฐานการก่อสร้าง ไปสู่อาคารที่ลดการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติในขั้นตอนการก่อสร้างและการใช้งาน รวมไปถึงอาคารที่มีการคำนึงถึงการมีสุขภาวะที่ดี แข็งแรง ส่งผลถึงคนที่อยู่อาศัยในอาคารและชุมชนโดยรอบ และเหมาะสมกับการอยู่อาศัยเพื่อคนทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่จะเป็นกลุ่มประชากรหลักของประเทศ ด้วยบริการให้คำปรึกษาสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการก่อสร้างอาคารตามมาตรฐาน ต่าง ๆ โดยมี 4 บริการหลัก ได้แก่ 1.บริการให้คำปรึกษาเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียว (Green Building) ตามมาตรฐาน LEED / DGNB / TREES และ BEC  โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ อาทิ มีพื้นที่สีเขียวมากกว่าอาคารทั่วไป วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า 2.บริการให้คำปรึกษาเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี (Well-Being Building) ตามมาตรฐาน fitwel และ WELL ให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคาร เพิ่ม Productivity ในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของคนในอาคาร 3.บริการให้คำปรึกษาเพื่อทำอาคารประหยัดพลังงาน ที่มีการวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงาน (Energy Management Service) เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับอาคาร ด้วยการมีระบบการควบคุมการใช้พลังงานและทรัพยากรต่างๆ ที่เพิ่มความคุ้มค่าและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน รวมถึงรักษาและยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ 4.บริการออกแบบและปรึกษาอาคารเพื่อผู้สูงอายุและคนทุกวัย (Universal Design) โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้เฉพาะทาง และมีหลักการของงานวิจัยมารองรับ ทำให้ได้โครงการที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ใช้อาคารโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ตอบโจทย์งานอาคารด้วยเทคโนโลยี ด้านธุรกิจ Smart Building Solution เป็นธุรกิจผู้ให้บริการโซลูชั่นงานระบบวิศวกรรมอาคารแบบครบวงจร รูปแบบ System Integrator ส่งมอบโซลูชั่นด้วยเทคโนโลยีตามที่เจ้าของอาคารต้องการ และเชื่อมต่อการทำงานต่าง ๆ ตั้งแต่การให้บริการออกแบบติดตั้งเทคโนโลยีในหมวดพลังงานในอาคาร ปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality) รวมทั้งเทคโนโลยีเพื่ออาคารอัจฉริยะ (Smart Building) ด้วยอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) โดยเฉพาะเทคโนโลยีในส่วนของระบบปรับอากาศและระบายอากาศ (HVAC: Heating, Ventilation, and Air Conditioning) โดย ธุรกิจ Smart Building Solution มีโซลูชั่นที่ให้บริการ ดังนี้ 1.Energy WELL Series  ระบบที่ช่วยลดพลังงานในการปรับอากาศและปรับปรุงสภาพอากาศในเวลาเดียวกัน ด้วยวิธีการดักจับก๊าซ CO2 และ indoor pollutant มากกว่า 30 ชนิด หมุนเวียนให้อากาศสะอาดเทียบเท่าหรือดีกว่าอากาศภายนอก ซึ่งถือเป็น Game Changer ของวงการ HVAC ที่ได้รางวัล ASHRAE Innovation award product of the year ในปี 2019 2.Energy CARE Series การใช้เทคโนโลยี Digital และ IoT แบบไร้สาย มาช่วยควบคุมเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร 3.INTELL Series การใช้เทคโนโลยี Sensor และ IoT แบบไร้สายกำลังส่งสูง รับส่งสัญญาณ Wireless sensors ในรูปแบบ Real-time เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ บริหารอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.HYGIENE Series การปรับปรุงและยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคารให้สะอาดจากเชื้อโรค โดยการใช้เทคโนโลยี Bi-polar Ionization System เข้ามาจัดการคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ ลดเชื้อโรคในอากาศ ทั้งไวรัส แบคทีเรีย หรือฝุ่น PM 2.5 เพื่อคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของผู้ใช้งานภายในอาคาร ผลงาน 130 อาคารใช้บริการ สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการของเอสซีจี มีอาคารต่าง ๆ มากกว่า 130 อาคาร และทุกประเภทอาคาร