Tag : Retails

240 ผลลัพธ์
ออริจิ้น ทรานฟอร์ม แตก 6 บริษัทเพื่อเติบโต

ออริจิ้น ทรานฟอร์ม แตก 6 บริษัทเพื่อเติบโต

“ออริจิ้น” เข้าสู่ยุคทรานฟอร์ม แตก 6 บริษัทย่อยปั้นรายได้ พร้อมเปิดรับพันธมิตรทุกรูปแบบ เตรียมแผนเปิด 14 โครงการใหม่มูลค่า 20,000 ล้าน สร้างยอดขาย 21,500 ล้าน และรายได้ 16,000 ล้าน   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2563 ว่า ในวาระก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 บริษัทได้วางวิสัยทัศน์ระยะยาวในการปรับเปลี่ยนบริษัทให้กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่สามารถเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน พร้อมรับมือทุกสภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยในปีนี้วางแนวทางปีนี้จะเป็นทศวรรษแห่งการปฏิรูป (The Decade of Transformation) ปฏิรูปองค์กรสู่ลักษณะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ปรับเปลี่ยนออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ โดยแตกบริษัทย่อยออกมา 6 กลุ่มบริษัท เพื่อเดินหน้าใน 6 ประเภทธุรกิจ ประกอบด้วย 1.บริษัท ออริจิ้น คอนโดมิเนียม จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาคอนโดมิเนียมกลุ่มสมาร์ทคอนโด มีแบรนด์หลักคือ ดิ ออริจิ้น (The Origin) 2.บริษัท พาร์ค ลักชัวรี่ จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ มีแบรนด์หลักคือ ไนท์บริดจ์ (KnightsBridge) และพาร์ค ออริจิ้น (PARK ORIGIN) 3.บริษัท บริทาเนีย จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาบ้านจัดสรร มีแบรนด์หลักคือ บริทาเนีย (Britania) 4.บริษัท ออริจิ้น อีอีซี จำกัด   ดำเนินธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแถบเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 5.บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง (Recurring Income Business) เช่น โรงแรม พื้นที่ค้าปลีก สำนักงานให้เช่า โครงการมิกซ์ยูส 6.บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจบริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่ครบวงจร วางลยุทธ์ “Open for Growth, Open Platform” การเติบโตในปีนี้ “ออริจิ้น” วางกลยุทธ์ “Open for Growth, Open Platform” เพื่อสร้างการเติบโต ด้วยการเปิดรับพันธมิตรทางธุรกิจในหลากหลายรูปแบบ  เข้ามาร่วมธุรกิจกับบริษัทในทุกกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกรที่สนใจเข้าร่วมทุน (JV Partner) เจ้าของที่ดิน  ผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริการและอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มซัพพลายเออร์ต่างๆ   ล่าสุด บริษัทได้เซ็นต์ MOU ร่วมทุนกับพันธมิตรใหม่จากประเทศเกาหลีใต้ คือ GS E&C (GS Engineering and Construction corporation) เพื่อพัฒนาคอนโดฯ 2 โครงการ ได้แก่ The Origin ลาดพร้าว 111 มูลค่า 1,900 ล้านบาท และ Knightsbridge Space พระราม 4 มูลค่า 2,300 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดตัวได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้   สำหรับแผนธุรกิจในปี 2563 บริษัทจะให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างภายในองค์กร สร้างรากฐานการเติบโตของทุกประเภทธุรกิจอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจัยภายนอก เปิด 14 โปรเจ็กต์รับมือ “ไวรัสโควิค” แผนกการเปิดโครงการใหม่ในปีนี้ เตรียมพัฒนา 14 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท เป็นโครงการคอนโดฯ 4 โครงการ มูลค่า 7,900 ล้านบาท เป็นโครงการสมาร์ทคอนโดฯ แบรนด์ดิ ออริจิ้น 2 โครงการ มูลค่ารวม 4,200 ล้านบาท โครงการลักชัวรี่คอนโดฯ 1 โครงการ มูลค่ารวม 2,300 ล้านบาท และโครงการบ้านจัดสรร 10 โครงการ มูลค่ารวม 12,100 ล้านบาท  ภายใต้แบรนด์บริทาเนีย และอีก 3 แบรนด์ใหม่ คือ แบรนด์แกรนด์บริทาเนีย, ไบรตัน และเบลกราเวีย นอกจานี้ยังมีโครงการกลุ่มอีอีซีอีก 1 โครงการ มูลค่ารวม 1,400 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์เดอะ แฮมป์ตัน (The Hampton) ในศรีราชา ถ้าหากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แก้ไขได้เร็ว และสถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้น บริษัทพร้อมเปิดตัวโครงการคอนโดฯ เพิ่มอีก 4 โครงการ ส่วนเป้าหมายรายได้ในปีนี้คาดว่าบริษัทจะทำได้ 16,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามีรายได้รวม 14,122 ล้านบาท (อ่านข่าวผลประกอบการปี 2562) วางเป้าหมายยอดโอน 14,000 ล้านบาท และตั้งเป้ายอดขาย 21,500 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมา ทำยอดขายได้ 28,942 ล้านบาท ในปีนี้บริษัทวางงบลงทุนไว้ที่ 15,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบซื้อที่ดินและเช่า สำหรับธุรกิจโรงแรมจำนวน 7,000 ล้านบาท และอีก 8,000 ล้านบาท ใช้สำหรับการก่อสร้าง ปัจจุบันรายได้จารขาย ลดลง จากสัดส่วน 90% เหลือ 85% ในอีก 5 ปีข้างหน้า รายได้อื่นๆ  เช่น รายได้จากการเช่า การบริการ โดยรวมน่าจะมีสัดส่วน 30% เหลือรายได้จากกขายสัดส่วน 70%    
CPN โชว์ผลงานปี 62  ทำกำไรได้กว่า 1.1 หมื่นล้าน 

CPN โชว์ผลงานปี 62  ทำกำไรได้กว่า 1.1 หมื่นล้าน 

CPN ประกาศผลประกอบการปี 2562 รายได้รวม 38,403 ล้านบาท เติบโต 9% จากปีก่อน และทำกำไรสุทธิ 11,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน และเตรียมจ่ายเงินปันผล 1.30 บาทต่อหุ้น  พร้อมเดินหน้าสร้างรายได้ตามแผน 5 ปี เติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บัญชี และบริหารความเสี่ยง  บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN เปิดเผยว่า ในปี 2562 ที่ผ่านมา แม้ว่าการขยายตัวเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัว แต่ผลประกอบการของ CPN ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวม 38,403 ล้านบาท โต 9% และกำไรสุทธิ 11,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้จากการเติบโตของธุรกิจศูนย์การค้าเป็นหลัก ประกอบกับบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ  สำหรับอัตราการเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าช่วงสิ้นปี 2562 อยู่ที่ 93%  ซึ่งบริษัทให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างรายได้ จากทั้งศูนย์การค้าใหม่ การปรับปรุงศูนย์การค้าที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว และการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น  ตามแผนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (mixed-use)  จาผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา บริษัทยังพร้อมจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2562 ในอัตราหุ้นละ 1.30 บาทด้วย   สำหรับเหตุการณ์สำคัญในปี 2562 บริษัทได้เปิดให้บริการเซ็นทรัล ไอ-ซิตี้ ศูนย์การค้าในต่างประเทศแห่งแรกของ CPN ในเดือนมีนาคม และการเปิดตัวโซนลักชูรี่ของเซ็นทรัล ภูเก็ต ที่รวบรวมแบรนด์หรูชั้นนำระดับโลกไว้ รวมทั้งเปิดให้บริการแอทแทรคชั่นระดับโลก "ไตรภูมิ มหัศจรรย์สามโลก"  ธีมพาร์ครูปแบบ 3 มิติอินเตอร์แอ็กทีฟแห่งแรกของโลก และ “AQUARIA Phuket” พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งภายในยังมี Andasi ร้านอาหารใต้น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกและบาร์ใต้น้ำแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเปิดให้บริการเซ็นทรัล วิลเลจ โครงการรีเทลรูปแบบลักชูรี่เอาท์เล็ตระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย บนทำเลที่ดีที่สุดใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ รองรับทั้งลูกค้าชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมทั้งมีการจับมือพันธมิตรระดับโลกอย่างบริษัท Mitsubishi Estate Asia Pte. Ltd. (MEA) เข้าร่วมทุนโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ ผ่านการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท ซีพีเอ็น วิลเลจ จำกัด ในสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 30% และ CPN 70% เพื่อร่วมกันพัฒนาเซ็นทรัล วิลเลจ ให้ขึ้นแท่นเอาท์เล็ตเบอร์หนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ปัจจุบันบริษัทบริหารจัดการศูนย์การค้า 34 แห่ง มีพื้นที่ให้เช่าสุทธิรวม 1.8 ล้านตารางเมตร  (อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล   15 โครงการ, ต่างจังหวัด 18 โครงการ และในมาเลเซีย 1 โครงการ) ศูนย์อาหาร 30 แห่ง อาคารสำนักงาน 7 อาคาร โรงแรม 2 แห่ง โครงการที่พักอาศัยอีก 10 โครงการ ประกอบด้วยคอนโดมิเนียมภายใต้แบรนด์ ESCENT, ESCENT  VILLE และ ESCENT PARK VILLE  ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ดินซึ่งติดศูนย์การค้าของเซ็นทรัลพัฒนา ได้แก่ โครงการ ESCENT เชียงใหม่ ระยอง ขอนแก่น นครราชสีมา และอุบลราชธานี ESCENT VILLE เชียงใหม่ เชียงราย และ ESCENT PARK VILLE เชียงใหม่ รวมถึงโครงการคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ได้แก่ “ฟิล พหล 34” (PHYLL PAHOL 34) และมีโครงการบ้านเดี่ยวแห่งแรกของเซ็นทรัลพัฒนา คือ “นิยาม บรมราชชนนี” ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้เซ็นทรัลพัฒนา เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLAND ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนทำเลศักยภาพสูงในกรุงเทพฯอีกด้วย     สำหรับโครงการมิกซ์ยูสที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา ที่จะเชิดชูความเรืองรองและย้อนรอยความเจริญรุ่งเรืองของเมืองอยุธยา ผลักดันอยุธยาให้เป็น Top destination เมืองท่องเที่ยวของโลก (กำหนดเปิดปี 2564) เซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา ในคอนเซ็ปต์ ‘Living Green in Smart City of EEC Center’ ให้คนศรีราชาได้หลบหลีกจากความวุ่นวายมาผ่อนคลายในบรรยากาศธรรมชาติ และจะเสริมให้ศรีราชาเป็น MICE Hub ของ EEC Center ในอนาคต (กำหนดเปิดปี 2564) เซ็นทรัลพลาซา จันทบุรี ศูนย์การค้า format ใหม่ภายใต้แนวคิด ‘The Shining Gem of EEC plus 2’ ที่จะเป็น The Best Modern Living Area ที่แรกที่ดีที่สุดในจันทบุรี (กำหนดเปิดปี 2565) และโครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ที่ร่วมพัฒนากับบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) บนทำเลทอง “Super Core CBD” ในกรุงเทพฯ โดยจะทยอยเปิดให้บริการในปี 2565 เป็นต้นไป นอกจากนี้ เซ็นทรัลพัฒนา อยู่ระหว่างเตรียมแผนการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสภายใต้ GLAND ในกรุงเทพฯ โดยคาดว่าจะสรุปได้ในปี 2563   บริษัทตั้งเป้าหมายทางธุรกิจในระยะ 5 ปี (ปี 2563-2567) ที่จะมีรายได้เติบโตในอัตราเฉลี่ย (CAGR) ประมาณ 12% ต่อปี โดยบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางการขยายธุรกิจในรูปแบบการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (Mixed-use Development) การพัฒนาศูนย์การค้าใหม่ การปรับปรุงสินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อเพิ่มมูลค่า การพัฒนาโครงการที่พักอาศัย รวมทั้งศึกษาโอกาสการลงทุนธุรกิจใหม่ในรูปแบบอื่น การเข้าซื้อกิจการ และการลงทุนในต่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย และเวียดนาม เพื่อเดินหน้าสู่การเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกและเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
“เซ็นทรัล รีเทล” ปิดยอดรายได้กว่า 2 แสนล้าน เตรียมอีก 18,000 ล้าน ขยายสาขาเพิ่ม

“เซ็นทรัล รีเทล” ปิดยอดรายได้กว่า 2 แสนล้าน เตรียมอีก 18,000 ล้าน ขยายสาขาเพิ่ม

เซ็นทรัล รีเทล หรือ CRC เดินหน้าลงทุน 18,000 ล้าน ลุยขยายสาขาใน 3 ประเทศ ต่อยอดธุรกิจ หลังโกยรายได้ปี 62 กว่า 222,737 ล้านบาท ทำกำไร 12,359 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.3%   นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC เปิดเผยว่า ในปี 2563 นี้ ยังคงเดินหน้าขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ด้วยงบลงทุน 18,000 ล้านบาท  ไม่รวมการควบรวมกิจการ (M&A) ซึ่งมีแผนขยายธุรกิจในแต่ละประเทศ คือ -ประเทศไทย ขยายสาขาใหม่ อาทิ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ 3 แห่ง, ไทวัสดุ 7 แห่ง และบ้านแอนด์ บียอนด์ 3 แห่ง พร้อมกับการขยายสาขาของกลุ่มฟู้ด และร้านค้าเฉพาะทาง เป็นต้น -ประเทศเวียดนาม ขยายสาขาใหม่ของบิ๊กซี / โก! อีก 6 แห่ง และปรับโฉมใหม่อีก 4 แห่ง พร้อมขยายธุรกิจ Non-Food อาทิ LookKool, Kubo, SuperSports เป็นต้น -ประเทศอิตาลี ปรับโฉมใหม่สาขาฟลอเรนซ์ และกรุงโรม เน้นย้ำความเป็นผู้นำด้านไลฟ์สไตล์ลักชูรี่ นายญนน์  กล่าวว่า ถึงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลก และไทยจะมีความไม่แน่นอนหลายอย่างในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาค่าเงินบาทแข็งตัว, โรคระบาดโควิด-19, จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ถดถอย เซ็นทรัล รีเทลเองก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน และดำเนินธุรกิจ เฝ้าติดตามสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด และใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ   ด้วยแพลตฟอร์มของเราที่เป็น Multi-Category และ Multi-Format  ทำให้เรามีความยืดหยุ่น และปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในสถานการณ์ที่ผันผวนเช่นนี้ โดยเราใช้เป็นข้อได้เปรียบ และเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าถึงลูกค้า และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับลูกค้าได้ตลอดเวลา บนแพลตฟอร์มออมนิแชแนลที่แข็งแรง ซึ่งพิสูจน์ได้จากยอดขายของออมนิแชแนลที่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปี 2562 ถึง 56% โดยในปีนี้เราคาดว่ายอดขายผ่านออมนิแชแนลแพลตฟอร์มจะเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 10% ของยอดขายทั้งหมดของเซ็นทรัล รีเทล   สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2562 บริษัทมีรายได้รวม 222,737 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 16,117 ล้านบาท จากปีก่อนหน้า ที่จำนวน 206,620 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.8% และมีกำไรจารดำเนินงาน จำนวน 11,105 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,254 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 11.3%  โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นจากการรวมธุรกิจเหงียนคิมเข้ามาเป็นส่วน หนึ่งของบริษัท ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 เงินชดเชยจากการประกันภัยกรณีเพลิงไหม้ที่ห้างสรรพสินค้าเซน จำนวน 3,283 ล้านบาท  การเติบโตของธุรกิจฮาร์ดไลน์ ธุรกิจ ฟู้ดในเวียดนาม และธุรกิจแฟชั่นในประเทศ ตามลำดับ    
บทสรุป AWC ปี 62 กำไรพุ่ง109% ชู 5 กลยุทธ์ไปต่อในปี 2020

บทสรุป AWC ปี 62 กำไรพุ่ง109% ชู 5 กลยุทธ์ไปต่อในปี 2020

แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทยที่มุ่งเน้นตอบสนอง ไลฟ์สไตล์แบบครบวงจร เปิดผลประกอบการประจำปี 2562 มีกำไรสุทธิ 1,040 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 109% และในไตรมาส 4 ปี 2562 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 482 ล้านบาท เติบโต 140% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พร้อมเดินหน้าธุรกิจในปี 2563 ด้วย 5 กลยุทธ์หลัก มุ่งมั่นสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่าให้กับ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย พร้อมยกระดับเศรษฐกิจของประเทศแบบองค์รวม บทสรุปผลงาน AWC ปี 2562 นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า ในปี  2562 ที่ผ่านมาเป็นปีที่สำคัญของบริษัท นอกจากความสำเร็จจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ผลการดำเนินงานของทุกกลุ่มธุรกิจก็มีอัตรา   การเติบโตที่แข็งแกร่งเป็นที่น่าพอใจ   บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,040 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 109% โดยมีกำไรจากการดำเนินงานของสินทรัพย์ดำเนินงาน  เติบโต 8.4% ซึ่งกำไรจากการดำเนินงานของสินทรัพย์ดำเนินงาน  แบ่งสัดส่วนเป็นโรงแรมและการบริการ (Hospitality) 45% ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการประกอบกิจการการค้า (Retail) 22% และธุรกิจอาคารสำนักงาน (Office)  33% รายได้จากพอร์ทโฟลิโอสินทรัพย์ดำเนินงาน  เติบโต 3.4% (อ่านเพิ่มเติม...แผนพัฒนาอสังหาฯ​ เพื่อการพาณิชย์)   ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา เกิดจากกลยุทธ์ของบริษัท ที่มุ่งเน้นการเติบโต การปรับปรุงตำแหน่งทางธุรกิจของสินทรัพย์ที่มีอยู่ การพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ และการปรับกลยุทธ์พอร์ทการลงทุนเพื่อเน้นผลตอบแทนให้ได้ตามเป้าหมาย   สำหรับผลการดำเนินงาน ของกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในปี 2562 กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) มีรายได้จากสินทรัพย์ดำเนินงาน เพิ่มขึ้น 1.3% โดยรายได้หลักเพิ่มขึ้นจากโรงแรม กลุ่มไมซ์ที่เพิ่มขึ้น 6.8% โดยโรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค ที่อยู่ในช่วงการดำเนินงานเริ่มต้น (Ramp up) มีรายได้เติบโต 13.9% และมีกำไรจากการดำเนินงานเติบโต 26% ทั้งนี้บริษัท มีรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) สูงกว่าอุตสาหกรรมโรงแรมโดยรวม โดยมีดัชนีชี้วัด (RGI Index) เท่ากับ 108   กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail & Commercial) มีรายได้จากสินทรัพย์ดำเนินงาน  เพิ่มขึ้น 7.7% จากความสำเร็จในการเปิดตัว 2 โครงการใหม่ ได้แก่ เกทเวย์ แอท บางซื่อ ที่มีรายได้เติบโต 1,037% และกำไรจากการดำเนินงานสูงขึ้น 225%  และ ลาซาล อเวนิว ที่มีรายได้เติบโต 175% และกำไรจากการดำเนินงานสูงขึ้นถึง 9,245% ประกอบกับธุรกิจอาคารสำนักงานมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การให้เช่าพื้นที่ให้รองรับความต้องการของลูกค้าและธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้มีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตรา 6% (ไม่รวมผลการดำเนินงานของสินทรัพย์ที่บริษัทจำหน่ายออกจากกลุ่มในระหว่างปี 2561) และด้วยกลยุทธ์ของบริษัทที่เน้นประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งการจัดซื้อจำนวนมากส่งผลให้การเติบโตของอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้สำหรับพอร์ตทรัพย์สินดำเนินงาน สูงขึ้นจาก 48 % เป็น 51%   ขณะที่สินทรัพย์รวมของบริษัทเติบโต 17.3% หนี้สินรวมของบริษัทลดลงร้อยละ 50.7% จากการนำเงินจากการเพิ่มทุนบางส่วนมาใช้ในการบริหารสภาพคล่องและจ่ายชำระคืนเงินกู้และเตรียมการลงทุนในทรัพย์สินกลุ่ม 3 (บริษัทได้เข้าซื้อสินทรัพย์กลุ่ม 3 ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 ด้วยมูลค่าลงทุนรวม 26,229.5 ล้านบาท) ทำให้บริษัทมีโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่งโดยพิจารณาได้จากอัตราหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือ 0.4 เท่า 5 กลยุทธ์ “BUILDING A BETTER FUTURE 2020” ด้วยความมุ่งมั่นเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของ AWC บริษัทได้กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การสร้างตอบแทนต่อส่วนทุนที่คุ้มค่า การสร้างความแข็งแกร่งและเติบโตอย่างต่อเนื่องยั่งยืน และการเป็นองค์กรที่น่าชื่นชมและเชื่อถือ โดยดำเนินงานผ่านกลยุทธ์หลัก 5 ข้อ  ของ AWC สำหรับปี 2563 คือ 1.เติบโตก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง (Growth-Led Strategy) มุ่งเน้นให้โครงการใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามแผนการเติบโตของบริษัทมีศักยภาพที่จะสร้างการเติบโตที่ชัดเจนให้บริษัท โดยมีแผนจัดสรรเงินทุนมากกว่า 30,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาทั้งโครงการโรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยวแนวไลฟ์สไตล์มากกว่า 12 โครงการ ซึ่งจะเพิ่มจำนวนห้องพักในโรงแรมเป็น 8,506 ห้อง และเพิ่มพื้นที่เช่าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้าเป็น 415,481 ตารางเมตร ภายในปี 2024 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาบริษัท ยังได้ซื้อโรงแรมเข้าในพอร์ตเพิ่มอีก 4 แห่ง ด้วยมูลค่า 26,000 ล้านบาท ทำให้ภายในสิ้นปีนี้AWC มีโรงแรมภายใต้การบริหารงานทั้งสิ้น 17 แห่ง (อ่านข่าว...แผนซื้ออสังหา 12 แห่งเข้าเติมพอร์ต) 2.มุ่งเน้นลูกค้ากลุ่มรายได้ระดับกลางถึงสูง (Middle to High Income Customer Segment) บริษัทมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน อันได้แก่ ลูกค้าและนักท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ระดับกลาง ถึงสูง และนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ ที่มีอัตราการเติบโตและอัตราส่วนกำไรต่อรายได้สูง 3.สร้างความแข็งแกร่งร่วมกับพันธมิตรระดับโลก (Global and Unique Partners) เพื่อสร้างและขยายเครือข่ายพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ ในการแบ่งปันความชำนาญและมาตรฐานการดำเนินงานให้อยู่ในระดับสากล อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ จากระบบจัดจำหน่ายทั่วโลก (Global Distribution Channel) โปรแกรมสมาชิก (Loyalty Program) กว่า 300 ล้านสมาชิกของผู้บริหารโรงแรม และเพิ่มตัวเลือกแบรนด์ที่หลากหลายให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามากขึ้น 4.เป็นผู้นำตลาด สร้างประสบการณ์ใหม่ให้วงการ (New Benchmark) ด้วยการสร้างสรรค์โครงการขนาดใหญ่และมีจุดดึงดูดเพื่อสร้างขีดการแข่งขันและเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้กับประเทศ โดยโครงการของบริษัทมีจุดเด่นที่เป็นบรรทัดฐานใหม่ให้กับวงการหรือจุดหมาย การท่องเที่ยวนั้น ๆ อาทิ การส่งเสริมความแข็งแกร่งและยกระดับอุตสากรรมไมซ์ให้กับ ประเทศไทย การดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านเครือข่ายระดับโลกที่แข็งแกร่ง และการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้จุดหมายปลายทางที่โครงการของ AWC เปิดดำเนินการ 5.พัฒนาและดำเนินธุรกิจเพื่อเติบโตอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อคุณค่าองค์รวม (Synergy & Sustainability) การสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ ด้วยการจัดทำแผนงานเพื่อความยั่งยืนในมิติต่างๆ ทั้งในด้านการรับรองมาตรฐานความยั่งยืนจากหน่วยงานต่างๆ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนตอบสนองนโยบาย “การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน” ของบริษัทผ่านการดำเนินงานของมูลนิธิแอสเสท เวิรด์  เพื่อการกุศล (Asset World Foundation for Charity) และ The Gallery วิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้คือการเดินหน้าสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่าให้กับบริษัท นักลงทุน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมไทยแบบองค์รวม ปรับโฉม 7 รีเทลสู่ “F&B Destination”   กลุ่มธุรกิจรีเทลของ AWC ในปีนี้ ได้วางแผนปรับปรุง และรีแบรนด์ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีด้วยกัน 7 แห่ง ที่จะถูกรีโพสิชั่นนิ่งใหม่  ได้แก่ ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า 3 แห่ง ได้ก่ สาขางามวงศ์วาน ประตูน้ำ และเชียงใหม่ ศูนย์การค้าเกทเวย์ เอกมัย เกทเวย์ แอท บางซื่อ โครงการตะวันนา บางกะปิ และโครงการที่อยู่ด้านข้างอีก 1 แห่ง   สำหรับโครงการทั้งหมด จะมุ่งเน้นในเรื่องความเป็นไลฟ์สไตล์เพิ่มมากขึ้น ด้วยการเพิ่มพื้นที่อาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) ขณะที่จะลดสัดส่วนร้านค้าอื่นลง อย่างเช่น ศูนย์การค้าพันธุ์พลาซ่า ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของสินค้าไอที จะกลายเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งในศูนย์การค้าเท่านั้น เช่น สาขางามวงศ์วาน จะเพิ่มพื้นที่ส่วนของอาหารมากขึ้น โดยวางคอนเซ็ปต์เป็นศูนย์รวมอาหารที่มีชื่อเสียง และร้านสตรีทฟู้ดที่ได้รับความนิยม เป็นต้น   ขณะที่ศูนย์การค้าเกทเวย์ เอกมัย จะทำการปรับโฉมใหม่ เป็นศูนย์กลางสินค้าจากต่างประเทศทั่วโลก ภายใต้แนวคิด “Gate way to the world” เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเลือกซื้อสินค้าของต่างชาติ และยังคงเน้นเรื่องอาหาร เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนในยุคปัจจุบัน ส่วนตะวันนาจะเพิ่มความเป็นไลฟ์สไตล์ และไลฟ์สไตล์เข้าไปเช่นกัน ส่วนที่ดินใกล้กับโครงการตะวันนา จะทำเป็นศูนย์จำหน่ายอาหารสด และมีบริการมี Chief Table ไว้คอยบริการ ลดค่าเช่า 25% ช่วยร้านค้าเอเชียทีค รับมือไวรัสโควิด-19 ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย AWC มีความห่วงใย และได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และได้ออกมาตรการอย่างต่อเนื่องเพื่อดูแลความปลอดภัย เรื่องสุขอนามัยภายในโครงการ โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตรโรงแรมชั้นนำต่าง ๆ ในการออกนโยบายยกเว้นค่าธรรมเนียมในการยกเลิกเข้าพักในโรงแรมและการยกเลิกหรือเลื่อนการจัดประชุม โดยพิจารณาความเหมาะสมในช่วงเวลาที่เดินทางและประเทศต้นทาง   ส่วนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้า บริษัทจะมอบส่วนลดค่าเช่าตามสถานการณ์ผลกระทบด้านจำนวนลูกค้าและเศรษฐกิจของแต่ละโครงการเดือนต่อเดือน และพิจารณามอบความช่วยเหลือเพิ่มตามความเหมาะสมของสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และจะร่วมยืนหยัดรับมือทุกปัญหาเพื่อให้ผ่านพ้นสถานการณ์ยากลำบากนี้ไปด้วยกันอย่างดีที่สุด   โดยบริษัทพิจารณาลดค่าเช่าให้กับผู้เช่าที่ศูนย์การค้าเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ (อ่านเพิ่มเติม...แผนพัฒนาเอเชียทีค สู่เมกะโปรเจ็กต์) ในอัตรา 25% โดยมีผลในเดือนมีนาคมนี้ ส่วนผู้เช่าในศูนย์การค้าอื่นๆ จะพิจารณาตามผลกระทบที่ได้รับ ซึ่งประเมินว่าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 จะได้รับการแก้ไขโดยเร็ว  
5 เหตุผลที่ทำให้ “สามย่าน มิตรทาวน์” ซัคเซส แค่ 4 เดือนคนเข้ากว่าแสนคนต่อวัน

