Ryl Feature 260123

มีอะไรใหม่ใน เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ หลังทุ่มพันล้านสู่ Co-Living Space

AWC ทุ่มงบ 1,000 ล้าน ปรับโฉม “เอ็มไพร์ ทาวเวอร์” สู่ Co-Living Space ผสานการใช้ชีวิตและการทำงาน พร้อมปั้นรูฟท็อป แลนด์มาร์คใหม่ย่านสาทร

 

AWC หรือ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) ของตระกูล “สิริวัฒนภักดี” ที่มีลูกสาวคนรองของเจ้าสัว เจริญ สิริวัฒภักดี อย่าง นางวัลลภา ไตรโสรัส นั่งบริหารงาน ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ AWC ได้ประกาศทุ่มงบถึง 1,000 ล้านบาท เพื่อปรับโฉมอาคารเอ็มไพร์ใหม่ สู่ “Co-Living Collective: Empower Future” จากเดิมที่เป็นอาคารสำนักงานเกรด เอ เหมือน ๆ กับอาคารสำนักงานทั่วไปที่อยู่ในย่านใจกลางธุรกิจ เป็น Co-Living Space

Awc Ceo

ทำไมต้องก้าวสู่ Co-Living Space

ต้องยอมรับว่า ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงชีวิตพนักงานออฟฟิศ ที่ต้องอยู่บ้านเพื่อทำงาน หรือ Work from Home ทำให้พื้นที่ออฟฟิศลดความจำเป็นในการใช้งานลง แม้แต่ภายหลังที่สถานการณ์โควิดเบาบางลง จนทำให้หลายองค์กรเริ่มกลับมาทำงานที่ออฟฟิศกันปกติ แต่ก็ยังมีออฟฟิศจำนวนมาก ปรับรูปแบบสู่การทำงานแบบไฮบริด คือ ผสมผสานการทำงาน ให้พนักงานมาทำงานที่ออฟฟิศบางวัน ทำงานจากที่บ้าน หรือทำงานจากที่ไหน ๆ ก็ได้ (Work from anywhere) ในบางวัน

 

เพราะในช่วงเวลาของการเกิดโควิดและพนักงานจำนวนมากทำงานอยู่ที่บ้าน หรือที่ใด ๆ ก็ตาม  การทำงานก็ยังมีประสิทธิภาพ และสามารถจบงานต่าง ๆ ได้ ไม่แตกต่างจากการต้องมาทำงานที่ออฟฟิศ แถมมีงานวิจัยหรือการสำรวจความเห็นของหลายองค์กร ระบุว่า คนทำงานบางส่วนไม่พร้อมจะกลับมาทำงานที่ออฟฟิศแบบฟลูไทม์แล้ว ยิ่งคนรุ่นใหม่จำนวนมาก หลักเกณฑ์ในการเลือกองค์กรทำงาน ก็จะเน้นองค์กรที่มีความยื่นหยุ่นสูงในเรื่องสถานที่การทำงา หรือเรื่องของการทำงาน

 

ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่าตอนนี้อาคารสำนักงานใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในปัจจุบัน และแผนการพัฒนาในอนาคต จะเกิดขึ้นอีกมากมายหลายประเภท และหลายเกรด ทำให้การแข่งขันในธุรกิจอาคารสำนักงานมีสูงมากขึ้น ทำให้อาคารสำนักงานที่มีอยู่แต่เดิม ต้องลุกขึ้นมาปรับโฉม รีโนเวท พัฒนาหรือเติมเต็มการบริการให้กับผู้เช่า  เพื่อจะรักษาฐานผู้เช่ารายเดิมไว้ ขณะเดียวกันก็ดึงดูดผู้เช่ารายใหม่ให้เข้ามาใช้บริการด้วย

 

การปรับโฉมของ AWC ครั้งนี้ ก็เพราะมองเห็นเทรนด์การเปลี่ยนแปลงไป ของรูปแบบการทำงานและไลฟ์สไตล์การทำงานของคนยุคปัจจุบัน ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่ออฟฟิศเท่านั้น แถมการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันก็เชื่อมโยงไปกันหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน การกิน การใช้ชีวิต หรือการพักผ่าน นอกจากนี้ AWC ก็มองเห็นว่าการแข่งขันในธุรกิจอาคารสำนักงานมีสูง นอกจากจะเติมเต็มประสบการณ์ให้กับพนักงานแล้ว ต้องเพิ่มและเสริมการบริการใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ และรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ ไม่ให้ย้ายออกไปไหนด้วย

Awc Empire Tower Press Conference Final 02.007

มีอะไร? ใน อาคารเอ็มไพร์  

สำหรับอาคารเอ็มไพร์ โฉมใหม่ ที่ได้ทุ่มทุน 1,000 ล้านบาท เพื่อเติมไฮไลท์ใหม่ ๆ เข้ามาเสริม ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนทำงานยุคปัจจุบัน เป็นการเพิ่มพื้นที่ส่วนกลาง เหมือนการอาศัยอยู่กับคอนโด จากเดิมที่มีแค่การให้บริการที่จอดรถ และห้องน้ำ แต่ต่อไปนี้จะมีพื้นที่ใหม่ ๆ ที่เตรียมเข้ามา ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส 2 และจะสมบูรณ์ภายในสิ้นปีนี้ โดยอาคารเอ็มไพร์ ภายใต้รูปโฉม The Co-Living Collective: Empower Future จะเพิ่มเติมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

Co-Living Space ที่ใหญ่ที่สุด

AWC ได้ผสมผสานประสบการณ์การใช้ชีวิตและการทำงาน ให้การมาทำงานที่อาคารเอ็มไพร์ มีบรรยากาศเหมือนอยู่บ้าน ด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามา ภายใต้แนวคิด “Co-Living Collective: Empower Future” ซึ่งได้เตรียมพื้นที่กว่า 1,500 ตารางเมตร บนชั้น 53 สร้าง อาทิ

  • พื้นที่เตรียมอาหาร รับประทานอาหาร
  • พื้นที่นั่งเล่น ประชุม พักผ่อนหย่อนใจ เสริมสร้างสุขภาพ ห้องอาบน้ำ พื้นที่ทำงานร่วมกัน และ
  • ห้องประชุม  Circle Club Chat Board
  • ห้องนั่งเล่น (Living Room) พื้นที่สันทนาการเพื่อการพักผ่อน เพลิดเพลินกับเกมคอนโซล โต๊ะพูล และโต๊ะปิงปอง
  • ห้องพักผ่อนที่หลับได้พักนึง  (Nap Lounge) ในวันที่ทำงานหนักหรือพักผ่อนไม่พอ
  • ห้องอาบน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า (Locker Room)
  • ห้องสำหรับเด็ก (Kids Room) เพื่อมานั่งเล่น ทำการบ้าน หลังเลิกเรียน ระหว่างรอผู้ปกครองกลับบ้าน
  • ห้องดูแลลูก (Nursing Lounge) เปลี่ยนผ้าอ้อม ห้องปั๊มนมสำหรับคุณแม่ลูกอ่อน
  • พื้นที่สำหรับดูแลสัตว์เลี้ยง (Pet’s Hotel)

Ea Iconic World Class Rooftop Destination 01

Ea Iconic World Class Rooftop Destination 02

“EA” รูฟท็อปอาหาร-เครื่องดื่ม ใหญ่สุด 

การกินอาหารปัจจุบันไม่ใช่แค่ความจำเป็นของชีวิตอย่างเดียว ยิ่งเป็นคนทำงานหรือนักธุรกิจ การกินอาหารยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเรื่องธุรกิจด้วย เพราะสามารถคุยงานหรือเจรจาธุรกิจระหว่างกินอาหารได้ และที่สำคัญ AWC มีเครือโรงแรมจำนวนมากที่บริหารงานอยู่ จึงถือว่านำเอาความแข็งแกร่งในเรื่องของอาหารและเครื่องดื่มมาช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า และสร้างจุดแข็งให้กับอาคารเอ็มไพร์ ด้วยการสร้างแลนด์มาร์คใหม่ย่านสาทร บนชั้น 55-58 พื้นที่รวม 9,000 ตารางเมตร ใช้งบประมาณ 500-600 ล้านบาท เป็นศูนย์รวมร้านอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำ โดยมีรูฟท็อปที่สามารถเห็นวิวกรุงเทพฯ ได้แบบ 360 องศา และใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วย

  • ชั้น 55 รวบรวมภัตตาคารและร้านอาหารนานาชาติที่หลากหลาย อาทิ ร้าน % Arabica ที่จะเปิดเป็นสาขาแบบ Sky Café แห่งแรกของโลก และ The Cassette Music Bar แฮงเอาท์คลับยอดนิยมของชาวกรุงเทพฯ เป็นต้น
  • ชั้น 56 “EA” (เอ-ยา) จุดหมายปลายทางแห่งอาหารอันโดดเด่นบนยอดตึกใจกลางกรุง ที่ผสมผสานระหว่างบาร์ ภัตตาคาร พร้อมบริการชั้นเลิศ เพื่อนำเสนออาหารและเครื่องดื่มอันหลากหลาย
  • ชั้น 57 – 58 นำเสนอสุดยอดแบรนด์ไลฟ์สไตล์สุดหรูระดับโลกครั้งแรกในประเทศไทย โดยเชฟ Nobu Matsuhisa เชฟผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารญี่ปุ่น-เปรู ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกจากการนำเสนอวัตถุดิบชั้นเลิศและบริการชั้นยอด พร้อมด้วยการออกแบบตกแต่งร้านให้มีเอกลักษณ์จากบริษัทออกแบบระดับตำนานอย่าง Rockwell Group

นอกจากนี้ ในบริเวณชั้น Ground  จะมีการพัฒนาเป็นเลาจ์ เพื่อเชื่อมโยงลิฟท์ขึ้นไปโดยตรงบริเวณชั้นอาหารและเครื่องดื่มตั้งแต่ชั้น 55 ขึ้นไปด้วย

ก่อนหน้าเรามีแค่ห้องน้ำและที่จอดรถให้กับผู้เช่า วันนี้เราเติม Common facility เหมือนการซื้อคอนโดอยู่

Awc Empire Tower Press Conference Final 02.019เตรียม 40,000 ตร.ม.เพิ่มการอัตราเช่า

อาคารเอ็มไพร์มีพื้นที่รวม 314,800 ตร.ม. มีจำนวน 58 ชั้น มูลค่าสินทรัพย์ถึง 20,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีอัตราการเข้าใช้พื้นที่เช่าอยู่ประมาณ 70% เป็นบริษัทองค์กรต่างชาติถึง 74% ซึ่งอัตราเข้าใช้พื้นที่อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด แม้ว่าช่วง 3 ปีจะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่อาคารเอ็มไพร์ก็ยังรักษาระดับจำนวนผู้เช่าไว้ได้อย่างดี

 

แต่ปัจจุบันอาคารเอ็มไพร์ ยังมีพื้นที่เหลือถึง 40,000 ตร.ม. สำหรับรองรับกับผู้เช่ารายใหม่ได้ พื้นที่ดังกล่าวหักในส่วนที่ต้องปรับปรุงเป็นพื้นที่ทำส่วนกลางและร้านอาหารแล้ว​ ซึ่ง AWC มีเป้าหมายการดึงกลุ่มผู้เช่ารายใหม่ โดยเฉพาะที่บริษัทข้ามชาติ และบริษัทคนรุ่นใหม่ให้เข้าใช้บริการ โดยปัจจุบนคิดอัตราเช่า 1,200-1,400 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน แต่อัตราเช่าจะมีโปรโมชั่นและส่วนลดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสัญญาเช่า ระยะเวลา และขนาดพื้นที่

 

โดย AWC ได้จัดเตรียมพื้นที่เช่าที่มีความหลากหลาย ทั้งพื้นที่เปล่า พื้นที่สำเร็จรูปตกแต่งพร้อมเข้าอยู่ ให้กับผู้เช้าได้เลือกใช้บริการ มี Swing Floor พื้นที่ทำงานชั่วคราวสำหรับผู้เช่าระหว่างการออกแบบตกแต่งสำนักงาน ที่มีการตกแต่งบางส่วนหรือทั้งหมดด้วยวัสดุและอุปกรณ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการเฉพาะของผู้เช่า เช่น ฉากกั้นแบบยืดหยุ่น เฟอร์นิเจอร์โมดูลาร์ เฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบให้สอดคล้องกับสรีระ ตลอดจนให้คำปรึกษาในการออกแบบและตกแต่งสำนักงาน

 

AWC คาดหวังกว่า การปรับโฉมใหม่ครั้งนี้ และการเตรียมเพิ่มประสบการณ์อันหลาหลายเหล่านี้ จะช่วยทำให้อัตราการเข้าใช้พื้นที่ขยับมากขึ้น เพราะตามพอร์ตอาคารสำนักงาน ที่ AWC บริหารงานอยู่มีอัตราการเข้าใช้พื้นที่มากกว่านี้ อาทิ อาคารสำนักงานแอทธินีทาวเวอร์ มีอัตราการเช่า 96% อาคาร 208 ไวร์เลส โรด อัตราเช่า 92% พร้อมกับดึงทราฟฟิคให้คนเข้ามาใช้บริการส่วนร้านอาหารและเครื่องดื่มได้อีกวันละ​ 5,000 คน จากปัจจุบันมีการหมุนเวียนการใช้บริการต่าง ๆ ภายในอาคารวันละ 20,000 คน

ตอนนี้เป็นการบิวด์ธุรกิจให้กลับมา ช่วง 3 ปี เรารักษาการเช่าไว้ได้ที่ 70% แต่ควรขยับมากกว่านี้ ที่ไม่ขยับ

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

จากโรบินสันสีลม สู่ สีลมเอจ มิกซ์ยูส 1,800 ล้านของ เฟรเซอร์สฯ

ตลาดออฟฟิศ-โรงแรมในกรุงเทพฯ Q1 บทสรุป ยังบาดเจ็บจากพิษโควิด-19

AWC เดินแผนขยายธุรกิจแสนล้าน เตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 9 แห่ง

 

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด