Brand

4 สูตร (ไม่) ลับ “Be-Think-Do-Say” สร้างแบรนด์ “อสังหาฯ” ให้เป็นผู้นำธุรกิจ

ต้องยอมรับว่าจากการเข้ามาของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้โลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วไป รวมถึงการดำเนินธุรกิจของธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องปรับเปลี่ยนตามให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย และไม่เพียงแต่การดำเนินธุรกิจที่จะต้องตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้เท่านั้น

 

แต่การดำเนินธุรกิจต้องสามารถก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ผู้นำตลาด หรือ LEADERSHIP BRAND เพื่อครองใจตลาดและผู้บริโภคให้ได้ เพราะยุคปัจจุบันผู้บริโภคจงรักภักดีต่อแบรนด์ลดน้อยลง และไม่ได้รักหรือชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว ผู้บริโภคพร้อมจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองได้ตลอดเวลาด้วย

 

สำหรับการสร้างแบรนด์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  แม้ว่าคนส่วนใหญ่เลือกซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม จากทำเลที่ตั้ง วัสดุก่อสร้าง ราคาหรือโปรโมชั่น แต่เรื่องของแบรนด์ก็ถือว่ามีความสำคัญ เพราะจะสะท้อนกลับมาถึงสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นว่า เป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี ราคายุติธรรม การสร้างแบรนด์อสังหาฯ ในยุคปัจจุบันจึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กับธุรกิจอื่น ๆ

Brand Leadership 2

โดยสูตรลับการสร้างแบรนด์ที่สำคัญ ประกอบด้วย “Be-Think-Do-Say” ที่ถือว่าเป็นหัวใจที่จะทำให้แบรนด์เป็นที่ยอมรับและเข้าไปนั่งในใจของลูกค้า ซึ่ง “ดลชัย บุณยะรัตเวช ประธานและประธานบริหารฝ่ายกลยุทธ์ บริษัท อินสปิริตี้ พาร์ทเนอร์ชิพ จำกัด ​ ได้มาถ่ายทอดเคล็ดลับดังกล่าว ในหัวข้อ “Brand Leadership & Brand Portfolio Management” ภายในงาน TerraHint Brand Series 2021 – Develop the leadership brand in a game changing way พลิกเกม เปลี่ยนแบรนด์สู่ผู้นำ  

Consumer Paradox ผู้บริโภคหลายใจในยุคโควิด

ปัจจุบันการก้าวสู่แบรนด์ผู้นำ หรือ LEADERSHIP BRAND อาจจะไม่ใช่เรื่องยาก เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง สังคมและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้การสร้างแบรนด์ได้รับปัจจัยสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

 

สำหรับคำว่า LEADERSHIP BRAND มีความหมายว่า เป็นแบรนด์ที่มีอำนาจในการสื่อสาร IDENTITY หรืออัตลักษณ์ของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และสามารถแสดงความโดดเด่น หรือพิเศษอย่างมั่นคง และที่สำคัญจะต้องสื่อสารในสิ่งที่ ตัวเองเชื่อ และสัญญากับสังคมได้ สามารถจะส่งมอบคุณค่าของแบรนด์ได้ตลอดเวลา แต่สิ่งสำคัญเราจะสร้างแบรนด์ เพื่อครองใจตลาดและผู้บริโภค ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายใต้ยุค New Normal โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

 

โดยปัจจุบัน พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal มีการเปลี่ยนแปลงใน 4 มุมด้วยกัน ดังนี้

1.Changing the Channel

ช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่เปลี่ยนแปลง  มีความเป็นดิจิตอลมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันการติดต่อแบบ Physical ก็ยังจำเป็น เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม สองโลกต้องไปด้วยกัน

2.Shift  to Value

การใช้จ่ายที่คิดแล้วคิดอีก เพราะเงินหายาก กว่าจะซื้ออะไรได้จะคิดมากขึ้น

3.Healthy, safety and Local

คนให้คนสำคัญกับเรื่องของสุขภาพ การนอนหลับที่ดี การมีสมาธิ และความปลอดภัย การใช้จ่ายภายในประเทศ