5 เหตุผลที่ทำให้ “สามย่าน มิตรทาวน์” ซัคเซส แค่ 4 เดือนคนเข้ากว่าแสนคนต่อวัน

โกลเด้นแลนด์เผย 5 ปัจจัยความสำเร็จ ส่งให้ “สามย่านมิตรทาวน์” โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 9,000 ล้าน คนเข้าใช้บริการนับแสนคนต่อวัน แม้เปิดให้บริการแค่ 5 เดือน  พร้อมเดินหน้าทุ่ม 200 ล้านบาท ทำการตลาดในปี 63 สร้างความสำเร็จต่อเนื่อง “สามย่านมิตรทาวน์” โครงการมิกซ์ยูส ของ โกลเด้นแลนด์ มูลค่า 9,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยสำนักงาน โรงแรม คอนโดมิเนียม และศูนย์การค้า ที่เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมา รวมระยะเวลาที่เปิดให้บริการกว่า 5 เดือน  แต่ต้องถือว่าโครงการสามย่านมิตรทาวน์  โดยเฉพาะศูนย์การค้าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จเกินกว่าที่คาดหมายเอาไว้   ความสำเร็จที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ปัจจุบันสามย่านมิตรทาวน์มีผู้เช่าพื้นที่ เพื่อเปิดให้บริการร้านค้าต่างๆ กว่า 95% ขณะที่ผู้ใช้บริการภายในศูนย์การค้า ในช่วง 4 เดือนแรกก็มีมากกว่า 70,000 คนในวันธรรมดา และมากกว่า 80,000 คนในวันเสาร์-อาทิตย์ และหากเป็นช่วงที่มีการกิจกรรมพิเศษ จะมีผู้เข้ามาใช้บริการมากกว่า 100,000 คนต่อวัน​เลยทีเดียว นางธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเดนแลนด์  เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวยังคงท้าทายการดำเนินธุรกิจของสามย่านมิตรทาวน์ แต่ด้วยการจัดสรรร้านค้าของศูนย์ฯ ที่ตั้งเป้าหมายจะเป็น ศูนย์การค้าที่ใช้บริการได้ทุกวัน กลยุทธ์การตลาดผ่านซิกเนเจอร์อีเว้นท์ ร้านค้าแม่เหล็กที่มีที่นี่ที่เดียว และพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะเป็นส่วนช่วยให้สามย่านมิตรทาวน์สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยลบจากการท่องเที่ยวกระทบต่อธุรกิจรีเทล โดยตลาดนักท่องเที่ยวจีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น-ฮ่องกง ยังคงเป็นตลาดใหญ่ที่สุดที่มาใช้บริการรีเทลในประเทศไทย สำหรับปัจจัยลบด้านปัญหาสุขภาพในจีน เชื่อว่าจะส่งผลเพียงระยะสั้น เนื่องจากทางการจีนได้ควบคุมขอบเขตการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับสามย่านมิตรทาวน์ยอดผู้ใช้บริการ ที่มาใช้บริการในศูนย์ฯ และเข้าพักที่โรงแรมทริปเปิ้ลวายโฮเทล ยังคงเป็นผู้ใช้บริการสัญชาติไทยป็นอันดับ 1 ขณะที่สัดส่วนผู้ใช้บริการที่เป็นสัญชาติจีนเมื่อเทียบกับสัญชาติไทย คิดเป็นเพียง 2% เท่านั้น ปัจจัยลบดังกล่าวนี้จึงแทบไม่กระทบกับยอดลูกค้าของสามย่านมิตรทาวน์   โครงการสามย่านมิตรทาวน์อยู่บนทำเลหัวมุมถนนพญาไท-พระราม 4 เนื้อที่กว่า 14 ไร่ พื้นที่ใช้สอยรวม 222,000 ตารางเมตร แบ่งเป็นโซนที่อยู่อาศัย  โซนอาคารสำนักงาน และโซนรีเทลหรือ Urban Life Library สูง 6 ชั้น พื้นที่ให้เช่ารวม 36,000 ตารางเมตร  พัฒนาจากแนวคิดเรื่อง “การเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้ ถ้าทุกอย่างถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นมิตร”   โดยออกแบบให้พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ใช้งาน (Smart) และ เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน (Friendly) ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Urban Life Library” หรือ “คลังแห่งอาหารและการเรียนรู้”  รีเมคตำนานสามย่านบทใหม่ ถือเป็นหนึ่งในไฮไลต์ที่จะเติมเต็ม Urban Life Library ของทุก ๆ คน คีย์ความสำเร็จของ “สามย่านมิตรทาวน์” 1.พันธมิตรร้านค้าเปิดให้บริการที่นี่ที่เดียว (One and Only) สามย่านมิตรทาวน์ ถือได้ว่าเป็นโครงการค้าปลีกน้องใหม่ ที่เข้ามาในตลาด จึงต้องสร้างความแตกต่าง และจุดขายเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ ร้านค้าพันธมิตรที่เข้ามาเปิดบริการจำนวนมาก เป็นร้านค้าที่ไม่เคยเปิดให้บริการในศูนย์การที่ไหนมาก่อน อาทิ -ทิม ฮอร์ตัน (Tim Hortons) เชนร้านกาแฟแบรนด์ดังจากแคนาดา -ดินส์ (Din’s) ร้านอาหารนีโอไต้หวัน -เม่ย เว้ย หว่าน (Mei Wei Wan) ต้นตำรับก๋วยเตี๋ยวเนื้อไต้หวัน -สไปซี่ เฮ้าส์ (Spicy House) ร้านอาหารรัสเซียสูตรต้นตำหรับ -โคกิดา (Gogida) ต้นตำรับปิ้งย่างส่งตรงจากเกาหลี -มีเค สตรีท (K-StrEAT) ศูนย์รวมอาหารเปิดประสบการณ์และวัฒนธรรมเกาหลี (เตรียมเปิดบริการเมษายน 2563) -แองกริซ (Angkriz) โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษโดยครูลูกกอล์ฟ -โรงเรียนแซฮุน (Zaehoon Korean Language School) โรงเรียนสอนภาษาเกาหลีด้วยหลักสูตรเอาใจวัยรุ่นให้ได้เรียนกับเจ้าของภาษาอย่างใกล้ชิด -โรงภาพยนตร์เฮ้าส์สามย่าน (House Samyan) โรงภาพยนตร์สำหรับกลุ่ม Moviegoers ที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ รวมถึงการอัพเดทร้านค้าที่ศูนย์ดำเนินการเองอย่างเช่น -มีเดียม แอนด์ มอร์ (Medium and More) ศูนย์รวมงานอาร์ตแอนด์คราฟท์ และเวิร์คช็อป -แอพรอน วอล์ค (Apron walk) ศูนย์รวมวัตถุดิบ และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำอาหารครบวงจร ซึ่งการปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการให้มีความทันสมัย เป็นทางเลือกในการช้อปปิ้งที่เหมาะสมกับผู้บริโภคยุคใหม่อยู่เสมอ สามย่านมิตรทาวน์ ปัจจุบันมีพื้นที่เช่าแล้ว 95% หรือ 85 ร้านค้า ซึ่งพื้นที่ที่เหลืออีก 5% เป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ที่จะเต็มพื้นที่ในช่วงเดือนกันยายนปีนี้2.การเปิดพื้นที่ 24 ชั่วโมง ไม่เพียงแต่พันธมิตรร้านค้าที่มาเปิด จะเป็นร้านค้าที่ไม่เคยเปิดในห้างค้าปลีกที่ไหนมาก่อนแล้ว ส่วนหนึ่งที่เป็นจุดขายแตกต่างจาก ศูนย์การค้าอื่นๆ คือ การเปิดพื้นที่โซน 24 ชั่วโมง ที่มีร้านค้าต่างๆ ถึง 25 ร้านค้า เป็นการสร้างจุดแตกต่างและดึงให้คนเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก จำนวน 5,000-15,000 คน โดยมีช่วงเวลาพีค คือ 24.00-01.00 น. กลุ่มผู้ที่มาใช้บริการมากสุด ต้องยอมรับว่าเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา สัดส่วน 65% รองลงมาเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน สัดส่วน 34%   ร้านค้าต่างๆ ที่เปิดให้บริการในพื้นที่โซน 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จ กลายเป็นร้านที่สร้างยอดขายติดอันดับต้นๆ หลายร้านติดอันดับ Top 3 ของจำนวนสาขาทั้งหมดที่มีด้วย สาเหตุเป็นเพราะการมีชั่วโมงการขายที่นานขึ้น อาทิ KFC, ชาบูชิ, ก๋วยเตียวเรือพระนคร และสเวนเซ่น ซึ่งมีหลายร้านเตรียมพร้อมนำเอาโมเดลการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงไปเปิดเพิ่มในพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย 3.การจัดอีเว้นต์รูปแบบเฉพาะ “สามย่าน” การทำให้คนเข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้าอย่างต่อเนื่อง เรื่องของกิจกรรมการตลาดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ถ้าเป็นกิจกรรมในรูปแบบทั่วไปที่ไหนก็มี คนอาจจะสนใจแต่อาจจะไม่สร้างกระแสมากพอ สามย่านมิตรทาวน์ จึงปั้นอีกเว้นท์ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร เป็นซิกเนเจอร์อีเว้นท์ (Signature Event) แบบฉบับของตนเอง อาทิ   -ลานนมสามย่าน การร่วมกับเครื่องดื่มไมโล เปิดบริการในรูปแบบลานนม ซึ่งต้นแบบเคยเกิดขึ้นมาแล้วที่ประเทศสิงคโปร์ เกิดเป็นกระแสพูดถึงในออนไลน์จนโด่งดังเป็น Talk of the Town ด้วยจุดเด่นที่เป็นกิจกรรมเฉลิมฉลองปราศจากแอลกอฮอล์ โดยมีอาหารคาวหวานที่มีส่วนผสมของนมเป็นซิกเนเจอร์   -Happy New Me การเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ด้วยการเป็นคนที่ดีขึ้นให้กับตัวเอง ในปี 2020   -สามย่านมิตรทาวน์ ไชนีส นิวเยียร์ 2020 เทศการตรุษจีน ล่าสุดที่เพิ่งจัดไป โดยนำเอาเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากงานตรุษจีนของศูนย์อื่นมาไว้ในงาน อย่างเช่นการจัดแสดงงิ้วโบราณ “งิ้วเปลี่ยนหน้า” เป็น และได้นำการแสดงงิ้วโบราณมาแสดงกลางศูนย์ฯ   -Happy Single Me 2020 เทศกาลที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อฉลองเดือนแห่งความรัก กับเทศกาลฉลองวาเลนไทน์ที่ไม่เหมือนใคร ด้วยการจัดงานฉลองให้กับคนโสด ไม่ต้องเหงาและเปล่าเปลี่ยวในเทศกาลแห่งความรัก 4.ผนึกพาร์ทเนอร์ (Mitr Partnership) จัดกิจกรรม ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาสามย่านมิตรทาวน์ได้ผนึกพาร์ทเนอร์ชั้นนำ ในการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ -สามย่านมิตรทาวน์-เอไอเอส ขนทัพ 5G ให้คนไทยได้สัมผัส กิจกรรมประกาศความพร้อมของการให้บริการ 5G พร้อมทัพพรีเซนเตอร์และกิจกรรมส่งเสริมการขายอัดแน่นตลอดกิจกรรม   -สามย่านมิตรทาวน์-อมรินทร์ กับการร่วมมือจัดมหกรรมนิยายนานาชาติ ครั้งที่ 1 งานบุ๊คแฟร์ที่รวบรวมหนังสือนิยายเอาไว้มากที่สุด   -สามย่านมิตรทาวน์-การีน่า Free Fire Pro League การแข่งขันลีกสำหรับมืออาชีพครั้งแรกของเกม Free Fire ที่จะเฟ้นหาสุดยอดฝีมือของประเทศไทย   ในปี  2563 นี้ทางศูนย์การค้ายังคงเปิดรับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ที่สนใจจัดกิจกรรมที่จะเป็นผู้สร้างตำนานใหม่ให้กับสามย่านได้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มมีการพูดคุยกับพาร์ทเนอร์แล้วหลายราย โดยแผนการตลาดของสามย่านมิตรทาวน์ในปีนี้ ได้วางแผนใช้งบ 200 ล้านบาท เพื่อปั้นซิกเนเจอร์อีเว้นท์อย่างต่อเนื่อง  อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง 5.ลงทุน 300 ล้านบาท สร้างอุโมงค์ทางเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน การสร้างอุโมงค์ทางเชื่อมระหว่างโครงการ กับการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยช่วยทำให้ ศูนย์การค้ามีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เพราะทำให้บรรดาผู้อยู่อาศัยในระแวกใกล้เคียง โดยเฉพาะบุคลากร อาจารย์ นิสิต นักเรียน และพนักงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางได้สะดวก ขณะที่ลูกค้าทั่วไปก็เดินทางสะดวกรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสามย่าน  แต่ผลการตอบรับจากการใช้บริการอุโมงค์ในปัจจุบัน เป็นอะไรที่มากกว่าเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้า กับตัวโครงการ เพราะอุโมงค์ได้กลายเป็นสถานที่เช็คอิน และถ่ายรูปของคนทั่วไปในทุกเพศทุกวัย แถมทางสามย่านมิตรทาวน์ ยังตกแต่งอุโมงค์ตามเทศกาล และโอกาสสำคัญด้วย ยิ่งทำให้อุโมงค์แห่งนี้ กลายเป็นอีกหนึ่งกิมมิคของโครงการสามย่านมิตรทาวน์ไปแล้ว  
โกลเด้นแลนด์ กวาดรายได้และกำไร โตสวนกระแสตลาดชะลอตัว

โกลเด้นแลนด์ กวาดรายได้และกำไร โตสวนกระแสตลาดชะลอตัว

โกลเด้นแลนด์ เผยผลประกอบการปี 2562 ทำรายได้รวม 17,168 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% พร้อมทำกำไร  2,085 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3%  เหตุทุกธุรกิจเติบโตถ้วนหน้า ทั้งที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน และศูนย์การค้า ส่วนปี 2563 เดินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง ฝ่าวิกฤตตลาดชะลอตัว   นายธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ เปิดเผยว่า บริษัทมีรายได้หลักจากการขายอสังหาริมทรัพย์รวม 15,305 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,268 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยประสบความสำเร็จทั้งโครงการใหม่ที่เริ่มเปิดขายและโอนในระหว่างปี 2562 รวมถึง โครงการเดิมที่ยังขาย และโอนได้อย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายบ้านนีโอโฮม ราคา 5-8 ล้านบาท มีสัดส่วนสูงขึ้นอย่างชัดเจน รวมถึงยอดขายจากการขยายโครงการไปต่างจังหวัด     ในขณะที่รายได้ค่าเช่าและรายได้อื่นๆ งวด 12 เดือน (1 มกราคม 2562  – 31 ธันวาคม 2562) มีรายได้รวม 1,863 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5% จากงวดเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการรับรู้รายได้จากการให้เช่าในอาคารสำนักงาน  ที่บริษัทบริหารพื้นที่ มีอัตราการเช่าสูงกว่า 95% ทุกอาคาร และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจโรงแรม   ส่วนโครงการสามย่านมิตรทาวน์ที่แล้วเสร็จในปีที่ผ่านมา  ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ มีอัตราการเช่าแล้ว 95% ส่วนพื้นที่อาคารสำนักงาน มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ มีอัตราการเช่าแล้ว 75% มีผู้เช่าทยอยเข้าตกแต่ง  และส่วนที่พักอาศัย ทริปเปิ้ล วาย เรสซิเด้นซ์ มีอัตราการขายสิทธิการเช่า 75% และทริปเปิ้ล วาย โฮเทล ที่มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 45%   “จากผลประกอบการรอบ 12 เดือน ปี 2562 ที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า เรายังทำได้ดีตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการเลือกพัฒนาโครงการบนทำเลที่มีความต้องการต่อเนื่อง และราคาสินค้าตอบโจทย์กำลังซื้อของกลุ่มลูกค้า แม้ว่าจะเผชิญความท้าทายจากหลายปัจจัยภายนอกที่กระทบกับตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะ 6 เดือนสุดท้ายของปี 2562 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคุมเข้มสินเชื่อ LTV”     ขณะที่ทิศทางของโครงการเชิงพาณิชย์ ตลาดอาคารสำนักงานยังไปได้ดี สะท้อนจากอัตราการเช่าพื้นที่ทุกอาคารของโกลเด้นแลนด์ และอาคารสำนักงานให้เช่าแห่งใหม่ล่าสุดในโครงการสามย่านมิตรทาวน์ มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ที่มียอดผู้เช่าในสัดส่วนที่สูง แม้ว่าอาคารจะเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ที่ยังคงมีผู้ใช้บริการสูงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมา และมีอัตราผู้เช่าสูงตามเป้าหมาย   สำหรับภาพรวมธุรกิจในปี 2563 ในส่วนของธุรกิจที่อยู่อาศัย โกลเด้นแลนด์ได้มีการปรับกลยุทธ์ให้เติบโตอย่างระมัดระวัง ในการฝ่าภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว เช่น การบริหารค่าใช้จ่ายในการขาย รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและใช้ทรัพยากร บริษัทฯ คาดการณ์การแข่งขันในปีนี้จะยังรุนแรงเช่นเดิมโดยเฉพาะตลาดบ้านแนวราบ จากการที่ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายหันมาให้ความสำคัญกับตลาดนี้แทนที่ตลาดคอนโดมิเนียม   ส่วนธุรกิจเชิงพาณิชย์ อาคารสำนักงานที่อยู่ใจกลางเมือง เดินทางสะดวก ติดรถไฟฟ้าจะยังได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้เช่าภาคธุรกิจต่างๆ ส่วนธุรกิจศูนย์การค้าใจกลางเมือง นอกจากร้านค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการแล้ว การจัดอีเวนท์อย่างต่อเนื่องก็จะดึงกลุ่มลูกค้าได้ดี   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง “สามย่านมิตรทาวน์” เปิดพื้นที่ 24 ชั่วโมง ให้คนกรุงใช้ชีวิตทั้งวันทั้งคืน “กิน ดื่ม ทำงาน และออกกำลังกาย” 19 ร้านคอนเซ็ปต์ “ใหม่” ในสามย่านมิตรทาวน์ [PR News] โกลเด้นแลนด์ เปิดอาณาจักร GOLDEN EMPIRE แจ้งวัฒนะขายหมดภายใน 2 วัน เปิด 5 ไฮไลท์ “MITRTOWN OFFICE TOWER” ออฟฟิศให้เช่า พระราม 4 5 เหตุผล “โกลเด้นแลนด์” ปักหมุดเชียงรายปั้น โกลเด้น เอ็มไพร์ 2,600 ล้าน
สิงห์ เอสเตท ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน เดินหน้า 4 ธุรกิจหลัก สร้างรายได้ 30,000 ล้านในปี 2567

สิงห์ เอสเตท ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน เดินหน้า 4 ธุรกิจหลัก สร้างรายได้ 30,000 ล้านในปี 2567

"สิงห์ เอสเตท" ดำเนินธุรกิจมาถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 5 ปีแล้ว นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อมาจาก บริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ในช่วงปี 2557     โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานในธุรกิจที่อยู่อาศัย อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยพลาดจากเป้าหมายไปประมาณ 30% คาดว่าจะทำรายได้ประมาณ 7,500 ล้านบาท ซึ่งภาพรวมในปี 2562 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้รวมน่าจะทำได้ 16,000 ล้านบาท   สิงห์เอสเตท ตั้งเป้าทำรายได้ 20,000 ล้าน อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 สิงห์ เอสเตท คาดว่าจะกลับสร้างการเติบโต พร้อมกับเป้าหมายการทำรายได้ 20,000 ล้านบาท ซึ่งมีแผนการดำเนินธุรกิจในกลุ่ม คือ   1.แผนการเปิดโครงการใหม่ 6 โครงการ มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการคอนโดมิเนียมจะมีแบรนด์ใหม่ 2 โครงการ และโครงการแนวราบจะมีแบรนด์ใหม่ 3 โครงการ และมีเป้าหมายยอดขาย 8,000 ล้านบาท พร้อมกับรับรู้รายได้จากการโอนโครงการเอส 36 จากแบ็กล็อกที่มีมูลค่า 6,000 ล้านบาท   2.ธุรกิจคอมเมอร์เชียล หรืออาคารสำนักงาน จะเน้นการพัฒนาโครงการในทำเลที่เหมาะสม โดยไม่เน้นทำเลใจกลางเมืองเป็นหลัก ส่วนธุรกิจโรงแรมยังคงขยายอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนใช้เงินลงทุนปีนี้ 5,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาและซื้อกิจการในส่วนอาคารสำนักงานและโรงแรม   3.การรับรู้รายได้จากโครงการในมัลดีฟส์มูลค่า 2,000 ล้านบาท เนื่องจากโรงแรมในโครงการคอรสโร้ดส์ เฟสแรก ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ   4.การขยายธุรกิจใหม่ ที่สร้างความยั่งยืนและช่วยเหลือสังคม ได้แก่ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Business)   นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้จะเป็นปีที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายรายได้ 20,000 ล้านบาท หลังจากทำตามเป้าหมาย การพัฒนาบริษัทเป็นโกลบอลคอมปานี ได้สำเร็จมา 3 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นมากมีมูลค่าสินทรัพย์ถึง 67,000 ล้านบาท และตามแผนในระยะ 5 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2567 สินทรัพย์น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านบาท   ส่วนการดำเนินธุรกิจในปีนี้ มีปัจจัยที่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ มี 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.ปัญหาไข้หวัดโคโรน่า ซึ่งผลกระทบจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการแพร่ระบาด แต่คาดว่าจะมีระยะเวลาการแพร่ระบาดไม่นาน และ 2.ปัญหาการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี จะดำเนินการได้ตามแผนหรือไม่ ส่วนปัจจัยบวกสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในภาวะ ค่าเงินบาทหากอ่อนค่ากกว่านี้ ในระดับ 35 บาทต่อดอลล่าห์  จะส่งผลบวกต่อตลาดนักท่องเที่ยว ซึ่งจะเข้ามาเพิ่มมากขึ้น แผน 5 ปี “สิงห์เอสเตท” ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน 5 ปีข้างหน้า จะมุ่งขยายใน 3 แกนหลัก ได้แก่ ธุรกิจที่อยู่อาศัย ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจคอมเมอร์เชียล ด้วยงบลงทุนรวม 68,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันจะขยายธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจอสังหาฯ ด้วย โดยเป็นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณการลงทุนประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท รวมงบประมาณการลงทุนทั้ง 4 กลุ่มประมาณ 73,000-74,000 ล้านบาท แบ่งเป็น   1.ธุรกิจที่อยู่อาศัย เตรียมลงทุน 37,500 ล้าบาท เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย 30 โครงการ   2.ธุรกิจคอมเมอร์เชียล ซึ่งเป็นพื้นที่สำนักงานให้เช่า เตรียมลงทุน 8,500 ล้านบาท เพื่อพัฒนา 4 โครงการ ซึ่งอาจจะซื้อหรือพัฒนาขึ้นใหม่ แต่บริษัทต้องการซื้อโครงการมาพัฒนาต่ำ เนื่องจากได้รับกระแสเงินสดเข้ามาทันที แต่หากพัฒนาขึ้นใหม่ จะมีผลดีในด้านผลตอบแทนที่สูง จากปัจจุบันมีอาคารสำนักงานให้เช่า 3 อาคาร รวม 140,000 ตารางเมตร คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 ตารางเมตรในอีก 5 ปีข้างหน้า   3.ธุรกิจโรงแรม เตรียมงบประมาณการลงทุน 22,000 ล้านบาท  เพื่อพัฒนาและซื้อโรงแรมมาพัฒนาต่อ 41 แห่ง ในพื้นที่ด้านการท่องเที่ยว  ตามเป้าหมายจะมีโรงแรมรวม 80 แห่ง มีจำนวนห้อง 8,000 ห้อง ภายในปี 2568 จากปัจจุบันมีโรงแรม 39 แห่ง จำนวน 4,647 ห้อง   4.ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน เตรียมงบประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยจะร่วมลงทุนกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจพลังงาน โดยร่วมกันพัฒนาธุรกิจและสร้างการเติบโต เช่น ธุรกิจพลังงานจากการกำจัดขยะ  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนา “สิงห์ เอสเตท” วางเป้าหมายรายได้ 30,000 ล้าน ตามแผนในระยะ 5 ปี บริษัทวางเป้าหมายรายได้ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจที่อยู่อาศัย 15,000 ล้านบาท ทั้งโครงการแนวราบและคอนโดฯ  ส่วนธุรกิจคอมเมอร์เชียลและโรงแรม วางเป้าหมายรายได้ 15,000 ล้านบาท ส่วนธุรกิจพลังงานหมุนเวียน อาจจะมีรายได้ไม่มากนัก เพราะบริษัทมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ และช่วยเหลือสังคม โดยจะร่วมกับพันธมิตรในการพัฒนา และสร้างการเติบโต
สำรวจตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

สำรวจตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

ดูเหมือนตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภท พื้นที่เชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า หรือพื้นที่ค้าปลีก เป็นอสังหาฯ ที่พอจะสร้างการเติบโตให้กับผู้ประกอบการได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นรายได้ประจำสม่ำเสมอ แม้จะไม่หวือหวาแต่ก็ผันผวนจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค  น้อยกว่าอสังหาฯ ประเภทที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในปีนี้แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยไม่ได้สดใสเอาเสียเลย   หลายปีก่อนหน้าบรรดาดีเวลลอปเปอร์ เริ่มปรับตัวหันมาพัฒนาโครงการประเภทมิกซ์ยูส ที่มีอสังหาฯ หลากหลายประเภทรวมอยู่ในนั้น โดยเฉพาะพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า เพราะเป็นตลาดที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง  หน่วยงานวิจัยหลายแห่งจึงได้ออกบทวิเคราะห์ เพื่อให้เห็นภาพของตลาดออฟฟิศให้เช่า ถึงสภาพตลาดปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ว่าจะเป็นตลาดที่สดใสและน่าสนใจจริงๆ หรือไม่   Q3 พื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่ม 45,000 ตร.ม. กราฟที่ 1 กราฟอุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯ   ล่าสุด  ต่างก็เห็นไปทิศทางเดียวกัน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด ได้จัดทำรายงานภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ที่ผ่านมา ระบุว่า มีพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มขึ้น 49,800 ตารางเมตร  จากพื้นที่รวมทั้งหมด 5,125,617 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 1%  เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และเติบโต 1.6% ปีต่อปี  มีอาคารสำนักงานใหม่หนึ่งอาคารเพิ่มเข้ามาในย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) พื้นที่ 45,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าในย่านศูนย์กลางธุรกิจเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 โดยไม่มีการย้ายออกจากอาคารเก่าในไตรมาสนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีพื้นที่สุทธิเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 24,418 ตารางเมตรต่อไตรมาส   สำหรับโครงการพัฒนาในอนาคตจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 - ปี 2566 ตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ คาดว่าจะเติบโตเป็น 1,171,829 ตารางเมตร หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 275,724 ตารางเมตรต่อปี (ซึ่งคำนวนจากส่วนที่เพิ่มเข้ามาในตลาดเท่านั้น ไม่ได้คำนวนการย้ายออก) หากเปรียบเทียบจากปี 2558 - ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 มีพื้นที่ใหม่เข้าสู่ตลาดอยู่ที่ 139,385 ตารางเมตรต่อปี ในช่วงสิ้นปี 2566 ปริมาณพื้นที่รวมของอาคารสำนักงานคาดว่าจะมีมากถึง 6 ล้านตารางเมตร   นอกจากนี้ การปรับปรุงภาษีอสังหาริมทรัพย์ใหม่ที่เริ่มต้นบังคับใช้ในปี 2563 คาดว่าจะมีย้ายพื้นที่ในอาคารเก่าเป็นจำนวนมาก ส่วนอสังหาฯ เชิงพาณิชย์ ภาษีใหม่นี้จะปรับอัตราภาษีส่วนเพิ่มจาก  0.3%  ไปถึงจุดสูงสุดที่  1.2%  ตามราคาประเมินของรัฐบาล ซึ่งจะแทนที่ภาษีครัวเรือนและภาษีที่ดินในปัจจุบันที่เรียกเก็บที่  12.5%  จากราคาประเมินเช่ารายปี ภาษีใหม่นี้จะกลายเป็นภาระหนักแก่อาคารเกรดไม่สูงนักหรืออาคารที่มีผู้เช่าน้อยในพื้นที่ย่านไพร์ม แต่อาจเป็นแรงจูงใจให้เจ้าของอาคารสำนักงานเหล่านี้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของอาคาร    ตารางที่ 1 อุปทานอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ในอนาคต ตารางที่ 2 อุปทานอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​ในอนาคต รายโครงการ พื้นที่ออฟฟิศถูกเช่าต่ำสุดใน 10 ปี ส่วนความต้องการใช้พื้นที่ออฟฟิศให้เช่านั้น ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ปรับลดลงเล็กน้อย ซึ่งการครอบครองลดลงเหลือเพียง 51,485 ตารางเมตร จากเดิม 68,987 ตารางเมตรในไตรมาสก่อน โดยลดลง 8% ต่อไตรมาส และส่งผลต่อการครอบครองเฉลี่ยลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายไตรมาสใน 10 ปี ซึ่งอยู่ที่ 64,406 ตารางเมตร นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2556 ของการครอบครองในไตรมาสที่ 3 ที่มีพื้นที่ลดลงต่ำกว่า 40,000 ตารางเมตร การครอบครองพื้นที่ใหม่และอาคารสำนักงานตกแต่งใหม่คิดเป็นเพียง 41% ของพื้นที่ทั้งหมดในไตรมาสนี้ ซึ่งลดลง 10% ไตรมาสต่อไตรมาส (Q-o-Q)   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้เช่าเลือกที่จะเช่าอาคารที่มีคุณภาพสูง โดยอาคารสำนักงานใหม่และอาคารสำนักงานที่ตกแต่งใหม่เหล่านี้มักจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมักจะดึงดูดความต้องการได้อย่างดี อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอาจส่งผลให้ผู้เช่าในปัจจุบันและผู้เช่าในอนาคตบางรายรอดูสถานการณ์ในการย้ายสำนักงานหรือแผนการขยายสาขา กราฟที่ 2 การครอบครองอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ รายไตรมาส   การดูดซับสุทธิปรับเพิ่มพื้นที่การครอบครองรวมจำนวน 20,138 ตารางเมตร  ซึ่งรวมทั้งหมดเป็นจำนวน 4,650,635 ตารางเมตร การดูดซับสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 11,990 ตารางเมตร ในไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหากเทียบปีต่อปี เนื่องจากพื้นที่ครอบครองรวมลดลงไป 19,509 ตารางเมตร  ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อย่างไรก็ตามในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พื้นที่ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 80,000 ตารางเมตร ในขณะที่พื้นที่ครอบครองรวมเพิ่มขึ้นเพียง 26,271 ตารางเมตร ความแตกต่างนี้แสดงให้เห็นว่าความต้องการรายปีต่ำกว่าปริมาณพื้นที่มากในปีที่ผ่านมา กราฟที่ 3 ไดนามิกส์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ   พื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มมากกว่าดีมานด์ การเพิ่มขึ้นของปริมาณพื้นที่สูงกว่าการดูดซับสุทธิ ส่งผลให้อัตราการครอบครองพื้นที่ตลาดลดลงไปที่  90.7% จากเดิมอยู่ที่  91.2% ในไตรมาสก่อน แม้ว่าจะลดลงแต่อัตราการครอบครองพื้นที่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยอยู่ที่  89.8% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าตลาดยังคงเสถียรภาพ อัตราการครอบครองพื้นที่ปรับลดลงในทั้งสองอาคารสำนักงานเกรด A และ B โดยลดลงไป  3.0% และ 0.5% จากไตรมาสก่อนตามลำดับ ในขณะที่อัตราการครอบครองอาคารสำนักงานเกรด C ปรับเพิ่มขึ้น 0.4% โดยรวมอยู่ที่ 87.7%   สำหรับในย่านศูนย์กลางธุรกิจ มีอัตราการครอบครองพื้นที่บนถนนวิทยุเพิ่มขึ้นสูงมากที่สุด ซึ่งเพิ่มขึ้น  0.4% ไตรมาสต่อไตรมาส คิดเป็น 0.9% ปีต่อปี โดยรวมอยู่ที่  91.8% ในทางกลับกันอัตราการครอบครองพื้นที่ในเขตสีลม-สาทรลดลงไป 0.5% ไตรมาสต่อไตรมาส และ 1.65% ปีต่อปี โดยรวมอยู่ที่ 92.6% สำหรับเขตนอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ อัตราการครอบครองพื้นที่ในเขตบางนาปรับสูงขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้น  1.2% โดยรวมอยู่ที่ 85.5% กราฟที่ 4 อัตราการครอบครองพื้นที่, อุปสงค์ และอุปทานพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ   ถนนวิทยุพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าราคาพุ่งสูงสุด ตารางที่ 3 อัตราการครอบครองพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​ โดยแบ่งตามเกรด พื้นที่ออฟฟิศให้เช่ามีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.2% อยู่ที่ 789 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน การเพิ่มเข้ามาของพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าใหม่ที่ตั้งราคาอยู่ในระดับเกรด A เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเพิ่มขึ้นของระดับค่าเช่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ราคาค่าเช่าปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยที่ 5.0% ต่อปี โดยในไตรมาสที่ 3 ราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยของอาคารสำนักงานเกรด B มีการปรับเพิ่มขึ้น 0.9% ไตรมาสต่อไตรมาส และ 5.4 ปีต่อปี อยู่ที่ 819 บาท ในขณะเดียวกัน ราคาค่าเช่าของอาคารสำนักงานเกรด A นั้นลดลงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แม้จะมีการเพิ่มขึ้น 8.8% ปีต่อปี แต่ราคาค่าเช่าปรับลดลงเหลือ 1,129 บาท ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง กราฟที่ 5 ราคาเสนอเช่าโดยเฉลี่ยของพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​โดยแบ่งตามเกรด ค่าเช่าของพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าในย่านศูนย์กลางธุรกิจปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมา ยกเว้นเพียงเขตอโศก-พร้อมพงษ์ ส่วนอาคารสำนักงานบนถนนวิทยุที่นอกจากจะมีปริมาณผู้เช่าสูงที่สุดแล้ว ยังมีการปรับราคาค่าเช่าสูงที่สุดอีกด้วย โดยราคาค่าเช่าเพิ่มขึ้น 4.1%   ไตรมาสต่อไตรมาส และ 10.1% ปีต่อปี อยู่ที่ 1,148 บาท สำหรับพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยเขตที่มีค่าเช่าสูงที่สุดอยู่ในเขตพหลโยธิน-วิภาวดี เพิ่มขึ้น 5.1% จากไตรมาสก่อน อยู่ที่ 760 บาท ในทางตรงกันข้าม ค่าเช่าในพื้นที่เขตอโศก-เพชรบุรีกลับลดลงไปร้อยละ 1.6% อยู่ที่ 818 บาท แต่ยังคงเพิ่มขึ้น  4.1% ปีต่อปี   “การเติบโตของราคาค่าเช่ายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เช่าควรปรับกลยุทธ์หรือแผนการเช่าอาคารสำนักงานเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ซึ่งครั้งหนึ่งกรุงเทพฯ เคยเป็นหนึ่งในตลาดอาคารสำนักงานที่มีราคาต่ำที่สุดในโลก แต่ตอนนี้ค่าเช่าของอาคารเกรดเอในกรุงเทพฯ กลับเทียบเท่ากับค่าเช่าสำนักงานในเมืองอย่างมาดริด และชิคาโก”นายมาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวและว่า   ตารางที่ 5 ตัวบ่งชี้ตลาดย่อยของพ้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ บทสรุป พื้นที่ออฟฟิศให้เช่า   สำหรับในไตรมาสที่ 4 การดูดซับสุทธิยังคงมีแนวโน้มเป็นบวก  แม้ว่าจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม และดูเหมือนว่าตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า กำลังขยายจนถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่ก็ยังคงมีโอกาสที่ยังเติบโตได้อยู่ อย่างไรก็ตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยืดไปถึงปี 2563 และอาจส่งผลกระทบต่อแผนการในอนาคตทั้งเจ้าของอาคารสำนักงานรวมถึงผู้เช่า โดยมีความเป็นไปได้ที่นักพัฒนาฯ จะชะลอการส่งมอบโครงการและคาดหวังความต้องการในปีถัดไป ราคาค่าเช่าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่อาจอยู่ในอัตราที่ช้าลงเพราะผู้เช่ามีอำนาจต่อรองมากขึ้นจากตัวเลือกของพื้นที่อาคารสำนักงานในตลาด   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน?
วิเคราะห์ โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง

วิเคราะห์ โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง

รายงานล่าสุด จาก บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ระบุว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มขึ้น 10 ตารางเมตร จากปัจจุบันมีพื้นที่ออฟฟิศในกรุงเทพฯ มีประมาณ 9 ล้านตารางเมตร ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดส่วนใหญ่จะอยู่ในโครงการมิกซ์ยูส ที่มีอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ประกอบด้วย    มิกซ์ยูสหลายโครงการที่จะทยอยออกมาตั้งแต่ปีนี้นั้น  เป็นโครงการขนาดใหญ่มูลค่าระดับแสนล้านบาท  เหตุผลของดีเวลลอปเปอร์ในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส คงเป็นเพราะต้องการใช้ที่ดินให้เกิดมูลค่าสูงสุด  เนื่องจากโครงการถูกพัฒนาบนทำเลใจกลางเมือง  รวมถึงเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่มีความต้องการหลากหลาย นั่นเอง 2 เหตุผลดีเวลลอปเปอร์ปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส รายงานจากนายภัทรพล ยุทธศักดิ์นุกูล นักวิเคราะห์ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  ล่าสุด ได้เห็นไปในทิศทางเดียวกันคือ สาเหตุสำคัญที่ดีเวลลอปเปอร์หันมาพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส เป็นเพราะ ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน และใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากที่ดินที่อยู่ในทำเลที่ดีโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มากนัก อีกทั้งยังมีราคาสูง ดังนั้น  การผสมผสานแต่ละการใช้งานของอสังหาฯ ให้มีความเข้ากันได้ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยอาจมีพื้นที่บางส่วนของโครงการที่การใช้งานหลายส่วนสามารถใช้งานร่วมกันได้   นอกจากนี้ ยังมองว่า โครงการมิกซ์ยูสเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาอสังหาฯ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งและเป็นการเพิ่มความหลากหลายของช่องทางในการสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ (recurring income) เมื่อเกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจหรือธุรกิจจะช่วยบรรเทาผลกระทบไม่ให้รุนแรงมากนัก เนื่องจากมีช่องทางสร้างรายได้อื่น เช่น ในภาวะที่นักท่องเที่ยวชะลอตัวส่งผลให้รายได้จากผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีกและโรงแรมลดลง โครงการมิกซ์ยูสยังคงมีพื้นที่สำนักงานให้เช่าเป็นแหล่งรายได้อื่นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของนักท่องเที่ยวอยู่ ต่างกับโครงการค้าปลีกเพียงอย่างเดียว (single use) ที่อาจได้รับผลกระทบมากกว่า   ถือเป็น 2 เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายหันมาสนใจการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส ในภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและชะลอตัว ซึ่งอาจกดดันให้ความต้องการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้เช่า (commercial real estate) ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สำนักงานให้เช่าและพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า รวมถึงต้นทุนที่ดินที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะที่ดินในพื้นที่ศักยภาพ โครงการมิกซ์ยูสทะลัก เสี่ยง Oversupply อย่างไรก็ตาม EIC มองว่า การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของปริมาณพื้นที่ จากโครงการมิกซ์ยูส ในช่วงปี 2563-2565 อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่กดดันให้การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้นและนำมาสู่ความเสี่ยงปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน (Oversupply) ในธุรกิจอสังหาฯ พาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ โดยจะมีพื้นที่มิกซ์ยูสเปิดดำเนินการเพิ่มขึ้น 900,000 ตารางเมตร หรือ ประมาณ 40% ของจำนวนพื้นที่ของธุรกิจพาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ ราว 2 ล้านตารางเมตรในช่วงปี 2563-2565 (รูปที่ 1)   ขณะที่ EIC คาดว่าความต้องการใหม่ต่อธุรกิจพาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาเดียวกันจะอยู่ที่ราว 1 ล้านตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงจากภาวะพื้นที่มีออกมามากเกินจากการขยายตัวดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโครงการมิกซ์ยูสที่จะเข้าสู่ตลาด ทั้งนี้จากข้อมูล 14 โครงการที่ถูกเลือกเพื่อทำการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ปริมาณพื้นที่ใหม่จากโครงการมิกซ์ยูสส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD: Central Business District) ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นใจกลางย่านธุรกิจในกรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วนราว 64% เช่น สีลม-สาธร สุขุมวิทตอนต้น (ซอย 1-41) เพชรบุรี ส่วนพื้นที่ Non CBD คิดเป็นสัดส่วนราว 36% เช่น พื้นที่บางซื่อ บางนา-ตราด ศรีนครินทร์ แจ้งวัฒนะ   นอกจากนี้ หากพิจารณาตามรูปแบบอสังหาฯ จะพบว่า จากพื้นที่โครงการมิกซ์ยูสทั้งหมด (รูปที่ 2) จะมีพื้นที่ค้าปลีกเป็นสัดส่วนถึง 22% รองลงมาคือ พื้นที่สำนักงานซึ่งเป็นสัดส่วนราว 19% ดังนั้นไม่เพียงผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสเท่านั้นที่ต้องระมัดระวังความเสี่ยงปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน  แต่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ฯ พาณิชย์ให้เช่าที่อยู่รอบข้างโครงการมิกซ์ยูสก็อาจเผชิญกับผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าวด้วยเช่นกัน หากพิจารณาธุรกิจพาณิชย์ให้เช่ายังคงเติบโตต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยการเติบโตของธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ มีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากค่าเช่าที่มีการปรับตัวขึ้น ขณะที่พื้นที่ค้าปลีกเติบโตจากการขยายตัวของพื้นที่ปล่อยเช่าที่เพิ่มขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ CBRE พบว่า ภาพรวมธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ ระหว่างปี 2557-2561 มูลค่าตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่องราว 8% ต่อปีจนในปี 2561 ตลาดมีมูลค่าถึง 80,000 ล้านบาท โดยการเติบโตของมูลค่าตลาดมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากอัตราค่าเช่าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องราว 6% ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นที่สำนักงานที่ถูกเช่าเพิ่ม (new occupied space) ในแต่ละปีสูงกว่าพื้นที่ใหม่ (new supply)   ในส่วนของธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดรวมเติบโต 4% ต่อปี ทำให้ในปี 2561  ตลาดมีมูลค่าถึงราว 90,000 ล้านบาท โดยการเติบโตหลักมาจากการขยายตัวต่อเนื่องของพื้นที่ปล่อยเช่าในอัตรา 4% ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่ราคาค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัว   แม้ว่าธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ ยังคงมีอัตราการปล่อยเช่าและราคาค่าเช่าที่เติบโตได้ดี แต่แนวโน้มการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องในอีก 3-4 ปีข้างหน้าโดยเฉพาะโครงการมิกซ์ยูส อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการพื้นที่สำนักงานให้เช่าต้องเผชิญกับความเสี่ยงของภาวะปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน พื้นที่ใหม่ 3 ปีหน้าเพิ่มอีก 1.3 ล้านตารางเมตร ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวมของตลาด พบว่า มีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 3) โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณพื้นที่ใหม่เข้าสู่ตลาดราว 1.3 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นสัดส่วน 14% ของปริมาณพื้นที่ในปัจจุบัน โดยเป็นพื้นที่จากมิกซ์ยูสถึง 400,000 ตารางเมตร ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่แนวโน้มของปริมาณพื้นที่ใหม่จะเข้าสู่ตลาดมากกว่าความต้องการใหม่ นำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะพื้นที่ส่วนเกิน (oversupply) ในอนาคต   โดย EIC คาดว่าอัตราการปล่อยเช่า (occupancy rate) อาจทยอยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยในปี 2566อัตราการปล่อยเช่ามีโอกาสลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีที่ 86-87% เทียบกับ 93% ในปี 2561 และ 92% ในปี 2562 ขณะที่อัตราการเพิ่มขึ้นของราคาค่าเช่ามีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง โดยในช่วงปี 2563-2566 อัตราค่าเช่าจะขยายตัวเฉลี่ยเพียงปีละ 1% ชะลอตัวลงจาก 4% ในปี 2562 และเฉลี่ยปีละ 6% ในช่วงปี 2557-2561   สำหรับธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ ยังต้องเผชิญกับความต้องการพื้นที่ค้าปลีกที่ชะลอตัวลง ซึ่งมาจากผลกระทบของ 1.การขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทำให้มีโอกาสที่อัตราการปล่อยเช่ามีแนวโน้มลดลง นำไปสู่การแข่งขันที่อาจรุนแรงขึ้น 2.การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ยังส่งผลให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวไทยและนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตในอัตราชะลอลง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของธุรกิจค้าปลีกจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่งผลให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากกลุ่มร้านค้าต่าง ๆ ที่เป็นผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีก ซึ่งมีทางเลือกในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งแพลตฟอร์ม Marketplace (เช่น Lazada Shopee) โซเชียลมีเดีย หรือเว็บไซต์ของผู้ประกอบการเอง ส่งผลให้อุปสงค์ต่อพื้นที่ชะลอตัวลง   อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวโน้มการเติบโตของ O2O (Online to Offline) ที่ช่วยสนับสนุนความต้องการพื้นที่ค้าปลีกอยู่บ้าง เช่น Multi-Brand Store ซึ่งเป็นการที่ร้านค้าออนไลน์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มต่างๆ รวมกลุ่มกันเพื่อเช่าพื้นที่ค้าปลีกและตั้งร้านค้าออฟไลน์ขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าแฟชั่นและสินค้าความงาม ซึ่งจะช่วยลดทอนผลกระทบจากกระแสอีคอมเมิร์ซลงได้บ้าง   โดยทั้งสองปัจจัยข้างต้นส่งผลให้การขยายสาขา/ร้านค้าใหม่ชะลอตัวลง ทำให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าชะลอตัวลง กดดันให้รายได้ค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า[1] ขยายตัวในระดับต่ำจากค่าเช่าแบบคงที่มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ยากจากอัตราการปล่อยเช่าที่ลดลง   ทั้งนี้ EIC คาดว่าในช่วงปี 2562-2566  จะมีพื้นที่ใหม่ของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าอยู่ที่ 170,000 ตารางเมตรต่อปี (ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการมิกซ์ยูสราว 50% ของพื้นที่ใหม่ทั้งหมด) ขณะที่ความต้องการใหม่มีอยู่เพียงปีละ 140,000 ตารางเมตร (ชะลอตัวลงจากช่วงปี 2557-2561 ที่มีความต้องการใหม่อยู่ที่ 260,000 ตารางเมตรต่อปี) จึงส่งผลให้อัตราการปล่อยเช่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลงอยู่ที่เฉลี่ย 94% ในอีก 4 ปีข้างหน้าจาก 97% ในปี 2017 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มจัดเก็บข้อมูลในปี 2549   นอกจากนี้ ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกชะลอตัวลงกดดันให้ค่าเช่าในส่วนของค่าเช่าแบบแบ่งสัดส่วนยอดขายขยายตัวชะลอลง โดยภาพรวมแล้วคาดว่าราคาค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกยังคงมีแนวโน้มทรงตัว/ขยายตัวต่ำต่อไปในอีก 3-4 ปีข้างหน้า มิกซ์ยูสแข่งเดือด อสังหาฯ รอบข้างยังโดนกระทบ ปริมาณพื้นที่มิกซ์ยูสที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต นอกจากจะนำมาสู่การแข่งขันระหว่างกันที่มากขึ้นแล้ว ยังส่งผลกระทบกับโครงการอสังหาฯ ที่อยู่รอบข้างด้วย ซึ่งมีทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ ผลกระทบของโครงการมิกซ์ยูสที่มีต่อพื้นที่โดยรอบนั้นจะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ขนาดของโครงการ พื้นที่รอบข้าง อสังหาฯ ภายในโครงการ และความสำเร็จของโครงการเป็นสำคัญ ผลกระทบด้านบวกต่อตลาดพื้นที่พาณิชย์ให้เช่าโดยรวม โครงการมิกซ์ยูสบางโครงการอาจส่งผลบวกต่อโครงการอื่น ๆ ในพื้นที่รอบข้าง โดยเฉพาะในกรณีที่การใช้งานหลักของโครงการมิกซ์ยูสไม่ตรงกับโครงการอื่น ๆ โดยรอบพื้นที่ และตั้งอยู่ในพื้นที่นอกใจกลางเมืองหรือพื้นที่ Non CBD (ที่มีการแข่งขันอยู่ในระดับต่ำ) มีความเป็นไปได้สูงที่โครงการโดยรอบจะได้รับผลดีจากการเปิดโครงการมิกซ์ยูส   ทั้งนี้ในงานแถลงข่าว The Celebrations of Glory ได้มีการเปิดเผยว่า หลังจากดำเนินโครงการ ICONSIAM มาเป็นระยะเวลา 1 ปี ส่งผลให้ธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างเช่น แหล่งท่องเที่ยว ภัตตาคาร ร้านอาหารรอบข้าง เติบโตกว่า 20% หรือโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ระหว่างปี 2560-2562 ที่ตั้งอยู่ใกล้โครงการมียอดขายเฉลี่ยสูงถึง 95% อีกทั้งยังทำให้อัตราการเข้าพักโรงแรมริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น โดยในกลุ่มโรงแรม 5 ดาวอัตราการเข้าพักเพิ่มสูงขึ้นเป็น 85-90%   โครงการ Bangkok Mall ที่มีขนาดของโครงการกว่า 1.2 ล้านตารางเมตรทำให้โครงการ Bangkok Mall อาจกลายเป็น landmark ใหม่บนพื้นที่ย่านบางนา เนื่องจากในเฟสแรกของโครงการพื้นที่ใช้งานหลักของโครงการเป็นพื้นที่ค้าปลีกและสันทนาการ ซึ่งเหมาะกับการใช้เวลากับครอบครัว จึงอาจมีผลบวกต่อโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่รอบข้าง อย่างเช่น โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ หรือคอนโดมิเนียม ผลกระทบด้านลบต่อตลาดพื้นที่พาณิชย์ให้เช่าที่มาจากการขยายตัวของโครงการมิกซ์ยูสจำนวนมาก 1.ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสอาจต้องเผชิญกับความท้าทายจากระยะเวลาในการคืนทุนที่ยาวนานขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง และความต้องการที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายตัวของพื้นที่โครงการมิกซ์ยูสจำนวนมากทำให้การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ใช้ระยะเวลาในการคืนทุนยาวนานขึ้น   2.ผู้พัฒนาของโครงการ single use เผชิญแรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น กระทบต่อรายได้ในระยะข้างหน้า จากแนวโน้มการเปิดดำเนินการของโครงการมิกซ์ยูสที่มีมากขึ้นในอีก 3-4 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้ผู้พัฒนาของโครงการ single use ในพื้นที่รอบข้างต้องเผชิญการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากในอดีต เช่น -ในพื้นที่พระราม 4 และรอบข้างที่มีโครงการมิกซ์ยูสเตรียมเปิดดำเนินการจำนวนมาก อาทิ One Bangkok, Dusit Central Park จะส่งผลกระทบต่อ 1.อาคารสำนักงานดั้งเดิมบนถนนพระราม 4  สาธร และสีลมที่อัตราการปล่อยเช่าอาจปรับตัวลดลงจากปริมาณพื้นที่ใหม่ที่มีเข้ามาแข่งขันมากขึ้นจากโครงการมิกซ์ยูส 2.อาคารสำนักงานที่อยู่ในพื้นที่เชื่อมต่อ CBD ที่เคยได้อานิสงค์จากพื้นที่ที่มีจำกัดของช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่หลังจากที่หลายโครงการมิกซ์ยูสใน CBD เริ่มเปิดใช้บริการ อานิสงค์ดังกล่าวที่เคยได้รับอาจหมดไป เนื่องจากโครงการมิกซ์ยูสใหม่จะตอบสนองความต้องการในพื้นที่สำนักงานได้มากขึ้น 3.โรงแรมในพื้นที่ถนนวิทยุ สีลมและสาธรต้องแข่งขันมากขึ้น อาจส่งผลต่ออัตราการปล่อยเช่าปรับตัวลดลง 4.คอนโดมิเนียมเกรด luxury ที่เป็นเกรดที่โครงการมิกซ์ยูสในพื้นที่พระราม 4 พัฒนา อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น -ในพื้นที่บางนาที่มีการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสใหม่อย่าง Bangkok Mall ซึ่งเป็นโครงการค้าปลีก ขนาดใหญ่ที่จะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของห้างสรรพสินค้าโดยรอบมากขึ้น อาทิ CentralPlaza Bangna หรือ Seacon Square   แนวทางแก้จุด้อย ทางรอดท่ามกลางสมรภูมิแข่งเดือด ท่ามกลางความท้าทายจากความเสี่ยงหลากหลายประการ โครงการมิกซ์ยูสอาจต้องปรับตัวแก้ไขจุดด้อยต่าง ๆ ของโครงการ รวมถึงการสร้างความแตกต่าง เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ การที่แต่ละโครงการมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ขณะที่บางโครงการยังมีความท้าทายที่ต้องเผชิญ ทำให้ต้องมีการปรับตัวเพื่อลดจุดด้อยของโครงการลง เช่น   โครงการ Samyan Mitrtown เมื่อเดินทางโดยรถไฟฟ้า จำเป็นจะต้องข้ามถนนและเดินเท้าระยะทางจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินราว 300 เมตร โครงการเปลี่ยนจุดด้อยเป็นจุดขายด้วยการสร้างอุโมงค์เชื่อมจากรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าสู่โครงการ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่โครงการ และการสร้างจุดเด่นและ traffic ให้กับโครงการเพื่อดึงดูดผู้เข้าใช้บริการ   นอกจากนี้ โครงการยังเพิ่มจุดขายสำคัญคือการเปิดใช้งาน 24 ชั่วโมง ซึ่งเหมาะกับความต้องการในพื้นที่ เช่น นักศึกษาที่ต้องการพื้นที่ทบทวนบทเรียน ทั้งนี้หากเปรียบเทียบอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่สำนักงานภายในโครงการ Samyan Mitrtown ในเดือนแรกของการเปิดตัวอยู่ที่กว่า 60% นับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอาคารสำนักงานทั่วไปซึ่งอยู่ที่ 50% ณ ไตรมาสแรกที่เปิดโครงการ[2] ส่วนอัตราการให้เช่าพื้นที่ของพื้นที่ค้าปลีกสูงถึง 85% ซึ่งค่อนข้างสูงหากเทียบกับศูนย์การค้าที่เปิดตัวในช่วงใกล้เคียงกันอย่าง The Market Bangkok ที่มีอัตราการปล่อยเช่า ณ วันเปิดตัวโครงการอยู่ที่ 77% เท่านั้น   ขณะที่โครงการมิกซ์ยูสอย่าง ICON free SIAM ที่เปิดตัวโครงการด้วยอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่ค้าปลีกกว่า 91% โดยตัวโครงการอาจไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองนัก แต่อาศัยการสร้างจุดเด่นจากพื้นที่ตั้งริมน้ำ ขนาดและความหลากหลายภายในโครงการ รวมถึงการจัดอีเว้นท์เพื่อการสร้างแรงดึงดูดจนทำให้โครงการ ICONSIAM กลายเป็น landmark ขนาดใหญ่ของพื้นที่ฝั่งธนบุรี   สำหรับโครงการ Emsphere ที่เป็นโครงการภายใต้การบริหารของเดอะมอลล์กรุ๊ป ได้มีการสร้างความโดดเด่นและความแตกต่างให้กับโครงการ โดยได้ร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงและกีฬาระดับโลก อย่าง Anschutz Entertainment Group (AEG) ในการสร้างอารีน่าขนาดใหญ่ EmLive ในโครงการ โดยทั้งโครงการจะเข้ามายกระดับและเติมเต็มพื้นที่ The EmDistrict ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 3 Key Success โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส รูปแบบการพัฒนาอสังหาฯ ที่เป็นโครงการมิกซ์ยูส  ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าโครงการมิกซ์ยูสจะต้องประสบความสำเร็จเสมอไป โดยความสำเร็จของโครงการมิกซ์ยูสขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ รวมด้วย เพื่อก้าวข้ามแรงกดดันจากการแข่งขันในตลาดอสังหาฯ ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสจำเป็นที่จะต้องมี key success สำคัญ คือ 1.ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจอสังหาฯ ประสบการณ์ของผู้พัฒนาโครงการหรือพันธมิตร อาจประเมินได้จากความสอดคล้องของลักษณะของโครงการมิกซ์ยูสที่จะเกิดขึ้นกับผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาและระยะเวลาที่ดำเนินธุรกิจอสังหาฯ ดังนั้นประสบการณ์การดำเนินโครงการอสังหาฯ แต่ละประเภทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้งานของโครงการ 2.พื้นที่ตั้งที่เหมาะสมและสามารถเดินทางเข้าถึงสะดวก โดยการออกแบบโครงการจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความต้องการรอบพื้นที่ เช่น พื้นที่ธุรกิจอาจต้องการพื้นที่ในส่วนของสำนักงาน อย่างเช่น พื้นที่บนถนนพระราม 4 ต่อเนื่องจากถนนสีลมและสาธร สำหรับพื้นที่ชุมชนแถบที่อยู่อาศัยอาจต้องการพื้นที่ค้าปลีกเป็นหลัก เพื่อความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยใกล้บ้าน ตลอดจนการเดินทางเข้าสู่โครงการ เช่น อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้า (ระยะทางไม่เกิน 100 เมตร หรือมีทางเชื่อมเข้าสู่โครงการ) หรือทางด่วน (ระยะทางไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากทางเข้า-ออก) 3.การส่งเสริมกัน (synergy) ของแต่ละส่วนของโครงการ และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การออกแบบโครงการต้องคำนึงถึงการส่งเสริมกันของลักษณะการใช้พื้นที่ในแต่ละส่วนด้วย โดยพิจารณาความเข้ากันได้ของอสังหาฯ หลัก (พื้นที่ที่สร้างรายได้หลักของโครงการ) กับอสังหาฯ รอง (พื้นที่อื่น ๆ ของโครงการ) จากงานวิจัยของ The US Urban Land Institute (รูปที่ 5) ที่ให้คะแนนการสนับสนุนกันระหว่างอสังหาฯ หลักและรองไว้ จะพบว่า โครงการมิกซ์ยูสที่มีอสังหาฯ หลักเป็นพื้นที่ค้าปลีกจะได้ผลบวกจาก synergy ที่ดีกว่า เนื่องจากเป็นประเภทอสังหาฯ ที่ไปได้ดีกับหลายประเภทอสังหาฯ   ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีอสังหาฯ รองเป็นพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ค้าปลีกในโครงการมิกซ์ยูสจะมีลูกค้าจากพนักงานออฟฟิศในโครงการ ขณะที่พื้นที่สำนักงานในโครงการมิกซ์ยูสก็มีความน่าดึงดูดมากกว่าโครงการที่มีเฉพาะพื้นที่สำนักงานเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีความสะดวกสบายจากการตั้งอยู่ติดกับพื้นที่ค้าปลีก   ในส่วนของโครงการมิกซ์ยูสที่มีอสังหาฯ หลักเป็นพื้นที่อยู่อาศัยได้ผลบวกจาก synergy ต่ำกว่าอสังหาฯ หลักประเภทอื่น ๆ เนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยต้องการความเป็นพื้นที่ส่วนตัวสูง โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับอสังหาฯ รองอย่าง โรงแรม/สถานบันเทิงที่มีความวุ่นวายและความเป็นพื้นที่สาธารณะสูง ทำให้อาจต้องเผชิญกับความยากลำบากในการบริหารความเป็นส่วนตัวของพื้นที่อยู่อาศัยกับการบริหารพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะประเด็นความปลอดภัยในการอยู่อาศัยของลูกบ้านในโครงการมิกซ์ยูส   3 ความท้าทายโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส นอกเหนือจากปัจจัยที่ต้องพิจารณาเพื่อความสำเร็จในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสแล้ว ยังมีความท้าทายที่สำคัญที่ผู้พัฒนาโครงการต้องระวัง คือ 1.การบริหารพื้นที่ระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนกลาง อสังหาฯ บางประเภทต้องการสิ่งอำนวย ความสะดวกที่มีความเฉพาะตัว อาทิ การจัดอีเว้นท์ในพื้นที่ค้าปลีกอาจมีข้อจำกัดบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียงหรือระยะเวลาในการจัดงาน เพื่อไม่ให้รบกวนผู้ใช้อื่นในโครงการโดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูงอย่างพื้นที่อยู่อาศัย ดังนั้นผู้พัฒนาโครงการจำเป็นที่จะต้องลดผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างอสังหาฯ แต่ละประเภท เช่น การแยกทางเข้า-ออกโครงการของแต่ละอสังหาฯ ออกจากกัน การจำกัดกิจกรรมที่ใช้เสียงมาก หรือออกแบบให้พื้นที่ในโครงการสามารถเก็บเสียงได้ดี 2.การสร้างแม่เหล็กเพื่อดึงดูดคนเข้ามาในโครงการ โครงการจำเป็นจะต้องมีสิ่งที่เป็นแรงจูงใจเพื่อดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ เช่น โครงการที่มีพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่ อาจสร้างพื้นที่นันทนาการ หรือการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีจำนวนผู้คนเข้าใช้บริการให้มากที่สุด รวมถึงการดึงดูดผู้เช่าหลักที่ขายสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในปัจจุบันโดยเฉพาะร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ต] 3.การบริหารโครงสร้างพื้นฐานภายในโครงการ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ความต้องการรูปแบบการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกของอสังหาฯ แต่ละประเภท อสังหาฯ จะมีความแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้งาน อาทิ การวาง layout ของสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ สำหรับพื้นที่อยู่อาศัยจะต้องมีลิฟท์อยู่ใกล้กับทางเข้าคอนโดมิเนียม ขณะที่โรงแรมต้องการพื้นที่ล็อบบี้มากกว่า ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบ การบริหาร และจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมไม่ให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้พัฒนาโครงการควรคำนึงถึงการออกแบบให้ทรัพยากรภายในโครงการถูกใช้อย่างคุ้มค่าที่สุดด้วย เช่น การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ภายในโครงการ การใช้แสงจากธรรมชาติเพื่อลดการใช้แสงจากหลอดไฟ   ในภาวะการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นจากการเปิดดำเนินการโครงการมิกซ์ยูส ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูส จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ ทั้งนี้สำหรับโครงการสำนักงานให้เช่า อาจต้องพิจารณาปรับลดค่าเช่าของโครงการตัวเองลง เพื่อจูงใจผู้เช่าเข้ามาเช่ามากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตอบสนองมากต่อราคาค่าเช่า (กลุ่มที่อ่อนไหวกับราคาค่าเช่า) หรือการปรับปรุงโครงการเพื่อดึงดูดผู้เช่ารายใหม่   ส่วนโครงการที่เป็นพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า ผู้ประกอบการสามารถหาผู้เช่าหลักที่เป็นแรงดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ หรือการปรับปรุงเพื่อดึงดูดลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (niche group) มี concept เฉพาะ เช่น มุ่งเน้นกลุ่มผู้เช่าหลักเป็นร้านอาหาร หากไม่สามารถแข่งขันด้านความหลากหลายของพื้นที่ค้าปลีกกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ หรือปรับปรุงพื้นที่ในโครงการเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ได้ ในส่วนของโครงการคอนโดมิเนียม อาจจะต้องพิจารณาจำนวนพื้นที่ใหม่ในพื้นที่ที่จะมากขึ้นจากแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในโครงการมิกซ์ยูส โดยอาจจะพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่คนละกลุ่มกับโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ หรือปรับแผนโครงการเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรง   หมายเหตุ [1] รายได้ค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าประกอบด้วย ค่าเช่าแบบคงที่ (fixed rent) และค่าเช่าแบบแบ่งสัดส่วนยอดขาย (percent of tenant sales) [2] จากการศึกษาของ JLL เกี่ยวกับอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่สำนักงานอาคารสำนักงานจำนวน 8 โครงการสำคัญ ได้แก่ AIA Capital Center (2014), AIA Sathorn (2015), Bhiraj Tower @EmQuartier (2015), FYI Center (2016), Gaysorn Tower (2017), Singha Complex (2018) และ T-One Building (2018)   รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม EIC CBRE NEXUS   บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน? พร็อพเพอร์ตี้ กูรู เปิด 7 เทรนด์อสังหาฯ ปี 63 เปิด 5 ไฮไลท์ “MITRTOWN OFFICE TOWER” ออฟฟิศให้เช่า พระราม 4 1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์  
[PR News] CRC พร้อมระดมทุนในตลาดหุ้น นำเงินขยายธุรกิจ-ชำระหนี้เงินกู้