ขณะที่ผลงานที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจลูกค้าได้อย่างดี ล่าสุด คือการให้คำปรึกษาด้านอาคารเพื่อยื่นขอการรับรองมาตรฐาน fitwel อาคารเพื่อสุขภาวะที่ดี กับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเอสซีจีได้นำมาบุกเบิกในประเทศไทยและยังทำหน้าที่ในฐานะ Asia’s Advisory Council เป็นรายแรกในไทย โดยได้ผลักดันตลาดหลักทรัพย์ฯ จนสามารถได้รับรองมาตรฐาน fitwel V2.1 ระดับ 3 ดาว หมวด Single-Tenant Building และรางวัล Best in Building Health 2020 จาก Center for Active Design (CfAD) ซึ่งเป็นผู้ออกมาตรฐาน fitwel อีกด้วย   นอกจากนี้ ด้านธุรกิจ Smart Building Solution ได้ให้บริการติดตั้งระบบ Energy CARE series ให้กับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นการอัพเกรดอาคารเพื่อบริหารห้องเรียน และพลังงานสำหรับระบบปรับอากาศอย่างยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับอากาศในห้องเรียนและลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ด้วยการควบคุมผ่านระบบออนไลน์  
AWC เปิด 3 ปรากฏการณ์ใหม่ของ “เอเชียทีค” กับแนวคิด Heritage Alive

AWC เปิด 3 ปรากฏการณ์ใหม่ของ “เอเชียทีค” กับแนวคิด Heritage Alive

AWC หรือบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน)  มีแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจของ ที่มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนเพื่อการเติบโตร่วมอย่างแข็งแกร่ง ภายใต้ปรัชญา “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” ควบคู่กับการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้กลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง   ขณะที่ปัจจุบัน พบว่าพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในเรื่องการกินดื่ม ช้อปปิ้ง การท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ  เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ AWC ได้ปรับโฉมพร้อมยกระดับโครงการ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในหลากหลายมิติของลูกค้าทุกกลุ่ม   โดยเอเชียทีคฯ กำลังจะเปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภค กับ 3 ประสบการณ์ใหม่ ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ด้วยองค์ประกอบและบรรยากาศที่น่าตื่นตาตื่นใจ  ภายใต้ด้วยแนวคิด “Heritage Alive” ต่อยอดการอนุรักษ์หลักฐานอิงประวัติศาสตร์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยสะท้อนเรื่องราวของพื้นที่ที่ตั้งของเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวอันทรงคุณค่าที่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย เนื่องจากเป็นย่านเก่าแก่บนถนนเจริญกรุง ถนนสายแรกของกรุงเทพฯ เป็นเสมือนชีพจรทางเศรษฐกิจที่เป็นแหล่งรวมวิถีดำเนินธุรกิจและวิถีชีวิตแบบผสมผสานโลกตะวันออกกับตะวันตกที่เชื่อมโยงอดีตตั้งแต่ในช่วงรัชกาลที่ 5 สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน 3 องค์ประกอบสร้างปรากฎการณ์ใหม่ 1.“เรือสิริมหรรณพ” แลนด์มาร์คใหม่ริมน้ำเจ้าพระยา เรือสิริมหรรณพ  สร้างขึ้นจากต้นแบบเรือใบสามเสา ในยุคเริ่มต้นการปฏิสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสยามกับโลกตะวันตก ในช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นเรือแห่งประวัติศาสตร์  ที่นำพาความรุ่งเรืองจากโพ้นน้ำตะวันตกมาสู่ผืนดินสยาม  เรือใบสามเสานี้เป็นเรือนำขบวนเสด็จประพาสยุโรป  ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป และนำความเจริญรุ่งเรืองกลับมาสู่ผืนดินไทย โดยจะเทียบท่าถาวร ที่เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เพื่อให้ชาวไทยและชาวโลกได้สัมผัสกับลักษณะของเรือแห่งตำนาน   นอกจากนี้เรือสิริมหรรณพยังออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์การท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ ทั้งการกินดื่มและพักผ่อนหย่อนใจ ด้วยห้องอาหาร และบาร์ระดับพรีเมี่ยมที่ให้บริการอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะ ภายใต้การบริหารของโรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค โดยรวบรวมประสบการณ์ที่เป็นศูนย์รวมของคนที่มีความชื่นชอบและความสนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน 2.Living Museum & Art Festival พิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่มอบประสบการณ์รูปแบบใหม่ในการสัมผัสและเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรม โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟเพื่อสร้างภาพเสมือนจริงแบบ Augmented Reality ในการนำเสนอผ่านเส้นทาง The Memory Lanes ที่มีแหล่งดึงดูดใจสำคัญๆ ทั้ง 36 จุด ที่ให้ผู้เข้าชมได้เพลิดเพลินกับเส้นทางแห่งความทรงจำ ด้วยองค์ประกอบที่สร้างบรรยากาศที่สะท้อนประวัติศาสตร์ทั้งในด้านศิลปะวัฒนธรรม และวิถีชีวิต ของพื้นที่ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางแห่งการค้านานาชาติในอดีต ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก   โดยแบ่งออกเป็น 3 โซนหลักได้แก่ โซนสายน้ำแห่งการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ โซนจากผืนน้ำสู่ผืนดินแห่งความเจริญรุ่งเรือง และโซนมรดกทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดคุณค่าสู่เอกลักษณ์ความเป็นไทย ส่วน Art Festival คือมิติใหม่ของการดื่มด่ำกับศิลปะโดยการสอดแทรกเรื่องราวทางศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต ลงไปในผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ในพื้นที่ต่าง ๆ ของโครงการ ทั้งภาพวาด สตรีทอาร์ท ประติมากรรม และอื่น ๆ ซึ่งนอกจะเป็นการนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ ทางศิลปะวัฒนธรรมยังเป็น Photo Spot ที่ดึงดูดให้คนเข้ามาถ่ายภาพและเช็คอินอีกด้วย 3.New Mega Riverside F&B Destination ศูนย์กลางแห่งการกินดื่มที่ทุกคนต้องนึกถึงและอยากมา ด้วยตัวเลือกอันหลากหลายของกว่า 40 ภัตตาคาร ร้านอาหารนานาชาติ ทั้งไทย จีน ญี่ปุ่น อิตาเลียน คาเฟ่ บาร์แอนด์บิสโทร บาร์บีคิว เบียร์การ์เดนท์ พร้อมการแสดงดนตรีสด เสริมทัพด้วยการจับมือกับ “ครัวคุณต๋อย” แพลตฟอร์มของสื่อด้านอาหารและเครือข่ายร้านอาหารชั้นนำที่มีขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของไทย ร่วมสร้างดินแดนแห่งความอิ่มอร่อยครบรสที่คัดสรรโดยคุณไตรภพ ลิมปพัทธ์ พิธีกรแถวหน้าของเมืองไทย ในการรวมร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่มที่เปี่ยมด้วยคุณภาพและความอร่อยของรสชาตินานาชนิดจากร้านเด่นดังทั่วประเทศ ไว้ในโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เพื่อเป็นสีสันใหม่ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ด้านการกิน ดื่ม ที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย ครบเครื่อง ครบรส ครบทุกสไตล์และความชื่นชอบในที่เดียว นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ AWC เปิดเผยว่า เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ โฉมใหม่ พร้อมให้คนไทยและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้สัมผัสกับจุดหมายปลายทางแห่งคุณค่าของเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ ทั้งทางด้านอารยธรรม การค้า ศิลปวัฒนธรรม และองค์ประกอบของความแปลกใหม่ล้ำสมัย ชวนตื่นตาตื่นใจ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2563 นี้เป็นต้นไป    
“สามย่านมิตรทาวน์” วาง 4 กลยุทธ์หลักสร้างรายได้ในปีที่ 2

“สามย่านมิตรทาวน์” วาง 4 กลยุทธ์หลักสร้างรายได้ในปีที่ 2

สามย่านมิตรทาวน์  วาง 4 กลยุทธ์หลัก ลุยธุรกิจในปีที่ 2 หลังครบรอบ 1 ปีแรกเจอพิษโควิด-19 ทำรายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แม้ตัวเลขผู้ใช้พุ่งสูงถึง 60,000 คนต่อวัน เดินหน้าบริหารพื้นที่ว่างสร้างรายได้เพิ่ม   วันที่ 20 กันยายน 2563 นี้ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์  จะมีอายุครบ 1 ปีของการเปิดให้บริการ ซึ่งช่วงปีแรกของการดำเนินธุรกิจ ต้องยอมรับว่าเป็นปีที่ท้าทายและต้องเผชิญกับปัจจัยลบสำคัญอย่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  เพราะเพียงแค่เปิดให้บริการมาเพียง 5-6 เดือน ศูนย์การค้าแห่งแรกภายใต้การบริหารงานของบริษัท แผ่นดินทองพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ก็ต้องเผชิญกับมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ปิดศูนย์การค้าไปร่วม 