4.Shock to Loyalty

รอยัลตี้ของแบรนด์น้อยลง  ผู้บริโภคยุคปัจจุบัน พร้อมจะเปลี่ยนไปซื้อสินค้าแบรนด์อื่นได้ง่ายขึ้น เพราะเน้นในเรื่องของความสะดวสบาย อะไรที่ใกล้ตัวและสะดวกก็จะเลือกซื้อแบรนด์นั้น

Brand Leadership 1

จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากขึ้น คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ถือว่าเป็น​เทรนด์ใหม่ คือ Consumer paradox ซึ่งหมายถึง ผู้บริโภคมีความต้องการ 2 อย่างในตัวเอง ไม่ได้มีความต้องการด้านเดียว มักจะมี 2 มุมเสมอ และบางครั้งก็ขัดแย้งกันเอง ซึ่งแบรน์จะต้องตอบสนองเขาให้ได้

เป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคยุคปัจจุบันมีความหลายใจ บางครั้ง อยากได้ Digital world แล้วก็อยากได้ Physical world ด้วย บางครั้งก็อยากได้ Social time และก็อยากได้เวลาของตัวเองด้วย

ดังนั้น แบรนด์จะต้องมีความเข้าใจผู้บริโภคตลอดเวลา ผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทั้ง Demographic จิตวิทยา  ค่านิยม  แบรนด์จึงอยู่เฉยไม่ได้ ต้องจับให้ได้และต้องเข้าใจ  เพราะแบรนด์คือการสร้างความสัมพันธ์ (Brand is a relationship) ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค ถ้าความสัมพันธ์ไม่แข็งแรงแบรนด์ก็ไปต่อไม่ได้ เพราะฉะนั้น Brand ต้องเป็น Paradox หมายถึงการมี 2 มิติ มีเพียงมิติเดียวไม่ได้ เพื่อตอบสนองความต้องการ 2 มิติของผู้บริโภค เหมือนหยิน-หยาง มีจุดแข็งและจุดอ่อนนุ่ม ทุกอย่างต้องมี 2 มิติเสมอ  เป็นเทรนด์ใหม่ของการสร้างแบรนด์

4 สูตรสร้างแบรนด์ “Be-Think-Do-Say

ส่วนองค์ประกอบหลักในการสร้างแบรนด์ มีด้วยกัน 3 มุม ที่จะต้องรู้ ประกอบด้วย

1.BRADD PURPOSE เป้าหมายของแบรนด์เราต้องรู้ว่า คุณค่าและกลยุทธ์องค์กร เป็นอย่างไร และต้องมีความชัดเจน

2.CONSUMER NEEDS ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต

3.WORLD NEEDS เป็นอย่างไร หลังจากสังคมเกิดโรคระบาดขึ้น แบรนด์สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ได้อย่างไร

Brand Leadership

การสร้างแบรนด์จะต้องนำเอาองค์ประกอบทั้ง 3 มาพิจารณา และสามารถปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งวิธีการทำงานในสร้างแบรนด์ที่ถูกต้อง  จะต้องเริ่มต้นด้วย

1.DEFINE ว่าบริบทเป็นอย่างไร ความท้าทายเป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างไร

2.ALIGN การนำเอาทุกอย่างมาปรับให้เข้ากัน ทั้งองค์กร สิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมาย

3.PROJECT เมื่อนำทุกอย่างมาจัดการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หรือ ALIGN เข้าด้วยกันแล้ว จึงทำเป็นแบรนด์ให้เป็นแฟลตฟอร์มออกไป เมื่อทุกอย่างนิ่งแล้วทำเป็น PROJECT โดยเฉพาะแบรนด์อสังหาริมทรัพย์​ ถ้าเรามีกลยุทธ์แบรนด์ที่นิ่ง ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมดแล้ว สามารถทำโปรเจ็กต์ที่ถูกต้อง

 

สำหรับวิธีการสร้างแบรนด์ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำ จะต้องประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ “Be-Think-Do-Say”

1.Be : Brand essence, Brand purpose, Brand positioning

การสร้างแบรนด์ต้องเริ่มต้นด้วยกความเข้าใจ Being ตัวเองก่อน คำว่า Being ไม่ใช่แค่บุคลิกภาพ แต่รวมถึง Spirit  จิตวิญญาณของแบรนด์ว่าเป็นอย่างไร

2.Think: Brand idea, Brand portfolio/architecture, Brand identity

เมื่อรู้จักตัวเองแล้วจะรู้วิธีคิด ว่าอสังหาฯ ​จะต้องมีไอเดียอย่างไร มีคอนเซ็ปต์อย่างไร

3.Do: Brand culture, Brand expression , Brand behavior

เมื่อได้ไอเดียและคอนเซ็ปต์แล้ว แต่อย่างสื่อสารการตลาด แต่ต้องทำให้เห็นก่อน Doing จึงหมายถึง คุณจะต้องสร้างวัฒนธรรมแบรนด์ให้ชัดเจน พนักงานทุกคนต้องเข้าใจ การแสดงออกจะเป็นอย่างไร ต้องวางแผนให้ดี Portfolio จะเป็นอย่างไร สินค้าจะมีอะไรบ้าง

4.Say : Brand communication, Brand narrative, Identity expression

หลังจากทำกระบวนการในขั้นตอน Do แล้วค่อยสื่อสารการตลาด หรือ Saying ออกไป ซึ่งถือเป็นอันดับสุดท้ายของการสร้างแบรนด์

ค้นหาตัวตนของแบรนด์

ในการสร้างแบรนด์สู่การเป็นผู้นำ จุดเริ่มต้นต้องค้นหาตัวตนที่แท้จริง หรือ Be authentic ของแบรนด์ให้ได้  ต้องเข้าใจตัวตนของแบรนด์อสังหาฯ​ ที่แท้จริงของคุณว่าเป็นอย่างไร คำว่า​ authentic ซึ่งหมายถึง ตัวจริง ของแท้ คุณจะต้องหาจิตวิญญาณที่แท้จริงของตัวเองให้ชัดเจน ซึ่งวิธีการหาจะใช้การเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม

We are…..

Why we are…..   

เป็นคำถามที่ต้องถามตัวเอง เราเป็นใครกันแน่?

โดยมีเคล็ดลับในการหาคำตอบให้กับตนเอง ด้วยการตั้งคำถาม Who are you เพราะการที่คุณเป็นอะไร มันจะสะท้อนสิ่งที่คุณทำ คุณครีเอท และมาจากคนที่รู้จักคุณ​ เป็น 3 มุม ที่บ่งบอกว่าตัวคุณเป็นใคร  ผู้บริโภคคุณเป็นใคร สิ่งที่คุณอยากครีเอทคืออะไร สิ่งที่จะอยากทำคืออะไร  อันนี้เป็นตัวบ่งบอกว่าคุณ คือ ใคร

 

นอกจากนี้ ยังจะต้องสร้างภาพแบรนด์ให้มีความเป็นมนุษย์ให้ได้ เพื่อสร้างบุคลิกของแบรนด์ หรือวัฒนธรรมของตนเองให้ตลอดรอดฝั่ง เพราะยุคนี้  UNIQUE SELLING POINT ไม่มีแล้ว  ทุกอย่างมันเหมือนกันหมด เทคโนโลยีมันตามกันทัน

เราจะทำอย่างไร ที่จะสร้างบ้านให้แตกต่าง สิ่งที่อยากแนะนำให้แบรนด์อสังหาฯ ทำคือ SPIRITUAL IDENTITY อัตลักษณ์ทางจิตวิญญาณ เป็นเทรนด์ใหม่ล่าสุด ถ้าทุกแบรนด์เข้าใจ จะไปต่อได้ง่ายและโดดเด่น แสดงความเป็น LEADSHIP ได้ง่าย

