Tag : condo

1512 ผลลัพธ์
เอสซี ทุ่มกว่า 2.5 หมื่นล้าน รุกหนักแนวราบขึ้นเบอร์ 1 บ้านเดี่ยว

เอสซี ทุ่มกว่า 2.5 หมื่นล้าน รุกหนักแนวราบขึ้นเบอร์ 1 บ้านเดี่ยว

เอสซี แอสเสท เดินหน้าลุยตลาดแนวราบ ปั้น 8 โปรเจ็กต์ใหม่ 9,000 ล้าน สู่ผู้นำเบอร์ 1 บ้านเดี่ยว ราคา 10  ล้านบาทขึ้นไป พร้อมเปิดตัว 2 บ้านฟังก์ชั่นใหม่ เอาใจคนโสด และเจนวาย ปูทางสร้างรายได้ 19,000 ล้านบาท ​​   นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เปิดเผยถึงแผนธุรกิจในปี 2564-2565 ว่า ได้วางแผนรุกตลาดแนวราบอย่างหนัก ด้วยการทุมเม็ดเงินลงทุน 25,000 ล้านบาท เพื่อเป้าหมายสู่การเป็นแบรนด์บ้านเดี่ยวอันดับ 1 ภายใต้ความพร้อมใน 3 ด้าน ได้แก่ ความพร้อมด้านที่ดิน ด้านสภาพคล่อง และสินค้า โดยกลยุทธ์สำคัญทั้ง 3 ประการ ภายใต้ความพร้อมของ SC ในแบบ Fully-Loaded ประกอบด้วย​ 1.ที่ดินพร้อม         ทุ่มเงินลงทุน 25,000 ล้านบาท ใน 2 ปีนี้ (2564-2565)  เพื่อโอนที่ดินจำนวนมากกว่า 30 แปลง  และรุกพัฒนาโครงการแนวราบแบบจัดหนัก  ครอบคลุมทุกระดับราคาทั่วกรุงเทพ-ปริมณฑล 2.สภาพคล่องพร้อม มีสภาพคล่องแข็งแกร่ง มีเงินสดและวงเงินพร้อมเบิกมากกว่า 10,000 ล้านบาท พร้อมกับมีระดับหนี้ลดเหลือ D/E 1.38 จาก D/E 1.58  ในปี 2562  ถือว่าปัจจุบันมีระดับหนี้ต่ำสุดในรอบ 5 ปี 3.สินค้าพร้อม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าตามปรัชญาแบรนด์ ‘For Good Mornings’ สร้างทุกเช้าที่ดีให้ลูกค้าทุกคน  ใน  3 เรื่องหลัก ได้แก่ Design, Technology และ Living Solutions เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในยุค new normal  พร้อมรองรับกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นภายในบ้าน นายณัฐพงศ์ กล่าวว่า ในปี 2564  บริษัทตั้งเป้ายอดขาย 20,000 ล้านบาท และรายได้ 19,000 ล้านบาท ซึ่งจะมาจากโครงการเพื่อขายทั้งหมดในปีนี้จำนวน 69 โครงการ มูลค่า รวม 57,500 ล้านบาท โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการใหม่  11 โครงการ​ มูลค่ารวม 17,000 ล้านบาท  แบ่งเป็นแนวราบ  8 โครงการ มูลค่า 9,000 ล้านบาท และแนวสูง 3 โครงการ มูลค่า 8,000 ล้านบาท   ในส่วนบ้านแนวราบปีนี้ จะมีการเปิดตัวบ้านซีรี่ส์ใหม่ ได้แก่ บ้านคนโสด และ บ้าน SoU-21 ภายใต้แนวคิด  ‘One Size doesn’t Fit All’ บ้านที่ปรับเปลี่ยนได้ตามไลฟ์สไตล์ จะเปิดตัวครั้งแรกที่โครงการเวนิว พระราม 9 การเปิดตัวบ้านซีรี่ยส์ใหม่ดังกล่าว เนื่องจาก SC มีนโยบายในการพัฒนาบ้านเพื่อตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม ในทุกระดับราคา ​ สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ​ปี 2563 ที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งความท้าทายของบริษัท เนื่องจากมีปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่บริษัทสามารถสร้างผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ ทำยอดขายสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ด้วยยอดขายรวม​ 16,602 ล้านบาท  และสามารถทำยอดขายแนวราบสูงสุดเติบโตสวนกระแสตลาด คิดเป็นยอดขายแนวราบ 14,757 ล้านบาท เติบโต 37% จากช่วงปีก่อนหน้า  ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของบ้านเดี่ยวในกลุ่มราคามากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป  เพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 1 มีส่วนแบ่งการตลาด 26% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีส่วนแบ่งการตลาด 19%  
แสนสิริ x บาร์บีกอน ดันยอดขายสู่ 5,000 ล้าน

แสนสิริ x บาร์บีกอน ดันยอดขายสู่ 5,000 ล้าน

แสนสิริ จับมือ บาร์บีคิวพลาซ่า ปั้นยอดขายไตรมาสแรก 5,000 ล้าน พร้อมสร้างแบรนด์สู่ตลาดแมส ใช้ฐานลูกค้าบาร์บีคิวพลาซ่ากว่า 2 ล้านราย สร้างการรับรู้บุกตลาดบ้าน-คอนโด ราคาล้านกว่าบาท   ก่อนหน้านี้ นายเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาสร้างกระแสบนโลกออนไลน์ ด้วยการนำเอาตัว “บาร์บีกอน” ตัวการ์ตูนคาแรคเตอร์ร้านปิ้งย่าง บาร์บีคิวพลาซ่า มาสร้างกระแสทางการตลาด ด้วยการนำเอาตัวบาร์บีกอนไปอยู่ตามบ้านและคอนโดมิเนียม ในโครงการต่าง ๆ ของแสนสิริ จากเดิมที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าร้าน เพื่อสร้างความสงสัยว่าจะเกิดความร่วมมืออะไรกันขึ้น   ล่าสุด ผู้บริหารจากแสนสิริและบาร์บีคิวพลาซ่า ได้ออกมาจัดงานแถลงข่าว เพื่อเฉลยถึงความร่วมมือที่ทั้งสองบริษัทจะดำเนินการร่วมกัน ซึ่งประเด็นหลัก คือ การจัดทำแคมเปญการตลาดร่วมกัน เพื่อขยายตลาดและสร้างยอดขาย  ซึ่งทางแสนสิริคาดว่าแคมเปญที่ทำร่วมกันครั้งนี้  จะได้ยอดขาย 1,500 ล้านบาท  เพื่อทำให้ไตรมาสแรกของปี 2564 แสนสิริทำยอดขายได้ 5,000 ล้านบาท จากเดือนมกราคมที่ผ่านมา สามารถทำยอดขายได้แล้ว 3,500 ล้านบาท   นางสาวชลีรัตน์ ต่อจรัส ผู้อำนวยการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับบาร์บีคิวพลาซ่า จัดทำแคมเปญ “แสนสิริ x บาร์บีคิวพลาซ่า กระจายความสุข” และนำแคมเปญ “แสนสิริ ผ่อนให้ 24 เดือน*” กลับมาทำการตลาดอีกครั้ง เพื่อกระตุ้นตลาดและสร้างยอดขาย โดยคาดว่าแคมเปญที่ร่วมกับบาร์บีคิวพลาซ่า จะสร้างยอดขายได้ 1,500 ล้านบาท สำหรับแคมเปญแสนสิริ x บาร์บีคิว พลาซ่า กระจายความสุขให้คนไทยทั้งประเทศ และ​ แสนสิริ ผ่อนให้ 24 เดือน จะเป็นการให้สิทธิพิเศษกับผู้ที่ซื้อ​โครงการบ้าน คอนโดมิเนียม และ ทาวน์โฮมพร้อมอยู่ รวม 59 โครงการ ระหว่างวันที่ 11 ก.พ. – 31 มี.ค. 2564 ซึ่ง​จะได้รับสิทธิพิเศษ คือ ​1. แสนสิริ ผ่อนให้ 24 เดือน 2.ได้ลุ้นเพิ่ม อาทิ ทองคำ, ส่วนลด on top, บัตรกำนัลเงินสด,  ค่าส่วนกลางเพิ่ม, เครื่องใช้ไฟฟ้าครบชุด และเฟอร์นิเจอร์ครบเซ็ต ​​​3. ลูกค้าบาร์บีคิวพลาซ่า ซึ่งปัจจุบันมีฐานลูกค้ากว่า 2 ล้านราย ชวนเพื่อนมาซื้อโครงการแสนสิริ รับค่าแนะนำไปเลยสูงสุด 200,000 บาท และ​ 4. รับ ฟรี! Gift voucher ชุดหมูพิเศษ ‘แสนสิริ มงGON’ ไปกินที่ร้าน Bar B Q plaza เมื่อเยี่ยมชมโครงการแสนสิริและร่วมกิจกรรมถ่ายภาพ* กับบาร์บีกอนที่โครงการบ้าน คอนโดมิเนียม และทาวน์โฮม จากแสนสิริ แสนสิริมีบ้านทุกเซ็กเมนต์ ตั้งแต่ราคา 1-20 ล้านบาท กระจายทุกเซ็กเมนต์ แต่แคมเปญนี้น่าจะทำให้เกิดการรับรู้มากขึ้นในกลุ่ม affordable ด้านนางสาวบุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านการสร้างโอกาสทางการตลาดกลุ่มธุรกิจอาหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด กล่าวว่า​ กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทในปีนี้ มุ่งเน้นการตอบโจทย์ปัจจัย 4 ของผู้บริโภค ซึ่งการร่วมมือกับแสนสิริ เป็นการตอบโจทย์ด้านการอยู่อาศัย ในอนาคตบริษัทยังจะมีความร่วมมือกับพันธมิตร ในการตอบโจทย์ความต้องการด้านเครื่องแต่งกาย และด้านยาหรือ Hospitality ต่อไปด้วย   สำหรับความร่วมมือกันครั้งนี้ ถือเป็นการตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจของบริษัทในปีนี้ รวมถึงเป็นการต่อยอดการทำโมเดล Licensing Partnership  จากการที่เรามีความแข็งแกร่งและเชี่ยวชาญเรื่องการทำ Character Marketing ซึ่งเป็นโอกาสอันดีในการต่อยอดสำหรับการสร้างรายได้ช่องทางใหม่ให้กับองค์กร ด้วยการใช้มาสคอต บาร์บีกอน  ที่เป็นตัวแทนของความสุข ไป Stay with customers ในทุก ๆ กิจกรรมการตลาด และเพื่อสนับสนุนให้พาร์ทเนอร์ไปถึงเป้าหมายที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆมากขึ้น เช่น การขยายฐานไปยังกลุ่มลูกค้าที่เป็น GON Lover โดยลูกค้าของแสนสิริที่ปัจจุบันมีกว่า 1 แสนครอบครัว จะได้รับสิทธิพิเศษจาก บาร์บีคิวพลาซ่า  ตั้งแต่ 11 ก.พ. – 30 มิ.ย. 2564 อาทิ สั่งชุดแสนสิริ มงGON สำหรับชุดหมู ในราคาเพียง 249 บาท  ชุดเนื้อ ในราคาเพียง 259 บาท และสามารถสั่งกลับบ้านได้ด้วย ซึ่ง แสนสิริ มงGON เป็นชื่อชุดอาหารพิเศษจากการ​ผสมผสานชื่อเมนู จาก แสนสิริ และ บาร์บีกอน  เข้าไว้ด้วยกัน  การบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ ให้ลูกบ้านนแสนสิริ 134 โครงการ  สมาชิกลูกบ้านแสนสิริรับโค้ดส่วนลดพิเศษ 100 บาท  และการนำรถ GON Food Truck ให้บริการที่โครงการของแสนสิริ โดยรถคันแรกจะเปิดตัวที่โครงการเศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา ตั้งแต่วันที่​ 7 มี.ค. 2564  
ตลาดคอนโดภูเก็ตโดนซึมยาว คาดดีมานด์ฟื้นตัวหลังปี 65

ตลาดคอนโดภูเก็ตโดนซึมยาว คาดดีมานด์ฟื้นตัวหลังปี 65

ในบรรดาเมืองท่องเที่ยวของไทย ที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก ในการเป็นจุดหมายปลายทาง ของชาวต่างชาติสำหรับการเดินทางมาพักผ่อนหรือพักอาศัยระยะยาว หนึ่งในนั้นคือ จังหวัดภูเก็ต   เพราะถือว่าเป็นจังหวัดที่มีความครบถ้วน ทั้งด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ โดยเฉพาะการมีสนามบินนานาชาติ ทำให้ภูเก็ตได้รับความสนใจจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆออกมารองรับจำนวนมาก ที่ผ่านมาตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดภูเก็ตจึงมีระดับราคาสูงติดอันดับต้น ๆ ของไทย   แต่ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดภูเก็ตได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะพึงพากลุ่มชาวต่างชาติเป็นหลัก จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้  ตลาดอสังหาฯ ในภูเก็ตจึงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงปัจจุบัน ที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระรอกใหม่ ซึ่งผลกระทบได้ซ้ำเติมตลาดอสังหาฯ ภูเก็ตเพิ่มมากขึ้น แต่จะมากน้อยแค่ไหนนั้น ทางไนท์แฟรงค์ ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ตลาดอสังหาฯ ในส่วนของตลาดคอนโดมิเนียมในภูเก็ต ปี 2563 ผ่านมา และมองถึงแนวโน้มปี 2564 ว่าจะมีทิศทางใด   นายณัฎฐา คหาปนะ รองกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าสำนักงานไนท์แฟรงค์ ภูเก็ต บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ภูเก็ตเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่สุดแห่งจุดหมายปลายทางแห่งเอเชีย มีศักยภาพพร้อมที่จะรองรับนักท่องเที่ยวและการลงทุน จากการที่นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในแต่ละปีส่งผลให้ธุรกิจอสังหาฯ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก จึงทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เริ่มมองหาคอนโดเพื่อซื้อเก็บไว้พักผ่อนในช่วงที่เดินทางมาท่องเที่ยว และบางรายลงทุนหารายได้โดยการปล่อยเช่าในช่วงที่ไม่ได้เข้าพัก   ด้วยเหตุนี้ธุรกิจอสังหาฯ ในภูเก็ตจึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะมองว่ากำลังซื้อหลักคือกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และนอกจากนี้ก็ยังมีนักลงทุนชาวไทยให้ความสนใจเช่นกัน โครงการคอนโดที่เปิดขายในภูเก็ต จะเปิดขายในลักษณะการให้อัตราผลตอบแทนค่าเช่า โดยโครงการจะมีการนำเชนโรงแรมต่าง ๆ มาบริหารโครงการเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับโครงการ และจากอัตราผลตอบแทนค่าเช่าที่ได้รับ ทำให้ภูเก็ตเป็นสถานที่น่าสนใจในการซื้อคอนโดเพื่อการลงทุน หากแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้ ทำให้เศรษฐกิจของภูเก็ตหยุดชะงักและซบเซา เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจของภูเก็ตขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวเป็นหลัก จึงส่งผลให้ธุรกิจอสังหาฯ ในภูเก็ตได้รับผลกระทบโดยตรง ถึงแม้ว่ายังมีคนไทยเข้ามาท่องเที่ยวแต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจในภูเก็ตกลับมาฟื้นตัวได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีคอนโดที่เปิดขายใหม่โดยผู้ประกอบการเชื่อว่านักท่องเที่ยวและนักลงทุนยังคงมีความต้องการคอนโดอยู่มาก หากสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ โปรเจ็กต์เปิดใหม่เหลือแค่ 1,862 ยูนิต ช่วงปลายปี 2563 จำนวนคอนโดในภูเก็ตมีจำนวนทั้งสิ้น 26,096 ยูนิต มีจำนวนเปิดขายใหม่เพียง 1,862 ยูนิต จากโครงการคอนโดทั้งหมด 7 โครงการ ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนเปิดขายใหม่ในช่วงก่อนปี 2559 ซึ่งเปิดขายเฉลี่ยต่อปี  1,700-2,000 ยูนิต และจะเห็นว่าจำนวนเปิดขายในปีนี้ลดลงจากปี 2562 ถึง  65.97% จากที่เปิดขายจำนวน 5,471 ยูนิต  ลดลงเหลือเพียง 1,862 ยูนิต ในปี 2563 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 มีผลต่อความต้องการซื้อที่ลดลง  ผู้ประกอบการจึงชะลอการเปิดตัวโครงการ อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เริ่มกังวลในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ทำให้มีการคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อในการพัฒนาโครงการ  ในสถานการณ์นี้ ผู้พัฒนาโครงการจึงระงับการเปิดขายโครงการไปก่อน   จำนวนคอนโดที่เปิดขายใหม่ในปี 2563 โดยส่วนใหญ่เปิดขายใหม่ในบริเวณหาดลายันถึง 59% รองลงมาได้แก่ บริเวณหาดป่าตอง 22% และหาดในทอน 13%  และบริเวณหาดไม้ขาว เป็นหาดที่มีคอนโดเปิดขายใหม่จำนวนน้อยที่สุดเพียง  6% ของจำนวนทั้งหมด หาดไม้ขาวเป็นพื้นที่ทางตอนเหนือของภูเก็ตที่ยังไม่เป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากไกลจากสิ่งอำนวยความสะดวกหากเทียบกับหาดอื่น ๆ ส่งผลให้หาดไม้ขาวยังมีพื้นที่เหลืออีกค่อนข้างมาก ดึงเชนบริหารโครงการสร้างดีมานด์ ในปี 2563 มีจำนวนคอนโดที่ขายได้แล้วทั้งสิ้น 19,761 ยูนิต จากจำนวนทั้งหมด 26,096 ยูนิต คิดเป็นอัตราการขายได้ ​75.7% อัตราการขายปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 73.4% มีจำนวนยูนิตขายเหลือทั้งหมดประมาณ 6,335 ยูนิต จำนวนยูนิตคอนโด ที่ขายได้ใหม่ในปี 2563 มีจำนวนยูนิตขายเพียง 1,966 ยูนิต ซึ่งจำนวนยูนิตขายลดลงจากปี 2562 ที่มีจำนวนยูนิตขายอยู่ที่ 4,036 ยูนิต ซึ่งหากพิจารณาจะเห็นว่าจำนวนยูนิตขายลดลงจากปีก่อนหน้า อันเนื่องมาจากขาดกำลังซื้อของชาวต่างชาติที่เป็นกำลังซื้อหลักเพราะไม่สามารถเดินทางเข้ามายังประเทศได้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวหายไปเกือบทั้งหมด ส่งผลให้ภูเก็ตได้รับผลกระทบอย่างหนักไม่ว่าจะเป็นด้านท่องเที่ยว แรงงาน หรือแม้กระทั่งธุรกิจอสังหาฯ ก็ซบเซาไปด้วย และมีโครงการคอนโดบางโครงการที่ต้องหยุดการขายหรือมีจำนวนยูนิตขายที่ต่ำ และไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถานบันการเงินได้   ขณะนี้สถาบันการเงินยังค่อนข้างที่จะเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อในการพัฒนาโครงการคอนโด  และมีบางโครงการที่ได้ทำการหยุดการขายเพื่อรอดูสถานการณ์ เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติคือกลุ่มลูกค้าหลักที่ซื้อคอนโดในภูเก็ต ในอดีตกลุ่มผู้ซื้อคอนโดเกือบ 100% เป็นนักท่องเที่ยวและนักลงทุนที่เป็นชาวต่างชาติทั้งหมด  แต่ในปัจจุบันกลุ่มผู้ซื้อคอนโดในภูเก็ตมีความหลากหลายมากขึ้น โดยกลุ่มผู้ซื้อ 90% ส่วนใหญ่ยังคงเป็นชาวต่างชาติ และมีนักลงทุนคนไทยมองเห็นช่องทางในการลงทุนในด้านอสังหาฯ จึงมีกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นคนไทยเพิ่มมา 10% ซึ่งชาวต่างชาติที่ซื้อคอนโดในภูเก็ต ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย จีน ฮ่องกง และสิงค์โปร์ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้ซื้อสัญชาติอื่น ๆ อีก ได้แก่ ชาวอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน แคนนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกา ชาวยุโรปและชาวตะวันออกกลาง โครงการคอนโดที่ยังมียอดขายต่อเนื่องส่วนใหญ่ จะมีมาตรฐานของคอนโด ที่เทียบเท่าได้กับโรงแรม 4-5 ดาว การนำเชนโรงแรมมาบริหารเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ซื้อ โดยให้ผลตอบแทนกับผู้ซื้อในระยะเวลา 3-5 ปี ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจให้นักท่องเที่ยวและนักลงทุนสนใจที่จะซื้อคอนโด  เพราะนอกจากจะมีรายได้จากการปล่อยเช่าแล้วยังสามารถเข้าพักได้ถึง 30-45 วัน ต่อปีอีกด้วย คอนโดลดราคากระตุ้นยอดขาย ราคาเสนอขายเฉลี่ยของคอนโดในภูเก็ต ช่วงปลายปี 2563 คอนโดที่เห็นวิวทะเลมีระดับราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 192,758 บาทต่อตารางเมตร ราคาขายปรับตัวลดลงจากปี 2562 ในอัตรา 0.4% โดยในปี 2562 ราคาเสนอขายคอนโดที่เห็นวิวทะเล มีราคาเสนอขายเฉลี่ยอยู่ที่ 193,590 บาทต่อตารางเมตร ส่วนราคาเสนอขายคอนโดที่เห็นวิวทะเลบางส่วนปี 2563 มีระดับราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 99,745 บาทต่อตารางเมตร ปรับตัวลดลงจากปี 2562 ในอัตรา 6.8% ซึ่งมีราคาเสนอขายเฉลี่ยปี 2562 อยู่ที่ 107,000 บาทต่อตารางเมตร และคอนโดที่ไม่เห็นวิวทะเลมีระดับราคาเสนอขายในปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 76,184 บาทต่อตารางเมตร ปรับตัวลดลงในอัตรา 3.9% จากปี 2562 ซึ่งราคาเสนอขายคอนโดที่ไม่เห็นวิวทะเลมีราคาเสนอขายเฉลี่ยอยู่ที่ 79,300 บาทต่อตารางเมตร   จะเห็นได้ว่าราคาขายปรับตัวลดลงจากปี 2562 อันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปเกือบทั้งหมดไม่สามารถเดินทางมาได้ เป็นผลทำให้ยอดขายคอนโดลดลงไปมาก ผู้ประกอบการจึงยอมปรับลดราคาลงเพื่อดึงดูดผู้ซื้อหรือนักลงทุนให้กลับมาลงทุน และใช้วิธีการขายผ่านทางออนไลน์หรือตัวแทนขาย (Agency) ในต่างประเทศช่วยเป็นตัวโปรโมทโครงการ เพื่อผลักดันให้ยอดขายไปต่อได้ ทำให้การซื้อ-ขายคอนโดในส่วนต่างประเทศยังคงมีอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากนัก โดยผู้ซื้อจะเป็นชาวต่างชาติที่เคยมาท่องเที่ยวในภูเก็ต พอมีการปรับราคาลงจึงได้ตัดสินใจซื้อ คอนโดในภูเก็ตฟื้นตัวหลังปี 2565 ตลาดคอนโดในภูเก็ตปี 2564 คาดว่ายังคงชะลอตัวและได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาเที่ยวได้ ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ขยับตัว เพราะภูเก็ตไม่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลัก โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ผู้ประกอบการยังคงชะลอการเปิดโครงการออกไปก่อนในช่วงนี้ และรอดูสถานการณ์การเปิดโครงการในช่วงครึ่งปีหลังอีกครั้ง แนวโน้มของการลงทุนจะเป็นโครงการขนาดเล็ก และอาจจะเป็นการร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นในภูเก็ต โดยคาดว่าเศรษฐกิจภูเก็ตในปี 2564 ยังคงซบเซายาวไปถึงต้นปี 2565 ซึ่งเศรษฐกิจภูเก็ตอาจจะต้องใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี และการฟื้นตัวน่าจะกลับมาเพียง 50% ของนักท่องเที่ยวเท่านั้น เพราะชาวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้ทั้งหมด   กลุ่มผู้ซื้อหลักที่คาดการณ์จากนี้น่าจะเป็นกลุ่มชาวจีน และรัสเซีย แต่ยุโรปอาจจะต้องรอไปอีกสักระยะจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลาย ซึ่งคอนโดที่ชาวต่างชาติกลุ่มนี้จะซื้อนั้น จะเป็นอสังหาฯ เพื่ออยู่อาศัยเป็นบ้านหลังที่สองมากกว่าการลงทุน เพราะมองว่าประเทศไทยเป็นเมืองที่ปลอดภัย น่าอยู่ มีมาตรฐานระบบการดูแลรักษาพยาบาลการควบคุมโรคระบาดที่ดี ในส่วนของนักลงทุนคนไทยยังชะลอการลงทุนในด้านอสังหาฯ ในภูเก็ต เนื่องจากรอให้ชาวต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาเที่ยว จึงจะเริ่มลงทุน โดยภาพรวมอสังหาฯ ในภูเก็ตจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งหลังปี 2565 ตามแนวโน้มของการฟื้นตัวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ          
ซีบีอาร์อี แนะใช้ยาแรงฟื้นตลาดบ้าน-คอนโด  ขยายฐานราคา0-15ล.รับมาตรการรัฐ