2 เดือน   แม้ว่าทางศูนย์การค้า จะมีพื้นที่บางส่วนที่เปิดให้บริการได้ ภายหลังจากมาตรการล็อกดาวน์เริ่มคลายลง อย่างเช่น บิ๊กซีซูเปอร์มาร์เก็ต หรือการเปิดพื้นที่ให้บริการเดลิเวอรี่  สำหรับบางร้านค้า แต่ผลการดำเนินงานในปีแรก ต้องยอมรับว่าไม่เป็นไปตามเป้าหมายด้านรายได้ เพราะต้นทุนคงที่ของการบริหารศูนย์การค้าไม่ได้หยุดลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า หรือค่าบริหารจัดการต่าง ๆ ภายใน รวมถึง ทางศูนย์การค้ายังต้องช่วยเหลือผู้เช่าภายในศูนย์ ที่ต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกัน คือ ไม่สามารถเปิดให้บริการได้เป็นปกติ  ด้วยการลดอัตราค่าเช่าพื้นที่ลง ยิ่งทำให้ตัวเลขรายได้ของศูนย์การค้าห่างไกลจากเป้าหมายมากขึ้น นางธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล โกลเด้นแลนด์​ เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในปีแรก รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ สิ่งที่ต้องทำในปีนี้ คือ การบริหารค่าน้ำ ค่าไฟ ให้ดีที่สุด ต้องทำให้ขาดทุนน้อยที่สุด ซึ่งแม้รายได้จะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ตัวเลขผู้เข้าใช้บริการ ปัจจุบันมีมากถึง 60,000 คนต่อวัน สูงกว่าเป้าหมายที่ได้วางไว้ตั้งแต่แรกว่าจะมีผู้ใช้บริการ 37,000 คนต่อวัน  รวมถึงจำนวนร้านค้าที่เข้ามาเช่าพื้นที่ ซึ่งมีมากถึง 97% คิดเป็นจำนวน 240 ร้านค้า 4 กลยุทธ์สร้างรายได้ในปีที่ 2 สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจ ในปีที่ 2 ทางศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์  ได้วางแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วยการมุ่งเน้น ใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.การพัฒนาพื้นที่ว่างให้เกิดรายได้มากขึ้น 2.การทำตลาดร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ โดยร่วมมือกันในลักษณะ Collaboration มากกว่าเป็นเพียงสปอนเซอร์ 3.การให้บริการกับผู้เช่าพื้นที่ให้มากขึ้น ส่วนกลยุทธ์สำหรับปีหน้า ของศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 1.Destination for Food Lover การเป็นแหล่งร้านอาหาร และความหลากหลายของประเภทอาหาร 2.Signature Events การจัดอีเวนต์ที่มีลักษณะเฉพาะของสามย่านมิตรทาวน์ ซึ่งปีที่ผ่านมามีการจัดอีเวนต์ต่าง ๆมากถึง 130 อีเวนต์ 3.Trust การสร้างความไว้วางใจกับพันธมิตรและร้านค้าผู้เช่า ในรูปแบบต่าง ๆ 4.Mitr Community การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในรูปแบบต่าง ๆ ในปีที่ 2 ภายใต้เงื่อนไขว่าไม่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอก 2 รายได้น่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ คลังอาหารและการเรียนรู้ แม้ว่าศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จะต้องปิดการให้บริการไปในช่วงมาตรการล็อกดาวน์  แต่ภายหลังมีการประกาศยกเลิกมาตราการล็อกดาวน์ในเดือนมิถุนายน ปรากฏว่า ช่วงเวลาเพียง 2 เดือนเศษๆ ตัวเลขผู้ใช้บริการของสามย่านมิตรทาวน์พลิกกลับมาเติบโตอย่างรวดเร็ว อยู่ที่ 60,000 คนต่อวัน หรือ 80% ของช่วงสถานการณ์ปกติ   โดยผู้เข้ามาใช้บริการ จะเป็นกลุ่มวัยทำงาน (Adult) มีสัดส่วนมากสุด 63% กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา (University Student & Pre-University) 27% กลุ่มผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และครอบครัว (Active Aging & Household with Kids) 6% ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติมีเพียง 4% ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการส่วนใหญ่ 47% มาเพื่อหาอาหารที่มีหลากประเภท ตอบโจทย์ทุกความชอบทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นโจทย์ที่ทางศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์วางโพสิชั่นนิ่งของตัวเองให้เป็น “คลังอาหารและการเรียนรู้” ขณะที่ 29% มาพบปะสังสรรค์ แฮงก์เอาท์กับกลุ่มเพื่อน ส่วน 15% มาเรียนรู้ในพื้นที่โคเลิร์นนิ่ง อีก 9% เป็นกลุ่มใช้บริการประจำ ต้องการจับจ่ายในร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และสนใจกิจกรรมอีเว้นต์ต่างๆ