Infographic

 

Infographic ล่าสุด

1 ... 6 7 8 ... 13
ลดความร้อนที่ผนังก่ออิฐฉาบปูนได้อย่างไรบ้าง

ลดความร้อนที่ผนังก่ออิฐฉาบปูนได้อย่างไรบ้าง

การลดความร้อนที่ผนังบ้าน นับเป็นอีกหนึ่งในองค์ประกอบของการทำบ้านเย็น และบ้านประหยัดพลังงาน สำหรับเมืองร้อน  โดยหลักแล้วการทำให้ผนังบ้านร้อนน้อยลงมีอยู่ 2 วิธี  วิธีแรกเป็นการ “ปกป้องผนังจากแสงแดด” กับอีกวิธีคือ “ทำให้ผนังกันความร้อนได้มากขึ้น” การปกป้องผนังจากแสงแดดทำได้โดยสร้างร่มเงาเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ ติดตั้งหลังคากันสาด   แผงบังแดด  ระแนงกันแดด เป็นต้น ภาพ: แผงบังแดดตามทิศต่างๆ ของบ้าน ส่วนการทำให้ผนังกันความร้อนได้มากขึ้นนั้น โดยทางทฤษฎีก็คือ การเพิ่ม “ค่ากันความร้อน” ให้กับผนัง  ซึ่งจะทำให้ความร้อนผ่านผนังเข้ามาในบ้านได้น้อยลง ค่ากันความร้อนของวัสดุจะวัดเป็นตัวเลขได้ในรูปของ  ค่า R (มีหน่วยเป็น m2K/W) โดยค่า R ยิ่งสูงยิ่งกันความร้อนได้มาก ปกติแล้วผนังก่ออิฐมอญฉาบปูน 2 ด้าน หนา 10 ซม. จะมีค่า R = 0.3 m2K/W  ทั้งนี้การนำวัสดุอื่นๆ ที่ช่วยกันความร้อนได้มาติดตั้งกับผนังก่ออิฐฉาบปูน ไม่ว่าจะเป็น แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้ฝา ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว ก็จะทำให้ค่า R ของผนังเพิ่มขึ้น ภาพ: ค่า R ของระบบผนังต่างๆ วิธีที่แนะนำทั่วไปในการเพิ่มค่ากันความร้อนให้กับผนังบ้านที่เป็นก่ออิฐฉาบปูน คือ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้ว ไว้ที่ผนัง โดยมีขั้นตอนคือ ให้ตีโครงคร่าวเหล็กกล่องบนผนัง แล้วนำฉนวนกันความร้อนใยแก้วติดตั้งระหว่างช่องโครงคร่าว จากนั้นปิดทับด้วยไม้ฝา ไม้เทียม หรือวัสดุแผ่นอย่างแผ่นยิปซั่ม (เฉพาะกรณีติดตั้งฝั่งภายในบ้าน) แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ แผ่นไม้อัดซีเมนต์ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ผนังนั้น จะติดตั้งไว้ฝั่งภายนอกบ้านหรือภายในบ้านก็ได้  หากเลือกติดตั้งฝั่งภายในบ้าน ความหนาของฉนวนและวัสดุปิดทับจะทำให้พื้นที่ในบ้านลดลง แต่ก็มีข้อดีคือ สามารถเลือกใช้วัสดุปิดทับได้หลากหลายและมีลูกเล่นเยอะกว่าการติดตั้งฉนวนไว้ภายนอกซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องวัสดุปิดทับที่ต้องทนแดดทนฝน และยังต้องป้องกันไม่ให้น้ำรั่วไหลเข้าไปในผนังได้ ภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ผนังด้านนอก และปิดทับด้วยไม้ฝาแนวนอน ภาพ: กรณีเป็นผนังด้านใน จะสามารถติดตั้งไม้ฝาในแนวตั้งได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำรั่วเข้าในผนัง บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
ผนัง Precast สามารถเจาะเพิ่มช่องประตูหรือหน้าต่างได้หรือไม่

ผนัง Precast สามารถเจาะเพิ่มช่องประตูหรือหน้าต่างได้หรือไม่

“Precast Concrete” ระบบผนังคอนกรีตสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในวงการก่อสร้างปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงการหมู่บ้านและคอนโดมิเนียมต่างๆ ด้วยความที่ช่วยประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนในการก่อสร้างได้พอสมควร แต่สำหรับผู้อยู่อาศัยที่เมื่อใช้ชีวิตอยู่ในบ้านไปสักระยะหนึ่งแล้ว หากต้องการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยบางส่วนที่ส่งผลให้ต้องเจาะผนังเพิ่มเพื่อขยายขนาดช่องเปิดหรือเพิ่มช่องประตูหน้าต่างใหม่ด้วยแล้ว อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ภาพ:  กระบวนการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ มีความถูกต้องแม่นยำทั้งเรื่องตำแหน่งและขนาดช่องเปิดจากโรงงาน พร้อมบริการขนส่งไปยังไซต์งานบ้านลูกค้า ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า Precast เป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จที่ขึ้นรูปมาจากโรงงานพร้อมติดตั้งที่หน้างานจริง ทำหน้าที่เป็นผนังรับน้ำหนักโดยไม่ต้องมีโครงสร้างเสาคานมารองรับ มีช่องประตูหน้าต่างที่เจาะสำเร็จมาจากโรงงาน ส่วนที่ไม่ได้เจาะช่องเปิดนั้นจะมีเสาเหล็กเดินอยู่ภายในตามจำนวนและขนาดที่วิศวกรได้คำนวณไว้เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักบ้านทั้งหลังได้อย่างแข็งแรง การเจาะผนังบางส่วนออกจึงอาจจะเจอเหล็กเส้นที่เดินอยู่ภายในผนังนั้นๆ และการจะตัดเหล็กบางส่วนออกก็จะมีผลกระทบกับโครงสร้างโดยรวมทั้งหลังได้ จึงไม่แนะนำให้เจาะช่องเปิดเพิ่มเพื่อทำประตูหน้าต่าง แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องทำจริงๆ ก็ควรปรึกษาวิศวกรโครงการเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ ภาพ:  ผนังสำเร็จรูป Precast เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบ้าน ภาพซ้าย: ผนัง Precast ซึ่งทำหน้าที่เป็นผนังรับน้ำหนัก  ภาพขวา: ผนังก่ออิฐฉาบปูน ดังนั้นเมื่อเราตัดสินใจจะซื้อบ้านสักหลัง นอกจากรูปแบบที่ใช่ สไตล์ที่ชอบ ฟังก์ชันใช้สอยภายในบ้านตอบโจทย์เราได้ดีแล้ว ยังควรศึกษาเพิ่มเติมว่าบ้านที่เราจะซื้อเป็นระบบใด เพราะหากโครงการบ้านจัดสรรก่อสร้างด้วยระบบ Precast การจะเปลี่ยนจะปรับหรือจะเจาะช่องเปิดเพิ่มคงไม่ง่ายนัก และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องคำนึงคือบ้านต้องมีการก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน แข็งแรงทนทาน ให้เราสามารถอาศัยอยู่ได้อย่างสบายใจตราบนานเท่านาน บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
หน้าต่างวงกบและบานกรอบไม้ไม่เก็บเสียง แก้ไขอย่างไร?

หน้าต่างวงกบและบานกรอบไม้ไม่เก็บเสียง แก้ไขอย่างไร?

สำหรับบ้านเก่าที่ใช้ประตูหน้าต่างไม้ไม่ว่าจะเป็นบานเปิด บานติดตาย หรือบานเกล็ดนั้น ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเสียงเล็ดลอด สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะประตูหน้าต่างไม้รุ่นเก่ามักไม่มีขอบยางกันเสียงที่ช่วยให้ปิดได้มิดชิด (ต่างกับประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม ไวนีล และหน้าต่างไม้บานติดตายแบบใหม่ที่มีการใช้ซิลิโคนยิงวงกบไม้เข้ากับกระจก)  วิธีที่ช่วยลดเสียงรบกวนได้คือการทำให้รอยต่อมิดชิดมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเสริมเส้นยางตลอดแนววงกบ  หรือติดตั้งไม้ชิ้นบังช่องรอยต่อหน้าต่าง ภาพ: การทำรอยต่อบริเวณหน้าต่างให้มิดชิดเพื่อป้องกันเสียง อีกปัจจัยที่ทำให้เสียงรบกวนลอดเข้ามาในบ้านคือ “สภาพของหน้าต่าง” เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่ยืดหดและผุพังได้ง่ายจากสภาวะอากาศ ทั้งแดด ฝน ความชื้น และยังเป็นอาหารของปลวกอีกด้วย เมื่อใช้งานไปนานจึงมักเกิดรอยผุหรือรอยแยกเป็นช่องทางให้เสียงจากภายนอก ลอดเข้ามารบกวน และยังทำให้อากาศในบ้านรั่วไหลออกได้จนทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น สำหรับวิธีแก้ไข   กรณีเกิดรอยรั่วตามรอยต่อระหว่างวงกบไม้กับผนังให้อุดด้วยวัสดุยาแนว เช่น โพลียูริเทน อะคริลิก เป็นต้น หากเป็นรอยผุหรือรอยรั่วเพียงเล็กน้อยตามชิ้นวงกบหรือบานกรอบไม้ สามารถซ่อมแซมโดยใช้กระดาษทรายหรือแปรงขัดบริเวณรอยผุพังให้เรียบ แล้วอุดด้วยวัสดุโป๊วก่อนจะแต่งผิวและทาสีทับให้ดูเรียบเนียนไปกับเนื้อไม้ (หากวัสดุอุดโป๊วผสมสีมาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทาสี) หรือจะใช้อีกวิธีคือตัดชิ้นไม้มาเปลี่ยนแทนส่วนที่ผุพังตามความเหมาะสม   ในขณะเดียวกัน หากวงกบหรือบานกรอบไม้อยู่ในสภาพไม่เหมาะจะซ่อม  เช่น  ผุพังมาก เป็นเชื้อรา หรือกรณีหน้าต่างเดิมเป็นบานเกล็ดซึ่งเสียงลอดเข้าตามรอยต่อกระจกได้ง่าย  อาจลองพิจารณาเปลี่ยนหน้าต่างใหม่โดยเลือกติดตั้งหน้าต่างกันเสียง  อย่างหน้าต่างไวนีลที่มีระบบ Multiple Lock พร้อมยางกันเสียงซีลรอบบาน เป็นต้น   ภาพ: หน้าต่างไวนีล ที่มีลักษณะช่วยกันเสียงรบกวนจากภายนอก   สำหรับบ้านก่ออิฐฉาบปูน การเปลี่ยนบานหน้าต่างพร้อมบานกรอบไม้อาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ถ้าต้องเปลี่ยนวงกบ ด้วยจะยุ่งยากและใช้เวลามากกว่า เพราะโดยธรรมชาติของวัสดุปูนจะยึดกับวงกบไม้อย่างแน่นหนา จึงรื้อถอนได้ยากและมักทำให้ผนังเสียหายจนต้องซ่อมแซม โดยต้องรอให้ปูนแห้งอีกอย่างน้อย 1 วัน ก่อนจะติดตั้งวงกบตามด้วยบานหน้าต่างใหม่ได้ ดังนั้นในการเปลี่ยนวงกบไม้สำหรับบ้านก่ออิฐฉาบปูน เจ้าของบ้านควรให้ความสำคัญในการเลือกทีมช่างที่มีความชำนาญและประณีตมาเป็นผู้ดำเนินงานรื้อถอนและติดตั้ง   บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​                   
เมื่อชักโครก น้ำรั่วไม่หยุด ต้องแก้ไขอย่างไร?

เมื่อชักโครก น้ำรั่วไม่หยุด ต้องแก้ไขอย่างไร?

เคยมั้ย…ที่แม้ไม่ได้ใช้น้ำหรือใช้งานโถสุขภัณฑ์ แต่มิเตอร์หรือปั๊มน้ำก็ทำงานไม่ยอมหยุด หรือบางครั้งได้ยินเสียงน้ำไหลในโถสุขภัณฑ์ตลอดเวลา หากเจอกับปัญหานี้ มีวิธีเช็คและแก้ไขเบื้องต้นด้วยตนเองไม่ยาก เมื่อชักโครก น้ำรั่ว ให้เริ่มจากสังเกตลูกลอยว่ามีปัญหาเหล่านี้หรือไม่ ระดับลูกลอย ว่าอยู่สูงหรือต่ำกว่าปกติหรือไม่ หากลูกลอยอยู่สูงกว่าปกติ คืออยู่สูงกว่าระดับน้ำล้นในโถกักเก็บน้ำ แสดงว่าน็อตบางตัวหลวมหรือคลายตัว ให้แก้โดยปรับลูกลอยให้ต่ำลงและทำการขันน็อตให้แน่น หากลูกลอยลดระดับลงต่ำผิดปกติหรือลูกลอยจมน้ำ ให้ถอดลูกลอยออกมาดูว่าเกิดรอยรั่วหรือการแตกร้าวหรือไม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้น้ำซึมเข้าไปในลูกลอย ทำให้น้ำไหลออกทางรูน้ำล้นลงโถสุขภัณฑ์ตลอดเวลา ซึ่งควรแก้ไขโดยขันสกรูเอาลูกลอยออกแล้วเปลี่ยนอันใหม่แทน ลูกลอยเสีย ให้ลองยกลูกลอยขึ้นสุด หากน้ำยังคงไหลอยู่ แสดงว่าลูกลอยเสีย ให้เปลี่ยนลูกลอยใหม่ ภาพ: ชื่อเรียกส่วนประกอบต่างๆ ในหม้อน้ำของโถสุขภัณฑ์ สังเกต ลูกกบ (ที่หน้าที่ปิดเปิดรูปล่อยน้ำให้ไหลลงสุขภัณฑ์) และ ยางลูกกบ (แผ่นยางปิดรูปล่อยน้ำ ทำหน้าที่ซีลหรืออุดร่องระหว่างลูกกบและช่องเปิดปิดน้ำให้แน่นแนบสนิทมากขึ้น) ลูกกบถูกเปิดง้างทิ้งไว้หรือไม่ โดยดูว่าอาจเพราะมีวัตถุบางอย่างติดค้างทำให้ปิดไม่สนิทจนน้ำไหลทิ้ง แก้โดยเอาวัตถุนั้นออกหรือเช็ดทำความสะอาด หากไม่มีวัตถุผิดสังเกตที่ว่า ให้ดูว่าโซ่หรือเชือกที่ดึงเพื่อเปิดปิดน้ำนั้นตึงเกินไปจนทำให้ลูกกบเปิดค้างไว้หรือไม่ แก้โดยปรับสายให้พอดี ไม่ให้ตึงหรือหย่อนเกินไป ลูกกบชำรุดหรือฉีกขาด ต้องทำการเปลี่ยนใหม่ทันที สำหรับลูกกบใหม่ลองนำมาวางปิดรูปล่อยน้ำก่อน ว่าสามารถปิดรูปล่อยน้ำได้สนิทดีหรือไม่ จึงค่อยยึดเข้ากับโซ่หรือเชือกดึง แผ่นยางลูกกบ หรือยางซีลลูกกบปิดไม่สนิท  มักเกิดจาก ข้อแรก มีตะไคร่หรือคราบสกปรกเกาะอยู่ แนะนำให้ถอดออกมาทำความสะอาดและติดตั้งกลับเข้าไปใหม่ ข้อสอง เสื่อมสภาพหรือชำรุด ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภายนอกที่ผิดปกติ บิดเบี้ยว บวม เปื่อย หรือขาด ทำให้ยางปิดไม่สนิทดี แนะนำให้เปลี่ยนแผ่นยางใหม่ ภาพ: ลูกกบ และ ยางลูกกบ บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​  รวมวิธีซ่อมแซมบ้านได้ด้วยตัวเอง ซ่อมแซมห้องน้ำใหม่อย่างไร ให้รวดเร็ว จบงานภายใน 1 วัน! วิธีแก้ปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้าน สาเหตุและวิธีรับมือปัญหารั่วซึมจากพื้นห้องน้ำ
ฟ้าใสหลังฤดูฝนผ่านไป ก็ได้เวลารีโนเวทบ้าน

ฟ้าใสหลังฤดูฝนผ่านไป ก็ได้เวลารีโนเวทบ้าน

บ้านของเรามักเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นสภาพที่ดูทรุดโทรมลง ส่วนประกอบต่างๆ เสื่อมชำรุดต้องซ่อมแซม อยากเปลี่ยนบรรยากาศหรือปรับพื้นที่เพื่อรองรับการใช้สอยซึ่งต่างไปจากเดิม การรีโนเวทบ้านจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ทั้งนี้ หลังฤดูฝนนับเป็นอีกช่วงเวลาที่เหมาะกับการรีโนเวทบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมบ้าน ปรับปรุงบ้านและอาจรวมถึงการต่อเติมบ้าน ด้วยดินฟ้าอากาศที่เป็นใจ เอื้ออำนวยต่อทั้งการทำงาน การขนส่ง และการจัดเก็บวัสดุ รีโนเวทตรวจซ่อมบ้านหลังหน้าฝน คงมีเจ้าของบ้านจำนวนไม่น้อยที่อยากจะจัดการปัญหารั่วซึม ซึ่งก่อกวนใจตลอดช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา โดยเฉพาะปัญหาหลังคาบ้านรั่ว หากเป็นหลังคาดาดฟ้าคอนกรีตมักหาจุดรั่วซึมได้ง่าย ถ้าเป็นรอยรั่วซึมขนาดเล็กก็สามารถสกัดและอุดซ่อมด้วยปูน Non-Shrink Grout ได้ แต่หากรอยแตกร้าวมีขนาดใหญ่เสียหายมากจนเหล็กเสริมเป็นสนิมขุม ควรปรึกษาวิศวกรเพื่อหาทางแก้ไขที่ปลอดภัย สำหรับหลังคารูปทรงต่างๆ ที่ไม่ใช่หลังคาดาดฟ้าคอนกรีตนั้น ให้ลองหาจุดรั่วซึมเบื้องต้นโดยเปิดฝ้าเพดานแล้วมองหาจุดที่แสงลอดเข้ามาได้ หากไม่พบให้ลองสังเกตคราบน้ำตามโครงสร้างเพื่อย้อนไปหาตำแหน่งรั่วซึมที่แท้จริง (บางครั้งอาจมาจากหลังคาทาวน์โฮมเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน) ปัญหาหลังคาบ้านรั่วลักษณะนี้ มักต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบหาวิธีแก้ไข ซ่อมแซม หรือปรับปรุงที่เหมาะสม ภาพ: ปัญหาหลังคาบ้านรั่ว อาจเกิดจากกระเบื้องหลังคาแตกร้าว หลุดเผยอ หรือรั่วซึมตามรอยต่อต่างๆ ของหลังคาดังภาพ รอยร้าวตามผนังก็เป็นอีกช่องทางให้น้ำรั่วซึมเข้าบ้านได้ ส่วนใหญ่มักพบบริเวณประตูหน้าต่าง หากเป็นรอยร้าวผนังรอบวงกบ สามารถซ่อมด้วยวัสดุอุดยาแนวหรือใช้ปูนซีเมนต์สำหรับงานซ่อม ส่วนรอยร้าวผุเล็กน้อยที่เนื้อวงกบไม้ก็ใช้วัสดุยาแนวอุดซ่อมได้ด้วย แต่หากวงกบไม้ผุพังมากให้ลองพิจารณาเปลี่ยนประตูหน้าต่างใหม่ โดยเจ้าของบ้านอาจเลือกวัสดุที่คงทนมากขึ้น หรือใช้ประตูหน้าต่างที่ขายพร้อมบริการเปลี่ยนติดตั้งแบบครบวงจรได้เพื่อเน้นคุณภาพและความสะดวก ผนังร้าวรั่วซึมอีกกรณีที่พบได้ก็คือ ตามรอยต่อของผนังส่วนต่อเติมซึ่งถูกก่อฉาบเชื่อมรอยต่อติดกับตัวบ้าน เมื่อส่วนต่อเติมทรุดตัว จะเกิดการฉีกขาดเป็นรอยร้าวทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามาได้ วิธีแก้ไขเบื้องต้นคือให้ยาแนวรอยต่อด้วยวัสดุที่ยืดหยุ่น อย่าง PU หรือซิลิโคน ภาพ: การแก้ไขปัญหาผนังร้าวรั่วซึมบริเวณรอยต่อของส่วนต่อเติมกับตัวบ้าน รีโนเวทปรับปรุงบ้านหลังหน้าฝน หลังหน้าฝนเป็นโอกาสอันดีที่จะปรับปรุงบ้านในส่วนกลางแจ้ง อย่างการปรับปรุงหลังคา  ปรับปรุงพื้นบริเวณรอบบ้าน และปรับปรุงผนังภายนอกบ้าน จุดประสงค์อาจมิใช่แค่เพื่อเปลี่ยนรูปลักษณ์บรรยากาศเท่านั้น แต่เป็นการปรับปรุงเพื่อแก้ปัญหาที่ต่อเนื่องมาจากหน้าฝนด้วย อย่างกรณีหลังคารั่วหลายจุดหรือโครงหลังคามีปัญหา ก็อาจปรับปรุงโดยรื้อมุงกระเบื้องใหม่หรือวางโครงหลังคาใหม่ เป็นต้น ปัญหาดินรอบบ้านทรุด จนเห็นโพรงใต้บ้านก็เป็นอีกเรื่องที่เหมาะจะปรับปรุงแก้ไขหลังหน้าฝน หากพื้นดินยังมีแนวโน้มจะทรุดตัวต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว ก็อาจปิดโพรงแบบชั่วคราวไปก่อน เช่น นำกระถางต้นไม้ทรงสี่เหลี่ยมมาวางปิดไว้ ใช้ขอบคันหินปิด หรือจะก่ออิฐบนพื้นคอนกรีตเดิมเพื่อปิดโพรงโดยใช้แผ่นโฟมคั่นระหว่างก้อนอิฐกับตัวบ้าน เป็นต้น แต่สำหรับกรณีที่พื้นทรุดไปมากแล้วและมีแนวโน้มว่าจะทรุดช้าลงมาก ให้ทำการแก้ไขแบบถาวร โดยทุบรื้อเอาหญ้าหรือวัสดุเดิมบนหน้าดินออก แล้วถมดินปิดโพรงในระดับที่เหมาะสมก่อนจะติดตั้งวัสดุปูพื้น ทั้งนี้อาจถือโอกาสเลือกวัสดุปูพื้นแบบใหม่เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศก็ได้ ภาพ: ดินรอบบ้านทรุดจนเห็นโพรงใต้บ้านเล็กน้อย ภาพ: การใช้ขอบคันหินวางปิดโพรงใต้บ้าน พร้อมปลูกต้นไม้ประดับเล็กน้อย อีกปัญหาที่พบบ่อยในหน้าฝน ซึ่งแม้จะไม่ได้มีผลกระทบต่อการใช้งานนัก แต่ก็ทำลายความสวยงามอย่างมากนั่นคือปัญหาผนังชื้น สีโป่งพองลอกล่อนโป่งพอง หรือมีเชื้อราตะไคร่ เจ้าของบ้านสามารถปรับปรุงผนังใหม่หลังหน้าฝนโดยใช้หลักการคือ ทำให้ผนังระบายความชื้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สีที่มีคุณสมบัติระบายความชื้น ทำผนังปูนแบบต่างๆ เช่น ผนังปูนเปลือยฉาบขัดมัน ผนังกรวดล้างทรายล้าง เป็นต้น ไปจนถึงการใช้ไม้เทียมตกแต่งทับผนังเดิม รีโนเวทและต่อเติมบ้านหลังหน้าฝน บางครั้งการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยอาจไม่จบเพียงแค่ในบ้าน แต่มีการขยับขยายต่อเติมออกนอกตัวบ้านด้วย ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมห้องนอน ต่อเติมห้องครัว ต่อเติมห้องนั่งเล่น ฯลฯ เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยส่วนนั้นให้กว้างขวางขึ้น การต่อเติมขยายพื้นที่ลักษณะนี้มักทุบผนังเพื่อเชื่อมพื้นที่ส่วนต่อเติมเชื่อมเข้ากับพื้นที่บ้านเดิม ดังนั้นโครงสร้างที่รองรับพื้นควรลงเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็งเช่นเดียวกับโครงสร้างบ้านเดิม เพื่อลดปัญหาการทรุดตัวของพื้นที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ กระบวนการต่อเติมบ้านจะเป็นการทำงานกลางแจ้งเสียส่วนใหญ่ ดังนั้น ช่วงปลายปีหลังฤดูฝนจึงนับเป็นเวลาที่สะดวกต่อการดำเนินงาน รวมทั้งการขนส่งและจัดกองเก็บวัสดุ ภาพ: การลงเสาเข็มส่วนต่อเติมให้ลึกถึงชั้นดินแข็ง การรีโนเวทบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมบ้าน ปรับปรุงบ้านหรือต่อเติมบ้าน ควรอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายควบคุมอาคาร และควรยื่นขออนุญาต อย่างถูกต้อง (หากเข้าข่ายต้องขออนุญาต) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีปรับปรุงต่อเติมบ้าน มักมีกฎหมายควบคุมหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การปรับปรุงหรือต่อเติมนั้นไม่ควรขัดขวางทางหนีไฟ  มีขนาดที่ว่าง ภายในขอบเขตที่ดินและระยะร่นต่างๆ ที่เพียงพอ การกำหนดตำแหน่งของช่องเปิด ซึ่งสัมพันธ์กับแนวเขตที่ดิน เป็นต้น และทางที่ดีควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการรีโนเวท โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่การซ่อมแซม ปรับปรุง หรือต่อเติมบ้านนั้นมีผลกระทบต่อโครงสร้างบ้าน ควรอยู่ภายใต้ความดูแลวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยและลดปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อการอยู่อาศัยในระยะยาว บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​  img class="alignnone size-full wp-image-61869" src="https://www.reviewyourliving.com/wp-content/uploads/2017/05/5-1-2-รีโนเวทบ้าน-headline.png" alt="" width="1446" height="800" />
เปลี่ยนหน้าต่างบานเกล็ด เป็นหน้าต่างวินด์เซอร์..ทำได้หรือไม่?

เปลี่ยนหน้าต่างบานเกล็ด เป็นหน้าต่างวินด์เซอร์..ทำได้หรือไม่?

เมื่อเราอาศัยอยู่ในบ้านไปสักระยะหนึ่ง อาจต้องการปรับเปลี่ยนบางส่วนเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนให้ดูใหม่ขึ้น หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่หรือฟังก์ชันใหม่ หน้าต่างเองก็เป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่มีหลายรูปแบบ ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า หากของเดิมเป็นหน้าต่างบานเกล็ด แต่ต้องการเปลี่ยนเป็นหน้าต่างวินด์เซอร์สามารถทำได้หรือไม่ ก่อนอื่นจะต้องให้ทีมช่างของวินด์เซอร์เข้าไปสำรวจหน้างานจริงว่าสภาพหน้าต่างบานเกล็ดเดิมเป็นอย่างไร วัดขนาด ระยะ และรายละเอียดต่างๆ เพื่อเสนอแนะแนวทางให้เจ้าของบ้านเลือก รวมทั้งให้คำปรึกษาถึงความเป็นไปได้ของหน้าต่างใหม่ที่เราจะเลือก โดยหน้าต่างของวินด์เซอร์เองจะสามารถสั่งตัดได้ตามขนาดที่พอดีกับหน้างาน ภาพ: หน้าต่างบานเกล็ดขนาดใหญ่หรือทรงผอมสูง ขอขอบคุณสถานที่: AREE HOUSE (Floating House) ภาพ: บ้านที่ใช้หน้าต่างบานเกล็ด ขอขอบคุณสถานที่: บ้านคุณสุทธิพันธ์ และ คุณวราภรณ์ จาริยะวัฒน์ แนวทางการเปลี่ยนมาใช้หน้าต่างวินเซอร์ การเปลี่ยนเป็นหน้าต่างวินเซอร์สามารถทำได้ 2 แนวทาง คือ การรื้อหน้าต่างเดิมออกทั้งหมดแล้วติดตั้งหน้าต่างวินด์เซอร์ใหม่เข้าไป กับ การถอดบานหน้าต่างเดิมออกแต่เก็บวงกบเดิมไว้ แล้วจึงติดตั้งหน้าต่างใหม่ทับวงกบหน้าต่างเดิมได้เลย (Fast Renew) ซึ่งใช้เวลาในการทำงานน้อยกว่าแนวทางแรก หากวงกบหน้าต่างเดิมอยู่ในสภาพดีจะสามารถเลือกเปลี่ยนได้ทั้งสองแนวทาง แต่ถ้าสภาพเดิมอาจผุพังหรือสภาพไม่ค่อยจะดีนัก จะแนะนำให้เลือกเป็นแนวทางแรกคือการรื้อหน้าต่างเดิมออกทั้งหมดแล้วจึงเปลี่ยนใหม่ทั้งชุดจะดีที่สุด ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งหน้าต่างวินด์เซอร์บานใหม่แบบ Fast Renew โดยถอดบานหน้าต่างเดิมออกแต่เก็บวงกบเดิมไว้ แล้วจึงติดตั้งหน้าต่างใหม่ทับวงกบหน้าต่างเดิมได้เลย ขอขอบคุณ: www.youtube.com/watch?v=x3Q8HkHbneY เปลี่ยนหน้าต่างบานเกล็ดเป็นหน้าต่างรูปแบบไหนดี รูปแบบของหน้าต่างวินเซอร์จะไม่แตกต่างจากหน้าต่างทั่วไปในท้องตลาดเท่าไรนัก เช่น หน้าต่างบานเปิด บานเลื่อน บานกระทุ้ง และบานเกล็ด เป็นต้น หากต้องการเปลี่ยนจากหน้าต่างบานเกล็ดเดิมเป็นหน้าต่างบานเกล็ดวินเซอร์ก็สามารถทำได้ เพราะมีฟังก์ชันใช้สอยไม่ต่างจากเดิมมากนัก แต่หากต้องการเปลี่ยนเป็นบานเปิดจะมีข้อควรคำนึงคือจะกินพื้นที่บริเวณที่บานหน้าต่างเปิดออกไป (ซึ่งอาจจะกีดขวางทางเดินได้) แต่มีข้อดีคือสามารถเปิดรับลมได้อย่างเต็มที่ ส่วนกรณีต้องการเปลี่ยนเป็นบานเลื่อน ต้องดูก่อนว่าขนาดหน้าต่างบานเกล็ดเดิมเป็นอย่างไร ใหญ่พอที่จะเปลี่ยนเป็นบานเลื่อนหรือไม่ หากเปลี่ยนได้ก็มีเรื่องที่ควรคำนึงคือ ขณะเปิดเลื่อนเข้าหากันจะได้ช่องลมลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง แต่มีข้อดีคือไม่กินพื้นที่เพราะเป็นการเลื่อนเปิดในแนวขนานราบไปกับผนัง จึงสามารถใช้ในบริเวณที่คนเดินผ่านไปมาได้ ส่วนการเปลี่ยนมาใช้บานกระทุ้ง หน้าต่างลักษณะนี้จะเปิดแบบดันจากด้านล่างของบานออกไป ซึ่งจะกินพื้นที่ขณะเปิด หากบริเวณที่จะติดตั้งห่างจากทางสัญจรก็สามารถเลือกใช้งานแทนหน้าต่างบานเกล็ดเดิมได้ ภาพ:หน้าต่างบานเปิด ภาพ:หน้าต่างบานเลื่อน ภาพ:หน้าต่างบานกระทุ้ง ดังนั้น การเปลี่ยนจากหน้าต่างบานเกล็ดเดิมเป็นหน้าต่างใหม่จากวินด์เซอร์ สามารถทำได้ แต่ต้องพิจารณาจากหลายๆ อย่างประกอบกัน ทั้งพื้นที่หน้างาน สภาพและขนาดของหน้าต่างเดิม เพื่อหาแนวทางและรูปแบบหน้าต่างที่เหมาะสมและตอบโจทย์ที่สุด บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
วิธีทำน้ำยาขจัดคราบ

วิธีทำน้ำยาขจัดคราบ "กระเบื้องฝังลึก" ในห้องน้ำใช้เอง

คราบฝังแน่นในห้องน้ำที่อาจจะมีทั้งเชื้อรา คราบสบู่ คราบไขมัน คราบโน่นนี่ จากร่องกระเบื้องขาวใส ผ่านไปไม่นานกลายเป็นคราบจับดำเป็นหย่อมๆ เห็นแล้วระคายสายตา เชื่อว่าหลายคนคงหาวิธีทำความสะอาดคราบสกปรกที่ว่านี้ให้สิ้นซากด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่หาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด แต่วันนี้เรามีวิธีทำน้ำยาขจัดคราบสกปรกเหล่านี้มาแนะนำครับ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม น้ำเปล่าครึ่งขวด ผงสบู่ 1 ฝาขวดน้ำเปล่า น้ำส้มสายชู 2 ฝาขวดน้ำเปล่า แอลกอฮอลล์ 3 ฝาขวดน้ำเปล่า แป้งทำอาหารครึ่งฝา เศษผ้า หรือสก๊อตไบร์ท ถุงมือยาง ผ้าปิดปากและจมูก วิธีทำ เพียงแค่นำส่วนผสมทุกอย่างเทลงในขวดน้ำแล้วปิดฝาขวดน้ำให้แน่นจากนั้นก็เขย่าๆ ให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันเป็นอย่างดี เทน้ำที่ได้ลงบนสก๊อตไบร์ทหรือเศษผ้า แล้วขัดบริเวณที่เป็นคราบสกปรก จากนั้นใช้น้ำเปล่าราดล้างทำความสะอาดอีกรอบ เพียงเท่านี้คราบสกปรกฝังลึกก็จะค่อยๆ จางไป แนะนำให้ทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง กระเบื้องในห้องน้ำของคุณก็จะใสวิ้งทันตา คำแนะนำ ใครที่แพ้กลิ่นน้ำส้มสายชูหรือกลิ่นแอลกอฮอล์อาจเตรียมผ้าปิดจมูกไว้ด้วยนะครับ ควรใส่ถุงมือระหว่างขั้นตอนการทำความสะอาด เพื่อป้องกันเกิดการระคายเคืองผิว   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  home.sanook.com
ใช้ปูนอุดรอยรั่วกระเบื้องหลังคาแตกร้าว ป้องกันน้ำรั่วซึมเข้าบ้านได้จริงหรือ

ใช้ปูนอุดรอยรั่วกระเบื้องหลังคาแตกร้าว ป้องกันน้ำรั่วซึมเข้าบ้านได้จริงหรือ

รอยแตกร้าวบนแผ่นกระเบื้องหลังคาที่มักนำปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้ามาในบ้าน ซึ่งเจ้าของบ้านหลายท่านอาจเลือกวิธีแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าโดยการอุดซ่อมรอยร้าวด้วยปูนทราย กาวซีเมนต์ (ปูนกาว) หรือแม้แต่ปูนเกราต์ประเภทต่างๆ แต่วิธีนี้อาจช่วยแก้ปัญหาได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เพราะปูนจะมีคุณสมบัติเรื่องการหดตัวจากแสงแดด อุณหภูมิ และความชื้นที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งส่งผลให้เกิดการแตกร้าว และสุดท้ายน้ำฝนก็สามารถซึมผ่านเข้ามาได้อีก ภาพ: กระเบื้องหลังคาแตกร้าว นำมาซึ่งปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้ามาในบ้าน ดังนั้น เมื่อกระเบื้องหลังคาแตกร้าว ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระเบื้องหรือครอบหลังคาส่วนต่างๆ วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาหรือครอบแผ่นใหม่ โดยเลือกใช้กระเบื้องรุ่นเดิมเท่านั้น ทั้งนี้ ถึงแม้เลือกกระเบื้องหลังคาเฉดสีเดิม แต่ด้วยล็อตผลิตและอายุการใช้งานที่ต่างกัน จึงอาจทำให้เฉดสีของกระเบื้องหลังคาแผ่นใหม่ต่างจากเดิม ซึ่งสามารถทาสีสำหรับกระเบื้องหลังคาทั้งผืนเพื่อความสวยงามได้ ภาพ: การเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาแผ่นใหม่เป็นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด การเปลี่ยนครอบหลังคาใหม่ทั้งที่สันหลังคาและตะเข้สัน ต้องพิจารณาว่าเป็นระบบครอบหลังคาแบบเปียกหรือระบบครอบหลังคาแบบแห้งด้วย เนื่องจากมีวิธีแก้ไขที่ต่างกัน ภาพ: กระเบื้องครอบแตก สำหรับระบบครอบหลังคาแบบเปียก – หลังจากรื้อครอบหลังคาเดิมรวมถึงเนื้อปูนปั้นบริเวณครอบหลังคาที่แตกร้าวออกแล้ว ควรทำความสะอาดพื้นผิวครอบหลังคาให้เรียบร้อย จากนั้นจึงปั้นปูนทรายซ่อมแซมใหม่ในสัดส่วนตามมาตรฐาน และมีปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ล้นหรือน้อยจนเกินไป แล้วจึงติดตั้งครอบหลังคา และปาดตัดแต่งเนื้อปูนทรายให้เรียบร้อย เซาะร่องบังคับรอยร้าว เจาะรูระบายน้ำ และทาสีเพื่อความกลมกลืนกับผืนกระเบื้อง (การติดตั้งครอบระบบเปียกต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญพอสมควรเพื่อให้ได้ผลงานออกมาถูกต้องตามมาตรฐาน) แต่หากครอบหลังคาแตกร้าวหลายแผ่น อาจพิจารณารื้อครอบหลังคาออกทั้งแถว และเปลี่ยนเป็นระบบครอบหลังคาแบบแห้งแทน เนื่องจากทำงานง่าย ไม่สกปรก ลดความเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าระบบครอบหลังคาแบบเปียก ภาพ: ระบบครอบหลังคาแบบเปียก ภาพ: ขั้นตอนการซ่อมแซมระบบครอบหลังคาแบบเปียก ส่วนระบบครอบหลังคาแบบแห้ง – หากรื้อกระเบื้องที่แตกร้าวออกมาแล้ว ควรตรวจสอบสภาพแผ่นรองใต้ครอบว่าเสียหายหรือเสื่อมสภาพด้วยหรือไม่ ถ้ายังอยู่ในสภาพดีก็สามารถเปลี่ยนเฉพาะครอบหลังคาได้ แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่าแผ่นรองใต้ครอบเกิดความเสียหาย เช่น กาวหลุด แผ่นลอกล่อน หรือติดตั้งผิดวิธี ฯลฯ ควรรื้อครอบหลังคาเดิมออกทั้งแถวแล้วเปลี่ยนใช้แผ่นรองใต้ครอบชุดใหม่ก่อนติดตั้งครอบหลังคาชุดเดิมและครอบหลังคาชิ้นใหม่ทดแทนชิ้นที่แตกร้าว ภาพ: ระบบครอบหลังคาแบบแห้ง อย่างไรก็ตาม หากยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแผ่นกระเบื้องทดแทน ในเบื้องต้นอาจแก้ปัญหาด้วยการใช้แผ่นปิดรอยต่อหลังคาปิดรอยร้าวบนแผ่นกระเบื้องหลังคา หรือครอบหลังคา โดยทาสีทับให้ดูกลมกลืนไปกับผืนหลังคาก็ได้เช่นกัน ภาพ: การใช้แผ่นปิดรอยต่อปิดบนแผ่นกระเบื้องระหว่างรอยต่อโครงสร้างป้องกันน้ำรั่วซึม ทั้งนี้ หากพบปัญหาเกี่ยวกับหลังคาบ่อยครั้ง โดยเฉพาะปัญหาโครงหลังคาเสียหายจนผืนหลังคาเกิดการบิด แอ่น การติดตั้งกระเบื้องหลังคาไม่ได้มาตรฐาน ไปจนถึงปัญหารั่วซึมในหลายจุดเพราะบ้านมีอายุการใช้งานเกิน 15-30 ปี อาจพิจารณารื้อหลังคาทั้งระบบ และติดตั้งใหม่ทั้งหมดเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว ภาพ: การเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ สถานที่ บ้านคุณหมอกังวาล วิเชียรสินธุ์ บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
3 ตัวการหลักที่ทำให้ส้วมตันหรือกดชักโครกไม่ลง พร้อมวิธีแก้ไขแบบตรงจุด

3 ตัวการหลักที่ทำให้ส้วมตันหรือกดชักโครกไม่ลง พร้อมวิธีแก้ไขแบบตรงจุด

บางครั้งแม้ว่าจะติดตั้งสุขภัณฑ์อย่างถูกวิธี แต่ยังคงมีปัญหาที่พบกันบ่อยๆ ว่าเมื่อกดชักโครกสุขภัณฑ์แล้วไม่มีแรงดูดชำระล้าง ซึ่งทำให้กดชักโครกไม่ลง ไม่สามารถชำระล้างได้อย่างสะอาดหมดจด หรือรู้สึกว่าส้วมตัน สาเหตุสำคัญของปัญหานี้มาจากหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็น ส่วนของท่อระบายอากาศ การระบายน้ำออกจากถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึม และปัญหาสิ่งอุดตันในท่อน้ำทิ้ง กดชักโครกไม่ลง เพราะติดตั้งท่อระบายอากาศ แต่ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดการอุดตัน ปกติแล้วจะต้องมีการติดตั้งท่อระบายอากาศลักษณะตัวที (T) ต่อจากท่อน้ำทิ้งสุขภัณฑ์และถังบำบัดน้ำเสีย เพื่อป้องกันปัญหาอากาศไหลย้อนเวลากดชักโครกและยังช่วยให้สามารถกดชำระล้างสุขภัณฑ์ได้ดีอีกด้วย แต่หากระดับความสูงของปลายท่ออากาศอยู่ต่ำกว่าระดับที่น้ำท่วมถึง หรือการอุดตันบริเวณปลายปากท่อ จะทำให้ท่ออากาศไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ กรณีที่ระดับความสูงปลายท่ออากาศอยู่ต่ำเกินไปหรืออยู่ต่ำกว่าระดับที่น้ำสามารถท่วมถึง ควรเดินท่อใหม่ให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม หรือติดตั้งเลยหลังคาขึ้นไปเพื่อป้องกันกลิ่นรบกวน ส่วนกรณีการอุดตันบริเวณปลายปากท่อ สามารถแก้ไขได้โดยเอาสิ่งอุดตันนั้นออก กรณีสิ่งอุดตันเข้าไปอยู่ภายในไม่สามารถเอาออกมาได้ง่ายๆ สามารถแก้ไขได้โดยการใช้งูเหล็กทะลวง หรือฉีดน้ำแรงๆ เข้าไป เพื่อล้างทำความสะอาดให้สิ่งสกปรกไหลกลับเข้าสู่ระบบระบายน้ำทิ้งต่อไป หลังจากนั้น ควรป้องกันโดยการติดตั้งตาข่ายกันสิ่งสกปรก แมลง และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กไม่ให้เข้าไปอยู่อาศัยที่อาจเป็นสาเหตุให้ท่ออากาศอุดตัน ภาพ: ตำแหน่งการติดตั้งท่ออากาศ แนะนำให้ติดตั้งท่ออากาศจากถังบำบัดน้ำเสีย (1) และในบริเวณที่ใกล้กับโถสุขภัณฑ์ (2) โดยติดตั้งให้ปลายท่ออยู่สูงกว่าระดับที่น้ำจะสามารถท่วมถึง การระบายน้ำออกจากถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมติดขัด ทำให้กดชักโครกไม่ลง ไม่ว่าบ้านที่เลือกติดตั้งเป็นถังบำบัดสำเร็จรูป หรือใช้ระบบดั้งเดิมที่เป็นแบบบ่อเกรอะ-บ่อซึม น้ำจากการชำระล้างสุขภัณฑ์จะสามารถระบายออกไปได้ด้วยแรงดูดปกติ แต่อาจมีบางครั้งที่น้ำไม่สามารถระบายได้ทัน ไม่ว่ากรณีเป็นบ้านมีระดับท่อระบายน้ำจากถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมที่ต่ำกว่าระดับท่อระบายน้ำสาธารณะ เมื่อระดับน้ำในท่อสาธารณะสูงขึ้นก็จะทำให้การระบายน้ำของบ้านเราเป็นไปได้ช้าลง นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ฝนตกหนักมากๆ จนน้ำเกิดท่วมขังที่เป็นสาเหตุทำให้มีน้ำค้างในท่อระบายของถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมที่ต้องรอการระบายออกไป รวมถึงอาจมีแรงดันน้ำต้านกลับ (Back Pressure) ที่ส่งผลให้น้ำไหลย้อนเข้าสู่ถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้แรงดูดชักโครกลดต่ำลงจนทำให้การชำระล้างในโถสุขภัณฑ์ได้ไม่ดีเหมือนเดิม กรณีนี้เมื่อน้ำลดระดับที่ท่วมขังลงก็จะสามารถใช้งานสุขภัณฑ์ได้ตามปกติ ภาพ: แสดงการระบายน้ำออกจากถังบำบัดสำเร็จรูปไปยังท่อระบายน้ำสาธารณะ ภาพ: แสดงการระบายน้ำออกจากบ่อเกรอะ-บ่อซึม ปัญหาสิ่งอุดตันในท่อน้ำทิ้ง ท่อน้ำทิ้งจะรับน้ำจากโถสุขภัณฑ์โดยตรงแล้วส่งต่อไปยังถังบำบัดหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมที่จะระบายสู่พื้นดินหรือแหล่งน้ำสาธารณะต่อไป แต่หากมีสิ่งอุดตัน โดยเฉพาะเศษขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติหรือย่อยสลายได้ยาก เช่น เศษกระดาษทิชชู่ ผ้าอนามัย หรือเศษขยะชิ้นใหญ่ติดค้างในท่อ ซึ่งจะทำให้เกิดการอุดตันในท่อและส่งผลให้น้ำจากสุขภัณฑ์ไม่สามารถระบายออกไปได้ และอาจเกิดการไหลย้อนกลับ จนชักโครกเกิดอาการกดแล้วไม่มีแรงดูดชำระล้างนั่นเอง ปัญหาสิ่งอุดตันค้างในท่อน้ำทิ้งสุขภัณฑ์สามารถแก้ไขได้โดยการใช้ไม้ยางปั๊ม กดให้เกิดแรงดันเพื่อดันน้ำและสิ่งอุดตันให้เคลื่อนผ่านลงไป ทั้งนี้ การทิ้งเศษขยะที่ย่อยสลายยากลงไปบ่อยๆ จะทำให้ถังบำบัดสำเร็จรูปหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึมเต็ม ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาที่ยุ่งยากต่อการแก้ไขในอนาคต จึงควรระมัดระวังการทิ้งเศษขยะลงไป นอกจากนี้ การเลือกสุขภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานก็เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้การใช้งานเป็นไปได้อย่างราบรื่น รวมถึงการเลือกปริมาณน้ำที่จะกดชำระให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละครั้ง เพื่อให้สามารถใช้งานสุขภัณฑ์ได้อย่างดีและใช้น้ำเท่าที่จำเป็นอีกด้วย บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
อยากจะกั้นห้องคอนโดเพิ่มเติมทำได้หรือไม่ ทำอย่างไร

อยากจะกั้นห้องคอนโดเพิ่มเติมทำได้หรือไม่ ทำอย่างไร

คอนโดมิเนียมเป็นรูปแบบการอยู่อาศัยในเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ผู้ที่ซื้อห้องคอนโด หรือห้องชุด แต่ละคนย่อมต้องมีความต้องการที่จะจัดตกแต่งห้องคอนโดที่แตกต่างกัน รวมถึงการกั้นห้องคอนโด ไม่ว่าจะเป็นการกั้นห้องนอน หรือกั้นห้องครัวเพิ่มเติมเพื่อความเป็นสัดส่วนของพื้นที่ใช้สอย  การปรับปรุงตกแต่งจะทำได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับกฎข้อบังคับ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุและวิธีการที่เหมาะสม   ก่อนกั้นห้องคอนโด ต้องขออนุญาตนิติก่อน ก่อนการปรับปรุงตกแต่งห้องคอนโด ไม่ว่าจะเป็นการรื้อถอนผนังเดิม หรือกั้นผนังใหม่ ควรศึกษากฎระเบียบต่างๆ ของคอนโดที่เราอยู่อย่างรอบคอบ โดยสามารถสอบถามกับทางนิติบุคคลอาคารชุดโดยตรงว่าสิ่งใดสามารถทำได้ และทำไม่ได้ โดยอาจต้องเสนอแบบของห้องที่ต้องการจะปรับปรุง และได้รับใบอนุญาตจากเจ้าของโครงการ หรือนิติบุคคลอาคารชุดก่อนเริ่มลงมือก่อสร้าง ไม่ควรทำอะไรโดยพลการ เพราะอาจผิดพลาด และสร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเราเองและเพื่อนบ้านได้ นอกจากจะแจ้งนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว เราควรแจ้งเรื่องเป็นลายลักษณ์อักษรต่อเพื่อนบ้าน ทั้งห้องที่อยู่ติดกัน ห้องที่อยู่สูงกว่า และห้องที่อยู่ต่ำกว่า โดยมีรายละเอียดระยะเวลาในการดำเนินการ และขอบเขตความรับผิดชอบในกรณีเกิดความเสียหาย ภาพ: กำหนดระยะผนังกั้นห้องระหว่างห้องนั่งเล่นและห้องทานอาหาร ภาพ: กำหนดระยะผนังกั้นห้องระหว่างห้องครัวและพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ วัสดุกั้นห้องคอนโด รูปแบบผนังที่ใช้กั้นห้องสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ผนังก่อ และผนังเบา ซึ่งเป็นการแบ่งตามวัสดุ วิธีการก่อสร้าง และน้ำหนัก โดยรูปแบบผนังที่เหมาะในการกั้นห้องคอนโดนั้นคือ ผนังเบา ซึ่งจัดเป็นผนังแบบกึ่งถาวรที่มีโครงสร้างภายในเป็นโครงคร่าวทำจากไม้ หรือโลหะ (โครงกัลวาไนซ์ / เหล็กรูปพรรณ)  ปิดทับภายนอกด้วยวัสดุแผ่น เช่น แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์  แผ่นไม้อัดซีเมนต์ แผ่นยิปซั่ม แผ่นไม้อัด และแผ่นไม้จริง เป็นต้น ภาพ: วัสดุโครงคร่าวและแผ่นผนัง กั้นห้องคอนโดด้วยผนังเบา สาเหตุที่ผนังกั้นห้องคอนโดควรใช้ ผนังเบา นั้น มีสองสาเหตุหลัก คือ เรื่องของน้ำหนัก และขั้นตอนในการก่อสร้าง ในเรื่องของน้ำหนักผนังเบา จะมีน้ำหนักที่เบากว่าผนังก่อมาก โดยน้ำหนักผนังเบาจะอยู่ที่ประมาณ 20 – 40 กก./ตร.ม. ในขณะที่ผนังก่ออิฐบล็อกรวมฉาบหนา 10 ซม. จะมีน้ำหนักที่ประมาณ 120 – 150 กก./ตร.ม. ผนังก่ออิฐมอญรวมฉาบหนา 10 ซม. จะมีน้ำหนักที่ประมาณ 180 – 200 กก./ตร.ม. และผนังอิฐมวลเบารวมฉาบหนา 10 ซม. จะมีน้ำหนักที่ประมาณ 90 – 100 กก./ตร.ม. ซึ่งน้ำหนักที่มากของผนังก่อทุกประเภทนี้ ต้องมีโครงสร้างพื้นที่แข็งแรงมากกว่าปกติ หรือต้องเสริมคานตามแนวผนังเพื่อรับน้ำหนัก ซึ่งการเพิ่มคานที่พื้นเพื่อรองรับผนังก่อในคอนโดนั้นไม่สามารถทำได้ ส่วนการทำผนังก่อวางบนพื้นโดยไม่มีโครงสร้างคานรองรับก็มีความเสี่ยงที่พื้นจะแอ่น เนื่องจากเราไม่ทราบว่าพื้นที่วิศวกรออกแบบสามารถรับน้ำหนักได้เท่าใด ภาพ: โครงกัลวาไนซ์ก่อนติดตั้งแผ่นผนังเบาเพื่อกั้นห้อง ในส่วนของขั้นตอนการก่อสร้าง ผนังเบา เป็นผนังที่ติดตั้งได้ง่าย เรียกว่าเป็นการก่อสร้างระบบแห้ง คือเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ตัดขนาดชิ้นส่วนต่างๆ ให้เรียบร้อย เมื่อติดตั้งก็ใช้เวลาไม่นาน และสถานที่ก่อสร้างก็ไม่สกปรกมากนัก ต่างจาก ผนังก่อ ซึ่งเป็นการก่อสร้างระบบเปียก คือต้องมีการผสมปูนก่อ มีการพรมน้ำ ฉาบปูน ซึ่งใช้เวลานาน และสถานที่ก่อสร้างสกปรกมากกว่า นอกจากนี้หากต้องการรื้อถอนผนังเบาในอนาคต ก็สามารถทำได้ไม่ยากและไม่เกิดความเสียหายแก่พื้นที่มากนัก ข้อคำนึงในการติดตั้งผนังเบา คือ ควรรื้อวัสดุปูพื้นออกก่อน แล้วยึดโครงคร่าวผนังเบาบนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยตรง เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงมากที่สุด หากวางผนังเบาบนวัสดุปูพื้น เช่น พื้นไม้ลามิเนต หรือพื้นกระเบื้อง ก็อาจสร้างความเสียหายให้แก่พื้นได้ เช่น กระเบื้องแตกร้าวจากน้ำหนักกดทับ หรือไม้ลามิเนตยุบตัว ส่วนโครงคร่าวผนังด้านบนหากติดตั้งฝ้าเพดานไปแล้ว ควรยึดโครงคร่าวผนังเข้ากับแนวโครงคร่าวฝ้าเพดาน หรือตัดเจาะฝ้าเพดานและโครงคร่าวออกตามแนวผนัง เพื่อยึดโครงคร่าวผนังกับท้องพื้นหรือท้องคาน ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแรงและช่วยกั้นเสียงได้ดีกว่า ภาพ: การตัดเจาะฝ้าเพดานเพื่อยึดโครงคร่าวผนังกับท้องคานหรือท้องพื้น นอกจากนี้ การเจาะรูบนแผ่นผนังเพื่อแขวนสิ่งของต่างๆ ต้องใช้พุกผีเสื้อเท่านั้น โดยเลือกใช้พุกที่มีขนาดเหมาะสมต่อน้ำหนักสิ่งของที่แขวน หรือหากต้องการแขวนสิ่งของที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก เช่น โทรทัศน์ ชั้นวางหนังสือ ฯลฯ อาจเสริมโครงคร่าวตามแนวที่ต้องการยึดแขวน และยึดตะปูเกลียวกับพุกผีเสื้อเข้ากับโครงคร่าวโดยตรงเพื่อความแข็งแรงมากขึ้น  ทั้งนี้ หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการกันความร้อน และเสียง สามารถทำได้โดยการติดตั้งฉนวนใยแก้วในช่องว่างระหว่างโครงคร่าว แล้วปิดทับด้วยวัสดุแผ่นตามปกติ ภาพ: การยึดแขวนของและการรับน้ำหนักด้วยตะปู และพุกผีเสื้อกับตะปูเกลียว กั้นห้องคอนโดด้วยกระจก ผ้าม่าน สำหรับผู้ที่ต้องการกั้นห้อง แต่ต้องการให้ห้องไม่ดูอึดอัดจนเกินไป ผนังกระจก หรือชุดประตูบานเลื่อนกระจก ก็เป็นอีกทางเลือกที่สามารถทำได้ ซึ่งกระจกหนา 12 มม. จะมีน้ำหนักประมาณ 30 กก./ตร.ม. นอกจากนี้ ผนังม่าน หรือผ้าม่าน ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ในการกั้นห้องได้ ทั้งชั่วคราว และถาวร เจ้าของห้องสามารถติดตั้งเองได้และอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตจากนิติบุคคลอาคารชุด ภาพ: ผนังม่านเป็นอีกหนึ่งวิธีกั้นห้องที่สวยแบบเรียบง่าย และช่วยประหยัดงบประมาณ บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​  สารพัดเรื่องของคอนโด เคล็ดลับเลือกคอนโดติดรถไฟฟ้า บ้านกับรถ ซื้ออะไรก่อนดี ? ทางเลือกซื้อคอนโด สำหรับคนงบน้อย
ท่อน้ำทิ้งซิงค์ล้างจานอุดตัน ปัญหาแบบนี้แก้ไขอย่างไรดี

ท่อน้ำทิ้งซิงค์ล้างจานอุดตัน ปัญหาแบบนี้แก้ไขอย่างไรดี

อ่างล้างจาน (ซิ้งค์ล้างจาน) เป็นส่วนประกอบสำคัญในครัว ที่ช่วยให้เราสามารถล้างอาหาร ล้างผัก และอุปกรณ์ครัวต่างๆ ให้สะอาดพร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมถึงหลังรับประทานอาหารเสร็จยังเป็นที่ล้างจานชามและอุปกรณ์ใช้แล้วที่เปรอะเปื้อนอีกด้วย ซึ่งปกติแล้ว จำเป็นต้องติดตั้งถังดักไขมันต่อจากท่อน้ำทิ้งอ่างล้างจาน แล้วจึงปล่อยไปยังบ่อพักหรือท่อสาธารณะ แต่เมื่อมีคราบไขมัน เศษอาหาร และสิ่งสกปรกต่างๆ ตกค้างสะสมนานๆ เข้า ก็จะก่อตัวเป็นคราบแข็งอุดตัน ทำให้น้ำไม่สามารถระบายไปได้ ไหลผ่านไม่สะดวก หรือบางครั้งน้ำยังเอ่อไหลย้อนขึ้นมาอีกด้วย จนถึงกับไม่สามารถใช้งานอ่างล้างจานได้ หากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องแก้ไขปัญหา ซึ่งมี 3 ส่วนด้วยกันคือ ตะแกรงดักเศษอาหาร กระปุกท่อน้ำทิ้งใต้อ่างล้างจาน และส่วนของบ่อดักไขมัน ส่วนของตะแกรงหรือตะกร้าดักเศษอาหาร ตัวกรองเศษอาหารขั้นแรก ที่ควรสังเกตดูว่ามีเศษอาหารเต็มตะแกรงดักเศษอาหารหรือไม่ หากมีต้องเอาออกมาทิ้งให้หมด ทำความสะอาดในส่วนนี้ให้เรียบร้อย ในส่วนนี้ต้องระวังอย่าทิ้งเศษอาหารลงไป เพราะแม้ว่าจะมีตะแกรงกรองเศษอาหารอยู่แล้ว แต่อาหารขนาดเล็กยังคงสามารถตกหล่นลงไปในท่อน้ำทิ้งได้อยู่ดี ดังนั้นหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ ควรเขี่ยเศษอาหารออกจากจานและเช็ดซับคราบมันให้ออกได้มากที่สุดก่อนการล้างจาน เพื่อไม่ให้คราบฝังติดแน่นที่ทำให้ล้างออกยาก และคราบจะติดเป็นก้อนแข็งที่เมื่อล้างออกแล้วจะส่งผลให้ไปอุดตันในช่องท่อได้ ภาพ: สะดือซิงค์ล้างจานแบบที่มีตะกร้ากรองเศษอาหารและยางกรองเศษอาหาร ภาพ: ตะแกรง (ตะกร้า) ดักเศษอาหาร ที่ควรเคาะเศษอาหารทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เศษอาหารเกิดการบูดเน่า อันอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค สำหรับกระปุกท่อน้ำทิ้ง ที่มีหน้าที่ขังน้ำเพื่อช่วยป้องกันกลิ่นไหลย้อนขึ้นมา (มีให้เลือกทั้งแบบ Bottle Trap และ P-Trap) แต่หากมีการสะสมของตะกอนต่างๆ มากเข้า ก็จะทำให้ส่วนนี้เกิดการอุดตันได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยหมุนเกลียวถอดออกมาเคาะเอาเศษสิ่งสกปรก เศษอาหาร และขจัดคราบไขมันที่ฝังแน่นอยู่ออก แล้วจึงฉีดน้ำล้างทำความสะอาดคราบที่หลงเหลืออยู่ออกให้หมด หากยังอุดตันอยู่ ให้ใช้น้ำยาขจัดท่อห้องครัวอุดตันสูตรธรรมชาติที่ไม่กัดกร่อนท่อ ทั้งนี้ หากวิธีดังกล่าวยังไม่ได้ผล แนะนำให้ทะลวงท่อที่ติดอยู่กับผนังโดยใช้ “งูเหล็ก” ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถโค้งงอไปตามรูปทรงของท่อได้ เพื่อกระทุ้งให้สิ่งอุดตันหลุดออก * การใช้งูเหล็กต้องมีความระมัดระวัง และอาศัยความชำนาญ จึงควรเรียกช่างให้เข้ามาทำการแก้ไขตรงส่วนนี้ให้จะดีที่สุด ภาพ: ลักษณะการขังน้ำและการระบายน้ำของกระปุกท่อน้ำทิ้งแบบ Bottle Trap ภาพ: ลักษณะการขังน้ำและการระบายน้ำของท่อน้ำทิ้งแบบ P-Trap สุดท้ายคือส่วนของบ่อดักไขมัน (Grease Trap) ซึ่งมีหน้าที่ดักและแยกชั้นไขมันออกจากน้ำเสียจากซิงค์ครัว ไม่ให้ไหลลงไปอุดตันในท่อระบายน้ำ ซึ่งมี 2 ประเภทคือบ่อดักไขมันชนิดตั้งพื้น และบ่อดักไขมันชนิดฝังดิน ซึ่งควรเลือกประเภทและขนาดให้เหมาะกับปริมาณการใช้งานและความเหมาะสมของพื้นที่ การดูแลรักษาบ่อดักไขมันนี้จะต้องตักเศษไขมันออกเป็นประจำเพื่อให้น้ำระบายได้คล่องและไม่มีกลิ่นรบกวน หากส่วนนี้มีการสะสมของไขมันที่จับตัวกันเป็นก้อนซึ่งทำให้เกิดการอุดตันแล้ว จะต้องเปิดฝาถังออกเพื่อตักไขมันใส่ถุงขยะอย่างมิดชิด มัดอย่างแน่นหนา และนำไปทิ้งให้ถูกที่ โดยมีการแยกขยะอย่างเหมาะสม ภาพ: บ่อดักไขมัน ที่ทำหน้าที่ดักและแยกชั้นไขมันออกจากน้ำเสียจากซิงค์ครัว ภาพ: บ่อดักไขมันชนิดตั้งพื้น เหมาะสำหรับที่พักอาศัยที่มีพื้นที่จำกัด เช่น ทาวน์โฮม คอนโดมิเนียม ภาพ: บ่อดักไขมันชนิดฝังดิน เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่รอบบ้านเพียงพอสำหรับการฝังดิน เช่น บ้านเดี่ยว * ควรตักไขมันออกอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง (พิจารณาจากปริมาณไขมันของแต่ละบ้าน) โดยตักไขมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำออก ** ไม่แนะนำให้ตักไขมันแล้วทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะโดยตรง เพราะจะทำให้น้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นและนำไปสู่การสะสมของเชื้อโรคจนอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ *** การแยกขยะเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งจากที่บ้านเองและจากแหล่งสาธารณะ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน รวมถึงการนำขยะแต่ละประเภทไปกำจัดอย่างเหมาะสม ซึ่งผู้มีหน้าที่ดูแลตรงส่วนนี้จะนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง  หลังจากทำการแก้ไขแต่ละส่วนและประกอบอุปกรณ์กลับเข้าที่เหมือนเดิมแล้ว ให้ทดลองใช้งานอ่างล้างจานดูว่าสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ หากยังใช้งานได้ไม่ดีหรือติดขัดอยู่ แนะนำให้เรียกช่างที่มีความชำนาญเข้ามาซ่อมแซมแก้ไข สิ่งสำคัญของห้องครัว คือการติดตั้งอุปกรณ์แต่ละส่วนอย่างถูกวิธีมีมาตรฐาน มีการเดินระบบท่อที่ดี มีองศาความลาดเอียงที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำสามารถระบายได้ดีด้วยเช่นกัน และที่ขาดไม่ได้เลยคือการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอทั้งสามส่วน ซึ่งทำได้บ่อยครั้งตามปริมาณการใช้งานของแต่ละบ้าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างดี ลดปัญหาการอุดตัน บทความโดย SCG Experience คู่คิดก่อนสร้างบ้าน ช่วยให้คุณสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสร้างบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCG เพียงนำแบบบ้านมายื่นรับคำปรึกษา พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ที่ SCGคู่คิดก่อนสร้างบ้าน​ 
Wat Arun

Wat Arun

การรับโอนบ้าน ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญ เพราะถ้าหากไม่ตรวจบ้านให้ดีก่อนรับโอน อาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาไม่จบไม่สิ้น หรือบางรายอาจจะรับโอนมาก่อนทั้งๆที่บ้านยังไม่เรียบร้อยดี ก็ต้องมาวุ่นวายซ่อมแซมแก้ไขปัญหาบ้าน ทั้งๆที่เพิ่งสร้างใหม่หรือเพิ่งเข้าอยู่ได้ไม่นาน ดังนั้น ขั้นตอนการตรวจรับบ้านจึงสำคัญและเป็นสิ่งทีละเลยไม่ได้ มาดูกันครับว่า 4 ขั้นตอนโอนรับบ้านที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง 1. แบบบ้าน,ขนาดที่ดิน,วัสดุอุปกรณ์เป็นการตรวจความถูกต้องตรงกันระหว่างเอกสารหลักฐานและบ้านจริง เพราะมักมีปัญหาเรื่องของแบบบ้านไม่เหมือนในสัญญา หรือขนาดที่ดินไม่เท่ากับในสัญญา สำหรับวัสดุอุปกรณ์นั้นต้องตรงกับเอกสารแนบท้ายด้วย แต่ถ้าได้ยี่ห้อไม่เหมือนกันก็ต้องได้คุณภาพดีกว่าหรือเทียบเท่า 2. ความเรียบร้อยสมบูรณ์เป็นการตรวจความเรียบร้อยของบ้าน ซึ่งก่อนจะโอนรับบ้านควรจะเป็นบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ถ้าบ้านที่ยังไม่เรียบร้อยดีหรือมีการแก้ไข จะเรียกว่า Defect ซึ่งในขั้นตอนนี้โครงการมักจะเร่งให้รับโอนทั้งๆที่ยังแก้ไม่เรียบร้อย ทางที่ดีควรจะให้มีการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยมีการรับโอนบ้าน 3. ระยะเวลาส่งมอบขั้นตอนนี้จะมีเวลากำหนดแน่นอนไว้ในใบสัญญาว่ามีการส่งมอบเมื่อไร แต่ถ้าโครงการส่งมอบล่าช้ากว่าที่กำหนด ทางโครงการต้องเสียค่าปรับให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้า 4. การรับประกันงานก่อสร้างในทางกฏหมายโครงการต้องรับประกันความเสียหายหรือชำรุดบกพร่องของบ้าน โดยโครงสร้างบ้านจะรับประกัน 5 ปี ส่วนอุปกรณ์หรือส่วนควบอื่นๆจะรับประกัน 1 ปี ดังนั้น ถ้ามีการเสียหายก็สามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากโครงการได้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก  นิตยสาร Home Buyers' Guide เดือนสิงหาคม 2559
Male Tourist Videoing Houses From Longtail Boat On Klong Bangkok Noi

Male Tourist Videoing Houses From Longtail Boat On Klong Bangkok Noi

ปัญหาอุทกภัยไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ก็สร้างความเดือดร้อนแสนสาหัสแก่ผู้คนและอาคารบ้านเรือน ทำให้บ้านถูกน้ำท่วมเสียหายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการพิจารณาเลือก “ทำเล” ซึ่งเป็นปัจจัยแรกๆ ของการพิจารณาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว ยิ่งต้องเพิ่มความสำคัญในการพิจารณาปัจจัยด้านนี้ให้ละเอียดมากขึ้นอีก โดยเฉพาะคำถามที่ว่า “ทำเลนี้น้ำท่วมหรือเปล่า” การเลือกทำเลที่อยู่อาศัยมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาดังนี้ *การเดินทาง หมายถึง ถนน ทางด่วน ทางลัด เส้นทางรถไฟฟ้า บริการด้านการขนส่ง *สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อาทิ น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ รวมไปถึงสถานบริการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ เป็นต้น *แนวเวนคืนที่ดิน คือการตรวจสอบแนวเส้นทางโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น ถนน ทางด่วน สะพาน ฯลฯ *ผังเมือง หมายถึง ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินจากรัฐ ซึ่งระบุพื้นที่เป็นสีต่างๆ เช่น สีแดง กำหนดเป็นพื้นที่พาณิชยกรรม, สีม่วงเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม, สีเหลืองเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ฯลฯ *ลักษณะพื้นที่ หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ เช่น ที่ลุ่มต่ำหรือที่สูง หากวัตถุประสงค์ในการเลือกทำเลคือการเลี่ยงน้ำท่วม ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่  การพิจารณาผังเมือง ซึ่งทำเลที่อยู่อาศัยควรสอดคล้องกับข้อกำหนดผังเมือง เช่น ถ้าต้องการปลูกสร้างบ้านที่อยู่อาศัยควรเลือกทำเลในเขตสีเหลือง เพราะหากไปปลูกบ้านในพื้นที่สีม่วง แม้จะไม่มีข้อห้าม แต่วันดีคืนดีอาจมีโรงงานโผล่มาใกล้บ้านๆ ก็ได้ หรือการปลูกสร้างบ้านไม่ควรไปอยู่ในพื้นที่เขียวลาย หรือพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม  เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มักเป็นที่ลุ่มหรือทางผ่านของน้ำ มีโอกาสสูงที่จะถูกน้ำท่วม ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องดูลักษณะทางกายภาพของพื้นที่และแปลงที่ดิน เช่น ไม่เป็นที่ลุ่มต่ำ หรือต่ำกว่าระดับถนน เพราะจะมีโอกาสถูกน้ำท่วมขังได้ง่าย โดยทั่วไปแปลงที่ดินที่จะปลูกสร้างบ้านมักถมสูงกว่าถนนประมาณ 30 เซนติเมตร แต่จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ความสูงระดับนี้อาจไม่เพียงพอแล้วก็ได้ นอกจากประเด็นที่พิจารณาเพื่อเลี่ยงน้ำท่วมแล้ว อีกสิ่งที่ต้องพิจารณาคือที่ดินอยู่ในแนวเวนคืนของราชการหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้สามารถตรวจสอบกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เช่น สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร, กรมทางหลวงชนบท, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้ทำเลที่เหมาะสมต้องสามารถเดินทางได้สะดวก เช่น มีถนนหลายสาย มีทางด่วนหรือทางลัดที่จะเป็นทางเลือกในการเดินทาง มีบริการด้านการขนส่งเพียงพอ เช่น รถเมล์ รถตู้ หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง  เป็นต้น รวมถึงมีบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบถ้วน มีศักยภาพและแนวโน้มเจริญเติบโตสูง เพราะนั่นหมายความว่าผลดีจะตกแก่ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของเราด้วย ขอขอบคุณข้อมูลจาก  home.co.th
แก้กระเบื้องปูพื้นหลุดล่อน ทำอย่างไร