ซีบีอาร์อี แนะใช้ยาแรงฟื้นตลาดบ้าน-คอนโด ขยายฐานราคา0-15ล.รับมาตรการรัฐ

ซีบีอาร์อี คาดตลาดอสังหาฯ ไทยปี 64 แต่ละธุรกิจฟื้นตัวแตกต่างกัน  จากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น มีความท้าทายจากความผันผวนของโรคโควิด-19  ตลาดโลจิสติกส์ขึ้นแท่นนำ ขณะที่ตลาดอาคารสำนักงานต้องเตรียมรับมือกับซัพพลายใหม่จำนวนมาก ส่วนตลาดโรงแรมและพื้นที่ค้าปลีกจะฟื้นตัวช้าสุด แนะภาครัฐอัดยาแรงในตลาดที่อยู่อาศัย ขยายฐานกลุ่มบ้าน-คอนโด ราคาตั้งแต่ 0-15 ล้านให้ได้รับอานิสงค์ พร้อมปลดล็อกขายลิสโฮลด์ขายบ้าน-ที่ดินได้ถึง 60 ปี ตลาดที่พักอาศัย : ปรับสมดุลราคา ซีบีอาร์อีเชื่อว่าตลาดที่พักอาศัยโดยรวมในกรุงเทพฯ จะยังคงชะลอตัวในปี 2564 และมีความเสี่ยงเนื่องจากโควิด-19 รอบใหม่ ได้ทำให้ผู้ซื้อชาวไทยและชาวต่างชาติใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้น   การเปิดตัวโครงการใหม่จะมีไม่มากนักโดยจะเป็นโครงการในย่านรอบนอกใจกลางเมือง (มิดทาวน์) และชานเมือง เพราะราคาที่ดินยังอยู่ในระดับราคาที่พัฒนาได้และทำให้ราคาขายเริ่มมีความสมเหตุสมผลมากขึ้น   ในปี 2564 ผู้พัฒนาโครงการจะยังให้ความสำคัญกับยูนิตที่แล้วเสร็จแต่ยังเหลือขายที่มีอยู่ในมือ แต่ขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสใหม่ในทำเลใหม่ๆ และให้ความสำคัญกับสภาพคล่องทางการเงินด้วย   ตลาดที่พักอาศัยแนวราบจะเป็นตลาดหลักสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ๆ เนื่องจากผู้พัฒนาโครงการต้องการลดความเสี่ยง   ขณะที่ความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมยังคงมีอยู่แต่มีงบประมาณที่น้อยลง   นอกจากนี้ผู้พัฒนาโครงการจะเปลี่ยนไปพัฒนาโครงการที่มีขนาดเล็กลง เพื่อลดขนาดการลงทุน และทำให้ผ่านเกณฑ์การอนุมัติเงินทุนจากธนาคารได้ง่ายขึ้น   นางสาวอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า  จากธุรกรรมซื้อขายที่ผ่านซีบีอาร์อีในปี 2563 พบว่าตลาดที่พักอาศัยระดับลักซ์ชัวรี่ที่เป็นกลุ่มเฉพาะยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมากจากทั้งลูกค้าที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองและนักลงทุน โดยเฉพาะที่พักอาศัยที่บริหารโดยเครือโรงแรมและบ้านหรู แต่ลูกค้าใช้ระยะเวลาการตัดสินใจนานขึ้น   เป็นที่น่าสังเกตว่ายูนิตขนาดใหญ่ในตลาดระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ซึ่งยอดขายชะลอตัวในอดีตกลับมามียอดขายมากขึ้นในปีที่ผ่านมา  นักลงทุนต่างชาติที่สนใจลงทุนในไทย โดยเฉพาะชาวจีน ยังคงให้ความสนใจตลาดในทุกระดับ แต่ยอดขายจากลูกค้ากลุ่มนี้จะกลับมาก็ต่อเมื่อสามารถเดินทางเข้ามาไทยได้ โปรโมชั่นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพจากรัฐบาลยังคงมีความจำเป็นสำหรับการดึงดูดผู้ซื้อต่างชาติ  ซีบีอาร์อีคาดหวังว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลออกมาอีกโดยควรจะครอบคลุมมากยิ่งขึ้นเพื่อช่วยตลาดในปีนี้   โดยเห็นว่ามาตรการที่จะช่วยกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยได้ดี คือ การขยายฐานระดับราคาที่อยู่อาศัย ให้ครอบคลุมมากขึ้น จากปัจจุบันที่ให้เฉพาะระดับบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท เห็นว่าควรขยายฐานราคาที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 0 บาทไปจนถึง 15 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยแบบสิทธิการเช่า หรือ ลิสโฮลด์นั้นควรขยายระยะเวลาให้เช่านานถึง 60 ปี เพื่อกระตุ้นตลาดในกลุ่มชาวต่างชาติให้เข้ามาซื้ออสังหาฯ​ ไทยเพิ่มมากขึ้น​ สิ่งที่จะช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ได้ คือ นโยบายของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมาตรการยังกระจัดกระจายและยังไม่อิมแพคมากพอ ตลาดอาคารสำนักงาน: ปรับเปลี่ยนอนาคตของสถานที่ทำงาน ซีบีอาร์อีมองเห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังคิดทบทวนเรื่องการออกแบบสถานที่ทำงานและวิธีการใช้พื้นที่ เนื่องจากการให้พนักงานเป็นศูนย์กลางและการทำงานแบบไฮบริดหรือการใช้พื้นที่สำนักงานรูปแบบเดิมควบคู่ไปกับการผสมผสานระหว่างการใช้พื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นกับการทำงานระยะไกลจะเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับหน้าที่และลักษณะเฉพาะของแต่ละบริษัทและแต่ละหน่วยธุรกิจ นางสาวรุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ หัวหน้าแผนกพื้นที่สำนักงาน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า สำหรับอนาคตของตลาดอาคารสำนักงาน ความกังวลที่สำคัญประการหนึ่งของซีบีอาร์อีคือจำนวนซัพพลายใหม่ที่จะเพิ่มเข้าสู่ตลาด  โดยในปี 2564 มีพื้นที่สำนักงานที่คาดว่าจะแล้วเสร็จจำนวน 334,000 ตารางเมตร  ซึ่งจะทำให้พื้นที่สำนักงานทั้งหมดในกรุงเทพฯ ขยับขึ้นไปอยู่ที่ 9.49 ล้านตารางเมตร   ในสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอนเช่นนี้  ซีบีอาร์อีได้เห็นว่าเจ้าของอาคารมีการเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จของอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน  นอกจากนี้ยังคาดว่าค่าเช่าโดยรวมในตลาดจะอยู่ในระดับทรงตัว  และตลาดจะเปลี่ยนไปสู่การเป็นตลาดของผู้เช่าโดยเฉพาะผู้เช่ารายใหญ่ที่ใช้พื้นที่สำนักงานขนาดใหญ่ ตลาดพื้นที่ค้าปลีก: พฤติกรรมเปลี่ยนส่งผลให้ต้องปฏิรูป ธุรกิจค้าปลีกของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และส่งผลให้ในปี 2563 ยอดผู้ใช้บริการลดลงอย่างมากและความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ลดลงเช่นกัน   ซีบีอาร์อีเห็นว่าเจ้าของพื้นที่ค้าปลีกได้มีการทบทวนโครงการที่มีการวางแผนไว้ รวมถึงแผนการลงทุน  ซึ่งจะมีการเสนอสัญญาเช่าที่ยืดหยุ่นมากขึ้นให้กับผู้เช่าและจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ภายในพื้นที่ศูนย์การค้า    ในทางกลับกัน ผู้ค้าปลีกจะลดขนาดและปรับรูปแบบพื้นที่เช่าเพื่อลดค่าใช้จ่ายและทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  ธนาคารต่างกำลังย้ายไปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์และต้องการพื้นที่สาขาน้อยลง   ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะให้ความสำคัญกับบริการส่งอาหารมากขึ้น และร้านขายสินค้าแฟชั่นจะมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายมากขึ้น   นอกจากการเปลี่ยนสถานะการเช่าจากแบบถาวรมาเป็นแบบชั่วคราวแล้ว ผู้เช่าจะพัฒนาให้เป็นร้านค้ารูปแบบที่เล็กลง เช่น ป๊อปอัปสโตร์ เพื่อรักษาผลกำไรในช่วงที่สถานการณ์ไม่แน่นอนเช่นนี้   ตลาดโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์: เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าพักและผู้เช่า ตลาดโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ในกรุงเทพฯ คือหนึ่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยลดลงจาก 40 ล้านคนในปี 2562 ไปเป็นต่ำกว่า 7 ล้านคนในปี 2563 ซีบีอาร์อีคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจะกลับคืนสู่ระดับเดียวกับปี 2562 ได้ในปี 2565 โดยต้องขึ้นอยู่กับความสำเร็จของวัคซีนและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นนักท่องเที่ยวหลักของไทยอย่างจีน รัสเซีย ญี่ปุ่น และอินเดีย   นายรัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย  กล่าวว่า “ในขณะเดียวกัน  เจ้าของโรงแรมและผู้บริหารจัดการโรงแรมถูกบังคับให้มุ่งเน้นไปที่ตลาดท่องเที่ยวในประเทศ โดยอาศัยรายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อให้อยู่รอด   ซีบีอาร์อีเห็นว่าโรงแรมต่างๆ ได้หาหนทางใหม่ๆ ในการดำเนินงานและทำการตลาด ตั้งแต่แพ็กเกจการทำงานจากโรงแรม (Work From Hotel) แพ็กเกจการเข้าพักแบบ Staycation (การพักผ่อนในสถานที่ใกล้ๆ) ไปจนถึงข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าที่ไม่ได้เข้าพัก    โรงแรมบางแห่งอาจเลือกที่จะเปิดให้บริการเป็นบางส่วนหรือเปิดเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม  โดยอาศัยช่วงเวลาที่มีผู้เข้าใช้บริการน้อยเป็นการทดลองเปิดให้บริการ และพยายามให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน้อยที่สุด” ตลาดพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์: ความต้องการสะสมถูกขัดขวางด้วยการห้ามเดินทาง นายอาดัม เบลล์ หัวหน้าแผนกพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดโลจิสติกส์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการแพร่ระบาด เนื่องจากโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคไทยปรับตัวเข้าสู่อี-คอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งผลักดันให้เกิดความต้องการพื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่ (Modern Logistics Property - MLP) ในประเทศไทย   พื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่มากกว่า 400,000 ตร.ม. ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าสู่ตลาดภายในปี 2564 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบสร้างขึ้นตามความต้องการเฉพาะ (Built-to-Suit)   สำหรับด้านซัพพลายเชน  ผู้ผลิตในจีนหลายรายพิจารณาย้ายฐานการผลิตมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า  นักลงทุนเริ่มให้ความสนใจซื้อโรงงานมากกว่าเช่าโรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลสถานที่ได้มากขึ้น  ในขณะที่ผู้พัฒนาโรงงานหลายรายชะลอการสร้างโรงงานสำเร็จรูป (Ready-Built Factory - RBF) แบบสร้างเสร็จก่อนขาย   ตลาดการลงทุน: ทบทวนพอร์ตและกลยุทธ์การลงทุน โควิด-19 ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเป็นตลาดของผู้เช่าและผู้ซื้อมากขึ้น โดยผู้เช่าจะมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นโดยอสังหาริมทรัพย์จะถูกนำออกมาขายมากขึ้น  เนื่องจากเจ้าของพื้นที่และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องการถือเงินสด  ซีบีอาร์อีเชื่อว่าเรื่องนี้อาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์ที่ยอมลดราคา แต่ความคาดหวังที่แตกต่างกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อจะยังคงเป็นปัญหาสำคัญ  ราคาที่ดินจะอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลมากขึ้นเพราะราคาที่ดินโดยรวมในทำเลชั้นนำยังไม่เปลี่ยนแปลง  อย่างไรก็ตาม ราคาที่ดินในย่านรอบนอกใจกลางเมืองและชานเมืองโดยรวมลดลง ยกเว้นบางพื้นที่จะปรับตัวสูงขึ้นตามการขยายเส้นทางระบบขนส่งมวลชนและการขยายถนนในพื้นที่   นางกุลวดี สว่างศรี หัวหน้าแผนกการลงทุนและที่ดิน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวสรุปว่า เจ้าของพื้นที่และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ในเชิงรุกเพื่อรักษารายได้และบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ   การลงทุนแต่ละครั้งจะได้รับการประเมินหลายครั้งเพื่อทำความเข้าใจกับการแทรกแซงจากคู่แข่ง รวมถึงความต้องการของผู้เช่านั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ที่มีอยู่หรือขายออก      
เรียลแอสเสท ปั้น 4 โปรเจ็กต์ สร้างยอดโต 15%

เรียลแอสเสท ปั้น 4 โปรเจ็กต์ สร้างยอดโต 15%

เรียลแอสเสท เดินหน้าเปิด 4 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างยอดขาย 2,350 ล้าน  โต 15%  รับปี 64 วางเป้าหมายรายได้สู่ 4,000 ล้าน ในอีก 3 ปี หลังเทคโอเวอร์โปรเจ็กต จากอารียามาลุยต่อ   นายบดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า  ได้วางแผนพัฒนาโครงการใหม่ในปีนี้จำนวน 4 โครงการ มูลค่ารวม 4,660 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการแนวราบ จำนวน 3 โครงการ มูลค่ารวม 2,510 ล้านบาท ได้แก่ 1.สตอรี่ส์ บางนา - สุวรรณภูมิ 2.สตอรี่ส์ รังสิต - วงแหวน  3.วิรัณยา บางนา - วงแหวน และ โครงการคอนโดมิเนียม มูลค่า 2,150 ล้านบาท  จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการ “เดอะ สเตจ มายด์สเคป รัชดา - ห้วยขวาง” (THE STAGE Mindscape Ratchada – Huai Khwang)   นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่เทกโอเวอร์ มาจาก บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ภายใต้แบรนด์ “MEGA Space 1&2” เป็นคอนโดไฮไรส์ จำนวน 2 อาคาร รวม 2,329 ยูนิต มูลค่าโครงการ 4,300 ล้านบาท ในปี 2564 คาดว่า บริษัทจะสามารถสร้างยอดขายจำนวน 2,350 ล้านบาท  เติบโตขึ้น 15% จากปีก่อนที่มียอดขาย 2,050 ล้านบาท และจากการเทคโอเวอร์จะสามารถทำให้บริษัทโตได้อย่างก้าวกระโดด โดยตั้งเป้าว่าในปี 2567 จะสามารถสร้างรายได้แตะ 4,000 ล้านบาท และมี Backlog ทั้งหมด 5,660  ล้านบาทระหว่างปี 2564-2567   นายบดินทร์ธร กล่าวอีกว่า จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปี 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  มีการเปิดตัวโครงการใหม่ลดลงจาก​ปี 2562  ซึ่งผู้ประกอบการมีการปรับแผนการดำเนินธุรกิจและเลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไป โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียม ส่งผลให้สต๊อกคงค้างในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ลดลง  รวมทั้งกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติลดลงจำนวนมาก เนื่องจากไม่สามารถเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ และกลุ่มนักลงทุนที่ชะลอการลงทุน เพื่อรอดูความชัดเจนของสถานการณ์ ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ส่งผลให้ตลาดอสังหาฯ ไม่เติบโต ผลกระทบดังกล่าวยังคงต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2564 ทำให้บริษัทพิจารณาถึงความรอบคอบในการดำเนินงานเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทบทวนแผนงานรายเดือนและรักษากระแสเงินสดสร้างความมั่นคงของการดำเนินธุรกิจ สำหรับแนวโน้มในปี 2564  ทางบริษัทฯยังคงมั่นใจในทำเลและสินค้าของโครงการที่จะเปิดใหม่ในปีนี้ เน้นฐานลูกค้าเรียลดีมานด์เป็นหลัก มุ่งการทำวิจัยตลาดอสังหาฯศึกษาถึงข้อมูลและพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า เพิ่อให้สินค้าออกมา ตรงตามความต้องการมากที่สุด เน้นกลยุทธ์การตลาดในด้านราคามากขึ้น  ชูราคาเป็นจุดขาย เนื่องจากสภาวะความคิด และพฤติกรรมของลูกค้า ณ ปัจจุบันต้องการความคุ้มค่าในราคาที่จับต้องได้  
ศุภาลัย วาง 4 กลยุทธ์ ทำรายได้ New High 28,000 ล้านบาท

ศุภาลัย วาง 4 กลยุทธ์ ทำรายได้ New High 28,000 ล้านบาท

ศุภาลัย วาง 4 กลยุทธ์ ปูทางสร้างรายได้ในปี 64 จำนวน 28,000 ล้าน New High สูงสุดในรอบ 32 ปี ทั้งโอน 4 โปรเจ็กต์ยักษ์ ปั้นแบรนด์ใหม่ ลุยตลาดแนวราบ และเปิดตัวแอป “ศุภาลัย สบาย” มัดใจลูกค้า   แม้ว่าในปี 2564 จะยังมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภาวะเศรษฐกิจยังไม่กลับมาเติบโตเป็นปกติ แต่การเติบโตของการ “ศุภาลัย” ในปีนี้  ยังคงคาดหวังว่าจะปรับตัวดีกว่าปีที่ผ่านมา และน่าจะสร้างรายได้เติบโตแบบ New High ด้วยรายได้ถึง 28,000 ล้านบาท ท่ามกลางกำลังซื้อที่ยังไม่กลับมาเป็นปกติ สภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ยังคงชะลอตัวลง   นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้ตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 2564 จำนวน 28,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้จะสูงสุดในรอบ 32 ปีนับจากดำเนินธุรกิจมาและเป้าหมายยอดขาย 27,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 9% จากปีที่ผ่านมาทำได้ 24,376 ล้านบาท ศุภาลัยวาง 4 กลยุทธ์ทำรายได้ New High   สำหรับเหตุผลสำคัญที่ทำให้ ศุภาลัย มั่นใจว่าจะสร้างสถิติรายได้สูงสุด แม้ว่าภาวะตลาดอสังหาฯ จะยังไม่กลับมาฟื้นตัวเป็นปกตินั้น เป็นเพราะเหตุผลสำคัญ 4 เรื่อง คือ 1.รายได้จาก 4 โปรเจ็กต์ยักษ์ พร้อมโอน ในปี 2564 จะมีโครงการขนาดใหญ่ สร้างเสร็จพร้อมโอน ทำให้มีรายได้เข้ามาอย่างชัดเจน หลังจากเปิดตัวขายในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ อาทิ ​  -ศุภาลัยพรีเมียร์ เจริญนคร มูลค่า 2,990 ล้านบาท ถือเป็นโครงการที่สร้างกระแส talk of the town ในช่วงเปิดตัวโครงการ เพราะมีลูกค้านับร้อยรายมาต่อแถวเพื่อจอง  และสามารถปิดการขายได้ภายในวันแรกของการเปิดตัว ด้วยศักยภาพของทำเลติดสายรถไฟฟ้าสายสีทอง  และห่างจากศูนย์การค้าไอคอนสยามเพียง 1 สถานีเท่านั้น -ศุภาลัย ริเวอร์แกรนด์ มูลค่า 6,800 ล้านบาท   เป็นโครงการขนาดใหญ่ แต่มีที่จอดรถมากถึง 130% ทำให้ได้รับความสนใจ ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 73% -ศุภาลัย เวอรันดา ภาษีเจริญ มูลค่า 4,500 ล้านบาท โครงการตั้งอยู่ห่างจากรถไฟฟ้าที่เปิดใช้บริการแล้ว เพียง 100 เมตร ทำให้ได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้า ปัจจุบันมียอดขายขายแล้ว 87% -ศุภาลัย ออเรนทัล สุขุมวิท 39 มูลค่า 10,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่เริ่มโอนกรรมสิทธิ์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 แต่จะมาโอนกรรมสิทธิ์จำนวนมากต่อเนื่องมาในปีนี้ 2.เปิด 31 โปรเจ็กต์ 34,000 ล้านบาท แผนธุรกิจในปี 2564 ศุภาลัยวางแผนเปิดตัว 31 โครงการ มูลค่า 34,000 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบ 27 โครงการ ในกรุงเทพฯ 11 โครงการ ต่างจังหวัด 16 โครงการ และคอนโดมิเนียม 4 โครงการ อยู่ในกรุงเทพฯ 3 โครงการ ต่างจังหวัด 1 โครงการ และวางงบประมาณการจัดซื้อที่ดิน 8,000 ล้านบาท โดยเฉพาะโครงการแนวราบที่จะเป็นโครงการที่สามารถรับรู้รายได้ภายในปีนี้ เพราะเป็นสินค้าสร้างเสร็จพร้อมขาย และโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันที โดยเชื่อว่าตลาดอสังหาฯ แนวราบยังเติบโตได้ดี แม้ว่าในภาพรวมตลาดอสังหาฯ จะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ปีที่ผ่านมาทั้งตลาดคอนโดมิเนียม และแนวราบติดลบทั้งหมด แต่สำหรับศุภาลัยยังสามารถสร้างการเติบโตในตลาดแนวราบได้ 16-17% 3.ปั้นแบรนด์ใหม่ บุกตลาด 3-5 ล้าน ในปีนี้ ศุภาลัย วางแผนพัฒนาแบรนด์สินค้าใหม่ออกมาทำตลาด ในกลุ่มระดับราคา 3-5 ล้านบาท เพื่อทำตลาดกลุ่มลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ พร้อมกับการพัฒนาแบบบ้านใหม่ และฟังก์ชั่นบ้านในรูปแบบใหม่ เพื่อขยายตลาดและตอบสนองความต้องการของตลาดที่หลากหลายมากขึ้น และทำให้ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นด้วย 4.เปิดตัวแอพ “ศุภาลัยสบาย” อีกหนึ่งกลยุทธ์การสร้างความสำเร็จของศุภาลัยในปี 2564 คือ การนำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้ในการบริหารและดำเนินธุรกิจ ด้วยการเปิดตัวแอปพลิเคชั่นใหม่ “ศุภาลัย สบาย” (Supalai Sabai) เพื่อให้บริการกับกลุ่มลูกค้าของศุภาลัยแบบครบวงจร ตั้งแต่ก่อนจะเข้ามาเป็นลูกค้า ในการเลือกซื้อสินค้า จนถึงเป็นลูกค้า และบริการหลังการขายทั้งหมด คาดว่าจะเปิดตัวได้ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้   นอกจากนี้ ศุภาลัย ยังวางกลยุทธ์การดำเนิน​ธุรกิจในปี 2564 ด้วยการบริหารงานภายในองค์กรด้วย​การนำหลักการทำงานแบบ Agile มาปรับใช้ภายในองค์กร เพื่อพัฒนาสินค้า และบริการ ขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว และการส่งเสริมด้าน Waste management ในกระบวนการก่อสร้าง โดยกำหนดแนวทางการทำงานเพื่อลดปริมาณความสูญเสียของวัสดุก่อสร้างได้อย่างเหมาะสม และสามารถจัดการกับเศษวัสดุก่อสร้างให้เกิดมูลค่าสูงสุด รวมทั้งลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจรายใหญ่ ที่มีความน่าเชื่อถือ และเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  
4 มุมคิดชาว Millennials ต่อตลาดอสังหาฯ ไทยในช่วงโควิด-19

4 มุมคิดชาว Millennials ต่อตลาดอสังหาฯ ไทยในช่วงโควิด-19

เพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19  จึงทำให้หลายธุรกิจต้องหยุดชะงัก หรือไม่ก็ต้องปรับแผนรับมือ งัดสารพัดกลยุทธ์ออกมา เพื่อสร้างยอดขายและการเติบโต ตลาดบ้านและคอนโดมิเนียมก็เช่นเดียวกัน จากที่ยอดขายดี ๆ ก็ต้องสะดุดลง เพราะคนไม่มั่นใจว่า จะมีเงินมาจ่ายค่าผ่อนหนี้ธนาคารหรือไม่ เพราะการงานและอาชีพของตนจะไม่รู้จะยังมั่นคงนานแค่ไหน แม้ว่าความต้องการซื้อบ้านหรือคอนโดจะยังมีอยู่มากก็ตาม โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่ม Millennials  หรือ Gen Y (ผู้ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2527 – 2539) ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน หรือเริ่มต้นสร้างครอบครัว   ผู้บริโภคกลุ่ม Millennials นับว่ามีความสำคัญ และได้กลายมาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในศตวรรษที่ 21 ด้วยพื้นฐานการเติบโตมากับโลกดิจิทัลจึงเรียนรู้และรับเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และนำมาพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังตัดสินใจรวดเร็ว จึงทำให้คนกลุ่มนี้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม เศรษฐกิจ หรือการดำเนินชีวิต อีกทั้งยังเป็นวัยที่เต็มไปด้วยไฟในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตและอยู่ในช่วงสร้างฐานะให้มั่นคง จึงทำให้เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการใช้จ่ายสูงและคาดว่าจะเป็นกำลังซื้อสำคัญในอนาคตไปอีกหลายปี จากข้อมูลจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553-2583 (ฉบับปรับปรุง) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ในปีนี้ประชากรไทยในช่วงอายุ 25-39 ปี จะมีจำนวนถึง 13.7 ล้านคน หรือคิดเป็น 31.53% ของประชากรวัยแรงงานทั้งหมด (ช่วงอายุ 15-59 ปี) กว่า 43 ล้านคน จึงทำให้หลายธุรกิจจับตามองและช่วงชิงกำลังซื้อจากคนกลุ่มนี้มากขึ้น   แน่นอนว่าเมื่อชาว Millennials เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพในสายตาของหลากหลายธุรกิจ ย่อมถูกดึงดูดให้ใช้จ่ายสนองความต้องการด้านต่าง ๆ เสมอ และกลายเป็นอีกช่วงวัยที่เริ่มมีภาระหนี้เพื่อซื้อทรัพย์สินที่มีราคาสูงโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยเมื่อเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย ภาคธุรกิจและผู้บริโภคต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งกลุ่ม Millennials ด้วยเช่นกัน   บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้เปิดเผยข้อมูลอัปเดต ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย พบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่มีการสร้างหนี้มากที่สุด คือ กลุ่ม Millennials  หรือ Gen Y โดยมีหนี้สินรวมกันถึง 4 ล้านล้านบาท คิดเป็นหนี้เสีย (NPL) คงค้าง 270,000 ล้านบาท เมื่อพิจารณาเรื่องสินเชื่อบ้านที่อนุมัติใหม่ในช่วงเวลานั้นจำนวน 80,494 สัญญา พบว่าเป็นของกลุ่ม Millennials หรือ Gen Y มากที่สุดถึง 64% และเป็นที่น่ากังวลในเรื่องปัญหาค้างชำระในอนาคต สะท้อนให้เห็นถึงสภาพคล่องในการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ และเริ่มส่งสัญญาณเตือนให้เห็นปัญหาการวางแผนด้านการเงิน แม้จะมีกำลังซื้อสูงก็ตาม   ข้อมูลจากดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) ยังรายงานผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด เจาะลึกมุมมองด้านการวางแผนการใช้จ่ายของกลุ่ม Millennials และความต้องการด้านที่อยู่อาศัยท่ามกลางความท้าทายทั้งด้านการเงินและการงานจากสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบางและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ว่าส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของชาว Millennials ในตลาดอสังหาฯ มากน้อยเพียงใด 4 มุมคิด มนุษย์กลุ่ม Millennials โดยผลสำรวจพบ 4 มุมมองซึ่งประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.อยากใช้จ่ายหลากหลาย แต่ครอบครัวต้องมาก่อน เมื่อพูดถึงการวางแผนการใช้จ่ายใน 1 ปีข้างหน้าของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials นั้น ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญไปที่การใช้จ่ายภายในครอบครัวถึง 74% สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรายได้และดูแลรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัวของคนวัยนี้ อย่างไรก็ตาม ชาว Millennials ยังคงมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองอยู่ไม่น้อยแม้จะยังไม่มีความพร้อมด้านการเงินในตอนนี้ โดย 59% เผยว่ามีความตั้งใจออมเงินเพื่อวางแผนซื้อบ้านในอนาคต ในขณะที่ 46% ระบุว่าอยากออกไปท่องเที่ยวในวันหยุด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ปัจจุบันทำให้ทุกคนจำเป็นต้องเก็บตัวอยู่บ้าน และชะลอแผนท่องเที่ยวออกไป เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และหยุดการแพร่ระบาดในประเทศ 2.เตรียมความพร้อม หวังซื้อบ้านหลังแรกตอน 31 ปี เมื่อพิจารณาในด้านการครอบครองอสังหาฯ ในปัจจุบัน พบว่ายังมีสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่ม Millennials มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้วถึง 57% ในขณะที่อีก 43% ยังไม่ได้เป็นเจ้าของอสังหาฯ ใด ๆ ซึ่ง 2 ใน 3 ของผู้บริโภคกลุ่มนี้ (66%) เผยว่า พวกเขาได้วางแผนที่จะซื้อบ้านหลังแรกเมื่ออายุ 31 ปีขึ้นไป ซึ่งน่าจะเป็นช่วงวัยที่มีความพร้อมมากพอทั้งด้านหน้าที่การงานที่มั่นคงและสถานะทางการเงินที่เหมาะสมเมื่อต้องเป็นหนี้ก้อนใหญ่มากกว่าตอนนี้ 3.สถานะทางการเงินสั่นคลอน อุปสรรคหลักของการมีบ้าน กลุ่ม Millennials ยอมรับว่าปัญหาทางการเงินจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในตอนนี้ถือเป็นอุปสรรคหลัก ๆ ที่ทำให้พวกเขายังไม่มีแผนย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ โดย 1 ใน 2 ของกลุ่มนี้ (50%) เผยว่า ยังไม่มีเงินออมมากพอที่จะไปเช่าหรือซื้อบ้านเป็นของตนเอง ในขณะที่ 41% ต้องการที่จะอยู่บ้านเดิมเพื่อดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด ตามมาด้วยกลุ่มที่ไม่คิดจะย้ายออกเพราะยังไม่ได้แต่งงาน 33% และตั้งใจจะรับช่วงต่อบ้านเดิมจากพ่อแม่อยู่แล้ว 33% จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้ออสังหาฯ เป็นของตัวเองในตอนนี้ 4.การเช่าโดนใจ ตอบโจทย์ที่อยู่อาศัยแบบไร้ข้อผูกมัดระยะยาว ด้วยข้อจำกัดทางการเงินจากปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้ชาว Millennials  94% ตัดสินใจเช่าแทนการซื้อที่อยู่อาศัยในตอนนี้ เนื่องจากมองว่าการเช่าบ้าน/คอนโดฯ จะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการซื้ออสังหาฯ ซึ่งต้องมีความพร้อมทางการเงินในระดับหนึ่งจึงจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงเลือกเก็บเงินก้อนที่มีสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินและหันไปเลือกเช่าอสังหาฯ ในรูปแบบที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยแทน นอกจากนี้การมีสถานภาพโสดอยู่ตัวคนเดียวก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้การเช่าที่อยู่อาศัยได้รับความนิยมมากกว่าการซื้อเช่นกัน แม้ผลกระทบจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากหลายปัจจัยในตอนนี้ จะทำให้แผนบริหารจัดการเงินของชาว Millennials ต้องสะดุดลงหรือชะลอการใช้จ่ายในเรื่องที่ยังไม่จำเป็นเร่งด่วนออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังคงเป็นกำลังซื้อที่สำคัญในหลายอุตสาหกรรมในระยะยาว เพียงแต่รอดูสัญญาณบวกของสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อหาเวลาที่เหมาะสมในการออกมาใช้จ่ายแทน   ดังจะเห็นได้จากการวางแผนใช้จ่ายในอนาคตที่ผู้บริโภคกลุ่ม Millennials  ยังคงให้ความสำคัญไปยังสิ่งที่จำเป็นมาก่อนความต้องการส่วนตัว ด้วยการวางแผนบริหารจัดการการเงินที่รอบคอบนี้เชื่อว่าจะช่วยให้กลุ่ม Millennials สามารถปรับพฤติกรรมและปรับเปลี่ยนแผนการใช้จ่ายที่มีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที และกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้ในอนาคตแน่นอน    
ศุภาลัย วางเป้ารายได้ 5,350 ล้าน จาก 7 โปรเจ็กต์ในออสเตรเลีย

ศุภาลัย วางเป้ารายได้ 5,350 ล้าน จาก 7 โปรเจ็กต์ในออสเตรเลีย

นโยบายกระจายความเสี่ยง สร้างรายได้ให้ “ศุภาลัย” กว่า 1,983 ล้าน จากโปรเจ็กต์ในออสเตรเลีย ปี 64 เดินหน้าปั้นรายได้จาก 7 โปรเจ็กต์ขายดี หวังสร้างรายได้เพิ่มกว่า 5,350 ล้าน ​   ดร.ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถทำยอดขายจากการร่วมลงทุน พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศออสเตรเลีย ได้จำนวน 1,983 ล้านบาท คิดเป็น 7.5% ของยอดขายรวมในประเทศไทยของบริษัทฯ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย แม้จะเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ซึ่งนโยบายการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มศักยภาพการเติบโตของศุภาลัยนั้น นับว่าได้ผลดี   ส่วนในปี 2564 นี้ บริษัทน่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะสามารถทำยอดขายได้เพิ่มเป็น 5,350 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 19% ของเป้าการขายรวมในประเทศไทย ทั้งนี้ เพราะออสเตรเลียเป็นประเทศใหญ่ ที่มีความมั่นคง ประกอบกับรัฐบาลออสเตรเลีย สร้างแรงจูงใจที่ส่งเสริมการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่แรงกว่าประเทศไทยมาก  ในปีที่ผ่านมา รัฐบาลของออสเตรเลีย มีงบประมาณช่วยผู้ซื้อบ้านรายละ 40,000 เหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 930,000 บาท   ส่วนดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม กรรมการที่ปรึกษา  ซึ่งรับผิดชอบดูแลโครงการลงทุนต่างประเทศ กล่าวว่า ปัจจุบันศุภาลัยเข้าไปลงทุนในประเทศออสเตรเลียแล้วจำนวน 11 โครงการ ได้แก่ Balmoral Quay, Officer, Greenvale, Gen Fyansford, Eden’s Crossing, Whole Green, Narangba, Ballarat Street, Eglinton, Madora Bay และ Katalia  โดยมีการเติบโตด้านยอดขายอย่างต่อเนื่อง   ในปี 2564 บริษัทมีแผนการขายโครงการของศุภาลัยในออสเตรเลีย ที่ได้รับความสนใจจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง 7 โครงการ ดังนี้   1.โครงการ Balmoral Quay เป็นโครงการที่อยู่อาศัยโดดเด่นริมทะเล ที่ขนาบด้วยสวนสาธารณะ  ทั้งซ้าย-ขวา มีทั้งที่อยู่อาศัยแบบทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม และที่จอดเรือสำราญ 300 ลำ โดยโครงการได้เปิดขายไปประมาณครึ่งหนึ่ง และมีลูกค้าย้ายเข้าอยู่แล้วบางส่วน ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างงานสาธารณูปโภค ก่อสร้างตัวอาคารในเฟสสุดท้าย 2.โครงการ Officer เป็นโครงการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ อยู่ทิศตะวันออกของ Melbourne ที่ร่วมทุนกับ Satterley ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนที่ใหญ่ที่สุดใน Australia เป็นโครงการที่มีสถานีรถไฟฟ้า ถึง 2 แห่ง ท้ายของโครงการ มีโรงเรียน ศูนย์สันทนาการ ศูนย์การค้าฯ เปิดขายตั้งแต่ปี 2557 และสามารถทำยอดขายได้ดีอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ปี 2561 - 2562 ก็สามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม (Best Performer) ปัจจุบันโครงการใกล้ดำเนินการแล้วเสร็จ และคาดว่าจะมีสินค้าสามารถขายได้ถึงช่วงปลาย  ปี 2565 โดยมีอัตราการขายของโครงการ จำนวน 12 แปลงต่อเดือน รวมเป็นยอดขายและยอดสัญญา จำนวน 180 แปลงในปี 2564 3.โครงการ Greenvale   เป็นโครงการที่ร่วมทุนกับ Satterley เช่นกัน ทำเลตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของ Melbourne และเป็นแหล่งทำเลที่ราคาที่ดินค่อนข้างสูง ทำให้อัตราการขายไม่ได้สูงเท่า Officer แต่สามารถสร้างยอดขายได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่าอัตราการขายจะอยู่ที่ 10 แปลงต่อเดือน  สาเหตุที่ยอดขายโดยรวมไม่สูง เนื่องจากที่ดิน Neighborhood 4 ยังไม่มีผังเมืองรองรับ ซึ่งจะทำให้เกิดความล่าช้าในการเปิดขายประมาณ 3 เดือน 4.โครงการ Whole Green เป็นโครงการร่วมทุนกับ Peet ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนอสังหาฯ ที่เก่าแก่ที่สุดในออสเตรเลีย โครงการตั้งอยู่ทางตะวันตกของ Melbourne ห่างไปประมาณ 30 กม. ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโครงการอยู่จำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากระดับราคาที่ดินไม่สูงมากนัก อีกทั้งถือว่าไม่ไกลจากตัวเมือง Melbourne คาดว่ายอดขาย/ยอดสัญญาจะอยู่ที่ 100 แปลง ในปี 2564 5.โครงการ Gen Fyansford เป็นโครงการจัดสรรที่ดินบนทำเลที่เป็นเหมืองหินปูนเดิม ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเมือง Geelong ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Melbourne ปัจจุบันกำลังเปิดขายเฟสที่ 9.1 และ 9.2 จากที่โครงการมีทั้งหมด 9 เฟส และขายหมดไปแล้ว 3 เฟส 6.โครงการ Ballarat Street เป็นอพาร์ทเม้นท์ทำเลดี ตั้งอยู่ที่ Brunswick ห่างจาก Melbourne ไปทางเหนือประมาณ 6 กม. เปิดขายอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2564 นี้  โดยช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ ​ 7.โครงการ Katalia เป็นการร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม Stockland บริษัทจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์  ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรเลีย โดยเริ่มเปิดขายในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ประมาณการขายอยู่ที่ 10 แปลงต่อเดือน  ไตรมาส 4 ของปี 2563 นั้น ได้รับผลตอบรับที่ดีเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยสามารถทำยอดขายอยู่ที่ 20 แปลงต่อเดือน โครงการนี้อยู่ทางเหนือของ Melbourne ห่างออกไปประมาณ 50 กม. และที่ดินราคาถูก เหมาะสมสำหรับครอบครัวที่ซื้อบ้านเป็นหลังแรก ด้วยเป้าการขายของโครงการและชื่อเสียงของกลุ่ม Stockland จะสามารถสร้างยอดขายและยอดสัญญาในปี 2564 โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 240 แปลง สำหรับโครงการต่าง ๆ ดังกล่าว บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วนโดยรวมเฉลี่ยประมาณ 50% เมื่อพิจารณาจากประมาณการยอดขายโครงการทั้งหมดแต่ละโครงการ ด้วยสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท คาดว่าจะทำให้มียอดสัญญาจากโครงการทั้งหมดในประเทศออสเตรเลีย เฉพาะส่วนของศุภาลัย เป็นจำนวนเงินประมาณ 226 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือคิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 5,350 ล้านบาท        
“Affordable Housing” คำตอบของคนกรุง​ ในวันที่เงินเดือนโตไม่ทันราคาอสังหาฯ ​

“Affordable Housing” คำตอบของคนกรุง​ ในวันที่เงินเดือนโตไม่ทันราคาอสังหาฯ ​

หลายคนคงเคยตั้งเป้าหมายว่าในวันนึง เมื่อมีรายได้สูงมากพอ จะหาซื้อคอนโดมิเนียม หรือบ้านใจกลางเมืองที่ตนเองใฝ่ฝัน เพื่อจะได้อยู่ใกล้เมืองมากขึ้น เพื่อให้เดินทางได้สะดวกสบาย และใกล้แหล่งความเจริญต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า ธนาคาร โรงพยาบาล หรือโรงเรียนที่มีคุณภาพ เพื่อความสะดวกของคนในครอบครัว แต่ความเป็นจริงกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อระดับเงินเดือนของคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่นั้น เพิ่มขึ้นไม่ทันกับราคาที่พักอาศัยในเมือง ที่สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งพวกเค้าวาดฝันว่าอยากจะมีโอกาศอยู่อาศัยได้ในระยะยาว   ทางออกในการอยากเป็นเจ้าของที่พักอาศัยของตัวเองนั้น ก็ต้องเลือกโครงการที่ห่างไกลออกจากตัวเมือง เมื่อมีความต้องการที่พักอาศัยในลักษณะแบบนี้มากขึ้น บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็เลือกที่จะตั้งโครงการแบบกระจัดกระจาย และห่างไกลจากระบบขนส่งสาธารณะหลัก เพื่อให้คนกลุ่มนี้ซื้อที่พักอาศัยในราคาย่อมเยาว์ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเมืองกระจัดกระจาย (Urban sprawl) เพิ่มมากขึ้นตาม รวมทั้งยังทำให้ต้นทุนค่าครองชีพ โดยเฉพาะค่าเดินทาง สูงขึ้นมากในคนกลุ่มนี้ คนกรุงเทพฯไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยในเมืองได้ ในปัจจุบัน “คนกรุงเทพส่วนใหญ่ไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยในเมืองได้” จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติและการเคหะแห่งชาติ ในปี 2563 พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของคนกรุงเทพฯ นั้นอยู่ที่ 37,750 บาทต่อเดือน โดยหากคิดตามความสามารถในการกู้คนกลุ่มนี้จะสามารถกู้ซื้อที่อยู่อาศัยได้ในราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท (คิดเทียบเงินเดือนกับวงเงินที่จะสามารถกู้ได้ โดยคิดที่ 40% ระยะสัญญา 30 ปี และไม่มีภาระทางการเงินอื่น ๆ) ซึ่ง งบประมาณดังกล่าว คนกลุ่มนี้จะสามารถซื้อคอนโดในเขตปทุมวันได้เพียงแค่ 8 ตารางเมตร จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกรุงเทพฯ กว่า 50% ไม่มีกรรมสิทธิในที่อยู่อาศัย และมีแนวโน้มที่จำนวนจะสูงขึ้นต่อเนื่องในทุกปี เพราะ “ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตเร็วกว่ารายได้ต่อครัวเรือน”   ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบกับคนกรุงเทพฯ ในทุกระดับรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ที่ไม่มีความมั่นคงและความแน่นอนในอาชีพการงานและรายได้ และส่วนใหญ่ไม่มีเงินเก็บสำรองไว้ในยามฉุกเฉิน ในหลายๆ ประเทศ จึงมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น เพื่อให้อัตราการถือครองที่อยู่อาศัยสูงขึ้น เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งสะท้อนการลดปัญหาสังคมในเรื่องการขาดแคลนที่อยู่อาศัยได้   สำหรับประเทศไทยนั้น ภาครัฐได้เริ่มให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ด้วยการออกนโยบายเพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนหันมาลงทุน พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อยมากขึ้น ด้วยการเพิ่มสิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อลดภาระให้กับภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษี การให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือมาตรการส่งเสริมการพัฒนาด้วยการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio Bonus :FAR Bonus) ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556   แต่อย่างไรก็ตาม มาตราการดังกล่าว ยังไม่สามารถดึงดูดภาคเอกชนให้ร่วมลงทุนได้มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการได้ โดยเฉพาะมาตรการการจัดให้มีหรือพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยภายในพื้นที่โครงการ (Affordable Housing) จนถึงปัจจุบัน โครงการที่เข้าร่วมมาตรการ FAR Bonus เลือกทำเพียงมาตรการเดียวเท่านั้น ที่มีต้นทุนน้อยที่สุดและไม่ส่งผลกระทบกับโครงการ นั่นคือ มาตรการการจัดให้มีพื้นที่รับน้ำในแปลงที่ดิน ทั้งหมดนี้ทำให้โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในเขตเมืองนั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก สวนทางกับความต้องการของคนกรุงเทพฯ ที่ต้องการอยู่อาศัยในเขตเมืองกันมากขึ้น “วัฒนา-จตุจักร” ควรเพิ่ม Affordable Housing มากขึ้น ที่มา: ข้อมูลจากการเคหะแห่งชาติและสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2563   จากข้อมูลรายงาน การคาดประมาณความต้องการของที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ที่จัดทำโดยการเคหะแห่งชาติ มีการคาดประมาณว่าเฉพาะในปี 2564 ความต้องการที่อยู่อาศัยของจำนวนครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 4,972 ครัวเรือน โดยเขตที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยของครัวเรือนของคนกลุ่มดังกล่าวมากที่สุดคือ เขตจตุจักร จำนวน 166 ครัวเรือน รองลงมา คือ เขตบางเขน จำนวน 166 ครับเรือน และเขตบางกะปิ จำนวน 163 ครัวเรือน ตามลำดับ   เมื่อเปรียบเทียบข้อมูล ระหว่างระดับความต้องการที่อยู่อาศัย ของจำนวนครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย (Real demand) กับความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย ของครัวเรือนที่มีรายได้น้อย (Affordability) พบว่า เขตวัฒนา​และเขตจตุจักร เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาโครงการ Affordable Housing มากที่สุด ทั้งในด้านอุปสงค์ (Demand) และด้านการเพิ่มโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อย สามารถเข้าถึงอสังหาริมทรัพย์ในเขตเมือง ที่มีราคาตลาดสูงกว่าความสามารถในการซื้อของคนกลุ่มดังกล่าว นอกจากนั้น โครงการในเขตเมืองเหล่านี้ ยังสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มดังกล่าวได้ ไม่ว่าจะเป็น -การเข้าถึงบริการสาธารณะได้ง่ายขึ้น -ลดต้นทุนด้านเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง -เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิต เป็นต้น ถ้าภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันพัฒนาโครงการ (Joint development) หรือสนับสนุนให้ภาคเอกชนพัฒนาโครงการที่พักอาศัยสำหรับคนทุกระดับรายได้ (Affordable housing) มากขึ้น ภายใต้แผนพัฒนาเมืองที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสอยู่อาศัยภายในเมือง จะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมลงได้ รวมทั้งช่วยเพิ่มอัตราการถือครองกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ สูงขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนแนวความคิดการพัฒนาเมืองสมัยใหม่อย่างยั่งยืน ที่เรียกว่า “การพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Development)”       บทความโดย -นายภาวิน ศิริพงษ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – MRE (รุ่น 19) -ดร.พรรัตน์ พงษ์ประเสริฐ อาจารย์ประจำ ภาควิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์      
แอสเซทไวส์ พร้อมขาย IPO หลังก.ล.ต.อนุมัติให้ระดมทุน 206 ล้านหุ้น

แอสเซทไวส์ พร้อมขาย IPO หลังก.ล.ต.อนุมัติให้ระดมทุน 206 ล้านหุ้น

แอสเซทไวส์  ยิ้มรับ ก.ล.ต. อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้น ASW เล็งหาจังหวะความพร้อมดีเดย์ขายหุ้น IPO ชี้ 9 เดือนแรกปี 63 ทำกำไรกว่า 886 ล้าน ขณะที่ปี 64 ได้โปรเจ็กต์พร้อมโอนหนุนรายได้เติบโต    นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” (We Build Happiness) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม เพื่อเสนอขายหุ้น IPO และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตามแผนที่วางไว้ หลังจากเตรียมตัวมากว่า 3 ปี   ทั้งนี้ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน  ได้มีการเตรียมความพร้อม และอยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสนอขายหุ้น IPO ASW และที่ปรึกษาทางการเงิน อยู่ระหว่างติดตามดูแนวโน้มเศรษฐกิจ และบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น รวมถึงพิจารณาความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ  หากสถานการณ์โดยรวม มีความชัดเจนมากขึ้น บริษัทฯ ก็พร้อมเดินหน้าเสนอขายหุ้นไอพีโอและพร้อมเข้าจดทะเบียนใน SET ได้อย่างแน่นอน  ASW มีแผนจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 206 ล้านหุ้น คิดเป็น 27.07% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชําระแล้วทั้งหมดหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ โดยกลุ่มบริษัท ASW มีบริษัทย่อยทั้งหมด 15 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักคือ ธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ทั้งโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม และโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทแนวราบ ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมและโฮมออฟฟิศ จำนวน 12 บริษัท และบริษัทย่อยอีก 3 บริษัท ประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่า, ธุรกิจรับฝากขายฝากเช่า   สำหรับภาพรวมของผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2563 ที่ผ่านมา  ASW มีรายได้จากการขายและบริการรวม  2,176.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันจากปีก่อนที่ทำได้  1,779.30 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิ 307.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 110.51 % จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้  146.00  ล้านบาท  โดยกลุ่มบริษัทมีกำไรขั้นต้นเท่ากับ 886.20 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นที่ 40.72%   ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส​4 ปี 2563 บริษัทฯ ได้มีการเปิดขายโครงการโดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการบนทำเลศักยภาพที่มีความต้องการอยู่อาศัยจริงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการโมดิซ ราห์ม รามคำแหง (Modiz Rhyme Ramkhamhaeng) ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง ซึ่งเป็นทำเลที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี (อ่านข่าวเพิ่มเติม...“แอสเซทไวส์” แบ่งเฟสขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19)   นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาทำเลในกลุ่มตลาดบลู โอเชี่ยน เนื่องจากมีกำลังซื้อที่มีสัญญาณดีต่อเนื่อง เช่น โครงการโมดิซ ลอนซ์ (Modiz Launch)  ทำเลย่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า และโครงการทาวน์โฮมแนวคิดใหม่ “บ้านภูริปุรี คอร์ทยาร์ด – พัฒนาการ” (Baan Puripuri Courtyard - Pattanakarn) โครงการทาวน์โฮมที่มีดีไซน์ Private Courtyard ใจกลางบ้านในระดับราคา 14.2 – 22 ล้านบาท  ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บ้านภูริ ปุรี โฮลดิ้ง จำกัด ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่องไปในปี 2564 เช่น  โครงการแอทโมซ รัชดา - ห้วยขวาง (Atmoz Ratchada - Hauikwang) (อ่านรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม....แอสเซทไวส์ เปิดตัว “แอทโมซ รัชดา-ห้วยขวาง”)  และโครงการเคฟ ทาวน์ สเปซ (Kave Town Space) ซึ่งเป็นโครงการคอนโดมิเนียมใกล้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  โดยโครงการต่าง ๆ จะสนับสนุนให้ผลประกอบการในปีนี้เติบโตได้เป็นอย่างดี   ในช่วงไตรมาส 1/2564 บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าการเปิดขายโครงการอย่างต่อเนื่องในทำเลศักยภาพที่รองรับการขยายของเมืองและระบบคมนาคมเส้นทางใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการด้านการอยู่อาศัยของลูกค้าอย่างแท้จริง
พิษโควิด-19 ระรอกใหม่ กดดันดัชนีราคาอสังหาฯ ลดต่อเนื่อง​

พิษโควิด-19 ระรอกใหม่ กดดันดัชนีราคาอสังหาฯ ลดต่อเนื่อง​

รอบปี 2563 ที่ผ่านมา ปรากฏการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ คือ การจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ชนิดเป็นสงครามราคาชนิดแบบไม่เคยเห็นมาก่อน ราคาอสังหาฯ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม ลดต่ำลงมากในรอบหลายปี เรียกได้ว่าบางโครงการนำยูนิตเหลือขายมาลดราคาชนิดแทบไม่มีกำไรกันเลยทีเดียว   ส่วนราคาอสังหาฯ ในรอบปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างนั้น ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) ได้จัดทำรายงานดัชนีราคาที่อยู่อาศัยใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ประจำไตรมาส 4 ปี 2563 เพื่อสะท้อนภาพของราคาอสังหาฯ ในช่วงที่ผ่านมา ภายใต้ภาวการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   REIC รายงานว่า ภาพรวมของดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายลดลงต่อเนื่อง 3 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2563 และ ดัชนีราคาคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายลดลงต่อเนื่อง 4 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปี 2563 ที่อยู่อาศัยทั้ง 2 ประเภทยังคงมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 โดยเป็นผลมาการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบใหม่ กระทบความเชื่อมั่นและกำลังซื้อ ทำให้ผู้ประกอบการจำต้องจัดแคมเปญส่วนลดราคาขาย  ทั้งราคาขายและของแถมต่างๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย บ้านจัดสรรลดเล็กน้อย 0.2% ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า  ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย ไตรมาส 4 ปี 2563 ลดลงต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 4 ปี 2563  มีค่าดัชนีเท่ากับ 127.8 จุด โดยดัชนีราคาบ้านจัดสรรลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2563 ซึ่งค่าดัชนีติดลบติดต่อกัน 3 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2563 เป็นต้นมา เป็นผลมาจากการลดราคาและจัดรายการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ เพื่อเร่งรัดการตัดสินใจของผู้ซื้อในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีการล็อกดาวน์ทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 กลับเพิ่มขึ้น​ 0.2% ซึ่งสะท้อนว่า ในภาพรวมของตลาดบ้านจัดสรรมีจุดสูงสุดของราคาที่ไตรมาส 2 ปี 2563 และมีการปรับราคาลงมาอย่างต่อเนื่อง   ส่วนดัชนีราคาบ้านเดี่ยว ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 4 ปี 2563 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 126.0 จุด มีการปรับลดลง 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2563 แต่มีราคาเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน   ขณะที่ดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์มีค่าเท่ากับ 129.7 จุด มีทิศทางเดียวกับดัชนีราคาบ้านเดี่ยว คือ ลดลง​ 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) แต่มีราคาเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  เช่นกัน สำหรับรายการส่งเสริมการขายบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในไตรมาสนี้ พบว่าส่วนใหญ่ 41.6% เป็นของแถม เช่น เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ปั๊มน้ำ แท้งก์น้ำ ฯลฯ รองลงมา 33.0% เป็นส่วนลดค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ และ/หรือ ฟรีค่าส่วนกลาง และ 25.4% เป็นส่วนลดเงินสด ราคาคอนโดไตรมาส 4 ลดลง 0.8% สำหรับ ดัชนีราคาคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ไตรมาส 4 ปี 2563 ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล พบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ 151.9 จุด ลดลง 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวติดลบติดต่อกัน 4 ไตรมาส นับตั้งแต่มีการล็อกดาวน์ทางเศรษฐกิจในช่วงต้นปี 2563 และยังเป็นไตรมาสแรกที่ดัชนีราคาลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า(YoY) ซึ่งลดลงถึง 1.2% สะท้อนว่า ในภาพรวมของตลาดคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายมีจุดสูงสุดของราคาที่ไตรมาส 4 ปี 2562 และมีการปรับราคาลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลที่กำลังซื้อหดตัวทั้งผู้ซื้อชาวไทยในกลุ่มนักลงทุนและชาวต่างชาติที่ติดปัญหาจาก โควิด-19 ประกอบกับจำนวนคอนโดที่เหลือขายที่ทยอยสร้างเสร็จจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นพอสมควร ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องจัดแคมเปญลดราคาขายและจัดโปรโมชั่นเพื่อเร่งรัดการตัดสินใจของผู้ซื้ออย่างต่อเนื่อง   ทั้งนี้ ดัชนีราคาคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ในไตรมาส 4 ปี 2563 นี้ เมื่อพิจารณาแยกตามพื้นที่ พบว่ากรุงเทพฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 153.3 จุด ลดลง 0.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) และลดลง 1.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และขณะที่ปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 144.8 จุด ลดลง 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) และลดลง 0.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) เช่นกัน สำหรับรายการส่งเสริมการขายคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในไตรมาสนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ 43.8% เป็นส่วนลดเงิน รองลงมา 38.4% เป็นของแถม เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ และ 17.8% เป็นส่วนลดค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์   ดร.วิชัย  กล่าวว่า ที่อยู่อาศัยที่เหลือขายที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ศูนย์ข้อมูลได้สำรวจ ณ สิ้นครึ่งแรกของปี 2563 ซึ่งเป็นบ้านจัดสรรที่มีอยู่ประมาณ  27,907 ยูนิต​ และอาคารชุดที่มีประมาณ 34,481 ยูนิต และส่วนหนึ่งจะทยอยสร้างเสร็จออกมาเป็น inventory ของผู้ประกอบการในปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยอยู่ในภาวะที่อาจมีกำลังซื้อและความมั่นใจลดลง น่าจะเป็นปัจจัยที่กดดันให้ผู้ประกอบการยังคงมีการใช้มาตรการลดราคาและส่วนลดของแถมมากระตุ้นตลาดอยู่อย่างต่อเนื่อง   เนื่องจากส่วนหนึ่งผู้ประกอบการจะมีภาระด้านต้นทุนที่ลดลงจากความช่วยเหลือของรัฐบาลในเรื่องภาษีที่ดินฯ และการยืดระยะเวลาในการใช้ราคาประเมินฯ ใหม่ออกไป อีกทั้งการออกแคมเปญยังเป็นการสอดรับกับมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของรัฐในการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่จะมีขึ้นและขยายเพดานไปครอบคลุมบ้านราคาสูงกว่า 3 ล้านบาทอีกด้วย "การประสานมือของภาครัฐและเอกชนเช่นนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นการซื้อที่อยู่อาศัยในตลาดได้ดี  เพราะประชาชนจะสามารถซื้อบ้านในราคาไม่แพง และค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ก็น้อย นับเป็นโอกาสดีสำหรับคนไทยที่ต้องการมีบ้านนะครับ  สำหรับผู้ประกอบการคงต้องอดทน การขยายโครงการใหม่ๆ จะต้องสอดคล้องความต้องการของกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัย และต้องมีการบริหารสภาพคล่องที่ดี ผมเชื่อว่า การดำเนินการเช่นนี้จะช่วยให้เราจะผ่านวิกฤตนี้ได้อย่างดีด้วยกัน"            
จับตาตลาดอสังหาฯ 3 จังหวัดท่องเที่ยวท่ามกลางโควิด-19 ระลอกใหม่

จับตาตลาดอสังหาฯ 3 จังหวัดท่องเที่ยวท่ามกลางโควิด-19 ระลอกใหม่

หลังจากหลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ว่าปี 2564 น่าจะเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ที่เศรษฐกิจมีโอกาสฟื้นตัว และขับเคลื่อนธุรกิจทุกภาคส่วนให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง เมื่อมีสัญญาณบวกจากการพัฒนาวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 และแผนการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทย และสร้างความมั่นใจให้กับภาคธุรกิจทุกภาคส่วน แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ได้ทำให้ทั้งประเทศต้องปรับแผนใหม่อีกรอบแบบไม่ทันตั้งตัว   ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มกลับมาในช่วงแรก ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ต่างขนโปรโมชั่นลด แลก แจก แถมออกมาเพื่อกระตุ้นกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมวางแผนเปิดตัวโครงการต่าง ๆ มาเจาะกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นผู้อยู่อาศัยจริง (Real Demand) เพิ่มขึ้นในปี 2564 แม้การแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้จะทำให้แผนธุรกิจต้องสะดุดไปบ้าง แต่คาดว่าสถานการณ์จะไม่หยุดชะงักกินระยะเวลายาวนานเหมือนรอบที่ผ่านมา   นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยว่า ​การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในไทย ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญ ที่ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ปีนี้ ผู้ประกอบการหลายรายจำเป็นต้องปรับแผนเพื่อรับมือ จากที่เคยคาดการณ์ว่าปี 2564 จะเป็นปีปรับสมดุลของตลาดอสังหาฯ ทั้งในแง่ของราคาและอุปทาน และจะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่การแพร่ระบาดระลอกใหม่อาจส่งผลให้ต้องใช้ระยะเวลาปรับตัวนานขึ้น แม้ตอนนี้จะยังไม่สามารถประเมินผลกระทบ ที่มีต่อการเติบโตในตลาดได้ชัดเจน เนื่องจากมีระยะเวลาที่สั้นเกินไป แต่เชื่อว่าจากประสบการณ์ตรงที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ นักลงทุน และผู้บริโภครับมือการแพร่ระบาดในปีที่ผ่านมา จะทำให้สามารถปรับตัวและจัดการกับสถานการณ์ครั้งนี้ได้ดีขึ้น ผนวกกับการที่วัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังจะเข้าไทยเร็ว ๆ นี้ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายสามารถข้ามผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ เมืองท่องเที่ยวกระทบหนัก หลังเจอโควิดระลอกใหม่ แม้ว่าทิศทางการขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ของผู้ประกอบการจะยังโฟกัสกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงหรือกลุ่ม Real Demand มากขึ้น โดยภาพรวมตลาดอสังหาฯ มีสัญญาณดีขึ้นหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2563 ที่ผ่านมา จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty)  เปิดเผยข้อมูลว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้น 2% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส (นับจากช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2562) ถือเป็นสัญญาณชีพของภาคอสังหาฯ ที่เริ่มกระเตื้องขึ้น   โดยภาพรวมเกือบทุกจังหวัดมีการกระเตื้องขึ้นของดัชนีราคาและจำนวนอุปทาน ซึ่งการรุกหัวเมืองต่างจังหวัดยังมีความน่าสนใจ เนื่องจากยังมีกลุ่ม Real Demand ที่มีกำลังซื้อในพื้นที่อยู่ และที่ดินต่างจังหวัดก็มีราคาต่ำกว่าในกรุงเทพฯ จึงเป็นอีกตลาดที่น่าจับตามองและลงทุน เพื่อสร้างแต้มต่อทางธุรกิจในอนาคตได้ ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดที่ยังเป็น “Blue Ocean” ผนวกกับปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบคมนาคม และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ แหล่งงานในนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนการมีห้างสรรพสินค้าเพื่อดึงดูดกำลังซื้อผู้บริโภคในพื้นที่ ล้วนช่วยอำนวยความสะดวกให้การดำรงชีวิตในต่างจังหวัดสะดวกสบายยิ่งขึ้น   นอกจากความต้องการที่อยู่อาศัยจากกลุ่ม Real Demand ในพื้นที่แล้ว ยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการซื้ออสังหาฯ ในจังหวัดท่องเที่ยวไว้เป็นบ้านพักตากอากาศกับครอบครัว หลีกหนีความวุ่นวายจากการทำงาน หรือซื้อเพื่อลงทุนเก็บไว้ปล่อยเช่าสร้างผลตอบแทนในอนาคตอีกด้วย จับตา ­3 จังหวัดท่องเที่ยวท่ามกลางโควิด-19 แต่ก็เหมือนเป็นภาพฝันค้าง หลังจากมีการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ตลาดอสังหาฯ ที่เคยมีแนวโน้มไปได้ดีกลับชะงักลงอีกรอบ โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ทั้งที่ช่วงปลายปีควรจะเป็นช่วงที่ตลาดท่องเที่ยวกลับมาบูมอีกครั้งหลังจากอั้นมาจากช่วงล็อกดาวน์ โดยพบว่า ใน 3 จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญได้รับผลกระทบในช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ทั้งในแง่ของการท่องเที่ยว และตลาดอสังหาฯ ภูเก็ต ดัชนีอุปทานเพิ่มขึ้น 18% ประเด็นผลกระทบจากโควิด-19 ต่อตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดภูเก็ต -หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบแรกในไทย ตลาดอสังหาฯ ในภูเก็ตเริ่มกลับมาส่งสัญญาณฟื้นตัวอีกครั้งหลังคลายล็อกดาวน์ พร้อมทั้งได้แรงหนุนที่ดีจากการท่องเที่ยวของคนไทยที่เลือกเดินทางมาภูเก็ตมากขึ้นในช่วงที่ปิดประเทศ รวมถึงสัญญาณของภาครัฐที่เปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในภูเก็ตได้อีกครั้ง แม้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็ยังเป็นสัญญาณที่ดี ซึ่งล้วนส่งผลให้มีการเติบโตในตลาดอสังหาฯ อีกครั้ง   โดยภูเก็ตได้รับผลกระทบไม่มากนักจากการระบาดระลอกใหม่ เนื่องจากยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อไม่มากนัก (3 ราย ณ วันที่ 15 มกราคม 2564) ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมยังคงเพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจากบ้านเดี่ยวที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นถึง 3% และคอนโดฯ เพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน สะท้อนให้เห็นความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีทิศทางเติบโต   -ในขณะที่ดัชนีอุปทานเพิ่มขึ้นถึง 18% จากไตรมาสก่อนเช่นกัน โดยอยู่ในอำเภอกะทู้ อำเภอเมืองภูเก็ต และอำเภอถลางในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุดในภูเก็ตคือ คอนโดมิเนียม คิดเป็นสัดส่วน 56% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอกะทู้   -เมื่อพิจารณาจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 5-10 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดฯ และบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 5-10 ล้านบาท และทาวน์เฮ้าส์อยู่ในระดับราคา 3-5 ล้านบาท ชลบุรี ราคาอสังหาฯ ลดลง 10% ประเด็นผลกระทบจากโควิด-19 ต่อตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดชลบุรี -ชลบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหลังจากคลายล็อกดาวน์ ซึ่งได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาดีขึ้น ทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่กลับมาเดินหน้าอีกครั้ง รวมไปถึงการพัฒนาระบบคมนาคมและนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ   แต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ดัชนีอุปทานและราคาอสังหาฯ กลับปรับลดลงอย่างมากจากไตรมาสก่อน คาดว่าเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ชลบุรีกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยพบว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมลดลง 10% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 จากที่เคยเพิ่มขึ้น 5% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเกือบทุกทำเลมีดัชนีราคาลดลง ยกเว้นอำเภอเมืองชลบุรี ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% และอำเภอศรีราชาเพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาสก่อน   -ดัชนีอุปทานลดลงอย่างมากถึง 70% จากไตรมาสก่อน โดยอุปทานส่วนใหญ่ถึง 70% อยู่ในอำเภอบางละมุง รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ คอนโดฯ  มีจำนวนถึง 64% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอบางละมุงเช่นกัน   -หากแบ่งจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท แบ่งเป็น คอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท และบ้านเดี่ยวอยู่ที่ระดับราคา 5-10 ล้านบาท ซัพพลายเชียงใหม่เพิ่มขึ้น 8% ประเด็นผลกระทบจากโควิด-19 ต่อตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดเชียงใหม่ -เชียงใหม่ เป็นจังหวัดท่องเที่ยวทางภาคเหนือที่แม้จะมีสัญญาณดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 ซึ่งตลาดอสังหาฯ ได้อานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาดีขึ้น รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมต่าง ๆ แต่ในช่วงปลายปีที่มีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมลดลง 7% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ไตรมาส (ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2562) โดยดัชนีราคาลดลงทุกรูปแบบที่อยู่อาศัยในเกือบทุกทำเล เช่น อำเภอเมืองเชียงใหม่ลดลง 3% และลดลงมากที่สุดในอำเภอพร้าว ลดลงถึง 35% ยกเว้นในอำเภอแม่แตง และอำเภอแม่วัง เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 23% และ 22% ตามลำดับ   -ในขณะที่ดัชนีอุปทานมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% จากไตรมาสก่อน โดยส่วนใหญ่ถึง 43% อยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุดในเชียงใหม่คือ บ้านเดี่ยว มีจำนวนถึง 66% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอสันทราย   -หากแบ่งจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท โดยคอนโดฯ บ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาททั้งหมด          
PF ผนึกพันธมิตรต่างชาติ สร้างรายได้ 9,000 ล้าน

PF ผนึกพันธมิตรต่างชาติ สร้างรายได้ 9,000 ล้าน

กลุ่มพันธมิตรต่างชาติ ดันรายได้กลุ่ม “พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค”  คาดปี 2564 รายได้เพิ่มขึ้นจากโครงการร่วมทุน รวม 9,000 ล้าน จี้ภาครัฐใช้งบ 20,000 ล้าน ฉีดวัคซีนให้เร็ว กระตุ้นเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว      นายชายนิด อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพเพอร์ตี้  เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF เปิดเผยว่า ปีนี้ธุรกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศเชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัว หลังจากผ่านการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง สำหรับกลุ่มบริษัท ยอดขายและรายได้ในปีนี้จะกลับมาเติบโต โดยเฉพาะการดำเนินงานตามแผนสร้างการเติบโต  จากการผนึกพันธมิตรที่แข็งแกร่งทั้งต่างประเทศและในประเทศ ผสานจุดแข็งการร่วมลงทุนต่อยอดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ด้านสุขภาพหรือเฮลท์แคร์เพิ่มเติม ปีนี้ กลุ่มบริษัทคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น เฉพาะจากโครงการร่วมทุนรวม 9,000 ล้านบาท โดยจะมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 4,000 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการคอนโดมิเนียมไฮด์ เฮอริเทจ ทองหล่อ ภายใต้การร่วมทุนกับ “ซูมิโตโม ฟอเรสทรี” จำนวน 2,000 ล้านบาท โครงการบ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์ “เลค เลเจ้นด์” ร่วมทุนกับ “ฮ่องกง แลนด์” ใน 2 ทำเล คือแจ้งวัฒนะ และ บางนา-สุวรรณภูมิ จำนวน 1,000 ล้านบาท รวมทั้ง โครงการบ้านเดี่ยวอีก 1,000 ล้านบาท จากการร่วมทุนทั้งกับ “เซกิซุย เคมิคอล” ใน 5 ทำเล และ “ซูมิโตโม ฟอเรสทรี” ซึ่งปีนี้จะมีการเปิดโครงการใหม่เพิ่มเติมด้วย โดยแผนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ร่วมทุนของกลุ่มบริษัทขณะนี้มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 29,650 ล้านบาท   นอกจากโครงการร่วมทุนกับพันธมิตรต่างประเทศ กลุ่มบริษัทโดย บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ยังได้ขยายไปยังธุรกิจการผลิตและส่งออกถุงมือยาง โดยร่วมลงทุนกับ บริษัท วัฒนชัย รับเบอร์เมท จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายถุงมือยางที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกไปทั่วโลก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงงานผลิตถุงมือยาง ในนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเริ่มก่อสร้างไปเมื่อเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา กำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคมนี้ และจะดำเนินการผลิตได้ทันที คาดว่าจะมีรายได้จากธุรกิจใหม่นี้อีก 5,000 ล้านบาท จากความต้องการใช้ถุงมือยางของโลกที่เพิ่มขึ้นและยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมาก หากมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เร็ว ธุรกิจและเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็ว สิ่งที่อยากฝากให้ภาครัฐพิจารณาเพิ่มเติม คือ ควรลงทุน 20,000 ล้านบาท ในการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชากรในเมืองท่องเที่ยวหลัก อาทิ กรุงเทพฯ และปริมณฑล เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ สมุย ชลบุรี ระยอง และอื่นๆ  รวมถึงกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเป็นกลุ่มแรก ๆ  เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต้องอาศัยรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นรายได้หลัก โดยมีสัดส่วนถึง 17% ของ GDP ในขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2563 ที่ผ่านมา รายได้จากภาคท่องเที่ยวลดลง 1.93 ล้านล้านบาท หรือติดลบ 71.75% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังมีบทบาทสำคัญต่อการจ้างงาน ซึ่งการจ้างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการมีอยู่ถึง 4,393,294 คน หรือ 11.16% ของการจ้างงานทั้งหมด ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศจะฟื้นตัวเร็ว หากธุรกิจการท่องเที่ยวฟื้นตัว และภาพรวมของธุรกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ ก็จะดีไปด้วย
REIC คาดตลาดอสังหาฯ ปี 64 แย่สุดทั่วประเทศติดลบ 20%

REIC คาดตลาดอสังหาฯ ปี 64 แย่สุดทั่วประเทศติดลบ 20%

เริ่มต้นปี 2564 ที่มีข่าวการประกาศแผนธุรกิจ ของบรรดาผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หลายราย ซึ่งเป็นการประกาศแผนการลงทุน ที่ยังคงเป็นปกติ ขณะที่บางรายมีแผนการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะยังมีอยู่ และยังไม่ได้เริ่มใช้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค แต่ในภาพรวมสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าว มีทิศทางที่ปรับตัวดีขึ้น และการนำเอาวัคซีนมาใช้จริงก็มีความชัดเจนมากกว่าปีที่ผ่านมา    ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว คงเป็นสาเหตุที่ช่วยสร้างความมั่นใจ ให้กับบรรดาผู้ประกอบการอสังหาฯ  ทั้งหลาย ว่าภาวะเศรษฐกิจคงจะเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ ช่วงปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าแม้จะมีสถาการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่จากการทำตลาด และการปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตลาดอสังหาฯ ก็ยังไปได้ดี ผู้ประกอบการหลายรายสามารถทำยอดขายและรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง   ความมั่นใจของผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาฯ  จึงมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับรายงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC)  ที่ระบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ​ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2563 (Current Situation Index) มีภาวะความเชื่อมั่นดีขึ้น   โดยมีดัชนีเท่ากับ 46.3%  เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ­ของปี 2563  ที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ 42.8% แต่ยังคงต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับต่ำกว่า 50% ติดต่อกัน 7 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประกาศใช้มาตรการ LTV ได้สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการฯยังคงขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย   ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ รายงานอีกว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ผู้ประกอบการฯ ที่ดำเนินการสำรวจในช่วงปลายปี 2563 ซึ่งยังไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่​ มีค่าเท่ากับ​ 54.4% ที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีอยู่ที่  52.9%  สูงกว่าค่ากลางที่มีค่าดัชนี 50.0% สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบขณะนั้นเริ่มมีความหวังต่อการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2564 เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง   แต่อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่นี้ คาดว่าจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ  ใน 6 เดือนแรกของปี 2564 ปรับตัวลดลงกว่าผลที่สำรวจข้างต้นได้   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ในไตรมาส 4 ปี 2563 ผู้ประกอบการยังคงขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย แม้ว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาพรวมได้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน จากการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาครัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง  แต่จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์​ (Llisted Companies) มีค่าดัชนีเท่ากับ 49.2% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 43.1%  ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่มซึ่งไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (Non-listed Companies) กลับมีค่าดัชนีเท่ากับ 42.1% ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ 42.4%   ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้ประกอบการ Listed Companies จะมีระดับความเชื่อมั่นที่สูงกว่า 50% ในด้าน ยอดขาย การจ้างงาน และการเปิดตัวโครงการใหม่ ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies ไม่มีความเชื่อมั่นด้านใดเลยที่เกินกว่า 50% ซึ่งสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า กลุ่มผู้ประกอบการ Listed Companies จะเป็นผู้บทบาทหลักในการลงทุนและการขยายตัวของตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล  (ดูตารางที่ 1 และแผนภูมิที่ 1) ดีเวลลอปเปอร์มองบวก ก่อนเกิดโควิด-19 รอบใหม่  ดร.วิชัย  กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) มีค่าเท่ากับ 54.4% ที่เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้า แสดงเห็นว่าในภาพรวมผู้ประกอบการมีมุมมองเชิงบวกสำหรับธุรกิจพัฒนาที่อยุ่อาศัยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งคาดว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะนำมาใช้อย่างกว้างขวางและสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ และเศรษฐกิจจะขยายตัวได้มากขึ้น แต่จะเห็นได้ชัดว่า มุมมองเชิงบวกเช่นนี้ เป็นผลมาจากกลุ่มผู้ประกอบการ Listed Companies ที่มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ  59.7% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.0%   แต่สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ Non-listed Companies มีค่าดัชนีเพียง  46.5% แม้จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อยที่ระดับ 45.2 แต่ได้แสดงให้เห็นได้ว่ากลุ่มผู้ประกอบการ Non-listed Companies ยังคงขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในปี 2564 ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการฯ Listed Companies มีความเชื่อมั่นมากขึ้นชัดเจนในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านยอดขาย การลงทุน และการเปิดตัวโครงการใหม่ (ดูตารางที่ 2 และแผนภูมิที่ 2) การสำรวจความเชื่อมั่นฯ นี้ ดำเนินการในช่วงปลายปี 2563 ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ดังนั้นจึงคาดได้ว่า ในช่วงครึ่งปีแรก โดยเฉพาะในไตรมาสแรก ปี 2563 นี้ ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการคงจะปรับลดลงจากการสำรวจช่วงปลายปีอย่างแน่นอน โดยเห็นว่า ผู้ประกอบการยังคงระมัดระวังเกี่ยวกับการเปิดขายโครงการใหม่ เพื่อลดจำนวนอุปทานเหลือขายที่ยังมีอยู่มากในตลาด และรอดูผลกระทบจากการระบาดรอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง โควิด-19 ทำตลาดอสังหาฯ แย่สุดติดลบ 20% อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากช่วงการสำรวจ ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ​ประเมินว่า การเปิดตัวปี 2564 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีจำนวนประมาณ 89,000 ยูนิต แบ่งเป็นแนวสูง 36,000 -37,000 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 30-40% และแนวราบ 52,000 ยูนิต แต่ถ้าโควิด-19 ยืดเยื้ออาจจะลดลงอีก 10,000 ยูนิต เหลือ 79,000 ยูนิต เท่ากับปีนี้จะอยู่ระหว่าง 79,000 -89,000 หน่วย สูงกว่าปี 2563 ที่เปิดรวม 71,500 ยูนิต แม้ว่าปีนี้เศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้นตัว แต่ผู้ประกอบการยังคงต้องเปิดตัวโครงการใหม่ เพราะสต็อกพร่องลงจากปีก่อน   โดยมีการคาดการณ์ผ่านการจำลองหลายสถานการณ์ (Scenario) เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงภาพรวมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับดีที่สุด (best) คือ ตลาดจะโต 5-10% ระดับกลาง (base) ตลาดทรงตัวบวกลบไม่เกิน 0.5% และระดับแย่ที่สุด (worst) ติดลบ 10% เท่ากับปี 2563 เท่ากับภาพรวมตลาดทั่วประเทศลดลงถึง 20% ซึ่งรุนแรงพอควร เพราะต่ำสุดในรอบ 5 ปี ใกล้เคียงกับช่วงเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 มีความเป็นไปได้ว่าปี 2564 จะติดลบถึง 10 % ซึ่งเป็นจุดที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะปีนี้กำลังซื้อที่อั้นอยู่อาจมีไม่มากเหมือนปีที่แล้ว เนื่องจากผู้บริโภคได้รับผลกระทบในแง่ของรายได้ต่อเนื่องมานาน ส่งผลให้ดีมานด์ใหม่ของที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบรุนแรง  
แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เดินหน้าลงทุน 11,000 ล.พร้อมระดมทุนผ่านหุ้นกู้ 12,000 ล.​

แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เดินหน้าลงทุน 11,000 ล.พร้อมระดมทุนผ่านหุ้นกู้ 12,000 ล.​

แม้ว่าปี 2564 จะยังมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ธุรกิจยังคงต้องเดินหน้าต่อ เพื่อสร้างการเติบโตและผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น โดยบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในดีเวลลอปเปอร์ที่ยังคงเดินหน้าลงทุนพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การบริหารงานของ นายนพร สุนทรจิตต์เจริญ  ประธานคณะกรรมการบริษัท และ​นายอดิศร ธนนันท์นราพูล  กรรมการผู้จัดการ   โดยแผนธุรกิจของ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ในปีนี้ ประกอบไปด้วย 1.เตรียมงบลงทุนไว้ทั้งหมดประมาณ 11,000 ล้านบาท สำหรับการซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประมาณ 6,000 ล้านบาท และงบลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่าอีกจำนวน 5,000 ล้านบาท   แผนการลงทุนในการซื้อที่ดินเพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต บริษัทจะพิจารณาทำเลที่สามารถนำมาพัฒนาโครงการได้ทันทีและมีศักยภาพที่ดี  ทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล  และต่างจังหวัด   โดยปี 2563  ที่ผ่านมา บริษัทมีการลงทุนประมาณ 6,800 ล้านบาท  แบ่งเป็นรายจ่ายในการซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย 4,600 ล้านบาท และรายจ่ายในการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่า มูลค่ารวม 2,200  ล้านบาท  ประกอบด้วย การลงทุนในการพัฒนาโครงการ Shopping Mall  - Terminal  21   จำนวน    900  ล้านบาท  และการลงทุนในธุรกิจโรงแรมและอพาร์ทเมนต์  จำนวน 1,300  ล้านบาท   2.บริษัทมีแผนพัฒนา 12 โครงการ มูลค่ารวม 20,660 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ที่เปิดโครงการใหม่  16  โครงการ มูลค่าโครงการรวม 28,620  ล้านบาท แผนการพัฒนาโครงการในปีนี้ แบ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยว 5 โครงการ มูลค่า 12,730 ล้านบาท โครงการทาวน์โฮมและบ้านแฝด 7 โครงการ มูลค่า 6,950 ล้านบาท (มี 2 โครงการที่มีทั้งโครงการบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมอยู่ในโครงการเดียวกัน) และคอนโดมิเนียม 2 โครงการ มูลค่า 980 ล้านบาท ซึ่งมีการพัฒนาโครงการคอนโดในจังหวัดเชียงใหม่ 1 โครงการมูลค่า 160 ล้านบาท   โดยในช่วงต้นปี 2564 บริษัทมีโครงการที่เปิดดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น  75   โครงการ  เป็นโครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  45  โครงการ  และต่างจังหวัด   30  โครงการ   3.วางแผนออกหุ้นกู้อีกจำนวน 12,000 ล้านบาท จากปี 2563 ซึ่งออกหุ้นกู้ มูลค่ารวม 8,400 ล้านบาท  ระยะเวลา 2-3 ปี  อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.29% ต่อปี   4.ตั้งเป้าหมายแผนการดำเนินงานในปี 2564 ด้วยยอดขาย (Booking)  28,000  ล้านบาท  และเป้าหมายรับรู้รายได้จากยอดโอนกรรมสิทธิ์  30,000 ล้านบาท มีราคาเฉลี่ยต่อยูนิต เท่ากับ 7.0 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากปี 2563 ซึ่งมีราคาเฉลี่ยต่อยูนิต  7.5  ล้านบาท   สัดส่วนของยอดขาย ในปี 2564   พิจารณาตามมูลค่า  จำแนกตามประเภทที่อยู่อาศัย มีสัดส่วน บ้านเดี่ยวและบ้านแฝด  78% , ทาวน์เฮ้าส์  13% และคอนโด  9%   จากแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ  ในปี 2564  คาดว่า ณ  สิ้นปี  2564  บริษัทฯ จะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเมื่อสิ้นปี 2563  โดยจะมีต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยลดลงกว่าระดับเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2563  เล็กน้อย   ส่วนบริษัทในเครือในรอบปี 2563 ที่ผ่านมา มีการพัฒนาโครงการใหม่ ได้แก่ บริษัท LHMH  ได้ดำเนินการพัฒนาโครงการอีก 1  โครงการ คือ  โครงการ Grande Centre Point  Lumpini   บนที่ดิน 6-2-73.5  ไร่ ในรูปแบบ Mixed Use  ประกอบด้วย โรงแรม จำนวน 512 ห้อง อาคารสำนักงาน  13,000 ตารางเมตร  มูลค่าการลงทุน 4,830  ล้านบาท แล้วเสร็จประมาณ Q1/2567   บริษัท LH USA ได้ขายโครงการอพาร์ทเมนท์  The Mode Residence  ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา  ให้กับบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัท ในราคา 80.05 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย ประมาณ  2,415 ล้านบาท  โดยมีกำไรก่อนภาษีประมาณ  13.77 ล้านเหรียญสหรัฐ  หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ  416 ล้านบาท        
โควิด-19 ทุบตลาดคอนโด 64  ราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 1.26 แสน/ตร.ม.

โควิด-19 ทุบตลาดคอนโด 64 ราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 1.26 แสน/ตร.ม.

แม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจ รวมถึงวิถีชีวิตของผู้คนยุคปัจจุบัน ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์  แต่ดูเหมือนว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม ก็ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ เพราะผู้ประกอบการปรับตัวและปรับแผนธุรกิจออกมารองรับ ทั้งการชะลอและเลื่อนเปิดโครงการออกไป การจัดโปรโมชั่นกระตุ้นตลาด หรือแม้แต่การหันไปบุกตลาดบ้านแนวราบแทน ทำให้ผู้ประกอบการหลายราย ยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้   แต่สำหรับปี 2564 ที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงมีอยู่ และดูแนวโน้มจะยังคงอยู่ตลอดไป กับคนในยุคปัจจุบันซึ่งต้องปรับตัวรับกับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ภายใต้มาตรการด้านความปลอดภัยทางสาธารณสุข แม้ว่าจะมีข่าวดีเรื่องการนำเอาวัคซีนมาใช้บ้างแล้วในหลายประเทศ และประเทศไทยคงได้มีโอกาสได้รับวัคซีนในเร็ว ๆ นี้ แต่ดูเหมือนว่าตลาดอสังหาฯ​ ของไทยในปีนี้ ก็ยังไม่ได้กลับมาเป็นปกติ ผู้ประกอบการยังคงระมัดระวังในการเปิดตัวโครการใหม่ และเฝ้าจับตามองดูสถานการณ์ เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างไม่ประมาท   ล่าสุด บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ได้ทำการวิเคราะห์และประเมินภาพของตลาดคอนโดสำหรับปี 2564 ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด จากการมองย้อนไปยังบทเรียนของตลาดอสังหาฯ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ในรอบปีที่ผ่านมา 5 แนวโน้มตลาดคอนโด ปี 2564 1.อุปทานใหม่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อุปทานใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2564 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 33,000 - 38,000 ยูนิต ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากโครงการที่ชะลอการพัฒนาไปในปี 2563  และโครงการที่ผู้ประกอบการซื้อที่ดิน และประกาศแผนพัฒนาไว้แล้ว ซึ่งรวมกันมากกว่า 16,000 ยูนิต โดยโครงการใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น น่าจะเป็นโครงการขนาดเล็ก และมีราคาขายที่ต่ำลง 2.อุปสงค์จะฟื้นตัวหลังไตรมาส 2 คาดว่าในครึ่งปีแรกของปี 2564 ความต้องการซื้อคอนโดยังคงอยู่ในระดับต่ำ หากไตรมาสที่ 3 เริ่มมีการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว น่าจะเห็นความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้น  ความต้องการซื้อจะยังคงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2563 คือ ในระดับ 30,000 - 35,000 ยูนิต ซึ่งจากตัวเลขประมาณการดังกล่าว ทำให้อัตราการขายรวมน่าจะคงอยู่ที่ 93% เท่ากับปี 2563 แต่ระดับราคาเฉลี่ยประมาณ​ 126,000 บาทต่อตารางเมตร น่าจะยังปรับลดลงอีก สืบเนื่องจากการลดราคาของโครงการที่สร้างเสร็จ และโครงการใหม่ที่พัฒนาสำหรับตลาดระดับกลางเพิ่มขึ้น 3.ราคาขายยังคง ทรงตัว หรือ ลดลง โดยในปี 2563 มีราคาขายเฉลี่ย 126,000 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วง 5 ปีที่มีระดับราคาขาย 140,000 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นผลจากการจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย ของผู้ประกอบการเพื่อต้องการระบายสินค้าในมือ และต้องการกระแสเงินสดเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งแนวโน้มราคาของปีนี้ และต่อเนื่องไปในอีก 2 ปีข้างหน้าไม่น่าจะเห็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปีนี้อาจจะปรับลดลงประมาณ 5% เพราะผู้ประกอบการยังต้องจัดรายการส่งเสริมการขาย แต่เป็นการลดราคาในระยะสั้น ๆ ส่วนในปีต่อไปราคาอาจจะปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 2-3% 4.ตลาดคอนโดมือสอง ชะลอตัว เนื่องจากปริมาณคอนโดที่ยังเหลืออยู่ในตลาด ประกอบกับโครงการใหม่ที่กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปีนี้ ส่งผลให้ราคาของคอนโดใหม่เมื่อเทียบกับราคาคอนโดมือสอง มีราคาไม่แตกต่างกันมากนัก  เพราะผู้ประกอบการลดราคาลงมา และปริมาณคอนโดที่มีจำนวนมาก ทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกในการซื้อคอนโด ทำให้ตลาดคอนโดมือสองไม่หวือหวาเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา   นอกจากนี้ กลุ่มลูกค้าหลักสำคัญของตลาดคอนโดไทย คือ กลุ่มชาวต่างชาติ ยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาซื้อคอนโดในไทยได้ แม้ว่าผู้ประกอบการจะพยายามขายด้วยระบบออนไลน์  แต่การซื้อขายยังคงเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย จึงเป็นผลทำให้ตลาดมือสอง ค่อนข้างชะลอตัวลง  คาดว่าน่าจะมีโอกาสได้เห็นการกลับมาของต่างชาติในช่วงหลังไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ 5.ตลาดแนวราบจะเป็นที่นิยมมากขึ้น จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่ผู้คนต้องการอยู่อาศัยในบ้านที่มีพื้นที่มากขึ้น เพื่อใช้สำหรับการทำงานจากที่บ้าน หรือการเรียนออนไลน์ ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกจะซื้อบ้านแนวราบมากกว่าคอนโด ซึ่งมีพื้นที่จำกัด แม้ว่าทำเลของบ้านแนวราบจะอยู่นอกเมืองออกไป แต่ระดับราคาอยู่ใกล้เคียงกับคอนโดในเมือง ทำให้ความนิยมของคนยุคโควิด-19 เลือกจะซื้อบ้านแนวราบมากขึ้น เพราะเป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และเชื่อว่าในปีนี้ทิศทางยังเป็นไปในลักษณะดังกล่าวด้วย 6 แนวโน้มธุรกิจที่อยู่อาศัยปี 2564 ในการทำธุรกิจอสังหาฯ ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา มีปัจจัยกระตุ้นสำคัญด้วยกัน 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.ผู้บริโภคมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นสำคัญ 2.เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตมากขึ้น 3.การที่ประเทศไทยกำลังเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ   ดังนั้น กลยุทธ์การทำธุรกิจอสังหาฯ จึงต้องปรับตัวอย่างมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่อยู่กับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในทุกระยะ แต่การปรับตัวที่รวดเร็ว ก็ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในเชิงกลยุทธ์ ที่ส่งผลไปถึงราคาขาย หรือ การปรับตัวโดยการเลือกทำเลในการพัฒนาโครงการ ทั้งนี้ สินค้าที่เน้นการลงทุน ต้องเลือกทำเลที่ดีจริง  หรือรอให้ตลาดท่องเที่ยวกลับมาอีกครั้ง  และวัคซีนที่เริ่มใช้งานได้ น่าจะทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวและการบินเริ่มกลับมา   อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์​และภาพรวมตลาด คาดว่าแนวโน้มของตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2564 น่าจะเป็นไปใน 6 ทิศทางดังนี้ 1.รอดูความเคลื่อนไหวของตลาด จากสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ยังไม่รู้ว่าจะมีการนำเอาวัคซีนมาใช้ได้ผลจริงเมื่อไร และจะสามารถเปิดประเทศ ให้มีการเดินทางได้เมื่อไร ส่งผลให้ผู้ประกอบการเฝ้าระวัง และจับดูภาวะตลาด รวมถึงสถานการณ์บ้านเมือง เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว 2.ให้ความสำคัญในเรื่องของราคา ช่วงปีที่ผ่านมา จะพบว่าตลาดหลักของธุรกิจอสังหาฯ คือ ตลาดภายในประเทศ​ เป็นกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และที่อยู่อาศัยยังสามารถขายได้ โดยเฉพาะโครงการที่มีการจัดโปรโมชั่น และมีการลดราคาลงมา สอดคล้องกับกำลังซื้อของกลุ่มผู้บริโภค แสดงให้เห็นว่า ระดับราคาเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรก ที่ผู้บริโภคใช้เป็นตัวตัดสินใจในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย แนวโน้มอสังหาฯ ในปีนี้ “ราคา” จึงยังเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจของผู้บริโภค โดยเฉพาะโครงการที่พร้อมเข้าอยู่ ซึ่งระดับราคาที่ผู้บริโภคยังสามารถซื้อได้ หากเป็นคอนโดจะอยู่ในระดับราคา 1-5 ล้านบาท บ้านเดี่ยว ระดับราคา 5-10 ล้านบาท และทาวน์เฮ้าส์​ระดับราคา 3-5 ล้านบาท 3.มีรายได้สม่ำเสมอ การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในปีนี้ สิ่งสำคัญที่ช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ คือ การบริหารกระแสเงินสด เพื่อทำให้ธุรกิจเกิดสภาพคล่อง จึงยังคงเห็นการจัดโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นยอดขาย รวมถึง การพัฒนาโครงการออกมาเพื่อจับตลาดและตอบสนองความต้องการลูกค้าคนไทยเป็นหลัก 4.ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สำหรับการพัฒนาโครงการ นอกเหนือจากมีระดับราคาที่คนไทยสามารถซื้อได้ เรื่องของทำเลในการพัฒนา อาจจะไม่จำเป็นต้องติดรถไฟฟ้า แต่เป็นทำเลที่เดินทางสะดวก ซึ่งยังไม่มีใครพัฒนาเป็นตลาด Blue ocean และเป็นแหล่งชุมชน 5.ผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยจริง การพัฒนาโครงการจะต้องคำนึงการอยู่อาศัยจริง การใช้พื้นที่เพื่อการใช้ชีวิตในบ้าน รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนา และสอดคล้องกับวิถีชีวิตปกติใหม่ ซึ่งเน้นความเป็นส่วนตัวมากขึ้น 6.กองทุนตลาดเงินจะช่วยกระตุ้นการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ตลาดการเงินในปัจจุบัน ยังถือว่าเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยด้านการลงทุนของผู้ประกอบการ เพราะว่า ตลาดการเงินโลก ตลาดหุ้น ยังมีแนวโน้มขาขึ้น ที่ผู้ประกอบการสามารถทำกำไรจากตลาดเหล่านั้น และนำเงินมาใช้ในการลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึง ภาวะดอกเบี้ยที่อยู่ในอัตราต่ำทำให้เป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุน และการซื้ออสังหาฯ ของกลุ่มลูกค้า   ขณะเดียวกัน ความชัดเจนในด้านการใช้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค มีมากขึ้นและจะมีการนำเอามาใช้จริงในเร็ว ๆ นี้ ยังเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยกระตุ้นตลาด และความมั่นใจของประชาชนทั่วไปด้วย  นอกจากนี้ ภาครัฐอาจจะมีมาตรการออกมาช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ  เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา เช่น การลดภาษีที่ดินในอัตรา 90% ตลาดคอนโด 63 ปรับตัวมากสุดรอบ 10 ปี นางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ปี 2563 ที่ผ่านมา ตลาดคอนโดมีการปรับตัวมากที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งสาเหตุหลักมีอยู่  2 ประการ คือ การชะลอตัวของตลาดจากกำลังซื้อที่ลดลงต่อเนื่องจากปี 2562 ผนวกกับสถานการณ์โควิด–19 ทั้งนี้ พบว่าปี 2563 มีคอนโดเกิดขึ้นใหม่เพียง 20,100 ยูนิต จาก 64 โครงการ คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 39% จากอัตราการเพิ่มเฉลี่ยคอนโดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่ 51,000 ยูนิตต่อปี การเพิ่มขึ้นของคอนโดฯ อีก 20,100 ยูนิตนี้ ส่งผลให้คอนโดมิเนียมมียูนิตสะสมในตลาดทั้งสิ้น 674,100 ยูนิต ส่วนสาเหตุการชะลอตัวของอุปทานใหม่ในตลาด ส่วนหนึ่งมาจากโครงการที่เลื่อนการเปิดตัว หรือหยุดโครงการไปถึง 5,800 ยูนิต 18 โครงการ  คิดเป็น 29% ของคอนโดในตลาดที่เปิดใหม่ปี 2563   จุดเปลี่ยนสำคัญในตลาดในแง่ของอุปทาน คือ ผู้ประกอบการหันมาพัฒนาคอนโดมิเนียมในระดับราคาที่จับต้องได้สำหรับคนไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ต่อเนื่องจากปี 2562 โดยสัดส่วนคอนโดมิเนียมระดับกลาง (mid market) และซิตี้คอนโดมีถึง 60% และตลาดใหม่คอนโดราคาย่อมเยาบนทำเลนอกเมือง (affordable market) ที่มีระดับราคาต่ำกว่า 1  ล้านบาท  หรือต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตร มีจำนวนถึง 3,600 ยูนิต คิดเป็น 18% ของอุปทานใหม่ในปี 2563 เลยทีเดียว ในขณะเดียวกันลดสัดส่วนคอนโดในระดับไฮเอนด์และลักชัวรี่ลงเป็นอย่างมาก เหลือเพียง 22% ของคอนโดฯ ใหม่ในตลาดทั้งหมด   ทั้งนี้ การพัฒนาสินค้าคอนโดฯ ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น มีผลโดยตรงกับทำเล โดยในช่วงปีที่ผ่านมา มีคอนโดตลาดใหม่เกิดขึ้นในบริเวณรอบนอกเมือง หรือปริมณฑลที่มีรถไฟฟ้าเข้าถึง ขยายไกลออกจากใจกลางเมือง ทั้งฝั่งเมืองตะวันออก และทางเหนือของกรุงเทพ โดยมีจำนวนยูนิตมากถึง 4,400 ยูนิต โดยสัดส่วนคอนโดมิเนียมในทำเลใหม่นี้ คิดเป็น 21% ของ คอนโดใหม่ทั้งหมดในตลาด สำหรับตลาดรอบใจกลางเมืองนั้น อุปทานที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ยังเป็นบริเวณสุขุมวิทตอนปลาย คิดเป็นประมาณ 20% ของจำนวนคอนโดมิเนียมใหม่ในตลาด ในทางตรงกันข้ามตลาดใจกลางเมืองบริเวณสาทร หลังสวน และสุขุมวิทตอนต้น มีคอนโดใหม่เกิดขึ้นเพียง 11% หรือประมาณ 2,250 ยูนิตเท่านั้น   เมื่อพิจารณาในด้านยอดขายพบว่า ในปี 2563 ยอดขายคอนโดมิเนียมในตลาดกรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 32,800 ยูนิต โดยแบ่งเป็นยอดขายจากห้องชุดที่เปิดใหม่ในปี 2563 จำนวน 9,100 ยูนิต (คิดเป็นยอดขายเฉลี่ยของห้องชุดที่เปิดใหม่อยู่ที่ 45%) และห้องชุดที่เปิดขายก่อนปี 2563  มียอดขายเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 23,700 ยูนิต ทั้งนี้ ยอดขายที่สูงกว่าอุปทานใหม่ที่เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราขายรวมในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 93% สำหรับผู้ซื้อส่วนใหญ่ จะเป็นผู้บริโภคที่ซื้อคอนโดเพื่ออยู่อาศัยเอง ผู้ซื้อเพื่อการลงทุนมีในสัดส่วนที่ไม่มาก และการเก็งกำไรแทบจะหายไปจากตลาดอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่กระตุ้นยอดขาย คือ การลดราคาของผู้ประกอบการนั่นเอง   สำหรับราคาขายคอนโดนั้น มีการปรับตัวลดลงตั้งแต่ครึ่งปีแรกในอัตรา 16% และปรับลดลงอีก 4% ในช่วงไตรมาสที่ 3 ในขณะที่ไตรมาสที่ 4 มีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบราคาที่ลดลงตลอดทั้งปี พบว่าราคาคอนโดในตลาดลดลงถึง 11% จาก 141,800 บาทต่อตารางเมตรในปี 2562 เป็น 126,900 บาทต่อตารางเมตรในปี 2563 โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาปรับลดลงนั้น มาจากการที่ผู้ประกอบการลดราคาเพื่อระบายสต๊อก และโครงการใหม่ ๆ ที่เปิดตัวเป็นโครงการระดับกลาง และ Affordable Condo ที่ตอบรับกับความสามารถในการซื้อส่วนใหญ่ของคนกรุงเทพฯ มากขึ้นนั่นเอง  
ทำความรู้จัก 4 เทรนด์ที่อยู่อาศัยปี 2021

ทำความรู้จัก 4 เทรนด์ที่อยู่อาศัยปี 2021

นับตั้งแต่เกิดโรคระบาด “ไวรัสโควิด-19” วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ รวมถึงการทำงาน การดำเนินธุรกิจของคนยุคปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไป ต่างต้องอยู่ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ หรือ New Normal ซึ่งต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม และอยู่ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข ที่เน้นความสะอาดปลอดภัย จากการได้รับเชื้อโรค ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย การลดการสัมผัส และการล้างมือให้สะอาดหลังการสัมผัสกับสิ่งของ   ไม่เพียงแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงมาก่อนหน้าแล้ว จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพและอนามัยของคน แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หรือ Digital Disruption   จากการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ส่งผลทำให้หลายธุรกิจต้องปรับตัวให้ทัน และต้องสนองตอบความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ในวงการอสังหาริมทรัพย์ ก็ไม่ได้แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ ต้องมีการปรับตัวเช่นเดียวกัน  ​เพราะไลฟ์สไตล์ ความต้องการ และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิม 4 เทรนด์ที่อยู่อาศัยปี 2021  การจะพัฒนาสินค้าและบริการ ออกมารองรับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป นักการตลาดหรือดีเวลลอปเปอร์ คงต้องวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น  เทรนด์การอยู่อาศัย รวมถึงการก่อสร้างในปี 2021 คงจะแตกต่างจากอดีต ซึ่ง SCG ได้วิเคราะห์เทรนด์การก่อสร้างและที่อยู่อาศัย 2021 ซึ่งพบว่ามี 4 เรื่องที่จะเข้ามามีอิทธิพล และเกิดการเปลี่ยนแปลง 1.Digital Transformation คือการนำเอาดิจิทัล เทคโนโลยี มาปรับใช้กับทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นหนึ่งตัวแปรการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว โดยจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากคนส่วนใหญ่ได้ให้เวลาและเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นเรื่องปกติใหม่ (New Normal) ที่ทุกคนต้องทำไปเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันโปรแกรมการประชุมออนไลน์ เข้ามาอำนวยความสะดวกแทนการเดินทางมาประชุมในรูปแบบเก่า หรือ การสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ  เป็นต้น ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบาย และง่าย แบบ Anywhere Anytime ของคนทุกเพศ ทุกวัย 2.การใส่ใจกับพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น ผู้คนหันมาให้ความสำคัญ ใส่ใจกับพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น  เทรนด์นี้เกิดขึ้นจากช่วงล็อคดาวน์ เมื่อคนอยู่บ้านกันมากกว่าที่เคย จะเห็นได้ว่า มีการปรับปรุงตกแต่งบ้านให้น่าอยู่และรองรับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปมากยิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าโลกจะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด “ที่อยู่อาศัย” ก็ยังคงเป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญ และเป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุด 3.Well-Being เทรนด์สุขอนามัยที่ขาดไม่ได้ เทรนด์การอยู่อาศัยซึ่งเป็นตัวแปรที่สาม คือ  Well-Being โลกกำลังตื่นตัวในเรื่องของสุขอนามัยกันมากขึ้น เทรนด์ที่กําลังอยู่ในความสนใจของผู้คนทุกเพศทุกวัย และเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง จากวิถีการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ทำให้มองเห็นการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญและให้ความสนใจกับสิ่งรอบตัว ไปพร้อม ๆ กับการที่มีบ้านที่ดี มีความปลอดภัย   ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังต้องปรับตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) สอดคล้องกับพฤติกรรมการเลือกและใส่ใจกับความปลอดภัยเป็นเรื่องแรก ทั้งการอาศัยอยู่ภายในบ้าน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมตัวเอง และสมาชิกในบ้าน สู่การเป็นผู้สูงวัยในอนาคต 4.Circular Economy และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์ที่ทั่วโลกต่างรับมือกับการสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกเรา ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงานกันมากขึ้น หรือแม้แต่เรื่องระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การหมุนเวียนเอาทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นสิ่งที่มนุษย์เราเริ่มหันมามองสิ่งรอบตัว จนเกิดคำถามที่ว่า เมื่อโลกเปลี่ยน ถึงเวลาที่ต้องหันกลับมามองที่ตัวเราเอง ว่าที่ผ่านมาดูแลโลกนี้ดีเพียงพอหรือยัง? นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Living Solution Business ธุรกิจ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง แสดงความเห็นว่า  เมื่อเกิดไวรัสโควิด-19 แล้ว เกิดคำถามขึ้นมากมายตามมาว่า ที่ผ่านมาเราดูแลโลกนี้ดีเพียงพอไหม เพราะต้องยอมรับหลาย ๆ เรื่องที่เกิดขึ้น ก็เกิดจากผลกระทบของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป คนจะกลับมาตระหนักเหมือนกันว่าเราดูแลตัวเราเองแล้ว เราดูแลโลกไปด้วยไหม ซึ่งจริง ๆ แล้ว เรื่องเทรนด์ กระแสนิยม รวมถึงแนวโน้มที่เกิดขึ้น อาทิ การดูแลสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน การใส่ใจด้านสุขอนามัย คงต้องมองย้อนกลับมามองถึงการใช้ชีวิต และ รอบ ๆ ตัว ว่าเราจะดูแลต่อจากนี้อย่างไร สำหรับผมมองว่าทั้ง 4 ข้อข้างต้นก็เป็นเทรนด์ที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในก่อนหน้านี้ แต่สถานการณ์ปัจจุบันช่วยให้มันชัดเจนขึ้น และช่วยเร่งความเร็วมากขึ้น Smart Living ตอบโจทย์ การอยู่อาศัยปี 2021 นอกจากนี้  ด้วยบริบทของสังคมที่เปลี่ยนผ่าน ได้ยกระดับความต้องการพื้นฐานทางกายภาพของมนุษย์สู่ความเป็นดิจิทัล โดยการผนวกเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกสบายในทุกมิติ ส่งผลให้ภาพของ Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ ชัดเจนมากขึ้น นำไปสู่การใช้ชีวิตในรูปแบบ Smart Living ที่เชื่อมต่อทุกประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ในฐานะองค์กรต้องเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มที่เกิดขึ้น ทั้งด้านพฤติกรรม ความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต สุขอนามัย   ขณะที่นายชูโชค ศิวะคุณากร Managing Director บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนอีกอย่าง คือการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในสายงานก่อสร้าง และขาดแคลนในเชิงของคุณภาพและทักษะของงานก่อสร้างที่มีความหลากหลาย ซึ่งต้องเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยี และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาต้าควบคู่ อย่างเช่นการพัฒนาแรงงานฝีมือช่าง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอีกด้านหนึ่ง โดยเมื่อก่อนนี้นึกถึงแค่งานโครงสร้าง อาคาร แต่ปัจจุบันมันต้องมองทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโลกร้อน ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ปัญหาเรื่องฝุ่นละออง เรื่องการจัดการน้ำ ซึ่งมันจะเชื่อมโยงในภาคการอุปโภค บริโภค ทั้งในเชิงของการเกษตร และอุตสาหกรรม   “ตัวกำหนดทิศทางสำคัญในการขับเคลื่อนแวดวงการก่อสร้าง คือความเบ็ดเสร็จ ครบวงจรและรวดเร็ว ทั้งรูปแบบของการใช้งานตัวอาคาร และโครงสร้าง ทั้งการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานบนโครงสร้างเดิมให้มีความหลากหลาย หรือเป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการใช้งานโครงสร้างเดิมให้ต่างออกไป รวมถึงการรีโนเวทปรับปรุงอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ไปสู่การพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันเพื่อตอบโจทย์สูงสุด” จากความต้องการความเบ็ดเสร็จและรวดเร็ว ทำให้เกิดแนวทางการก่อสร้างแนวใหม่ คือ Smart Construction ซึ่งจะช่วยจัดการกับการออกแบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่ล้าสมัย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังปรับให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ให้มีความเป็น Smart Building มากยิ่งขึ้น   นายชูโชค ศิวะคุณากร ทิ้งท้ายว่า ความน่าสนใจอีกข้อที่ก่อตัวขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง คือ Networking การสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดการแชร์ข้อมูลร่วมกัน แชร์ Resource หรือแม้แต่ Knowledge แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ทั้งกลุ่มเจ้าของโครงการและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในแวดวงการก่อสร้าง ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจและภาพรวม เพิ่มทักษะงานก่อสร้าง ภายใต้ Ecosystem เดียวกัน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น  
เอพี ไทยแลนด์ เตรียมขึ้นเบอร์ 1 ผู้นำอสังหาฯ ปี 63 

เอพี ไทยแลนด์ เตรียมขึ้นเบอร์ 1 ผู้นำอสังหาฯ ปี 63 

เอพี ประกาศความสำเร็จก้าวข้ามผ่านวิกฤตมาได้อย่างสวยงาม มุ่งสู่การเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรม คาดยอดโอนรวมปี 63 สูงถึงประมาณ 46,000 ล้านบาท โตกว่า 40% จากปี 2562 เชื่อจะเป็นยอดโอนที่มากที่สุดในตลาด       นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในรอบปี 2563 คาดว่าจะทำยอดโอนรวมเกือบ 46,000 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ 40,550 ล้านบาท หรือโตกว่า 40% จากปี 2562 และคาดว่าน่าจะเป็นยอดโอนที่มากที่สุดในตลาด พร้อมคาดการณ์ผลกำไรรวมทั้งปี 63 จะเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ ผลการดำเนินงานดังกล่าว มาจากความสำเร็จในการส่งมอบสินค้า ทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท และสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา และมั่นใจว่าเอพี ไทยแลนด์จะสามารถมุ่งสู่การเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมอสังหาฯ ไทย นายวิทการ กล่าวอีกว่า  ความสำเร็จของบริษัท เกิดจากความพร้อมของพนักงานในองค์กรกว่า 2,000 คน ในการตั้งรับกับการปรับตัวที่รวดเร็วจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ตลอดจนความเข้มแข็งในการทำงานโดยมองไปที่เป้าหมาย EMPOWER LIVING เดียวกัน ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการกระแสเงินสดที่รัดกุม ส่งผลให้บริษัท สามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตมาได้อย่างมั่งคง สร้างผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในทุกไตรมาส   ทั้งนี้ อีกหนึ่งคีย์ซัคเซสสำคัญนอกเหนือจากการมีทีมงานที่แข็งแกร่งแล้ว นั่นคือแผนการบริหารจัดการภายในองค์กรที่ดำเนินควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพอร์ตสินค้าที่นำมาซึ่งการตอบรับที่ดีจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมานอกจากความสำเร็จในการขายและโอนกรรมสิทธิ์สินค้าในกลุ่มธุรกิจแนวราบแล้วนั้น บริษัท  ยังได้รับการตอบรับที่ดีมากจากการโอนสินค้ากลุ่มคอนโดมิเนียม โดยมี LIFE ลาดพร้าว LIFE อโศก-พระราม 9 LIFE วัน ไวร์เลส และ Aspire อโศก-รัชดา เป็นคีย์สำคัญ ทั้งนี้ปี 2563 ที่ผ่านมาบริษัทฯ เปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 40 โครงการ รวมมูลค่า 45,020 ล้านบาท เป็นบ้านเดี่ยว 18 โครงการ มูลค่า 20,860  ล้านบาท ทาวน์โฮม 18 โครงการ มูลค่า 18,530 ล้านบาท และโครงการในต่างจังหวัด 3 โครงการ มูลค่า 2,430 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม 1 โครงการ มูลค่า 3,200 ล้านบาท   บริษัทยังคงดำเนินแผนธุรกิจด้วยความรัดกุม ควบคู่ไปกับความพร้อมที่จะปรับตัวอย่างรวดเร็ว ด้วย  การบริหารจัดการกระแสเงินสด ภายใต้พันธกิจใหญ่ขององค์กร “EMPOWER LIVING” ที่พร้อมเติมเต็มทุกเป้าหมายของชีวิต ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและมีความหมาย
อสังหาปี 64  ไปต่ออย่างไร ? ในวิกฤติไวรัสโควิด-19

อสังหาปี 64  ไปต่ออย่างไร ? ในวิกฤติไวรัสโควิด-19

สำหรับปี 2563 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่ค่อนข้างเหน็ดเหนื่อย สำหรับผู้ประกอบการในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องเผชิญกับปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่เข้ามากระทบ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ช่วงครึ่งปีหลังส่งสัญญาณดี จากการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างได้ผล แต่สถานการณ์กลับมารุนแรงอีกครั้งช่วงปลายปี และลุกลามมาถึงปี 2564 ซึ่งสถานการณ์รุนแรงกว่าครั้งแรกด้วยซ้ำ   ทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจต้องอยู่ในภาวะชะลอตัวอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นปัจจัยลบอย่างหนักในทุกธุรกิจ รวมถึงธุรกิจอสังหาฯ ด้วย ความหวังสำคัญของการฟื้นเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติ คงขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาด และการนำเอาวัคซีนมาใช้ได้อย่างเป็นผล หลังจากนั้นรัฐบาลคงต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง ภาพรวมเศรษฐกิจคงเริ่มฟื้นตัวตาม   ในส่วนของธุรกิจอสังหาฯ ปี 2564 จะมีทิศทางเป็นอย่างไร ท่ามกลางปัจจัยลบสำคัญเช่นนี้ แผนกวิจัยและการสื่อสาร คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้ทำบทวิเคราะห์คาดการณ์ภาพรวมธุรกิจในปี 2564 และมองย้อนกลับไปในปี 2563 ว่ามีสถานการณ์ภาพรวมตลาดเป็นอย่างไรบ้าง แนวโน้มตลาดคอนโดปี ​2564 -คาดว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกที่จะเลื่อนการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ออกไป  เน้นการพัฒนาโครงการแนวราบทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดยุทธศาสตร์ที่ยังคงมีกำลังซื้อ แต่อาจมีผู้ประกอบการรายใหญ่บางราย เปิดตัวโครงการใหม่บ้างในบางทำเล -คาดการณ์ปี 2564 จะมีจำนวนเปิดตัวคอนโดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ไม่เกิน 20,000 ยูนิตเท่านั้น หรือปรับตัวลดลง 7.6% จากปีก่อนหน้า   -ในปี 2564 คาดว่าจะมีคอนโดที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและจดทะเบียนอาคารชุดในพื้นที่กรุงเทพฯ อีกกว่า 35,000 ยูนิต ในส่วนนี้จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการ  หากเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเรียกลูกค้าเข้ามาโอนกรรมสิทธิ์จะเกิดยูนิตหลุดโอนมากน้อยเพียงใด และหากยูนิตเหล่านี้มีการทิ้งโอนกันเป็นจำนวนมากในภาวะที่ตลาดชะลอตัว จะเป็นอีกปัญหาที่สำคัญที่ผู้พัฒนาจะต้องนำยูนิตเหล่านี้กลับมาขายใหม่ในตลาดอีกครั้ง หรืออย่างที่เราเห็นผู้ประกอบการหลายรายเลือกที่จะนำยูนิตเหล่านี้กลับมาขายใหม่ในการลดราคาขายลงถูกว่าในช่วง Pre-sale ก่อนหน้าด้วยซ้ำ เพื่อกระตุ้นความสนใจของกลุ่มลูกให้เพิ่มขึ้น และกระตุ้นยอดโอนกรรมสิทธิ์เพื่อการรับรู้รายได้และดึงเงินเข้ามาในบริษัทให้มากที่สุดซึ่งจะส่งผลให้เราจะเห็นสงครามราคาในตลาดคอนโดมิเนียมอย่างต่อเนื่องในปี 2564   -ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกพัฒนาโครงการคอนโดในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอกมากขึ้น หรือในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยเฉพาะช่วงรามคำแหง – ลำสาลี  รถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยเฉพาะบริเวณถนนลาดพร้าวและศรีนครินทร์ และรถไฟฟ้าสายสีชมพู โดยเฉพาะถนนรามอินทรา หรือแม้กระทั้งแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง จะเป็นพื้นที่ที่คาดการณ์จะมีการเปิดตัวโครงการคอนโดคึกคักขึ้นในปี 2564   -ผู้ประกอบการพัฒนาคอนโดในพื้นที่ใจกลางเมืองน้อยลง เนื่องจากยังมีจำนวนคอนโดรอการขายในตลาดจำนวนมาก  จากการเปิดตัวอย่างคึกคักในช่วง 4-5 ปีก่อนหน้า บวกกับราคาที่ดินที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง -ราคาคอนโด 50,001 - 100,000 บาทต่อตารางเมตร เป็นเซกต์เมนต์ ที่น่าจับตามองในปี 2564 เนื่องจากเป็นราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ในภาวะที่กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ตามมาด้วยราคา 100,001 - 150,000 บาทต่อตารางเมตร และระดับราคาต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตร   -ผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์บางราย ยังคงมีแผนพัฒนาโครงการคอนโดในช่วงราคาขายเฉลี่ยต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตร ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมฯ และปริมณฑล เพื่อดึงดูดกำลังซื้อในกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ และกลุ่มนักลงทุนที่เน้นการซื้อเพื่อการปล่อยเช่าในปี 2564   -โครงการคอนโดที่มีราคา มากกว่า 200,000 บาทต่อตารางเมตรขึ้นไป จะมีการพัฒนาน้อยลง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกลุ่มลูกค้าจำกัด และกำลังซื้อต่างชาติยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ผู้ประกอบการจะเลือกพัฒนาเฉพาะในทำเลที่มั่นใจว่ามีกำลังซื้อเท่านั้น เช่น ย่านทองหล่อ แนวโน้มตลาดบ้านแนวราบปี 2564 -ตลาดแนวราบ คาดว่าจะยังคงเป็นตลาดดาวเด่นของภาคอสังหาฯ ในปี 2564 ที่ผู้พัฒนาจะยังคงเดินหน้าเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดยุทศาสตร์สำคัญ ​ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ที่อยู่อาศัยยังคงเป็นปัจจัย 4 ที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ​คาดว่ายอดขายตลาดแนวราบในปี 2564 ​​ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มผู้พัฒนารายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ -ทำเลเด่นในการพัฒนาโครงการแนวราบ คือ พื้นที่ในโซนกรุงเทพฯ ตะวันออก โดยเฉพาะย่านบางนา  วงแหวนกาญจนาภิเษก ร่มกล้า กรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ รวมทั้งจังหวัดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซี ประเด็นจับตาท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 -กำลังซื้อต่างชาติในภาคอสังหาฯ คาดการณ์ว่าจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2564 เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้มองว่าไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมสำหรับการก่อหนี้ก้อนใหญ่ แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ​ทั้งจากภาครัฐและเอกชนก็ตาม   -การขายอสังหาฯในปี 2564 อุปสรรคที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นในเรื่องของกำลังซื้อที่ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เรียกหลายฝ่ายมองว่าอยู่ในช่วงขาลงทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก  กำลังซื้อในช่วงวัยทำงาน หรือวัยกลางคนที่เคยเป็นกำลังซื้อหลักของภาคอสังหาฯ รู้สึกไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ยังคงกลัวการถูกเลิกจ้าง ตกงาน หรือแม้กระทั้งการปรับลดเงินเดือนลง ส่งผลให้ไม่อยากสร้างหนี้ก้อนใหญ่และภาวะผูกพันระยะยาวในช่วงนี้ จึงเลือกที่จะชะลอการตัดสินใจซื้ออสังหาฯออกไป   -ปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวลที่สุดยังคงเป็น ความกังวลในเรื่องของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในรอบที่ 2  ที่จะส่งผลให้รัฐบาลจำเป็นต้องประกาศล็อกดาวน์ประเทศอีกรอบ เหมือนกับประเทศในกลุ่มยุโรปและอเมริกาที่ประกาศมาตรการล็อกดาวน์ประเทศอีกครั้งเพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19   -ส่วนปัจจัยบวกที่สำคัญที่สุดสำหรับภาคอสังหาฯ คือวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 จะพร้อมใช้งานได้เมื่อใด ซึ่งหากวัคซีนดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริงภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จะเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่สุด นอกเหนือจากมาตรากระตุ้นอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ทางรอดอสังหาฯ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 -ผู้พัฒนาควรหันมาเน้นจับกลุ่มลูกค้าภายในประเทศ เพื่อดึงดูดกำลังซื้อในกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ และกลุ่มนักลงทุนที่เน้นการซื้อเพื่อการปล่อยเช่าในช่วงระดับราคาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ในภาวะที่กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวในปี 2564   -ส่วนลูกค้าต่างชาติควรเพิ่มช่องทางการขาย ผ่านแพลตฟอร์มเอเจนท์ต่าง ๆ หรือช่องทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสการขายอีกช่องทางในภาวะที่กำลังซื้อต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้   -ผู้ประกอบการควรระมัดระวังในการกำหนดราคาขาย ซึ่งหากเปิดตัวโครงการขายใหม่ราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าราคาตลาด อาจส่งผลให้โครงการไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ซื้อเท่าที่ควร   การกำหนดราคาขายที่น่าสนใจ นักลงทุนยังทำกำไรได้ และผู้ซื้อสามารถเข้าถึงได้ คาดว่าผู้ประกอบการหลายรายยังคงเลือกใช้เป็น Key Success Factor  เพื่อกระตุ้นความสนใจ และตัดสินใจซื้อได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว  ในภาวะที่ตลาดชะลอตัว และกำลังซื้อส่วนใหญ่ยังคงให้ความสนใจกับโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จที่นำมาลดราคา   เนื่องจากราคาที่น่าสนใจ และเป็นโครงการที่ลูกค้าสามารถเห็นห้องจริงที่จะซื้อ รวมถึงมีโปรโมชั่นอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการนำมาดึงดูดความสนใจ ซึ่งถือว่าโปรโมชั่นเหล่านี้สามารถดึงดูดใจให้ผู้ซื้อเกิดความสนใจกันเป็นจำนวนมาก ส่งอาจส่งผลให้หลายโครงการที่ก่อสร้างเสร็จสามารถปิดการขายลงได้ 100% ในปีนี้   -ผู้พัฒนาควรปรับลดแผนการเปิดตัวโครงการคอนโดลง เพื่อใช้เวลานี้ในการระบายสต็อกที่ยังคงค้างในตลาดก่อน เพื่อให้ตลาดกลับสู่ภาวะสมดุลเร็วขึ้น เน้นหาพื้นที่ใหม่ ๆ ในการพัฒนาโครงการแนวราบเพื่อจับกลุ่มกำลังซื้อเรียลดีมานด์ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดยุทธศาสตร์อื่น ๆ ที่สำคัญ        
8 บทสรุปผลงาน “แสนสิริ” ทุบสถิติยอดโอนสูงสุดรอบ 36 ปี​

8 บทสรุปผลงาน “แสนสิริ” ทุบสถิติยอดโอนสูงสุดรอบ 36 ปี​

แสนสิริ ปิดผลงานปี 63 สร้างประวัติศาสต์โอนสูงสุดรอบ 36 ปี ทะลุ 45,000 ล้าน หลังปรับเป้าทั้งปีถึง 4 ครั้ง ชี้ คีย์ซัคเซส คือ กลยุทธ์ “Speed to Market” และโปรโมชั่นโดนใจลูกค้า ​   นายอุทัย  อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมาแสนสิริประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าทั้งในด้านการขายและโอนโครงการ   สำหรับ 8 บทสรุปผลการดำเนินงานของปี 2563 ที่ทำให้สามารถสร้างยอดโอนได้สูงสุดในรอบ 36 ปี ได้แก่ 1.ปิดการขายโครงการที่อยู่อาศัยไปถึง 35  โครงการ มูลค่ารวมกว่า 64,600 ล้านบาท   2.มียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สร้างเสร็จและส่งมอบให้กับลูกค้า 45,000  ล้านบาท เกินจากเป้าหมายใหม่ที่มีการปรับล่าสุดในช่วงปลายปี คือ 43,000 ล้านบาท สร้างประวัติศาสต์การโอนที่สูงสุดในรอบ 36 ปี และเติบโตจากปี 2562 ถึง 45%   3.ปี 2563 มีการปรับเป้ายอดโอน 4 รอบ ซึ่งช่วงต้นปีวางเป้าหมายยอดโอน 33,000 ล้านบาท และช่วงปลายปีได้ปรับเป้าหมายเป็น 43,000 ล้านบาท   4.ปี 2563 มียอดโอนจากโครงการคอนโดมิเนียมสูงถึง 25,500 ล้านบาท โตจากปีก่อนถึง 50% มีการปิดการขายและโอนโครงการภายใต้พอร์ต Sansiri Luxury Collection ด้วยกันถึง 3 โครงการ คือ 98 Wireless แฟล็กชิพคอนโดมิเนียมซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ บ้านแสนสิริ พัฒนาการ แฟล็กชิพบ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ เดอะ โมนูเมนต์ ทองหล่อ ลักซ์ชัวรี่คอนโดมิเนียมใจกลางย่านทองหล่อ 5.ปี 2563 มียอดโอนโครงการแนวราบ 19,500 ล้านบาท โตขึ้น 39% จากปีก่อน มีการปิดโครงการลักซ์ชัวรี่แนวราบ ได้แก่ ไทเกอร์ เลน  ลักซ์ชัวรี่โฮมออฟฟิศบนที่สุดของทำเลทอง ไพร์มโลเคชั่นตำแหน่งฮวงจุ้ยท้องมังกร ที่หายากใจกลางย่านเสือป่า เยาวราช และปิดการขายโครงการบ้านเดี่ยวนาราสิริ บางนา และ นาราสิริ พุทธมณฑล สาย 1 เป็นต้น   6.กลยุทธ์ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ กลยุทธ์ “Speed to Market” ที่มีการปรับแผนรับมือสถานการณ์โควิด-19  การรุกการขายในทุกช่องทาง ผ่าน Multi-channel และการนำเสนอโปรโมชั่น อาทิ -“มีเงินเดือนเริ่มต้น 18,000 บาทก็เป็นเจ้าของสิริ เพลส ได้ง่ายๆ” -“โปรลื่นปรื้ด” -“แสนสิริผ่อนให้ 24 เดือน” 7.การบริหารเงินสดในมือที่ดี (Cash is King) มีกระแสเงินสดที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ 15,000 ล้านบาท   8.เป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้บริโภค ด้วย 2 รางวัลคุณภาพ ทั้งจาก Marketeer : No.1 Brand Thailand ปี 2019-2020  และ รางวัลจาก Terra BKK : The Most Powerful Real Estate Brand 2020 รักษาแชมป์ 3 ปีซ้อน   นายอุทัย กล่าวอีกว่า ในระยะยาว บริษัทยังมียอดขายรอโอน (Backlog) (รวมโครงการร่วมทุนในคอนโดมิเนียม) มูลค่ารวมประมาณ 24,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การพัฒนาของแสนสิริ 19,800 ล้านบาท และยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การร่วมทุนอีก 4,200 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566 ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แสนสิริเป็นอย่างดีและเสริมความแข็งแกร่งในทุกสภาวะเศรษฐกิจ
กานดา พร็อพเพอร์ตี้ เตรียม 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างยอดขาย 3,300 ล้าน

กานดา พร็อพเพอร์ตี้ เตรียม 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างยอดขาย 3,300 ล้าน

“กานดา พร็อพเพอร์ตี้” เตรียม 5 โครงการใหม่ ปี 64 หวังสร้างยอดขาย 3,300 ล้าน พร้อมปรับกลยุทธ์-เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ รับการแข่งขันตลาดแนวราบรุนแรง จากดีมานด์ลูกค้าเปลี่ยนใจจากซื้อคอนโดมาซื้อแนวราบ และดีเวลลอปเปอร์หันมาแข่งขันตลาดแนวราบ​   นายหัสกร บุญยัง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยภายใต้แบรนด์ “ไอลีฟ” เปิดเผยว่า ​ได้วางแผนธุรกิจช่วงปี 2562-2566  เตรียมเปิดโครงการใหม่ปีละ 4-8 โครงการ และขยายทำเลการพัฒนาปีละ 1-3 ทำเล เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัท   โดยในปี 2563 ได้ขยายทำเลโดยการเปิดโครงการใหม่เพิ่มที่โซนเทพารักษ์-บางบ่อ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการไอลีฟ พรีม่า เทพารักษ์-บางบ่อ ทั้งในส่วนที่เป็นโครงการทาวน์โฮม “ไอลีฟ ทาวน์” และโครงการบ้านเดี่ยว-บ้านแฝด “ไอลีฟ พาร์ค” สำหรับทำเลเดิมที่บริษัทพัฒนาโครงการก่อนหน้า ได้เปิดโครงการใหม่เพิ่ม ได้แก่ ​ โครงการไอลีฟ ไพร์ม วงแหวน-รังสิตคลอง 4 และโครงการไอลีฟ ไพร์ม 2 ถลาง ภูเก็ต เปิด 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างรายได้ 2,200 ล. ในปี 2564 บริษัทยังคงเน้นการเติบโตอย่างมั่นคง และมีสถานะการเงินที่แข็งแรง โดยได้ชะลอการซื้อที่ดินใหม่ และนำที่ดินที่มีอยู่มาพัฒนาโครงการใหม่ โดยตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 3,300 ล้านบาท และเป้ารายได้อยู่ที่ 2,200 ล้านบาท และมีแผนเปิดโครงการใหม่รวมทั้งสิ้น 5 โครงการ มูลค่ารวม 3,631 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ไอลีฟ ไพร์ม ประชาอุทิศ 90 เป็นโครงการทาวน์โฮมจำนวน 211 ยูนิต มูลค่าโครงการ 441 ล้านบาท 2.ไอลีฟ ไพร์ม 2 พระราม 2 กม.14 เป็นโครงการบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดจำนวนรวม 228 ยูนิต มูลค่าโครงการ 805 ล้านบาท 3.ไอลีฟ พัทยา-จอมเทียน ซึ่งเป็นการเปิดโครงการบนทำเลใหม่ในปีนี้ของบริษัท เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวนรวม 384 ยูนิต มูลค่าโครงการ 875 ล้านบาท 4.ไอลีฟ ไพร์ม 2 ประชาอุทิศ 90 เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวน 268 ยูนิต มูลค่าโครงการ 541 ล้านบาท 5.ไอลีฟ ไพร์ม 2 วงแหวน-รังสิตคลอง 4 เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวน 460 ยูนิต มูลค่าโครงการ 969 ล้านบาท เมื่อรวมกับโครงการที่เปิดขายมาแล้วก่อนหน้าในปี 2564 บริษัทจะมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายรวมทั้งสิ้น 17 โครงการ ใน 9 ทำเล มูลค่าโครงการรวมประมาณ 9,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีที่ดินรอการพัฒนาสำหรับโครงการในอนาคตมูลค่ารวม 13,000 ล้านบาท ปรับกลยุทธ์-เพิ่มประสิทธิภาพรับการแข่งขัน ขณะเดียวกัน บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ทั้งในด้านการก่อสร้าง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ เพื่อรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้น ในส่วนของการก่อสร้าง ได้เพิ่มจำนวนบ้านสร้างเสร็จพร้อมขายพร้อมโอนให้เพียงพอกับประมาณการยอดขายในช่วงเปิดโครงการ เพื่อที่จะสามารถโอนได้เร็ว เพิ่มกระแสเงินสดให้บริษัทได้เร็วขึ้น และยังเป็นการรองรับพฤติกรรมการซื้อของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการซื้อโดยไม่ต้องผ่อนดาวน์   นอกจากนี้ ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัทได้มีการออกแบบ 8 ฟังก์ชั่นการใช้งานภายในบ้าน “8 f(x)” เพิ่มเติม เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยยังคงยึด “4 KANDA CONCEPT” เป็นแนวคิดหลักในการออกแบบได้แก่ 1. ECO SMART 2. EASY MAINTENANCE 3. 3 GENERATIONS 4. FLOOD PROTECTION   นายหัสกร กล่าวอีกว่า นอกจากการขยายทำเลใหม่ๆ แล้ว อีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างการเติบโตให้กับบริษัทคือการขยายกลุ่มลูกค้าเพิ่ม จากเดิมผลิตภัณฑ์ของบริษัทจะอยู่ในระดับราคา 2 ล้านบาทขึ้นไปเป็นหลัก ขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขยายกลุ่มลูกค้าในตลาดที่ราคาต่ำกว่า 1.6 ล้านบาทลงมา ซึ่งเป็นตลาดที่ยังมีความต้องการซื้อสูง แต่ยังติดปัญหาเรื่องของต้นทุนการพัฒนาโครงการในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น หัวใจหลักคือ ต้นทุนที่ดินต้องถูก ซึ่งจะต้องขยับออกมานอกเมือง แต่ต้องมีแหล่งงานรองรับ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องของการขยายกลุ่มลูกค้าในเร็วๆ นี้ “สำหรับปัญหาที่เกิดจากการภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการที่ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ในเชิงรุก โดยการตั้งทีมขึ้นมาทำงานร่วมกับธนาคารต่างๆ อย่างใกล้ชิด  และคอยแก้ปัญหาและให้คำปรึกษากับลูกค้าที่กู้ไม่ผ่าน เพื่อยังคงรักษาลูกค้าไว้กับบริษัทในระยะยาว” ปี 64 แนวราบยังแข่งขันรุนแรง ภาพรวมของเศรษฐกิจในปี 2564 คาดว่าไม่น่าจะแย่กว่าปี 2563 แม้เปิดศักราชใหม่มา จะมีการล็อกดาวน์​ในบางจังหวัดหรือบางพื้นที่ เนื่องจากการระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 แต่เชื่อว่าประสบการณ์การในช่วงปี 2563 จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แต่ละบริษัทในการบริหารจัดการ  ประคับประครองสถานะการเงินและบุคลากร  ของบริษัทได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ภาวะเศรษฐกิจโดยภาพรวมของปี 2564 น่าจะมีความคล้ายคลึงกับปี 2563 โดยมีการชะลอตัวในครึ่งปีแรก และฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ ความต้องการคงไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่มีกลุ่มที่ต้องการซื้อคอนโดมิเนียมเปลี่ยนมาซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น และจะมีการแข่งขันในแต่ละทำเลรุนแรงขึ้น จากการที่มีผู้เล่นในตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น  ซึ่งกลยุทธ์ที่แต่ละบริษัทนำมาใช้ ยังเป็นการจัดแคมเปญ โปรโมชั่นที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย   อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยแนวสูง คาดว่าจะยังคงติดลบอยู่ เพราะยอดขายคอนโดมิเนียมใหม่น้อยลง โดยภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัว ปี 63 กวาดยอดขายกว่า 3,000 ล. สำหรับผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา บริษัทสามารถทำให้ยอดขายได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้ประมาณ 3,000 ล้านบาท และมีรายได้จากการโอน จำนวน 1,950 ล้านบาท แม้ว่าในปี 2563 ภาวะเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี แต่โครงการที่เปิดใหม่ถือว่าได้รับการตอบรับที่น่าพอใจ แต่ละโครงการมีอัตราการขายที่ดีกว่าภาพรวมของตลาดที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   ส่วนรายได้จะลดลงเล็กน้อยจากเป้าที่ตั้งไว้ 2,000 ล้านบาท  เนื่องจากมีการชะลอการเปิดโครงการใหม่ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาดรุนแรง และอัตราการปฏิเสธสินเชื่อของธนาคารที่สูงขึ้น แต่ก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ และยังคงเป็นไปตามแผนที่ต้องการให้บริษัทเติบโตได้อย่างมั่นคง และมีสถานะการเงินแข็งแรง  
4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน

4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน

4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน ฝ่าปัจจัยลบโควิด-19 ทั้งการปรับตัวต่อเนื่อง  เพิ่มสัดส่วนธุรกิจบ้านจัดสรร การรักษาระดับการลุยธุรกิจคอนโด การวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์เจาะดีมานด์ถูกกลุ่ม ประเมินภาพรวมทั้งปี 64 “วัคซีน” จะเป็นตัวผลิกเกมตลาดอสังหาฯ หลังผ่านจุดต่ำสุด​   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยถึงภาพรวมยอดขาย (Presale) ของบริษัทในปี 2563 ว่า สามารถทำได้อยู่ที่ประมาณ 25,600 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายของปี 2563 ที่วางไว้ที่ 21,500 ล้านบาท สวนทางสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวม   สำหรับ Key Success ของออริจิ้น ที่ทำให้สามารถสร้างยอดพรีเซลได้สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้  คือ 1.การปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งช่วงก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ปี 2563 ทำตลาดได้โดดเด่น ในกลุ่มที่อยู่อาศัยแบบพร้อมเข้าอยู่ (Ready to move) ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 65% ของยอดขายทั้งหมด นอกจากนี้  ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ยังได้ปรับตัวอย่างต่อเนื่องหลายอย่าง อาทิ -การปรับสัดส่วนธุรกิจมาพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรภายใต้บริษัท บริทาเนีย จำกัด เพิ่มขึ้น -การเปิดตัวแบรนด์บ้านจัดสรรเซ็กเมนท์ใหม่ๆ อาทิ กลุ่มตลาด 2-5 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์ไบรตัน (Brighton) กลุ่มบ้านระดับราคา  7-10 ล้าน แบรนด์แกรนด์บริทาเนีย (Grand Britania) และกลุ่มบ้านระดับราคา  25 ล้านบาทขึ้นไป อย่างเบลกราเวีย (Belgravia) ส่งผลให้มียอดขายบ้านจัดสรรคิดเป็นสัดส่วนประมาณ  25% ของยอดขายทั้งหมด ​ 2.การวิเคราะห์ตลาดได้ตรงจุด ขณะเดียวกัน บริษัทมีจุดแข็งในการวิเคราะห์ตลาด ตลอดจนการเลือกทำเลและเซ็กเมนท์ที่มีศักยภาพ ทำให้สามารถค้นหากลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์เจอ และสามารถพัฒนาสินค้าคุณภาพที่มีทั้ง Living Solution และ Reaching Solution ตอบโจทย์ความต้องการ และสร้างยอดขายในกลุ่มโครงการเปิดตัวใหม่ได้ดีอย่างต่อเนื่อง 3.บุกตลาดคอนโดด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลาย ปีที่ผ่านมาบริษัทพัฒนาโครงการคอนโดในปริมาณเท่ากับช่วงปีก่อนหน้า แต่ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อให้เข้าถึงตลาดได้กว้างขึ้น จึงยังรักษาระดับการเติบโตในกลุ่มคอนโดได้เป็นอย่างดี การขยายฐานตลาดไฮเอนด์ ในกลุ่มตลาดคอนโดมิเนียม ภายใต้แบรนด์ใหม่ โซโห แบงค็อก (SOHO Bangkok) โครงการแรกบนทำเลรัชดา เพื่อขยายฐานตลาดไฮเอนด์เพิ่มขึ้น แม้จะเพิ่งเปิดตัวในช่วงปลายไตรมาส 4 แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดี มียอดขายแล้วกว่า 60%   การจับมือพันธมิตรเกาหลีใต้พัฒนาโครงการไนท์บริดจ์ สเปซ สุขุมวิท พระราม 4 (KnightsBridge Space Sukhumvit Rama 4) จนทำให้กวาดยอดขายไปแล้วถึง 98%   การลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการที่ไม่กระทบต่อตัวสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงโครงการที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น  ภายใต้กลยุทธ์ Origin Next Normal ของแบรนด์ดิ ออริจิ้น (The Origin) 4.ปั้น Micro-Influencer ช่วยขาย ขณะที่โครงการกลุ่ม Ready to move ก็ประสบความสำเร็จจากโครงการ Everyone can sell โครงการที่เปิดโอกาสให้พนักงานเครือออริจิ้นกว่า 1,200 คน กลายเป็น Micro-Influencer สร้างยอดขายได้ด้วยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตัวเอง โดยโครงการดังกล่าวสร้างยอดขายในปีนี้ได้ถึงราว 10% ของยอดขายทั้งปี ปี 64 วัคซีน ตัวเปลี่ยนเกมธุรกิจ นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับปี 2563 นั้น ถือเป็นปีที่ภาคเศรษฐกิจและอสังหาริมทรัพย์มีการปรับฐานครั้งใหญ่ จากปัจจัยที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน และน่าจะเป็นจุดพักฐานที่ต่ำที่สุดในรอบหลายปี ขณะที่ปี 2564 นั้น สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ อาจเข้ามามีส่วนกดดันตลาดในระยะสั้นช่วงต้น-กลางไตรมาสแรก แม้ระยะยาวอาจจะต้องจับตากันอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมทั้งปีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และภาพรวมทั้งปี 2564 จะยังเติบโตได้มากกว่าปี 2563 “ปีนี้เรามีตัวพลิกเกม หรือ Game Changer ที่ชัดเจนกว่าปี 2563 คือการทยอยฉีดวัคซีนทั่วโลกและโอกาสกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง เรื่องดังกล่าวจะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ผู้บริโภคกลับมามีกำลังซื้อและมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น” ขณะเดียวกันทุกภาคส่วนของไทยก็มีความตื่นตัวต่อสถานการณ์ มีความจริงจังต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ออริจิ้นและผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆ เอง ก็มีประสบการณ์การปรับตัวและการรับมือกับความท้าทายต่างๆ ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เชื่อว่าทั้งหมดจะเป็นปัจจัยสำคัญให้ภาพรวมตลาดปี 2564 ขับเคลื่อนไปได้มากกว่าปี 2563   นอกจากนี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 ยังมีโอกาสได้รับปัจจัยบวกอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ การได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ของประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) จากบลูมเบิร์ก และนโยบายไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ และอีกหลากหลายชาติที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งสนใจตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยมากกว่าเดิม สำหรับออริจิ้นเอง เตรียมพร้อมทั้งการวางแผนและการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดรับกับทุกปัจจัยที่อาจจะเข้ามาในปี 2564        
บทสรุปตลาดคอนโด ปี 63 คาดเปิดตัวใหม่ลดลง 50%

บทสรุปตลาดคอนโด ปี 63 คาดเปิดตัวใหม่ลดลง 50%

ตลอดปี 2563 ต้องยอมรับว่า การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทำให้หลายธุรกิจต้องชะลอตัวไปตาม ๆ กัน และยังจะมีผลต่อเนื่องไปถึงปี 2564 ด้วย เพราะเกิดการแพร่ระบาดครั้งใหม่ในช่วงปลายปี ซึ่งสถานการณ์ยังไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร   ผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดคอนโดมิเนียมปี 2563 ชะลอตัวลงอย่างหนัก การเปิดใหม่ลดลงอย่างมาก เพราะผู้ประกอบการเน้นระบายสต๊อกคอนโดที่ค้างอยู่ออกให้ได้มากที่สุด เพื่อนำเงินมาใช้บริหารงาน และเพิ่มสภาพคล่องของธุรกิจ สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ การจัดแคมเปญ ลด แลก แจก แถม สารพัดแคมเปญโปรโมชั่น ทำให้ราคาคอนโดในปีนี้ลดลงอย่างมากเช่นกัน คอนโดปี 63 เปิดใหม่ลดลง 50% นางสาวริษิณี สาริกบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด   แสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดคอนโดในกรุงเทพฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ว่า น่าจะมีคอนโดเปิดขายใหม่ประมาณ 8,000 ยูนิต ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้  ส่งผลให้ในปีนี้จะมีจำนวนคอนโดเปิดขายใหม่รวม 25,000 – 30,000 ยูนิต ซึ่งจำนวนเปิดขายใหม่ปีนี้ ลดลงในอัตรา​ 50% จากปี 2562  โดยคอนโดเปิดขายใหม่จะมีระดับราคาขายประมาณ 1.5 – 3 ล้านบาทต่อยูนิต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการมากที่สุด หรือมีราคาขายเฉลี่ย 60,000 - 80,000 บาท ต่อ ตารางเมตร และเป็นคอนโดที่เน้นขายผู้ที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand)   ตลาดคอนโดในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยหากเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ เนื่องมาจากจำนวนที่เปิดขายใหม่ในปีนี้ลดลงอย่างชัดเจน อีกทั้งราคาขายในโครงการที่ตั้งราคา over priced และโครงการดังกล่าวได้ปรับลดราคาลงในช่วงเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถระบายยูนิตเหลือขายออกไปได้ส่วนหนึ่ง แต่ตลาดคอนโดอาจยังไม่กลับเข้าสู่สภาวะที่ดีเหมือนใน 2-3 ปีก่อนหน้า  เพราะชาวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ปกติ  แม้ว่าจะมีการเปิดให้ชาวต่างชาติบางกลุ่มเดินทางเข้ามาในประเทศบ้างแล้วก็ตาม​ ไตรมาส 3 เปิดขายใหม่เกือบเท่าตัว ที่ตลาดคอนโดมิเนียมในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ​หลังจากที่ทางรัฐบาลสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ คอนโดเริ่มกลับมาเปิดตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หากเทียบกับไตรมาสที่ 2 จากการสำรวจพบว่า คอนโดที่เปิดขายใหม่บางส่วน มีอัตราการขายที่ดีในการเปิดตัวระยะแรก โดยโครงการเหล่านี้เปิดตัวด้วยโปรดักส์และราคาที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มใหญ่ของตลาด และตั้งอยู่ในทำเลที่น่าสนใจ ที่ยังมีคอนโดในพื้นที่ไม่มากนัก   การซื้อคอนโดในเวลานี้หลาย ๆ คน อาจมองว่าไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่เวลานี้กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่มีความพร้อม เนื่องจากสามารถซื้อคอนโดได้ในราคาที่ไม่สูง และยังมีของแถมและส่วนลดพิเศษเพิ่มเติมอีกมากมาย  เวลานี้น่าจะเป็นเวลาที่ตลาดจะทำการปรับสภาวะของคอนโดให้อยู่ในภาวะสมดุล ทั้งในเรื่องราคาขายที่สูงเกินไป และ ปัญหาภาวะคอนโดที่ล้นตลาด เนื่องจากผู้ประกอบการต่างชะลอการเปิดขายคอนโด และหันไปพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวเฮ้าส์ และ โฮมออฟฟิต ในช่วงนี้ ทำให้ตลาดคอนโดน่าจะกลับมาสร้างโอกาสในอนาคตอันใกล้ จากผลวิจัยของบริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปิดตัวของคอนโด ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวนคอนโดเปิดขายใหม่ทั้งสิ้น 7,943 ยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตรา​ 97.5% หากเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีนี้อยู่ที่ 4,022 ยูนิต อย่างไรก็ดี จำนวนคอนโดใหม่ปรับตัวลดลงในอัตรา​ 30.7% หากเทียบกับไตรมาส  3 ของปี 2562 อยู่ที่ 11,460 ยูนิต   คอนโดที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 โดยส่วนใหญ่เป็นคอนโดเกรดบี มีระดับราคาขายประมาณ 80,000 – 120,000 บาท ต่อตารางเมตร  คิดเป็นสัดส่วน 52% รองลงมาได้แก่ คอนโดเกรดซี ระดับราคาขายอยู่ที่ 55,000 – 70,000 บาท ต่อ ตารางเมตร  คิดเป็นสัดส่วน 43% คอนโดเปิดขายใหม่ที่เป็นเกรดเอมีเพียง 1 โครงการ จำนวน 380 ยูนิต หรือ คิดเป็นสัดส่วน 5%   คอนโดที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้โดยส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ในบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วน 68% รองลงมาได้แก่คอนโดที่ตั้งอยู่บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ คิดเป็นสัดส่วน 26% ในส่วนบริเวณศูนย์กลางธุรกิจมีคอนโด ที่เปิดขายใหม่เป็นสัดส่วน 6% เท่านั้น ตลาดคอนโดไตรมาส 3 เริ่มฟื้นตัว ในส่วนของความต้องการ พบว่า ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เป็นช่วงที่ตลาดคอนโดเริ่มฟื้นตัวจากไตรมาส 2 โดย ไตรมาสที่ 2 ตลาดคอนโดเปิดขายใหม่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมาก จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้กำลังซื้อลดลงอย่างชัดเจน สำหรับไตรมาสที่ 3 มีคอนโดที่เปิดขายใหม่ขายได้  3,123 ยูนิต จากจำนวนที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 7,943 ยูนิต คิดเป็นอัตราการขาย 39%  มีอัตราการขายเพิ่มขึ้น​ 25% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยอัตราการขายคอนโดที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อยู่ในอัตรา 14% ส่วนระดับราคาเสนอขายของคอนโดทั้งตลาดในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 ปรับตัวลดลงในทุกพื้นที่ จากไตรมาสก่อนหน้า -บริเวณศูนย์กลางธุรกิจ มีราคาขายอยู่ที่ 265,000 บาทต่อตารางเมตร ปรับตัวลดลง 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ​ซึ่งราคาเสนอขายคอนโดในบริเวณศูนย์กลางธุรกิจ ซึ่งขายอยู่ที่ 267,000 บาท ต่อ ตารางเมตร ราคาเสนอขาย -บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ (City Fringe) ในไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมาราคาขายคอนโดในบริเวณรอบศูนย์กลางธุรกิจ มีราคาขายอยู่ที่ 146,000 บาท ต่อ ตารางเมตร ปรับตัวลดลงในอัตรา 0.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า  ซึ่งมีราคาเสนอขายคอนโดในบริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ   มีราคาเสนอขายอยู่ที่ 147,356 บาท ต่อ ตารางเมตร -บริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ ราคาเสนอขายของคอนโดในบริเวณชานเมือง อยู่ที่ 79,400 บาท ต่อ ตารางเมตร ปรับตัวลดลง 0.7% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งราคาเสนอขายคอนโดในบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ ในไตรมาสที่ 2 มีราคาเสนอขายอยู่ที่ 80,000 บาท ต่อ ตารางเมตร สำหรับราคาคอนโดในบริเวณดังกล่าที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการต้องการกระแสเงินสดเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน จึงได้นำคอนโดมาลดราคา โดยคอนโดที่นำมาลดราคาส่วนใหญ่จะเป็นคอนโดจากโครงการที่สร้างเสร็จเรียบร้อยหรือคาดว่าจะสร้างเสร็จในปีนี้ บทสรุปของตลาดคอนโดในปี 2563 จะจบลงอย่างไร คงต้องรอลุ้นว่าในสุดท้ายแล้วโควิด-19 เราจะสามารถควบคุมและจำกัดไม่ให้สร้างผลเสียหายต่อตัวเราและธุรกิจได้มากน้อยแค่ไหน คงต้องติดตามกันต่อไป                 
5 ไฮไลท์แผนธุรกิจปี 64 “โนเบิล” กับแนวทางสู่ Top5 ผู้นำอสังหาฯ ไทย

5 ไฮไลท์แผนธุรกิจปี 64 “โนเบิล” กับแนวทางสู่ Top5 ผู้นำอสังหาฯ ไทย

เพียงระยะเวลา 1 ปีที่ “ธงชัย บุศราพันธ” กลับมาบริหารงานบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ Noble อีกครั้งในตำแหน่ง ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป้าหมายการนำพาบริษัทไปสู่เป้าหมายการติดยู่ในกลุ่มผู้นำตลาดอสังหาริมทรัพย์ อันดับ Top5 ภายในระยะเวลา 3-5 ปี ก็เข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น เพราะ​สเต็ปต์แรกของการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว คือ การสร้างรายได้ปีละ 10,000 ล้านบาท   เพราะจากเป้าหมายในปี 2563 ที่ต้องการการสร้างรายได้ 10,000 ล้านบาท คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้  แม้ว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมและภาวะเศรษฐกิจโดยรวม จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ผลการดำเนินงานของโนเบิล ก็มีทิศทางการเติบโตที่ดีและเป็นไปตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นยอดขายหรือรายได้ หรือแม้แต่ยอดขายจากตลาดชาวต่างชาติ ที่แม้ว่าจะไม่สามารถเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ แต่ก็ทำยอดขายได้สูง จนเป็นผู้นำตลาดแล้ว   สำหรับแผนธุรกิจในปี 2564 ยังคงวางเป้าหมายสานต่อเป้าหมายการไปสู่การเป็นผู้นำตลาด ติดอันดับ Top5 ให้ได้ภายในปี 2566  โดยมีรายได้ประมาณ​15,000-20,000 ล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% จากปัจจุบันที่สามารถสร้างรายได้เข้ามาติดอยู่ในกลุ่มผู้นำอสังหาฯ​ Top10 ของไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยแผนธุรกิจในปี 2564 ของโนเบิล มีไฮไลท์สำคัญ ดังนี้ 1.เปิดโปรเจ็กต์ใหม่มูลค่าสูงสุดรอบ 30 ปี เปิดโครงการใหม่ 11 โครงการ มูลค่า 45,100 ล้านบาท มีมูลค่าสูงสุดในรอบ 30 ปีที่ดำเนินธุรกิจ ​ตั้งแต่ปี 2534 เป็นโครงการไฮไรส์   4 โครงการ มูลค่า 25,000 ล้านบาท และโครงการโลว์ไรส์ 7 โครงการ มูลค่า 20,100 ล้าบาท   ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โนเบิลพัฒนาโครงการรวม 67 โครงการ รวมมูลค่า 152,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีโครงการอยู่ระหว่างการขาย 18 โครงการ มูลค่าเพื่อขาย 29,000 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนกว่า 50% เป็นยอดขายรอรับรู้รายได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า   2.ปั้นโปรเจ็กต์ร่วมทุน ในจำนวนแผนการเปิดโครงการใหม่ทั้งหมด จะเป็นฃโครงการร่วมทุนกันพันธมิตร 6 โครงการ รวมมูลค่า 32,800 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการร่วมทุนกับบริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 โครงการ มูลค่า 22,100 ล้านบาท  และโครงการที่ร่วมทุนกับฮ่องกงแลนด์ จำนวน 1 โครงการ มูลค่า 10,700 ล้านบาท 3.ทำตลาด 3 กลุ่มหลัก แนวทางการทำตลาดในปี 2564 เพื่อสร้างรายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย โนเบิล จะมุ่งเน้นการจับ 3 ตลาด ได้แก่ -กลุ่มคอนโดราคา 1.1-2 ล้านบาท ในรอบปี 2563 ที่ผ่านมาโนเบิล ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ คือ นิว (NUE) ตลาดในกลุ่ม Affordable price หรือราคา 1.1-2 ล้านบาท ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าคนไทย แม้ว่าจะมีสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากสามารถพัฒนาโครงการให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จนสามารถมียอดขายกว่า 50% ในช่วงแรกที่เปิดการขาย (อ่านข่าวเพิ่มเติม.... 3 เหตุผลโนเบิล ปั้น NUE เพิ่มรายได้สร้างพอร์ตสัดส่วน 50%) -กลุ่มตลาดไฮด์เอนด์ เป็นตลาดที่ปัจจุบันซัพพลายถูกดูดซับออกจากตลาดค่อนข้างมาก ทำให้มีปริมาณแทบไม่เหลือขายในตลาด โดยเฉพาะในพื้นที่ใจกลางเมือง แต่อสังหาฯ ในพื้นที่ใจกลางเมือง ยังเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งโนเบิล วางแผนพัฒนาโครงการขายในย่านใจกลางเมือง เช่น ทำเลถนนวิทยุ ทองหล่อ ซึ่งจะขายในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง อาทิ ในทำเลทองหล่อ ปัจจุบันคอนโดขายราคาตารางเมตรละ 300,000 บาท แต่โนเบิล วางแผนขายตารางเมตรละประมาณ​ 240,000-250,000 บาท -กลุ่มอสังหาฯ แนวราบ ในอดีตที่ผ่านมาพอร์ตใหญ่ของโนเบิลกว่า 70% เป็นอสังหาฯ​ แนวราบ แต่ระยะหลังได้หันมาพัฒนาโครงการคอนโด ทำให้พอร์ตอสังหาฯ แนวราบในปัจจุบันเหลือสัดส่วนเพียง 5% ซึ่งในปี 2564 โนเบิลจะเพิ่มพอร์ตพัฒนาโครงการแนวราบมากขึ้น โดยมีทั้งประเภททาวน์โฮม บ้านแฝด และขายที่ดินเปล่า 4.เพิ่มสัดส่วนลูกค้าต่างชาติ  วางเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากลูกค้าต่างชาติ 35% จากที่ปี 2563 คาดว่าจะมีสัดส่วนรายได้ของชาวต่างชาติ 30% เฉพาะช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 โนเบิล มียอดขายในจากชาวต่างชาติแล้ว 1,599 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 26% และมีส่วนบ่างตลาดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มดีเวลลอปเปอร์ที่ขายอสังหาฯ ให้กับชาวต่างชาติ ด้วยส่วนแบ่งตลาด 37%   โดยแนวทางที่จะช่วยกระตุ้นให้ตลาดชาวต่างชาติเติบโตมากขึ้น โนเบิล มองว่ามาตรการขยายระยะเวลาสิทธิการเช่าซื้ออสังหาฯ โดยเฉพาะตลาดบ้านแนวราบให้ได้มากถึง 60-90 ปี จะทำให้ตลาดเติบโตมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มระยะเวลาของวีซ่าเพื่อการอยู่อาศัยในประเทศไทยได้นานขึ้น 180 วัน ในอัตราค่าวีซ่าปกติ จะช่วยทำให้ตลาดเติบโตเช่นกัน  เพราะประเทศไทยเป็นประเทศจุดหมายปลายทางที่ชาวต่างชาติต้องการเข้ามาพักอาศัย ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยุติลง หรือมีมาตรการด้านวัคซีนออกมาใช้ได้ผล ​ 5.สร้างรายได้ 11,000 ล้าน จากแผนงานและการมองภาพรวมในปี 2564 ยังมีปัจจัยบวกหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบวัคซีนและการนำมาใช้ อัตราดอกเบี้ยในอัตราต่ำ ประเทศไทยเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ  จึงทำให้ในปี 2564 โนเบิลจะสามารถทำรายได้รวม ตามเป้าหมายจำนวน 11,000 ล้านบาท เติบโต 10% จากปี 2563 ที่คาดว่าจะทำได้ 10,000 ล้านบาท และยอดขาย (pre-sale) จำนวน 16,000 ล้านบาท เติบโต 146% จากมูลค่า 6,500 ล้านบาท ปัจจุบันเราอยู่ Top10 หวังว่าปี 2566 น่าจะขยับสู่ Top5 เราเชื่อว่ามีความท้าทายรอยอู่ แต่เชื่อมั่นว่ามันเป็นไปได้