[PR News] CRC พร้อมระดมทุนในตลาดหุ้น นำเงินขยายธุรกิจ-ชำระหนี้เงินกู้

CRC ประกาศข่าวดีรับปีใหม่ พร้อมเดินหน้าเสนอขายหุ้น IPO ครั้งประวัติศาสตร์ หลังจากก.ล.ต. แบบไฟลิ่ง เตรียม 1,691 ล้านหุ้นออกขาย ระดมทุนต่อยอดธุรกิจ สร้างการเติบโต   “เซ็นทรัล รีเทล” หรือ “CRC ประกาศข่าวดีเตรียมต้อนรับปีใหม่ของทศวรรษใหม่ พร้อมเดินหน้าเสนอขายหุ้น IPO ครั้งประวัติศาสตร์ หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) และมีผลใช้บังคับเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 26 ธันวาคม 2562   CRC เตรียมขายหุ้น IPO 1,691 ล้านหุ้น โดย CRC ประกาศแผนเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 1,691 ล้านหุ้น โดยแบ่งออกเป็น 1. หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,331 ล้านบาทหุ้น คิดเป็น 22.1% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดหลัง IPO (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ซึ่งหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนดังกล่าว ประกอบด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) หรือ ROBINS  ที่ตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ ผ่านการแลกหุ้น (Share Swap) และหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายและจัดสรรให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก 2. หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Hawthorn Resources Limited (ผู้ถือหุ้นเดิม) จำนวนไม่เกิน 360 ล้านหุ้น คิดเป็น 6.0% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดหลัง IPO (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Overallotment Option หรือ Greenshoe) จำนวนไม่เกิน 169.1 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 10.0% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายในครั้งนี้ เพื่อนำเงินไปใช้ในการรักษาระดับราคาหุ้น (Stabilization) เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน   พร้อมกันนี้ CRC ประกาศเดินหน้าทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ ROBINS ที่ราคาเสนอซื้อ 66.50 บาทต่อหุ้น เพื่อแลกกับหุ้น IPO ของ CRC ตามช่วงอัตราแลกหุ้นเบื้องต้นที่ 1.39 ถึง 1.66 หุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ของ CRC ต่อ 1 หุ้นสามัญเดิมของ ROBINS ในระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 (รวม 25 วันทำการ) โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ (Tender Agent) หลังจากนั้นหุ้นของ ROBINS จะถูกเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับหุ้น IPO ของ CRC เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์   วางโครงสร้างธุรกิจ 3 ปี ก่อนเข้าตลาด นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท​ เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC เปิดเผยว่า ​ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา คณะผู้บริหารของ CRC ซึ่งมีส่วนผสมที่ลงตัว  จากทั้งครอบครัวจิราธิวัฒน์และทีมผู้บริหารมืออาชีพ  ได้ร่วมกันวางโครงสร้างธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มเซ็นทรัลใหม่ (New Central New Retail) จนมีความพร้อมในการต้อนรับนักลงทุน ให้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อต่อยอดความสำเร็จบนเวทีระดับโลกไป   โดย CRC มีรูปแบบธุรกิจค้าปลีกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการรวบรวมแบรนด์ค้าปลีกชั้นนำหลากหลายประเภท (Multi-category) ใน 3 กลุ่มหลัก คือ 1.กลุ่มแฟชั่น 2.กลุ่มฮาร์ดไลน์ และ3. กลุ่มฟู้ด หลากหลายรูปแบบและช่องทาง (Multi-format) ครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ (Multi-market)     นอกจากนี้ ยังมีแบรนด์ค้าปลีกมากมาย อาทิ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซูเปอร์สปอร์ต เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป เพาเวอร์บาย ไทวัสดุ ท็อปส์ แฟมิลี่มาร์ท โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย รวมไปถึงบิ๊กซี/GO! เหงียนคิม ลานชีมาร์ท  ในประเทศเวียดนาม และรีนาเชนเต ห้างสรรพสินค้าระดับไฮเอนด์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศอิตาลี   จากข้อมูลวันที่ 30 กันยายน 2562 และรายงานจาก Euromonitor International  สำหรับ CRC เป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกผ่านรูปแบบที่หลากหลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีร้านค้าทั้งหมดประมาณ 1,922 ร้านค้าใน 51 จังหวัดทั่วประเทศ  เป็นผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าระดับไฮเอนด์  ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศอิตาลี รวมทั้งสิ้น 9 สาขา   CRC ยังเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกข้ามชาติ และค้าปลีกประเภท Hypermarket อันดับ 1 ในรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับ ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในประเทศเวียดนาม ด้วยร้านค้าในรูปแบบต่าง ๆ จำนวน 133 ร้านค้า ใน 40 จังหวัด โดย CRC อยู่ในสถานะที่ดีในการจะก้าวเข้าสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าปลีกหลากหลายรูปแบบที่ประสบความสำเร็จที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในภูมิภาคอื่นๆ   “CRC ยังประสบความสำเร็จในการพัฒนาแพลตฟอร์มสู่ Customer-Centric Omnichannel ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ผสมผสานจุดเด่นที่ดีที่สุดของออนไลน์และออฟไลน์เข้าไว้ด้วยกัน พร้อมการนำเสนอสินค้าและบริการแบบรู้ใจที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคล (Personalization) ผ่านการวิเคราะห์ฐานข้อมูลสมาชิก Loyalty Program ที่มีมากกว่า 28.8 ล้านรายทั่วโลก”   เตรียมนำเงินขยายสาขา-ชำระหนี้เงินกู้   วัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการขยายสาขาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงการปรับปรุงสาขาต่าง ๆ อาทิ 1. การขยายสาขาใหม่ของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน และ โรบินสัน  ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ 2. การขยายสาขาของไทวัสดุ  3. การขยายสาขาของบิ๊กซี/GO! ในประเทศเวียดนาม 4. การปรับปรุงสาขาต่าง ๆ ของแต่ละกลุ่มธุรกิจ และการชำระคืนหนี้เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เพื่อโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมุ่งขยายความสำเร็จในระดับโลกอย่างมั่นคงในระยะยาว     โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินร่วม ทั้งนี้ CRC มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิจากงบการเงินรวมภายหลังจากหักภาษี และการจัดสรรทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายและ CRC กำหนดไว้ในแต่ละปี   ผู้สนใจลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนของ CRC ที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต.ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. www.sec.or.th  ส่วนผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 มีรายได้รวม 159,506 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 6,298 ล้านบาท หรือเติบโต 4.1% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า  
ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน?

ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน?

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ นอกจากการพัฒนาที่อยู่อาศัย ประเภทบ้านและคอนโดมิเนียมแล้ว โครงการประเภทคอมเมอร์เชียล ในส่วนของโครงการค้าปลีกและพื้นที่สำนักงาน ก็เป็นโครงการอสังหาฯ​ ที่ถูกพัฒนาออกมาจำนวนมาก และยังเป็นอีกหนึ่งประเภทสำคัญของธุรกิจอสังหาฯ ด้วย   โดยเฉพาะเทรนด์การพัฒนาโครงการประเภทมิกซ์ยูส ซึ่งภายในโครงการประกอบด้วยอสังหาฯ หลายประเภทรวมอยู่ด้วยกัน เป็นเทรนด์ที่ถูกพัฒนาออกมาจำนวนมาก โดยโครงการได้เริ่มเสร็จและเปิดให้บริการตั้งแต่ปีนี้  ต่อเนื่องไปในอีกหลายปีข้างหน้า ส่งผลให้พื้นที่ค้าปลีกและสำนักงานให้เช่า จะมีเพิ่มออกมาอย่างต่อเนื่องด้วย   อีก 5 ปี พื้นที่ออฟฟิศเช่าทะลุ 10 ล้านตร.ม. รายงานล่าสุด จาก บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ระบุว่า ปัจจุบันพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ มีทั้งสิ้นประมาณ 9 ล้านตารางเมตร โดยเป็นอาคารเกรด เอ และ บี จำนวน 6.08 ล้านตารางเมตร ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของราคาค่าเช่าที่มีการปรับตัวสูงขึ้น และอัตราว่างของพื้นที่ที่อยู่ในระดับต่ำมาตลอดหลายปี  ทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาอาคารสำนักงานให้เช่าเพิ่มมากขึ้น  โดยคาดการณ์ว่าจะมี  ซัพพลายใหม่จ่อเข้าตลาดกว่า 1.78 ล้านตารางเมตร ในอีก 5 ปีข้างหน้า  ทำให้มีพื้นที่โดยรวมกว่า 10.78 ล้านตารางเมตร   อัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยทั้งกรุงเทพฯ มีประมาณ 94% และมีราคาค่าเช่าเฉลี่ยที่ 800 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แต่หากพิจารณาเฉพาะอาคารสำนักงานเกรดเอ ที่อยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจเท่านั้น พบว่า ค่าเช่าเฉลี่ยในปีนี้ปรับตัวขึ้นประมาณ 5% จากสิ้นปีที่แล้ว ไปอยู่ที่ประมาณ 1,080 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน และอัตราการเช่าพื้นที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อยที่ 95% และจากการสำรวจยังพบความต้องการในการเช่าอาคารสำนักงานเกรดเอ ในย่านศูนย์กลางธุรกิจอีกมาก ทำให้ราคาค่าเช่าของบางอาคารพุ่งสูงขึ้น เช่น เกษร ทาวเวอร์ มีราคาค่าเช่าแพงที่สุดที่ 1,600 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งในย่านเพลินจิต พระราม 1 และวิทยุ ยังคงได้รับความสนใจจากผู้เช่าสูงอย่างต่อเนื่อง   เทรนด์ออฟฟิศให้เช่าในอนาคต นายธีระวิทย์ ลิ้มทองสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด เปิดเผยว่า เนื่องจากอาคารสำนักงานส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ มีอายุอาคารมากกว่า 20 ปี ซัพพลายใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามาในตลาดจะช่วยทำให้ตลาดมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น พื้นที่สำนักงานใหม่ที่กำลังจะเข้ามาในตลาด  โดยส่วนมาก จะถูกพัฒนาในรูปแบบโครงการอสังหาฯ มิกซ์ยูส มีการเพิ่มพื้นที่รีเทลในชั้นล่าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เช่าให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ มีส่วนประกอบของโครงการที่หลากหลาย     โดยตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป จะได้เห็นโครงการสำคัญ ๆ หลายโครงการพร้อมใช้งาน อาทิ ศุภาลัย ไอคอน  บนพื้นที่สถานทูตออสเตรเลียเดิม,  วัน แบงค็อก อภิมหาโปรเจกต์จาก TCC, เดอะ ฟอเรสเทียส์ โครงการเมืองในป่าแห่งแรกของเมืองไทย, แบงค็อกมอลล์ เมกะโปรเจกต์ จาก เดอะมอลล์ กรุ๊ป, และ เอ็มสเฟียร์ จิ๊กซอว์ส่วนสุดท้ายของ ดิ เอ็มดิสทริค ทั้งหมดนี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานอาคารสำนักงานในไทยมากยิ่งขึ้น   ส่วนเทรนด์ตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าในปีหน้านั้น  จะมีโครงการเดอะปาร์ค (The PARQ) เปิดเข้ามาเพิ่ม ซึ่งโครงการ เดอะ ปาร์ค  บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเจ้าของโครงการ มีพื้นที่อาคารรวม 320,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยสำนักงานระดับพรีเมี่ยมเกรดเอ พื้นที่ร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรม มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท   สำหรับแนวโน้มตลาดออฟฟิศในปี 2563 นั้น คาดว่าจะเติบโตทั้งในส่วนของความต้องการ และราคาค่าเช่า รวมถึงปริมาณพื้นที่จากการเปิดตัวโครงการใหม่ของโครงการเดอะ   พื้นที่ค้าปลีกได้ “นักท่องเที่ยวจีน” หนุนตลาด   ด้านพื้นที่ศูนย์การค้า  พบว่า ยังคงเติบโตอย่างสม่ำเสมอ  มีพื้นที่ใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่อัตราการเช่าพื้นที่ร้านค้ายังคงอยู่ในอัตราที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านศูนย์กลางทางการค้าใจกลางเมือง อย่าง สยาม-ราชประสงค์-พร้อมพงษ์ ที่แม้จะมีการแข่งขันสูง แต่ยังคงเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ  เนื่องจากย่านศูนย์กลางทางการค้ายังคงเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญ ​ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยสูงกว่า 95%   โดยปัจจุบันจะพบว่า ภาวะหนี้ครัวเรือนในไทย จะยังคงสะสมอยู่ในระดับสูง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายในประเทศจะมีตัวเลขที่ลดลง  แต่การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยังเข้ามาเป็นแรงสนับสนุนตลาดค้าปลีกให้เติบโตในช่วงปีที่ผ่านมา โดยครึ่งปีหลัง สถิตินักท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นทั้งในแง่ของจำนวนนักท่องเที่ยว และรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ   นักท่องเที่ยวจีนยังคงเป็นกลุ่มหลัก  ที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยมีผลมาจากการขยายระยะเวลามาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา (Visa on Arrival) ออกไปอีก 6 เดือน การประท้วงที่ยืดเยื้อของฮ่องกง รวมถึงการขึ้นภาษีของญี่ปุ่น ส่งผลให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง จากสถิติกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า 9 เดือนแรกมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน  29.47 ล้านคน ขยายตัว 3.51% และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 1.42 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3 - 4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา   พื้นที่ใหม่เข้าสู่ตลาด 280,000 ตารางเมตร จากการแข่งขันที่สูงมากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ร้านค้า หรือแม้แต่ผู้ประกอบการศูนย์การค้า หันมาให้ความสนใจในการเรียกเก็บค่าเช่าแบบ GP (Gross Profit) มากขึ้น โดยการเรียกเก็บค่าเช่าแบบ GP จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าเช่าให้กับร้านค้าได้ในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ ศูนย์การค้าใหญ่ ๆ จะมี Minimum guarantee หรือ Based rent กำหนดให้แก่ร้านค้าเมื่อทำสัญญาเช่า ทำให้ร้านค้าจำเป็นจะต้องทำยอดขายให้ได้ ซึ่งเป็นผลดีทั้งต่อร้านค้าและศูนย์การค้า และจากการสำรวจ  พบว่าราคาค่าเช่าเฉลี่ยชั้น G ในย่านศูนย์กลางทางการค้าปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 3,915 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน สูงขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อย   แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการพื้นที่ศูนย์การค้ายังคงต้องเผชิญกับความท้าทายจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งจากตลาดสินค้าออนไลน์ การบริการส่งอาหารที่ปัจจุบันมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และรวมไปถึงพื้นที่ใหม่ที่จะแบ่งกำลังซื้อออกไป ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องสร้างสิ่งดึงดูด สร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการ   ขณะเดียวกันร้านค้าแบรนด์ไทยก็ยังต้องเผชิญความท้าทายจากแบรนด์ต่างชาติที่ให้ความสนใจเข้ามาเปิดในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมา มีแบรนด์ใหม่ๆ เข้ามาเปิดอย่างหลากหลาย อาทิ ดองกิ มอลล์ (Donki Mall), ทิม ฮอร์ตันส์ (Tim Horton), อี้ ฟาง (Yi Fang), ทาโก้ เบลล์ (Taco Bell), ไทเกอร์ชูก้า (Tiger Sugar), ดิ แอลลี่ (The Alley), และ ซิง ฝู่ ถัง (Xing Fu Tang) เป็นต้น   ในปีนี้มีพื้นที่ค้าปลีกใหม่ เข้ามาสู่ตลาดหลายแห่งกว่า 280,000 ตารางเมตร เช่น วัน-โอ-วัน เดอะเทิร์ด เพลส (101 the third place), ดอง ดอง ดองกิ (Don Don Donki), เดอะ มาร์เก็ต แบงคอก (The Market Bangkok), สามย่านมิตรทาวน์ (Samyan Mitrtown), เซ็นทรัล วิลเลจ (Central Village) และ แอม ไชน่าทาวน์ (I’m Chinatown) และคาดว่าจะมีโครงการใหม่ ๆ ทยอยเข้ามาสู่ตลาดในอีก 3 ปีข้างหน้าอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 400,000 ตารางเมตร โดยมีโครงการที่น่าจับตามองหลายโครงการ อาทิ เอ็มสเฟีร์ย (EmSphere), วันแบงค็อก (One Bangkok),  และ สยาม พรีเมียม เอ้าท์เล็ต แบงค็อก (Siam Premium Outlets Bangkok)   ส่องเทรนด์พื้นที่ค้าปลีกปี 63   โดยภาพรวมแล้ว ตลาดพื้นที่ศูนย์การค้าของกรุงเทพฯ ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องเน้นการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค ที่หาไม่ได้จากโลกออนไลน์ หรือการเดลิเวอรี่ การตอบสนองที่ตรงใจลูกค้าและความรวดเร็วในการบริการ รวมไปถึงการสร้างและรักษาความสัมพันธ์แก่ลูกค้า และการรักษาพร้อมพัฒนาสินค้าให้อยู่ในระดับแข่งขันได้อีกด้วย   ขณะที่ปริมาณพื้นที่ค้าปลีก ที่จะเข้ามาเพิ่มในปี 2563  เป็นพื้นที่ในส่วนของโครงการเดอะปาร์ค  ที่จะมีเข้ามาอีกประมาณ 12,000 ตารางเมตร ทั้งในส่วนพื้นที่ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์อาหาร ภายใต้แนวคิด ‘Eat Well and Shop Well’ รวมไปถึงการนำเสนอบริการด้านสุขภาพและความงาม ตลอดจนร้านค้าที่ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซูเปอร์มาร์เก็ตภายในโครงการจะมุ่งเน้นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอาหารปลอดสารพิษ อาหารเพื่อสุขภาพ รวมถึงอาหารมังสวิรัติที่หลากหลายกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป   นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่โครงการสยาม พรีเมียม เอ้าท์เล็ต แบงค็อก มีพื้นที่อาคารรวมทั้งหมด (GFA) ประมาณ 50,000 ตารางเมตรจะเป็นโครงการที่เน้นสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร ธรรมชาติ พื้นที่สีเขียว และสายน้ำ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับกินดื่ม พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ และความบันเทิงอยู่ในโครงการด้วย ซึ่งภายในโครงการจะประกอบไปด้วยร้านค้าประมาณ 200 ร้าน  และสีลมคอมเพล็กซ์ จะมีพื้นที่อีกประมาณ 10,000 ตารางเมตร   โดยแนวโน้มราคาค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกในปี 2563 มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ความต้องการและปริมาณพื้นที่ใหม่ก็น่าจะมีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เน็กซัสชี้ ปี 2019 คือ ปีแห่งการก้าวกระโดดของธุรกิจ Co- Working Office เน็กซัสเผย 7 ประเด็นอสังหาฯ Q1 + แนวโน้มธุรกิจหลังการเลือกตั้ง
กลุ่มเซ็นทรัล เปิดไทวัสดุโมเดลใหม่ ใช้เทคโนโลยีเสริมไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค-ลดต้นทุน

กลุ่มเซ็นทรัล เปิดไทวัสดุโมเดลใหม่ ใช้เทคโนโลยีเสริมไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค-ลดต้นทุน

ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจจัดจำหน่ายวัดุก่อสร้าง และอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน ซึ่งนับวันมีแต่รุนแรง เพราะมีบรรดาผู้เล่นรายใหญ่ซึ่งมีศักยภาพการแข่งขันสูงอยู่ในตลาด ประกอบกับยุคปัจจุบัน ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แถมยังมีเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาสร้างความสะดวกสบาย และยังทำให้วิถีชีวิตของคนยุคนี้ เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากมาย ทำให้การทำธุรกิจต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค   กลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งถือเป็นยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าปลีก มีรูปแบบการทำธุรกิจหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ธุรกิจจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง สินค้าตกแต่ง และซ่อมแซมบ้าน ภายใต้แบรนด์ “ไทวัสดุ” ของบริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด มีนายสุทิสาร จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร เป็นผู้ดูแลธุรกิจ ก็ต้องปรับตัวรองรับกับสภาพธุรกิจและการแข่งขันในปัจจุบัน  ถือเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ เปิดไทวัสดุโมเดลใหม่ กับสาขาที่ 50 ที่หนองจอก ไทวัสดุ โมเดลใหม่ สาขาหนองจอก มีอะไรแตกต่าง ด้วยเหตุผลเรื่องของไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป และมีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน ทำให้ กลุ่มเซ็นทรัล เปิดไทวัสดุ โมเดลใหม่ ที่สาขาหนองจอก เป็นสาขาแรกและต้นแบบกับการทำตลาดตอบโจทย์ยุคดิจิทัล ซึ่งมี 4 เรื่องสำคัญแตกต่างจากสาขาเดิมที่มีอยู่ก่อนหน้านี้   1.ลดขนาดพื้นที่ของสาขาลง 50% จากปกติจะต้องใช้พื้นที่ 30 ไร่ แต่ไทวัสดุ สาขาหนองจอก ใช้พื้นที่ประมาณ​ 10 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่ขายประมาณ 10,000 ตารางเมตร 18,000 ตารางเมตร 2.ลดจำนวนพนักงานให้บริการลง 50% จากสาขาปกติใช้พนักงานประมาณ​150 คน ไทวัสดุ สาขาหนองจอก ใช้พนักงานประมาณ 50-80 คน 3.วางจำหน่ายสินค้าหลักกว่า 20,000 รายการ แต่สินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว หรือของตกแต่ง  (Home Decoration) จะใช้รูปแบบการจัดจำหน่ายออนไลน์ 4.นำระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการซื้อขายสินค้า โดยสินค้าบางรายการลูกค้าไม่ต้องหยิบลงตระกร้า เพียงแต่สแกนคิวอาร์โค้ท เพื่อสั่งซื้อและชำระเงินที่แคชเชียร์ ซึ่งลูกค้ารอรับสินค้าได้ที่จุดรับสินค้า ไม่เกิน 15 นาทีหลังจากชำระเงินแล้ว   สินค้าที่จำหน่ายภายในไทวัสด โมเดลใหม่ สาขาหนองจอก แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.สินค้าที่ลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อประจำ สินค้าจะอยู่บนชั้นวางสินค้า สามารถหยิบซื้อได้ทันที 2.สินค้าโครงสร้าง เช่น เหล็ก ปูน ลูกค้าสามารถสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อสั่งซื้อสินค้า 3.สินค้าที่บริษัทจำหน่ายให้ครบ แต่ลูกค้าต้องสั่งซื้อผ่านออนไลน์ โดยสามารถสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ ไทวัสดุ โมเดลใหม่ ช่วยลดต้นทุน-เข้าถึงกลุ่มลูกค้า นายสุทธิสาร กล่าวว่า การเปิดไทวัสดุ โมเดลใหม่ สาขาหนองจอก จะทำให้ลูกค้าเดินทางเข้าถึงสาขาได้ง่ายขึ้น เพราะใช้ระยะเวลาเดินทางไม่นาน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสาขาลดต่ำลง แม้ต้นทุนการลงทุนจะไม่ได้ลดลงก็ตาม   “เราอยากให้ลูกค้าเดินทางไม่นาน ไม่เกินชั่วโมง เดิมลูกค้าบางพื้นที่ในต่างจังหวัดต้องเดินทาง 3 ชั่วโมง เพราะสาขาอยู่ไกล”   แผนการขยายต่อไปในอนาคต บริษัทจะเน้นอำเภอขนาดเล็กลง  ซึ่งหากเป็นพื้นที่หลัก เช่นตัวจังหวัดหรืออำเภอเมือง จะใช้รูปแบบสาขาขนาดใหญ่  แต่หากเป็นอำเภอขนาดเล็ก จะใช้รูปแบบสาขาขนาดเล็ก และนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งกลยุทธ์การขยายสาขาจะช่วยสร้างการเติบโตของบริษัท   ไทวัสดุ โมเดลใหม่ ต้นแบบขยายสาขา ปัจจุบันบริษัทมีสาขาเปิดให้บริการรวมสาขาหนองจอก 50 สาขา ซึ่งปีนี้ขยายสาขาก่อนหน้าในรูปแบบขนาดใหญ่ไปแล้ว 4 สาขา ใช้งบลงทุนไปประมาณ​ 3,000 ล้านบาท ส่วนปี 2563 จะขยายสาขาเพิ่ม 7 สาขา แบ่งเป็นรูปแบบสาขาขนาดใหญ่ 5 สาขา และสาขาขนาดเล็กอีก 2 สาขา ซึ่งจะใช้ไทวัสด โมเดลใหม่ สาขาหนองจอก เป็นต้นแบบ โดยใช้งบลงทุน 3,500 ล้านบาท หรือประมาณ​สาขาละ 300 ล้านบาท รวมถึงมีแผนปรับปรุงสาขาเดิมด้วย   สำหรับภาพรวมธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและซ่อมแซม ในปีนี้ชะลอตัวกว่าปีที่ผ่านมา ยอดขายสินค้าของคู่แข่งส่วนใหญ่จะลดลงกว่าปีที่ผ่านมา  ส่วนผลประกอบการของไทวัสดุ มีอัตราการเติบโตโดยรวม 20% ซึ่งเป็นผลจากการขยายสาขาใหม่เพิ่ม ขณะที่ยอดขายของสาขาเดิมมีอัตราการเติบโต 8-10%  โดยคาดว่าภาพรวมตลาดในปีนี้อาจจะติดลบ 0.1% หรือหากสถานการณ์ฟื้นตัวดีขึ้น อาจจะเติบโตได้ในอัตรา 1%   “ในอดีตยอดขายเติบโต 20% ปัจจุบันเติบโตได้ถึง 10% ก็ถือว่าดีแล้ว ในปีหน้าบริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตไว้ 15% จากยอดขายปีนี้น่าจะทำได้ 30,000 ล้านบาท”   ข่าวที่เกี่ยวข้อง ไทวัสดุ เขย่าตลาดวัสดุก่อสร้างปลายปี ทุ่ม 600 ล้านผุดสาขาที่ 43 บนถนนชัยพฤกษ์
AWC ปั้นเอเชียทีค สู่ เมกะโปรเจ็กต์ ผุดทาวเวอร์สูงสุดในไทย

AWC ปั้นเอเชียทีค สู่ เมกะโปรเจ็กต์ ผุดทาวเวอร์สูงสุดในไทย

เปิดแผน AWC ปั้นเมกะโปรเจ็กต์ มิกซ์ยูส “เอเชีย ทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์” เนื้อที่กว่า 100 ไร่ ใหญ่สุดริมแม่น้ำเจ้าพระยา มูลค่ามากกว่า 30,000 ล้าน พร้อมจับมือ AS+GG ผู้ออกแบบตึกสูงทั่วโลก สร้าง “เอเชียทีค ทาวน์เวอร์” สูงสุดในไทย คาดใช้เวลาพัฒนาไม่ต่ำกว่า 5 ปี หวังให้เป็น World Destination   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC บริษัทในเครือทีซีซีกรุ๊ป (TCC Group) ของตระกูลสิริวัฒนภักดี เปิดเผยว่า ตามแผนสร้างการเติบโตของบริษัทในระยะ 5 ปีข้างหน้า จึงพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องตามแผนธุรกิจ และแนวคิด Building a Better Future หรือ การสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า AWC  ล่าสุดได้จับมือกับ A49 และ Urban Architectures บริษัทออกแบบชั้นนำของไทย และ AS+GG บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมระดับทั่วโลก  พัฒนาโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ในโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์   “AWC เดินหน้าแผนการพัฒนาโครงการเอเชียทีค  เพื่อยกระดับให้ที่นี่มีความน่าดึงดูดใจยิ่งขึ้นในฐานะจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ระดับโลก” ปัจจุบันโครการเอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนท์ ตั้งอยู่บนที่ดินแปลงใหญ่ขนาด 60  ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  ซึ่งมีร้านค้าและร้านอาหารเปิดให้บริการ โดยถือว่าเป็นการพัฒนาโครงการในเฟส 1 มีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท บริษัทมีแผนพัฒนาโครงการเฟส 2 ต่อเนื่อง ซึ่งแบ่งเป็น 3 เฟสย่อย ประกอบด้วย แผนพัฒนาเฟส 2.1 เตรียมพัฒนาเป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ในรูปแบบมิกซ์ยูส มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท  ประกอบด้วย พื้นที่รีเทล สำนักงาน และอาคารขนาดสูงไม่ต่ำกว่า 100 ชั้น ที่คาดว่าจะสูงสุดในประเทศไทย ภายในอาคารจะประกอบไปด้วย -โรงแรมระดับ 5 ดาว ภายใต้แบรนด์แมริออท จำนวน 800 ห้อง -โรงแรมระดับ 6 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกแบรนด์ -คอนโดมิเนียมพักอาศัย ในรูปแบบ แบรนด์เด็ด เรสซิเดนซ์ โดยโครงการเมกะโปรเจ็กต์ จะพัฒนาบนพื้นที่ลานจอดรถของเอเชีย ทีคในปัจจุบัน  ซึ่งมีแผนปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าวเพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ ทำให้วางแผนย้าย “เอเชียทีค สกาย” ไปไว้ในพื้นที่ด้านใต้ซึ่งอยู่ในพื้นที่เชิงพาณิชย์ (เฟส 2.2.1-ดูแผนที่ประกอบ) แผนพัฒนาเฟส 2.2 แผนพัฒนาพื้นที่ 19 ไร่ เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 100,000 ตารางเมตร ซึ่งแบ่งเป็น 2 เฟสย่อย ได้แก่ พื้นที่เฟส 2.2.1 จะประกอบด้วยร้านแฟลกชิพ สโตร์ของร้านกาแฟระดับโลก คาดว่าจะเป็นแบรนด์สตาร์บัค เนื่องจากเป็นธุรกิจที่นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้ซื้อเข้ามาอยู่ในพอร์ตธุรกิจ คาดว่าจะเป็นรูปแบบใหม่และจะใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันน่าจะอยู่ระหว่างการบันทึกข้อตกลงร่วมกัน  ซึ่งกลยุทธ์การนำเอาธุรกิจภายในเครือทีซีซีมาซินเนอร์จี้กัน เป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของ AWC ด้วยเช่นกัน  พื้นที่บริเวณเฟส 2.2.1 ยังจะถูกใช้เป็นพื้นที่ตั้งของเอเชียทีค สกาย  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบ พื้นที่เฟส 2.2.2 จะถูกใช้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์พุทธศาสนา และประวัติศาสตร์  ที่ตั้งเจดีย์ทางพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ แผนพัฒนาเฟส 2.3 บนเนื้อที่กว่า 30 ไร่ บริเวณฝั่งตรงข้ามโครงการในปัจจุบัน บริษัทมีแผนพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ รวมถึงการพัฒนาให้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับถนนเจริญลาภ เพื่อให้การเดินทางสะดวกมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่าการออกแบบ นอกจากนี้ บริษัทยังได้เตรียมนำเรือขนาด 50 เมตร ภายใต้ชื่อ “สิริมหรรณพ” มาเปิดให้บริการภายในไตรมาส 2 ของปีหน้า ซึ่งภายในเรือจะเป็นพื้นที่ส่วนภัตรคาร และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ โดยจอดเรืออยู่บริเวณด้านหน้าริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยหากประเมินมูลค่าโครงการในปัจจุบัน และแผนในอนาคต คาดว่าโครงการจะมีมูลค่ามากกว่า 30,000 ล้านบาท และมีระยะเวลาการพัฒนาโครงการอย่างเร็วที่สุดภายใน 5 ปี จับมือ AS+GG สร้างไอคอนนิคแลนด์มาร์ค AWC ได้ร่วมมือกับ Adrian Smith + Gordon Gill Architecture (AS+GG) บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมระดับโลก เพื่อพัฒนาโครงการเมกะโปรเจ็กต์ริมน้ำเจ้าพระยา โดยหนึ่งในไฮไลต์ คือ “เอเชียทีค ทาวเวอร์” อาคารขนาดสูงสุดในประเทศไทย ที่เป็นผลงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอก สะท้อนคุณค่าความเป็นไทยริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คอันโดดเด่นของไทยสู่ชื่อเสียงระดับโลก โดย AS+GG คือ ผู้ออกแบบอาคารสูงระดับโลกในหลายประเทศ อาทิ JEDDAH TOWER ในซาอุดิอาระเบีย ซึ่งอยู่ระหว่างการออกแบบ โดยหากก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นอาคารสูงที่สุดในโลก ด้วยขนาดควาสูงกว่า 1,000 เมตร AS WASL PLAZA ในดูไบ  BURJ KALIFA ในดูไบ ซึ่งปัจจุบันเป็นอาคารสูงที่สุดในโลก และ JIN MAO TOWER ในเชียงไฮ้ ประเทศจีน   จากผลงานการออกแบบอาคารสูงระดับโลก ทำให้คาดว่า "เอเชียทีค ทาวเวอร์" จะมีขนาดความสูงมากที่สุดในประเทศไทย และอาจจะสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสำคัญของ AWC ไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาโครงการให้มีขนาดความสูงมากที่สุด แต่ต้องการเพิ่มมูคล่าที่ดินให้ได้มากที่สุด และการสร้างคุณค่า รวมถึงความยั่งยืนของธุรกิจอย่างต่อเนื่องยาวนาน   “เนื่องจากเป็นที่ดินฟรีโฮลด์ จึงมุ่งสร้างคุณค่าระยะยาว นอกจากพัฒนาให้โครงการเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวแล้ว ยังต้องการให้เป็น World Destination ดึงดูดให้คนเข้ามาเที่ยว ตึกสูงสุดไม่ใช่จุดที่ตั้งใจให้สูงสุด แต่ทำให้เป็นไอคอนนิคแลนด์มาร์คของกรุงเทพฯ”   โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นแฟลกชิพในรูปแบบสถานที่ท่องเที่ยวแนวไลฟ์สไตล์ ที่เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คของประเทศไทย และเป็นแหล่งชอปปิงริมแม่น้ำที่มีสไตล์เฉพาะตัวเป็นแห่งแรกในกรุงเทพฯ มีชื่อเสียงในเรื่องของบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา อาคารสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล และไนท์บาซาร์ที่มีเอกลักษณ์ เป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงผู้พักอาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวเฉลี่ย 50,000 คนในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์   นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่สำหรับการจัดงานสำคัญและการแสดงโชว์ที่มีชื่อเสียง  เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัล Top 10 Shopping Center ประจำปี 2560 และ Top Choice Shopping Area ประจำปี 2559 จาก People’s Choice Awards โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ Best Commercial Development Thailand ประจำปี 2555 จากนิตยสาร Property Report ย่าน  เจริญกรุงซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการ ยังเป็นพื้นที่ที่มีเสน่ห์เฉพาะตัวในฐานะชุมชนเก่าแก่บนถนนสายแรก  ของกรุงเทพฯ ที่สร้างเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของอาคารห้องแถวที่พักอาศัย  และร้านค้าแบบดั้งเดิมเรียงรายสองข้างทาง   “ต่อไปเอเชียทีค จะขยายเวลาให้บริการแบบตลอดทั้งวัน หลังจากพัฒนาโครงการแล้วเสร็จ จากปัจจุบันที่เปิดให้บริการเฉพาะช่วงค่ำ”          
เปิด 6 ไฮไลท์ “ปอร์โต เดอ ภูเก็ต” ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง มอลล์ 1,500 ล.กลุ่มเซ็นทรัล

เปิด 6 ไฮไลท์ “ปอร์โต เดอ ภูเก็ต” ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง มอลล์ 1,500 ล.กลุ่มเซ็นทรัล

กลุ่มเซ็นทรัล ทุ่มงบ 1,500 ล้าน ปั้นโปรเจ็กต์ “ปอร์โต เดอ ภูเก็ต” ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง มอลล์ แห่งใหม่ในจังหวัดภูเก็ต ตั้งเป้าดึงคนเข้าใช้ปีละกว่า 3 ล้านราย   จังหวัดภูเก็ตถือเป็นจังหวัดยอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วโลก จากผลสำรวจ พบว่า เป็นเมืองยอดนิยมติดอันดับที่ 14  จาก 200 เมืองยอดนิยมทั่วโลก จากผลสำรวจของ Mastercard Global Destination Cities Index 2019  โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนภูเก็ตมากที่สุด 3 อันดับ คือ จีน รัสเซีย และเยอรมัน จังหวัดภูเก็ตจึงกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญอันดับต้นๆ ของไทย มีดีเวลลอปเปอร์เข้าไปพัฒนาโครงการจำนวนมากมาย ล่าสุด กลุ่มเซ็นทรัลได้ทุ่มงบกว่า 1,500 ล้านบาท  พัฒนาไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง มอลล์ (Lifestyle Shopping Mall) ภายใต้โครงการ “ปอร์โต เดอ ภูเก็ต" (Porto de Phuket) บนพื้นที่โครงการกว่า 40,000 ตารางเมตร ภายใต้คอนเซปต์ “ที่สุดแห่งประสบการณ์การใช้ชีวิต” (The Finest Living Experience)   สำหรับไฮไลต์ของ ปอร์โต เดอ ภูเก็ต มี 6 โซนสำคัญ ได้แก่    1.เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ (Central Food Hall) ในรูปแบบ Stand Alone ด้านนอกศูนย์การค้าแห่งแรกของเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ สุดยอดฟู้ดสโตร์ที่ดีที่สุดในเอเชีย กับหลากหลายโซนที่พร้อมให้บริการ ทั้งอาหาร เบเกอรี่ และ Cheese Room ที่แรกในจังหวัดภูเก็ต 2.เดอะ เฟม (The Fame – Restaurant and Café Zone) รวบรวมร้านอาหารและคาเฟ่ชื่อดังเอาใจเหล่าฮิปสเตอร์และสายชิล ทั้งร้านสวย (SUAY) อาหารฟิวชั่น ไทย-ตะวันตก โดยเชฟกระทะเหล็ก การันดีด้วยรางวัลมิชลิน ไกด์, ร้านตู้กับข้าว อาหารใต้ชื่อดังของจังหวัดภูเก็ต, จำปา ร้านอาหารออแกนิก ที่แตกไลน์มาจาก PRU ร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ 1 ดาวแห่งเดียวในจังหวัดภูเก็ต   3.มัลติดีไซน์ เฮ้าส์ (Multi Design House) แหล่งรวบรวมสินค้าเพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ที่มีตั้งแต่ของแต่งบ้านจาก Indoor  ถึง Outdoor อาทิ ของแต่งบ้านสุดวินเทจ จากแบรนด์ Soul of Asia และร่วมชมผลงานศิลปะเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร จากศิลปินท้องถิ่นชื่อดัง คุณสุนทร พาพาน แห่ง  Napas Art Gallery, บีทูเอส (B2S) ภายใต้คอนเซ็ปต์ Think Space และ  ซูเปอร์สปอร์ต (Supersports) ฟอร์แมตพิเศษที่มีการทดลองวิ่งกับ Run Lab ที่ท่านสามารถทดลองรองเท้าวิ่งที่เหมาะกับคุณได้ทันที   4.เฮลตี้  เฮเว่น (Healthy Heaven)   ผ่อนคลายกับการนวดและสปาจากธรรมชาติบำบัดที่สปาชั้นนำ เช่น Let’s Relax ที่มีสปาแกลเลอรี่แห่งแรกของโลกและในจังหวัดภูเก็ต, นอกจากนี้ยังมีโซนเสริมความงาน จากร้านชื่อดังของภูเก็ต อาทิ Devadiva   5.เพท เฟรนด์ลี่โซน (Pet Friendly Zone) พื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยงให้ได้วิ่งเล่น พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก จาก Phuket International Pet Care (PIPC) ทั้งคลินิกรักษาสัตว์, เพ็ทช็อป, กรูมมิ่ง และจุดรับ-ส่งน้องหมาน้องแมว   6.คิด เลิร์นนิ่ง สเปซ (Kid Learning Space) แหล่งพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กๆ ที่จะสนุกสนานกับเครื่องเล่นเสริมสร้างทักษะ   นายพงศ์ ศกุนตนาค กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายพัฒนาธุรกิจ กลุ่มเซ็นทรัล เปิดเผยว่า  โครงการปอร์โต เดอ ภูเก็ต เป็นศูนย์การค้าที่ฉีกกฏของไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง มอลล์  ที่ผสมผสานดีไซน์ ไลฟ์สไตล์และพื้นที่ธรรมชาติอย่างลงตัว  ด้วยพื้นที่สีเขียวคิดเป็น 2 ใน 3 ส่วนของโครงการ ตกแต่งด้วยสไตล์ “คอนเทมโพรารี่ แวร์เฮ้าส์” (Contemporary Warehouse) โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด ด้วยการรักษาต้นไม้ในพื้นที่เดิมให้มากที่สุด ตอบสนองทุกรูปแบบการใช้ชีวิตของคนทุกช่วงวัย   “ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มคนในพื้นที่ที่มีกำลังซื้อสูง และชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตทำงานในภูเก็ต ที่พักอาศัยบริเวณนี้ รวม 65 % และกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ 35% โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการศูนย์ 10,000-13,000 คนต่อวัน ในช่วงไฮซีซั่นนี้ และอย่างน้อย 3 ล้านคนต่อปี”   นอกเหนือจาก 6 ไฮไลท์สำคัญที่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว  ในช่วงต้นปี 2563 จะเปิดอีกหนึ่งโซนไฮไลท์ คือ  เดอะ เมอร์คาโด้ (The Mercado) ฟู้ดเดสติเนชั่น ที่จำลองบรรยากาศเหมืองแร่โบราณผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสไตล์ ซิโน-โปรตุกิส (Sino-Portuguese)  และยังจะพัฒนาโครงการในเฟส 2 ช่วงปลายปี 2563 ที่จะเพิ่มการให้บริการต่างๆ  อาทิ อาทิ โรงภาพยนตร์ , ฟิตเนส, Indoor Playground, Edutainment รวมถึง Art Home and Decorative      
แมกโนเลียฯ เพิ่มงบ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” ทะลุ 125,000 ล้านบาท มิกซ์ยูสใหญ่สุดในไทย

แมกโนเลียฯ เพิ่มงบ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” ทะลุ 125,000 ล้านบาท มิกซ์ยูสใหญ่สุดในไทย

แมกโนเลียฯ เพิ่มงบลงทุน “เดอะ ฟอรสเทียส์” ทะลุ  125,000 ล้าน สร้างโปรเจ็กต์มิกซ์ยูสใหญ่สุดในเมืองไทย พร้อมผืนป่าขนาด 30 ไร่ มูลค่า 1,000 ล้าน หวังสร้างโครงการต้นแบบแห่งใหม่ในการพัฒนาเมือง     โปรเจ็กต์มิกซ์ยูสใหญ่สุดในไทย  นางทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ประธานกรรมการ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เปิดเผยว่า  ได้ประกาศเพิ่มเงินลงทุนโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์  บนที่ดินขนาด 300 ไร่ บนถนนบางนา-ตราด กม. 7 ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จากมูลค่าโครงการ 90,000 ล้านบาท เป็นมูลค่า 125,000 ล้านบาท ซึ่งการเพิ่มงบประมาณลงทุนครั้งนี้ ทำให้ โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ กลายเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และขนาดพื้นที่โครงการได้เพิ่มขึ้นอีก 98 ไร่ เป็นพื้นที่โครงการ 398 ไร่   โดยหนึ่งในองค์ประกอบที่มีความพิเศษโดดเด่นของ โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ คือ ป่าขนาดใหญ่ พื้นที่ 30 ไร่ ที่เริ่มปลูกมาตั้งแต่เป็นเมล็ดและต้นกล้า ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของโครงการ สร้างความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ระบบนิเวศน์ ซึ่งจะพัฒนาเติบโตและมีวิวัฒนาการความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่อไปอีกเรื่อยๆ     “เป็นครั้งแรกในโลก สำหรับโครงการที่มีผืนป่าขนาดใหญ่ รวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมือง และอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญ คือพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัยซึ่งถูกออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย”   โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ประกอบด้วยโครงการที่พักอาศัยหลากหลายรูปแบบ ทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม ซึ่งมุ่งตอบสนองความหลากหลายของไลฟ์สไตล์และขนาดของครอบครัวที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีพื้นที่เชิงธุรกิจสำหรับสำนักงาน สปอร์ตคอมเพล็กซ์ กิจกรรมไลฟ์สไตล์ต่างๆ ร้านค้าปลีก ร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึง พื้นที่สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุกและสร้างสรรค์ของครอบครัว ใน Family Life Center   นอกจากนั้น เดอะ ฟอเรสเทียส์ ยังมีพื้นที่ Town Center สำหรับจัดกิจกรรมชุมชนและกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ โรงละคร อีเว้นต์ฮอลล์ ตลาด รวมถึงทางเดินยกระดับความยาวกว่า 1.6 กิโลเมตร ซึ่งรวมทางเดินที่เชื่อมโยงไปยังพื้นที่ต่างๆ และองค์ประกอบหลายๆ ส่วนในโครงการ และทางเดินที่ทอดตัวอยู่เหนือผืนป่าซึ่งอยู่บริเวณใจกลางโครงการ มอบเป็นเส้นทางเดินเท้าท่ามกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์   ภายในโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ยังมีโรงแรมระดับ 5 ดาว และศูนย์การแพทย์และสุขภาพขนาดใหญ่ที่ครบครันไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ อยู่ในระหว่างการออกแบบและก่อสร้าง  โดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งได้รับการยอมรับ และยกย่องมากที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก รวมทั้งสถาบันต่างๆ ที่เป็นสถาบันชั้นนำระดับโลก เพื่อให้มั่นใจว่าทุกองค์ประกอบของโครงการ จะส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น   "การออกแบบโครงการได้รับการยอมรับจากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ใน T.H. Chan School of Public Health ว่าเป็นโครงการที่มีวิสัยทัศน์ดีเยี่ยม” นางทิพพาภรณ์ กล่าว   ทุ่มงบ 1,000 ล้านผุดผืนป่า 30 ไร่ ด้านนายกิตติพันธุ์ อุยยามะพันธุ์ ผู้อำนวยการโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์  กล่าวว่า ได้ใช้งบประมาณมากกว่า 1,000 ล้านบาท ในการพัฒนาผืนป่าขนาดใหญ่ ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของ โคงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ โดยผืนป่าแห่งนี้ประกอบด้วยพื้นที่ “ป่าลึก”  ซึ่งเป็นป่าลึกที่อุดมสมบูรณ์ของจริง รวมทั้งพื้นที่ป่าที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายจากทางเดินเท้า และมีพื้นที่สีเขียวเปิดโล่งที่ให้ผู้คนสามารถเข้าไปใช้ชีวิต โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ยังให้ความสำคัญกับการสัญจรไปมาด้วยการเดินเท้า ทั้งเพื่อความสะดวกสบายและเพื่อความสุขสดชื่นจากการได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ตลอดจนเพื่อการมีสุขภาพที่ดีจากการเดินออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งทางเท้าและถนนได้ถูกวางผังจัดเส้นทางไว้อย่างดี ปกคลุมด้วยแนวกั้นและร่มเงาของพืชพรรณตามธรรมชาติที่ออกแบบอย่างละเอียดรอบคอบ   เดอะ ฟอเรสเทียส์ มีระบบการป้องกันน้ำท่วมโดยเฉพาะ ประกอบด้วยพื้นที่กักเก็บน้ำทิ้งขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้มากกว่า 10 ล้านลิตร และสามารถป้องกันไม่ให้โครงการเกิดน้ำท่วมแม้ต้องเผชิญกับพายุฝนครั้งใหญ่ก็ตาม   “ในโครงการสามารถช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ได้เป็นปริมาณมหาศาล ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณที่พื้นที่ปลูกต้นไม้ขนาด 30,000 ไร่ จะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้” นายกิตติพันธุ์ กล่าว   โครงสร้าง เดอะ ฟอเรสเทียส์ เสร็จแล้ว 90% ขณะที่นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MQDC กล่าวว่า  โครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ เป็นการดำเนินโครงการตามปรัชญาของ MQDC ที่มุ่งเป็นองค์กรซึ่งไม่เพียงสร้างสรรค์โครงการที่ยิ่งใหญ่ แต่เป็นองค์กรที่ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของทุกคน ผ่านการทำจริงให้เห็นเป็นแบบอย่าง “ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำระดับโลกได้ด้วยแนวคิดอันก้าวล้ำนำสมัยในด้านการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยและของชุมชนที่อยู่โดยรอบ พร้อมกับส่งเสริมในเรื่องนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” นายวิสิษฐ์ กล่าว   โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเป็นระเบียงเศรษฐกิจที่เติบโตรวดเร็วที่สุดของประเทศไทย สามารถเข้าถึงทางด่วนและการคมนาคมขนส่งมวลชนที่สำคัญได้โดยง่าย ซึ่งการก่อสร้างเส้นทางถนนในโครงการ และการตอกเสาเข็มสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของโครงการ ปัจจุบันเสร็จสมบูรณ์แล้ว 90%   สำหรับองค์ประกอบส่วนหนึ่งในโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ ได้แก่ คอนโดมิเนียมแบรนด์  วิสซ์ดอม คอนโดมิเนียมแบรนด์ มัลเบอร์รี่ โกรฟ ที่อยู่อาศัยแบรนด์ มัลเบอร์รี โกรฟ วิลล่า  ที่อยู่อาศัยแบรนด์ ดิ แอสเพน ทรี  ที่อยู่อาศัยแบรนด์ ซิกซ์เซนส์  โรงแรมแบรนด์  ซิกซ์เซนส์  และองค์ประกอบอื่นๆ  
สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 1-8 ธันวาคม 2562

สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 1-8 ธันวาคม 2562

หลังจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการ “บ้านดีมีดาวน์”  ในวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา  ด้วยการสนับสนุนเงินแคชแบ็ค (Cash Back) เพื่อลดภาระผ่อนดาวน์ จำนวน 50,000 บาท ให้แก่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้     โดยลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.บ้านดีมีดาวน์.com  ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2562 เวลา 8.00 น. จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563  และจะต้องได้รับการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินและจดจำนองตั้งแต่วันที่27 พฤศจิกายน 2562 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563   โอกาสดีๆ แบบนี้ บรรดาดีเวลลอปเปอร์ ทั้งค่ายเล็กค่ายน้อย ย่อมไม่พลาดโอกาส ใช้เป็นจังหวะที่ดีในการจัดแคมเปญการตลาด กระตุ้นยอดขาย โดยขนบ้านและคอนโดมิเนียมในสต็อกออกมาร่วมแคมเปญกันแทบทุกราย อาทิ แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ ขน 9 โครงการ 370 ยูนิต มูลค่า 830 ล้านบาท ทั้งบ้านและคอนโดฯ มาจัดแคมเปญร่วมกับโครงการบ้านดีมีดาวน์ และแอล.พี.เอ็น.ฯ ยังเติมเงินให้อีก 50,000 บาท (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   บริษัท มั่นคง เคหะการ จำกัด (มหาชน) ก็ขานรับนโยบาย คัดโครงการทั้งทาวน์โฮม บ้านแฝด บ้านเดี่ยว 10 โครงการ กว่า 300 ยูนิต เข้าร่วม แถมด้วยสิทธิพิเศษต่างๆ อาทิ  ฟรีค่ามิเตอร์น้ำ – มิเตอร์ไฟ, ฟรีค่าส่วนกลาง 3 ปี, เฟอร์นิเจอร์ห้องนอนใหญ่ 1 ชุด, เครื่องปรับอากาศห้องนอนใหญ่ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอีก  5 รายการ เป็นต้น (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   นอกเหนือจากความเคลื่อนไหว การจัดแคมเปญของดีเวลลอปเปอร์ กับโครงการภาครัฐแล้ว ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาวงการอสังหาริมทรัพย์ มีความเคลื่อนไหวอะไรบ้าง มาอัพเดทกันได้เลย   “ซิซซา” ลุยอสังหาฯ เพื่อการลงทุน การันตีผลตอบแทน 6% วินแดม โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จับมือพันธมิตร ซิซซา กรุ๊ป  รุกตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ภายใต้แบรนด์ “วินแดม แกรนด์” (Wyndham Grand) เน้นเจาะตลาดพรีเมียม ด้วยสินค้าระดับลักซูรี่ ตามหัวเมืองท่องเที่ยว พร้อมยกระดับโครงการ “วินแดม แกรนด์ ในหาน บีช ภูเก็ต”     นายอรรถนพ พันธุกำเหนิด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิซซา กรุ๊ป จำกัด  เปิดเผยว่า แม้ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์จะชะลอตัวลง แต่อสังหาริมทรัพย์ในหัวเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ตกลับยังมีความต้องการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ รวมถึงคนไทยที่เข้ามาซื้อในลักษณะเพื่อการลงทุน จนทำให้ตลาดอสังหาฯในรูปแบบการการันตีผลตอบแทน หรือ Investment Property มีความต้องการสูงเห็นได้จากจำนวนโครงการแบบ Investment Property ที่เพิ่มมากขึ้นในจังหวัดภูเก็ต   ในระยะหลายปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการในภูเก็ตจึงหันมาพัฒนาสินค้าในลักษณะ Investment Property จำนวนมาก จนทำให้การแข่งขันสูง และซิซซา กรุ๊ป ได้เล็งเห็นทิศทางของตลาด จึงได้ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ WYNDHAM Hotels and Resorts ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมรีสอร์ทที่มีจำนวนสาขาในเครือมากที่สุดของโลก ที่จะพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าในตลาดระดับบน และโครงการล่าสุดของบริษัทก็ได้รับการยกระดับขึ้นเป็น วินแดม แกรนด์ ในหาน บีช ภูเก็ต (WYNDHAM Grand Nai Harn Beach Phuket)  (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   “ฮาบิแทท กรุ๊ป” ปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 4,500 ล้าน   “ฮาบิแทท กรุ๊ป” เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มุ่งเน้นทำตลาด อสังหาฯ เพื่อการลงทุน โดยมองแนวโน้มตลาดในปีหน้าว่ายัง เติบโตแต่ไม่หวือหวา ซึ่งแผนธุรกิจของบริษัทในปีหน้า ยังคงชูกลยุทธ์  "ไลฟ์สไตล์ อินเวสเม้นท์” พร้อมกับเตรียมเปิดโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 4,500 ล้าน  นอกจากนั้นยังมุ่งหน้าทำตลาดในต่างประเทศ  ด้วยการผนึกพันธมิตร ลีสต์ กรุ๊ป ญี่ปุ่น รุกขยายตลาดใหม่จับลูกค้าต่างชาติเพิ่ม ทั้ง ญี่ปุ่น ไต้หวัน ตะวันออกกลางและยุโรป ทดแทนตลาดจีน และฮ่องกง     นายชนินทร์ วานิชวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮาบิแทท กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2563 คาดว่าจะไม่เติบโตจากปีนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมน่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2562  ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจ และค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ทำให้กำลังซื้อได้รับผลกระทบ ขณะที่ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธนาคารยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากกว่าระดับปกติ และยังมีปัจจัยเรื่องนโยบายการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV)   แม้จะมีปัจจัยบวกอยู่บ้างจากการที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นตลาด ประกาศลดค่าธรรมเนียมการโอน และการจดจำนองให้เหลือเพียง 0.01% ของราคาประเมินไปจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 และยังมีโครงการบ้านดีมีดาวน์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ แต่ภาพรวมตลาดอสังหาฯ น่าจะอยู่ในภาวะทรงตัว หรือใกล้เคียงกับปี 2562 (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   เสนาฯ​ เลื่อน9โปรเจ็กต์หมื่นล้านเปิดตัวปี63 ปีนี้สถานการณ์ตลาดอสังหาฯ ไม่เอื้ออำนวยให้ดีเวลลอปเปอร์รุกตลาดมากนัก จากช่วงต้นปีที่ได้ประกาศธุรกิจ พอเอาเข้าจริงกลับไม่เป็นไปตามแผน หลายๆ บริษัทปรับแผนธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพตลาดในปัจจุบัน อย่างเสนาฯ เลื่อน 9 โปรเจ็กต์ มูลค่านับหมื่นล้านไปเปิดตัวใหม่ในปีหน้า   แม้ว่า 3 ไตรมาสแรกของปี ยังโกยรายได้และกำไรเติบโต  ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่วนในไตรมาสสุดท้ายได้เปิดตัว 3 โครงการแนวราบ–แนวสูง เพื่อผลักดันยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้     นางสาวอธิกา บุญรอดชู ผู้อำนวยการ สายงานจัดสรรเงินทุนและการลงทุน บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA  เปิดเผยว่า ในไตรมาส 4 บริษัทมีแผนการเปิดโครงการใหม่ 3 โครงการทั้งโครงการบ้านและคอนโดมิเนียม  รวมมูลค่าโครงการราว 2,977 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการ เสนา แกรนด์ โฮม รามอินทรา กม. 8 ม, โครงการเสนา วิลล์ ลำลูกกา คลอง 6 และล่าสุด เปิดโครงการเสนา- อาศุ พระราม 9  คอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ ซึ่งทั้งหมดได้เปิดขายแล้ว   สำหรับแผนธุรกิจในปีนี้ บริษัทวางแผนเปิดโครงการทั้งหมด 20 โครงการ รวมมูลค่า 18,779 ล้านบาท แต่จากสถานการณ์อสังหาฯ ที่ชะลอตัว และปัจจัยลบต่างๆ ทำให้บริษัทต้องบริษัทได้เลื่อนการเปิดโครงการใหม่ไปในปีหน้า ซึ่งช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ได้เปิดตัวโครงการใหม่แล้ว 8 โครงการมูลค่า 5,411 ล้านบาท และเลื่อนเปิดตัวโครงการใหม่ 9  โครงการในปี 2563 มูลค่า 10,391 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีที่ดินเตรียมพร้อมการพัฒนาไว้ทั้งหมดแล้ว (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   แมกโนเลียฯ จับมือ ททท.-RSTA จัดงานแสดงแสงสีเสียง   เข้าสู่ช่วงโค้งท้ายของปีแล้ว ตอนนี้สถานที่หลายแห่งเริ่มเตรียมพื้นที่เฉลิมฉลอง รับเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กันแล้ว อย่างแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น หรือ MQDC ได้จับมือกับ ททท. และสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ จัดงาน “Beautiful Bangkok 2020” งานแสดงแสงสีเสียงบริเวณอาคาร โครงการแมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด ซึ่งเตรียมเปิดแสดงรอบปฐมฤกษ์วันที่ 16 ธันวาคมนี้     นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ (RSTA)  เตรียมประกาศความพร้อมการจัดงาน “Beautiful Bangkok 2020” การแสดงแสงสีเสียง ด้วยการเนรมิตอาคารโครงการแมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด ให้สวยงาม   โดยในปีนี้ใช้ชื่อการแสดงว่า “Beautiful Bangkok 2020: A Blossom of Happiness” ซึ่งมาพร้อมกับกิจกรรมอีกมากมาย บริเวณลานหน้าโครงการแมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี  โดยจะเปิดการแสดงรอบปฐมฤกษ์วันที่ 16 ธันวาคม 2562 นี้ และจัดต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 (อ่านข่าวเพิ่มเติม)      
มั่นคงฯ เพิ่มทุน 1,000 ล้าน ตั้งบริษัทย่อยลุยธุรกิจโรงงานให้เช่า  

มั่นคงฯ เพิ่มทุน 1,000 ล้าน ตั้งบริษัทย่อยลุยธุรกิจโรงงานให้เช่า  

มั่นคงฯ เดินหน้าแผนธุรกิจ 5 ปี เพิ่มสัดส่วนธุรกิจเช่าและบริการ 50% เพิ่มทุน 1,000 ล้าน​ ตั้งบริษัทในเครือ “พรอสเพค รีท แมเนจเมนท์” มุ่งขยายธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าให้เช่า ภายใต้ชื่อ “โครงการบางกอก ฟรี เทรด โซน” พร้อมจัดตั้งกองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ     ตามแผนระยะ 5 ปี บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน)  ต้องการเพิ่มสัดส่วนกำไรในธุรกิจเพื่อเช่าและบริการ ให้ขึ้นมาเท่ากับธุรกิจพัฒนาเพื่อขาย หรือสัดส่วน 50% จากปัจจุบันรายได้และกำไรหลักมาจากธุรกิจพัฒนาเพื่อขาย ทำให้บริษัทมองหาโอกาสและเพิ่มพอร์ตธุรกิจเช่าและบริการให้มากขึ้น ในปีที่ผ่านมาบริษัทจึงได้ลงทุนถือหุ้น 100%  จัดตั้งบริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด หรือ (PD) เพื่อพัฒนาโครงการบางกอก ฟรี เทรด โซน (Bangkok Free Trade Zone : BFTZ) ซึ่งเป็นโรงงานให้เช่าที่ตั้งอยู่บนถนนบางนาตราด กม.23  ถือเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ สามารถเชื่อมโยงฐาน การผลิตในการขนส่งสินค้าทั้งทางบกทางอากาศและทางทะเล  เนื่องจากอยู่ใกล้กรุงเทพฯ และนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง อาทิ นิคมอุตสาหกรรมบางพลี และนิคมอุตสาหกรรมบางปู   ภายในโครงการประกอบด้วยอาคารคลังสินค้าและอาคารโรงงาน บนพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่เพื่อการเช่า (Leasable Area) 700 ไร่ และพื้นที่เพื่อการสาธารณูปโภค อาทิ ถนนสาธารณะ โรงบำบัดน้ำเสีย และส่วนการรักษาความปลอดภัยภายในโครงการ ฯลฯ อีก 300 ไร่  โครงการนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่สีม่วง (ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า) จากปัจจัยต่างๆ ส่งผลให้โครงการ BFTZ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อัตราการเช่าพื้นที่อยู่ที่ประมาณกว่า 90% โดยกลุ่มผู้เช่าหลักคือ ญี่ปุ่น มีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 34% นายวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK  เปิดเผยว่า โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 อัตรารายได้จากค่าเช่าเติบโตถึง 30% และมีอัตราผู้เช่ากว่า 90% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 จากพื้นที่เช่ากว่า 150,000 ตารางเมตร ปัจจุบันบริษัทฯ มีการก่อสร้างโรงงานและคลังสินค้าให้เช่าเพิ่มเติมอีก 70,000 ตารางเมตร  ซึ่งจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2563  โดยคาดว่าจะสามารถพัฒนาโครงการเต็มพื้นที่ประมาณ  280,000 ตารางเมตร  ภายในสิ้นปี 2563   จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท จึงได้มีมติอนุมัติให้ บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด จัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ ภายใต้ชื่อ บริษัท พรอสเพค รีท แมเนจเมนท์ จํากัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการจัดตั้งบริษัทดังกล่าว จะถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจของ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน)     นอกจากการอนุมัติจัดตั้งบริษัทย่อยแล้ว ล่าสุดได้ออกหุ้นกู้มูลค่าทั้งสิ้นไม่เกิน 1,650 ล้านบาท อายุ 3 ปี 11 เดือน 19 วัน ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2566 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.75%  ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ ซึ่งสามารถจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท โดยพร้อมเสนอขายในวันที่ 2 – 11 ธันวาคม 2562
สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 25-30 พฤศจิกายน 2562

สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 25-30 พฤศจิกายน 2562

เข้าสู่เดือนสุดท้ายของปีอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับเดือนธันวาคม ช่วงเวลาที่จะทำผลงานให้ได้ตามที่ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปี ตอนนี้ผู้ประกอบการจึงโหมทำแคมเปญการตลาดออกมากันอย่างหนัก ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ มีแคมเปญออกมามากมายสารพัด ยิ่งที่ผ่านมาภาครัฐออกมาตรการมากระตุ้นด้วย ผู้ประกอบการยิ่งต้องสร้างแรงจูงใจให้มากกว่า   ช่วงเวลานี้ จึงถือเป็นช่วงจังหวะที่ดี สำหรับคนที่ได้วางแผนเอาไว้แล้วว่าจะซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมสักห้อง  แต่ใครยังไม่ได้วางแผนไว้  ได้แต่เล็งหรือคิดเอาไว้บ้าง ต้องลองพิจารณาแคมเปญต่างๆ ดูว่าน่าสนใจแค่ไหน และสำรวจสภาพทางการเงินของตนเองด้วย ว่าพร้อมไหมกับการต้องแบกรับภาระหนี้ ระยะยาว 10-30 ปี  หากได้คำตอบแล้วก็ลุยเลย   ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดอสังหาฯ  จึงถือว่าคักคักพอสมควร ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไรกันบ้าง ไปอัพเดทกัน   บันยันฯ จับมือ ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ฯ ขายโครงการหัวหิน บันยัน ไทยแลนด์ กรุ๊ป ร่วมมือกับ ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท เป็นพันธมิตรทำการตลาดและขายโครงการ “บันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน” วิลล่าระดับไฮเอนด์ ให้ลูกค้าระดับบนที่มองหาบ้านพักตากอากาศหรือที่อยู่อาศัยถาวรสุดเอกซ์คลูซีฟในหัวหิน เมืองท่องเที่ยวที่ยังคงเสน่ห์และศักยภาพการเติบโต โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท จะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบงานขายและทำการตลาดให้กับโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน   นายเชิ๊ท คว้อนท์ ประธานกรรมการบริหาร บันยัน ไทยแลนด์ กรุ๊ป เปิดเผยว่า ความร่วมมือกับริชมอนทส์ คริสตี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท ในการทำการตลาดโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน ในครั้งนี้ จะช่วยทำให้โครงการเป็นที่รู้จักในวงกว้างและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในระดับบนมากยิ่งขึ้น  ซึ่งโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน เป็นโครงการวิลล่าระดับไฮเอนด์ของบันยัน ไทยแลนด์ กรุ๊ป ซึ่งประกอบธุรกิจบันยัน กอล์ฟ คลับ ที่มีชื่อเสียงมากว่า 10 ปี ที่หัวหิน ทั้งโครงการมีที่ดินสำหรับสร้างบ้านได้จำนวน 102 หลัง ราคาตั้งแต่ 15-80 ล้านบาท   โดยผู้ซื้อสามารถที่จะเลือกแบบวิลล่าจากแบบมาตรฐาน 4 แบบ ที่ทางโครงการมีให้ หรือปรับเปลี่ยนในรูปแบบที่ตนเองต้องการเพิ่มเติม เพื่อปลูกสร้างบนที่ดินขนาดที่เลือกเองเริ่มต้นประมาณ 100 ตารางวา ซึ่งความพิเศษของโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน คือ ทำเลที่ตั้ง ที่อยู่ใกล้ตัวเมืองหัวหิน และชายหาดหัวหิน มีความเป็นส่วนตัว และไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยที่เข้าถึงการพักผ่อนพร้อมวิวทะเลในด้านหน้าและภูเขาในด้านหลังที่สวยงาม ผู้ซื้อวิลล่ายังได้รับสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกบันยัน กอล์ฟ คลับ ในราคาพิเศษสุด  ทางโครงการมีบริการ Concierge คอยดูแลลูกบ้านตลอด 24 ชั่วโมง และการบริการแบบโรงแรม เช่น แม่บ้าน คนดูแลสวน คนดูแลทำความสะอาดสระว่ายน้ำ และกำจัดปลวก (อ่านข่าวเพิ่มเติม) พราว จับมือ อินเตอร์คอนฯ ปั้นโปรเจ็กตลักชัวรี่ พราว เรียล เอสเตท  เปิดตัวโครงการ “อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน (InterContinental Residences Hua Hin)” ครั้งแรกของโครงการที่พักอาศัยระดับลักชัวรี่  ภายใต้แบรนด์อินเตอร์คอนติเนนตัลในประเทศไทยบนพื้นที่กว่า 7 ไร่ติดชายหาดผืนสุดท้ายใจกลางเมืองหัวหิน บนถนนเพชรเกษม ช่วงซอยหัวหิน 71 (ตรงข้ามศูนย์การค้า Market Village) ซึ่งถือเป็นสถิติราคาที่ดินสูงสุดของหัวหิน ด้วยราคาที่มากกว่า 150 ล้านบาทต่อไร่ เพื่อมอบประสบการณ์การพักอาศัยที่เหนือระดับพรั่งพร้อมด้วยบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจรแบบโรงแรม ด้วยมาตรฐานระดับโลกในแบบฉบับของอินเตอร์คอนติเนนตัล พร้อมแต่งตั้ง ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับสากล ให้เป็นตัวแทนการขายของโครงการอย่างเป็นทางการ   นางสาวพราวพุธ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร  บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การพัฒนาโครงการ “อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน” เป็นการต่อยอดความร่วมมือกับ อินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเทล กรุ๊ป (ไอเอชจี) และยังเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในการพัฒนาโครงการที่พักอาศัย ระดับลักชัวรี่ ภายใต้  แบรนด์อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส ซึ่งเป็นแบรนด์เอ็กซ์คลูซีฟที่มีเพียงไม่กี่แห่งในมหานครชั้นนำของโลกเท่านั้น เช่น บอสตัน ดูไบ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่อินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ล กรุ๊ป มีต่อพราว เรียล เอสเตท และสถานะของหัวหินในการเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำ  ซึ่งโครงการอินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน ถือว่าเป็นต้นแบบของการพัฒนาโครงการที่เป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย ตามแนวคิด “More than just living”   ทายาทตัน ภาสกรนที เปิดตัว T-ONE อาคารสำนักงานเกรด A   "วริษา ภาสกรนที"  ทายาท "ตัน ภาสกรนที" ได้ฤกษ์เปิดอาคาร T-ONE อาคารสำนักงานและพื้นที่ Co Working Space เกรดเอแห่งเดียวในทำเลทองหล่อ-สุขุมวิท หลังมีผู้เช่าครบ 100% ภายใน 3 เดือน   นางสาววริษา ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีวัน บิวดิ้ง จำกัด บริษัท ทีวัน บิวดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ได้เปิดตัว “อาคาร T-One” อาคารสำนักงานเกรด A ขนาด 43,700 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุน 3,500 ล้านบาทมีความสูง 47 ชั้น แบ่งเป็นส่วนพื้นที่สำนักงาน   Co-working space  ร้านอาหาร ฟิตเนสเซ็นเตอร์ และพื้นที่ส่วนกลาง  ชูจุดเด่นเป็นอาคารสำนักงานสำหรับธุรกิจด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และธุรกิจคลื่นลูกใหม่ทั้งระดับประเทศ และระดับโลก อาทิ Tencent, Joox, WeWork, Wongnai, Sanook, Etigo, Zelingo, Shiseido รวมทั้งสำนักงานใหญ่ของอิชิตัน กรุ๊ป   โดยอาคารดังกล่าวตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริเวณ ทองหล่อ - สุขุมวิท 40 ที่มาพร้อมการคมนาคมสะดวกทุกรูปแบบ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า บีทีเอส สถานีทองหล่อ และเข้าออกได้ทั้งถนนสุขุมวิทและถนนพระราม 4 กับสถาปัตยกรรมแบบทวิสต์ที่สวยงามไม่ซ้ำใครจนชนะรางวัลด้านการออกแบบจาก BCI Top 10 Architects 2017 Thailand และ Asia Pacific Property Award Architecture พรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยในการบริหารจัดการอาคารอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตรงความต้องการของนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์แบบ Work Hard, Play Harder (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   บลูฮิลล์ เปิดตัว "อากาศ วิลล่า เขาใหญ่" บลูฮิลล์ เขาใหญ่ ลุยตลาดนิชพรีเมียมรับปีใหม่ เปิดตัว อากาศ วิลล่า เขาใหญ่ คอนโดมิเนียมกึ่งวิลล่าสไตล์ Thai Modern Loft  มูลค่าโครงการกว่า 380 ล้านบาท  เพียง 23 ยูนิต บนทำเลใกล้กรุงเทพฯ ริมถนนผ่านศึก-กุดคล้า เดินทางสะดวกจากกรุงเทพฯ เพียง 2.30 ชั่วโมง คอนโดฯ ตกแต่งพร้อมอยู่ ขนาดเริ่มต้น 130 ตารางเมตร ในราคาเริ่มต้น 13.2 ล้านบาท  หรือประมาณ 92,000 บาทต่อตารางเมตร   นางสุพิณดา แท่นเพ็ชร์รัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท บลูฮิลล์ เขาใหญ่ จำกัด เปิดเผยว่า หลังประสบความสำเร็จกับการเปิดตัวคอนโดโลว์ไรส์ ภายใต้แบรนด์ “อากาศ เขาใหญ่” บริษัทพร้อมเปิดโครงการใหม่ล่าสุด “อากาศ วิลล่า เขาใหญ่” มูลค่าโครงการกว่า 380 ล้านบาท ชูไฮไลท์ คอนโดมิเนียมสไตล์วิลล่า 1 และ 2 ชั้น 3 อาคาร สุดเอ็กซ์คลูซีฟเพียง 23 ยูนิต ทุกห้องหันหน้ารับวิวทิวเขาสลับซับซ้อนแบบพาโนราม่า บนพื้นที่กว่า 4 ไร่ ตอบโจทย์ชีวิตที่อยากใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น เปิดรับความสดชื่นของธรรมชาติเข้ามาแทนที่ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในชีวิตประจำวัน   โครงการ อากาศ วิลล่า เขาใหญ่ วิลล่าสไตล์ Thai Modern Loft   ตกแต่งพร้อมอยู่จำนวน 23 ยูนิต แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ขนาด  130 - 145 ตารางเมตร จำนวน 12 ยูนิต และ 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ขนาด 145 - 195 ตารางเมตร จำนวน 11 ยูนิต (อ่านข่าวเพิ่มเติม)        
สรุปข่าวอสังหาริมทรัพย์รอบสัปดาห์ วันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2562

สรุปข่าวอสังหาริมทรัพย์รอบสัปดาห์ วันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2562

นับตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา วงการอสังหาริมทรัพย์ก็มีข่าวดี หลังจากรอคอยมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ ด้วยการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนจากเดิม 2% เหลือ 0.01% และลดค่าจดทะเบียนจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ให้มีผลบังคับใช้เสียที หลังจากเดิมที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาก่อนหน้า  แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะให้มีผลเมื่อไร โดยมาตรการดังกล่าวได้ประกาศกระทรวงมหาดไทยในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ถือว่าเป็นข่าวดีที่รอคอย ซึ่งทำให้เกิดบรรยากาศความคึกคักมากขึ้น  และเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาพรวมของตลาดอสังหาฯ เพราะดีเวลลอปเปอร์หลายราย เริ่มทำแคมเปญออกมารองรับ เพื่อสร้างยอดขายในช่วงเวลาสุดท้ายของปีนี้  แม้ระยะเวลาจะสร้างผลงานเหลือน้อยเต็มทีก็ตาม   ส่วนรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวอะไรเกิดขึ้นบ้าง ในแวดวงอสังหาฯ​ ตลาดบ้านและคอนโดฯ  ไปอัพเดทกันเลย เปิดทรู ไอคอน ฮอลล์ 2,000 ล้าน หลังการเดินทางของ “ไอคอนสยาม” ศูนย์การค้าบิ๊กโปรเจ็กต์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ครบรอบ 1 ปี  สิ่งต่างๆ ที่ได้ประกาศว่าจะดำเนินการออกมา ก็เป็นไปตามแผน ล่าสุด ได้เปิด “ทรู ไอคอน ฮอลล์” อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นศูนย์การประชุมและการจัดแสดงงาน และความบันเทิงต่างๆ แห่งใหม่ของประเทศไทย บนพื้นที่ 12,000 ตารางเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชั้น 7 และชั้น 8 ของโครงการไอคอนสยาม โดยถือเป็นศูนย์การประชุมที่ทันสมัยขนาดใหญ่แห่งแรกในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา   นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด เปิดเผยว่า ทรู ไอคอน ฮอลล์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของไอคอนสยาม คืออีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นความภาคภูมิใจของชาติ และเป็นศูนย์การประชุม การจัดแสดงงานและความบันเทิงที่ล้ำสมัยที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา ซึ่งจะดึงดูดงานประชุมและการแสดงที่สำคัญและเหนือระดับอย่างไม่เคยมีมาก่อน เข้าสู่ประเทศไทย โดยความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของ ทรู ไอคอน ฮอลล์ อยู่ที่ทัศนียภาพที่สวยงามอลังการแบบพาโนรามาของแม่น้ำเจ้าพระยา”   “การเปิดทรู ไอคอน ฮอลล์ จะเป็นตัวขับเคลื่อนที่ทรงพลังตัวใหม่ ที่มาช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมไมซ์ (Meetings, Incentives, Conventions & Exhibitions: MICE) ของไทยให้เติบโต รวมทั้งช่วยกระตุ้นการพัฒนาพื้นที่ฝั่งธนบุรีด้วย นอกจากนั้น ยังช่วยให้โรงแรมระดับ 4-5 ดาวริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีอัตราการเข้าพักสูงขึ้น ตอกย้ำความเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกแห่งใหม่ของแม่น้ำเจ้าพระยาได้เป็นอย่างดี”   กลุ่มทุนไต้หวันเดินหน้าลุยอสังหาฯ การเปิดตัวโครงการใหม่ ยังมีออกมาอย่างต่อเนื่อง และไม่ใช่เฉพาะผู้ประกอบการคนไทยเท่านั้น โครงการจากกลุ่มทุนต่างชาติก็มีออกมาต่อเนื่องเช่นกัน  เพราะยังคงมั่นใจในตลาดอสังหาฯ  เมืองไทย ล่าสุด กลุ่มทุนจากไต้หวัน ‘พีทีเอฟ เรียลตี้’ เปิดโครงการ  “MAYFAIR PLACE VICTORY MONUMENT ” มูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท ด้วยการชูจุดขายในเรื่องการันตีผลตอบแทน Yield 5% นาน 2 ปี นายถงหยุ่ย โทนี่ ยิ่ง กรรมการผู้บริหาร บริษัท พีทีเอฟ เรียลตี้ (2018) จํากัด ในเครือ พีทีเอฟ เรียลตี้ เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไทยว่า แม้ในปีนี้ตลาดจะอยู่ในภาวะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็ยังเชื่อมั่นว่าในอนาคตจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในอีก 1-2 ปี ข้างหน้า ในขณะเดียวกันตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย และประเทศไทยมีแนวโน้มการลงทุนที่ดี เมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน   สำหรับในส่วนของกลุ่มบริษัทพีทีเอฟ เรียลตี้นั้น ได้มีการลงทุนในธุรกิจอสังหาฯมาอย่างต่อเนื่องตลอดกว่า 10 ปีที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย แต่การลงทุนพัฒนาอสังหาฯของบริษัทฯนั้นจะเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ไม่หวือหวาซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมมาแล้ว 4 โครงการรวมมูลค่ากว่า 5,400 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการคอนโด เดอะ ราชดำริ, โครงการเมแฟร์ เพลส สุขุมวิท 64 ,โครงการเมแฟร์ เพลส สุขุมวิท 50 โดยทั้ง 3 โครงการดังกล่าวปิดการขายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการที่ 4 คือโครงการDEFINE by Mayfair สุขุมวิท 50 ปัจจุบันมียอดขายกว่า 60% จากมูลค่าโครงการ 800 ล้านบาท เริ่มก่อสร้าง ปี 2562 คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2563 (อ่านข่าวเพิ่มเติม) เปิดตัว “สมาคมไทยบิม” รับมือดิจิทัล เป็นเพราะเทคโนโลยี และดิจิทัลได้เข้ามามีส่วนสำคัญในชีวิตของคนปัจจุบันในทุกเรื่อง ส่งผลให้ทุกวงการต้องปรับตัวรับมือให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รวมถึงวงการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ไทยด้วย  โดยเฉพาะในเรื่องการออกแบบและการก่อสร้าง เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ  อย่างเช่นการออกแบบ 3 มิติ ที่ใช้คอมพิวเตอร์อย่าง “BIM” (Building Information Modeling) แต่เพื่อเป็นมาตรฐานและการยอมรับในระดับสากล จำเป็นต้องมีคนมาคอยตรวจสอบและกำกับดูแล ทำให้เกิดมีการจัดตั้งเป็นสมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (TBIM) ขึ้นมา   ศ.ดร.อมร พิมานมาศ ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะนายกสมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (TBIM) เปิดเผยว่า ในอนาคตเทคโนโลยีจะเข้ามา Disrupt ธุรกิจก่อสร้างมากยิ่งขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมก่อสร้างและงานออกแบบของไทยต้องเร่งพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพด้านงานออกแบบรองรับเศรษฐกิจยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นการปฏิรูปหรือปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยโฉมใหม่ทั้งระบบ เพื่อสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ทุกรูปแบบและองค์กรเติบโตก้าวทันกระแสการพัฒนาของโลก   เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่างชาติในปัจจุบันนี้กำลังเปลี่ยนโฉมงานออกแบบใหม่ไปสู่ระบบ 3 มิติ ด้วยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “BIM” (Building Information Modeling)  ซึ่งในขณะนี้กระบวนการ BIM ในประเทศไทย ยังไม่มีมาตรฐานการทำงานที่ชัดเจน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรกลาง คือ สมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Thai Building Information Modeling Association; TBIM) เพื่อช่วยสร้างกรอบการทำงาน และมาตรฐานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน   โดยระบบ BIM จะสร้างแบบจำลองเสมือนจริงใน Computer ทำให้ผู้ทำงานเกี่ยวข้องสามารถเห็นส่วนประกอบทุกส่วนตรงกัน โดย BIM จะสร้างเป็นโมเดล 3 มิติขึ้นมาพร้อมกับ Intelligent Information อาทิ รายละเอียดวัสดุ เพื่อคำนวนปริมาณวัสดุก่อสร้าง ปรับปรุงกระบวนการออกแบบก่อสร้างและคำนวนพลังงานที่จะใช้ในอาคาร สร้างแบบจำลอง หรือ Digital Prototype Model ที่เสมือนจริง และเปลี่ยนจากการสร้างแบบบนกระดาษมาสู่เทคโนโลยีดิจิทัลและประสานข้อมูลบน Cloud สะดวกในการทำงานนอกสถานที่โดยสามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง Tablet ได้อีกด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การส่งมอบอาคารที่มีคุณภาพสูงขึ้นจากมาตรฐานของตลาดในปัจจุบัน (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   เมืองไทยประกันชีวิต ลุยธุรกิจอสังหาฯ ดูเหมือนธุรกิจอสังหาฯ จะเป็นตลาดที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ ทำให้หลายคนอยากเข้ามาเป็นผู้ประกอกบการด้านอสังหาฯ ไม่เว้นแม้กระทั้งเมืองไทยประกันชีวิต ที่ได้กระโดดเข้ามาพัฒนาโครงการสำนักงานให้เช่า เพราะมองเห็นโอกาสจากความต้องการที่มีอยู่มากมาย ประกอบกับเคยมีประสบการณ์บริหารอาคารเมืองไทยภัทรมาก่อน ล่าสุด จึงเปิดตัวโครงการอาคารสำนักงาน 66 Tower (ซิคตี้ซิกส์ ทาวเวอร์)    นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL เปิดเผยว่า ได้ขยายธุรกิจมาสู่อสังหาริมทรัพย์  ด้วยการลงทุนพัฒนาโครงการอาคารสำนักงานเกรด A ภายใต้ชื่อ 66 Tower (ซิคตี้ซิกส์ ทาวเวอร์) มูลค่า 3,800 ล้านบาท บนเนื้อที่ 4 ไร่ อยู่บริเวณถนนสุขุมวิท 66 ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อุดมสุข 150 เมตร ปัจจุบันได้ก่อสร้างแล้ว 15% มีกำหนดแล้วเสร็จในไตรมาส 2 ปี 2564 (อ่านข่าวเพิ่มเติม) “ASA” จัดงาน ASA Real Estate Forum 2019 ปิดท้ายกับการจัดงานอาษา เรียลเอสเตท ฟอรัม 2019 ( ASA Real Estate Forum 2019 ) โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) ภายใต้คอนเซ็ปต์งาน  “เมืองอัจฉริยะ เมืองนวัตกรรม เมืองเพื่อทุกคน” ชวนทุกภาคส่วนร่วมวางรากฐานสร้างเมืองอัจฉริยะเมืองนวัตกรรม ชูการสร้างเอกลักษณ์เมือง (City Identity) เน้นความต่างเป็นจุดขายเพื่อพัฒนาเมืองแห่งอนาคตที่ยั่งยืน   นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ในการสร้างเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรมมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับคุณภาพของประชาชนอย่างตรงจุด โดยการนำเทคโนโลยีเข้าไปปรับใช้ พร้อมกับการออกแบบโครงสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัยให้เกิดประโยชน์การใช้สอยอย่างเต็มประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ มีอาชีพและวิถีชีวิตที่ต่างกัน ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรม จึงต้องสร้างเมืองที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว (City Identity) กำหนดทิศทางที่ชัดเจนและสอดรับกับความต้องการในพื้นที่   โดยที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการวางองค์ประกอบของเมืองอัจฉริยะใน 7 ด้าน ที่ช่วยให้แต่ละพื้นที่ มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 1. Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ 2. Smart Government การปกครองอัจฉริยะ 3. Smart Mobility การสัญจรอัจฉริยะ 4. Smart Energy พลังงานอัจฉริยะ 5. Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ 6. Smart Living การใช้ชีวิตอัจฉริยะ และ 7. Smart People ประชาชนอัจฉริยะ   ภายในงานมีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ผ่านงานสัมมนา อาทิ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมการผังเมืองไทย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) อีกทั้งในการจัดงานครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี บรรยายในหัวข้อ อนาคตประเทศไทย อนาคตเมืองนวัตกรรมสำหรับทุกคน และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี บรรยายในหัวข้อ Thailand : Country of Opportunities & Equality    
1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์

1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์

วันที่ 30 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา คือ วันครบรอบ 1 ปี ของการเปิดให้บริการ “ไอคอนสยาม” อภิมหาโปรเจ็กต์ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ของ 3 บริษัทระดับบิ๊ก ที่ร่วมกันปั้นโปรเจ็กต์นี้ขึ้น ได้แก่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์  และบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด  ด้วยมูลค่าการลงทุนสูงสุดในประวัติศาสตร์ถึง 55,000 ล้านบาท กับระยะเวลาการพัฒนาในระยะเวลา 5 ปี ​ เนรมิตโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้สำเร็จ   ย้อนหลังไป 7 ปีก่อน นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม  ได้ประกาศวิสัยทัศน์ไว้เมื่อว่าจะต้องพัฒนาโครงการให้สำเร็จ  พร้อมกับสร้างให้ไอคอนสยามเป็น Game Changer Destination ที่สามารถสร้างศูนย์กลางธุรกิจและการท่องเที่ยวกลางเมืองของกรุงเทพฯ อยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและฝั่งธนบุรีได้สำเร็จ   โดยตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา คงเป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จดังกล่าว ได้เป็นอย่างดี และบริษัทได้ทำภารกิจสำคัญตามวิสัยทัศน์ที่ประกาศไว้สำเร็จลุล่วงแล้วทุกประการ  ที่สำคัญโครงการไอคอนสยาม เป็นโครงการของบริษัทคนไทยสามารถดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทย ผ่านการลงทุนเปิดธุรกิจร้านต่างๆ ในโครงการ เป็นมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็น Apple Store สาขาแรกในประเทศไทย และ Luxury Brands ต่างๆ ที่แม้จะเปิดในประเทศไทยอยู่แล้ว แต่ก็ให้ความเชื่อมั่นและเปิดอีกสาขาระดับแฟล็กชิฟสโตร์ในไอคอนสยามได้ “เวลาผ่านพ้นมา 1 ปี  หลายร้านมีผลประกอบการที่ดี  และหลายร้านมียอดขายเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากสาขาสยามพารากอน”   นอกจากนี้ ไอคอนสยาม ยังสามารถสร้างสิ่งที่ถือว่าเป็น “ไฮไลท์” ของโครงการ แถมเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยว นักช้อปปิ้ง ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ  กับการสร้าง 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งไอคอนสยาม ที่ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จ  โครงการระดับบิ๊กเช่นนี้ (แม้จะมีสิ่งมหัศจรรย์บางอย่างไม่แล้วเสร็จ แต่ไม่ได้เริ่มต้นพัฒนาขึ้นแล้ว) 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งไอคอนสยาม ประกอบด้วย 1.สุขสยาม พื้นที่รวบรวม Local Heroes ศิลปิน ช่างฝีมือ ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในทุกมุมประเทศ ให้ได้มีโอกาสเข้ามาค้าขายในไอคอนสยาม ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา สุขสยามได้ดึงดูดผู้คนเข้ามาที่สุขสยามไม่ต่ำกว่า 50,000 – 70,000 คนต่อวัน  ยิ่งไปกว่านั้นผู้ประกอบการหลายรายได้เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวจนได้มีโอกาสไปทำธุรกิจในต่างประเทศแล้วอีกด้วย 2.ริเวอร์ พาร์ค จากปณิธานของไอคอนสยามในการอุทิศพื้นที่ในโครงการขนาดใหญ่ 10 ไร่ ให้เป็น Community Space วันนี้ริเวิอร์พาร์คได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญที่ชุมชนสามารถมาใช้ประโยชน์ได้เสมือนเป็นระเบียงหน้าบ้าน  มีการใช้พื้นที่ในการจัดประเพณีไทย 12 เดือน เต็มตลอดทุกเดือน เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อาทิ ประติมากรรมเทียนพรรษายักษ์ที่เดินทางมาจากจังหวัดอุบลราชธานีเข้าสู่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก กลายเป็น world class destination ที่สามารถดึงดูดผู้คนจากทั่วประเทศและทั่วโลก 3.การแสดงระบำสายน้ำ แสง สี เสียง มัลติมีเดีย การแสดงที่ยาวและยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้พิสูจน์ความสำเร็จแล้ว ในการทำให้แม่น้ำเจ้าพระยากลายเป็น New Global Destination ด้วยการมี World Class Attraction ที่ทรงพลัง ซึ่งนอกเหนือจากการดึงดูดผู้คนให้มาชมการแสดงได้อย่างล้นหลามแล้ว ล่าสุดการแสดงระบำสายน้ำ แสง สี เสียง มัลติมีเดีย ของไอคอนสยาม ยังได้รับคัดเลือกให้ได้รางวัลชนะเลิศ รางวัล Gold Stevie Award 2019 สาขา Art, Entertainment & Public - Art Event จาก The International Business Awards การประกวดธุรกิจนานาชาติประจำปี 2019 บนเวทีระดับโลก 4.ทรู ไอคอน ฮอลล์ ศูนย์การประชุมระดับโลกแห่งแรกในประเทศไทย บนชั้น 7 ด้วยความจุขนาด 2,700  ที่นั่ง  รองรับการจัดงานประชุม ด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และสามารถรองรับโชว์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศได้ซึ่งจะจุดประกายให้กับอุตสาหกรรม MICE และทำให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของการประชุมนานาชาติและการแสดงระดับชั้นนำของโลก 5.ริเวอร์ มิวเซียม แบงค็อก พื้นที่ศิลปะและพิพิธภัณฑ์ระดับโลกแห่งแรกในประเทศไทย โดยได้เปิดเฟสแรก ‘ไอคอนสยาม อาร์ท สเปซ’ เมื่อเดือนกันยายนศกนี้ พื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยทุกแขนงตั้งแต่ศิลปินรุ่นใหม่ ศิลปินท้องถิ่น ไปจนถึงศิลปินระดับชาติใช้แสดงผลงาน โดยงานแรก กลุ่มบริษัทโตชิบา ประเทศไทย ได้จัดนิทรรศการศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” งานแสดงผลงานจากประกวดศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ของศิลปินทั่วประเทศ ภายใน 1 เดือนถึงวันนี้มีผู้ชมงานมากถึง 100,000 คน   หลังจากนี้จะเปิดเฟสสองคือ ‘ริเวอร์ มิวเซียม ฮอลล์’ จะเป็นพื้นที่สำหรับการจัดแสดงงานสำคัญจากทั่วโลก และการร่วมมือกับแบรนด์ดังระดับโลก และส่วนสุดท้ายคือ ‘ริเวอร์ มิวเซียม แบงค็อก’ ซึ่งจะเป็นพิพิธภัณฑ์ระดับโลกแห่งแรกในประเทศไทยจะเปิดให้บริการปลายปี 2563 ทั้งหมดนี้จะทำให้กรุงเทพมหานครกลายเป็นจุดศูนย์กลางวงการศิลปะโลกอีกแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6.รถไฟฟ้าสายสีทอง ระบบคมนาคมขนส่งทางราง ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวผ่านถนนเจริญนครไปสิ้นสุดที่โรงพยาบาลตากสินรวม 3 สถานี และในอนาคตจะเป็น Feeder Line ที่เชื่อมเข้ากับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง ขณะนี้อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)  โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้กลางปี 2563   รถไฟฟ้าสายสีทอง จะเป็นรถไฟฟ้าสายแรกในประเทศไทยที่เปิดเดินรถโดยใช้ระบบ AGT (Automated Guideway Transit) ทำให้ก่อสร้างบนพื้นที่จำกัดได้ จึงไม่ต้องเวนคืนที่ดินของประชาชน อีกทั้งการเดินรถระบบนี้มีน้ำหนักเบา ส่งผลให้สามารถใช้โครงสร้างเสาขนาดเล็กกว่าระบบเดิม นอกจากนั้นตัวรถเป็นระบบล้อยาง ทำให้เวลาเดินรถเสียงจะเงียบกว่ารถไฟฟ้าแบบเดิม ลดผลกระทบด้านเสียง และ AGT ยังเป็นระบบเดินรถแบบไร้คนขับ (Driverless) ที่จะถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในเมืองไทย ควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะควบคุมระยะเวลาในการเดินรถได้อย่างแม่นยำและมีความปลอดภัยสูง 7.ปรากฏการณ์รวมโลกในรอยไทย  จากศิลปินไทยระดับอาจารย์ ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินท้องถิ่นจากทั่วประเทศไทย และรวมถึงผลงานสร้างสรรค์โดยศิลปินต่างชาติ ได้แสดงความสามารถและผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะซึ่งกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งโครงการกว่า 100 ชิ้น หรือแม้กระทั่งในร้านค้าต่างๆ เป็นการสนับสนุนผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินและช่างฝีมือไทยเหล่านั้นให้ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาโลก และจะยังมีเพิ่มเติมเข้ามาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอด 1 ปีของการเปิดดำเนินการ  โครงการไอคอนสยามยังได้รางวัลจากเวทีต่างๆ ทั่วโลก มาเป็นเครื่องการันตีความสำเร็จอีกมากายหลายรางวัล อาทิ  การได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะรางวัล ‘ออกแบบดีที่สุดในโลก’ จากสภาการค้าปลีกโลก (World Retail Congress) และคว้ารางวัลชนะเลิศสูงสุดด้าน ‘การออกแบบที่ดีที่สุด’ จากสมาคมศูนย์การค้าโลก (International Council of Shopping Centers – ICSC) ถือเป็น 1 ปี ของเส้นทางความสำเร็จที่สวยงามจริงๆ   ข้อมูลเพิ่มเติม ไอคอนสยาม
5  เหตุผลสำคัญ  ทำให้ทำเลย่านแจ้งวัฒนะเป็นทำเลธุรกิจใหม่ในอนาคต

5 เหตุผลสำคัญ ทำให้ทำเลย่านแจ้งวัฒนะเป็นทำเลธุรกิจใหม่ในอนาคต

ถนนแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันเริ่มมีความหนาแน่น ของการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม จากผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ จากก่อนหน้าทำเลในโซนนี้ มีการพัฒนาโครงการประเภทแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮม เพราะต้องยอมรับว่าบริเวณแถวแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด และนนทบุรี เป็นพื้นที่ชานเมืองราคาที่ดินยังไม่สูงมากนัก สามารถนำมาพัฒนาเป็นโครงการแนวราบได้    ปัจจุบันย่านแจ้งวัฒนะเริ่มมีความโดดเด่น และกำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งย่านสำคัญ ด้านเศรษฐกิจและการค้า จากการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ถือเป็นตัวกระตุ้นสำคัญ ซึ่งเมื่อระบบคมนาคมขนส่งสะดวกมากขึ้น การพัฒนารูปแบบต่างๆ ก็จะมีเข้ามามากขึ้นด้วยเช่นกัน    นายพนม กาญจนเทียมเท่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริเวณแจ้งวัฒนะเป็นทำเลศักยภาพที่มีความโดดเด่น เป็นย่านเศรษฐกิจและย่านธุรกิจการค้า มีโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานหลากหลายรูปแบบ ที่อยู่ระหว่างการวางแผนพัฒนาจากผู้ประกอบการรายใหญ่หลายราย ซึ่งได้เริ่มเข้ามาจับจองที่ดินบริเวณนี้ สิ่งที่ตอกย้ำให้ย่านแจ้งวัฒนะกำลังกลายเป็นย่านเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญในอนาคต คงมาจาก 5 เหตุผลนี้ 1.การพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้า ปัจจุบันแจ้งวัฒนะอยู่การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี  ปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้าง และกำหนดเปิดให้บริการประมาณปี 2564  อีกทั้งยังมีส่วนต่อขยายจากสถานีศรีรัช–เมืองทองธานี ที่ออกแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail)    โดยจุดเชื่อมต่อจะอยู่บริเวณสถานีศรีรัช  ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สายหลัก ไปทางทิศตะวันตก และเลี้ยวขวาเข้าสู่เมืองทองธานีไปตามซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 แนวทางเดียวกันกับทางพิเศษอุดรรัถยา ต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี ประกอบด้วยสถานีรับส่งผู้โดยสาร 2 สถานี ได้แก่ สถานี MT-01 ตั้งอยู่บริเวณอิมแพ็คชาเลนเจอร์ (Impact Challenger) และสถานี MT-02 ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของทะเลสาบเมืองทองธานี รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร   หากโครงการแล้วเสร็จจะเป็นการเพิ่มศักยภาพการเดินทางของประชาชน จากบริเวณถนนแจ้งวัฒนะเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่น และเป็นที่ตั้งของยูนิตงานต่างๆ ด้วย เช่น ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี เอสซีจี สเตเดี้ยม ธันเดอร์โดม และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูยังสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น 3 สาย คือ   1.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ (ปัจจุบันเปิดให้ใช้บริการอยู่) โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี   2.รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต  ปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้าง  และเปิดให้บริการประมาณต้นปี 2564 โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีหลักสี่   3.รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ  เป็นโครงการในอนาคต 2.ทำเลใกล้สนามบินดอนเมือง บริเวณแจ้งวัฒนะตั้งอยู่ใกล้สนามบินดอนเมือง  ซึ่งในปัจจุบันสนามบินดอนเมืองมี 2 อาคารคือ Terminal 1 และ Terminal 2 โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณปีละ 30 ล้านคน และในอนาคต บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้เตรียมแผนในการพัฒนาระยะที่ 3 (Terminal 3) และคาดว่าในอนาคตจะมีการเพิ่มเที่ยวบินและคาดว่าจำนวนผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการจะเพิ่มขึ้นถึงปีละ 40 ล้านคน และสูงถึง 50-60 ล้านคน  ในช่วงปี 2568-2573  ในส่วนการเดินทางทางน้ำบริเวณนี้ยังมีท่าเรือปากเกร็ด ซึ่งคอยรองรับการเดินไปยังส่วนต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร และยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เข้าถึงโดยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของรัฐบาลอีกด้วย 3.จุดศูนย์รวมยูนิตงานขนาดใหญ่ ทั้งรัฐและเอกชน ในย่านแจ้งวัฒนะถือว่ามียูนิตงานขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นจากภาครัฐหรือเอกชน โดยเฉพาะการมีศูนย์ราชการ สถานที่ซึ่งเป็นศูนย์รวมของยูนิตงานราชการสำคัญเอาไว้ ทำให้แต่ละวันมีคนจำนวนมากเดินทางเข้ามาในย่านนี้  เพื่อติดต่อราชการในยูนิตงานต่างๆ ไม่นับรวมกับจำนวนข้าราชการที่ทำงานในยูนิตงานต่างๆ อีกมหาศาล ยิ่งทำให้บริเวณดังกล่าวกลายเป็นแหล่งธุรกิจที่สำคัญมากยิ่งขึ้น 4.บิ๊กโปรเจ็กต์ ด้านศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมขนาดใหญ่ การพัฒนาโครงการเมืองทองธานี ตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งมีการพัฒนาศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชีย โดยมีพื้นที่รวมกว่า 140,000 ตารางเมตร โดยเฉพาะ อิมแพ็ค มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากจำนวนผู้ใช้บริการจัดงานแสดงสินค้า นิทรรศการ ประชุม-สัมมนา งานเลี้ยงสังสรรค์ งานแต่งงาน คอนเสิร์ต กิจกรรมพิเศษอื่นๆ หมุนเวียนจัดงานรวมกว่า 1,000 งานต่อปี และมีจำนวนผู้เดินทางมาเยือนกว่า 10 ล้านคน    ภายในโครงการเมืองทองธานี ยังมีการพัฒนาโครงการอีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า พื้นที่รีเทล โรงแรม คอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ อีกสารพัด ทำเมืองทองธานีมีความหนาแน่น ทั้งจำนวนประชากรผู้เข้ามาอยู่อาศัย และการติตต่อธุรกิจต่างๆ  ย่านแจ้งวัฒนะ ยังถูกเติมเต็มไปด้วยศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ บิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ แม็คโคร คอมมูนิตี้มอลล์ และโครงการอื่นๆ อีกหลายโครงการ 5.บิ๊กดีเวลลอปเปอร์แห่เข้าพัฒนาโครงการ ทำเลที่มีแนวโน้มเติบโต และกลายเป็นย่านสำคัญในอนาคต  ปัจจัยชี้วัดอีกประการ คือดูได้จากการเข้าไปพัฒนาโครงการของบิ๊กดีเวลลอปเปอร์ต่างๆ เพราะหากทำเลนั้นไม่มีศักยภาพเพียงพอ ดีเวลลอปเปอร์จะไม่เข้าไปจับจองพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการอย่างแน่นอน ปัจจุบันในย่านแจ้งวัฒนามีบิ๊กดีเวลลอปเปอร์หลายรายเข้าไปพัฒนาโครงการแล้ว อาทิ   กลุ่มบางกอกแลนด์ พัฒนาโครงการศูนย์การค้า คอสโม บาซาร์ พื้นที่รวม 80,000 ตารางเมตร มีทั้งโรงภาพยนตร์เครือเอสเอฟ ซีนีม่า ซิตี้ 5 โรง ซูเปอราร์เก็ต ฟิตเนสเซ็นเตอร์ ร้านค้า และร้านอาหาร กลุ่มบีแลนด์ยังวางแผนนำที่ดิน 600 ไร่ บริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี  พัมนาโครงการเลเชอร์ แอนด์ เอ็นเตอร์เท็นเมนท์ คอมเพล็กซ์ มูลค่า 5,000-6,000 ล้านบาทอีกด้วย   ความเคลื่อนไหวของบิ๊กดีเวลลอปเปอร์อื่นๆ ที่เริ่มเตรียมตัวเข้ามาพัฒนาโครงการในย่านแจ้งวัฒนะก็มีอีกหลายราย อาทิ  กลุ่มแอล.พี.เอ็น. ซื้อสนามฟุตบอลสยามสปอร์ต ขนาดที่ดิน 26 ไร่ กลุ่มเมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ซื้อตึกร้างในเมืองทอง เพื่อเตรียมพัฒนาเป็นโครงการคอนโดฯ กลุ่มพฤกษา เรียลเอสเตท ซื้อที่ดิน 170 ไร่ เพื่อเตรียมพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย และกลุ่มแสนสิริ ซื้อที่ดินบริเวณตลาดสวนมะลิ ขนาด 30 ไร่ เพื่อเตรียมพัฒนาโครงการคอนโดฯ  เปิดข้อมูลตลาดคอนโดฯ ย่านแจ้งวัฒนะ นอกเหนือจาก 5 เหตุผลสำคัญดังกล่าวแล้ว ทางไนท์แฟรงค์ ยังได้จัดทำผลวิจัยสนับสนุน ให้เห็นว่าย่านแจ้งวัฒนะมีอีกหนึ่งย่านสำคัญในด้านธุรกิจและตลาดที่อยู่อาศัย โดยรายงานว่า ตลาดคอนโดฯ บริเวณแจ้งวัฒนะในช่วงกลางปี 2562 ที่ผ่านมา  มีจำนวนทั้งสิ้น 18,942 ยูนิต โดยคอนโดฯ ในบริเวณนี้มีจำนวนห้องชุดใหม่เกิดขึ้นมากตั้งแต่ปี 2554 เนื่องจากมียูนิตงานราชการเริ่มย้ายสถานที่ทำการเข้ามาอยู่ในบริเวณศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ส่งผลให้ผู้ประกอบการหันมาซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการคอนโดฯ เพื่อรองรับ   แต่หลังจากเริ่มเปิดขายมากขึ้นในปี 2554  ในปีต่อมาพบว่า จำนวนห้องชุดใหม่เริ่มชะลอตัวลงและเพิ่มขึ้นสลับกันไปจนถึงปี 2561 และในปีนั้นเองได้เริ่มมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงมีนบุรี-แคราย จึงทำให้มีห้องชุดใหม่เปิดขายเพิ่มขึ้นมาเป็น 2,013 ยูนิต และครึ่งปีแรกของปี 2562 มีห้องชุดใหม่เปิดขายเพิ่มขึ้นมาจำนวน 1,838 ยูนิต และคาดว่าทั้งปี 2562 จะมีคอนโดฯ เปิดขายใหม่ในบริเวณนี้ประมาณ 3,000 ยูนิต กราฟแสดงอุปทานคอนโดมิเนียมบริเวณแจ้งวัฒนะ ปี 2554 ถึงกลางปี 2562 ช่วงกลางปี  2562 คอนโดฯ บริเวณแจ้งวัฒนะ มีจำนวนที่ขายไปแล้วประมาณ 12,271 ยูนิต จากจำนวนคอนโดฯ ที่เปิดขายทั้งสิ้น 18,942 ยูนิต คิดเป็นอัตราการขา 64.8% มีจำนวนคอนโดฯ เหลือขายประมาณ 6,671 ยูนิต จำนวนห้องชุดที่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมามีประมาณปีละ 1,350 ยูนิต เนื่องจากบริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีศักยภาพเป็นบริเวณธุรกิจใหม่ แวดล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่   โดยกลุ่มผู้ซื้อคอนโดฯ ในบริเวณนี้ คือ บุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ในย่านนี้ และผู้ปกครองนักเรียนและนักศึกษาที่ศึกษาในสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในบริเวณนี้ ที่สำคัญ ราคาคอนโดฯ ยังจับต้องได้ หากรถไฟฟ้าสายสีชมพูแล้วเสร็จการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ก็จะสะดวกมากยิ่งขึ้น  ราคาขายจึงมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย   นอกจากนี้ กลุ่มผู้ซื้อคอนโดฯ  ในบริเวณนี้  มักซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง และมีบางส่วนซื้อเพื่อปล่อยเช่า บางส่วนซื้อเก็บไว้เป็นทรัพย์สินโดยคาดว่าคอนโดฯ ในบริเวณแจ้งวัฒนะ มีระดับราคาที่สามารถปรับตัวขึ้นได้ในอนาคต ยิ่งเมื่อระบบรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างแล้วเสร็จ ย่อมทำให้ราคาขายคอนโดฯ ในบริเวณนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น กราฟแสดงอุปทาน อุปสงค์ และ อัตราการขายคอนโดมิเนียมบริเวณแจ้งวัฒนะ 2554 ถึงกลางปี  2562   การพัฒนาคอนโดฯ บริเวณแจ้งวัฒนะ ส่วนใหญ่เป็นระดับเกรดซี โดยระดับราคาขายเฉลี่ยของคอนโดฯ เกรดซี ช่วงกลางปี 2562 มีระดับราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 72,438 บาทต่อตารางเมตรเมตร ปรับตัวขึ้นจากปี 2554 ซึ่งมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 53,680 บาทต่อตารางเมตร ค่าเฉลี่ยการปรับตัวขึ้นของคอนโดฯ ในบริเวณนี้จากปี 2554 ถึง กลางปี 2562 มีค่าเฉลี่ยสะสมในการปรับตัวในระยะเวลา 7 ปี (Compound Annual Growth Rate:CAGR) อยู่ในอัตรา 5% ในปี 2562 เริ่มมีการพัฒนาคอนโดฯ เกรดบี บริเวณแจ้งวัฒนะ และราคาขายเฉลี่ยของคอนโดฯ เกรดบี บริเวณแจ้งวัฒนะอยู่ที่ 80,150 บาทต่อตารางเมตร ณ กลางปี 2562 กราฟแสดงราคาขายเฉลี่ยคอนโดมิเนียมบริเวณแจ้งวัฒนะ 2554 ถึงกลางปี  2562
สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 21-27 ตุลาคม 2562

สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 21-27 ตุลาคม 2562

เข้าสู่ช่วงท้ายปลายเดือนตุลาคมแล้ว นับช่วงเวลาของปี 2562 ก็คงเหลือเพียง 2 เดือนเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลานับถอยหลังของปีนี้แล้ว วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่สถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  กลับไม่ได้ฟื้นตัวเร็วอย่างที่คาดคิดไว้เลย แต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเรียกได้ว่า มีข่าวดีกับวงการธุรกิจอสังหาฯ  พอให้เป็นกำลังใจที่จะมาช่วยกระตุ้นตลาดให้ฟื้นตัวดีขึ้น ครม.ลดค่าโอน-จดจำนองเหลือ 0.01% ช่วงวันที่ 22 ตุลาคม 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติออกมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  ด้วยมาตรการลดภาระภาษีเพื่อที่อยู่อาศัย ให้กับประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาท สำหรับซื้อที่อยู่อาศัยตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงหาดไทยมีผลบังคับใช้  ยาวไปจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563   โดยมีการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนจากเดิม 2% เหลือ 0.01% และลดค่าจดทะเบียนการจำนองจากเดิม 1% เหลือ 0.01% เฉพาะการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท และการจดทะเบียนการโอน และการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ต้องดำเนินการในคราวเดียวกัน "คิวบ์”เตรียมตัวเข้าตลาด การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือเป็นการหาแหล่งเงินทุนได้ในต้นทุนที่ต่ำ หากเปรียบเทียบกับการระดมทุนในหลายแหล่งเงิน แถมยังทำให้ภาพลักษณ์ของบริษัทดูดีมากขึ้น หลายบริษัทจึงอยากเข้าไปจดทะเบียนแปลงสภาพกลายเป็นบริษัทมหาชน  บริษัท คิวบ์ เรียล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด  ถือเป็นหนึ่งในหลายบริษัทที่มีเป้าหมายเดินหน้าไปสู่ความเป็น “มหาชน” นังตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจมาตั้งแต่ช่วงปี 2533   นายวิชิต  อำนวยรักษ์สกุล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท คิวบ์ เรียล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด  เปิดเผยว่า ได้วางแผนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำเงินมาต่อยอดธุรกิจและพัฒนาโครงการ โดยจะเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 300 ล้านบาท  จากปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 165 ล้านบาท   ซึ่งได้วางแนวทางการพัฒนาโครงการในแต่ละปีนั้น บริษัทกำหนดกรอบการพัฒนาไว้ 4-6 โครงการมูลค่าประมาณ​2,000-2,500 ล้านบาท แต่ละโครงการจะมีจำนวนยูนิตเฉลี่ย 300 ยูนิต มีมูลค่าโครงการประมาณ 600-700 ล้านบาท บริษัทไม่เน้นการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่หลัก 1,000-2,000 ล้านบาท เนื่องจากเน้นกระจายความเสี่ยง และไม่ให้ธุรกิจมีความเสี่ยงมากเกินไป  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการคอนโดฯ เป็นหลักด้วยสัดส่วน 80-85% (อ่านข่าวเพิ่มเติม) “สิงห์ เอสเตท” ส่ง SHR เข้าตลาด  แต่สำหรับบริษัท สิงห์ เอสเตท  จำกัด (มหาชน) ได้ส่งบริษัทในเครืออย่าง “เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท” เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะนำเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก  (IPO) จำนวนไม่เกิน 1,473.456 ล้านหุ้น  กำหนดราคาขาย 5.10-5.50 บาทต่อหุ้น  โดยจะขายให้แก้ผู้ถือหุ้นของบริษัทเฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับจัดสรรหุ้น ระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม  และประชาชนทั่วไปในวันที่ 1-5 พฤศจิกายนนี้     นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้นำบริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ SHR ซึ่งดำเนินธุรกิจกลุ่มโรงแรมเตรียมขายหุ้น IPO ซึ่งนำเงินมาต่อยอดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อกิจการ การพัฒนาโครงการเอง หรือการรับบริหาร เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูง  แต่บริษัทมีงบลงทุนค่อนข้างจำกัด   ปัจจุบัน SHR มีโรงแรมทั้งหมด 39 แห่ง ใน 5 ประเทศ ภายใต้ 7 แบรนด์ รวมจำนวนห้องพัก 4,647 ห้อง เป้าหมายภายในระยะ 5 ปี หรือปี 2568 จะเพิ่มจำนวนห้องเติบโตปีละ 15% หรืออย่างน้อย 2 เท่า นั่นหมายว่าจะมีจำนวนโรงแรมรวมอย่างน้อย 80 แห่ง หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 9,000 ห้องเลย (อ่านข่าวเพิ่มเติม) BAM ได้ฤกษ์นับหนึ่ง IPO           บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM เป็นอีกหนึ่งบริษัทหลังจากที่บริษัทได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชน (IPO) ปัจจุบันสำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับหนึ่งแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบไฟลิ่งแล้วเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา     นายสมพร มูลศรีแก้ว กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM เปิดเผยว่า เชื่อมั่นว่า BAM มีศักยภาพ และจุดแข็งของบริษัท ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ  มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี มีแหล่งเงินทุนที่หลากหลาย ผลประกอบการที่แข็งแกร่ง โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีกำไรสุทธิต่อเนื่องปีละกว่า 4,500 ล้านบาท มีสินทรัพย์เติบโตเฉลี่ย 7% ต่อปี มีเครือข่ายทั่วประเทศมากที่สุดรวม 26 แห่ง บริษัทจึงน่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง (อ่านข่าวเพิ่มเติม) ศูนย์ข้อมูลฯ รายงานตลาดอสังหาฯ​ภาคเหนือ-ตะวันออก ปิดท้ายกับการจัดงานสัมมนาของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) รายงานตลาดที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขายในช่วงครึ่งแรกปี 2562 ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่  เชียงรายตาก และพิษณุโลก โดยนับเฉพาะโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ำกว่า 6 หน่วย พบว่า มีจำนวนโครงการที่ยังอยู่ระหว่างขาย 360 โครงการ มีจำนวนเหลือขาย 14,019 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าเหลือขาย 49,997 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 4.3%  11.1% และ 10.1% ตามลำดับ (ครึ่งแรกปี 2561 มี 345 โครงการ มีจำนวนยูนิตเหลือขาย12,616 ยูนิต มีมูลค่าเหลือขาย 45,402 ล้านบาท)   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ส่วนรายงานสรุปผลการสำรวจตลาดอสังหาฯ ในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่จังหวัดชลบุรี  ระยองตาก และฉะเชิงเทรา มีจำนวนโครงการที่ยังอยู่ระหว่างขาย 1,062 โครงการ มีจำนวนเหลือขาย 62,060 ยูนิต  คิดเป็นมูลค่าเหลือขาย 200,136 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 11.6% 12.2% และ 13.6% ตามลำดับ (ครึ่งแรกปี 2561 มี 952 โครงการ มีจำนวนหน่วยเหลือขาย 55,327 ยูนิต มีมูลค่าเหลือขาย 176,108 ล้านบาท)    
เปิด 8 กลยุทธ์ ปั้น “เซ็นจูรี่” จับตลาด Gen Z

เปิด 8 กลยุทธ์ ปั้น “เซ็นจูรี่” จับตลาด Gen Z

เดี๋ยวนี้ศูนย์การค้า หรือคอมมูนิตี้มอลล์ จะพัฒนาออกมาโดยขาดคอนเซ็ปต์ หรือจุดขาย คงยากจะประสบความสำเร็จ ในการดึงคนให้เข้าไปใช้บริการ   เพราะไปตรงไหนก็มีพื้นที่ให้คนได้เข้าไปสร้างประสบการณ์อยู่ทุกมุมเมือง ยิ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ พวก Gen Z ด้วยแล้ว เขาต้องการอะไรที่แปลกใหม่ และดึงดูดใจพวกเขาพอสมควร ดีเวลลอปเปอร์ต้อง “คิด” และ “ทำการบ้าน” แก้โจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าออกมาให้ได้ และตอบสนองพวกเข้าอย่างเต็มที่   สำหรับคอมมูนิตี้มอลล์ อย่างแบรนด์ “เซ็นจูรี่” ซึ่งแม้จะไม่ใช่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และมีจำนวนสาขามากมายเมื่อเทียบกับดีเวลลอปเปอร์เจ้าตลาด แต่ก็ถือว่าเป็นศูนย์การค้าที่บรรดากลุ่มคน Gen Z ให้ความนิยมไปเดินเล่น ใช้ชีวิตประจำวัน และใช้บริการต่างๆ ภายในศูนย์การค้า เฉลี่ยต่อวันมากกว่า 30,000 คน หรือเดือนละกว่า 1 ล้านคนเลยทีเดียว ในเซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า สุขุมวิท ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2561  ที่ถือเป็น 1 ใน 2 สาขาของเครือเซ็นจูรี่      “เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า สุขุมวิท” เป็นโครงการมิกซ์ยูสที่มีสินค้าและบริการ  ตอบทุกความต้องการและไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี  บนพื้นที่กว่า 6 ไร่ มีขนาดพื้นที่ของโครงการกว่า 70,000 ตารางเมตร พื้นที่พลาซ่า 42,000 ตารางเมตร และมีพื้นที่ให้เช่า10,000 ตารางเมตร เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2561 เป็นโครงการที่ 2 ต่อยอดความสำเร็จจากโครงการแรก ที่ “เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่  อนุสาวรีย์”  ซึ่งเปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2548   นางชาลินี เจริญสุข ประธานฝ่ายบริหาร ศูนย์การค้าและโรงภาพยนตร์ เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า  เล่าว่า ได้กำหนดให้แบรนด์เซ็นจูรี่  เป็น “ไลฟ์ไตล์ มอลล์”  ที่มีโรงภาพยนตร์เป็นของตัวเอง เพื่อตอบโจทย์คนยุคใหม่ Gen Z  ที่ต้องการความรวดเร็ว การไม่ได้พูดเกินความจริง  ปัจจุบันมีผู้เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์การค้าวันละ 30,000 คน ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่และผู้เริ่มต้นทำงาน     ความสำเร็จของแบรนด์เซ็นจูรี่ เกิดจากปัจจัยความสำเร็จต่างๆ ที่เป็น 8 กลยุทธ์สำคัญ  ได้แก่ 1.ทำเลติดรถไฟฟ้า “เซ็นจูรี่” ทั้ง 2 สาขา ตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้า ซึ่งลูกค้าสามารถเดินทางเข้าศูนย์การค้าได้โดยสะดวก มีทางเชื่อมต่อเข้าไปยังศูนย์การค้า ถือเป็นหัวใจสำคัญ ของความสำเร็จเบื้องต้น เพราะหากการเดินทางมายังศูนย์การค้าได้สะดวก ก็จะทำให้คนนิยมเดินทางมาใช้บริการ 2.เข้าใจไลฟ์สไตล์กลุ่มเป้าหมาย   กลุ่มเป้าหมายหลักของ “เซ็นจูรี่” คือ กลุ่มเริ่มต้นวัยทำงาน และกลุ่ม Gen Z ซึ่งมีพฤติกรรมที่เปิดกว้างทางความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง  มีแนวโน้มที่จะปรับทัศนคติได้ดี  มีความกล้าแสดงออก ชอบโชว์ มีความมั่นใจสูง ชอบทำงานหลายอย่างพร้อมกัน     ดังนั้นการสื่อสารการตลาด จึงใช้สื่อออนไลน์เป็นหลัก ทั้งเว็บไซต์ และโซเชี่ยลมีเดีย ไม่เพียงแต่ใช้ด้านการสื่อสารการตลาด แต่ยังจัดเก็บข้อมูล เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วย 3.ราคา สบายกระเป๋า ปัจจุบัน “ไลฟ์สไตล์ มอลล์” หรือผู้ให้บริการโรงภาพยนตร์ มีอยู่จำนวนมากและตั้งอยู่ในทุกโลเกชั่น การสร้างความแตกต่างของ “เซ็นจูรี่” คือ การใช้กลยุทธ์ ความคุ้มค่า  อาทิ  Member Card บัตรสำหรับคนรักหนัง ที่มีส่วนลดและสิทธิพิเศษต่างๆ  และ Century Student Card สำหรับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา อายุไม่เกิน 25 ปี 4.ปรับรูปแบบการขายให้โดนใจ เนื่องจากกลุ่ม Gen Z ชอบรวมกลุ่มจัดกิจกรรม แต่มักจะเลือกสถานที่จัดงานที่มีความแตกต่าง โรงภาพยนตร์ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกของพวกเขาเหล่านั้น  ซึ่งทางเซ็นจูรี่จึงเปิดให้บริการเช่าโรงภาพยนตร์แบบเหมารอบได้ พร้อมด้วยการบริการอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ด้วย  ปัจจุบันบริษัทมีรายได้จากการเช่าเหมาโรง สัดส่วน 20% 5.จัดโปรฯ ต่อเนื่อง อีกกลยุทธ์หนึ่งที่ต่อยอดเรื่องความคุ้มค่า คือ การจัดโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการในราคาที่คุ้มค่า และกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง อาทิ โปรฯ ใจบุญ  ทุกวันพระ ซื้อตั๋ว 2 ใบได้รับแถม 1 ใบ หรือโปรฯ หลบฝน หากเกิดฝนตก จะลดค่าตั๋วให้ 50%  เป็นต้น 6.กิจกรรมเอาใจ Gen Z   เพื่อให้ผู้ใช้บริการในศูนย์การค้าได้รับประสบการณ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการกิจกรรมเกิดขึ้นภายในศูนย์การค้าอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเซ็นจูรี่จะกิจกรรมออนไลน์  ด้วยการไลฟ์สดทุกวันพุธ และยังจัดกิจกรรมอื่นๆ ด้วย อย่างล่าสุดการแข่งขัน Century Cover Dance 2019 ครั้งที่ 2  เพื่อเปิดเวทีและโอกาสให้น้องๆ เยาวชน ได้มีเวทีแสดงความสามารถ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเพื่อให้เยาวชนหันมาสนใจด้านการแสดงออก 7.เพิ่มพื้นที่ตลาดไนท์มาร์เก็ต สร้างสีสัน แม้ว่าปัจจุบันการขายสินค้า เทรนด์จะเปลี่ยนไปสู่ตลาดออนไลน์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าลูกค้าส่วนใหญ่ ยังต้องการการเห็นสินค้าของจริง การมีหน้าร้านจึงยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพ่อค้าแม่ค้าในยุคปัจจุบัน เซ็นจูรี่จึงเชื่อมโลกทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน ผ่านกลยุทธ์ O2O (Online to Offline)  โดยเปิดพื้นที่ “ไนท์มาร์เก็ต” ให้บริการตั้งแต่เวลา 17.00 เป็นต้นไป  ให้เป็นแหล่งช้อปปิ้งย่านสุขุมวิท ที่รวบรวบสินค้าต่างๆ ไว้มากมาย 8.บริการครบ จบในที่เดียว ไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน นอกจากต้องการได้รับบริการที่สะดวกและรวดเร็วแล้ว  การได้รับบริการที่ครบ จบในที่เดียว ก็เป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการ  ทำให้เซ็นจูรี่มีให้บริการมากกว่าโรงภาพยนตร์  โดยมีทั้งท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต เพาเวอร์บาย  ฟู้ดคอร์ท ธนาคาร  โรงเรียนกวดวิชา ซาลอน  และอื่นๆ เพราะต้องการให้ลูกค้ามาใช้บริการได้ทุกวัน “ยุคนี้คนส่วนใหญ่ทำอะไรด้วยความรวดเร็ว และต้องเข้าถึงง่าย การไปศูนย์การค้า ยกตัวอย่าง มาที่นี่ ไม่เกินสิบนาที ต้องทำทุกอย่างได้เสร็จ  ซื้อกาแฟ  ของใช้ส่วนตัว แล้วไปต่อ  หรือระหว่างวัน จะมาทานอาหาร ทำเล็บ ทำผม หรือออกกำลังกาย ทำได้ครบหมด”   และนี่คงคือ 8 ปัจจัยความสำเร็จ ที่ได้ถูกวางเอาไว้เพื่อให้ “เซ็นจูรี่” สามารถยืนหยัดต่อสู้กับสมรภูมิค้าปลีก ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ค้าปลีกกระจายอยู่ทั่วทุกมุมเมือง เพราะการเดินทางโดยรถไฟฟ้าที่สะดวก และขยายออกไปทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ​ และปริมณฑล  แต่การบริหารศูนย์การค้ายุคปัจจุบันจะยั่งยืนแค่ไหน  คงต้องมีปัจจัยความสำเร็จอื่นๆ มาเพิ่ม รวมถึงการทำตลาดและพัฒนาศูนย์การค้าอย่างไม่หยุดยั้งด้วย
สรุปข่าวรอบสัปดาห์ วันที่ 14 -20 ตุลาคม 2562

สรุปข่าวรอบสัปดาห์ วันที่ 14 -20 ตุลาคม 2562

นอกจาก ดีเวลลอปเปอร์จะเร่งสร้างยอดขาย จากแคมเปญการตลาดต่างๆ ในช่วงปลายปีแล้ว  การเปิดโครงการใหม่ก็ยังคงมีออกมาอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมาด้วย  เพราะตอนนี้ต้องเร่งสปีดธุรกิจกันให้มากขึ้นแล้ว เดี๋ยวไม่ได้เป้าหมายตามที่หวังกันไว้   อนันดาเปิด 4 โครงการใหม่   บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN ได้เปิดตัว 4 โครงการใหม่ ภายใต้แบรนด์ไอดีโอ ในทำเล พร้อมพงษ์, พระโขนง, จุฬา-สามย่าน และจรัญสนิทวงศ์ มูลค่ารวมกว่า 13,000 ล้านบาท มาคราวนี้มุ่งเน้นการเปิดตัวในคอนโดมิเนียมที่เน้นความคุ้มค่า ทำราคาให้สอดคล้องกับสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน และกลุ่มเป้าหมายลูกค้า Gen Z     นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า   สำหรับทั้ง 4 โครงการ มั่นใจว่าสามารถจะสร้างยอดขายรวมในช่วงเปิดตัวโครงการ ได้กว่า 5,200 ล้านบาท และตั้งเป้ายอดขายประมาณ 40% ภายในปีนี้  จากปัจจุบันบริษัทฯ มียอด Backlog ประมาณ 33,200 ล้านบาท โดยในปีนี้จะรับรู้ยอดโอนราว 12,240 ล้านบาท แม้ในเดือนพฤศจิกายนนี้จะมีการลดเป้ายอดขาย  และยอดรับรู้รายได้ใหม่อีกครั้ง ตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งแม้จะมีความผันผวน   ขณะเดียวกันได้ปรับแผนเลื่อนเปิด 4 โครงการไปช่วงต้นปีหน้า ได้แก่ ไอดีโอ คิว พหลฯสะพานควาย มูลค่าโครงการ 10,000 ล้านบาท ที่ได้ยกเลิกการขายไปเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เนื่องจากราคาขายต่อตารางเมตรสูงกว่าตลาด ส่งผลให้ยอดขายถูกผลกระทบตามไปด้วย จึงจะมีการปรับโครงการใหม่ให้สอดรับกับผู้บริโภคมากขึ้น และยังมีโครงการในทำเล สุขุมวิท 59, ลำสาลี และทองหล่อ มูลค่ารวมทั้ง 4 โครงการนี้ 22,000 ล้านบาท ทั้งนี้ในปี 2562 เมื่อได้มีการปรับยอดขายลงจาก 10 โครงการ มูลค่ารวม 38,000 ล้านบาท เหลือ 6 โครงการ มูลค่ารวม 16,000 ล้านบาท   เดอะเนสท์ เปิดโปรเจ็กต์ "จุฬาฯ-สามย่าน"   สำหรับกลุ่ม พี.เอ็ม. กรุ๊ป ได้เปิดตัวโครงการ  “เดอะเนสท์ จุฬาฯ – สามย่าน” คอนโดมิเนียม 8 ชั้น 2 อาคาร รวม 332 ยูนิต ในซอยจินดาถวิล ถนนพระราม 4 บนที่ดินกว่า 2 ไร่ ขนาดพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 21.14-49.39 ตารางเมตร มีพื้นที่จอดรถ 40 % ห่างจาก MRT สถานีสามย่าน 600 เมตร มูลค่าโครงการประมาน 1,500 ล้านบาท เริ่มก่อสร้าง ไตรมาส 1 ปี2563 คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ปี 2564 โดยตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 50% ในวันพรีเซล 26-27 ตุลาคม 2562     นางสาวอุษณา มหากิจศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะเนสท์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่ม บริษัท พี.เอ็ม. กรุ๊ป เปิดเผยว่าจากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน เชื่อว่าไม่ได้ส่งผลให้ราคาคอนโดมิเนียมลดลง แต่อยู่ในภาวะทรงตัว ซึ่งมองว่าเป็นวัฏจักรปกติของธุกิจ  เพียงแต่ผู้ประกอบการต้องมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นในการ พัฒนาโครงการออกมาให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ในราคาที่เหมาะสม ในแง่ของผู้บริโภคเองก็ถือเป็นโอกาสที่จะสามารถได้สินค้าราคาดีเอาไว้ (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   ทุนจีน เดินหน้าปั้น 4 โปรเจ็กต์ 22,500 ล้าน     ไม่เพียงแต่ดีเวลลอปเปอร์คนไทยเท่านั้น ที่ยังคงมั่นใจตลาดอสังหาฯ และเปิดตัวโครงการใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับกลุ่มดีเวลลอปเปอร์จากจีน ก็เห็นไปในทิศทางเดียวกัน  ซึ่งเชื่อว่าตลาดเมืองไทย ยังมีดีมานด์อีกจำนวนมาก จากคนย้ายเข้ามาหางานในเมือง เศรษฐกิจมีแนวโน้มขาขึ้น  จึงได้ลงทุนกว่า 22,500 ล้าน พัฒนาโครงการคอนโดฯ ออกมาทำตลาดถึง 4 โปรเจ็กต์  ในอนาคตยังเตรียมที่ดินอีก 100 ไร่ เพื่อพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสออกมาอีกด้วย   นายเฉิน ซู่เฟิง ประธานกรรมการประจำภูมิภาค บริษัท ไฮไชน์ ดีเวลลอปเม้นท์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า  ได้ร่วมทุนกับนักธุรกิจคนไทยพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย เนื่องจากมองเห็นศักยภาพตลาดอสังหาฯ ที่เชื่อว่ายังมีความต้องการอยู่เป็นจำนวนมาก จากการขยายตัวของเมือง ซึ่งทำให้มีแรงงานจากต่างจังหวัดเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  ที่ถือว่าเป็นความต้องการที่แท้จริง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโต (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   CPN ลุยปั้นโปรเจ็กต์ใหม่ พร้อมปรับโฉม-รีโนเวต 14 ศูนย์     การพัฒนาโครงการอสังหาฯ​ ไม่ได้มีแต่โครงการที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่รูปแบบโครงการประเภทศูนย์การค้า  ดีเวลลอปเปอร์ก็เตรียมพัฒนาออกมาอย่างต่อเนื่อง อย่าง CPN หรือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)  ได้ประกาศแผนธุรกิจออกมาเตรียม พัฒนาโครงการใหม่ออกมาอีก 3 โปรเจ็กต์ พร้อมกับปรับโฉมโปรเจ็กต์เดิมอีก 2  และยังรีโนเวตศูนย์การค้าเดิมอีก 12 แห่ง ซี่งเตรียมเงินลงทุนสำหรับแผนธุรกิจภายในปี 2565 นี้ไว้ถึง 22,000 ล้านบาท (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   คนไทยแห่ซื้ออสังหาฯ อังกฤษ   นอกจาก ตลาดอสังหาฯ ในเมืองไทย ที่ยังคงเป็นที่ต้องการของลูกค้า ทั้งชาวไทยและต่างชาติแล้ว อสังหาฯ ในต่างแดนก็ยังได้รับความสนใจ เกิดการเข้าไปจับจอง ไม่ว่าจะอยู่เองหรือจะลงทุนก็ตาม อย่างประเทศอังกฤษที่ถือว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่มีชาวไทยเข้าไปจับจอง  แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีปัญหาเบร็กซิท แต่ดูเหมือนว่าไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อตลาดอสังหาฯ ในอังกฤษซักเท่าไร ปัจจุบันยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยมากถึง 70,000 ยูนิต แต่มีการพัฒนาออกมาเพียง 40,000 ยูนิตเท่านั้น     นายแฟรงค์ ข่าน กรรมการบริหาร หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านที่พักอาศัย บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า อสังหาริมทรัพย์ในประเทศอังกฤษ  เริ่มกลับมาฟื้นตัวซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะความต้องการที่อยู่อาศัยมีสูง ทั้งจากคนในประเทศและชาวต่างชาติ ที่เข้าไปเรียนและทำงานจำนวนมาก แต่ปัจจุบันจำนวนที่อยู่อาศัยที่พัฒนาออกมาน้อย   โดยในปีนี้บริษัทได้เป็นตัวแทนขายอสังหาฯ ในประเทศอังกฤษ ให้กับกลุ่มคนไทยได้แล้ว 8 ราย มูลค่า 14.6 ล้านปอนด์ หรือประมาณ​569.4 ล้านบาท  ซึ่ง 7 รายเป็นบุคคลทั่วไป ที่ซื้อคอนโดฯ ยูนิตในราคา 900,000 -1.6 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 35-62.4 ล้านบาท และมี 1 รายเป็นบริษัทที่ซื้อเพื่อการลงทุนจำนวน 16 ยูนิต  และบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาอีก 10 รายที่จะซื้ออสังหาฯ​ ในอังกฤษด้วย มีระดับราคาตั้งแต่ 600,000-2 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 23.4-78 ล้านบาท ซึ่งมีหนึ่งรายต้องการซื้ออสังหาฯ มูลค่ามากถึง 36 ล้านปอนด์ หรือกว่า 1,404 ล้านบาท (อ่านข่าวเพิ่มเติม)