แก้กระเบื้องปูพื้นหลุดล่อน ทำอย่างไร

กระเบื้องปูพื้นหลุด ล่อนเป็นแผ่นๆ เป็นเรื่องที่มีหลายคน หลายกระทู้โพสต์ถามกันไว้ตามเว็บบอร์ดต่างๆ กระเบื้องล่อนแผ่นเดียวจะแก้ยังไง อยากปูกระเบื้องใหม่แต่ไม่อยากทุบ ปูทับได้มั้ย ฯลฯ วันนี้จะได้รู้คำตอบกัน สาเหตส่วนใหญ่ที่พื้นกระเบื้องของคุณล่อนออกมา มาจาก หนึ่ง กระเบื้องโดนแรงอัด แรงกระแทกอย่างแรงจนแตก ร้าว แล้วก็หลุดร่อนในภายหลัง  สอง ความชื้นจากพื้นคอนกรีตใต้แผ่นกระเบื้อง   ความชื้นจากใต้ดิน หรือปัญหารั่วซึมจากผนังซึมไปถึงพื้น หรือปัญหาจากคราบสกปรกต่างๆ ที่สะสมมาเป็นเวลานานจนทำให้ยาแนวกระเบื้องหลุดลอก จากนั้นคราบสกปรกก็ฝังตามขอบกระเบื้อง เกิดเป็นเชื้อราดำๆ จริงๆ แล้วถ้าเป็นปัญหาจากความชื้น สามารถป้องกันตั้งแต่ตอนสร้างหรือก่อนปูกระเบื้อง ทาน้ำยากันซึมพื้นคอนกรีตกันน้ำ กันความชื้นไม่ให้ขึ้นมาบนพื้นคอนกรีตที่อยู่ใต้แผ่นกระเบื้อง ก่อนที่จะปูกระเบื้องทับลงไป แต่ถ้าไม่ได้เตรียมกันป้องกันไว้ตั้งแต่ต้น ก็มีวิธีแก้ไขปัญหากระเบื้องหลุด กระเบื้องล่อนให้เลือกอยู่ 2 แบบ แก้ไขแบบแรก ปูทับกระเบื้องเดิมไปเลย ถ้าพื้นเดิมไม่มีปัญหาเรื่องรั่วซึม ความชื้น (อาจจะมีการทาน้ำยากันซึมตั้งแต่ตอนสร้างแล้ว แต่เพราะโดนของหนักกระแทกจนกระเบื้องร้าว แตก) ไม่อยากเสียเวลาทุบออก ก็สามารถปูกระเบื้องทับของเดิมได้เลย ก่อนจะปู ต้องมีการทำความสะอาด ขัดพื้นให้สะอาดเสียก่อน กวาดไล่น้ำไม่ให้ขังอยู่ รอจนพื้นไม่มีความชื้นแล้วเลาะกระเบื้องที่แตก ร้าว ล่อนออกแล้วเอากระเบื้องแผ่นใหม่ฉาบด้านหลังด้วยกาวซีเมนต์ชนิดที่ระบุว่าใช้ปูทับกระเบื้องเดิม(แต่ราคาก็จะแพงกว่ากาวซีเมนต์รุ่นทั่วไป 4-5เท่าตัว) ปูทับที่เดิมได้เลย ลงยาแนวให้ครบทั้งสีด้าน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย วิธีนี้ ทำงานเร็ว ใช้เวลาน้อย ไม่ต้องขนเศษกระเบื้องไปทิ้ง ไม่เกิดเสียงดัง แต่สิ้นเปลืองหน่อย น่าจะเหมาะกับคนที่ไม่สามาถหากระเบื้องลายเดิมได้อีกแล้วเพราะโรงงานเลิกผลิตกระเบื้องรุ่นนั้นไปแล้ว หรือคนที่อยู่ตามคอนโดฯ ที่เสียงการทุบกระเบื้องอาจจะไปรบกวนห้องข้างเคียงได้   วิธีแก้ไขแบบที่สอง ปูเฉพาะบางแผ่นที่มีปัญหา ถ้ากระเบื้องลายนั้นยังพอหาสำรองได้ ก็อาจจะเลือกเปลี่ยนเฉพาะแผ่นที่แตก ร้าว มีปัญหาเท่านั้น สกัดเอาแต่แผ่นที่แตก ร้าวออกแล้วปูกระเบื้องแผ่นใหม่ลงไปแทนของเดิม วิธีนี้ จะใช้เวลาซ่อมนานกว่าวิธีแรก เพราะต้องค่อยๆ สกัดเอากระเบื้องที่มีปัญหาออกให้หมด ถึงจะปูกระเบื้อแผ่นใหมได้ ขั้นตอนเยอะกว่า และเหมาะกับกระเบื้องที่ยังพอหากระเบื้องสำรองได้อยู่ ที่สำคัญเกิดเศษกระเบื้องที่ต้องหาที่จัดการ มาดูขั้นตอนการซ่อมแซมกระเบื้องแบบบางแผ่นที่ช่างกระเบื้องทำกัน เริ่มจาก ช่างจะขูดปูนยาแนวรอบขอบกระเบื้องที่แตกร้าว ออกก่อน จากนั้นจะใช้เครื่องเจียร์(ใส่ใบตัดกระเบื้อง) ตัดกระเบื้องให้ขาดเป็นแนวรอบ ห่างจากขอบกระเบื้องประมาณ 1 นิ้ว เพื่อไม่ให้เครื่องมือสกัดไปกระแทกโดนแผ่นอื่น และให้การสกัดง่ายยิ่งขึ้น จากนั้นใช้ค้อน เหล็กสกัด ค่อยๆ สกัดแผ่นกระเบื้องออกจนหมด แล้วสกัดพื้นเดิมให้ลึกประมาณ 2 มม.  สำหรับให้กาวซีเมนต์ยึดเกาะได้ จากนั้น ทำความสะอาดพื้นผิวที่จะติดกระเบื้องให้สะอาด ทำความสะอาดเสร็จแล้ว ใช้กาวซีเมนต์สำหรับติดกระเบื้อง ทาไปบริเวณด้านหลังแผ่นกระเบื้องจนเต็ม แล้วปูกระเบื้องแผ่นใหม่กลับเข้าที่เดิม ออกแรงกดเล็กน้อย เพื่อให้กระเบื้องยึดเกาะแน่นๆ จากนั้นตรวจดู วัดระดับพื้น ให้แนวขอบกระเบื้องเท่ากับแผ่นอื่นๆ แต่ถ้ากระเบื้องแผ่นใหม่ปูไม่ได้ระดับ อาจจะสูงกว่าของเดิมก็ใหใช้ค้อนยางตอกเบาๆ  และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผิวหน้ากระเบื้องเป็นรอยระหว่างที่ตอกอยู่ อาจจหาผ้าหนาๆ มารองอีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยป้องกันแผ่นกระเบื้องแตกร้าว หากมีกาวส่วนเกินไหลออกมาก็เช็ดออกด้วยผ้าสะอาด จากนั้นรอจนกาวซีเมนต์ที่อยู่หลังแผ่นกระเบื้องแห้งสนิทดีแล้วค่อยลงมือยาแนวกระเบื้องกัน เวลาลงยาแนวก็จะต้องแน่ใจว่ายาแนวลงไปตามร่องกระเบื้องจนครบทั้งสี่ด้าน และลงไปจนสุด เพื่อให้การยึดเกาะตัวกระเบื้องแข็งแรงดี แล้วทิ้งไว้อีก 10-15นาที แล้วค่อยใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ เช็ดคราบยาแนวที่เกินออกมาจากร่องกระเบื้องอีกครั้ง แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดซ้ำอีกครั้งเป็นการเก็บความสวยงาม ยาแนวลอก ล่อน สกปรก แก้ยังไงดี  ยาแนวกระเบื้องพอใช้ไปในนานๆ จะมีสิ่งสกปรก ฝุ่น คราบสกปรกลงไปอุด ฝังอยู่ที่ร่องยาแนว หรืออาจจะเกิดอาการยาแนวหลุด ล่อน  แต่ไม่ต้องตกใจไป มีวิธีแก้ไขง่ายๆ ไม่ยุ่งยากมาก คนทีชอบ DIY  ซ่อมแซมของเล็กๆ น้อยๆ ในบ้านเอง น่าจะเอาไปจัดการยาแนวไม่รักดี ชอบหลุด ล่อนได้ด้วยตัวเอง เริ่มจากขูดยาแนวเดิมออกก่อน ตอนขูดเพื่อไม่ให้ขอบกระเบื้องเสียหายจากการขูดยาแนว ให้ใช้เครื่องขูดร่องยาแนวที่ทำออกมาเฉพาะงานขูดยาแนวที่มีปัญหา ราดำ แตกลายหรือหลุดล่อน พยายามขูดเนื้อยาแนวให้ออกให้หมด (เพราะถ้าขูดยาแนวเก่าไม่หมด ยาแนวใหม่ที่ยาลงไปยึดเกาะพื้นที่ได้ไม่ดี แล้วก็หลุดล่อนออกมาอีกอยู่ดี) หลังจากที่ขูดยาแนวเดิมออกจนหมดแล้ว ให้ทำความสะอาดร่องยาแนวให้สะอาดก่อนแล้วค่อยยาแนวใหม่ เดี๋ยวนี้ หลายคนไม่อยากต้องมายาแนวกันบ่อยๆ ก็จะเลือกผลิตภัณฑ์ยาแนวแบบถาวร ที่มีส่วนผสมของอีพอกซี่ เนื้อยาแนวสูตรถาวรนี้จะให้เนื้อยาแนวแกร่ง ทนกรดทนด่าง ทนสารเคมีได้ดี ยึดเกาะดี แต่ไม่ปล่อยให้สิ่งสกปรก คราบต่างๆ แทรกตัวลงไปฝังอยู่ในแนวยาแนว   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  community.akanek.com
การดูแลรักษาหญ้าหน้าบ้าน

การดูแลรักษาหญ้าหน้าบ้าน

จะว่าไปแล้วการดูแลสวนก็เป็นสิ่งที่เราทำกันประจำอยู่แล้ว ซึ่งบางครั้งอาจจะดูแลถูกต้องบ้างหรือละเลยบางอย่างไปบ้างเล็กๆ น้อยๆ ทำให้ต้นไม้หรือสิ่งต่างๆ ในสวนของเราดูไม่สวยเอาเสียเลย  ดังนั้นเรามาเริ่มกันใหม่เช่นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เราอาจจะมองข้ามอย่างพื้นสนามหญ้า ที่หลายคนมองว่าแค่รดน้ำก็เพียงพอแล้ว แต่รายละเอียดภายใต้ใบเล็กๆ สีเขียวสบายตานั้นยังมีอีกเยอะ  ซึ่งครั้งนี้เราได้รับคำปรึกษาจากนักจัดสวนและเจ้าของไร่หญ้าอย่างคุณศักดิ์ เรืองพร้อม มาให้คำแนะนำการดูแลให้สนามเราสวยทนอีกด้วย เลือกชนิดให้ถูกปลูกแล้วสวย หญ้านวลน้อย หญ้านวลน้อยเป็นหญ้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากขึ้นง่ายทุกสภาพดิน แถมยังดูแลง่าย เป็นหญ้าที่ชอบแดดจัด นิยมปลูกกลางแจ้ง และหญ้านวลน้อยนิยมสวนหย่อมในบริเวณบ้าน โรงแรม ในสนามกอล์ฟ นอกจากนี้ยังใช้ในการจัดสวน เพราะเป็นหญ้าที่ทนการเหยียบย่ำ รวมทั้งเป็นหญ้าที่ดูแลรักษาง่ายกว่าหญ้าชนิดอื่น ๆ ถึงแม้จะปล่อยปละละเลยไปบ้าง เมื่อกลับมาดูแลรักษาใหม่ ก็ยังจะได้สนามหญ้าที่มีคุณภาพดีเหมือนกัน หญ้ามาเลเซีย สามารถเป็นหญ้าที่ทนร่มและแสงแดดแรงได้ดี ชอบแดดรำไรถึงแดดจ้า เหมาะที่จะปลูกใต้ไม้ใหญ่ หรือที่แดดรำไรมี ความต้องการน้ำมากเพราะขนาดของใบที่ใหญ่ดังนั้นควรรดน้ำสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรให้ท่วมขัง ไม่ควรเดินเหยียบบ่อยๆ เพราะจะทำให้ช้ำตายได้ หญ้าญี่ปุ่น เป็นหญ้าที่มีเส้นใบที่เล็กละเอียด มีการเจริญเติบโตช้าแต่พอโตแล้วจะหนาแน่น ทนทานต่อการเหยียบย่ำได้ดีที่สุด เป็นหญ้าคล้ายหญ้ามาเลเซีย ที่ชอบแดดและต้องการน้ำมาก และทนต่ออากาศหนาวได้ดี การดูแลรักษา 1. ช่วงเวลาที่รดน้ำ ควรเป็นช่วงที่แดดไม่จัด เวลาเช้าตรู่ถือเป็นเวลาที่เหมาะที่สุด เพราะช่วงเช้าถึงเที่ยงเป็นเวลาที่หญ้าปรุงอาหารได้ดีที่สุด การรดน้ำช่วงเย็นสามารถทำได้แต่ควรทำในช่วงประมาณบ่าย 3 โมง เพื่อว่าเมื่อให้น้ำแล้ว สนามจะได้แห้งก่อนมืด ดินจะได้ไม่เก็บความชื้นไว้ อันเป็นสาเหตุของโรคพืชได้ หลังรดน้ำสนามหญ้า ไม่ควรไปเดินเหยียบย่ำพื้นหญ้าขณะเปียก 2.วิธีรดน้ำ ควรรดน้ำแต่ละครั้งให้มากพอและไม่ควรรดน้ำบ่อยเกินไป เพราะนอกจากจะเปลืองน้ำแล้วยังชะล้างธาตุอาหารในดิน ทำให้ดินแน่นเร็วและเกิดโรคได้ง่าย และอย่ารดน้ำน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพราะน้ำจะซึมอยู่บนผิวดินตื้นๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้รากหญ้าเจริญเติบโตในระดับผิวดินตื้นๆ หญ้าจะอ่อนแอและหาอาหารได้น้อย ขาดน้ำได้ง่าย 3. หากปูหญ้าเสร็จใหม่ ให้รดน้ำวันละ 2 – 3 ครั้ง โดยสังเกตจากใบหญ้า หากเริ่มเหี่ยวหรือแห้งให้รดน้ำทันทีทำต่อเนื่องอย่างนี้ประมาณ 10 วัน หญ้าจะเริ่มหยั่งรากและเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ จากนั้นให้รดน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง 4. การใส่และเร่งการเจริญเติบโต ด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 20 – 20 - 0 หรือ 46 - 0 - 0 แล้วรดน้ำให้ชุ่มทันทีเพื่อป้องกันการไหม้ของใบหญ้า 5. หากใบหญ้าเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 20 – 20 - 0 หรือ 46 - 0 - 0 แล้วรดน้ำให้ชุ่มทันที เพื่อบำรุงต้นหญ้าให้กลับมาเขียวชอุ่มเช่นเดิม 6. หากมีวัชพืชขึ้นแซมบนพื้นหญ้า ให้กำจัดโดยใช้มือดึงหรือใช้อุปกรณ์ที่มีความแหลมคมแซะออก เพื่อรักษาพื้นหญ้าให้คงความสวยงามตลอดไป 7.หน้าฝนควรฉีดยากันเชื้อรา และควรตัดแต่งให้บ่อยขึ้นเพราะหากปล่อยให้รกรุงรังอาจมีสัตว์ที่เป็นอันตรายมาอาศัยอยู่ได้ การตัดหญ้า 1. ความสูงของหญ้าในการตัด ควรตัดให้เหลือความสูงประมาณ 1 นิ้ว 2. ถ้าเป็นไปได้ควรตัดทุกๆ สัปดาห์ หรือไม่ควรเกิน 10 วันต่อครั้ง และควรกำหนดเวลาตัดหญ้าให้ตรงเวลา จะทำให้หญ้าไม่อ่อนแอหลังการตัด ถ้าปล่อยให้หญ้ายาวมากเกินไป เมื่อตัดแล้วจะเหลือแต่โคนหญ้าที่แห้งเหลืองและแข็ง ไม่เขียวสวยงาม 3. ทิศ ทางการตัดหญ้า การตัดหญ้าในทิศทางเดียวกันติดต่อกันนานๆ จะทำให้หญ้าลู่ไปทางเดียว นอกจากจะดูไม่สวยแล้วยังทำให้หญ้าเติบโตไม่ดีด้วย ควรมีการสลับทิศทางการตัดหญ้าสนามบ้าง โดยสลับทุกๆ 1-2 เดือน 4. หลักการตัดหญ้า ต้องตัดขณะที่สนามแห้ง ไม่เปียกแฉะ เพราะจะทำให้ต้นหญ้าช้ำ 5. เวลาที่เหมาะสำหรับการตัดหญ้าอย่างยิ่งคือเวลาบ่าย สักประมาณบ่ายสามโมง เนื่องเพราะเป็นเวลาที่ใบหญ้าถูกแดดจนน้ำค้างแห้งดีแล้ว ใบหญ้าที่ยังชื้นจะตัดยากกว่าใบหญ้าที่แห้ง พอตัดเสร็จแล้วอีกสักพักในเช้าวันรุ่งขึ้นน้ำค้างก็จะเริ่มลง ช่วยให้หญ้าที่ช้ำเพราะเพิ่งถูกตัดฟื้นตัวได้เร็ว ขอขอบคุณข้อมูลจาก home.sanook.com  
ไม่อยากรับโอนบ้านที่ชำรุด ต้องทำยังไง?

ไม่อยากรับโอนบ้านที่ชำรุด ต้องทำยังไง?

มีหลายครั้งที่เราพบว่าผู้จะซื้อบ้านไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ตามที่ผู้จะขายนัดไว้ เพราะเหตุผลที่ว่า บ้านหลังนั้นยังสร้างเสร็จไม่เรียบร้อยดี ทั้งๆที่ในหนังสือระบุไว้ว่า “ถ้าไม่ไปพบตามวันเวลาที่นัดตามหนังสือระบุไว้ ให้ถือว่าผู้จะซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาและให้รับเงินที่ผู้จะซื้อได้ชำระไว้แล้วทั้งหมด” ซึ่งในทางกฏหมายจะถือว่าผู้ซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาได้ และยังหมดสิทธิ์เรียกค่าเสียหายใดๆจากผู้ขายอีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากพบว่าบ้านที่เราจะซื้อยังสร้างไม่เสร็จ หรือมีปัญหา แล้วไม่อยากรับโอนบ้านเหล่านี้ ต้องรู้วิธีที่จะเลี่ยงการรับโอนด้วยนะครับ 1. ถ้าพบเห็นความชำรุดบกพร่องของบ้านที่จะซื้อ ให้บันทึกส่วนต่างๆของบ้านที่ยังสร้างไม่เรียบร้อยและถ่ายภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน และให้ผู้จะขายหรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากผู้จะขายได้ลงลายมือไว้ในบันทึกดังกล่าวด้วย 2. ในบันทึกที่จดความชำรุดบกพร่องของบ้านนั้น ให้กำหนดระยะเวลาพอสมควรที่จะแก้ไขความชำรุดแก่ผู้จะขายด้วย 3. เมื่อถึงวันนัดรับโอน ให้ผู้จะซื้อนำบันทึกและภาพถ่ายดังกล่าวไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินที่อยู่ในเขตอำนาจตามวันและเวลาที่นัด เพื่อให้รับทราบเรื่องที่ผู้จะขายยังสร้างบ้านไม่เรียบร้อยดี โดยให้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินในฐานะเจ้าพนักงานของรัฐได้จดบันทึกเรื่องนี้ไว้เป็นหลักฐานว่า ผู้ซื้อได้มาตามวันเวลานัดที่ผู้จะขายนัดแล้ว แต่มีข้อโต้แย้งทำให้ไม่อาจรับจดทะเบียนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านที่ซื้อไว้ได้ เนื่องจากบ้านที่ซื้อขายยังมีความชำรุดเสียหาย และยังไม่ได้รับการแก้ไขจากผู้จะขาย จึงขอให้ผู้จะขายจัดการแก้ไขให้เรียบร้อยภายในเวลาพอสมควร 4. ถ้าหลังจากที่ครบกำหนดเวลาแล้ว ยังพบว่าบ้านยังไม่ได้รับการแก้ไขให้เรียบร้อย ให้ผู้จะซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับผู้จะขายโดยตรง เพราะถือว่าพฤติกรรมของผู้จะขายถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา 5. เมื่อบอกเลิกสัญญาเรียบร้อยแล้ว ให้เรียกร้องขอเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมดคืนจากผู้จะขายพร้อมดอกเบี้ยตามกฏหมาย 6. ถ้าผู้จะขายต่อสู้ว่าไม่ได้ผิดตามสัญญา แนะนำให้ผู้จะซื้อใช้สิทธิในทางศาล ทั้งนี้ต้องฟ้องผู้จะขายให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องต่อศาลภายใน 1 ปี นับตั้งแต่เวลาที่ผู้จะซื้อได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องนั้น (ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 474 บัญญัติว่า “ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้น “ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง”) เมื่อผู้จะซื้อพบเห็นความชำรุดของบ้านให้แจ้งผู้ขาย ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบซ่อมแซม ถ้าถูกปฏิเสธให้นำเรื่องนี้ฟ้อง สคบ. และให้แจ้งวิศวกรวิชาชีพของหน่วยงานรัฐ เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่อยู่ในพื้นที่ของบ้านที่ตั้งอยู่ หรือวิศวกรวิชาชีพจากสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถมภ์ (วสท.) เข้าไปตรวจสอบความชำรุด ถ้าผลการตรวจสอบเกิดการทรุดตัวต่างระดับของฐานราก (เสาเข็ม) และพื้นอาคาร เมื่อตรวจสอบเสร็จและเสนอรายการซ่อมให้ผู้ซื้อทราบ จึงถือได้ว่าผู้จะซื้อพบเห็นความชำรุดบกพร่องนับแต่เวลานั้น ดังนั้น ให้นับอายุความ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อทราบผลการตรวจความชำรุดของบ้านนั้นจากวิศวกรผู้มีวิชาชีพ และรายการการค่าเสียหาย (เทียบค่าพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2544)   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  home.co.th
ผ่อนดาวน์หมด แต่บ้านยังไม่สร้าง ควรทำอย่างไร?

ผ่อนดาวน์หมด แต่บ้านยังไม่สร้าง ควรทำอย่างไร?

หนึ่งในปัญหาที่คนซื้อบ้านส่วนใหญ่พบเจอ คือ การผ่อนดาวน์หมดแล้ว แต่ตัวบ้านยังไม่ได้สร้าง หรือผ่อนไปเกือบหมดแล้ว แต่บ้านยังแค่เพิ่งเริ่มก่อสร้าง ดูยังไงก็คงเสร็จไม่ทันตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาแน่นอนหากเกิดปัญหาแบบนี้จะทำอย่างไรดี? กรณีแบบนี้ ในมุมกฎหมายบอกว่า หากผ่อนชำระจนครบตามงวดแล้วหรือแม้ว่ายังไม่ครบ แต่ระหว่างผ่อนชำระเจ้าของโครงการก็ไม่ดำเนินการใดๆ เลยหรือทิ้งร้างไปบ้าง หรือว่าเหลือเงินดาวน์น้อยแล้วแต่ยังไม่สร้างสักทีดูแล้วหากผ่อนจนครบงวดเงินดาวน์คงสร้างไม่ทันแน่ๆกรณีนี้คนซื้อบ้านควรมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขายดำเนินการและผู้ซื้อยังสามารถหยุดชำระเงินดาวน์ไว้ก่อน จนกว่าจะได้ก่อสร้างให้มีความคืบหน้าหรือแล้วเสร็จ ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวพิพากษาว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อผู้ขายไม่ก่อสร้างเพื่อเป็นการตอบแทนแล้วผู้ซื้อมีสิทธิยึดหน่วงเงินที่จะต้องชำระเอาไว้ก่อนโดยไม่ถือว่าผิดสัญญานอกจากนั้นหากผู้ขายไม่ก่อสร้างจนล่วงเลยระยะเวลาไปพอสมควรก็เลิกสัญญาขอเงินคืนได้ โดยหลักหรือแนวทางของสัญญาซื้อขายหากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาไม่ส่งมอบตรงตามกำหนดเวลาผู้ซื้อมีสิทธิทำได้สองอย่างแต่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เลิกสัญญาแล้วคู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมกรณีนี้จะเรียกร้องค่าปรับไม่ได้กับอีกทางเลือกหนึ่ง คือ ยังคงให้สัญญามีผลต่อไปแต่ต้องสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับเอาไว้เมื่อส่งมอบล่าช้าจึงเรียกร้องค่าปรับในฐานะเป็นค่าเสียหายของผู้ซื้อ ส่วนผลของการบอกเลิกสัญญาคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเงินที่ผู้ซื้อผ่อนชำระไปทั้งหมดผู้ขายต้องคืนแก่ผู้ซื้อพร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 7.5 % ต่อปี ของต้นเงินแต่ละงวด จนกว่าจะชำระคืนครบถ้วน เกี่ยวกับการทำซื้อขายบ้าน บางกรณีสัญญามีความซับซ้อนและดูจะเป็นผลเสียต่อผู้ซื้อ เช่น สัญญาไม่มีการกำหนด “ค่าปรับ กรณีผู้จะขายหรือเจ้าของโครงการ” ผิดสัญญาส่งมอบบ้านไม่ทันภายในกำหนด แต่กลับมีการกำหนด “ค่าปรับกรณีผู้จะซื้อ” ผิดนัดชำระเงินหรือในสัญญาระบุว่าให้สามารถปรับได้กรณีก่อสร้างล่าช้าแต่ไม่ระบุหรือกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ เป็นต้น หากเจอแบบนี้ ผู้ซื้อควรหลีกเลี่ยง เพราะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบตั้งแต่แรกแล้ว ครั้นจะหวังให้ผู้ขายรับผิดชอบในวันข้างหน้าเกรงว่าจะยาก เนื่องจาก บ้านเป็นสินค้าราคาแพง หลายคนต้องเก็บออมเงินมาทั้งชีวิตจึงจะสามารถซื้อได้ การที่เรามีเงินพร้อมและเก็บไว้กับตัวย่อมปลอดภัยกว่าอยู่กับคนอื่นที่สำคัญ โครงการดีๆ สัญญาที่ไม่เอาเปรียบคนซื้อยังมีอยู่มากมาย ค่อยๆ เลือก ค่อยๆ ตัดสินใจจะดีกว่า   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  home.co.th
ต่อเติมครัวไทย แบบโปร่งหรือแบบทึบดี?

ต่อเติมครัวไทย แบบโปร่งหรือแบบทึบดี?

ครอบครัวที่ชอบทำอาหารแบบไทยๆ คงไม่พ้นการประกอบอาหารที่ต้องผัด ทอด ก่อให้เกิด เสียง กลิ่น ควัน แผ่ฟุ้งกระจาย เมนูเหล่านี้อาจไม่เหมาะกับพื้นที่ปรุงอาหารในบ้านที่มีขนาดเล็กและระบายอากาศได้น้อย เจ้าของบ้านจึงมักเริ่มคิดต่อเติมครัว แยกออกมาจากตัวบ้าน ตามด้วยคำถามต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ  “จะต่อเติมครัวไทยแบบทึบหรือแบบโปร่งดี ?” ต่อเติมครัวไทย “แบบทึบ” กับ “แบบโปร่ง” ก่อนอื่นขอเล่าถึงการต่อเติมครัว 2 แบบนี้ว่าต่างกันอย่างไร การต่อเติมครัวแบบทึบโดยทั่วไปจะต่อเติมขึ้นมาเป็นห้อง มีผนังเต็มล้อมรอบโดยเจาะช่องเปิดตามความเหมาะสม พร้อมหลังคาครอบมิดชิด ส่วนครัวแบบโปร่งจะมีจุดเด่นตรงความโปร่งโล่ง จึงมักทำแผงระแนงไม้/ไม้เทียมแทนผนัง บางทีอาจเลือกทำผนังทึบเฉพาะช่วงล่าง ส่วนด้านบนปล่อยโล่งหรือทำเป็นแผงระแนง เพื่อความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว ในส่วนของหลังคา อาจทำติดลอยไว้กับผนังบ้านเดิม เลือกซื้อกันสาดสำเร็จรูปมาติด หรือจะใช้โครงสร้างเสาส่วนต่อเติมรับหลังคาเช่นเดียวกับครัวแบบทึบ  ทั้งนี้ครัวแบบโปร่งสำหรับบางบ้านอาจทำง่ายๆ เพียงแค่ติดหลังคากันสาดและก่อเคาน์เตอร์ครัว หรือถ้าจะให้ง่ายกว่านั้นคือซื้อชุดครัวสำเร็จรูปมาติดตั้งเลยก็ได้ ตัวอย่างการต่อเติมครัวแบบโปร่ง ต่อเติมครัวไทยแบบโปร่ง เน้นความโล่ง จะเห็นได้ว่าครัวแบบโปร่งเป็นรูปแบบที่เน้นความโปร่งโล่ง กลิ่นควันและความอับชื้นต่างๆ จึงระบายออกไปได้ง่าย สามารถฉีดน้ำล้างทำความสะอาดได้ (โดยต้องมีทางระบายน้ำรองรับ) วัสดุที่ใช้มักมีน้ำหนักเบา ทั้งยังสร้างได้รวดเร็วง่ายดายกว่าเมื่อเทียบกับครัวแบบทึบ แต่ในขณะเดียวกัน ความโปร่งโล่งของครัวแบบโปร่งอาจทำให้ต้องผจญกับ น้ำฝน ฝุ่นและสิ่งปรกต่างๆ ที่สาดซัดเล็ดรอดเข้ามาได้ง่าย ทั้งยังต้องระวังป้องกันไม่ให้สัตว์เล็กสัตว์น้อย อย่างแมลง นก หนู และอาจรวมถึงแมวหรือสุนัขตัวเล็กๆ เข้ามาก่อกวนภายในห้องครัวด้วย (ในส่วนนี้อาจใช้ ตะแกรง มุ้งลวด ช่วยป้องกันได้บ้าง)   จะเห็นว่าการทำครัวแบบโปร่งจะต้องควบคุมเรื่องความสะอาดและป้องกันสิ่งปนเปื้อนจากภายนอกให้ดี  ซึ่งสำคัญมากเพราะเป็นพื้นที่ประกอบอาหาร  อุปกรณ์ต่างๆ จึงควรมีที่เก็บมิดชิด หรือเจ้าของบ้านอาจจะเลือกใช้ครัวแบบโปร่งเฉพาะตอนประกอบอาหารและล้างภาชนะเท่านั้น ส่วนอุปกรณ์ทั้งหมดนำไปเก็บไว้ในบ้านแทนก็ย่อมได้เช่นกัน นอกจากนี้ ครัวแบบโปร่งซึ่งระบายอากาศได้สะดวกย่อมหมายความว่า กลิ่น ควัน รวมถึงไอน้ำมันจากการทำอาหารจะกระจายไปถึงเพื่อนบ้านได้ง่าย นับเป็นอีกเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน ครัวต่อเติมนอกบ้านแบบโปร่ง ขอบคุณภาพ : topicstock.pantip.com ต่อเติมครัวไทยแบบทึบ เน้นมิดชิด สำหรับห้องครัวแบบทึบซึ่งมีผนังมิดชิดจะมีข้อดีข้อเสียเป็นคู่ตรงข้ามกับห้องครัวแบบโปร่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักมากกว่าจึงมีโอกาสทรุดตัวเร็วกว่า (เมื่อเทียบกับโครงสร้างรองรับแบบเดียวกัน) ส่วนเรื่องของระบบระบายอากาศ อาจต้องพึ่งอุปกรณ์ช่วยอย่างเครื่องดูดควันหรือพัดลมระบายอากาศ นอกจากนี้การสร้างห้องครัวแบบทึบจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าห้องครัวแบบโปร่ง ด้วยปริมาณวัสดุ โครงสร้าง และการเตรียมงานระบบที่มากกว่า   สำหรับข้อดีของครัวแบบโปร่งที่มีผนังมิดชิดก็คือ สามารถป้องกันสิ่งสกปรกและสิ่งไม่พึงประสงค์จากภายนอกได้ดี   รวมถึงการใช้เครื่องดูดควันพร้อมปล่องระบายอากาศ ยังช่วยป้องกันกลิ่นควันจากการประกอบอาหารไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้านได้ง่ายด้วย นอกจากนี้ผนังที่มิดชิดของครัวแบบทึบยังให้ความรู้สึกปลอดภัยและเป็นส่วนตัว รวมถึงมีพื้นที่ติดตั้งชั้นเก็บของได้มาก ในเรื่องการทำความสะอาด ครัวแบบทึบควรใช้วิธีเช็ดถูเอาสิ่งสกปรกออก ไม่ควรใช้วิธีฉีดน้ำล้างอย่างครัวแบบโปร่ง และควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ การติดพัดลมดูดอากาศด้านข้างห้องครัวส่วนต่อเติม เพื่อช่วยระบายกลิ่น/ควัน ตู้ลอยติดผนังเหนือเคาน์เตอร์สำหรับเก็บของในห้องครัวแบบทึบ ขอบคุณภาพ : www.banidea.com อย่างไรก็ตามเมื่อเจ้าของบ้านตัดสินใจเลือกต่อเติมครัวตามแบบที่ตนเองต้องการแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบโปร่งหรือแบบทึบ มีเรื่องสำคัญที่ห้ามละเลยคือ โครงสร้างที่ถ่ายน้ำหนักลงพื้นของครัวส่วนต่อเติม จะต้องแยกจากกันกับโครงสร้างบ้านเดิม เพราะส่วนต่อเติมซึ่งมักลงเสาเข็ม สั้นนั้นโดยปกติจะทรุดตัวเร็วกว่าตัวบ้านเดิม จึงควรให้การทรุดตัวเป็นอิสระจากกัน  ไม่ดึงรั้งกันจนกลายเป็นปัญหาบ้านทรุดแบบเอียงและเกิดการฉีกขาดของโครงสร้าง ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไขได้ยากมาก ขอขอบคุณข้อมูลจาก SCG เกี่ยวกับการต่อเติมบ้านส่วนต่างๆ บ้านชั้นเดียวต่อเติมเป็นบ้านสองชั้นได้หรือไม่ 4 ปัญหาคาใจต่อเติมครัวแล้วทรุด พื้นที่บันได ทำอะไรเพิ่มเติมได้
4 ขั้นตอนต้องรู้ มีประวัติค้างชำระกู้อย่างไรให้ผ่าน

4 ขั้นตอนต้องรู้ มีประวัติค้างชำระกู้อย่างไรให้ผ่าน

คำว่า “หนี้ที่มีปัญหา หรือหนี้ NPL” เป็นคำที่หลายๆ คนอาจไม่อยากได้ยิน ไม่คิดจะเป็น และไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง หนี้ NPL คือ หนี้ที่มีการค้างชำระเกิน 90 วัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือทางการเงินของคุณอย่างมาก หากคุณมีการค้างจ่ายหนี้หรือจ่ายไม่ตรงเวลา เพราะมันจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า "สัญญาไม่เป็นสัญญา เป็นหนี้แล้วไม่ชำระหนี้" เรื่องแบบนี้นอกจากจะส่งผลต่อการขอกู้ในอนาคตแล้ว ยังทำให้โอกาสในการได้รับอนุมัติยากกว่าคนที่มีประวัติใสสะอาด แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เราลองมาดู 4 ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อกู้ให้ผ่านกัน 1. หันหน้ามาคุยกัน เพื่อเจรจาแก้ไข เนื่องจากการค้างจ่ายหนี้หรือการชำระไม่ตรงเวลานั้น อาจเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา เช่น เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ โรงงานได้รับความเสียหาย ผลิตสินค้าไม่ทัน จึงสูญเสียรายได้ ทำให้ไม่มีเงินมาจ่ายหนี้ตามกำหนด ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เจรจาหาทางออกร่วมกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ของคุณ เพื่อแก้ปัญหา ทั้งนี้การเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะอาจช่วยกันแก้ปัญหาได้ก่อนที่คุณจะกลายเป็นหนี้ NPL หรือหากเป็นไปแล้ว ก็ยังสามารถเจรจากันได้ ที่มักเรียกกันว่าการประนอมหนี้ ได้แก่ การยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ออกไปด้วยการลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนลง การขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้บางส่วน หรืออื่นๆ แล้วแต่กรณีไป 2. มุ่งมั่นแก้ไขปัญหา สะท้อนความตั้งใจ เพราะปัจจัยในการพิจารณาให้สินเชื่อของธนาคารนั้นดูที่ความตั้งใจในการชำระหนี้เป็นหลัก หากคุณไม่ย่อท้อ พยายามทำทุกทางเพื่อให้การแก้ไขหนี้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความร่วมมือในการจ่ายหนี้ หรือการปฏิบัติตามเงื่อนไขการผ่อนชำระอย่างเคร่งครัด สิ่งนี้จะสะท้อนความตั้งใจในการแก้ปัญหาของคุณได้อย่างชัดเจน 3. สร้างประวัติใหม่ ผ่อนให้ตรงเวลา เนื่องจากประวัติการผิดนัดชำระหนี้เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร ซึ่งคุณจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการพิสูจน์ตัวเอง ไม่ใช่ว่าผ่อนเป็นปกติดีอยู่ 2-3 เดือนก็จะไปขอกู้ เพราะธนาคารยังไม่มั่นใจความสามารถในการชำระเงินของคุณ ดังนั้นคุณควรพยายามสร้างประวัติใหม่ให้ดีเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าฐานะทางการเงินของคุณกลับมาเป็นปกติแล้ว 4. เคลียร์หนี้ NPL ให้จบ เก็บหลักฐานอย่าให้หาย หากคุณสามารถเคลียร์หนี้ก้อนนี้ได้หมดแล้ว สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้จะออกหลักฐานยืนยันมาให้ ซึ่งคุณจะต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี เพื่อใช้แสดงกับธนาคารที่คุณไปขอกู้ว่าคุณสามารถจบหนี้ที่มีปัญหาได้แล้วจริงๆ สำหรับคนที่เป็นหนี้ที่มีปัญหา หรือเป็นหนี้ NPL ไปแล้ว การพิสูจน์ตัวเองนั้นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ในระหว่างนี้ธุรกิจของคุณต้องมีวินัยทางการเงินอย่างมาก อย่าละเลยการเดินบัญชีหรือ Statement เพราะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงกระแสเงินสดของธุรกิจ หรือแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ชำระหนี้ แต่ทางที่ดีก็คือพยายามอย่าให้เกิดปัญหาขึ้นมา การไม่มีประวัติหนี้ค้างชำระย่อมดีที่สุด และหากเกิดปัญหาขึ้นมาจริงๆ ให้รีบคุยกับเจ้าหนี้ เพื่อหาทางออกร่วมกัน อย่าปล่อยให้ปัญหาลุกลามจนกลายเป็น NPL   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  www.kasikornbank.com
4 เคล็ดลับ เลือกเคาน์เตอร์ครัวยังไงไม่ให้เสียใจภายหลัง

4 เคล็ดลับ เลือกเคาน์เตอร์ครัวยังไงไม่ให้เสียใจภายหลัง

หากพูดถึงห้องครัว สิ่งแรกที่จะนึกถึงก็คือ เคาน์เตอร์ครัวนั้นเอง ซึ่งปัจุบันมีให้เลือกมากมายหลายแบบ จนทำให้เพื่อนๆ หลายคนเลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียว วันนี้เราจึงมี 4 เคล็ดลับการเลือกเคาน์เตอร์ครัวมาฝากเพื่อนๆ กัน ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูกันเลยครับ 1. ประเภทครัว ในปัจจุบันครัว ก็มีหลากหลายแบบให้เลือก ซึ่งก็มีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป โดยหลักๆ จะแบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน คือ - ครัวปูน : หากจะพูดถึงเรื่องความทนทาน แข็งแรง ต้องยกให้ครัวปูนเป็นอันดับ 1 เลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะทำครัวหนักแค่ไหน ก็ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเสียหายได้ยากและมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนาน จึงเหมาะสำหรับเพื่อนๆ ที่ทำครัวหนัก หุง อุ่น ต้ม ผัด ทอด แบบจัดเต็ม แต่อาจไม่ถูกใจในเรื่องของความสวยงาม อีกทั้งเมื่อใช้ไปนานๆ อาจก่อให้เกิดกลิ่นอับได้อีกด้วยครับ - ครัวสำเร็จรูป : หรือครัวแบบ Knock Down โดยจะเป็นครัวประกอบแบบสำเร็จ จึงทำให้มีความรวดเร็ว สะดวกในการติดตั้ง ซึ่งดูมีความทันสมัย สวยงามและมีหลากหลายแบบให้เลือก เหมาะสำหรับเพื่อนๆ ที่ทำครัวไม่หนักมาก โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับคอนโด แต่ทั้งนี้ขนาดครัวอาจจะไม่พอดีกับพื้นที่ เนื่องจากครัวสำเร็จรูปจะมีการกำหนดขนาดไว้อย่างเรียบร้อยแล้ว - ครัวบิวท์อิน : จะมีลักษณะคล้ายกับครัวแบบสำเร็จรูป โดยจะมีความแตกต่างกันคือ สามารถสั่งทำได้ตามขนาด รูปแบบที่ต้องการ ซึ่งจะทำให้ได้ขนาดที่พอดีกับพื้นที่ รวมไปถึงในเรื่องของความทันสมัย ความสวยงาม ส่วนใหญ่นิยมใช้กับบ้านและคอนโด สามารถทำได้ทั้งครัวหนัก ครัวเบา แต่ไม่ทนทาน เท่าครัวปูน อีกทั้งยังมีราคาที่ค่อนข้างสูงครับ - ครัวสแตนเลส : จะมีความทนทาน รักษาความสะอาดได้ง่าย และไม่เป็นรอยขูดขีด ซึ่งมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนาน เหมาะสำหรับการทำครัวที่หนักมากๆ ส่วนใหญ่นิยมใช้ในภัตรคาร และ ร้านอาหารใหญ่ๆ ครับ 2. วัสดุที่เลือกใช้  ตอบโจทย์การใช้งาน อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่น้อย สำหรับการเลือกใช้วัสดุของเคาน์เตอร์ครัว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเพื่อนๆ ด้วยเช่นกัน ว่าต้องการทำครัวหนักมากน้อยเพียงใด เพราะวัสดุแต่ละตัว ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป  อาทิ - หินอ่อน : จะให้ในเรื่องของความสวยงาม หรูหรา สามารถทนน้ำ ทนความร้อนได้ดี แต่เป็นรอยขูดขีดได้ง่ายหากไม่ระมัดระวัง อีกทั้งยังมีราคาสูงอีกด้วย - หินแกรนิต : จะมีความคงทนแข็งแรง ทนต่อทุกสภาพอากาศ สามารถดูแลรักษาได้ง่าย มีความสวยงาม และราคาไม่สูงมาก แต่ดูดซับน้ำค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ - หินสังเคราะห์ : จะทนต่อความร้อน และ ทนต่อการขีดข่วน ซึ่งคุณภาพจะดีกว่าหินอ่อนและหินแกรนิต จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูง - ไม้ : จะให้ความเป็นธรรมชาติ และมีหลากหลายแบบให้เลือก สามารถทำความสะอาดได้ง่าย แต่ไม่ค่อยถูกกับน้ำ เพราะเมื่อโดนน้ำอาจก่อให้เกิดเป็นดวงหรือรอยได้ - ลามิเนต : ถือเป็นวัสดุที่นิยมใช้ ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลากหลายสี สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ราคาไม่แพง แต่ไม่ทนต่อความร้อน และเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย - กระเบื้อง : สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และทนความร้อนได้ดี แต่มักจะเกิดการแตกหักจนอาจทำให้กระเบื้องหลุดร่อนได้ 3. ขนาดห้องครัว ก่อนที่เพื่อนๆ จะทำการเลือกเคาน์เตอร์ครัวนั้น Infinity Design ผ้าม่าน แนะนำให้มีการวัดขนาดพื้นที่ภายในห้องครัวที่แน่นอน ชัดเจน เพราะจะทำให้สามารถเลือกเคาร์เตอร์ครัวได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทำให้ได้ขนาดที่พอดี ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป แต่หากเลือกเป็นครัวบิ้วท์อิน สำหรับข้อนี้คงหมดปัญหาไปได้เลย 4. สไตล์การตกแต่งและความชอบ ทั้งหมดนี้ก็คงต้องขึ้นอยู่กับความชอบ รวมไปถึงสไตล์การตกแต่งบ้านของแต่ละบุคคล เพราะครัวแต่ละแบบก็ให้ความสวยงามและมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป หรืออาจจะมีการเลือกใช้วัสดุ โทนสีให้เหมาะกับสไตล์การตกแต่งบ้านก็สามารถทำได้เช่นกันครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  www.infinitydesign.in.th
จะก่อสร้างบ้านต้องรู้เรื่องระยะห่างระหว่างอาคารกรณีอยู่ในที่ดินเจ้าของเดียวกัน

จะก่อสร้างบ้านต้องรู้เรื่องระยะห่างระหว่างอาคารกรณีอยู่ในที่ดินเจ้าของเดียวกัน

หลายครอบครัวเมื่อลูกหลานโตพอ หรือมีการแต่งงานสร้างครอบครัวใหม่ บางครั้งก็วางแผนต่อเติม ปรับปรุงบ้าน หรือสร้างบ้านใหม่อีกหลังในที่ดินเดียวกับบ้านหลังเดิม เพื่อที่จะได้อยู่ใกล้ๆ กัน หรือบางท่านมีที่ดินผืนใหญ่ แล้ววางแผนจะสร้างบ้านหลายหลังบนที่ดินผืนนั้น เพื่อให้ลูกหลานอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ แต่ยังไม่ได้แยกกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไป ถ้าท่านกำลังมีแผนเช่นที่ว่าอยู่พอดี หากได้ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายต่อเติม สร้างบ้าน ก็จะทราบว่า กฎหมายควบคุมอาคารมีข้อกำหนดเรื่องการก่อสร้างอาคารในที่ดินเจ้าของเดียวกันไว้  โดยอาคารแต่ละหลังจะต้องมีระยะห่างระหว่างกัน  ดังนั้น ไม่ว่าท่านกำลังจะก่อสร้างบ้านใหม่อีกหลังใกล้กับบ้านหลังเดิม หรือท่านกำลังสร้างบ้านใหม่หลายหลังพร้อมกัน ถ้าบ้านทั้งสองหลังหรือหลายหลังนั้นสร้างอยู่ในที่ดินเจ้าของเดียวกันจะต้องคำนึงถึงระยะห่างระหว่างอาคารด้วย บ้านแต่ละหลังจะต้องมีระยะห่างระหว่างกันไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 48 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ระยะห่างระหว่างบ้านหรืออาคารในที่ดินเจ้าของเดียวกัน จะห่างเท่าใด กฎหมายกำหนดให้พิจารณาจาก 2 เงื่อนไข คือ 1) ความสูงของอาคารทั้งสองหลัง และ 2) ผนังของอาคารทั้งสองหลังด้านที่ใกล้กันนั้นเป็นผนังทึบหรือมีช่องเปิด-ช่องแสง-ระเบียง แยกเป็น 3 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 เมื่อผนังอาคารด้านที่ใกล้กันเป็นผนังที่มีช่องเปิด-ช่องแสงหรือมีระเบียง ทั้งสองหลัง ผนังของอาคารด้านที่มี หน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสงหรือระเบียงของอาคาร ต้องมีระยะห่างจากผนังของอาคารอื่นด้านที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือระเบียงของอาคาร ดังต่อไปนี้ (ก) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ไม่น้อยกว่า 4 เมตร (ข) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 5 เมตร (ค) อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังหรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 6 เมตร กรณีที่ 2 เมื่อผนังอาคารด้านที่ใกล้กัน มีหลังหนึ่งเป็นผนังทึบ และอีกหลังเป็นผนังที่มีช่องเปิด-ช่องแสง หรือมีระเบียง ผนังของอาคารด้านที่เป็นผนังทึบต้องมีระยะห่างจากผนังของอาคารอื่นด้านที่มี หน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือระเบียงของอาคาร ดังต่อไปนี้ (ก) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ไม่น้อยกว่า 2 เมตร (ข) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร (ค) อาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร (ง) อาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร กรณีที่ 3 เมื่อผนังอาคารด้านที่ใกล้กัน เป็นผนังทึบทั้งสองหลัง และทั้งสองหลังมีความสูงเกิน 15 เมตรแต่สูงไม่ถึง 23 เมตร ผนังของอาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ด้านที่เป็นผนังทึบต้องอยู่ห่างจากผนังของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ด้านที่เป็นผนังทึบไม่น้อยกว่า 1 เมตร กรณีที่ 3 นี้ ถ้าเป็นอาคารที่ก่อสร้างอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ระยะห่างจะต้องไม่น้อยกว่า 2 เมตรนะครับ เนื่องจากมีข้อกำหนดเรื่องที่ว่างโดยรอบอาคารที่สูงเกิน 15 เมตรไว้ สำหรับกรณีที่ 2 และกรณีที่ 3 ถ้าหากมีอาคารหลังใดหลังหนึ่งหรือทั้งสองหลังชั้นบนสุดทำเป็นดาดฟ้าขึ้นไปใช้สอยได้ กฎหมายยังได้กำหนดอีกว่า ผนังของดาดฟ้าของอาคารด้านที่อยู่ใกล้กับอาคารอื่นต้องสร้างเป็นผนังทึบสูงจากพื้นดาดฟ้าไม่น้อยกว่า 1.80 เมตรอีกด้วย   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com
6 วิธีเด็ดไล่ตุ๊กแก ให้รีบเผ่นหนีออกจากบ้าน

6 วิธีเด็ดไล่ตุ๊กแก ให้รีบเผ่นหนีออกจากบ้าน

หลายคนคงขยาดกับเจ้าสัตว์เลื้อยคลานอย่าง “ตุ๊กแก” อยู่ไม่น้อย ทั้งรูปร่าง  ลวดลาย เสียงร้อง และความเหนียวหนึบของมัน ยิ่งทำให้ความน่ากลัวของเจ้าตัวลายเพิ่มมากขึ้น เราจึงมีวิธีเด็ดๆ ในการไล่ตุ๊กแกออกจากบ้านมาฝากกันครับ ไล่ตุ๊กแกด้วย "ยาฉุน" กลิ่นฉุนแรงๆ ถือเป็นสิ่งที่เจ้าตุ๊กแกเกลียดเข้าไส้ ยาฉุน หรือ ยาเส้นที่คนแก่สูบจึงช่วยเราได้ โดยอาจนำไปผสมกับน้ำแล้วนำมาเทหรือฉีดให้ทั่วบริเวณที่ตุ๊กแกอยู่ นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งยาฉุนเป็นก้อนๆ เท่าลูกปิงปอง มัดด้วยหนังยางแล้วนำไปวางบริเวณที่ตุ๊กแกอยู่ครับ "ยี่โถ" ก็ไล่ตุ๊กแกได้ หากมีต้นยี่โถปลูกติดสวน ให้ตัดกิ่งยี่โถแล้วนำมาวางบริเวณที่ตุ๊กแกชอบอยู่ หรือนำใบมาขยำให้กลิ่นออกแล้วนำไปวาง เพียงเท่านี้เจ้าตุ๊กแกตัวลายก็หนีไปไกลแล้วครับ ไล่ตุ๊กแกแบบง่ายแค่ใช้ "ผ้าห่อลูกเหม็น"  ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเหม็น เพราะฉะนั้นเรื่องกลิ่นนี่ถือว่ากำราบเจ้าตุ๊กแกได้แน่นอน เพียงนำผ้ามาห่อลูกเหม็นแล้วเอาไปวางตรงที่ตุ๊กแกชอบอยู่ แค่นี้เจ้าตุ๊กแกก็โบกมือบ๊ายบายลาจากบ้านแล้วล่ะ ปูนแดงผสมยาเส้น แหย่ไล่ตุ๊กแก ผสมปูนแดงเข้ากับยาเส้นแล้วนำมาพันที่ปลายไม้ จากนั้นแหย่ไม้ไปที่ตุ๊กแก ซึ่งตามสัญชาติญาณตุ๊กแกจะงับปลายไม้ทันที พองับแล้วก็จะเมายา บางตัวตกลงมาที่พื้น บางตัวงับติดอยู่กับปลายไม้ แล้วก็รีบนำเอาไปทิ้งได้เลย ไล่ตุ๊กแกด้วยกลิ่นฉุนจากใบน้อยหน่ากับใบสาบเสือ  นำใบน้อยหน่าและใบสาบเสือในจำนวนเท่ากันมาตำให้ละเอียดขนกลิ่นออก แล้วหาผ้าบางๆ มาห่อและนำไปวางที่ตุ๊กแกอยู่ รับรองว่ากลิ่นของมันจะไล่ตุ๊กแกให้วิ่งแจ้นไปไกลเลยล่ะ ใช้เชือกไล่ตุ๊กแก ด้วยการคล้อง   วิธีนี้ต้องลงแรงและอาศัยความกล้ากันสักหน่อยครับ ด้วยการนำเชือกเส้นเล็กๆ มาผูกเงื่อนเป็นบ่วงรูด แล้วนำไปผูกติดกับไม้ยาว คราวนี้ก็นำไปคล้องจับเจ้าตุ๊กแกไปปล่อยกันได้เลย แอบกระซิบนิดหน่อย ว่าอย่าให้เจ้าตุ๊กแกรู้ตัวเชียวนะ ไม่งั้นมันจะหนีเราไปไกล ตามจับกันแทบไม่ทันเลยล่ะ   6 วิธีนี้ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพราะหาอุกปกรณ์ได้ง่าย ไร้สารเคมี จึงทำให้ปลอดภัยทั้งตัวเราและตุ๊กแกครับ แม้ว่าเราจะอยากไล่ตุ๊กแกให้ออกจากบ้านไป ก็ไม่ได้หมายความต้องไปลงมือฆ่าเจ้าตุ๊กแกใช่ไหมล่ะครับ ความรู้อื่นๆ ในการไล่ตุ๊กแก ตุ๊กแกบ้าน บทความที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ไล่จิ้งจกไปให้ไกลบ้าน ง่ายนิดเดียว วิธีไล่หนูบนเพดานบ้าน กำจัดปลวก ด้วยวิธีธรรมชาติ วิธีกำจัดมด ด้วยของใกล้ตัว
ท่อตัน ปัญหาไม่เล็ก ที่ป้องกันและแก้ไขได้

ท่อตัน ปัญหาไม่เล็ก ที่ป้องกันและแก้ไขได้

ปัญหา “ท่อตัน” สามารถเกิดขึ้นได้และอาจส่งผลกระทบกับส่วนอื่นๆ ของบ้านตามมา หากพบอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นและคาดว่าน่าจะเป็นเพราะท่อตันแล้วละก็ ควรหาสาเหตุของปัญหาและรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นใหญ่ลุกลามจนยากต่อการแก้ไข ท่อตัน มักมีสาเหตุหลักมาจากการสะสมของคราบ เศษสิ่งสกปรก มารวมตัวกันจนเป็นก้อนที่อุดตันทางเดินจนน้ำไม่สามารถระบายได้ดี โดยมักเกิดตามจุดต่างๆ ตั้งแต่ ท่อระบายน้ำฝน ท่อต่างๆ ในห้องน้ำ และท่อในห้องครัว ท่อระบายน้ำฝน มีหลายส่วนที่มีโอกาสเกิดการอุดตัน ตั้งแต่ รางน้ำฝนบนหลังคา พื้นดาดฟ้า และพื้นระเบียง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสะสมของเศษผง ใบไม้แห้ง รวมถึงรังนก ที่ถูกสะสมในรางมาสักระยะหนึ่ง และมีปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดการอุดตันได้ สำหรับรางน้ำฝน สามารถแก้ได้โดยขจัดเศษสิ่งสกปรกและเศษใบไม้บริเวณปากท่อและภายในท่อระบายน้ำออกให้หมด จากนั้น ควรป้องกันไม่ให้เศษสิ่งสกปรกตกลงไปได้ แล้วจึงติดตั้งตะแกรงครอบบนรางน้ำฝน ส่วนพื้นดาดฟ้าหรือพื้นระเบียง แก้ได้โดยขจัดสิ่งสกปรกบริเวณปากท่อและภายในท่อเช่นเดียวกับกรณีรางน้ำฝน และเลือกใช้ฝาครอบท่อระบายน้ำแบบ Roof Drain จุดที่สามารถเกิดการอุดตันได้ เช่น ท่อระบายน้ำของรางน้ำฝน พื้นดาดฟ้า และพื้นระเบียง ท่อต่างๆ ในห้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ ท่อระบายน้ำที่พื้น ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเศษผม ไขสบู่ ยาสีฟัน เศษอาหาร และไขมัน สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้โดยการใช้น้ำยาขจัดท่อระบายน้ำ อุดตันสูตรไม่กัดกร่อนท่อระบายน้ำ (ตามวิธีที่ผู้ผลิตกำหนด) แต่หากยังไม่ดีขึ้นจะต้องแก้ไขเฉพาะจุดที่ยังคงอุดตัน เช่น การใช้ลวดเหล็กเกี่ยวเศษสิ่งสกปรก หรืองูเหล็กทะลวงเอาสิ่งสกปรกที่ติดค้างให้หลุดออกมา หลังจากแก้ไขแล้ว ควรป้องกันโดยเลือกตะแกรงถี่ๆ มาติดตั้งบริเวณปากท่อเพิ่มเข้าไป (ในกรณีที่สามารถทำได้) รวมทั้งทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ นอกจากเรื่องท่อต่างๆ ในห้องน้ำแล้ว ยังมีเรื่อง “ส้วมตัน” ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเศษขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น เศษกระดาษทิชชู่ ผ้าอนามัย หรือเศษขยะชิ้นใหญ่ติดค้างในท่อน้ำทิ้งจากโถสุขภัณฑ์ ปัญหานี้แก้ไขได้โดยการใช้ไม้ยางปั๊ม กดให้เกิดแรงดันเพื่อดันน้ำและสิ่งอุดตันให้เคลื่อนผ่านลงไป ทั้งนี้ สามารถป้องกันได้โดยการติดตั้ง Cleanout สำหรับใช้เปิดทำความสะอาดได้ในกรณีเกิดการอุดตันภายในท่อ นอกจากนี้ การทิ้งเศษขยะที่ย่อยสลายยากลงไปบ่อยๆ จะทำให้ถังบำบัดสำเร็จรูปหรือบ่อเกรอะ-บ่อซึม เต็ม ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาที่ยุ่งยากต่อการแก้ไขในอนาคต จึงควรระมัดระวังการทิ้งเศษขยะลงไป ท่อน้ำทิ้งอ่างล้างหน้าแบบ Bottle Trap และแบบ P-Trap ที่สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ การติดตั้ง Floor Cleanout จะช่วยให้ง่ายต่อการทำความสะอาดกรณีเกิดการอุดตัน ส่วนท่อในห้องครัว จะเกิดการอุดตันที่อ่างล้างจานซึ่งรองรับการล้างผักล้างอาหาร รวมถึงจานชามและอุปกรณ์ที่ใช้แล้ว จึงทำให้มีคราบไขมัน เศษอาหาร และสิ่งสกปรกสะสมที่บริเวณนี้มากกว่าส่วนอื่นๆ จนทำให้การระบายน้ำ เป็นไปได้ช้า หรือไม่สามารถระบายไปได้ ซึ่งมี 3 ส่วนที่จะต้องแก้ไขคือ ตะแกรงดักเศษอาหารที่ต้องเอาอาหารออกมาทิ้งและล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย กระปุกท่อน้ำทิ้งใต้อ่างล้างจานที่แก้ได้โดยหมุนเกลียวถอดออกมาล้างทำความสะอาด รวมถึงการใช้งูเหล็กช่วยในการกระทุ้งทะลวงท่อที่ติดอยู่กับผนังให้สิ่งอุดตันที่ตกค้างหลุดออกมา และบ่อดักไขมัน ที่ต้องเปิดฝาถังออกเพื่อตักไขมันใส่ถุงขยะโดยปิดอย่างมิดชิดมัดแน่นหนา และทิ้งให้ถูกที่โดยมีการแยกขยะอย่างเหมาะสม สะดือซิงค์ล้างจานแบบที่มีตะกร้ากรองหรือตะแกรงดักเศษอาหาร ซึ่งควรเคาะเศษอาหารทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เศษอาหารเกิดการบูดเน่า อันอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค บ่อดักไขมัน ที่ทำหน้าที่ดักและแยกชั้นไขมันออกจากน้ำเสียจากซิงค์ครัว ซึ่งควรเปิดฝาถังออกเพื่อตักไขมันออกไปทิ้งเป็นประจำ แม้ว่าปัญหาการอุดตันเหล่านี้ จะสามารถแก้ไขได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็สามารถป้องกันไว้ก่อนได้ โดยการวางระบบท่อและติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถเปิดหรือถอดเพื่อทำความสะอาดได้ ที่สำคัญยังต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในบ้าน ลดการทิ้งเศษสิ่งสกปรกต่างๆ ลงไป รวมถึงทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดปัญหาการอุดตันและสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน   ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.scgbuildingmaterials.com
สร้างบ้านใหม่เลือกแบบบ้านชั้นเดียวหรือแบบบ้านสองชั้นดี?

สร้างบ้านใหม่เลือกแบบบ้านชั้นเดียวหรือแบบบ้านสองชั้นดี?

สำหรับใครที่มีที่ดินอยู่แล้ว และอยู่ในขั้นตอนกำลังตัดสินใจจะสร้างบ้าน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกแบบบ้านชั้นเดียว หรือแบบบ้านสองชั้นดี  ลองพิจารณาจากปัจจัยและความเหมาะสมในด้านต่างๆ ต่อไปนี้เพื่อช่วยตัดสินใจ 1. ความต้องการ/ฟังก์ชั่น และขนาดพื้นที่ใช้สอย การกำหนดความต้องการใช้งานในบ้านหรือฟังก์ชั่นของบ้าน จะมีผลต่อขนาดพื้นที่ใช้สอย จำนวนชั้นและลักษณะของบ้าน ยกตัวอย่างเช่น ปลูกเรือนหอสามชั้นเพื่อเตรียมขยายครอบครัวซึ่งมีความต้องการพิเศษ เช่น ห้องอเนกประสงค์ ห้องทำงาน ฯลฯ,  สร้างบ้านใหม่สองชั้นโดยเตรียมพื้นที่สำหรับพ่อแม่อยู่อาศัย (ผู้สูงอายุ) ในชั้นล่าง, สร้างบ้านชั้นเดียวเพื่ออยู่อาศัยในวัยชรา, สร้างบ้าน 4 ชั้นเพื่อทำธุรกิจควบคู่ด้วย เช่น สำนักงาน ร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือปล่อยเช่าบางส่วน เป็นต้น ดังนั้น เจ้าของบ้านควรทำรายการความต้องการใช้สอยพื้นที่ของบ้านในส่วนต่างๆ เตรียมไว้ เพื่อปรึกษาสถาปนิกให้ออกแบบตรงตามความต้องการ หรือเลือกแบบบ้านที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกในบ้านน้อยประมาณ 1-3 คน อาจเลือกแบบบ้านชั้นเดียวได้ หากไม่ได้มีความต้องการพื้นที่ใช้สอยมากนัก นอกจากนี้แบบบ้านชั้นเดียวยังเหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ โดยทำเป็นพื้นระดับเดียวไม่มีขั้นบันได เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ส่วนครอบครัวที่มีสมาชิกหลายคนหรือบ้านที่ทำธุรกิจควบคู่ไปด้วย แบบบ้านสองชั้นหรือหลายชั้นจะตอบโจทย์การใช้งานมากกว่า เพราะสามารถออกแบบและจัดสรรพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสม เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น มีสวนภายนอกสำหรับเด็กหรือสัตว์เลี้ยง มีบ่อปลาคาร์พ มีพื้นที่จอดรถได้หลายคัน ออกแบบพื้นที่และห้องนอนและห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ หรือแบ่งพื้นที่ชั้นล่างเป็นส่วนที่คนนอกเข้าใช้งานได้เป็นร้านหรือสำนักงาน (Public Space) ส่วนชั้นบนทำเป็นพื้นที่อยู่อาศัยส่วนตัว (Private Space) เป็นต้น นอกจากนี้ ความชอบเรื่องสเปซ (Space) ก็เป็นอีกปัจจัยในการเลือกแบบบ้านเช่นกัน สำหรับบ้านชั้นเดียวสามารถออกแบบให้มีห้องโถงสูงทั้งหลัง (ฝ้าเพดานยกสูง) เพื่อช่วยทำให้ห้องดูโปร่งสบายได้ โดยยังกลมกลืนกับบ้านพักอาศัยโดยรอบ ส่วนบ้านสองชั้นสามารถเพิ่มลูกเล่นให้พื้นที่พิเศษได้ เช่น ทำห้องโถงหรือห้องรับแขกแบบดับเบิ้ลสเปซ (Double Space) หรือแม้แต่การเล่นระดับพื้นสูงต่ำภายในบ้านเพื่อแบ่งพื้นที่ส่วนต่างๆ ก็ได้เช่นกัน 2. ขนาดที่ดิน และทำเลที่ตั้ง ขนาดที่ดินก็นับว่าเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกแบบบ้านชั้นเดียวหรือแบบบ้านสองชั้น เนื่องจากการสร้างบ้านก็มีกฎหมายควบคุมซึ่งต้องคำนึงถึงระยะร่นแนวอาคารดังนั้นเมื่อมีที่ดินพร้อมปลูกบ้านแล้ว เจ้าของบ้านจะทราบขนาดพื้นที่ที่สามารถสร้างบ้านได้เมื่อหักลบระยะร่นออกไป จากนั้นจึงพิจารณาความเหมาะสมในการสร้างบ้านให้เหมาะสมกับขนาดที่ดิน เช่น หากมีที่ดินขนาดใหญ่ จะสามารถสร้างบ้านชั้นเดียวหรือสองชั้นก็ได้ตามฟังก์ชั่นการใช้งาน แต่หากมีที่ดินขนาดเล็กซึ่งเมื่อหักลบระยะร่นออกแล้ว การสร้างบ้านสองชั้นหรือมากกว่าสองชั้นนั้นอาจเหมาะสมกว่า เพราะสามารถเพิ่มขนาดพื้นที่ใช้สอยในทางสูงได้ โดยไม่ควรสร้างบ้านที่มีความสูงเกินที่กฎหมายกำหนดตามแต่ละพื้นที่เช่นกัน ด้านทำเลที่ตั้ง ควรดูบริบทโดยรวมว่าที่ดินอยู่ในพื้นที่แบบใด เช่น ที่ดินอยู่ในเขตชุมชนเมืองที่มีตึกสูงรายล้อม อยู่ในหมู่บ้านจัดสรร อยู่ใกล้แหล่งน้ำ หรือมีที่ดินอยู่ในเขตที่เสี่ยงน้ำท่วม บริบทและสภาพ:แวดล้อมเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบบ้าน ลักษณะของบ้านที่จะสร้างจึงต้องพิจารณาด้านทำเลที่ตั้งร่วมด้วยตามความเหมาะสม เช่น สร้างบ้านแบบอาคารสามชั้นในเขตชุมชนเมืองเนื่องจากพื้นที่ขนาดเล็ก สร้างบ้านเดี่ยวสองชั้นในหมู่บ้านจัดสรร หรือสร้างบ้านใต้ถุนสูงในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม เป็นต้น 3. งบประมาณการก่อสร้าง งบประมาณเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดการสร้างบ้าน  เพราะหากเปรียบเทียบระหว่างบ้านชั้นเดียวและบ้านสองชั้นที่มีพื้นที่ใช้สอยเท่ากันแล้ว บ้านสองชั้นจะมีราคาก่อสร้างที่ต่ำกว่า เพราะไม่ต้องลงเสาเข็มในพื้นที่บริเวณกว้าง และขนาดผืนหลังคาขนาดเล็กกว่าบ้านชั้นเดียว อย่างไรก็ตาม ราคาการก่อสร้างก็ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร่วมด้วย ควรศึกษาข้อมูล หรือปรึกษาสถาปนิกก่อนตัดสินใจ 4. การดูแลรักษา นอกจากการอยู่อาศัยแล้ว การดูแลรักษาก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา สำหรับบ้านชั้นเดียวจะเป็นบ้านที่ดูแลรักษาได้ง่าย เช่น การเช็ดกระจก ทำความสะอาดผนังและรางน้ำฝน การซ่อมแซมงานหลังคา ฯลฯ แต่สำหรับบ้านสองชั้นหรือมากกว่าสองชั้นนั้นจะดูแลรักษาลำบากกว่าเพราะระดับความสูง อาจต้องใช้บันได หรืออุปกรณ์เสริมอื่นๆ ในการทำความสะอาด หรือซ่อมแซมส่วนต่างๆ 5. การต่อเติมในอนาคต หากคิดไว้ว่าในอนาคตอาจมีการต่อเติม โดยเฉพาะการต่อเติมขยายพื้นโดยรอบ เช่น ปลูกบ้านอีกหลังเชื่อมกับบ้านเดิม ต่อเติมห้องครัว ต่อเติมห้องนอนชั้นล่าง ฯลฯ ซึ่งต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการก่อสร้าง การเลือกแบบบ้านสองชั้นที่ประหยัดการใช้ที่ดินมากกว่าก็อาจจะเหมาะกว่าการเลือกแบบบ้านชั้นเดียวที่มีพื้นที่ใช้สอยเท่ากัน หรือหากวางแผนต่อเติมเพิ่มจำนวนชั้นในอนาคต ซึ่งในช่วงแรกของการอยู่อาศัยจะเป็นบ้านชั้นเดียว โดยเตรียมทำแบบบ้านสองชั้นไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบหน้าตาบ้าน งานโครงสร้าง รวมถึงงานระบบต่างๆ เป็นต้น หลังจากพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกแบบบ้านแล้ว ไม่ว่าจะตัดสินใจเลือกแบบบ้านชั้นเดียวหรือแบบบ้านสองชั้นก็ตาม สิ่งสำคัญของการสร้างบ้านขึ้นมาสักหลังคือ ควรตอบโจทย์การใช้งานของสมาชิกในบ้าน อยู่แล้วมีความสุขสบาย ปลอดภัย และไม่ขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  www.scgbuildingmaterials.com

1 ... 6 7 8 ... 13