Brand Leadership 3

ค้นหาตัวตนจากบทบาทที่แสดง

อีกวิธีในการค้นหาตัวตนของแบรนด์ ด้วยการค้นหาบทบาทที่แบรนด์กำลังแสดง หรือ BRAND ARCHETYPES บทบาทของแบรนด์ ถ้าสมมุตว่าแบรนด์กำลังเล่นละครอยู่ คุณกำลังแสดง​บทบาทไหนอยู่ เป็นตัวละครแบบไหน ในโลกนี้มีจะมี 12 บทพื้นฐานที่คนแสดงออกมา แต่การทำงานจริงอาจจะมีมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับบริบทที่จะเกิดขึ้น เช่น ถ้าเป็นบท Creator ​ก็เป็นคนมีความคิด ถ้าเป็น Explorer  คุณก็เป็นคนที่ชอบค้นพบอะไรใหม่ ๆ Outlaw ชอบแหกกฎ Jester เป็นคนสนุกสนาน Lover  คนโรแมนติกสวยงาม Caregiver  มอบความรักความเอาใจใส่ให้กับคน Everyman คนง่าย ๆ สบาย ๆ ติดดิน Innocent เป็นคนไม่มีพิษไม่มีภัย Ruler ผู้นำ  Sage นักปราชญ  Magicianคนชอบเสกอะไรใหม่  Hero คามเป็นผู้นำ

 

นอกจากนี้ ในการสร้างแบรนด์สิ่งสำคัญที่นักสร้างแบรนด์ต้องทำ คือ การเล่นกับสมองผู้บริโภค ทั้ง 2 ด้าน คือ ​ แบรดน์ที่ดีจะต้องเล่นกับสมองซีกขวา อารมณ์ ความรู้สึก จิตนาการ  ส่วนโปรดักส์และฟังก์ชั่น ต้องเล่นกับสมองซีกซ้าย หมายถึงว่า  ถ้าแบรนด์อสังหาฯ สร้างแบรนด์ให้โดนใจ โดนความรู้สึก  ทุกอย่างต้องไปด้วยกันทั้งสมองซีกซ้ายและขวา หรือ ต้องมี Head กับ Heart คือ มีทั้งลอจิกส์และความรู้สึก (หัวใจ) คน   แบรนด์แอปเปิ้ล Think different เขาเล่นสองบทบาท คือ บท Creator และ Rebel นักขบถ สตีฟ จอบส์ เขาเป็นนักสร้างสรรค์และนักขบถด้วย แบรนด์อิเกีย เป็นแบรนด์ Regular guy  คือ เป็นแบรนด์ง่าย ๆ ติดดิน แต่มุมที่สอง มีความเป็น Creator

 

Brand Leadership 4

ค้นหา Big idea สร้างตัวตน

เมื่อเข้าใจตัวตนของแบรนด์แล้วว่าเป็นใคร สิ่งที่ต้องทำต่อมา คือ กระบวนการ Think ด้วย การหา Big idea  ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ไปทำอะไรต่อไป การหา Big idea สามารถหาได้ 2 มุม คือ มุมที่เด่น Differentiated Value และ มุมที่คุณมี โดน Relevance Value โดย Big idea จะเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างทั้ง 2 เรื่องดังกล่าว ​

Big idea ที่ดี จะต้องมี 2 ด้านดังกล่าว ซึ่งอาจะเปรียบเทียบได้ว่าจะต้องมีทั้ง Head และ Heart คือ หัวใจและสมอง ซึ่งหัวใจต้องมีความชัดเจน ตรงโดดเด่นไม่เหมือนคนอื่น ต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

 

สำหรับ Big idea มีประโยชน์ในการใช้งานทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร

ประโยชน์ของ Big idea ที่ใช้ภายในองค์กร คือ

1.Team attitude คือการสร้างทีมของคุณ ให้มีทัศนคติเดียวกัน

2.Product innovation and design สามารถสร้างสินค้า ดีไซน์สินค้า และกลยุทธ์สินค้าภายใน

3.Internal communication สื่อสารภายในองค์กรให้ทุกคนเข้าใจว่าแบรนด์เป็นอย่างไร

4.Organiztion Identity อัตลักษณ์ขององค์กร ต้องแสดงกายภาพ แบบไหน การแสดงออกอย่างไร ว่าเป็นคนในองค์กรนี้

 

ประโยชน์ของ Big idea ที่ใช้ภายนอกองค์กร  คือ

1.Brand representative behavior อย่างเซล หรือแอมบาสเดอร์ ที่จะออกไปพบสังคม จะต้องทำตัวอย่างไร​

2.Products delivery การส่งมอบสินค้าจะเป็นอย่างไร

3.External narrative การสร้างเรื่องราวภายนอกจะเป็นอย่างไร การโฆษณาประชาสัมพันธ์​

4.Expression identity (Look and feel) การแสดงออก รูป รส กลิ่นเสียง จะเป็นอย่างไร

ทำก่อน “พูด” ให้แบรนด์มีพลัง​

เมื่อเรามีไอเดียแล้ว ต้องรู้วิธีการทำงาน อย่าเพิ่งสื่อสารออกไป ต้องทำให้เห็นจริงก่อน หรือ Do provide value อย่ารีบพูด

“Actions speak louder than words”

อย่ารีบสร้างสโลแกน ทำให้เห็นก่อน สมัยนี้แนวทางการสร้างแบรนด์ไม่ใช่ Story telling แต่เป็น Story doing ทำแบรนด์ให้จับต้องได้ แล้วจะชนะเกมทุกอย่างในยุคนี้ Show…don’t tell ทำทุกอย่างให้เห็น ด้วยกลยุทธ์ของการบริหารแบรนด์ หรือ  Brand Portfolio Strategy

 

การบริหารแบรนด์อย่างไรให้เป็นผู้นำ  จะต้องบริหารแบรนด์ให้มีพลัง ด้วยใช้กลยุทธ์  Brand Portfolio Strategy เริ่มต้นจากการตั้งคำถามมีแบรนด์ไปเพื่อใคร ทำแบรนด์ไปทำไม มีสินค้าเพื่อใคร จะต้องมีแบรนด์ลูกด้วยหรือไม่ ต้องจัดพอร์ตสินค้าให้มีความชัดเจน ผู้บริโภคจะได้เข้าใจและสามารถเข้าถึงแบรนด์ได้ ซึ่งโดยปกติบนโลกนี้โครงสร้างของแบรนด์ หรือ Brand Architectures จะมีแบบมาตรฐานด้วยกัน 3 รูปแบบ

1.Masterbrand หมายถึง ทุกแบรนด์ในองค์กรใช้ชื่อแบรนด์แม่มาช่วยในการดำเนินธุรกิจ เช่น กลุ่ม HYATT

2.Endossed หมายถึง แบรนด์แม่สร้างแบรนด์ลูก แล้วแบรนด์แม่มาช่วยสนับสนุนในการสร้างแบรนด์ เช่น กลุ่ม MARRIOTT

3.Individual หรือ House of brand หมายถึง บริษัทพัฒนาแบรนด์ออกมา โดยมีชื่อไม่เหมือนกัน ไม่ได้ใช้ชื่อเชื่อมโยงกัน แต่ออกมาจากบริษัทแม่เดียวกัน เช่น กลุ่ม STARWOOD

Brand Leadership 5

ได้เวลาส่งเสียง สร้างแบรนด์ให้ดัง

หลังจากได้ทำกระบวนการ Be-Think-Do แล้ว ก็มาถึงกระบวนการสุดท้าย คือ Say ที่หมายถึงการสื่อสารการตลาด ให้ผู้บริโภคและคนภายนอกได้รู้จักแบรนด์ ซึ่งการสื่อสารในทุก ๆ สื่อ จะต้องสื่อสารเรื่องหลักเรื่องเดียวกัน นอกจากใจความสำคัญแล้ว ลีลา บุคลิกลักษณะของการสื่อสาร ต้องออกมาเหมือนกันด้วย โดยจะต้องสื่อสารออกมาในลักษณะ เป็นการสื่อสารออกมาจากคน ๆ เดียวกัน ในทุกสื่อทุกช่องทาง​

 

แนวทางการสื่อสารสำหรับแบรนด์ผู้นำ จะต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้

-What I VALUE the most

แสดงให้ลูกค้าเห็นว่าแบรนด์ให้คุณค่ากับอะไร เป้าหมายคืออะไร สิ่งที่แบรนด์เห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญคืออะไร

-What I want to be KNOWN for

แบรนด์อยากให้ลูกค้าทุกคน เห็นว่าแบรนด์เป็นอย่างไร แบรนด์จะโดดเด่นตรงไหน

-How I will LEAD

แบรนด์จะตัวอย่างที่ดีให้กับสังคมอย่างไร ต้องทำให้เห็น ​

-What I expect FROM YOU

แบรนด์ต้องการให้ผู้บริโภคคิดอย่างไร ทำอย่างไรต่อไปกับชีวิตของตนเอง เช่น เป็นตัวของตัวเองที่สุด แสดงความรักต่อความครอบครัวมากที่สุด ไม่ใช่แค่ขายของ

 

ในการเล่าเรื่องของแบรนด์จะต้องทำให้เห็น ให้ผู้บริโภคจินตนาการเห็นกายภาพที่ชัดเจน ว่าแบรนด์มีลักษณะอย่างไร เห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็นแบรนด์ของเรา แบรนด์จึงต้องมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน และนำเอาไปใช้ในทุก ๆ สื่อ นอกจากนี้ ต้องทำให้คนในองค์กรทุกแผนก รวมถึงสินค้า การตลาด ต้องสื่อสารออกมาให้มีความสอดคล้องกันทั้งหมด เหมือนออกมาจากบุคคลคนเดียวกัน

 

Say คือ การสร้าง communication และการแสดงออก  เมื่อได้กระบวนการทั้งหมด ผู้บริโภคจะรู้สึกเข้าใจ Brand โดยอัตโนมัติ เพราะแบรนด์นามธรรม เป็นการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก และความรับรู้ที่ผู้บริโภครู้สึกได้ทางอารมณ์ ส่วนสินค้า คือ เหตุผล ดังนั้น เมื่อทำกระบวนการ Be-Think-Do-Say ผู้บริโภคจะรับรู้และรู้สึกได้เอง

 

การทำธุรกิจต้องมี Business strategy แต่ก่อนทำ Marketing strategy ต้องลงทุนทำ Brand strategy ซึ่ง strategy จะเป็นตัวเชื่อมระหว่าง Business strategy กับ Marketing strategy เพื่อไม่ให้หลงทาง ซึ่ง Brand strategy จะช่วยกำหนดตัวตน จุดยืน เป็นเข็มทิศให้กับ การตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Brand strategy เป็นตัวกลางในการเชื่อม Business กับ strategy เพราะ Marketing is what you do branding is what you are คุณต้องรู้ตัวว่าคุณเป็นใครก่อน ที่คุณจะทำอะไร

ทั้งหมดนี้ คือ กระบวนการสร้างแบรนด์ ที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย แต่สิ่งสำคัญกว่าการขึ้นเป็นผู้นำ คือ การรักษาความเป็นผู้นำ และการครองใจผู้บริโภค สามารถตอบสนองความต้องการให้เขาได้อย่างตรงจุด และอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการ ที่แบรนด์นำเสนอให้กับลูกค้าด้วย  

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด